PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
  • บวชภิกษุณี มีข้อควรรู้ประกอบไว้
บวชภิกษุณี มีข้อควรรู้ประกอบไว้ รูปภาพ 1
  • Title
    บวชภิกษุณี มีข้อควรรู้ประกอบไว้
  • เสียง
  • 4252 บวชภิกษุณี มีข้อควรรู้ประกอบไว้ /somdej-payutto/04-5.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันจันทร์, 06 เมษายน 2563
ชุด
ชาวพุทธนั้น ความรู้ฐานก็มั่น ความรู้ทันก็มี
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ

    ถาม  อยากขอสอบถามในพระพุทธประวัตินะครับ นางมหาประชาวดีโคตรมีก็ขอพระพุทธเจ้าบวช  แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสห้ามถึง 3 ครั้ง จนครั้งสุดท้าย ครั้งที่ 3 ก็ถึงจะยอมให้บวชได้ เพราะอะไร เหมือนกับคล้าย ๆ ไม่อยากให้ผู้หญิงบวช หรืออย่างไร

    ตอบ อันนี้ก็คืออย่างนี้แหล่ะ  ที่จริง ๆ มันชัดอยู่แล้วหล่ะ ถ้าเรารู้หลักการ ก็หมายความว่าในแง่ของความเป็นมนุษย์บรรลุธรรมได้พัฒนาตนเองได้  ไม่มีความเป็นพระ เป็นคฤหัสถ์กีดกั้นอะไร  แต่ทีนี้ว่า ในแง่ที่จะมาบวชขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคม  ถ้าเอาเหตุผลในทางสังคมพระพุทธเจ้าไม่ให้บวช  ต้องเอาเหตุผลทางศักยภาพในความเป็นมนุษย์พระพุทธเจ้าให้บวช จับให้ได้จะเห็นว่าตอนที่อ้างเหตุผลที่จะให้ยอมบวช พระพุทธเจ้าก็เหมือนบอกว่าคุณต้องอ้างให้ถูก เมื่อพระอานนท์ทูลถามว่าสตรีบวชแล้วจะบรรลุธรรมได้ไหม พระพุทธเจ้าก็ให้ด้วยเหตุผลอันนี้ ก็หมายความว่าที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตนั้น เรื่องมันบอกชัดอยู่แล้ว ตีความแตกหรือไม่เท่านั้น  ถ้าคุณเอาเหตุผลทางสังคมจะไม่ได้  เพราะว่าตอนนั้นปัญหาเยอะเลย  เขาไม่ยอมรับสตรี ใช่ไหม พอบวชขึ้นมาก็เป็นปัญหากับ(สังฆะ)อีกด้วย  เอาหล่ะสิ ผมเล่าให้ฟังเป็นตัวอย่าง หนึ่งชีวิตของนักบวชในพุทธศาสนาก็เป็นชีวิตที่อิสระเสรี  อย่างที่บอกว่าเหมือนนกมีแต่ปีก 2 ปีก ต้องการจะไปไหนก็ไปอะไรอย่างนี้  พอผู้หญิงบวชแล้วเอาละสิทีนี้  หนึ่งจะเดินทางไกล  อ้าวหล่ะสิ เกิดมีปัญหาขึ้นมา ถูกโจรผู้ร้ายทำร้าย ในทางทำมิดีมิร้าย 

    พระพุทธเจ้าก็ทรงบัญญัติสิกขาบถว่า ภิกษุณีจะเดินทางไกลต้องมีภิกษุไปด้วย  มันก็เป็นภาระทั้งสองฝ่าย ถูกไหมว่า ภิกษุเองก็ลำบากแล้วใช่ไหม และภิกษุณีเองก็ไม่คล่องตัวทั้งคู่เลย ทีนี้อ้าวมีเรื่องอีก พระภิกษุกับภิกษุณีเดินทางไปด้วยกัน ชาวบ้านพวกเขาไม่เลื่อมใสโห่ร้องว่านี่พวกนักบวชสายสมณโคดมนี่มีสามีภรรยา เดินทางด้วยกันไปเป็นชุด เอาอีกแย่อีก มีปัญหาอีก ภิกษุณีไปอยู่ในป่า ก็เอาชีวิตพระภิกษุก็ต้องอิสระ ไปอยู่ในป่าก็ถูกพวกผู้ร้ายมาทำการไม่ดี ก็มีพุทธบัญญัติอยู่แล้วว่า ภิกษุณีต้องอยู่ในวัดที่มีภิกษุ เอาอีกมันก็เป็นภาระกันทั้งสองฝ่าย  ภิกษุก็เสียความเป็นอิสระด้วยใช่ไหม นั่นแหล่ะรวมแล้วก็คือว่า ในแง่หนึ่งพระพุทธเจ้ายอมก็คือว่า ยอมเพื่อประโยชน์ด้านหนึ่ง แต่พุทธศาสนาเองก็ต้องยอมเสีย ขณะนั้นทำให้ความเข้มแข็งลดลงไปฮวบเลยนะ เชื่อไหมยิ่งเป็นระยะแรกนี้ลำบากมาก พุทธศาสนากำลังต้องการก้าวไปและอยู่ในภัยอันตรายที่เขาจ้องอยู่จะเล่นงานใช่ไหม อันนี้ก็ได้ขี้ปากไปแล้ว อย่าพูดอย่างนั้นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็เรียกว่า เพิ่มความภาระมากขึ้นในการที่ดำรงพระพุทธศาสนาที่จะประกาศธรรม  ก็เป็นอันว่า เราต้องมองเป็นขั้น ๆ ก็หมายความว่าในแง่ของการเป็นมนุษย์ที่จะบรรลุธรรมเนี่ยทุกคนก็มีเสมอกัน แต่ทีนี้ว่า ตอนที่มาบวชเป็นภิกษุณีเนี่ยขึ้นอยู่กับทางสังคม  แต่ว่าบางอย่างมันก็ไม่เชิงสังคม มันก็โยงกับธรรมชาติด้วยใช่ไหม เช่น ธรรมชาติของความเป็นหญิง-ชายเนี่ย มันก็โยงมาหาปัญหาทางสังคมหมดเลย ท่านยังสงสัยอะไรอีก

    ถาม  ขอเรียนถามว่า แต่ว่าพระพุทธเจ้าเองก็บัญญัติไว้ว่าภิกษุณีก็ต้องฟังธรรมจากภิกษุอย่างเดียว  หวังว่าภิกษุณีไม่มีสิทธิ์ไปเทศน์หรือว่าอยู่เหนือกว่า มันกลายเป็นว่าเหมือนกับแบ่งแยกหญิง-ชายหรือเปล่า ในเมื่อบอกว่าสถานภาพทั้งสองฝ่ายมีความรู้ธรรมเหมือนกัน  แต่ว่าฝ่ายภิกษุณีไม่มีสิทธิ์ไปเทศน์  แม้แต่มีภิกษุที่พึ่งบวชได้วันเดียว 

    ตอบ  คืออันนี้เป็นเรื่องทางสังคมนะ พระพุทธเจ้าจะต้องทรงพิจารณามากว่าทำไงจะให้(สังฆะ)ส่วนรวมอยู่ได้ด้วยดี  หรือพระพุทธศาสนาทั้งส่วนรวมอยู่ได้ด้วยดี  ในนี้ก็คือรายละเอียดในแง่ของการจะดำรงพระพุทธศาสนาไว้ใช่ไหม  จะต้องวางความสัมพันธ์ระหว่างภิกษุกับภิกษุณี บริษัทยังไง  ในสภาพสังคมนั้นให้อยู่ได้ด้วยดี  อย่างภิกษุไหว้  เดียรถีย์ได้โอกาสทันที  เหตุใดพระพุทธเจ้าตรัสไว้เลยว่าที่ไม่ให้ภิกษุไหว้ภิกษุณี  เพราะว่าเดียรถีย์เขาเอาเลย  เอาแล้ว อ้าวพวกนี้ไม่ได้เรื่องแล้ว ก็ไปบอกกับพวกสาวกของเดียรถีย์ได้นี่ พวกพระพุทธศาสนาต่ำแค่ไหนนี่ไหว้ผู้หญิง  เอาแล้วแค่นี้ก็เสียแล้ว ในการประกาศพุทธศาสนาเนี่ยมันต้องระวังโอกาสกันมากใช่ไหม

    เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็ต้องวางว่าในเมื่อ(สังฆะ)ฝ่ายภิกษุณีเกิดขึ้นแล้วเนี่ย  จะให้(สังฆะ)ส่วนรวมทั้งพุทธศาสนาอยู่ได้อย่างไร และจะมีภาระน้อยที่สุดอย่างไร ใช่ไหม  สภาพสังคมมันเป็นตัวกำหนด เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าต้องวางไว้เลยว่าเพื่อจะให้อยู่กันได้  แต่ว่าพระพุทธเจ้าระวังมาก  ขอให้ท่านดูเถอะ เวลาวางไปแล้ว หนึ่งมีภิกษุที่ให้โอวาท(ภิกษุณี???) แล้วให้ท่านไปดูคุณสมบัติไม่ใช่ให้ภิกษุองค์ใดใครจะไปให้โอวาทได้  ต้องมีคุณสมบัติอย่างนี้  มีพรรษาเท่านั้น ต้องได้รับการแต่งตั้งจาก(สังฆะ) ไปลำพังเองก็ไม่ได้ ต้องสงฆ์แต่งตั้งไป เออใช่ไหม เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าทรงระวังมาก  แล้วก็ให้โอกาส  ภิกษุณีไหว้ภิกษุได้  แต่ภิกษุไหว้ภิกษุณีไม่ได้ เพราะเดียรถีย์เตรียมอยู่แล้ว  และพระพุทธเจ้าก็ตรัสสิกขาบถไว้อีก ถ้าภิกษุณีเห็นว่าภิกษุรูปใดเป็นผู้มีความประพฤติที่ไม่สมควรที่ภิกษุณีจะไหว้  ให้ประชุมกันแล้วตกลงเป็นมติเลยว่าไม่ให้ไหว้ภิกษุ??? อย่างนี้เป็นต้น คือพระพุทธเจ้าต้องทรงลำบาก ถ้าพูดแบบภาษาชาวบ้าน ลำบากทั้งสองทางใช่ไหม  จะทำอย่างไร  ถ้าเราคิดดูแล้ว ไปอ่านรายละเอียดจะเห็นว่ามีวิวัฒนาการกันอยู่

    ถาม  แต่จริง ๆ อย่างนี้ก็ไม่ได้เท่ากับว่าเป็นการกีดกั้นสิทธิสตรีอยู่แล้ว  เพราะว่าผู้อบรม??? ก็บอกอยู่แล้วว่า (พุทธบริษัททั้ง 4) ก็มี อุบาสิกาเป็นผู้หญิงอยู่แล้วก็บรรลุธรรมได้ แต่เห็นเมื่อสักช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็เหมือนมีเรื่องที่คนไทยไปบวชเป็นภิกษุณี ก็เรียกร้องสิทธิสตรีอะไรเต็มไปหมด ก็ไม่เห็นน่าจะต้องเป็นปัญหา

    ตอบ  มันไม่ใช่ปัญหาในเรื่องสิทธิ  ผมเคยพูดไปแล้วว่า ผู้หญิงมีสิทธิบวช จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ก็มีสิทธิบวช ไม่ได้หายไปไหน  แต่ใครมีสิทธิบวชให้  มันติดปัญหาตรงนี้นะ มันไม่ได้ติดปัญหาที่ผู้บวชจะมีสิทธิ มันติดปัญหาว่าคนไหนมีสิทธิบวชให้นี้ต่างหาก  แล้วบวชให้ง่าย ๆ ดีไหม  พระพุทธเจ้าที่กำกับไว้ก็เพราะว่าเพื่อไม่ให้มันเสียหายแก่ภิกษุณีเอง บอกว่าภิกษุบวชองค์ไหนบวชได้ ก็บวชกันเข้าไป ก็เหลวเละหมดใช่ไหม ต้องพัฒนากันมามี(สังฆะ)  ตอนแรกภิกษุณียังไม่มีก็ให้ภิกษุบวชให้   พอมีภิกษุณีสงฆ์ก็ให้ภิกษุณีสงฆ์ร่วมบวชกับภิกษุสงฆ์  พอร่วมบวชกับภิกษุสงฆ์  ต่อมาก็มีบอกว่าเวลาซักถาม (อันตรายปาราชิกธรรม) เนี่ยผู้หญิงก็อาย  พระพุทธเจ้าก็บอกว่า ให้การบวชเสร็จขั้นตอนมาจากภิกษุณีเลย  แล้วก็บวชสงฆ์เรียกว่า (เอกโตสงฆ์)  สงฆ์ฝ่ายเดียว คือ ภิกษุณีสงฆ์ บวชเสร็จแล้วจากภิกษุณีสงฆ์ ก็ผ่านขั้นตอนเรียบร้อยแล้วก็มาแจ้งกับสงฆ์ ต่อมาก็ค่อย ๆ ลดทอนบทบาทของพระภิกษุลง จนกระทั่งว่าบวชในฝ่ายภิกษุณีสงฆ์เสร็จแล้ว จะไปบอกแจ้งแก่ภิกษุสงฆ์อยู่คนละเมือง และเดินทางอาจไม่ปลอดภัย  ให้ตั้งทูตไปแจ้งได้ ตอนนี้ก็กลายเป็นว่าบทบาทของภิกษุสงฆ์เหลืออยู่นิดเดียว รับทราบจากตัวแทน ใช่ไหม ตั้งทูต

    ถาม  แล้วภิกษุณีในเมืองไทยเนี่ยได้มีขึ้นมาบ้างไหมครับ

    ตอบ  คือประวัตินี้เรายังไม่ได้พบประวัติแท้ ๆ ไม่ปรากฏว่ามีภิกษุณี  แต่ว่าในเรื่องตอนที่ว่า(พระโสณะอุตตระ)มาประกาศพุทธศาสนา ตอนนั้นสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ก็มีสายที่ชัดเจนที่สุด คือสายลังกา อันนั้นจะมีเรื่องราวเป็นประวัติศาสตร์  แต่สายอื่นเนี่ยเรื่องมันคงเป็นว่าส่งไปแล้วเงียบไปก็เลยกลายเป็นตำนาน เพราะเป็นตำนานก็มีแต่เรื่องอิทธิฤทธิ์ทั้งนั้นเลย  เพราะฉะนั้นสายอื่น อย่างสาย(พระโสณะอุตตระ)ที่มาสุวรรณภูมิ  ก็มีแต่เรื่องฤทธิ์ปาฏิหาริย์  ขึ้นมาบนฝั่งแล้วมีผีเสื้อยักษ์อะไรมั่ง เจอกันปราบกัน  แล้วคนก็เลื่อมใสกันใหญ่  มีคนเป็นหมื่นก็มาบวชกัน บวชเป็นภิกษุ แล้วถึงจะมีบวชเป็นภิกษุณีอะไรอย่างนี้  ตอนนั้นก็มีเรื่องตำนานเท่านั้นเอง  แต่ว่าตัวตนที่เป็นภิกษุณีนั้นไม่ปรากฏมาเลยในประวัติศาสตร์  ถ้ายิ่งตัดช่วงสุโขทัยแล้วยิ่งไม่มีเลย  ใช่ไหม  นั่นก็แปลว่าอย่างน้อยตั้งแต่สุโขทัยมานั้นไม่มีเลยภิกษุณี 

    ทีนี้ข้อสำคัญก็คือว่า ใครมีสิทธิที่จะบวชให้แก่ผู้หญิงเป็นภิกษุณี   ใช่ไหม พระท่านก็ไม่กล้า ฉันมีสิทธิที่บวชให้ได้เหรอ  คือคำจำกัดความของภิกษุณี เมื่อตั้งเป็นหลักเป็นฐานแล้วเนี่ย ภิกษุณีคือใครในวินัยก็จะบอกเลย คือผู้บวชจากสงฆ์สองฝ่าย คือต้องมีภิกษุณีตามนี้นะ  แล้วไม่มีภิกษุณีแล้วจะบวชอย่างไร เนี่ยมันติดปัญหา  ทีนี้ก็มีผู้ที่อ้างว่าตอนที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้บวชนี่ ก็ให้ภิกษุทั้งหลายบวชภิกษุณี  อ้าวก็ตอนนั้นยังไม่มีภิกษุณีจะให้บวชได้อย่างไร ใช่ไหม พอบวชแล้วตอนนั้นยังไม่บอกด้วยซ้ำว่าต้องเป็นสงฆ์หรือเปล่า ก็บอกว่าภิกษุทั้งหลาย ให้ภิกษุบวชภิกษุณีก็ไม่รู้ว่าบวชแบบไหน จะเป็นสังฆกรรมหรือเปล่าด้วยซ้ำ แต่ว่าตอนที่ต่อมามันแน่นอนอยู่แล้วมีสังฆกรรมหรืออะไรต่อมิอะไรในวินัย  ทีนี้ตอนที่จะไปอ้างว่า ภิกษุทั้งหลายบวชได้ พระพุทธเจ้าเคยอนุญาตไว้ ถ้าอย่างนั้นตอนปลาย ๆ สมัยพุทธกาลก็ต้องมีภิกษุณี 2 แบบ ใช่ไหม ภิกษุณีที่บวชแบบสงฆ์สังฆกรรม และภิกษุณีที่ไม่อยากไปยุ่งก็ไปบวชกับพระคนไหนก็ได้  ถ้างั้นไม่ยุ่งตั้งแต่พุทธกาลแล้วเหรอ ใช่ไหม 

    ตามหลักแล้วมันก็ต้องเป็นว่า เรื่องกฎหมายเนี่ย กฎหมายที่ออกที่หลังก็แปลว่า เขาเรียกว่าอะไรนะ ยกเลิกกฎหมายเก่าไป ใช่ไหม มันก็เป็นธรรมดา  ไม่งั้นก็วุ่นวายตายเลยใช่ไหม ก็มีภิกษุณี 2 ฝ่ายทะเลาะกัน แล้วใครจะไปบวชกับสงฆ์หล่ะ ใช่ไหม ก็ไปหาพระสักองค์ สององค์ก็บวชได้แล้ว ก็จะมีภิกษุณีแบบนี้เยอะแยะ อ้าวแล้วต่อไปเนี่ย ถ้าเกิดเมืองไทยอ้างอันนี้แล้วก็ไปบวชกับภิกษุขึ้นมา  ต่อไปก็จะเป็นข้ออ้างได้ว่าพอมีภิกษุณีแล้ว ก็จะใช้วิธีบวชเป็นสงฆ์  ก็ต้องมีภิกษุณีมาบวชด้วย  แล้วต่อไปก็จะมีผู้หญิงที่ไม่ต้องการบวชแบบนี้ ก็ไปหาพระองค์ไหนก็ได้มาบวชให้ ต่อไปจะยุ่ง ๆ ใหญ่  มันก็ต้องชัด  เรื่องนี้ผมไม่เคยตัดสิน  ผมได้แต่บอกว่าให้แยกเป็น 3 ขั้นตอน

    1. หลักการว่าอย่างไร ข้อมูล ข้อเท็จจริงว่ากันให้ชัด

    2. ความต้องการของเราคืออะไร

    3. ความต้องการและตัวหลักการนี้มันไปกันได้ไหม หรือมันมีทางที่จะปรับให้เข้ากันได้แค่ไหน เพียงไร

    และตกลง ข้อที่ 3 เราจะเอาอย่างไร ไอ้ข้อที่ 3 เนี่ย ให้เป็นของส่วนรวมช่วยกันคิด เพราะฉะนั้นผมจะไม่ไปตัดสิน ตามปกติผมไม่ชอบแสดงความคิดเห็น ก็บอกว่าเอาแค่ข้อมูล ความรู้ หลักการกัน ว่ากันให้ชัดไปเลย อย่าเพิ่งเอาความเห็น ทีนี้ที่มันเป็นปัญหา เวลานี้มาก ก็คือว่า ไม่รู้ว่าตอนที่พูดหลักการ ข้อมูล หรือพูดความเห็น ว่ากันนัวเนียไปหมดเลย มันยุ่งตรงนี้ ใช่ไหม เอาหลักการว่าให้ชัดเลย ข้อมูลในพระธรรมวินัยว่าอย่างนี้ ๆ มันเป็นยังไงกันแน่  เรารู้แล้ว เราทำหลักการ ทำตามความต้องการของเราคืออะไร แล้วในที่สุดก็มาสรุป แล้วเราจะเอายังไง เราจะยอมรับหลักการนั้นไหม หรือเราจะเอาแค่ความต้องการของเรา หรือเราจะปรับให้เข้ากันได้อย่างไร ใช่ไหม อันนั้นเป็นส่วนของความคิดเห็นลงท้าย

    ถาม ที่พระเดชพระคุณชอบบอกว่า คนไทยชอบแสดงความคิดเห็น แต่ไม่มีการแสวงปัญญา ???

    ตอบ ไม่แสวงหาความรู้ ไม่หาความรู้แต่ชอบแสดงความคิดเห็น เนี่ยมันเลยปนกันวุ่นวายไปหมด

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service