แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ถ้าคุยกันวันละเล็กน้อยก็ยังดี ก็เป็นธรรมะจำเพาะวันละซักหมวดหนึ่ง นี้เมื่อวานนี้คุยกันเรื่องพรหมวิหาร ต่อด้วยสังคหวัตถุ เดี๋ยวนี้เขาพูดกันเรื่องให้เด็กเนี่ยมีการศึกษาที่ทำให้เก่ง ดี มีความสุข ได้พรหมวิหารหมวดเดียว ก็ได้ทั้งเก่ง ทั้งดี ทั้งมีความสุข เชื่อมั้ย เพราะว่าพ่อแม่ก็เลี้ยงลูกเป็น ฝึกลูกให้เก่งด้วย แล้วก็เป็นคนดีด้วย มีความสุขด้วย ใช่มั้ย อยู่ในนั้นครบเลย แล้วไม่เฉพาะเลี้ยงลูกหละ ถึงคนในสังคมทั้งหมดเนี่ย ก็เก่งได้หมดเลย เก่งทั้งสังคมเลย และก็ดีและมีความสุขได้หมด เพียงแต่ว่าเราไม่รู้จักเอามาใช้
ทีนี้นอกจากว่า ได้พรหมวิหารทำให้เก่งดีมีความสุขเป็นฐานแล้วก็ เอาธรรมะอื่นๆมาประกอบหนุนเข้าไปอีก ธรรมะที่จะทำให้เก่งดีมีความสุขนี้อีกเยอะ แต่ทีนี้ตัวที่จะทำให้เก่งที่สำคัญเนี่ย ก็ปัญญา เชื่อมั้ย ปัญญาเนี่ยเป็นยอดธรรมะเลย ขาดปัญญาอย่างเดียวมันก็เก่งไม่ไหว ใช่มั้ย นะฮะ ถึงจะมีกำลังร่างกายแข็งแรงยังไง มันก็เก่งไปไม่ไหว ถึงในจิตใจสู้ ก็ปัญญาไม่ดีก็ มันก็เก่งได้ในขอบเขตจำกัด แต่มีปัญญาดีแล้วมีตัวอื่นมาหนุน มีกำลังร่างกาย มีทักษะดี เนี่ยฮะ มีความชำนาญในการใช้มือใช้ร่างกาย และก็มีจิตใจที่เข้มแข็ง อดทน ใจสู้ เจอปัญหาไม่ถอย นะฮะ มีความใฝ่รู้ อย่างเงี้ยมันก็เสริมให้ปัญญายิ่งดีใหญ่ แต่ว่าตัวสำคัญก็คือปัญญา
ทีนี้ปัญญาเนี่ยเป็นธรรมะสำคัญในพุทธศาสนาเนี่ยจะมีชื่อเรียกเยอะแยะเลย ตอนแรกนี่อยากจะถามนิดหน่อย พอจะนึกชื่ออะไรได้บ้างช่วยกันคนละเล็กละน้อยว่า มีคำอะไรบ้าง ในภาษาไทยเราที่เอามาจากภาษาพระนั่นแหละ ที่หมายถึงปัญญา เอาลองช่วยกันสิครับ อ้าว สัมปชัญญะหนึ่งหละ ญาณ ญาณก็ความรู้ใช่มั้ย หรือว่าแปลว่าความหยั่งรู้
วิปัสสนานี่ปัญญาชนิดที่เกี่ยวกับการรู้แจ้งความจริงของธรรมชาติของโลกและชีวิต ความจริงตามที่มันเป็น วิปัสสนานี่เป็นปัญญาสำคัญ สติ สตินี่ไม่ใช่ปัญญาเป็นคู่กับปัญญา เนี่ยจะต้องรู้ความแตกต่างระหว่างสติกับปัญญาด้วย ถ้ามีเวลาแล้วค่อยพูดกัน ถ้าไม่มีสติ ปัญญามันก็ไม่มาทำงานให้ แต่มีแต่สติ ปัญญาไม่ใช้ มันก็ได้แค่ว่าไม่เผลอ และก็ช่วยจิตให้เป็นสมาธิได้ดีขึ้น สติมันจะนำไปสู่สมาธิ แต่ว่าเป็นตัวที่ทำให้ปัญญามาทำงาน
ทีนี้ก็ อ้าว ตัวอื่นก็เช่น วิชชา วิชชาใช่มั้ย นี่ก็ชื่อสำคัญของปัญญาเหมือนกัน แล้วก็โกศล เคยได้ยินมั้ย ความฉลาด นะฮะ โกศล นะฮะ วิมังสา ในอิทธิบาท 4 ในอิทธิบาท 4 นี่มีปัญญานะชื่อวิมังสา วิมังสาเป็นปัญญาประเภททดลองตรวจสอบ นะฮะ ทดลองตรวจสอบ ไตร่ตรอง หาข้อยิ่งหย่อน หมายความว่า ข้อบกพร่อง ข้อดีข้อเสียอะไรต่างๆเหล่านี้เพื่อจะปรับปรุงแก้ไข อะไรอีก โพธิ อย่างโพธิญาณนี่ โพธิปัญญาตรัสรู้ พุทธิก็ด้วย นะฮะ เยอะหมด นะฮะ นึกอีกได้มั้ยฮะ สัมมาทิฏฐิ ต้องมีสัมมานำหน้า สัมมาทิฏฐิก็เป็นปัญญา เป็นปัญญาที่เข้าใจถูกต้อง นะฮะ แล้วก็มี ปฏิสัมภิทานี้อาจจะไม่ค่อยได้ยิน ปฏิสัมภิทาก็ปัญญาแตกฉาน ก็เป็นอันว่าเยอะแหละ
คำว่าปัญญาเนี่ยใช้ในชื่อหลายอย่าง ชื่อกลางก็ปัญญาเนี่ย เป็นปัญญาก็ความรู้ที่ไม่บ่งจำเพาะว่าเป็นแง่ไหน ทำหน้าที่อย่างใด ส่วนปัญญาอย่างอื่นเนี่ยจะมีความหมายที่ใช้เฉพาะหน้าที่นี้ หน้าที่นั้น ที่นี้ หรือในระดับนี้ ในขอบเขตอย่างงี้ และตัวกลางก็เรียกว่าปัญญา
เอาวันนี้อยากจะพูดถึงปัญญาในชื่อว่าปฏิสัมภิทา ปฏิสัมภิทานี้เป็นปัญญาแตกฉานที่ใช้กับเรื่องของข้อมูลข่าวสาร นะฮะ ยุคนี้เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร ปัญญาตัวนี้จะสำคัญมาก จะทำให้เราเก่ง
การปฏิบัติต่อข่าวสารข้อมูลเนี่ย ในทางพระเนี่ยท่านแยกเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 นี่เป็นช่วงรับ ต้องมีความสามารถในการที่จะรับ ช่วงที่ 2 ก็คือ ช่วงใช้งาน นะฮะ เอาไปแสดงออก หรือปฏิบัติการ นี้เราก็ดูทีละช่วง ช่วงรับเข้า ช่วงรับเข้าท่านก็แยกเป็น 2 โดยหลักใหญ่ หนึ่ง เมื่อจะฟังก็ตาม อ่านก็ตามเนี่ย เข้าใจสิ่งที่อ่านที่ฟัง คือ เข้าใจเนื้อหา เนื้อความความหมายต่างๆชัดเจนไปหมดเลย เขามีพูดอะไรมา หรือว่าเขียนอะไรมา เราอ่านเราก็เข้าใจ นะฮะ เข้าใจตามที่เขาต้องการที่จะแสดงให้เรา นะฮะ ว่าเขามีความประสงค์อย่างไร นะฮะ
เพราะฉะนั้น พูดง่ายๆก็เข้าใจความหมาย นะฮะ ก็ความหมายก็เลยไปถึงความประสงค์ คือ คนที่เขาพูดก็ต้องมีความหมายของเขา ใช่มั้ยฮะ และเราก็เข้าใจทันตามนั้น นะฮะ มีรายละเอียดอะไรต่ออะไรก็เข้าใจได้หมด อย่างงี้เขาเรียกว่าเข้าใจอัตถะ อัตถะแปลว่าความหมาย ความมุ่งหมาย ความประสงค์ จุดหมาย อยู่ในนี้หมด นะฮะ เนื้อความรายละเอียดอะไรมีเท่าไหร่ก็เข้าใจ จะแจ้งกันไปเลย นี่ขั้นที่ 1 นี่เป็นขั้นเบื้องต้นเลย นะฮะ
ทีนี้ขั้นที่ 2 ก็คือ จับประเด็นได้ นะฮะ จับหลักได้ เนื้อความทั้งหมด รายละเอียดอย่างไรก็ตามเนี่ย จับเป็นประเด็นได้ นะฮะ จับจุดของเรื่องได้ แล้วสามารถเอามาย่อ นะฮะ ในความคิดของตัวเองเนี่ย ย่อให้มันเป็นสาระของทั้งหมด เช่นว่าอ่านหนังสือหน้าหนึ่งเนี่ยก็จับได้ว่า สิ่งที่เขาต้องการพูดเนี่ย คือเรื่องนี้ นะฮะ หรือว่าอ่านหนังสือไปบทหนึ่งเลย นะฮะ ก็รู้เลยว่าเขาพูดเรื่องนี้ บางคนอ่านรู้รายละเอียด เข้าใจ แต่ว่าจับประเด็นไม่ได้ เพราะฉะนั้นการจับประเด็นได้ จับหลักได้เนี่ยนะสำคัญมาก ซึ่งทำให้เราเนี่ยสามารถก้าวไปสู่ ไอ้ภาคที่เราจะพัฒนาปัญญาต่อไป ไม่งั้นเราก็ติดอยู่กับรายละเอียด แล้วก็ทีนี้ต่อไปมากๆก็สับสน
คนที่จับหลักจับประเด็นจับจุดได้เนี่ย นะฮะ เหมือนกับย่อเอาที่เขาพูดมาหนังสือทั้งเล่มเนี่ยไว้ เป็นข้อความซึ่งเขาอาจจะพูดในใจของตัวเองเนี่ยสั้นๆนิดเดียว ประโยคเดียว นะฮะ เพราะฉะนั้น เวลาเราเรียนหนังสืออะไรเนี่ย เราต้องฝึก อ่านหนังสือไปนี่ก็ถามตัวเองว่า อ้าว เช่นว่า อาจจะทีละหน้าก็ได้หรืออาจจะทีละบทก็ได้ ว่าเราเข้าใจเนื้อความแจ่มแจ้งมั้ย ในการฝึกนี้ ถ้าอ่าน ไม่ยอมแจ่มแจ้งมั้ย ไม่เข้าใจตรงไหน ไม่ยอมผ่าน นะฮะ ต้องเข้าใจหมดไอ้ที่อ่านเนี่ย พอจบแล้ว ถามตัวเองว่า ประเด็นของเรื่องคืออะไร คนเขียนเขาพูดอะไรเนี่ย นะฮะ สาระของทั้งหมดทั้งมวล แม้แต่ตรวจสอบตัวเองทีละบททีละบทนี่ก็ได้ จบเล่มนึงก็ประมวลอีกทีนึง หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องอะไร ถ้าอย่างนี้หละไม่ช้าปัญญาแตกฉาน นะฮะ
ทีนี้ หลายคนจะไม่ ไม่ฝึก นั้นถ้าอ่านหนังสือไปแล้วก็คอยถามตัวอย่างเงี้ย นะฮะ เราใช้เป็นตอนๆเป็นช่วงๆ ที่จะมีการที่สรุปเนื้อความ ประมวล จับประเด็น ออกมาเนี่ยนะฮะ ก็จะทำให้พัฒนาปัญญา ซึ่งตอนนี้ได้ 2 ข้อ ข้อ 1 ก็คือความแตกฉานในเนื้อความ นะฮะ รายละเอียดทั้งหมดท่านเรียกว่าอัตถะ ก็เติมปฏิสัมภิทาปัญญาแตกฉาน เป็นอัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในเนื้อความ
ทีนี้อันที่ 2 นี่ตัวหลักท่านใช้คำว่า ธัมมะ ตัวหลัก นะฮะ จับหลักจับประเด็นได้ นะฮะ นี้ 2 อันนี้ก็มาเชื่อมกัน ก็หัดให้เก่ง หนึ่ง มีเนื้อความยาวๆนี่สรุป ย่อ จับประเด็น พูดสั้นๆว่าหนังสือนี้หรือบทนี้ตอนนี้ว่าด้วยเรื่องอะไร พูดให้ได้ และก็ในทางย้อนกลับ ตัวหลัก ตัวประเด็น ข้อความที่เขาพูดไว้แต่หัวข้อนั่น พอเห็นแล้วสามารถขยายความออกไปได้ ขยายให้ละเอียดพิสดาร นี่ก็เรียกว่า เอาออกจากตัวหลักตัวประเด็น นี่ขยายความก็ไปเป็นข้อ 1
ถ้าเอาตัวประเด็นมาตั้งแล้วขยายความออกไปได้ก็เป็นอัตถปฏิสัมภิทา นี่ถ้าเห็นรายละเอียดมาแล้วสามารถย่อ ตั้งเป็นประเด็น เป็นหัวได้ก็เป็นธัมมปฏิสัมภิทา สองอันเนี่ย ฝึกกลับไปกลับมา ก็จะมีความช่ำชอง นะฮะ ตอนนี้ยังอยู่ในตัวเอง หัดกับตัวเอง เหมือนกับพูดในใจ ก็อยู่ในความคิด นะฮะ เอาละครับขั้นเนี้ย ฝึกแค่ขั้นเนี้ย ก็ไปได้ไกลเลย เป็นการฝึกอย่างดี นะฮะ
ข่าวสารข้อมูลเวลาเนี้ย คนจะเป็นปัญหามากทั้งข้อ 1 ข้อ 2 นะฮะ ข้อ 1 ยังง่ายกว่าข้อ 2 ฟังกันไปเผินๆ เรื่อยเปื่อย สับสน จับความเนื้อความไม่เข้าใจชัดเจน นะฮะ ก็เลยเรื่องราวข่าวสารที่เข้ามาก็ไม่มีความชัดเจน ก็เก็บๆสะสมไว้อย่างสับสน แต่ที่อันที่ 2 สำคัญ คือ มีอะไรเกิดขึ้นในสังคม มีเรื่องราวอะไร จับหลักจับประเด็นไม่ได้เลย นะฮะ ไม่รู้ตัวปัญหาอยู่ที่ไหน มีเรื่องราวเอามาวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคมเนี่ย ไม่รู้ว่าตัวปัญหาคืออะไร เนี่ย เวลานี้เป็นปัญหาอย่างยิ่งเลย แล้วคนจะแก้ปัญหาได้อย่างไร จับประเด็นปัญหาไม่แตก
เหมือนอย่างที่เคยยกตัวอย่าง ที่ว่า ผู้หญิงจะบวชเป็นภิกษุณี นะฮะ ก็ไปเถียงกันว่ามีสิทธิบวชมั้ย ไปอ้างรัฐธรรมนูญบ้าง อะไรบ้าง นะฮะ ก็ไม่รู้ว่าอันตัวประเด็นมันอยู่ที่ไหน ไปเถียงทำไม ผู้หญิงมีสิทธิมั้ย ผู้หญิงมีสิทธิตลอดกาล ใช่มั้ย ก็พระพุทธเจ้า ก็ได้ตกลงบัญญัติวินัยไว้แล้ว ก็คือการให้สิทธิ สิทธินั้นไม่ได้หายไปไหน ไม่ได้ยกเลิก เดี๋ยวนี้ก็มีสิทธิตามเดิม แต่ว่ามันมีปัญหาว่าใครมีสิทธิที่จะบวชให้ ไม่ใช่ผู้หญิงมีสิทธิบวชหรือไม่ นะฮะ ผู้หญิงมีสิทธิบวช แต่ใครมีสิทธิบวชให้ผู้หญิง
ก็เรื่องต่างๆเนี่ย ก็ต้องจับให้ได้ว่าประเด็นปัญหาอยู่ที่ไหน นะฮะ ก็ต้องฝึกกัน ก็ต้องพยายาม เวลาได้ยินได้ฟังอะไรก็ต้องพิจารณาให้ชัดเจน นะฮะ ซึ่งจะมีไอ้ตัวคุณสมบัติทางจิตใจ เช่น ความใฝ่รู้นี้มาช่วยทำให้เราเนี่ยไม่ปล่อยอะไรผ่านๆไปผิวเผิน มีการศึกษาค้นคว้าเอาจริงเอาจัง ซึ่งจะเป็นตัวสำคัญที่จะทำให้ก้าวไปในการพัฒนาปัญญา ก็ทีนี้ภาครับเข้ามาก็เอาแค่นี้ก่อน นะฮะ ก็โดยทั่วไปก็ใช้แค่ 2 ข้อเนี่ย
นี้ต่อไปก็ภาคใช้งาน นะฮะ เมื่อรับเข้ามาได้ ทีนี้ใช้งาน ใช้งานนี้ก็กลับไปช่วยเสริมภาครับให้มันยิ่งช่ำชองยิ่งขึ้น ช่ำชองและแตกฉาน นะฮะ ก็ข้อที่ 3 ก็มา ซึ่งก็เป็นข้อ 1 ของช่วงใช้งาน คือ ปัญญาแตกฉานในการใช้ภาษา นะฮะ ต้องมีความสามารถในเชิงภาษา เริ่มตั้งแต่การรู้จักถ้อยคำ และใช้ถ้อยคำเป็น นะฮะ แล้วก็เอามาพูดเป็น สื่อสารเป็นนั่นเอง ตอนเนี้ย พูดเป็น สื่อสารเป็น บางคนมีความรู้เยอะ แต่สื่อสารไม่เป็น จะพูดให้คนอื่นเข้าใจความต้องการของตนเอง พูดไม่ได้ ตรงเนี้ยสำคัญ นะฮะ อย่างน้อยเรามีความต้องการอะไร เราต้องการให้เขาเข้าใจว่าอย่างไร ต้องพูดให้เขาเข้าใจได้ตามที่เราต้องการ นะฮะ ถ้าพูดให้เขาต้องการอย่างที่เราต้องการไม่ได้ ก็แสดงว่า มีความขัดข้องในเรื่องภาษา
พอมีความชำนาญยิ่งขึ้นสามารถเลือกใช้คำที่เหมาะ คำที่สื่อให้ได้ความเข้าใจชัดเจน คำที่มีพลัง กระชับ สละสลวย ใช่มั้ยฮะ ซึ่งมันเป็นเรื่องของความที่จะต้องฝึก นะฮะ พร้อมกับการที่มีความสังเกตในเรื่องของพวกถ้อยคำเป็นต้นด้วย ทีนี้นอกจากว่า สามารถใช้ภาษาพูดให้เขาเข้าใจตามทีตนต้องการแล้วเนี่ย สามารถชักจูงให้เขาเห็นตามที่ตัวต้องการได้ด้วย สองขั้นนะฮะ
ขั้นที่ 1 เนี่ยเพียงให้เขาเข้าใจอย่างที่ตัวต้องการให้เขาเข้าใจนี่ก็ยากแล้วหละ ทีนี้ให้เขาเห็นตามอีกทีนี้ นะฮะ นี้คนที่เก่งๆนี่ต้องการให้เขาเชื่ออย่างตัวพูดเนี่ยนะฮะ ก็พูดชักจูงไปให้เขาเชื่อตามได้ ใช่มั้ยฮะ คราวนี้ อันนี้เป็นความสามารถที่มันเป็นกลางๆใช้ดีก็ได้ ใช้ไม่ดีก็ได้ ใช่มั้ยฮะ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีคุณธรรมประกอบ แต่ก็เป็นความสามารถ เป็นปัญญาชนิดนึง ก็รวมความก็คือเรื่องการใช้ภาษาเป็นเรื่องสำคัญ ก็ต้องฝึก ก็เอาไอ้ 2 ข้อต้นเนี่ยมาใช้
เอ้า เราก็อธิบาย เรื่องราวเป็นแบบเนื้อความ เนื้อหาของมันทั้งหมด รายละเอียดต่างๆ เอ้า พูดเข้าไปอธิบายให้ได้อัตถะ ให้ได้ความหมาย ให้เขาเข้าใจ นะฮะ เข้าใจรายละเอียดต่างๆ ทีนี้ก็พูดจับประเด็นก็เหมือนกัน นะฮะ ตั้งหัวข้ออะไรต่างๆเนี่ยไม่ใช่ง่าย ใช่มั้ย เนี่ย เวลาจะพูดให้เขาฟังเนี่ย นอกจากพูดอธิบายรายละเอียดแล้วเนี่ย สามารถตั้งหัวข้อให้ได้ นะฮะ จับประมวลเนื้อความทั้งหมด ทั้งตอน ทั้งบท ทั้งเล่มเนี่ย มาตั้งเป็นหัวข้อ ให้มันสื่อความหมายของรายละเอียดทั้งหมดให้ได้ นะฮะ ต้องฝึกเหมือนกัน
บางทีตั้งหัวข้อดีๆเนี่ย หัวข้อสั้นนิดเดียวแต่สื่อความได้หมดเลย เรื่องตั้งยาวพูดกันเป็นชั่วโมงๆ ใช่มั้ยฮะ อันนี้ก็ต้องหัดทั้งนั้นแหละเรื่องนี้ อันนี้ก็อยู่ในข้อที่เรียกว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา นิรุตติ แปลว่า ภาษา นิรุตติศาสตร์ ในที่นี้แปลว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในเชิงภาษา นะฮะ ในการใช้ภาษาสื่อสาร นะฮะ ก็ต้องฝึก ก็ขั้นนี้ก็ดีแล้วนะฮะ อย่างเวลาเราเรียนหนังสือเราก็หัดติวให้เพื่อนบ้างอะไรบ้าง คนที่ติวให้เขาเนี่ยไม่ใช่ว่าเพื่อนได้นะ ตัวเองได้มากกว่าเพื่อนอีก นะฮะ จะเกิดความช่ำชอง นะฮะ พวกความรู้นี่มันเป็นประเภทอริยทรัพย์ ทรัพย์ภายใน ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม ใช้แล้วไม่หมด ใช้แล้วไม่สิ้นเปลือง ใช้แล้วยิ่งเพิ่ม นะฮะ อันนี้ก็ข้อ 2 เอ๊ย ข้อ 1 ของภาคที่ 2
ต่อไปก็ขั้นต่อไปอีกอันนึง ก็คือการนำเอาข้อมูลความรู้ ความคิดของตัวเองที่มีอยู่เนี่ย มาเชื่อมโยงสร้างความรู้ความเห็นใหม่ นะฮะ อันนี้สำคัญเลย เอามาใช้ประโยชน์ได้จริงก็ขั้นเนี้ย ใช้ภาคปฏิบัติการ เมื่อกี้แค่พูด คราวนี้เอามาใช้งานเลย แก้ปัญหา หรือคิดสร้างสรรเรื่องใหม่ๆ กระทำการใหม่ๆ มีความคิดริเริ่ม ใช่มั้ยฮะ ก็เรียกว่าสร้างความหยั่งรู้หยั่งเห็นใหม่ได้ พวกมีวิสัยทัศน์อะไรต่างๆเหล่าเนี้ย นะฮะ หรือพวกนักคิดประดิษฐ์อะไรพวกนี้ ก็ต้องอาศัยข้อที่ 4 ทีนี้ อันนี้อยู่ที่ความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลความรู้
นี้บางคนมีความรู้เยอะ นะฮะ เรียนมาก็มากมาย แต่ว่าเอามาใช้ไม่เป็น เอามาประยุกต์แก้ปัญหาไม่ได้ เอามาใช้งานสร้างสรรสิ่งใหม่ๆไม่ได้ คิดริเริ่มไม่เป็น ใช่มั้ย ถ้ากลายเป็นความรู้ มันก็อยู่อย่างงั้นแหละ เหมือนกับเป็นวัตถุดิบ แต่ว่าเอามาผลิตไม่ได้ มันต้องสามารถผลิตได้ด้วย นะฮะ ก็เลยกลายเป็นว่ามีขอบเขตจำกัด ขีดจำกัดของตัวเอง งั้นข้อที่ 4 เนี่ยกลายเป็นข้อที่สำคัญที่สุด นะฮะ ท่านเรียกว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในความคิดทันกาล หรือความคิดปฏิบัติจำเพาะเรื่อง นะฮะ มีเรื่องอะไรต้องใช้ ต้องอะไร เป็นกรณีไป นะฮะ
อันนี้ก็ไปโยงกับเรื่องของข้อมูล เมื่อเป็นเรื่องข้อมูล มันก็ไปเกี่ยวกับเรื่องความจำ และไป มาสู่ความคิด อย่างที่เคยพูดว่า คิดได้ดีหนะ คิดเป็นเรื่องเป็นราว คิดเป็นสาระ คิดได้ประโยชน์มันต้องอาศัยคิดจากฐานของความรู้ นี้เรื่องความรู้ข้อมูลก็มีอันนึง ก็คือเรื่องความจำ คนบางทีก็ไปสุดโต่ง บอกว่า โอ้ย ไม่ต้องหรอก ความจำไม่สำคัญ ใช่มั้ยฮะ บางทีก็เป็นนึกไปอย่างนั้น พวกจะเอาแต่ความจำก็สุดโต่ง จำเป็นนกแก้วนกขุนทอง แต่พวกจะเอาแต่ความคิดเห็นไม่เอาความจำนี่ก็ขาดข้อมูล นะฮะ จริงอยู่เดี่ยวนี้เรามีเครื่องมือ แม้แต่คอมพิวเตอร์ที่จะค้นหาข้อมูล แต่มันไม่ทันกาลเหมือนอยู่ในสมอง ใช่มั้ยฮะ
อ้าว อย่างเรานึกถึงเรื่องว่า ประเทศจีน ประเทศอเมริกา ประเทศกรีก ประเทศอะไรก็แล้วแต่เนี่ย ในยุคนั้น ช่วงศตวรรษนั้น นะฮะ มีเมืองอะไรเป็นเมืองหลวง เมืองสำคัญเนี่ย ถ้ามันอยู่ในหัวหมดแล้วมันจะได้หมดหนะ มันก็เรียกมาใช้ได้ทันทีใช่มั้ย ทีนี้ถ้าเราจะใช้วิธีค้น แม้แต่คลิกในคอมพิวเตอร์เนี่ย ถ้าไปค้นจีนทีนึง นะฮะ ยุคนั้นมีอะไรบ้าง ออกมา ได้จีนมา ถ้าไปค้นกรีกทีนึง ใช่มั้ยฮะ ไปค้นประเทศโน้น ประเทศนี้มา อินเดียทีนึงอะไรอย่างเงี้ย เสร็จแล้วคนก็จับได้เฉพาะจุด อ้าว เผลอไปไอ้จุดนี้ไม่ได้ กลับไปเอาใหม่อีก ใช่มั้ยฮะ โยงด้านได้ทีเดียวทีละคู่ แทนที่จะได้หมด ไอ้คนที่มันจำไว้ได้หมดเนี่ยข้อมูลนี่ มันมี อย่างอินเดียก็รู้ ช่วงนั้นเมืองอะไรเป็นเมืองหลวง ใช่มั้ยฮะ ยุคไหน อินจีนก็รู้ นะฮะ เมืองลกเอี๋ยง เมืองเชียงอานอะไรอย่างนี้ใช่มั้ยฮะ รู้หมด นะฮะ และก็กรีกก็รู้อย่างเงี้ย ก็มันอยู่ในนี้แล้ว มันพร้อมมันก็เรียกใช้ได้เทียบเคียงอะไรโยงกันพร้อมเลย
เพราะฉะนั้น ความรู้ที่มันพร้อมทีเดียวเนี่ย มันต้องอาศัยความจำเหมือนกัน นะก็อย่างไปดูถูกความจำ เป็นแต่เพียงว่าไม่รู้จักเอาข้อมูลความจำมาใช้เท่านั้นเอง สักแต่ว่าจำ ถ้าดีก็ได้ทั้งจำด้วย ทั้งคิด ก็เก่งด้วย ใช่มั้ยฮะ พอคิดเก่งก็โยงข้อมูลที่มีในความจำเนี่ย เอามาสร้างความรู้ใหม่ได้ เอามาใช้งานอะไรต่างๆได้ นะฮะ
เพราะฉะนั้นก็ตอนนี้ ก็เป็นขั้นที่ว่ามาถึง ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ก็คือโยง เชื่อมโยงข้อมูล คนที่เชื่อมโยงข้อมูล สร้างความคิดใหม่ได้ ก็จะเป็นผู้ที่ทำให้เกิดการพัฒนา ในอารยธรรมเนี่ย ตั้งต้นแต่ความคิดริเริ่ม นะฮะ บางคนนี่อ่านหนังสือทั้งเล่มจบไป หนึ่ง ก็ไม่เข้าใจตลอด คนที่ 1 นะฮะ ไม่เข้าใจ เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง คนที่ 2 อ้าวเข้าใจเรื่องตลอด ท่านเข้าใจแล้วก็แล้วไป ก็ไม่ได้ความคิดอะไร อีกคนหนึ่งก็เข้าใจตลอด และก็จับประเด็นได้ว่าหนังสือเล่มนี้พูดถึงเรื่องอะไร
คนที่ 3 นี่ ไม่ใช่เข้าใจและจับประเด็นได้ว่ามีเรื่องอะไรพูดถึงอะไรเท่านั้นนะ มันมีความคิด เช่น จินตนาการในการอ่านเนี่ย มันมีการกระตุ้นทำให้คิดโน่นคิดนี่ เชื่อมโยงไปเรื่อยเลย ข้อมูลความรู้ของตัวเองที่มีอยู่มากระทบกับไอ้ความรู้ใหม่ที่ได้อ่านนี่ สร้างเป็นความคิดใหม่ๆเยอะเลย นะฮะ กว่าจะอ่านตลอดเล่มนี่ ได้ความคิดใหม่เยอะแยะเลย นะฮะ ก็เคยพูดว่า อาจจะอ่านหนังสือเล่มเดียวเนี่ย แต่งหนังสือได้ใหม่ 10 เล่ม นะฮะ ใช่มั้ยฮะ อันนี้คือพวกนี้ พวก ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
นี่ก็ พวกนี้ที่ต้องการที่จะได้ประโยชน์แท้จริง เพราะฉะนั้นก็เลยกลายเป็นว่าจากข้อมูลความรู้อันเดียวกัน ก็เลยคนก็ได้ไม่เท่ากัน ก็อันที่ 4 เนี่ย ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นอันว่าก็คือการที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ความรู้ ความคิด มาสร้างเป็นความคิด ความหยั่งรู้ใหม่ นะฮะ ถ้าได้อันที่ 4 นี่ก็เรียกว่า อยู่ในโลกของการสื่อสาร หรือว่าสามารถปฏิบัติต่อพวกข่าวสารข้อมูลได้อย่างดี นะฮะ
ก็อย่างน้อยก็ใช้เป็นหลักตรวจสอบตัวเอง ว่าเรามีความสามารถในการที่จะรับมือกับพวกข่าวสารข้อมูลแค่ไหน ถามตั้งแต่ข้อที่หนึ่ง เลย หนึ่ง เราฟัง เราอ่าน ได้สัมผัสกับข่าวสารข้อมูลต่างๆเนี่ย เรามีความรู้ความเข้าใจ ทั่วถึงชัดเจนเพียงพอมั้ย ใช่มั้ยฮะ หรืออย่างน้อย เรื่องอะไรเข้ามาเนี่ย มีความชัดเจนเข้าใจดีมั้ย แม้แต่ความใส่ใจที่จะทำความเข้าใจให้ชัดเจน นะฮะ สองก็คือว่า เหนือจากนั้นก็คือจับประเด็นได้มั้ย รู้จุดของเรื่องมั้ย นะฮะ งั้นก็สามก็ต่อไปก็เอาไปเล่าไปบอกกล่าวไปพูดให้คนอื่นฟัง ไปสื่อสาร ไปแนะนำ บอกเขาได้มั้ย ใช่มั้ยฮะ บอกให้เขาเข้าใจอย่างที่เราต้องการ หรือแม้แต่ให้เขาเห็นตามที่เราต้องการ นะฮะ และก็สี่ก็คือ เอามาใช้ประโยชน์ในการที่ แก้ปัญหาแล้วก็ทำการสร้างสรรสิ่งใหม่ๆได้หรือเปล่า นะฮะ
ก็รวมแล้วก็สี่ข้อ ข้อที่หนึ่ง เรียกว่า อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในเนื้อความ สอง ก็ ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในตัวหลัก นะฮะ สามก็ นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในเชิงนิรุตติ คือ ภาษา การสื่อสาร แล้วก็สี่ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในความคิดทันกาล หรือในการคิดให้ใช้งานได้จำเพาะในแต่กรณีได้สำเร็จ นะฮะ เฉพาะเรื่องเฉพาะเรื่องเนี่ย ก็จบ วันนี้ก็เลยสั้นนิดเดียว นะฮะ
นะฮะ เนี่ย เด็กๆเดิกๆสอนไว้ แล้วจะรับมือกับยุคข่าวสารข้อมูลได้ดี นะฮะ ถ้าไม่มีหลักแล้วก็เรื่อยเปื่อยไป ผู้เรียนนี่ได้ประโยชน์มาก อันนี้เอาไปใช้เถอะ นะฮะ ก็การตรวจสอบตัวเองเนี่ย มันเป็นการฝึก ก็เรามีหลักแล้วเราก็ไปตรวจสอบ เอาหลักนี่มาใช้ตรวจสอบตัวเอง แล้วเราก็จะได้การฝึกตนพัฒนาไปเรื่อยๆ นี้หลายคนก็อยากฝึกตน แต่ไม่มีหลักที่จะฝึก บางคนได้หลักแต่ไม่รู้จักฝึกตัวเอง ใช่มั้ย ไม่มีความใฝ่ใจที่จะไปใช้ฝึกตัวเอง มันต้องได้ทั้งคู่ ความใฝ่ใจที่จะฝึกตัวเองก็มี แล้วก็หลักที่จะฝึกก็มี พอได้อันนี้ไปก็เอาเลย อ่านไป ถามตัวเอง เข้าใจมั้ย ตลอดเลย นะฮะ
อย่างเราเรียนภาษาอังกฤษเนี่ย คนที่เขาตั้งใจเรียนจริงๆเนี่ย เขาไม่ยอมผ่านเลยถ้าไม่มีอะไร อะไรไม่เข้าใจ แต่ว่าถ้ามันมากๆเข้าอาจจะต้องยอม และแต่มันก็ต้องมีกำหนดไว้อันนึง หนังสือไหนที่เราจะเอาจริงแล้วเราต้องบอกว่า ต้องเข้าใจทั้งหมดตลอด ไม่ ติดตรงไหน ยังไม่เข้าใจ ไม่ยอมผ่าน สู้มันเต็มที่เลย นะฮะ หาทางค้น ค้นไม่ได้ ถาม อะไรต่างๆเหล่าเนี้ย จนกว่าจะเข้าใจมันชัดไปเลย นะฮะ ให้มันหมดสิ้น
ถ้ามันหมดทางจริงๆ บอกฝากไว้ก่อน นะฮะ ฝากไว้ก่อน แล้วก็ไปต่อไป นะฮะ แล้วก็หมายไว้ว่าตรงนี้ยังติดอยู่ นะฮะ และต่อไปมันจะย้อนกลับมาเข้าใจ อันนี้เรียกว่า อัตถปฏิสัมภิทา ต้องให้ได้ชัดเจนไปเลย ผ่านที่ไหน แล้วก็อย่างที่ว่า พอจบบท จบตอน จบเล่ม หรือเรียนอะไรเนี่ย บท จบบทเรียน จบการบรรยาย ต้องถามตัวเองว่า วันนี้ อาจารย์พูดนี่ ประเด็นอยู่ที่ไหน ตัวเรื่องคืออะไร นะฮะ หรือบทนั้นว่าด้วยเรื่องอะไร ให้ตอบให้สั้นที่สุด จับความ นะฮะ ถ้าได้อันนี้นะ ง่ายเลยทีนี้ เวลาจะทวนสอบอะไรเนี่ย เอาแต่หัวข้อปั๊บเดียวแหละ ไม่ต้องไปจำเยอะ ไอ้เนื้อความอะไรต่ออะไร รายละเอียดไม่ต้องเอาแล้ว
ถ้าคนที่สรุป จับประเด็นได้เนี่ย เอาประเด็นไว้อย่างเดียวเลย แล้วจดประเด็น ประเด็นไว้แล้ว พอจะทวนอะไรปั๊บ อ๋อ หนังสือนี้มีประเด็นดังต่อไปนี้ พอเจอประเด็นปั๊บ ข้อหนึ่ง นึกในใจ ขยายความนั้น เห็นหมดเลยทั้งบท พอหัวข้อที่สอง อันนี้เป็นตัวแทนของบทนี้ใช่มั้ย ยี่สิบ ห้าสิบหน้า เห็นหัวข้อปั๊บนี่ มองเห็นเนื้อความทั้งหมด ในห้าสิบหน้าหมดเลย ใช่มั้ย เรื่องอะไรจะไป ไม่มีหลักก็ตายสิ ตั้งสิบหน้า หน้าที่หนึ่ง ท่องให้สอง อะไรนู่นไง แย่ เพราะฉะนั้น นะฮะ ได้บรรทัดเดียวเท่านั้นหนะ หัวข้อประโยคเดียวเนี่ย เป็นตัวแทนของเนื้อความทั้งบททั้งเล่มเลย มองเห็นสว่างไปเลย นะฮะ นี่ก็เนี่ย
และต่อไปก็สาม อย่างที่ว่า ก็ฝึกในการเอามาพูดให้คนอื่นฟัง นะฮะ พูดทั้งในแง่อธิบาย ขยายความ นะฮะ เรื่องหัวข้อย่อๆเอามาพูดขยายความ พูดขยายให้เขาเข้าใจ และก็พยายามสรุป เรื่องยาวๆ ก็เขาพูดอะไร ก็เอามาตั้งหัวข้อได้ นะฮะ แล้วต่อไปก็หัดคิด เอาข้อมูลความรู้มาใช้ในการปฏิบัติการแก้ปัญหา และก็เป็นคนที่รู้จักใช้ข้อมูล เอาข้อมูลที่มีอยู่มาสร้างความคิดใหม่ๆ นะฮะ ก็ตัวความคิดเนี่ยที่จะเป็นประโยชน์ตอนเนี้ย ก็คิดเป็น ก็สามารถเอาความรู้ที่มีอยู่มาใช้ คนคิดไม่เป็นก็ใช้ความรู้ไม่ได้ นะฮะ ความรู้ที่มีอยู่ ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร นะฮะ
ก็จบแล้วนะ วันนี้ นะฮะ ก็เนี่ยหลักธรรม พระพุทธเจ้าสอนไว้นานแล้ว นะฮะ สำหรับสู้กับข่าวสารข้อมูล พอมั้ย ( พอครับ ) พอ หลักสำคัญๆ นิมนต์
ผู้ถาม : เทปม้วนนี้ขออนุญาตอัดได้มั้ยฮะ อัด
ได้สิ
ผู้ถาม : พอดีจะ เอาไปให้ลูกฟัง
อ๋อ ได้ทุกม้วนเลย ได้หมดเลย ก็ยินดีเลย นี่แหละ
ผู้ถาม : เพราะว่ากำลังเรียน ลูกกำลังเรียนไอ้นั่นอยู่ฮะ
อ๋อ
ผู้ถาม : เพราะว่าจะต้องสอบกฎหมาย สอบเนฯฮะ เนติบัณฑิต เพราะว่าที่ท่านพูดนี่มันจะเข้าหมดเลยฮะ ทั้งสี่ข้อเลยฮะ
อย่างพวก
ผู้ถาม : เพราะหนังสืออ่านนี่เป็นตั้งๆ
อ๋อ
ผู้ถาม : สอบเนฯ ฮะ
อ๋อ ยิ่งพวกนักกฎหมาย ท่องเยอะ พวกท่องเนี่ยนะ ต้องมีหลักในการท่อง เช่นว่า หนึ่ง เราอ่านให้เข้าใจก่อน สองก็ตั้งเป็นประโยค อย่างที่บอกเมื่อกี้ สรุปความ นะฮะ บางทีก็เป็นหัวข้อเขาเขียนไว้แล้วด้วย พอได้ความแล้วเราอ่านหัวข้อเนี่ย เรานึกในใจตัวเองว่า เราเข้าใจความมั้ย เรานึกบรรยายในใจตัวเอง บรรยายได้ นะฮะ ทีนี้เอาตัวแทนของประโยคหรือบรรทัดตั วเดียวหรือสองตัว เพราะฉะนั้น 10 ข้อเนี่ย จำ 10 อักษรเท่านั้น ไม่ต้องจำข้อความทั้งบรรทัดหละ เสียเวลา จำงั้นไม่ไหว นะ 10 ข้อ จำ 10 ตัว พอพูด 10 ตัวเนี่ย ข้อละตัวเนี่ย ขยายได้เสร็จ คือ เรา เรา เราเตรียมตัวฝึกไว้แล้วนี่ แล้วมันจะชำนาญ ข้อ 1 ตัวเดียว นะฮะ แล้วพอนึกตัวนั้นขึ้นมาปั๊บ มันเป็นตัวแทนของทั้งหมดเลย เขียนได้ทั้งบรรทัดเลย และก็อธิบายได้ด้วย ข้อ 2 ตัวเดียว ขยายได้ทั้งบรรทัด นะฮะ นี่คือวิธีจำอย่างหนึ่ง นะฮะ ใช้วิธีตัวแทน แล้วก็เอาเป็นว่า ข้อละ 1 ตัวพอ แต่ต้องลองดูก่อนนะ พอจำไว้ 10 ข้อ ก็ 10 ตัว เสร็จแล้วก็นึกในใจ อ้าว ตัวที่ 1 เขียนเป็นประโยคได้ 2 ประโยคได้ นี้เวลาสอบหละก็แค่เนี้ย ไม่ต้องมาเสียเวลาทวนกันยาวนาน นะฮะ เพราะฉะนั้น หนังสือทั้งเล่มนี่ทวนกันเดี๋ยวเดียวจบ ถ้าคนที่เตรียมไว้อย่างเงี้ยแล้ว นะฮะ
ก็ มันถึงไง มันก็ ไอ้ หลีกเลี่ยงไอ้เรื่องความจำไม่พ้นหรอก แต่บอกความจำไม่สำคัญ ไม่สำคัญ มันมีความสำคัญ คนเราไม่มีความจำมันอยู่ได้ยังไง ใช่มั้ย นะฮะ แต่ว่าทำไงจะให้ความจำมันเป็นประโยชน์ ใช้เป็น คนที่มีข้อมูลที่เก็บสะสมไว้แหล่งใหญ่ดีๆมันก็ยิ่งดีสิใช่มั้ย อ้าวมีข้อมูลเยอะ เนี่ยฮะ แต่ต้องใช้ข้อมูลเป็น
อย่างเรียนภาษาอังกฤษนี้ก็ ก็ต้องให้ได้ครบ เวลา หนี่ง สะกดตัวได้มั้ย บางคนหนะ สะกดก็ไม่ได้ สอง ออกเสียง ก็ไม่ได้สนใจ ไม่ได้ดูเวลาเจอคำนี่เขาออกเสียงยังไง ใช่มั้ยฮะ ไม่สังเกต แล้วก็ไม่ตั้งใจ นะฮะ แล้วก็ความหมาย ใช่มั้ยฮะ ความหมายนั้นก็ต้องหัด ภาษาของเขาต้องหัดใช้ดิกชันนารี่ของเขา ตอนแรกก็ใช้ดิกชันนารี่ไทย เอ้อ อังกฤษไทยก่อน ใช่มั้ย แต่พร้อมกันต้องฝึก ต้องฝึกใช้ดิกชันนารี่อังกฤษเป็นอังกฤษ เพราะเขาอธิบายภาษาของเขา นะฮะ ก็เอาดิกชันนารี่อังกฤษไทยมาประกอบไว้ แต่ว่าต้องพยายามอ่านอังกฤษเป็นอังกฤษ จนกระทั่งบางคนนี่อ่านดิกชันนารี่เป็นหนังสืออ่านประจำไปเลย นะฮะ เอาดิกชันนารี่มาอ่านเล่น นะฮะ
เอาไอ้พวกดิกที่ง่ายๆก่อน พวก advanced learner อะไรเงี้ย อธิบายเป็นข้อความ คือ ดิกมันมีหลายแบบใช่มั้ย บางอย่างมันอธิบายคำต่อคำ เหมือนกับว่าเอา synonym มาให้ แต่ดิกบางชนิดมันอธิบายเป็นข้อความ เป็นประโยค นะฮะ เราก็หัดเอาประเภทอธิบาย เป็นข้อความ เป็นประโยค อะไรเนี้ย บางทีมีตัวอย่างให้ด้วย นะฮะ ก็ยิ่งถ้าไปหัดใช้หัดเขียนอะไร อย่างน้อยเวลา อ่านเจอคำใหม่ปั๊บหลับตา หรือมองไปทางอื่น นึกในใจเลย สะกดงี้งี้งี้ ปั๊บ ไม่ต้องเขียนหละเสียเวลา แต่ถ้าเขียนได้ยิ่งดี แต่ถ้าทีนี้ว่าเราไม่สามารถไปเขียนได้เรื่อย เพราะเราอาจจะอ่านเยอะๆ เพียงแต่ว่าเราเจอคำใหม่ เราก็เพียงเหลือบตาไปที่อื่นนิด แล้วก็นึกในใจ สะกดดูนี้นี้ ปั๊บ เดี๋ยวก็มั่นใจว่าได้แล้ว นะฮะ แล้วก็ค้นความหมายไป ให้เข้าใจให้ชัด
แล้วก็อย่าเบื่อในการค้นดิก อ้าวคำนี้เพิ่งเจอไปเมื่อหน้าที่แล้ว ลืมอีกแล้ว นะฮะ อ้าว เปิดดิกใหม่ นะฮะ เดี๋ยวมันก็ได้เองนะฮะ ก็ต้องมีความเพียร แล้วก็ออกเสียงก็ต้องดูว่าเขาออกเสียงยังไง นะฮะ มีตัวเน้น intonation stress ที่ไหน อะไรเงี้ย นะฮะ ภาษาอังกฤษนี่ บางทีมันใช้เป็น noun เป็น adjectives คำเดียวกันมันเน้นคนละที่ ออกเสียงคนละอย่าง เหมือนกะอย่าง อี-คอน-โน-มี่ ( economy ) แอ็ค-คอ-โน-มิค ( economics ) นี่เน้นกันคนละที่แหละ ใช่มั้ยฮะ รี-เล-ชั่น ( relation ) เรล-เล-ทีฟ ( relative ) เราไม่รู้ เราก็อ่าน รี-เล-ชั่น เราก็อ่าน รี-เล-ตีฟ สิใช่มั้ย
ฮะ เปล่า ไม่ใช่ เรล-เล-ทีฟ นะฮะ รี-เล-ชั่น แต่ว่า เรล-เล-ทีฟ อะไรอย่างงี้เป็นต้น นะฮะ ก็ต้องสังเกต แต่ว่าเราจะเหมือนเจ้าของภาษาก็คงยาก นะฮะ อันนี้ก็ เอาพอให้มันจับจุดได้ถูก
นี้ก็เป็นเรื่องของการหาข้อมูลมา แล้วได้ข้อมูลอย่างเรียกว่า ครบถ้วน เวลาเอาข้อมูลก็ต้องพยายามให้ได้ครบ ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ของมันเท่าที่จะได้นะฮะ ก็เอาหลักเนี่ยปฏิสัมภิทา 4 เนี่ยไปใช้ พระอรหันต์ที่เก่งอย่างพระสารีบุตรเนี่ยท่านก็คือผู้ที่มีปฏิสัมภิทา 4 นะฮะ ปัญญาแตกฉานใน 4 ข้อนี้ ก็จะไปพูดจาสั่งสอนอะไรต่างๆมันก็ได้ผล มีอะไรสงสัยมั้ยฮะ วันนี้บอกว่าสั้นก็คงจะสั้นจริงๆ เอาไปใช้ในการเรียนด้วยนะท่านอิทธิวโร
ท่านอิทธิวโร : ครับ
ว่าไงจะถามอะไร นิมนต์
ท่านอิทธิวโร : ผมยังเอาไปใช้ในความคิดใหม่ๆไม่ค่อยได้ครับ ศึกษาแล้ว เข้าใจแล้ว จับประเด็นได้แล้ว แต่ยังเอาไปใช้ที่จะเกิดสิ่งใหม่ๆไม่ค่อยได้เท่าไหร่ครับ
ก็ต้องเจอแบบฝึกหัดบ่อยๆ ก็คือการจะใช้งานเนี่ย มักใช้กับปัญหา ถ้าไม่มีปัญหาโดยตรงก็ตั้งคำถาม ใช่มั้ย นะฮะ การตั้งคำถามนี้เป็นวิธีฝึกตัวเอา แม้แต่ในการหาความเข้าใจ เรียนรู้เรื่องนั้นให้ชัดเจน คนเรานี้ต้องรู้จักแก้ปัญหา ใช่มั้ยฮะ การแก้ปัญหาก็คือการฝึกปัญญา ก็พูดบ่อยๆว่า ปัญหาคู่กับปัญญา เปลี่ยนตัว ห เป็นตัว ญ มันก็เปลี่ยนปัญหาเป็นปัญญา เพราะฉะนั้นเราจะต้องจำไว้เลยว่า เราจะเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา แล้วเราก็ต้องสู้ปัญหา ใช่มั้ยฮะ เพราะฉะนั้น เจอปัญหา ไม่ถอย เจอปัญหาแล้วก็กลายเป็นเครื่องฝึกปัญญา ปัญหาก็เป็นหินลับปัญญา หรือเป็นสนามฝึกปัญญา นะฮะ ก็ปัญหาก็เป็นพวก พวกแบบฝึกหัดเนี่ยนะฮะ คนเราไม่ฝึกมันก็ไม่เก่ง งั้นก็เจอปัญหาบ่อยๆ ต่อไปมันก็จะทำให้เราเนี่ย มาเรียกร้องเรา หรือบังคับเรา หรือบีบเรา ให้เราต้องพยายามเอาไอ้ข้อมูลความรู้มาใช้ ใช่มั้ย เมื่อเจอปัญหา มันก็เลยทำให้รู้จักคิด นะฮะ แล้วก็ไอ้หลักโยนิโสมนสิการนี่จะมาช่วย ซึ่งท่านโชติปุณโณถามอยู่เรื่องโยนิโสมนสิการ ก็เอาไว้คุยกันอีกต่อไป
พระถาม ( 2 ) : เจอในหนังสือพุทธธรรมนะครับ
อ่านแล้วเหรอ
พระถาม ( 2 ) : ยังไม่อ่าน ตอนนี้ยังเริ่มที่ตัวแรกอยู่ครับ อ่านในช่วงของมัชชิเนธรรม ( ท่านน่าจะพูดผิด ) ก่อนครับ
อ๋อ
พระถาม ( 2 ) : ยังไม่ได้ก้าวเข้าไปมัชฌิมาปฏิปทา ก็เลย
อ๋อ ยังอยู่ในขั้น มัชเฌนธรรมเทศนา
พระถาม ( 2 ) : ครับ ก็เลยต่ออีกซักพักครับ พยายามจะอ่านให้ได้ภายใน 3 เดือนเนี้ยครับ
ดี อันนั้นเป็นภาคปฏิบัติ การที่จะสร้างปัญญา ก็รู้จักคิด โยนิโสมนสิการ แปลว่าการคิดแยบคาย นะฮะ ก็จะทำให้เราเนี่ยสามารถฝึกปัญญาได้ดี นะฮะ ก็ ก็ต้องคิดเป็นนั่นแหละ นะฮะ และก็คิดเป็นก็คิดจากการสู้ปัญหาเนี่ย เป็นวิธีที่ดีที่สุด พระพุทธเจ้าจะตั้งคำถามกับพระองค์เอง พระองค์เล่าการตรัสรู้ เราเกิดความรู้สึกอย่างงี้ ก็ถามว่า ไอ้ความรู้สึกเงี้ย มันเกิดขึ้นเพราะอะไร นะฮะ มีอะไรก่อนแล้วอันนี้จึงมี แล้วก็สืบค้นไป โดยอันนี้กระบวนการของการสืบสาวเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น นะฮะ
ทีนี้ คนที่จะมาสร้างไอ้ความรู้ความคิดใหม่เนี่ยก็ต้องใช้กระบวนการของเหตุปัจจัย เพราะข้อมูลต่างๆเนี่ยมันก็จะเป็นเหตุปัจจัย ใช่มั้ยฮะ มันมีความสัมพันธ์เชิงเหตุปัจจัยกัน การสร้างผลก็ต้องรู้เหตุปัจจัย ก็เอาข้อมูลที่เป็นเหตุปัจจัยเนี่ยจับมาเพื่อจะมาทำให้เกิดผลที่ต้องการ นะฮะ เหมือนกับว่า เออ ผลอันนี้ที่ต้องการเนี่ยมันต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้างที่จะมาเป็นปัจจัยให้มันเกิดผลอันนี้ขึ้นมา เหมือนอย่างคนที่ต้องการต้นไม้ ใช่มั้ย ก็ต้องถามว่าไอ้ต้นไม้เนี่ยมันเกิดจากอะไร ใช่มั้ยฮะ แน่ มีเม็ด แล้วนอกจากเม็ดแล้วต้องอาศัยอะไร ต้องอาศัยปัจจัยอื่น ปัจจัยอะไรบ้าง นะ ก็ต้องค้นแล้ว นะ ต้องมีดิน ต้องมีน้ำ ต้องมีปุ๋ย ต้องอุณหภูมิขนาดไหน มันจึงจะพอเหมาะ อะไรงี้เป็นต้น นะฮะ อันนี้ ก็เป็นนักสืบสาวเหตุปัจจัย
พระพุทธเจ้า นี่ วิธีคิดสำคัญอย่างหนึ่งคือการสืบสาวเหตุปัจจัย เป็นความคิดหลัก นอกจากนั้นก็จะมีการวิเคราะห์แยกแยะ แยกกระจายองค์ประกอบมา และแยกแล้ว ไม่แยกเฉยๆ แยกหาความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละอัน นี่ก็คือจะทำให้โยงกัน แยกแล้วโยง ไม่ใช่แยกทิ้ง นี้พวกนึงนี่แยกเฉยๆ แยกว่ามันประกอบด้วยอะไรบ้าง ใช่มั้ยฮะ อย่างงี้ก็บางทีแยกแล้วก็แล้วกันไป เพราะรู้ว่ามันมีอะไรบ้าง แต่ว่าสร้างความคิดใหม่ไม่ได้ นี้พวกที่สร้างความคิดใหม่ต้องโยงเป็น นะฮะ เช่นว่า อ้อ ไอ้ตัวนี้มันสัมพันธ์กับตัวนี้ พอว่ามันสัมพันธ์กันอย่างนี้ อ้าว มันก็เลยรู้ว่าต้องทำหน้าที่อะไร ใช่มั้ย เจ้าตัวนี้ทำหน้าที่อะไร มันก็โยงไปหา อ้อ มันเป็นองค์รวม ที่เขาเรียกองค์รวม
องค์รวมหรือผลทั้งหมดเนี่ยที่เกิดเป็นอย่างงี้ มีองค์ประกอบอันนี้ องค์ประกอบแต่ละอันก็คือเป็นปัจจัยมาร่วมกัน นะฮะ ไปโยงกะอันนั้น นะฮะ โดยมาทำหน้าที่อย่างงี้ นะฮะ ในระบบของทั้งหมด เนี่ยครับความคิดงี้ก็เรียกว่า ทั้งแยก ทั้งโยง ถ้ามองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ก็กลายเป็นระบบไป ในความคิดเชิงระบบ เขาเรียกความคิดเชิงระบบนะ ก็เวลาเราเริ่มไปแล้วเนี่ย ต่อไปมันจะชิน นะฮะ มันก็ ความคิดมันก็แล่นเดินไปของมัน นะฮะ คล้ายๆเป็นนิสัยเหมือนกัน นะฮะ จิตมันก็เกิดเป็นนิสัยขึ้นมา นี้การเดินความคิดก็คือ โยนิโสมนสิการหนะ มันก็ทำให้เกิดปัญญาขึ้นมา
อ้าว ยาวอีกแล้วไง ใช่มั้ยฮะ มีอะไรสงสัยอีกมั้ยฮะ มีก็ถาม ก็ท่านอิทธิวโรเนี่ยตอนนี้กำลังเรียนก็เอาไปใช้ นะฮะ แต่ก็ใช้ได้ทุกคนละนะ มันเป็นเรื่องสำหรับชีวิต การอยู่ในโลก และทุกคนก็ต้องพัฒนาปัญญาของตัวเอง ก็ถ้าไม่มีอะไรวันนี้ก็คงจะคุยกันเท่านี้