แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ก็ค้างการตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องทุกข์สุข ยังไม่จบ แต่ว่าก่อนที่จะพูดต่อไปคือเรื่อง ทุกข์ใน 3 ระดับ
เป็นทุกขเวทนา ทุกข์ในอริยสัจ ทุกข์ในไตรลักษณ์ ก็อยากจะหันไปย้ำครั้งที่แล้วคือ เมื่อวานนี้นิดหน่อย
ที่เราพูดกันไปนั้น ก็ไปปรารภถึงปัญหาสังคมปัจจุบัน เรื่องการหาความสุขของคนในโลกปัจจุบันที่เน้น
ไปเรื่องของความสุขระดับเสพอามิส หรือกามสุข สุขที่พึ่งพาการเสพย์อารมณ์ภายนอก ทางตา หู
จมูก ลิ้น กาย นี้ก็ บางทีกลายเป็นว่า มาลุ่มหลงมัวเมา ไม่ใช่บางทีละ เดี๋ยวนี้ มันกลายเป็นลุ่มหลง
02:มัวเมามาก ละก็ มันมีเหตุปัจจัยทางสังคมเข้ามา โดยเฉพาะยุคไอทีนี้ ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ
ในการที่จะทำให้คนลุ่มหลงในเรื่องเหล่านี้ เพราะเกี่ยวกับระบบผลประโยชน์ ไอที นั้นก็แทนที่จะเป็น
เครื่องช่วยให้มนุษย์พัฒนาในทางปัญญา กลับมาเป็นเครื่องมือของธุรกิจเสียเยอะ ธุรกิจก็เลยเป็น
เครื่องมือของผลประโยชน์ ทำให้คนลุ่มหลงมัวเมาขึ้น แล้วมาดูการหาความสุขก็อย่างที่ว่าแล้ว
ความสุขของมนุษย์ปุถุชนนี่ ก็ประมาณหนึ่งก็เหมือนกับการหาความสุขจากการเกาที่คัน ทีนี้ว่า
ปัจจุบันนี้ก็เหมือนกับมีธุรกิจใช้ประโยชน์จากสภาพนี้ ก็เร้ากระตุ้นให้คนคันยิ่งขึ้น 03:เพื่อจะได้ทำให้
กระบวนเกาที่คันมันหนักหน่วงขึ้นไปอีก คล้ายๆ ว่าธุรกิจเวลานี้ เป็นธุรกิจแบบที่ไรอะ ปั่นหัวจิ้งหรีด
บ้าง ธุรกิจรวยหมาหมุ่ย ทำให้คันคะเยอ ก็ยิ่งยุ่งวุ่นวายอยู่กับเรื่องเหล่านี้ ก็เท่ากับไม่ได้สาระอะไร
ทีนี้ก็ในเมื่ออยู่ในโลกอย่างนี้ อย่างน้อยก็ต้องรู้เท่าทันให้ถึงความจริงของธรรมชาติที่แท้ แล้วก็จับให้
ได้ในตัวหลัก ว่าอะไรเป็นตัวแท้ตัวจริง เช่น ความต้องการของชีวิตอย่างที่เราพูดกันแล้วเรื่องอาหาร
แม้กระทั่งเรื่องเพศสัมพันธ์ ว่าตัวหลักอยู่ที่ไหน แล้วตัวประกอบตัวเสริมอยู่ที่ไหน เราก็จะเห็นว่า04:00
อ๋อ อย่างเรื่องอาหารก็กินอาหารเพื่อสนองความต้องการของชีวิต ก็ให้ชีวิตมันได้ นี่คือตัวหลัก
แล้วก็ตัวประกอบตัวเสริมก็รองลงไป ถ้าไม่เสียหลักก็ยังใช้ได้อยู่ เรื่องเพศสัมพันธ์ก็เช่นเดียวกัน
นี่มนุษย์ตอนนี้ มันกลายเป็นว่า เหออกไปจากตัวแก่นตัวหลัก ตัวที่แท้ไปอยู่ที่ตัวเสริมตัวประกอบ
เท่านั้น นี่ก็ในเรื่องของเพศสัมพันธ์ ก็เลยเน้นนิดหน่อยว่าเป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบันว่า แก่นของมันก็
ตัวแท้ตัวจริงก็คือการสืบพันธุ์ การสืบพันธุ์นั้นก็การมีพันธุ์ที่ดี พันธุ์ที่ดีในที่นี้พูดสำนวนชาวบ้านก็คือ
การมีลูกหลานที่ดี เพราะว่าพันธุ์ที่ดีนี้ มันก็ต้องไปลึกซึ้งทางวิทยาศาสตร์05:00ชาวบ้านก็ไม่สามารถ
จะลึกถึงขั้นนั้น ถึงวิทยาศาสตร์เอง ก็ไม่ใช่ว่าจะเก่งนักหนา ไปๆ มันก็พลาด โดยว่ามนุษย์รู้ไปไม่ทั่ว
ถึงเหตุปัจจัย ไม่ต้องเอาลึกซึ้งขั้นที่ว่า ไปทำพันธุวิศวกรรม ซึ่งมนุษย์ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ก็อาจจะ
พลาดได้มาก เพราะมองเหตุปัจจัยไม่ทั่วถึง ก็ดูง่ายๆ อย่างกะในระดับของสังคมมนุษย์ทั่วไป อย่างที่
เค้าล้อกัน ว่ามีคนอยากจะได้ลูก ที่ฉลาดแล้วก็สวยด้วย ก็เห็นว่านักวิทยาศาสตร์ มีปัญญาดี แล้วก็
เทพีก็สวยมาก06:00ก็ให้นักวิทยาศาสตร์แต่งงานกะเทพี จะได้ลูกที่ทั้งสวยทั้งเก่ง ว่านั้นนะ ก็คือมอง
ด้านเดียวที่ตัวจะเอา แต่ลืมไปว่ามันอาจจะได้ด้านเสียของทั้ง 2 คนก็ได้ ใช่ไหม ปรากฏว่าไอ้ตานัก
วิทยาศาสตร์นั้นก็ขี้เหร่ แล้วเทพีนั้นก็โง่ ปรากฏว่าก็ไปได้ด้านที่เสียของทั้งสองคนนี่ ลูกเกิดมา
ปรากฏว่าโง่และก็ขี้เหร่ ใช่ไหม แทนที่จะได้ฉลาดแล้วก็สวย ก็ตัวเองมองแต่ด้านที่จะเอานี่ใช่ไหม
07:00เห็นนักวิทยาศาสตร์นี้ปัญญาดีฉลาด แล้วก็เทพีนั้นก็สวยอย่างที่ว่าก็จริง ใช่ไหม แต่พอจับเหตุ
ปัจจัยมันเนี่ยะคนมันมักจะมองไม่รอบคอบ อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างแบบง่ายๆ ให้เห็นว่านักวิทยา
ศาสตร์ เวลาไปทำวิจัยไปทำอะไรมา บางทีแกก็ติดกับเหตุปัจจัยและเป้าหมายบางอย่าง ก็ทำให้มอง
ข้ามเหตุปัจจัยอื่น แล้วก็พลาด ตามหลักที่พระเรียกว่า ผลหลากหลายจากปัจจัยเอนก นี่เพราะฉะนั้นก็
เรื่องของมนุษย์ก็อย่างนี้ ทีนี้มนุษย์ในสมัยก่อนในสังคมที่ผ่านมาที่ว่า อยากจะได้พันธุ์ดี อยากได้ลูก
หลานดี ก็ต้องมองสองขั้นคือขั้นก่อนที่จะได้พันธุ์นั้น ก็คือก่อนลูกเกิด ก่อนพันธุ์ใหม่ออกมา
ก่อนที่จะได้ผู้ที่ออกมาตามพันธุ์นั้น ก็คือเลือกคู่ ใช่ไหม 08:00เพราะเค้าไม่มีทางที่จะไปลึกซึ้งกว่านั้น
ก็เลือกคู่ แล้วก็ขั้นที่สองก็คือว่า เลี้ยงดูเด็ก ใช่ไหม สองขั้นนั้นสำคัญ ที่จะได้พันธุ์ดีคือลูกหลานดี
เพราะฉะนั้น ก็จะเน้นกันมาเนี่ยะ เลือกคู่ก็พยายามเลือกคู่ให้ดีเท่าที่สติจะมีสั่งสมกันมา นี่ก็ ในการ
เลือกคู่ ก็จะมีการที่ต้องพิจารณาวงศ์ตระกูล ถ้าคนที่เกิดในวงศ์ตระกูลดีมาแล้วก็น่าจะมีทางที่ว่า
จะได้พันธุ์ดี แล้วก็ดูบุคลิกลักษณะ มีตำราทำนายลักษณะคน แล้วก็ดูแม้แต่ความสามารถ สติปัญญา
บุคลิกลักษณะอะไรต่างๆ ก็พยายามกันไป แล้วก็เรื่องของคุณธรรม ไม่ได้ดูเฉพาะความเฉลียวฉลาด
ต้องดูคุณธรรมความดีงาม ต่างๆ ด้วย ก็คือนิสัยใจคอ09:00แล้วตอนนี้ก็อาจจะมีการขัดแย้งกัน เช่นว่า
ลูกก็รัก แต่ว่าพ่อแม่อาจจะเห็นว่า เออ นิสัยหรือคุณสมบัติบางอย่างไม่ดี พ่อแม่ก็ไม่เห็นด้วยกับลูก
ก็ขัดแย้งกัน ลูกก็มุ่งไปที่ความรัก ความรักมันก็มีทั้งแบบที่ว่าได้มีสติปัญญาไตร่ตรอง คุณสมบัติที่ว่า
เค้าดีจึงน่ารักหรือเป็นเพียงติดใจในบางส่วนบางแง่ บางทีพ่อแม่ก็ไม่เห็นด้วยเพราะว่า ไปเห็นข้อ
บกพร่องอะไรบางอย่าง หรืออาจเป็นเพียงไม่ถูกใจกัน บางทีก็เป็นเพียงเรื่องของความไม่ถูกชะตาก็มี
ใช่ไหม อันนี้มันก็พูดยาก บางทีก็พ่อแม่พลาด บางทีก็ลูกพลาด10:00แต่รวมแล้วหลักการก็คือต้องการ
คู่ครองที่ดี คือต้องพยายามวางมาตรการ หรือเกณฑ์ในการเลือกคู่ครองให้ดีที่สุด ให้ได้คนที่ดีที่สุดเป็น
คู่ครอง เสร็จแล้วพอต่อมาก็มีลูก ก็ต้องมีหลักการในการเลี้ยงดูให้ดีที่สุด ซึ่งก็เป็นเรื่องใหญ่มาก ว่า
เลี้ยงดูอย่างไรให้ลูกเจริญเติบโตมาอย่างดี อย่างที่เรามีหลักเรื่องพรหมวิหาร 4 เป็นต้น
นี่ก็เป็นเรื่องของ
การที่จะให้ได้พันธุ์ดี ลูกหลานดี เพราะฉะนั้นการสืบพันธุ์ ก็ต้องมาเน้นที่นี่แน่นอน ทั้งก่อนมีลูกหลาน
แล้วก็ทั้งมีลูกหลานแล้วเลี้ยงดูให้ดี เติบโตมาอย่างดี นี้เรื่องเพศศึกษาอะไรต่างๆ เนี่ยะ ในที่สุดมัน
ต้องมาให้เข้าสู่จุดหมายเหล่านี้ให้ได้ ไม่ใช่ไปติดอยู่กับเรื่องประกอบไม่ใช่ตัวหลัก11:00อันนี้ก็เอามา
ย้ำเสียอีกทีหนึ่ง ตอนนี้ก็มาเรื่องทุกข์ต่อ ทุกข์ในสามความหมาย ความจริงก็เป็นเรื่องที่พูดได้สั้นๆ
ไม่มีอะไรมาก ในความหมายที่กว้างที่สุดก็แน่นอนก็คือทุกข์ในไตรลักษณ์ ก็เป็นเรื่องของทุกข์ที่มัน
เป็นสภาวะหรือเป็นเรื่องของธรรมชาติตามธรรมดา ถ้าพูดโดยเปรียบเทียบก็บอกว่า ก็เป็นทุกข์ที่มี
อยู่ตามธรรมดาในธรรมชาติ นี่คือทุกข์แบบกว้างที่สุดในไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงก็คือ มันเกิดแล้วดับไป เกิดแล้วก็ดับหาย เกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ เมื่อมาเกิดดับ
เกิดดับเนี่ยะ มันก็ปรากฏในลักษณะของความเปลี่ยนแปลง12:00ที่จริงไอ้ตัวเปลี่ยนแปลงเนี่ยะ
มันเป็นลักษณะของทุกข์มากกว่าเป็นอนิจจัง แต่เราไปแปลอนิจจังเป็นไม่เที่ยงเป็นเปลี่ยนแปลง
ความจริงอนิจจังเนี่ยะมันคือเกิดดับ เกิดแล้วหาย เกิดแล้วหายไป อาการที่แปรปรวน เปลี่ยนแปลง
เนี่ยะ เป็นอาการปรากฏรวมๆ ซึ่งมาถึงคำว่า ทุกข์ คือคงอยู่ไม่ได้ในสภาพเดิม มันคงอยู่ไม่ได้ในสภาพ
เดิม มันทนอยู่ไม่ได้ ก็จะมีเกิดการขัดแย้ง ใช่ไหม แล้วสิ่งทั้งหลายจะมีการสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
เมื่อแต่ละอย่างนี่มีการเกิดดับ มีการขยับเขยื่อนเคลื่อนไวอยู่มันก็เกิดการขัดแย้งกัน ก็ทีนี้จะเป็น
ขัดแย้งไปก็เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ว่า แล้วก็มีความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัย เป็นเหตุปัจจัย
แก่กัน ทีนี้มันจะเป็นไปยังไง13:00ก็ปรากฏรูปขึ้นมาตามเหตุปัจจัยเหล่านั้นที่สัมพันธ์กัน ก็เราเรียกว่า
เป็นอนัตตา คือไม่มีตัวตนยืนตายนิ่ง คงที่ไม่มี ก็จะปรากฏ ที่เรียกว่าตัวตนตามความสัมพันธ์ของเหตุ
ปัจจัยนั้น ปรากฏรูปในลักษณะต่างๆ ที่เราเรียกตัวตนก็คือ เป็นเรื่องที่พูดได้ในระดับที่สมมติหรือ
ตกลงกันว่า เรียกอย่างงี้ๆ เป็นตัวตน แต่ที่จริงนั้น ให้ความปรากฏที่เรียกว่าตัวตนนั้นนะ มันไม่มีตัว
ของมันเองแท้ แต่มันปรากฏขึ้นตามเหตุปัจจัยที่อยู่เบื้องหลัง แต่ตอนนี้เราจับที่คำว่า ทุกข์ ก็เอาเป็นว่า
ก็คือภาวะตามธรรมชาติที่มันมีการเปลี่ยนแปลงคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา พอพูด
อย่างนี้แล้วก็ อันนี้มันก็กลายเป็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างก็อยู่ในลักษณะนี้หมด ก็พูดง่ายๆ ท่านใช้คำว่า
14:00 สังฆะสธรรมหรือสิ่งที่เกิดจากปัจจัยนั่นเอง เกิดจากปัจจัยภาษาโบราณเค้าเรียกปรุงแต่งขึ้น
คือมันไม่ใช่มีด้วยตัวของมันเอง มันมีจากการสัมพันธ์ของเหตุปัจจัย เมื่อมันมีด้วยความสัมพันธ์ของ
เหตุปัจจัยมันก็อยู่ในภาวะอย่างเนี่ยะ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นธรรมดาธรรมชาติอย่างนั้น
มันก็ไม่ขึ้นต่อมนุษย์ ไม่ขึ้นต่อจิตใจคน ไม่เหมือนทุกข์ในอริยสัจ มันเป็นเรื่องธรรมดาธรรมชาติ
มันเป็นของมันอย่างนั้น ทีนี้มาข้อที่สอง ทุกข์ในอริยสัจ อันนี้ท่านจะเห็นว่า มันมีข้อทุกข ข้อสมุทัย
ข้อสมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์ มันมีตัณหา ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แยกแยะละเอียด มันไปถึงอวิชชา ใช่ไหม
ซึ่งมันอยู่ในจิตใจคน มันอยู่ในมนุษย์15:00ไอ้ทุกข์ที่อยู่ในอริยสัจ นี่เป็นขึ้นมาได้เพราะอาศัยนี่ สภาวะ
ในจิตใจคน โดยเฉพาะไอ้ตัวเด่นคือ ตัณหา เพราะฉะนั้น ทุกข์ในอริยสัจ เนี่ยะเป็นทุกข์ที่ปรากฏขึ้น
แก่มนุษย์ต่างกับอันที่หนึ่ง หนึ่งเนี่ยะทุกข์ ทุกข์ตามธรรมชาติมีในสภาวะทุกสิ่งทุกอย่าง เท่าที่มนุษย์
จะรู้จัก ที่เป็นสังฆสธรรม ใช่ไหม มันไม่เกี่ยวกับมนุษย์ มนุษย์เองก็เป็นสิ่งที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ในความหมายแรกด้วยเพราะเป็นธรรมชาติเหมือนกัน ทั้งรูปธรรม นามธรรม ทั้งกายทั้งใจก็อยู่ในเนี่ยะ
แต่ทีนี้พอมาอริยสัจนี่ มันหมายถึงทุกข์สำหรับมนุษย์แล้ว มันไม่ใช่เป็นเพียงทุกข์ตามสภาวะใน
ธรรมชาติ ทุกข์ที่เกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์16:00หรือจะใช้ภาษาปัจจุบันเค้าเรียกว่ามีศักยภาพที่จะเกิด
เป็นปัญหาแก่มนุษย์ อันนี้แสดงว่า ทุกข์ในอริยสัจ แคบเข้ามาแล้วนะ และเดี๋ยวมันจะสัมพันธ์กัน
ถ้าไม่มีทุกข์ในไตรลักษณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ ทุกข์ของมนุษย์ก็จะไม่มีเหมือนกัน ถ้าสิ่งทั้งหลาย
มันเที่ยง มันคงที่ของมันอยู่ตามธรรมดา ไม่มีเหตุปัจจัย จะทุกข์ในมนุษย์จะเกิดได้ไหม ก็ไม่มี
ก็ต้องอาศัยทุกข์อันที่กว้างที่สุดตามธรรมชาตินั่นแหละ ไอ้ทุกข์ในมนุษย์จึงเกิดได้ แต่ตอนนี้
เรากำลังแยกเป็นความหมายให้เห็นขอบเขต ตอนนี้ทุกข์ในอริยสัจก็เป็นเรื่องปัญหาของมนุษย์แคบ
เข้ามาละ เรียกว่าทุกข์สำหรับมนุษย์ทุกข์ของมนุษย์ ต่อไป ทีนี้ทุกข์ของมนุษย์เนี่ยะ17:00บางทีมัน
ยังไม่ปรากฏเป็นความรู้สึก มนุษย์ยังไม่รู้ตัวว่าเป็นทุกข์ แต่มันจะมีระดับหนึ่ง ที่รู้สึกขึ้นมาเลย
เป็นความไม่สบายเป็นความบีบคั้น ที่เรียกว่าทุกข์นั่นแหละ ที่รู้สึกอย่างเนี่ยะ เรียกว่า ทุกขเวทนา
เป็นทุกข์ขั้นรู้สึก รู้สึกว่าไม่สบายรู้สึกเจ็บปวดรู้สึกบีบคั้น ก็ถ้าไม่มีทุกข์ในอริยสัจ ข้อที่ 2 ทุกข์สำหรับ
มนุษย์ ไอ้ทุกข์ข้อ 3 ก็ไม่มีเหมือนกัน แต่ทีนี้ที่จริงมันมีแค่ทุกข์ในขั้นแค่รู้สึกหรือ เอากันง่ายๆ
คนแขนขาด ขาขาดเนี่ยะ ตอนนั้นถ้าเค้าไม่ได้คิดไม่ได้นึกนะ แล้วในร่างกายเค้าก็ลงตัว เค้าแก้
แผลเผลอไม่มี18:00ขาขาดแขนขาดเค้าไม่รู้สึกเจ็บเลย ถูกไหม ทุกขเวทนาไม่มีแล้วตอนนั้น แต่มัน
เป็นทุกข์หรือเปล่า เป็นนะ เป็นปัญหาของมนุษย์เลย ใช่ไหม หรือแม้แต่โรคเนี่ยะ บางทีร่างกายเรา
อ่อนแออะไรของเราเนี่ยะ มีปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ แต่เวลานั้นเราไม่ได้รู้สึกเจ็บปวด มีไหม แล้วมันเป็น
ทุกข์ไหม ถือว่าเป็นทุกข์ของมนุษย์ก็คือเป็นปัญหาของมนุษย์ ใช่ไหม ตกลงว่า ทุกข์ของมนุษย์นี่
ก็ยังมีแยกได้ระดับที่ออกมาเป็นความรู้สึกชัดนี่ ระดับหนึ่ง ก็เป็นความหมายที่แคบมาก ไอ้ที่ขั้นรู้สึก
แต่ที่จริง ทุกข์มันไม่ได้อยู่รู้สึกเท่านั้นหรอก ทุกข์มันเยอะ มันลึกลงไปอีกใช่ไหม เพราะฉะนั้น ทุกข์ใน
อริยสัจก็จึงเป็นเรื่องรวมเลยสำหรับมนุษย์ แล้วก็จะชัดออกมาก็เป็นเวทนา อย่างคนที่เกิดแขนขาด
ขาขาดแล้วเค้าแผลเค้าไม่มี เค้าไม่เจ็บไม่ปวดไม่มีทุกขเวทนา ทุกขเวทนาทางกายไม่มี แต่ถ้าเค้าคิด
19:00มาเมื่อไหร่ เค้าน้อยเนื้อต่ำใจ เค้าอึดอัดคับแค้นใจทำอะไรไม่ได้ ทุกข์ใจรู้สึกขึ้นมาเลยใช่ไหม
ทุกขเวทนามีขึ้นมาแล้วแต่เป็นทางใจ ถ้าแยกละเอียดเค้าเรียกว่าเป็น โทมนัส แต่ก็คือทุกข์นั่นแหละ
ดังนั้น ไอ้ทุกข์ของมนุษย์เนี่ยะก็จะพร้อมที่จะออกมาเป็น ทุกขเวทนา ความรู้สึกได้เหมือนกัน แต่ว่ามัน
จะออกมาเป็นเวทนา ไม่เป็นเวทนา มันก็เป็นทุกข์ของมันอยู่ เป็นความติดขัด คับข้องอยู่ใช่ไหม
เอาละเป็นอันว่า ขอบเขตความหมาย พอเห็นแล้วนะครับ ทีนี้ย้อนอีกทีหนึ่ง เราย้อนกลับ
คือสรุปว่า ในอริยสัจ 4 เนี่ยะ คือรวมทุกข์ทั้งทางกาย คือทุกข์ที่มีอินทรีย์ตั้งอยู่ด้วย แล้วก็ทุกข์ทางใจ
ด้วยหรือครับ อ๋อ คือทุกข์ 20:00 คือแปลหมายความว่า มันเป็นปัญหาสำหรับมนุษย์
ที่มันเป็นปัญหาขึ้นมา
แต่นี้ ในกรณีที่ว่า เดี๋ยวเราจะต้องไปพูดอีกขั้นหนึ่ง นี้ถ้าเราเกิดมีทุกขเวทนาขึ้นมา ใช่ไหมฮะ ทางกาย
แล้วมันไม่มีอำนาจบังคับ ต่อชีวิตจิตใจของเรา จิตใจของเราไม่พลอยเกิดปัญหาขึ้นมา มันก็กลายเป็น
พ้นทุกข์ได้ อันนี้อีกระดับหนึ่ง ตอนนี้เราพูดกันในระดับที่ว่าแยกความหมายก่อน เอาแค่แยก
ความหมาย เพราะพระอรหันต์ท่านก็มีทุกข์กาย เจ็บกาย ต้องว่าเป็นขั้นๆ ก่อน เอาละเป็นความกว้าง
ความแคบนะ ทุกข์ในไตรลักษณ์ ก็แปลว่า เป็นทุกข์ในธรรมชาติตามธรรมดาของมัน กว้างที่สุด
ครอบคลุมหมด แล้วก็มาทุกข์ในอริยสัจ ก็เป็นทุกข์ที่เกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์ เนี่ยะมันจะเกิดเป็น
ปัญหาหรือไม่เป็นปัญหา 21:00 ทีนี้ สำหรับบางคนมันเป็นปัญหา บางคนมันไม่เป็น ทีนี้ ก็ 3 ทุกข์ที่
เกิดมาเป็นความรู้สึกขึ้นมา ในตัวคนนั้นอีกทีหนึ่ง นี้เราพูดความหมายในแง่ความกว้างแคบ ทีนี้ต่อไป
ไปพูดอีกแง่หนึ่ง พูดในแง่ของระดับแห่งสำนึกของคน ระดับแห่งสำนึกของคนต่อเรื่องทุกข์เนี่ยะนะ
ถ้าพูดจากระดับความสำนึกนี้ จะพูดได้ว่า เริ่มจากเวทนา ใช่ไหม เพราะว่า มนุษย์จะสำนึกในแง่ของ
ความรู้สึก ที่มันเจ็บปวดทุกข์สบาย ไม่สบายนี้ก่อน ใช่ไหมฮะ แล้วจากนั้นเขาจึงจะเข้าใจลึกขึ้นไป
ถ้าเค้าไม่สามารถวิเคราะห์ ไม่มีปัญญา ไม่ได้รับคำอธิบาย เค้าก็อยู่แค่ทุกขเวทนา ความสุข 22:00
เนี่ยะในระดับสำนึกก็คือ เริ่มด้วยทุกขเวทนา ความรู้สึกเจ็บปวด ทีนี้ต่อไปก็คือว่า ที่มีทุกขเวทนา
ที่เป็นความรู้สึกเนี่ยะนะ ก็อย่างที่บอกแล้วว่า เพราะว่า มันมีทุกข์ที่เกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์ ซึ่งจะ
เป็นปัญหาขึ้นมา ก็มีทุกข์กายทุกข์ใจ อะไรเนี่ยะนะ ก็แล้วแต่ว่า ตอนนี้อยู่ที่ความซับซ้อนยิ่งขึ้น
ในการที่ว่าจะพัฒนามนุษย์ มีปัญญาเข้าใจ ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายต่อชีวิตของตนเอง ต่อสิ่งแวดล้อม
อย่างไร ถ้าปฏิบัติไม่ถูก วางใจไม่ถูก ก็เกิดเป็นปัญหาขึ้นกับตัวเอง เวทนานี้ก็ออกในระดับที่ว่า
หนึ่ง ในแง่ของร่างกาย ในด้านวัตถุ ก็เป็นเรื่องที่ว่า เมื่อเป็นชีวิตมนุษย์ขึ้นแล้ว 23:00 มีการกระทบ
กระทั่ง ก็มีการเจ็บปวด เค้าเรียกว่า ทุกขเวทนาทางกาย อันนี้ก็จะเป็นเรื่องธรรมดาที่มีกันได้ทุกคน
นี้ว่า ต่อไปก็คือว่า สำหรับมนุษย์เนี่ยะ มันไม่ได้จบเท่านี้ มนุษย์ไม่ใช่เป็นแค่วัตถุ ที่เกิดความรู้สึก
ที่มีชีวิตขึ้นมา แต่ว่ามันจะมีปัญหาเรื่องความรู้จักคิด การมีปมเรื่องของการปรุงแต่งสภาพจิต ที่
เรียกว่า สังขาร อะไรต่างๆ ข้างใน ซึ่งตรงนี้แหละ เมื่อมันมีเชื้อปัญหาขึ้นมาแล้ว มันก็จะทำให้
ให้สิ่งต่างๆ ที่ตัวเข้าไปเกี่ยวข้องเนี่ยะ ถ้าปฏิบัติไม่ถูกวางใจไม่ถูก อะไรต่ออะไร ก็เกิดเป็นปัญหา
ขึ้นมากับตัวเอง แล้วก็เกิดความรู้สึก ตรงนี้จะมีปัญหาเรื่องที่เรียกว่า ทุกข์ทางด้านจิตใจนี้มาก 24:00
มีพุทธพจน์ตรัสที่บอกว่า เหมือนอย่างนายขมังธนู หรือคนยิงลูกศร ยิงไปถูก แล้วก็คนหนึ่งก็เจ็บ
แต่กายอย่างเดียว แต่อีกคนหนึ่งนั้น เจ็บกายแล้วยังเจ็บเข้าไปในใจด้วย ก็หมายความว่า ถูก 2 ลูก
ลูกศร 2 ดอก ถูกเจ็บ 2 ชั้น อันนี้ก็คือว่า เรื่องทุกขเวทนาที่มันเป็นปัญหาที่สืบเนื่อง มาเป็นปัญหาของ
มนุษย์ในทุกข์อริยสัจ ซึ่งสัมพันธ์ต่อกัน แต่ว่ารวมความก็คือ มันมีทุกข์ในอริยสัจนี่เป็นปมอยู่ 25:00
ที่ว่า สิ่งทั้งหลายเนี่ยะมันมีศักยภาพที่จะเกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์ได้ ในเมื่อเรามีเชื้อ เค้าเรียกว่า
เชื้อกิเลส หรือความไม่รู้ไม่เข้าใจ ที่จะไม่รู้เท่าทัน วางใจไม่ถูก ปฏิบัติต่อมันไม่ถูก ทีนี้ที่ปฏิบัติไม่ถูก
ก็เพราะอะไร ก็เพราะว่าสิ่งทั้งหลาย มันเป็นสภาวะตามธรรมชาติที่เป็นทุกข์ไม่เที่ยง คงอยู่อย่างเดิม
ไม่ได้ มีความแปรปรวนไป ใช่ไหม แล้วมันก็มามีปัญหาแก่มนุษย์นี่แหละ แล้วมนุษย์ก็วางใจไม่ถูก
มันก็เกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์ขึ้นเอง งั้นตกลงในที่สุดแล้ว การที่เกิดเป็นทุกข์แก่มนุษย์นั้น ในระดับ
สำนึกท้ายที่สุดลงไปก็คือ ต้องไปถึงทุกข์ที่เป็นสภาวะตามธรรมชาติ อันนี้ก็คือ ตราบใดที่ทุกข์ที่เป็น
สภาวะในธรรมชาติมันมีอยู่ 26:00 มันก็ย่อมเป็นปมที่สามารถก่อให้เกิดปัญหาแก่มนุษย์ได้ตลอดไป
เป็นแต่เพียงว่า มนุษย์เองนั่นแหละจะต้องรู้เท่าทันและปฏิบัติต่อมันให้ถูก เมื่อปฏิบัติต่อมันถูกต้อง
ตัวเองก็ ท่านเรียกว่า พ้นทุกข์ ก็อย่างสำคัญก็คือ มีปัญญารู้เข้าใจเท่าทันความจริง ก็ในระดับร่างกาย
ก็เป็นอันว่า ร่างกายก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย มันก็ถูกกระทบกระเทือนขัดแย้ง มันเป็นเรื่องของ
ธรรมชาติของชีวิต ที่จะมีการเจ็บปวดมีการทิ่มแทง เพราะฉะนั้นก็ทุกขเวทนาก็ย่อมเกิด ก็อย่างในแง่
ของทุกข์กาย ก็พระอรหันต์ก็ยังต้องเจ็บอยู่ เข้าใจนะฮะ แต่ว่าก็ไม่มีปมที่จะเกิดเป็นทุกข์ใจขึ้นมา
แต่ที่นี้ว่า สำหรับมนุษย์ปุถุชน แม้แต่สิ่งที่ไม่น่าทุกข์ ก็จะเกิดเป็นทุกข์ขึ้นมา 27:00 แม้แต่ว่า ไม่มี
ทุกขเวทนาแกก็ทำให้มีทุกข์ขึ้นมาได้ ทุกข์ตอนนี้ละจะไม่รู้จักจบ ไม่รู้จักจบสิ้น ก็แปลว่า ทุกข์ในแง่
สำนึกของมนุษย์ก็เป็น 3 ระดับ 1 เป็นทุกขเวทนา เรื่องของทุกข์ที่ออกมาเป็นความรู้สึก แล้วก็ 2
ระดับของทุกขอริยสัจ ที่มันเป็นเรื่องของปัญหาของมนุษย์ แล้วทั้งหมดนั้น ลึกลงไปก็คือทั้งหมดนั้น
มันมีภาวะเป็นความจริงอยู่ในธรรมชาติ ที่มันทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่จะเกิดเป็นทุกข์ขึ้น ???
ทุกข์กายเป็นทุกขอริยสัจใช่ไหมฮะ ใช่ถือว่าทุกข์ ไม่เป็นทุกขอริยสัจ คือพ้นจากทุกข์ในอริยสัจเลย
ก็เพราะว่า ไม่มีตัณหาไม่มีอุปาทาน 28:00 ก็ถือว่าพ้นทุกข์นั้นๆ ก็เป็นทุกข์ตามธรรมดาของชีวิต
ที่มันเป็นสภาพร่างกายที่มันมีประสาท มันมีเส้นประสาทที่จะรับความรู้สึกแล้วมันถูกกระทบ
มันทิ่มแทง มันก็เกิดความรู้สึกนั้นขึ้น ก็หมายความมันไม่เป็นปมของมนุษย์ ที่จริงมันเป็นเพียง
สภาวะตามอะไรเรียกว่า จะเรียกไปก็เป็นพีชนิยาม ใช่ไหม มันไม่ใช่กรรมนิยาม พีชนิยามก็คือเรื่อง
ของพืชพันธุ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติของชีวิตของสัตว์ ใช่ไหม ในเมื่อมันมีพันธุ์เป็นชีวิตอย่างนี้
มันก็มีเส้นประสาทเป็นต้น ที่จะรับความรู้สึก มันถูกกระทบอย่างนี้ มันจะเกิดความรู้สึกเจ็บปวด
เป็นธรรมดาไป ก็ทุกขเวทนาในแง่กาย ก็เป็นอันว่า มีไปตามธรรมชาติในระดับหนึ่ง ก็ไม่ถือเป็นทุกข์
ถ้าจะใช้ศัพท์แบบที่พูดว่าแยก เราก็ไม่ถือเป็นทุกข์ของมนุษย์ด้วยซ้ำ 29:00 เป็นทุกข์ตามสภาวะของ
ชีวิตในระดับ แต่ว่าไม่ใช่ทุกข์ในข้อไตรลักษณ์นะฮะ เพราะอ้ายเจ้านี่ มันก็ทุกขเวทนาก็ตาม สุขเวทนา
ก็ตาม มันก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หมด ดูเหมือนว่า ทุกข์ในอริยสัจ นี่คือหมายถึง ทุกข์ที่เป็น เป็น
ภาวะความรู้สึกที่ไปยึดครองหรือเปล่าครับ คือที่เกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์ขึ้นได้ จากการที่ไปมีความ
ยึดติดถือมั่นด้วยอุปาทานอันเกิดจากตัณหา แล้วก็มีมูลจากอวิชชาความไม่รู้ นี่หมายความว่า
ถ้าว่าให้ครบก็ต้องลงไปถึงอวิชชา การที่จะมีตัณหาอุปาทาน ก็เพราะว่ามีอวิชชา เพราะฉะนั้นเวลาพูด
ถึงสมุทัยที่เป็นเหตุของทุกข์ จะพูดแบบง่าย 30:00 เคยใช้คำว่า พูดถึงตัวกระบวนการหน้าโรง ก็เอา
ตัณหามาเป็นตัวสมุทัย แต่เวลาพระพุทธเจ้าตรัสเต็มกระบวนนะ จะตรัสไปถึงปฏิจจสมุปบาท
เวลาตรัสแบบปฏิจจสมุปบาท จะลงไปที่อวิชชา ไม่ได้หยุดแค่ตัณหา เพราะฉะนั้น วิธีตรัสสมุทัยก็จะมี
2 แบบ แบบง่ายๆ แบบสั้นก็บอกว่า ตัณหา ถ้าแบบว่าเต็มกระบวน ก็จะว่าไป ตามระบบเหตุปัจจัย
ไปเลย จนกระทั่งไปถึงอวิชชา ??? ไปเรื่อย อันนี้ก็ ข้อสำคัญก็คือ มนุษย์เนี่ยะเมื่อมันมีปมในใจอย่างนี้
แล้ว มันจะทำให้เรื่องของปัญหาที่เรียกว่า ทุกข์ เนี่ยะ มันมีความซับซ้อนมากขึ้น 31:00 วุ่นวาย
จากชีวิตของตัว ออกไปสู่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม โลกฤกษ์ ปั่นป่วนวุ่ยวายไปหมด
ก็หมายความว่า
ที่เป็นอยู่ปัจจุบันเนี่ยะ ที่ปัญหาทุกอย่าง ก็คือเรื่องทุกข์นี่แหละ พยายาม มนุษย์หาทางดับทุกข์หรือ
ปฏิบัติต่อทุกข์ไม่ถูกต้อง ใช่ไหม ก็ยิ่งกลายเป็นซ้ำเติม หมักหมมปัญหา ทำปัญหาหรือทุกข์ให้รุนแรง
ยิ่งขึ้น พอเข้าใจนะ ประเด็นนี้ คงเข้าใจในระดับหนึ่งแล้วครับ อย่างน้อยๆ ก็ให้แยกได้ก่อน 1
แยกความกว้างความแคบของความหมาย 3 หมวดธรรมนี้ 2 ก็ความสัมพันธ์ระหว่างทุกข์ใน 3
หมวดธรรมนี้ การที่เราจะมุ่งไปสู่การดับทุกข์ ??? คือมุ่งดับที่ทุกข์ในตัวอริยสัจ เลยหรือ ต้องมุ่งไปลด
หรือมุ่งไปที่ทุกข์ในแง่ไหนครับผม 32:00 อ๋อ ทุกข์ในธรรมชาติ เราไปแก้อะไรมันไม่ได้ ข้อที่ 1
ไตรลักษณ์ มันเป็นสภาวะธรรม ธรรมชาติของมัน ที่สิ่งทั้งหลายมันเกิดดับ ที่เรียกว่า เป็นอนิจจัง
แล้วมันก็คงที่ คงทนอยู่ถาวรไม่ได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัยอะไรเนี่ยะ มันก็เป็นไปตามธรรมดาของมัน
ไม่มีใครไปแก้ไขมันได้ ถ้ามันยังเป็นสังฆตธรรมอยู่ มันก็เป็นอย่างนั้น ทีนี้ทุกข์ที่แก้ก็คือ ทุกข์ใน
อริยสัจ ไม่ใช่แก้ หมายความว่า ท่านให้มีหน้าที่กำหนดรู้ รู้ทันมัน แล้วก็ไปดับที่ สมุทัย แล้วก็ทำให้
ทุกข์ไม่เกิดขึ้น บางทีก็ใช้คำว่า ดับทุกข์ แต่ที่จริงนั้น เวลาแปลจริงๆ ท่านจะอธิบาย นิโรธ หมายถึง
การไม่เกิดขึ้น 33:00 หมายความว่า เมื่อเราได้พัฒนาจิตใจพัฒนาปัญญาไปถึงขั้นนี้แล้วเนี่ยะ
ทุกข์มันไม่เกิดขึ้น ไม่ใช่ว่า ดับทุกข์ ก็ต้องคอย มีทุกข์แล้วก็ดับ มีทุกข์แล้วก็ดับ สิใช่ไหม มันกลาย
เป็นว่า นิโรธที่แท้ ก็คือ การไม่เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะว่ามันมีปัญญา มีจิตใจที่พัฒนาอย่างดีแล้ว
จนกระทั่งว่า ทุกข์มันไม่เกิด ก็ถ้าแปลให้ตรงมากขึ้น ก็การไม่เกิดขึ้นในทุกข์ ทีนี้ปมปัญหาของมนุษย์
มันเกิดจากว่า พอมีปัญหาขึ้นในจิตใจ ซึ่งมาจากอ้ายตัว เชื้อ ได้แก่ พวกกิเลสอะไรต่างๆ พอมันก่อ
ปมขึ้นมา มันก็เริ่มทำงาน พอทำงานออกมาแล้ว 34:00 ก็คือว่า การแก้ปัญหาการปฏิบัติต่อสิ่ง
ทั้งหลาย มันไม่เป็นไปตามที่มันควรจะเป็น มันก็เริ่มวิปริตผันแปร เฉไฉ มันก็ยุ่ง ความยุ่งก็เริ่มเกิดขึ้น
ใช่ไหม พอออกไปสู่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ การปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ มันก็วุ่นวายหมด
มันก็เสียตั้งแต่นี้ไป ในจุดนี้ เป็นจุดที่ยากที่สุดสำหรับมนุษย์ที่จะแก้ไข มันก็เลยเป็นปม ที่ทำให้
มนุษย์แก้ปัญหากันไม่ได้ แก้ปัญหาชีวิตก็ไม่ได้ แก้ปัญหาสังคมก็ไม่ได้ มีแต่ว่าแก้แล้วหนักเข้าไป
ทุกที อย่างตอนนี้แก้ปัญหาโลกเป็นไงบ้าง ยิ่งแก้ยิ่งจะพัง ก็แก้ก็ต้องทำลายกันพินาศวอดวาย
ตอนนี้นะ ตอนนี้แก้ด้วยการทำลาย ทำไงจะให้อีกฝ่ายทำลายวายวอด แล้วมันจะไปยังไงเนี่ยะ 35:00
จะลงเอยท่าไหน มันก็ยอมกันไม่ได้อีกแหละ ก็เลยมนุษย์ก็หาทางยุติ จบไม่ลง เหมือนกับมันของง่ายๆ
นะเรื่องของมนุษย์เนี่ยะ ว่าไปนะ มองดูก็ มันก็พูดง่ายทำยาก ก็ผู้แก้ปัญหาบอกว่า ทำงั้นสิทำงี้สิ ได้
แต่เวลาทำจริง มันไม่ได้ อะ นิมนต์ อยากจะถามอีกสักนิดนึงว่า จิตของเราตอนที่เป็นทุกข์เนี่ยะ เป็น
ตัวโทษะ ได้ตัวเดียวเลยใช่หรือเปล่าครับ เพราะว่าตัวอื่นเนี่ยะ โลภะกับโมหะ จะมีโทมนัสกับอุเบกขา
แต่ว่า โทษะ จะเป็นตัว โทมนัส เพราะฉะนั้นตอนที่เราเป็นทุกข์เนี่ยะ ก็จะเป็นตัว โทษะ อย่างเดียวเลย
หรือเปล่าครับ อ๋อ คือ อ้ายนั่นเป็นเวทนาที่ประกอบอยู่ใช่ไหม ไปประกอบกับคือ โทษะ แต่ว่า คือมัน
เป็นเหตุปัจจัย อ้ายคำ36:00ทุกข์ในที่นั้น คือ ทุกขเวทนาที่บอกว่า โทษะ แล้วประกอบด้วย ทุกขเวทนา
ทุกข์ในที่นั้น ไม่ใช่ทุกข์ในอริยสัจ แต่ทุกข์ในอริยสัจ มันก็เกิดของมันอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น
ตราบใด ที่มันมีโลภะ โทษะ มันก็มีทุกข์ในอริยสัจ แล้วที่แท้ก็คือมูลที่แท้คือ โมหะ อวิชชา ทีนี้ โทษะ
นั้นหมายความว่าเวลาออกแสดง เหมือนกับว่ามันออกโรงแสดงบทบาทออกมาเนี่ยะ อ้ายตัวความรู้สึก
หรือเวทนาที่ประกอบอยู่ด้วยกับโทษะ จะเป็นทุกขเวทนา อันนั้นเป็นเรื่องเวทนาแต่ไม่ใช่กว้างเท่า
ทุกข์ในอริยสัจ ปมที่ว่านี้ เราหมายถึงทุกข์ในอริยสัจ ที่มันจะเกิดเป็นปัญหา ทำให้จิตใจขุ่นมัวเศร้า
หมองอะไรต่างๆ เหล่านี้นะ37:00ก็ไม่ ไม่จำเป็นต้องรู้สึกเจ็บปวดออกมาแบบนั้น
ในแง่ของ อาจจะเป็นเชิงหลักการนะครับ ได้สนทนากับท่านอาจารย์ปัญญาวโร ครับ ท่านก็ฝากถาม
มาว่า ตัวที่สรุปทุกข์นั้น ท่านสรุปว่า เป็นตัวอุปาทานในขรรค์ 5 หรือครับ ถ้าจะอธิบายโดยสภาวะแล้ว
เนี่ยะ ตัวทุกข์นั้นคือ ในรูปที่โดนยึดครองหรือการที่เข้าไปยึดครองรูป คือตัวทุกข์กันแน่ครับ
อ๋อ อันนี้คือ ตอนนี้ท่านว่า อุปาทานขรรค์เนี่ยะ เป็นทุกข์ใช่ไหม ก็เลยท่านแยกเป็น ขรรค์เฉยๆ กับ
อุปาทานขรรค์ ก็หมายความว่า38:00 ขรรค์ที่มันยังประกอบด้วยอุปาทาน เป็นทุกข์ คำว่าเป็นทุกข์
ในที่นี้ ก็อย่างบอกเมื่อกี้ คือมันสามารถจะออกมาเป็นทุกข์ที่รู้สึก กับเป็นทุกข์ ที่เรียกว่า ศักยภาพ
ในการก่อให้เกิดปัญหา ใช่ไหม ก็เหมือนอย่างนี้ มีข้ออุปมาง่ายๆ เหมือนอย่างกับว่า เราเป็นมนุษย์
เป็นคนเนี่ยะก็มีโรคภัยไข้เจ็บ จริงไหม มีโรคภัยไข้เจ็บ แล้วหมอเนี่ยะจะรักษา เค้าเรียกว่ารักษาโรค ที่
จริงต้องเรียกรักษาคน บำบัดโรคใช่ไหม ใช้บำบัดโรคเนี่ยะ ต้องรู้จักตัวคน อวัยวะ สรีระ ต้องรู้จัก
อวัยวะต่างๆ แบ่งเบิ่ง รู้ว่าอะไรเป็นอะไร 39:00แล้วกลายเป็นว่า ทั้งๆ ที่ว่า วิชาแพทย์ศาสตร์
ที่เรียนเนี่ยะ ต้องการที่จะไปบำบัดโรคให้คนหายโรค เวลาเรียนต้องไปเริ่มเรียนที่อะไรครับ ต้องไปเรียน
กายวิภาค ไปเรียนสรีระวิทยา ถูกไหม เพราะว่าโรคมันอยู่ที่ไหน โรคมันอยู่ที่สรีระ ที่ร่างกายนี่แหละ
ในตัวคนใช่ไหม ความจริงโรคไม่ได้แยกจากคน ถูกไหม ถ้ามันไม่มีตัวคนมีโรคไหม มันก็ไม่มี ถ้าพูด
ในแง่หนึ่ง ก็เหมือนว่า อ้ายตัวคนนี่แหละ สรีระเนี่ยะเป็นที่ตั้งแห่งโรค ถ้าเราจะรักษาชีวิตคนบำบัดโรค
เนี่ยะ ก็คือ ต้องเรียนเรื่องสรีระวิทยา เรียนกายวิภาคก่อน เพราะฉะนั้นวิชาที่เรียนก่อนเลยก็คือนี่ เพราะ
ร่างกายเป็นที่ตั้งของโรค 40:00และถ้าพูดไปในแง่หนึ่งก็คือ อ้ายโรคคืออะไร ก็คือความแปรปรวนของ
ร่างกายบ้าง การบกพร่อง การทรุดโทรม การถูกบ่อนเบียนจากปัจจัยภายในปัจจัยภายนอก การไม่
ทำงานตามปกติของมัน ก็เป็นโรคใช่ไหม ไม่ต้องมีตัวข้างนอกหรอก ไม่ต้องมีเชื้อโรคมาละ ร่างกายมัน
ไม่ทำงานตามปกติ ก็เป็นโรคถูกไหม โรคก็เลยมีเหตุหลายอย่าง แต่รวมแล้วก็คือ โรคที่แท้มันก็คือ
สภาวะที่ไม่เป็นไปตามปกติของร่างกายนี่แหละ ตกลงก็ต้องมาแก้ไข เพราะเวลา เวลาว่าไปแล้ว
ก็เหมือนอย่างเนี่ยะ ก็เหมือนกับว่า ขรรค์ 5 เป็นทุกข์ ก็เหมือนร่างกายมันเป็นโรค พูดแยกได้ไหม
ใช่ไหม เออ จะพูดยังไงอ่ะ ถ้าไม่มีร่างกายนี่มันก็ไม่มีโรค ถ้าไม่มีขันธ์ 5 มันก็ไม่มี 41:00 ร่างกายนี่ก็
ที่มันเป็นโรค อ้าว ถ้าอย่างนั้นร่างกายก็เป็นโรคหมดสิ อ้าว ก็ไม่ใช่ ก็ร่างกายสมบูรณ์ได้ แต่ถ้าไม่มี
ร่างกายก็ไม่เป็นโรค ก็เลยต้องเติมอุปาทานเข้าไป ก็หมายความว่า ร่างกายที่มัน มีความวิปริต
บกพร่องอะไรสักอย่าง ไม่เป็นไปตามปกติ ก็เป็นโรค ใช้คำอย่างนี้พอได้นะ เอาละ นี่แหละเรียกว่า
อุปาทานขรรค์ 5 เป็นทุกข์ ก็คือว่า มันก็จับอยู่ที่เนี่ยะ ขรรค์ 5 มันมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
แต่เราจะไปจับ เวลาเราไปศึกษาแบบสรีระวิทยาเนี่ยะ เราก็เห็นการทำงานของมัน ขรรค์ 5 แล้วเราก็
จะเห็นว่า อ้ายตัวสำคัญอยู่ที่ สังขารเนี่ยะ เจ้าตัวนี้ร้ายมาก ใช่ไหม42:00สังขารขรรค์เนี่ยะ ตัวปรุงแต่ง
อะไรต่างๆ ที่มันเป็นตัวทำงานเนี่ยะ มันอยู่ที่นี่ มีเจตนา เป็นต้นใช่ไหม แล้วเจตนา แล้วก็ยังมีฝ่าย
ตัวประกอบฝ่ายดีฝ่ายร้าย มีโลภะ โทษะ โมหะ ฝ่ายร้าย มีฝ่ายดีมีเมตตา กรุณา ปัญญา เนี่ยะอยู่ที่นี่
และก็อ้ายพวกนี้มาทำงานร่วมกัน ถ้าไม่มีข้อมูลสัญญาณมา อ้ายเจ้าพวกนี้ สังขารก็ไปไม่ได้ใช่ไหม
ไม่มี จะคิดจะพิจารณาอะไร อ้ายโลภะ โทษะ มันจะเอามาอยากมายึดอะไรเนี่ยะ ไม่มีข้อมูลให้มัน
เอามาอยากมายึดมันทำได้ มันก็ไม่ได้ใช่ไหม แล้วถ้ามันไม่มีความรู้สึกมาล่อ มันไม่มีสุขมีทุกข์
มันก็ไม่ไปไหนเหมือนกัน มันก็ไม่มีทางไปของมัน ก็ต้องสัมพันธ์กันหมด ตกลงก็เนี่ยะตัวสำคัญ
ก็เหมือนกับร่างกายเป็นที่ตั้งแห่งโรค อุปาทานขรรค์ ก็เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์หรือปัญหา43:00ก็จัดการ
กับอุปาทานขรรค์ให้ถูก ใช่ไหม ก็เหมือนกับร่างกายสมบูรณ์ไร้โรคไป เมื่อเป็นร่างกายไร้โรคสมบูรณ์
ก็ท่านก็เรียกว่า เป็นสุขอยู่ในตัวที่ว่า อโรคย ความไม่มีโรค ก็เป็นสุขในตัวโดยไม่ต้องไปเสพเวทนา
ไม่ต้องเสพอารมณ์อะไร เป็นสุข เป็นสุขยิ่งใหญ่ด้วยนะ ใช่ไหม สุขอันเนี่ยะ ยิ่งกว่าไปเสพอะไรอีก
เป็นสุขที่มันยืนตัวเลย เป็นประจำ อะ มีอะไรสงสัยอีกบ้าง ถ้าสรุปเปรียบเทียบเมื่อกี้ ก็บอกว่า
ร่างกายนี่ก็พูดถึง ขรรค์ แต่ร่างกายเป็นโรค นี่ก็คือ ขรรค์ที่มีอุปาทาน มีอุปาทาน ก็คล้ายๆ อย่างนั้น
มันสำนวนอาจจะไม่ ไม่ตรงกันเป้ง คล้ายๆ อย่างนั้น อันนี้ คือพูดถึงสภาวะทุกข์เลยนะฮะ เป็นตัวทุกข์
ไม่ใช่ตัวเป็นสาเหตุ44:00ทุกข์มันก็คือ อาการปรากฎแล้วนะ เป็นตัวปรากฎการณ์ ทุกข์เนี่ยะ
ตัวสมุทัยสิ เป็นตัวปมปัญหาใช่ไหม ทุกข์เนี่ยะเป็นผลนะ ในอริยสัจ 4 ถ้าท่านจัดคู่เหตุผล ทุกข์เป็นผล
สมุทัยเป็นเหตุ นิโรธเป็นผล มรรคเป็นเหตุ กลับกันเอาผลก่อนเหตุ แต่ว่าเป็นระบบของเหตุผล แล้วก็
มีเหตุผล เหตุผลREASON เหตุผลอันที่ 1 มันเหตุผลแบบ CAUSE EFFECT เข้าใจไหม ภาษาไทย
นี่ยุ่งนะ ต้องใช้ภาษาอังกฤษเทียบ เป็นเหตุผล 2 คู่ เป็น CAUSE EFFECT 2 คู่ 45:00 ทุกข์เป็น
EFFECT เป็นผล แล้วก็สมุทัยเป็น CAUSE เป็นเหตุ แล้วก็นิโรธเป็นEFFECT เป็นผล แล้วก็มรรคเป็น
CROSS เป็นเหตุ ทีนี้ท่านมี REASON มีเหตุผลในการที่ว่าทำไมเหตุผลมาบอกก่อนเหตุ อันนี้คือ
เหตุผล เข้าใจนะ REASON ไม่ใช่ คือเหตุผลในทางความคิด CAUSE EFFECT คือเหตุผลตาม
ธรรมชาติตามสภาวะ เหตุผลในทางความคิดว่า ทำไมจึงเอาผลก่อนเหตุ ในเทปพระเดชพระคุณได้พูด
ไว้บ้างแล้วครับ พูดแล้วนะ เข้าใจใช่ไหม อันนี้ธรรมดา ก็เหตุผลทั้งแง่ของการปฎิบัติของมนุษย์ แล้วทั้ง
ในแง่ของการสอนถึงจะเข้าใจ คือเป็นหลักการสอนทั่วไปเลยต้องใช้วิธีนี้ ต้องพูดเริ่มที่ปรากฎการณ์ที่
มันแสดงอยู่เห็นอยู่ 46:00 ก็คือ ปรากฎอยู่ก่อน เริ่มจากสิ่งที่ปรากฎ สืบค้นไปหาสิ่งไม่ปรากฎ ใช่ไหม
จากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก ถ้าใครขืนไปสอนสิ่งที่ยังไม่ปรากฎไปหาสิ่งที่ปรากฎ พูดกันไม่รู้เรื่อง แล้วก็
คนเบื่อตาย เพราะฉะนั้น สอนจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก สอนสิ่งที่ปรากฎไปหาสิ่งที่ไม่ปรากฎ แล้วก็
สอนจากสิ่งที่คนสนใจ เกี่ยวข้องกับตัวเขา ไปหาสิ่งที่ยังไม่เกี่ยวข้องหรือเขายังไม่รู้ว่าเกี่ยวข้อง ทุกข์นี่
เค้าเกี่ยวข้อง รู้เลยปัญหาของเขา ฉันทุกข์ฉันเดือนร้อนอยู่ เป็นของปรากฎอยู่ เห็นชัดๆ อยู่ นะต้องเริ่ม
ที่นี่ ใช่ไหม เหมือนอย่างที่เราจะแก้ปัญหาอะไร ต้องเริ่มที่ปัญหาก่อน แล้วเสร็จแล้วทีนี้ก็ไปหาสิ่งที่ยัง
ไม่เห็น แล้วเขายังไม่รู้ว่าเกี่ยวข้อง 47:00 สืบสาวไป ไปหาเหตุ สมุทัย ใช่ไหม ถ้าไปบอกเหตุก่อน
เริ่มต้นไม่ถูก คนไม่รู้เรื่องรู้ราว พูดกันไม่ได้ อันนี้เป็นหลักการพูดการสอน แล้วการปฏิบัติด้วยในการที่
จะแก้ปัญหา มันก็ต้องเริ่มอย่างนี้ เริ่มจากปัญหา แล้วก็พอคุณรู้ปัญหาแล้ว กำหนดให้ถูก ปัญหามัน
อยู่ที่ไหน เกิดขึ้นกับอะไร อยู่ในขอบเขตอะไร อันนี้เค้าเรียกกำหนดรู้ทุกข์ เพราะฉะนั้น ทุกข์คือปัญหา
เรามีหน้าที่ปริญญา เราไม่มีหน้าที่เป็นทุกข์ ถ้าใครไปเป็นทุกข์ ก็ถือว่าปฏิบัติผิด คือคนไม่รู้จัก
พุทธศาสนา นี่จะแปลกใจ เอ๊ะ พุทธศานาอยู่ๆ เริ่มปั๊ปก็ทุกข์เลย เอ้า ก็มันเป็นธรรมดาของมนุษย์
จะปฏิบัติแก้ไขปัญหามันก็ต้องเริ่มที่นี่ ท่านสอนไปตามหลักการแท้ๆ เลย แล้วมันเป็นความจริง
แต่ว่า ท่านบอกหน้าที่เสร็จนะ 48:00 หน้าที่ต่อทุกข์ คือปริญญา รู้เข้าใจมันตามเป็นจริง รู้เท่าทันมัน
ถ้าใครไปปฏิบัติต่อทุกข์ โดยเป็นทุกข์ แสดงว่าคนนั้นปฏิบัติผิด พุทธศาสนาไม่ได้สอนทุกข์เพื่อให้
เป็นทุกข์ สอนทุกข์เพื่อจะได้ให้พ้นทุกข์ แต่ว่าจะต้องปฏิบัติให้ถูก ก็เริ่มด้วยทุกข์ เป็นผล เป็น
ปรากฏการณ์ เป็นสิ่งที่ปรากฎ เป็นสิ่งที่พบที่เห็นได้ง่าย เข้าใจสนใจเกี่ยวข้องกับเรา เสร็จแล้วก็
สืบสาวไปหาสมุทัย ตัวปมปัญหาเชื้อของมัน มูลเหตุเป็นไง ใช่ไหม จับให้ได้ชัด แล้วก็มีหน้าที่ต่อ
จากอ้ายเจ้าสมุทัย นี้คือปหานะกำจัด กำจัดทำให้หมดหายไป ละ ละลายไป จะไปทำลายเฉยๆ ไม่ได้
มันต้องมีวิธีการ ก่อนที่เอาละจับได้ละ รู้ว่าเราจะต้องกำจัดมันละ จับให้ได้ก่อน ทีนี้ก็วางเป้าหมาย
49:00 จุดหมายของเราคืออะไร จุดหมายเนี่ยะก็คือที่จะต้องทำให้สำเร็จ เค้าเรียกว่าเรามีหน้าที่ต่อมัน
ก็คือ สัจฉิกิริยา ทำให้สำเร็จหรือว่าประจักษ์แจ้งทำให้เป็นจริง ก็กำหนดเป้าหมายว่า เรื่องนี้การแก้
ปัญหานี่ จะทำให้เกิดผลดีแล้ว มันจะมีสภาพอย่างนี้ ภาวะที่แก้ปัญหาได้จะดีอย่างนั้นอย่างนี้ ว่าไป
เช่น เป็นความสันติเป็นความสงบ เป็นความที่ว่าสดชื่นเบิกบานอะไรก็แล้วแต่นะ หรืออย่างที่เคย
พูดบ่อยๆ อย่างที่พวกแก้ปัญหาสังคมตอนนั้นเค้าบอกว่า จะได้ฟ้าทองผ่องอำไพ เค้าว่าอย่างนั้น
นี่เค้าเรียกว่า พวกเล็งนิโรธ 50:00 ก็ เล็งนิโรธ ก็วางจุดหมาย รู้ว่าจะทำได้แค่ไหน วางให้ชัด เสร็จแล้ว
พอรู้จุดหมาย สัมพันธ์กับสิ่งที่ต้องกำจัด ตอนนี้ละครับ วางวิธีการได้เลย วางวิธีการวางวิธีปฏิบัติ
ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง มีขั้นตอนอย่างไร มีรายละเอียดอย่างไร ตอนนี้วาง ก็จะเห็นความสัมพันธ์
ระหว่างว่า อ้อ ตัวปัญหานี่ เราจะทำให้หมดไปได้ด้วยการกำจัดตัวการตัวเหตุอันนี้ แล้วจะบรรลุ
จุดหมายนี้ได้ เนี่ยะๆ ตอนนี้ต้องรู้หมดเลยนะ ถ้าบรรลุจุดหมาย ต้องทำตามอย่างนี้อย่างนี้ มีขั้นตอน
อย่างนี้อย่างนี้ ใช่ไหม พอวางวิธี กระบวนวิธีปฏิบัติ เรียกว่า กระบวนวิธีปฏิบัติ ก็คือ มรรค ทีนี้ต้อง
ลงมือทำ นี่คือหน้าที่ ตกลงทั้ง 4 ข้อเนี่ยะ มาลงมือทำข้อสุดท้าย เราไม่ได้ไปละ สมุทัย เค้ามาเฉยๆ
ไม่ใช่อยู่ๆ ไปละมัน ต้องไปปฏิบัติตามกระบวนวิถี 51:00 แล้วอ้ายข้อ 1 2 3 เสร็จเอง ทำตามข้อ 4
อย่างเดียวนะ เวลาทำทำตามข้อ 4 ข้อเดียว วิธีปฏิบัติขั้นตอนยังไง รายละเอียดยังไง ทำไปตามนั้น
แล้วมันจะเป็นการกำจัดสมุทัย ตัวต้นเหตุไปด้วย แล้วก็จะเป็นการทำให้ตัวปัญหาหมดไปเอง แล้วก็
จะบรรลุจุดหมายไปเองด้วยอันที่ 4 อันเดียว เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราลงมือทำอันสุดท้ายอันเดียว
แต่ถ้า 3 อันนี่ไม่รู้ไม่เข้าใจ ไม่เอาเข้ามาคำนึง ข้อ 4 ก็เกิดไม่ได้ เข้าใจใช่ไหม นี่คือระบบ ระบบการแก้
ปัญหา เพราะฉะนั้นก็ ท่านก็บอกหน้าที่ไว้เสร็จ 1 ทุกข์ ภาษาพระเรียกว่า ปริญญา ที่เราเรียนได้
ปริญญา ที่ให้รู้เรื่อง เพราะเป็นหน้าที่ต่อทุกข์ 52:00 ปริญญา พอรู้เรื่องปัญหารู้เข้าใจสภาวะของ
สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ แล้วก็ แต่ที่จริงมันต้องให้ครบทั้ง 4 ข้อแหละ แล้วก็ 2 สมุทัย ตัวต้นตอสาเหตุ
ก็ต้อง ปหานะ ทำให้สิ้นไป ละ กำจัด แล้วก็ 3 ก็นิโรธ จุดหมายภาวะไร้ทุกข์ การไม่เกิดขึ้นแห่งทุกข์
การไม่เกิดขึ้นแห่งปัญหา อันนี้เป็นจุดหมาย อันนี้ต้องทำให้สำเร็จ ทำให้ประจักษ์แจ้งทำให้เป็นจริง
นี่หน้าที่ เรียกว่า สัจฉิกิริยา แล้วต่อไปข้อสุดท้าย ก็การปฏิบัติเรียกว่า มรรค ข้อปฏิบัติ ขั้นตอน วิถี
ทาง รายละเอียดอะไรๆ ต่างๆ อย่างเช่นรักษาคนไข้ ก็จะให้ยาอะไรที่จะผ่าตัด แล้วก็คนไข้จะต้อง
ปฏิบัติตัวยังไงยังไง กินยาวันละเท่าไหร่ ตอนนี้ผ่าตัดแล้วห้ามถูกน้ำหรืออะไรก็ว่าไป 53:00 อย่างนี้
เป็นต้นนะ นี่ก็ มรรค ทั้งนั้น ก็ มรรค ก็ปฏิบัติไปตามนี้ แล้วสุดนะ อ้าย 3 ข้อนั่นสำเร็จเอง ก็เรียกว่า
ภาวนา ข้อที่ 4 หน้าที่ ก็ต้องรู้จักอริยสัจ แล้วก็ปฏิบัติหน้าที่ต่อมันให้ถูก เพราะฉะนั้น เราจะได้ผลสิ่ง
ที่เราต้องการเป็นจุดหมาย ก็เป็นข้อนิโรธ คือการที่ว่า การไม่เกิดขึ้นของปัญหา ก็เป็นวิธีสอนที่ว่าใช้ได้
ทุกยุคทุกสมัย เวลานี้สอนก็ต้องอย่างนี้ ใช่ไหม แล้ววิธีจัดการกับเรื่องราวต่างๆ ก็ต้องใช้วิธีนี้
ถึงได้บอกไว้ อย่างท่านที่อ่าน จารึกบุญ ท่านธรรมสิทธิโธ ได้อ่านแล้วใช่ไหม ก็เนี่ยะ ก็บอกแม้แต่
พวกปลุกระดมก็ต้องใช้วิธีอริยสัจ เค้าจะต้องบรรยายปัญหาก่อนเลย 54:00 เริ่มต้น โอย สังคมยุคนี้
มันเลวร้ายอย่างนี้ ปัญหามัน โอย พรรณณาให้มันน่าเกลียดน่าชังที่สุดเลย เลวร้ายเหลือเกินใช่ไหม
คนก็เห็นจริงเห็นจัง โอย แย่แล้วๆๆ พรรณาไป พอเห็นทุกข์แล้วใช่ไหม เอาละ สนใจ ที่นี้ก็สืบสาวหา
ตัวการ ก็ชี้ไปที่ตัวการ อ้ายเจ้านี่พวกนี้ อ้ายตัวการตัวร้าย ทำให้เกิดปัญหานี่ใช่ไหม นี่ ชี้ตัวการ
ชี้ตัวการได้ก็บอก สมุทัย ก็ทำไง ต้องกำจัดใช่ไหม จะกำจัดได้ยังไง คราวนี้ ก็บอกถ้ากำจัดพวกนี้ได้
ละนะ มันจะหมดปัญหา ฟ้าสีทองผ่องอำไพ ว่างั้นนะ สังคมจะศรีวิไล งดงามอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วคน
จะเสมอกัน 55:00 เท่าเทียมไม่มีคนยากจน ไม่มีอะไรว่าไปบรรยายไป เรียกว่าสังคมนี้สดใสดีอย่างยิ่ง
เลย นี่ก็คือพรรณนาพูดถึงนิโรธ ตั้งจุดหมายเล็งจุดหมายไว้ คนก็ วุ้ย ตอนนี้อยากไปจังเลย พอถึงขั้นนี้
ก็เต็มแก่แล้วว่างั้นเถอะ ใจพร้อมแล้ว ก็แจกแจงวิธีการบอกว่า ต้องทำอย่างนี้ๆ ๆ ทีนี่จะยากจะอะไร
ก็เอา ถ้าไปบอกวิธีปฏิบัติว่า คุณจะต้องทำอะไรก่อน ละก็คนไม่เอาด้วยละครับ มันเหนื่อย ยากใช่ไหม
พอไปเจอว่ายาก ต้องไปทำอะไร คนไม่เอาหรอกครับ แต่ถ้ามันได้ 1 2 3 เสร็จแล้วไปตามขั้นตอน ทีนี้
ข้อ 4 มันจะยากยังไง แหม บางทีต้องพลีชีพยังสู้เลยใช่ไหม เนี่ยะขนาดนี้พลีชีพยังเอาเลย
ต้องปฏิบัติการอย่างนี้ๆ ตอนนี้เต็มที่เลย ได้ข้อมรรคมาละ 56:00 ข้อที่ 4 นั่นพวกปลุกระดมก็ต้อง
วิธีการนี้ เป็นวิธีที่ที่เรียกว่าใช้มากี่พันปี ก็ยังอยู่อย่างนี้ ก็เป็นหลักการที่สอดคล้องกับความเป็นจริง
แล้วตกลงอริยสัจก็อย่างนี้ เราเข้าใจไว้นะ เป็นเรื่องสำคัญมาก เป็นวิธีปฏิบัติของที่มนุษย์ค้นพบและ
นำมาใช้ได้ผล ไม่ต้องไปรอให้เทพเจ้าบันดาล หมายความว่า พระพุทธเจ้ามาประกาศอิสระภาพแก่
มนุษย์ สมัยก่อนเนี่ย มนุษย์จะแก้ปัญหาจะอะไรก็ต้องรออำนาจเทพเจ้า ใช่ไหม ไปบวงสรวงดล
บันดาลก็คือบูชายันต์ ก็บูชายันต์กันเรื่อยมา พระพุทธเจ้าก็มา บอกว่าไม่ต้องไปบูชายันต์ ให้มนุษย์
รู้ความจริงของธรรมชาติ ความเป็นเหตุเป็นผลในสิ่งทั้งหลาย 57:00 ความสัมพันธ์ในทางเหตุปัจจัย
อะไรต่างๆ ให้เห็นระบบอริยสัจ ความเป็นเหตุในปัจจัยธรรมชาติ ก็เนี่ยะเรื่องไตรลักษณ์
เรื่องปฏิจจสมุปบาท อะไรพวกเนี่ยะนะ แล้วทีนี้ จะมาวางระบบเหตุผลในสังคมมนุษย์ที่จะปฏิบัติได้
ก็มาวางเป็นอริยสัจ อริยสัจนี่ก็คือการเชื่อมต่อจากหลักความจริงในธรรมชาติ มาสู่หลักสำหรับ
มนุษย์ที่จะมาใช้ได้ในชีวิตจริง เพราะว่าถ้าจะเอาในความจริงตามธรรมชาติ ก็ไปชี้ตัวสภาวะแห้งแล้ง
แบบที่ว่า อย่างปฏิจจสมุปบาท ยาก ปัญญาคนทั่วไปไม่ถึง เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าตอนแรกที่ตรัสรู้
พอปรารภธรรมที่ตรัสรู้ว่า ธรรมที่ตรัสรู้นี่ รู้ตามได้ยาก ???ธุรนุโภธา58:00
พระองค์ก็มีพระทัยโน้มไปใน
ทางที่จะไม่แสดงธรรม ไม่ใช่ท้อ เรามาแปลคำว่าท้อ พระพุทธเจ้าไม่ได้ท้อ แต่พระองค์เห็นว่า คนมัน
จะไม่เข้าใจ ความจริงในธรรมชาติ ระบบเหตุปัจจัย ต่างๆ เนี่ยะ ความเป็นนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น คนจะไม่เข้าใจ โน้มพระทัยไปทางที่จะไม่ไปสอน ก็เลยว่า แต่ถึงยังไงก็มี
พระเมตตา ก็เห็นว่าถึงไงมันก็ต้องมีคนที่พอจะพูดกันรู้เรื่อง แล้วก็พระองค์ก็มาจัดในรูปที่มันจะสื่อสาร
พูดกันง่าย ก็จัดมาในรูปอริยสัจนี่แหละ ก็คือเอาหลักเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท แล้วก็เรื่องนิพพาน ตอนที่
พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราตรัสรู้สิ่งนี้ แล้วมันยากที่จะรู้ตาม ตอนนั้นจะตรัสกล่าวคือ59:00
อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท และนิพพพาน นี่คือสภาวะตัวจริง ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
พระองค์ตรัสรู้แล้ว คนอื่นจะรู้ตามได้ยาก นี่คือตรัสตามสภาวะเลย ยังไม่พูดในแง่ของการที่มา
สื่อกับคนอื่น ก็แปลว่า ถ้าถามว่าตรัสรู้อะไร ก็นี่ พุทธพจน์นี้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อิทัปปัจจยตา
ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน ทีนี้ พอมาตรัสปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ตรัสในรูปใหม่เลย ออกมาใน
รูปอริยสัจ 4 นี่คือ ก็คือหลักความจริงตามธรรมชาติที่นำเสนอแก่ปัญญามนุษย์สำหรับการปฏิบัติ
หรือใช้การจริง ทั้งนำมาใช้ ทั้งในการสอน สื่อกันให้รู้เข้าใจ และทั้งในการใช้ปฏิบัติก็ในรูปอริยสัจ
พอเป็นรูปอริยสัจ ก็ได้การเลย 01:00 ทุกระดับอย่างที่ว่า จนถึงปลุกระดมก็ใช้ได้
ยังติดอยู่นิดนึงครับ พอเราสรุป สรุปสมุทัยสรุปลงที่ตัณหาหรือครับผม
อ๋อ อย่างที่บอกเมื่อกี้ไง เมื่อกี้บอกทีละบอกว่า ถ้าตรัสแบบรวบรัด ก็จะตรัสขบวนการหน้าโรง
ผมใช้คำว่าอย่างนั้น ก็คือพูดว่า ตัณหา แต่ถ้าตรัสแบบเต็มกระบวน ก็จะตรัสแบบปฏิจจสมุปบาท
ก็คือจะลงไปตลอดผ่านตัณหาไปหมดจนกระทั่งไปถึงอวิชชาเลย เพราะว่าคนเราที่มีตัณหาได้
ก็เพราะยังมีอวิชชา อวิชชามันจะหล่อ มันจะคลออยู่ตลอดเวลา ไม่เข้าใจยากเกินไปนะ
ไม่เข้าใจยากเกินไปครับ คือมีคำถามที่ติดมา แต่ท่านอาจารย์ท่าน แล้วตัวตัณหาจะทำให้เกิดทุกข์
กายได้ไหม อย่างนี้ครับ 1:01
อ๋อ ในแง่ของความเป็นเหตุปัจจัย นี่มันมีทางเป็นไปได้ทั้งนั้นแหละ ก็ทุกข์ใจมันก็ทำให้เกิดทุกข์กายได้
ทุกข์กาย ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย เรียกว่าเป็นปัจจัย ให้เกิดทุกข์ใจได้ ก็อย่างในเมื่อเรามีกิเลสอยู่ เรามี
ทุกข์กายปั๊ป ไม่สบายปุ๊ป เดี๋ยวใจมันครุ่นคิดละ กังวล บางคนคิดว่า คิดปรุงแต่งเยอะ เป็นพ่อบ้าน
นึกถึงลูก เออ เราจะป่วย เดี๋ยวทำงานไม่ได้ มันจะมีปัญหาแก่งาน แล้วลูกเรากำลังเรียนจะทำยังไง
โอย คราวนี้ละไปกันใหญ่ ทุกข์เยอะเลยใช่ไหม ทุกข์กายก็ไปเป็นทุกข์ใจได้ ทีนี้อ้ายเจ้าทุกข์ใจก็มา
ทำให้เกิดทุกข์กายได้ ท่านมีทุกข์ใจฟังอะไรไม่สบายใจ 1:02 มันไม่สดชื่น ไม่เบิกบาน เดี๋ยวก็เมื่อย
เดี๋ยวก็ขบเดี๋ยวก็เจ็บปวดง่าย ทีนี้ถ้าเกิดกำลังมีความสุข เช่น ดูหนังเพลินมั่งอะไรมั่ง ดูเท่าไหร่ไม่เห็น
มันเมื่อยเลยใช่ไหม ไม่ทุกข์กายเลย ใช่เปล่า บางคนดูทั้งชั่วโมงนึง ไม่รู้สึกเมื่อยเลยใช่ไหม ทีนี้ถ้า
พอใจไม่สบายปั๊ป เดี๋ยว คันโน้นคันนี่เจ็บนั่นเจ็บนี่เมื่อยโน้นเมื่อยนี่ ปวดวุ่นวายไปหมด พลอยปวดหัว
ปวดท้องไปด้วยอีกใช่ไหม ก็เนี่ยะนะตกลงเป็นปัจจัยแก่กันได้ แต่มันมีตัวประกอบนะ ไม่ใช่มาตัวเดียว
นะ มันมีตัวอื่นมา ก็เป็นปัจจจัยแก่กัน 1:03 ก็เลยเราต้องถึงต้องฉลาดในกระบวนการของเหตุปัจจัย
คือในระดับหนึ่งเราเรียกว่าฉลาดในกระบวนการของเหตุปัจจัย ก็มีศัพท์หนึ่งเรียกว่า
ปัจจยาการกุศโล ???
ก็หมายความว่า ฉลาดในกระบวนการของเหตุปัจจัย ทีนี้ถ้าเราเก่ง มีปัญญา รู้จับเหตุปัจจัยได้เนี่ยะ
เราก็จัดการกับมันได้ดีขึ้น ทีนี้แคบเข้ามาก็อย่างที่เคยพูด จิตยากาลกุสโล???
ฉลาดในกระบวนจิต ฉลาด
ในการยักเยื้องการพลิกแพลงของจิตของตัวไงละ ก็พูดง่ายๆ ก็คือใช้คำว่า ฉลาดในกระบวนจิต
ทีนี้คนที่ฝึกจิตให้ดีเนี่ยะนะ อันหนึ่งต้องทำให้ได้ คือไม่ใช่ได้แต่จิตอย่างเดียว สมาธิอย่างเดียว ต้องได้
ปัญญาด้วย พอฝึกจิตไปด้วยใช่ไหม ก็ปัญญาก็เรียนรู้ไปด้วย ก็จะเกิดความเข้าใจกระบวนจิตของ
ตัวเอง 1:04 ฉลาดในกระบวนจิตแล้วก็จะแก้ปัญหาเรื่องจิตใจของตัวเองได้ดีขึ้น ก็รู้แล้วก็อยู่ที่ว่า
เวลาที่ฝึกเนี่ยะ ใครจะมีความสามารถในการที่จะเรียนรู้ ก็คือตัว โยนิโสมนสิการ ต้องใช้มาก ถ้าใช้
โยนิโสมนสิการ ได้ดีก็เรียนรู้ได้ดี แล้วก็จะเอามาใช้ประโยชน์ได้มาก ในวิธีการอย่างเดียวกันเรียน
เท่ากัน ก็แต่ละคนก็ได้ไม่เท่ากัน ใช่ไหม ถ้าว่าโยนิโสมนสิการเป็นตัวสำคัญมาก เคยเปรียบเทียบบ่อยๆ
ว่า เอาหนังสือมาเล่มหนึ่งอ่าน 5 คนอ่านเหมือนกัน คนหนึ่งอ่านจบแล้วยังจับความไม่ค่อยได้เลย
ว่ามันอะไรกันนะ ได้เป็นแห่งๆ เป็นจุดๆ รู้เรื่องเป็นตอนๆ อีกคนหนึ่งก็อ่านจบจับประเด็นได้เลย1:05
หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องนี้ ถ้าพูดปั๊ปก็พูด จับสาระปุ๊ปก็พูดจบได้เลย จะบรรยายเนื้อหา เออ บางคน
ก็ได้จับประเด็นได้ แต่ว่าเนื้อหาในแง่ความหมายรายละเอียดนี้ พูดบรรยายยักเยื้องไม่ได้ นี้บางคนนี่
มีนอกจากมีความสามารถในการเข้าใจ เข้าใจความหมาย เราพูดสั้นๆ ก็คือเข้าใจเนื้อหา เข้าใจเนื้อหา
ก็คือเข้าใจความหมายของมันทุกส่วน เข้าใจหมดตลอด แล้วจับประเด็นได้หมดเลย จับประเด็นใหญ่
ทั้งเล่ม จับประเด็นแต่ละบทได้ พอมองปั๊ป บทนี้ปั๊ป ดูเลย ตัวเองนี่นึกในใจได้เลยว่า บทนี้ว่าด้วย
เรื่องนี้ พอบทที่ 2 หัวข้อนี้ปั๊ปได้เลย แต่นี้ท่านต้องหัด คือถ้าทำเองก็หัดตั้งหัวข้อ 1:06 จะชำนาญ
เราเขียนอะไรไปเนี่ยะนะ เราหัดแบ่งเป็นตอนๆ แล้วแต่ละตอนต้องตั้งหัวข้อให้ได้ การที่เราตั้งหัวข้อ
ให้ได้ ให้ได้ผลดี ก็คือ เราจะต้องจับประเด็นจับสาระสำคัญได้เลย จับปุ๊ปเนี่ยะนะได้หมด ทั้งบท
ทั้งตอน แล้วพวกเนี่ยะเวลาจะทวนข้อสอบ เป็นต้น สบายมาก เวลาเราอ่านหนังสือ 50 หน้านะ
เราได้ความตอนหนึ่งเนี่ย เราตั้งใจหัวข้อไว้ ตั้งใจหัวข้อไว้ ตั้งใจหัวข้อไว้ บางที 50 หน้าก็ได้แค่ 7 ข้อ
7 ข้อเวลาเรามาทวนเรามาดูหัวข้อเนี่ยะ อ้าว ข้อที่ 1 ก็คือแทนเนื้อความกี่หน้าแรกนี้ พอดูแล้วเรานึก
สว่างในใจ อ๋อ ว่างี้ๆ 1:07 เราบรรยายนึกในใจได้เลย ก็เป็นอันไม่ต้องไปเสียเวลาทวนละ ข้อที่ 2 ปั๊ป
พอมองหัวข้อ นึกความในนั้นออกหมดเลย ข้อที่ 3 นึกออกหมด สบาย มองหัวข้อ 7 หัวข้อเท่านั้น
จบเล่ม แล้วก็นอกจากว่าได้หัวข้อ ก็คือว่าทั้งเล่มก็สรุปจับประเด็นได้เลย นี่ๆ พวก นี่ๆ ก็เรียกว่า
ได้ขั้นไหนละ ได้ทั้งจับประเด็น ได้ทั้งเข้าใจความหมายรายละเอียดเนื้อหาทั้งหมดตลอด นักอ่าน
ถ้าจะฝึก หนังสืออะไรสำคัญเนี่ยะ จะไม่ยอมให้ผ่านไปได้โดยไม่มีอะไรที่ไม่เข้าใจ ต้องเข้าใจตลอด
หมด เข้าใจตลอดหมดหมายความในส่วนเนื้อหาทั้งหมด เข้าใจความหมายของมันหมด แล้ว
ทั้งหมดทั้งเล่มทั้งตอน แต่ละตอนก็จับสาระจับประเด็นได้หมด ทีนี้สอบแล้วไม่ต้องกลัวหรอก1:08
3 ตอนนี้ขั้นที่ 3 ขั้นที่ 3 เอามาถ่ายทอดให้คนอื่นรู้ตามเข้าใจตามได้ด้วย พูดให้เขาเข้าใจได้อย่างที่ตัว
ต้องการให้เข้าใจ นี่ต้องทำให้ได้ ฝึก บางคนพูดยังไงเค้าก็ไม่เข้าใจ ต้องพูดให้เขาเข้าใจได้อย่างที่ตัว
ต้องการให้เข้าใจ ต้องการให้เข้าใจยังไงแล้วพูดให้เข้าใจได้อย่างนั้น นี่ก็คือขั้นที่ 3 แล้วนะ
หมายความว่า สามารถเอาอ้ายสิ่งที่อ่าน ในหนังสือเล่มที่อ่านมาพูดให้เขาฟัง มาพูดในแง่ประเด็นก็ได้
บทนี้ประเด็นนั้นๆๆ ทั้งเล่มว่าด้วยเรื่องนั้น แม้แต่บางทียังมีเน้นจุดสำคัญอยู่ที่นั้น ที่นั้นๆ 1:09
แล้วก็บรรยายให้เขาเข้าใจได้อย่างที่ตัวต้องการ ถ้าเก่งกว่านั้น ก็หมายความว่า สามารถให้เขาเห็น
ตามที่ตัวต้องการให้เขาเห็น ว่างั้นนะ อ้ายตอนแรก ให้เขาเข้าใจได้อย่างที่ตัวต้องการให้เข้าใจ ต่อไป
นี่ต้องการได้เขาเห็นได้อย่างที่ตัวต้องการให้เห็น ใช่ไหม ทีนี้มันก็โน้ม โน้มใจเค้าได้สิ ให้เชื่ออย่างที่ตัว
ต้องการให้เชื่อ ต่อไปก็กลายเป็นว่า กลายเป็นว่าปลุกระดมได้เลยนะ จะให้เค้าต้องการทำอะไรอย่าง
ที่ตัวต้องการให้ทำ ละทีนี้ ไม่ใช่ต้องการให้เห็น นั่นๆ ต้องการให้ทำอะไรก็พูดให้ทำอย่างนั้นได้นะ
อ้าว นี่ก็ นี่ขั้น 1 ละ ทีนี้ ยังมีอีกคนที่ อีกคนหนึ่ง อีกคนหนึ่งก็อ่านหนังสือเล่มนี้ไปเนี่ยะ นอกจากเข้าใจ
จับประเด็นได้แล้วเนี่ยะ มันยังมีจุดกระทบ อ่านไปแล้วเนี่ยะมันได้ความคิดใหม่ตลอด 1:10 ไม่ใช่
ความคิดในนั้นนะ แต่มันไปจุดกระทบให้เกิดความคิดใหม่ เกิดความคิดนี้ความคิดนั้นออกไป แตก
แขนงออกไปเยอะเลย อย่างที่ว่า บางคนอ่านหนังสือเล่มนี้เล่มเดียวนะแกแต่งหนังสือได้อีก 10 เล่ม
อีก 10 เล่มเลยนะ ได้ความคิดเยอะแยะ ตรงนี้สำคัญนะ คือต้องมีความสามารถที่จะสร้างความคิด
ความรู้ใหม่ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่เนี่ยะ สร้างเป็นความหยั่งรู้หยั่งเห็นใหม่ได้ อันเนี่ยะ
สำคัญ ตอนนี้แหละจะออกมาเป็นหนังสือใหม่หรือจะไปใช้ปฏิบัติการในการแก้ปัญหา ในการสร้าง
สรรค์ในการคิดริเริ่มอะไรก็เอาเลย นั้นคนจึงไม่เหมือนกันจากการที่ได้ข้อมูลเท่ากันเนี่ยะนะหนังสือ
เล่มเดียวกันอ่านกันไปคนละอย่างเลย 1:11 เช่นเดียวกันแหละ ที่เรามาอยู่ในยุคข่าวสารข้อมูลไอที
เนี่ยะ เรามาเที่ยวรับข้อมูลมากมายที่ออกมาทางวิทยุบ้าง ทางสื่อต่างๆ ประดามาทางอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เนิต บางคนก็รับไปตามที่เค้าป้อนอย่างที่เคยพูด แล้วก็มัวเมาลุ่มหลงไปตามนั้น ก็เรียกว่า
ถูกเค้าปั่น อ้ายพวกนี้ถูกปั่น ถูกปั่นหัว เอาข้อมูลมาปั่นหัวไปยังไงก็ไปตามนั้น เค้าจะเอาเป็นเหยื่อ
เป็นอะไรล่อ ก็ล่อไป ไม่เป็นตัวของตัวเอง เป็นผู้ถูกกระทำ ไม่เป็นผู้กระทำต่อข้อมูล นี้ถ้าเป็นผู้กระทำ
ต่อข้อมูล ก็หมายความว่า มีความคิดมีแนวทางมีจุดหมายอะไรเป็นตัวของตัวเองใช่ไหม มันจะมีแนว
ทางเลยว่าจะเอาข้อมูลอะไร แล้วก็ต้องการจะรู้เรื่องไหนใช้อ้ายพวกแหล่งข้อมูลเนี่ยะเป็นทางที่จะย้อน
สืบค้นมันเข้าไป 1:12 ให้มันได้ไปถึงต้นแหล่งนั้น ไม่ใช่เป็นฝ่ายถูกป้อนอย่างเดียวนะ ไปทำกับมัน
เป็นผู้กระทำต่อข่าวสารข้อมูล แล้วก็เอาข้อมูลข่าวสารมาใช้ แล้วก็มาคิดริเริ่มแก้ไขสร้างสรรค์อะไร
ต่ออะไรไปได้อีก นี้คนของเราเนี่ยะ เราไม่ได้ค่อยได้ฝึกกัน ในเรื่องการปฏิบัติต่อข่าวสารข้อมูล นั้นเรา
ก็เลยอย่างที่เคยพูดว่า ถูกป้อนอยู่เรื่อย แล้วก็ถูกไม่ใช่ป้อนอย่างเดียว ปั่นด้วย ไม่ค่อยได้เรื่องได้ราว
อะไรนะ ต้องเป็นผู้ที่สามารถกระทำต่อข่าวสารข้อมูล แล้วสังคมของเราพัฒนาเด็กได้อย่างนี้ ต่อไป
มันก็อยู่เหนือกองข้อมูลที่จะจัดการกับมัน เป็นนายเหนือข่าวสารข้อมูล เป็นผู้จัดการเป็นผู้กระทำต่อ
มัน 1:13 ไม่เป็นผู้ถูกกระทำไม่ใช่ถูกกองข้อมูลท่วมทับอยู่ ก็นี่แหละก็เรื่องการศึกษาเหมือนกัน เพราะ
ฉะนั้นจึงได้ ว่าแม้จะอยู่ในยุคข่าวสารข้อมูลที่หวังกันนักว่าโลกในยุคนี้ นี่จะมีความรู้ความฉลาด
มีปัญญามาก พอเอาเข้าจริงก็ไม่เป็นอย่างนั้นนะ กลับมีความลุ่มหลงมาก มีอะไรอีกไหมครับ นี่เวลา
เท่าไหร่ละ จวนละ ใครถามอะไรก็นิมนต์ นี้สังคมของเราอย่างที่ว่า บางทีเรา เรา เหตุหนึ่งที่ทำให้เรา
เนี่ยะ ไม่ค่อยจะสืบค้นไม่ใฝ่รู้เนี่ยะ เพราะอ้ายเรื่องใฝ่รู้อะไรต่ออะไรเนี่ยะ มันต้องมีตัวแรงใจใช่ไหม
มีฉันทะมีความใฝ่ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะกระทำเป็นต้น เราจะกระทำอะไรแล้ว1:14 เราก็ต้องหาความรู้
ในเรื่องนั้น ถ้าเราไม่รู้เราทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นการกระทำมาเรียกร้องความรู้ แล้วเราก็หาความรู้ด้วย
ความสนุก เพราะเมื่อหาความรู้ด้วยความต้องการเนี่ยะ มันสนุกมีความสุข แต่ถ้าหาความรู้เพราะถูก
ครูสั่ง ทีนี้ไม่มีความสุขละมันฝืนใจ เรามีจุดหมายเราจะทำอะไร มันต้องรู้แล้วมันเลยอยากรู้ อยากรู้ก็
ไปหา มันก็ความสุขมีความพอใจหาเท่าไหร่เท่ากัน หาใหัชัดเจนถ่องแท้ มันก็ไปเรื่อย ทีนี้ สังคมไทย
เราก็มีอันนึง อย่างที่พูดเมื่อวานเนี่ยะ สังคมของเราเนี่ยะมันมีลักษณะที่มีจุดเน้นในด้านของความ
สัมพันธ์ระหว่างบุคคล ชอบความสนุกชอบสังสรรอะไรต่ออะไรมาก ทีนี้สังคมอย่างเนี่ยะ มันก็ทำให้
เราไปมัวเพลิดเพลินเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง จะคอยฟังคนอื่นเค้าว่าอะไรต่ออะไร 1:15 เลยสนุกไป มันก็
ไม่มีจุดมีเป้าหมายของตัวเอง อันนี้เป็นจุดที่ว่า มันเป็นตัวปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เป็นจุดอ่อน นี้ฝรั่ง
แกชอบอยู่ตัวใครตัวมัน ใช่ไหม แกไม่ชอบการมาสนุกสนานแบบนี้ แต่ก็มีอันตรายอีกอย่าง ก็คือว่า
ทำให้เหงาอะไรได้ง่ายเครียดเคริดได้ง่าย แต่ว่ามันมีข้อดี ทำให้มุ่งแน่ว ว่าตัวเองเนี่ยะมันจะมีอะไรที่ใฝ่
มันทำให้เกิดความใฝ่รู้ได้ง่าย แล้วแกก็จะมุ่งมั่นไปอะไรต่ออะไรละ แต่ว่ามันก็จะคิดถึงแต่ว่าเรื่องที่ตัว
จะทำ มันจะรำคาญไม่อยากให้คนอื่นเข้ามายุ่ง เพราะฉะนั้นก็สังคมของเขาก็จะเป็นสังคมที่ เป็นอย่าง
ที่บอกเมื่อวานนะ นิยม PRIVACY ความเป็นส่วนตัวไม่อยากให้ใครมายุ่ง 1:16 ทีนี้ละก็มันก็ เกิดทุกข์
อีกแบบหนึ่ง แต่มันก็ทำให้เกิดความเจริญ ความเครียดเนี่ยะเป็นตัวสำคัญที่บีบคั้นคน แล้วทำให้เจริญ
นะ ความเครียดเนี่ยะนะที่เราบอกว่าเป็นทุกข์เนี่ยะ มันมีทั้งแง่บวกแง่ลบ ฝรั่งมันเจริญมาก็เพราะ
ความเครียด มันเครียดมันก็บีบคั้น มันทำให้เอาจริงเอาจัง ทำให้ดิ้น แล้วเพราะดิ้นเพราะทำจริงจังก็
เครียด ใช่ไหม แล้วก็มันก็เป็นปัจจัยแก่กัน นี่ของเรานี่มันแบบว่าสบายๆ ปล่อยเรื่อยเปี่อย สนุกสนาน
เพลิดเพลิน มันก็ไม่เอาอะไรจริงจัง ใช่ไหม มันก็อ่อนไป นี่เค้าความเครียด นี่ก็ต้องรู้จักใช้ให้เป็น
ประโยชน์ มีแต่ต้องเก่งอีกระดับหนึ่งก็คือว่า ทำให้จริงจังโดยไม่ต้องเครียด อันนี้ก็หมายความว่าเหนือ
ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง 1:17 ทีนี้มาถึงว่า ลักษณะสังคมอย่างที่บอก นั้นฝรั่งอย่างที่พูดเมื่อวานที่ว่า ไปใน
สังคมคนผิวขาว บ้านเยอะเนี่ยะๆ อยู่กันเงียบหมด ไม่มีโผล่มาข้างนอกซักคน นานๆ จึงจะมีเจอ
ไม่เหมือนอย่างถิ่นคนผิวดำที่ว่าออกมายืนกันอยู่ออกันอยู่ที่บันได แล้วก็เต้นหย่องๆ เหย่งๆ คุยกัน
ว่ากันวุ่นละสนุก ทีนี้ คนไทยเราไปนี้ จะได้ยินบ่อยๆ คนไทยเราไปนี้ ฝรั่งรักจริงๆ มีรักหลายอย่าง
คนไทยนี้มีได้เปรียบมากนะ แต่ไหนแต่ไรเลย ฝรั่งรักจริงๆ ถ้าเป็นเด็กก็อยากได้เป็นลูกบุญธรรม
จำไว้เลย มันมีหลายอย่างวัฒนธรรมเราช่วย แต่บางทีคนไทยเราก็บ่น เช่นอย่าง ยกตัวอย่างรายนึงนะ
ก็ เห็นบ้านอื่น 1:18 บ้านใกล้เนี่ยะมีคนแก่อยู่ ฝรั่งบอกว่า แก่อะไรเนี่ยะกันอยู่คนเดียวหรือคู่เดียว
ถ้าอยู่กันสามีภรรยาด้วยกัน ลูกเลิกไปหมดละ ไม่มีใครอยู่อะ บางทีอายุ 17 18 พ่อแม่ก็ไล่ออกจาก
บ้าน ถ้าไม่ออกก็ให้ไล่ให้ออก ให้ไปหากินเอง ทีนี้ก็อยู่กันสองคนตายายมันก็เหงา ผมไปคราวแรกยัง
แปลกใจ ในหนังสือพิมพ์มีประกาศโฆษณาแจ้งความจ้างคนให้ไปรับฟัง ให้ไปฟังแกเล่าให้ฟัง ให้ค่า
ฟังเพราะแกเหงาเต็มที แกคนแก่ก็มีเรื่องอยากจะคุยใช่ไหม จ้างคนให้ไปฟัง ฝรั่งก็ต้องคิดกันเป็น
ชั่วโมง นี้คนไทยเราเนี่ยะเราก็คุ้นเคย ก็อ้ายเรื่องความสัมพันธ์ต่อกันเนี่ยะ บางรายก็ไปเห็นบ้านฝรั่ง
อยู่เป็นเพื่อนบ้าน 1:19 ก็เห็นแกแก่แกเหงา ก็โทรศัพท์ไปทักทายถามไถ่ แหม แกก็ดีใจ คุยด้วยใหญ่
เลย ทีนี้พอคุ้นเข้า ทีนี้แกโทรมาไม่หยุดเลย ตัวเองแย่เลยบ่นแล้วแย่เลยจะทำไงดี ทุกข์แล้วนะ คนไทย
ทุกข์แล้ว ลำบากอย่างเนี่ยะ มีเยอะอย่างเนี่ยะ แล้วก็อย่างคนไทยไปทำงาน ฝรั่งเค้าทำงาน
เค้าก็ตัวใครตัวมัน ไม่ค่อยมีน้ำใจใช่ไหม ว่ากันไปตามกฏกติกา กติกาว่าไง เลิกทำงานเวลา
เท่านั้นปั๊ป ว่าล้อกันเป็นสนุกให้ขำๆ เช่นว่า ฝรั่งยกฆ้อนขึ้นมา พอระฆัง เก๊ง หมดเวลา ปล่อยเลย
อันนี้หมายความว่า พูดพอให้เห็นภาพคือเค้าไม่เอาละ จะเป็นอย่างเนี่ยะฝรั่ง 1:20 หรืออย่างคนไทย
คนหนึ่ง ก็ติดนิสัยไทยเป็นแม่แล้วก็มีลูก แกก็ไปทำงาน ไปทำงานก็ต้องจ้างฝรั่งมาเลี้ยง ก็ว่ากันเป็น
ชั่วโมง ใช่ไหมก็ตกลงกันไว้ว่า เอามาเลี้ยงลูกให้ตั้งแต่เวลานั้นถึงเวลานั้น แล้วก็เวลานั้นตัวเองก็กลับ
มาก็จบ ทีนี้ วันหนึ่งแม่ไทยเนี่ยะก็ไปทำงาน แล้วระหว่างทางกลับมาเจอเพื่อน คนไทยพอเจอเพื่อน
ก็สนุก ก็คุยกันจนเลยเวลา ขากลับมาบ้านใจหายเลย ลูกยังเล็กอยู่ ไม่มีคนดูแล ฝรั่งไปแล้ว ก็โกรธ
โทรไปต่อว่าฝรั่ง บอกทำไมคุณอย่างนี้ทำอย่างนี้ละ ลูกฉันมีภัยอันตราย ฉันยังไม่กลับไม่รอก่อน
เค้าไม่เถียงอะไร เค้าบอกคุณดูสัญญา เวลาเท่าไหร่ จบ คนไทยพูดไม่ออกเลย ใช่ไหม แพ้เขา กติกา
1:21 อยู่ด้วยกติกา เนี่ยะแล้วก็ทีนี้คนไทยเราก็นิสัยอย่างเนี่ยะ เป็นเด็กเป็นอะไรไปทำงานกับฝรั่ง
ฝรั่งเค้าให้ทำงานอะไร เขาก็ทำเฉพาะนั้น อย่ามายุ่งกับเรื่องอื่น ให้ทำอย่างอื่นเขาไม่ทำ ก็ตามเวลา
ทีนี้เด็กไทยเราไปนะ เราเคย ก็เห็นว่า เค้าเป็นผู้ใหญ่เป็นนายงานแล้วเป็นผู้ใหญ่ มีอะไรให้ช่วยบ้าง
ก็ไปช่วยแม้แต่เรื่องอื่นที่ไม่ใช่ตัวงาน แล้วก็บางทีมีเรื่องต้องทำเลยเวลา มีอะไรทำต่อก็ทำอีก ฝรั่งมัน
ก็รักจังเลย ใช่ไหม เนี่ยะอย่างนี้เป็นต้น นี่ก็เป็นเรื่องของชีวิต ให้รู้วัฒนธรรมที่ต่างกัน แต่ว่า เราก็ต้องรู้
ข้อดีข้อเสียของทั้งสองฝ่าย นิมนต์
อย่างที่ได้ฟังเมื่อกี้นะครับว่า ถ้าเกิดว่า ทำงานในสภาวะที่เครียดได้แล้วไม่เครียดได้ก็จะดี ทีนี้ก็อยาก
จะถามแนวว่า ถ้าเกิดว่าเราจะต้องทำงานนะครับหมายถึงว่า ในสภาวะที่เครียด แล้วเราต้องทำงาน
ติดๆ กันเป็นระยะเวลาที่นานอย่างเนี่ยะครับ แล้วเราจะทำยังไงให้เราไม่ทุกข์กับสภาพอย่างนั้น 1:22
อ้าว ถ้าเราฝืนใจมันก็ทุกข์ซิมันก็เครียดแน่ละ ถ้าเกิดไม่ ไม่มีความฝืนใจพอใจจะทำ เวลามันไม่พอ
จะทำนะ มันชอบมันจะทำ มันจนกระทั่งลืมกินลืมนอน อย่างพวกนักวิทยาศาสตร์ อย่างไอน์สไตน์
พวกเนี่ยะ ก็ทำจนลืมกินลืมนอน เพราะแกอยากจะรู้ แกอยากจะรู้ความจริงของธรรมชาติใช่ไหม
เพราะแกยังไม่รู้ แกแทบจุดหยุดไม่ได้เลย ผมเผ้าไม่ต้องหวีก็ได้ไม่ต้องตัดก็ได้ ก็มันก็เพลินมันก็มี
ความสุขอะ ถ้าไปต้องหยุดสิ มัน มันไม่สุขแล้วใช่ไหม อันนั้นมันก็เลยกลายเป็นว่า มันมีความสุข
ก็ฉันทะยังไงครับ ใช่ไหม 1:23 นี้แล้วถ้าเราทำโดยมีความฝืนใจ มันก็เครียด ทีนี้ฝรั่งมันมีปัญหา
เนี่ยะ มันกลายเป็นระบบที่ว่าฝืนใจละ เพราะแกจำเป็นต้องทำด้วยเงื่อนไขบังคับ ใช่ไหม ทีนี้
ตอนนี้ละเครียดละ ทีนี้ที่จริงใจแกก็ไม่รักจะทำ เพราะมันเป็นงานอย่างอุตสาหกรรม เค้าเรียกว่า
ระบบอะไรนะ ระบบสายพานใช่ไหม อ้ายระบบสายพานเนี่ยะมันก็จำเจ อ้ายคนไหนตอกขันน๊อต
ก็ขันน๊อตอยู่นั่นทั้งเดือน จำเจเค้าเรียกเกิด ALIENATION ความรู้สึกแปลกแยก แกก็เบื่อหน่าย
ไม่มีชีวิตชีวา ก็พวกระบบสายพานก็เป็นอย่างนี้ ทีนี้ระบบอุตสาหกรรมก็อยู่ได้ด้วยระบบสายพาน
ก็ทำงานจำเจ มันไม่มี ไม่มีชีวิตชีวาเลย เหมือนอย่างขันน๊อตอยู่ตัวเดียวทั้งวันทั้งคืน 1:24 พออ้าย
รถมาตามสายพานมาถึงตรงนี้ ฉันมีหน้าที่ขันน๊อตตัวนี้ก็ขันไปก็ผ่านไป น๊อตตัวนี้มาขันไปผ่านไป
อยู่อย่างนี้นะทั้งวัน ทีนี้มันก็เรื่องที่เป็นปัญหา นั่นเกิดทำให้คนมีปมทางจิตใจความเบื่อหน่าย
ความเหงาความว้าเหว่ความรู้สึกไม่มีส่วนร่วมจริงจังในสังคม ตัวเองแปลกแยก ก็เลยเกิดเป็นปัญหา
ในสังคมตะวันตก ทีนี้เรื่องของเราก็คือ เราจะต้องปลูกฝังความมีฉันทะ ความพอใจทำสิ่งนั้นด้วย
ความมีใจรัก อยากจะเห็นผลที่ดีงามที่เป็นการสร้างสรรค์นั้น แล้วก็เราทำอย่างเนี่ยะมันทำไปไม่รู้จัก
เบื่อ ละก็ความเครียดก็เกิดยาก แล้วอีกอย่างหนึ่งขณะทำ1:25 ถ้าขณะทำไปมุ่งหวังไปฝัน ใจไม่อยู่กับ
สิ่งที่ทำ ไปล่องลอยไป แล้วก็จะเกิดปัญหาได้เหมือนกัน ไม่มีความสุขกับสิ่งที่ทำ แต่ว่าทำเช่นแม้แต่ว่า
ล้างจานล้างชามกวาดบ้านกวาดกุฎิ เวลาทำไปแต่ละขณะ ให้ใจอยู่พอใจที่จะทำแล้วก็ทำแล้วได้เห็น
ผล ว่ามันสะอาดขึ้นไปในการกระทำแต่ละขณะ ก็จะเป็นพัฒนาจิตให้เกิดปิติ อิ่มใจที่ได้เห็นผลของการ
กระทำที่เป็นการสร้างรรค์นั้นเกิดขึ้นเรื่อยๆ มันก็จะทำให้จิตมีทางเดิน จิตนี่จะมีปัญหาก็คือว่า มันฝืน
บ้าง มันเกิดความอึดอัดเกิดความเครียด เพราะว่าไปมุ่งหวังอะไรที่ตัวเองมันมองไม่เห็นผล 1:26
อะไรอย่างเนี่ยะนะ เช่นว่า ตัวเองไปหวังผลอะไรต่ออะไรที่มันไกล แล้วก็ตัวเองกำลังทำสิ่งนี้ ซึ่งเป็น
สิ่งเล็กน้อยส่วนย่อย แล้วไปฝันถึงอ้ายสิ่งไกลที่มันยังไม่ได้ ก็ทำให้ใจมันรู้สึกว่า โอย นี่เราห่าง ไม่ค่อย
มีหวังเลยเนี่ยะ ใจมันก็จะเกิดความรู้สึกไม่ดี จะเป็นท้อจะเป็นเครียดอะไรก็แล้วแต่ นี้ถ้าเราอยู่กับ
สิ่งที่ทำ เราทำไปเราเห็นในสิ่งที่เรากำลังทำเรากำลังค้นเกิดขึ้นมา ได้เห็นจริงเห็นจัง เป็นอย่างนั้น
สนองความต้องการ เช่นในการรู้ขึ้นมาอย่างนั้นใช่ไหม มันก็เกิดความชื่นใจ เกิดความปิติอิ่มใจไป
ไปเรื่อยๆ ดำเนินไป ก็เหมือนกับที่ว่าอยู่กับปัจจุบัน พอจะเห็นไหม 1:27 ท่านเจ้าของปัญหาว่าไง
พอได้นะ เพราะฉะนั้น ก็ต้องทำจิตวางจิตให้ถูก ก็เป็นการฝึกนี่แหละ ฝึก ว่าถ้าเรามีฉันทะจริงๆ
แล้วก็มันก็มาหมด ฉันทะเป็นตัวเริ่มปั๊ป พอใจที่จะทำ เกิดความอยากรู้ค้นไปได้ความรู้ไป มีความ
ชื่นใจ อิ่มใจแล้วมีกำลังใจมีความเพียรที่จะก้าวต่อไป จิตมันก็มุ่งอยู่กับเรื่องนี้ แล้วก็เห็นความ
เปลี่ยนแปลง อยากจะรู้ว่าอย่างนั้นอย่างนี้ อะไรที่มันแปลกไป ที่มันมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
ไม่ใช่หยุดนิ่งอยู่กับที่ มันก็ได้ผลก็คืออิทธิบาทมา ความสำเร็จก็มาด้วย จิตใจก็มาด้วย สมาธิก็ได้
ด้วย จะเห็นแนวทางปฏิบัติได้นะ ถ้าไม่มีอะไร วันนี้
???