แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
พระพระนวกะ – ??? พระเดชพระคุณพระอาจารย์ให้อธิบาย ??? ของผู้มาทำสติเป็นตัวกลาง ??? ผมขอเสนอถ้าว่าผมจะพิจารณาว่า ในกรณีที่เราพิจารณาในแง่ว่าเป็นของผู้บริสุทธิ์ ผู้มีสติควบคุมแล้วนะครับ ถ้าเรามองในแง่เวลาเรา ??? เป็นไปได้มั้ยศรัทธา มันเกิดวิริยะ สติ สมาธิและนำไปสู่ปัญญา
พระพรหมคุณาภรณ์ – ก็เวลาทำงานมันก็หนุนกันอยู่ตลอด มันหนุนกัน ถ้าเราไปมองในแง่ลำดับมันจะไปอยู่ในชุดอื่นมากกว่า ชุดนี้มันมุ่งในการทำงานประสาน มาช่วยหนุนกัน แต่ว่าอย่างที่เราพูดแล้ว ศรัทธาก็หนุนปัญญา ศรัทธาเป็นเบื้องต้น ปัญญาเป็นที่สุด แต่ว่าในแง่นี้เราต้องการมองในแง่ของการทำงานประสานกัน จึงได้มามองในแง่ความสม่ำเสมอพอดีมากกว่า ถ้ามองในแง่นั้นก็จะไปเห็นลำดับในชุดอื่น อย่างเช่นโพชฉงค์อย่างนี้ นั่นจะทำงานเป็นลำดับ เอานะ ทีนี้วันนี้ก็พูดเป็นเกร็ดความรู้ดีกว่า ไม่ต้องถือเป็นเรื่องหนักหนาจริงจัง เดี๋ยวจะรู้สึกว่า ยาก คือถ้า ให้มองเป็นเรื่องผ่านๆ อย่างน้อยก็ อ๋อ ได้เคยได้ยินแล้วเรื่องนี้ อะไรก็ยังดี ความจริงมันอาจจะเป็นเรื่องที่ ไว้ศึกษาในอีกระดับหนึ่ง แต่ว่าเมื่อเรื่องมาเกี่ยวข้องแล้วก็เลยพูดถึงซะ นี่พูดถึงเรื่องปัญญาเนี่ย เราว่ามาตามลำดับ เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องการทำงานประสานกัน ในระบบการพัฒนาคนก็พูดมาหมดแล้ว ทีนี้แต่ละอย่างแต่ละอย่างนี่ เราก็มาพูดรายละเอียดกัน บางส่วนในข้อที่ควรทราบ ศีลก็พูดไปแล้ว สมาธิก็พูดไปแล้ว ปัญญาก็เริ่มบ้างแล้ว ทีนี้ปัญญาก็มาพูดเพิ่มเติมหน่อย ก็เคยบอกไว้แล้วว่าปัญญาเนี่ย ก็มีหลายระดับหลายขั้น ตั้งแต่การรับรู้เลย พอเห็น ได้ยิน ก็ทำยังไงจะเกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ได้เห็นได้ยินเป็นต้น แล้วก็รู้ตามเป็นจริง รับรู้โดยไม่ถูกเจ้าตัวอกุศลเข้ามาครอบงำ เช่นความชอบใจ ไม่ชอบใจ อย่างที่ว่าทำไงจะรับรู้ ไม่ใช่ทำตามความชอบใจไม่ชอบใจ แต่ว่ารับรู้ด้วยปัญญา รับรู้ด้วยมองตามเหตุปัจจัยเป็นต้น แค่นี้ก็ยากแล้ว เมื่อเวลาคิด คิดพิจารณาวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ทำไงจะวินิจฉัยตัดสินไปโดยความรู้ตามสภาวะ หรือตามความเป็นจริงแท้ๆ ไม่ใช่ มีกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ เข้ามาครอบงำ ถ้าโลภะความอยากได้ผลประโยชน์ส่วนตัว โทสะความขัดเคือง เกลียดชังเข้ามาครอบงำ การวินิจฉัยสิ่งต่างๆ ก็เกิดอคติ เอนเอียง ก็ไปมีเรื่องอคติอีกถ้าอคติเข้ามาปัญญามันก็ไม่บริสุทธิ์ มันก็ไม่เป็นปัญญาแท้ๆ นอกจากนั้นมีปัญญาที่รู้ลึกซึ้งเข้าไปอีก เรื่องวิเคราะห์ แยกแยะสิ่งต่างๆ ออกไปให้เห็นชัดนอกจากว่าสิ่งนั้นคืออะไรแล้ว ยังรู้ว่าประกอบด้วยอะไร เป็นอย่างไร นอกจากนั้นยังมีปัญญาที่รู้เหตุปัจจัยสืบค้น สืบสาว ว่าที่เป็นอย่างนี้ เป็นเพราะอะไร มีอะไรก่อนจึงมีอันนี้ หรือการที่สิ่งนี้มีขึ้นต้องอาศัยปัจจัยร่วมอะไรบ้าง ทำให้มองโยงความสัมพันธ์ กับสิ่งอื่นๆ เป็นระบบไปเลย อันนี้ก็ทำให้เข้าใจธรรมชาติกว้างขวางออกไป แล้วก็เอาความรู้นั้นมาเชื่อมมาโยง สามารถที่จะใช้ความรู้หรือข้อมูลเก่าๆ ความเข้าใจเก่าๆ มาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันในการแก้ปัญหา ตลอดจนกระทั่งคิดเชื่อมโยงความรู้และสร้างเป็นความรู้ใหม่ๆ สร้างสรรค์ทำสิ่งใหม่ๆ ได้ ตลอดจนกระทั่งรู้ โยงความจริงของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติได้ทั่วถึง เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งในสังขารทั้งปวง รู้โลกและชีวิตทั้งหมด มองเห็นเป็นความหยั่งรู้ หยั่งเห็น เข้าถึง แก่นความจริงของสิ่งทั้งหลายหรือความจริงที่ครอบคลุมจริงทั้งหมด ทำให้ปลดเปลื้องจิตเป็นอิสระได้ นี่ปัญญามีหลายขั้นหลายลำดับหลายแง่เหลือเกิน หรือเราอาจจะแยกสั้นๆ ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราว กิจการของมนุษย์ที่เป็นเรื่องสมมติที่จะทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตประจำวัน อยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ทำกิจการงานการต่างๆ ได้สำเร็จ เช่น รู้วิชาการต่างๆ แล้วก็รู้ไปถึงตัวสภาวะ ธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องหลังของสมมตินั้นอยู่เบื้องหลังของการที่มนุษย์จะเอามาใช้ประโยชน์ ก็คือตัวความจริงแท้ของสิ่งเหล่านั้น แล้วก็รู้ถึงการเชื่อมโยงระหว่างความจริงแท้ของสิ่งทั้งหลายกับ การที่มนุษย์จะนำมาใช้ประโยชน์ ว่า ความรู้สองระดับ นี่ก็ต้องเชื่องโยงอาศัยกัน
ปัญญาเยอะแยะเหลือเกินนะ เป็นเรื่องใหญ่ที่สุด ทีนี้ปัญญา คำว่าปัญญา นั้นเป็นคำร่วม เป็นคำที่กว้างที่สุด แต่เรื่องของปัญญานั้น เพราะเหตุที่มีหลายด้านหลายระดับหลายแง่ ก็เลยมีชื่อเรียกจำเพาะออกไปเยอะแยะ ชื่อเหล่านั้นมักจะเป็นชื่อที่ใช้เรียกปัญญา ที่ทำงานในหน้าที่จำเพาะ ๆ ไป ดังนั้นเราจะได้ยินคำอื่น ที่มีความหมาย เป็นปัญญาในอีกเยอะ แต่ก็ต้องทำความเข้าใจอย่างที่พูดไปแล้ว ย้ำว่าปัญญาเป็นคำที่กว้างที่สุด ในเรื่องของความรู้ความเข้าใจใช้ปัญญานี่ครอบคลุมหมด ทุกระดับ ใช้ตั้งแต่ชั้นโลกีย์จนถึงโลกุตระ ทีนี้เราไปพูดถึงปัญญา ในชื่ออื่นๆ เนี่ย มักจะเป็นชื่อที่ใช้จำกัด ปัญญาที่มีชื่อจำกัดใช้เฉพาะกรณีหรือใช้เฉพาะการทำหน้าที่บางอย่างของปัญญา ก็จะยกตัวอย่างให้ฟัง อย่างที่พูดไปแล้วเช่นคำว่าสัมปชัญญะ ก็อธิบายไปแล้วต่างกับปัญญาอย่างไร จริงๆไม่ใช่ต่างกับปัญญาเป็นเพียงปัญญาที่ทำหน้าที่ในกรณีหนึ่งเราเรียกชื่อว่าอย่างนี้นะ คือคำว่าปัญญานั้นคลุมหมด นี่ผมก็จะยกตัวอย่างให้ฟังชื่อปัญญา ถ้าขืนมานึกในเวลาสั้นๆ นึกไม่ไหว เพราะฉะนั้นก็เลยเอาเขียนมาให้เลย ลองฟังดู ที่บอกว่าเป็นเกร็ดความรู้ จะได้เห็นว่าปัญญานี่ ชื่อมันเยอะเหลือเกิน แล้วก็มีทั้งชื่อที่นำมาใช้ในภาษาไทย จนเป็นคำไทยไปแล้วก็มี ชื่อที่คนไทยไม่คุ้นก็มี ก็จะได้ยิน ชื่อที่คุ้นๆ ก็มีเยอะ เช่น ปัญญา วิชชา พุทธิ โพธิ ญาณ วิปัสสนา วิจัย วิมังสา สัมปชัญญะ ปฏิภาณ อโมหะ สัมมาทิฐิ โกศล ปฏิสัมภิทา นอกจากนี้ยังมีอีก นี่ชักจะได้ยินน้อยลงไปเช่น เมธา มันตา โยนิ ปัณฑา (ปัน-ทา) เนปกะ วิจารณา ธีร ที่มีคำว่าธีระ จากคำว่าธี เนี่ย มาเป็นคนเป็นธีระ ตัว ธีร นั่นเป็นปัญญา หรืออย่างเมธา เป็นปัญญา แต่พอ เป็นเมธี เป็นคนมีปัญญา และอีกคำหนึ่งก็คือคำว่า เวทะ ของพราหมณ์เค้าไปไว้ใช้เรียกคัมภีร์พระเวท เวทะตรงนี้ก็แปลว่าปัญญา เป็นความรู้
เป็นคนก็เป็นเวธี ยังมีอีก มติ มุติ ภูริ เนปุญญะ (เน-ปุน-ยะ) เนปักกะ(เน-ปัก-กะ) จินตา เวพะพยา (เว-พะ-พะ-ยา) อุปปาริขา (อุ-ปา-ริ-ขา) ปรินายิกา (ปะ-ริ-นา-ยิ—กา) เป็นต้น หลายชื่อคิดว่าท่านยังไม่เคยได้ยินเลย ใช่มั้ย แต่หลายคำพวกที่หนึ่งนี่เป็นคำที่อาจจะคุ้นมากหน่อย ท่านที่มาใช้ในภาษาไทยและในวงการธรรมะ กลุ่มที่สองนี่ได้ยินน้อยลง กลุ่มที่สามนี่แทบไม่ได้ยินเลย ก็มีกลุ่มที่หนึ่งก็มี ปัญญา วิชชา พุทธิ โพธิ ญาณ วิปัสสนา วิจัย วิมังสา ที่จริงบาลีเป็นวีมังสา สัมปชัญญะ ปฏิภาณ อโมหะ สัมมาทิฐิ โกศล ปฏิสัมภิทา แล้วก็ เวทะ หรือเวท ที่เป็นคนเป็นเวธี เมธา เป็นคนเป็นเมธี มันตา โยนิ ปัณฑาเป็นคนเป็นบัณทิต เนปกะ วิจารณา ธีร คนเป็นธีระ มติ มุติ ภูริ เนปุญญะ เวพะพยา จินตา อุปปาริขา ปรินายิกา อันนี้ที่ท่านสุรเดชถาม อุเบกขานั่นมันเป็นสภาพจิตที่อาศัยปัญญาอีกที มีปัญญาแล้วจึงเกิดสภาพจิตนี้ได้ ไม่ใช่ตัวปัญญา อันนี้ต้องแยกกันให้ดี เพราะสภาพจิตบางอย่างต้องอาศัยปัญญา ปัญญาก็มาปรับสภาพจิต ทีนี้ก็อุเบกขาก็ ถ้าไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็เป็นอัญญานุเบกขา เฉยโง่อย่างที่เคยพูดไปแล้ว เฉยไม่รู้เรื่อง เป็นอกุศล
พระพระนวกะ –วิมุต ละครับ
พระพรหมคุณาภรณ์ – วิมุตก็เป็นเรื่องอาการพ้นไปของจิตจากกิเลส แต่วิมุตนั่นเป็นทั้งมรรค เป็นมรรคก็ได้ เป็นผลก็ได้ เป็นนิพานก็ได้ แล้วแต่จะแปล แต่มรรคก็คือการที่หลุดพ้นไปได้จากกิเลสเป็นมรรค วิมุตเป็นผลก็คือภาวะที่ ได้หลุดพ้นจากกิเลส และก็เป็นนิพพานหมายถึงภาวะที่คนเข้าถึงจิต แปลได้หลายอย่าง เอ้าทีนี้กลับมาเรื่องปัญญาเดี๋ยวจะสับสน เรื่องอื่นเอาไว้ก่อน เพราะเหตุที่ปัญญามีหลายชื่อเนี่ยเราจึงต้องได้หลักการคร่าวๆ ก่อน
เอานะ ปัญญานี่เป็นคำกว้างที่สุด ครอบคลุมหมด และก็จะไปเรียกชื่ออะไร แล้วก็ไปดูอีก บางคำมันเป็นคำที่สงวนไว้ใช้สำหรับในกรณีพิเศษจริงๆ อย่างโพธิ นี่นะหมายถึงการตรัสรู้ ทั้งๆ ที่ว่าโดยตัวศัพท์ มันก็ไม่ได้ต่างอะไรกับคำว่าพุทธิ พุทธิ โพธิ นี่ ตัวรากศัพท์ก็ตัวเดียวกัน จากบาลีท่านเรียกว่าทาส ทาสก็คือตัวรากศัพท์ พุทธะ พุทธทาส คำเดียวกัน แล้วมาทำตามไวยากรณ์ ออกมาเป็นพุทธิตัวหนึ่ง ออกมาเป็นโพธิตัวหนึ่ง ไปใช้ในความหมายไม่เหมือนกันนะ โพธินี่มุ่งเอาปัญญา ปรีชาญาณสูงสุด ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พุทธินี่ใช้ได้กับคนทั่วไป ความเข้าใจ รู้เหตุรู้ผล อันนี้เป็นเรื่องของ บางทีก็เป็นเรื่องความนิยม หรือการที่ว่าได้ใช้จนกระทั่งว่ามีความหมายจำกัดจำเพาะ เรื่องของความหมายของศัพท์นี่มันเกิดจากเหตุหลายอย่าง บางทีก็ตัวศัพท์เองมันแสดงความหมายไปด้วย ก็ขอให้นึกเทียบอย่างคำว่าเดิน คำว่าเดินนี่อาจจะมีศัพท์อื่นอีกเยอะ ก้าว ย่าง ย่อง ยุรยาตร เยื้องย่าง ดำเนิน ใช่มั้ย ยังมีราชดำเนิน พุทธดำเนิน นวยนาดอะไรต่างๆ อีก คำว่าปัญญานี่ก็ถ้าเทียบกับรูปธรรมคล้ายๆ คำว่าเดิน เป็นคำที่กว้างที่สุด ทีนี้คำอื่นบางคำนั้นก็เป็นเพียงอาการส่วนหนึ่งของการเดิน เช่น จะเดินต้องมีการก้าว ใช่มั้ย ก้าวก็เป็นส่วนหนึ่งของการเดิน ย่างก็เป็นส่วนหนึ่งของการเดิน ใช่มั้ย หรืออย่าง ย่อง ก็เป็นการเดินชนิดหนึ่ง เยื้องย่างก็เป็นอาการเดินอีกแบบหนึ่ง ยุรยาตรก็ไปอีกอย่างหนึ่ง ดำเนินกับเดินทั้งๆที่มันก็ตัวเดียวกัน เพียงแต่แผลงเดินเป็นดำเนิน เวลาใช้จะไปใช้ในกรณีที่ควรใช้เดิน ไปใช้ดำเนินมันก็รู้สึกไม่เข้ากัน ใช่มั้ย เนี่ยอย่างนี้เป็นต้น เรื่องปัญญาที่มีชื่อต่างๆ มันมีเหตุผลหลายอย่าง
เอาเป็นว่าปัญญากว้างที่สุดเหมือนคำว่าเดิน ทีนี้บางคำก็เหมือนคำว่าก้าว บางคำก็เหมือนกับย่าง บางคำก็เหมือนกับย่อง อะไรอย่างนี้นะ เอานะ คิดว่าเข้าใจ ทีนี้เมื่อรู้แนวกว้างๆ อย่างนี้แล้ว เราก็อาจจะยกตัวอย่างบางคำมาพูดกัน ที่ยกตัวอย่างไปแล้วก็สัมปชัญญะใช่มั้ย อธิบายไปแล้วว่า มันเป็นปัญญาที่ใช้ในกรณีอย่างไร ทีนีวันนั้น ท่านไพบูลย์ถามเรื่อง ปัญญากับญาณ อันนี้ก็น่ารู้เหมือนกัน
ปัญญากับญาณก็เอาเป็นว่าญาณเป็นชื่อหนึ่งของปัญญา แต่เป็นปัญญาที่ทำหน้าที่สำเร็จผลในเรื่องนั้น ๆ ปัญญาเป็นคำกว้างๆ ความรู้ความเข้าใจมันทำงานไปก็รู้เข้าใจเนืองๆ ต่างๆ แต่ญาณนี่หมายถึงปัญญาที่ทำงานสำเร็จผลเป็นเรื่องๆ ไปเลย อย่างไร อตีตังสญาณ ญาณกำหนดรู้ส่วนอดีต เห็นมั้ย หยั่งรุ้ส่วนอดีตนี่ปํญญาทำงานสำเร็จผลในเรื่องนั้น ๆ คือในเรื่องส่วนอดีต หรืออย่าง นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามและรูปได้ นี่หมายความว่าเป็นปัญญาที่ทำงานสำเร็จผลเป็นเรื่องเลย ในเรื่องนามรูปนี่โอ้รู้เลยว่าอะไรเป็นรูปอะไรเป็นนาม แยกได้ หรือปัจจยปริคหญาณ ญาณที่กำหนดจับปัจจัยของนามรูปได้ รู้ว่านามรูปเกิดเพราะอะไร นามอันนี้มีเพราะปัจจัยอะไร มีอะไรเป็นเหตุปัจจัย รูปอันนี้เกิดจากอะไร อันนี้นี่สืบต่อมายังไงนี่ ญาณก็เป็นความรู้เป็นปัญญาที่ทำหน้าที่ทำงานสำเร็จในเรื่องนั้น ก็เราจึงมีญาณเยอะแยะไปหมด ตั้งแต่ความรู้เบื้องต้นในเรื่องเล็กๆ น้อย ๆ ก็เป็นญาณอย่างหนึ่งอย่างหนึ่ง จนกระทั่งไปถึงโพธิญาณ นี่คือปัญญาที่ทำงานในการตรัสรู้สัจธรรมสำเร็จ ใช่มั้ย หรือว่า อาสวักขยญาณ ปัญญาที่หยั่งรู้ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ หรือรู้ถึงการที่จะทำอาสวะให้สิ้นไปได้ ใช่มั้ย เป็นเรื่อง ว่าเป็นเรื่องๆ ไปเลยของญาณ เราจึงเห็นว่าโดยมากจะมีคำมานำหน้า ว่าเป็นญาณในเรื่องอะไร แล้วก็จำกัดไปในเรื่องนั้นๆ นะ นี่เข้าใจแล้วนะ นี่พูดถึงญาณอย่างนี้ก็เลยยกตัวอย่างญาณให้เห็นว่ามีเยอะแยะไปหมด อย่างวิปัสสนาญาณ 9 พอดีเมื่อคือวันนั้นก็คุณที่ขับรถแท็กซี่มาก็ถามเรื่องของการสอบอารมณ์ ซึ่งเป็นคำไทย มีสอบอารมณ์เค้าก็จะดูว่า ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนานั้นได้ปฏิบัติก้าวหน้าสำเร็จไปได้ญาณลำดับใด ก็จะดูลำดับญาณที่ได้บรรลุ ทีนี้ลำดับญาณตามปกติก็จะใช้หลักใหญ่ คือหลักวิปัสสนาญาณ 9 แต่วิปัสสนาญาณ 9 นี่มันมีความจำกัดอยู่ในระดับที่สำคัญมาก ที่นี้อยากจะวัดให้มันได้ลงมาถึงต่ำๆ กว่านั้น วิปัสสนาญาณ 9 ก็จะอยู่ในระดับที่ เรียกว่า ไม่ ไม่พอ คือ มันสูงเกินไป ดังนั้นก็หาญาณที่มันต่ำลงมาช่วยวัดอีก ก็เลยเอามารวมได้ 16 ญาณเรียกว่า ญาณโสฬสเรียกเต็มคือ เรียกแบบบาลีก็เป็นโสฬสญาณ ญาณ 16 สำหรับสายวิปัสสนาสำนักต่างๆ มันจะชอบเอาหลัก ญาณ 16 นี้ มาใช้วัดความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติวิปัสสนา เพราะวิปัสสนา เป็นเรื่องของปัญญา เมื่อกี้บอกแล้วว่าวิปัสสนา เป็นชื่อของปัญญา แปลตามตัวก็ การเห็นแจ้ง หมายถึงปัญญาที่เห็นแจ้งความจริงของสังขารทั้งหลาย ของทุกสิ่งทุกอย่าง เห็นความจริงของธรรมชาติ ซึ่งเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ
ได้แก่พระไตรลักษณ์ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เนี่ยวิปัสสนาเป็น เป็นปัญญาประเภทนี้ ทีนี้ในวิปัสสนาจะมีการก้าวไปเป็นขั้น ๆๆ เยอะเลย แล้วก็จะมีญาณของวิปัสสนาที่เรียกว่าวิปัสสนาญาณ ซึ่งพระอรรถกถาจารย์รวมไว้มี 9 อย่าง ซึ่งในพระไตรปิฎกท่าน ก็ไม่ได้มาจัดว่า อย่างนี้หรอก ท่านก็ไปรวมมาจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ปฏิสัมภิทามรรค ก็เป็นพระไตรปิฎก แต่หมายความว่าในพระไตรปิฎก ท่านไม่ได้มาจัดเป็นชุดไว้ ท่านเพียงแต่ว่าบอกหัวข้อไว้ ชื่อญาณ ในบทแรกของคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค จะว่าด้วยเรื่องญาณต่างๆ มากมายเต็มไปหมด แล้วก็ให้หัวข้อชื่อญาณไว้มากมาย นี้พระอาจารย์รุ่นพระอรรถกถานี้ก็ คงจะสืบมาตามสายการสอนของครูอาจารย์ ก็มาจัดเป็นวิปัสสนาญาณ 9 จับเอาจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งมีอยู่ในหน้าที่ 1 เลย เริ่มต้นขึ้นมาท่านขึ้น เรื่องญาณท่านก็บอกว่า โอ๊ยชื่อญาณนั้นญาณโน้น เยอะแยะไปหมด ฉันก็จับเอามา 9 อันนี่ ว่าเป็นญาณในวิปัสสนา ทีนี้ในคัมภีร์รุ่นหลังมาอีก ในวิสุทธิมรรค จับมาได้เป็น 9 เป็นวิปัสสนาญาณ 9 พอมาคัมภีร์อภิธรรมสังคหะ จับมาเพิ่มก็เอามาจากปฎิสัมภิทามรรคนั่นแหละ วิสุทธิมรรคเอามาแค่ 9 อภิธรรมสังคหะเอามา 10 เอามาอีกตัวหนึ่งเอามา อันต้นอันก่อน ก่อนของวิปัสสนาญาณ 9 ก็เลย ในอภิธรรมสังคหะเป็น วิปัสสนาญาณ 10 ไม่เป็น 9 แล้ว ทีนี้พอมา อาจารย์รุ่นหลังอีก ต้องการจะมาตรวจสอบวัดลูกศิษย์อยากให้ได้ขั้นต้นๆ เพราะกว่าจะถึงวิปัสสนาญาณที่พระพุทธโฆษาจารย์ในวิสุทธิมรรคว่าไว้ มันต้องขึ้นไปขั้นสูงหน่อย ก็เลยมาเอาที่ต่ำ ๆ กว่า รวมแล้วเลยทั้งที่ก่อนวิปัสสนาญาณ 9 แล้วไปนับเอาหลังวิปัสสนาญาณ 9 สูงเข้าไปอีก รวมเป็น 16 ที่ว่าเมื่อกี้ เพิ่มขึ้นอีก 7 อย่าง เป็นญาณ 16 ตอนนี้ไม่เรียกว่าวิปัสสนาญาณ เรียกญาณเฉย ๆ เรียกว่าญาณ 16 เรียกเป็นไทยกันง่ายๆว่าญาณโสฬส หรือโสฬสญาณ โสฬสก็แปลว่า 16 นั่นเอง ก็มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบความก้าวหน้าในการเจริญวิปัสสนา อันนี้ก็เป็นความรู้พิเศษอย่างที่ว่านะ ท่านอย่าไปเอาจริงเอาจังนัก เพราะมันยาก ทีนี้ให้ได้ยินพอผ่านไว้
นี่ก็เรื่องของการปฏิบัติวิปัสสนาเนี่ย ที่มาในพระไตรปิฎก แท้ ๆ ว่าเป็นลำดับ ไปเลยในการปฏิบัติเนี่ย ท่านเรียกว่าวิสุทธิ 7 ใครเคยได้ยินบ้างวิสุทธิ 7 วิสุทธิ 7 นี่เป็นหลักของคัมภีร์วิสุทธิมรรคเลย วิสุทธิมรรคแปลว่า ทางแห่งความบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นจะใช้หลักวิสุทธิ 7 เป็นหลักของคัมภีร์วิสุทธิมรรค อันนี้วิสุทธิ 7 นี่ก็เป็น หลักธรรมที่มาในพระสูตร เป็นพระสูตรหนึ่งเลย ทีนี้ในพระสูตรเนี่ย กล่าวถึงลำดับแห่งการปฏิบัติไปสู่ความบริสุทธิ์ ก็เป็นความบริสุทธิ์ในแต่ละขั้น ก็ฟังไว้ เราจะเห็นความสัมพันธ์ในไตรสิกขาด้วย ไตรสิกขามีศีล สมาธิ ปัญญา ใช่มั้ย เอาล่ะ มาดูวิสุทธิ 7 แล้วจะเห็นว่าเนี่ย ไตรสิกขาไปขยายเป็นวิสุทธิ 7 ก็ได้ วิสุทธิ 7 ก็มี หนึ่ง ศีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล นี่เห็นมั้ย เมื่อเจริญไตรสิกขาอันแรกอันแรกก็เจริญเรื่องศีล ก็ได้ศีลวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล เสร็จแล้วต่อไป อันที่สองเรียกว่า จิตตวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งจิต อันนี้ได้สมาธิแล้วนะ มาแระ ต่อไปอีก 5 วิสุทธิ ปัญญาหมดเลยนี่ เห็นมั้ยเรื่องปัญญาเรื่องใหญ่ ศีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ นี่ศีลสมาธิไปแล้ว ต่อจากนี้ไปเป็นเรื่องปัญญากว้างขวางเหลือเกินอีก 5 ขั้น ก็มีอะไร ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ เกิดความรู้ความเข้าใจเห็นถูกต้องแล้ว เป็นสัมมาทิฐิจริง ตอนนี้
แล้วก็ไปอะไร ต่อไปจาก ทิฏฐิวิสุทธิ ก็เป็น กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งปัญญาที่ทำให้ข้ามพ้นความสงสัยได้ ตอนทิฏฐินี่ถูกแล้ว เข้าหลักแหละ ถูกหลัก แต่ตัวเองก็ยังไม่หมดความสงสัย ปัญญาได้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ต่อมาก็กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นความบริสุทธิ์แห่งปัญญาที่ข้ามพ้นความสงสัยได้ กังขาวิตรณวิสุทธิ ต่อจากนั้นไปอีก มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งปัญญาที่มองเห็นว่าอะไรเป็นทางและมิใช่ทาง เป็นมรรคหรือไม่ใช่มรรค ทางหรือไม่ใช่ทางนี่แยกแล้วตอนนี้ ตอนนี้จะเดินทางเข้าทางที่ถูกต้องมาผ่านขั้นที่ว่า แยกผิดแยกถูกได้ ต่อไปก็ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ตอนนี้เป็นความบริสุทธิ์แห่งปัญญาความหยั่งรู้หยั่งเห็น ที่เป็นตัวทางล่ะ เข้าทางละทีนี้ เห็นทางเลย เมื่อกี้นี่ มันแยกทางผิดทางถูก ทางหรือไม่ใช่ทาง คราวนี้เข้าทาง เห็นรู้ว่าเป็นปฏิปทาเป็นทาง เป็นตัวทางที่จะถึงนิพพานแท้ ต่อจากปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ก็ถึงข้อสุดท้าย เหลือแค่ ญาณทัสสนวิสุทธิ แปลว่าความหมดจดแห่งปัญญาที่หยั่งรู้หยั่งเห็น ก็หมายถึงหยั่งรู้หยั่งเห็นสัจธรรมเลยคราวนี้ถึงนิพพานเลย เมื่อกี้นี้เป็นทาง ตอนนี้เป็นตัวความรู้ ที่เป็นญาณเป็นโพธิเลย เอานะนี่เป็น 7 อย่าง เรื่องวิสุทธิ การปฏิบัติที่เราเรียกว่าวิปัสสนาเนี่ย ซึ่งจริงๆ ในกรณีนี้ไม่ใช่เฉพาะวิปัสสนา มันหมดเลย กระบวนการปฏิบัติทั้งหมดจนกระทั่งบรรลุนิพพาน อยู่ในวิสุทธิ 7 แล้วก็ครอบคลุมไตรสิกขา แต่ว่าจะเห็นชัดว่า ขั้นตอนสำคัญอยู่ที่ปัญญา ซึ่งมีทั้ง 5 ขั้นตอน ทีนี้ 5 ขั้นตอนของวิสุทธิ 7 พอได้ ศีลวิสุทธิ ศิลหมดจดแล้ว จิตตวิสุทธิ จิตหมดจดแล้ว ได้สมาธิดีแล้ว ต่อจากเป็นขั้นปัญญา พอเริ่มตั้งแต่ขั้นปัญญา ทิฏฐิวิสุทธิ ที่เป็นต้นไป ตอนนี้จะเกิด ญาณต่างๆ ญาณคือความหยั่งรู้ ที่จะทำให้ได้เป็นวิสุทธิชั้นนั้น ๆ เพราะฉะนั้นเรื่องญาณต่างๆ ก็จะมาในวิสุทธิตั้งแต่ ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นต้นไป ทีนี้พระอาจารย์ท่านก็ไปรวบรวม ญาณที่ท่านบอกไว้ในหนังสือคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ที่ผมพูดเมื่อกี้อยู่ในพระไตรปิฎกนะ ซึ่งรู้กันว่าเป็นคัมภีร์ที่พระสารีบุตรแต่ง อันนี้ไม่ใช่พระพุทธเจ้าแต่ง แต่พระสารีบุตรก็เรียนมาจากพระพุทธเจ้า แต่เพราะท่านมีปัญญาปราดเปรื่องมาก เป็นคัมภีร์ของพระสารีบุตร ในพระไตรปิฎกนี่มีคัมภีร์ของพระสารีบุตรแท้ๆ อยู่ตั้ง 3 คัมภีร์ ปฏิสัมภิทามรรค นิเทศน์ มหานิทเทส จูฬนิทเทส เป็นคัมภีร์ของพระสารีบุตรหมด เป็นการอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างลึกซึ้ง นอกจากนั้นยังมีพระสูตรที่พระสารีบุตรกล่าวต่างหากในที่อื่น แต่ว่าเฉพาะที่เป็นคัมภีร์เป็นเล่มๆ เลย เป็นล้วนๆ ของพระสารีบุตร ทีนี้ ปฏิสัมภิทามรรค ก็อยู่ในพระไตรปิฎกเล่ม 31 อันนี้หน้าแรกบอกเลยว่า ชื่อญาณต่างๆ อันนี้ พระอาจารย์รุ่นหลังท่าน ก็ไปเอาชื่อญาณเหล่านี้มา แล้วก็จัดระบบ ให้เห็นในการปฏิบัติ อย่างที่ผมพูดเมื่อกี้ ทีนี้ญาณที่ท่านเอามาใช้เนี่ย ที่ว่าโสฬสญาณ 16 ก็เริ่มเกิดตั้งแต่ทิฐิวิสุทธิ การที่ทิฐิจะวิสุทธิ เกิดความหมดจดแห่งทิฐิก็เพราะเกิดญาณ ปัญญาที่ทำงานสำเร็จในเรื่องหนึ่ง สำเร็จในเรื่องอะไรหล่ะ ญาณ 16 ก็เริ่มตั้งแต่ทิฐิวิสุทธิ จนทำให้เกิดทิฐิวิสุทธิก็คือ นามรูปปริจเฉทญาณ แปลว่าญาณที่กำหนดแยกนามและรูปได้ ปริจเฉท กำหนด แยกให้เห็น อย่างน้อยเริ่มต้นก็รู้ว่า โอ้นี่ สิ่งทั้งหลายบรรดาที่เรารู้เห็นชีวิตคนนาย ก นาย ข ต้นไม้ อะไรต่างๆ มันไม่มีอะไรหรอก มันมีเพียงนามรูปเท่านั้นเอง เป็นสภาวะตามธรรมชาติมีเพียงนามรูป
ลองดูสิอะไรต่ออะไรในโลกนี้ เอ้า มันไม่เป็นนามมันก็เป็นรูป พอรู้อย่างนี้ก็แยกได้สิ อันนี้เป็นนามอันนี้เป็นรูป ใช่มั้ย เช่นอย่างที่ผมยกตัวอย่างคืนนั้น พอเรามองเห็นอะไร ตัวจักขุประสาทตาที่มองเห็นนี่ เป็นรูปธรรมใช่มั้ย แล้วก็สิ่งที่เรามองเห็น ก็เป็นรูปธรรม ส่วนการเห็นเป็นจักขุวิญญาณ เป็นนามธรรม อย่างนี้ก็เรียกว่ากำหนดรู้นามรูปเลยแยกได้ว่า อันไหนเป็นรูปอันไหนเป็นนาม นี้ท่านบอกว่าเป็น ญาณที่ 1 ในญาณโสฬส โสฬสญาณ 16 นะ เอามาใช้ตรวจสอบเพราะฉะนั้น เราจะเห็นสำนักวิปัสสนาเราจะเริ่มด้วยสอนอันนี้ เอ้าแยกให้ได้นะ อย่างวัดมหาธาตุนี่ต้องสอนใช่มั้ย ว่า ตาเป็นรูป สีเป็นรูป การเห็นหรือวิญญาณเป็นนาม อย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ นี่เป็นญาณที่ 1 พอกำหนดรู้จักว่า อ๋อ สิ่งทั้งหลายในโลกมันมีก็แค่นี้ เป็นแค่รูปธรรม นามธรรม สภาวะตามธรรมชาติ นอกนั้นมันก็เป็นเรื่องของการสมมติกันไป เป็นโน่นเป็นนี่ เป็นนาย ก นาย ข อะไรไป อย่างนี้ท่านเรียกว่าเข้าทิฎฐิวิสุทธิแล้ว พอได้นามรูปปริจเฉทญาณ ก็ได้ทิฎฐิวิสุทธิความบริสุทธิ์แห่งทิฐิ คือความเข้าใจหรือทิฐิ ถูกต้อง เอ้า ทีนี้ต่อไปเดินหน้าต่อไปรู้นามรูปแล้วทีนี้ก็สืบได้ ว่า นามรูปนี้แต่ละอย่างแต่ละอย่างเนี่ยมันเกิดจากปัจจัยอะไร มันไม่ได้เกิดลอย ๆ นะ มันเป็นไปตามปัจจัยของมัน อย่างที่ว่า เอ้า ทำไมจึงเกิดจักขุวิญญาณ เอ้า ก็เพราะว่าจักขุประสาทตา รูปอารมณ์ สี เข้ามา กระทบกัน เกิดจักขุวิญญาณขึ้น นี่เรียกว่าจับปัจจัยได้ อย่างนี้เป็นต้น เวทนาความรู้สึกมีเพราะอะไร มีเพราะผัสสะ ตัณหาเกิดเพราะอะไร เพราะว่ามันมีความติดในเวทนาความรู้สึกสูง ทุกข์เลย อย่างนี้เป็นต้น พอกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูปได้ อันนี้เรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ แล้วญาณที่กำหนดจับปัจจัยของนามรูปได้ก็ข้ามไปเป็น วิสุทธิ ข้อที่ 4 ซึ่งเป็นข้อที่ 2 ในด้านปัญญาคือ กังขาวิตรณวิสุทธิ มันก็เริ่มมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ท่านก็เลยเรียกว่าข้ามพ้นความสงสัย เรียกว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นวิสุทธิข้อที่ 4 ใน 7 ข้อ แต่เป็นข้อที่ 2 ในหมวดปัญญา อันนี้ก็ก้าวมาอีกขั้นหนึ่ง นี่ลำดับญาณจะเห็นว่า โสฬสญาณ ญาณ 16 ข้อที่ 2 แล้วนะ หวังว่าคงไม่สับสนนะ ขั้นนี้พอได้ญาณเป็นกังขาวิตรณวิสุทธิ ท่านพระอรรถกถาจารย์ท่านผู้นี้ เป็นจุลโสดาบัน เป็นพระโสดาบันน้อย จริง ๆ ยังเป็นปุถุชน เป็นเพราะท่านยังไม่ได้นับเป็นพระโสดาบัน แต่ว่าพระอรรถกถาจารย์ท่านมาแยกขยายให้เห็น เพื่อว่าจะเห็นความก้าวหน้า ของผู้ปฏิบัติ ถ้าบอกว่าขั้นเป็นเป็นจุลโสดาบัน เป็นโสดาบันน้อยแล้วว่างั้น คนปฏิบัติก็ค่อยใจชื้นหน่อย ถึงเราจะไม่ได้เป็นพระโสดาบัน ก็ยังได้เป็นพระโสดาบันน้อย ว่างั้นนะ เอานะ เป็นจุลโสดาบันนะได้ กังขาวิตรณวิสุทธิ คือได้ ปัจจยปริคคหญาณ ได้ญาณที่กำหนดจับปัจจัย แห่งนามรูปได้ เอ้า ทีนี้ต่อไป ต่อไปก็ อันที่หนึ่งทวนอีกทีนะ กำหนดแยกนามรูปได้ สองก็จับปัจจัยได้เข้ามาได้ สืบสาวลงไปปัจจัยเป็นมายังไง ต่อไปสาม รู้ต่อไปอีก สภาวะ ลักษณะของมันที่เป็นไปตามปัจจัยเนี่ย มันมีอาการที่เรียกว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาเห็นสิ่งต่างๆ สังขาร ชีวิต ร่างกาย รูปธรรม นามธรรม จิต เจตสิก ล้วนแต่ อยู่ในภาวะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีเหตุเกิดแล้วดับไป ตั้งอยู่ไม่ได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ไม่มีตัวมีตน เรียกว่าเป็นตามพระไตรลักษณ์
ญาณอันนี้เรียกว่า สัมมสนญาณ ญาณที่พิจารณาสังขารตามพระไตรลักษณ์ ถึงขั้นนี้ พอถึงขั้นนี้แล้ว มันเข้า จวนจะเข้าวิปัสสนาแท้แล้วนะ นี่ๆ ตอนนี้จวนๆ แต่ท่านยังไม่นับเป็นวิปัสสนาแท้ วิปัสสนาแท้จะขั้นต่อไป พอถึงตัวนี้แล้วเป็นตัวจ่อเข้าสู่วิปัสสนา พอเห็นแนวตามแนวไตรลักษณ์ ก็จะ ท่านบอกว่าตอนนี้จะเกิดวิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสของวิปัสสนา เช่น เกิดความรู้สึกเข้าใจอะไรต่ออะไรชัดเจนไปหมด แล้วเกิดการเห็นเป็นแสงเป็นสีสวยงาม เป็นแสงสว่าง เกิดรู้ความสงบเป็นพิเศษอย่างที่ตัวเองไม่เคยประจักษ์มาเลย ประสบการณ์ตอนนี้ จะทำให้เกิดความหลงผิดเหมือนกับนึกว่าตัวเองตรัสรู้แล้ว แต่ท่านเรียกว่านี่คือ วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสของวิปัสสนา ไม่ใช่ตัวจริง อันนี้ผู้ปฏิบัตินี่ก็ ตอนนี้มันอยู่ขั้นที่พิจารณาเข้าใจพระไตรลักษณ์ เมื่อไม่หลงไปตามวิปัสสนาก็จะเข้าใจความจริงและเห็นทางที่ปฏิบัติที่แท้ที่เป็นเรื่องของปัญญาแท้ ๆ แยกได้ ว่าไม่ใช่ว่าไอ้การที่เกิดประสบการณ์ได้พ่วงมาเป็นความรู้สึกสงบ เป็นความสว่างไสว เป็นความรู้อะไรต่างๆ ไม่ใช่สิ่งเหล่านี้ พอแยกได้แล้วนี้ ท่านเรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ แปลว่าความบริสุทธิ์แห่งปัญญา ที่มองเห็นว่าเป็นมรรคและไม่ใช่มรรค ทางหรือไม่ใช่ทาง เนี่ยตอนนี้อยู่ในขั้น ที่เรียกว่า สัมมสนญาณ เอานะ ได้ 3 ญาณละจากญาณ 16 มาถึง มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ซึ่งเป็นวิสุทธิข้อที่ 5 ในวิสุทธิ 7 และเป็นข้อ ที่ 3 ในวิสุทธิฝ่ายปัญญา ข้อที่ 3 หรือ 4 หนึ่งทิฏฐิวิสุทธิ สองกังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ทีนี้ ก็ตอนนี้เป็นอันว่าอยู่ในญาณ 16 ข้อที่ 3 นะ ตรงนี้แหละที่อภิธรรมสังคหะ เอาไปด้วยข้อ สัมมสนญาณ เลยไปเรียกว่าเป็นวิปัสสนาญาณ 10 ก็หมายความว่าทางอภิธรรมสังคหะ นับข้อนี้เข้าในวิปัสสนา ด้วย ฝ่ายวิสุทธิมรรคไม่นับว่าอันนี้เป็นจ่อทางเข้าวิปัสสนาต้องให้ผ่านทางที่ไม่ใช่ทางก่อน แต่ทาง อภิธรรมสังคหะนี่ นับด้วยแบบว่า พอแยกทางผิดทางถูกก็เข้าทางถูกก็ถือว่าเป็นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นมติของพระอาจารย์นี่ก็ไม่เหมือนกัน พอเราไปอ่านวิสุทธิมรรคก็จะมีวิปัสสนาญาณ 9 พอไปอ่านอภิธรรมสังคหะ ก็เป็นวิปัสสนาญาณ 10 เอ้า ทีนี้ต่อไป ปกติทีนี้เราจะใช้ 9 ใช้วิปัสสนาญาณ 9 พอมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ แยกทางไม่ใช่ทางได้แล้ว ก็ก็ก้าวไปสู่ขั้นวิสุทธิข้อ 6 ละสิที่นี้ ข้อ 6 ก็เป็น ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์หมดจดแห่งปัญญาที่จะหยั่งรู้หยั่งเห็น ปฏิปทา คือตัวทางแล้วทีนี้ นี่ตอนนี้ตัวทางเลย ทีนี้พอเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นตัวทาง นี่คือวิปัสสนาที่แท้จริง อันนี้แหละวิปัสสนาญาณ 9 อยู่ในนี้หมด วิปัสสนาญาณ 9 อยู่ในขั้นนี้ที่เรียกว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ทั้งหมด เอ้าก็มาถึงข้อนี้ก็ อุทยัพพยญาณ ก็เกิดขึ้น อย่างคัมภีร์วิสุทธิมรรคจะเรียกญาณ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ อภิธรรมสังคหะจะเรียกสั้นๆ ว่า อุทยัพพยญาณ ก็ชื่อเหล่านี้อย่าไปติดใจมาก ก็เรียกต่างกันไปได้แต่ว่า มันก็ตัวเดียวกัน อันหนึ่งเรียก อุทยัพพยญาณ เอาสั้นๆ อันหนึ่งนี่เติมคำว่านุปัสสนา เข้าเป็นอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
ทีนี้อุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ก็แปลว่าญาณหรือปัญญาที่หยั่งรู้ถึงการเกิดขึ้นและดับไป แห่งนามรูป นี่ตอนนี้ถึงการเกิดดับแล้ว ใช่มั้ย นี่มันชัดขึ้นมา มันเป็นความจริงของการเป็นไตรลักษณ์เลย พอตอนนี้ความเข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลาย เห็นตัวปรมัตถ์เป็นนามรูปก็เห็นแล้วแยกได้ เห็นปัจจัยของมัน เห็นเป็นทีละอย่างทีละอย่าง แล้วก็มาเห็นตามแนวไตรลักษณ์ ตอนนี้มันก็จะมาออกมาเป็นความชัดเจนที่เห็นความเกิดดับ ความเกิดดับก็คือ การแสดงตัวของหมดเลย ของนามรูป แล้วทั้งการที่มันเป็นไปตามปัจจัย ทั้งการที่มันเป็นไปตามพระไตรลักษณ์ อันนี้เริ่มเข้าปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นวิปัสสนาญาณ 9 ข้อที่ 1 แต่เป็น ญาณข้อที่เท่าไรในญาณ 16 เป็นข้อที่ 4 ใช่มั้ย เป็นข้อที่สี่ในญาณโสฬส หรือ โสฬสญาณ ญาณที่สำนักวิปัสสนามาใช้วัดลำดับญาณหรือความก้าวหน้าในการวิปัสสนา เอานะ เป็น อุทยัพพยญาณ ญาณหยั่งรู้การเกิดขึ้นและดับไป จะเห็นนามรูปเกิดดับเกิดดับ เอาละสิทีนี้ ต้องอาศัยสมาธินะ ถ้าไม่มีสมาธินี่ จิตมันก็ฟุ้งซ่านไปสิ การที่จะเห็นสิ่งเหล่านี้มันต้องมีความคงที่สม่ำเสมอพอสมควร จิตมันต้องอยู่ต่อเนื่องพอสมควรกับสิ่งนั้นมันจึงจะเห็นได้ เนี่ยเห็นมั้ย ปัญญาจะทำงานได้ผลต้องอาศัยสมาธิ เอ้าทีนี้ ต่อไป พอได้ อุทยัพพยญาณ ญาณหยั่งเห็นการเกิดขึ้นความดับไปแล้ว ทีนี้ เมื่อเห็นไป เห็นไป มันไปจะเด่นดับๆๆๆๆๆ เกิดดับๆ ทีนี้พอเห็นไปนานๆ ต่อเนื่องกัน ความชัดเจนมันจะเห็นการดับ มันจะเด่นที่การดับ ก็เรียกชื่อตอนนี้ว่า ภังคญาณ ญาณหยั่งรู้การแตกดับไปแห่งนามรูป ตอนนี้ตัดการเกิดออก แล้วมาเด่นที่การดับ มันเกิดมาเท่าไร่ ก็ดับไปหมดแหละ คล้ายๆ ว่าสรุปเป็นคอนเซ็ปต์ก็ได้ทำนองนั้น เกิดมาดับไปหมด ถ้าเรียกเป็นแบบของวิสุทธิมรรคก็ ภังคนุปัสสนาญาณ อภิธรรมสังคหะ ก็เรียกแค่พังภังคญาณ นี้พอเห็นแต่การดับๆๆๆๆ ก็เกิดความหยั่งรู้เป็นญาณข้อต่อไป ตอนนี้ก็จะเกิด การเห็นที่ว่าสิ่งทั้งหลายนี่มันมีแต่ว่าดับไป เกิดแล้วก็ดับไปหมด ชักรู้สึกน่ากลัว เห็นเป็นภัย เรียกว่า ภยตูปัฏฐานญาณ แปลว่าญาณหยั่งเห็นนามรูปหรือสังขารทั้งหลาย ปรากฎเป็นของน่ากลัว อุปฐาน ??? (อุ-ปะ-ฐาน) ด้วยความปรากฎ เห็นปรากฎเป็นของน่ากลัว มีแต่ดับๆ ไป อะไรเกิดมาก็ดับไปหมด เป็นของน่ากลัว ญาณมองเห็นเป็นของน่ากลัว นี่เป็น วิปัสสนาญาณข้อที่ 3 แล้วก็เป็นญาณ 16 ข้อที่เท่าไร่แล้ว ข้อที่ 5 ใช่มั้ย เอ้าต่อไป ทีนี้ก็เดินหน้าต่อไปอีก พอเห็นเป็นของน่ากลัวแล้วก็เห็นว่า โอ มันไม่ได้มีดีอะไรเลย สิ่งทั้งหลาย นามรูป สิ่งที่มนุษย์ยึดถือ คลั่งไคล้ ลุ่มหลงไป ว่าเป็นความสุขอะไรต่างๆ สิ่งบำรุงบำเรออะไรทั้งหลาย ในโลกนี้มันเป็นสิ่งที่มีข้อบกพร่อง ไม่ใช่สิ่งที่มีความสมบูรณ์ ไม่ใช่สิ่งที่จะน่าเอาน่าเป็นอะไร และไม่ใช่ ไม่น่าจะเป็นจุดหมายของชีวิต ท่านเรียกว่า อาทีนวญาณ หรือ อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณหยั่งเห็นหยั่งรู้ด้วยความเป็นโทษ มองเห็นโทษแล้วนะ มองเห็นโทษ ข้อเสีย ข้อบกพร่อง จุดอ่อนของสิ่งทั้งหลาย ว่ามันบกพร่อง มันไม่สมบูรณ์ มันไม่ใช่สิ่งที่จะพึงเป็นจุดหมายของชีวิต ไม่ทำให้ชีวิตดีงามประเสริฐเลิศอะไรขึ้นมาได้ ทีนี้ก็เป็นอาทีวนญาณ
พอเห็นโทษแล้วทีนี้ต่อไปก็เกิดขึ้นมาอีกญาณหนึ่งต่อจากนั้นเลย ต่อจากนั้น ก็เป็นเบื่อหน่าย หน่ายออก แต่ก่อนนี่เคยยึดเคยติดเคยผูกพัน เคยหลุ่มหลงคลั่งไคล้ มัวเมาอะไรต่างๆ แล้วแต่ระดับแม้แต่ติดนิดติดหน่อย ตอนนี้มันตรงข้าม มันหน่ายออก คลายติด ไม่ติดล่ะ หน่ายออกไปจนหลุดออกไป ตอนนี้ นิพพิทาญาณ หรือว่า วิสุทธิมรรคเรียกว่า นิพพิทานุปัสสนาญาณ เอ้าญาณที่เท่าไหร่แล้ว นี่ชักเยอะใหญ่แล้วนะ หนึ่งในวิปัสสนาญาณ 9 หนึ่ง อุทยัพพยญาณ สอง ภังคญาณ สาม ภยตูปัฏฐานญาณ สี่ อาทีนวานุปัสสนาญาณ ห้าก็ตัวนี้ล่ะ นิพพิทาญาณ ญาณหยั่งเห็นในความเบื่อหน่าย ทำให้เกิดความหน่ายออกไป หน่ายออก หายติดแล้วตอนนี้ พอเกิดนิพพิทานุปัสสนาญาณ ทีนี้ก็ต่อไป ก็เกิด ปฏิสังขาญาณ ปฏิสังขาญาณ พอหน่ายออกไปก็ทีนี้ก็ เอ้ ทำไงจะหลุดออกไปได้ จะเป็นอิสระจากสิ่งเหล่านี้ ก็เป็นญาณที่กลับไปทบทวนหาทาง ทวบทวนหาทางเพื่อให้เห็นทางออกไปจากสิ่งเหล่านี้ สิ่งที่เป็นโทษและมองเห็นว่าน่าเบื่อหน่าย จะไม่ติดแหละ จะอยากเป็นอิสระ จะออกไปได้อย่างไร ญาณตัวนี้เป็นญาณที่ไปทบทวนความรู้เก่า ทบทวนมองเห็นความเป็นจริงของสังขารเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามพระไตรลักษณ์ ก็เป็นการพิจารณาทบทวน ในการที่จะ เห็นทางออกไป เป็นอิสระ ทีนี้เมื่อพิจารณาทบทวนความจริงของสังขารของเรา มองรูปไปมาก็จะเห็น อ้อ มันก็เป็นของมันอย่างนี้แหละ มันเป็นธรรมดาของมัน มันไม่ได้ดีได้ชั่ว สิ่งทั้งหลาย ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป มันก็เป็นไปตามธรรมชาติ มันเรื่องอะไรเราไปติดมันเอง เราไปหลงแล้วเราไปก็เบื่อหน่าย ใช่มั้ย ไอ้ที่จริงเบื่อหน่ายมันเป็นอาการของเรา ที่เกิดจากความติดเก่าปฏิกิริยา ที่จริงสิ่งทั้งหลายมันก็เป็นของมันอย่างงั้นแหละ พอว่า สิ่งทั้งหลายมันก็เป็นอย่างนั้นเอง มันเป็นกฎธรรมชาติ ตามธรรมชาติ ตอนนี้แทนที่จะหน่ายก็เปลี่ยนเลย ตอนนั้นเบื่อหน่ายใช่มั้ย ตอนนี้เปลี่ยนเป็นวางใจเป็นกลางได้ ตอนนี้จิตเรียบเลย สังขารุเปกขาญาณมาเลย ตอนนี้ท่านเรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ แปลว่า ญาณที่ก่อให้เกิดความวางใจเป็นกลางต่อสังขารอันนี้เป็นอุเบกขามาแล้วนะ สังขารุเปกขาญาณ ก็สังขารอุเบกขาญาณ นี่แหละคือปัญญาที่เห็นความจริงแท้ ลองคิดดูสิกว่าจะมาถึง สังขารอุเบกขา ได้นี่ต้องผ่านญาณมาตั้งกี่อย่าง อุเบกขานี่ไม่ใช่เบา สูงมาก จิตเรียบเลยตอนนี้ ตอนนั้นมันยังไปเอียงขวาเอียงซ้าย ตอนแรกนี่มันยึดติดในสิ่งทั้งหลายอยู่ เลยเอียงไปข้างหนึ่ง พอเห็นความจริงของสิ่งทั้งหลายเกิด ดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาเอียงอีกข้างแล้ว เอียงไปทางจะหน่าย จะไม่เอาแหละ หนี เบื่อหน่าย พอเห็นความจริงแท้อีกทีหนึ่ง ถึงขั้นรู้ความจริงมากขึ้นชัดเจน คราวนี้อุเบกขามาเลย จิตเรียบสงบเลย วางใจเป็นกลางแล้ว ไม่เอียงขวาไม่เอียงซ้ายแล้ว ใช่มั้ย มันก็เป็นอย่างนั้น ธรรมดาเรื่องของมันนี่ เรื่องอะไรจะไปหน่ายอะไรต่ออะไร ก็วางใจเป็นกลาง เป็นจิตที่เป็นอิสระแท้ จิตที่อิสระแท้ไม่ใช่จิตปฏิกิริยาจะไปเบื่อหน่าย จะไปหนี จะไปอะไร ไอ้นั่นมันเพียงขั้นตอน แต่ถ้าไม่อาศัยไม่ได้ขั้นนั้นมาก็ไม่ถึงขั้นนี้เหมือนกันนะ เอานะ ก็ได้ สังขารุเปกขาญาณ ญาณที่หยั่งรู้ทำให้วางใจเป็นกลางต่อสังขาร ต่อไปตอนนี้พอวางใจเป็นกลางต่อสังขาร ได้ ทีนี้มันก็เกิดความพร้อมขึ้นมาเลย จิตก็โน้มไปคล้อยไปตามเห็นความจริงสอดคล้องกับความเป็นจริงที่แท้ เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ แปลว่าญาณที่คล้อยตามสัจจะ หมายความว่าเห็นตรง สอดคล้องกับความเป็นจริงที่แท้ของสิ่งทั้งหลาย แต่ก่อนนั้นมันเห็นไม่ตรง ตอนนี้เห็นคล้อยตรงตามสัจจะ ถ้าเป็น อภิธรรมสังคหะ เรียกสั้นๆ ว่า อนุโลมญาณ ถ้าเป็นวิสุทธิมรรคก็เรียกยาวหน่อยว่า สัจจานุโลมิกญาณ
ครบยังวิปัสสนาญาณ 9 ครบมั้ย เอ๊ะ เอ้า แล้วอะไรหายไปล่ะ ถ้างั้น
1.ศีลวิสุทธิ
2.จิตตวิสุทธิ
3.ทิฏฐิวิสุทธิ
4.กังขาวิตรณวิสุทธิ
5.มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
6.ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ นี่หกแล้ว เหลืออีกอันเดียว เอาล่ะจะเห็นว่า วิปัสสนาญาณ 9 มาเกิดเอาวิสุทธิข้อที่ 6 เลย จวนจะจบเลย ตอนนี้พอ วิปัสสนาญาณ 9 มา ก็คือปฏิบัติ เป็นข้อปฏิบัติที่แท้นั่นเอง เป็นตัวปฏิปทา ซึ่งจะใกล้ถึงจุดหมายแล้ว จะถึงมรรคผลแล้ว ต่อจากนี้ก็คือมรรคผล ตอนนี้ก็จะมีญาณที่เข้ามาขั้นกลาง ระหว่างภาวะปุถุชนกับอริยบุคคลเลย นี่เป็นอันว่าจบที่นี่ความเป็นปุถุชน ญาณตัวนี้ก็เป็นญาณที่อยู่ช่วงระหว่าง ไม่จัดเข้าอยู่ในวิสุทธิข้อไหน ท่านเรียกว่าโคตรภูญาณ โคตรภูญาณ แปลกันว่าญาณครอบโคตร หมายถึงโคตรปุถุชน กับโคตรพระอริยบุคคล อริยะบุคคลนี่เป็นโคตรหนึ่ง ปุถุชนก็เป็นโคตรหนึ่ง ทีนี้ โคตรภูญาณ เป็นญาณครอบโคตร คือเป็น ตัวต่อระหว่าง ปุถุชนกับอริยบุคคล มาจากในวิสุทธิข้อไหน เป็นตัวคั่นเฉย ๆ เกิดเป็นญาณหนึ่งขึ้นมาเรียกว่าโคตรภูญาณ อันนี้เป็นญาณที่เท่าไรแล้วในญาณ 16 ญาณ 9 หมดไปแล้วนะ วิปัสสนาญาณ 9 ทีนี้ ก่อนที่จะถึงวิปัสสนาญาณ 9 มี 3 ญาณ เพราะฉะนั้นเป็น 12 เพราะฉะนั้นเป็น 13 ญาณที่ 13 เรียกว่าโคตรภูญาณ พอโคตรภูญาณมาถึงแล้ว คราวนี้ก็ก้าวไปสู่ความเป็นอริยบุคล ก็ขั้นวิสุทธิข้อสุดท้าย เป็นญาณทัสสนวิสุทธิ แปลว่า ความบริสุทธิ์แห่งปัญญาหยั่งรู้หยั่งเห็น ก็เป็นตัวโพธิล่ะ จะทำกิเลสอาสวะ แต่ว่าไม่หมดสิ้นไป ต้องเป็นขั้นๆ เริ่มตั้งแต่ โสดาบันก็ได้แล้ว ก็ได้ถึงขั้นมรรค ผล นิพพาน ญาณทัสสนวิสุทธินี่ก็เริ่มได้มรรคก่อน ทีนี้พอถึงญาณทัสสนวิสุทธิ นี่ ก็ได้มรรค เพราะฉะนั้นจะเกิดญาณที่เป็นมรรค เป็นตัวมรรค เรียกว่า มัคคญาณ ญาณทัสสนวิสุทธิก็มีมัคคญาณ มัคคญาณ ก็เป็นญาณที่ 14 ในญาณ 16 ต่อจากมัคคญาณ เกิดแล้ว ก็เป็นผลญาณแหละ ญาณหยั่งรู้ผล พอได้โสดาปัตติมรรค ก็โสดาปัตติผลก็ตามมา มรรคแล้วก็ต่อด้วยผล ต่อผลญาณมาก่อน ญาณที่ 15 แล้ว อยู่ในญาณทัสสนวิสุทธิ ก็จบญาณทัสสนวิสุทธิ นี่คือบรรลุแล้วใช่มั้ย เพราะว่าเป็นโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทกคามีมรรค สกทกคามีผล อนาคามีมรรค อนาคามีผล อนาตมรรค ??? (อะ-นา-ตะ-มัค) อนาตผล ??? (อะ-นา-ตะ-ผล) ก็จบญาณทัสสนวิสุทธิ ทีนี้ผล บรรลุมรรคผลแล้ว ก็จะมีอีกญาณหนึ่ง เป็นขั้นเรียกว่า เสวยผล แล้ว แต่ว่าไม่ใช่เสวยผลโดยการพิจารณา เรียกว่า ปัจจเวกขณญาณ แปลว่าญาณหรือปัญญาที่มาพิจารณา พิจารณาอะไร พิจารณาข้อปฏิบัติของตน การที่ตนได้บรรลุ พิจารณามรรคผลที่ตนบรรลุ พิจารณากิเลศที่ตนได้กำจัดได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ยังเหลือ ที่ยังไม่ได้กำจัด ถ้าเป็นพระโสดาบัน สกทกคามี อนาคามี ก็ยังมีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งจะต้องละต่อไป ถ้าเป็นพระอรหันต์ก็ตัดอันนี้ไปได้ แล้วก็พิจารณานิพพาน นี่เรียกว่า ปัจจเวกขณญาณ เป็นของผู้ที่บรรลุมรรคผลแล้ว ก็พอปัจจเวกขณญาณ ก็เป็นญาณที่ 16 ก็ครบ นี่คือญาณโสฬส ก็คลุมเดินมาตั้งแต่ทิฏฐิวิสุทธิมา ถึงญาณทัสสนวิสุทธิ จบไปเลย
พระนวกะ – ???
พระพรหมคุณาภรณ์ – ตั้งแต่พระโสดาบันเลย หมายความว่าพอบรรลุมรรคผลเสร็จก็มีญาณนี้มา เพราะฉะนั้นแน่นอน
พระนวกะ –ข้อ 16 นี้ กรณีที่พระอรหันต์ที่บรรลุนิพพานแล้วต้องมี ???
พระพรหมคุณาภรณ์ – ก็ ก็พอบรรลุผล ก็มีปัจจเวกขณญาณ ก็แปลว่าจบนะ นี้จะเห็นว่ามีญาณมีชื่อต่างๆ เยอะแยะ คือใช้ในเรื่องหนึ่งๆ ญาณคือ ปัญญาที่รู้หรือทำกิจแห่งความรู้เข้าใจสำเร็จในเรื่องนั้นๆ ก็จะมีชื่อต่างๆ กันไป นี่เป็นญาณในวิปัสสนา ญาณอันอื่นๆ ยังมีชื่ออีกเยอะไป เยอะแยะไปหมด อาจจะเป็นร้อยเป็นพัน ก็แล้วแต่เป็นญาณเรื่องอะไร คงจะเข้าใจชัดแล้วนะว่าญาณและปัญญา
พระนวกะ – ??? ค่อนข้างติดอยู่ในภาษาบาลีที่เรียกญาณต่างๆ
พระพรหมคุณาภรณ์ –แต่พอเห็นเค้ามั้ย ว่าความหมายมันเป็นอย่างนั้น เอาพอให้เข้าใจแนวทาง
พระนวกะ – ??? แต่ลำดับขั้นตอนยังสับสน
พระพรหมคุณาภรณ์ – อ๋อ ยังสับสน ทวนอีกทีก็ได้ ทวนนะ มาเริ่มกันเป็นการทบทวนว่า การปฏิบัติ เพื่อบรรลุจุดหมายของพระพุทธศาสนานั้น เป็นการดำเนินตามหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ทีนี้ในกระบวนการปฏิบัติที่จริงจัง เป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอน ท่านก็แยกย่อยออกไปให้เห็นชัดแจ้งขึ้น เรียกว่า เป็นการปฏิบัติเพื่อความบริสุทธิ์ หรือเป็นขั้นตอนแห่งความบริสุทธิ์ เป็น 7 ขั้น เรียกว่า วิสุทธิ 7 ซึ่งเราก็ต้องเข้าใจว่าเป็นวิธีการ จัดระบบแบ่งขั้นตอนแบบหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นแบ่งแบบนี้เท่านั้น ที่นี้การแบ่งแบบนี้นั้น ก็จะเน้นขั้นตอนในขั้นปัญญาให้เห็นว่าการปฏิบัติขั้นปัญญา ซึ่งสำคัญมาก แยกซอยไปอย่างไร วิสุทธิ 7 ก็เริ่มตามแนวไตรสิกขา
ข้อที่ 1 ก็ ศีลวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล
ขั้นที่ 2 เรียกว่า จิตวิสุทธิ ความบริสุทธ์แห่งจิต คือ เรื่องสมาธิ
พอได้ศีลและสมาธิเป็นฐาน ก็ปัญญา ก็จะเดินหน้า ตอนนี้จะยิ่งมีเรื่องต้องทำมาก ละเอียดลึกซึ้งไปตามลำดับก็เป็นข้อ 3 เป็นข้อแรกของปัญญา คือ ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความเห็น ความเข้าใจ เบื้องต้นที่เกิดสัมมาทิฎฐิที่แท้จริง ในขั้นนี้ก็จะมีญาณหนึ่งที่เกิดขึ้นมา เป็นปัญญาที่รู้เข้าใจความจริงของสิ่งทั้งหลาย โดยรู้ว่า อ้อ ที่แท้แล้วสิ่งทั้งหลายไม่มีอะไร มันเป็นเพียงนามรูป คือเป็นสภาวะตามธรรมชาติ อันนี้คือความจริงที่แท้เป็นปรมัตถ์ ไม่ใช่เป็นตามสมมติ อันนี้ก็ชื่อหนึ่งเรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณที่กำหนดแยกนามและรูปได้
เป็นญาณที่ 1 ในญาณ 16 ต่อไป พอได้ญาณที่ 1 แยกนาม รูป ได้แล้ว มีความเห็นถูกต้อง เป็นทิฎฐิวิสุทธิ ก็ก้าวสู่ขั้นต่อไป ก็คือว่า สามารถมองเห็นว่า อ้อ นามรูปที่มันปรากฎอย่างนี้ มันมีเพราะปัจจัย มันเป็นไปตามปัจจัยของมัน ว่าอันนี้เป็นเพราะอันโน้น เกิดการเห็นเป็นปรากฎการณ์เป็นนามรูปอย่างนี้ มันเกิดเพราะปัจจัยอะไร มันมีอะไรจึงทำให้เกิดขึ้น ตอนนี้แสดงว่าจับปัจจัยได้ เรียกว่า ปัจจัยปริคคหญาณ หรือ เรียกจะเต็มว่า นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ ก็ได้ ก็จะเป็นความบริสุทธิ์อีกขั้นหนึ่ง เป็นปัญญาที่ก้าวไปถึงขั้นรู้ปัจจัย ก็เรียกว่าเป็นกังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นญาณที่ทำให้ข้ามพ้นความสงสัย ที่นี้ต่อไป จากนี้ก็จะเกิดญาณต่อไปอีก คือว่า นอกจากมองเห็นความจริงของสิ่งทั้งหลายที่เป็นนามรูป เป็นสภาวะล้วนๆ เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นของในธรรมชาติ เป็นไปตามปัจจัยของมันแล้ว อ้อ มันก็มีอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นไปตามพระไตรลักษณ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตอนนี้ก็เป็นญาณที่เรียกว่า สัมมสนญาณ แต่เป็นขั้นที่พิจารณายังไม่ได้มองเห็นชัดเจนอะไร เป็นขั้นพิจารณา ท่านจึง ในวิสุทธิมรรคไม่จัดในวิปัสสนาญาณ แต่ว่าอภิธรรมสังคหะ นี่จัดเข้าด้วย ตอนนี้มันเริ่มเข้าสู่ทางที่ถูกต้อง ออกจากสิ่งที่ไม่ใช่ทาง หรือไม่ใช่มรรค ก็เลยเรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ ปัญญาที่มองเห็นว่าเป็นทางและไม่ใช่ทาง เป็นมรรคและไม่ใช่มรรค เอ้าที่นี้ต่อไป ที่นี้ต่อไปก็จะเกิดญาณที่มาเห็น ความเป็นไปอาการที่เป็นจริงเลย เห็นอาการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไปของสิ่งทั้งหลายของนามรูปเหล่านั้น ตอนนี้ก็จะก้าวไปสู่ขั้นวิปัสสนาญาณแท้ เป็นวิปัสสนาญาณแท้ ที่หนึ่ง เรียกว่า อุทยัพพยญาณ หรือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณหยั่งรู้หยั่งถึง ความเกิดขึ้น ดับไป ของนามรูปหรือสังขาร ขั้นนี้ก็เข้าสู่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เริ่มแรกเลย ต่อไปนี้จะเป็นเรื่องของปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิไปจนจบวิปัสสนาญาณ 9 อันนี้ในปฏิปทานี้ ก็จะมีการดำเนินก้าวหน้าไปต่อจากการที่ได้เห็นการเกิดดับแล้ว ก็จะเห็นชัดในส่วนการดับ จะเห็นว่าสิ่งทั้งหลายมันเกิดมาดับไปทั้งนั้น ดับหมดๆ ๆๆๆ พอเห็นการดับเรียกว่า ภังคานุปัสสนาญาณ หรือ ภังคญาณ พอเห็นการดับมากๆ เข้า มีแต่การดับ สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นก็ดับไป ก็เลยมองเห็นโดยความเป็นภัย เป็นของที่น่ากลัว ก็เลยเรียกว่าเป็น ภยตูปัฏฐานญาณ เรียกสั้นๆ ว่า ภยญาณ ทีนี้พอเห็นเป็นของน่ากลัวแล้ว ก็เห็นเป็นสิ่งที่บกพร่อง นามรูปสังขารอะไรต่างๆ นี่ไม่ใช่สิ่งสมบูรณ์ เป็นสิ่งที่เป็นโทษ ไปยึดเข้าก็ยิ่งมีแต่ความเสียหาย ไม่เป็นไปตามใจปรารถนา ไปยึดถือเข้า มันฝืนความปรารถนาก็เป็นทุกข์ เห็นเป็นโทษก็เรียกว่าอาทีวนะญาณ ต่อจากการเห็นเป็นโทษแล้ว ก็เกิดนิพพิทาญาณ ก็เบื่อหน่าย นิพพิทา เบื่อหน่าย เบื่อหน่าย หน่ายออก คลายออก ไม่ติดแล้วคราวนี้ จะออกไปก็เลยเกิดเป็น มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณ ความรู้หยั่งรู้ที่ทำให้ปรารถนาจะพ้นไปเสีย เรียกว่ามุจจิตุกัมยตาญาณ พอมุจจิตุกัมยตาญาณมาแล้ว ทีนี้ก็พิจารณาหาทางออก ทบทวน ความรู้ความเข้าใจในความจริง เพื่อจะให้เห็นทางที่จะพ้นไปเสียนั้น อันนี้เรียกว่าปฏิสังขานุญาณ หรือ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ เอาล่ะทีนี้ พอพิจารณาความจริงไปๆ มาๆ จะหาทางออกก็จะ รู้เข้าใจว่าอ้อ เราจะออกทำไม จะไปออกทำไม มันเป็นเพราะเดิมเราไปติด ก็เกิดปฏิกิริยาจะออก ความจริงสิ่งทั้งหลายก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ มันเป็นธรรมชาติ ไม่ได้มี ไม่ได้ดี ไม่ได้ชั่ว ที่มันเกิดมันดับมันไม่ได้ดี ได้ชั่ว มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ ความจริงอย่างนั้น ก็เกิดอุเบกขา คือวางใจเป็นกลาง ต่อสังขารทั้งหลาย ต่อนามรูปเหล่านั้น ใจก็เรียบสงบ พอใจเงียบสงบแล้วตอนนี้แหละ ก็จะเกิดปัญญา หยั่งเห็น สอดคล้องกับความเป็นจริงที่แท้ จาก สังขารุเบกขาญาณ ก็จะก้าวไปสู่ สัจจานุโลมิกญาณ ญาณที่คล้อยตามสัจจะ เรียกสั้นๆ ว่า อนุโลมญาณ เป็นญาณสุดท้ายเป็นวิปัสสนาญาณที่ 9 แล้วก็ทำให้จบ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ด้วย ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิก็เป็นเรื่องของ วิปัสสนาญาณทั้ง 9 ทีนี้พอถึงตอนนี้มันจะก้าวไปสู่ วิสุทธิข้อที่ 7 ซึ่งเป็นข้อสุดท้าย ก็จะมีญาณที่คั่นขึ้นมา เรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร คั่นความเป็นปุถุชนกับอริยบุคคล จากนี้ก็ก้าวไปสู่ ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นวิสุทธิข้อที่ 7 เกิดเป็นมัคคญาณ ญาณที่เป็นตัวมรรคเลย มาตัดกิเลส เป็นโสดาปัตติมรรคเป็นต้น แล้วก็ต่อลำดับนั้นก็จะเกิดผลญาณ ญาณที่เป็นผล ก็เป็นอันว่าจบ ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นวิสุทธิข้อที่ 7 วิปัสสนาญาณนั้นจบไปแล้วตั้งแต่ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ตอนนี้มัคคญาณและผลญาณก็เป็นญาณที่ 14,15 ในญาณ 16 แล้วก็มีญาณอีกอันสำหรับมาพิจารณามรรค ผล นิพพานเรียกว่า ปัจจเวกขณญาณ สำหรับท่านผู้บรรลุมรรคผลแล้ว ก็เป็นอันว่าจบญาณ 16 พระอาจารย์ท่านก็เห็นว่า ญาณ 16 นี่ดี เพราะว่าบอกมาตั้งแต่ต้นเลย เริ่มตั้งแต่ได้เข้าสู่แนวทางของวิปัสสนา แม้ว่าจะไม่ใช่เป็นตัววิปัสสนาจริง มันเริ่มเข้าใจอะไร ถูกต้อง การวัดมันจะได้ละเอียดยิ่งขึ้นก็เอา โสฬสญาณหรือญาณ 16 มาใช้วัด ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา เรียกว่าลำดับญาณ ก็จบนะ เอานะ
พระนวกะ – ขอเรียนถามครับ อย่างกรณีโสดาปัตติมรรค ถึงอรหันตผล มันจะอยู่ในช่วง 14,15,16 แค่นั้นเอง ไม่ต้องกลับไป 1 คือมันมี 1 ถึง 12 ???
พระพรหมคุณาภรณ์ - อ้อ เวลานั่น เวลานั้นมันอยู่ในนั้นหมดเลย
พระนวกะ – แค่ 14,15 16 ???
พระพรหมคุณาภรณ์ - ไม่หรอก มันคลุมหมด
พระนวกะ – คือมันคลุม???มาตั้งแต่ต้นแล้ว แต่ก็หมายความว่า ในช่วงที่???ตรงนี้ก็แบ่ง ตรงนี้ไม่ได้แบ่ง
พระพรหมคุณาภรณ์ - เวลามันเกิดนี่มัน แผล็บเดียวเลย มันหมายความเวลาแบบเดียวกับสัมปชัญญะเวลาเราเกิดปัญญา ทีนี้เนี่ย ไอ่ที่มันมีอยู่เนี่ย มันไม่ต้องไปนึกทบทวนแล้ว ใช่มั้ย มันรู้แล้วแต่ว่ามันพิจารณากินคลุมหมด ไม่ใช่ไม่เกี่ยวนะ ใช่มั้ย มันต้องหยั่งรู้อย่างงั้น ถ้าไม่มีความรู้นามรูปเราก็จะไปมีอันนี้ได้ไง
พระนวกะ – ??
พระพรหมคุณาภรณ์ - แต่ว่าความละเอียดละออมันต่างกัน
พระนวกะ – ???
พระพรหมคุณาภรณ์ -ใช่ ชี้แจงเห็นชัด ลงไปครอบคลุมหมด
พระนวกะ – แล้วอย่างขั้น 1 ถึง 13 นี่มี ความจำเป็นต้องเป็นลำดับขั้นแบบนี้หรือว่า บางคนจาก 1 ไป 3 ไป 5 ไป 13 เลย หรือไม่จำเป็นต้องต่อเนื่อง
พระพรหมคุณาภรณ์ - คืออย่างนี้ ต้องอุปมา คือว่ามันอาจไม่ต้องปรากฎชัดออกมาเพราะเป็นเรื่องของความละเอียดอ่อนของจิต ของปัญญา เหมือนกับท่านขึ้นยอดเขาเนี่ย ถ้าท่านเดินท่านอาจเห็นเป็นลำดับชั้น ใช่มั้ย เดินขึ้นเขา แต่บางคนเค้าไม่เดินขึ้น เค้าเอารถยนต์ขึ้น บางคนเค้าไม่เอารถยนต์ขึ้นเค้าเอาเฮลิคอปเตอร์ขึ้นเลย ถูกมั้ย แต่ว่าไม่ว่าขึ้นอย่างไหน ต้องลำดับหมด ถูกมั้ย แต่ว่า เรื่องเฮลิคอปเตอร์นี่มันแทบไม่ต้องพูดถึงลำดับ ใช่มั้ย ไม่ มันคลุมหมด มันครอบคลุมหมด แต่ที่จริงมันต้องลำดับ อันนี้เป็นเพียงอุปมา
พระนวกะ – อาสวักขยญาณ ไม่ทราบว่าไม่ได้จัด ??? พระองค์ยังเกี่ยวข้องในลำดับขั้น
พระพรหมคุณาภรณ์ -อยู่ อยู่คลุมอยู่ในนี้หมด ไม่มีได้ยังไง ไม่อยู่มันก็บรรลุมรรคผล นิพพานไม่ได้ ไม่ใช่ ๆ อยู่ในขั้น มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ เป็นการพิจารณาสิ่งที่ได้บรรลุไปแล้ว
พระนวกะ – โคตรภูญาณนี่เป็นระหว่างปุถุชนกับพระอริยะ
พระพรหมคุณาภรณ์ -ใช่ ญาณครอบโคตร ตัวคั่นระหว่างความเป็นปุถุชนกับพระอริยบุคคล
พระนวกะ – อันนี้ คนที่ได้โคตรภูญาณแล้วเนี่ย ไม่ทราบว่าจะถือว่าเป็นอริยบุคคล
พระพรหมคุณาภรณ์ -มันไม่มา ไม่ใช่ มันไม่มาอยู่อย่างงั้นหรอก มันเป็นเพียงญาณที่มาขั้น แล้วก้าวไปเลย มันไม่ใช่ ของที่มาหยุดอยู่ได้
พระนวกะ – ??? ผมรู้อยู่แล้วว่า ช่วงจังหวะนี้กระพริบตาเดียวๆ แต่หมายถึงว่าช่วงจังหวะที่ได้ ???
พระพรหมคุณาภรณ์ -อ๋อ ตัวโคตรภูญาณไม่ได้เป็นมรรคเป็นผล ไม่เป็นมรรคเป็นผล การที่จะเป็นอริยบุคคลต้องได้มรรคญาณ ไม่มี เป็นตัวเด็ดขาด คือเป็นอันว่าไม่ได้ตัวมัคคญาณ มันยังไม่ไดเป็นพระอริยบุคคล ตัวตัดสินมันอยู่ที่นี่ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติมรรค ถ้าเรียกเต็มก็ โสดาปัตติมรรคญาณ ก็ยาวแล้วนะวันนี้นะ ก็บอกแล้วว่าเป็นความพิเศษ คือว่าเรายังพูดในเรื่องทั่วๆ ไปก่อน แต่ตอนนี้กลายเป็นว่ามาพูดถึงเรื่องข้อปฏิบัติจำเพาะ ก็เอาพอประดับความรู้ไว้ ก็อาจจะมาคุยกันเรื่องปัญญา ในแง่อื่นๆ ต่ออีกบ้าง เช้านี้เอาแค่นี้ก่อนก็แล้วกันนะ