แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
นี้ประเด็นสำคัญนี่ก็มี 2 จุด คือ หนึ่ง ความหมายของเถรวาท อันนี้ก็ดีที่ท่านคุณนภัทโทใช่ไหมได้พูดไปมีความหมาย เอ้อไปฟังมาจากใครความหมายเถรวาท แสดงว่าท่านก็รู้ความหมาย ความหมายคำว่าเถรวาท ไปฟังมาจากไหน
คนฟัง พระอาจารย์ พระ อ๋อ เหร่อ
คืออันที่ 1 ก็คือตัวสำคัญในเรื่องนี้ก็มี 1 ความหมายของคำว่าเถรวาท ตอนนี้เราก็แยกเป็นความหมายของเถรวาท หรือเถรวาทในความหมายของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ แล้วก็ 2 เถรวาทในความหมายของพระพุทธศาสนาเอง นี้ตามที่ฟังอ่านนี่ก็ชัดอยู่แล้วว่า เถรวาทของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ก็คือการเล่าเรียนศึกษาแบบเอาแค่ท่องจำเชื่อฟังครูอาจารย์บอกว่าไงก็เชื่อตามนั้น แล้วว่าตาม ๆ กันไป อันนี้ไม่ได้ว่าตรงตามถ้อยคำตัวอักษรของของท่านผู้เขียนน่ะ แต่จับเอาความอย่างนี้ ผมจับความนี้ถูกไหม
เอานะครับ มาจับความที่ถูก ทีนี้ก็เราก็มองดูว่าเถรวาทในความหมายพุทธศาสนาอย่างไร ในความหมายของพระพุทธศาสนานั้นเถรวาทก็คือ ระบบการสืบทอดพุทธศาสนาที่มุ่งจะรักษาคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะถ้าเป็นไปได้ก็รักษาตัวพุทธพจน์เดิมไว้ให้ซื่อตรงและครบถ้วนที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือให้มันหมดจริงมันทำไม่ได้ เท่าที่จะทำได้ อันนี้ก็คือความหมายเถรวาทในพุทธศาสนา อันที่หนึ่งความหมายไม่เหมือนกัน อย่างนี้ก็หมายความว่าเราก็แยกได้เลยว่า ถ้าใครมาพูดถึงเถรวาทว่า คือลัทธิท่องจำว่าตามครูอาจารย์เชื่อไป แล้วก็บอกนี่คือเถรวาทในความหมายของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ หรือจะมายันกันอย่างไงก็แล้วแต่น่ะ แล้วก็ส่วนความหมายของเถรวาทที่เป็นพระพุทธศาสนา เราบอกว่า เราก็เข้าใจให้ชัดน่ะ คือ ระบบการสืบทอดพุทธศาสนาที่มุ่งรักษาคำสอนดั่งเดิมโดยเฉพาะพุทธพจน์ ให้คงอยู่อย่างซื่อตรงและครบถ้วนที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทีนี้อันนี้มันจะโยงไปหาประเด็นที่สอง เพราะท่านผู้เขียนคือสุจิตต์ วงษ์เทศ นี่พูดถึงเรื่องการกาลามสูตร ท่านก็โยงมาถึงเรื่องเถรวาท ว่ากาลามสูตรนี่ไม่ให้เชื่ออย่างนั้นอย่างนี้อะไรนะที่จริงก็มันก็มี 10 ข้อ คือบาลีบอกว่า มาอนุสสเวนะมาอิติกิรายะ เป็นต้น นี่ว่าตามบาลี มาแปลว่าอย่า ทีนี้ประโยคในพุทธพจน์เนี่ย มันเป็นสำนวนสมัยนั้นไม่มีคำกริยา ผู้แปลก็ต้องมาคิดว่าจะใช้คำแปลว่ายังไงดี ก็แปลกันว่าอย่าเชื่อถึอไปดูในอรรถกถา ก็แปล่ามาคันอัตถะ คนาถะแปลว่าอย่าถือ อย่ายึดถือ อย่างถือเอา ก็หาคำแปลกันหนัก ผมก็เคยแปลลงในพุทธธรรม ท่านอ่านมั่งไหมครับ เจอตรงนี้หรือเปล่า ในพุทธธรรมก็เล่าเรื่องกาลามสูตรไว้ คือตั้งแต่เขียนครั้งแรกเมื่อ พ. ศ. 2514 ตอนพระองค์วันวชิราลงกรณ์ พระชนมายุ 80 พรรษา ขอให้เขียน อันนั้นก็ ผมเอาตามพระไตรปิฎก ฉบับแปลภาษาไทย ฉบับฉลอง 25 พุทธศวรรษ ซึ่งแปลว่าอย่ายึดถือ นี้ผมก็เอาตามนั้นแล้วก็ทำ Footnote ในพุทธธรรมเล่มเดิม เล่ม 2514 บอกว่าไม่ชอบใจคำแปลนี้ เพราะมันไม่สื่อความหมายที่มันชัดเจนพอ แล้วต่อมา ผมทำพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พ.ศ 2515 ก็อีกปีเดียว ห่างกันปีเดียว 2515 ก็แปลลงหมด เพราะว่าผมคิดจะแปลยังไงดีน้อ จะให้สื่อความหมายอย่ายึดถือโดยฟังตามกันมาโดยข่าวเล่าลือ จนกระทั่งโดยนับถือว่าสมณะนี่เป็นครูของเรา
ตอนนั้นมันมีปัญหา ผมเล่าแถมน่ะ นี่ผมนอกประเด็น ตอนนั้นมันก็มีการยกเอาเรื่องกาลามสูตรขึ้นมาพูดกัน เพราะสมัยก่อนนี่คนไทยเราไม่รู้จักเรื่องกาลามสูตร จนกระทั่งฝรั่งตื่นกามาลสูตร ฝรั่งนี้โอ้ ศาสนามีที่ไหนที่ให้เปิดใจกว้างไม่ต้องเชื่อถืออย่างนี้ ก็ตื่น ฝรั่งตื่น ไทยก็พลอยตื่นด้วย เหมือนอย่างที่ผมเคยพูด คนไทยก็มาพูด สมัยใหม่เรื่องกาลามสูตร อย่าเชื่อถืออย่างงั้น อย่างงั้น นี้เขาใช้คำแปลว่าอย่าเชื่อถือ นี้มันก็เกิดปัญหา คนไทยคือบางทีก็ไม่ใช้ความพินิจพิจารณาสืบค้นความรู้ให้มันชัดเจน อย่าเชื่อถือด้วยฟังความตามกันมา ข่าวเล่าหรือนี้ก็พอไปได้ อย่าเชื่อถือโดยนับถือว่า ท่านผู้นี้เป็นครูของเรา บางคนบอกว่าอย่าเชื่อถือครูอาจาร์ เอาละซิได้เรื่องแล้วใช่ไหม นี่เราก็เลยต้องบอกว่ามีอาจารย์บางท่านนี่ พยายามพูดเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ เอาไปสอนเด็กนักเรียน บอกนักเรียนบอกอย่างไปเชื่อครู เอาละซิไปกันใหญ่ เอ้นี้มันกลายเป็นพระพุทธเจ้าสอนไม่ให้เชื่อครู มันจะไปยังไงกัน มันจะยุ่งกันใหญ่ แล้วก็บอกว่าต้องพยายามหาคำแปลที่มันสื่อความหมายพอดี พอดีไม่ให้เขว นี้อาจารย์บางท่านตอนนั้นมีท่านหนึ่งก็เป็นอนุศาสนจารย์พูดเรื่องนี้เยอะ พยายามชี้แจง ๆ ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนไม่ให้เชื่อถือครู ท่านหมายความอย่างนั้น อย่างนั้น คือหมายความว่า อย่าไปลงเอยเด็ดขาดว่ามันเป็นอย่างนี้ อย่าเชื่อถือ อย่ายึดถือ มันก็ยังไม่ถึงแก่ใจ ผมก็เลยแปล หาคำแปลอยู่นาน มาถึงพจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรมปี 15 นี่ก็หลังปีนั้น 1 ปี ก็ได้คำแปลที่ผมได้หลังจากเขียนพุทธธรรมไว้นาน ผมก็ใช้คำวว่า อย่าปลงใจเชื่อ คืออย่าเพิ่งปลงใจเด็ดขาดลงไป ซึ่งคำแปลนี้ทั้งชุดในพจนานุกรมในฉบับพระพุทธศาสตร์ประมวลธรรม ก็มาอยู่ในพระไตรปิฏก แปลไทยของฉบับมหาวิทยาลัยจุฬา ที่พิมพ์ขึ้นในปี 2537 ก็คืออีก 22 ปีต่อมา ก็แสดงว่าพระไตรปิฏก มหาจุฬาก็พอใจคำแปลนี้ก็เอาไปใช้ พระไตรปิฏกของมหาวิทยาลัยจุฬาก็ไปเติมนิดนึง ในข้ออย่างปลงใจเชื่อ เพราะตรรกะ ที่ผมเขียนไว้ก็แค่ตรรก ไม่มีสระอะ คือไม่มีประวิสรรชนีย์ แล้วท่านก็ไปเติมประวิสรรชนีย์สระอะ เข้าไปอีกตัว แล้วก็เติมวงเล็บอธิบายเพราะว่ากลัวคนไม่เข้าใจคำว่าตรรกะ แล้วก็อธิบายนิดหน่อย แต่ในเดิมที่ผมเขียนไว้ไม่มีวงเล็บ นี่ผมก็เขียนไว้
ทีนี้ต่อมาก็พุทธธรรมทำเอง อาจารย์ ระวีภาวิไล ธรรมะสถานจุฬา ท่านอยากจะพิมพ์ ก็เล่มเดิมนั่นแหละ ผมก็ขอเวลาท่านซัก 3 เดือนขยายความ เอ้อ เติม เพิ่มโน่นเติมนี่ปรับปรุงหน่อยกลายเป็น 3 ปี แล้วเกิดเป็นเล่มขยายความนั้นแหละจากฉบับเดิมเล็ก ๆ เป็นฉบับขยายความในราวเกือบพันหน้า อันนี้ผมก็มาเติมไปตรงที่กามาลสูตรคำแปลที่อย่ายึดถือนี่ ก็มาคิดว่าจะเอายังไงดีจะคงไว้ตามเดิมที่ถือตามพระไตรปิฎกฉบับฉลอง 25 พุทธศตวรรษดีไหม แล้วก็ไปเห็นว่าในอรรถกถาก็แปลว่ามาคนาถะด้วย เอาของท่านไว้ เพราะเราต้องการว่าพุทธธรรมนี่ นำเสนอสิ่งที่ได้มาจากต้นเรื่องว่ายังไง เจ้าของเรื่องว่ายังไง และสืบสายมายังไง เราพยายามให้เขา ให้คนทั่วไปได้รู้ได้เห็นตามนั้นพยายามเอาตัวเข้าไปปนให้น้อยที่สุด ก็เลยเอาของตัวเองเข้ามา Footnote ไว้ เพราะฉะนั้นในพุทธธรรมนี้ท่านจะเห็นว่า ในฉบับขยายความก็เขียนเชิงอรรถต่างกับฉบับเดิมเมื่อฉบับพระองค์วันวัชราลงกรณ์ อันนั้นเขียนบอกยังไม่พอใจคำแปลนี้แต่ยังหาไม่ได้ ว่างั้น ทีนี้มาฉบับขยายความนี้จะเขียนบอกว่า ไม่พอใจคำแปลนี้ แต่ว่าให้ถือความหมายว่าอย่าปลงใจเชื่อ อันนี้ก็คือคำแปลที่ลงในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ประมวลธรรม อันนี้ก็เล่าแทรกขึ้นมา
คือกามาลาสูตรนี้ก็เป็นสูตรหนึ่งในพระไตรปิฏก นี้ที่บอกว่าอย่าเชื่อก็ให้เข้าใจความหมายอย่างที่ว่า ไม่ใช่หมายความว่า ไม่ให้เชื่อไม่เชื่อครูอาจารย์ อะไรอย่างนั้นน่ะ คือแม้แต่แหล่งที่น่าเชื่อถือที่สุดท่านก็ยังไม่ให้ปลงใจลงไปใช่ไหม ว่าต้องอย่างนั้น คำว่าอย่าเชื่อแม้แต่ใช้คำว่าอย่าเชื่อก็ได้ มันก็มีความหมายต่างกัน ท่านบอกอย่าเชื่อใจครูอาจารย์ กับคำว่าอย่างเชื่อด้วยนับถือว่าเป็นครูอาจารย์ ต่างกันไหมครับ คือไม่ใช่แค่ว่านับถือครูอาจารย์ก็เลยเชื่อใช่ไหม ไม่ใช่ท่านไม่ได้ว่า ท่านไม่ได้บอกอย่าเชื่อครูอาจารย์ ท่านบอกอย่าเชื่อโดยไปนับถือ ว่าครูอาจารย์พูดแล้วก็ต้องเชื่อ แต่ว่าให้ข้อสำคัญก็คือต้องเป็นปัญญาที่รู้เข้าใจให้โอกาสไว้ตรงนี้ เพื่อให้ตัวศรัทธานี่ มันมีทางเชื่อมต่อมาสู่ปัญญาความรู้ความเข้าใจ นี่ก็เลยเล่าเรื่องให้ฟัง ก็เพื่อจะมาพูดถึงความหมาย ก็แปลว่ากาลามสูตรเป็นอย่างนี้ ก็มีมาในพระไตรปิฎก แต่ไหนแต่ไรก็ตั้งแต่เดิม เราก็รักษากันมาเต็มที่ตามเนี้ย แต่ว่าคนไทยเรานี่ไม่ได้พูดถึง ไม่เฉพาะกาลามสูตรหรอก
หลักธรรมสำคัญอย่างปฏิจจสมุปบาท สมัยก่อนถอยหลังไปเมื่อปีอย่างที่ว่านี่ ไม่ได้ยินพูดถึงเลย ก็มาพูดระยะกันหลังนี่ ก็มีอย่างสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ สมเด็จชื่น เรียกกันง่าย ๆ สมเด็จพระสังฆราชวชิยาน ท่านก็เขียนไว้ในเล่ม ท่านเขียนเป็นเหตุเป็นผลดี แล้วมาองค์ที่เอาจริงเอาจังอย่างยิ่งก็คือท่านพุทธทาส ท่านจะเอาเต็มที่เรื่องปฏิจจสมุปบาท แต่ว่าในวงการพุทธศาสนาประเทศอื่นนี่ เขายังสนใจของเขาอยู่น่ะ อย่างพม่า ลังกา อันนี้ก็ย้อนไปเรื่องที่ว่าเมื่อกี้ด้วยว่าคนไทยเราเนี่ย หันออกหันหลังให้สมบัติของตัวเอง พุทธศาสนาวัฒนธรรมประเพณีไม่สนใจดูถูกด้วย ตอนนั้นหันไปมุ่งหาความเจริญแบบฝรั่ง เราจะเห็นตรงข้ามกับเพื่อนบ้าน ประเทศพวกลังกา พม่า เขาผ่านประวัติศาสตร์มาคนละแบบกับเราเลย เราเป็นประเทศที่ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมไม่เป็นเมืองขึ้น เป็นข้อดีที่เราภูมิใจ แต่เราอย่าลืมว่ามันมีข้อเสียแง่ไหนต้องคิดด้วย เหตุนี้แหละทำให้เราเนี่ยไม่มีความรู้สึกในทางไม่ดีต่อฝรั่ง มีนิดหนึ่งมีระยะสั้นที่เขาจะมาเอาเราไปประเทศราช เขาเข้ามาอย่างฝรั่งเศสนี่ เอาเรือมาปิดแม่น้ำเจ้าพระยาเลยนะ เอารบมาปิดแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดเรื่องพระพิเรนทร์ขึ้นมา คำว่าพระพิเรนทร์ที่ถือว่าเกิดตอนนั้น ทำอะไรพิเรนทร์ พิเรนทร์ เกิดขึ้นตอนที่ ฝรั่งเศสเอาเรือรบมาปิดแม่น้ำเจ้าพระยา อันนี้ไว้เล่าทีหลัง ท่านเคยได้ยินไหมเรื่องพระพิเรนทร์ เอ้าได้เกิดตอนนี้ พระพิเรนทร์ ทำอะไรพิเรนทร์ พิเรนทร์ ก็หมายความทำอะไรไม่ดี ทำแปลก ๆ ทำแผลง ๆ ตอนเรือรบฝรั่งเศสมาปิด แล้วก็พวกอังกฤษ ฝรั่งเศส มาคุกคามเราจนทำให้เราต้องสละดินแดน และในหลวงรัชกาลที่ 5 ท่านสละดินแดนที่มลายู แหลมมลายูที่เป็นมาเลเซียปัจจุบัน แล้วทางพม่าที่เสียให้อังกฤษไป แล้วทางตะวันออก ก็ลาว เขมร ก็เสียให้ฝรั่งเศสไป ตอนนั้นคนไทยก็โกรธแค้นฝรั่งมาก แต่ว่ามันเป็นเหตุการณ์ช่วงสั้น เขาไม่ได้มาปกครองเรา
นี้พอผ่านเหตุการณ์นั้นคนไทยก็หันไปตื่นกับความเจริญทางตะวันตกต่อไป ก็คอยมองว่า เอ้อ ฝรั่งมันชาติเจริญเหลือเกินเป็นอารยะประเทศอย่างที่พูดคราวที่แล้ว มีอะไรมาใหม่ ๆ ก็คอยอยากได้ อยากจะเสพ อยากจะใช้ มีกล้องถ่ายรูปอะไรต่ออะไร สมัยก่อนก็หายากเต็มที มีวิทยุมาสมัยก่อนก็เป็นกะบะถ่าน นี่วิทยุอันนึงนะ ต้องใช้ถ่านเป็นกระบะเลย กระบะบางทีต้องหลาย 10 ก้อนเอามาเรียง ๆ กัน ถ่านหัวเหิอมันคลาดนิดหน่อย มันก็ไม่ติดแล้ว บางทีก็แก้กันยุ่งหมด หาเหตุทำไมมันไม่ดัง อะไรอย่างนี้น่ะ สมัยก่อน ทีนี้คนไทยก็เป็นอันว่าหันไปหาความเจริญแบบตะวันตก มองตะวันตกเป็นอารยะประเทศ โอ้ลุ่มหลงใฝ่คว้าหาความเจริญ ก็หันหลังให้ตัวเอง เรื่องของตัวเองก็ไม่รู้แล้วความรู้ก็ขาดตอนหายไปเยอะ
ทีนี้เราไปดูประเทศเพื่อนบ้านที่ตกเป็นอาณานิคม นี้มันตรงข้าม พวกนี้จะเกิดปฏิกิริยาชิงชังฝรั่ง เพราะถูกปกครองกดขี่บังคับอะไรต่าง ๆ ก็เกิดความไม่พอใจ แล้วก็หันมายึดมั่นของตัวเองหนักแน่นเหนียวเลย ฉะนั้นอะไรที่เป็นของตัวนี่จะต้องยึดมั่นและเชิดชูอย่างยิ่งเลย มันก็เลยตรงข้าม ไทยนี่ดูถูกของตัวเองหันไปเชิญชูอยากจะเป็นอย่างเขา แต่พวกประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคม อย่างพม่า ลังกา นี่เขาจะรักษาแม้แต่เครื่องแต่งกายใช่ไหม อย่างพม่าก็รักษาโสร่งไว้ คนลังกาก็นุ่งห่มวันพระนี้ฉันจะต้องแต่งชุดขาวใช่ไหม คนไทยไม่มีเอาหรอกครับ คนละเรื่องเลย นี่คนลังกา พม่า ก็หันไปยึดของตัวเองเต็มที่ปฏิกิริยาต่อต้านฝรั่งอะไรเป็นของฝรั่งข้าไม่รับ ก็หันไปเอายึดของตัวเอง มันก็สุดโต่งด้วยกัน ไทยก็สุดโต่งอยู่ด้านหนึ่ง พม่า ลังกา ก็สุดโต่งอีกอย่างหนึ่ง แต่ว่ามันมีแง่ดีแง่เสียคนละแบบ นี้แง่ดีของเขาก็คือเขาก็รักษาสมบัติของตัวเองไว้ได้ การศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย เรียนคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา แม้กระทั่งปัจจุบันเนี่ยเราจะชำระคัมภีร์พระไตรปิฏกอรรถกถาเราต้องไปเอาของพม่ามา คัมภีร์ของเรานี่เหลือไม่คอยครบ สูญหายอะไรต่าง ๆ นี่ที่มหาจุฬาชำระพระไตรปิฎกอรรถกถาที่นั่นที่นี่ชำระกันไปเอาของพม่ามา แม้แต่ว่าไปเรียนกรรมฐาน กรรมฐานวิปัสสนาที่เรียนกันอยู่ปัจจุบันนี่ แบบมหาสีสยาดอเรื่องอะไรต่าง ๆ แบบยุบหนอพองหนอ ไปเอาจากพม่าทั้งนั้นไปเรียนที่โน้น บาลีสำนักเรียนก็กลับมาเดี๋ยวนี้มีที่เรียนแบบเอาแบบดั้งเดิมบ้าง แน่นหนักลึกดีก็ตั้งสำนักพม่า สำนักพม่ามาเช่น วัดท่ามะโอที่ลำปาง แล้วมาอย่างที่วัดนี่มหาจุฬาก็ใช้ความรู้จากพระอาจารย์สายพม่านี่ ความรู้การเรียนภาษาบาลีการเรียนศึกษาพระคัมภีร์และกำลังกลายเป็นว่าเรานี้ เดี๋ยวนี้กลับไปต้องไปพึ่งพาประเทศเพื่อนบ้าน ก็ความรู้ในเรื่องของพระธรรมวินัยในเรื่องของตัวหลักความรู้นี่ เราก็เลยสู้เขาไม่ได้ ก็ได้แต่ว่าสืบต่อรักษาระเบียบแบบแผน ก็มีคำที่พูดกันมาในเมืองไทยอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจจะพูดกันระหว่างประเทศด้วยหรือเปล่าผมก็ไม่ได้ไปตามฟัง ก็คือเราพูดกันมาว่า ไทยวินัย ลังกาพระสูตร พม่าอภิธรรม หมายความ 3 ประเทศนี่ ซึ่งเป็นประเทศเถรวาทด้วยกัน เด่นคนละด้าน ไทยนี่เด่นวินัย เคร่งครัดระเบียบแบบแผนรักษาไว้ดี ส่วนลังกานี่เก่งพระสูตร พม่านี่เก่งอภิธรรม แต่รวมแล้วเวลานี่ คัมภีร์ทั้งหลายไม่ว่าคัมภีร์ใด แม้แต่รุ่นอรรถกถา ฏีกา เราก็ไม่ครบ สู้เขาไม่ได้ เอาละครับนี่ผมก็ออกนอกเรื่องไปเรื่องปลีกย่อยประกอบ แต่ว่าก็ช่วยให้เกิดความเข้าใจว่า เรื่องของความเป็นมาตั้งแต่เดิมมาประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างนี้ ไทยเราอ่อนมากในเรื่องความรู้พุทธศาสนา แล้วการปฏิบัตสมถะวิปัสสนาด้วยใช่ไหม เมื่อกี้นี้บอกคัมภีร์ก็ต้องเอาเขา แม้แต่การเจริญวิปัสสนา เดี๋ยวนี้ก็มีแต่พม่าเป็นหลัก ไทยก็มีบ้างสืบต่อมา แต่ว่าที่เด่นมาก็กลายเป็นเรื่องของมาจากต่างประเทศ เอ้าละกลับมาเรื่องของเราต่อ เอ้าสรุปว่า เมืองไทยเราก็มีภูมิหลัง โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ช่วงเข้าสู่สมัยใหม่เนี่ย ที่มันตัวเองนี่แทบจะขาดตอนเลยเนี้ย อารยธรรมอะไรต่าง ๆ ของตัวเอง อย่างความรู้ที่เขาเรียก เดี๋ยวนี้มีศัพท์ใหม่ ๆ บอกแล้วภูมิปัญญาไทย แม้แต่เรื่องวิชาแพทย์แผนไทยอะไรต่ออะไรเนี่ย มันขาดตอนไปเกือบหมดแล้วมันต้องไปฟื้นแล้วได้เท่าไหร่ก็ไม่รู้มันหายไปเยอะแยะแล้ว นี่ในพุทธศาสนาเองถ้าไม่มีพระไตรปิฎกรักษาไว้แล้วก็จบเลยใช่ไหม คัมภีร์ยังอยู่ถึงแม้จะไม่เรียนไม่ศึกษาไม่สนใจแล้วก็คัมภีร์ยังรักษาไว้ได้ เอาแล้วครับความหมายเมื่อกี้ผมพูดประเด็นที่หนึ่ง ความหมายของเถรวาท เถรวาทในความหมายของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ กับเถรวาทในความหมายของพระพุทธศาสนา ท่านต้องแยกให้ชัดน่ะครับ อันนี้ชัดพอหรือยัง คนฟังตอบ ชัดพอ
ทีนี้ก็มาเรื่องที่ 2 เรื่องที่ 2 คือท่านผู้เขียนคุณสุกิตต์ วงษ์เทศ ท่านก็ไปยกอ้างกับกามาลสูตรมาตีเถรวาท เอ้อใช่ไหม ท่านบอก กามาลสูตรสอนว่าไม่ให้เชื่ออย่างงั้นอย่างงี้ ไม่ให้เชื่อครูอาจารย์ ทีนี้กาลามสูตรนี่คืออะไร ก็คือ พระสูตรหนึ่งในพระไตรปิฏก เล่ม 20 ใช่ไหม ในติกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่างั้นไปเลย นี่ผมพูดอย่างนี้เขาหาว่าติดคัมภีร์ เอ้าเราก็ต้องรู้ที่ไปที่มา คือมันเป็นพระสูตรหนึ่ง นี้พระสูตรอยู่ในพระไตรปิฎก แล้วกาลามสูตรที่อยู่ในพระไตรปิฎกมาถึงเราก็เพราะเถรวาทรักษาไว้ ฉะนั้นถ้าจะพูดภาษาธรรมดาก็บอกว่ากาลามสูตรเป็นพระสูตรหนึ่งในพระไตรปิฏกของเถรวาท นี้เรารู้จักกาลามสูตรได้ก็เพราะเถรวาทนี่รักษาไว้ ถ้าไม่มีเถรวาทแล้วจบ กามาลสูตรก็ไม่มี ให้คุณสุจิตต์รู้จักด้วย ทีนี้มันเป็นอย่างไรครับ ถ้าเอาเถรวาทในความหมายคุณสุจิตต์ก็ขัดกันใช่ไหม เอ้าเถรวาท บอกว่าต้องท่องจำเชื่อตามครูอาจารย์ว่าตามกันไปไม่ต้องไปถาม ถามไม่ได้ หรือแกจะมีคำว่าไม่ต้องถามด้วยใช่ไหมครับ มีด้วยน่ะ คนฟังบอก ห้ามถาม ห้ามถาม นั่นแหละยิ่งที่ผมว่าอีก นี้ถ้าหากว่า เถรวาทในความหมายของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศนี่ ต้องท่องจำเชื่อตามครูอาจารย์ อย่าถาม ห้ามถามว่าไงว่าตามกันไปใช่ไหม เถรวาทของคุณสุจิตต์นี่ ขัดกับกาลามสูตรถูกไหม กาลามสูตรบอกว่า เอาตาม แบบผมก็ได้ อย่าปลงใจเชื่อเพียงได้นับถือว่าเป็นครูบาอาจารย์ ถูกไหมครับ เอ้าเถรวาทนี้แหละที่สอนว่า อย่างปลงใจเชื่อเพียงได้นับถือเป็นครูอาจารย์ นี่ถ้าเอาเถรวาทตามแบบคุณสุจิตต์ มันก็ขัดกับกามาลสูตรถูกไหม คนฟังตอบ ถูกครับ ทีนี้ถ้าเราเอาเถรวาทตามความหมายของพุทธศาสนาไม่ขัดกันเลย มันก็กลับยิ่งสอดคล้องกันใหญ่ เถรวาทในความหมายของพุทธศาสนาก็คือ ระบบสืบทอดพระพุทธศาสนาที่มุ่งรักษาคำสอนเดิมพุทธพจน์ให้คงอยู่อย่างซื่อตรงครบถ้วนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เอ้า ก็เพราะท่านผู้รักษาให้คงอยู่ท่านจึงรักษาพระไตรปิฎกที่มีการกาลามสูตรไว้ได้ กาลามสูตรท่านจึงรักษาไว้ได้ไงใช่ไหม มันก็ไม่ได้ขัดกันเลยกับเข้ากันดีไปเลย ทีนี้มันกลับย้อนไปอีกว่ากาลามสูตรสอนว่าอย่างนี้ ก็กลายเป็นว่าอย่าไปว่าท่านเรื่องเถรวาทนั่น เถรวาทก็สอดคล้องกันแล้ว เถรวาทท่านอุตส่าห์รักษามาให้เรากาลามสูตร เป็นเรื่องของเราเองที่เราจะปฏิบัติได้หรือไม่ได้ใช่ไหม ถ้าเราจะสอนกันแบบท่องจำไม่ท่องจำ ไม่ยอมถามครูหรือว่าอะไรอย่างนี้ ไม่ยอมเถียงอะไรอย่างนี้ มันก็เป็นเรื่องการปฏิบัติของพระไทย อาจจะเป็นเพราะเหตุนี้ละมั้ง คุณสุจิตต์ วงษ์เทศถึงได้มาเปลี่ยนเอาในบทความหลังเติมคำว่าเถรวาทไทยเข้าไปน่ะ ใช่ไหมนี่เป็นข้อสังเกตุ อาจจะไปโดนใครว่าเข้ามั้ง แต่ที่จริงก็ถ้าให้ดีนะก็ไม่พูดถึงดีกว่า เพราะมันทำให้คนสับสนถูกไหม นี้คือพระไทยเราเนี่ยปัญหามันอยู่ที่ว่าตามที่คุณสุจิตต์ วงษ์เทศเขียน คล้าย ๆ มีตอนหนึ่งที่ อ้อ ตอนหนึ่งที่พูดถึงว่าถ้าพระไทยไม่เอามาสอนใช่ไหม พระเก่า ๆ พระไทยเรานี่ไม่เอามาสอนไม่เอามาสอนนี่มันก็มองได้ 2 อย่าง หนึ่งไม่สอนเพราะไม่ซื่อคือว่าตัวเองกลัวว่าเขาจะไม่เชื่อ สอนกาลามสูตรเดี๋ยวเขาไม่ยอมเชื่อตัวเองไม่ซื่อก็เลยไม่ยอมสอน อีกอย่างนึงไม่สอนเพราะไม่รู้ เพราะไม่รู้จักกาลามสูตรไม่เคยพบเคยเห็น ทีนี้ถ้าว่าตามคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ นี่ท่านพูดคล้าย ๆ ว่าไม่ซื่อ ถูกไหมไม่เอามาสอน คนฟัง กลัวคนจะฉลาดเกิน เออนั่นซิ ทีนี้มันก็มีประเด็นหลายประเด็น ประเด็นที่ 1 เรื่องที่ว่าพระไทยเรานี่ เราเอาเฉพาะประเทศไทย อย่าไปว่าประเทศอื่นเขา ประเทศเถรวาทด้วยกันก็อย่างไปว่า ประเทศไทยเรานี่ก็มีความจริงอย่างน้อยในช่วงอาจจะศตวรรษนี้ ที่พระไทยเรานี้แถบจะไม่รู้จัก หรือไม่พูดถึงกาลามสูตร แต่ว่าไม่จำเป็นเพราะว่าไม่ซื่อ ไม่ใช่รู้แล้ว แล้วกลัวเขามาไม่ยอมเชื่ยง่าย ๆ สอนกันไม่ตามหรืออะไร พูดอะไรได้สบาย ๆไม่ใช่ คงคิดว่าไม่ใช่อย่างนั้น คงจะเป็นเพราะความไม่รู้ เพราะไปชนประสานกับที่ผมพูดเมื่อกี้
เมืองไทยเราเนี่ยคนไทยเราทั้งพระทั้งโยมและก็หันหลังให้พุทธศาสนา หันหลังให้สมบัติของเรา ก็ไม่สนใจศึกษาพุทธศาสนา นั้นพุทธศาสนาในแง่เนื้อหาสาระก็ไม่รู้ นอกจากไอ้ส่วนที่เอามาสอนกันในแบบเรียนจะต้องสอบก็เรียนกันไปใช่ไหม ทีนี้กาลามสูตรนี่ เมื่ออยู่ในหลักสูตรที่กำหนดให้เรียนพระไตรปิฎกมากมายมาเรียนกันไม่ไหว พระไทยก็เลยไม่รู้เรื่องเท่านั้นเองใช่ไหม ท่านก็ไม่รู้ ท่านก็ไม่รู้จะสอนอะไร มันเกิดจากความไม่รู้ มันเป็นภูมิหลังของเราที่เป็นมาตั้งนานเนแล้ว นี้เราจะบอกพระเหล่านี้ที่ไม่สอนจะไม่ซื่อก็ตามไม่รู้ก็ตาม เราบอกว่าเป็นที่ไม่รู้ แล้วคุณสุจิตต์ วงษ์เทศบอกเป็นพระเถรวาท ก็คือท่านถือว่าที่พระอย่างนี้เป็นก็คือเป็นการปฏิบัติตามแบบเถรวาท กลายเป็นว่าพระเหล่านี้ที่ไม่สอนกาลามสูตรเป็นเพราะผู้ปฏิบัติตามเป็นหลักเถรวาท เป็นพระเถรวาทถือเถรวาท แต่แล้วเราพูดตามนี้ มันก็ตรงข้ามก็กลายเป็นว่าพระเหล่าเนี้ย เราต้องพูดใหม่ พระเหล่านี้ทั้ง ๆ ที่อยู่ในสายเถรวาทบวชในเถรวาทก็เข้าไม่ถึงเถรวาท ต้องพูดอย่างนี้ ถูกไหมครับ จะโดยไม่รู้ก็ตามหรือไม่ซื่อก็ตาม ก็คือท่านเข้าไม่ถึงเถรวาท ถ้าเข้าถึงเถรวาทท่านก็ 1 รู้เข้าใจกาลามสูตร 2 นำมาปฏิบัติได้ เพราะฉะนั้นมันก็ไม่ขัดกัน แล้วจะไปว่าพระเหล่านี้เป็นเถรวาทไม่ถูก เถรวาทเป็นที่อาศัยของพระเหล่านี้ แต่ว่าพระเหล่านี้เข้าไม่ถึงเถรวาท ถูกไหม นี่ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่เราจะต้องพูดให้ชัด เพราะฉะนั้นมันก็สับสนหมดซิ กลายเป็นว่าพระเถรวาทคือพระอย่างนั้น เราพูดได้เลยพระที่อยู่ในเมืองไทยเป็นบวชเถรวาท แต่ไม่รู้เข้าใจเถรวาท ก็ท่านบวชในเถรวาทท่านเข้าไม่ถึงเถรวาท อย่างนี้ถูกต้องดีกว่า ฉะนั้นเถรวาทท่านมุ่งที่รักษาตัวคำสอนเดิมไว้ให้แม่นยำ ส่วนเรื่องของไอ้การเชื่อฟังอะไรต่ออะไร นี่เป็นหลักธรรมดาของจริยธรรมไม่ว่าศาสนาไหน ลัทธิไหนใช่ไหม ที่มีหลักศีลธรรมจริยธรรมก็จะต้องสอนให้รู้จักเชื่อฟังผู้ใหญ่เชื่อฟังพ่อแม่ครูอาจารย์ทั้งนั้นแหละ แล้วเท่าที่ผมทราบเนี่ยคำสอนเถรวาทเน้นเรื่องนี้น้อยกว่าลัทธิศาสนาส่วนมากด้วยซ้ำ บางลัทธิศาสนาเขาจะเน้นเอาเป็นเอาตายเลย
ทีนี้ในพุทธศาสนาแบบเถรวาทเนี่ย เราก็ถือเป็นหลักสำคัญเหมือนกันเป็นหลักปฏิบัติในทางความประพฤติ แต่เรียกสมัยใหม่ก็เรียกว่าจริยธรรม สมัยก่อนเรียกว่าศิลธรรม ที่ว่าให้เชื่อฟังครูอาจารย์อะไรอย่างนี้ มันก็เป็นหลักธรรมดาแหละอยู่ร่วมกันใช่ไหม ก็ถือว่าอย่างน้อยมีประสบการณ์ดีกว่า ถ้ามีความหวังดีมีเมตตากรุณา ลูกไม่เชื่อฟังพ่อแม่ยุ่งไหมครับ ยุ่ง ยุ่งแน่นอน นี่มันก็พูดในระดับนี้ ในเถรวาทก็มีคำสอนแบบนี้ เชื่อฟังครูอาจารย์ แต่ก็ไม่ได้มาเน้นเรื่องที่ว่าเอาเป็นเอาตายอะไรน่ะครับ ต้องยึดถือ แต่ว่าพุทธศาสนานั้นเน้นที่ปัญญาถูกไหม เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่มาเน้นเรื่องศรัทธา แต่ให้ถือศรัทธาเป็นเครื่องนำไปสู่ปัญญา ก็เหมือนอย่างนี้ที่เรามาคุยกันเนี่ย เรามาเน้นเรื่องความเชื่อ แล้วผมก็พูดกับท่าน แล้วพูดกับพระใหม่มา พูดกับโยม อะไรกันมาตั้งนาน ก็เหมือนอย่างนี้ เราก็พูดกัน 1 อะไรที่เราควรจะรู้มาพูดกัน ก็มุ่งหาสิ่งที่ควรรู้มา 2 แล้วมาพูดแล้วท่านเข้าใจไหม เราจะเน้นที่ เข้าใจไหมใช่ไหม รู้เข้าใจ เราแทบไม่ได้นึกถึงคำเชื่อเลย คล้าย ๆ ไอ้เรื่องเชื่อเป็นเรื่องส่วนตัวของท่าน ให้ท่านพิจารณาเอาเอง จะเชื่อหรือไม่เชื่อ เราก็เห็น ๆ กันอยู่อย่างนี้ นั้นก็เถรวาททั้งโดยหลักการ ทั้งโดยพฤติกรรม ผมก็ไม่เห็นว่าจะเข้าแง่เข้ามุมอะไรที่บอกว่าให้เน้นจะต้องท่องจำเชื่อตามครูอาจารย์ ค้านไม่ได้เถียงไม่ได้ ก็กลายเป็นว่าอันนี้มันก็มีอีกอันหนึ่ง เรื่องการอ้างพระไตรปิฎกอะไรต่ออะไร เราอ้างมี 2 แบบ อ้างให้เชื่อ กับอ้างเพื่อความรู้ ในพุทธศาสนา นี่คัมภีร์ต่าง ๆ เราถือกันว่าเป็นข้อมูลเพื่อให้รู้ ไม่ใช่ข้อมูลเพื่อให้เชื่อ ข้อมูลเพื่อให้รู้มันก็ต้องดีซิใช่ไหม ยิ่งรู้เท่าไหร่ ก็ยิ่งดีแล้วจำเป็นจะต้องรู้ ควรจะรู้ นั้นเรามาเรียนมาศึกษา เราก็ต้องหาข้อมูลศึกษาแล้วยิ่งถึงแหล่งก็ยิ่งดีใช่ไหม ก็ถึง Primary Source เสียดีที่สุด เรื่องอะไร จะไปเที่ยวรอไปฟังต่อกันมา เอ้อถ้าว่าไปแล้วก็ต้องมาขออภัยคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เอง คุณสุจิตต์ไปอ้างกามาลสูตร อ้างพระไตรปิฏกเข้าไปแล้ว ก็กลายเป็นคุณสุจิตต์เป็นเถรวาทในความหมายคุณสุจิตต์ด้วยซิ ไม่ใช่เถรวาทในความหมายพุทธศาสนาใช่ไหม ก็บอกอะไร อะไรก็อ้างพระไตรปิฏก คุณสุจิตต์ไปอ้างกามาลสูตรก็อ้างพระไตรปิฏกเข้าไปแล้ว ไปอ้างทำไมถูกไหมครับ เราอ้างน่ะมันดีใช่ไหม กลัวแต่ไม่อ้างซิครับ เวลานี้มีใครบ้างอ้างพระไตรปิฏก หายาก มีแต่อ้างอาจารย์ อ้างอาจารย์เนี่ยลัทธิในเมืองไทยเวลานี้น่ากลัว เพราะว่าเอาแต่อาจารย์ เข้าไม่ถึงแหล่งเดิม อาจารย์นี่อย่างดีก็เป็น Secondary Source Secondary ก็หายากแล้ว บางทีเป็นไม่รู้ Source ที่เท่าไหร่เลย แล้วก็ไปอ้างอาจารย์ นี้เมื่อเราจะต้องหาความรู้นี่ เราควรเข้าถึงแหล่งต้นเดิมที่สุดใช่ไหม พระไตรปิฏกนี้ก็ความรู้ที่เราได้มาเกี่ยวกับพุทธศาสนาก็มาจากนั่นเป็นแหล่งแรก นั้นการอ้างพระไตรปิฏกในความหมายที่ถูกต้อง อ้างเพื่อเป็นข้อมูลเพื่อความรู้นี่ เป็นข้อมูลเพื่อให้รู้นี่ มันจึงเป็นการถูกต้องที่สุดแล้ว ควรจะอ้างกันให้มากขึ้น เวลานี้อ้างกันน้อยไป จะได้มาตั้งใจศึกษากัน นี่เราจำไว้ให้แม่นว่าพุทธศาสนานั้นให้เรารู้ข้อมูล หรือมีข้อมูลเพื่อให้รู้ ไม่ใช่ข้อมูลเพื่อให้เชื่อ อันนี้ก็เป็นหลักทั่วไปเลย อย่างเวลาเราเขียนพุทธธรรมอะไรนี่ ก็มุ่งเพื่อหาข้อมูลมาให้รู้ ท่านจะได้มาศึกษาพิจารณา ไม่ใช่เอามาอ้างให้ท่านเชื่อ อันนี้เป็นก็หลักสำคัญอันหนึ่งนี้เรื่องอ้างพระไตรปิฏกก็อย่างนี้ ก็เป็นอันว่า เราก็กับควรมาเน้นว่าให้อ้างให้มากขึ้น เพราะเวลานี้มันกลายเป็นเพราะไม่ค่อยอ้าง ไปอ้างครูอาจารย์อะไรต่ออะไรกันวุ่นวาย แล้วก็ทำให้เชื่อให้เข้าใจให้รู้ผิดไข้วเขวกันไป นี่ก็เป็นประเด็นหนึ่ง แต่ประเด็นนี้ก็คือประเด็นเล็กนิดเดียว ก็คือกามาลสูตร 1 ประเด็นที่ 1 ความหมายของเถรวาท 2 ประเด็นที่ 2 กามาลสูตร ว่ากาลามสูตร ในความหมายพุทธศาสนาแท้ ๆ นั้น 1 พระพุทธศาสนาเถาวาทนี่แหละที่รักษากามาลสูตรมา โดยคงอยู่ในพระไตรปิฏก ถ้าไม่มีเถรวาทก็ เราก็ไม่รู้จักกามาลสูตร 2 แล้วกามาลสูตรนี้ก็ไม่ขัด แต่สอดคล้องกับเถรวาทในความหมายของพระพุทธศาสนา ตัวประเด็นก็อยู่แค่นี้ ทีนี้พอมาพูดเรื่องปลีกย่อยก็เยอะแยะ แต่ท่านเข้าใจใช่ไหม เรื่องเยอะแยะเรื่องประเด็นปลีกย่อย อะไรอีก เดี๋ยวเมื่อกี้
คนฟังถาม การศึกษาด้านพัฒนา เขาใช้ระบบ
พระตอบ อ๋อ อันนี้ไม่มีปัญหาก็เรื่องเดียวกัน ก็คือความหมายของคำว่าเชื่อฟัง คือพุทธศาสนาเถรวาทก็มีคำสอนเรื่องกามาลสูตรอยู่แล้ว อย่าให้เชื่อง่าย ๆ อย่างงมงาย
คนฟังถาม ถามท่านคือ ที่เอยถึงท่านพุทธทาส ครับ
พระตอบ อ้อเรื่องนั้นพูดแล้ว คือพระพุทธทาสนี่น่ะครับ ท่านเป็นเถรวาทเต็มตัว ดังนั้นคุณสุจิตต์พูด ต้องชี้แจงให้ญาติโยมรู้ด้วยว่าท่านพุทธทาสเป็นเถรวาทเต็มตัว 1 ในระดับสมมติ ระดับสมมติก็รูปแบบข้อตกลงกัน ถ้าบวชเป็นพระสงฆ์เถรวาทอยู่ในนิกายที่เรียกว่าเถรวาท เต็มที่เพราะท่านบวชอย่างเรานี่ นั้นท่านเป็นพระเถรวาทเต็มตัว 2 ในแง่ของความคิดคำสอน อันนี้เราจะต้องรู้จักท่านด้วย คือท่านพุทธทาสนี่ ท่านพูดถึงเถรวาทนี่ เราอาจจะไปพบได้หลายแห่ง เท่าที่พอจะสรุปในที่นี้ ผมสรุปให้ท่านไม่ต้องเชื่อผม ก็สรุปได้ว่าท่านพูด 2 แบบ เรามาพูดถึงท่านในความหมายในภาษาของเรา ในภาษาที่ชาวพุทธชอบพูดกัน คือภาษาหนึ่งก็คือภาษาในระดับสมมุติ ระดับสมมุติบัญญัติคือ เถรวาทนี่ก็เป็นเรื่องของสมมติบัญญัตินี่แหละในระดับสมมติบัญญัตินี่พระพุทธทาสท่านก็พูดตรง ๆ คือ เพราะท่านก็ยอมรับท่านเป็นพระเถรวาท แล้วท่านจะให้คนเนี่ยมองปฏิบัติต่อเถรวาท เช่นว่าเอ้อ พระเถรวาทนี่ท่านถือตามหลักธรรมวินัยที่สอนไว้แต่เดิมนะ เพราะฉะนั้นก็เวลาจะปฏิบัติต่อท่านอย่างสารเสินนี่ก็ต้องให้ระมัดระวังตามวินัยของท่านด้วย นี่พูดในระดับสมมติ ทีนี้อีกอันหนึ่ง ท่านจะพูดในระดับปรมัตถ์ พอพูดในระดับธรรมปรมัตถ์นี่ ธรรมะก็มีแต่ตัวความจริงไม่มีเถรวาท ไม่มีมหายาน เข้าใจไหมครับ มันไม่มีสมมติบัญญัติและไอ้ตัวความจริงนั่นมันไม่ต้องพูดกัน นี้ถ้าผมใช้คำแบบนี้ ก็เป็นการสื่อสารกับท่านโดยพูดถึงท่านพุทธทาสในภาษาแบบที่ชาวพุทธนิยมพูด ก็คือเอาคำว่าสมมุติบัญญัติ กับคำว่าปรมัตถ์มาพูดด้วย แต่เวลาท่านพุทธทาส ถ้าท่านพูดเอง ท่านจะพูดเป็นเฉพาะกรณีเฉพาะคราว เช่นถ้าพูดถึงว่า เถรวาทเป็นอย่างนี้นะช่วยดูแลด้วยปฏิบัติต่อท่านถ้าเป็นสารก็ระวังวินัยของท่านไว้ด้วยอะไรต่ออะไร นี่ท่านก็ไม่บอกว่าท่านไม่มีคำแยกเป็นสมมติบัญญัติอะไร ท่านก็พูดเฉพาะคราวนั้นก็เสร็จไป แล้วท่านพูดอีกคราวหนึ่ง ก็บอกว่าไม่มีเถรวาท ไม่มีมหายาน ความจริงมันก็เป็นความจริง อันนี้ท่านก็ไม่ได้พูดแยกแยะมันก็อยู่ที่คนที่ศึกษาไปอ่านท่านจะต้องเข้าใจเอา เข้าใจไหมครับ แต่ทีนี้ถ้าเรามีหลักการในการอ่าน เราก็เห็น 1 ท่านไม่ได้ขัดแย้งกัน เดี๋ยวจะบอกเอ้ ท่านพุทธทาส นี่ทำไมว่าขัดแย้งกันมาพูดตรงนี้ว่าเถรวาทอย่างนี้ยอมรับเถรวาท แล้วไปพูดอีกแห่งบอกว่าไม่มีมหายาน มหายานไม่มี ก็จะกลายเป็นอีกคนหนึ่งก็เล่นงานท่านพุทธทาสไปเลย แต่ว่าถ้าเอามาแยกแยะอย่างนี้เข้าใจไหมครับ เข้าใจ ตัวท่านเองท่านก็พยายามพูด บอกว่ามีภาษาคนภาษาธรรม แต่ว่าเราไม่ต้องไปใช้คำอย่างนั้นก็ได้ เพราะว่าภาษาเดิมมีคำว่า ภาษาสมมติ ภาษาสมมติบทบัญญัติ ภาษาปรมัติ หรือคำพระพุทธเจ้าเอง พระพุทธเจ้าไม่ได้ใช้คำนี้ พระพุทธเจ้าใช้คำว่าโวหาร คือพุทธเจ้าตรัส อย่างในพระสูตรหนึ่ง ก็ตรัสถึงเรื่องว่า คือพระองค์ไม่ขัดแย้งกับชาวโลก ชาวโลกเขาพูดกันไปทั้ง ๆ ที่โดยสภาวะความเป็นจริงแล้วมันก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่าพระองค์ไม่ขัดแย้งกับชาวโลก เพราะพูดไปตามโวหารของชาวโลกนั้น เข้าใจไหมครับ เนี่ยก็คือภาษาชาวโลกที่เขาพูดกัน เพราะว่ามนุษย์จะสื่อสารกันด้วยก็อาศัยภาษา ภาษาก็ต้องมีสมมุติบัญญัติ ถ้าหากว่าเราปลีก ปอก เปลือกภาษาออกไปจึงจะถึงเนื้อหาสาระที่แท้จริง ซึ่งไม่มีภาษาจะสื่อ ถูกไหม มันเป็นเนื้อหาสาระเป็นตัวตัวความจริง แต่ว่าภาษามีประโยชน์ไหม ก็มีสิ มาสื่อกันทำให้อธิบายเข้าใจเป็นบันไดที่จะก้าวไปถึงตัวโน้น ภาษาเซนก็บอกว่าเหมือนนิ้วที่ชี้ไปที่พระจันทร์ใช่ไหม นิ้วชี้ไปที่พระจันทร์ก็หมายความว่าไอ้นิ้วนี้ไม่ใช่พระจันทร์น่ะ ภาษาก็เหมือนกับนิ้ว ที่ชี้ไปที่พระจันทร์ จุดมุ่งเราอยู่ที่พระจันทร์ อย่าเอานิ้วเป็นพระจันทร์ หรืออย่าติดอยู่ที่แค่นิ้ว อะไรทำนองนี้ เอาล่ะน่ะเข้าใจ