แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ตอนนี้จะคุยกันเรื่องทั่ว ๆ ไป ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน อันนี้ว่าถึงการบวชความเป็นอยู่ของพระนี่ หวนหลังไปถึงสมัยก่อนนี้ เวลาจะบวชนี้จะต้องมาอยู่วัดกันก่อน แต่ว่าสมัยก่อนนี้คนมีเวลาเยอะเป็นชีวิตแบบเกษตรกรรม ฉะนั้นเขาก็จะมีวงจรชีวิต แบบปีหนึ่งก็ทำงานอย่างเรื่องทำนากันครั้งเดียวด้วยซ้ำสมัยก่อน นี้ฤดูแล้งก็จะเป็นเวลาที่ว่าง นี่สำหรับคนที่จะมาบวช ก็จะมาบวชอยู่พรรษาหนึ่งเลย นี่ก็เท่ากับว่าปีนั้นก็เว้นจากงานการแล้ว แต่ส่วนหน้าแล้งนี้ก็มีเวลาว่างอยู่แล้ว และเพื่อจะให้การบวชนี้ได้มีการตระเตรียมอย่างดี ก็มีประเพณีว่า มาอยู่วัดตอนฤดูแล้งอาจจะเดือน 4 เดือน 5 คุณพ่อคุณแม่ก็นำมาฝากไว้กับหลวงพ่อ แล้วมาอยู่วัดนี่ก็ได้ดูกัน ได้ฝึกอบรมในเรื่องทั่ว ๆ ไป ชีวิตความเป็นอยู่ทั้งด้านการเตรียมที่จะมีชีวิตอย่างพระภิกษุสงฆ์ การฝึกหัดกิริยามารยาทต่าง ๆ การเตรียมเรื่องบทสวดมนต์ และเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีการเกี่ยวข้อง การต้อนรับแขกผู้คนอะไรต่าง ๆ ทั่วไปหมดเตรียมอย่างดี นี้เมื่อพระอุปชาท่านเห็นว่า พร้อมดีแล้วก็จะนัดวัน กำหนดวันกับทางบ้าน แล้วจึงจะจัดพิธีการอุปสมบท แต่สมัยก่อนนี้ก็บวชค่อนข้างไวประมาณเดือน 6 ก็บวชแล้ว แล้วก็อยู่กันอย่างที่ว่าตลอดพรรษา แล้วก็รับกฐินถือเป็นประเพณีว่ารับกฐินก่อนแล้วจึงจะสึก สมัยก่อนนี้ค่อนข้างจะถือเอาจริงเอาจังมากเสียหน่อยเรื่องรับกฐินก่อนสึก เดี๋ยวนี้แทบจะไม่มีใครถือแล้ว เพราะเวลาจำกัดทุกอย่างบีบรัดโดยเฉพาะเศรษฐกิจ เรื่องงานการนี่ ท่านที่บวชมา ลาราชการก็มีเวลาจำเพาะ ราชการยังดียังให้มากกว่า ธุรกิจเอกชนยิ่งให้น้อยเข้าไปอีก ก็บีบรัดเข้าไปทุกที ๆ บางท่านก็บีบรัดด้วยเรื่องการศึกษาเล่าเรียน เพราะฉะนั้นสภาพชีวิตปัจจุบันก็ไม่อำนวยที่จะให้ได้ปฏิบัติเต็มตามประเพณี อันนี้สำหรับสมัยก่อน เมื่อรับกฐินไปแล้วบางท่านก็อยู่ต่อไปอีก คือว่าไม่มีความเร่งร้อนอะไร ก็อยู่ไปตามที่ตัวสมัครใจ เขาอาจจะเรียกว่าอยู่ไปตามบุญบารมี พรรษาหนึ่งก็ได้เรียน ได้อบรม ได้มีความรู้เท่านี้ ถ้าบวชต่อไปอีกพรรษาหนึ่งก็ได้เรียนรู้มากขึ้น หลายท่านก็จะอยู่ต่อไป ก็ทางบ้านก็ไม่ได้มีเหตุอะไรต้องมาเร่งรัด ถ้ามีเหตุทางบ้านก็อาจจะต้องออกไปช่วย นี่หลายท่านก็อยู่ต่อไป 2 พรรษา เอ้าอยู่ไป เอ้อีกพรรษาหนึ่งก็ได้อยู่อีก 3 พรรษา 4 พรรษา 5 พรรษา พระองค์ก็อยู่เรื่อยไป แต่ว่าจะมีแบบว่าอยู่ระยะเวลาต่าง ๆ กัน มีพระที่อยู่สั้นบ้างยาวบ้าง เยอะแยะไปหมด บางทีก็อยู่ 5, 6 พรรษาก็สึก บางทีก็อยู่ 2, 3 พรรษาสึก ระยะเวลาที่พระอยู่ก็เลยกระจายกันไป ทำให้มีพระอยู่สืบต่อพระศาสนาดูแลวัดรับผิดชอบกิจการของสงฆ์ หรือว่าทำหน้าที่ของพระต่อประชาชนได้เรื่อย ๆ แต่ว่าแม้การบวชสมัยนี้จะสั้น ถ้าเรามีการหมุนเวียนอย่างนี้ ก็เท่ากับว่ามีพระมาช่วยกันรับผิดชอบดูแลสืบต่อพระธรรมวินัยไปเรื่อย ๆ เหมือนกัน แต่ว่าอาจจะได้ผลน้อยลงไป เพราะระยะเวลาอย่างหนึ่ง แล้วอีกอย่างก็คือ การฝึกอบรม การศึกษาเล่าเรียน
นี่ย้อนกลับไปเรื่องที่ว่า การเตรียมบวช เมื่อเตรียมบวชนี่ก็จะมีการเตรียมหลายอย่าง อย่างที่พูดเมื่อกี้แล้ว นี้สิ่งหนึ่งก็คือการเตรียมเรื่องบทสวดมนต์ สมัยนี้เตรียมกันได้แค่ท่องขานนาค เพราะเวลาเราไม่พอก็เอาเฉพาะบทที่จะใช้ในสังฆกรรมเรื่องการบวชแท้ ๆ สมัยก่อนนี้ต้องท่องกันเยอะเลย บางวัดท่อง 7 ตำนานก่อนบวชด้วยซ้ำได้ก่อน ทีนี้ ในบรรดาบทสวดเหล่านั้นบทหนึ่งที่ถือเป็นสำคัญก็คือเรียกกันว่า บทปฏิสังขาโย นี้เรียกง่าย ๆ ตามคำเริ่มต้นของบทสวดนั้น แต่ถ้าเรียกเป็นภาษาทางการก็เรียกว่า ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะ ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะ ปัจจะเวกขะณะ แปลว่า การพิจารณา ตังขะณิกะ แปลว่า ในขณะนั้น ๆ พิจารณาในขณะนั้น ๆ หมายถึงพิจารณาปัจจัย 4 นั่นเอง เมื่อเรามีชีวิตอยู่ก็จำเป็นจะต้องเกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 ที่เป็นเรื่องพื้นฐานเลย ทีนี้เรื่องข้อปฏิบัติของพระนี้ก็เริ่มตั้งแต่เรื่องปัจจัย 4 นี่ ซึ่งถือว่าเป็นศีลด้วยน่ะ บางท่านอาจจะไม่ได้นึกว่าละนี่เรื่องศีลล่ะ ท่านก็จะให้มีการพิจารณาปัจจัย 4 เริ่มตั้งแต่อาหารที่ฉัน ทีนี้การพิจารณานี้ตอนที่ฉันก็ให้พิจารณา เมื่อฉันในตอนที่พิจารณาก็เป็นในขณะนั้น ๆ ก็เลยเรียก ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะ การพิจารณาในขณะนั้น แล้วท่านก็มีอีกว่า ในกรณีที่บางทีเผลอไผลไปลืมไป ตัวเองประมาทไปไม่ได้พิจารณาในตอนฉัน เวลาผ่านไปแล้ว เช่นการตอนค่ำคืนก็เอาไปพิจารณาอีก พิจารณาย้อนหลังเป็นการทวนแล้วก็เตือนตนเอง ก็เรียก อตีตะปัจจะเวกขะณะ เปลี่ยน ตังขะณิกะ เป็นอตีตะ ก็แปลว่าการพิจารณาส่วนอดีตคือ ส่วนที่ล่วงไปแล้ว นี่สองตอน ทีนี้สำหรับพิจารณาตอนเป็นอดีตนี่ ก็นิยมว่าเอามาเข้าเป็นบทสวดมนต์ด้วยเลย บางวัดเวลาค่ำก็จะสวดบทนี้ด้วย สวดบทอติตะปัจจะเวกขะณะ การพิจารณาเรื่องปัจจัย 4 นี้ก็ถือเป็นสำคัญ เพราะว่าชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนนี่ต้องเกี่ยวเนื่องด้วยปัจจัย 4 นี้ก็ท่านก็ให้บริโภคใช้สอยปัจจัย 4 ด้วยพิจารณา คือด้วยปัญญาไม่ได้บริโภคด้วยตัณหา บริโภคด้วยปัญญาต่างกับบริโภคด้วยตัณหาอย่างไร บริโภคด้วยตัณหาก็คือบริโภคเพื่อเสพรส เพื่อมุ่งความเอร็ดอร่อย คือสนองความรู้สึกที่ทางพระเรียกสุขทุกข์ ในที่นี้ก็คือ ไม่เอาแล้วเรื่องทุกข์เอาแต่สุข สุขในกรณีของอาหารก็คืออร่อย เป็นว่าตัณหาอยากทั้งหลายบำรุงบำเรอตาหูจมูกลิ้นกาย ถ้าเป็นเครื่องนุ่งห่มก็มุ่งความสวยงามความโก้เก๋อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ หรือค่านิยม อย่างสมัยปัจจุบันนี้มีค่านิยม นอกจากสนุกสนานบันเทิงเอร็ดอร่อย แล้วก็เรื่องความโก้เก๋ แม้แต่ว่าประกวดประขันแข่งฐานะกัน เอาอาหารเป็นเครื่องแสดงฐานะ เอาเครื่องนุ่งห่มเป็นเครื่องแสดงฐานะ เอาที่อยู่อาศัยเป็นเครื่องแสดงฐานะ ทีนี้ อันนี้ท่านบอกไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของความต้องการที่แท้จริงของชีวิต พูดภาษาสมัยใหม่ว่า มันไม่ใช่เป็นเครื่องแสดงถึงการมีคุณภาพชีวิต การที่ฉันอาหารเพื่อเอร็ดอร่อยหรือการนุ่งห่มเพื่อโก้เก๋ของราคาแพง อย่างสมัยนี้บางคนจะใส่เสื้อต้องดูยี่ห้อ ๆ จากประเทศไหน ๆ ตลอดไปจนกระทั่งเครื่องใช้อย่างกระเป๋าก็ต้องมาจากฝรั่งเศสยี่ห้อนั้นราคาเท่านั้น ราคาอาจจะเป็นพันเป็นหมื่นเลย อาหารก็อย่างนี้ก็อยู่ในประเภทอย่างนี้ คือว่าไม่ได้บริโภคเพื่อคุณค่าที่แท้จริงต่อความร่างกายของชีวืต ถ้าความต้องการของชีวิตแต่บริโภคเพื่อสนองค่านิยมหรือความอยากความชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งบางทีกลายเป็นว่าพอบริโภคไปแล้วเกิดโทษมากกว่าคุณ อย่างกินอาหารมื้อละพันหรือหมื่น เพื่อเอร็ดอร่อยเพื่อโก้ อาจจะทำลายสุขภาพมีคุณค่าต่อชีวิตที่เป็นคุณค่าแท้ เพื่อสุขภาพหรือเพื่อคุณภาพชีวิตนี้ สู้อาหารมื้อละ 100 บาทก็ไม่ได้ เพราะอาหารมื้อละ 100 บาท ซึ่งอาจจะไม่ต้องถึงด้วยซ้ำ ถ้ารู้จักจัดให้ดีแล้วทำด้วยปัญญาที่เข้าใจความมุ่งหมายในการบริโภค เราก็จะได้คุณค่าที่พอแก่ความต้องการของร่างกาย เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แต่ถ้าไม่ได้บริโภคด้วยปัญญาแล้ว ไม่ได้พิจารณาว่าควรจะกินในปริมาณเท่าไร ควรจะกินประเภทอาหารไหน เอาแต่อร่อยเข้าว่า เอาแต่โก้เข้าว่า กลายเป็นว่าบางทีคนนี่มีฐานะเศรษฐกิจดี มีอาหารการกินอย่างดี เขาเรียกว่ามีมาตราฐานการครองชีพสูง ใช่ไหม มาตราฐานการครองชีพสูงคือว่า เอ้อ แสดงภาวะทางเศษฐกิจนี่ดีมีเงินมีทอง พอมีอาหารการกินเพียงพอมากมาย แต่เสร็จแล้วไม่ได้คุณภาพชีวิต ก็เลยกลายเป็นว่ามาตราฐานการครองชีพสูงแต่คุณภาพชีวิตเสีย ว่าอย่างงั้นน่ะ กลายเป็นอย่างนั้นไป ฉะนั้นการที่มีมาตราฐานการครองชีพสูงไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี สมัยก่อนนี้คนจะไปมุ่งเน้นเรื่องมาตราฐานการครองชีพมาก พูดกันแต่เรื่องมาตราฐานค่าครองชีพ ที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า Standard Living ต่อมายุคหลังนี่เกิดมีคำใหม่เรียกว่า Quality of Life แปลว่าคุณภาพชีวิต แล้วตอนนี้จะได้ยินว่าพูดกันเกร่อ เลยคำว่าคุณภาพชีวิต ใช่ไหม มาตราฐานการครองชีพนี่พูดน้อยลง คล้าย ๆ ว่าชักเห็นแล้วว่าการมีมาตราฐานการครองชีพสูงนี้ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะมีชีวิตที่ดี ฉะนั้นต้องมาวัดกันใหม่ ชีวิตที่ดีอยู่ที่อะไร ก็เลยได้ศัพท์ใหม่ว่า คุณภาพชีวืต ฉะนั้นบางคนกินอาหารแพง ๆ เป็นอยู่อย่างดี มาตราฐานการครองชีพสูง แต่ว่าเป็นโรคภัยไข้เจ็บเยอะ โรคภัยไข้เจ็บเกิดจากอาหารนั้นเองกินไม่ถูกสัดส่วน กินปริมาณมากเกินไปบ้าง กินประเภทอาหารที่ไม่ครบไม่สมบูรณ์ แต่ว่าไปหนักบางอย่างเกินไป เช่นหนักไขมันเกินไป ก็ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความอ้วนก็ดี เรื่องของไขมันในเส้นเลือดมากตลอดจนความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมอง ในหัวใจตีบหรือตันอะไรทำนองนี้ แล้วก็เลยเกิดเป็นโรคอารยธรรม เรียกว่าโรคอริยธรรม ก็คือว่า ประเทศที่เจริญแล้วนี่ มักมีโรคเหล่านี้มาก โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งประเทศที่ยากจนกลับไม่ค่อยเป็น ฉะนั้นประเทศที่เจริญก็เลยไม่ได้มีหลักประกันว่าจะทำให้คนนี่มีสุขภาพดี ซึ่งเป็นด้านหนึ่งของคุณภาพชีวิต
ที่นี้ในทางพระพุทธศาสนาสอนเลยเบื้องต้น ก็คือว่าหลักการฝึกเบื้องต้นอย่างพวกเข้ามาบวชนี่ ก็เริ่มที่ปัจจัย 4 เราก็มีหลักอยู่แล้วว่า ให้มีการเป็นอยู่ที่ง่ายอาศัยปัจจัย 4 พอเลี้ยงชีพ แต่ทีนี้ว่าไม่ใช่แค่นั้น ต้องให้รับประทานต้องฉันพิจารณาด้วยปัญญาด้วย เพราะฉะนั้นจะมีบทพิจารณาที่ว่าให้ท่อง ก่อนจะบวชก็ท่องเลย บทตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะ พิจารณาในขณะนั้น ๆ ก็เวลาจะฉันก็จะพิจารณาอาหาร ก็เพื่อจะให้มีสติ ความจริงก็คือ ฉันโดยรู้ตัวว่า ที่ฉันนี้เพื่อสนองความต้องการของชีวิตที่แท้จริงน่ะไม่ใช่เพื่อเพียงเอร็ดอร่อยโก้เก๋ แต่ทีนี้เพื่อเตือนสติก็เลยเอาจริงเอาจังเวลาเริ่มฉันเลย ก็เลยจะเห็นพระเก่า ๆ นี่ก่อนจะฉันนี้จะพิจารณาอาหารก่อน ความจริงนั้นสติมันต้องเป็นในเวลาฉันตลอดเวลา ไม่ใช่มาตอนเริ่มว่า แต่ว่าเพื่อจะเตือนตัวเอง ก็ตอนเริ่มฉันนี้ตั้งใจเริ่มพิจารณา ก็เลยเอาคำบาลีที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้มาว่าตอนนั้นเลย ก็ว่าคำพิจารณา คำพิจารณาอาหารนี้ก็จะมีว่า ปะฏิสังขา โยนิโส บิณฑะปาตัง ปฎิเสวามิ เนวะทวายะ นะมัณฑะนายะ นะ วิภูสะนายะ เป็นต้นว่าเรื่อยไป ก็แปลว่า ข้าพเจ้าพิจราณาแล้วโดยแยบคาย พิจราณาโดยแยบคายคือ พิจารณาด้วยใช้ปัญญาไตร่ตรองอย่างดีแล้ว คำนึงถึงเหตุถึงผลแล้ว จึงฉันอาหารนี้ จึงฉันอาหารบิณบาตร ว่าที่ฉันนี้มิใช่เพื่อสนุกสนาน เอร็ดอร่อย มัวเมา หลงเพลิน เพื่อจะโก้เก๋อะไรทั้งนั้น หรือเป็นเครื่องประดับประดา แล้วบอก ยาวะสะกายายะทิฐิตตยานะ ที่ฉันนี้ก็เพื่อการดำรงอยู่การยังอัตราภาพนี้ให้เป็นไป ให้ร่างกายนี่ดำรงอยู่ได้ แล้วก็ วิหิงสุปะระติยา เพื่อกำจัดความบีบคั้น แปลว่าการหิวกระหายหรือการขาดอาหารนี้เป็นภาวะที่บีบคั้นเบียดเบียนร่างกาย ธรรมะจริยานุพายะ เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์นี่มาถึงแล้วจุดสำคัญ เพราะว่าชีวิตของพระนี้ก็เพื่อประพฤติพรหมจรรย์ก็คือ ดำเนินตามอริยมรรค พรหมจรรย์ในที่นี้ความหมายกว้างน่ะ หมายถึงว่าการดำเนินตามมรรคมีองค์ 8 ก็คือการที่บำเพ็ญไตรสิกขา คือเพื่อเราจะทำกิจหน้าที่เพื่อชีวิตที่ดีงามของเรา ให้การรับประทานอาหารนี้มาเกื้อหนุนต่อการเป็นอยู่ดำเนินชีวิตที่ดีงาม การบำเพ็ญกิจหน้าที่ของตัวเองนั่นเอง ถ้าเราใช้ถูกอาหารก็จะมีความหมายเป็นปัจจัยตรงนี้ เพราะว่าเป็นปัจจัยก็คือ มันเป็นเครื่องเกื้อหนุนเรา เพื่อเราจะได้ทำกิจทำหน้าที่ทำความดี ถ้าเราไม่มีร่างกายแข็งแรงไม่มีอาหารเราอ่อนแอ เราก็ทำงานทำการบำเพ็ญกิจหน้าที่บำเพ็ญสมณธรรม บำเพ็ญศีลภาวนา ศีลสมาธิปัญญาไม่ได้ผล ฉะนั้นการรับประทานอาหารฉันภัตตาหารก็เป็นปัจจัยเกื้อหนุน แต่มันไม่ใช่จุดหมายนะ จุดนี้สำคัญ ไม่ใช่ว่ากินอาหารและเป็นจุดหมายแล้วไปกินอร่อยสบาย จบ
แต่รับประทานอาหาร เพื่อปัจจัยก็คือเป็นเครื่องเกื้อหนุน เป็นเครื่องเกื้อหนุนให้เรานี่พร้อมที่จะไปทำสิ่งที่ดีงามยิ่งขึ้นไป อิติปูราณัญจะ เวทานัง ปฏิหังขามิ นะวัญจะ เวทานัง นะอุปปาเทสสมิ ผมบอกต่อไปอีกว่า เพื่อระงับเวทนาเก่าไม่ให้เกิดเวทนาใหม่ อันนี้มุ่งไปถึงเรื่องของความสบายให้ร่างกายอยู่สบายไม่เกิดทุกขเวทนา ยาตราเวสะวีสติ แล้วก็อย่าจัดมีชีวิตที่ดำเนินไปได้ ยาตรา ยาตรานี่หมายถึง มีชีวิตยาตรา ไม่ใช่ว่ายาตราทับไปไหนนะ อนาวะชะตา แล้วก็จะมีความไม่มีโทษ ไม่มีโทษนี่หมายความว่า ไม่เกิดผลเสีย ไม่เกิดภัยอันตราย ไม่ไปเป็นการเบียดเบียนภายนอกด้วย แล้วก็ไม่เกิดโทษแก่ชีวิตร่างกายของเราด้วย ถ้ากินถูกด้วยปัญญานี้ แล้วไม่เกิดโทษก็ไม่เกิดข้อเสียหาย จะผาสุวิหาโรจาติ แล้วจะเป็นอยู่ผาสุขด้วย ก็นี่เป็นวัตถุประสงค์ในการรับประทาน เรารับประทานแล้วเป็นอยู่เป็นผาสุขไม่ใชรับประทานแล้วไปอยู่เป็นทุกข์ นี่แหละวัตถุประสงค์ในการรับประทาน เพราะฉะนั้นพระจะต้องพิจารณาทุกครั้งไปในเวลาฉัน ให้เข้าใจว่าวัตถุประสงค์ในการฉันภัตตาหาร นี้แหละเป็นศีลเบื้องต้นของพระเลย อันนี้ก็เลยให้ฝึกกันว่าตั้งแต่มาอยู่วัดก็ให้ท่องบทพิจารณา ที่นี้เวลาฉันก็พิจารณาอย่างนี้ ใช่ไหม แต่นี่ว่า บางทีพระเก่าท่านก็ว่าสืบ ๆ กันมา พระอาจารย์หลวงพ่อให้ท่องก็ท่องตามไป นี่ก็ต้องได้แต่คำบาลีไม่รู้ความหมาย อ้าวท่านว่าเวลาฉันก็ให้มาพิจารณาก็ว่าไปตามนั้นอีก นึกว่าเสกข้าว ก็เลยนึกว่า โอ้ นี่ฉันเราเสกข้า ถ้าจะเสกให้ศักดิ์สิทธิ์เข้าใจเป็นอย่างนั้นซะนี่ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น เนี่ยเป็นโดยที่ว่า ทำตาม ๆ กันไปไม่ได้ศึกษากันจริงจัง ก็ไม่เข้าใจความมุ่งหมาย ความจริงนั้นคือ ให้พิจารณาเพื่อจะได้รับประทานได้ถูกต้องตามความมุ่งหมายที่แท้จริงของการกิน เพราะกินนี้เพื่อสุขภาพดี เพื่อคุณภาพชีวิต ไม่ใช่กินเพียงเพื่อความเอร็ดอร่อยแล้วเกิดโทษ เพราะถ้ากินด้วยตัณหาแล้วนี่ก็จะไม่มีขอบเขตว่าปริมาณการกินแค่ไหน ใช่ไหม เอาอร่อยเป็นเกณฑ์นี่ไม่รู้จบ กินกระทั่งท้องกางลุกไม่ขึ้นก็ยังอาจจะกิน ทีนี้แล้วก็ประเภทอาหารก็ไม่มีขอบเขต กินอาหารเอาแต่อร่อยใช่ไหม อันนี้ก็ไม่ได้สัดส่วนอย่างที่ว่าคาร์โบไฮเดรต โปรตีนไขมัน ไม่ได้สัดส่วน อันบางอันขาดบางอันเกิน แล้วก็อะไรที่มันอร่อยกินบางทีสารเคมี เครื่องปรุงแต่งเสริมรสเข้ามาปรุงแต่งสีเข้ามาเลยเกิดเป็นพิษต่อร่างกาย เอาสวยเอาอร่อยเข้าว่า
ที่นี้ถ้ากินด้วยปัญญา ไอ้ความที่รู้จุดมุ่งหมายในการกิน มันก็จะมาจำกัด
1. ปริมาณอาหารให้พอดีแก่ความต้องการ
2. จำกัดประเภทอาหารให้ได้สัดส่วน การกินพอดีก็เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นการกินด้วยปัญญาก็เลยมีชื่อว่า การกินพอดี เรียกเป็นภาษาพระว่า ความรู้จักประมาณในการบริโภค ภาษาพระว่าโภชเนมัตตัญญุตา อันนี้สำคัญมาก ผู้ที่บวชเข้ามานี่เบื้องต้นจะต้องฝึกในเรื่อง โภชเนมัตตัญญุตา ต้องมีความรู้จักประมาณในการบริโภค ซึ่งเป็นผลดีต่อชีวิตของตนเอง และเป็นการฝึกในศีลด้วย เป็นการฝึกพฤติกรรมในการฉันในการรับประทานหรือในการบริโภค แล้วก็ขยายไปถึงเรื่องอื่นหมด เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มก็พิจารณาเช่นเดียวกัน พระสมัยก่อนนี้ จะหยิบจีวรมาห่มก็ต้องปฏิสังขาโย ต้องพิจารณาเหมือนกันเหมือนฉันข้าวเนี่ย ฉันข้าวก็ตักข้าวมาช้อนนึงเป็นตัวอย่างก็พิจารณา เลยฉันข้าวเปล่า ๆ ไปช้อนหนึ่งก่อน เดี๋ยวนี้ก็ยังมีปฏิบัติกันเพราะว่าท่านที่ทำมาตั้งแต่เป็นเณรก็เคยชิน ที่นี้จีวรจะหยิบมาห่มก็ ปฏิสังขาโย โยนิโส จีวารังปะเสวานิ เปลี่ยนแล้ว เมื่อกี้ ปฏิสังขาโย โยปิติณัฐอาปัง ปติเสวามิ คราวนี้เปลี่ยนเป็น ปฎิสังขาโย โยนิโส จีวารังปะเสวานิ ข้าพเจ้าพิจารณาแล้วโดยแยบคาย พิจารณาเหตุพิจารณาผลความมุ่งหมายอะไรดีแล้ว จึงใช้สอยจีวรนี้ แล้วก็บอกไป เพื่อจะได้กันหนาวกันร้อน เหลือบยุงริ้นไร อะไรเป็นต้น แล้วป้องกันความละอาย นี่ก็คือว่าให้เข้าใจความมุ่งหมายในการใช้ ก็เอาคุณค่าที่แท้จริง เรานึกเอ้เราห่มจีวรนี้ อ้อ จุดมุ่งหมายคืออันนี้ เวลาเราใช้แล้ว เราได้วัตถุประสงค์นี้หรือเปล่า หรือใช้แล้วเสื้อผ้าเป็นเพียงเครื่องประดับตกแต่ง แล้วก็ใช้ราคาแพงโดยใช่เหตุ ไม่ได้คุณค่า บางทีไอ้ของที่ราคาแพง คุณค่าที่แท้จริงไม่ได้เลย ใช่ไหม ถ้ามันจะใช้ได้ปัญญาได้อย่างไร คนสมัยนี้เป็นกันเยอะนะ แสดงว่าเรามีการศึกษาแต่เราไม่ได้ใช้ปัญญา ในการแม้แต่ปฏิบัติต่อปัจจัย 4 ทำด้วยความหลง ทำด้วยตัณหา ทำด้วยอวิชชา ทำด้วยความไม่รู้ ปฏิบัติกันไปแม้แต่ปัจจัย 4 นี่ดำเนินชีวิตคนปัจจุบันนี้เป็นมาก แล้วลองคิดซิ การศึกษามันจะไปได้ยังไง แม้แต่ขั้นพื้นฐานนี้เรายังไม่ได้เข้าใจเลยใช่ไหม ทีนี้ อย่างที่ว่ามาตรฐานการครองชีพสูง แต่คุณภาพชีวิตเสียแม้แต่ผ้าผ่อนใช้ของแพง แล้วเสร็จแล้วไม่ได้ประโยชน์ อาจจะเป็นเสื้อผ้าที่มันเหมาะกับเมืองนอกสำหรับอากาศหนาว ก็เอามาใช้เมืองไทย มันก็เสียคุณภาพชีวิตใช่ไหม แพงเสียเปล่า ก็ต้องดูว่าเสื้อผ้าอย่างไหนใช้เพื่อประโยชน์ที่แท้จริงเราต้องการอะไร มีเสื้อผ้าไว้ใช้อะไร แต่ว่าเรายอมรับว่า มนุษย์ปุถุชนนี่ ก็ต้องการบ้างล่ะ เรื่องค่านิยม เรื่องคุณค่าเทียม ที่มาเสริมไอ้ความรู้สึกในความอยากความพอใจ ความชอบสวยงาม เป็นต้น เอร็ดอร่อย แต่ว่าอย่างน้อยต้องให้ด้านปัญญา ด้านคุณภาพชีวิตประโยชน์ที่แท้นี้ได้ก่อน อย่างน้อยต้องให้ตัวนี้เป็นพื้นฐานได้ก่อน แล้วส่วนประดับตกแต่งนั้นตามมาประกอบ แล้วอย่าให้เกินไป อย่าให้มาทำลายไอ้ส่วนแท้ อย่างน้อยต้องได้ดุลย์กัน ไอ้ส่วนคุณภาพแท้ต้องมาอยู่ ไม่ใช่ว่าไปเอาคุณค่าเทียมก่อน ใช่ไหม เลยไม่คำนึงถึงคุณค่าที่แท้จริงเลย คุณค่าแท้หายไป คุณภาพชีวิตก็ไม่ได้ เอาเป็นอันว่ายอมรับว่าสำหรับปุถุชนอย่างชาวบ้าน เรายอมให้เอาบ้างเรื่องความสวยงามโก้เก๋
แต่ว่า 1. ต้องให้ได้คุณค่าที่แท้จริงก่อนเป็นฐานไว้ก่อน อย่าให้เสียอันนี้เด็ดขาด ถ้าเสียแล้วถือว่าดำเนินชีวิตผิดไม่มีการศึกษา
2.ส่วนที่มาประกอบเสริมเรื่องคุณค่าเทียมนั้น อย่าให้เลยเถิดไปจนกระทั่งเป็นการเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น ใช่ไหม อันนี้สำคัญมาก เบียดเบียนตน เช่นว่า ฉันอาหารแล้วทำให้สุขภาพร่างกายเสียไป เพราะเห็นแก่คุณค่าเทียม เช่นความเอร็ดอร่อยโก้เก๋ แล้วก็เบียดเบียนผู้อื่น ทำให้สังคมเดือดร้อนแย่งชิงกันมาก เอาจากผู้อื่นมากโดยใช่เหตุ ใช่ไหม แล้วก็ไปทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากด้วย ถ้าปฏิบัติตามหลักพระพุทธเจ้าแล้ว ได้หมด ชีวิตตัวเองก็ดี คุณภาพชีวิตส่วนตนก็ได้ สังคมก็ไม่เบียดกันมาก สามารถเผื่อแผ่กันได้ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากใช่ไหม ฉะนั้นมันต้องเริ่มจากอย่างนี้ ท่านเรียกว่าศีล น่ะครับศีลไม่ใช่หมายความเฉพาะศีล 5 ไม่เบียดเบียนกันอย่างนั้น ศีลเบื้องต้นนี่สำคัญ การปฏิบัติต่อปัจจัย 4 ก็เป็นอันว่าท่านก็ให้พิจารณาเวลาฉันเวลาใช้ของ แต่ที่เน้นมากก็คือ เรื่องอาหารเป็นจุดสำคัญของคน แล้วทีนี้ ว่าถ้าเวลาที่ฉันนั้นไม่ได้พิจารณาก็เลยไปพิจารณาย้อนหลัง บทย้อนหลังก็จะเปลี่ยนเป็น อัชชะ มะยา อปัจจะเวกขิตะวา ก็บอกว่า ในวันนี้หมายถึงอดีตที่ผ่านมานี้ ที่ข้าพเจ้าฉันแล้วไม่ได้พิจารณานั้นน่ะ ก็เอาเป็นว่าตอนนี้พิจารณาว่า ต้องฉันโดยเข้าใจความมุ่งหมายที่แท้จริงด้วยปัญญาอย่างที่ว่านะ จะได้เตือนตนทบทวนไว้ พรุ่งนี้ก็หันกลับมามีสติพิจารณาใหม่ นี่ก็เป็นบทก็ใช้กับปัจจัย 4 ทั้ง 4 อย่าง มีบท มีปัจจัย 4 ก็มีบทปฎิสังคาโย 4 บท มีบทอัชชะมะยา 4 บท เวลานี้บางวัดอย่างพระสงฆ์ไทยที่ไปอยู่ในอเมริกา ท่านตั้ง เป็นสมัชชาขึ้นมา เพื่อจะให้เป็นองค์กรที่เป็นศูนย์รวมในการที่มาดูแลกัน และก็นัดหมายในการปฏิบัติให้สม่ำเสมอกัน ก็มีมติอันหนึ่งก็คือ เวลาก่อนจะฉันเนี่ย ให้สวดปฏิสังขาโยพร้อมกัน ก็คือว่า อย่างน้อยให้ได้รูปแบบก่อน แต่รูปแบบนั้นไม่ได้เป็นหลักประกันสาระนะ ใช่ไหมอาจจะว่าเป็นปากเปล่าคล่อง ๆ ปาก แต่ใจไม่มีสติที่จะพิจารณาเลยก็ได้ใช่ไหม แต่อย่างน้อยรูปแบบมันก็ต้องเป็นตัวรักษาว่า อย่างน้อยต่อไป ก็เอ้อะไรนี่ที่ว่าไปนี่ มีบทคำอยู่ใช่ไหม จะได้มาเตือนตนว่า อ๋อ นี่มีสาระอยู่เยอะอย่างนี้ สาระก็อยู่ในรูปแบบ แต่ว่าบางทีรูปแบบมี แต่สาระไม่เอา เพราะฉะนั้นต้องให้ได้ทั้งสองอย่าง ต้องได้รูปแบบรักษาเนื้อหาแล้วก็เอาเนื้อหาสาระมาใช้ ตกลงว่าให้พิจารณาอย่างน้อยก็มีความรู้ตระหนักว่าเราฉันเพื่ออะไร ที่นี้ บทสวดเหล่านี้ต่อไปที่นี่เราก็อาจจะเอามาพิจารณากันอีกทีว่า เพราะว่าตอนนี้เราอยู่ก็เริ่มมาก แต่ก่อนนี้มีแค่ 3 องค์ตอนต้น ตอนนี้มีหลายองค์เพิ่มขึ้น เรื่องของหมู่คณะนี้ ก็อาจจะต้องมีรูปแบบมาช่วย เพื่อความเป็นระเบียบด้วย แล้วก็เป็นสื่อ ๆ เนื้อหาสาระด้วย นั้นก็อาจจะมาตกลงกันว่าเอ้อ วัดเราจะเอาไหม ก่อนฉันก็ ปฏิสังคาโย พร้อมกันนะ อะไรอย่างนี้ ของฝรั่งเขามีการสวดก่อนรับประทานเหมือนกันนะ แต่เขาสวดขอบคุณพระเจ้า ว่าที่เขาได้อาหารมานี้ ด้วยพระผู้เป็นเจ้ามอบให้ แต่ของพุทธศาสนานี่บอกให้พิจารณาฉันอาหารด้วยปัญญา ให้เข้าใจความมุ่งหมายที่แท้จริงของการรับประทาน ถ้าจะขอบคุณก็ขอบคุณบิดามารดาเป็นต้น โมทนาญาติโยม ที่ได้มามีศรัทธาบำรุงให้มีฉันแล้วไม่ต้องเป็นห่วงกังวล จะได้สามารถมีปัจจัยที่จะเกื้อหนุนในการประพฤติพรหมจรรย์ มาเป็นกิจหน้าที่ได้ อันนี้ เอ้าก็เลยพูดต่อไปเลยว่า เรื่องการฉันนี่ก็เลยโยงไปหาความสัมพันธ์กับญาติโยม ซึ่งเรื่องนี้ก็อาจจะพูดต่อไปอีก ตอนนี้พูดโยงเฉพาะในแง่ของการฉันภัตตราอาหารว่าเพราะพระเนี่ย พระพุทธเจ้าบัญญัติวินัยไว้ว่า ให้มีความเป็นอยู่โดยที่ไม่ทำหาเลี้ยงชีพด้วยตนเอง ไม่ทำมาหาเลี้ยงชีพหมายความว่า ไม่ไปประกอบการอาชีพอย่างชาวบ้าน หากินหาเงินทอง แต่ว่าให้ทำหน้าที่ของตนเอง การทำหน้าของตนเองนั่นแหละเป็นอาชีพอยู่ในตัวแล้ว ไม่ใช่พระไม่มีอาชีพนะ พระมีอาชีพเหมือนกัน คือการดำรงชีวิตของตัวเองให้ถูกต้องตามบทบาท เมื่อเราได้ดำรงชีวิตของตนถูกต้องตามบทบาทแล้วนี่ก็เป็นอาชีพที่บริสุทธิ์ ประชาชนเขามีศรัทธา เขาต้องการให้ธรรมะดำรงอยู่ในโลก เขาต้องการให้คนดีมีอยู่ในโลก เป็นหลักประกันความมั่นคงของสังคม เขาก็ต้องมาทํานุบํารุง ญาติโยมก็มาถวายภัตตาหารด้วยศรัทธาและด้วยจิตมุ่งหมาย ว่าจะช่วยรักษาธรรมะ โดยมาอุดหนุนท่านผู้ดำรงประพฤติธรรมเผยแผ่ธรรม ให้มีชีวิตอยู่ได้ทำกิจได้สะดวก ทีนี้ ญาติโยมเขามาอุปถัมภ์บำรุงนี้ พระก็ต้องมีความระลึกอยู่เสมอว่า โอ้เราไม่ได้ทำอาหาร ไม่ได้หาเลี้ยงชีพ หาเงินหาทองด้วยตนเองนะ อาศัยผู้อื่นเป็นอยู่แปลว่า ปรัตติพาทามีชีวิกา บอกว่าชีวิตความเป็นอยู่ของเรานี้เนื่องด้วยผู้อื่นไม่งั้นเราต้องทำตัวให้เลี้ยงง่าย ท่านบอกว่าเราต้องทำตัวให้เลี้ยงง่ายภาษาพระว่าเป็น สุภโร สุภโรเป็นภาษา เป็นนาม ภาวะนามแปลว่า สุภรตา แปลว่า ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย ไม่จำเป็นต้องจดหรอกครับ แต่ว่าจดไว้ประกอบเป็นเรื่องของความรู้รอบตัวก็ได้ ความเป็นผู้เลี้ยงง่ายถือเป็นหลักสำคัญ พระจะต้องประพฤติตัวให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย นี่ถ้าเราไปนึกถึงไม่เฉพาะพระหลอก เด็ก ๆ เนี่ย ลูกนี่อยู่กับพ่อแม่ก็ต้องนึกถึงอย่างนี้ เรายังไม่ได้มีความพร้อมจะหากินด้วยตนเอง อย่ารบกวนคุณพ่อคุณแม่ให้มากเลย ทำตัวให้คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงง่าย อย่างนี้ก็จะเป็นเรื่องที่ว่ามีน้ำใจต่อคุณพ่อคุณแม่เยอะ เพราะท่านก็อุตส่าห์ลำบากลำบนในการที่จะต้องประกอบอาชีพเหน็จเหนื่อยเหลือเกิน เพราะรักลูกเห็นแก่ลูก บางทีลูกก็ไม่เห็นแก่พ่อแม่เอาแต่ใจตัว ก็ทำตัวให้พ่อแม่เลี้ยงยาก ลำบากลำบนจะเอาโน่นเอานี่ เนี่ยถ้าลูกรู้จักกินอาหารอย่างพระ ก็รับประทานอาหาร เอ้อ เพื่ออะไรไม่ใช่เพื่อเอร็ดอร่อยโก้เก๋ ไม่ต้องไปแข่งกับใครหรอก ไปแข่งกับเขาก็ขออภัย ก็โง่ เพราะว่ามันไม่ได้ใช้ปัญญา ถ้าใช้ปัญญาก็รับประทานเพื่ออะไรอ่ะ ก็พิจารณาด้วยปัญญาตัวเองก็รู้แล้ว เพราะรับประทานนี่เพื่อจะให้ร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดี เราต้องมาดูว่าปริมาณอาหารแค่ไหนประเภทอาหารอะไรที่มันทำให้ร่างกายของเราดี เราก็กินด้วยปัญญา พอกินด้วยปัญญา เราก็มีความภูมิใจมั่นใจในตัวเอง เพราะเป็นความถูกต้อง เราจะมั่นใจไม่ต้องไปแข่งกับใครแลัว เขามีกินนั่นมีอร่อย มีเสื้อผ้าอย่างนั้น ใช้โก้เก๋นี่เรากลับเห็นเป็นว่าเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ เพราะว่ามันไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา ที่ว่าใช้แล้วคำนึงถึงวัตถุประสงค์ใช้แล้วเสียคุณภาพชีวิตเป็นเหตุสิ้นเปลืองด้วย ทำลายหลายอย่าง ฉะนั้นเด็กก็เหมือนกันไม่ใช่เฉพาะพระหรอก เด็กถ้าหากว่าเข้าใจวัตถุประสงค์นี้ที่ใช้ปัญญาในการบริโภค แล้วก็จะเป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นผู้ที่มีน้ำใจต่อคุณพ่อคุณแม่ ทำให้คุณพ่อคุณแม่มีความสุขขึ้นเยอะเลย
ที่นี่หันมากลับมาเรื่องพระ พระก็ทำตัวให้ประชาชนเลี้ยงง่าย ก็เลยมีหลักอีกอันหนึ่งก็มาสนับสนุน ท่านเรียกว่าสันโดษ สันโดษก็หมายความพอใจ ในปัจจัย 4 อาหาร จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ อะไรพวกนี้ ตามมีตามได้ หมายความว่าญาติโยมถวายมายังไงก็ไม่เที่ยวไปเรียกร้อง ไม่ไปมัวร่านรนกระวนกระวายจะไปหาอย่างนั้นอย่างนี้ ฉันให้มันมุ่งแต่เอร็ดอร่อยมีอย่างไงก็ฉันพอให้เป็นอยู่ได้ ให้สนองความต้องการชีวิตอย่างที่ว่า ให้เป็นไปตามปฏิสังขาโย ที่นี้เราก็อยู่ได้ง่ายด้วยปัจจัย 4 ที่มีพอสมควร ท่านเรียกว่าเท่าที่ได้มาเป็นของตน นี่ก็อยู่ง่ายสันโดษก็ไม่รบกวนชาวบ้านใช่ไหม ไม่รบกวนชาวบ้านแล้วก็ทำให้เรานี่พร้อมที่จะไปทำกิจหน้าที่ พอเราสันโดษในปัจจัย 4 ความสันโดษนี้จะมาช่วยเรา คือเราก็ไม่เกิดความทุกข์ เกิดความทุรนทุราย เพราะเรื่องปัจจัย 4 ว่าอันนั้นยังไม่มี ทำไมไม่ได้อาหารอร่อย ฉันไม่ได้จีวรสวยงามอย่างงั้นอย่างงี้ ใช้อะไรนี้ไม่ต้องไปทุรนทุรายใจก็สบาย ใจก็สบายท่านก็เรียกว่า มีความสุขง่ายด้วยวัตถุน้อย พอมีความสุขง่ายด้วยวัตถุน้อย ก็ทำยังไง เราสุขง่ายแล้ว เราก็ไม่เอาเวลาและแรงงานความคิดไปวุ่นกับการแสวงหา ใช่ไหม ที่นี้ถ้าคนไม่สันโดษนี่ มันไม่พอใจด้วยวัตถุที่มีจิตใจมันก็มุ่งไปทยานหาสิ่งที่ยังไม่มี มันก็ต้องใช้เวลาแรงงานและความคิดสิ้นเปลืองไปกับการที่จะไปแสวงหา เวลาก็หมดไปแรงงานก็หมดไป ความคิดก็ครุ่นคิดอยู่พรุ่งนี้จะฉันอะไรมันอร่อย ถ้าเป็นชาวบ้านก็พรุ่งนี้จะไปกินเหลาไหน ภัตตาคารไหนอาหารชนิดไหน คิดแต่อย่างนี้จะไปปรนเปรอตัวเองอย่างไร เวลาแรงงานและความคิดก็หมดเปลืองไป ก็เลยไม่เป็นอันทำการทำงานกิจหน้าที่ไม่ได้ทำ นี้พระสงฆ์นี้ยิ่งสำคัญมาก ถ้าไม่สันโดษเสียแล้ว เป็นอันว่ากิจหน้าที่เสียหมด ที่นี้พอสันโดษแล้ว เราก็ออมสงวนเวลาแรงงานและความคิดไว้ได้หมด เราสุขง่ายด้วยวัตถุน้อย ทางวัตถุเราก็สุขแล้ว สบายแล้ว ปลอดโปร่งโล่งใจ นี้เวลาแรงงานและความคิดของเรานี่ ไม่สูญเสียไปกับการทะยานหาสิ่งเหล่านั้น เราก็ออมมันไว้ แล้วเราก็เอาเวลาแรงงานและความคิดนี้มาทุ่มเทอุทิศให้แก่การปฏิบัติกิจหน้าที่ของตนเอง ถ้าเป็นพระก็บำเพ็ญไตรสิกขา ถ้าเป็นญาติโยมก็ได้ทำงานทำการที่เป็นบทบาทของตัวเองให้ถูกต้อง อย่างพัฒนาประเทศชาติก็เลยสำเร็จ ภาคข้าราชการ ภาคประชาชน เอาใจใส่กิจหน้าที่ของตนเอง ไม่ทยานหาการบำรุงบำเรอปรนเปรอในการเสพใช่ไหม การงานกิจการต่าง ๆ ก็ดำเนินก้าวหน้าไปได้ ก็สันโดษก็มาอุดหนุนการพัฒนา คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดว่านึกว่าถ้าสันโดษแล้วจะขัดขวางการพัฒนา เพราะเขาไม่เข้าใจความมุ่งหมายของสันโดษ ทีนี้ถ้าเราปฏิบัติสันโดษผิด ก็ไปขัดขวางการพัฒนา อย่างเขาว่าเหมือนกัน คือว่าสันโดษพอใจในวัตถุตามมีตามได้ เสร็จแล้วก็เราสุขแล้วเราก็สบายก็ได้นอนเลย อย่างนี้สันโดษเพื่อขี้เกียจใช้ไม่ได้ สันโดษท่านเพื่อให้ออมเวลาแรงงานและความคิดไว้ไง เราจะได้เอาเวลาแรงงานและความคิดนี้มาทุ่มเทให้แก่การทำกิจหน้าที่ เพราะว่าพระมีหน้าที่อยู่แล้ว จุดหมายอยู่ที่การบำเพ็ญหน้าที่ เช่นการบำเพ็ญไตรสิกขา และถ้ามัวไปแสวงหาวัตถุไม่สันโดษ อย่างที่บอกเมื่อกี้เวลาแรงงานและความคิดหมดไปกับการแสวงหาเป็นอันว่า ไตรสิกขาไม่ได้บำเพ็ญ เห็นได้ชัดพระองค์ไหนไม่สันโดษแล้ว ไตรสิกขาไม่มีอันได้บำเพ็ญหรอกครับ ใช่ไหม หน้าที่การงานไม่ได้เอา ทีนี้ พอเราสันโดษแล้ว ทีนี้ก็เต็มที่เลยใช่ไหม วัตถุเรามีแค่ไหน ก็อยู่พอมันให้ได้คุณภาพชีวิต ทีนี้ก็เอาเวลาและแรงงาน ความคิดมาใช้ในการทำกิจหน้าที่ของพระสงฆ์ การเล่าเรียนปริยัติ การปฏิบัติ การเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอน ทำได้เต็มที่เลยคราวนี้ แล้วสบายใจไม่มีกังวล ถ้าคนที่ไม่สันโดษ แกก็ต้องมาเบียดบังเวลาทำการงาน ไปแสวงหาสิ่งเสพใช่ไหม แล้วแกก็ทำงานด้วยความทุกข์ทรมาน เพราะใจแกไม่อยู่กับงาน ใจแกไปอยู่กับสิ่งเสพที่ยังไม่ได้ ฉะนั้นคนที่สันโดษก็มีความสุขด้วย แล้วทำงานด้วยความสุข ตั้งใจทำการทำงานเต็มที่ พระพุทธเจ้าจึงบอกให้สันโดษวัตถุเสพ แต่ไม่ให้สันโดษในอกุศลธรรม อันนี้หลักการสำคัญการไม่สันโดษในกุศลธรรมเป็นคำสอนที่สำคัญของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่าพระองค์นี่ที่ตรัสรู้นี้ เพราะไม่สันโดษน่ะ แต่ว่าอย่าเพิ่งเข้าใจผิด ไม่ใช่ไม่สันโดษในวัตถุ พระองค์ไม่สันโดษในกุศลธรรม ถ้าพระพุทธเจ้าสันโดษในกุศลธรรมแล้วไม่ตรัสรู้หรอก พระพุทธเจ้าไม่พอไม่อิ่มไม่พอในกุศลธรรม สิ่งที่ดีงามต้องบำเพ็ญยิ่งขึ้นไปก้าวหน้าไปเรื่อย เอาล่ะครับก็พูดเลยไปถึงเรื่องสันโดษด้วย ว่ามันเกี่ยวกับเรื่องปัจจัย 4 เป็นอันว่าถ้าเมื่อสันโดษแล้วก็วัตถุนั้นก็ไม่จำเป็นต้องมากมาย ไม่สิ้นเปลือง อยู่ง่าย แต่ว่าออมเวลาแรงงานและความคิดมาทุ่มเทให้แก่การทำกิจหน้าที่ เช่นบำเพ็ญไตรสิกขา โดยมีความไม่สันโดษในกุศลธรรม ก็ปฏิบัติก้าวหน้าไปสู่จุดหมายในพระศาสนา สันโดษก็มาหนุนกับความไม่สันโดษ ก็หวนกลับไปเรื่องว่าสันโดษนี้ ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับชาวบ้านก็คือ จะได้ไม่รบกวนญาติโยม ก็กลายเป็นคนที่เลี้ยงง่าย แล้วญาติโยมก็ไม่ต้องเดือดร้อน ถ้าพระไม่สันโดษ เดี๋ยวก็เอาล่ะ หาทางหาได้ไม่ดี ก็ไปเที่ยวรบกวนญาติโยม รบกวนโดยตรงไม่ได้ก็ไปหลอกลวง พอไปหลอกลวงก็ไปหาทางหลอกลวงชาวบ้าน หาลาภด้วยวิธีต่าง ๆ หรือว่าไปประจบประแจง หรือไปหาเอาลาภต่อลาภ โอ้วิธีเยอะ วิธีนี้อย่างนี้ท่านเรียกว่า อเนสนา แปลว่าแสวงหาในทางที่ผิด ท่านเรียกว่าเป็นมิจฉาชีพของพระ เพราะพระนี้จะไปขออาหารชาวบ้านก็ไม่ได้นะ ไปออกปากขออาหาร ท่านมีวินัยบัญญัติไว้เลย ภิกษุไปออกปากขออาหารกับผู้ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปาวรณาเพื่อตนฉันเป็นอาบัติ ปาจิตติโย นี่มีความผิดเลย ต้องเดินไปอย่างนี้ ไม่มีสิทธิ์ ก็เดินไป เขารู้ความต้องการเขามีศรัทธามาถวายจึงจะรับได้ จะไปออกปากขอไม่ได้ ถ้าออกปากขอต้องเป็นญาติ ญาติก็ต้องมีกำหนดว่า 7 ชั้น ระดับตัวเอง 1 ลำดับสูงก็ไป 3 ลงไป 3 เท่านั้น ปาวรณาก็คือผู้ที่เขาบอกให้ท่านขอฉันน่ะ นิมนต์ถ้ามีอะไรขาดแคลนก็บอก อย่างนี้จึงจะมีสิทธิ์ที่จะไปขอได้ ถ้าไม่งั้นไปขอแล้วมีความผิดเลย ของอื่นก็เหมือนกัน พระนี่เที่ยวไปขอออกปาก พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้มาก เพราะไม่ต้องการให้รบกวนชาวบ้าน และก็ให้พระนี้ต้องทำตัวให้ดี ประพฤติตัวให้เหมาะสม ที่นี้พระพุทธเจ้ามีบทพุทธพจน์ เป็นคาถาไว้อันหนึ่ง บอกว่า ภิกษุ บอกว่า แมลงภู่แมลงผึ้ง เที่ยวไปตามหมู่ต้นไม้ ไม่ทำดอกไม้พร้อมทั้งกลิ่นและสีของดอกไม้นั้นให้ชอกช้ำฉันใด มุนีก็พระภิกษุทั้งหลาย พึงเที่ยวไปในหมู่ประชาชนฉันนั้น หมายความว่าพระสงฆ์นี่ดำเนินชีวิตอยู่ท่ามกลางสังคมนี่ จะต้องถือคติอย่างเดียวกับแมลงภู่แมลงผึ้ง คือไม่ทำให้เขาชอกช้ำ ไม่ว่าจะเป็นศรัทธาหรือทรัพย์สินเงินทอง ทรัพย์สินเงินทองเขาเราก็ไม่ทำให้ชอกช้ำ ศัทธาทางจิตใจก็ไม่ทำให้ชอกช้ำ ให้เป็นอยู่ได้โดยอย่างนี้ นี่คติของพระพุทธเจ้าตรัสไว้ เตือนพระสงฆ์แล้ว ทีนี้แมลงภู่แมลงผึ้งนอกจากไม่ทำให้ดอกไม้กลิ่นสีชอกช้ำ แล้วยังทำให้งามยิ่งขึ้นด้วยใช่ไหม ทำให้หมู่ไม้งามแพร่พันธุ์ให้อีกด้วย นี่เหมือนกับพระสงฆ์นี่ ถ้าประพฤติตัวถูกต้องแล้ว ก็เป็นที่เชิดชูจิตใจของหมู่ประชาชนทำตัวให้ดีมีศีลประพฤติตัวดี ไปไหนก็ไม่เบียดเบียนประชาชนไม่ก่อความเดือดร้อนแก่เขา นำเอาความรู้สึกสงบสันติสุขไปให้ นำเอาธรรมะไปให้ให้ประชาชนได้เห็นก็เบิกบานใจประกอบด้วยศรัทธาและมีปิติอิ่มใจ มีปสาทะจิตใจผ่องใสเวลาได้พบพระสงฆ์ แผ่เอาความร่มเย็นเป็นสุขไปให้ นี่ทำให้ประชาชนนี้งอกงามเหมือนอย่างต้นไม้ ที่ว่ามีหมู่ภมรแมลงผึ้งไปช่วยใช่ไหม อันนั้นแหละนี่คือคติ เพราะฉะนั้นภาคปฏิบัติตามหลักที่พระพุทธเจ้าสอนแล้วไม่มีปัญหาเลย เอ้า อันนี้ก็เลยพูดเรื่องไปเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อปัจจัย 4 ก็ขยายไปเรื่อย ที่จริงเรื่องความสัมพันธ์กับประชาชน นี้ต้องพูดต่างหาก ยังมีเรื่องต้องพูดอีก
ก็ย้อนกลับมาเรื่องปัจจัย 4 ต่อ ในความเป็นอยู่ของพระก็เป็นอันว่าบทที่ 1 นี่เน้นเรื่อง โภชะนีวิมีนยุตา ฉะนั้นจึงต้องเน้นตั้งแต่ก่อนเข้ามาบวชใช่ไหม ให้ท่องเตรียมไว้เลย ปฏิสังขาโย อันนี้ถ้าเราไม่ได้ท่องมาก่อนก็เป็นอันว่า รู้หลักแล้วก็มาท่องตอนนี้ก็ได้ ท่องบทปฏิสังขาโย มาพิจารณา แต่ไม่ใช่มาท่องเปล่า ๆ นะ เดี๋ยวได้เป็นรูปแบบต้องเข้าใจความหมายด้วย แล้วมาใช้ปฏิบัติก็จะได้เนื้อหาสาระ ให้รูปแบบนี้เป็นตัวที่ทรงห่อหุ้มไว้ซึ่งเนื้อหาสาระด้วยเป็นตัวสื่อสาระ นี่ก็ปฏิบัติตามหลักการนี้ก็ ปฏิสังขาโย เริ่มแต่อาหารก็มี โภชะนีวิมีนยุตา รู้จักประมาณในการบริโภค หรือรู้จักพอดีในการกินหรือกินพอดี คือกินด้วยปัญญา ไม่ได้กินด้วยตัณหา พออย่างนี้แล้วก็หลักการนี้เรียกว่าเป็นศีลเบื้องต้น ที่นี่อีกข้อหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสย้ำสำหรับผู้ที่เข้ามาบวชเบื้องต้นเลยต้องฝึกเรื่องนี้กันก่อน อีกอย่างคือ อินทรีย์สังวร อินทรีย์สังวรก็กลายสำรวมอินทรีย์ อินทรีย์ก็ตาหูจมูกลิ้นกายใจของเรา เราอยู่ในโลกเราต้องติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอก ชีวิตของเราที่เป็นอยู่ได้ ต้องมีการสื่อสารกับโลกภายนอก อะไรที่ช่วยสื่อสารตาหูจมูกลิ้นกายใจของเราใช่ไหม อันนี้ที่เราถ้าใช้ตาหูคอจมูกลิ้นกายใจไม่เป็น ตาหูจมูกลิ้นกายใจของเรากลับเป็นทางมาของโทษความเสียหาย ทำให้เกิดความเดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ถ้าใช้ตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่เป็นก็ใช้ด้วยโมหะ ใช้ด้วยสักแต่ความรู้สึก เวลารับรู้ด้วยตาหูจมูกลิ้นกายใจ ดูก็ไม่เป็นฟังก็ไม่เป็น ดูแล้วก็เกิดโทษเกิดปัญหาแก่ชีวิต ทำให้เกิดโลภะโทสะโมหะ ทำให้เกิดความลุ่มหลงเพลิดเพลินมัวเมา อย่างดูทีวีก็ดูไม่เป็น ดูแทนที่จะได้ความรู้ ดูแล้วก็ได้ความลุ่มหลงความมัวเมาเสียสุขภาพกาย เสียการศึกษาเล่าเรียนอย่างนี้ใช่ไหม ถ้าดูเป็นก็ได้ความรู้ รู้จักเลือกดู ดูเป็น ดูรายการแม้แต่ไม่ดี ก็ได้คติ ได้ความรู้ รู้จักแยกแยะอะไรเอาประโยชน์มาใช้ได้ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงเน้นเรื่องอินทรียสังวรเป็นการศึกษาเบื้องต้น เป็นเรื่องศีลอีกเหมือนกัน ศีลเบื้องต้นนี่ เบื้องต้นยิ่งกว่าศีล 5 อีกนะ เราไปมองเรื่องศีล 5 ที่จริงศีลนี่แหละ ศีลอินทรีย์สังวร ศีลโภชะนีวิมีนยุตา พระพุทธเจ้าเน้นมาก พอบวชเข้ามาก็อินทรีย์สังวร โภชะนีวิมีนยุตา สำรวมอินทรีย์ว่า เวลารับรู้ดูฟัง เห็นอะไรต่าง ๆ แล้วนี่ ให้เป็นไปโดยมีสติแล้วก็ตามมาด้วยปัญญา เอาง่าย ๆ ก็คือว่าไม่ให้อกุศลเข้ามาครอบงำจิตใจได้ ก็อย่างที่ว่าไม่ให้เกิดโลภะโทสะโมหะ เอาแค่นี้เอาง่าย ๆ ว่า รับรู้ด้วยสติทำให้อกุศลธรรมเข้ามาครอบงำจิตใจไม่ได้ ใช้ได้ ถ้าดูเป็นอย่างนี้การศึกษาก็เริ่มต้น เพราะการศึกษานี้เริ่มต้นที่ตาหูจมูกลิ้นกายของเรา ถ้าไม่ได้อันนี้ก็แสดงการศึกษาพลาด การศึกษาปัจจุบันนี่น่าจะพลาด เพราะไม่ได้เอาใจใส่เรื่องนี้เลย การศึกษาพื้นฐานเรื่องการบริโภคปัจจัย 4 เรื่องการใช้ตาหูจมูกลิ้นกายใจให้เป็น นี่คือจุดเริ่มต้นของการศึกษาเลย ถ้าได้จุดนี้แล้วการศึกษาเริ่ม ฉะนั้นหลักเบื้องต้นในการฝึกอบรมพระ พระใหม่มาก็จะเน้นนี่ แล้วต่อไปก็ต้องใช้ตลอด ไม่ใช่พระเก่าแล้วไม่ต้องใช้น่ะ ใช้ตลอด พระเก่าก็ต้องมี โภชะนีวิมีนยุตา อินทรีย์สังวรเหมือนกัน แต่ว่าที่นี้เราต้องเน้นเพราะว่า พระใหม่มาเริ่มต้นชีวิตแบบนี้ให้รู้จุด ว่าจะต้องเริ่มกันที่ไหน อ้าวทีนี้อินทรีย์สังวรนี่ เพื่อเป็นการฝึกก็เลยนิยม โบราณก็ออกมาในลักษณะสำรวม สำรวมตาหูจมูกลิ้น ไอ้ตัวแรกคือตานี่แหละโผล่ก่อนเขาเลย ใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็เลยสำรวมตา ก็มีพระเดินไปสำรวม จะมองโดยที่ว่าไม่เที่ยวส่ายหน้าวอกแวกไปดูโน่นดูนี่ เดินไปก็สำรวม ทอดสายตาพอประมาณ ใช่ไหม อย่างนี้ก็เลยกลายเป็นอาการของพระที่เป็นรูปแบบ แต่ที่จริงสาระของท่านก็คือว่า อินทรีย์สังวรอยู่ที่การมีสติควบคุมว่ารับรู้ดูฟัง เป็นต้นแล้ว ไม่ให้อกุศลธรรมครอบงำ อันนี้ต่างหากที่เป็นตัวสาระ แต่ว่าเพื่อให้มีการฝึกก็เอารูปแบบมาช่วยฝึกใช่ไหม ก็คือฝึกให้พระเดินแล้วตาไม่ส่าย ไม่เที่ยวหันดูโน่นดูนี่ แล้วก็ให้ดูพอประมาณทอดสายตา ในขณะที่พอใช้กิจก็คือการเดินของตัวให้ถูกต้องให้ได้ผล ก็เลยกลายเป็นความเป็นอยู่ของพระไป ว่าพระเรานี่เดินไปไหน พอญาติโยมดูว่าสำรวมไหม ก็ดูที่เช่นการเดินการทอดสายตา เป็นต้น เดินแล้วก็หันหน้าทางโน้นทางนี้ที อะไรอย่างนี้นะ เดินเงยหน้าก้มหน้า หันข้างซ้ายหันข้างขวา ดูเรื่อยเปื่อยอย่างนั้นท่านเรียกว่าไม่สำรวม อันนี้เป็นอันว่าเอารูปแบบมาช่วย เอารูปแบบคือ อาการกิริยามาช่วยเพื่อจะฝึก แต่ต้องรู้สาระที่แท้จริงนั้นคือท่านต้องการให้เรานี่ ฝึกที่สติ เอาสติมาคอยคุมไม่ให้อกุศลธรรมเข้ามาครอบงำ ให้รับรู้ด้วยสติแล้วเกิดปัญญา แล้วได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ดูแล้วฟังแล้วให้ได้ความรู้ อันหนึ่งแล้วน่ะ ได้ความรู้ก็คือได้ปัญญาใช่ไหม ได้ความรู้ว่าเรื่องความจริงของเรื่องนี้เป็นยังไง ๆ บางคนดูไปแล้วตื่นเต้นสนุกไป ไม่ได้อะไรเลย อย่างนี้แสดงว่าไม่มีการศึกษาเลย เด็กของเราจำนวนมากเดี๋ยวนี้ก็เป็นอย่างงั้นใช่ไหม นี่ถ้าเราเรียนแล้วเข้าโรงเรียนแล้ว ไม่รู้จักใช้ตาหูจมูกลิ้นนี่ ไม่มีการศึกษาหรอก ยังไม่เริ่มเลยในการศึกษา ต้องดูแล้วได้ความรู้ไหม
1. ต้องถามตัวเอง ความรู้นั้นคือความรู้เข้าถึงความจริงใช่ไหม อยู่ในโลกต้องรู้สิ่งต่าง ๆ เมื่อรู้แล้วจึงจะดำเนินชีวิตได้ดี ๆ เมื่อเราเข้าถึงความจริงของสิ่งต่าง ๆ แล้ว เราจึงจะพัฒนาตัวเราได้ เราจึงจะสามารถดำเนินกิจการต่าง ๆ ได้สำเร็จ จึงจะสามารถที่จะแก้ปัญหาได้ ฉะนั้นต้องดูแล้วก็ต้องรู้ รู้ก็เข้าถึงความจริง
2. ดูแล้วได้ประโยชน์ ได้ประโยชน์เอามาพัฒนาชีวิต ของตัวเอง ได้ข้อมูล ได้แง่มุมความคิด ได้คติ ได้อะไรต่าง ๆ ที่จะเอามาเป็นประโยชน์ อย่างนี้ก็แสดงว่าได้ ได้ปัญญาทั้งคู่ ปัญญาที่ได้ความรู้ ปัญญาที่เอาประโยชน์ได้ ใช่ไหม ฟังก็เช่นเดียวกัน นี้ต้องดูตั้งแต่เด็ก ๆ เนี่ย ว่าดูทีวีเป็นไหม ฟังวิทยุเป็นไหม ได้ความรู้ ได้ประโยชน์อะไรจากสิ่งเหล่านั้น หรือได้โทษ ได้ความสนุกสนานตื่นเต้นมัวเมาเป็นนักเสพ ไม่เป็นนักศึกษา ถ้าเป็นนักศึกษาเนี่ย ก็หมายความว่า ก็เป็นผู้ได้เรียนรู้ ได้ประโยชน์จากสิ่งที่ดูฟัง เป็นต้น ถ้าเป็นนักเสพ แค่สนุกสนานเพลิดเพลินไป เดี๋ยวนี้เราได้นักเสพมากกว่านักศึกษา ใช่ไหม แต่เรียกตัวเป็นนักศึกษา ไม่ได้เป็นนักศึกษาเป็นแต่นักเสพ เพราะฉะนั้นอันตรายมาก นี้ยุคนี้มันเป็นกลายเป็นอย่างนั้นไป แล้วไปเรียกยุคตัวเองเป็นบริโภคนิยม ก็ชัดเลย นักบริโภคนิยมบริโภคเห็นแก่กิน ก็เป็นนักเสพ ใช่ไหม เมื่อเป็นนักเสพแล้วจะเรียกเป็นนักศึกษาได้อย่างไร นักเสพกับนักศึกษาคนละพวก ถ้าเป็นนักเสพก็เป็นนักศึกษาไม่ได้ ถ้าเป็นนักศึกษาก็ต้องใช้ตาหูจมูกลิ้นอีกแบบนึงใช่ไหม ฉะนั้นเราเรียกกันไปได้นักศึกษา ได้เรียนรู้ได้สัมผัสได้เกี่ยวข้อประสพการณ์ต่าง ๆ ทางตาหูจมูกลิ้น แต่ไม่เคยศึกษา ได้แต่เสพอย่างเดียว ตกลงว่าเนี่ยสำคัญมาก อินทรีย์สังวรเป็นตัวสำคัญที่จะทำให้เป็นนักศึกษา ก็หมายความว่า ใช้ตาดูหูฟัง เป็นต้น ทุกอย่างเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ต้องได้ปัญญาที่เกิดความรู้หรือเอาประโยชน์จากสิ่งเหลานั้นได้เป็นนักศึกษา เป็นนักเรียนรู้ นักเรียนก็เป็นนักศึกษานั่นแหละ ไม่ใช่เป็นแค่นักเสพ ถ้าเป็นนักเสพไม่ต้องเรียน เกิดมามีตาหูจมูกลิ้นมีความรู้สึกก็เสพได้เรื่อย นี่เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงเน้น ที่จริงท่านเน้นอินทรีย์สังวรก่อนน่ะครับ เอาแล้วครับเข้าที่ 1
1. อินทรีย์สังวร ใช้ตาหูจมูกลิ้นกายให้เป็น แล้วก็
2. โภชะนีวิมีนยุตา รู้จักประมาณในการบริโภค บริโภคตั้งแต่อาหารเป็นต้นไป ด้วยปัญญาเพื่อคุณค่าที่แท้จริงเพื่อคุณภาพชีวิต ไม่ใช่เพียงเพื่อสนองความต้องการเสพทั้งนั้น อย่างน้อยก็ต้องได้อันนี้เป็นฐานก่อน ก่อนที่จะได้การเสพเพื่อบำรุงบำเรอ อ้าวที่นี่ต่อไป
ก็ท่านก็เกี่ยวกับการฝึกเรื่องกายวาจา ในความเป็นอยู่เอาหมด เวลาฉันนี้ไม่ใช่ฉัน ฉันมิได้พิจารณาด้วยปัญญา กริยามารยาทในการฉันเอาอีก เน้นฉัน พระนี่มาเป็นแบบอย่างของวัฒนธรรมไทยเลย เป็นต้นกำเนิดเป็นต้นแบบเป็นรากฐาน แม้แต่มารยาทในการกินรับประทานใช่ไหม รับประทานอาหารไม่ให้มีเสียงดัง จ๊อบจั้บ ใช่ไหม รับประทานอาหาร ไม่พูดในขณะกำลังรับประทาน อาหารกำลังเต็มปากอยู่ห้ามพูด ที่จริงท่านไม่ห้าม ท่านให้ฝึก ฝึกไม่พูด ขณะที่กำลังอาหารอยู่ในปาก หรือว่าเวลาจะฉันอาหาร ต้องนั่งให้เรียบร้อย เวลาจะฉันอาหารห่มผ้าครองผ้าให้เรียบร้อย ดูสิเรามาฉันภัตตาหาร นี่พระเวลาฉันภัตตาหารต้องไปห่มจีวรมาก่อน ไม่ใช่จะหยิบอะไร ฉันตามชอบใจ ใช่ไหม นี่ฝึกหมด ฝึกให้มีสติ ฝึกให้ทำการ โดยมีการรู้จักควบคุมตนเอง เวลาเราฝึกพฤติกรรมเนี่ยที่เรียกว่าศีลเนี่ย มันก็เท่ากับฝึกจิตด้วย เพราะเราจะควบคุมพฤติกรรมได้ เราก็ต้องมีจิตใจเข้มแข็ง ใช่ไหม บังคับควบคุมต้องมีสติ ก็ทำให้ฝึกจิตไปด้วย เราต้องใช้ปัญญา ต้องรู้ว่าอะไรถูกไม่ถูกอย่างน้อยต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ข้อบังคับมารยาทอะไรถูกต้อง ปัญญาก็พัฒนาไปด้วย ได้หมดศีลสมาธิปัญญาในการฝึกเบื้องต้น เริ่มจากศีล เอาศีลมาเป็นฐานในการฝึก ทั้งศีลสมาธิปัญญาไปด้วยกันหมด อันนี้เวลาฉัน เอ้าต้องระวังกายวาจาให้เรียบร้อย อย่างบางวัดนี่ท่านฉัน ฝึกกัน บอกว่าพระเณรร้อยหนึ่งฉันไม่มีเสียง แม้แต่เสียงช้อนกระทบกัน เสียงช้อนกระทบจานไม่มีเลยน่ะ โอ้ ฝึกกันขนาดนี้เลย ทีนี้ ร่างกายก็ต้องดำรงอยู่ในภาวะที่ดีงาม เช่น ไม่เอาศอกไปยันโต๊ะที่ฉัน เป็นต้น อย่างนี้นะเอาอีก หมดแหละเรียกว่าฉันด้วยความมีสติ ฉันด้วยความตั้งใจ ฉันด้วยการที่คำนึงถึงหลักการไตรสิกขา คือการฝึกฝนพัฒนาตน อบรมก็เลยได้ทั้งพฤติกรรมทั่วไปในเรื่องที่เกี่ยวกับการฝึกโดยตรงและได้ทั้งมารยาทในทางสังคมและได้ความงามแก่สงฆ์ เพราะว่าเมื่อฉันนั้น ไม่ได้ฉันเพื่อตัวเองด้วยอย่างเดียว จะฉันนี้คำนึงถึงประโยชน์แก่สงฆ์ด้วย เพื่อความงามความเรียบร้อยของสงฆ์ส่วนรวม การคำนึงถึงส่วนรวมนี้เป็นสำคัญมากในชีวิตของพระ คือกิจกรรมแต่ละอย่างที่ทำนี่ ไม่ใช่เพื่อตนเองคนเดียว แต่เพื่อผู้อื่นด้วย อย่างพระนี่ทำเพื่ออะไร เอ้า 1. เพื่อสงฆ์งาม เพื่อสงฆ์เรียบร้อย อย่างที่บอกเหมือนอย่างกับดอกไม้ที่มาจัดเข้าแจกัน เข้าพาน เข้าพวงมาลัย เรียบร้อยงดงาม ใช่ไหม เพราะฉะนั้นพระที่ประพฤติตัวดี ท่านเรียกว่า สังฆโสภณ แปลว่าผู้ทำหมู่ให้งาม ใช่ไหม ถือเป็นหลักสำคัญเลยการคำนึงถึงส่วนรวมนี่ แล้วก็คำนึงถึงประชาชน ให้ประชาชนเขาเกิดศรัทธา ปสาทะ เขาเกิดความผ่องใสของจิตใจ พอเห็นพระแล้วชื่นใจ เห็นกิริยามารยาท พระเดินกันแม้แต่ไปบิณฑบาต เดินกันเป็นแถวเรียบร้อยสำรวม ญาติโยมเห็นก็ชื่นใจ สบายมีความสุขแล้ว วันนี้จะไปทำงานทำการ ทั้งวันนี่วุ่นวายกิจการงาน แต่เริ่มเช้าเห็นพระแล้วสบายใจ ใจผ่องใส คล้าย ๆ เป็นศิริมงคล เริ่มต้นวันด้วยจิตใจที่สดชื่น ใช่ไหม ฉะนั้นพระนี่จะต้องทำ พระมีหลักว่า ถ้าหากว่าไปพบกับโยมนี่ หลักต้องทำให้โยมเกิดปสาทะ กริยาอาการ การขบ การฉัน การพูดจาพยายามคำนึงอันนี้ เพราะจะทำอย่างไรช่วยรักษาจิตใจโยม ให้โยมมีจิตใจผ่องใสเบิกบาน ไม่ใช่เห็นพระแล้ว จิตใจงุ่นง่านจิตใจเลยไม่สบายเสียจิตของเขา อันนี้พระนี้ก็เป็นเครื่องบำรุงจิตใจของชาวโลก ทำให้สังคมอยู่ดี ด้านจิตใจนี่ถ้าพระปฏิบัติถูกนี่ ช่วยสังคมได้มาก และพระต้องคำนึงตลอดเวลา ตัวปสาทะนี้สำคัญมาก มาเจอกับญาติต้องให้ได้ปสาทะก่อนเลย ต้องพยายามนี้ ญาติโยมก็เหมือนกัน การที่เราแต่งตัว อย่างพระนี่ ท่านไม่ใช่เอาแต่หลักว่า เป็นอยู่ง่าย สันโดษ จีวรของนุ่งห่มก็ใช้น้อย ๆ แล้วก็เลยไม่ต้องซักมันแล้ว ใช้ผ้าขาด ๆ ก็ได้ อย่างนี้ เอ้าอย่างนี้พระพุทธเจ้าก็ไม่เอาด้วยนะ เพราะท่านไม่ได้อยู่เพื่อตัวท่านคนเดียวนี่ ท่านอยู่เพื่อสงฆ์ เพื่อประชาชนน่ะ เพราะฉะนั้นผ้าเก่าจะใช้หมักหมมไม่ได้ สกปรกไม่ได้ ต้องซักให้สะอาด แล้วก็จะไปขาดไม่ได้นะ ถ้าขาดรูแค่หลังเลือดแค่นั้นตัดอาบัติเลย ต้องปะ ต้องชุน นี่ชาวบ้านบางทีไม่รู้คตินี้ นึกว่าตัวเองจะอยู่ง่าย ๆ ก็เลยไม่เอาใจใส่ใช่ไหม ที่นี้ก็กลายเป็นไม่คำนึงถึงผู้อื่นสิ นี้เราก็ต้องคำนึงว่าที่เราแต่งตัวนี่ เพื่อบำรุงจิตใจของประชาชนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมแก่สังคม ให้คนที่เขาได้พบได้เห็นจิตใจเขาสบาย เพื่อความดีงามของชุมชนของสังคมด้วย ต้องทำไปพร้อมกัน เพราะฉะนั้นเราแต่งตัวเนี่ย เราแต่งตัวในแง่หนึ่ง ก็เพื่อใช้เสื้อผ้าให้มันถูกความมุ่งหมายเพื่อป้องกันหนาว ป้องกันเหลือบยุงริ้นไรกันความละอายอันนี้ให้ได้ 1. ล่ะ
2. ก็เพื่อรักษาจิตใจของผู้อื่น เพื่อขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม แต่คือเพื่อจิตใจของคนที่อยู่ร่วมกันให้เขามีความรู้สึกที่ดีงาม ไม่ใช่ไปทำลายความรู้สึก พอเห็นแล้วจิตใจก็เสียไปทั้งวัน ฉะนั้นต้องมองในแง่นี้ด้วย แต่ไม่ใช่ไปเพื่ออวดนะ ถ้าอวดก็เสียอีก แต่ไปอวดโก้ นี่กลายไปสัมพันธ์กับสังคมในทางไปอวดโก้เขาเสียนี่ ไม่ใช่อวดโก้ ต้องการจะช่วยจิตใจให้เขาจิตใจเขาสบาย คนเราอยู่ในสังคมนี้เรามีเมตตาต่อกัน เราก็ช่วยรักษาจิตใจ ให้เขามีจิตใจร่าเริงเบิกบานผ่องใส แต่เราไม่ได้ไปมุ่งยั่วยวนเข้านะ แล้วเราก็ไม่ได้ไปอวดโก้อะไร มันจะเกิดความพอดี ไม่ใช่เอียงไปอีกว่า เอ้อ ฉันไม่เอาเรื่องเอาราวแล้ว เสื้อผ้าไม่ต้องมีก็ได้เลย เป็นฮิปปี้ไปเลย ผมเผ้าไม่ต้องอะไร ไม่ต้องตัด น้ำไม่ต้องอาบ เสื้อผ้าไม่ต้องซักอะไรอย่างนี้ สกปรกมอมแมม ๆ ก็ไม่ได้เรื่องอีกเหมือนกัน นั่นก็เรียกเอียงสุดอีก ฉะนั้นพระพุทธเจ้านี่ทรงให้ มัชฌิมาปฏิปทา ไว้สำคัญอย่างยิ่ง ชีวิตตนชีวิตผู้อื่นสัมพันธ์กันหมดสิ่งแวดล้อมนั้นมันพอดีไปหมด ถ้าเราปฏิบัติถูกต้องก็แสดงว่าทำด้วยปัญญานั้นเองล่ะ ไม่ได้ทำด้วยตัณหาอยากเสพ ไม่ได้ทำด้วยมานะอวดโก้ เพื่อแข่งขันเพื่อจะกดคนอื่น เพื่อที่จะยกตน เพื่ออวดตนอะไรทั้งนั้น ไม่ใช่ ไม่ได้ทำด้วยทิฐิ ยึดถือทิฐิความเห็นจะเอาความเห็นของตัวเองเข้าว่า ต้องพิจารณาว่าอะไรจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความดีงามของชีวิตของส่วนรวมร่วมกับสังคม ทำไป เราก็ปรับปรุงตัวเสมอไม่ติดอยู่แค่เดิม ก็จะเป็นความเจริญงอกงาม ในทางวินัย แม้แต่อยู่การตากผ้าตากผ่อน มีหลักด้วยนะ ตากยังไงมีศิลปะ ตากไม่ให้ปรากฎโผล่ออกมากับตัวอาคาร ตากให้อยู่ในอาคารไม่ให้โผล่ ไม่งั้นแล้วก็ทำให้อาจจะทำให้ดูไม่งดงามแก่สงฆ์ ใช่ไหม ฉะนั้นเราต้องช่วยกันรักษาสงฆ์ เราก็ไม่ เพราะฉะนั้นก็เป็นศิลปะอย่างหนึ่งเป็นศิลปะในทางที่ดี ว่าแม้แต่ผ้าที่ใช้ก็เก็บงำอย่างดีหาที่ตากยังไงที่จะไม่ให้ดูเกะกะ ก็หมดไปแหละ แม้แต่เสนาสนะมีวินัยบัญญัติไว้เลย อย่างเก้าอี้หรือเสนาสนะ อาสนะเอาออกมาใช้ในที่ของตัว หรือในที่กลางแจ้งแล้ว เสร็จแล้วต้องเก็บงำให้ดี ไม่งั้นมีความผิดอีก
ตกลงว่าการบวชนี้เป็นการฝึกทุกอย่างเป็นมารยาทไปในตัว ก็เลยพุทธศาสนาก็เลยเป็นรากฐานวัฒนธรรมไทยไปด้วย นอกจากฝึกพฤติกรรม ไตรสิกขาที่มองเห็นเป็นหลักการใหญ่ ๆ แล้วที่จริงใจไตรสิกขาคลุมมาถึงแม้แต่มารยาทความเคลื่อนไหวการพูดจาในความเป็นอยู่ประจำวันหมดเลย ฉะนั้นไตรสิกขานี่จึงมีความหมายทั้งระดับหยาบและละเอียด วันนี้ก็เลยพูดไป เริ่มจากเรื่องชีวิตประจำวันของพระ โดยเฉพาะปรารภเรื่องการฉันอาหาร ซึ่งเป็นการฝึกที่มีมาแต่เดิม แล้วก็เลยโยงไปถึงเรื่องอะไรต่ออะไรหลายอย่าง ไตรสิกขานี่ เพราะเคยบอกไว้แล้วในไตรสิกขานี่ เป็นทั้งหมดของชีวิตของพระใช่ไหม ก็มาเริ่มแต่เนี่ย
อ้อไหน ๆ พูดไปแล้วขอพูดให้ครบเป็นอันว่าข้อปฏิบัติในการฝึกเบื้องต้นที่พระพุทธเจ้าทรงเน้น
1. อินทรีย์สังวรคือการสำรวมอินทรีย์ การรู้จักใช้ตาหูจมูกลิ้นกายใจให้ดูเป็นฟังเป็นเป็นต้น และโภชะนีวิมีนยุตา ความรู้จักปริมาณในการบริโภค รู้จักกินพอดีกินด้วยปัญญา แล้วพอได้อันนี้แล้ว ต่อไปก็มาเชื่อมเข้ากับการปฏิบัติขั้นสูง ชาคริยานุโยค แปลว่าการหมั่นประกอบการตื่น หมายความว่าไง โบราณท่านแปลว่า การประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ หมายความว่าไม่เห็นแก่หลับแก่นอน ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์เราตื่นมีสติ แล้วเราก็มาคำนึงระลึกว่าอะไรที่เราควรจะทำเป็นกิจหน้าที่ในไตรสิกขา เป็นกิจหน้าที่ของพระสงฆ์ แล้วเราก็ทำกิจหน้าที่นั้น ๆ ด้วยสติที่มีความตื่นตัวอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นพระนี่เมื่อมีอินทรีสังวรและโภชะนีวิมีนยุตา เป็นฐานแล้วการดำเนินชีวิตทั่วไปก็อยู่ในขอบเขตที่งามที่พอดี เกื้อหนุนต่อการที่จะบำเพ็ญกิจสูงขึ้นไป ก็มาต่อด้วย ชาคริยานุโยค แปลว่าคนที่ตื่นตัวอยู่เสมอไม่เห็นแก่หลับจะนอน ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ในการที่กิจทำหน้าที่ของตนเอง แล้วก็บำเพ็ญศีลสมาธิปัญญา โดยตัวความตื่นนี่เป็นสติในตัวเองแล้ว เป็นเรื่องจิต ฝึกจิตก็ไปปัญญาพิจารณาว่าเราจะไปทำอะไรจึงจะเหมาะจะควร ก็เลยต่อเข้ากับสมาธิปัญญาที่นี่อีก ที่นี่ก็ต่อได้ อินทรีย์สังวร และ โภชะนีวิมีนยุตา เป็นศีล แล้วก็ต่อกับสมาธิและปัญญาตรง ชาคริโยค แม้แต่ตัว โภชะนีวิมีนยุตา มันก็ต่อจากศีลไปสมาธิปัญญาอยู่แล้วอย่างที่ว่าเมื่อกี้ เวลาจะกิน พฤติกรรมในการกินที่พอดีต้องมีปัญญาแล้ว ฝึกปัญญาและต้องรู้ความเข้าใจมุ่งหมาย แล้วก็ต้องควบคุมจิตของตัวเองได้ ให้จิตของเรานี่ดำเนินในทางที่ถูกต้องจะเกิดความพอดี เกิดความพอใจที่เรากินได้คุณภาพชีวิต คนพวกหนึ่งนั้นมีความสุขกินได้สนองความต้องการในการเสพพออร่อยก็สุข ทีนี้อีกคนหนึ่งพอมีปัญญา โอ้ รู้ว่าควรกินเพื่อคุณภาพชีวิตพอได้กินอะไรแล้วเกิดคุณภาพชีวิตก็มีความสุขจากการได้สนองความต้องการคุณภาพชีวิต ก็เป็นเศรษฐกิจอีกแนวหนึ่งเศรษฐกิจของคฤหัสถ์ เขากินได้สนองต้องการในการเสพ ใช่ไหม ของพระนี่กินได้สนองความต้องการในการทำให้เกิดคุณภาพชีวิต วัตถุประสงค์ต่างกัน ระบบเศรษฐกิจคนละระบบ ใช่ไหม อันนั้นตัวนี้เขาไม่เคยคำนึง เขาไม่คิดเลย เขาเอาแค่เศรษฐกิจแค่ เอ้อ ว่ามีวัตถุกินใช้พอ สนองความต้องการในการเสพ บอกว่าเอ้อ ทำไงจะได้สนองความต้องการให้เกิดความพึงพอใจ ว่าอย่างนั้น พึ่งพอใจของเขาก็คือว่าความพึงพอใจในการได้เสพ ใช่ไหม อันนี้ตามหลักของพระศาสนานี้ กินได้สนองความต้องการในการทำให้เกิดคุณภาพชีวิต เราก็จะมีความสุขขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง ที่ความสุขคือ ฝึกทางปัญญา ก็เปลี่ยนจากตัณหามาเป็นฉันทะ อยากกินเพื่อเสพเรียกว่าตัณหา อยากกินเพื่อคุณภาพชีวิตเรียกว่า ฉันทะ แยกไปกันคนละทิศ นี่ก็การศึกษาการศึกษาทั้งนั้นเลย เอาแล้วครับ วันนี้เดี๋ยวจะไปกันใหญ่
พูดจากเรื่องหนึ่งเดี๋ยวแยกกระจายไปอีกเรื่องก็เห็นจะพอสมควรก็นึกว่าเรามามาบวชก็เริ่มตั้งแต่ชีวิตประจำวันเนี่ยก็เป็นจุดเริ่มต้นในการที่จะฝึกฝนในไตรสิกขาก็เลยยกเอาเรื่องของชีวิตประจำวัน ในการเป็นอยู่เรื่องการใช้ปัจจัย 4 มีฉันภัตตาหารเป็นเป็นต้นแล้วก็เรื่องอินทรีย์สังวร การใช้ตาหูจมูกลิ้นกายใจมา ซึ่งคิดว่าไม่ใช่เฉพาะพระเท่านั้นที่จะต้องฝึก ญาติโยมประชาชนก็ต้องฝึก โดยเฉพาะเด็ก ๆ ถ้าเด็กนี่ปฏิบัติตามหลักการนี้จะมีความภูมิใจและมั่นใจตนเอง เพราะว่า การปฏิบัติที่เกิดจากปัญญา คนที่มีปัญญาทำด้วยความรู้ เมื่อรู้มันจะมีความมั่นใจในตัวเองอย่างจริงจัง ดีกว่าความมั่นใจที่เป็นไปตามค่านิยมของสังคมต้องอาศัยผู้อื่น โอ้ เขาเห็นเราโก้เขายอมรับและเราก็ภูมิใจ แต่ถ้าคนมีปัญญาแล้วรู้ความมุ่งหมาย มันเป็นของถูกต้องมันชัดเจน จะกินเพื่อสุขภาพดี เรากินอาหารถูกต้องนี่เราต้องมีความมั่นใจเลย ไม่ต้องไปอาศัยใคร ๆ มายกย่องแล้วใช่ไหมมันเด็ดขาดในตัว ฉันนั้นเป็นความมั่นใจที่แท้จริงที่ปฏิบัติถูกต้องตามหลักพระศาสนา ฉะนั้นเด็กนักเรียนลูก ๆ หลาน ๆ ก็ต้องฝึกตามหลักนี่เหมือนกัน แต่พระเรานี่เป็นตัวอย่าง วันนี้เราก็ขอพูดไว้ในเรื่องนี้เท่านี้ก่อน ยังงัยเป็นมัชฌิมาปฏิปทาน ทีนี้ถ้าเราไปพูด มัชฌิมาปฏิปทาไปใช้ในทุกอย่าง แต่เราจะไม่เห็นชัดแล้วยังไงล่ะที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา แต่ถ้าอธิบายเนื้อหาไปเลยแล้วเห็นว่า อ๋อ มัชฌิมาปฏิปทาเป็นอย่างนี้ใช่ไหม ความพอดีในการกินก็เกิดขึ้นแล้วใช่ไหมก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เสร็จในตัว ทางสายกลางทางแห่งความพอดี ทางแห่งดุลยภาพก็เป็นข้อปฏิบัติที่บูรณาการ ก็ศีลสมาธิปัญญาต้องมาครบ พฤติกรรมจิตใจและปัญญาต้องมาด้วยกัน ถ้าขาดอันใดอันหนึ่งนี่ไม่บูรณาการ ก็พอบูรณาการก็เป็นองค์รวม มันสัมพันธ์กันเป็นระบบ ใช่ไหม ระบบนี้คือระบบอะไร ระบบชีวิตของเราไง เพราะชีวิตของเรานี้เป็นระบบนี่ การดำเนินชีวิตต้องมีทั้งด้านพฤติกรรมจิตใจปัญญามาสัมพันธ์เป็นระบบมันหนุนกัน พฤติกรรมเป็นไปด้วยดีต้องอาศัยจิตมีความตั้งใจเป็นต้น แล้วก็อาศัยปัญญาความรู้เข้าใจใช่ไหม เสร็จแล้วก็พฤติกรรมดำเนินไปด้วยดี ก็ทำให้จิตใจสบายมีความมั่นคง ก็เกิดผลเกิดประโยชน์ตามความมุ่งหมายที่แท้จริงอีกใช่ไหม พฤติกรรมที่ดีก็ไปหนุนปัญญา ทำให้เรานี่ เช่นว่าใช้ตาหูจมูกลิ้นเป็น มันก็ได้ปัญญาซิใช่ไหม พฤติกรรมที่ถูกต้องหนุนปัญญา ถ้าพฤติกรรมไม่ดีก็เสริมโมหะเข้าไปอีก ดูทีวีไม่เป็นก็โมหะเข้ามา ดูทีวีเป็นพฤติกรรมในการดูดีก็ได้ปัญญาใช่ไหม พฤติกรรมก็ไปหนุนปัญญา ปัญญาก็ไปหนุนศีลพฤติกรรม ปัญญาไปหนุนพฤติกรรม แล้วจิตก็มาหนุนพฤติกรรม ปัญญาก็ไปหนุนจิต เป็นระบบนี่คือระบบความสัมพันธ์เป็นองค์รวม เดี๋ยวนี้เขาชอบใช้ถ้อยคำเหล่านี้ แต่ว่านี่แหละคือ หลักที่แท้จริงเพราะว่าในที่สุดแล้วในระบบความสัมพันธ์องค์รวมมันอยู่ที่ไหนมันต้องมาจับที่ชีวิตของเราก่อน เพราะชีวิตของเรานี่เป็นองค์รวมการดำเนินชีวิตของเรามีกี่ด้าน เป็น 3 ด้าน พฤติกรรม จิตใจและปัญญา ก็มาเริ่มที่นี่ ต้องให้พฤติกรรม จิตใจและปัญญามาบูรณาการกันในกระบวนการการพัฒนาตน ใช่ไหม เสร็จแล้วก็ดำเนินไปด้วยดี ชีวิตก็เจริญงอกงาม มันก็สัมพันธ์กันเป็นระบบ มันก็เกิดดุลยภาพเกิดความพอดี ก็เป็นทางสายกลาง แม้แต่กินอาหารก็เกิดพอดี ก็กินแล้วพอดีไม่เกิดโทษ พอดีอยู่ที่ไหน พอดีอยู่ที่สนองความต้องการคุณภาพชีวิต จุดหมายชีวิตที่แท้จริงของการกิน กินเพื่อร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดี ทำกิจหน้าที่ได้ถูกไหม นี่ก็ทางสายกลางก็มา ก็เรียกว่าโภชะนีวิมีนยุตา แปลว่ารู้จักประมาณในการบริโภค คือกินพอดี กินพอดีก็กินทางสายกลางใช่ไหม วนเวียนกันอยู่เนี่ยไม่ไปไหนล่ะ ถ้ามันถูกเสียแล้วนะ มันโยงกันได้เป็นอันเดียวกันเพราะมันเป็นระบบ ใช่ไหม ถึงกันหมด เน้นเรื่ององค์รวม เรื่องดุลยภาพ เรื่องบูรณาการ เรื่องเป็นระบบ นี่อยู่ในพุทธศาสนาหมดคือ มัชฌิมาปฏิปทา ที่ระบบชีวิตประกอบด้วยพฤติกรรมจิตใจและปัญญา มาประสานเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน แล้วก็ ทำให้ชีวิตของคนกับสังคมนี่เกื้อหนุนกันด้วย บุคคลในสังคมก็เกื้อหนุนกัน เมื่อ มัชฌิมาปฏิปทาในตัวคน มันเดินไปดี ตัวคนมันพัฒนาดีแล้วตัวคนพัฒนาปลั๊บกับมาหนุนสังคมให้อยู่ร่วมสังคมนี้เป็นไปด้วยดี เพราะฉะนั้นบุคคลกับสังคมประสานกันดี แล้วไปประสานกับธรรมชาติแวดล้อมเช่น การรับประทานพอดีก็ไม่ทำลายทรัพยากร เกิดการประสานประโยชน์ระหว่างบุคคลสังคมและธรรมชาติแวดล้อมก็เป็นระบบใหญ่ออกไปอีก ใช่ไหม เกิดสมดุลพอดีในองค์รวมใหญ่ บูรณาการในวงกว้างอีก หมด ถ้าถูกต้องแล้วมันไปประสานกันหมดเลย