PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
  • ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม ตอนที่ 3
ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม ตอนที่ 3 รูปภาพ 1
  • Title
    ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม ตอนที่ 3
  • เสียง
  • 4266 ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม ตอนที่ 3 /somdej-payutto/03-3-2.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันพุธ, 29 มกราคม 2563
ชุด
ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ

    บัดนี้การอุปสมบทก็สำเร็จเรียบร้อยแล้ว    ก็เรียกว่าสังฆกรรมของที่ประชุมได้จบลง บัดนี้ก็ได้เป็นพระภิกษุมีพุทธบัญญัติว่าเมื่ออุปสมบทเสร็จให้อุปัชฌาย์รีบบอกอนุศาสน์ทันที    ก่อนที่จะออกจากโรงอุโบสถ อนุศาสน์ก็คือคำสอนเบื้องต้น ให้รู้ว่าพระจะเป็นอยู่อย่างไร  จะดำเนินชีวิตในแง่ของปัจจัย 4 อย่างไร  แล้วก็มีอะไรที่ทำไม่ได้  ที่ทำแล้วจะขาดจากความเป็นพระภิกษุต้องรู้ไว้ก่อน  อย่างอื่นหน่ะไปเรียนทีหลังได้แต่ว่าสิ่งนี้ต้องให้รู้ไว้เพราะว่าถ้าไปผิดพลาดเค้าก็ไม่รู้ตัว ก็หมดความเป็นพระภิกษุ และต่อจากนั้นก็จะบอกไตรสิกขา เพราะฉะนั้นที่จะบอกต่อไปนี้จะบอก 3 ตอน

        ตอนที่ 1 เรียกว่านิสสัย 4

     เมื่อกี้ได้ยินคำว่านิสัย มาขอนิสัยทีนึงแล้ว   ตอนนี้นิสสัยอีกแล้ว เมื่อกี้นี้เป็นนิสัยอยู่ที่บุคคลคือไปอาศัยพระอุปัชฌาย์ เพื่อให้ท่านช่วยในเรื่องการศึกษาเป็นเครื่องเกื้อหนุน บุคคลมาเกื้อหนุนการศึกษาของท่าน  ทีนี้เป็นนิสสัยที่เป็นวัตถุ  ก็คือปัจจัย 4  ปัจจัย 4 นี้สำหรับพระภิกษุ มีชื่อเรียกพิเศษว่านิสสัย  ก็เป็นนิสสัยที่อยู่ก่าพวกสิ่งของวัตถุที่เราต้องบริโภค  ก็หมายความว่าชีวิตพระเนี่ยเราอาศัยบุคคลคืออุปัชฌาย์อาจารย์ และก็อาศัยวัตถุปัจจัย 4  เพื่อเป็นเครื่องเกื้อหนุนเราในการที่จะศึกษา สิ่งเหล่านี้ให้มองว่าเป็นเครื่องอาศัยเกื้อหนุนเท่านั้น   เราจะได้รู้ว่า อ่อ นี่พุทธศาสนาได้มองวัตถุว่าเป็นเครื่องหนุนไม่ได้เป็นจุดหมายเราไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อจะได้มีกินบริโภคหาความสุขจากวัตถุ แต่เรามีวัตถุเพื่อมันมาเกื้อหนุนเราให้เราสามารถทำความดีได้ฝึกตนเอง เจริญงอกงามขึ้น  ให้ชีวิตดีขึ้นในด้านต่าง ๆ ที่ว่าไตรสิกขานั้น    อันนี้เป็นคติให้รู้ว่า อ่อ มันเป็นที่อาศัยนะ เราก็ให้มีจำเป็นแต่ว่า พอสมควร พออยู่ได้

    นิสสัย 4 ของพระภิกษุ ก็คือ 

    1 อาหารก็อาหารบิณฑบาต

                2 จีวร ผ้านุ่งห่ม ก็ใช้ผ้าบังสุกุลนี้เป็นพื้นฐานก่อน ถ้าไม่มีใครถวายเขาไม่ได้เลื่อมใส อย่างพระพุทธเจ้ากับพระสาวกยุคแรกนี่ลำบากมาก คือท่านไม่ถือว่าลำบากหรอก แต่มองในสายตาคนทั่วไปลำบากเพราะคนเค้ายังไม่รู้จัก ท่านต้องใช้ผ้าบังสุกุลไม่มีใครให้ ท่านไม่มีสิทธิ์ขอ ท่านก็ต้องไปเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งตามกองขยะ ตามป่าช้าเก็บ ไว้พอแล้วมาต้ม ต้มแล้วก็ตัดเย็บย้อม มาทำจีวรใช้  นี้เมื่อ มีประชาชนเลื่อมใสพระพุทธเจ้าก็อนุญาตให้รับของถวายได้ น้้นพื้นฐานก็ใช้ของบังสุกุลที่ว่า คลุกฝุ่น ของทิ้ง  

    และก็ต่อไปก็เสนาสนะก็ไม่มีใครถวายก็พระก็ไม่มีสิทธิ์เหมือนกัน เพราะฉะนั้นพระก็ต้องอยู่ตามโคนไม้ เพราะฉะนั้นที่อยู่พื้นพื้นฐานของพระก็ รุกขมูล คือโคนไม้ และเมื่อประชาชนเขาเลื่อมใสเขาสร้างถวายพระพุทธเจ้าก็อนุญาต คือไม่ให้ขอเขาล่ะ  ที่นี้ก็ชื่อภิกษุว่าขอ แต่ที่จริงท่านไม่ให้ขอหรอกนะ เพราะว่าเขาศรัทธาแล้วเขาให้ 

     แล้วก็ต่อไปก็ยา  ยาก็ไม่มีใครถวายต้องอาศัยยาดองด้วยน้ํามูตรเน่าเป็นพื้นฐาน และต่อมาก็อนุญาตที่เขาถวายพวก เนยใส เนยข้น น้ำมัน ??? น้ำอ้อย ตลอดจนไปกระทั่งยาต่าง ๆ  

     อันนี้ก็เป็นนิสสัย 4 ให้พระอาศัยวัตถุเป็นเครื่องเกื้อหนุนให้เราได้เจริญใน ไตรสิกขาเท่านั้น  

    ต่อไปก็หมวดที่ 2 ก็เรียกว่ากรณียกิจ 4 

    สิ่งที่ทำไม่ได้ขาดจากความเป็นพระภิกษุ คือ

    1.เสพเมถุน  

    2. ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ลักขโมย 5 มาสกขึ้นไปก็ถือว่า บาทหนึ่ง แล้วก็

    3.ก็ฆ่ามนุษย์ แม้แต่ทำแท้ง แล้วก็ 

    4.ก็อวดอุตตริมนุสสธรรมคือคุณวิเศษที่ไม่มีในตัวเอง เช่นว่าไม่ได้สมาธิก็อวดว่าได้สมาธิไม่ได้ฌานอวดว่าได้ฌาน  ไม่ได้เป็นพระอริยะ ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ก็อวดว่าเป็น  อย่างนี้ถือว่าขาดจากความเป็นพระภิกษุ 4 อย่างนี้ห้าม

      อ่า ทีนี้ต่อจากก็นั้นเป็นไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญาที่อธิบายไปแล้ว พอทำความเข้าใจต่อไปนี้จะว่าเป็นภาษาว่าเป็นภาษาบาลี ว่าตามธรรมเนียม แต่โดยความเข้าใจกันแล้ว จะว่าเป็น 3 ตอน

    อะนุญญาสิ โข ภะคะวา อุปะสัมปาเทตวา จัตตาโร นิสสะเย จัตตาริ จะ อะกะระณียานิ อาจิกขิตุง//

            ปิณฑิยาโลปะโภชะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา// ตัตถะ โว ยาวะซีวัง
    อุสสาโห กะระณีโย// อะติเรกะลาโภ/ สังฆะภัตตัง อุเทสะภัตตัง นิมันตะนัง สะลกะภัตตัง
    ปักขิกัง อุโปสะถิกัง ปาฏิปะทิกัง//

           ปังสุกูละจีวะรัง นิสสายะ ปัพพัชชา// ตัตถะ โว ยาวะชีวัง
    อุสสาโห กะระณีโย// อะติเรกะลาโภ/ โขมัง กัปปาสิกัง โกเสยยัง กัมพะลัง สาณัง ภังคัง//

          รุกขะมูละเสนาสะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา// ตัตถะ โว
    ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย// อะติเรกะลาโภ/ วิหาโร อัฑฒะโยโค ปาสาโท หัมมิยัง คุหา//

          ปูติมุตตะเภสัชชัง นิสสายะ ปัพพัชชา// ตัตถะ โว ยาวะชีวัง
    อุสสาโห กะระณีโย// อะติเรกะลาโภ/ สัปปิ นะวะนีตัง เตลัง มะธุ ผาณิตัง//

    จบหมวดที่ 1   ที่นี้ต่อไป หมวดที่ 2 กรณียกิจ 4

         อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา เมถุนโน ธัมโม นะ ปะฏิเสวิตัพโพ/ อันตะมะโส
    ติรัจฉานะคะตายะปิ// โย ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวะติ/ อัสสะมะโณ โหติ
    อะสักยะปุตติโย// เสยยะถาปิ นามะ ปุริโส สีสัจฉินโน อะภัพโพ เตนะ สะรีระพันธเนนะ
    ชีวิตุง// เอวะเมวะ ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวิตวา/ อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย//
     ตัง โว ยาวะชีวัง อะกะระณียัง//

         อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง นะ อาทาตัพพัง/ อันตะมะโส
    ติณะสะลากัง อุปาทายะ// โย ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา
    อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยะติ/ อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย// เสยยะถาปิ นามะ
    ปัณฑุปะลาโส พันธะนา ปะมุตโต อะภัพโพ หะริตัตตายะ// เอวะเมวะ ภิกขุ ปาทัง วา
    ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยตวา/ อัสสะมะโณ โหติ
    อะสักยะปุตติโย//  ตัง โว   ยาวะชีวัง อะกะระณียัง//

         อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา สัญจิจจะ ปาโณ ชีวิตา นะ โวโรเปตัพโพ/ อันตะมะโส
    กุนถะกิปิลลิกัง อุปาทายะ// โย ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปติ/
    อันตะมะโส คัพภะปาตะนัง อุปาทายะ// อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย// เสยยะถาปิ
    นามะ ปุถุสิลา ทวิธา ภินนา อัปปะฏิสันธิกา โหติ// เอวะเมวะ ภิกขุ สัญจิจจะ
    มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปตวา/ อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย//
     ตัง โว ยาวะชีวัง อะกะระณียัง//

         อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อุตตะริมะนุสสะธัมโม นะ อุลละปิตัพโพ/ อันตะมะโส
    สุญญาคาเร อะภิระมามีติ// โย ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง
    อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปะติ/ ฌานัง วา วิโมกขัง วา สะมาธิง วา สะมาปัตติง
    วา มัคคัง วา ผะลัง วา// อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย// เสยยะถาปิ นามะ ตาโล
    มัตถะกัจฉินโน อะภัพโพ ปุนะ วิรุฬหิยา// เอวะเมวะ ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต
    อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปิตวา/ อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย
     ตัง โว ยาวะชีวัง อะกะระณียัง//

     จบหมวดที่ 2  ที่นี้ต่อไปหมวดที่ 3 นี่ ไตรสิกขา

    อะเนกะปะริยาเยนะ โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา
    สัมมาสัมพุทเธนะ// สีลัง สัมมะทักขาตัง สะมาธิ สัมมะทักขาโต ปัญญา สัมมะทักขาตา//
    ยาวะเทวะ ตัสสะ มะทะนิมมะทะนัสสะ ปิปาสะวินะยัสสะ อาละยะสะมุคฆาตัสสะ
    วัฏฏูปัจเฉทัสสะ// ตัณหักขะยัสสะ วิราคัสสะ นิโรธัสสะ นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ//

    ตัตถะ สีละปะริภาวิโต สะมาธิ มะหัปผะโล โหติ มะหานิสังโส//
    สะมาธิปะริภาวิตา ปัญญา มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา//
    ปัญญาปะริภาวิตัง จิตตัง สัมมะเทวะ อาสะเวหิ วิมุจจะติ// เสยยะถีทัง/
    กามาสะวา ภะวาสะวา อะวิชชาสะวา//

    ตัสมาติหะ เต  อิมัสมิง ตะถาคะตัปปะเวทิเต
    ธัมมะวินะเย/ สักกัจจัง อะธิสีละสิกขา สิกขิตัพพา/ อะธิ ??? จิตตะสิกขา สิกขิตัพพา/
    อะธิปัญญาสิกขา สิกขิตัพพา/ ตัตถะ อัปปะมาเทนะ สัมปาเทตัพพัง//

    เอาล่ะ คุกเข่า กราบ

    เอาล่ะ จบแล้วนะ  ก็ตั้งใจ นี้ก็อย่างที่บอกล่ะว่า บวชแล้วก็ตั้งใจ ให้เวลา ที่มาบวชนี่ แม้น้อยให้ได้ประโยชน์มากที่สุด เค้าเรียกว่าให้ได้กำไร และก็ให้โยมพ่อแม่พลอยได้บุญมากที่สุด ตั้งใจทำให้ดีที่สุด โยมผู้ใหญ่ ปู่ ย่า ตา ยาย ท่านได้บุญกะเราด้วย  ก็เลยจะเป็นกำลังใจแก่ตัวทุกท่านเอง ก็ปฏิบัติให้ดีที่สุด

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service