แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
หญิง ( 1 ) : ขออนุญาตค่ะว่าคือพอบอกว่าอยากจะอ่านพระไตรปิฎก ก็มีคนบอกว่า โอ้ย อ่านไม่ไหวหรอก ทีนี้ก็ เวลาพูดถึงพระไตรปิฎกเนี่ยมองภาพว่าคงจะแบ่งเป็นสามส่วนใช่มั้ยค่ะ ไตรที่ว่าเป็นสามตะกร้า อย่างคนที่ไม่เคยอ่านเนี่ยควรจะเริ่มต้นอ่านอย่างไร คงไม่ใช่อ่านตั้งแต่หน้าต้นไปจนถึงหน้าสุดท้าย จะทำยังไงให้อ่านให้ได้ผลมากที่สุด มองเหมือนกับว่า อย่างมีเท็กซ์ของแพทย์ เราจะบอกนักเรียนว่าไม่ต้องไปอ่านตั้งแต่หน้าแรกไปจนหน้าสุดท้าย ไปอ่านด้วยคำถาม แล้วก็หาคำตอบ แต่สำหรับพระไตรปิฎกซึ่งมีมากมายอย่างนี้เนี่ย ควรจะอ่านส่วนไหนดี หรือควรจะมีคำถาม แต่ถ้ามีคำถามจะเปิดพระไตรปิฎกอย่างไร ถึงจะเจอคำตอบ
เริ่มต้นก็น่าจะรู้จักโครงสร้างหรือเค้าโครงของพระไตรปิฎกก่อน ก็ให้เห็นว่า อ้อ พระไตรปิฎกนี่จัดหมวดหมู่อย่างงั้น และส่วนไหนนี่จะว่าด้วยเรื่องอะไร ถ้าเราอยากจะค้นเรื่องอย่างนี้อย่างนี้ ธรรมะในแง่นี้ ก็ควรจะไปจับที่เล่มไหน มันจะได้มีจุดมีเป้า ไม่งั้นเราก็สับสนหรือพร่าไปหมด อันนี้ก็เป็นข้อหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็คือเมื่อได้เค้าโครง มองเห็นรูปร่างการจัดหมวดจัดหมู่ทั่วไปแล้ว นี้ก็มีวิธีซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างเดียว อย่างหนึ่งก็คือว่าไปเลือกอ่านเล่มที่เห็นว่ามีธรรมะที่น่าสนใจ และก็ลักษณะของพระไตรปิฎกนี่ก็จะมีคล้ายๆกันอยู่กว้างๆ นั้นพอเริ่มที่เล่มไหนที่เราเห็นว่ามีลักษณะเข้ากับที่เราต้องการแล้ว ต่อไปก็จะไปได้ง่าย
ที่นี้สองก็ใช้วิธีที่คุณหมอว่า คือว่าเรามีเป้าหมายของเราเองอยู่ ที่จะค้นคว้า แล้วเราก็พุ่งไปสู่หัวข้อธรรมหรือเรื่องราวที่เราสนใจ เป็นแบบค้น อันนี้ก็ไม่ต้องอ่านไปเรื่อยๆหรอก เรื่องนั้นมีที่ไหนค้นหมด จะอยู่ในพระสูตร อยู่ในเล่มต้นๆ อยู่ในปลายๆ อยู่ในอภิธรรมนี่ เรียนแบบนี้ไม่ต้องไปจำกัด จากหัวข้ออะไรก็ตาม เช่น อย่างเราอาจจะพูดเรื่อง เอาแค่อย่างง่ายๆ ขันธ์ 5 เงี่ย เราก็สามารถดูในพระสูตร เช่นในพระสูตรเล่ม 17 เนี่ยเต็มไปหมดด้วยขันธ์ 5 แล้วเราก็อาจจะไปดูในอภิธรรมเล่ม 35 ซึ่งก็จะมีหมวดที่ว่าด้วยเรื่องขันธ์ 5 แล้วนอกจากนั้นก็กระจายไปทั่วหมด อย่างนี้เป็นต้น
อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เอาสิ่งที่เราต้องการค้นมาตั้ง แล้วก็ ใช้พระไตรปิฎกเป็นแหล่งหาข้อมูลคำสอน อันนี้ก็เป็นวิธีที่ก็ดีเหมือนกันแต่ว่า ผู้ค้นคว้าแบบนี้ค่อนข้างจะเป็นคนที่ก้าวไปสักหน่อยแล้ว ถ้าเริ่มต้นทีเดียวนี่อาจจะมองไม่ออก ถ้าเริ่มต้นนี้อาจจะเริ่มแบบที่ว่าคือว่าเลือกบางเล่มที่อาจจะเป็นตัวแทนของเล่มอื่นๆ หรือมีธรรมะกว้างๆให้เป็นเหมือนบทนำก่อน
คือพระไตรปิฎกนี่ไม่เหมือนหนังสืออื่นที่ว่า จะเริ่มไปตามลำดับเนื้อหา ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะว่าท่านมีวิธีจัดหมวดหมู่ของท่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่มุ่งหมายเพื่อการรักษามากกว่า เพราะว่าการรวบรวมพระไตรปิฎกนี่มุ่งเพื่อรักษาคัมภีร์ ไม่ใช่จัดเพื่อความสะดวกในการเล่าเรียน ทีนี้การที่จะรักษาให้ดีก็ ยกตัวอย่างง่ายๆ เอ้าหนึ่ง ท่านก็มาแยกเป็น คำสั่งสอนในหมวดที่เกี่ยวกับเรื่องวินัยพระสงฆ์ ใช่มั้ย ก็จัดไปปิฎกหนึ่งเลย เรียกว่าวินัยปิฎกอันนี้ก็แยกชัดออกมาเลย พระสงฆ์ก็จะเกี่ยวข้องกับส่วนนี้มาก ซึ่งญาติโยมก็ไม่ค่อยเกี่ยวข้องเท่าไหร่ แต่ก็ให้รู้ไว้เพื่อจะช่วยรักษาพระสงฆ์ด้วย
และก็ส่วนที่สอง ก็คือคำเทศนาของพระพุทธเจ้าที่ตรัสแก่บุคคลทั่วไป อันนี้เราจะเห็นวิธีจัดของท่านว่า เพราะเหตุที่คำสอนของพระพุทธเจ้านี่มากเหลือเกิน เทศนาตั้ง 45 พรรษา นี้ก็มารวมเป็นคำสอนที่จัดเป็นพระสูตรได้ถึง ส่วนที่สองเนี่ยได้ถึง 25 เล่ม ก็คิดดูว่า 25 เล่มนี่มากมายท่านจะจัดยังไง
ก็จะเห็นวิธีจัดต่างๆ ก็คือ หนึ่งท่านก็เริ่มด้วยพระสูตรที่ยาวมากๆหน่อย เอาพระสูตรที่ยาวๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งพระสูตรที่ยาวมากนี่ก็มีไม่เท่าไหร่ ก็จัดเป็นหมวดหนึ่งท่านก็เรียกว่านิกาย นิกายก็แปลว่าหมวด นี่อยู่ในพระสูตร และเสร็จแล้วก็ต่อจากพระสูตรที่ยาว ก็เป็นพระสูตรที่สั้นลงมาหน่อยอยู่ขั้นขนาดปานกลาง ก็จะจัดเป็นอีกหมวดหนึ่ง ก็กลายเป็นว่าจัดตามขนาดความยาว
นี้ต่อจากนั้นสูตรที่เหลือก็จะเป็นสูตรที่ค่อนข้างสั้นแล้ว นี้สูตรที่สั้นนี้ก็จะมีมากมายเหลือเกิน อ้าวก็จะต้องมีวิธีจัดอีก ทำไงสูตรที่สั้นที่มีมากมาย ก็วางระบบการจัดไว้ว่า เอาตัวเลขเป็นหลัก ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เนี่ยมักจะมีเป็นหมวดๆ มีตัวเลขจำนวน ซึ่งเป็นคำสอนที่เป็นลักษณะพิเศษของพุทธศาสนา คือ เป็นชุดๆเป็นหมวดๆ เช่นอย่าง ธรรมะมีอุปการะมาก 2 สติสัมปชัญญะ อะไรอะไรอย่างเงี้ย ธรรมะคุ้มครองโลก 2 หิริโอตตัปปะ อะไรอย่างเงี้ย นี้ธรรมะที่เป็นเรื่องไตรลักษณ์อย่างงี้ 3 หรืออริยสัจ 4 สังคหวัตถุ 4 พรหมวิหาร 4 ขันธ์ 5 อะไรงี้ แบบตัวเลข
ทีนี้ก็จะมีการเอาตัวเลขเป็นหลัก ก็ธรรมะที่มีหัวข้อ หนึ่ง หัวข้อ สอง หัวข้อ สาม ก็มาไว้ด้วยกัน เป็นหมวดหนึ่ง หมวดสอง หมวดสาม หมวดสี่ หมวดห้า ไปจนถึงหมวด 11 ก็นี้ก็ได้ตั้ง 5 เล่มเลย อย่างงี้ อันนี้เอาตามหมวดตัวเลข นั้นจะไปเอาประเภทของธรรมะไม่ได้ เอาตัวเลขเป็นสำคัญ แบบนี้แบบนี้จะมาใช้แม้แต่หนังสือเรียนของเรา หนังสือเรียนอย่างนักธรรมเนี่ย ก็มีการรวบรวมเอาหลักธรรมที่จัดเป็นแบบตัวเลขเนี่ยมาจัดตามลำดับของจำนวน อย่างหนังสือนวโกวาทอย่างเงี้ย ธรรมวิภาค ก็จะมีจัดหมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 หมวด 5 หมวด 6 หมวด 7 หมวด 8 หมวด 9 หมวด 10 อะไรไปเรื่อย อันนี้ก็อย่างหนึ่ง
ทีนี้ก็ยังเยอะแยะหมด บางทีธรรมะที่ตรัสไม่มีตัวเลขก็มี อ้าวทำไง ท่านก็มีวิธีจัดอีก ก็มีอีกหมวดใหญ่หมวดหนึ่งเลยว่า ก็เลยเรียกเป็นนิกายหนึ่ง ก็เอาอะไรที่เป็นหัวข้อเรื่องหรือเป็นตัวแกนของเรื่อง อาจจะเป็นบุคคล หรืออาจจะเป็นข้อธรรมะก็ได้มาเป็นแกน แล้วอันนั้นนะเป็นศูนย์สำหรับมาจัดประเภท เช่นว่า ธรรมะที่ตรัสแก่ภิกษุณี หรือเกี่ยวกับภิกษุณี หรือภิกษุณีเป็นผู้แสดงเองก็ตาม ก็มารวมไว้ด้วยกันว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภิกษุณี เรียกว่า ภิกษุณี ภิกขุณีสังยุตต์ เรียกว่าที่ตรัสเกี่ยวกับพราหมณ์ หรือมีเรื่องเกี่ยวกับพราหมณ์ พราหมณ์มาทูลถามปัญหา ทรงตอบปัญหาแก่พราหมณ์อะไรอย่างเงี้ย ก็เอาพราหมณ์เป็นศูนย์กลางแล้วก็จัดธรรมะ เทศนา ที่เกี่ยวกับพราหมณ์เนี่ยมาไว้ด้วยกัน เรียกว่า พราหมณสังยุตต์
นี้บางทีก็เอาชื่อหัวข้อธรรมเป็นหลัก เช่นว่าเกี่ยวกับขันธ์ 5 เอามารวมไว้ด้วยกัน ก็เรียก ขันธสังยุตต์ อะไรอย่างงี้เป็นต้น ก็หรือเกี่ยวกับอิทธิบาท ก็เป็นอิทธิปาทสังยุตต์ อย่างงี้ก็เรียกว่าเอาหัวข้ออะไรสักอย่างหนึ่งมาตั้งเป็นแกน แล้วก็ธรรมะที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น บุคคลนั้นก็มาอยู่ด้วยกัน อันนี้ก็ได้เป็น เรียกว่านิกายหนึ่ง เรียกว่า สังยุตตนิกาย อันนี้เป็นตัวอย่าง
ทีนี้นอกเหนือจากนั้นที่เข้าพวกเหล่านี้ไม่ได้แล้ว ที่อาตมาพูดมานี้ก็ 4 แล้วนะ หนึ่งก็พระสูตรที่ยาวๆ ก็เรียกว่าทีฆนิกาย แล้วพระสูตรที่ยาวปานกลางก็เรียกว่า มัชฌิมนิกาย มัชฉิมะแปลว่าปานกลางหรือว่ามัธยม และก็พระสูตรที่จัดตามตัวเลขจำนวนเป็นหมวด ก็เรียกว่า อังคุตตรนิกาย อังคุตตระ อังคะ แปลว่า หน่วย แล้วอุตตระแปลว่าเพิ่มขึ้น อังคุตตรนิกาย ก็แปลว่า หมวดแห่งพระสูตรที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทีละหน่วยว่างั้น อังคุตตระก็คือเพิ่มขึ้นหน่วยหนึ่ง เพิ่มขี้นหน่วยหนึ่ง เรื่อยไป แล้วก็ไป 4 ก็ที่เกี่ยวกับบุคคลหรือข้อธรรมอะไรที่มาจัดรวมเอาไว้เป็นพวกๆอันนี้ก็เรียกว่า สังยุตตนิกาย ก็ว่าหมวดของพระสูตรหรือพระธรรมเทศนาที่เกี่ยวข้องกับอะไรสักอย่างหนึ่งเป็นแกน ก็ได้สี่แหละ
ทีนี้เหลือ จากนี้ก็ยังมีอีกเยอะ ท่านก็เรียกรวมว่า ขุททกนิกาย แปลว่าหมวดเบ็ดเตล็ด ปลีกย่อย คราวนี้จะมีลักษณะหลากหลาย เยอะแยะ อันนี้อาตมายกตัวอย่างให้เห็นเรื่องพระสูตร เพราะพระสูตรนี่จะมีคำสอนมากที่สุด อย่างที่ว่าเมื่อกี้ ลองนับดูอีกทีก็ได้ วินัยของพระเนี่ย มี 8 เล่มในพระไตรปิฎก และพระสูตรนี่มี 25 เล่ม และที่เหลืออีก 12 เล่มก็เป็นพระอภิธรรม ทีนี้ในพระสูตรนี้ก็เป็น ทีฆนิกาย ซะ 3 เล่ม นี่พระสูตรยาวๆ และก็พระสูตรที่ปานกลาง มัชฉิมนิกายก็อีก 3 เล่ม แล้วก็ไปอังคุตตรนิกาย อ้าสังยุตต์ก่อน สังยุตตนิกาย ที่จัดขึ้นเกี่ยวข้องกับบุคคลหรือหมวดธรรมอะไรสักอย่างเป็นแกน ก็เรียกสังยุตตนิกาย อันนี้ก็มี 5 เล่ม แล้วก็ไปอังคุตตรนิกายที่จัดตามตัวเลขจำนวนอันนั้นก็มี 5 เล่ม ก็เยอะแล้ว 3 3 6 6 5 11 11 5 เป็น 16 แหละ ก็เหลืออีก 9 เล่ม 9 เล่มแล้วก็เป็นขุททกนิกาย นี่หมวดเบ็ดเตล็ด เยอะเลย นี้ก็ให้เห็นแนวทาง
ทีนี้พอจบพระสูตรแล้วก็ไปพระอภิธรรม พระอภิธรรมก็มีอีก 12 เล่ม โบราณนี้เขาจะจำเป็นเขาเรียกว่าหัวใจ ก็คือ อักษรย่อเพื่อจำง่ายๆ วินัยก็จำว่า อา ปา มะ จุ ปะ พระสูตรก็จำว่า ที มะ สัง อัง คุ และก็อภิธรรม ก็จำว่า สัง วิ ทา ปุ กะ ยะ ปะ คนโบราณจำกันไปกันมาก็เอาหัวใจเหล่านี้ไปท่องเป็นคาถาไป เป็นคาถาหมดแหละ สำหรับได้อย่างโง้นได้อย่างงี้ได้กันผีบ้างหรืออะไรบ้างก็ว่ากันไปหรือว่าเสกหน้าบ้าง แต่เป็นอุบายอย่างหนึ่งสำหรับให้จำได้ เจริญพร
หญิง ( 1 ) : ถามท่านเจ้าคุณว่า แล้วเวลาที่จะศึกษาพระไตรปิฎกเนี่ย อะไรคือสำคัญที่สุด พระสูตร หรือพระอภิธรรม หรือว่าเท่ากันแล้วแต่ว่าเราต้องการอะไร
เจริญพร ดูลักษณะ เอางั้นก็พูดถึงลักษณะ วินัยนั้นไม่ยาก ก็คือเป็นเรื่องของระเบียบ เรียกง่ายๆก็เทียบกับกฎหมาย กฎหมายที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสำหรับปกครองพระนั่นเอง อันนี้ก็พูดรวมไปได้เลยไม่ต้องแยกก็ได้ แต่ที่จริงของท่านก็ยังมีแยกในนี้ออกไปอีก เช่น ในปาฏิโมกข์ นอกปาฏิโมกข์ อะไรเงี้ย
ทีนี้มาพระสูตร กับอภิธรรม นี้คำสอนของพระพุทธเจ้าเนี่ย ที่เรียกเวลาเรียกเป็นศัพท์กลางๆจริงๆนี่ เรียกว่าธรรมวินัย ธรรมวินัย ธรรมะก็คือคำสั่งสอน แสดงหลักความจริง และข้อประพฤติปฏิบัติที่สอดคล้องกับความจริงนั้น ซึ่งเป็นไปตามธรรมดานะฮะ และวินัยก็คือบทบัญญัติ เพื่อจะได้ให้ชุมชนนั้นอยู่กันเป็นระเบียบเรียบร้อย และมีสภาพแวดล้อมสอดคล้องต่อการประพฤติปฏิบัติดำเนินชีวิต เพื่อจุดหมายของตน
อันนี้พระพุทธศาสนาก็มีสองส่วน เนี่ยก็มีธรรมะ กับวินัย เลยขอพูดเรื่องธรรมวินัยก่อน แล้วจะมาสู่พระไตรปิฎก ที่ว่าธรรมะ ธรรมะนี่ก็คือความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดาที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ตถาคตจะเกิดหรือไม่เกิด ความจริงก็มีอยู่ของมันอย่างนั้น” ตถาคตคือพระพุทธเจ้าเนี่ยมาค้นพบแล้วก็มาเปิดเผยชี้แจงแสดงวางเป็นหลักธรรมให้เข้าใจง่าย
ทีนี้ธรรมะนี้ก็มีเรื่องของธรรมชาติ เรื่องของกฎธรรมชาติ ความจริงของธรรมดาแล้วก็เรื่องที่เราจะต้องประพฤติปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับกฎธรรมดาหรือกฎธรรมชาตินั้น พวกนี้เรียกว่าธรรมะทั้งนั้น เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าปกติเมื่อพูดถึงธรรมะก็จะใช้คำว่าแสดง แสดงธรรมะก็คือมันมีอยู่อย่างนั้นก็แสดงไป
ทีนี้ธรรมะเนี่ยก็เป็นส่วนของสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมดา อันนี้พระพุทธเจ้าต้องการให้ธรรมะนี่มาเกิดประโยชน์แก่หมู่มนุษย์จะทำยังไง เพื่อให้มนุษย์จำนวนมากๆได้ประโยชน์ ก็ต้องมีการจัดตั้ง จัดตั้งชุมชน จัดตั้งระเบียบระบบ หลักเกณฑ์หลักการดำเนินกิจการความเป็นอยู่เพื่อจะให้เกิดสภาพเอื้อหรือให้สะดวกแก่การดำเนินการ เช่น การแนะนำสั่งสอนเพื่อจะให้ได้ผล ให้ธรรมะเนี่ยเข้าไปเป็นประโยชน์แก่คน หรือคนได้ประโยชน์จากธรรมะ การจัดตั้งอันนี้ก็เป็นเรื่องของวินัย และทำให้เกิดมีชุมชนขึ้น ทีนี้วินัยนี้เป็นเรื่องของการบัญญัติ ไม่มีอยู่จริง อันนั้นก็จะใช้คำว่าบัญญัติวินัย พระพุทธเจ้าแสดงธรรมบัญญัติวินัย แต่ธรรมะบางครั้งก็บัญญัติบ้าง บัญญัติในแง่ว่ามาจัดเป็นระบบเป็นหมวดเป็นหมู่ นำเสนอในรูปที่จะให้เข้าใจง่าย อย่างงี้ก็ถือว่าบัญญัติ ก็คือมาจัดวางนั่นเอง จัดวางรูปร่างแต่ว่าก็อิงอยู่กับตัวความจริง
ทีนี้ส่วนวินัยเป็นตัวบัญญัติแท้ๆ แต่ว่าโดยที่รู้ความจริงแล้ว จึงมาจัดตั้งวางระบบนี้เพื่อให้คนเนี่ยได้ประโยชน์จากธรรมะอีกทีหนึ่ง คล้ายๆว่าเอาธรรมะเป็นจุดหมายก็จัดตั้งวินัยขึ้น จัดระบบชุมชนสังคมเพื่อให้ได้ประโยชน์จากอันนี้ เพราะฉะนั้น ธรรมวินัยก็คู่กัน คือธรรมะเนี่ยเป็นเป้าหมาย เป็นตัวของจริงของๆแท้ที่มีอยู่ วินัยนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้มนุษย์ได้ประโยชน์จากธรรมะ และธรรมะ ไม่รู้ธรรมะ วินัยก็เหลว แต่หากว่าไม่มีวินัย ไม่จัดตั้ง ก็จะมีคนน้อยเหลือเกินที่จะได้ประโยชน์จากธรรมะ เพราะนั้นสองอย่างนี้ก็เลยเป็นองค์ประกอบของพุทธศาสนา ก็เรียกว่า ธรรมวินัย
เพราะฉะนั้นพุทธศาสนา เราเรียกชื่อเดิมก็เรียกธรรมวินัย นี้สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงทั้งหมดก็อยู่ในธรรมวินัยนี้ เป็นอันว่ามีแค่สองส่วนเท่านั้น เมื่อมีสองส่วนอย่างนี้ ตอนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระองค์ก็ตรัสว่า “เมื่อเราล่วงลับไปแล้วนี่ ธรรมวินัยที่ได้แสดงไว้แล้วบัญญัติไว้แล้วแก่เธอทั้งหลายจะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย” ก็หมายความว่าธรรมวินัยเป็นพระศาสดาแทนพระพุทธเจ้า ก็เพราะว่าเรานับถือพระพุทธเจ้า คือ เราต้องการคำสอนของพระองค์ พุทธศาสนาก็คือคำสอนของพระพุทธเจ้า คำว่าพุทธศาสนาก็แปลว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว อันนี้เราก็ต้องการฟังเพราะว่าพระองค์ก็ตรัสรู้แล้ว พระองค์มีประสบการณ์ยังไง ได้รับผลยังไง พระองค์ก็เอามาเล่า มาบอกก็คือคำสอนเนี่ย สิ่งที่เราต้องการจากพระองค์ก็คือคำสอนซึ่งมาแยกเป็นธรรมวินัย
นี้พุทธศาสนา ในเมื่อเป็นตัวคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมวินัย ก็จะต้องหาทางว่าทำไงจึงจะให้คนรุ่นหลังได้ประโยชน์ ก็ทางเดียวก็คือต้องบันทึกไว้ ก็จึงมีการที่มาประชุมกันหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 3 เดือน เรียกว่าสังคายนา เพื่อจะรวบรวมพุทธพจน์คำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ อันนี้ก็การประชุมนั้นก็เพื่อรวบรวมประมวล เขาเรียกว่าสังคายนาพระธรรมวินัย นี้พระวินัยก็พอมาจัดเป็นพระไตรปิฎก ก็เป็นวินัยปิฎก
แต่ทีนี้ธรรมะเนี่ยมีมากมาย ธรรมะส่วนที่มากที่สุดก็คือที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปทรงสอนทรงพบปะกับใครต่อใคร ทรงสนทนาหรือมีใครมาทูลถาม ตอบปัญหาให้อะไรอย่างเงี้ย ซึ่งเยอะแยะไปหมด อันนี้แบบเนี้ยที่ตรัสปรารภเกี่ยวกับบุคคล เกี่ยวกับเหตุการณ์ ตรัสกับคนนี้บ้าง ตรัสกับคนโน้นบ้าง ธรรมะที่ตรัสแสดงเนี่ยก็ขึ้นต่อสถานการณ์หรือบุคคล คนนั้นเขาเป็นใคร เขามีความรู้แค่ไหน เขาถามเรื่องอะไร
เพราะฉะนั้น ธรรมะนี้ก็จะเป็นคำเทศน์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น เหตุการณ์นั้น บุคคลนั้น เนื้อหาก็ขึ้นต่อเหตุการณ์ครั้งนั้นโดยเฉพาะ หรือการเทศน์แก่บุคคลนั้นโดยเฉพาะ ก็เลยมีการที่ว่าจะจัดธรรมะขึ้นมาอีกหมวดหนึ่ง ที่ไม่เอาแล้วไม่ต้องคำนึงถึงบุคคลเหตุการณ์ เพราะว่าเดี๋ยวก็เรื่องตื้น เดี๋ยวก็เรื่องลึก เดี๋ยวธรรมะเรื่องเดียวกันตรัสกับคนนี้แค่นี้จบแล้ว อ้าว ถ้าจะไปเอาอีก ลึกซึ้งอีกหน่อย ต้องไปหาในสูตรโน้น ซึ่งไม่รู้ไปอยู่ที่ไหน เพราะว่าตรัสคนละแห่ง คนละที่ คนละเหตุการณ์ ข้ามไปข้ามมา นี้ก็เลยมีการจัดหมวดหมู่ของคัมภีร์ขึ้นมาอีกส่วนหนึ่งก็คือ เอาเนื้อหาเป็นเกณฑ์เลย เอาเฉพาะอย่างที่เรียกปัจจุบันว่าเนื้อหาวิชา เอาตัวเนื้อหาธรรมะตั้ง แล้วก็ว่ากันให้จบไปในเรื่องนั้นนั้นนั้นนั้นนั้น อย่างว่าเรื่องขันธ์ 5 ก็ว่ากันด้วยเรื่องขันธ์ 5 กันให้เต็มที่ไปเลย ตั้งต้นแต่ขันธ์ 5 คืออะไร แบ่งเป็นอะไรบ้าง แต่ละอย่างเป็นยังไงยังไงยังไง แล้วก็จะมีคำถามคำตอบอะไรก็ว่ากันให้จบ อย่างเงี้ยก็เลยเป็นเหตุให้มีหมวดคัมภีร์ขึ้นมาอีกอันหนึ่ง คำที่เป็นเทศนาตรัสแสดงที่โน่นที่นี่เนี่ยก็เป็นพระสูตรที่ว่าเมื่อกี้มี 25 เล่ม
นี้ส่วนที่มาจัดขึ้นเป็นเนื้อหาวิชา ไม่คำนึงถึงบุคคลเหตุการณ์สถานที่ ใครทั้งนั้น ใครจะอ่าน ใครจะฟังไม่เกี่ยว ฉันเอาแต่เนื้อหา อันนี้ก็กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่าอภิธรรม อภิธรรมนี่ก็จะมีการคัดเลือกมาจากพระสูตร อย่างพระสูตรที่ว่าด้วยเนื้อหาธรรมะมากๆอย่างในสังยุตตนิกายเนี่ย อย่างขันธสังยุตต์อะไรเนี่ย พวกเนี้ยก็จะไปอยู่ในอภิธรรมเนี่ยเยอะเลย เรียกว่าเอาไปทั้งหมด แต่ตัดบุคคลเหตุการณ์ออก เอาแต่เนื้อหาธรรมะล้วนๆ แล้วก็ไปวิเคราะห์แจกแจงออกไปอีกทีนึง นี่ก็เป็นเหตุให้เกิดปิฎกที่ 3 อันนี้ก็ได้ลักษณะที่ว่าตกลงว่า มีธรรมวินัย วินัยก็มาเป็นปิฎกที่ 1 ส่วนธรรมะก็แยกเลยเป็น 2 ส่วน ธรรมะก็เป็นส่วนที่เป็นคำเทศนา ตรัสแก่บุคคลต่างๆกันไป ในโอกาสกาลเวลาสถานที่ต่างๆ ปรารภเรื่องราวไม่เหมือนกัน อันนี้เป็นพระสูตร แล้วก็ที่เป็นเนื้อหาธรรมะแบบหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับบุคคลเหตุการณ์ก็เป็นพระอภิธรรม อันนี้ก็ใครต้องการจะศึกษาเนื้อหาล้วนๆก็ค้นอภิธรรม
แต่ว่าที่จริงเรามองอีกอย่างหนึ่ง การเรียนพระสูตรนี้ได้ประโยชน์มาก เพราะว่าเราจะเห็นเรื่องราวเหตุการณ์ที่เป็นจริง เหมือนกับในชีวิตจริงใช่มั้ย บางทีการที่พระพุทธเจ้าตรัส ตอบปัญหาคำถามกับคนนั้นๆ ในสถานการณ์ที่เป็นจริงเนี่ย อาจจะให้ความเข้าใจอะไรบางอย่างที่เราได้โดยไม่สามารถจะได้เองจากการที่ไปอ่านเนื้อหาวิชา เพราะฉะนั้นบางท่านก็จะนิยมอ่านพระสูตร นอกจากในแง่ของการที่ว่าได้ความหมายอะไร เนื้อหาพิเศษแล้วก็อีกอย่างหนึ่งก็อาจจะน่าอ่านกว่า เพราะพระสูตรนี่ก็เป็นเรื่องที่สนทนากันบ้าง อะไรบ้าง มีเรื่องราว มีความเป็นไป พระพุทธเจ้าเสด็จไปที่นั่น ประทับอยู่ที่นั่น มีคนนั้นมากราบทูลถามปัญหา จึงได้ตรัสว่ายังงี้ พอตรัสไปแล้ว เขาถามต่ออย่างงี้ พระองค์ก็ตอบตอบไปอย่างงี้ มันก็ในแง่ของความน่าอ่านก็น่าอ่านกว่าอภิธรรม
หญิง ( 1 ) : ถ้าจะเอาแต่เฉพาะเนื้อหาและถ้าเกิดความเข้าใจเองได้ อ่านอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ใช่มั้ยค่ะ อภิธรรมหรือพระสูตร ในแง่ของธรรมะ
ก็ถ้าเป็นนักค้นหละใช้ 2 อย่างควบเลย บางทีในวินัยก็มีด้วย เพราะวินัยเนี่ยก็จะมีการที่พระพุทธเจ้าปรารภ เช่นอย่างเนี้ย เรื่องมันจะเป็นไปเอง เช่นอย่างว่า เอ้าวินัยนี่ก็คือพระพุทธเจ้าจะทรงตั้งคณะสงฆ์ขึ้นมาจะบัญญัติวินัย ตอนแรกก็ต้องมีการตั้งคณะสงฆ์ แล้วมีพระภิกษุสงฆ์เกิดขึ้นอย่างไร ท่านก็ต้องเล่าความเป็นมา ตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเสด็จไปไหน ไปพบกับเบญจวัคคีย์ ได้เทศนาแล้ว เบญจวัคคีย์ได้อัญญาโกณฑัญญะบรรลุธรรม ขอบรรพชาอุปสมบท บวชแล้ว เกิดสงฆ์ขึ้นอะไรอย่างเงี้ย
ต่อมา ก็มีการเจริญงอกงามขึ้นของสงฆ์ มีวัดวาอาราม ความเป็นไปเหล่านี้ก็เล่าในวินัย ก็กลายเป็นว่ามีคำเทศนาด้วย เพราะว่าอย่างตอนที่พระพุทธเจ้าพบกับเบญจวัคคีย์ ทรงแสดงปฐมเทศนา ปฐมเทศนาก็ไปอยู่ในวินัยด้วย และเสร็จแล้วต่อมาพอเบญจวัคคีย์ได้ฟังธรรม ท่านอัญญาโกณฑัญญะบรรลุธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าก็ยังทรงแสดงธรรมต่อไปจนกระทั่งท่านทั้ง 5 ท่านนี่บรรลุอรหันตผล อันนั้นก็จะมีต่อจากธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ก็จะมีอนัตตลักขณสูตรอยู่ที่นั่นเสร็จ เอาแล้วก็ต่อจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงเดินทางต่อไป ไปพบกับพวกชฎิลก่อนจะเข้าเมืองราชคฤห์ก็เป็นเหตุให้แสดงธรรมอาทิตตปริยายสูตร อาทิตตปริยายสูตรก็มีอยู่ในวินัยนี้ด้วย เพราะเป็นเรื่องราวตามเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการความเจริญเติบโตของคณะสงฆ์และการประกาศพระศาสนา เนี่ยอย่างงี้ก็ในวินัยก็กลายเป็นว่าก็มีเรื่องธรรมะ