แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
... ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย แล้วก็ตั้งตัวตรงให้สบายกับตัวเอง ให้สบายให้ดีแล้วก็ทำใจว่า สบายนะ ทีนี้ ก็หายใจเข้า ยาว ลึก ให้สบาย ๑ ที เสร็จแล้วก็ต่อไปนี้ก็หายใจแบบกำหนด แบบที่ว่าเอาจิตใจของเรานั้นกำหนดอยู่ตรงที่ลมหายใจ ทีนี้ ก่อนนี้ให้ใช้วิธีว่า หายใจเข้า - พุท หายใจออก - โธ ทีนี้ เปลี่ยนบ้างให้ทดลองแบบโน้นนั้น ให้ใช้วิธีนับ เวลาหายใจเข้าก็นับ 1 เวลาหายใจออกก็นับ 1 นี่ได้คู่หนึ่ง ทีนี้ ต่อไปก็หายใจเข้านับ 2 หายใจออกก็นับ 2 ให้มันไปเป็นคู่ ๆ แล้วก็หายใจเข้า 3 หายใจออก 3 แล้วก็ เข้า-ก็นับ 4 ออก-ก็นับ 4 แล้วก็เข้า 5 ออกก็ 5 นี่ครบชุดหนึ่งแล้ว พอครบ 5 ทีนี้ถอยกลับไปตั้งต้น 1 ใหม่ เข้า 1 ออก 1 เข้า 2 ออก 2 เข้า 3 ออก 3 เข้า 4 ออก 4 เข้า 5 ออก 5 พอถึงตรงนี้เพิ่มไม่หยุดแค่ 5 แล้ว คราวนี้ถึงเข้า 6 ออก 6 มาถึง 6 แล้วย้อนกลับไป 1 ใหม่อีก ตอนนี้ 1-1 2-2 ไปถึง 7-7 พอ 7-7 แล้วย้อนกลับไป 1-1 ใหม่ 1-1 ก็มาถึง 8-8 ก็ย้อนกลับไปถึง 1-1 มาถึง 9-9 ได้ แล้วก็กลับไป 1-1 มาถึง 10-10 นี่ครบชุดใหญ่ พอครบชุดใหญ่แล้วทีนี้กลับไปตั้งต้น 1-1 ถึง 5-5 ใหม่ แล้วก็มา 1-1 มาถึง 6-6 ใหม่ จนกระทั่ง ถึง 10-10 ใหม่แล้วก็ย้อนกลับไป 1-1 ถึง 5-5 ใหม่อีก เข้าใจนะ นี่ วิธีนี้ก็ทำให้เราต้องคอยตั้งใจกำหนด ถ้าใครใจไม่อยู่กับตัว ใจไม่อยู่กับลมหายใจ สติไม่อยู่แล้วนับทัน เพราะฉะนั้น ถ้าใครนับได้ตลอดอย่างนี้แล้วก็แสดงว่าใจจะฝึกสมาธิได้ดี เอานะ ทดลองนะ ลองดูซิว่าแต่ละองค์เป็นอย่างไร ใครกำหนดได้ดี วิธีนับนี้ยากกว่า พุทโธ นะ เริ่มยากขึ้นแล้ว
สัพเพ สัตตา ขอสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
อะเวราโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีแต่ความสุขกาย-สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยด้วยกันหมดทั้งสิ้นเทอญ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภควันตัง อะภิวาเทมิ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะนัสสามิ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ
ใครนับได้ครบชุด 5 ถึง 10 โดยไม่หลงเลย? มีใครได้บ้างไม่หลงเลย มีไหม? ชุด 5 แล้วก็ขึ้นไป 6 ไป 7 ไป 8 ไป 9 ไป 10 ตามลำดับไม่ผิดเพี้ยนเลย ได้ 4 ชุด หมายถึงว่าจาก 5 ไปถึง 10 อย่างนี้ได้ 4 ครั้ง และไม่หลงเลย เออ ก็เก่ง ไม่ต้องนับอะไรไวมากเลยนะ 5-5 ไปถึง 10-10 แล้วก็ย้อนมาอีกได้ทั้ง 4 ชุดเลยหรือ? ก็แสดงว่าหายใจไว แล้วเณรอนุรักษ์ เป็นยังไง? ไปได้ชุดแล้วหลงแล้วหลงบ้างไหม
เณร : ก็หลงบ้างครับ หลงตอนแรกๆ
พระพรหมคุณาภรณ์ : นับพลาดไป 6 หรือ 7 หรืออะไรอย่างนี้มีบ้างไหม? (มีครับ) มีไม่แน่ใจนะ เณรต้นล่ะ?
เณรต้น : ได้ไปชุดกว่า
พระพรหมคุณาภรณ์ : ชุดกว่า? หมายถึงไปถึง 10 เลยหรือ?
เณรต้น : ชุดกับอีกนิดหน่อย เพราะว่านับไปเยอะ
พระพรหมคุณาภรณ์ : หลงเยอะเลยหรือ?
เณรต้น : หลง หลงนิดหนึ่ง แล้วกลับมาใหม่
พระพรหมคุณาภรณ์ : อืม.. เอ้า แล้วเณรเต็นล่ะครับ? เณรเต็น
เณรเต็น : เต็นได้ 3 ชุด
พระพรหมคุณาภรณ์ : 3 ชุด หมายถึง 10 เลย? (ถึง 10) แล้วในระหว่างนั้นมีหลงบ้างไหม? หรือได้ตลอดเลย? แม่นยำ ชัดเจน?
เณรเต็น : เต็นไม่ได้
พระพรหมคุณาภรณ์ : ....นับไม่ถูกเลย เพราะฉะนั้น ใน 3 ชุดนี้ก็มีนับหลงอยู่ใช่ไหม? อืม
นั่นแหละ เป็นแบบทดสอบ ตามนี้ต้องลองดูคือดูว่าใจของเรามีสมาธิแค่ไหน? เราสามารถที่จะเอามาจับอยู่กับตัวเลขนี้ ให้มันแน่นอนไปเลย ถ้า 1-1 2-2 3-3 4-4 5-5 แล้วกลับมา 1-1 2-2 3-3 4-4 5-5 6-6 ก็ได้อย่างนี้ไปถึง 7-7 8-8 9-9 10-10 ยังไปได้คล่อง มั่นใจตลอดชัดเจนอย่างนี้แสดงว่าจิตคนนั้นเป็นคนที่มีสมาธิเป็นฐานดีแล้วนะ ก็เรียกว่ามีพื้นดีแล้ว จะฝึกสมาธิได้น่าจะไปได้ดี อันนี้เอาไว้ทดสอบเองและก็เป็นการฝึกไปด้วย ต้องลองกันอีก นี่ ตอนแรกนี่ พุทโธง่าย ๆ ใช่ไหม? เข้า-พุท ออก-โธ มันก็ธรรมดากี่ครั้งกี่ครั้งก็เหมือนกัน ทีนี้ มาเจอนับก็แทบยุ่งเลยสิ ไม่ง่ายอย่างเก่าแล้ว
เอานะ นี่ก็เป็นเรื่องต้องทำกันต่อไป นี่แหละ วิธีฝึกสมาธิ มีเทคนิคต่าง ๆ อันนี้ก็เป็นเทคนิคอันหนึ่ง-ใช้วิธีนับ เป็นการได้ทั้งทดสอบด้วยและก็ได้ทั้งการฝึกต่อไปด้วย