แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
พระนวกะ - คราวนี้ก็จะมาถามท่าน เกี่ยวกับกับเรื่องปัญญา กลับมาที่เรื่องปัญญาว่า มีศัพท์คำหนึ่งว่าปัญญาแทงตลอดนี่ อยากจะทราบว่าปัญญาตัวนี้มันคืออะไร แล้วก็ลักษณะที่มันเกิดขึ้น หรือการนำไปใช้เนี่ย มันจะเป็นลักษณะยังไงครับ
พระพรหมคุณาภรณ์ - คือเป็นความพยายามในการแปล อย่าไปติดคำแปลเลย คือท่านก็หาคำแปล ไม่รู้จะแปลว่ายังไงดี แปลยากจริง ๆ ศัพท์ทั้งหลายเนี่ย ในพระพุทธศาสนานี่เราก็ทราบกันอยู่แล้วท่านถึงเน้นปัญญา ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นศัพท์ที่เกี่ยวกับปัญญา นี่มากเหลือเกิน ถึงกระทั่งมาเป็นภาษาไทยนี่หาคำแปลไม่ถูกเลย แล้วก็เลยต้องค่อยๆ ศึกษาเอาว่า ศัพท์ที่มีความหมายว่าเป็นปัญญา แต่เป็นปัญญาในแง่นั้นแง่นี้ ทำหน้าที่ในด้านนั้นด้านนี้ในระดับนั้นระดับนี้น่ะ มันคือความหมายอย่างไร ต้องค่อยๆ ทำความเข้าใจ คือมันแยกกันโดยระดับก็มี ก็คือปัญญานั่นแหละ แต่ต่างระดับมีชื่อเรียกต่างๆ โดยการทำหน้าที่ ก็แยกกันในศัพท์ อะไรอย่างงี้ ขอยกตัวอย่าง ปัญญามีชื่อ ผมก็นึกไม่ทัน มันมากมายที่ท่านว่า เรียกว่าปฏิเวท ปฏิเวท แปลว่าแทงตลอด แทงทะลุ ที่นี้มันมี ปัญญาที่เรียกว่าญาณ นี่ใช้มาก ญาณก็เป็นปัญญา อีกชื่อหนึ่งของปัญญา แต่ปัญญาเหมือนกับเป็นปัญญาที่ได้สำเร็จผล ในระดับหนึ่งในเรื่องหนึ่งๆ ก็เรียกว่าญาณ อย่างเช่นญาณ ที่รู้การเกิดดับ ท่านก็ใช้ชื่อเข้ามา มีคำประกอบว่า อุทยัพพยญาณ อย่างนี้เรียกว่า ทั้งนักปฏิบัตินักวิปัสสนาก็จะเคยได้ยิน รู้ความเกิดขึ้นและดับไป เนี่ยก็คือปัญญาที่ ได้ผลสำเร็จในเรื่องนั้นก็มีชื่ออย่างงั้น สำเร็จผลอย่างหนึ่ง ๆ หรือในขั้นตอนหนึ่งก็มีชื่อนั้นไปเลย ญาณนี่คล้ายๆ เป็นปัญญาในระดับคนก็ว่าได้ ที่สำเร็จผลเป็นเรื่องๆ หนึ่ง ทีนี้ ปฏิเวทนั้นเป็นปัญญาที่คล้าย ๆ จำเพาะที่ทำการ ให้สำเร็จ ความรู้ขั้นที่ได้เข้าถึงความจริง ในระดับ ระดับจริงแท้ที่บรรลุธรรม ปฏิเวท ทีนี้อย่างปัญญาบางอย่าง โกศล ก็เป็นปัญญา ความฉลาด ฉลาดในเรื่องการทำงานทำการ รู้อุบาย รู้วิธีว่าจะจัดสรรอย่างไร อย่างนี้เรียกว่าโกศล ปัญญาอีกแบบหนึ่ง ปัญญาในการจัดการ แล้วก็มีปัญญาเรียกว่า อภิญญา แล้วก็มีปัญญาที่เรียก สัมปชัญญะ อันนี้ก็ใช้บ่อย สัมปชัญญะ ก็เป็นชื่อหนึ่งของปัญญา จะไปใช้คู่กับสติ สติสัมปชัญญะ โดยเฉพาะก็มุ่งว่า เป็นปัญญาที่พร้อม รู้พรึ่บ พร้อม เฉพาะหน้าในเรื่องนั้น เหมือนอย่างเราทำอะไรเนี่ย อย่างขับรถเนี่ย เรามีสติสัมปชัญญะ สติก็หมายความว่าใจก็อยู่ในเรื่องการขับรถ ก็เป็นสติใช่ไหม พอสติมันอยู่กับการขับรถ ไอ้ความรู้ที่เรามีเกี่ยวกับเรื่องการขับรถมันพรึ่บเอง ไม่ต้อง ไปนั่งนึก ไม่ต้องไปทวนมัน ใช่มั้ย มันพร้อมทันทีเลย ความรู้พรึ่บพร้อมอย่างนี้เรียกว่า สัมปชัญญะ พอสติมาสัมปชัญญะก็พรึ่บไปด้วย ก็ทำการได้เลยใช่มั้ย ท่านรู้เรื่องการขับรถเนี่ย ท่านไม่ต้องไปนั่งทบทวน ลำดับความรู้นั้น ใช่มั้ย ใช้ได้เลย สำหรับการขับรถใช้ได้เลย มันมาพรึ่บ แต่ปัญญาบางอย่างมันไม่มา ท่านต้องไปคิด อย่างท่านขับรถเนี่ย ท่านก็ขับรถได้เลยพอมีสติ ก็ขับไป ก็ถ้าจะไปมีปัญญาว่า ไอ้รถยี่ห้อนี้กับรถยี่ห้อนั้นมันดีกว่ากันในแง่ไหน แล้วก็ทำจากประเทศไหน แล้วมันทำจากประเทศไหน มันจะดีกว่ากันยังไง อะไรต่ออะไร แง่ดี แง่เสียยังไง อะไรต่อยังไง สืบค้นเหตุปัจจัยลึกซึ้งลงไป ยังไง อะไรอย่างนี้นะ อันนั้นไม่ใช่แค่ที่จะใช้ตอนนั้น ศัพท์นี่เราก็จะลึกลงไป จะหาศัพท์ อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นปัญญามันจึงเลยมีชื่อมาก แต่คำว่าปัญญาก็คือคำรวม ใช้รวมพรึ่บหมดเลย คลุมทีเดียวเลย เรียกว่าปัญญา แล้วเราก็ไปแยก ว่า ทำหน้าที่นั้น เรียกว่าอย่างนั้น อย่างปัญญาชนิดหนึ่งเรียกว่า ปฏิสัมภิทา อันนี้ก็เป็นปัญญาสำหรับจัดการกับข่าวสารข้อมูล ท่านจะใช้สำหรับพวกนักสอนนักเทศน์ นักเผยแพร่พุทธศาสนา ต้องมีปฏิสัมภิทา คือก็ไม่รู้จะแปลยังไง ก็แปลว่าปัญญาแตกฉาน ว่างั้นนะ แตกฉานอะไร ก็ต้องอธิบายกันอีกที หมายความว่า เช่น อย่าง ปฏิสัมภิทา 4 เป็นปํญญาที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูล พออ่านอะไร ฟังอะไร เข้าใจความหมายของสิ่งที่เค้าพูด ของสิ่งที่เค้านำเสนอ ของสื่อที่ได้แสดงออกมา เข้าใจความหมาย เข้าใจ เข้าใจหมด อย่างฟังเนี่ยนะ เราต้องถามตัวเองว่าเข้าใจหมดมั้ย ถ้าเข้าใจหมด ก็เป็นอันว่าได้ขั้นหนึ่งแล้ว เรียกว่าอรรถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในความหมาย ก็คือ ความหมายของสิ่งที่เค้าแสดงออกนำเสนอ ก็เนื้อความทั้งหมดแหละ เข้าใจหมด ที่นี้ต่อไป เข้าใจขั้นนี้แล้ว ที่เข้าใจนั้นสามารถจับประเด็นได้มั้ย ตัวประเด็นที่เค้าพูดนั้นอยู่ที่ไหน หรือเอามาสรุปเองก็ได้ ที่พูดมาทั้งหมด หนึ่งชั่วโมงเนี่ยลองสรุปสิว่า ได้เรื่องอะไร วิจัยความย่อว่าไง จับให้ได้ หรืออ่านหนังสือบทหนึ่ง ตอนหนึ่ง เล่มหนึ่งเนี่ย ต้องสรุปได้ ตั้งหัวข้อได้อย่างน้อย เราอ่านหนังสือไปหน้าหนึ่ง เราสามารถตั้งหัวข้อได้มั้ย เอาเนื้อความทั้งหมดในตอนนี้ ตั้งเป็นหัวข้อดูสิ ทดสอบความสามารถของตัว ถ้าเราเก่งจริง นอกจากว่า จับประเด็นได้แล้วยังสามารถในการที่จะเอามาสื่อได้อีกด้วย อันนี้จะเข้าข้อที่สาม สองข้อนี้เป็นฝ่ายรับ รับข่าวสารข้อมูล ได้มั้ย หนึ่งความเข้าใจ ความหมายของเนื้อความทั้งหมด สองก็คือจับประเด็นได้ จับจุดได้มั้ย จับมาสรุปตั้งหัวข้อได้มั้ย จับตัวสาระแก่นของมันได้เลย ฝ่ายรับ ทีนี้ฝ่ายแสดงออก เอาล่ะ พอรู้เข้าใจอย่างงี้แล้ว คุณสามารถสื่อสารกับผู้อื่น นำเสนอให้เค้าเข้าใจได้มั้ย อย่างน้อยต้องพูดให้เค้าเข้าใจได้ อย่างที่เราต้องการให้เค้าเข้าใจ บางคนตัวเองเข้าใจแต่พูดให้เค้าเข้าใจไม่ได้ พูดยังไงเค้าก็ไม่เข้าใจ นี่ข้อที่สาม มาแล้ว ต้องมีความสามารถในการใช้ภาษา สามารถใช้ภาษาในการสื่อสาร นำเสนอให้เขาเข้าใจได้ อย่างที่เราต้องการให้เข้าใจ ทีนี้ต่อไปอาจจะยิ่งกว่านั้นอีกนะ เราต้องการให้เขาเข้าใจอย่างไร พูดให้เขาเข้าใจได้อย่างงั้น ทีนี้พูดให้เขาเห็นด้วย เห็นตามอย่างที่เราต้องการให้เค้าเห็น ต้องการพูดให้เค้าเชื่อได้อย่างที่เราต้องการให้เชื่อ โอ้ นี่ชักเก่งใหญ่แล้ว แล้วก็พูดให้เค้าต้องทำอย่างที่เราต้องการให้ทำ โอ้ ไปกันใหญ่แล้ว ฮิตเลอร์ มาถึงแล้ว ใช่มั้ย ฮิตเลอร์นี่ทำได้ พวกนี้ต้องมีความสามารถในการสื่อ พระพุทธเจ้าต้องมีข้อนี้ ไม่ได้ใช้ทางร้ายนะ ใช้แต่ทางดี เอาล่ะ อันที่สามนี่มีความสามารถในการสื่อ ใช้ภาษาเก่ง ต่อไปก็ข้อที่สี่นี่ สำคัญที่สุดเลย ก็คือสามารถนำเอาข้อมูลความรู้ เท่าที่รู้เข้าใจ ทั้งหมดที่มีที่คิดที่รู้ อะไรต่างๆ มาเชื่อมโยงปรุงขึ้นเป็นความรู้ความคิดใหม่ แล้วใช้ในการแก้ปัญหา ทำการแก้ไขสถานการณ์หรือทำการสร้างสรรค์ใหม่ๆ ได้ ข้อที่สี่เนี่ย เด็ดขาดเลย บางคนเรียนมาเยอะ รู้ข้อมูลเยอะ เอามาใช้ไม่เป็นเลย บางคนนี่รู้ไม่มากเท่าไร่แต่ว่าเก่งในการที่เอาความรู้นั้นมาใช้ ก็คือต้องสามารถเชื่อมโยงความรู้ เชื่อมโยงความคิด เอาความรู้เอาความคิดไปโยงความรู้นั้นนี้เอาไปโยงกับเรื่องอื่น มาแล้วก็ปรุงแต่งเป็นความรู้ความคิดใหม่ แล้วพอมีสถานการณ์อะไรขึ้นมาปั๊บนี่ แก้ปัญหาได้ เอามาใช้กับสถานการณ์นั้นได้ ทีนี้ข้อที่สี่ เอาล่ะ นี่เป็นภาคใช้ เดี๋ยวผมสรุปให้สักหน่อย ก็เป็นอันว่า มีภาครับสองอัน อันที่หนึ่งก็คือเข้าใจความหมายเนื้อความที่เขาพูดมา แสดงออกเขียนให้ทั้งหมด สองจับหลักจับประเด็นได้ ตั้งหลักได้สรุปหัวข้อได้ ต่อไปภาคแสดงออก ภาคใช้การก็คือว่า สามารถสื่อสาร นำเสนอให้เขารู้เข้าใจ ตามที่ตนต้องการ แล้วก็สี่ก็คือนำความรู้ความคิดทั้งหมดนั้นมาเชื่อมโยง สร้างความรู้ ความคิดใหม่ ใช้ประโยชน์ได้จริง สี่ขั้น นี่ปัญญาอย่างนี้เรียกว่าปฏิสัมภิทา ต้องอธิบายนะถึงจะรู้ อ้อนี่ ปัญญาอย่างนี้เรียกว่า ปฏิสัมภิทา นิมนต์ครับ
พระนวกะ - อีกคำถามครับ ต่อยอดข้อที่สี่ ถ้ามองว่าสังคมไทยยังมีโอกาสได้ออกจากเป็นสังคมบริโภค ที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้เป็นสังคมที่บริโภคมาก แล้วผลิตน้อย วิจัยน้อย พัฒนาน้อย เราจะมีโอกาสที่จะออกจากบ่วงอันนี้ได้มั้ยครับ แล้วเข้าไปสู่สังคมที่เป็นการพัฒนา การวิจัยการผลิตที่ มีคุณภาพ ในอนาคตแบบประเทศที่พัฒนาขึ้นบ้างแล้ว ได้บ้างมั้ยครับท่านครับ
พระพรหมคุณาภรณ์ - อันนี้ก็ถ้าตอบแบบคลุม ก็บอกว่า ทำไง ก็คือการศึกษา พูดแบบนี้เรียกว่ากำปั้นทุบดิน คือการศึกษาของเราเนี่ยยังไม่ค่อยเอื้อ เราไม่ค่อยได้ฝึกคนของเราในเรื่องนี้เลย ก็พื้นฐานของเรานี่เรามองลึกลงไปอีกนะ พื้นฐานของเรานี่ สภาพสังคมมันเอื้อต่อความประมาท คือ เราก็ติดกับในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ถูกมั้ย ตั้งแต่พื้นฐานเดิมของสังคมแล้ว มันก็ชวนให้อย่างที่คนไทยใช้คำว่า สบาย สบายแบบไทย ทีนี้สบายแบบไทยก็คือสบายก็นอนพื้น เสวยผล ก็มันก็มาหนุนหนุนระบบบริโภคนิยมเลยใช่มั้ย หมายความว่าพื้นฐานของสังคมไทยเอื้อต่อการเข้าสู่ระบบบริโภค แทนที่เราจะใช้ไอ้ความสบายในพื้นฐานเดิมของสังคมในเชิงสัปปายะ ถูกมั้ยถ้าใช้แบบสัปปายะ ไปเลยใช่มั้ย ก็เอื้อต่อการกระทำเพื่อจุดหมาย โอ้ ไทยเรามีสัปปายะแล้ว ทุนเราดีนิ ใช้ประโยชน์ได้เลย เรามีความมุ่งหมายอะไร สังคมต้องมีเป้าหมาย ถูกมั้ย แล้วก็ทำการเพื่อเป้าหมายนั้น ปัจจัยที่มีก็เอื้อ ก็เอามาใช้ได้เลย นี่สังคมของเราขณะนี้ก็เลยเป็นสังคมที่ขาดความตระหนักรู้ตัวเอง แล้วก็ขาดเป้าหมายด้วย เมื่อขาดความตระหนักรู้ตัวเอง ก็ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นยังไง มีจุดอ่อนข้อบกพร่องอย่างไร สิ่งที่มีนั้น มันจะทำไปใช้อะไรได้บ้าง แล้วต่อมาก็กลายเป็นเลื่อนลอย ไม่ได้มีเป้าหมายใช่มั้ย ไม่ตระหนักรู้ตัวเอง ทีนี้ก็เลย พอตระหนักรู้ตัวเองเนี่ยจะเข้าหลักพระพุทธศาสนาคือ คนรู้ตัวเองมันมีรู้ข้อดีข้อด้อย รู้ข้อดีข้อเสีย แล้วก็หาทางออก หาทางออกก็คือมีเป้าหมายจุดหมายใหม่ ทีนี้ทิศทางมันก็เกิดขึ้น
ไอ้สัปปายะ ไอ้สิ่งที่มีเป็นทุนมันก็เป็นสัปปายะให้ ก็เดินหน้าไป สัปปายะได้ผลแล้วตอนนี้ ก็เราก็เห็นโทษว่าไอ้บริโภคนิยมเราก็มีทุนเดิมสังคมมันไม่ดีอย่างงั้น มันเสียนะ ทำให้ตกอยู่ในความประมาท อะไรจะต้องแก้ไข ยิ่งเราเห็นปัจจุบันเรายิ่งเห็นชัด เกิดปัญหา จนกระทั่งถึงสภาพแวดล้อมมันจะพังพินาศอะไรต่างๆ เหล่านี้ ก็อย่าได้ตกอยู่ในความประมาท ก็หาทางแก้ไข สังคมก็ต้องมีเป้าหมายขึ้นมา เวลานี้สังคมไทยเท่าที่ผมมองดู ไม่มีเป้าหมาย ใช่มั้ย อยู่ไปเรื่อยๆ อยู่กันไป ๆ แล้วก็เพลิดเพลินไปกับไอ้สิ่งที่ตัวบริโภคนี้เสพ มันก็เลยกลายเป็นบริโภคนิยมโดยสมบูรณ์
พระนวกะ - ???
พระพรหมคุณาภรณ์ - นั่นสิ เขาเป็นนักผลิตด้วย นักบริโภคด้วย เค้าไม่ได้เป็นนักบริโภคอย่างเดียวอย่างแบบเรา เรานี่เป็นนักบริโภคแบบ absolute ใช่มั้ย ฝรั่งเขามีทุนเป็นนักผลิต แล้วก็มาเป็นนักบริโภค บางทียังประมาทเลยนะฝรั่งนั่นนะ เค้ายังเตือนคนของเขาในระยะที่แล้วอเมริกันออกหนังสือมาเรื่อย ว่าคนอเมริกันเนี่ยขาดไอ้ตัวใฝ่ทำงาน ขาด work exit??? แล้ว รุ่นใหม่นี่แย่ เสื่อมลง เค้าต้องว่าคนของเค้า ขนาดเค้ามีทุน ได้บริโภคมีผลผลิตมากอย่างนี้แล้วนะ จะกลายเป็นสังคมบริโภคไปบ้างแล้ว เค้ายังไม่ประมาทเค้ายังคอยเตือนกัน แต่ของเรามันไม่มีหรอก มันมีแต่บริโภคอย่างเดียว เพราะฉะนั้นการศึกษาต้องมีเป้าหมาย ต้องมีจุดเน้น ทีนี้การศึกษาของเราเหมือนกับว่าไม่มีเป้าหมาย ไม่มีจุดเน้น ไม่มีแง่ที่จะมาตั้งแผนให้ชัด ว่าเราจะแก้ปัญหาอะไร จะสร้างสรรค์อะไร ให้ต้อง อันนี้ให้ได้ อันนี้ไม่ชัด คลุมๆ ไป ให้เป็นคนดีมีให้สติปัญญา ให้เก่งกล้าสามารถ ใช่มั้ย อย่างนี้มันคลุมนี่มันจะไปได้เรื่องอะไร ก็ไม่รู้มันเก่งอะไร ลอยๆ ไปงั้น ต้องดู ก็ที่ว่าเอาอย่างพระพุทธเจ้า หนึ่งต้องรู้จุดอ่อน ข้อด้อยของเราอะไร ข้อดีของอะไร ข้อดีก็คือทุนที่จะเอาใช้เป็นสัปปายะ แล้วก็ทางออก นี่คือเป้าหมาย จะไปไหน จะต้องเน้นเลย วางแผนให้ได้ ระยะยาวระยะสั้น ต้องวางกันให้ชัด แล้วก็พูดกันเลยว่าอันนี้ต้องทำให้ได้ ในเวลาเท่านั้นปี ช่วงนี้ต้องให้ได้ คืออย่างน้อยผู้นำต้องชัดมากและคอยปลุกเร้า ให้คนของตัวเองไม่ประมาท เราต้องทำอย่างอันนี้ให้ได้ เด็ดขาด ว่างั้นใช่มั้ย
พระนวกะ - ???
พรหมคุณาภรณ์ - ครับ ต้องมีอย่างนี้ นี่เราไม่มีเลย ก็เป็นสังคมที่ค่อนข้างลอย แล้วก็เป็นเหยื่อของบริโภคนิยม ใช่มั้ย เพราะคนเรามันชอบสบายอยู่แล้ว พอมันไม่มีเป้าหมายมันก็ เรื่อยเฉื่อย ๆ ก็เสพบริโภคไป
พระนวกะ - ผมมองเหมือนกับสังคม เกี้ยเซียะ มีอะไรก็เกี้ยเซียะกันไป
พระพรหมคุณาภรณ์ - นั่นแหละ ๆ มันเรื่อยเปื่อย ไอ้คำว่าไม่เป็นไร บางทีก็เลยเสียไปเลย เรื่อยเปื่อยเฉื่อยชา ไม่เป็นไร ตกลงคำพวกนี้ต้องระวัง คือ ไม่เป็นไรเค้าใช้สำหรับไม่ถือสากัน แต่ว่าอย่าให้ไปบั่นทอนปัญญาเป็นเรื่องทางด้านจิตใจ คือคำพูดคนไทยนี่ยังแยกไม่ออกนะ คำพูดด้านจิตใจกับด้านปัญญาเอามาปนกัน ด้านจิตใจ ให้จิตใจดี ผ่อนคลาย ไม่เครียด เอ้อดี แต่ทำไงปัญญาจะไม่หยุดด้วย พอใจมันสบายมันชักเพลิน ปัญญามันก็หยุด ไม่ต่อ ต้องแยกได้ระหว่างทางด้านจิตและด้านปัญญา พระพุทธศาสนานี่มีข้อพิเศษอันหนึ่งคือสามารถแยกได้ ระหว่างจิตกับปัญญา ฝรั่งแยกไม่ออก ใช้คำว่า mind ท่าเดียว ใช่มั้ย mind นี่ เป็นด้านจิตใจก็ได้ เป็นด้านปัญญาก็ได้ mental ท่านลองไปดูสิ mental ก็ไม่รู้เป็นด้านจิตใจหรือปัญญา ในที่สุด ด้านจิตใจต้องไปใช้คำว่า emotion ที่จริง emotion ภาษาพระ ทางด้านจิตใจ ทีนี้เราก็ไปแปลวุ่นหมดพอมาเป็นภาษไทย emotion เป็นอารมณ์ ก็ไปตีกับคำพระอีก emotion อารมณ์ไม่ได้ พระบอกว่า emotion แปลว่าอารมณ์ไม่ได้ อารมณ์ภาษาพระแปลว่าจิตนึกถึง สิ่งที่รับรู้ใช่มั้ย เป็น object เป็น sense object เรียกว่าอารมณ์ มันคนละเรื่องเลย แล้วเราแปลว่า emotion อะไรก็ไม่รู้เลยวุ่นวายไปหมด ภาษาไทยนี่ เรื่องของสังคมไทยแม้แต่ภาษาก็สับสนหมดเลย ต้องมีความชัดที่นี้ไอ้คำว่า ปัญญา มันต้องชัด ปัญญาคือความรู้ความเข้าใจชัด ถ้าไม่ชัดไม่เป็นปัญญา นี่อะไรต่ออะไรคลุมเครือหมด แล้วต้องช่วยกันสร้างให้ความชัดเจน รู้อะไรก็รู้คลุมๆ เครือ ๆ ต้องหาความชัดให้ได้ พอรู้อะไรได้ต้องหาความชัดเจน นิมนต์ครับ หมดเดี๋ยวผมพูดเลยไป
พระนวกะ - ก็เรียนถามกลับมาทางด้านปัญญานะครับ ก็คือปัญหาอยู่ว่า สงสัยอยู่ว่า เวลาที่เรานั่งสมาธิหรือทำจิตตภาวนานี่ครับ เราจะทราบได้อย่างไรว่า ตอนนี้เราเกิดปัญญาแล้ว แล้วคำถามต่อเนื่องกันคือ ปัญญาทางธรรมกับปัญญาทางโลกมันเหมือนกันหรือเปล่า อย่างปัญญาทางโลกในความหมายนี้ก็หมายถึงว่า ถ้าเรา เหมือนกับว่าเราต้องการสร้างรถ ถ้าเรานั่งสมาธิแล้วเราจะรู้มั้ย ว่า ถ้าเราได้ปัญญาตรงนี้แล้ว เราจะสามารถรู้วิธีการสร้าง สิ่งนี้ขึ้นมาได้
พระพรหมคุณาภรณ์ - คือ คำว่าปัญญาทางโลกทางธรรม ที่จริงมันเป็นศัพท์ เพื่อความสะดวกในการสื่อสารในระดับหนึ่ง ทีนี้พอเอาจริงมันถึงกันหมดแหละ แต่ว่ามันเป็นปัญญาที่เข้าถึงความจริงตามสภาวะ ตามสภาวะ ก็คือ ถึงธรรมชาติ ถึงเนื้อตัวของธรรมชาติมั้ย หรืออย่างปัญญาทางโลกเราก็หมายถึงปัญญาที่ใช้ในการดำเนินกิจการที่ทำอยู่ในประจำวัน เป็นเรื่องที่อยู่ในระดับสมมติ ที่เราตกลงกันว่าอย่างงี้ ตกลงกันว่าอย่างงี้ ยอมรับทำตามๆ กันไป ใช่มั้ย ถ้าปัญญาอย่างนี้มันไม่ถึงสภาวะความจริงหรอก ใช่มั้ย ก็แค่ว่าจัดการได้ทำอันนั้นอันนี้ได้ ปัญญาที่บางทีก็เอาแค่ความรู้ ที่เรียกว่าเป็นข่าวสารข้อมูล แล้วสดับมาจากผู้อื่นบอกมา แล้วก็รู้แล้วเรียกว่าปัญญาแล้ว แล้วก็เอาไปใช้ได้ตามนั้น เราก็ไม่รู้ว่าความจริงของมัน มันจริงไม่จริงหรอก มันก็คือความรู้ตามที่เค้าตกลงกันใช้ในเรื่องนั้น แล้วก็ทำกันตามนั้น เราก็เลยเรียกว่าปัญญาไปด้วยใช่มั้ย แต่ที่จริงมันไม่ได้รู้ความจริงของสิ่งนั้นหรอก ทำไปอย่างการงานอาชีพของเรา หลายเรื่องมันก็ว่าไปตามที่ว่าเอ่อวิชาความรู้นี้เป็นอาชีพ ใช้ทำมาหากินนะ เรื่องนี้เวลาจะทำให้เริ่มต้นที่นั่น ขั้นตอนทำตามๆทำไปอย่างงี้ ปัญญาในเรื่องนี้ก็เป็นปัญญาในแต่ละเรื่องแต่ละราว ใช้งานไปให้สำเร็จมันก็ต้อง ไปเรียนเฉพาะเอาสิครับ แต่ว่าเราบำเพ็ญสมาธิมันเอื้อ มันทำให้จิตเราพร้อมเป็นสมาธิ ไอ้สมาธิตัวนี้มันเป็นคุณภาพของจิต มันก็ต้องการไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น เหมือนกับว่าสติ เราไปทำอะไรก็จะต้องมีสติ แล้วถ้าเราจะทำให้ได้ผลยิ่งขึ้นก็อย่างที่เคยพูดอุปมา มันก็ต้องจิตแน่วแน่ สมาธิไม่ฟุ้งซ่านไม่ว่อกแว่ก มันก็ทำได้ผล ทีนี้เราพัฒนาสมาธิดี ไม่ว่าเราจะไปอยู่การงานอาชีพอะไร เป็นปัญญาทางโลกทางธรรมมันก็คิดได้ผลดีขึ้นใช่มั้ย เช่นว่าเราไปทำงานในอาชีพของเรานี่ ซึ่งเป็นเรื่องอาชีพนั้นไม่ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเข้าถึงสภาวะความจริงเลย ทำไปตามสักแต่ว่าที่บอกกันมาในสายอาชีพนั้นว่าทำงี้ๆ ๆๆ เราก็รู้ทำไป แต่ว่าเวลาเราทำเนี่ย จิตของเราเป็นสมาธิเราทำได้ผลกว่า ถูกมั้ย เรามองชัดแม้แต่ความรู้ที่ว่าตามกันมาเท่าที่มีอยู่เป็นก้อน ความรู้ก้อนนี้เนี่ย เอามาแล้วเนี่ย เวลาเราปฏิบัติการนี่เรานี่ ใช้ความรู้นี้ ได้ชัดเจน ได้ถูกต้องได้ประโยชน์กว่าถูกมั้ย สมาธิการปฏิบัติธรรมก็ได้ประโยชน์แบบนี้ ทีนี้พอเราจะไปพิจารณาแม้แต่ความรู้นั้น มันก็จะเห็นง่ายขึ้น เพราะว่าในที่สุดแล้วเนี่ย ไม่ว่าอะไร ความรู้อะไรก็ตามเนี่ย มันก็เป็นเรื่องของสิ่งทั้งหลายที่เป็นอยู่ในโลก สิ่งทั้งหลายที่เป็นอยู่ในโลกในที่สุดพื้นฐานของมันก็เป็นไปตามระบบ ของธรรมชาติ ใช่มั้ยมีความเป็นไปตาม เหตุปัจจัยเป็นต้น ในที่สุดมันหนีไม่พ้นหรอกครับแม้แต่ความรู้ในอาชีพการงาน มันก็โยงไปหาเหตุปัจจัย เรารู้ในกระบวนการเหตุปัจจัยของการงานอาชีพนั้น ก็ได้เปรียบสิ สรุปแล้วมันก็ไปโยงกับปัญญาที่แท้จริง แต่ว่าเราไม่ได้ไปมุ่งหมายให้เข้าถึงสภาวะอะไรใช่มั้ย เราแค่ว่าเอาความรู้นั้นมาใช้ประโยชน์ได้ในระดับหนึ่งของการเป็นอยู่ประจำวัน ทำการงานอาชีพตามระบบสมมติเท่านั้นเอง พอจะเห็นมั้ย พอจะเข้าใจไหมเนี่ย
พระนวกะ –จะถามต่อเนื่องก็คือ แสดงว่า ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกมั้ย ปัญญามันก็คือสภาวะ
พระพรหมคุณาภรณ์ ---เป็นสภาวะ คุณสมบัติของจิต เป็นคุณสมบัติ สติก็เป็นคุณสมบัติหนึ่งของจิตใจ สมาธิก็เป็นเป็นคุณสมบัติหนึ่ง ท่านเรียกว่าเจตสิก ก็คือคุณสมบัตินั่นเอง ทีนี้เราต้องพัฒนาคุณสมบัติเหล่านี้หรือคุณภาพเหล่านี้ ใช่มั้ย ปัญญาก็เป็นคุณภาพที่สำคัญนะ ต้องพัฒนา สมาธิ สตินี่เป็นคุณภาพ หรือคุณสมบัติที่สำคัญใช่มั้ย เราต้องพัฒนา หมั่นใช้ ฝึกมันหรือทำให้ได้ผลยิ่งขึ้น ปัญญาก็เนี่ย พอเราพัฒนาขึ้นมาคุณสมบัติข้อนี้มันก็ยิ่งได้คุณสมบัติที่ก้าวหน้าลึกซึ้งขึ้นไปแล้วก็หยั่งเห็นกว้างขวางมากขึ้น แล้วมันสามารถที่มาจะสร้างกระบวนการเช่น การคิดให้ได้ผลยิ่งขึ้น ทำให้ได้ผลนั่นเอง เพราะฉะนั้นความชัดเจนอะไรต่ออะไรก็เกิดขึ้น อย่างตอนแรกนี่ปัญญาเราคลุมๆ เครือ ๆ ไม่เป็นปัญญาแท้หรอก รู้อะไรก็รู้ไป ตามที่เค้าบอกมาใช่มั้ย เป็นปัญญาเพื่อรู้ตาม รู้ตามที่เค้าบอกตามพระเรียกว่าสุตตะ ทีนี้มันต้องพิจารณาไตร่ตรองไอ้ที่สิ่งที่ได้รับ บอกเล่าเป็นข้อมูลข่าวสารมานั้นเอง แล้วมันจึงจะเกิดปัญญารู้เข้าใจชัดเจนขึ้น แล้วต่อมาก็มีความสามารถที่จะแยกแยะสิ ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นเค้าจึงมีธรรมาวิเคราะห์ เนี่ยก็เพื่อให้ช่วยฝึกปัญญา ไอ้ข้อมูลต่างๆ มาเป็นดุ้นเป็นก้อน คุณต้องหัดวิเคราะห์แยกแยะ แยกแยะแล้วต้องมีการจัดหมวดหมู่ได้อีกใช่มั้ย จัดหมวดหมู่ได้ แยกแยะแล้วรู้จักโยงอีก เพราะโยงแล้วมาปรุงแต่งจัดการใช้ประโยชน์สร้างสรรค์ได้อีก แล้วก็แยกไปสิปัญญาเนี่ย หนึ่งวิเคราะห์แยกแยะ อย่างเนี่ยกระบวนการขันธ์ 5 แยกชีวิตไปเป็นรูปกับนาม รูปก็แยกไปเป็นธาตุต่างๆ นามก็แยกเป็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เวทนาแยกยังไง สัญญา สังขารแยกยังไง แยกๆๆๆๆ ไปอย่างนี้เรียกว่าปัญญาเชิงวิเคราะห์ ทีนี้ปัญญาอีกแบบก็คือ อ้าว ไอ้ที่มันแยกไปนี่มันสัมพันธ์กันยังไง ต้องดูความสัมพันธ์กันอีกละซิ ไอ้ตัวนี้มันไปสัมพันธ์กับตัวโน้น แล้วเอามันไปเป็นปัจจัยให้เจ้าตัวนั้น เกิดการพลิกผันเปลี่ยนแปลงไปแล้วเกิดผลใหม่อย่างงั้นอย่างงี้ เอาละทีนี้เป็นการส่งผลต่อกันในระบบสัมพันธ์ก็เป็นปัจจัย นี่เป็นปัญญาสืบค้น หรือสืบสาวเหตุปัจจัย มาอีกแบบแล้วปัญญา สืบสาวเหตุปัจจัยแล้วใช่มั้ย อันนี้ก็เรื่องใหญ่เลยใช่มั้ย โอ้โห นี่ไปลิบลับเลย แล้วก็ปัญญาให้รู้สภาวะความเป็นไปของมัน โอ้ที่มัน เป็นงี้ๆ ที่มาเป็นเหตุปัจจัยของมันได้เนี่ย มันมีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา มันมีการคืบเคลื่อน มันมีการเกิดดับ มีอันเก่าดับไปอันใหม่เกิดขึ้นอันนี้มันคงอยู่สภาพเดิมไม่ได้ โอ้ เราจะต้องคิดแล้ว สภาพที่คงอยู่อย่างงี้ มันเป็นผลรวมของเหตุปัจจัยแล้วองค์ประกอบแต่มันไม่ได้อยู่อย่างงี้ มันอยู่ตามเหตุปัจจัยและองค์ประกอบ ฉะนั้น มันอยู่อย่างงี้ไม่ได้ตลอดถ้าเราต้องการให้อยู่เราต้องไปรักษา เหตุปัจจัยและองค์ประกอบให้มันอยู่ในระบบที่จะรักษา ภาพรวมอันนี้ไว้ได้ ผลรวมนี้จึงจะอยู่ ถ้าผลรวมนี้เราไม่ชอบ เราต้องไปดูเหตุปัจจัยมา แยกองค์ประกอบแล้วเราจะแก้ เปลี่ยนให้มันเป็นผลรวมรูปร่างยังไง เราก็ไปจับเหตุปัจจัย ไปจัดองค์ประกอบใหม่ ใช่มั้ย นี่ก็วางแผนแล้วนะ เป็นปัญญาอีกใช่มั้ย ปัญญาทั้งนั้นทำงาน ปัญญานี่ทำงานหลายแบบหลายอย่าง เพราะฉะนั้นก็เลยเยอะสิครับเรื่องปัญญาเนี่ย แค่วิธีคิดนี่ก็แยกโยนิโสมนสิการเยอะแยะวิธีไปหมด ก็คือเรื่องใหญ่ที่สุดก็มาที่ปัญญา แต่ว่าจิตเนี่ยต้องพัฒนา จิตพัฒนาแล้วก็กลับมาเป็นเอื้อต่อปัญญาใช่มั้ย ทำให้ปัญญาทำงานได้ผล แล้วพอปัญญาทำงานได้ผลดี ก็ส่งผลกลับมาสู่จิตทำให้ จิตสบายมากขึ้นเป็นอิสระมากขึ้น แค่ปัญญามันคิดอะไรออกจิตก็เป็นอิสระแล้ว มันคิดไม่ออกมันไม่รู้อึดอัดแล้วจิต ทุกข์แล้วใช่มั้ย ไปไหนไม่รู้อะไรเป็นอะไรที่นี่ปลอดภัยหรือเปล่า มีอะไร ไม่มีปัญญาไม่มีความรู้ อึดอัดๆ แล้วทุกข์แล้วใช่มั้ย พอรู้ว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้นแหละเบาลงเลย ยิ่งรู้ว่า ทางออกเป็นอะไรยังไงมีอะไรเกิดขึ้น จะทำยังไง จบเลยคราวนี้ โล่งเลย เพราะฉะนั้น ปัญญาเป็นตัวปลดปล่อย เป็นตัวปลดปล่อยจิตทำให้จิตเป็นอิสระ เพราะฉะนั้นพระพุทธศาสนาจึงเน้นเรื่องปัญญาไม่ได้ให้ไปติดอยู่แค่จิต ก็ให้จิตมันเอื้อปัญญาแล้วก็ ปัญญากลับมาส่งผลต่อจิต อย่างที่ว่านี่ ตอบตรงคำถามหรือยัง ตรงไหม ถ้ายังไม่มี ไม่ตรงยังไงก็ช่วยบอก
พระนวกะ – จะมีแง่การเข้าฌานนะครับ มันจะเกี่ยวกับปัญญามั้ยครับ
พระพรหมคุณาภรณ์ - ไม่โดยตรง ๆ แต่ว่าเอื้อในแง่ว่า ไอ้แกนของฌานนั้นคือสมาธิ ท่านต้องเข้าใจก่อนนะ ฌานนั้นก็คือ สภาพจิตในระดับหนึ่งที่มีสมาธิพัฒนาขึ้นไป เราก็เลยต้องการแยกไอ้คุณสมบัติรวมๆ ของจิต สภาพจิตที่มีคุณสมบัติดี ที่พูดรวมๆ เราจะแยกยังไงว่าอยู่ในระดับที่ดีขนาดไหน ก็ก็พัฒนาคำว่าฌานขึ้นมา ฌานก็คือมาเรียกสภาวะจิตที่พัฒนาไปถึงระดับหนึ่งๆ โดยดูที่คุณสมบัติที่เป็นตัวประกอบ ว่าตอนนี้สภาวะของจิตเนี่ยมีองค์ประกอบอะไรที่เป็นตัวสำคัญถ้ามีองค์ประกอบพวกนี้อยู่ในระดับนี้เราเรียกว่าเป็นปฐมฌาน ถ้าหากพัฒนาไปอีกระดับหนึ่งแล้วมันมีองค์ประกอบแบบนี้อยู่เป็นแกนเรียกว่าทุติยฌาน แล้วก็พัฒนาต่อเป็นตติยฌาน จตุตฌาน นี่เข้าใจแล้วนะ ก็คือ ฌานนี่เป็นคำเรียกสภาวะของจิต ที่มีการพัฒนาสมาธิไปในแต่ละระดับต่างกันไปแล้วเอาชื่อมาเรียกเพื่อแยกได้ว่าอยู่ระดับไหนเท่านั้นเอง เข้าใจนะ ทีนี้เมื่อพัฒนาสภาวะจิตมีคุณภาพมากขึ้นโดยเฉพาะสมาธิยิ่งแน่วแน่มากขึ้นมันก็ยิ่งดีสิ เพราะฉะนั้นฌานมันมีประโยชน์ตรงนี้ ประโยชน์ในด้านจิตก็คือว่า จิตยิ่งพัฒนาฌานสูงขึ้น มันก็ดื่มด่ำ มันก็แน่วสนิทมากขึ้น ความสงบก็มากขึ้น ความอยู่ตัวก็มากขึ้น ใช่มั้ย ตอนนี้มันก็มีพลัง เช่นที่บอกไปแล้วว่าคุณภาพ คุณสมบัติของสมาธินี่ มีพลังยิ่งจิตเป็นสมาธิในฌานสูงขึ้นไป พลังก็ยิ่งดีใหญ่ ความสงบก็ยิ่งดีใหญ่ เพราะฉะนั้นความสุขก็ยิ่งดีใหญ่ ใช่มั้ย ทีนี้ความใสก็ยิ่งดีใหญ่ด้วย เพราะฉะนั้นฌานจึงมาเอื้อกับปัญญาในแง่นี้ แต่คุณจะใช้ไหม ให้มันเกิด ไม่ใช้ เอ่อ มันดีจริงแต่ไม่ใช้ประโยชน์ แหมมันดีจังสงบจังเลยเข้าฌานสบายไปเลย ก็เลยมีความสุขดีอย่างฤๅษีท่านเรียกว่าฌานและกีฬา เล่นฌาน อยู่เดือนปีหนึ่งก็เล่นฌานไป ฤๅษีในบาลีท่านใช้คำนี้ คือ ไปอยู่เป็นโยคีฤๅษีในป่า พัฒนาฌานขึ้นมาแล้วก็ฌานกีฬา เล่นฌานสนุกอยู่กับฌานมีความสุขกับฌาน ไม่ต้องไปไหน นานๆ ก็เข้าเมืองทีมาหาเกลือ เพราะว่าในป่าไม่มีเกลือ ทีนี้พระพุทธเจ้าทรงเห็นแล้วว่าพวกฤๅษีนี่มันติดอยู่กับฌานนี่แหละ เล่นฌานแล้วอยู่กับจิตแล้วมีความสุข ก็ดื่มด่ำมันคล้ายๆ ว่าพอฌานสูงหนักเข้าไปเหมือนกับจิตมันดื่มด่ำ เข้าไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอะไรต่ออะไรก็หาศัพท์บัญญัติเรียก อะไรเป็น ???(พรัม-วัน) จิตเข้าดื่มด่ำเป็นอันเดียวกับอันนั้น ก็พระพุทธเจ้าก็ไปทรงเรียนมาพัฒนามาไม่ได้ความล่ะ พระองค์ก็บอกว่าต้องมีปัญญา ดังนั้นก็เลยปลีกออกมาแล้วก็เอาสิ่งที่ทรงฝึกมาด้านจิตมาใช้ประโยชน์ทางปัญญา เพราะฉะนั้นเราก็เอาสมาธิที่มันพัฒนาในเรื่องฌานนี่มาใช้ทางปัญญา ก็จุดนี่ จุดต่ออยู่ที่นี่ ท่านเรียกว่าเอาฌานเป็นบาตร เนี่ยฌานเป็นบาตร บาตรก็คือที่รองใช่มั้ย เป็นฐานนั่นเอง เป็นสำนวนของพระ เอาฌานเป็นบาตร ยิ่งฌานดีสูงเท่าไร่ ยิ่งเอื้อต่อการใช้ปัญญา แต่ว่าอย่างติดอยู่เท่านั้นเอง สำคัญว่าไปติดเพลินจำนวนมาก ฤๅษีหรือว่าพระเองถ้าได้ฌานหรืออะไรก็แล้วแต่ ก็ติดเพลินกับสมาธิ ไม่ไปไหนแล้ว มีความสุขเป็นต้น ดีไม่ดีก็เข้าใจผิดว่าตัวเองบรรลุธรรมแล้ว ก็ไปเป็นปัญญา นิมนต์ครับ
พระนวกะ – พออยู่ในสมาธิแล้วครับผม แล้วก็จิตมันค่อนข้างสงบ แล้วเวลาเราจะยกเรื่องอะไรมาพิจารณาแล้วเราจะเอาตัวปัญญามาประกอบตรงไหนครับผม
พระพรหมคุณาภรณ์ ---ปัญญามันก็มีทั้งที่ว่า ตามปกติเนี่ย เราก็มีความโน้มเอียง มันเป็นคุณสมบัติในจิตใจของเราอยู่แล้ว คล้ายๆ ว่าถ้าเราไม่เกิดมีเหมือนกับเป็นเจตจำนงชนิดหนึ่ง ใจเราเกิดพอใจขึ้นมาในความสุขสงบ ใจเราก็เลยโน้มเอียงไปทางที่ว่า เหมือนกับโดยไม่รู้ตัวโดยเอาความสุขสงบเป็นเป้าหมายใช่มั้ย มันก็เลยไปเลย เฉไปเลย ทีนี้โอกาสที่ปัญญามันจะเข้ามาเลยไม่มี คือคนเราเนี่ยโดยปกติกิจกรรมของจิตมันก็ไปเรื่อยๆ ด้านหนึ่งก็คือเหมือนกับเราใช้ตามอง ถูกมั้ย เราก็จะมองอะไรต่ออะไรอยู่แล้ว จิตมันก็เหมือนกันมันก็จะมองโน่นมองนี่ ทีนี้ถ้าเกิดไอ้สมาธิของเราเนี่ย มันเอื้อบางทีปัญญาการโน้มเอียงมันมีที่จะมีอยู่แล้ว แล้วก็ไปจับจุดนั้น ถ้าเราเกิดตั้งใจที่จะมองเอาจริงเอาจังขึ้นมาก็เลยยิ่งได้ผลใหญ่เลย ปัญญาก็จะมาตรงนี้อยู่ที่ว่าเรานี่จะเชื่อมต่อได้มั้ย ก็คือเราไม่ไปหลงเพลินซะ ไม่ไปเขวซะ ไม่ไปติด ไม่ตั้งเป้าหมายที่ทำให้จิตมันโน้มไปอยู่กับไอ้ความสุขความสงบมันซะ เราก็อาศัยความสงบนั้นมาเป็นตัวเอื้อ ทำให้เราเนี่ยมามองด้วยปัญญา ทำให้เรารู้เข้าใจ พอจิตมันสงบเนี่ย เหมือนอย่างที่เราเคยพูดกัน บางคิดคิดอะไรต่ออะไรยังไงก็คิดไม่ออก อยู่ๆ ตอนหนึ่งไม่ได้คิดเลยเนี่ยมันสว่างขึ้นมาเลย ตอนนั้นจิตมันเอื้อไง หมายความว่าจิตมันทำงานตลอด บางทีเราไม่รู้ตัวมันก็ทำงานของมัน บางทีบางคนก็เอาไปฝัน บางทีตัวคิดอยู่ ทีนี้ในชีวิตปกติก็เหมือนกัน คล้ายๆ ว่า จิตตอนนั้นมันมีอะไรวุ่นวายอยู่ มีความขุ่นมัวอะไรต่ออะไรบังอยู๋ พอจิตเราพร้อมนะสงบได้ ไอ้สิ่งที่บังมันหายไป มองเห็นแจ่มแจ้งขึ้นมา นั้นโดยสภาพของธรรมชาติมันก็เป็นไปของมันอยู่แล้ว มันก็เอื้ออยู่แล้ว ก็ทำให้ความเอื้อเนี่ยมาใช้ประโยชน์ได้จริงซะ ไม่ทราบว่าตอบตรงแล้วยัง
พระนวกะ – หลวงพ่อตามไปด้วยเนี่ยถือว่าเป็นการวิปัสสนาหรือเปล่าครับ หรือว่ามันจะเป็นการทำสมาธิอย่างเดียว เพราะว่าเวลาถ้าฟังแล้วเนี่ยมันจะมีลักษณะที่ว่าโน้มนำใจไปคิดตามที่หลวงพ่อท่านเทศน์แล้วก็ มันจะขึ้นมาเหมือนมันอ๋อขึ้นมา เป็นระยะๆ ครับ
พระพรหมคุณาภรณ์ ---คือ อันนี้เราต้องนึกต้องรู้ว่าจิตมันไหวนะ ความไหวของจิตนี่มันมากมันทำงานตลอดเวลา ทีนี้พอเราพูดคำว่าวิปัสสนา สมถะ เรามักจะพูดเชิงเทคนิค เป็นรูปแบบ ทีนี้พวกสมถะวิปัสสนาที่มันเป็นจริงแท้ๆ เอาแก่นสารเนี่ย มันก็สามารถเกิดขึ้นมาได้ในชีวิตของเราที่มันเป็นตัวสภาวะความจริงนี้ มันก็เกิดขึ้นมาในเมื่อเราไป ก็เรียกว่าเราปฏิบัติถูกตรงน่ะ ไปตรงที่มันเป็นมันก็เป็นอย่างนั้นเอง ก็ปัญญาวิปัสสนาก็คืออะไร ก็คือการเห็นแจ้งตามสภาวะ ใช่มั้ย สภาวะตามธรรมชาติสิ่งนั้นเป็นยังไง ปัญญาที่เห็นตามนั้นเรียกว่าวิปัสสนา เท่านั้นเอง คือทีนี้เราก็ไม่ถือว่าเป็นการเจริญวิปัสสนาหรอก แต่ว่าวิปัสสนามันสามารถมีขึ้นได้ ในกระบวนการแบบนั้น แต่ที่จริงเวลานั้นก็คือเราพยายามทำความเข้าใจสิ่งที่ฟังแต่เราจะเอาไปโยงได้กับที่ผมเล่าอย่างนั้น เจริญโพชฌงค์น่ะ ภิกษุไปนั่งอยู่ที่สงบเช่นโคนไม้ ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าขึ้นมา สติทำงานแล้วแล้วก็ไตร่ตรองธัมมวิจยะนี่พอเจริญโพชฌงค์ เราก็ถือว่าอยู่ในการเจริญวิปัสสนา งั้นถ้าถามอย่างนี้มันก็มีส่วนอยู่ แต่ว่ามันไม่ได้โดยตรง คือหมายความว่า เราก็ มุ่งไปทางฟังสดับสุตตะ มากกว่า เอาข่าวสารข้อมูลซะมากกว่า แต่ทีนี้ว่าเราจะหยั่งเข้าถึงไอ้ตัวสภาวะที่ข่าวสารข้อมูลนั้นมันสื่อมั้ยเนี่ยตอนนี้ละครับเนี่ย ข่าวสารข้อมูลนั้นที่จริงเค้าต้องการสื่อไปที่สภาวะใช่มั้ย ถ้าเกิดจิตเราได้รับการกระตุ้นจากข่าวสารข้อมูลนี้แล้ว จิตเราเนี่ยไปโยงไปถึงสภาวะได้ ก็เกิดวิปัสสนาได้เหมือนกัน พอเข้าใจไหม
พระนวกะ –พวกกระผมได้เรียนถามข้อข้องใจเกี่ยวกับธรรมะมาเป็นเวลาพอสมควรก็ พวกเราก็รู้สึกกระจ่างในเรื่องต่างๆ ที่ท่านอาจารย์พูดแล้วก็คงจะได้มีโอกาสที่จะมาเรียนถามท่านอาจารย์ในโอกาสต่อไปอีกครับ
พระพรหมคุณาภรณ์ ---ก็ขออนุโมทนา นี่ตัดทางผมพูดเลยใช่มั้ย
พระนวกะ – พรรคพวกกระซิบบอกว่า เลยเวลาแล้ว
พระพรหมคุณาภรณ์ ---ไม่เป็นไรที่จริงผมก็แทบหน้ามืดเหมือนกัน ท่านดูออกหรือเปล่าไม่รู้ ตั้งแต่ต้นวันนี้ไม่ค่อยดีเลย ที่อันหนึ่งที่ว่าบางท่านได้เล่าเรียนมาคล้ายๆ ฟัง คล้ายๆ ท่านค้นคว้าอยู่ก็เลยอยากจะพูดถึงพวกศัทพ์ทางวิชาการ ทางพระศาสนาบ้าง ท่านเข้าใจดีมั้ยเช่นคำว่าอรรถกถา อะไรเป็นต้น เข้าใจดีมั้ย ชัดแล้วนะ จะได้แยกออก เพราะเวลานี้ในสังคมไทยในวงการศึกษาธรรมะเองก็ฟังดูก็อะไรไม่รู้ เอาคำว่าอรรถกถาไปใช้ กลายเป็นคนละเรื่องละราวกันไป ผู้ที่จะศึกษาค้นคว้าต้องชัดในถ้อยคำนั้น เพราะมันเป็นภาษาสื่อสารที่ว่าเมื่อพูดขึ้นมาแล้ว ต้องสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันมันก็สับสนสิใช่มั้ย เรื่องภาษามันก็อยู่ที่นี่ สื่อความหมายได้ชัดเจน ก็เอาล่ะครับ วันนี้ก็เอาแค่นี้กันก่อน อนุโมทนาด้วย