แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คำถาม : ปัญหาของสองพวก พวกที่เชื่อมั่นในเทคโนโลยี กับนักอนุรักษ์ เขาว่าเนื่องจากเทคโนโลยีไปทำลายสภาพแวดล้อม ดูแล้วมันจะสวนทางกัน ไม่มีการประนีประนอม ท่านคิดว่ามันจะมีการประนีประนอมหรือว่าจะประสานสอดคล้องกันได้ไหม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : คือในความเป็นจริงอาจจะยาก แต่ว่าโดยหลักการเราพูดได้ โดยหลักการก็คือว่าเราเห็นว่าวิธีการแบบนั้นเป็นสุดโต่ง ซึ่งในอเมริกาก็เป็นอเมริกาก็จะมีพวกหนึ่งที่ว่าเชื่อในเทคโนโลยีเต็มที่ ไม่ฟังทั้งนั้น สภาพแวดล้อมจะเสีย ก็โลกนี้เสียเสียไป เราขับยานอวกาศไปพัฒนาโลกดาวอังคารไป ใช่ไหม พวกนี้เชื่อในเทคโนโลยี ก็ช่างมัน เรื่องธรรมชาติแวดล้อมก็ไม่ต้องคำนึง อีกพวกหนึ่งก็เห็นว่าเทคโนโลยีเป็นตัวทำลาย เพราะเทคโนโลยีมา ทำให้สภาพแวดล้อมเสียไป เพราะฉะนั้นเราไม่จำเป็นต้องอาศัยมัน เราอยู่กับธรรมชาติก็ได้ ฉะนั้นพวกนี้ปฏิเสธเทคโนโลยีสิ้นเชิง ขออยู่กับธรรมชาติอย่างเดียว ฉะนั้นก็มีเป็นสมาคมเป็นกลุ่มอะไรขึ้นมา พวกนี้ปฏิเสธเทคโนโลยี อาตมามองว่าเป็นสุดโต่งเกินไป คือเราจะต้องมีหลักการ หมายความว่าเราจะใช้เทคโนโลยีเพื่ออะไร สร้างเทคโนโลยีเพื่ออะไร หมายความว่าระบบคุณค่าทางจิตใจ ระบบจริยธรรมมันต้องมีประสานกัน แล้วคนก็จะสร้างเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีในแนวทางนั้น ไม่เป็นพิษเป็นภัย หลักการก็มีว่าเทคโนโลยีใดที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมคุณค่าทางจิตใจ พัฒนาปัญญา เราส่งเสริมอันนั้น อะไรอย่างนี้เป็นต้น หรือการใช้ประโยชน์ในแง่นั้น อย่างแม้แต่รัฐก็ต้องมีนโยบายในการบริหาร ว่าทำยังไงเราจะส่งเสริมในแนวนี้ได้
คำถาม : หมายความว่าเทคโนโลยีก็เอามาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ได้ เมื่อเราจะพัฒนาเทคโนโลยีอันใหม่ เราจะต้องมององค์ประกอบในด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ว่าตัวนี้จะมีผลกระทบอย่างไร ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วตอนนี้ก็กำลังคิดเรื่องนี้มาก แต่มันก็เป็นการต่อสู้กันอีกแหละ เพราะว่าเกี่ยวกับเรื่องระบบผลประโยชน์ แล้วพวกอุตสาหกรรมเขาก็ไม่พอใจ พวกนี้ก็จะพยายามบิดเบือน แล้วก็ครอบงำด้วย ฉะนั้นในอเมริกาขณะนี้ก็เป็นปัญหา พวกหนึ่งก็เป็นห่วงสิ่งแวดล้อมมาก วิทยาศาสตร์ก็พยายามที่จะหาความจริงให้ เพราะวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ก็จะเอาความจริงเข้าว่า ว่าเรื่องนี้กระทบกระเทือนธรรมชาติยังไง หาเหตุของความจริงให้ แต่พวกอุตสาหกรรมก็ถือผลประโยชน์ พวกนี้จะมาพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง แล้วจะมาให้สินบนหรืออะไรนักวิทยาศาสตร์บางคน อะไรอย่างนี้นะ ถ้าไม่มีจริยธรรมก็อาจจะไป เมื่อก่อนนี้เราจะเห็นว่าวิทยาศาสตร์กับอุตสาหกรรมเป็นตัวหนุนกัน เป็นพวกเดียวกัน วิทยาศาสตร์ช่วยให้อุตสาหกรรมเจริญเพราะเทคโนโลยีได้ช่วยเป็นเครื่องมือของอุตสาหกรรม แต่มาตอนนี้อุตสาหกรรมกับวิทยาศาสตร์เริ่มขัดกัน เพราะว่าวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ไปขัดขวางผลประโยชน์ของอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้นอุตสาหกรรมนี่ วิทยาศาสตร์บอกว่าอันนี้มันทำให้เกิดผลเสียกับธรรมชาติอย่างนั้น ทีนี้อุตสาหกรรมยอมรับไม่ได้ เสียผลประโยชน์ เราจะเห็นหารเปลี่ยนท่าทีกัน เหมือนกับกลุ่มการเมือง สถานการร์มันชักจะตีตัวจาก อย่างพวกวิทยาศาสตร์เนี่ย
คำถาม : แล้วอย่างปัญหาสภาพแวดล้อมที่เสียไปมาก ท่านคิดว่าแนวทางแก้ไขควรจะเป็นยังไง
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : แนวทางก็มีหลายด้านนะ คุณค่าทางจิตใจนี่เราก็ทิ้งไม่ได้ คือในเรื่องของการพัฒนาคน คนเราต้องการให้อนุรักษ์ธรรมชาติ นี่คือสิ่งหนึ่งที่ต้องการ เพราะเรารู้แล้วว่าการทำลายธรรมชาตินั้นมีผลเสียมากมาย ก็ต้องอนุรักษ์ธรรมชาติ ทีนี้ปัญหาตามหลักเหตุผลเลยว่า แล้วทำไงคนจะอนุรักษ์ธรรมชาติ พูดกันไป ตั้งกฎเกณฑ์กฎหมาย นี่มันได้ผลเพียงแค่เปลือกใช่ไหม มันต้องมาจากจิตใจนะคนที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่งั้นเขาก็ต้องหลบเลี่ยง
หาทาง แม้แต่ว่าระบบราชการเองก็มาคอรัปชั่นกัน แล้วกฎหมายก็ไม่ได้ผล ซึ่งไม่ได้เป็นเฉพาะในประเทศไทย อเมริกาก็เป็น อาตมานึกว่าอเมริการักษาป่าได้ดี จริงๆ เขาก็รักษาได้ดีกว่าเรา แต่เมื่อไม่นานนี้ ญาตโยมที่รู้จักกัน บอกว่าเดี๋ยวนี้พาร์คในถนนประเทศอเมริกาไม่สวยงาม เหมือนถนนแล่นเข้าไปในพาร์ค มีต้นไม้ร่มรื่น บอกว่ามันก็มีแต่ฉากหน้าติดถนน พอเลยออกไปมันไม่มีแล้วต้นไม้ อย่างบ้านเราภูเขาที่ติดถนนมีต้นไม้เยอะ พอไปด้านหลังไม่มีเลย อย่างนี้ นี่ก็คือว่ากฎหมายอย่างเดียวไม่ได้ มันจะต้องจิตใจคน จะต้องอนุรักษ์ธรรมชาติ คือต้องการตรงนี้ แต่ในด้านจิตใจคนจะต้องรักธรรมชาติ แต่ทำไงคนจะรักธรรมชาติ ก็ต้องให้มีคุณค่าต่อจิตใจ คือคนจะต้องมีความสุขในการอยู่กับธรรมชาติ ถ้าเมื่อไหร่เขามีความสุขกับธรรมชาติด้วย เขาจะรักธรรมชาติและอนุรักษ์ธรรมชาติด้วย อันนี้เป็นกฎแห่งเหตุปัจจัยนี้แหละที่เรียกว่าพุทธศาสนามอง ไม่ใช่มองเฉพาะวัตถุ มองในแง่ของจิตใจด้วยว่ามันเป็นไปตามกฎแห่งเหตุปัจจัย แล้วพุทธศาสนาถือหลักแห่งการเป็นไปตามเหตุปัจจัย ถ้าคุณทำเหตุปัจจัยนี้ถูก คุณได้ผลเอง ฉะนั้นคุณจะอนุรักษ์ธรรมชาติ คุณต้องรักธรรมชาติ คุณจะรักธรรมชาติ คุณต้องเป็นสุขกับธรรมชาติด้วย ถ้าคุณเป็นสุขกับธรรมชาติ คุณก็ต้องรักธรรมชาติ ธรรมดา ใช่ไหม ทีนี้เราก็ต้องปลูกฝังให้การศึกษาเป็นแต่เล็กๆ ให้เด็กรู้สึกว่าธรรมชาตินี้สวยงามน่านัก เราอยู่แล้วเราเย็น เราสบาย อะไรอย่างนี้นะ แล้วในระยะที่ผ่านมานี้เราได้สอนให้เยาวชนของชาติ เราสอนให้เห็นว่าธรรมชาติเป็นตัวขัดถ่วงการพัฒนา เป็นอุปสรรคกับการหาความสุขของเรา ความสุขของเราอยู่ที่เทคโนโลยี ฉะนั้นธรรมชาติเป็นตัวขัดขวาง ฉะนั้นแนวโน้มจึงต้องปรับเปลี่ยนใหม่ ถ้าพัฒนาลักษณะจิตใจอย่างนี้ได้ เราก็เริ่มรักธรรมชาติแล้ว รักธรรมชาติได้ อันนี้ด้านหนึ่ง
คำถาม : รัฐบาลพยายามที่จะใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาผลักดันให้ประเทศมีอุตสาหกรรมมากๆ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : อาตมาก็ยังระแวง ก็ไม่ได้ศึกษาเรี่องนี้ชัดเจน มันมีระบบผลประโยชน์เข้าไปเกี่ยวข้อง คือหมายความว่าในการตัดสินใจเหล่านี้มันเกิดจากการที่รัฐคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของสังคมแค่ไหน แล้วก็การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ผลได้ เช่นว่าบริษัทลงทุนต่างประเทศ จะให้ผลประโยชน์กับนักการเมืองคนนี้ เพื่อจะได้ทำกิจการอันนี้ได้ เสร็จแล้วที่จริงมันเป็นภัยต่อธรรมชาติ แต่คนนี้ก็เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัว ก็ตัดสินใจเข้าไปในทางที่เอาอุตสาหกรรมนี้เข้ามา นี่เราไม่รู้ว่ามันเป็นเพราะเหตุนี้หรือว่าอะไร ทีนี้อาตมาว่าถ้าหากว่าเราทำกันอย่างบริสุทธิ์ใจ เราก็ต้องมีการพิจารณากันโดยรอบคอบ หนึ่ง-เทคโนโลยีที่นำเข้ามาพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ เราก็ต้องเลือกคัดจัดสรรให้มาก ว่าจะทำให้เสียสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด มีความจำเป็นแค่ไหนในการพัฒนาประเทศ บางทีเราต้องยอมเสียบ้างนิดหน่อย เพื่อว่าเราจะได้อะไรบางอย่างที่ดีกว่า แต่ว่าการตัดสินใจที่เป็นไปโดยเหตุผลบริสุทธิ์ มันจะช่วยให้การพัฒนานั้นถูกทาง ทีนี้ปัญหาในขณะนี้คือปัญหาเรื่องจิตใจคน ที่เป็นปัญหาหนักเลย มันอาจจะผิดไปหมดเลย จากวิถีทางที่มันควรจะเป็น
คำถาม : อยากให้ท่านช่วยฝากข้อคิดให้กับคนที่แบบโรงเรียน หรือว่าทำงานในวงการวิทยาศาสตร์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ในแง่หนึ่งมันก็เป็นเรื่องของการศึกษาแหละ แล้วการศึกษานี้มันก็มีสองระดับ คือการศึกษาเพื่อจุดมุ่งหมายของตัว การศึกษานั้นเอง โดยวิชาการสาขานั้นๆ เอง อย่างหนึ่ง กับการศึกษาที่มาสนองความต้องการของบุคคล คือตัวเราผู้เล่าเรียนเอง ซึ่งว่าเราจะทำไงจะประสานสองส่วนนี้ให้กลมกลืนกันได้ แล้วก็ไปสู่ผลประโยชน์ส่วนรวมที่ไม่เสีย คือเราได้ประโยชน์สนองความต้องการของตัวเองด้วย อย่างผู้เรียนศึกษานี่ เราก็ต้องยอมรับความจริงว่า เราเรียนเพื่อที่จะเอาไปใช่เป็นเครื่องมือประกอบอาชีพได้ มีรายได้ อะไรต่างๆ แต่ว่าตัววัตถุประสงค์ของวิชาการนั้นแท้ๆ มันไม่ใช่อย่างนั้น มันเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ของมัน ความก้าวหน้าของวิชาการนั้นบ้าง หรือเพื่อประโยชน์ของสังคมในบางแง่ การที่นำมาใช้แก้ปัญหาของสังคมในบางอย่าง วิชาการบางอย่างนี่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาของสังคม ในแง่นั้นๆ หรือของมนุษยชาติในแง่นั้นๆ แต่คนที่เรียนนี่บางทีไม่ได้คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของวิชาการนั้นๆ เลย แต่คำนึงถึงแต่ว่าการสนองความต้องการของตัวเองอย่างเดียว ทีนี้ก็มีแนวโน้มว่าเราจะศึกษาเพื่อสนองความต้องการของบุคคลอย่างเดียวนี่มากทีเดียว จนกระทั่งลืมวัตถุประสงค์ทางวิชาการนั้น ไม่ต้องพูดถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาทั้งหมดนะ นั่นอีกสองชั้นนะ ฉะนั้นเราจะต้องขยายจิตใจให้มันกว้างขึ้น หนึ่ง- การสนองความต้องการของตัวเอง ของบุคคล หรือปผลประโยชน์ส่วนตัว นี่อันที่หนึ่ง เรายอมรับความจริง สอง-เราจะต้องไม่ลืมวัตถุประสงค์ของวิชาการนั้นๆ ที่ว่ามันมีขึ้นแล้วพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาส่วนใดของมนุษยชาติหรือของสังคม จะต้องพยายามให้เกิดอันนั้น สาม-ที่ลึกลงไปเป็นพื้นฐานทั้งหมดก็คือจุดมุ่งหมายของการศึกษาทั้งหมดเลย ที่ว่าเป็นการพัฒนาอาวุธ ถึงตัวเราเองตอนนี้เราจะมองกลับมาว่าการที่เราไปคิดใช้วิชาการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว เรามีเงินมีทอง มีเกียรติมีชั้นมีตำแหน่ง มันเป็นเพียงด้านหนึ่งของชีวิต เราจะต้องพัฒนาชีวิตของเราเองขึ้นไปด้วย ให้มีความเจริญงอกงาม มีปัญญามากขึ้นจนกระทั่งรู้เข้าใจโลกและชีวิตนี้ถูกต้องด้วย จนกระทั่งมีท่าทีต่อทรัพย์สินเงินทองอะไรในสิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของการศึกษาอีกชั้น นี่ก็เป็นแง่หนึ่งที่อาจถือเป็นคำฝากไป
คำถาม : ที่นี่มีการนั่งวิปัสสนาไหมคะ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ก็นั่งกันเองภายใน ไม่ได้เปิดรับคนข้างนอก พระเณรที่อยู่ที่นี่ก็มีการสวดมนต์ทำวัตร แล้วก็มีการนั่งสมาธิ ??? ถ้าว่าสภาพแวดล้อม ก็นับว่าดี
คำถาม :มีกี่ไร่คะ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : 11 ไร่เศษๆ
คำถาม : ท่านสร้างที่นี่นานหรือยังคะ ท่านอยู่ที่นี่
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : มาได้ 2 ปีกว่านิดหน่อย
คำถาม : พื้นที่นี่ใช้ทั้งหมดเลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : โดยมาเราจะให้เป็นป่า
คำถาม : ยังทำอนุรักษ์ธรรมชาติด้วย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ก็ไม่ได้คิดในแง่ของการอนุรักษ์ คือเห็นว่ามันดี เราอยากจะให้มีป่า มีธรรมชาติ คล้ายๆ ว่าชอบว่ามันดี ไม่ได้ไปคิดในแง่ว่าจะช่วยเขาอนุรักษ์หรือเปล่า อาจจะพ่วงเข้ามา คือความคิดที่จะอนุรักษ์มันเป็นสิ่งพ่วงมากกว่า ตัวจริงมันอยู่ที่เราพอใจว่ามันดี หรือว่ามันควรจะมี หรือสภาพแวดล้อมส่วนใหญาเห็นว่ามันควรจะเป็นป่า เราก็เลยจะเอาอย่างนั้น โดยไม่ได้คิดถึงเรื่องอนุรักษ์อะไร
คำถาม : เมื่อกี้ติดใจเรื่องปัญญา จะมีวิธีอะไรที่ส่งเสริมปัญญาให้มันดีขึ้น พัฒนาตัวเอง ท่านช่วยให้คำแนะนำ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : หนึ่ง-วิธีคิดเป็นสำคัญ การคิด เวลามองอะไรต่างๆ นี่นะ มันก็มีวิธีมอง แต่พื้นฐานก็คือว่าคนส่วนใหญ่ถ้าเรายังไม่ได้ฝึก เราจะมีความรู้สึกแค่นั้นเอง คือมันไม่มีวิธีการที่จะนำไปสู่ปัญญา เวลาเรารับรู้สิ่งต่างๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น เราจะมีความรู้สึกคือถูกใจ ไม่ถูกใจ ชอบไม่ชอบ โดยมากจะอยู่ระดับนี้ พออยู่ระดับนี้มันก็ไม่เข้าไปสู่การใช้ปัญญา ทีนี้วิธีมองอย่างหนึ่งก็คือว่าพอมองปั๊บจะมองแบบหาความรู้ทันที มันจะเป็นจุดเริ่มเลย เพราะว่าจุดเริ่มของมนุษย์อยู่ที่ประสบการณ์ เพราะว่าชีวิตของเราแต่ละวันนี่มันอยู่กับประสบการณ์แทบทั้งนั้นเลย ประสบการณ์ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ทีนี้ในเรื่องชีวิตของเราส่วนใหญ่ก็อยู่กับเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นการที่จะให้มันเกิดผลอย่างไรต่อชีวิตเรา ก็อยู่ที่ว่าเราจะปฏิบัติต่อมันอย่างไร จากประสบการณ์เหล่านี้ ถ้าปฏิบัติถูกต้องในทางปัญญา ปัญญาเริ่มเกิดแล้ว แล้วก็เริ่มมองสิ่งทั้งหลายแบบ อย่างพุทธศาสนาพอมองปั๊บให้มองแบบมองหาเหตุปัจจัยเลย ท่าทีวิทยาศาสตร์ก็แบบนั้น พอมองอะไรก็มองแบบเรียนรู้ คือถ้าคนธรรมเขาเรียกว่ามองแบบชอบใจ ไม่ชอบใจ คนทั่วไปจะเป็นอย่างนั้น ชอบใจ ไม่ชอบใจ ถูกใจเราไหม สวยงามไหม ใจเราอยากได้ไหม อะไรเนี่ย ไปอย่างนั้น ถ้าไม่อยากได้ ขัดใจ ทางพระเรียกว่ายินดียินร้าย คนทั่วไปจะมองแบบนี้ ที่นี้พอเราเริ่มฝึก เราจะมองแบบเรียนรู้ เราจะไม่คำนึงว่าชอบใจหรือไม่ชอบใจ เรียนรู้ว่ามันคืออะไร มันเป็นยังไง มันเกิดจากอะไร วิธีการมองอย่างนี้ก็ฝึกสมองตลอดเวลา ฉะนั้นปัญญาก็เกิด ฉะนั้นก็เริ่มตั้งแต่วิธีมองจุดมุ่งหมาย มองแบบเรียนรู้ ไม่ใช่มองแบบชอบชัง จากจุดเริ่มนี้ก็นำไปสู่การปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายจนเป็นนิสัย พอพบอะไร เกิดสถานการณ์อะไรขึ้นปั๊บ มันมองไปอย่างนั้นเลย มันเคย นี่ก็เป็นวิธีหนึ่ง
คำถาม : ??? มีคำถามที่ว่าจะใช้ธรรมะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา พระภิกษุท่านที่???
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : เดี๋ยวนี้เรามีปัญหามาก ในแง่หนึ่งก็คือ ความเป็นไป ความเปลี่ยนแปลงของสังคมของเราเอง ที่ทำให้สงฆ์หรือพระส่วนมากมันถอยห่างความเป็นไปในสังคม ไม่รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง แล้วก็ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้รับการศึกษาเพียงพอ ไม่ค่อยเข้าใจอะไรต่างๆ เพราะฉะนั้นการที่จะมาช่วยสังคมก็เลยทำได้ยาก ไม่เข้าใจปัญหา แล้วแม้แต่ความรู้ทางศาสนาเองก็ไม่มีด้วย บวชเข้ามาแล้วก็ไม่ได้เรียน คือเรามีประเพณีมา ต่อมาประเพณีนี้มันเป็นตัวเอื้อทำให้ว่าคนที่ไม่มีทางไป เข้ามาอยู่ในนี้เยอะ เพื่อหาเป็นช่องทางที่จะอยู่ในสังคมได้ มองไปในแง่หนึ่งก็คือสังคม การบริหารของรัฐไม่สามารถเอื้ออำนวยช่วยประชาชนทั่วถึงได้ ประชาชนส่วนหนึ่งก็ต้องอาศัยสถาบันสงฆ์ที่มีอยู่แต่โบราณนี้มาช่วยชีวิตของเขาไว้ มันพันกันไปหมด ปัญหา เสร็จแล้วเมื่อเขาเข้ามาแบบนี้ กำลังคนของศาสนาก็แย่ ไม่มีคุณภาพเพียงพอ จะไปทำอะไรก็ช่วยไม่ได้เต็มที่ เพราะฉะนั้นพระสงฆ์ที่จะมาช่วยทำหน้าที่ที่ว่าไปเผยแผ่คำสั่งสอน แม้จะทำให้ได้ปัญญา แต่ก็ทำได้ไม่มาก ก็มีแต่ว่า กลายเป็นว่าสถาบันสงฆ์เป็นที่พักพิงของคนที่เข้ามาเพราะว่าเขาไม่มีช่องทางไปบ้างอะไรบ้าง หรือว่าเป็นที่ให้การสงเคราะห์ หรือว่าช่วยพอให้เขาได้มีการศึกษาขึ้นมา แต่ว่ามันกลายเป็นเครื่องช่วยแก้ปัญหาสังคมแบบหนึ่งเหมือนกัน คือในระยะที่แล้วมานี้ บทบาทที่ทำ หลักของสถบันสงฆ์ก็กลายเป็นสถาบันช่วยแก้ปัญหาสังคมในแง่ของคนด้อยโอกาสของสังคมไป โดยที่สังคมส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว ผู้บริหารรัฐก็ไม่รู้ตัว เช่นว่ารัฐสมัยที่แล้วมามีปัญหาเรื่องความไม่เสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา ปัญหาช่อวงว่างใหญ่นี้เกิดขึ้นมา ถ้าเกิดว่าคนในชนบทเข้าไม่ถึงการศึกษา คนยากจนลูกชาวไร่ชาวนา ก็ไปหาวัด ไปเล่าเรียนที่วัด วัดก็กลายเป็นที่แก้ปัญหานี้ หรือช่วยผ่องเบาปัญหานี้เลย ฉะนั้นก็กลายเป็นว่าสถาบันในระดับก็มีปัญหา การที่จะมาช่วยสังคมในระดับส่งเสริมพัฒนา มันเลยยาก ฉะนั้นกลายเป็นสถาบันที่ไปแก้ปัญหาให้กับสังคม ตอนนี้เราก็เลยว่าอาจจะมีภาพบางส่วนที่พอจะรู้ตระหนักปัญหา หรือมีกำลังก็มาช่วยงานประเภทนี้ได้ แต่ว่ามันต้องมีนโยบายของรัฐด้วยที่จะมาช่วยกันว่าจะให้ฝ่านสงฆ์นี้เข้าไปร่วมมือกับรัฐ ในการแก้ปัญหา ในการพัฒนาได้อย่างไร ทีนี้นโยบายการประสานในกลุ่มต่างๆ ในสถาบันต่างๆ ในสังคมของเราก็ยังมีไม่เพียงพอ ฉะนั้นก็ยังเป็นการทำงานแบบส่วนละส่วน ใครทำใครทำไป
คำถาม : ท่านคิดว่าสื่อสารมวลชน ควรมีบทบาท ???
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : อันนี้ก็ไม่ค่อยชัด สื่อมวลชนของเราทำงานได้กี่เปอร์เซนต์ก็ยังน่าสงสัยนะ ในแง่ของการช่วยพัฒนาสังคม หนึ่ง-ระบบผลประโยชน์ยังหนาแน่นในหมู่สื่อมวลชนเองด้วย บางทีเขาแม้แต่การให้ข่าว เสนอข่าวก็มุ่งในแง่ผลประโยชน์มากกว่า แทนที่จะมุ่งเพื่อประโยชน์แก่สังคมหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ประชาชนก็มีนิสัยอยู่แล้ว ไม่ได้ใฝ่รู้ ไม่ได้ต้องการเอาสื่อมวลชนมาใช้งานในแง่ของการหาความรู้ แล้วพัฒนาคุณภาพชีวิต แต่มุ่งเพื่อจะสนุกสนานตื่นเต้น ซื้อหนังสือพิมพ์เพื่อจะอ่านข่าวตื่นเต้น แล้วก็วิพากษ์วิจารณ์กันแค่นั้น ใช่ไหม เจริญพร เป็นอย่างนั้นหรือเปล่า ก็เลยเป็นปัญหามาก
คำถาม : สุปแล้วปัญหาทุกอย่างที่เกิด ก็อยู่ที่จิตใจ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ก็มันโยงไป อย่างที่อาตมาว่ามันรุปธรรม นามธรรม มันอาศัยกัน คือในแง่เศรษฐกิจมันก็มาเป็นปัจจัยปัญหาทางจิตใจได้เหมือนกัน มันต้องทั้งสองอย่าง มันสัมพัทธ์ มันทั้งสัมพันธ์และสัมพัทธ์ คือพุทธศาสนาไม่ได้เป็นศาสนาจิตนิยมแท้จะ คือถือเรื่องวัตถุเป็นสำคัญในระดับหนึ่ง ก็ให้ความสำคัญ ท่านเรียกว่า รูป นาม ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ก็มีความสำคัญด้วยกัน แต่รูปธรรมมันจะมีขอบเขตความสำคัญมากอีกระดับหนึ่ง พอพ้นขีดนั้นแล้ว เรื่องจิตใจจะมีความสำคัญมาก อัตราสูงขึ้น
คำถาม : อยากจะเรียนถามคร่าวๆ ว่า สำนักสงฆ์นี้มีพระกี่รูป
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : 3 เท่านั้นเอง เณรก็คือตอนนี้คือนักเรียนที่บวชนาคแล้ว 4 องค์ น้อย เพราะว่าที่อยู่เรามีนิดเดียว มีกุฏิอยู่ 2 หลัง ต่อไปก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นมา แต่ว่ามุ่งจะให้เป็นป่านะ
คำถาม : ที่ฉะเชิงเทรา หลวงพ่อมีสำนักสงฆ์อีกแห่ง
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : อ๋อ มีโยมถวาย ก็ไปพัก ไปทำงาน เวลาปลีกตัวได้ เพราะที่โน่นอยู่ห่างไกล แล้วก็มีเวลาที่จะทำงานได้มากขึ้น อยู่ที่พนมสารคาม ...ก็ขออนุโมทนา สุขสวัสดี