แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ถ้าจะนั่งสมาธิปกติก็จะนั่งสมาธิ แต่วันนี้จะให้โอกาส เณรจะต้องผ่านทำนู่นทำนี่หลายอย่าง วันนี้จะเอาแค่ 5 นาที จะให้รู้วิธีไว้ การนั่งสมาธิก็เรียกกันว่าขัดสะหมาด แล้วก็จะต้องวางมือวางเท้าให้ถูกต้องตามลักษณะ เริ่มก็ นั่งขัดสะหมาดนี้ก็ให้ขาขวาทับขาซ้าย แล้วก็มือขวาทับมือซ้าย นี้ขั้นต้น ยกขาขวาทับขาซ้าย อันนี้นั่งขัดสมาธิแบบธรรมดา ทีนี้เรานั่งให้เรียบร้อยก็ปิดเสียด้วยก็ได้ อ้าวได้แล้ว ทีนี้ก็เอามือขวาทับมือซ้าย ใช่ ก็นั่งตัวตรง แต่ว่าไม่เกร็งนะนั่งให้สบายของตัวเอง คือว่าถ้าเรานั่งไม่ตรงไม่พอดีของเราแล้วเมื่อยมาก ก็ต้องหาท่าที่นั่งให้สบาย พอนั่งเข้าที่ดีแล้วเนี่ย นั่งแบบนั่งสมาธิเป็นลักษณะที่นั่งคนที่ฝึก คนที่ไม่เคยตอนแรกอาจจะปวดจะเมื่อย แต่ถ้านั่งเข้าที่ดีแล้ว สบาย เป็นท่านั่งที่พิสูจน์ก็มาเป็นพันปีแล้ว ว่าอยู่ได้นานเรียกว่าได้สมาธิถึงที่สุด พอนั่งตัวตรงให้พอดีของตัวเอง เพราะว่าตะละคนกระกระดูกสันหลังไม่เหมือนกัน ถึงแม้บางคนนั่งพอดีก็ยังไม่ตรงเหมือนคนอื่น เพราะกระดูกสันหลังชองเขาไม่ตรง เรานั่งตรงได้ก็นั่งของเรา แต่อย่าให้เกร็งอย่างที่ว่า ท่านั่งสบาย นั่งให้สบาย ก็ทำใจว่าสบาย แน่อย่าให้เกร็ง สบายแล้วทีนี้ก็การมาทำสมาธิก็คือ เอาจิตของเราไปอยู่กับอะไรสักหนึ่งอย่าง เดียว อะไรก็ได้ที่มันไม่ทำให้จิตใจคิดมาก ก็เช่นที่นิยมกันก็ใช้ลมหายใจ เอาลมหายใจเราก็ หายใจเข้าออกตามธรรมดานี่แหล่ะ แล้วก็ให้จิตของเราไปอยู่กับลมหายใจ ก็เช่นที่นิยมคือลมหายใจ พอลมหายใจเข้าก็หายใจเข้าธรรมดานี่แหละ แล้วก็ให้จิตของเราไปอยู่ที่ลมหายใจ พอหายใจเข้าก็รู้ว่าหายใจเข้า หายใจออกก็รู้หายใจออก ทีนี้เขามักจะสอนให้ใช้วิธีพูดในใจ พูดในใจพร้อมกับลมหายใจด้วย เวลาหายใจเข้าก็นับ หายใจออกก็นับ อย่างนี้เรียกว่าวิธีหนึ่ง นับหนึ่งนับสอง อันนี้แล้วจะบอกกันต่อไปนะ
ที่นี่อีกวิธีหนึ่งก็คือ ไม่ต้องนับ ใช้คำว่าพุท ว่าโธ เวลาหายใจเข้าก็พูดในใจตัวเองว่าพุท เวลาหายใจออกก็พูดในใจตัวเองว่าโธ เข้าก็พุท ออกก็โธ พร้อมกับลมหายใจอย่างนี้ ใจก็อยู่กับลมหายใจ กับคำว่าพุธ ว่าโท ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องคู่กันไปกับลมหายใจ นั้นใจก็จะไม่ไปเอง ก็ทำอย่างนี้ วันนี้จะให้นั่งประมาณ 5 นาที ก็พอจบก็จะบอกว่าพอ เอ้าเณรเต็มได้ไหมครับ นั่งได้นะ เอ้าทีนี้ก็ต่อจากนี้ก็เริ่มนั่งกัน ทำอย่างที่ว่า ต่อไปก็ค่อย ๆ บอกวิธีเพิ่มขึ้น
ทีนี้แผ่เมตตา คอยว่าตาม ยกมือขึ้น ว่าตามน่ะ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อพิยาปัฌชา อนีคา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย อย่าได้มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย อย่าได้มีทุกข์กายทุกข์ใจเลย จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นเทอญ อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ นั่งพับเพียบ วางมืออย่างนี้ วางมือให้เรียบร้อย ก็ต้องค่อย ๆ หัดนะ ตอนแรกจะเมื่อยมาก พอนานเข้าก็จะคุ้น ต้องนั่งแบบว่าวางสบาย ๆ ไม่ให้รู้สึกเกร็ง เวลานั่งสมาธิก็เหมือนกัน นั่งแล้วก้ให้ตัวรู้สึกตัวสบาย ถ้าเกร็งแล้วเดี๋ยวจะเมื่อยง่าย แล้วเมื่อกี้รู้สึกยังไง คฑาวุฒิ คฑาวุฒิตอบนั่งปวดเมื่อย นั่งปวดเมื่อยไหม ปวดทั้งนั่งคุกเข่า ทั้งนั่งพับเพียบ ทั้งนั่งขัดสมาด นั่งเฉพาะคุกเข่า แปลว่าพับเพียบนี่เห็นต้องคอยเอามือค้ำบ่อย ๆ นี่เพราะว่าเมื่อยใช่ไหม ยังไม่คุ้น งั้นก็ค่อย ๆ หัดน่ะ ถ้านั่งชินแล้วก็ดี
ที่นี้วันนี้ก็ต้องออกบิณฑบาตกัน ทางเดินก็มีกรวดมากมีลูกรังมาก ถามเณรเต็มบอกว่าไม่เจ็บ เณรเต็มก็เก่ง เณรเต็มวันต่อไปจะไหวไหม แล้วเดินไปแค่นี้เมื่อยไหมครับ เณรเต็มตอบเมื่อย เมื่อยหรือ ไหวไหม พอได้น่ะ แล้วก็บาตรหนักหรือเปล่า บาตรน่ะ เณรตอบไม่หนัก พอได้น่ะ แล้วก็ไม่ร้อนเกินไป เณรบอกถือบาตรเมื่อย ถือบาตเมื่อยเหรอ แต่ว่าพอไหวไหม แล้วก็ร้อนนิดหน่อยไม่มากใช่ไหม อ้าววางอย่างนี้สิเอามือขึ้น ที่นี้องค์อื่นเป็นยังไง เณรต้น เมื่อยนิดหน่อยยังพอไหว องค์อื่นเป็นยังไง ไหวทุกองค์ไหม เณรอนุรักษ์ไหวไหม แล้วเกี่ยวกับพี่เท้าล่ะที่เดินย่ำไปบนลูกรังเจ็บ ใครเจ็บมาก ถ้าไม่ไหวต้องบอกด้วยนะ ถ้าไหวก็ทำกันต่อไป อันไหนทีมันรู้สึกไม่สบายอะไรก็บอกกันให้รู้ นี่ก็เครื่องบิณฑบาต ถ้าไม่มีอะไรขัดข้องก็จะได้ทำกันเป็นกิจวัตร
ที่นี่ก็เรื่องการสวดมนต์นี่ก็รู้สึกว่าการนั่งคุกเข่านี้จะลำบากนิดหน่อย จะเมื่อยกันมากที่จริง ถ้าทนได้สักพักหนึ่งมันก็จะเป็นธรรมดา จะเห็นว่าพระท่านนั่ง เพราะท่านนั่งมาจนชินแล้ว ก็ต้องอาศัยเวลาหน่อย แต่ว่าถ้าอันไหนไม่ไหวก็ต้องบอกกัน ถ้ายังไหวก็ทนกันต่อไป
ทีนี้ก็ต่อไปก็จะเป็นการเรียนกันต่อไป ก็จะให้เวลาช่วงว่างนี่วันหนึ่งหลังทำวัตรนี้ก็จะได้ไปทำกิจส่วนตัว อาจจะอาบน้ำหรืออะไร
แล้วพอ 9 โมง ก็จะเข้าชั้นเรียนกัน เข้าเรียนเช้านี้ ตั้งแต่ 9 โมง ถึง 10 โมง ชั่วโมงเดียว
พอ 10 โมงไปแล้ว ก็ปล่อยว่างไปอีก ฉันเพล พอฉันเพลเสร็จก็ปล่อยว่างอีกให้มีเวลาที่จะทำกิจส่วนตัวได้ จนกระทั่งถึงบ่าย 2 โมง
บ่าย 2 โมง ก็เริ่มเข้าชั้นใหม่ เข้าชั้นใหม่ไปจนถึง บ่าย 3 โมง ชั่วโมงหนึ่ง แล้วก็เสร็จแล้วพัก 10 นาที แล้วก็มีเรียนอีก ๆ 1 ชั่วโมง จนถึงบ่าย 3 โมง จากบ่าย 3 โมง 10 นาที ถึง บ่าย 4 โมง 10 นาที ต่อจากนั้นก็ว่าง
จนกระทั้งไปถึงเวลาทุ่มครึ่ง เป็นเวลาสำหรับทำวัตรค่ำ สวดมนต์อย่างนี้ตอนค่ำ ตอนค่ำนี้หลังจากทำวัตรที่คุกเข่าเสร็จ ก็จะมีนั่งพับเพียบสวดมนต์ยาวหน่อย เพราะว่าตอนค่ำนี้พระนี่ถือว่ามีเวลามาก ก็สวดมนต์เอาบทต่าง ๆ ที่น่าจะจด น่าจะจำเอามาสวดกัน นี่บางทีพระท่านไปสวดที่โน่นที่นี่ ก็นำมาสวดในตอนค่ำด้วย เสร็จแล้ว ก็นั่งสมาธิอีก 10 นาทีอย่างต่อเนื่องเหมือนตอนเข้า ก็คงจะจบซักประมาณ ซัก 3 ทุ่ม ไหวไหม ไม่เป็นไรหรอก ทำไปเรื่อย ๆ อาจจะไม่ถึงก็ได้ คือหมายความว่าจากโดยประมาณ พอ 3 ทุ่ม แล้วทีนี้ก็พักได้ อันนี้ก็เตรียมตัวซัก 3 ทุ่มครึ่งก็นอน จำวัด ของพระเณรนอน ใช้คำว่าจำวัด ก็จบวัน
ที่นี้ก็พระอาจารย์ก็มี 2 องค์ คือท่านมหากับหลวงลุง ท่านก็รับสอน แบ่งเป็นวิชาต่าง ๆ วิชาที่เรียนตอนนี้ก็มี 1 วิชาธรรมะ ธรรมะนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ คำสอนของพระพุทธเจ้า ก็ต้องรู้เข้าใจ อันไหนให้ละชั่ว ให้ทำความดี ให้ทำใจให้ผ่องใส เป็นยังไงเป็นต้น นี้อย่างใครเคยได้ยินไหม อิทธิบาท เคยได้ยินไหมครับ เคยได้ยิน เณรเต็มยังไม่เคยได้ยิน บางคนก็คงเคยได้ยิน ก็จะได้รู้ว่า เอ้อมันมีอะไรบ้าง เป็นอย่างไรหรือไม่ต้องพูดถึงชื่อก็ได้ เราจะอยู่เรียนหนังสือให้สำเร็จได้ดีนี่ จะต้องมีหลักใจยังไงจะต้องปฏิบัติตัวยังไงจึงเรียนให้ผลดีนี่ อย่างนี้เป็นต้น นี่อย่างนี้เรียกว่าธรรมะ แล้วเราจะคบเพื่อนยังไง คบเพื่อนดีคบเพื่อนไม่ดี มีโทษ มีคุณมีโทษอย่างไร อย่างนี้ก็เรียกเรียนธรรมะแม้ไม่ใช่ศัพท์เรียกว่าเป็นธรรมะทั้งนั้น คือวิธีปฏิบัติตัวอยู่ในโลกให้ดี ให้ได้ผลดี อันนี้วิชาธรรมะ
แล้วก็ต่อไปแล้วก็วิชาพุทธประวัติ ประวัติพระพุทธเจ้าและบุคคลที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธเราก็ควรจะรู้จักพระพุทธเจ้าเป็นพระศาสดา เป็นผู้ตั้งศาสนา ต่อไปก็เรียนประวัติพุทธศาสนา นอกจากประวัติพระพุทธเจ้าแล้ว เราทุกคนรู้ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานหรือสิ้นชีวิตไปแล้วเนี่ย พระพุทธศาสนามายังไงจนถึงประเทศไทยได้ งั้นเรามองไม่เห็นนึกไม่ออก เอ้พระพุทธเจ้าอยู่อินเดีย แล้วเรามานับถือพุทธศาสนากันได้ยังไงนี่ นี่ก็จะเล่าไม่ถูก ควรจะรู้ไว้บ้าง นี่ก็เป็นประวัติพุทธศาสนา
อ้าวต่อไปก็ยังมีวิชาศาสนพิธี ศาสนพิธีนี่ พิธีกรรมในพุทธศาสนา เรามาทำวัดกันที่นี้ก็เป็นพิธีเหมือนกัน เวลาญาติโยมมาทำบุญมีการกราบการไหว้ ถ้ากราบไม่เป็นมันก็ไม่เป็นระเบียบ ก็ไม่สวยไม่งาม ก็ต้องมีวิธีการ แล้วก็มีการทำบุญ คือต้องมีการอาราธนาศีลเป็นต้น เราต้องรู้ว่าอาราธนาศีลเป็นยังไง ทำอย่างไร ถ้าท่องได้ก็ดี เวลาเราไปเข้าพิธีเราจะได้ช่วยนำพิธีให้ได้ด้วย อาราธนาศีลให้ในที่ประชุม หรือเราไปวัด เราอาราธนาศีลได้ก็สะดวกสบาย นี่ก็พวกพิธีกรรมต่าง ๆ มีมาก ถ้าหากมีเวลามีความสมารถก็เรียนไปได้มากเยอะแยะหมดพิธีกรรม แม้แต่จัดโต๊ะหมู่เนี่ย เขาจัดอย่างไร ทำไมเป็นรูปอย่างนี้ จัดอย่างไรถูก จัดอย่างไรผิด แต่อันนี้ก็บางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องเรียน แต่ให้รู้ว่ามันมีเยอะพิธีกรรม ทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อย นี่ก็เรื่องศาสนพิธี พิธีในพระศาสนา
อ้าวต่อจากนั้นก็มียังวิชาอีก คือพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ มีภาษาอังกฤษเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เวลานี้ในเมืองนอกเมืองฝรั่ง เขาก็หันมาสนใจพระพุทธศาสนากันมาก นี้อย่างพวกเด็กนักเรียนไทยหรือนักศึกษาไทยนี่ พอไปเมืองนอกฝรั่งเขาก็ถามเลย เมืองไทยเรามีพุทธศาสนามากนี่ พุทธศาสนาสอนว่าอย่างไร คนไทยไปไม่ได้เตรียมตัว เคยแต่เรียนไปวิชาอื่น ตอบไม่ถูก ต้องบอกมาทางบ้านว่า โอ๊ยทำยังไงให้ช่วยหาหนังสือให้หน่อย หนังสือเมืองไทยที่ภาษาอังกฤาเกี่ยวกับเรื่องศาสนาก็มีน้อย ที่จริงเมืองนอกเองมีเยอะแยะ แต่รู้ก็ไปหาซื้อหนังสือภาษาอังกฤษเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา แต่ตอนนี้เราอยู่ขั้นต้น ๆ ก็เอาพระพุทธศาสนาแบบง่าย ๆ แต่ว่าให้ได้ประโยชน์ภาษาอังกฤษไปด้วย นี่ก็เรียนกันนิดหน่อย เณรเต็มก็ยังไม่เคยเรียนภาษาอังกฤษใช่ไหมครับไม่เป็นไร เณรเต็มก็ยกเว้นวิชานี้ แต่ว่าถ้าอยากฟังก็ไปฟังได้ อยากฟังไหมครับ เณรเต็มตอบอยากฟัง ก็เข้าไปฟัง อันนี้ก็เป็นวิชาต่าง ๆ ที่เณรจะได้เรียน ถ้ารู้กิจวัตรแล้ว สำหรับวิชาธรรมะนี่ หลวงลุงก็สอน หลวงลุงสอนวิชาธรรมะ วิชาพุทธประวัติ วิชาศาสนพิธี แต่ท่านมหาท่านสอน วิชาอะไรบ้างนะ บาลี อ้อมีอีกวิชานึงเกือบลืมบอก อีกวิชาหนึ่งคือวิชาบาลีเบื้องต้น และพุทธศาสนสุภาษิต คือพูดง่าย ๆ ก็วิชาพุทธศาสนสุภาษิต พุทธศาสนสุภาษิต เช่น อัตตาหิอัตโนนาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ใครเคยได้ยินบ้าง เณรวุฒิเคยได้ยินบ้างไหม เณรวุฒิตอบเคย เณรเต็มเคยได้ยินแน่ เณรลักษณ์เคยได้ยินหรือเปล่าได้ยินกันทุกคนเลย ทุก ๆ องค์เคยได้ยิน พุทธภาษิตบางบทได้ยิน เราพูดกันบ่อย คนไทยรู้จัก อย่างอโร คยา ปรมาลาภา แต่ว่าที่จริงบาลีเป็นอโร ขยา ปรมาลาภา คนไทยก็พูดเพี้ยนไปนิดหน่อย ยังมีอีกเยอะพุทธสุภาษิตนี่ ซึ่งหลายบทนี่จะจำไว้เป็นคติในชีวิตได้อย่างดี ทีนี้ท่านก็จะได้เลือกเอาพุทธศาสนสุภาษิตมาให้ดูว่า โอ้มีข้อความเป็นอย่างนี้นะ จำไว้ให้ดีนะแปลว่าอย่างนี้นะ ถ้าชอบใจก็ท่องไว้เลย พุทธสุภาษิตที่ว่า อัตตา ทะเว ชิตัง เสยโย ชนะตนเองเป็นดี ดีกว่า ก็คนเราที่ชอบชนะคนอื่น แต่ตัวเองแพ้ทุกที เอาชนะใจตัวเองไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็ ท่านก็บอกว่า นี่ชนะตัวเองได้แล้ว เป็นเหตุเป็นผลได้ ก็บังคับจิตตัวเองได้ ก็ชนะใจตัวเอง นี่ก็เรียกว่าเราก็ถูกต้องตามพุทธสุภาษิต ทีนี้เราจำพุทธสุภาษิตอย่างนี้ไว้เตือนตัวเอง ถ้าใครท่องคติเหล่านี้ พุทธสุภาษิตเป็นคติประจำชีวิต ก็มักจะปฏิบัติตามนั้น แล้วก็ได้เกิดประโยชน์ บางทีก็ประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะฉะนั้นท่านก็เอาพุทธศาสนาสุภาษิต นี่มาเลือกมาให้ มาอธิบายให้ฟังว่าความหมายอย่างไร ปฏิบัติไปแล้วมีประโยชน์อย่างไร แล้วก็ให้เรียนวิธีอ่านภาษาบาลีไปด้วย พระพุทธสุภาษิตนี้เขียนในบาลี ที่นี้เราเป็นชาวพุทธ นี้เราต้องเจอภาษาบาลีบ้าง หัดอ่านไว้ให้เป็น อย่างน้อยไม่ต้องเขียนเป็นเราเอาแค่อ่านเป็นก็ยังดี ไปเจอบทสวดมนต์ ไปเจอคำบาลี ก็พออ่านได้ อันนี้ท่านก็จะสอนในแง่นี้ มหาท่านก็จะสอนวิชาบาลีเบื้องต้น พระพุทธสุภาษิต แล้วท่านก็จะสอนพุทธศาสนา แล้วก็จะสอนพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ ก็คบแล้วใช่ไหมครับ นี่แหละก็ 6 วิชาด้วยกัน ก็ไม่ยากอะไรเท่าไหร่ แล้วก็ตั้งใจเรียนก็จะได้ความรู้เป็นประโยชน์ต่อไป วันหนึ่งก็จะใช้เวลาประมาณสัก 3 ชั่วโมง เวลาที่เหลือก็เป็นเวลาที่คุยเยอะ เราก็ได้มานั่งคุยกันอย่างนี้บ้าง แล้วก็เฉพาะหลังทำวัตร ท่านมหามีอะไรอีกไหม ไม่มีแล้ว แล้วหลวงลุงมีอะไรไหมครับ ไม่มีนะ อ้าวถ้าไม่มีเดี๋ยวจะแจก แจกตาราง แจกกิจวัตร แจกคนละใบใช่ไหม เช่นมีโรคท้องเสียประจำ หรือปวดศีรษะประจำ มีไหมครับ อะไรครับ เณตบอกใช้แบต ใช้แบตจะแก้ไขได้อย่างไร ปวดศีรษะร้อนแล้วใช่ไหม แล้วถ้าไม่ออกแดดแล้วจะเป็นอะไรหรือเปล่า อ๋ออย่างนั้นเราก็ไม่ต้องออกแดด เราอยู่แต่ในนี้ อยู่ในตัวอาคารนะ ถ้าร้อนมากก็มีพัดลมช่วย อ้าวทีนี้ต่อแต่นี้ก็จะมีเวลาพัก อีกครึ่งชั่วโมง
ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย เอาขาขวาขึ้นบน ขาขวา แล้วก็นั่งตัวตรง นั่งให้สบาย แล้วก็ทำใจสูดหายใจเข้ายาว ๆ บอกว่าสบาย แล้วต่อจากนั้นก็ตั้งใจ กำหนดลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าพุธ หายใจออกโธ เอาอย่างนี้ก่อนวันนี้อยากให้ลองพุทโธอีกสักวันหนึ่ง แล้วพรุ่งนี้จะลองวิธีอื่นบ้าง ให้หายใจอยู่กับพุทโธกับลมหายใจเข้าออก พอสมควรแก่เวลาก็จะบอกว่า พอ พนมมือนี่จะทำให้เรียบร้อย คือว่าบางทีเราพูดเนี่ย เราไม่รู้จะวางมือวางแขนที่ไหน คนหนึ่งก็วางไปอย่างนึง อีกคนหนึ่งก็ว่าไปอีกแบบนึง ก็เลยทำให้ไม่เรียบร้อย ท่านก็เลยให้ทำเป็นแบบเดียวกัน จะได้เป็นระเบียบสวยงาม เวลาเป็นหมู่คณะแล้วทุกอย่างก็ดูเรียบร้อย ถามว่าใครตอบได้ไหม ใครว่าตามแบบว่า ยกมือขึ้น ของเณณใช่พนมมือ ก็แสดงว่าองค์นั้นเข้าใจ หรือว่าทำได้ อย่างที่ถาม คือเราพนมมือแทนยกมือชึ้น แล้วก็โยมมาคนเดียวเลย อยู่นานไหมเณร เณรตอบก็นานเหมือนกัน ก็นานเหมือนกัน เณรก็ได้ทุกอย่างพร้อมแล้วนะ ได้หนังสือสวดมนต์แล้ว นี่ก็หัดอ่านว่าตาม ตอนแรกก็ยังยากหน่อย นาน ๆ เข้าก็ชำนาญ
นี่เรามาทำวัตร ทำวัตรก็ที่จริงบางคน เอ้อะไรทำวัตร เขาทำไว้เสร็จแล้วนี่ เรามาทำวัตรอะไรกันอีก แต่ว่าวัตรนี้ยังไม่เสร็จ วัดที่เสร็จแล้วก็ทำวัตร เพราะวัตรตัวนี้ ไม่ใช่ วอไม้หันอากาศดอ วอไม้หันอากาศตอวรอ วัตรตัวนี้แปลว่าข้อปฏิบัติประจำ ข้อปฏิบัติประจำนี่ก็ เรามาสวดมนต์นี่เป็นข้อปฏิบัติประจำทุกเช้าทุกเย็น ก็เลยเรียกกันมาว่าทำวัตร ทำข้อปฏิบัติพระเช้าพระเย็น บางแห่งเรียกว่าพระค่ำ แต่ของเราที่จริงเราทำค่ำ ทำตั้งทุ่มครึ่ง บางแห่งเขาทำเย็นแค่ 5 โมงเย็น 5 โมงครึ่ง ก็เลยเรียกกันว่าทำวัตรเย็นบ้าง ทำวัดค่ำบ้าง แล้วแต่จะทำเย็นหรือทำค่ำ แต่เช้านี้ทำเช้าทั้งนั้น งั้นก็เลยมีคู่กันเลยว่าทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น หรือทำวัตรเช้าทำวัตรค่ำ ก็คือมาทำข้อปฏิบัติประจำ
แต่ก่อนนี้ไม่ได้ทำแค่นี้หรอก ทำวัตรนี่ ไม่ใช่มานั่งสวดมนต์เฉย ๆ ต้องมาปัดกวาดสถานที่ มาเตรียมตั้งอาสนะ มาปู เอากระโถนมาวาง จัดอะไรต่ออะไร ตั้งพวกน้ำพวกอะไร น้ำดื่มให้พร้อมหมด ฉะนั้นเป็นข้อปฏบัติไม่ใช่เฉพาะสวดมนต์อย่างเดียว ที่จริงข้อปฏิบัติประจำเนี่ยยังมีหลายอย่าง อย่างไปบิณฑบาต อย่างที่เขียนไว้ในตารางนั่นแหละ แต่ทั้งวันทำนู่นทำนี่ แล้วก็เรียกว่าวัตรเหมือนกัน คือข้อปฏิบัติประจำ แต่เพราะมันเป็นกิจที่ต้องทำ ก็เรียกว่ากิจวัตร ข้อปฏิบัติที่เป็นกิจ เป็นหน้าที่ เช่นบอกว่าตื่นเช้าไปบิณฑบาตน่ะ มาฉันเสร็จแล้วมาทำวัตรสวดมนต์อย่างนี้ แล้วก็มาเรียนหนังสือ อะไรอย่างนี้ นี่บางแห่งก็จะมีให้กวาดลานวัดกันด้วย บางวัดนี่พอเช้าขึ้นมาก็เอาแล้วเตรียมพร้อมกันก็ต้องกวาดลานวัดด้วยกัน สมัยโบราณนิยมอย่างนั้น พวกนี้ก็เป็นพวกกิจวัตร แล้วยังมีวัดข้อปฏิบัติประจำอย่างอืนอีกเกี่ยวกับวิธีทำ เช่นว่า บาตรเรานี่ล้างแล้ว จะเอาไปวางไว้ที่ไหนจะเหมาะ มีวิธีในการเก็บ ต้องเก็บไว้ในที่ ๆ ว่าไม่ตกแตกง่าย วิธีเก็บก็ต้องระวังถือสองมือให้แน่ใจว่าจะไม่หล่นอย่างนี้เป็นต้น ข้อปฏิบัติที่เป็นพิธีการอย่างนี้เรียกว่าวิธีวัตร ก็เป็นวัตรอีกประเภทหนึ่ง แล้วก็เกี่ยวกับการความประพฤติปฏิบัติ มีอย่างพระเณรนี่ก็มีอุปัชฌาย์ที่บวช มีอาจารย์ผู้สอน แล้วก็มีข้อปฏิบัติต่อกัน แล้วก็มีความประพฤติอะไรต่าง ๆ เช่น ในการออกไปบิณฑบาต ควรจะวางตัวอย่างไร โดยสำรวมให้เรียบร้อย นี่ก็เป็นข้อปฏิบัติประจำเหมือนกันเกี่ยวกับความประพฤติ เรียกว่ากริยาวัด ก็เลยมีวัตร 3 อย่าง กิจวัตร วิธีวัตร จรรยาวัตร แต่รวมง่าย ๆ ก็คือ วัตรเป็นข้อปฏิบัติประจำ พระเณรก็มีมากข้อปฏิบัติประจำ เรียกว่าคู่กับศีล เป็นศีลกับวัตร เคยได้ยินไหมครับ ศีลกับวัตร บอกว่าเคยได้ยิน ก็ยกมืออย่างนี้ ใครเคยได้ยินบ้าง ศีลและวัตร เคยได้ยินไหม ไม่เคย โตมากขึ้นเรียน ฉันสูง ๆ ขึ้นก็อาจจะได้ยิน ศีลและวัตร คือคู่กัน ศีลก็เรารับ อย่างเณรรับศีล 10 เสร็จแล้วไม่ใช่หมดแค่ศีล ต้องประพฤติวัตรอีกเยอะแยะ ข้อปฏิบัติเหล่านี้เรียกว่าศีลแลวัตร ใครประพฤติถูกต้องตามทั้งศีลทั้งวัตร เขาเรียกว่าสมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร
งั้นเป็นอันว่าบวชเข้ามาแล้ว ก็ต้องมีหน้าที่ต้องทำมีทั้งศีลทั้งวัตร ที่นี้อย่างเฉาะที่เรามาทำวัตรเช้าค่ำ หรือเช้าเย็นนี้ จุดสำคัญก็มีมา คือการสวดมนต์ บทสวดของเรานี้ก็จะมีสำคัญอยู่ 3 ส่วน หรือแบ่งออกมาได้ 3 ส่วน
อันที่ 1 เราจะเห็นได้ว่าจะมี คล้าย ๆ บทอิติปิโส แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็นโยโส สะหะคะโต ภาษาพจน์ก็คือพระพุทธเจ้า แล้วก็มีสวากขาโต มีสุปฏิปันโน อันนี้ก็คือบทที่เคยได้ยินกันแล้ว เราสวดกันบ่อย ๆ ก็เป็นบทที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม ระลึกถึงพระสงฆ์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบทสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า สรรเสริญคุณพระธรรม สรรเสริญคุณพระสงฆ์ อันนี้บ่อยมาก บทสวดมนต์จะมีอันนี้มาก เราก็ระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ทีนี้นอกจากบทสวดที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมพระสงฆ์แล้ว บทสวดอีกประเภทหนึ่งที่เราสวดด้วย อยู่ตรงกลางคือประเภทคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาสวดด้วย เลือกเอามาที่เห็นว่าสำคัญที่เป็นประโยชน์ที่ควรพิจารณา เพราะฉะนั้นในที่เราสวดนี้จะมีคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วย จะสอนว่าอะไร ตอนนี้จะยังไม่บอก ให้รู้ว่ามีอะไรบ้างที่เราสวดกัน เดี๋ยวนี้เราสวดอะไรก็ว่ากันไปเป็นเรื่อง ๆ ไป รู้กันเนี่ยว่า
1 ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์
2 มาสวดคำสอนของพระพุทธเจ้า สำหรับพระพิจารณา แล้วก็
3 ยังมีอีกประเภทหนึ่ง ส่วนประเภทที่ 3 นี้เราจะสวดท้ายสุด ก็คือ การแผ่เมตตา อุทิศกุศลให้แก่ผู้อื่น ตอนนี้เราก็ตั้งใจดี ขอให้ทุกคนมีความสุข ดังนั้นจะบอกว่าขอให้คนนั้น คนนี้ บุคคลประเภทนั้น บุคคลประเภทนี้ เยอะแยะไปหมด ถ้าอ่านคำแปลแล้วก็รู้ ถ้าอ่านคำแปลรวมแล้วก็คือว่า ตั้งใจดีปรารถนาดี ให้คนทั้งหลายสัตว์ทั้งปวง มีความสุข แล้วก็เราได้ทำความดี อะไรต่ออะไรก็เผื่อแผ่ให้คนเหล่านั้นให้มีส่วนได้รับความดีด้วย นี่เรียกว่าแผ่เมตตาอุทิศกุศลให้ ตกลงบทสวดมนต์ที่เราสวดกันนี่มี 3 ประเภท 1 ก็ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมพระสงฆ์ หรือสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย 2 คำสอนของพระพุทธเจ้า สำหรับพระพิจารณา แล้วก็ปฏิบัติตาม แล้วก็ 3 การแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศลให้แก่ ผู้อื่นหรือสัตว์ทั้งปวง
เอาละวันนี้เอาแค่นี้ก็พอ จะได้รู้ว่านี่เรามานั่งทำ ทำอะไรกัน มีความเข้าใจ เดี๋ยวเณรจะได้ไปเตรียมตัว 9 โมงก็ต้องเรียนหนังสือ วันพรุ่งนี้ก็ค่อยมาเล่าเรื่องให้ฟังต่อว่าที่เรามาทำอะไรต่ออะไร ว่าเราควรจะรู้ เข้าใจให้ชัดเจน อ้าวที่นี้ต่อไปนี้ก็ มาคุกเข่าและกราบพระพร้อมกัน