แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ก็มาคุยกันต่อก็คุยกันไปเรื่อยๆ วันนั้นมีบางท่านถามถึงเรื่อง อภิธรรม เอแล้วมีบางท่านสนใจจริงจังรึเปล่าเรื่องอภิธรรม
มีใครสนใจมั้ยฮะ ออ...ท่านสนใจเรอะ หรือเรียนมาบ้างแล้ว
พระนวกะ: ได้เคยฟังรายการพุทธศาสนาทางวิทยุ ท่านได้พูดถึงศัพท์อภิธรรมหลายคำ บางครั้งฟังแล้วก็ไม่เข้าใจแต่ก็รู้สึกสนใจเพื่อจะได้เข้าใจเรื่องนั้นมากยิ่งขึ้น คิดว่าถ้านำมาประกอบกับพระสูตรต่างๆที่เราได้ฟังก็น่าจะมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นนะครับ
ตอบ ก็เป็นประโยชน์ก็เป็นประโยชน์ไม่ใช่น้อยแหละ แต่นี่ถ้าหากว่าจะเรียนเนี่ยควรจะมีวิธีเรียน อภิธรรมก็อย่างที่ท่าน
ทราบที่ท่านพูดถึงว่า ในขั้นพื้นฐานก็เป็นส่วนหนึ่งหรือองค์ประกอบสำคัญในพระไตรปิฎก ที่ว่าพระไตรปิฎกคือ 3 ปิฎกพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธัมมปิฎก ทีนี่เวลาเราจะเรียนอภิธรรมเนี่ย เราก็ควรจะทราบเรื่องพระไตรปิฎกก่อน อย่างน้อยให้เห็นเค้าโครงรูปร่างของพระไตรปิฎกเรียกว่ามองพระไตรปิฎกก็เห็นภาพเลยว่าเป็นยังไงขั้นต้นและต่อไปก็ให้เห็นว่า อาแล้วในส่วนอภิธรรมเราก็ไปเจาะอีกที แยกพระอภิธรรมรุ่นพระไตรปิฎกเป็นยังไง และก็ความเป็นมาหลังจากพระไตรปิฎก ละก็มาดูว่าอภิธรรมที่เรียนกันอยู่นี่คือยังไง อภิธรรมที่เรียนกันอยู่เนี่ยตามปกติก็จะเป็นอภิธรรมรุ่นหลังพระไตรปิฎก ทีนี้ถ้าเราไม่ได้รู้จักพระไตรปิฎกไว้ก่อน อยู่ดีไปเรียนก็ไม่รู้ว่าทีเราเรียนเนี่ยเป็นคัมภีร์
ที่ท่านเรียบเรียงขึ้นมาเพื่อให้สะดวกแก่ผู้ศึกษา แต่ที่จริงไม่ใช่อยู่ในพระไตรปิฎก โดยมากคัมภีร์ที่ใช้เป็นหลักในการศึกษาอภิธรรมทั่วไป ก็คือคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ เวลาสวดพระอภิธรรมเนี่ยตามวัดซึ่งเป็นประเพณีมาในงานก็เป็นกุศลอุทิศ
แก่ผู้ล่วงลับ ก็เรียกกันว่าสวดพระอภิธรรม ก็มักจะมี 2 แบบ แบบหนึ่งก็คือสวดพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ อภิธรรม 7 คัมภีร์นั่นแหละเป็นหัวข้ออภิธรรมในพระไตรปิฎกยกเอามาเฉพาะหัวข้อ คือว่ามันมี 2 แบบ แบบหนึ่งเค้าเรียกว่า มาติกา เคยได้ยินมั้ย
สวดมาติกา มาติกา ก็แปลว่าแม่บท นั่นคือหัวข้อ หัวข้อที่เป็นตัวบทสำคัญสำหรับท่านไปแจกรูปอธิบายอีกทีนึง เนี่ยมาติกาเป็นหัวข้อ คัมภีร์อภิธรรมนี่พอเริ่มต้นก็ขึ้นมาติกาก่อน เพราะมาติกานี่แหละเป็นแม่บทที่จะนำไปแยกแยะแจกแจงอธิบายอีกทีนึง ทีนี้มาติกานี่ก็จะเป็นตัวหัวข้อซึ่งอยู่ต้นคัมภีร์อภิธรรมปิฎก ไม่รู้จะไปใส่ที่ไหนก็ใส่ที่เล่มแรกนั่นแหละคือนำเล่มแรกเพราะมันคือหัวข้อของทั้งหมด ก็ใส่ในเล่มแรกต้นเล่มแต่ที่จริงมันยังไม่ได้อยู่ในเล่มแรกด้วยซ้ำนะ ก็ไม่มีที่จะไว้ก็ไปไว้ที่เล่มแรกขึ้นต้นก่อน พอจบมาติกาแล้วจึงเข้าเล่มแรกแล้วทีนี้ก็ไปอภิธรรมทีละเล่ม ก็มี 7 คัมภีร์ 7คัมภีร์ไม่ใช่ 7 เล่มนะ 7 คัมภีร์แต่ละคัมภีร์มีเล็กบ้างใหญ่บ้าง บางคัมภีร์ก็มีหลายเล่มรวมแล้วก็ 12 เล่ม เยอะอภิธรรมปิฎก ในพระไตรปิฎกบาลีมี 12 เล่มแต่มาจัดเป็น7 คัมภีร์ นี้เวลาสวดอภิธรรม7 คัมภีร์ก็สวดแบบทำนองที่เราสวดกันนะ วันพุธ วันพุธก็จะสวดอภิธรรม7 คัมภีร์ ก็สวดไปตามลำดับท่านจะสังเกตเห็นชัดว่าขึ้นทีละคัมภีร์ๆ คัมภีร์แรกก็ขึ้น กุสะลา ธัมมา และก็จบละก็ขึ้น รูปักขันโธ ใช่มั้ยฮะก็คือขึ้นทีละคัมภีร์จะขึ้น7 ครั้งรวมเป็น7 คัมภีร์ เนี่ยอภิธรรมในพระไตรปิฎกอภิธรรม7 คัมภีร์
ทีนี้ตามวัดที่มีพิธีสวดกันอย่างเรียกว่าเป็นงานเป็นการ มีศพเข้าไปบำเพ็ญกุศลมากมายเหลือเกิน ก็จะมีประเพณีสวดแบบที่ว่าก็เป็นทำนองเค้าเรียกว่าสวด สังคหะ เคยได้ยินมั้ย สวดสังคหะเป็นทำนองเดี๋ยวนี้ก็ชักเหลือน้อยลงก็ต้องวัดที่มีพิธีมากๆ อย่างวัด(พระพิเรนท์)เนี่ยก็จะมีการสวดแบบนี้สวดสังคหะเป็นทำนองยืดยาวเลย เอท่านเคยไปฟังรึเปล่าไม่รู้ หลายท่านคงเคยไปฟัง (วัดพระพิเรนทร์) ใครเคยไปฟังสวดอภิธรรมบ้าง นั่นแหละและก็วัดอื่นๆก็มีเรียกว่าวัดที่ต้องมีการสวดกันจริงๆจังๆมากมายหลายศาลาเลยคืนๆนึง เนี่ยจะมีการสวดแบบสังคหะเป็นที่ทำนองเอื้อนยืดยาวเลย คล้ายๆว่าจะให้เกิดความรู้สึกถ้าท่านสวดดีไพเราะ ไพเราะในทำนองที่ให้เกิดความรู้สึกที่โน้มไปในทางเกิดความจะเรียกว่าสลดใจก็ได้ แต่ว่าที่จริงต้องให้ไปสลดใจในทางธรรมนะคือจิตใจที่มองเห็นความจริงของชีวิต โน้มไปในทางที่จะไม่อยากจะโลภไม่อยากจะไปโกรธแค้นชิงชังใครอะไรทำนองนี้จิตใจสงบลง สวดสังคหะนี่แหละคือสวดคัมภีร์ที่เรียบเรียงขึ้นหลังพุทธกาลแล้วก็มาใช้เป็นหลักในการศึกษาอภิธรรมในบัดนี้ สังคหะแบบนี้ พระอาจารย์ที่เรียบเรียงชื่อพระอนุรุทธาจารย์ ก็คือพระอาจารย์ชื่อว่าอนุรุทธาจารย์ แต่ไม่ใช่พระอนุรุทที่เป็นพระญาติของพระพุทธเจ้าสมัยพุทธกาลนะไม่ใช่พระอนุรุทอรหัต์องค์นั้น แต่เป็นอนุรุทตามพุทธกาลนานเน ในราว พ.ศสัก 1600หรือ1700 ไกลมาก ในราวพ.ศ 1600หรือ1700 พระอนุรุท
หรืออนุรุทธาจารย์ ท่านก็เรียบเรียงคัมภีร์ที่ชื่อคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนี้ขึ้น อภิธัมมัตถสังคหะแปลง่ายๆก็มาจากคำว่า อภิธรรมะ + กับคำว่า อัตถะ ก็เป็น อภิธัมมัตถ และก็เติมสังคหะเข้าไป สังคหะนี่ก็แปลว่าประมวลหรือรวบรวม สังคหะประมวลรวบรวมที่ไทยเรามาใช้สังเคราะห์ ประมวลและรวบรวม และก็อภิธรรมะ-อัตถะ อัตถะก็แปลว่าเนื้อความ และก็อัตถะของอภิธรรมนั่นเอง ก็ประมวลเนื้อความของอภิธรรม ก็หมายความว่าท่านเป็นผู้ชำนาญในอภิธรรมปิฎก ท่านก็รู้ว่าในอภิธรรมปิฎกที่มีมากมายถึง 12 เล่มนั้น สาระสำคัญว่าไงบ้างท่านก็มาตั้งโครงเรื่องขึ้นอย่างที่เราเรียกปัจจุบันว่าเป็น outline ไรเนี่ย และท่านก็มาเก็บเอาความสาระในพระไตรปิฎกนั่นมาจัดเข้าใน outline นี้เพื่อจะให้จำง่ายท่านก็ผูกเป็นคาถาท่องแล้วจำง่าย คาถาก็เลยเหมาะสำหรับสวดที่ว่าเอามาสวดงานศพ สวดสังคหะก็เอาคาถาเนี่ยมาสวดก็ไม่มากเท่าไหร่สัก 40 หน้าได้มั้งทั้งหมดคัมภีร์เนี่ยเพราะว่าเหมือนกับประมวลเอาสาระจริงๆก็เท่านั้นเอง และคัมภีร์นี้ก็มาเป็นหลักในการศึกษาอภิธรรมในปัจจุบัน
ทีนี้อภิธัมมัตถสังคหะก็จะมีคัมภีร์รุ่นหลังจากนั้นมา พระอาจารย์รุ่นหลังเมื่อใช้หนังสือเล่มนี้มาเป็นหลักในการศึกษาพระอภิธรรมก็ต้องมาอธิบายให้ลูกศิษย์ฟัง อาจารย์ที่ชำนาญก็เลยแต่งคัมภีร์ขึ้นมาอธิบายอภิธัมมัตถสังคหะอีกชั้นนึง เกิดเป็นคัมภีร์ต่างๆอีกหลายคัมภีร์เลย คัมภีร์หนึ่งที่มีชื่อเสียงก็มาใช้เป็นตำราเรียนของประโยค 9 ปัจจุบัน ประโยค 9 ปัจจุบันก็คือเรียนคัมภีร์ที่อธิบายอภิธัมมัตถสังคหะเล่มนี้ คัมภีร์ที่ใช้เรียนนี้ชื่อว่า อภิธัมมัตถวิภาวินี วิภาวินีก็แปลว่าทำให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง คัมภีร์ที่ทำอะไรให้ชัดเจนแจ่มแจ้งก็อภิธัมมัตถที่บอกเมื่อกี้
คัมภีร์ที่ทำเนื้อความของอภิธรรมให้จะแจ้งก็เรียกว่า อภิธัมมัตถวิภาวินี ก็สักแต่ว่าเป็นชื่อนั่นแหละสาระสำคัญก็คือไปอธิบายคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ อันนี้ก็จะยาวหน่อยอาจจะสัก 270 หน้าอะไรแถวนั้นก็เอามาเรียนประโยค9 นี่แหละ ประโยค 9เรียนก็เรียนเล่มนี้ นี่ท่านจะได้รู้จักนี้ถ้าเราจะเริ่มเรียนอภิธรรมเราเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ให้มองเห็นรูปร่างและ ??? ทั่วก่อนและเวลาเรียนอภิธรรมเราก็จะชัดขึ้น ไม่ใช่อยู่ๆก็พุ่งเข้าไปที่อภิธรรมเลยบางทีก็เราก็เหมือนกับลงน้ำโจนผลุงลงไปไม่ได้ดูสภาพแวดล้อมว่าฝั่งขวาอะไรมันเป็นอะไรยังไงอยู่ในถิ่นไหนโจนลงไปแล้วดำน้ำไปเลย และนี้ก็เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ในการที่จะทำความเข้าใจก็เอามาใช้เนี่ยก็เพราะว่าเป็นคัมภีร์สำคัญ
ก็ถือเป็นหลักแล้วเอามากำหนดเป็นแบบเรียนใน หลักสูตรปริยัติธรรม ที่เราเรียกกันว่า เปรียญ เป็นมหาประโยคโน้นประโยคนี้กันไปก็เอามาจากเนี่ยเลือกเอามา ถ้าบางท่านอาจจะสนใจเรียนบาลีต่อไปก็ต้องรู้ว่าในชั้นไหนเอาคัมภีร์ไหนมาเรียน อย่างประโยค9 ก็จะใช้อภิธัมมัตถวิภาวินี อธิบายอภิธัมมัตถสังคหะ ก็เน้นไปทางอภิธรรมเพราะว่าก็เป็นเนื้อหาหลักวิชาก็ยากหน่อย นี่พอมาประโยค 8 ก็คัมภีร์ใหญ่ขึ้น ประโยค 8 ก็คัมภีร์ใหญ่กว่าชื่อว่า วิสุทธิมรรค เคยได้ยินมั้ย ท่านจำแม่นเลยแสดงว่าสนใจมานานละ วิสุทธิมรรคนี่ก็มี 3 เล่มจบเป็นคัมภีร์ที่ใหญ่มาก พระอาจารย์ผู้เรียบเรียงชื่อว่า
พระพุทธโฆษาจารย์ ที่ถือกันว่าเป็นผู้เรียบเรียงอรรถกถาแทบทั้งหมด ไม่ใช่ทั้งหมดแต่ที่จริงก็ไม่ใช่เรียบเรียงทั้งหมดหรอกคือแปล แปลจากภาษาสิงหลที่เค้าสืบกันมาในลังกา พระพุทธโฆษาจารย์ท่านมาจากอินเดียตอนนั้นอินเดียพระพุทธศาสนาเสื่อมแล้วมาเจริญที่ลังกา กลายเป็นว่าต้องมาสืบพระพุทธศาสนาที่ลังกาเพราะอินเดียตอนนั้น ท่านพระพุทธโฆษาจารย์นี่ก็อยู่ที่อินเดียพระพุทธศาสนาเจริญในลังกาท่านก็มาหาแหล่งความรู้ที่ลังกา ลังกาก็รักษาพระไตรปิฎกไว้และก็มีการศึกษาคัมภีร์ที่อธิบายพระไตรปิฎกที่เรียกว่าอรรถกถา อรรถกถาก็สืบกันมาเป็นภาษาสิงหลคือภาษาของเกาะลังกาอีกที
ท่านต้องเข้าใจไว้นะว่าตัวพระไตรปิฎกเนี่ยรักษาเป็นภาษาบาลี เพราะอะไร เพราะว่าเราต้องการรักษาของเดิม คือหลักการก็คือจะต้องรักษาพุทธพจน์คำตรัสของพระพุทธเจ้าเอาไว้ให้แม่นยำที่สุดคงเดิมที่สุด นี่ภาษาเดิมยังไงก็ต้องรักษายังงั้นใช่มั้ย เพราะแปลแล้วมันก็ต้องเพี้ยนแหละ แปลละเดี๋ยวต่อไปก็สืบไม่ได้ละตัวนี้แปลจากคำอะไรก็เถียงกันนะ
คำหนึ่งๆนี่เวลาแปลไปแล้วบางคนก็แปลไปอย่างนึงอีกคนก็แปลไปอย่างนึงใช่มั้ยเสร็จแล้วไม่รู้ว่าแปลจากคำไหนแน่ ในที่สุดเกิดมีคำแปลหลายฉบับแล้วเอามาดูกันไม่รู้ว่าไอ้ตัวคำเดิมคือคำไหน ทีนี้ก็เถียงกันสิเพราะว่าคำนี่มันมีความหมายเพี้ยนแตกต่างกันไปได้ คำเดียวกันก็แปลไปคนละอย่าง หรือคำเดียวกันในภาษาไทยนี่อ่านจะเป็นบาลีคนละคำอีกก็ได้ใช่มั้ยยุ่งไปหมดเลย เพราะฉะนั้นถึงยังไงท่านถือว่าต้องรักษาตัวคัมภีร์เดิมที่เป็นภาษาบาลีไว้ เนี่ยในสายพุทธศาสนาที่เรียกว่าเถรวาทของเราจะถือเรื่องนี้เรื่องใหญ่มากต้องรักษาคัมภีร์เดิมภาษาบาลีเอาไว้ให้ได้ ตัวพุทธพจน์เท่าที่มีมาถึงเรามีเท่าไหร่ก็เท่านั้นต้องรักษาให้อยู่ให้ได้ครบที่สุด เราไม่ได้หมายความว่าเราได้ครบนะคือพระไตรปิฎกที่มีมาถึงเราก็มีเท่าที่รักษากันมาได้ แต่ว่าอย่าให้มันหายไปอีก นี้ก็รักษาเป็นภาษาบาลีแต่ทีนี้เวลาเรียนเนี่ยคนเป็นชาติไหนภาษาไหนเค้าก็เรียนด้วยภาษาของเค้าใช่มั้ย อันนี้ละครับก็เลยมีคำอธิบายของพระอาจารย์ คำอธิบายนี้ก็สืบมาในภาษาของผู้เรียน
เมื่อเค้าเจริญในลังกาเค้าก็ใช้ภาษาสิงหล เพราะนั้นคัมภีร์อธิบายที่เรียกว่าอรรถกถาก็เลยสืบภาษามาในภาษาสิงหล
ก็มีว่าพระไตรปิฎกเป็นบาลี อรรถกถาเป็นสิงหล นี่พระพุทธโฆษาจารย์ท่านมาจากอินเดียที่ว่าอินเดียพุทธศาสนาเสื่อมแล้ว กลายเป็นว่าต้องมาสืบพุทธศาสนาที่ลังกา อ่าวแล้วทำไงพระไตรปิฎกนะไม่เป็นไรก็เป็นบาลี ภาษาของอินเดียก็สืบมาง่ายหน่อย ทีนี้ว่าอรรถกถาเป็นสิงหล ละท่านมาจากอินเดีย แต่ทีนี้พระพุทธโฆษาจารย์ท่านเป็นนักปราชญ์ท่านก็เรียนภาษาสิงหลมาแล้วเพราะตั้งใจจะมาสืบพุทธศาสนาที่ลังกาก็ต้องเรียนสิงหลมา ท่านก็มาเลยมุ่งมาเพื่อที่จะเอาคัมภีร์
อรรกถานี่ไปให้พวกที่อินเดียด้วย ท่านก็เลยมาลังกา แล้วก็มาขออนุญาติมหาเถระที่ลังกา ขอแปลอรรถกถาสิงหลเนี่ยกลับเป็นภาษาบาลีก็เลยได้รับอนุญาต
แต่ว่าพระมหาเถระท่านต้องสอบภูมิก่อน ว่าเอ...พระพุทธโฆษาจารย์นี่ท่านมีภูมิพอมั้ยที่จะมาแปลเดี๋ยวแปลผิดๆถูกๆ
เสียหมดใช่มั้ย เอ้ายังงั้นท่านต้องแต่งคัมภีร์มาให้ดูแสดงภูมิหน่อย แต่งคัมภีร์ภาษาบาลีมาให้ดูคัมภีร์นี้จะต้องเป็นภาษาบาลีเพื่อแสดงภูมิภาษาบาลี สองก็แสดงหลักการพระพุทธศาสนาด้วย แสดงไม่ใช่แค่รู้ภาษาต้องรู้หลักธรรมด้วยเชี่ยวชาญยังไง
พระพุทธโฆษาจารย์ท่านก็วางโครงเรื่องของท่านขึ้นมาแล้วก็เรียบเรียงคัมภีร์ที่เรียกว่า วิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคก็แปลว่าทางแห่งความบริสุทธิ์ ท่านก็แต่งจนกระทั่งจบแล้วพระมหาเถระเห็นก็ว่า โอ้...องค์นี้ใช้ได้ก็เลยอนุญาตให้แปลนี่แหละคัมภีร์วิสุทธิมรรค เค้าโครงเรื่องก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ไตรสิกขานั่นเอง ก็ยกพุทธพจน์ขึ้นมาคาถาหนึ่งที่มีศีลสมาธิปัญญาคาถาเดียวนี่ตั้งไว้เป็นกระทู้ละยังกับสอบพระธรรม คาถานี่ที่มีศีลสมาธิปัญญาแค่นี่ละครับก็เรียบเรียงไปได้แล้วราว 1000 หน้าก็ไม่ถึงดีแถวๆนั้นละยาวอยู่เยอะ ก็แล้วแต่จะพิมพ์เป็นเล่มแบบไหน นี่แหละท่านก็ต้องเก่งจริงๆ ก็เลยวิสุทธิมรรคนี่
ก็ถือเป็นคัมภีร์สำคัญคล้ายๆว่าได้รวมหลักการของพระพุทธศาสนามาไว้ในเล่มนี้ ที่นี้ส่วนที่ท่านไปแปลอรรถกถาก็เป็นส่วนของคำอธิบายพระไตรปิฎกไปตามลำดับ แต่นี้สำหรับวิสุทธิมรรคนี่เป็นเรื่องของการที่ท่านประมวลหลักการพุทธศาสนามาเรียบเรียงไว้ ก็เลยเอามาเป็นแบบแผนในการเล่าเรียนอีกในประเพณีการศึกษาพุทธศาสนาสืบมาจากลังกา
ไทยเราก็สืบจากลังกาด้วยก็ถือคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นแบบแผนสำคัญ จนกระทั่งแทบจะกลายเป็นว่าเราเอาวิสุทธิมรรคเนี่ยเป็นตัวแกนความรู้ของพระพุทธศาสนาไปเลย แทบจะอ้างอิงวิสุทธิมรรคเป็นหลักจนกระทั่งบางยุคบางสมัยนี่วิสุทธิมรรคแทบจะบังพระไตรปิฎกเลย คือหมายความว่าอะไรๆก็เอาวิสุทธิมรรคเป็นหลัก ที่จริงมันต้องเอาวิสุทธิมรรคมาเป็นสื่อละก็เข้ามาถึงพระไตรปิฎกอีกที แต่นี่เพราะการที่ว่าอาจจะสะดวก วิสุทธิมรรคท่านก็โยงไว้ให้ดีแล้วชัดเจนก็อ้างวิสุทธิมรรค
ก็พอหยุดเลย แทนที่จะต่อไปเข้าพระไตรปิฎกไม่ไป ต่อมาก็เลยกลายเป็นว่าการเรียนพุทธศาสนาเนี่ยก็มายึดวิสุทธิมรรค การยึดก็ได้ประโยชน์ในแง่การศึกษาแบบแผนเดียวกันนั้นเมื่อหลักการชัดก็ดี แต่นี้ในเวลาเดียวกันพร้อมกันก็จำกัดขอบเขตทำให้ความรู้ที่มีในพระไตรปิฎกนอกเหนือไปจากนั้นบางทีก็เลยไม่ได้ใส่ใจ คัมภีร์วิสุทธิมรรคนี่ท่านเรียบเรียงขึ้นท่านเน้น ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วก็ท่านก็เน้นความรู้สำหรับพระสงฆ์ พระสงฆ์จะได้นำไปเป็นข้องปฏิบัติอะไรต่างๆทำนองนี้ นั้นโดยเนื้อแท้เองก็เป็นเรื่องที่เน้นคำสอนสำหรับพระ ทีนี้พระไตรปิฎกจะมีคำสอนที่กว้างมากอย่างในพระสูตรเนี่ยมีเรื่องคำสอนสำหรับคนที่อยู่ในโลกทั่วไปพวกคฤหัสถ์ การงานอาชีพทั้งหลายมีทั่วไปหมด นี่ก็เป็นเหตุให้คำสอนสำหรับคฤหัสถ์อะไรต่างๆเนี่ยมันก็เลือนรางลงไป จนกระทั่งว่าพวกฝรั่งมาศึกษาก็หาว่าพุทธศาสนาสายเถรวาทลังกาไทยเนี่ยเป็นพวกที่เน้นเรื่องของพุทธศาสนาแบบวัดๆ เค้าว่ายังงั้นนะ คล้ายๆเป็นอะไรเป็น monastic buddhism เป็นพุทธศาสนาแบบวัดๆเกิดภาพอันนี้ขึ้นมาแล้วเราก็ต้องเอามาเตือนตัวเอง แต่ความจริงก็ต้องทำความเข้าใจให้ถูก พวกนั้นก็เลยไปหาว่าพระพุทธโฆษาจารย์เนี่ยคล้ายๆว่าเอาพระพุทธโฆษาจารย์เป็นหลัก แล้วพระพุทธโฆษาจารย์นี่ก็คือผู้ที่มองพระพุทธศาสนาแต่ในแง่ของคำสอนสำหรับพระสงฆ์ในวัดเท่านั้นกลายเป็นยังงั้นไป ที่จริงมันน่าจะมองกว้าง การมองกว้างก็คือให้รู้ว่าสำหรับคัมภีร์นี้ท่านมีภูมิหลังที่เรื่องจะแต่งขึ้นมาด้วยเหตุผลนี้เพื่อการใช้สำหรับพระ ละอาจจะมองกว้างออกไปอีกว่า พระสมัยนั้นก็รู้กันอยู่แล้วคำสอนทั่วไปที่ง่ายๆสำหรับคฤหัสถ์ คำสอนสำหรับคฤหัสถ์ก็ง่ายเช่นเราเรียกว่า สิขาบท 5 หรือศีล 5 และก็คำสอนอื่นๆเยอะแยะ ทิศ 6 หรือว่ารวมอยู่ในหลักในพระสูตรที่เรียกว่า (สิ ขา ลัก สูตร)
(สิ ขา ลัก สูตร) นี่จะรวมคำสอนไว้สำหรับคฤหัสถ์เยอะแยะ อรรถกถาท่านก็เอาไปอธิบายบอกว่า (สิ ขา ลัก สูตร) หรือฝรั่งเรียกว่า (สิ ขา โร วัต สูตร)
เป็นขี้วินัย วินัยของคฤหัสถ์ก็มีคำสอนหลักๆสำคัญสำหรับคฤหัสถ์บอกไว้หมด เรื่องศีล 5 ก็มีรวมอยู่ในนั้นในรูปที่กระจายออกไป แล้วก็มีเรื่องการคบมิตร เรื่องทิศ6 เรื่องจัดสรรทรัพย์ใช้สอยอะไรต่างๆ เนี่ยการครองชีวิตของคฤหัสถ์ ก็ถือว่าเป็นวินัยของคฤหัสถ์ ก็หมายความว่าในยุคนั้นเค้ารู้กันดีอยู่แล้ว แต่นี้ว่าในคำสอนที่ยากคือข้อปฏิบัติที่สูงขึ้นไปในการที่จะมาเอาเข้ากรรมฐานอะไรต่อไรพวกนี้เป็นต้นนะ ซึ่งลึกซึ้งนี่อันนี้มันยากด้วยและพระเนี่ยเป็นผู้ที่จะต้องเอาจริงเอาจัง
พระพุทธโฆษาจารย์ท่านก็มาเน้นทำตำรานี้ขึ้นมา นี่ฝรั่งก็มองเป็นว่า 1. สำหรับพระพุทธศาสนาที่สืบมาจนปัจจุบันนี่
แบบนี้ตามแนววิสุทธิมรรค ยึดหลักวิสุทธิมรรค ก็เป็น monastic buddhism
2. ก็ไปมองว่าพระพุทธโฆษาจารย์ผู้เรียบเรียงพร้อมทั้งพระในยุคนั้นนะสายเถรวาททั้งหมดนะเป็นพระที่เอาแต่เรื่องวัด ไม่มองเรื่องชีวิติของคฤหัสถ์ ไม่ค่อยเห็นแก่ชาวบ้านว่าจะไปช่วยเค้า สงเคราะห์เค้าสอนเค้าอย่างไรกลายเป็นยังงั้นไปอีก มันก็มองได้สองอย่างคือว่า ฝ่ายพระนี่มีคำสอนแคบหรือฝรั้งมองแคบเอง แล้วท่านว่ายังไงละท่านว่าพระแคบเองหรือฝรั่งมองแคบ ว่าไงครับ ฝรั่งมองแคบหรอก็อย่างที่ว่าคือถ้าเรามองในบรรยากาศแบบ ชีวิตของพระเนี่ยต้องสัมผัสกับคฤหัสถ์ไม่มีทางเลี่ยง แล้วพระท่านสอนท่านพูดกับชาวบ้านประจำวันท่านเทศน์อยู่แล้วใช่มั้ย ท่านก็สอนชาดกมั่งเอาคำสอนทิศ 6 มั่งอะไรต่ออะไรก็พูดกันอยู่ประจำวันรู้กันง่ายๆแล้วเนี่ยก็เป็นเรื่องสามัญ ทีนี้เรื่องที่เป็นตำราท่านก็ต้องเขียนเรื่องที่มันลึกมันยากใช่มั้ย ท่านก็มาเขียนจุดนั้น นี้ก็กลายเป็นว่าต้องมองแยกว่าชีวิตที่แท้บรรยากาศของวัดนะมันกว้างกว่านั้นไม่ได้อยู่แค่ตำราเล่มนี้แต่ว่ามันก็ต้องมองเตือนตัวเองด้วยเพื่อไม่ประมาท ก็กลายเป็นว่าพระยุคหลังเนี่ยบางทีก็เลยเวลาศึกษาพุทธศาสนาก็เป็นไปอย่างที่ฝรั่งว่าเหมือนกัน ก็มัวมามองเอาแต่คัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นต้นที่สอนในเรื่องเนี่ยหลักพุทธศาสนาจำเพาะที่มันยากมันลึกมันสำหรับพระปฏิบัติสำหรับวัดอะไรเนี่ย ก็เลยมายึดอยู่อันนี้ก็เลยลืมคำสอนที่มันกว้างสำหรับญาติโยมคฤหัสถ์ในชีวิตทั่วไปด้วย คือเราก็มองว่าที่เค้าว่าก็ดีคือเราต้องเอาประโยชน์ให้หมดละ ใครจะด่าจะว่าเราก็เอามาเตือนตัวไม่ให้ประมาทนะเค้าอาจจะว่าผิดก็ได้แต่เราก็อธิบายว่ามันอาจจะเป็นงี้ก็ได้ แต่เค้าว่ามันก็ดีจะได้ไม่ประมาท อันนี้ผมก็เลยคุยไปเรื่อยๆก็จะได้เห็นภาพความเป็นมาพุทธศาสนาสภาพแวดล้อมทั่วไป เนี่ยและคัมภีร์วิสุทธิมรรคเพราะเหตุที่ว่าเป็นการรวบรวมหลักการที่ทำได้ดีท่านก็เลยมาใช้เป็นแบบเรียนพุทธศาสนา แต่เดิมมาก็ใช้เป็นแบบอยู่แล้วทีนี้พอมาจัดเป็นระบบการศึกษามีชั้นเรียน มีแบบเรียน มีหลักสูตรก็เลยมากำหนดว่าใช้คัมภีร์นั้นในชั้นนั้นในชั้นนั้น
คัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็เลยมาเรียนสำหรับประโยค 8 ประโยค 8 ก็เรียกว่าหนักแต่ว่าแม้จะเนื้อหาเยอะแต่ว่าไม่ได้ยากเท่าคัมภีร์ของประโยค 9 ประโยค 9นั่นเป็นตัวอธิบายอภิธรรมที่เป็นหลักวิชาก็ใช้ศัพท์ยากๆมาก นี่มันก็จะเป็นเรื่องของทางระดับปัญญาแท้ๆ แต่ว่าวิสุทธิมรรคอย่างที่ผมบอกที่มีทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา และศัพท์ในระดับศีลนี่เป็นศัพท์ที่ค่อนข้างง่ายกว่า เพราะนั้นก็เลยกลายเป็นว่าวิสุทธิมรรคก็รวมแล้วก็ง่ายกว่าคัมภีร์ประโยค9 ก็เอามาใช้ในประโยค8 ประโยค8 ก็เรียนวิสุทธิมรรค แล้วประโยค9 ทำไงรู้มั้ยก็ไม่ได้ทิ้งวิสุทธิมรรค ประโยค9ก็มาแปลวิสุทธิมรรคกลับมาเป็นภาษาบาลี คือวิธีเรียนของพระจะทำยังงี้นะเค้ามีวิชาแปล บาลีเป็นไทย หรือ แปลมคธเป็นไทย แล้วก็แปลไทยเป็นมคธ หรือ แปลไทยเป็นบาลี ก็มีวิชาหลักเป็นคู่อยู่แค่นี้แล้วก็วิชาอื่นก็อาจจะเติมเข้ามาในบางชั้น แต่วิชาที่เป็นแกนก็มีสองอันนี้
นี้ประโยค 9 ก็แปลอภิธัมมัตถวิภาวินี ที่อธิบาย อภิธัมมัตถสังคหะ ที่ว่าเมื่อกี้ก็แปลจากบาลีเป็นไทย ผู้ออกข้อสอบก็แล้วแต่ว่าปีนี้จะคัดเอาตรงไหนมาออกตัดเอาตรงนี้มาตัดหน้านั้นมา องค์ที่สอบก็บางทีสอบก็สิปปียังไม่ได้สักที ปีนี้ก็ไม่ได้ดูละพอใกล้สอบก็เอาธูปมาปักเข้าไปลงตรงไหนก็ดูตรงนั้น อย่างนี้เค้าเรียกว่าเสี่ยงทายหรืออะไร ว่าอาจจะออกตรงนี้
ละก็ดูตรงนี้ละพอละอันนี้ชีวิตพระ บางองค์หลายองค์พอสอบกันมาบางองค์สอบมาสิปปีละนะประโยค9 ไม่ได้ เดี๋ยวนี้สอบกันได้ปีนึงเดี๋ยวนี้ตั้ง 30 40 ต่างจากสมัยก่อนมากสมัยก่อนปีนึงสอบแล้วไม่ได้สักองค์หนึ่ง ท่านบอกเอ้าเดี๋ยวจะไม่มีซะเลยไปขาทางให้ได้สักองค์ละก็ประกาศมาได้องค์นึง บางปีก็ได้ 2 องค์ บางปีก็ได้ 3 องค์อะไรอย่างนี้นะ ยากมากสอบประโยค9 ได้น้อยเดี่ยวนี้ได้กันเป็น30 40 ก็เปลี่ยนไปเลยแปลกเหมือนกัน อันนี้ก็สภาพการณ์เหตุการณ์ที่มันเปลี่ยนแปลงไปในการศึกษาภาษาบาลี อ่าวเมื่อกี้ผมพูดอะไรอยู่ นี่ก็พูดถึงอะไรเมื่อกี้
อ่อวิชาที่เรียนที่สอบก็วิชาแปลบาลีเป็นไทยและไทยเป็นบาลี ทีนี้ประโยค 9 ก็แปลอภิธัมมัตถวิภาวินี ที่อธิบาย อภิธัมมัตถสังคหะ แปลบาลีนั้นเป็นไทย ทีนี้แปลไทยเป็นบาลีเพราะถ้าเรียนวิสุทธิมรรคมาแล้วประโยค 8 ตอนนี้เอาภาษาไทยที่แปลวิสุทธิมรรคไปแล้วเนี่ยเอามาให้ท่านแปลกลับเป็นบาลีจะแปลได้มั้ย ก็เลยเอาวิสุทธิมรรคเนี่ยที่เป็นคำแปลไทยเนี่ยมาให้แปลกลับเป็นบาลี เค้าเรียกว่าวิชากลับ วิชากลับก็คือแปลไทยกลับเป็นบาลี เพราะงั้นประโยค 9 ก็เอาวิสุทธิมรรคที่เป็นแปลไทยเนี่ยให้แปลกลับเป็นภาษาบาลีถูกมั้ยฮะ ก็แบบเดียวกันก็ย้อนไปอย่างนี้ประโยคต้นๆก็ไปเอาคัมภีร์ของประโยคแรกๆมาแปลกลับแล้วตัวเองก้าวไปในบาลีก็ประโยคสูงขึ้น นี่ผมย้อนแทนที่จะพูดจากประโยคต้นๆมา ไปพูดจากประโยคสูงสุดย้อนมา แต่ท่านก็เห็นภาพละเนี่ย ประโยค 9 ต้องคุ้นทั้งอภิธัมมัตถวิภาวินี และ อภิธัมมัตถสังคหะ โดยเฉพาะตัวคัมภีร์ที่เรียนอภิธัมมัตถวิภาวินี ก็เป็นอย่างนี้ละ อันนี้ก็ยกตัวอย่างก็พอไม่ต้องอธิบายตลอดหลักสูตร
ท่าน....??? จะถามอะไรรึเปล่า นิมนต์ พระนวกะถาม แล้วคัมภีร์พุทธรรมนี้มีการบรรจุในหลักสูตรอะไรบ้างหรือยังครับ
ตอบ ผมเขียนก็แล้วแต่ว่าใครจะเอาไปใช้ แต่ได้ทราบว่ามหาจุฬาก็เอาไปใช้เรียน และก็ได้ตกลงไว้ว่าสำหรับหนังสือนี้ที่เป็นหนังสือหลักๆนี้ไม่อนุญาติให้ใครที่อื่นพิมพ์ขายนอกจากมหาจุฬาฯ มหาจุฬาฯท่านก็ได้พิมพ์มา หนึ่ง ก็เป็นแหล่งเผยแพร่ด้วย สอง ก็จะได้รวมทุนมาใช้ในทางการศึกษาของพระ นี่สำหรับโยมตอนหลังก็ให้ได้ในแง่ว่าอนุญาตให้พิมพ์แจกถ้าคนอื่นก็พิมพ์แจกอย่างเดียว สำหรับมหาจุฬาฯก็พิมพ์ขายได้ด้วยแต่ตอนหลังนี้มหาจุฬาฯไม่ค่อยต้องอาศัยเงินประเภทนี้ละเพราะมีงบแผ่นดิน สมัยก่อนนี้มหาจุฬาฯก็อยู่ได้ยากคืองบประมาณแผ่นดินเนี่ยแทบไม่มีเลย สมัยก่อนในสมัยที่ผมอยู่ได้จากงบประมาณแผ่นดินรู้สึกปีละ 1,500,000 บาท จะพออะไรละได้น้อยมาก คือมีหนึ่งนะศาสนสมบัติอันนี้เป็นของคณะสงฆ์ ศาสนสมบัติกลางได้ 300,000 บาทปีนึง ได้จากมูลนิธิอาเซีย 300,000 บาท ฝรั่งอุตสาห์เอามาให้ มูลนิธิอาเซียนี่ของอเมริกัน 300,000 และก็ต่อมาครับต่อมาอีก ต่อมาจึงได้จากรัฐบาลที่ว่า1,500,000 ไรนี้ สมัยนี้เค้าให้เป็นงบประมาณแผ่นดินเต็มที่แบบว่ามีการทำระบบงบประมาณ สมัยก่อนงบประมาณแผ่นดินที่ให้ไปนั้นไม่ใช่แบบงบ ประมาณธรรมดาเป็นเงินอุดหนุนเท่านั้นเอง เป็นเงินอุดหนุนเท่านั้นเพราะฉะนั้นให้เป็นก้อนไปว่าฉันให้เงินอุดหนุนเท่านี้คุณจะใช้ยังไงไม่เกี่ยว ทีนี่ถ้าเข้าระบบงบประมาณปัจจุบันก็จะมีการทำงบว่าเราจะจ่ายในงานนี้เท่านี้ๆ แล้วก็ส่งไปสำนักงบประมาณพิจารณา อนุมัติมาก็เป็นเงินก้อนใหญ่ปีนึงก็มากมายไม่รู้กี่สิบล้านหรือเป็นหลายล้านละนะเดี๋ยวนี้มากมาย
ในตอนนั้นมหาจุฬาฯก็ไม่ค่อยจะมีเงินก็ว่าเงินที่พิมพ์พุทธรรมขายได้ไปมอบรวมเป็นทุนใช้จ่ายในการศึกษาไปไรไป
อะท่านใครจะถามอะไร นิมนต์ พระนวกะ ถาม ขออนุญาตกราบเรียนถามเกี่ยวกับอภิธรรมอีกเล็กน้อยครับ (ครับ) คือผมรู้สึกว่าตอนนี้ชาวบ้านทั่วไปจะได้ฟังสวดอภิธรรมเยอะมาก (ครับ) แต่ว่าส่วนใหญ่ก็จะไม่ได้เข้าใจความหมายอะไร
(อาก็ไม่ค่อยเข้าใจ) ก็เลยอยากจะสอบถามว่าสมมุติว่าเราไม่ทราบว่าจะสรุปเป็นเนื้อหาที่ง่ายๆ ละก็อธิบายเกี่ยวกับว่าพระสวดอภิธรรมเนี่ยเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ง่ายๆให้ชาวบ้านได้พอเข้าใจเพื่อจะดึงให้มาสนใจพุทธศาสนาอย่างนี้ ไม่ทราบว่าเนื้อหานี้มันจะยากเกินไปมั้ยครับ
ตอบ ก็มีผู้คิดนะครับ เคยมีโยมทำแต่ว่าพอทำมันก็ยังยากไปอีกแหละยากอยู่ดี เนี่ยก็เลยมีวิธีการต่างๆ อ่าวก็ง่ายๆอย่างวัดหลวงพ่อปัญญานันทะ ท่านก็เป็นผู้ริเริ่มในการที่ว่าแทนที่จะให้โยมมานั่งฟังสวดอภิธรรมทั้ง 4 จบ ก็เปลี่ยนเป็นว่าฟังอภิธรรมจบเดียวละก็ให้เป็นเวลาเทศน์ซะ นะฮะนิมนต์พระไปเทศน์พระเทศน์นี่ใช้เวลานานหน่อยละก็แทน 3 จบไปเลย
ละก็เหลือเวลาสำหรับสวดจริงๆจบเดียวพอก็เสร็จพิธี ต่อมาวัดอื่นก็เอาตามกันไปก็ต้องยกถวายวัดหลวงพ่อปัญญานันทะท่านก็มีความดำริที่ว่าจะทำไงที่จะให้เป็นประโยชน์กับประชาชน ไม่ใช่มาฟังกันไปๆไม่รู้เรื่อง บางทีก็ฟังไปคุยกันไปไม่ได้ฟังด้วยซ้ำ หนึ่ง ฟังไม่รู้เรื่อง สอง แทนที่จะฟังไปคุยกันซะด้วยซ้ำก็เลยไม่ได้ความ สมัยก่อนที่เค้าสวดเค้าก็สวดเป็นเพื่อนศพ เค้าสวดตลอดคืนมันก็เลยงอกมีการสวดอื่นเข้ามาจนกระทั่งต้องเอาคฤหัสถ์มาสวดด้วย ทีนี้การสวดก็ไม่จำกัดอภิธรรม
มีสวดพระมาลัยเคยได้ยินมั้ย อ่าวนี่ทันไม่ได้ยินเรอะ พระมาลัยสวดพระมาลัยก็นี่แหละ ไปสวรรค์ ไปนรก ไปดู ไปสัมภาษณ์ พระมาลัยท่านไปสวรรค์ท่านก็ไปสัมภาษณ์เทวดา เออ...ท่านทำอไรมาจึงมาเกิดเป็นเทวดาอย่างนี้ เทวดาก็เล่าข้าพเจ้าทำความดีทำบุญกุศลอันนั้นมาเกิดเป็นเทวดานี่แหละ นี่พอพระมาลัยท่านก็ลงนรกก็ไปสัมภาษณ์สัตว์นรกอีก
ก็เธอทำอะไรมาจึงมาลำบากลำบนรับโทษยังงี้ตกกระทะทองแดงอยู่ สัตว์นรกก็เล่าให้ฟังก็เลยเป็นเรื่องพระมาลัย ก็เลยเอาเรื่องพระมาลัยมาสวดก็สนุกหน่อยถูกมั้ยฮะนี่เป็นเรื่องเป็นราวละ อ่าวแล้วก็มีการสวดพระมาลัยทีนี้สวดพระมาลัย
มันจะให้สนุกจริงมันก็ต้องออกเสียงด้วย ตอนที่ไปสัมภาษณ์มีเรื่องของคนไปทำกรรมชั่วกรรมไม่ดี มีเรื่องของการกระโชก
โฮกฮากเรื่องของการขู่การตะคอก การทำร้ายกันพูดอะไรกันนะ พระสวดก็ชักทำเสียงละทีนี้ออกเสียงดุดันบ้างอะไรบ้างกระแทกกระทั้นทำเสียงไม่พอ ทีนี้ตาลปัตรที่ใช้สวดกระแทกอีกยกตาลปัตรแล้วมากระแทกลงไป นี่ก็สวดกันโอ้ยสนุกสนานใหญ่ชาวบ้านก็สนุกด้วยสิ ทีนี้พระสวดมันก็สนุกได้ไม่มาก ก็เลยเอาโยมมาสวดอีกโยมพวกนี้ก็ให้มันเป็นเรื่องเป็นราวดีสนุกดีใช่มั้ย ก็เอาแป้งเปิ้งมาผัดทาหน้าให้มันสมอีกให้เข้ากับเรื่องอีก อาก็ทาหน้าทาแต่งหน้ากันนะ ต่อไปแต่งหน้าแต่งตาไม่พอเอาเหล้ามากินด้วยเลยพวกสวดมาลัยคฤหัสถ์นี่กินเหล้าสวดก็มีอีก สวดไปสวดมาเนื้อเรื่องไม่รู้เรื่องละไม่รู้สวดอะไร ก็เลยกลายเป็นว่าสักแต่ว่าเป็นเพื่อนศพก็สนุกสนานไป เนี่ยประเพณีมันเพี้ยนเลยหลงลงมาถึงเราเนี่ยมันไปกันใหญ่แล้วก็ทำนงทำนองไปกันพิสดาร ต่อมาทางการต้องห้ามนะก็เลยท่านไม่ได้ยินละ ต้องประกาศห้ามเป็นประกาศของในหลวงห้ามสวดพระมาลัยแบบนี้ๆนะเป็นอาญาแผ่นดินหรือเป็นความผิดต้องลงโทษเลย
ในหลวงรัชกาลที่เท่าไหร่ครับ??? ตอบ ก็มีมาตลอดแหละอย่างสมัยรัชกาลที่หนึ่ง ก็มีกฎหมายสงฆ์ที่พระประพฤติอะไรต่างๆ ท่านก็ออกกฎหมายมาใช้จับให้ทำอย่างนั้น พวกไสยศาสตร์นี่อันนี้รัชกาลที่หนึ่งท่านห้ามมาก เนี่ยเราไม่ไปดูกฎหมายรัชกาลที่หนึ่ง ทรงระมัดระวังมากว่าว่าพระที่ไปเที่ยวทำไสยศาสตร์นี่ถือว่าทำให้พระศาสนาเสื่อม ท่านก็เอาจริงเอาจังให้จับมาลงโทษเลยพวกนั้นนะ สมัยนี้กลับย่อหย่อนสู้สมัยในหลวงรัชกาลที่หนึ่งไม่ได้ ลองไปอ่านกฎหมายสงฆ์นะ สมัยกฎหมายตราสามดวง เคยได้ยินมั้ย นี่ก็มีอยู่ในตู้นี่ก็มีกฎหมายตราสามดวง นี่ก็มีตอนนึงเป็นกฎหมายสงฆ์ อ่าวต่อมาตอนหลังๆนี่ก็มีคณะสงฆ์ก็ต้องใช้พวกคำสั่งของคณะสงฆ์ละ กฎหมายเถระสมาคม คำสั่งเถระสมาคมอะไรพวกเนี่ยขึ้นมาคอยกำกับคอยระมัดระวัง อันนั้นก็เป็นเรื่องสวดพระมาลัยเดี๋ยวนี้ก็หายากละไม่ค่อยมี แต่ว่าบางแห่งได้ทราบว่ายังมีแต่ก็ต้องสวดอยู่ในกรอบที่ว่าพอประมาณก็เป็นทำนองที่แปลกออกไปเนี่ยสวดพระมาลัย นี่ต่อมาเมื่อกรุงเทพฯเจริญขึ้นไปวัดต่างๆมีการสวดที่เป็นเรื่องของกิจการงานใช่มั้ย ไม่เหมือนสมัยก่อนสมัยก่อนมีก็งานตัวอยู่ใกล้วัดไหนก็ไปทำพิธีวัดนั้น ต่อมาก็จะมีวัดที่เป็นผู้เหมือนว่าชำนาญการในเรื่องของการจัดงานศพไปเลยเนี่ยเกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ ต่อมาก็มีวัดที่มีเมรุละเอาละสิ สมัยก่อนนี่เค้าไม่ใช้เมรุด้วยซ้ำตามต่างจังหวัดนะเค้าเผาเค้าก็มีเชิงตะกอนอะไรนั่นนะมาแล้วก็ไปวางศพเผากัน
มีคนไม่มากนี่ครับไม่ได้เผาบ่อย อยู่ใกล้วัดไหนก็พากันไปทำงานศพที่นั่นทีที่โน้นทีที่นี่ที ใครจะไปจัดเป็นกิจการได้ นี่พอกรุงเทพฯเจริญขึ้นคนคับคั่งขึ้นมา เอาละเริ่มมีวัดที่เผาศพแล้วก็ชุมชนอยู่กันมากจะเที่ยวเผาเรื่อยเปื่อยไปที่มันก็ไม่อำนวยควันก็ไปรบกวนประชาชนก็ต้องสร้างเมรุ ตอนนี้ก็เลยเริ่มมีเมรุ เมรุปัจจุบันมามีในกรุงเทพนี่แหละครับก็สร้างเมรุกันขึ้น หลวงพ่อวัดพิเรนทร์เป็นผู้ชำนาญนักในเรื่องสร้างเมรุ ถึงกับได้รับนิมนต์ไปสร้างในประเทศลาวอะไรอย่างนี้เป็นต้น
อ้อท่านชำนาญมากตามจังหวัดต่างๆนี่ท่านไปเที่ยวสร้างอาจจะแทบทั่วประเทศเลย ตอนนั้นมีวัดที่มีเมรุไม่กี่วัดหลวงพ่อวัดพิเรนทร์นี่ท่านชำนาญเหลือเกิน สร้างเมรุขึ้นมานี่ไม่ได้สร้างง่ายๆนะครับสร้างเตาเผานะเตาเผาศพ พอสร้างขึ้นมาเอาศพเผาแล้วควันไม่ขึ้นคือควันเนี่ยมันต้องขึ้นปล่องถ้าคนที่สร้างเก่งมันจะดูดขึ้นปล่องไปดีเลย ทีนี้คนสร้างไม่เป็นไม่ชำนาญ ชำนาญแต่ก่อสร้างแต่ไม่รู้วิธีการในการจัดไอ้เรื่องเมรุให้มันดูดลมขึ้นไปเนี่ย เผาศพแล้วเนี่ยมันออกเป็นควันทางประตูที่ใส่ศพเข้าไปเนี่ย ประตูที่ใส่โลงมันก็ออกมาอบอวลแล้วก็มาทำให้คนที่นั่งที่อยู่แถวนั้นเหม็น
ก็วัดพิเรนทร์เนี่ยตอนยุคหลังหลวงพ่อท่านสิ้นไปแล้วเนี่ยมีการซ่อมเมรุตอนหลังนี่เผาปรากฎว่าควันออกทางประตูที่ใส่โลงเข้าไปมาเหม็นคนที่ไปนั่งในพิธี เพราะนั้นการสร้างเมรุไม่ใช่ง่ายๆ หลวงพ่อท่านชำนาญมาก พอสร้างเมรุปั๊ปนี่ควันขึ้นปล่องอย่างดีเลย เพราะฉะนั้นท่านก็เป็นที่เลื่องลือว่ามีความเชี่ยวชาญชำนาญมาก ใครจะสร้างเมรุต้องนิมนต์เลยละนะจนกระทั่งไปถึงต่างประเทศก็นิมนต์ท่านไปช่วยสร้างให้ นี่สมัยก่อนเดี๋ยวนี้ไม่ได้ยินแล้ว ละก็สร้างเมรุกันมานี่ก็วัดที่ชำนาญในเรื่องเมรุเผาศพก็จะมีเป็นบางวัดไม่กี่วัดหรอก ทีนี้ต่อมาก็จะสวดแค่เที่ยงคืนไม่ตลอดคืนละ พอมาเป็นงานเป็นการขึ้น
ก็สวดเที่ยงคืน ต่อมาๆคนในกรุงเทพนี่ภาระธุระอะไรต่อไรมากก็เดินทางกันลำบากบางคนก็อยู่ไกล ก็เลยลดหดสั้นเข้าจากเที่ยงคืนก็เหลือสี่ทุ่มก็สวดสี่จบก็จบสี่ทุ่ม เอานะนี่ภาพสมัยก่อนสมัยผมยังอยู่วัดพิเรนทร์นี่สวดแค่สี่ทุ่ม สวดสี่ทุ่มนี่ยาวนานมากคือถือเป็นประเพณีเลยสวดศพก็สี่ทุ่มจบ แล้วต่อมาก็มีการเลี้ยงข้าวต้มแต่ก่อนไม่มีแต่ก่อนก็มีแค่เลี้ยงเครื่องดื่มโคคาโคล่า เป็ปซี่ อะไรต่อไรไปตามเรื่อง (กรีน สปอร์ต)สมัยก่อนมีเดี๋ยวนี้มีหรือเปล่า(กรีน สปอร์ต) ยังมีครับ
อ่อยังมีหรออ่อ อานั่นแหละเลี้ยงกันก็ต่อมาก็เลี้ยงข้าวต้มก็เป็นอันสี่จบก็จบสี่ทุ่ม ต่อมาชักมีเมรุเกิดขึ้นในวัดต่างๆมากขึ้นๆบางวัดก็สั้นเข้าๆเหลือสองทุ่มครึ่ง จนกระทั่งปัจจุบันได้ยินว่าบางทีก่อนสองทุ่มจบแล้ว ทีนี้เดี๋ยวนี้คนต้องการให้สั้นเพราะมีภาระธุระกันเยอะชีวิตเร่งรีบ คนสมัยก่อนเนี่ยเค้าไม่ค่อยมีชีวิตที่เร่งรีบชีวิตสบายๆไม่ต้องแข่งกับเวลามากนัก เวลาค่อนข้างเหลือเฟือ มันก็เลยเป็นวัฒนธรรมของไทยที่เราไม่ค่อยเห็นความสำคัญของเวลาผลัดเพี้ยนเวลากันเรื่อย นัดไม่เป็นนัดอะไรอย่างเนี่ย ไม่เหมือนอย่างเมืองฝรั่งแต่ตอนนี้วิถีชีวิตมันก็เข้าระบบแบบระบบแข่งขัน ถ้าเป็นแบบฝรั่งละต้องรีบต้องร้อนเวลาจำกัดไปหมด นี่ก็เป็นเรื่องของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมซึ่งไปกระทบกระเทือนต่อประเพณีวัฒนธรรมโบราณก็เลยเอามาเล่าประกอบไว้ การสวดอภิธรรมนี้วัดชำนาญเท่านั้นจึงจะสวดสังคหะ ถ้าเป็นวัดทั่วไปก็สวดอภิธรรม 7 คัมภีร์อย่างที่ว่า เพราะว่าจะง่ายหน่อยไม่ต้องไปฝึกอะไรกันมาก คนสวดสังคหะนี่ต้องฝึกกันมากครับต้องซ้อมกันสวดให้เพราะสวดให้เข้าจังหวะเป็นทำนองที่ดีอะไรต่างๆเอื้อนใช้ลูกคอเยอะ
อ่าวใครจะถามอะไรบ้างละ ผมก็เลยเล่าไปเรื่อยๆ ถือว่าเป็นรายการเกร็ดเป็นความรู้ประกอบได้เห็นภาพทั่วไปด้วย
เมื่อกี้นี้พูดเรื่องอภิธรรม ไปๆมาๆมาเรื่องนี้ อภิธรรมก็อย่างที่พูดวันก่อนนะ คือเป็นเรื่องที่ว่าด้วยเนื้อหาธรรมะล้วนๆ
โดยเจาะจงแสดงตัวสภาวะ สภาวะก็คือตัวความจริงของธรรมชาติแท้ๆที่ไม่มีการมาสมมุติบัญญัติว่าเป็นนั่นเป็นนี่
ก็เรียกว่าก็มีแต่รูปธรรม นามธรรม ไรงั้นก็พูดงั้นว่าสภาวะตามธรรมชาติอะไรคืออะไร คืออะไร เป็นอย่างไร ส่วนมากก็จะแค่คืออะไร เป็นรูป เป็นนาม เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณอะไรต่างๆละก็เป็นอย่างไร เป็นอย่างไรก็อาจจะบอกมันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาจะมีบอกบ้าง แต่ตอนทำอย่างไรอภิธรรมนี้แทบไม่เกี่ยวเลย นี่ถ้าคนไม่ได้ศึกษาพระสูตร ก็ไอ้ตอนทำอย่างไรไม่รู้จะทำอย่างไรเลย นี่พระอภิธรรมท่านบอกสภาวะนี่เข้าใจใช่มั้ย คืออะไรบอก เป็นอย่างไรบอก ทีนี่ตอนทำอย่างไรท่านไม่เกี่ยวละ ทำอย่างไรเอาไปใช้อย่างไรก็เหมือนกันก็คือทำอย่างไร ทีนี้ตอนทำอย่างไรอภิธรรมจะพูดก็เป็นเรื่องของอาจารย์ละ อาจารย์อภิธรรมที่สอนลูกศิษย์ก็อาจจะสอนลูกศิษย์ให้ปฏิบัติอย่างงั้นอย่างงี้ที่จริงไม่ใช่หรอกเป็นเรื่องของอาจารย์ อาจารย์มาพูดโดยใช้แนวพระสูตร หมายความว่าตัวเองก็ใช้แนวพระสูตร
นั่นแหละมาเอาหลักวิชาอภิธรรมไป ในพระสูตรท่านก็สอนอยู่แล้ว เช่นว่าเมื่อสิ่งทั้งหลายมันไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาเราจะทำยังไง เมื่อสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา เอาง่ายๆไม่เที่ยงเนี่ย ไม่เที่ยงท่านจะต้องไม่ประมาทอย่างี้
เป็นต้น นี่ไอ้ตอนที่บอกว่าเมื่อสิ่งทั้งหลายหรือชีวิตเราเป็นต้น อภิธรรมนี่ก็อาจไม่ได้พูดด้วยว่าคนเราไม่เที่ยง ไปพูดแต่ รูปเวทนา สัญญาใช่มั้ย คนชีวิตนี่ไม่พูด ทีนี่พอพระสูตรท่านเอามาพูดให้เห็นเรื่องจริงในชีวิตที่เราเห็นๆกันเนี่ย ว่าคนเรานะชีวิตนี่ไม่แน่นอน เป็นญาติเป็นมิตรเป็นพ่อเป็นลูกไรมันก็ต้องพลัดพรากจากกัน ในอภิธรรมมีที่ไหนพ่อลูกไม่มีหรอกใช่มั้ย ในอภิธรรมนี่พ่อลูกครอบครัวพี่น้องไม่มีทั้งนั้นไม่พูดถึง ไอ้นี่มันเป็นสมมุติบัญญัติ
งั้นพระสูตรก็มาพูดสิจะเป็นพี่น้องเป็นญาตินี่ความตายมันไม่เอาด้วยนะ มันไม่เข้าใครออกใครจะไปเรียกร้องกับมันไม่ได้ ก็ต้องเกิดแก่เจ็บตายแล้วก็ในเมื่อมันเป็นสิ่งไม่เที่ยงเราจะต้องพลัดพรากจากกันในวันใดวันหนึ่งแล้วจะทำไง ก็ต้องดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท นี่พระสูตรสอนทั้งนั้นอภิธรรมไม่มีหรอกครับ อภิธรรมจะไม่มีการสอนว่าคุณจะมีชีวิตอย่างไร
ไม่เกี่ยว พ่อแม่กะลูกจะปฏิบัติต่อกันอย่างไร สามีภรรยาอย่างไร พี่น้องอย่างไร ประกอบอาชีพอย่างไรไม่เกี่ยวทั้งนั้นอภิธรรมไม่เกี่ยว เพราะนั้นเรื่องของพระสูตรก็จะสอนหมด ก็เป็นอันว่าตอนนี้ทำอย่างไรใช่มั้ย เมื่อสภาวะเป็นอย่างนี้
เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา แล้วเราจะมีชีวิตอยู่อย่างไร
หนึ่ง ต้องไม่ประมาท นี่ก็คำสอนในพระสูตร หรือว่าให้รู้ทันความจริงว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง เมื่อความจริงเป็นอย่างงั้นจะไปมัวโศกเศร้าอยู่ทำไมนี้ก็คำสอนพระสูตรอีกแหละ นี่คือพระสูตรจะสอนบอกวิธีปฏิบัติดำเนินชีวิตให้เลย
ก็คือความรู้ในสภาวะที่แท้แบบอภิธรรมเนี่ยก็ออกสู่ภาคปฏิบัติในพระสูตร นี่พระอาจารย์จะมาสอนก็คือสอนแนวพระสูตรแม้แต่เป็นอาจารย์อภิธรรม เวลาที่สอนลูกศิษย์ให้ใช้ประโยชน์จากความรู้นี้อย่างงี้คือสอนพระสูตรนั้นเองเข้าใจมั้ย อันนี้แยกได้เลยนะอภิธรรม เพราะนั้นพระอภิธรรมก็เป็นเนื้อหาวิชาไม่มีสัตว์บุคคลไม่มีสถานที่อะไรต่างๆไม่เกี่ยวทั้งนั้น แต่พระสูตรนี่จะบอกหมด สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เชตะวันนะ หรือประทับอยู่ที่พระเวฬุวันนะ หรืออยู่ที่
เขาคิชฌกูฏนะ หรืออยู่ที่ป่ามหาวันหรืออะไรก็แล้วแต่ เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ
เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ อะไรเงี้ยพระสูตรจะบอกหมด อภิธรรมขึ้นมาไม่มีเลยเพราะฉะนั้นธรรมะอภิธรรมไม่มีสถานที่ไม่บอก พระพุทธเจ้าตรัสธรรมะนี้ที่ไหนแก่ใครไม่มีทั้งนั้น ที่เรารู้กันเนี่ยก็มาจากพระสูตร เพราะว่าพระสูตรบอกบุคคล สถานที่ เหตุการณ์ เรื่องเป็นมายังไงแล้วคำสอนภาคปฏิบัติจะใช้จะทำอะไรยังดำเนินชีวิตอย่างไร เนี่ยพระสูตรก็จะทำให้เราได้ความรู้เหล่านี้หมด อภิธรรมก็เป็นเรื่องของตัวเนื้อวิชาแท้ๆอย่างที่ว่า อ่าวหมดเวลา เข้าต่อให้มันจบตอนสักนิดหนึ่ง ที่แท้นั้นคำสอนที่เป็นแกนอภิธรรมเนี่ยมาจากพระสูตร อย่างพระสูตรสำคัญๆเนี่ยให้ไปดูอย่าง
พระสูตรเล่ม16 นี่ก็แกนของพวกปฏิจจสมุปบาท เล่ม16 นี่ปฏิจจสมุปบาทแทบทั้งเล่มเลยเรียกว่านิทานวรรค คำว่านิทานแปลว่าเหตุนะไม่ใช่นิทานเรื่องเล่าในประเทศไทย นิทานแปลว่าเหตุ นิทานวรรคก็คือเรื่องปฏิจจสมุปบาท เล่ม16 นี่แทบทั้งเล่มปฏิจจสมุปบาท มาเล่ม17 เล่ม17 ก็เรื่องขันธ์ 5 แทบทั้งเล่มเลยเรียก ขันธวารวรรค นี่เรื่องธรรมะในนั้นก็คือตัวหลักธรรมในขั้นปรมัตเนี่ยแหละ แต่ว่าเริ่มเรื่องก็จะบอกว่าครั้งนั้นพระพุทธเจ้าประทับที่นั้น แล้วก็ใครมา
แล้วพระพุทธเจ้าตรัสตอบใครหรือทรงอธิบายแก่ใคร แล้วก็ต่อไปเล่ม 18 ก็จะเรื่องอายตนะ อายตนะ 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อะไรพวกนี้นะ แล้วก็ไปเล่ม19 เล่ม19ก็จะอธิบายหลักธรรมที่พึงภาคปฏิบัติ นี่แหละภาคปฏิบัติแต่เป็นตัวเนื้อปฏิบัตินะเป็นองค์ธรรมในการปฏิบัติ ก็จะเป็นตัวเนื้ออย่างเช่นอย่างเรื่องมรรคอย่างนี้ มรรคมีองค์8 เรื่องโพชฌงค์7
เรื่องอิทธิบาท4 เรื่องสติปัฏฐาน4 สติปัฏฐาน4 ก็อยู่เล่ม19 เนี่ย รวมแล้วคือหลักธรรมที่เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม 37 ประการนะอยู่เล่ม 19 ธรรมะภาคปฏิบัติที่นำไปสู่การตรัสรู้อยู่เล่มนี้หมดเลย แล้วธรรมะในเนี่ยเล่ม 16 17 18 19 เนี่ยเข้าไปเป็นแกนหลักอภิธรรมเลยละ เพราะนั้นพื้นอภิธรรมแท้ๆอยู่ในพระสูตร เสร็จแล้วเวลาจะเอาธรรมะที่ไปเรียนอภิธรรมมาใช้ประโยชน์ก็ต้องสอนแนวพระสูตรอีกแหละ พระสูตรก็ทั้งเป็นฐานให้กับอภิธรรมแล้วก็เป็นตัวดึงเนื้ออภิธรรมมาใช้ประโยชน์ด้วย
พระนวกะถาม ไม่ทราบว่าที่มาเรียบเรียงเป็นพระอภิธรรมจริงๆ เนี่ยเรียบเรียงในสมัยไหน ยุคไหนครับ
ตอบ อะเมื่อกี้บอกแล้วไง คืออภิธรรมแยกเป็นในพระไตรปิฎก กับที่เป็นคัมภีร์อธิบายรุ่นหลังอย่างที่เรามาใช้เป็นหลักในการศึกษาปัจจุบันมักจะใช้คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะและคัมภีร์ประกอบ
ก็บอกแล้วว่าอภิธัมมัตถสังคหะนั้น พระอนุรุทธาจารย์เป็นผู้เรียบเรียงในราวพ.ศ1600หรือ1700 นักปราชญ์ก็ไม่แน่ใจนักประมาณนั้นประมาณพ.ศ1600-1700 หลังพระพุทธโฆษาจารย์ที่เรียบเรียงวิสุทธิมรรคเยอะ พระพุทธโฆษาจารย์ไป
ศรีลังกาก็แปลคัมภีร์อรรถกถาจากสิงหลเป็นภาษาบาลีหรือมคธ เรียบเรียงวิสุทธิมรรคแปลอรรถกถานั้นพ.ศช่วง 900 เศษ ก็เอาละถ้าท่านไม่มีไรสงสัยก็หยุดกันเท่านี้ก่อน