แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
อะนิมนต์ พระนวกะถาม: จะสอบถามเพิ่มเติมว่าไม่ทราบว่าที่มาเรียบเรียงเป็นพระอภิธรรมจริงๆเนี่ยเรียบเรียงในสมัยไหน ยุคไหนครับ
ตอบ : อะเมื่อกี้บอกแล้วไง คืออภิธรรมแยกเป็นในพระไตรปิฎก กะที่เป็นคัมภีร์อธิบายรุ่นหลังอย่างที่เรามาใช้เป็นหลักในการศึกษาปัจจุบันมักจะใช้คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะและคัมภีร์ประกอบ แล้วแล้วบอกแล้วว่าอภิธัมมัตถสังคหะนั้น
พระอนุรุทธาจารย์เป็นผู้เรียบเรียงในราวพ.ศ1600หรือ1700 นักปราชญ์ก็ไม่แน่ใจนักประมาณนั้นประมาณพ.ศ1600-1700 หลังพระพุทธโฆษาจารย์ที่เรียบเรียงวิสุทธิมรรคเยอะ พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงวิสุทธิมรรคแปลอรรถกถานั้นพ.ศ 900 เศษ ไปศรีลังกาก็แปลคัมภีร์อรรถกถาจากสิงหลเป็นภาษาบาลีหรือมคธ เนี่ยเรื่องประวัติศาสตร์นี่ก็สำคัญบางทีอย่างพระไทยเราเรียนคัมภีร์อรรถกถาเล่มนี้เล่มนั้นไม่รู้ว่าคัมภีร์นี้ ไม่รู้แม้แต่ว่าใครแต่งเรียนกันไปแปลจนกระทั่งจบไม่รู้ว่าไอ้คัมภีร์เล่มที่ตัวเรียนนะใครแต่งละก็แต่งยุคสมัยไหนก็เลยยิ่งไม่รู้ใหญ่เลย เนี่ยก็เลยกลายเป็นว่าดูแต่เนื้อในนั้นเค้าเอามาแปลชั้นแปลได้จบพอละ
นิมนต์ฮะจะถามอะไร พระนวกะถาม: ???
ตอบ : อ่ออักษรไทยแต่ว่าเป็นภาษาบาลี ใช่มั้ยฮะก็คำว่าไทยนี่ต้องแยกว่าพระไตรปิฎกบาลีอักษรไทย หรือพระไตรปิฎกแปลเป็นไทย แปลเป็นไทยก็คือแปลเป็นภาษาภาษาไทย พระไตรปิฎกบาลีอักษรไทยก็คือพระไตรปิฎกเดิมที่สืบกันมา
ที่ผมบอกเมื่อกี้ว่าต้องพยายามรักษาให้คงเดิมเท่าที่มีมาถึงเราเนี่ยไม่ให้ผิดเพี้ยนไปเลย อันนี้ก็คือตั้งแต่สังคยานาครั้งที่ 1
อ่าวก็พอพระพุทธเจ้าปรินิพพานใช่มั้ยท่านอาจจะได้เรียนแล้วมั้งพุทธประวัติจบรึยัง จบ จบก็ชัดแล้วนี่ พอพระพุทธเจ้าปรินิพพานนี่ก็รอพระมหากัสสปะท่านเดินทางอยู่ ทีนี้พอได้ข่าวจากอาชีวกว่าพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
สุภัททะพุทธบรรพชิต พระสุภัททะที่บวชเมื่อตอนสูงอายุเนี่ยท่านก็แสดงความคล้ายๆจะว่าดีอกดีใจก็อาจไม่ถึงขนาดนั้น
แต่ว่าแสดงความโล่งใจพระทั้งหลายก็พากันโศกเศร้าร้องไห้ พระองค์นี่ก็บอกโอ้ยอย่าไปร้องไห้อะไรพระพุทธเจ้าปรินิพพานนี่ก็ดีอยู่
ทำไมละ เพราะตอนที่พระองค์อยู่นี่พระองค์ก็บัญญัตินู้นบัญญัตินี่พวกเราลำบากปฏิบัติกันยากมีชีวิตอยู่เดี๋ยวก็ต้องคอยฟังเดี๋ยวทำอันนี้พระองค์จะบัญญัติห้ามอีกหรือเปล่า ทีนี้พระองค์ปรินิพพานแล้วไม่มีใครมาจะเรียกภาษาปัจจุบันก็ไม่มีใครมาจ้ำจี้จ้ำไชแล้วก็สบายแล้วแหละโล่งกันสักที ทีนี้พระสุภัททะว่าอย่างงี้พระมหากัสสปะได้ยินท่านก็เลยเป็นห่วงว่าโอ้นี่ขนาดพระพุทธเจ้าปรินิพพานใหม่ๆก็ยังมีพระที่คิดอย่างงี้แล้วต่อไปทำไง ก็ต้องพยายามรักษาพุทธพจน์ไว้ให้ดีที่สุด ก็เลยนำเอาความคิดนี้ไปปรึกษาเมื่อไปถึงที่ปรินิพพานแล้ว จัดงานถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเสร็จแล้วก็เลยปรึกษาพระเถระที่อยู่ในที่นั้นว่าเราจะมาสังคยานากันดีมั้ย ก็ตกลงกำหนด ละท่านสงสัยอะไรฮะ
พระนวกะถาม: สงสัยว่าประเทศไทยเพิ่งจะตั้งเมื่ออาจจะเมื่อเพิ่งจะตั้งเมื่อ 700 ปีที่แล้ว แล้วอักษรภาษาไทยไม่ทราบว่าแปลหรือคัดลอกมาจากภาษาอะไรอย่างนี้ครับ
ตอบ : อ่อ อันนี้ก็ว่ากันไปอีกชั้น เอาเป็นว่าพอตกลงทำสังคยานา สังคยานาก็คือรวบรวมคำสอนพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้า
ตรัสเนี่ยมารักษาไว้มาให้ได้ตกลงกันรับทราบกันแล้วก็ช่วยกันรักษาต่อไป นี้ทีแรกก็ต้องรวบรวมสังคยานาก็คือสวด
พร้อมกัน คำว่าสังคยานาแปลว่าสวดพร้อมกัน ทีนี้ภาษาไทยปัจจุบันนี้เพี้ยนละ สังคยานากลายมาเป็นมาชำระสะสาง เดี๋ยวนี้คำว่าสังคยานาแปลว่าชำระสะสางใช่มั้ย เนี่ยเพี้ยนสังคยานาเดิมไม่ได้แปลยังงั้นเลยเข้าใจเถอะ มารวบรวม
เอามาวางเป็นหลักไว้แล้วก็ช่วยกันรักษาไว้ แล้วลักษณะเรื่องของพุทธศาสนาสำคัญที่อันนี้ก็คือว่า มุ่งไปที่คำสอนของ
พระพุทธเจ้าว่าจะรักษาไว้ให้พร้อมเพรียงก็มารวบรวมกันตอนนั้นนะสังคยานาและที่ประชุมก็ตกลงกันว่ารักษาอันนี้
ไว้ให้ดี พออันนี้เกิดขึ้นมาแล้วต่อมาก็มีวิวัฒนาการนิดหน่อยตอนนี้เราไม่รู้ชัดในช่วงประมาณสักร้อยปีแรก หรือแม้สังคยานาครั้งที่ 3 สมัยพระเจ้าอโศก พ.ศ 235-236 ละช่วงนี้ที่เป็นระยะที่ว่านอกจากว่าพุทธพจน์ที่รวบรวมในตอนสังคยานาครั้งที่ 1 แล้วเนี่ยยังมีคัมภีร์เพิ่มอีก จนกระทั่งสังคยานาครั้งที่ 3 ก็มีเพิ่มแต่ก็ถือว่ามาลงตัวสักที นี้ความคัมภีร์ที่เป็นรุ่นแรกๆมากก็พระสูตรนี่แหละพระสูตรที่เป็นแกนเนี่ยมีมาแต่ต้นเลย นี่ก็รักษากันมารักษาเป็นภาษาบาลี ทีนี้สมัยเดิมรักษาด้วยการสาธยาย สาธยายก็คือได้ปากเปล่า ปากเปล่าก็เรียกว่ามุขปาฐะ หรือ มุขบาฐ มุขปาฐะสวดเป็นภาษาบาลีด้วยปากเปล่า ทีนี่การสวดภาษาบาลีด้วยปากเปล่าเป็นวิธีรักษาภาษาบาลีหรือรักษาพุทธพจน์ที่ถือว่าแม่นยำที่สุด คนสมัยหลังนี่เข้าใจผิดนึกว่าไม่มีเป็นตัวหนังสือไม่ได้บันทึกไว้แล้วมันจะอยู่ได้ยังไง สมัยก่อนนั้นเค้าถือว่าถ้าไปเขียนละมีหวังก็จะต้อง จะต้องอะไรคลาดเคลื่อนและก็เลือนหายและก็สูญในเวลารวดเร็ว เพราะนั้นสมัยนั้นนี่เค้าถือการบันทึกเป็นตัวอักษรนี่
เป็นวิธีที่ต่ำที่สุดสมัยนั้นนะ จะเรียกว่าต่ำมันก็ไม่ใช่คือท่านก็ให้เกียรติแต่ว่าเป็นวิธีที่อะไรละมีคุณภาพต่ำที่สุด คุณภาพต่ำเพราะอะไรละครับ ท่านมองเห็นเหตุผลง่ายๆผมจะอธิบายไม่ยากหรอกคือการรักษาสมัยก่อนนี่นะที่ว่าใช้ปากเปล่าเนี่ย
มันไม่ใช่ว่าสักแต่ว่าบอกให้แล้วไปจำกันเฉยๆนะ มันต้องมีระบบเพราะถ้าถือเป็นสำคัญใช่มั้ยจัดเป็นระบบเป็นหมู่คณะ เอาละ หนึ่ง ลูกศิษย์เรียนกับครูอาจารย์สมัยก่อนเค้าเรียกว่า เรียนแบบต่อหนังสือ เคยได้ยินมั้ยต่อหนังสือ ต่อหนังสือก็ต้องเอาตัวบทก่อน แล้วก็อธิบายมันก็มีตัวบทและอธิบาย ตอนแรกก็ให้ตัวบท เช่นว่าพุทธพจน์พระสูตรนี้ เอ้าลูกศิษย์คนนี้มาเรียนนี้มากันเป็นกลุ่มบอกให้พระอาจารย์นี่ต้องแม่นใช่มั้ย บอกให้เอาๆท่านว่ามาว่าไม่ถูกต้องว่าจนให้ต้องถูก องค์นี้ก็ว่าให้ถูกจนได้คราวนี้ยังไม่ได้ เอ้ากลับไปวันหน้านัดมาใหม่ ต้องว่าตัวบทไม่ให้ผิดเลยนะแล้วทีนี้ก็ตัวบทไปก็อธิบายด้วยว่าเนื้อความมันเป็นอย่างงี้แต่ตัวบทนี่ต้องแม่น ทุกองค์ต้องให้แม่นลงกันหมด นี่หนึ่งละนะวิธีต่อหนังสือ เค้าเรียกว่าการถือการรักษาตัวบทนี่สำคัญเพราะเป็นแม่แบบเลยนี่
อ่าวสอง ทีนี้การรักษาทำเป็นหมู่คณะ หมู่คณะต้องสวดพร้อมกันสวดพร้อมกันแล้วใครจะไปเพี้ยนได้ละทีนี้ ถูกมั้ย จะตัดจะเพิ่มไม่ได้ทั้งนั้นใช่มั้ยสวดร้อยองค์สวดพร้อมกันนี่ใครจะไปเที่ยว ผิดกับพวกคำเดียวก็ไม่ได้ถูกมั้ย มันก็เลยกลายเป็นการรักษาที่แม่นยำ ทีนี้ท่านถือเป็นเรื่องใหญ่นี่พระมีหน้าที่ต้องสาธยายทรงจำพุทธพจน์ไว้นั่นก็มาประชุมกันสวดนี่แหละ ประเพณีสวดมนต์มันก็เกิดจากการสาธยายรักษาคำสอนพระพุทธเจ้า ที่เรามาทำวัตรนี่มันเรื่องค่อยๆวิวัฒนาการมาวัตถุประสงค์เดิมคือการสาธยายรักษาคำสอนพระพุทธเจ้าไว้ก็มาประชุมกันสวด นี่นอกจากนั้นแล้วก็แบ่งกันอีกวัดนู้นวัดนี่เป็นหมู่คณะหมู่คณะนี้ชำนาญในพระสูตรหมวดนั้น เฉพาะมัชฌิมนิกายเลย กลุ่มนี้ชำนาญในส่วนนี้เค้าเรียกว่าทีฆนิกาย พวกหนึ่ง มัชฌิมนิกายพวกหนึ่ง อะไรเนี่ยแยกกันไปพวกนี้เค้าชำนาญ ชำนาญต้องรักษาตัวบทแล้วต้องชำนาญในคำอธิบายด้วยนะ นั่นแหละแล้วอาจารย์พวกกลุ่มนี้ก็จะมีชื่อเสียงเป็นพวกผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เลยในหมวดกลุ่มเนี่ย พวกอื่นเค้าก็รักษานะแต่พวกนี้จะชำนาญเป็นผู้เชี่ยวชาญ นี่ก็รักษากันมาแบบนี้นะก็คือต้องจำตัวบทแล้วก็รู้คำอธิบาย ก็มีอาจารย์เป็นจะเรียกเจ้าสำนักหรือหัวหน้าหมู่คณะเป็นผู้ที่จะเป็นแม่แบบอีกทีนึง ก็เนี่ยวิธีทั้งการเรียนแต่ละองค์ทั้งการรักษาเป็นหมู่คณะสวดร่วมกันมันก็อยู่อย่างงี้ ละก็ถือสำคัญมากนี่ใช่มั้ยฮะพระก็ไปเจอต่างถิ่นก็ต้องตรวจสอบความรู้กันได้ ก็ต้องเป็นแบบแผนเดียวกันหมด นี้สมัยก่อนเค้าถือว่าการบันทึกการเขียนเป็นหนังสือนี่มันเป็นวิธีการที่ประมาทเพราะว่าพอไปเขียนแล้ว หนึ่ง ลองไปลอกสิสมัยก่อนมันไม่มีระบบการพิมพ์เป็นแม่แบบที่ว่าพิมพ์ทีเดียวเป็นหมื่นเป็นพันถูกมั้ยที่มาลงตัวเนี่ย เนี่ยไอ้การพิมพ์ที่มันมีแม่แบบที่คนจีนคิดขึ้นมันดีอย่างงี้เพราะมันมีแม่แบบ พิมพ์ทีเดียวพันนึงมันก็เหมือนกันหมด ทีนี้สมัยที่คัดลอกนี่นะครับหน้าหนึ่งไม่มีละที่จะไม่มีผิดเลยใช่มั้ย พอไปคัดลอกอ่าวไปแหละหน้านี้ตกไปตัวหนึ่งหรือเพี้ยนไปตัวหนึ่ง บางทีเห็นไม่ชัดไปลอกตัว ว เป็นตัว จ หรือตัว ว เป็นสระอาไปซะอะไรอย่างงี้นะ เพราะฉะนั้นพวกคัดลอกนี่ก็อันตรายคัดลอกทีก็เพี้ยนทีไม่มากก็น้อยนะแหละ ทีนี้ถ้าเป็นทั้งเล่มทั้งคัมภีร์ละก็จะเพี้ยนขนาดไหน งั้นเค้าก็เลยไม่ไว้ใจสมัยก่อนก็เลยใช้การคัดลอกเนี่ยสำหรับการเล่าเรียนชั่วคราว ก็หมายความว่าเวลาเราจะเรียนต่อกันใช่มั้ยก็อาศัยการไอ้เขียนเนี่ยมาเป็นเครื่องมือช่วยในการที่ว่า ในการทรงจำเรายังไม่แม่นเราก็มาช่วยในตัวเขียน ทีนี้ถ้าฝากไอ้ความจำฝาก
ไอ้เนื้อหาไว้กับตัวเขียนเมื่อไหร่ก็ถือว่าประมาท คล้ายๆว่ามันมีอยู่ในเขียนแล้วเลยตัวเองไม่เอาใจใส่ข้อมูลนั้นก็เลยไปอยู่ในสมุดแต่ในหัวไม่มีละก็กลายเป็นคนประมาทตัวจริงหายหมด นั้นท่านก็เลยต้องให้ระวังพอไปเขียนแล้วเนี่ยจะประมาท
ทีนี้ยุคที่ไม่เขียนเนี่ยจะต้องเอาใจใส่ กลัวนี่ใช่มั้ยหายไปนิดนึงก็แย่แล้วนะ ต้องเอาจริงเอาจังกันมาก
เพราะนั้นนตอนยุคเดิมเนี่ยใช้ไอ้พวกเขียนเนี่ยเป็นเพียงเครื่องช่วยในการเรียนเฉพาะหน้าแต่ละคราวๆ ในสมัยพุทธกาลก็มีในพระวินัยปิฎกท่านไปดูตรงนั้นตรงนี้ก็จะมีการเขียนแล้วไม่ใช่ไม่มี อย่าไปนึกว่าสมัยพุทธกาลเค้าไม่มีการเขียน เช่นโจรชนิดหนึ่งเนี่ยโจรที่ทางการออกหมายเรียก ในพระไตรปิฎกมีนะโจรชนิดหนึ่งเนี่ยท่านมีชื่อเลยโจรที่ทางการออกหมาย เรียกท่านมีชื่อเลย ก็คือต้องมีหมายประกาศก็คือเอาไปติดไว้ในทางสี่แพร่งอะไรอย่างนี้ว่าโจรคนนี้ให้จับตัวมา ก็เป็นอันว่ามีมานานแล้วเรื่องการเขียนหนังสือแต่ท่านถือว่าไม่ใช่วิธีรักษาพุทธพจน์ที่ไว้ใจได้ไม่น่าไว้วางใจ แต่น่ากลัวสูญหาย เพราะฉะนั้นก็ไม่ใช้ก็จะใช้เป็นเพียงเครื่องประกอบในการสื่อสารกันธรรมดา ในการช่วยการเล่าเรียนศึกษา
ส่วนการรักษาที่แท้นี่ก็คือการรักษาด้วยการสวดพร้อมกันละก็แบ่งหน้าที่อะไรอย่างที่ว่าเนี่ย ในการสืบสายสายนี้ชำนาญด้านนี้ สายนี้ชำนาญด้านวินัย สายนี้ชำนาญพระสูตรในหมวดนั้นๆไป ทีนี้ก็เป็นมาอย่างนี่จนกระทั่งว่ามาถึง พ.ศ 400 เศษที่ว่ามีสังคยานาครั้งที่ 5 ในลังกานะ ตอนนั้นมีสงครามมีอะไรต่อไรวุ่นวายพระก็อยู่ไม่เป็นสุข ท่านก็เลยมาปรารถว่าต่อไปนี่การที่จะใช้วิธีการรักษาพุทธพจน์ด้วยการสวดเป็นการทรงจำไว้ด้วยปากเปล่าเนี่ยจะเป็นไปได้ยาก เพราะนั้นก็เลยจะ ต้องจำเป็นแม้จะไม่น่าไว้วางใจนักก็พยายามทำให้ดีที่สุด ก็จำเป็นจะต้องจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วท่านทำด้วยความจำใจ ให้ไปอ่านประวัติดูการที่ท่านบันทึกพระไตรปิฎกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเนี่ยท่านทำด้วยความจำใจ
คือถือว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่น่าไว้วางใจแต่จำใจต้องทำ เพราะสถานการณ์นี้มันก็ไม่น่าไว้วางใจอย่างที่ว่า เมื่อสถานการณ์นี้มันก็ไม่น่าไว้วางใจก็เลยต้องเอาสิ่งที่ไม่น่าไว้วางใจน้อยกว่ามาช่วย ก็คือไอ้พวกเอกสารอะไรต่างๆอาจจะพอมีทางรักษาไว้ได้บ้างละก็ถือเป็นสำคัญว่าต้องมีการตรวจชำระกันอย่างหนัก เมื่อมีการมาจารึกนี่จะต้องทำกันเป็นส่วนรวมการของหมู่คณะมาประชุม เช่นพระสงฆ์ทั้งประเทศนี่ต้องมาตกลงกันแล้วก็มาทำด้วยกันแล้วก็มาตรวจสอบกันให้ดี เสร็จแล้วก็ตั้งฉบับที่เป็นแบบไว้ว่านี่นะฉบับที่เป็นแบบ อย่างประเทศไทยเราก็ถือเป็นแบบฉบับของประเทศซึ่งประเพณีทำมาก็ต้องเอา
พระเจ้าแผ่นดินเนี่ยเป็นผู้อุปถัมภ์ ทุกทีเลยนะเวลาทำเรื่องของการจารึกคัดลอกพระไตรปิฎกเนี่ยจะไว้เป็นแบบของแผ่นดิน ก็อย่างสมัยอยุธยาแตกพอสมเด็จพระเจ้าตากสินขึ้นครองราชย์ พอจัดการบ้านเมืองเข้าที่สิ่งที่พระองค์รีบทำคือ
อะไรรู้มั้ยจะเห็นเลยรีบให้รวบรวมพระไตรปิฎกจากเมืองเหนือเมืองใต้ใช่มั้ยฮะเนี่ย พระเจ้าตากเอาเลยคือถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งเลยการแผ่นดินเนี่ย รบมาบ้านเมืองแตกกระจัดกระจายวุ่นวายใช่มั้ยพอรวมได้ก็เอาเลย บอกว่าให้พระสงฆ์ให้ข้าราชการอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดเชียงใหม่ เมืองเหนือเมืองใต้รวบรวมพระไตรปิฎกส่งมา แล้วก็ให้ประชุมพระสงฆ์ ตอนแรกก็พระเจ้าตากยังไม่มีเวลาได้แค่รวบรวมเอาไว้ก่อนพอสมัยรัชกาลที่ 1 ก็ทรงมีเวลาการแผ่นดินเรียบร้อยมากขึ้น เอ้าประชุมพระสงฆ์ก็มาจารึกทำฉบับแม่บทแม่แบบขึ้นมา ก็เอาคัมภีร์ต่างๆมาละก็มาเทียบเค้าเรียกว่าชำระนะมาตรวจสอบมาสอบทานกันองค์นั้นอ่านอันนี้มาจากเมืองนครศรีธรรมราชนี่มาจากเชียงใหม่มาตรวจสอบกันเช็คนะละก็ลงกันเรียบร้อยดี ถ้ามันไม่ลงกันตรงไหนมีวิปลาสทำฟุตโน้ตไว้ว่าฉบับโน้นเป็นอย่างงี้ฉบับนี้เป็นอย่างงั้นใช่มั้ยฮะ คือต้องพยายามรักษาไว้ให้คงเดิมที่สุด แล้วก็เสร็จแล้วก็จารึกเป็นแม่แบบแล้วก็ทำเป็นการแผ่นดินของในหลวงรัชกาลที่ 1 นี่แหมเป็นฉบับทำกี่ฉบับไม่รู้ละนะเรียกว่าทาทองอย่างดีเลย เรียกว่าทรงให้เกียรติมากเหลือเกินแล้วก็ทำ หอมณเฑียร
ทำขี้นเก็บไว้รักษาเนี่ยเป็นแม่แบบของประเทศเลย เนี่ยเอากันอย่างงี้ของแต่ละประเทศก็ถือเป็นเรื่องใหญ่แต่ละประเทศ
ก็แทบจะอวดกันเลยนะของฉันนี่มีแม่บทอยู่นี่ ทีนี้ก็เวลาอีกประเทศต้องการจะชำระก็อาจจะส่งทูตมาขอสักฉบับหนึ่งไปตรวจสอบกับของประเทศของตัว นั้นเวลาที่เราเรียกว่าสังคยานาในปัจจุบันก็ต้องเอาของประเทศต่างๆเท่าที่มีเนี่ยมาตรวจสอบกันเราก็จะบันทึกดูหน้านี้คำนี้ เออเกิดไม่ตรงกันฉบับของเรากับฉบับของพม่า ฉบับของพม่าเค้าเป็นตัว จ ของเรานี่มาเป็นตัว ว ว่างั้นเอ้าบันทึกไว้ แหมแต่ตัวอักษรนี่ก็ต้องบันทึก เนี่ยเรียกว่าสังคยานาพระไตรปิฎกไม่ใช่ว่าไปเที่ยวสะสางพระไตรปิฎกฉันเห็นว่าอย่างงี้ไปจัดการไม่ใช่นะ เข้าใจผิดคนปัจจุบันไม่รู้เรื่องสังคยานา สังคยานาคือรักษาพุทธพจน์ที่มีมาให้บริสุทธิ์ที่สุดแม่นยำที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะฉะนั้นพระไตรปิฎกของเราจะอยู่ที่ไหนก็เหมือนกันหมด จะไปอยู่เมืองฝรั่งเมืองอินเดียเมืองพม่าเมืองอะไรก็เหมือนกันหมด แต่ว่ายังก็อดไม่ได้เพราะว่ามากมายพิมพ์เป็นเล่มตั้ง 22,000 หน้าเป็นฉบับภาษาบาลี เพราะงั้นมันก็ต้องมีบ้างนะที่มันอาจจะเผลอยังไงก็ไม่ทราบ อย่างเล่มที่ 33 เนี่ยของไทยหายไปเป็นคาถาเลยนะอย่างงี้ก็เป็นตัวอย่างมันยากมากในการที่รักษา แต่ก็เรียกว่าเก่งมากเชียวละรักษาได้อย่างงี้แสดงว่าท่านต้องมีน้ำใจตระหนักถึงความสำคัญอย่างยิ่งที่รักษา ทีนี้ท่านถามเรื่องตัวอักษรเพราะอย่างที่ว่าภาษาบาลีเดิมรักษามาด้วยปากเปล่าก็ไม่ต้องใช้ตัวอักษรนี่ นี้พอมามีตัวอักษรก็ตกลงกันสิว่าตัวอักษรนี้แทนเสียงนี้ถูกมั้ยฮะ ทีนี้พวกอักษรในประเทศเหล่านี้มันถึงกันมีประวัติความเป็นมาในการเกิดอักษรของชาติต่างๆแถวนี้คล้ายๆกัน อักษรของอินเดียก็เป็นที่มาส่วนหนึ่งของอักษรไทยเราด้วยนะใช่มั้ยฮะ อย่างตัวเลขอารบิกนี่ก็มาจากอินเดียฝรั่งตอนแรกนึกว่าเป็นของอาหรับก็มาเรียก
อารบิก ตอนหลังนี่ฝรั่งรู้แล้วบอกว่าอาหรับไปเอาจากอินเดีย เลยตอนหลังฝรั่งเลยเรียกเต็ม ตัวเลขฮินดูอารบิกไม่เรียก
อารบิกแล้วนะ เรียกเต็มต้องเรียกว่าฮินดูอารบิก เพราะว่าอาหรับแกไปเอามาจากอินเดียอีกทีหนึ่งแล้วก็ไปถึงฝรั่งก็ฝรั่งเอาจากอาหรับ ทีนี้ตัวเลขตัวอักษรพวกเนี่ยก็เป็นที่มา มาถึงเมืองไทยอะไรต่อไรไปเมืองมอญอะไรต่อไร
แล้วก็มีการมาชำระมาคิดมาตกแต่งปรุงอะไรขึ้นมาจนกระทั่งเป็นอักษรของตัวชาตินั้นๆ นี่อักษรพวกนี้ก็คล้ายกันอยู่แล้ว
ก็มาเทียบกันอักษรนี้ตรงอักษรนี้ก็มาตกลงกันสิใช่มั้ย ทีนี้เขียนภาษาบาลีจะเขียนด้วยอักษรของชาติไหนก็ได้เพราะตกลงกันแล้วว่าอักษรนี้เสียงนี้ใช่มั้ยฮะ หรือจะเทียบกับอีกชาติหนึ่งคืออันนี้ก็เท่านั้นละก็จบ เพราะนั้นเราจะเขียนภาษาบาลีเป็นอักษรไทยฝรั่งจะมาอ่านก็มาดูอักษรไทยตัวนี้เทียบกับตัวอักษรที่ตัวเคยเรียนมาปั๊ปเดียวละอ่านได้ละไม่ต้องรู้ภาษาไทยเลย เราจะอ่านพระไตรปิฎกบาลีอักษรพม่าเราก็ไปเรียนอักษรพม่าอักษรนี้เท่ากับตัวนี้ๆ ตัวนี้เท่ากับ ก ตัวนี้เท่ากับ ข ของเราเท่ากับสระอะ สระอาของเรา พอจำได้ปั๊ปอ่านพระไตรปิฎกได้เลย พระไตรปิฎกบาลีอักษรพม่าเอา
อ่านได้หมดเป็นสากลหมด อักษรโรมันฝรั่งก็มาบัญญัติ อ้อไอ้ตัวสระอะก็เอาเป็นเท่ากับตัวเอ A สระอาก็เป็น Aมีขีดบน สระอิเท่ากับ I สระอีเท่ากับ I มีขีดบน สระอุเท่ากับ U สระอูเท่ากับ U มีขีดบนอะไรอย่างงี้นะ A ก็เท่ากะE O อะไรงี้
เอาละแค่นี้ละครับเดี๋ยวก็อ่านได้แล้วพระไตรปิฎกอักษรโรมันมาปั๊ปเราอ่านได้หมดแหละสากลเลยแล้วแน่นอน ไม่มี
ไม่เหมือนภาษาอังกฤษนี่ ทีโอทู TO จีโอโก GO ใช่มั้ยมันไม่แน่นอนนี่อะไรกันไอ้ที่ทำไม TOทำไมเป็นทู ไอ้GOทำไมกลายเป็นโกไปละใช่มั้ย ภาษาไทยก็เหมือนกันบางคำก็อ่านไม่แน่นอนแต่ถ้าบาลีละเด็ดขาดเลย ตัวไรเป็นตัวนั้น ก เป็น ก ข เป็น ข ถูกมั้ยฮะ สระไหนสระนั้นเพราะงั้นจะไปเทียบอักษรไหรเหมือนกันหมดสบายเลย นั้นภาษาบาลีพระไตรปิฎกอรรถกถาไปอยู่ประเทศไหนก็ใช้อักษรประเทศนั้น ละก็ใครไปก็เรียนรู้ละเทียบได้หมดอ่านได้หมด เข้าใจนะฮะ มีไรอีกละ
พระนวกะถาม: ถ้างั้นก็แสดงว่าเราไม่ได้คัดลอกมาโดยตรงจากภาษาสิงหลใช่มั้ยครับ
ตอบ: อ่อ ก็คือว่าเราก็สืบๆกันมาสายไทยเราก็ต้องให้เกียรติลังกา ลังกาก็เนี่ยเป็นแหล่งการศึกษาใหญ่ในสมัยที่ทางอินเดียเสื่อมแล้วก็เลยพระไตรปิฎกก็มารักษาไว้ดีที่ลังกา แล้วก็ตอนที่ลังกาเค้าฟื้นฟูพุทธศาสนาเล่าเรียนศึกษาใหญ่แล้วทางไทยเราก็มีพระไปเรียนเยอะ ที่ว่าเอ้าท่านอ่านประวัติพุทธศาสนาในตอนสุโขทัยไงใช่มั้ยพระไทยแล้วก็พระลังกาก็มาจากลังกาอยู่ที่นครศรีธรรมราช ละก็พ่อขุนของเราที่สุโขทัยส่งทูตไปนิมนต์ พระมหาสวามีสังฆราช มาสุโขทัยถูกมั้ยครับ แล้วก็ให้ถวายที่ให้อยู่ที่วัดอรัญญิกหรืออะไรนั่นนะถูกมั้ยได้ยินมั้ย เคยได้ยินนะครับนั่นแหละ นี่ก็คือฟื้นฟูพุทธศาสนาเอาลังกาเป็นแม่แบบ แต่ว่าพระไตรปิฎกเองอันที่จริงมีมาก่อนแล้วมีมาแล้วก็รักษากันสืบมา ทีนี้การเล่าเรียนศึกษาก็ถือว่าบางทีมันชักจะเสื่อมลงไปก็ไปฟื้นฟูไปเล่าเรียนกันมา แล้วก็คัมภีร์ไหนที่มันขาดตกบกพร่องก็ไปเอามาให้ครบก็ลังกาก็เป็นศูนย์กลางใหญ่ตอนยุคนั้น เลยว่ากันไปเกินเวลาเยอะแหละ มีไรสงสัยอีกมั้ยฮะ
พระนวกะถาม: มีบางที่ๆกำลังพยายามแปลจากอักษรขอมมาเป็นอักษรไทย ก็เลยไม่ทราบว่านี่คือเพื่อจะศึกษาหรือเพื่ออะไรไม่ทราบ
ตอบ: อ่าวก็ธรรมดาเพราะคนสมัยนี้ไทยอ่านขอมไม่เป็น คือในเมืองไทยเราเนี่ยนะแต่ก่อนเราก็ใช้อักษรขอม แล้วพอเรามีอักษรไทยขึ้นคนไทยก็เกิดไปยึดติดอักษรขอม เกิดมีปัญหาเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาอีกถือว่าอักษรไทยเนี่ยไม่ศักดิ์สิทธิ์ ต้องใช้อักษรของเพราะฉะนั้นจะเขียนภาษาบาลีต้องใช้อักษรขอม กลายเป็นยังงั้นไปยึดมั่น เพราะงั้นสมัยผมยังเป็นเณรเนี่ยคัมภีร์ใบลานเป็นอักษรขอมเยอะแยะไปหมดเลยตามวัดบ้านนอก เวลาจะเทศน์หลวงพ่อเก่าๆก็ต้องอ่านอักษรขอม
ทีนี้ท่านก็ชำนาญอักษรขอมกันแม้แต่ว่าอาณาจักรขอมมันหมดไปนานเนแล้วใช่มั้ยแต่เมืองไทยกลายเป็นว่าช่วยรักษาอักษรขอมไว้ด้วย ก็เรียนภาษาบาลีไรต่อไรคัมภีร์ใบลานก็ใช้อักษรขอมกันมาเพราะถือเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามาเขียนเป็นอักษรไทยก็กลายเป็นไม่ศักดิ์สิทธิ์ไป จนกระทั่งในหลวงรัชกาลที่ 5 มาทรงพัฒนาขึ้นว่าเรามีความเจริญแบบฝรั่งการพิมพ์เข้ามาทำหนังสือเป็นเล่มได้แล้วไม่ต้องเป็นคัมภีร์ใบลาน พอพิมพ์เป็นเล่มแล้วทีนี้ในหลวงก็ต้องการจะให้เผยแพร่และให้คนสมัยใหม่อ่านได้สะดวกจะเป็นตัวอักษรขอมอยู่คนสมัยนี้ไม่รู้เรื่องแย่แล้วอ่านได้ไม่กี่คน
ก็เลยให้แปลงถ่ายทอดจากอักษรขอมเป็นอักษรไทยแล้วก็พิมพ์เป็นเล่มขึ้น เลยในหลวงรัชกาลที่ 5 เนี่ยเป็นต้นแบบเป็นต้นคิดเลยในการที่มาพิมพ์คัมภีร์เป็นอักษรไทย ตอนนั้นก็โดนค้านเยอะเลยถ้าไม่ใช่รัชกาลที่ 5 อาจสำเร็จยาก เพราะในหลวงรัชกาลที่ 5 นี่ทรงเป็นที่รักใช่มั้ยคนนี่ก็เชื่อถือมาก แม้กระนั้นก็โดนค้านเยอะพระก็ไม่พอใจเยอะ ชาวบ้านก็เอ๊ะทำไมจะมาทำลายความศักดิ์สิทธิ์ไรใช่มั้ยเล่นเอาทำลำบากเหมือนกัน แต่ในหลวงก็ทำได้สำเร็จก็เลยพิมพ์พระไตรปิฎกออกมาเป็นเล่มเป็นอักษรไทยครั้งแรกเลย ตอนแรกมี 39 เล่มขาดคัมภีร์อภิธรรม 6 เล่มสุดท้ายไปไม่ครบ 45 เล่ม ขาดไป 6 เล่ม คัมภีร์ปัฏฐานนี่สุดท้ายในอภิธรรมมี 6 เล่ม เมื่อขาดไปก็เลยมี 39 เล่ม ทีนี้ส่วนที่สิงหลนี่เค้าใช้อักษรสิงหลไม่ใช่ภาษาสิงหลนะครับต้องแยกก่อน ลังกาเค้าก็เขียนภาษาบาลีด้วยอักษรสิงหล ไทยเราก็เขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทย พม่าเค้าก็เขียนภาษาบาลีด้วยอักษรพม่า มอญก็เขียนภาษาบาลีด้วยอักษรมอญ ลาวก็เขียนภาษาบาลีด้วยอักษรลาว เขมรก็เขียนด้วยอักษรเขมรหรือขอม แล้วไทยเหนือเราก็มีอักษรของตัวเองอีกทางนั้นเรียกว่าอักษร ?? ก็เลยมีพระไตรปิฎกบาลีฉบับของอักษร ?? ของเมืองเหนือขึ้นมาอีกก็เป็นอีกฉบับ แล้วฝรั่งก็มาคัดลอกเอาไปก็ตอนแรกคัดลอกเอาจากฉบับอักษรสิงหลก็ได้ฉบับอักษรสิงหลไปก็ใช้อักษรโรมัน อักษรฝรั่งเนี่ยเค้าเรียกอักษรโรมันก็ไปใช้เขียนภาษาบาลีด้วยอักษรโรมัน เราก็เลยมีพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆ เช่นอรรถกถาเนี่ยฉบับอักษรต่างเยอะแยะไปหมดเลย แล้วที่ญี่ปุ่นก็เอาไปแล้วนะที่ญี่ปุ่นเค้าถือว่าในที่สุดเค้าก็รู้ว่ามหายานเนี่ยคัมภีร์เดิมหายหมดแล้ว แล้พระไตรปิฎกบาลีนี่เป็นของต้นเดิมเท่าที่มีมาเก่าที่สุด ก็เลยญี่ปุ่นก็เลยมาเอาพระไตรปิฎกบาลีของเราไปแล้วก็เอาไปคัดไว้ที่ญี่ปุ่น ตอนนี้ที่ญี่ปุ่นก็มีพระไตรปิฎกบาลีด้วย พูดเยอะแล้วท่านว่าไง ก็ดีมั้ยเรื่องเก่าๆอย่างงี้เรื่องความเป็นมาจะได้รู้แม้จะไม่ใช่เนื้อหาธรรมะนะ รู้เรื่องประกอบก็แล้วกันรู้เรื่องประกอบก็เป็นประโยชน์ ถ้าท่านสนใจมากอาจจะต้องมาเล่าเรื่องพระไตรปิฎกในแง่ของการที่มาพูดให้เห็นรูปร่างของพระไตรปิฎก การจัดแบ่งหมวดหมู่พระไตรปิฎกให้เห็นว่ารูปร่างเป็นยังไง เนื้อหาเค้าโครงเรื่องสาระสำคัญในแต่ละหมวดละตอนเป็นยังไงเนี่ย คือถ้าท่านสนใจจริงๆแล้วเรียนไว้จะเป็นประโยชน์มาก คือมองพระไตรปิฎกปั๊ปนี่มองออกเลยว่าเนื้อหาส่วนนี้จะหาได้จากเล่มไหนส่วนไหน เมื่องั้นเรามองเห็นเราก็เอ้อเป็นพระไตรปิฎกก็จบใช่มั้ยฮะ อะอย่างเก่งก็แบ่งได้เป็นพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม แต่ก็ไม่รู้อีกว่าเอาวินัยส่วนนั้นจะหาเรื่องเกี่ยวกับเรื่องการผูกสีมา เรื่องของการลงโบสถ์อุโบสถ เอ๊ะจะไปหาตอนไหนยังงี้นึกไม่ออกเลยใช่มั้ย หรือว่าอย่างเรื่องพระสูตรก็เหมือนกันอย่างว่าจะไปหาเรื่อง ขันธ์ 5 จะไปหาเรื่องทิศ 6 จะไปหาเรื่องภิกษุณี จะไปหาตรงไหนเอายังไงอะไรนี้นะ นี่ถ้าเราเรียนรู้พระไตรปิฎกนี่เรามองปั๊ปเราก็ออกเลยว่าเรื่องนี้ควรจะไปที่เล่มนั้นๆหาตอนนั้นๆ ถ้าท่านสนใจก็อาจจะมาค่อยคุยกันอีกที ถ้าสนใจนะ ถ้าไม่สนใจก็แล้วไป แต่ว่ามันก็เป็นพื้นฐานในการเล่าเรียนถ้าเราจะลงลึกในเรื่องของพุทธศาสนาเนี่ย เรารู้เค้าโครงพระไตรปิฎกไว้เป็นประโยชน์ว่าเพราะแหล่งที่แท้ก็มาจากนี้ คือเราอาศัยครูอาจารย์นี่เป็นสื่อให้เราเพื่อโยงเข้าหาหรือนำเข้าหาพระไตรปิฎกเราไม่ได้ไปติดอยู่แค่ครูอาจารย์ใช่มั้ยฮะ อ่าวมีอะไรอีกมั้ยครับ สงสัยอะไรมั้ย ไม่มีนะ ถ้าไม่มีก็เท่านี้ก่อนก็คุยกันเยอะแล้ว ตกลงนะวันนี้เท่านี้ก่อน เอาละงั้นก็นิมนต์ สุขสวัสดี