แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
พูดถึงเรื่องปลีกย่อย เล็กๆ น้อยๆ ชีวิตพระ เวลานี้เราก็มีการสวดมนต์กัน ทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ สวดกันไป ก็ต้องตั้งคำถามเหมือนกันนะ สวดกันไปทำไม อันหนึ่งก็คือจะได้มาประชุมพร้อมกัน เป็นการมีสามัคคี แล้วก็ได้มาสวดมนต์ ก็มาเจริญ จะเรียกว่า บางทีเขาใช้เป็นบุพพภาคของการเจริญสมถกรรมฐาน ก็คือทำใจให้พร้อม ให้สงบ แล้วต่อแต่นั้นก็มาเจริญสมาธิ เจริญสมถะกัน ก็ใช้กันต่างๆ จนกระทั่งว่า สวดมนต์กลายเป็นการอวยชัยให้พร ตั้งใจปรารถนาดีต่อท่านผู้อื่น อะไรก็ตามแต่ว่า สาระนี้ยังอยู่ในธรรมวินัย ก็คือทำให้จิตใจสงบ เป็นวิธีการที่จะให้มานั่ง ประชุมกันพร้อม มาพบปะกัน แล้วมีเรื่องราวอะไรในวัด คณะสงฆ์ก็จะได้เล่า ก็จะได้แนะนำกัน อันนี้ก็เป็นยุคหลัง แต่ว่าก่อนหน้าที่จะมาเกิดเป็นสิ่งเหล่านี้ ที่เรียกสาธยาย ความประสงค์ที่แท้จริงเลยก็คือการรักษาพุทธพจน์ ??? ตั้งแต่ทำสังคายนา สังคายนาครั้งที่หนึ่ง พอทำเสร็จตอนหนึ่งๆ ก็ เขาเรียกทำคณะสาธยาย คณะสาธยายก็คือ การสวดเป็นหมู่ ก็หมายถึงในที่ประชุมทั้งหมด ตกลงกันนะว่าจะสังคายนา พระธรรมวินัยตรงนี้ พระอานนท์ได้นำมาแสดงแล้ว สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ที่ประชุมตกลง ยอมรับพร้อมกัน ก็สวดพร้อมกัน เพื่อจะได้เป็นมติที่ยึดถือต่อไป ทรงจำไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วก็จะได้สืบทอดปณิธาน สาธยายอย่างนี้ ในคณะสาธยาย หรือการสาธยายกลุ่ม ทั้งหมู่ก็เริ่มมาตั้งแต่สังคายนา ต่อมาก็ต้องตั้งคณะ เพราะว่าพระไตรปิฎกเยอะแยะ แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์
พระจะสวดจบนี้หายาก เดี๋ยวนี้พม่ายังมีพระ ที่องค์เดียวกันก็สวดได้ทั้งพรไตรปิฎก ก็เรียกว่าทางรัฐบาลพม่าเขา จัดให้พระสงฆ์มีการสอบ ผู้ที่สมัคร สาธยายพระไตรปิฎกให้ฟังว่า จบทั้งพระไตรปิฎก จำได้หมด องค์เดียว พอสอบผ่านแล้วก็ตั้งเป็นตำแหน่ง เรียกว่า เตปิฎกธระ หรือเรียกเป็นไทยก็ เตปิฎกธร ผู้ทรงพระไตรปิฎก พม่าเดี๋ยวนี้ยังมีหลายองค์ ปัจจุบันนี้ถึงสิบหรือเปล่า ใครจำได้ สามสิบสาม นี่แหละ พม่าเขายังรักษาประเพณีสำคัญนี้ไว้ได้ องค์เดียวจำพระไตรปิฎกได้หมด สาธยายได้ นี่ก็เรานี่ก็ไม่มีประเพณีนี้ แต่ว่าเดิมนั้นน่ะ ก็อย่างที่ว่า การรักษาพระไตรปิฎกนั้น ทำด้วยมุขปาฐะ ทรงจำ ท่องกันมาแล้วก็มาคณะสาธยายนี้ เพราะมากมายก็เลยแบ่งเป็นคณะ คณะที่ทรงจำรับผิดชอบฑีขนิกายก็เรียกว่า ฑีขภานกา คณะที่รับผิดชอบทรงจำมัชฌิมานิกายนี่ก็เรียกว่ามัชฌิมภานกา อย่างนี้เป็นต้น ก็รับผิดชอบกันมา นอกจากว่าจะต้องทรงจำ สาธยายได้แล้ว ก็ต้องรู้เนื้อความ เป็นผู้เชี่ยวชาญในนิกายนั้น สามารถอธิบายเนื้อหาได้ด้วย ก็นี่แหละ รักษาพระธรรมวินัยมาอย่างนี้ เคยอธิบายแล้วเหตุใดท่านจึงไม่ยอมรับไม่เชื่อถือการเขียนเป็นตัวหนังสือ สมัยก่อนนี่ไม่ยอมรับนะ การเขียนหนังสือนี่ถือว่ามีตั้งแต่พุทธกาลนะ ในพุทธกาลนั้นก็มีโจรที่พระราชาทำประกาศ มีหมายจับ และก็มีการเขียนหนังสือแล้วในสมัยพุทธกาล มีโจรที่มีหมายจับ แต่ทำไมท่านไม่ใช้หนังสือมารักษาธรรมวินัย เคยอธิบายไปแล้ว วันนี้ไม่อธิบายแล้ว เพราะว่าการรักษาด้วยตัวหนังสือสมัยก่อน มันไว้ใจไม่ได้ เอาความง่ายๆ ก็แล้วกัน แต่ว่ามาสวดพร้อมกันเนี่ย ท่านไม่ได้สวดองค์เดียวนี่ สวดพร้อมกันน่ะ ร้อยองค์น่ะ ผิดได้ไหม ต้องลงกันหมด ต้องไปด้วยกันดี สอดคล้องกันลงตัว แน่นอน เพราะฉะนั้นการสวดเป็นหมู่เป็นคณะ ก็เลยรักษาธรรมวินัยไว้ได้ นี้ตอนต่อมา มีการจารึกลงใบลานในลังกา พ.ศ. สี่ร้อยกว่า ทีนี้ท่านก็กลัวเหมือนกัน ตอนนั้นพระก็ชักจะมีความบกพร่อง ย่อหย่อน แล้วก็จำเป็นจะต้องลงหนังสือไว้ แต่ท่านก็เกรงเหมือนกันว่าต่อไปนี้ จะประมาท แล้วก็ประมาทจริงๆ พอมีตัวหนังสือ ทีนี้ก็ไม่ค่อยเอาใจใส่ที่จะท่องกัน ก็เลยต้องมีการที่ว่าจะมีการจารึกเป็นฉบับของประเทศ พระเจ้าแผ่นดินแต่ละประเทศที่นับถือพุทธศาสนา ก็จะต้องทำเป็นการใหญ่ เอานักจารที่มีฝีมือมาแล้วมีพระตรวจสอบ ทำกันเป็นการใหญ่เลย แล้วก็ทำจารึกเป็นแบบแผน อย่างในหลวงรัชกาลที่หนึ่ง คือพระเจ้าตากนี่พอตั้งกรุงได้เนี่ย กิจสำคัญที่พระองค์ทำก็คือว่า ให้หัวเมืองทั้งหลายรวบรวมพระไตรปิฎกส่งมา เพราะอยุธยานี่ถูกเผา พระไตรปิฎกหมด ปลายหัวเมือง เช่น นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ อย่างนี้ รวบรวมพระไตรปิฎกส่งมา พระเจ้าตากสินก็ทรงรวบรวมไว้ ก็คงเตรียมพระองค์ว่าจะทำยังไงต่อไป ก็สิ้นรัชกาล รัชกาลที่หนึ่งก็เหมือนกับทรงทำต่อ ก็ประชุมพระสงฆ์ที่วัดมหาธาตุ เดี๋ยวนี้ยังมี ตั้งทำเป็นหอสมุดที่วัดมหาธาตุ เป็นที่สังคายนาครั้งที่หนึ่งของรัตนโกสินทร์ นิมนต์พระที่เป็นผู้ชำนาญ ผู้รู้ ทรงจำพระไตรปิฎก หรือว่ามีความรู้เชี่ยวชาญในอัตถะพยัญชนะของพระบาลี ก็มาประชุมกัน แล้วก็มาตรวจทาน สอบทาน พระไตรปิฎกที่ส่งมาจากภาค จังหวัด หัวเมืองต่างๆ เขาลงตัวว่า อันนี้ผิดกันตรงไหน จารึกไว้ ทำเชิงอรรถไว้ ตรงนี้ ฉบับโน้นเป็นอย่างนี้ ฉบับนั้นเป็นอย่างนั้น เสร็จแล้วก็ให้พวก จะเรียกว่าราชบัณฑิต หรือคนที่มีความชำนาญ จ้างมา มีฝีมือในการจาร จารลงในใบลาน ก็อาศัยคนที่เขียนลายมือดี เขาเก่งเป็นช่าง แต่เขาไม่มีความรู้ในบาลีพอ ฉะนั้นก็ต้องมีพระคอยตรวจทาน ก็ทำจนกระทั่งเสร็จ ไม่ใช่ใช้เวลาน้อยๆ สมัยนั้นยากเย็นเหลือเกิน เสร็จแล้วในหลวงรัชกาลที่หนึ่ง ก็ทรงทำไว้สามฉบับ ฉบับหลักก็เป็นฉบับปิดทอง เรียกชื่ออะไร ชักลืมแล้ว เขียนชื่อไว้แล้วในกาลานุกรม เป็นสามฉบับ ฉบับหลักนั้นก็สร้างหอมณเฑียรธรรมเป็นที่เก็บไว้ อยู่ในวัดพระแก้วนั่น หอมณเฑียรธรรมเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก แล้วในจารึกหรือว่าบันทึกความไว้ จำไม่แม่น บอกไว้ว่าได้จารึกพระไตรปิฎกเป็นฉบับนี้ ฉบับทองใหญ่หรืออย่างไรเนี่ย จำไม่แม่นแล้ว ต้องไปดูที ใครสนใจก็ไปดูในกาลานุกรม แต่พระองค์ใช้คำว่าตั้งเป็นหลักของแผ่นดิน พระไตรปิฎกนี่สำคัญนะในสมัยรัตนโกสินทร์ ในหลวงรัชกาลที่หนึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ตั้งเป็นหลักของแผ่นดินสร้างหอมณเฑียรธรรมขึ้นเป็นที่เก็บ ฉะนั้นชาวพุทธต้องเห็นความสำคัญของเรื่องพระไตรปิฎก รวมอรรถกถา ฎีกา ตำรับตำรา เรื่องการศึกษานี้ให้มาก นี้ก็ทรงตั้งไว้อย่างนี้แล้ว ก็เลยเราก็รักษากันไว้ พระเจ้าแผ่นดินประเทศอื่นก็เหมือนกัน พม่า ถึงแม้เขาไม่มีพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ต่อมาเขาก็มีรัฐบาลสมัยใหม่ เขาก็มีการจัดสังคายนาครั้งสำคัญของเขา เรียกว่า ฉัฏฐสังคีติ ครั้งที่หก ก็ทำให้ได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นหลักเป็นฐาน ของพม่านี่ ก็ต้องยอมรับความจริงว่า ของพม่านี่ นอกจากพระไตรปิฎกแล้ว คัมภีร์อื่นๆ อรรถกถาฎีกา อนุฎีกา คัมภีร์รุ่นหลังๆ นี่ เขาครบที่สุด กว่าประเทศอื่นๆ ของเราตอนหลังๆ นี่ คัมภีร์ที่เราไม่มี เราอยู่ในใบลานก็ลำบาก จะมาชำระจัดพิมพ์เป็นเล่ม ก็เลยต้องไปเอาของพม่ามา ตอนหลังๆ นี่ใช้ฉบับฉัฏฐสังคีติแทบทั้งนั้นเลย ก็กลายเป็นว่าพม่านี่มาเป็นแบบอย่างในทางตำรา ของเมืองไทยนี่การศึกษาเล่าเรียน ตำรับตำราเสื่อมไปนานแล้ว เสื่อมไปตั้งแต่ยุคล้านนาไทยที่รุ่งเรือง ที่เชียงใหม่รุ่งเรืองมาก มีพระสิริมังคลาจารย์ เป็นต้น ที่รจนาคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ที่ใช้เรียนประโยคสี่ แล้วก็มีองค์อื่น หลังจากนั้นมาก็เสื่อมไปหมด เมืองไทยนี่การศึกษาเล่าเรียน คัมภีร์อะไรต่ออะไรก็เสื่อมทรามลงมานานแล้ว ชาวพุทธไทยมาตื่นตัวกันระยะที่แล้วมานี่ ก็เป็นเอกชน มีคณะนั้นคณะนี้มาชำระคัมภีร์ต่างๆ รุ่นอรรถกถา ฎีกา นำมาพิมพ์เป็นเล่มกันขึ้นมา เดี๋ยวนี้ก็มีกันค่อนข้างพร้อม แต่ก็จะพูดไม่เต็มปาก คือไม่พร้อมอย่างของพม่าเขา พม่าเขายังมากกว่า ก็เอาล่ะ เวลานี้ก็มีตำราให้เรียนพอ แต่ว่าคนเรียนไม่ค่อยพอ คือคนเรียนยังน้อยไป ก็ต้องพยายามกันเร่งการศึกษา ชาวพุทธเราเนี่ยจะดำรงพุทธศาสนาไว้ได้ด้วยการบวช ด้วยการศึกษา เราถึงทำไมมาบวชเรียนไง บวชเรียนก็บวชเพื่อการศึกษา นี่ชาวบ้านเดี๋ยวนี้ขาดการศึกษาเล่าเรียนมาก หลักธรรมวินัยก็เลยคลาดเคลื่อนผิดเพี้ยนไป ความหมายของถ้อยคำก็เข้าใจกันผิดหมด ใช้คำเดียวกันของบาลี มาใช้ภาษาไทย ความหมายไปอีกเรื่องหนึ่งเลย ไกลลิบลับ เนี่ยต้องมาตั้งต้นกันใหม่ ต้องปลุกใจญาติโยม ให้ศึกษาเล่าเรียนกันให้จริงจัง แต่ว่า โยมตอนนี้ก็ดีมีศรัทธามนูญพระ ก็ขอให้พระเรียนเป็นกิจจะ แล้วพอเอาพระเรียนดีจริงจังแล้วก็เผื่อแผ่ไปถึงญาติโยม กว้างขวางออกไป มีความรู้แล้ว พระศาสนาก็จะอยู่ ถ้าไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ศรัทธา มันก็เหลวไหลออกไป ไปเรื่อยไสยศาสตร์บ้าง ไปเรื่องอะไรต่ออะไร ไม่รู้แหละ พุทธศาสนาก็เสื่อมโทรมหมดไป พอเรารู้เข้าใจแล้วเราก็ศรัทธาถูกต้อง พอศรัทธาถูกต้องก็ปฏิบัติได้ถูกต้อง พุทธศาสนาก็อยู่ได้ นี้เราก็มีการสาธยายสมัยก่อนที่ว่า รักษาพระไตรปิฎกหรือเปล่า พอมามีเป็นจารึกตัวอักษรในคัมภีร์ ในสมุดข่อย ในใบลาน แล้วก็เลย ไม่ค่อยจะสาธยาย ก็เลยเหลือมาเป็นรูปของการสวดมนต์นี่แหละ สวดมนต์ที่มาสาธยาย ทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ นี่ก็เป็นการสาธยายที่ เป็นส่วนหลงเหลือของการที่จะสาธยายรักษาพุทธวจนะนั่นเอง ก็เอาล่ะ ก็ยังดี สวดรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ก็สวดกันไป ใช่ไหม เดี๋ยวนี้สวดไม่รู้เรื่องแล้วนะ สวดกันไปอย่างนั้นเอง ก็ยังดี อนุโมทนาเพราะว่ายังสวดอยู่ ดีกว่าไม่สวด ทีนี้ต่อไปเราก็ต้องเข้าใจนี่แหละ การสวดสาธยายก็มีมา เป็นอันว่าที่ทรงจำพุทธวจนะ ก็เริ่มตั้งแต่สังคายนาครั้งที่หนึ่ง ที่เป็นคณะสาธยายมา แต่ว่าก่อนนั้นในพุทธกาลนี่เองก็สาธยาย เพราะว่าการสาธยาย หรือ สชฺฌาย เนี่ย เป็นส่วนหนึ่งของวิธีศึกษา ต้องสชฺฌาย ต้องมีการร่ำเรียนกับครูอาจารย์ ก็มีเทศน์ เทศน์ก็เป็นหัวข้ออาจารย์บอกให้ แล้วก็คำสอน คำอะไรต่างๆ เนี่ย ผู้ที่เรียนเอาไปแล้วก็ เอาไปสาธยาย สาธยาย สชฺฌาย ก็เป็นการทบทวน หรือว่าเป็นการที่จะรักษาคำที่ได้รับสอนมาเอาไว้ แล้วมาพิจารณา ก็เอาคำสอนที่สาธยาย มาพิจารณาด้วยปัญญา มีธรรมวิจยะ เป็นต้น เรียกว่าธรรมวิจัย ก็เป็นวิธีการศึกษา ท่านมีหลายอย่าง มีอุเทศน์ มีปริปุจฉา ปริปุจฉาก็คือการปุจฉา แต่ว่าปะ-ริ เรียกว่าซักกันจนปริ ซักกันจนกระทั่งรอบ ซักกันจนกระทั่งว่าปรุโปร่ง การศึกษาสมัยนั้นก็เป็นอันว่าเนี่ย สาธยายก็เป็นส่วนหนึ่ง เพราะว่าไม่ได้ใช้วิธีของเล่มหนังสือ ก็ต้องเอาสาธยายมา แล้วตัวเองก็จะแม่นยำ แล้วก็มาสอดส่อง มาพิจารณาเนื้อความของสิ่งที่ได้สาธยายนั้น อันนี้ก็เป็นชีวิตในสมัยพุทธกาล สาธยายนี่ก็เป็นวิธีการของการศึกษา พระพุทธเจ้าทรงสอนแล้วก็ พระก็สาธยาย เรียกว่า สาธยายพระสูตร สาธยายพุทธพจน์นั่นแหละ เอามาศึกษากัน ทีนี้ชีวิตของพระในสมัยพุทธกาล ก็จะมีให้เราเห็นในพระไตรปิฎก หรือว่าในอรรถกถา เรื่องสาธยายนี่ก็เป็นส่วนสำคัญ ที่นี้ก็บางองค์บวชเข้ามาแล้วก็เล่าเรียนศึกษาพอสมควรแล้วก็จะมุ่งไปปฏิบัติ ไปบำเพ็ญสมถวิปัสสนา เฉพาะตัว ก็เรียกว่า (อุ ปะ กัด โถ) ก็เหมือนกับปลีกตัวออกไป ตั้งใจบำเพ็ญ เอาจริงเอาจัง ทีนี้ชีวิตทั่วไปสำหรับพระที่อยู่ในวัดกัน พระเนี่ยออกเช้าบิณฑบาต พอบิณฑบาตกลับมาแล้ว ก็จะมีที่นั่งสนทนากัน ที่พระชอบมานั่งสนทนา คำที่บอกชื่อสถานที่สองคำนี้ จะเป็นคำที่ปรากฏมากในพระไตรปิฎก เป็นที่ที่พระมานั่งสนทนา ปัจฉาภัต และพอหลังภัตตาหาร ไปบิณบาตมา ฉันเสร็จแล้วเนี่ย ก็จะมานั่งกัน ประชุมกัน ในสถานที่มักจะเป็นสองอย่าง อันที่หนึ่งเรียกว่า เรียกเป็นไทยละกันว่ามณฑลมาล มณฑลก็เป็นว่ากลม มาละนี่แปลว่าโรง มณฑลมาลก็โรงกลม โรงกลมก็หมายความว่าเป็นที่สร้างไม่ยาก สร้างไว้เป็นที่ที่พระเนี่ย อาจจะฉันภัตตาหารที่นั่นด้วยก็ได้ แต่ว่าหลังอาหารแล้วพระก็หมดภาระ เรื่องอื่น เรื่องฉันอะไรหมด ก็เหลือแต่การศึกษา การปฏิบัติตัว ฉะนั้นก็ ที่ใช้เป็นที่ฉันอาหารก็จะใหญ่กว้างพอสมควร พอบ่ายหลังพักเนี่ยพระก็จะมาประชุมกัน อันหนึ่งก็มณฑลมาลที่ว่าเนี่ย พระมานั่งประชุมสนทนาอะไรต่ออะไรกัน พระพุทธเจ้าเสด็จออกมาจากที่ประทับ ที่สมัยอรรถกถาเรียกว่าคันธกุฎี สมัยพุทธกาลไม่เรียก เรียกวิหาร เรียกว่าที่ประทับ ก็จะมาเห็นพระภิกษุนั่งสนทนา พระองค์เสด็จไปที่นั่น แล้วพระองค์ก็จะถาม เป็นสำนวนแบบที่อรรถกถา เรียก ธรรมบท ก็เอามาเขียนไว้ ??? ภิกษุทั้งหลายเธอประชุม นั่งประชุมสนทนาอะไรกัน ??? สนทนาเรื่องอะไรค้างกันอยู่ พระก็จะกราบทูลว่า กำลังพูดคุยกันเรื่องนี้ ถ้าเป็นเรื่องเป็นสาระ พระยังมีความสงสัย พระพุทธเจ้าก็ตรัสแสดง อธิบายให้ฟัง พระก็ทูลถามต่ออะไรต่ออะไรเนี่ย นี่ชีวิตของพระในยุคพุทธกาล นี่ก็เป็นชีวิตของการศึกษา เป็นว่ามีโรงที่ฉันนั่นแหละเป็นที่สนทนา ตอนบ่ายก็มานั่งประชุมกัน คุยกันเรื่องโน้นเรื่องนี้ อีกสถานที่หนึ่งที่พระมักจะประชุมกัน มักจะใหญ่มาก ใหญ่หน่อยเรียกว่า อุปัฏฐานศาลา อุปัฏฐานศาลาแปลว่าอะไร ก็อุปัฏฐานกับศาลา ศาลาเป็นที่อุปัฏฐาน อุปัฏฐานคืออะไร ก็รู้จักคำว่า อุปัฏฐาก อุปัฏฐากก็คำเดียวกับอุปัฏฐาน ถ้าเป็นการกระทำก็เรียกว่าอุปัฏฐาน ถ้าเป็นคนที่ทำอุปัฏฐานก็เรียกว่าอุปัฏฐาก แล้วเราก็รู้จักอุปัฏฐากแปลว่าอะไร อุปัฏฐากก็แปลว่าผู้เฝ้า เช่น เป็นพระเฝ้าไข้ พระดูแล แต่ที่จริงนั้น มันมาจากอุปัฏฐาน อุปัฏฐานก็มาจากฐาน แปลว่าการยืน ฐาน ฐานะ อุปะ แปลว่าใกล้ๆ อุปัฏฐานก็แปลว่าเข้าไปยืนใกล้ๆ เข้าไปยืนใกล้ๆ ก็ทำไมล่ะ คนจะไปดูแลก็ไปยืนอยู่ใกล้ๆ ดูแลว่ามีอะไรต้องการ จะต้องช่วยเหลืออะไร โดยเฉพาะอย่างคนเจ็บคนไข้เนี่ย ก็ต้องไปอยู่ใกล้ๆ คำว่าไปยืนอยู่ใกล้ๆ ไปดู ก็ไปยืนดูแล้วก็ไปนั่งด้วย นั่งก็อยู่ในคำนั้นแหละ คือว่าลักษณะทั่วๆ ไปที่คอยดูแลเนี่ย อาการที่ยืนดูแลนี่เป็นหลักสำคัญ นี้เวลาที่ไม่มีอะไรมาก ว่างก็ไปนั่ง แต่กรรมฐานนี่แปลว่า ยืนก็จริง แต่บางทีก็แปลว่าอยู่นั่นแหละ เป็นฐานนั่นก็คืออยู่ อุปัฏฐานก็มาอยู่ใกล้ๆ ไปคอยอยู่ใกล้ๆ ดูแล พอใช้ไปใช้มา เป็นคำว่าเฝ้าพระพุทธเจ้า เวลาเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ใช้อุปัฏฐานนี่แหละ แล้วถ้าเป็นผู้มาอุปัฏฐานอย่างพระอานนท์ก็เป็นอุปัฏฐาก ผู้ยืนอยู่ใกล้ๆ ยืนอยู่ใกล้ๆ คอยดูแลเรียกว่าอุปัฏฐาก ถ้าการที่ดูแลนั้น มายืนอยู่ใกล้ๆ ก็เรียกอุปัฏฐาน ทีนี้อุปัฏฐานศาลา ก็กลายว่าเป็นศาลา เป็นที่ยืนดูแล ก็เป็นที่เฝ้าพระพุทธเจ้าด้วย เกิดขึ้นมา เดี๋ยวเล่านิดหน่อย อุปัฏฐานศาลา เดิมพระท่านฉันกันไม่มีที่ฉัน บิณฑบาตมาแล้วก็ฉันกลางแจ้ง ตามพื้นอะไรต่ออะไรก็ร้อน พระพุทธเจ้าเลยทรงมีพุทธานุญาต ให้สร้างอุปัฏฐานศาลาเป็นที่ฉัน เกิดอุปัฏฐานศาลาขึ้น ก็เป็นที่พระฉัน ที่มาดูแล พระก็จะต้องฉันกัน เดี๋ยวโยมก็มาดูแล ก็มีอุปัฏฐาน ที่นี้อุปัฏฐานศาลานี่ก็เป็นอันว่ามีพระมามาก พอบ่ายก็เป็นที่ว่าง พระท่านก็จะมานั่งสนทนาประชุมกัน บางทีพระบางองค์ก็จะยืนแสดงธรรมให้ที่ประชุมฟัง บางทีก็ซักถามสนทนากัน มีเรื่องในพระไตรปิฎก ในอรรถกถา เช่น บางทีพระพุทธเจ้าเสด็จมาที่อุปัฏฐานศาลา พระท่านกำลังสนทนาธรรมกันอยู่ ครั้งนั้นปรากฏว่ามีพระภิกษุองค์หนึ่งกำลังพูดให้ที่ประชุมฟัง ที่นี้เขาประชุมกันก็มีการปิดประตู พระพุทธเจ้าเสด็จไป เสียงข้างในก็ออกมา พระองค์ได้ยินเสียงว่าพระกำลังแสดงธรรมให้หมู่คณะฟัง พระองค์ไม่ต้องการรบกวน ไม่ต้องการไปขัด พระองค์ก็ไปประทับยืนอยู่ข้างๆ ประตู จนกระทั่งพระองค์นั้นแสดงธรรมจบ แล้วพระองค์ก็เอาพวงเคาะ คงเป็นเหล็ก เคาะประตู พระก็มาเปิดประตู พระพุทธเจ้าได้ทรงสดับธรรมะที่พระองค์นั้นแสดงมาตลอดจนจบ พระองค์เสด็จเข้าไปแล้วก็ตรัสอนุโมทนาแก่พระองค์นั้น อย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้ให้เห็นชีวิตในวัดสมัยก่อน ตั้งพุทธกาลที่พระพุทธเจ้ายังประทับอยู่ แล้วพระองค์เสด็จไปนั่น พระมีปัญหามีข้อสงสัยอะไรก็ทูลถาม ก็เลยกลายเป็นศาลาที่เฝ้าพระพุทธเจ้า ก็ทรงชื่อว่าอุปัฏฐานศาลา นี่เป็นตัวอย่างโรงกลมที่ว่า บางครั้งพระพุทธเจ้า คือมีหลายครั้งบ่อยๆ บางครั้งพระพุทธเจ้าก็เสด็จเข้าไป พระก็หยุด พระองค์ก็ตรัสถามอย่างที่บอก ??? พระก็บอกกำลังสนทนากันเรื่องนั้น บางทีก็สนทนาเรื่องไม่เข้าเรื่อง ก็มีเหมือนกัน เช่น อย่างคราวหนึ่งพระสนทนากัน ตอนนั้นพระเจ้าแผ่นดินประเทศมหาอำนาจก็มีสองประเทศ คือ มคธกับแคว้นโกศล มคธก็พระเจ้าพิมพิสาร แล้วก็โกศลก็พระเจ้าปเสนทิโกศล พระก็มานั่งสนทนากัน พระเจ้าแผ่นดินสององค์นี่ ใครมีโภคทรัพย์ พระคลังใหญ่กว่ากัน เอาล่ะสิ พระก็ต้องมาเถียงกันล่ะทีนี้ องค์ไหนมีคลังใหญ่กว่า ถามว่าองค์ไหนรบเก่งกว่ากัน อะไรแบบนี้ คุยกันอย่างนี้ พระพุทธเจ้าเสด็จมา พระองค์หยุดพระองค์ถาม ??? เธอสนทนาอะไรกันอยู่ ค้างเรื่องอะไรพระก็เล่าให้ฟัง พระองค์ก็บอกนี่ ถ้าสนทนาเรื่องอย่างนี้ไม่สมควร ถ้าจะสนทนาอย่างนี้ อยู่นั่งนิ่งๆ ดีกว่า เป็นอริยดุษฎีภาพ บอกอย่างนั้น เป็นอริยดุษฎีภาพ เป็นคำของพระพุทธเจ้า อริยดุษฎีพูดง่ายๆ เป็นการนิ่งแบบอริยชน ทีนี้บางทีอย่างที่ว่า พระก็สนทนาเรื่อง โจร เมืองนั้นไปปล้นอย่างนั้นอย่างนี้ เก่งจัง องค์หนึ่งก็บอก เฮ้ย สู้โจรนั้นไม่ได้ โจรนี้เก่งกว่า ถ้าสมัยนี้ก็มาเถียงว่าเสือดำกับเสือใบใครเก่งกว่า อะไรทำนองนี้ พระพุทธเจ้าก็เสด็จมา พระก็เงียบ ก็ตรัสถามว่าสนทนาอะไรค้างอยู่ พระก็กราบทูล พระองค์ก็ตรัส นี่แหละอย่างนี้เรียกว่า ติรจฺฉานคาถา พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ สนทนากันไม่เข้าเรื่อง เป็นคำสนทนาที่ขวางทางนิพพาน เป็นติรจฺฉานคาถา ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็ สนทนาเป็นเดียรัจฉาน ก็เป็นศัพท์ที่จริง มีความหมายว่าขวางทางพระนิพพาน สนทนาไม่เข้าเรื่อง พระพุทธเจ้าก็เลยตรัสไว้ ว่าไม่ควรสนทนาเรื่องอย่างนี้ แต่ถ้าสนทนากันเรื่องบ้านเมืองตอนนี้มีโจรปล้นที่นั่นโจรปล้นที่นี่ ไม่ดีเลยนะ ประชาชนเดือดร้อน ทำยังไงจะช่วยให้บ้านเมืองสงบสุข เราควรจะแสดงธรรมะอะไรกันบ้าง ช่วยกันหน่อย ถ้าอย่างนี้ถือว่าเป็นการสนทนาธรรม ไม่เป็นไร จะพูดเรื่องโจร เรื่องพระราชา เรื่องอะไรก็ไม่ว่า พระพุทธเจ้ายังตรัสชาดก ธรรมะมากมายที่ปรารภเรื่องเหล่านี้ เหตุการณ์เกิดขึ้นวันนี้ ที่ในนครราชคฤห์บ้าง นครสาวัตถีบ้าง เกิดเหตุกัน ทะเลาะกัน ฆ่ากันตาย พระก็มาสนทนากัน แต่ว่าสนทนาเนี่ยเป็นสาระเพื่อจะดูว่า เรื่องอย่างนี้มันเกิดขึ้น มันเป็นปัญหา ทำให้ประชาชนเดือดร้อน มันเสียธรรมะ เราจะแก้ไขยังไงกันดี อย่างนี้ท่านไม่ว่า โยมต้องแยกให้ได้ อย่างนี้ไม่เป็นติรจฺฉานกถา พระพุทธเจ้าเสด็จมาตรัสถาม ??? ที่ว่าเมื่อกี้ พระกราบทูล พระพุทธเจ้าตรัสบอกก็ เออ เรื่องอย่างนี้ไม่ใช่มีแต่บัดนี้เท่านั้น ในอดีตก็มีมาแล้ว พระก็กราบทูลถามว่าเรื่องเป็นยังไง พระองค์ก็ตรัสแสดง เล่าให้ฟัง ก็เป็นชาดกต่างๆ มากมาย เกิดมาแบบนี้แหละ เนี่ยก็เล่าให้ฟัง โยมจะได้เข้าใจ อันนี้ก็เป็นชีวิตในวัดสมัยพุทธกาล เป็นส่วนหนึ่ง เอามาเล่าให้ฟังว่าท่านอยู่กันยังไง ฉะนั้นการสาธยายเนี่ย สวดมนต์เนี่ย ที่จริงไม่ใช่เรียกสวดมนต์หรอก สวดมนต์เนี่ยเป็นคำที่เราไปเอาคำของพราหมณ์มาใช้ เพราะมนต์มีที่ไหนล่ะ ในพุทธเราไม่นิยมเรียกมนต์ เราเรียกแบบคล้อยตามได้ เรียกคล้อยตาม เรียกมนต์ ตามปกติท่านไม่ใช้ มนต์นี้เป็นคำของพราหมณ์ บางทีมี (มัน ตระ สัด ชา ยะ) ในอรรถกถาอธิบาย ก็บอกว่า (อา ทัพ พะ นะ มัน ตะ สัด ฉา ยะ) คำว่าสาธยายมนต์นี้ หมายความว่า สาธยายมนต์อาถรรพ์ เห็นชัดๆ เลยใช่ไหมเป็นพราหมณ์ ก็กลายเป็นว่าเรื่องสวดมนต์ สาธยายมนต์ ที่จริงเป็นคำของพราหมณ์เขา นี่มาเมืองไทยเราก็ปะปนเปกัน คำของเขาบ้าง คำของเราบ้าง ใช้ปนกันไป ถ้าใช้เป็นประเพณีไปแล้ว เราก็ใช้ไปตามกัน แต่ว่าให้ใช้ด้วยความเข้าใจ ว่าเรามุ่งที่สาธยายพุทธพจน์ สาธยายพระสูตร เป็นต้น หรือจะเรียกว่าสาธยายพระธรรมวินัยก็ไม่ว่า แต่เรามุ่งที่พุทธพจน์เป็นสำคัญ ก็เอาแล้ว นี่ก็เล่าให้ฟัง ว่าสาธยายแล้วเนี่ย ถ้าจะให้ดีก็รู้เนื้อความด้วย รู้เนื้อความแล้วก็เอามาศึกษากัน ที่ว่าถ้าจะเก่ง คือตอนนี้ที่สาธยายกันนี้ หมายความ ว่ากันไปตามแบบ เพื่อรักษาประเพณีไว้ เพื่อให้รักษาหมู่คณะไว้ก่อน ทีนี้ถ้าจะก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง วันนี้เราสาธยายมนต์หลายบท มีบทหนึ่ง หรือครั้งหนึ่งที่มาประชุมกัน เราเอามาพิจารณาเป็น (สา กัด ฉา) กันสักบทหนึ่ง ครั้งละบทก็ได้ ก็ยกบทหนึ่งที่สาธยาย ที่สวดไปแล้วนี้ เอามาคุยสนทนาธรรมกัน อย่างนี้ก็เรียกว่าใช้การสาธยายให้เป็นประโยชน์ ใกล้ชีวิตในสมัยพุทธกาลแล้ว หรือแม้แต่ว่าเราสาธยายมนต์ทั้งหลายนี้จนแม่นแล้ว เราน่าจะแถม ไปคัดเอามาจากพระไตรปิฎก เอาพระสูตรดีๆ นี่ มาสาธยาย มาเลือกได้ ท่านไม่ได้ห้ามนี่ สมัยก่อนนี่ผมเป็นเณรเล็กๆ หรือแม้แต่มาเป็นพระยังเล็กๆ เด็กอยู่ๆ แม้แต่มาถึงวัดพระพิเรนทร์นี่ สวดมนต์ไม่ใช้สวดกันนิดหน่อยนะ ไม่ใช่สวดแค่อย่างวัดญาณเวศเท่านั้น วัดญาณเวศนี่มีเจ็ดวัน ก็สวดเจ็ดชุด พอทำวัตรค่ำจบก็สวดมนต์ต่อ วันละชุดๆ ทีนี้สมัยก่อนนี่ ท่านสวดกันนู่น มากมาย สวดมนต์ที่ใช้กันทั่วไป ที่สวดกันแล้วก็ไปนู่น ไปพระสูตรใหญ่ๆ ไม่ใช่แค่ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อาทิตตปริยายสูตร อนันตลักขณสูตร ไม่ใช่แค่โน้น ไปนู่น มหาสติปัฏฐานสูตร เอาล่ะ สูตรใหญ่ๆ สวดกันมา วันนี้สวดไม่จบ อย่างมหาสติปัฏฐานสูตรนี่วันเดียวไม่จบ หลังจากทำวัตรแล้ว วันนี้สวดมหาสติปัฏฐานสูตร วันนี้จบสวดแค่นี้ พรุ่งนี้สวดต่อ แล้วพรุ่งนี้ก็ไม่จบ วันมะรืนสวดต่อ ได้ราวสักสามวันล่ะจบมหาสติปัฏฐานสูตร อย่างนี้เป็นต้น นี้เราก็ไปคัดเอามา เช่น อย่างที่บอกโยม วันนี้บอกว่า อิติวุตตกะ ในคัมภีร์อิติวุตตกะ ก็มีพระสูตรที่พระขุชชุตตรานะ เป็นอุบาสิกานะ อย่านึกเนี่ยเอามาซ้ำให้โยมฟังว่า อุบาสิกาเนี่ยเป็นคนสำคัญนะ อุบาสิกาท่านหนึ่งชื่อขุชชุตตราเนี่ย พระพุทธเจ้าทรงยกย่องเป็นเอตทัคคะ ในบรรยายพหูสูตอุบาสิกา แล้วท่านผู้นี้เป็นผู้ทรงจำพุทธพจน์หมวดหนึ่งไว้ ซึ่งได้นำมาสู่การสังคายนาครั้งที่หนึ่ง แล้วพระไตรปิฎกก็เก็บไว้นี่แหละ มาจากอุบาสิกาท่านนี้ ชื่อว่าขุชชุตตรา เป็นพระสูตรที่ไม่ได้เริ่มว่า (เอวัมเมสุตัง เอกังสมยัง ภควา สาวัดทิยัง) อะไรก็แล้วแต่ (วิรันติเย) ตัวนี้นะ ??? อย่างนี้ก็เป็นสำนวนของพระอานนท์ (เอวัมเมสุตัง) พระอานนท์ท่านนำมาสาธยาย มาบอกที่ประชุมเนี่ย ท่านใช้คำว่า (เอวัมเมสุตัง) แต่พระสูตรชุดนี้ ไม่ได้เริ่ม(เอวัมเมสุตัง) พระสูตรชุดนี้เริ่มว่า (วุตตัน เหตัง ภควตา) เริ่มว่าอย่างนี้ (วุตตัน เหตัง ภควตา อะระหตา ติเมสุตัง) ไปลงสุตังเหมือนกัน อันนั้น(เอวัมเมสุตัง)ของพระอานนท์ อันนี้(วุตตัน เหตัง ภควตา อะระหตา ติเมสุตัง) อันนี้สำนวนนี้เป็นของอุบาสิกาชื่อขุชชุตตรา เป็นผู้ทรงจำสูตรนี้ของพระไตรปิฎกไว้ แล้วก็เราจะต้องสำนึกบุญคุณของอุบาสิกาท่านนี้ว่าเป็นผู้หนึ่งที่ได้ช่วยให้พระไตรปิฎกได้รักษาพุทธพจน์ไว้ได้อีกหมวดหนึ่ง เป็นพระสูตรสำคัญๆ เลยนะ อย่างนิพพานสองก็มาในอิติวุตตกะ อย่างบุญกิริยาวัตถุสามก็มาในอิติวุตตกะ ก็เลยบอกท่านที่ชรา บอกว่า เอาอันนี้ไปให้โยมฟังนะ บางทีพวกเราเอามาสวดก็ดี เป็นสูตรที่ดีเลย ท่านอุบาสิกาท่านนี้ อย่านึกว่าเป็นแต่พระเท่านั้น โยม อุบาสิกา นี้มีส่วนที่รักษาพระไตรปิฎกมา แต่ว่าท่านส่งต่อ ท่านสวด แล้วก็ให้แก่ภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์ก็รักษาพุทธพจน์ส่วนนี้ไว้ อิติวุตตกะเนี่ย แล้วภิกษุณีสงฆ์ก็ถ่ายทอดให้ภิกษุสงฆ์ ก็นำมาแสดงในสังคายนาครั้งที่หนึ่ง ก็อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ยี่สิบห้า ใครสนใจก็ไปอ่านดู ก็จะได้รู้จักพระขุชชุตตราอุบาสิกา พระสาวิกาเป็นอุบาสิกานี่ เก่งขนาดนี้เอาล่ะ เนี่ยตอนนั้นพระนางสามาวดีเป็นมเหสีของพระเจ้าอุเทน ก็ขุชชุตตราที่จริงเป็นคนรับใช้ของพระนางพระนางสามาวดี ต่อมาพระนางสามาวดีซึ่งมเหสีได้รับฟังธรรมที่พระขุชชุตตราสดับมาแล้วมาถ่ายทอดให้ เลยยกย่องให้นั่งที่สูงกว่า เพื่อแสดงธรรม แล้วขุชชุตตราอุบาสิกาแสดงธรรมให้แก่ชาววัง มีพระนางสามาวดีเป็นประธาน โยมให้รู้จักไปด้วย บุคคลที่สำคัญในพุทธศาสนาที่รักษาช่วยกันรักษาพุทธศาสนา ทีนี้ในสมัยนี้ก็ควรจะมีโยม อุบาสก อุบาสิกาที่มีความรู้ในพระธรรมวินัย ศึกษาแตกฉาน มีความเข้าใจ อย่างที่บอกวันนี้ บอกว่าอุบาสกคนหนึ่งชื่อจิตตคหบดี พระพุทธเจ้าตั้งให้เป็นเอตทัคคะ ในบรรดาธรรมกถึกฝ่ายอุบาสก เรานึกว่าธรรมกถึกมีแต่พระ โยมก็เป็นธรรมกถึก แล้วเป็นเอตทัคคะเสียด้วย พระจิตตคหบดีเนี่ยเป็นอนาคามีนะ พระมีข้อสงสัย ธรรมะอะไรต่ออะไร ถามท่าน ท่านอธิบายให้ฟัง แล้วบางทีท่านก็แสดงธรรมให้พระ โยม ฟังกัน คฤหัสถ์ก็เก่ง แล้วก็ถ้าคฤหัสถ์เก่ง มีความรู้ดี เราก็ช่วยกันรักษาพระธรรมวินัย จะได้ไม่ให้คนนับถือเหลวไหล ออกไปนอกลู่นอกทาง พุทธบริษัทก็จะเข้มแข็ง มั่นคง ก็เลยเอามาเล่าให้ญาติโยมฟังนี่แหละ ที่จริงว่าจะพูดนิดเดียว พูดเสียยาวเลย เอาล่ะพอให้รู้ชีวิตสมัยพุทธกาลกันหน่อย ก็จะเห็นว่าเป็นบรรยากาศของการศึกษาทั้งนั้นเลย