PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
  • พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 รูปภาพ 1
  • Title
    พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1
  • เสียง
  • 4447 พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 /somdej-payutto/03-9.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันพฤหัสบดี, 26 มีนาคม 2563
ชุด
ถ้ารู้ขั้นนี้ได้ ก็เริ่มถึงเนื้อในของพระพุทธศาสนา
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ

    “พระอาจารย์ครับแล้วอย่างผมมองว่าของพระอาจารย์สมภารนี่พอดีผมเอาบทความที่ตีลงในวาสารจุฬา ทำไมเหมือนท่านไม่ค่อยให้ความสำคัญกับอรรถกถาเท่าไหร่ ผมมองว่านักวิชาการสมัยใหม่เหมือนละเลยอรรถกถาแล้วมองเหมือนกับ...เดี๋ยวผมขออ่านถวายนะครับ ผมมีข้อสังเกตที่อยากจะเรียนท่านผู้อ่านเพิ่มเติมที่ว่าในพระสูตรเก่า ๆ อันได้แก่ พระสูตรในนิกายทั้ง 4 ยกเว้นขุทกนิกายนั้น ตอนท้ายของพระสูตรมักบันทึกไว้เพียงว่า หลังจากการสนทนาผู้ฟังจะชื่นชมพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ไม่มีการระบุว่าคนฟังบรรลุธรรมเป็นพระอริยะแต่อย่างใดอย่างที่ปรากฎในคัมภีร์รุ่นต่อมา เช่น อรรถกถาหรือในคัมภีร์บางส่วนของพระไตรปิฎกด้วยกัน ที่น่าจะเรียบเรียงขึ้นใหม่กว่านั้น เช่น เรื่องเล่าเกี่ยวกับพุทธประวัติหลังการตรัสรู้ใหม่ ๆ ในวินัยปิฎก เป็นต้น  คืออย่างผมอ่านนี้เหมือนกับท่านปฏิเสธเรื่องที่ว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสแล้วก็มีคนบรรลุธรรมเลย ท่านบอกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เติมมาด้านหลัง ข้างหลังคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ทั้ง ๆ ที่จริง ๆแล้วพุทธศาสนาสำหรับท่านเหมือนกับว่าเป็นการบ้านหรือการถกกันแล้ว เสร็จแล้วเอากลับไปนั่งคิด จึงจะเข้าใจ คืออรรถกถาหลายส่วน คือเขียนอย่างไม่เคารพน่ะครับ ขอโทษนะครับ”

    อ้อ ไม่เป็นไร มันมีหลายแง่ที่ต้องพิจารณา คือเรามองไม่เอาเฉพาะกรณีนี้ก่อน เอากลางๆ เอาทั่วไป  คือทั่วไปก็มี 2 แง่ แง่หนึ่งก็คือหมายถึงพวกที่มาสัมพันธ์กับพระคัมภีร์ มันก็เกิดมีกระแส กระแสอันหนึ่งแม้แต่ว่าไปมองท่านพุทธทาสด้วย แล้วก็จับแง่ท่าน อาจจะไปได้แง่หนึ่งแล้วก็เลยไปตามกัน คือ ท่านพุทธทาสนี่บางแห่งทานก็ติอรรถกถาไว้เยอะนะ แต่ท่านก็เขียนตามอรรถกถาเยอะ นี่แหละอันหนึ่งที่ว่าผู้ที่มาอ่านมาศึกษางานของท่านบางทีก็ไปจับงานสักเล่มสองเล่ม หรือบางด้านบางส่วนที่ท่านพูดไว้ ใช่มั๊ย  ก็ท่านพุทธทาสนี่ท่านด่าอรรถกถายับเยินเลย ทีนี้ก็เกิดกระแสขึ้นมา ไม่ชอบ อรรถกถาหรือว่า อรรถกถานี่ไว้ใจไม่ได้ เหลวไหล ก็กลายเป็นถึงขนาดว่ามีกลุ่มหรือกระแสใหญ่ไม่น้อยที่เป็นอย่างนี้ พอพูดถึงอรรถกถาก็มีความรู้สึกต้องไม่เชื่อ  อันนี้มองถึงแง่ผู้คนที่ศึกษากันอยู่ก็มีกระแสนี้เกิดขึ้น ทีนี้เราไปมองดูกว้างกว่านั้นก็คือ มองดูสภาพของเรื่องราวความเป็นไป เรื่องของความเข้าใจ ความรู้เกี่ยวกับตัวคัมภีร์เลย รวมทั้งประวัติศาสตร์ อันนี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง อันนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องคนเรื่องกระแสนี้แล้ว  อันนี้เราก็จะดูว่าอรรถกถาคืออะไร คนบางทีก็ไม่ค่อยเข้าใจ ความจริงคำว่าอรรถกถานี้ความหมายมันกว้างมากเราก็ต้องรู้ว่าเรื่องมันเป็นยังไง มันก็ไม่มีอะไรมาก อรรถกถาบอกอยู่ตรง ๆ แล้ว อรรถะ  กะถา  อรรถะบวกกะถา กถาก็คือถ้อยคำ ข้อความ คำแถลง คำกล่าว แสดงธรรมอย่างที่เราพูดกันนี่ กถาทั้งนั้นนะ อย่างที่อาตมาพูดอยู่นี่เป็น กถา  กถา ถ้อยคำ คำกล่าว ธรรมบรรยายที่อรรถะแสดง  อรรถะแสดงความหมาย  ข้อความที่แสดง อรรถะแสดงความหมาย ก็หมายความว่ามีอะไรที่เป็นเรื่องเป็นหลักอยู่แล้วคนทั่วไปอาจจะเข้าใจได้ยาก ก็มีท่านผู้มาอธิบาย กล่าวแถลงอรรถะ อธิบายข้อความ ความหมายของเรื่องนี้ อันนั้นก็กลายเป็นอรรถกถา อันนี้คือความหมายธรรมดา เพราะฉะนั้นเราต้องหันไปดูพุทธกาลก่อน ในยุคพุทธกาลพระพุทธเจ้าเทศน์ เทศน์กับคนกลุ่มหนึ่ง หรือบางทีคนเดียว ใช่มั๊ย  คนอีกเยอะมากมายไม่ได้ฟัง ยิ่งพอพระศาสนาเจริญแล้วลูกศิษย์ลูกหา พระอยู่ในถิ่นต่าง ๆ ใคร ๆ ก็อยากฟังว่าพระพุทธเจ้า วันนี้   เมื่อวานนี้  เดือนที่แล้ว เทศน์เรื่องอะไรกับใคร หรือได้ยินว่าเทศน์กับคนนั้นว่ายังไง ใช่มั๊ย  เออ เอาละสิ ก็ต้องการรู้ใช่มั๊ย พระอาจารย์ผู้ใหญ่ก็ต้องเอาไปเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง เอาละ ทีนี้ ข้อความที่เป็นหลักก็คือคำตรัสของพระพุทธเจ้า  พระเถระ  พระสารีบุตร  พระโมคคัลลา  พระมหากัสสปะ พระอะไรเหล่านี้ก็มีลูกศิษย์เยอะ ก็เอาไปเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่าพระพุทธเจ้าเทศน์ว่าอย่างนั้น ๆ ลูกศิษย์ก็ไม่ได้ฟังพระพุทธเจ้าเอง ก็ไม่มีโอกาสถามพระพุทธเจ้าก็ถามพระอาจารย์ พระอาจารย์ก็อธิบายว่าพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ พระอาจารย์ท่านรู้ท่านศึกษามาก่อน จุดนี้ลูกศิษย์ไม่เคยได้ยินท่านก็อธิบายให้ฟัง นี่คืออรรถกถาเกิดขึ้น เข้าใจมั๊ย ก็คือตั้งแต่พุทธกาลนั่นแหละเกิดอรรถกถาแล้ว    คำกล่าวที่อธิบายเนื้อความ บางครั้งพระพุทธเจ้าก็ตรัสเอง มีเรื่องที่ท่านเล่าไว้ว่ามีข้อความอะไรบางส่วนนี่ พระบางองค์เข้าไปหาพระพุทธเจ้าเลย ว่าข้อความนั้นหมายความว่ายังไง พระพุทธเจ้าตรัสก็กลายเป็นอรรถกถาอีกอันหนึ่งเพราะฉะนั้นอรรถกถาที่พระพุทธเจ้าเองตรัสก็มี นี่เข้าใจความหมายอรรกถาเสียก่อน มันเป็นคำธรรมดา ยิ่งมีอาจารย์และลูกศิษย์มาก ๆ อรรถกถาก็เยอะเลยทีนี้ และพระพุทธเจ้าก็ลูกศิษย์เยอะใช่มั๊ย  ทีนี้พระอรรถกถาจารย์ชั้นนำก็ต้องผู้มีปัญญามากที่เขาเคารพนับถือ พระสารีบุตรนี้ยอดอรรถกถาจารย์ แต่ท่านไม่ได้เรียกเพราะยุคนั้นยังไม่ถือว่าเริ่ม     เมื่อมาเป็นยุคสมัยมันก็มีการจัดให้เป็นระบบก็ยังไม่เรียกท่านเหล่านี้ว่า อรรถกถาจารย์ แต่ถือว่ารู้กัน ก็คือคำอธิบายที่ท่านอธิบายไว้  ทีนี้ลูกศิษย์ก็พยายามรักษาไว้  ก็นับถือ  อย่างพระสารีบุตรนี้ลูกศิษย์ก็นับถือมาก ท่านอธิบายไว้อย่างไรก็เอาไว้อ้างให้กับลูกศิษย์ต่อไปอีก ก็ต้องรักษากันอย่างดี หนึ่งก็ต้องรักษาพุทธพจน์ไว้ให้ได้  เข้ามาสวดสาธยาย ไปนั่ง ไปอยู่ในป่าก็พากันนั่งนึกพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้น ๆ พระสูตรอย่างนี้ ๆ ทีนี้นึกถึงคำอธิบายก็แล้วแต่ว่าเรียนมายังไงก็ทบทวนไป  ตัวเองต่อมาก็ต้องเป็นอาจารย์ก็ต้องรักษาคำอธิบายและอธิบายเพิ่มเติมทั้งคำอธิบายเก่ามีของพระพุทธเจ้าบ้างแต่ว่าไม่มากอาจจะมีคำอธิบายของพระอาจารย์ พระสาวกผู้ใหญ่ ต่อมาก็นานเข้าเวลาผ่านไป ใช่มั๊ย  ก็มากเข้า อรรถกถายุคแรกนี่ท่านถือว่านะแต่อันนี้เราไม่จำเป็นต้องเชื่อ  ว่าสังคายนาด้วยนะพร้อมกับสังคายนาพระไตรปิฎกแต่เขาไม่พูดถึง เพราะมันไม่ใช่ตัวสำคัญเป็นเครื่องประกอบ  ต่อมาก็เป็นอันว่าเมื่อคุณศึกษาพุทธพจน์ที่ต่อมาเรียก พระไตรปิฎกคุณก็ต้องการความเข้าใจ คุณก็ต้องอาศัยอรรถกถาด้วยเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นเพื่อรักษาพุทธพจน์ไว้ก็ต้องรักษาอรรถกถาด้วย ก็ควบคู่กันมาอย่างนี้ 

    ทีนี้ต่อมาพุทธศาสนาไปลังกาและพุทธศาสนาเถรวาทในอินเดียก็เสื่อมไป  ใช่มั๊ย  ทีนี้อรรถกถาก็ไปกับพระไตรปิฎกก็เป็นภาษาเดียวกัน  ตอนแรกเป็นภาษาเดียวกันแต่เมื่อไปลังกาแล้ว พวกลูกศิษย์ พระใหม่ พระลังกาจะเรียนนี่ไม่ค่อยรู้ภาษาบาลี รู้แต่ภาษาสิงหลก็เป็นหลักการว่าตัวพุทธพจน์คำตรัสนั้นต้องรักษาไว้เป็นคำเดิม คำเดิมเป็นภาษาอะไรก็ต้องรักษาอย่างนั้น เพราะฉะนั้นไม่มีตัวมาตรฐานใช่มั๊ย ขืนไปแปลเดี๋ยวก็ยุ่ง ใช่มั๊ย เดี๋ยวก็คลาดเคลื่อนไปจนได้ ยังไงถึงแปลก็แปลไปตัวเดิมก็รักษาไว้ แต่อรรถกถาคำอธิบายนี้เป็นตัวประกอบ เพราะฉะนั้นและผู้เรียนจะเข้าถึงตัวหลักได้ด้วยอรรถกถา อันนั้นเขาก็ต้องการให้เขาสะดวก ใช่มั๊ย อรรถกถาต่อมาก็เลยกลายเป็นภาษาสิงหลหมดเลยเพราะอินเดียเขาหมด   ทีนี้อรรถกถาที่อยู่ในลังกาก็กลายเป็นภาษาสิงหลหมดแล้ว นี่แหละ และทีนี้พระสิงหลเองก็มีอาจารย์สอนต่อกันมา อาจารย์ก็เพิ่มของตัวเองเข้าไปคำอธิบาย นี่เรียกอรรถกถาหมด ลองคิดดู อรรถกถานี่ความหมายมันแค่ไหนล่ะ ใช่มั๊ย ต้องเข้าใจข้อมูลความเป็นมาอย่างนี้เป็นเรื่องธรรมดาซะก่อนอย่าไปติดบัญญัติว่าอรรถกถาคืออย่างนี้ ทีนี้ก็เลยไปกันใหญ่เลย  เอานะอรรถกถาก็มาตั้งแต่พระสารีบุตร  พระโมคัลลา  รวมทั้งพระพุทธเจ้าเองก็มากันถึงลังกาก็มาเป็นภาษาสิงหล  อาจารย์สิงหลก็ใส่เข้าไป เมื่ออธิบายอาจารย์สิงหลท่านอธิบายของท่าน ท่านอธิบายตามที่ท่านรับมาด้วยและมันมีเหตุการณ์ในลังกาเกิดขึ้น ใช่มั๊ย ท่านก็เอามาเป็นตัวอย่างประกอบ เวลาท่านอธิบายธรรมท่านก็ยกเรื่องในลังกามาใส่ด้วย เพราะฉะนั้นในอรรถกถาก็เลยมีเหตุการณ์ที่เกิดในลังกาเยอะแยะไปหมดเลย ก็เลยกลายเป็นว่าต้องการศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาพุทธศาสนาในลังกาไปอ่านอรรถกถาได้ด้วย เพราะว่าพระเถระสิงหลท่านนำอรรถกถาสืบกันมาแล้วท่านก็นำมาใช้ประโยชน์ ท่านต้องทำเอง ท่านต้องอธิบาย ก็เรื่องในลังกาก็เยอะ  ทีนี้พระเหล่านี้รุ่นต่อมาบางองค์ก็อาจจะเอาเรื่องท้องถิ่น ความเชื่อท้องถิ่นอะไรต่ออะไรใส่เข้าไปอีก ทีนี้มันก็มีอยู่ว่าส่วนที่เป็นเนื้อแท้ที่อธิบายกันมาก็มีอยู่ในนั้น  คำอธิบายความคิดเห็นของบางท่านก็มีในนั้น เรื่องราวที่เกิดขึ้น เหตุการณ์ นิทาน เรื่องของท้องถิ่นอะไรก็ใส่เข้าไปอีก  นี่เป็นเรื่องของเราแล้วนะต้องแยกเอานะ  ต้องแยกนะ  ทีนี้อรรถกถาเองบางทีท่านก็ตีกันอีก  อรรถกถาอังคุตตรนิกาย  อรรถกถาชาดก  บางทีท่านก็อ้างกันว่าอรรถกถานั้นว่าอย่างนั้นไม่ถูก อย่างอรรถกถาแห่งหนึ่งว่าบอกว่ามีที่เดียวอรรถกถาชาดกว่าพระโพธิสัตย์เกิดมาได้ 7 วัน เป็นอย่างนั้น ๆ ไม่ถูกหรอก ว่าอย่างนั้น  อรรถกถาอื่นเขาเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น  อย่างนี้ก็มี อรรถกถาก็ว่ากันเองและบางทีก็อรรถกถาก็จะยกว่านี่เกจิ  เกจินี้มาจากอรรถกถาก่อนแล้วเรามาเรียก เกจิอาจารย์ ทีนี้ท่านอธิบายไป บางทีท่านก็บอกว่านี่เกจิ คือในกรณีออกชื่ออาจารย์อื่นท่านก็ออกไปแสดงไป คือท่านไม่ได้อธิบายของท่านคนเดียวท่านอธิบายไปบางทีท่านก็บอกอาจารย์องค์นั้น มหาปัทมเถโร ว่าอย่างนี้นะ เรื่องนี้แต่ท่านอาจารย์นั้น ชื่อนั้น ไม่เห็นด้วยว่าอย่างนี้ ๆ แล้วมติข้าพเจ้าว่าอย่างนี้ ๆ ท่านก็ว่าอย่างนี้นะ   ทีนี้บางทีมันไม่รู้จะระบุชื่อยังไง บางท่านไม่มีชื่อเสียงมากและก็อาจจะหลายองค์ก็เป็นกลุ่ม พระอรรถกถาจารย์ก็ว่าเกจิ เกจิก็แปลว่าบางพวก บางพวกก็หลายคน ใช่มั๊ย บางทีท่านก็เติมเกจิอาจาริยาเลย ก็เกจิอาจารย์ อาจารย์บางพวก  อาจารย์บางพวกมีความเห็นว่าอย่างนี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่าอย่างนี้ แล้วบางท่าน บางทีท่านก็บอก เออดี ความเห็นของท่านเกจินั้นดี บางทีท่านก็บอกไม่ได้เรื่อง เกจิพวกนี้ผิด ท่านก็ว่าไปอย่างนี้  แต่เกจินี้ส่วนมากนี่ใช้ในเซนส์ไม่ค่อยดี เกจิในอรรถกถานี่ไม่ค่อยดีเพราะว่าคือคนที่เป็นที่นับถือ พูดอะไรที่ยอมรับกันนี่มักจะคนรู้จักชื่อดี ใช่มั๊ย เพราะฉะนั้นท่านก็เอาชื่อมาเลย แม่นมาเลย เช่น มหาปัทมเถโรว่าอย่างนี้ แต่พวกเกจิก็คือคนที่เป็นบางพวกบางกลุ่ม โดยมากแล้วจะอ้างในเวลาที่ว่าเป็นพวกเพี้ยน ๆ   เกจิว่าอย่างนี้ เกจิอาจารย์ว่าอย่างนี้ เพราะฉะนั้นคำว่าเกจิมีในอรรถกถาทั่วไปหมด ไม่รู้กี่ร้อยแห่งเต็มไปหมดแหละเกจิ  บางทีก็ไม่ต้องใส่คำว่าอาจาริยาคือถ้าพูดเต็มก็เกจิอาจาริยา อาจาริยาอาจารย์ทั้งหลาย เกจิบางพวก   ทีนี้ในภาษาบาลีนั้นตัวสรรพนามบางทีไม่ต้องใส่นามไว้ก็ถือว่าละไว้ในฐานเข้าใจใส่คำเกจิอันเดียวก็รู้กันว่าหมายถึงเกจิอาจารย์  บางครั้งก็ออกเป็นเกจิเถรา  เถระบางพวกแต่โดยมากเป็นเกจิอาจาริยา และก็รู้กันว่าถ้าท่านละไว้ในฐานเข้าใจพูดว่าเกจิคำเดียวก็คือเกจิอาจารย์  อาจารย์บางพวกและอย่างที่ว่าถ้าคนที่มีชื่อเสียงเป็นที่นับถือยอมรับโดยมากก็รู้จักชื่อก็อ้างชื่อมาเลย  แต่พวกเกจินี้ก็มักจะเป็นพวกที่มีความเห็นอย่างนู้นอย่างนี้ เอาเรื่องไม่ได้กันเลยจับตัวไม่ได้ก็เอามาพูดว่าเกจิ   เพราะฉะนั้นเกจิในคัมภีร์ไม่ได้รับการนับถือก็คือพวกที่เพี้ยน ๆ หรืออะไรแบบนี้ เกจิเยอแยะไปหมด นี่ก็เรื่องเกจิที่เข้ามา

    “อาจารย์ครับ ถ้าอย่างพุทธธรรมถือว่าเป็นอรรถกถามั๊ยครับ”

    อาตมาไม่ได้ถืออะไรหรอก อย่าไป...

    “ไม่ได้ถือครับแต่หมายถึงในแง่ของลักษณะเนื้องานจะเข้าข่ายอรรถกถามั๊ยครับ ถ้าจะเรียก”

    คือต้องแยกพูดเดี๋ยวจะต้องมาอีกขั้นหนึ่งยังอีกขั้นหนึ่งนี่พูดทั่วไปก่อนนะ อันนี้ให้เข้าใจสภาพทั่วไปมองกว้าง ๆ เห็นความเป็นมาแล้วจะได้มองออก เอาเป็นว่าอรรถกถาก็เป็นอย่างนี้ คำแถลง อธิบาย เนื้อความที่พระสาวกตลอดจนพระอาจารย์ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายนำสืบกันมาเพื่อจะใช้เป็นเครื่องประกอบในการศึกษาพระไตรปิฎก พุทธพจน์ เมื่อสืบมาก็เลยมีกันมากหลาย  ทีนี้อรรถกถาเดิมนี่ตอนก่อนที่จะมาลังกานี้นะ มันก็เป็นภาษาบาลีเหมือนพระไตรปิฎก ทีนี้พระที่อยู่ในอินเดียก็ศึกษาพระไตรปิฎกโดยใช้อรรถกถาบาลีอย่างเดียวกัน ภาษาเดียวกัน ต่อมาพุทธศาสนาในอินเดียเสื่อมก็เหลือแต่พระไตรปิฎกเพราะพระไตรปิฎกเป็นสิ่งที่หวงแหนรักยิ่งจะต้องรักษาไว้ให้ได้ ไม่งั้นพุทธศาสนาก็หมด ส่วนอรรถกถานั้นก็กระจัดกระจายหายสูญไปเป็นส่วนใหญ่หาไม่ค่อยได้  ก็มาถึงยุคพระอรรถกถาจารย์นี่แหละที่เราจะเรียกยุคอรรถกถาจารย์ก็คือ พ.ศ. 900 เศษ  ตอนนั้นพุทธศาสนาในอินเดียแย่แล้ว   ทีนี้พระพุทธโฆษาจารย์มาบวชก็ศึกษาชำนาญภาษาบาลีศึกษาพระไตรปิฎกอะไรต่ออะไรแล้วและคิดคำอธิบายบาลีบางอย่างขึ้นมา อาจารย์ก็บอก นี่เธอ เห็นเก่งอรรถกถาจริงเขาเยอะแยะหมดแล้วนะแต่ในเมืองอินเดียเราไม่มีแล้วมันมีอยู่ที่ลังกาแต่เป็นภาษาสิงหลหมดแล้ว เมื่อมีความรู้อย่างนี้เอาอย่างนี้ดีกว่าไปลังกาเลยไปเอาอรรถกถากลับมา เพราะตอนนี้พวกเราอินเดียแย่แล้ว ศึกษาไม่ค่อยได้  ทีนี้ไปที่โน่นเป็นภาษาสิงหลหมดแล้วนะกลับมานี่พวกเราก็ไม่รู้เรื่องเพราะฉะนั้นเธอต้องไปแปลอรรถกถาสิงหลกลับมาเป็นภาษามคธภาษาบาลีเพื่อจะใช้กันได้ที่นี่ด้วย  นี่จึงเป็นเหตุให้พระพุทธโฆษาจารย์เดินทางมาเพื่อมาแปลอรรถกถากลับเป็นภาษาบาลี มาแปลนะไม่ใช่มาแต่ง คนไม่น้อยเลยเข้าใจว่าอรรถกถานี้เป็นของพระพุทธโฆษาจารย์  ใช่มั๊ย

    “แม้แต่วิสุทธิมรรคหรือครับท่าน”

    วิสุทธิมรรคนั่นท่านเรียบเรียง ใช่ แต่ว่าอรรถกถานี่คนไม่น้อยเข้าใจว่าเป็นของพุทธโฆษาจารย์ ไม่ใช่อย่างนั้น  ก็แสดงว่าพระพุทธโฆษาจารย์เข้ามา พ.ศ. 900 กว่า ๆ ใกล้ 1,000 แล้ว เดินทางมาลังกาเพื่อมาแปลอรรถกถาภาษาสิงหลกลับเป็นภาษามคธหรือบาลีให้เหมือนพระไตรปิฎกแล้วนำกลับไป    เอาละทีนี้พระพุทธโฆษาจารย์ก็เดินทางมา ทีนี้พระลังกาท่านก็ถือว่าต้องดูก่อนนะท่านนี้มาแล้วอยากจะมาแปล มาอะไรอย่างนี้ ถ้าทำเพี้ยนแปลผิดก็เสียหายหมด ท่านก็ให้อยู่ก่อนและให้ศึกษาไปก่อนและดูความสามารถให้ลองคัมภีร์เล่าวิสุทธิมรรคให้คาถาไปลองแต่งดู คาถานี้พระพุทธโฆษาจารย์ก็ไปเรียบเรียงเป็นวิสุทธิมรรคแล้วเอามาให้คณะสงฆ์มหาวิหารดู คณะสงฆ์มหาวิหารดูแล้วยอมรับก็อนุญาติให้แปลก็เลยยอมให้เอาคัมภีร์ไปแปล นี่คือบทพิสูจน์เป็นบันไดที่จะผ่านไปแปลอรรถกถา  ทีนี้พระพุทธโฆษาจารย์ท่านแปลท่านก็ไม่ได้แปลตรง ๆ ต้องใช้คำว่าแปลเรียบเรียงคืออรรถกถาเป็นภาษาสิงหลนี่นะ ตอนนั้นท่านก็เล่าไว้ พระพุทธโฆษาจารย์ท่านเล่าไว้ว่า มีชื่อ มหาปัจจรี กุรุนที มหาอรรถกถาวินัยและก็มี มหาอรรถกถาใหญ่ เรียกคลุมเลย  อรรถกถาใหญ่เรียกคลุมหมด  ทีนี้ พระพุทธโฆษาจารย์ท่านก็เล่าวิธีการของท่านในการแปล คือท่านบอกว่าท่านเอามหาอรรถกถานี้เป็นสรีระ  สรีระก็คือเป็นแกนใหญ่เป็นหลักใหญ่เป็นเนื้อหาส่วนใหญ่ แล้วก็เอาอรรถกถาอื่นมา เช่น มหาปัจจรี กุรุนที ที่เป็นตอนวินัยก็เอามาด้วย หมายความว่าท่านไม่ได้แปลทีละคัมภีร์ แต่ว่าเอาคัมภีร์เหล่านี้มาประสานรวมเลยก็คล้าย ๆแปลเรียบเรียงก็หมายความว่าเอามหาอรรถกถานี่เป็นหลักและเอาอรรถกถามหาปัจจรี กุรุนทีมาเนื้อความที่อยู่ตอนเดียวกันก็เอามา ถ้าหากว่ามีความเห็นผิดเพี้ยนต่างไปท่านก็อ้างไว้ว่าตรงนี้นะมหาปัจจรีว่าอย่างนั้น กุรุนทีว่าอย่างนั้น นอกจากนั้นก็เอามติของพระอาจารย์ในสิงหลทวีปตั้งแต่พ.ศ.นั้นถึงพระเจ้ารัชกาลนั้นมาด้วย ว่าท่านอธิบายกันมาอย่างนี้ ๆ มีมติ  นี่แหละท่านก็เรียบเรียงอรรถกถาขึ้นมา อันนั้นสำเร็จ อันนั้นสำเร็จ อันนั้นสำเร็จ แต่ท่านทำได้ไม่หมด ก็มีพระมหาอรรถกถาอื่นมา พระธัมมปาละ พระมหานามะ อะไรต่ออะไรมาองค์ละเล็กละน้อย ก็ในช่วงเดียวกันนี้  แล้วตอนนี้เมื่อมีการแปลอรรถกถากันมาก็เกิดเป็นอรรถกถาภาษาบาลีขึ้นมา มันก็เป็นเหตุการณ์ใหญ่ที่ทำให้ต้องมีวิธีกำหนดว่าเวลานี้อรรถกถานี้มีความหมายยังไง อรรถกถาที่แปลเป็นบาลีในยุคพระพุทธโฆษาจารย์นี้เป็นยุคหนึ่งโดยเฉพาะเลย ก็เลยเอาอย่างนี้ อรรถกถาเก่า ๆ มีมหาอรรถกถา  มหาปัจจรี ที่มีอยู่เก่า ๆ นี่ให้เรียกว่า โปราณอรรถกถา เรียกว่าอรรถกถาโบราณเรียกอย่างนั้นไปเลยก็คืออรรถกถาโบราณที่สืบมาตั้งแต่พระพุทธเจ้า แต่ว่ารักษากันมาในลังกาที่เป็นภาษาสิงหล ก็รวม ๆ กันไปก็เรียกโปราณอรรถกถา  ส่วนอรรถกถาที่เกิดขึ้นในยุคพระพุทธโฆษาจารย์แปลเป็นภาษามคธตามเดิมนี่ก็เรียกกันว่าอรรถกถา  ตอนหลังก็เรียกกันว่า ถ้าพูดว่าอรรถกถาก็หมายถึงอรรถกถาที่แปลกันในสมัยพระพุทธโฆษาจารย์  พระพุทธโฆษาจารย์เริ่มต้นก็แปลจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลีแล้วก็เรียกยุคนี้ว่ายุคอรรถกถา  ยุคอรรถกถาที่เป็นอย่างนี้ก็คือยุคที่แปลจากสิงหลมาเป็นภาษาบาลีเมื่อพ.ศ. 900 เศษ ๆ หรือพูดแบบคร่าว ๆ ก็ประมาณ 1,000 นี้คือยุคอรรถกถา พูดถึงยุคอรรถกถาก็หมายถึงยุคนี้  คำว่าอรรถกถาเราจึงต้องพูดกันแยกแยะมีเงื่อนไขไม่ใช่หมายความว่าพูดแล้วก็นึกไปโดยจับเอาตอนใดตอนหนึ่ง ก็คือผู้ที่ไม่รู้ก็อาจจะหมายถึงว่า อ้อเป็นอรรถกถาพระพุทธโฆษาจารย์  ทีนี้ถ้าเราเข้าใจเรื่องราวเป็นมาอย่างนี้ มองออกมั๊ย

    “เข้าใจครับ แต่ผมมองว่าปัญหาคือเราศึกษาเชิงวิชาการแบบตะวันตกมามันยากที่จะรับได้ว่าพอตรัสออกไปก็บรรลุกันหมดเลย 10,000คนอะไรแบบนี้”

    ก็นั่นนะซิเดี๋ยวจะอธิบาย มาตรงนี้อีก  ทีนี้ว่าพระอรรถกถาจารย์นี่นะพอท่านอธิบายอย่างนี้ใช่มั๊ย ตอนยุคท่านเราก็ดูได้เลยว่าเป็นยุคที่นิยมอิทธิปาฏิหาริย์ คนทั่วไปก็ชอบแบบนั้น เพราะฉะนั้นจะมีเรื่องฤทธิ์แทรกมาเยอะไปหมดเลยในหนังสืออรรถกถา

    “ในพระไตรปิฎกก็เยอะก็ไม่น้อยเหมือนกันนะครับ”

    ก็มีแต่ว่าท่านห้ามไว้ ในยุคนั้นก็ยุคพราหมณ์ไง พราหมณ์ก็นิยมฤทธิ์เต็มที่เลย ฤษี ดาบสไปบวชกันออกไปอยู่ป่าก็ล้วนแต่ฤทธิ์ทั้งนั้น พราหมณ์ ฤษี ดาบส โยคี เกิดในอินเดียทั้งนั้น ล้วนแต่พวกนิยมฤทธิ์ทั้งนั้น พระพุทธเจ้าต้องไปปราบทั้งนั้นเลย เรื่องในพระไตรปิฎกก็ปราบพวกมีฤทธิ์เยอะแยะไปหมด ก็แน่นอนว่าในพระไตรปิฎกก็ต้องเจอ แต่จะเห็นว่าเป็นการปราบฤทธิ์ซะมาก ในพระไตรปิฎกเป็นเรื่องปราบฤทธิ์ซะเยอะคือต้องมีฤทธิ์เพื่อปราบฤทธิ์ ไม่งั้นแล้วเขาก็ไม่เอาด้วย เขาจะยอมรับยังไงถ้าเราไม่มีฤทธิ์ เขาก็นิยมฤทธิ์อยู่

    “ถ้าอย่างนั้นก็คือก็ยอมรับเรื่องฤทธิ์เหมือนกันใช่มั๊ยครับ”

    ไม่มันคนละแบบ เพราะอรรถกถานี่มันต้องการแสดงความเก่งเลยคือหมายความตอนพระไตรปิฎกนั้นมันมีเหตุผลว่าคนเก่าเขานิยมฤทธิ์ก็ต้องไปให้เห็นว่าเราแน่กว่า ก็ต้องปราบฤทธิ์เก่าหรือให้เหนือกว่า ใช่มั๊ย  เพราะฉะนั้นมันมีจุดหมายชัดเจนในพระไตรปิฎก คนละแบบ แต่ว่าเสร็จแล้วพระพุทธเจ้าจะไม่สรรเสริญฤทธิ์ ทั้ง ๆ ที่ทำฤทธิ์ได้เก่งกว่า เสร็จแล้วตบท้ายว่า เธออย่าไปสนับสนุน อย่าไปมัวเมาฤทธิ์ พระพุทธเจ้าแสดงให้เห็นว่า ฉันทำได้และฉันทำได้ดีกว่าจนพวกนั้นยอม เสร็จแล้วพระองค์ก็บอก อย่าเอาเลยฤทธิ์นี่มันไม่ไปไหนหรอก มันไม่สำเร็จ ไม่ทำให้บรรลุอรหัตผลอะไรได้ก็ว่าไป แล้วก็ปาฏิหาริย์ 3 อะไรนี่ก็เพื่อให้เห็นว่าที่แท้ต้องไปอนุสาสนีปาฏิหาริย์  แต่ทีนี้ในยุคอรรถกถานี้แม้ท่านจะตระหนักในหลักการนี้ แต่ว่าเรื่องเหตุการณ์ที่ต้องไปปราบฤทธิ์มันไม่มีแล้ว ตอนนี้เป็นเรื่องที่ท่านจะบรรยายความเก่งกล้าสามารถอัศจรรย์ หมายความว่าเพื่อสร้างศรัทธาแก่คนแล้ว คนนิยมทั่วไป ชาวบ้านเขานิยมฤทธิ์ใช่มั๊ย ก็บรรยายเพื่อให้ชาวบ้านเขาตื่นเต้นหรือว่ามีศรัทธาขึ้นมา แนวทางก็ต่างกัน   เอาละในอรรถกถามีเรื่องฤทธิ์เยอะแยะหมด ทีนี้พวกคนรุ่นหลังไม่ได้ไปเห็นเหตุการณ์อะไรใช่มั๊ย ทีนี้เรื่องของวรรณคดีนี่เวลาบรรยายอะไรก็ชอบให้มันมีรส ตอนนี้ก็จะมีเรื่องประเภทที่ว่าพระพุทธเจ้าตรัสคนนั้นได้ คนนั้นก็   เพื่อให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างน่าตื่นเต้นดี ก็พูดเหลือเกินแหละ คนนั้นก็ได้อย่างนั้นอย่างนี้แล้วก็เกิดมีฤทธิ์คนได้ร่วมด้วยเป็นพันเป็นหมื่น อะไรต่ออะไรว่ากันหนัก  นี้คืออรรถกถาในแง่นี้ที่ทำให้หลายท่านเวลาอ่านแล้วก็ไม่ค่อยอยากเชื่อคือ หนึ่งก็คือเรื่องนิทานท้องถิ่นเอาเข้ามา เรื่องของอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อะไรต่ออะไร พวกนี้เข้ามา จุดนี้ที่เราจะต้องเข้าใจท่านว่าท่านมาในสายความนิยมและอยู่ในสภาพแวดล้อมยังไง ใช่มั๊ย  เราก็ต้องเอาเนื้อ เราก็ต้องดู อ้อ อรรถกถานี้ตอนนี้จะอธิบายพระไตรปิฎก พระสูตรนี้ และก็อธิบายเป็นคำ ๆ ไปเลยแล้วก็มาเรื่องแทรกเรื่องมติของท่านเรื่องนิทานประกอบอะไรต่ออะไร เข้าใจนะตอนนี้

    “เข้าใจครับ”

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service