แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คนฟังถาม จะถามเรื่องที่ต่อเนื่องกับเมื่อวานนี้ที่เรื่องเกี่ยวกับศีลน่ะครับ ที่ว่า ศีลนี่ต้องมาก่อน ศีลสมาธิและปัญญาน่ะครับ เสร็จแล้วนี่ในหลักการปฏิบัติจริงนี่ของไตรสิกขา ศีลสมาธิปัญญา แต่เวลาถ้าไปในกับมรรคนี่ ทำไมปัญญาขึ้นก่อน
พระตอบ อ้อ นั่นเป็นธรรมดา ศีลนี่เป็นอยู่ในไตรสิกขาอยู่ในเป็นขบวนการฝึก มันตั้งใจไปในการฝึก มรรคนั้นหมาถึงกระบวนการธรรมชาติแท้ ๆ ในชีวิตของเรา ในชีวิตของเรามันก็จะดำเนินไปอย่างนั้น มันรู้เห็นเข้าใจอย่างไรมันก็คิดได้อย่างนั้นใช่ไหม ความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างไรก็คิดไปตามนั้น ก็พูดไปตามนั้น ก็ทำไปตามนั้น นี่ท่านว่าไปตามลำดับตามธรรมชาติของชีวิต ทีนี้ส่วนสิกขานี่มันเรื่องของการฝึก มันก็ธรรมชาติ แต่เป็นธรรมชาติที่ต่อเนื่องจากคนจัด ที่ว่าคนพยายามจัดตั้งให้มันดำเนินไปอย่างนี้ ๆ ทีนี้ว่าการที่จะฝึกคนนี่มันก็มีเหตุผลอยู่แล้วว่า มันต้องเริ่มที่พฤติกรรม เพราะว่ามันป็นของหยาบของปรากฏ แล้วอยู่ในวงแคบจะว่าง่ายกว่าก็ได้ขอบเขตมันน้อยใช่ไหม ทีนี้อย่างที่ว่าไปแล้วนี่ พฤติกรรมอะไรต่าง ๆ มันอยู่ตัวไปหมดแล้ว ต้องทำซะก่อนถ้าขืนช้านะ แล้วจะลำบากทีหลังใช่ไหม เพราะพฤติกรรมเราไม่ตั้งใจฝึกมันก็อยู่ตัวของมันอย่างใดอย่างหนึ่ง พอมันไปอยู่ตัวลงตัวของมันแล้ว อย่างที่ว่าเป็นความเคยชิน เดี๋ยวนี้แก้ยากแล้ว ขอบเขตของมันก็แค่นั้นแหละ มันไม่มีความลึกซึ้งพิสดารอะไร ทีนี้พอพัฒนาพฤติกรรมไปแล้ว เรื่องจิตใจนี่กว้างขวางละเอียดอ่อนมากมายใช่ไหม ถึงจิตใจก็ยังไม่ละเอียดไม่ลึกซึ้งไม่กว้างขวางเท่าปัญญา จัดการกับจิตใจได้แล้วเรื่องของความรู้ความเข้าใจนี่ยังอีกเยอะไม่จบง่าย ๆ ฉะนั้นนี่ว่าถึงกระบวนการฝึกมันก็ต้องว่าไปตามนี้ แต่ที่นี้ในชีวิตของเราล่ะ ในชีวิตที่เป็นจริงก็คือว่า มันดำเนินไปตามนี้ ความรู้ความเข้าใจเป็นฐานอยู่ มีความเห็นยึดถืออย่างไร มันก็คิดไปตามนั้น แม้แต่คิดใช่ไหม มีความรู้ความเข้าใจแค่ไหน มีความเห็นอย่างไร ความคิดมันก็ดำเนินไปตามนั้น ความคิดก็เป็นข้อ 2 สัมมาทิฐิความเห็นความเข้าใจ ความยึดถือ ความเชื่อ พอมาเป็นความคิด ความดำริ ความตั้งใจจะเอายังไงก็คิดไปบนฐานของความเข้าใจนั้น ความเห็นนั้น ความเชื่อนั้น เสร็จแล้วต่อจากนั้นก็จะพูดจะทำก็ไปตามหมดใช่ไหม แล้วที่นี้ไอ้ตัวหมวดที่ 3 สมาธินี่เป็นตัวหนุนแหละเสริมพลังให้แก่อันไหนก็ตามที่มา เช่นจะพูดจะทำอะไร ไอ้ตัวพลังของจิตความเข้มแข็งสภาพของจิตมันจะมาเป็นตัวหนุนทั้งนั้นอีกที ก็อยู่ที่เราจะให้มีความเข้มแข็ง มีสภาพจิตที่เอื้อต่อการที่จะทำ จะคิด จะอะไรอย่างไงใช่ไหม ฉะนั้น ฝ่ายมรรคนี้ว่าไปตามกระบวนการของชีวิต นี้พอไปเข้ามาสู่ชีวิตของเรา ชีวิตของเราดำเนินไปตามนั้น เราฝึกมาได้แค่ไหน แต่ไอ้ตัวสิกขานี่คือกระบวนการฝึก ๆ ให้เป็น แล้วฝึกได้แค่ไหนกระบวนการชีวิตมันก็ดำเนินไปตามมรรค ทีว่ามีความรู้ความเข้าใจเท่าไร เพราะที่จริงที่เราฝึกนี่เป้าหมายแท้ไปอยู่ที่ตัวปัญญาใช่ไหม ไอ้ปัญญานั้นกลับมาเป็นฐานของมรรค มาเป็นสัมมาทิฏฐิรู้เท่าไรเข้าใจเท่าไร ก็ทำไปได้เท่านั้น พอจะเห็นไหมครับ เป็นอันว่ากระบวนการฝึกที่เราตั้งใจจัดการกับชีวิตนี้นี่เป็นสิกขา ส่วนกระบวนของชีวิตเองที่เป็นไปตาธรรมดาของมันก็เป็นมรรค ทีนี้เราก็พยายามที่จะให้มรรคเกิดขึ้น ก็ด้วยการที่ฝึกด้วยไตรสิกขา ก็สอดคล้องกัน
คนพังถาม ให้ความสำคัญด้านปัญญาอย่างไรว่า ให้ความสำคัญกับทิฐิ ว่าการจะทำอะไรก็ตามแต่ ที่จริงต้องถูกต้องก่อน ถ้าทิฐิผิดก็นำไปสู่ทุกอย่างที่ผิดหมด
พระตอม ก็ใช่ เอ้อนั่น แต่ว่าหมายถึงนั่นเป็นกระบวนการของการทำงานของชีวิต มันจะไปตามความเชื่อความคิดเห็นความเข้าใจความรู้ มันก็ทำได้เท่านั้นตามขอบเขตของมันแล้วตามแนวทางของมัน
เอานั้นถ้างั้นก็กลับมาเรื่องเก่าของเราก่อน พูดเรื่องไตรสิกขา ก็มาพูดเรื่องข้อปลีกย่อยในระบบของไตรสิกขา เมื่อวานนี้พูดเรื่องศีล ศีลก็ยังมีเรื่องต้องพูดอีกมาก แต่ว่าก็ไว้พูดต่อไปในเมื่อมีเรื่องเข้ามาเกี่ยวข้องในแง่หลักการกว้าง ๆ ก็คิดว่าเอาเท่านี้ก่อนตอนหนึ่ง
คนฟังถาม พระเดชพระคุณอาจารย์ครับ คำถามจะถามเกี่ยวกับเรื่องวินัยเนี่ย อริยสัจ 2 นะครับ เพราะว่าในบาลีสวดว่า อุบาสิกา แต่พอตอนแปลนี่แปลว่า หาบุคคลที่ 3 ที่เชื่อถือได้ ก็เลยไม่ทราบจริง ๆ บุคคลที่ 3 นี้รวมอยู่บุรุษด้วยหรือเปล่า รวมอุบาสิกา
พระตอบ ยังไม่ได้ไปตรวจดูคำอธิบายวิพังของสิกขาบท ไปตรวจให้แน่อีกที
ทีนี้ก็ เรื่องศีลก็พูดกว้าง ๆ ไปแล้ว ส่วนเรื่องที่จะพูดเพิ่มเติมนี่ให้อยู่ที่มีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องข้างหน้าก็โยงเข้าไปแล้วก็อาจจะพูด ทีนี้ก็มาเรื่องสมาธิบ้าง สมาธินี่ ผมก็ไม่แน่ใจว่าครั้งก่อน ๆ โน้นนานมาแล้วได้พูดอธิบายไปแค่ไหน อันนี้สมาธิก็บอกแล้วว่ามันเป็นตัวแทนหรือเป็นประธานของกระบวนการฝึกด้านจิต ก็เลยเอาว่าเอาสมาธินี่มาเป็นชื่อเรียกแทนการฝึกด้านจิตใจทั้งหมดเลย ทีนี้ที่ว่ามันเป็นตัวรองรับ มันเป็นการทรงตัวของจิตอยู่ตัว อยู่ตัวได้ที่ อะไรต่อะไรที่มันจะทำอะไรได้ผล มันต้องอยู่ตัวได้ที่ใช่ไหม ถ้าจิตมันไม่อยู่ตัวไม่ได้ที่แล้ว มันก็ทำอะไรไม่ค่อยได้ผล อย่างที่เปรียบเทียบว่าเหมือนกับเรามีฐานหรือที่รองสักอย่างหนึ่ง ถ้าฐานหรือที่รองนั้นไม่มั่นคงยังเอนเอียงไปมาคลอนแคลนอยู่สิ่งที่วางอยู่บนนั้นก็ล้มระเนระนาดหรือพลัดตกหล่นไปเลย คุณธรรมสิ่งที่เป็นคุณสบัติของจิตใจก็เหมือนกัน ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิก็ขาดฐานที่มั่นคง มีความหวั่นไหวอยู่ คุณธรรมหรือคุณสมบัติของจิตนั่นก็ตั้งอยู่ไม่ได้ดี แล้วก็ง่อนแง่นก็อาจจะเสื่อมเกิดขึ้น เสื่อมตกหล่นหายไป นั้นสมาธิก็เป็นที่รองรับอย่างดีของคุณสมบัติต่าง ๆ ของจิตใจ ทีนี้ที่เรียกว่าทรงตัวมั่นคง ที่เราเรียกว่า ตั้งมั่น บางทีเราก็จะมองไปว่าเป็นนิ่ง บางทีเราแปลกันว่านิ่งนะ จิตเป็นสมาธิก็ถูกต้องนิ่ง แต่ว่าคำว่านิ่งนี่ชวนให้เข้าใจเป็นอยู่เฉย ๆ อยู่กับที่ ต้องระวัง นี้สมาธิไม่ใช่หมายความว่าจิตนิ่งอยู่กับที่หรอก มันทรงตัวของมันได้มั่นคงแน่วไป เพราะฉะนั้นแม้แต่เคลื่อนที่มันก็ไปอย่างมั่นคงสม่ำเสมอใช่ไหม อย่างรถหรืออะไรก็ตามที่เป็นไปด้วยดี จะวิ่งได้ดีต้องทรงตัวได้มั่นคงสม่ำเสมอและก็แน่วไปในทิศทางนั้นไม่ส่ายไป ถ้ารถส่ายก็คนสักใจไม่ดีแล้วใช่ไหม แล้วก็ไม่ใช่เฉพาะส่ายแม้แต่ว่ามันโครงเครง ส่ายมันก็อย่างหนึ่ง โครงเครงก็อย่างหนึ่ง คือความมั่นคง ความทรงตัว แน่วอะไรต่าง ๆ นี่ เป็นสิ่งที่เราต้องการทั้งสิ้น
นี่ถ้าหากสมาธิไปอยู่ในภาวะนิ่งอยู่กับที่อย่างนั้นไม่ก้าวหน้า มันก็อาจจะไปทางที่ว่าสบายแล้วก็เลยมีความสุขก็เสพสุข ก็ดีไม่ดีก็ขี้เกียจไปเลย เพราะฉะนั้นท่านก็เตือนไว้ว่าสมาธิกับพวกความขี้เกียจนี่เข้ากันได้เป็นพวกเดียวกัน อันนี้ท่านก็เลยให้ระวังว่า เมื่อได้สมาธินี้อาจจะเกิดโกสัชชะ โกสัชชะเป็นภาษาบาลีแปลว่าความเกียจคร้าน ก็เลยต้องให้มีวิริยะความเพียรมาคอยหนุน มาคอยถ่วงดุลย์กันไว้ ไม่ใช่ถ่วงละมาดึงกัน วิริยะนี่เป็นตัวดึง ไม่ให้สมาธินี่หยุดนิ่ง แต่ว่าให้เป็นการนิ่งชนิดที่ว่านิ่งคือหมายความว่าเดินหน้าไปอย่างเรียบมั่นคงแน่วเลยใช่ไหม วิริยะนี่ทำให้มันเดินหน้า เมื่อมีวิริยะทำให้เดินหน้า วิริยะอย่างเดียวก็ทำให้พล่านไม่สงบ อาจจะรุกรี้รุกรน หรือว่าไปไวเกินไปไม่มั่นคง นั้นก็มีสมาธิมาช่วย สมาธิก็คล้าย ๆ ว่ามาช่วยดึงไว้ ไอ้เจ้าวิริยะก็ดึงหน้า ไอ้เจ้าสมาธิก็คอยรั้งไว้ อย่าให้มันไปเร็วเกินไป แล้วให้การไปข้างหน้านั้นไปอย่างมั่นคงแน่วแน่ ก็เลยได้ผลเกิดความพอดีขึ้นมา ถ้ามีสมาธิด้วย แล้วมีวิริยะด้วยจะทำให้เกิดความพอดีทั้งไปข้างหน้าก้าวหน้าด้วย ทั้งไปอย่างมั่นคงแน่วแน่ด้วย ก็เลยให้วิริยะกับสมาธิคู่กัน แล้วสติก็คอยเป็นตัวปรับ จะเห็นว่าในองค์มรรค นี่เรายังไม่ได้เรียนมรรคกันนี่
ในมรรคนั้นมันมีหมวดสมาธิมันมีสัมมาวายามะ นี่ตัวเพียรใช่ไหม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ วิริยะวายามะมันต้องเพียรไม่ให้หยุด ในพุทธศาสนาบอกเลยว่า ต้องก้าวหน้าจะมานิ่งหยุดอยู่ไม่ได้ แต่ก้าวหน้าไปต้องมีสติคุมแล้วเอาสมาธิมาช่วยรั้งไว้ มาช่วยทำให้เกิดความมั่นคงแน่วแน่ไปอย่างดี ถ้าได้อย่างนี้ก็เรียกว่าด้านจิตใจก็มาจะหนุนให้การแสดงออกทางกายวาจาพฤติกรรมนั้นเป็นไปด้วยดี แล้วก็ปัญญาก็จะได้ทำงานอย่างได้ผลด้วย ก็เป็นอันว่าสมาธินี้เป็นตัวสำคัญล่ะ แต่ว่าเป็นภาวะที่มั่นคงแน่วแน่ไม่ใช่ว่าเพียงหยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่ว่าไปข้างหน้าอย่างสม่ำเสมอด้วย ทีนี้ได้บอกไว้ว่าสมาธินั้นเป็นตัวเอื้อต่อคุณสมบัติอย่างอื่นของจิตทั้งหมดจึงเอามาใช้เป็นตัวแทนเป็นประธานของหมวดการฝึกจิต เพื่อจะให้เห็นภาวะที่ว่าเขาเป็นตัวหลัก เป็นตัวแทน เป็นตัวประธานนี่
ก็มาดูลักษณะจิตที่เป็นสมาธิ ลักษณะของจิตใจที่เป็นสมาธินี่จะมีเป็นข้อใหญ่ ๆ 3 ข้อ อันนี้จะพูดบ่อย ๆ พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้เองว่าจิตที่เป็นสมาธินี่
1 จะมีกำลัง พระพุทธเจ้าก็ตรัสอุปมาไว้ว่า เหมือนกับคนเอาภาชนะใส่น้ำขึ้นไปบนยอดเขา หรือยอดเนินภาชนะนั้นก็อาจจะเป็นถังน้ำอย่างที่เราใช้กันอยู่ หรืออะไรก็แล้วแต่ใหญ่พอสมควรก็หิ้วเอาน้ำขึ้นไปบนยอดเนิน แล้วก็สาดโครมกระจัดกระจายไป ไม่มีทิศมีทาง น้ำนั้นแม้จะมากตั้งถังหนึ่ง ก็หายหมดไม่มีความหมายเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เหมือนกับจิตของคนเราที่ว่า ไม่มีสมาธิ ไม่มีทิศทาง ส่ายกระจายไปหมด ทำอะไรก็ไม่ได้ผล ที่นี้เปลี่ยนใหม่ เอาน้ำถังเท่ากันนั้นขึ้นไปบนยอดเนินใหม่ ทีนี้ตั้งใจกำหนดทิศทาง ก็หาอะไรมาช่วยให้น้ำนี้ไหลไปอย่าง เรียกว่าพุ่งตรงไปเลย อย่างเช่นว่ามีรางมีท่อเป็นต้น แล้วก็เทน้ำใส่ท่อใส่ราง พอน้ำเข้าในท่อในรางไหลไปก็ไหลแรง เพราะว่ามันพุ่งดิ่งไปทางเดียว ก็นี้ก็เหมือนจิตเป็นสมาธิอันนี้จะเห็นว่าสมาธิไม่ใช่หยุดนิ่งใช่ไหม เหมือนน้ำที่ไหลพุ่งดิ่งไปทางเดียวนี่ก็จะมีกำลังแรง นี่ก็คำเปรียบเทียบของสมาธิที่ทำให้จิตแน่วแน่ ก็ทำให้มีกำลังแรงอย่างนี้ นี่เป็นคุณสมบัติที่ 1 หรือ อาการของจิตที่เป็นสมาธิอย่างที่ 1
2 มีอุปมาหนึ่ง ก็พระพุทธเจ้าอุปมาไว้ แล้วก็มาขยายความให้เข้ากับปัจจุบันมากขึ้น ก็เหมือนกับว่าเราไปตักน้ำก็เอาภาชนะอีกแหละ ไปตักน้ำในหลุมในบ่อ สมัยก่อนมันก็จะมีพวกหลุ่มเล็ก ๆ ที่เกิดจากเกวียนบ้าง สัตว์ใหญ่ ๆ เดินบ้าง มันก็กลายเป็นหลุมขึ้นมา ในหลุ่มนั้นก็จะมีน้ำขัง เพราะว่ามีสัตว์มีคนอะไรต่าง ๆ เดินกันอยู่เรื่อยน้ำนั้นมันก็ไม่นิ่ง เมื่อน้ำไม่นิ่ง น้ำในหลุมนั้นมันก็จะขุ่น เป็นตมคลักไป มองอะไรก็ไม่เห็น ทีนี้เราเอาภาชนะไปตักน้ำจากหลุมนั้นมา แล้วก็มาตั้งไว้บนที่ ๆ มั่นคงไม่หวั่นไหว แล้วไม่มีลมพัดพา น้ำก็นิ่งสนิทไม่มีอะไรมากวน เมื่อไม่มีอะไรมากวน ต่อมาอะไร ๆ ที่มันละลายที่มันปนอยู่เป็นฝุ่นเป็นโคลนอะไรก็ตามในน้ำก็จะตกตะกอนนอนก้นหมด เสร็จแล้วเป็นยังไงน้ำนั้นก็ใส่ใช่ไหม นี่แหละเหมือนกับจิตของเรามีอารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น เดี์ยวอันโน้นมา อันนี้ไป คิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ ความทรงจำเก่า ๆ มัน ขึ้นมาของใหม่เข้าไปรับรู้ทางตา รับรู้ทางหูบ้างวุ่นไปหมด พอวุ่นไปหมดแล้วอย่างนี้มันก็มองอะไรไม่ชัดเจน เรื่องนี้กำลังพิจารณาอยู่ เอาเรื่องโน้นเข้ามาอีกแล้ว ตัดตอนหรือบังไปเสียอีกแล้ว พอจะพิจารณาเรื่องนี้ยังไม่ทันไร เอ้าก็คนโน้นมาพูดเรื่องนี้อีก เอ้าเห็นอันนั้นอีกเข้าไปอีก ก็วุ่นกันไปหมดอย่างเงี้ย ทีนี้จิตมันถูกกวนอยู่เสมอ มีเรื่องราวอารมณ์เข้ามามากมายมันบังกันเองไม่ต่อเนื่องไม่สม่ำเสมอก็เลยมองไม่ชัด ยิ่งมีความรู้สึกโกรธ รู้สึกใจคอไม่ดีขัดเคืองหรืออะไรต่าง ๆ ขึ้นมา ก็ยิ่งทำให้วุ่นวายใจมากขึ้น ฉะนั้นจิตไม่สงบจิต จิตก็จะไม่ใส ขุ่นมัวเศร้าหมองมองอะไรก็ไม่ค่อยเห็น ทีนี้พอจิตเป็นสมาธิก็หมายความว่าเรื่องราวอะไรที่เราไม่เกี่ยวข้องไม่ต้องการ มันไม่เข้ามากวนได้ ก็เหมือนกับฝุ่นโคลนเป็นต้นที่มันตกตะกอนลงไปหมด เพราะว่าสิ่งทีปนอยู่วุ่นวายในจิตใจนี้ สงบลงไปไม่มากวน น้ำมันก็จะใส ทีนี้เมื่อน้ำใสแล้วเราจะมองอะไรสิ่งที่เรามองนั้นมันก็จำเพาะไม่มีอะไรอื่นเข้ามาวุ่นมาบัง มันก็เห็นชัด พอเมื่อมีน้ำใสแล้วอะไรอยู่ในน้ำนั้น เราก็มองเห็นได้ชัดเจนนี้ก็เหมือนกับจิตที่เป็นสมาธิ จะเป็นจิตที่ใส สามารถเพ็งมองสิ่งที่ต้องการอย่างเดียวตามปรารถนาได้ ก็เกื้อกูลต่อปัญญา จิตที่ใสเป็นสมาธิก็เป็นปัจจัยแก่ปัญญา เรามักจะอ้างพุทธสุภาษิทที่บอกว่า สะมาหิโตยะสาพูตังปะชานาติ เมื่อจิตตั้งมั่นคือเป็นสมาธิแล้ว ก็รู้เข้าใจตามเป็นจริง ปะชานาติ ก็เป็นกิริยาของศัพท์ปัญญานั่นเอง สมาหิโตก็สมาธิ เพราะฉะนั้นสมาธิก็เกื้อปัญญา แต่ไม่ใช่หมายความว่าพอมีสมาธิแล้ว ปัญญาก็เกิดมาเองไปเลย ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วโยคีฤาษีดาบสในอินเดีย แกก็ได้สมาธิถึงสมาบัติ 8 แกก็คงตรัสรู้ไปหมดแล้ว เปล่า จิตมันใสพร้อมที่จะให้เห็น มันใสอยู่แล้วถ้ามองก็เห็นแต่เรามีตา เราไม่ใช้ตาไม่ลืมตามันก็ไม่เห็นเหมือนกัน นั้น ปัญญาเปรียบเหมือนดวงตาไม่ใช้ปัญญา ไม่พิจารณา ไม่มอง ไม่ดู ก็เลยไม่เห็น ก็เลยเอาจิตที่เป็นสมาธิที่มันใสกลับไปวุ่นอยู่กับเรื่องอื่น ไปเรื่องไปใช้พลังจิตบ้าง หรือไปหาความสุขอยู่ก็เลยไม่ได้ใช้ปัญญาไม่พิจารณา เอาละนี่ก็เป็นลักษณะจิตเป็นสมาธิประการที่ 2
ต่อไปประการที่ 3 อันนี้ก็เป็นผลพ่วงมาเองของสมาธิ คือว่าเมื่อจิตมันเป็นสมาธิตั้งมั่นมันก็สงบ คือไม่หวั่น ไม่ไหว ไม่วอกแวก ไม่พล่าน ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เล่าร้อน ไม่ก็วนกระวาย ไม่มีอะไรกวน เพราะว่าจิตของเราต้องการจะอยู่กับสิ่งใดก็อยู่กับสิ่งนั้น เมื่อต้องการอยู่กับสิ่งใดก็อยู่กับสิ่งนั้น สิ่งอื่นไม่เข้ามากวนมันก็สงบ สงบสบายก็ทำให้มีความสุข ความสุขกับสมาธิเนี่ยมันก็เกื้อกูลต่อกันเป็นธรรมดา จิตที่จะเป็นสมาธิก็ต้องอาศัยความสุขอยู่แล้ว ท่านเรียกความสุขเป็นบรรทัดฐานแก่สมาธิ ถ้าจิตมันมีความทุกข์ มันถูกบีบคั้นมันถูกกดดัน มันก็ตั้งมั่นด้วยสมาธิได้ยาก นี้ว่าพอจิตสบาย มันก็โน้มไปที่สงบเป็นสมาธิ นั้นความสุขก็เป็นบรรทัดฐานเป็นตัวปัจจัยใกล้เคียงที่จะให้เกิดสมาธิ ที่นี้พอสมาธิเกิดขึ้นแล้ว มันสงบไม่มีอะไรกวน ไม่พุ่งพล่าน ไม่กระวนกระวาย แค่ว่าไม่มีอะไรกวนมันก็สบายแล้วน่ะ จิตที่มันเป็นปัญหาก็คือมันถูกกวน อันโน้นเข้ามากวน สงบไม่ได้ ทีนี้พอไม่มีอะไรกวนมันก็สบาย อยู่ตัวดีมันก็สุข อันนั้นสมาธิก็ยิ่งเสริมความสุขเข้าไปอีก อันนี้ก็เป็นประโยชน์ที่ 3 ที่ว่าทำให้สงบแล้วก็สุข ก็เป็นอันว่าจิตที่เป็นสมาธินั้นมีอาการหรือมีลักษณะสำคัญ 3 ประการอย่างที่ว่ามา
1 ก็มีกำลังแรง มีพลังมาก 2 ก็ใสเอื้อต่อปัญญา 3 สงบ หนุนความสุขทำให้มีความสุขได้มาก
นี้ก็จากลักษณะของจิตเป็นสมาธินี้ก็เลยเอาไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ กัน บางท่านก็จะไปใช้ประโยชน์ในทางพลังจิต ซึ่งมากทีเดียวไม่ใช่บางท่าน ชอบ มันตื่นเต้นดี คนเรานี่ชอบนักเรื่องตื่นเต้น แล้วมันไปส่งเสริมกิเลสด้วย พอมีพลังคนชอบอยู่แล้ว ชอบอำนาจ ชอบความยิ่งใหญ่ การมีพลังจิตก็ไปเสริมความยิ่งใหญ่ความมีอำนาจ เอ้ออยากจะเอาไปทำโน่นทำนี่ ไปทางฤทธิ์ ทางปาฏิหาริย์จะได้เก่ง ทำให้ฮึกเหิม นั้นในด้านที่เป็นพลังจิตนี่ต้องระวังมาก มีกันมาก่อนพุทธกาล พวกโยคีฤษีดาบสที่หันไปเอาเด่นทางนี้จนกระทั้งปัจจุบันนี้ พระที่ท่านไปอยู่อินเดียนาน ๆ ท่านก็จะเล่าให้ฟัง ว่าพวกนักบวชอินเดียโยคีฤษีนี่ ก็ยังยุ่งอยู่เรื่องฤทธิ์ฏิหาริย์ยังชอบแต่เรื่องนี้ ในสมัยพุทธกาลก็เอาฤทธิ์ปาฏิหาริย์มาเป็นเครื่องวัด ว่าใครเป็นพระอรหันต์ก็ต้องมีฤทธิ์อย่างที่ในพุทธประวัติ เรื่องชดิน พอชดินเห็นพระพุทธเจ้ามา พระพุทธเจ้าเสด็จไปสำนักชดินนี่ ชดินก็เอาฤทธิ์วัตร ท่านผู้นี้ดูท่าทางสงบเสงี่ยมเรียบร้อยคงไม่ได้เรื่อง ไม่เป็นอรหันต์เหมือนเราหรอกน่ะ ว่าอย่างนั้น เรานี่มีฤทธิ์ใช่ไหม ทีนี้พระพุทธเจ้ามาขอพัก เอ้อดีแล้ว เดี๋ยวเราจะแกล้งซะตั้งแต่คืนนี้แหละจะไปรอดหรือเปล่า เพราะฉะนั้นตั้งแต่คืนแรก ชดินก็แกล้งพระพุทธเจ้า ด้วยเรื่องฤทธิ์ปาฏิหาริย์ก็เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าต้องใช้ฤทธิ์ในการประกาศพระศาสนา พระองค์ก็ต้องมีฤทธิ์ด้วย แต่พระองค์มีฤทธิ์เหนือกว่าชดิน ก็เลยในที่สุดชดินก็ยอม แล้วก็ฟังพระองค์ แล้วพระองค์ก็จบเรื่องฤทธิ์แค่นั้น เมื่อเขายอมแล้วก็สอนธรรมะให้ปัญญาแล้วต้องให้สมาธิก้าวไปสู่ปัญญา เป็นอันว่าในยุคพุทธกาลนิยมอย่างนั้น ก่อนพระพุทธเจ้าอุบัติ แล้วก็มาปัจจุบันนี้โยคีฤษีอินเดียที่ว่า พระอินเดียท่านเล่าว่า เวลามีงานมีการมีเรื่องที่ชุมนุมกันใหญ่ ๆ พวกฤษีเหล่านี้ก็จะมาอวดกัน ทำท่าว่าจะเหาะ แล้วลูกศิษย์ก็มาช่วยมายึดมายื้อต่าง ๆ อาจารย์ไม่ต้องอาจารย์มาทำทำไม อะไรอย่างนี้ เดี๋ยวนี้ยังเป็นในคัมภีร์อรรถกถาเล่าว่ายังไงนะ เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นอย่างนั้น แปลก อินเดียนี่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง ไม่ทราบ ท่านบอกว่าอย่างนั้น เพราะสมัยพุทธการเรื่องยมกปาฏิหาริย์ก็เป็นอย่างนั้น พวกนักบวชต่าง ๆ นี่มาชุมนุมกันก็ทำท่าหัวหน้าจะแสดงฤทธิ์ จะเหาะาแล้วพวกลูกศิษย์ก็มายื้อมายึดชุดใช้ผ้าบอกอย่า ๆ อาจารย์ แค่นี้อย่าจะไปทำเลย แค่นี้ไม่สมไม่คุ้มค่า ท่านบอกว่าเดี๋ยวนี้ก็อย่างนั้น เวลามาประชุม เอ้าแล้วอาจารย์จะแสดงฤทธิ์ลูกศิษย์ก็มายื้อมายึด นี่อินเดียเป็นอย่างเงี้ยหน้า ก็ตกลงว่าชอบกันนักเรื่องปาฏิหาริย์
มาเมืองไทยก็มีความโน้มเอียงชอบอย่างนั้น เป็นเรื่องตื่นเต้นดี เป็นเรื่องพลังอำนาจ แล้วสนองกิเลสได้ด้วย นั่นก็เรื่องการใช้ทางพลังจิตนี่ไม่เป็นหลักประกันของความหมดกิเลสและความทุกข์ อาจจะใช้เสริมกิเลสด้วยซ้ำไป แต่ว่าถ้าใช้ถูกต้องก็ใช้ในทางไปเสริมพลังในการปฏิบัติงานพระศาสนา แต่ว่ามันจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ไม่มีกิเลส หรือมีเจตนามีคุณธรรมดี ก็เอากลับมาใช้ในทางที่ดีไป ท่านก็จะไม่อวดตัวไม่แสดงตัวอะไร แต่ว่าเอามาสนับสนุนการทำงาน อันนี้ด้านที่ 1 พลังจิต ด้านที่ 2 ก็เรื่องของการเอื้อต่อปัญญาว่าทำให้จิตใส อันนี้ทางพุทธศาสนาจะเน้นจะใช้ประโยชน์มากถือว่าสำคัญ เพราะว่าไตรสิกขามันต้องก้าวไปถึงปัญญานี่ไม่ใช่อยู่ที่สมาธิ ศีลสมาธิปัญญา สมาธิก็เป็นปัจจัยช่วยให้พัฒนาปัญญา เจริญปัญญา ใช้ปัญญาได้ผลดี
ส่วนข้อที่ 3 ก็ทำให้จิตสงบมีความสุข อันนี้ก็ต้องระวัง ที่จริงมันเป็นตัวหนุน เป็นตัวหนุนเพราะว่าเราจะทำงานใช้ปัญญาใช้จิตใจ เมื่อจิตสงบ มันสุข มันก็จิต มันก็พร้อมมันไม่พลุ่งพล่ามันไม่ส่าย มันก็ทำให้ทำงานได้สบายได้เต็มที่ ก็ไม่มีอะไรกวน มันก็ทำงานได้ดี แต่นี่ถ้าหากว่าเราไม่ไปใช้ในแง่ปัญญา ไม่เอาจิตไปใช้ประโยชน์ก็เลยมาเสวยความสุขกับความสงบนั้นเสีย ก็อย่างที่บอกเมื่อกี้ กลายเป็นขี้เกียจไป ก็กลายเป็นเครื่องฉุดเหนี่ยวรั้งให้เราหยุดอยู่กับที่ไม่เดินหน้า เพราะฉะนั้นต้องระวัง สำหรับข้อที่ 3 นี้ สำหรับท่านผู้ปฏิบัติธรรมยังเพียรพยายามอยู่ใช้พักผ่อนจิตใจหรือพักผ่อนกายได้ คือระวัง เพียงแต่ไม่ให้ประมาทมาให้เหนี่ยวรัังให้เป็นคนหยุดนิ่ง แต่บางครั้งนี่การพักผ่อนมันก็เป็นเรื่องจำเป็น อย่างร่างกายของเราใช้งานมาก ๆ ก็พักผ่อนเสียบ้าง และยิ่งท่านผู้บรรลุธรรมสำเร็จแล้ว อย่างพระพุทธเจ้านี่ ไม่ต้องเพียรพยายามเพื่อฝึกตนเอง ก็ได้ทำงานเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็จาริกไปโน่นไปนี่ สั่งสอน กลับมาพระองค์ก็เหนื่อพระวรกาย พระองค์ก็จะเข้าฌานพักผ่อน เรียกว่า ทิศธรรมะสุขวิหาร อันนั้นประโยชน์ข้อที่ 3 ของสมาธินี้จะใช้สมาธิในแง่นี้เครื่องพักผ่อน เรียก ทิศธรรมะสุขวิหาร แปลว่าการพักหรือการอยู่ การพักให้สบายในใช้ปัจจุบัน ใช้เป็นเครื่องมือเครื่องช่วยในการพักผ่อน นี่ประโยชน์ที่ 3
ทั้งหมดนั้นก็เป็นว่าจุดศูนย์รวมก็คือว่าให้ก้าวหน้าในไตรสิกขา เพราะฉะนั้นจะต้องหนุนไปสู่ปัญญา เพราะฉะนั้นข้อที่ 2 คือทำให้จิตใส นี่จะให้เป็นจุดเน้น ที่นี้ถ้าเราใช้เป็นในแง่พลังจิตมีกำลังก็มาหนุนในเรื่องการใช้ปัญญาทำให้จิตมีกำลัง การใช้ปัญญามันก็ต้องอาศัยจิตที่มีกำลังจึงจะทำงานได้ผล จิตมีกำลังก็ยิ่งทำให้การใช้ปัญญาได้ผลดีอย่างขึ้น นั้นข้อที่ 3 จิตสงบสุขมันก็มาหนุนการใช้ปัญญา ฉะนั้นกันแบบประสานก็เป็นประโยชน์ เป็นอันว่าถ้าใช้ถูก แล้วมันก็ดีไปหมด ภาวะที่จิตเป็นสมาธินี้ท่านก็เลยเรียกว่าเป็นกำมณียะ กำมณียะก็แปลว่าเหมาะแก่การใช้งาน ฉะนั้นจิตที่เป็นสมาธิ ก็มีลักษณะที่พูดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายในทางไตรสิกขาในการปฏิบัติทางพุทธศาสนา เราใช้คำว่า จิตเป็นกำมณียะ แปลวว่าจิตเหมาะแก่การใช้งานนุ่มนวลควรแก่งาน มุทุด้วย มุทุก็แปลว่านุ่มนวล ไม่แข็ง ไม่กระด้าง ถ้าจิตมันกระด้างเสียแล้วจะใช้งานยาก นุ่มนวล และก็คำมณียัง ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่งาน ก็ใช้งานได้ดีก็ก้าวไปสู่ปัญญาพิจารณาก็ได้ผล อันนี้จากที่พูดมาลักษณะอาการของจิตที่เป็นสมาธินี่ก็เข้ากันที่พูดมา ทำไมสมาธิจึงเป็นประธานก็คุณสมบัติของจิตอย่างอื่นทั้งหมดเลย ก็อย่างที่ว่ามันตั้งมั่นทำให้คุณสมบัติอื่นนี่ดำรงอยู่ได้คงอยู่ได้แล้วก็อาศัยจิตที่เป็นสมาธินี่เจริญงอกงาม ถ้าหากไม่ตั้งมั่น มันก็จะมีแต่จะคอนแคลนง่อนแง่น แล้วจะตกหล่นเสื่อมถอยไป อันนี้พอมันมั่นคงก็สามารถเจริญงอกงามได้ดี นี่ภาวะที่จิตมีพลังมันก็มาช่วยใช่ไหม ด้านสมรรถภาพจิตนี่ก็ได้หมดสมาธิก็ช่วย ด้านความสงบ ด้านสุขภาพจิต จิตสบายโล่งโปร่งผ่องใสก็มาด้วยกันสภาพสมาธิ แล้วคุณสมบัติที่ดี ที่เป็นกุศลมันสอดคล้องกับจิตที่สงบ จิตที่มันตั้งมั่น จิตที่อยู่ตัว จิตที่ไม่มีอะไรมากวน ถ้าหากว่าเป็นฝ่ายอกุศลแล้วมันไม่สอดคล้องกับสมาธิ มันจะมากวนสมาธิทันทีเลย อย่างโกรธขึันมานี่ สมาธิถูกกวนทันทีใช่ไหม จิตหวั่นไหววอกวอกพลุ่งพล่านตั้งมั่นไม่ได้ ไม่รู้แหละอกุศลอะไรเกิดขึ้นมา มันทำให้จิตพลุ่งพล่านบ้าง หวั่นไหวบ้าง มันขุ่นมัวบ้าง เศร้าหมองแคบอึดอัดกดดันบีบคั้นใช่ไหม นี่อกุศลมีสภาพอย่างนี้ ไม่ดีทั้งนั้นเข้ากันไม่ได้เลยกับสมาธิ แต่ทีนี้ถ้าสมาธิเกิด แสดงว่าไอ้เจ้าพวกนี้ไปแล้ว ไม่อยู่แล้วไอ้เจ้าพวกอกุศลนี่อยู่ไม่ได้ แล้วที่นี้เจ้าฝ่ายอกุศลนี้ก็ได้โอกาสใช่ไหม เพราะฉะนั้นพวกคุณสมบัติคุณธรรมต่าง ๆ ก็มาได้ เมื่อสมาธิดีนั้นสมาธิก็เลยเป็นตัวที่รองรับของกุศลธรรมคุณสมบัติที่ดีงามของจิตทั้งหมด จึงมาใช้เป็นชื่อเรียก เป็นประธานของขบวนการของการฝึกจิต เลยเรียกว่าเป็นสมาธิไปเลย ก็เห็นจะพอสมควรนะ
ทีนี้ที่ท่านสุรเดช ถามคำว่าสมถภาวนา ก็เลยพูดสักอีกหน่อย คือคำว่าสมถะ คำว่าสมาธิอะไรพวกนี้ แล้วคำว่าจิตภาวนา มันจะมีความคล้าย ๆ กัน เอาคำว่าภาวนาไปต่อแล้วได้หมดเลย จิตตภาวนา สมถะภาวนา สมาธิภาวนา
แต่ว่าคำว่า สมถภาวนานี่เป็นคำที่นิยมขึ้นมาบ้างในสมัยหลังยุคอรรถกถา สมัยพระไตรปิฎกนี้ใช้ว่าสมถะเฉย ๆ สมโถจะวิปัสสนาจะ คำว่าสมถวิปัสนาไม่พบที่ใช้ในพระไตรปิฎก สมถะนั้นก็คือความสงบของจิตที่จะมาเอื้อต่อการที่ใช้ปัญญาต่อไป ไม่เช่นนั้นปกติจะพูดคู่กับวิปัสสนา สมโถจะวิปัสสนาจะ สมถะและวิปัสสนา สมถะก็บางครั้งพระพุทธเจ้าก็ตรัสแทนคำว่าสมาธินั่นเอง หมายความว่า บางครั้งคำว่าสมาธิก็ใช้คำว่าสมถะแทนได้ เร็งไปที่อาการมันสงบ สมาธิก็จิตตั้งมั่น ด้วยความตั้งมั่นก็มีความสงบ สมถะแปลว่าความสงบ ระงับอกุศลให้อยู่ไม่ให้มีบทบาทไม่มีอิทธิพล ไม่ให้กำลัง ไม่ให้ทำอะไรได้ อันนี้พูดถึงคำว่าสมถะภาวนา อันนี้มันมีคำใกล้เคียง ก็คือว่าสมาธิภาวนาและจิตตภาวนา นี้ในพระไตรปิฏกนั้น สมถภาวนาไม่พบที่ใช้ ใช้แต่สมถะเฉย ๆ แล้วก็ใช้แทนคำว่าสมาธิได้ บางครั้งพระพุทธเจ้าใช้ แต่ก็ไม่นิยมเท่าคำว่าสมาธิ แต่คำว่าสมถะนี่จะมาใช้นิยมเข้าคู่กับวิปัสสนาเป็นสมโถจะวิปัสสนาจะแสดงถึงการเชื่อมโยงกับสมาธิทำให้จิตสงบแล้วก็ทำให้พร้อมที่จะใช้ปัญญาต่อ อันนั้นสมถะก็จะมาเป็นฐานแก่วิปัสสนา อันนี้กระบวนการปฏิบัติฝึกให้เกิดสมาธิ นี่ก็คือฝึกจิต ฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ต่อมาก็นิยมเรียก กระบวนการปฏิบัติทั้งหมดที่ว่าสมถะ ระบบกระบวนการปฏิบัติทำให้เกิดสมาธิ เรียกว่าสมถะ ต่อมาก็เติมภาวนาเข้าไป ก็เป็นสมถะภาวนา แต่ว่าถึงอย่างไร ในอรรถกถาเองก็ไม่นิยมใช้บ่อยสมถภาวนาใช้ไม่กี่ครั้ง นี้ก็อีกคำหนึ่ง ก็สมาธิภาวนา สมาธิภาวนาก็เป็นคำที่มีมาแต่เดิมในพระไตรปิฏก ก็แปลว่าเจริญสมาธิหรือทำสมาธิให้เกิดให้มีขึ้นมา ให้เพิ่มขึ้น ให้งอกงามขึ้น อันนี้ก็ไม่ได้ใช้มากมายอะไรเหมือนกัน ใช้ในพระไตรปิฎกแต่ว่าไม่ได้ใช้บ่อยมากมาย มันก็เป็นศัพท์ธรรมดา ก็แปลว่าทำสมาธิให้เกิดให้มี ทีนี้อีกคำหนึ่ง จิตตภาวนาก็เป็นการพัฒนาจิตใจนั่นเอง คำนี้จะเป็นคำที่ค่อนข้างเป็นหลักวิชามากกว่า ก็เป็นคำที่กว้าง การทำให้เจริญงอกงามซึ่งมีความหมายความกว้าง ตัวประธานในการที่ทำให้จิตเจริญงอกงาม ก็คือสมาธินี่แหละ ฉะนั้นก็อาจจะใช้พูดกันแทนกันในความหมายกว้าง ๆ ได้ บางทีก็พูดว่า จิตภาวนา ก็จะพูดเน้นไปที่ตัวหลักตัวประธาน ก็ใช้สมาธิภาวนา ทีนี้จะใช้ศัพท์ที่แทนสมาธิ ว่าสมถะ ก็เป็นสมถภาวนา นั้นก็เลยถือหลวม ๆ ว่าใช้แทนกันได้ อันนี้จิตภาวนานี้ก็จะเป็นคำที่เข้าชุดกันกับคำว่าปัญญาภาวนาใช่ไหม ปัญญาภาวนาก็คู่กับจิตตภาวนา ถ้าขยายลงข้างล่าง ก็เป็นศิลภาวนา กายภาวนาที่พูดเมื่อคืนนี้แล้ว ก็ครบชุด อันนี้ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับศัพท์เป็นความนิยมด้วยแล้วก็มีความหมายพ่วงมาด้วย เอามาเป็นเพียงเกร็ดความรู้ประกอบ ก็ไม่ต้องไปติดใจอะไรมากในเรื่องนี้ ก็คิดว่าพอสมควร