PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
  • พระเจ้าพิมพิสาร ราชวงศ์ปิตุฆาต
พระเจ้าพิมพิสาร ราชวงศ์ปิตุฆาต รูปภาพ 1
  • Title
    พระเจ้าพิมพิสาร ราชวงศ์ปิตุฆาต
  • เสียง
  • 4190 พระเจ้าพิมพิสาร ราชวงศ์ปิตุฆาต /somdej-payutto/03-2.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันพฤหัสบดี, 26 มีนาคม 2563
ชุด
เล่าเรื่องให้โยมฟังชุดที่ 1
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ

    เจริญพร วันก่อนนี้อาตมาภาพได้เล่าเรื่องเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นเมืองหลวงสมัยโบราณของแคว้นกาสี
    แล้วทีนี้กาสีนั้น ปัจจุบันนี้ก็อยู่ในอำนาจของแคว้นโกศล ก็เลยเท่ากับเล่าเรื่องแคว้นโกศลเป็นส่วนหนึ่ง แล้วโกศล
    นั้นก็เป็นแคว้นสำคัญในสมัยพุทธกาลที่เป็นมหาอำนาจ เมื่อเล่าเกี่ยวกับเรื่องแคว้นโกศลแล้ว ก็คิดว่าควรจะเล่า
    เรื่องมคธไปด้วย เพราะว่าแคว้นที่ใหญ่ที่สุด และมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนามากที่สุด ก็คือแคว้นโกศลกับ
    มคธนี้ เพราะฉะนั้นวันนี้อาตมาภาพก็เลยนึกว่า จะเล่าเกี่ยวกับเรื่องแคว้นมคธสักเล็กน้อย แคว้นมคธนี้ก็ปัจจุบันนี้
    เราเรียกว่าพิหาร รัฐพิหาร เพราะว่ามีวัดมาก คำว่าพิหารนั้นก็แผลงมาจากคำว่าวิหาร วิหารแปลว่าวัด คือมีวิหารหรือมีวัดมากเต็มไปหมดทั้งแคว้น ปัจจุบันนี้เมื่อแคว้นสมัยโบราณสูญสิ้นไปแล้วเหลือแต่ซาก มีวัดเหล่านี้มากก็

    เลยตั้งชื่อตามหลักฐานนั้น ปัจจุบันเรียกว่าแคว้นพิหารหรือแคว้นวิหารนั่นเอง ทีนี้แคว้นพิหารที่เคยเป็นแคว้นมคธสมัยโบราณนั้นก็เป็นที่มีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างมาก ในสมัยพุทธกาลนี้ น่าจะได้ยินว่าพระพุทธเจ้าไปประดิษฐานพุทธศาสนาที่เมืองราชคฤห์แคว้นมคธ ก็คือว่าเมืองราชคฤห์นี่เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ ทีนี้อาตมาภาพวันก่อนนี้ได้ให้ความหมายของเมืองสาวัตถีที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศลและความหมายของเมืองพาราณสีไปแล้ว วันนี้พูดถึงเมืองราชคฤห์ก็เลยจะให้ความหมายของคำว่าราชคฤห์ไปด้วย ราชคฤห์นั้นบาลีเรียกว่าราชคห (ราชะ-คะหะ) มาจากคำว่า ราช (ราชะ) + คห (คะหะ) ราช ก็แปลว่าพระราชาหรือพระเจ้าแผ่นดิน คห (คะหะ) ก็แปลว่าเรือน เหมือนอย่างในคำว่าคหศาสตร์ คหกรรมศาสตร์อะไรพวกนี้ คห ตัวนี้แปลว่าเรือนหรือบ้าน อันนี้คห แปลว่าเรือนบางทีเราใช้คำว่าเคหะก็มี คำว่า คห ก็ตาม เคหะก็ตามแปลว่าบ้านเรือนนั่นเอง เพราะฉะนั้น ราชคห ก็แปลว่าวังของพระเจ้าแผ่นดิน หรือที่อยู่ของพระเจ้าแผ่นดิน หรือเราจะเรียกว่าเรือนหลวงก็ได้ เมืองราชคฤห์ก็แปลว่าเมืองเรือนหลวงหรือว่าเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินมาหลายชั่วพระองค์ ก็แปลง่าย ๆ อย่างนี้เมืองราชคฤห์ แต่เมืองราชคฤห์นั้นมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า คิริพฺพช (คิ-ริบ-พะ-ชะ) คิริพฺพช คิริก็คือคีรี คีรีแปลว่าภูเขา อันนี้โยมก็คงทราบดี แล้วก็บวกกับคำว่า พช (พะ-ชะ) คิริพฺพช พช ก็มาจาก วช (วะ-ชะ) ภาษาไทยกับบาลีนี้เวลามีตัว ว
    แล้วเราชอบแผลงเป็น พ วช ก็เป็น พช ในบาลีก็แผลง ว เป็น พ ได้ พช หรือ วช นี้แปลว่าคอก คิริพฺพชก็แปลว่า
    เมืองที่มีภูเขาเป็นคอก หมายความว่ามีภูเขาแวดล้อม เหตุที่คิดอย่างนี้ก็เพราะเมืองนี้มีภูเขามากแวดลัอมอยู่ทั้ง
    เมือง โยมไปก็คงจะนึกภาพออกว่าไปที่ในเขตนครราชคฤห์แล้วมองเห็นภูเขาโดยรอบด้าน ภูเขาที่ล้อมรอบเมือง
    ราชคฤห์นั้นมีอยู่ห้าเขาด้วยกัน คือเขาปัณฑวะ(ปัน-ดะ-วะ) ปัณฑวะนี่แปลว่าปัณเฑาะ บัณเฑาะเป็นเครื่องดนตรี
    ชนิดหนึ่ง บัณเฑาะแล้วก็เขาเวภาระ เวภาระก็อย่างที่พระอรหันต์ท่านสังคายนาครั้งที่หนึ่งก็ทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหาที่ภูเขาเวภาระบรรพต ที่เขาเวภาระที่โยมเห็นกุฏิของท่านพระมหากัสปที่ท่านพระครูท่านชี้ให้ดู แล้วก็ภูเขาเวปุล

    ละ ภูเขาอิสิคิลิ อิสิคิลิเป็นภูเขาที่แปลว่ากลืนฤาษี ระหว่างฤาษีไปที่นั่นไม่รู้หายไปไหน คนเขาเห็นเป็นอย่างนั้นก็
    เลยเรียกว่าภูเขากลืนฤาษี แล้วก็ภูเขาคิชฌกูฏ คิชฌกูฏนี่โยมจำแม่นแน่เพราะว่าได้ไปขึ้นมาด้วยตนเอง ไป
    นมัสการพระคันธกุฎีที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ แล้วก็ถ้ำสุกรขาตาก็อยู่ที่เขานั้นด้วย อันนี้เขาทั้งห้านี่แวดล้อมเมืองราชคฤห์อยู่ เขาเลยเรียกเมืองราชคฤห์ว่าเมืองที่มีภูเขาเป็นคอกหรือคิริพฺพช บางทีก็เรียกว่าเบญจคีรีนคร เบญจคีรีนครก็แปลว่า เมืองที่มีภูเขาห้าลูก เบญจก็แปลว่าห้า คีรีก็แปลว่าเขา คือเมืองที่มีเขาห้า อันนี้ก็คือความหมายของชื่อของเมืองราชคฤห์ เมืองราชคฤห์ที่มีความหมายอย่างนี้แหละได้เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธซึ่งเป็นประเทศ
    มหาอำนาจ ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล มาในพุทธกาล จนกระทั่งถึงสมัยหลังพุทธกาลยั่งยืนมายาวนาน มาถึงกษัตริย์ผู้
    ยิ่งใหญ่สมัยหลังก็คือพระเจ้าอโศกมหาราชก็ครองแคว้นมคธเหมือนกัน ทีนี้ราชคฤห์นี้มีเรื่องเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาหลายอย่าง หนึ่งก็เป็นที่พระพุทธเจ้าประดิษฐานพุทธศาสนา คือพุทธศาสนาจะถือว่าเริ่มต้นจริงจังที่นั่นก็ได้พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารซึ่งเป็นกษัตริย์ครองแคว้นมคธสมัยนั้น แล้วก็ได้อัครสาวกก็ที่นั่น ได้วัดแห่งแรกคือวัดเวฬุวันก็อยู่ที่นั่นที่ได้ไปเยี่ยมมาแล้ว แล้วเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วมีการทำสังคายนา ก็ทำสังคายนาครั้งแรกที่เมืองมคธหรือเมืองราชคฤห์นี่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเมืองราชคฤห์นี่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากมาย เป็นที่มีคำว่าแห่งแรกแห่งแรกหลายอย่างด้วย พระเจ้าแผ่นดินที่ครองแคว้นมคธ ณ เมืองราชคฤห์นี้ ในสมัยพุทธกาลก็อย่างที่ได้เอ่ยชื่อมาแล้ว คือพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารนี่ก็เคยพบกับพระพุทธเจ้า
    ตั้งแต่ตอนออกผนวช ตอนที่พระพุทธเจ้าออกผนวชนั้นได้เสด็จผ่านมาที่เมืองราชคฤห์ด้วย แล้วพระเจ้าพิมพิสาร
    ได้เสด็จไปพบ แล้วก็ยังทูลเชิญว่าให้พระพุทธเจ้าซึ่งตอนนั้นเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ให้มาขึ้นครองราชย์ด้วยกัน ช่วยกันในราชกิจการราชสมบัติ พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงรับ พระเจ้าพิมพิสารก็เลยขอคำปฎิญานว่าเมื่อพระองค์ได้บรรลุ
    ธรรมวิเศษแล้วก็ขอให้มาโปรดพระองค์ก่อนด้วย และซึ่งพระพุทธเจ้าก็ได้ทำตามที่ได้ทรงปฏิญญาไว้หรือว่าสัญญากันไว้นั้น ทีนี้เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว แล้วก็พระเจ้าพิมพิสารได้ฟังพระธรรมและก็ได้สำเร็จเป็นโสดาปฏิผล ก็ได้เป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาตลอดมา เริ่มตั้งแต่ถวายวัดเวฬุวันเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา และ
    พระพุทธเจ้าก็ประทับที่วัดเวฬุวันบ้างแล้วก็มาประทับที่เขาคิชกูฏนี้บ้าง แสดงธรรมมากมายหลายครั้งหลายคราวที่เป็นพระธรรมเทศนาที่สำคัญ ๆ แต่ว่าเป็นที่น่าสลดใจที่ว่า พระเจ้าพิมพิสารมีโอรสที่เป็นรัชทายาทชื่อว่าพระเจ้า
    อชาตศัตรู  พระเจ้าอชาตศัตรูต่อมาก็ได้ปลงพระชนม์พระราชบิดาเสีย ทำปิตุฆาตซึ่งเป็นบาปที่ร้ายแรง พระเจ้า

    อชาตศัตรูนี่ที่จริงก็มีชื่อที่ว่ากันว่าตั้งให้เพื่อให้เป็นแก้เคล็ด คือโหรเค้าทำนายไว้แล้วว่าเมื่อประสูติออกมานี่จะปลงพระชนม์พระราชบิดา พระราชมารดานั้นก็ขอให้พระเจ้าพิมพิสารฆ่าเสียตั้งแต่อยู่ในท้องไม่ยอมให้ประสูติเพราะว่า
    กลัวว่าจะเป็นไปตามคำทำนายของโหร แต่พระเจ้าพิมพิสารนั้นทรงรักพระราชโอรสมาก แม้จะอยู่ในพระครรภ์ แต่ถึงจะมีคำทำนายร้ายอย่างไร พระองค์ก็ไม่ยอมปฏิบัติตาม ก็ทนุถนอมรักษาพระครรภ์มาจนกระทั่งประสูติ ประสูติ
    แล้วก็ได้ตั้งชื่อว่าอชาตศัตรู มีผู้แปลบอกว่าท่านตั้งแก้เคล็ดว่าไม่เกิดมาเป็นศัตรู หรือเกิดมาไม่เป็นศัตรูอะไร
    ทำนองนี้ แต่ว่าอาตมาภาพดูคัมภีร์บาลี ท่านแปลว่า เป็นศัตรูตั้งแต่ยังไม่เกิด แปลตรงกันข้ามเลย แปลว่าตั้งแต่ยังไม่เกิดอยู่ในครรภ์ก็เป็นศัตรูแล้ว เพราะว่าตอนนั้นพระราชมารดานั้นแพ้พระครรภ์แล้วก็อยากจะเสวยเลือดในเลือดของพระเจ้าพิมพิสารเลย พระเจ้าพิมพิสารก็ได้ทรงสละพระโลหิตจริง ๆ เมื่อเกิดมาแล้วต่อมาก็เป็นไปตามที่โหรทำนายไว้ก็คือได้ปลงพระชนม์พระราชบิดา ที่ปลงพระชนม์นั้นก็เพราะว่าไปคบกับพระเทวทัต ตอนนั้นพระเทวทัต

    เข้ามาบวชแล้วก็ต้องการความยิ่งใหญ่ อยากจะเป็นศาสดาแทนพระพุทธเจ้าแต่ว่าตัวเองไม่มีกำลังพอ ก็หาทางที่
    จะแสวงหาอำนาจ ก็ไปเกลี้ยกล่อมเจ้าชายอชาตศัตรูนี้ วิธีเกลี้ยกล่อมคือไปแสดงอิทธิปาฏิหารย์เหาะมา เหาะมาลงที่พระเจ้าอชาตศัตรู แล้วก็เอางูพันตัวมา มาใกล้ ๆ เจ้าชายอชาตศัตรู เจ้าชายอชาตศัตรูก็กลัวมาก พระเทวทัตก็
    มาปลอบโยนว่าไม่เป็นไร นี่เป็นไปด้วยฤทธิ์ของพระองค์ พระองค์ปราบงูได้อะไรอย่างนี้ และก็สามารถเหาะเหิน
    เดินอากาศได้ เจ้าชายอชาตศัตรูนั้นก็ยังเล็กอยู่ ตอนนั้นก็ไม่มีสติปัญญามากมายพออก็หลงเชื่อพระเทวทัต ต่อมาพระเทวทัตก็เกลี้ยกล่อมว่า เราควรจะได้มาเป็นผู้ปกครองประเทศ โดยพระเทวทัตก็จะปกครองคณะสงฆ์ มาร่วม
    งานกัน ก็เลยให้เจ้าชายอชาตศัตรูปลงพระชนม์พระราชบิดา แล้วพระเทวทัตก็พยายามที่จะปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า ก็ทำการกันมาอย่างนี้ สำหรับพระเทวทัตนั้นทำไม่สำเร็จ แต่พระเจ้าอชาตศัตรูทำสำเร็จ พระเจ้าพิมพิสารก็เลยสวรรคตไปด้วยการกระทำของพระเจ้าอชาตศัตรู ทีนี้ที่แคว้นมคธมีความสัมพันธ์กับแคว้นโกศล ที่เมืองสาวัตถีนั้น ก็ขอย้อนไปเล่านิดนึง อาตมาภาพเหมือนจะเคยเล่าตอนที่เล่าเรื่องในอินเดียมาแล้ว ว่าพระเจ้าพิมพิสารกับพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้นได้เกี่ยวดองกันโดยที่ว่า พระเจ้าพิมพิสารก็ได้อภิเษกสมรสกับท่านน้องนางของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่วนพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้อภิเษกสมรสกับน้องของพระเจ้าพิมพิสาร คือเป็นพี่เขยของกันและกัน เขาเรียกว่าเป็นญาติใกล้ชิดสนิทมาก แคว้นทั้งสองก็เป็นมหาอำนาจด้วยกัน แล้วก็อยู่ใกล้เคียงกัน เมืองราชคฤห์นั้นอยู่ห่าง
    จากเมืองสาวัตถีสี่สิบห้าโยชน์ สี่สิบห้าโยชน์นี่อาตมาภาพคิดออกมาเป็นตัวเลขสมัยปัจจุบันเหมือนจะได้ซักเก้า
    ร้อยกิโลเมตร ยังไม่ได้เทียบดูว่าปัจจุบันได้ตรงกันมั้ยเก้าร้อยกิโลเมตรโดยเส้นทางสมัยโบราณ ทีนี้สองเมืองก็นี้มี
    ความสัมพันธ์กันอย่างนี้เป็นญาติกัน ก็เป็นอันว่าโดยความเป็นญาติก็แคว้นทั้งสองก็มีสัมพันธไมตรีอันดี มีอำนาจ
    มากด้วยกันแต่ว่าไม่เคยรบราฆ่าฟันกันมาเลยจนตลอดรัชกาล เมื่อพระเจ้าพิมพิสารถูกพระเจ้าอชาตศัตรูปลง
    พระชนม์ไปแล้ว ตอนนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงพระพิโรธมาก แล้วเรื่องไม่แค่นั้นคือพระนาง พระมเหสีของ
    พระเจ้าพิมพิสารซึ่งเป็นน้องของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อพระราชสวามีสิ้นพระชนม์สวรรคตไปแล้วก็มีความเศร้า
    โศกตรอมพระทัยมาก ไม่ช้าไม่นานพระมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารซึ่งเป็นน้องของพระเจ้าปเสนทิโกศลก็สวรรคต
    ตามพระราชสวามีไป เมื่อทั้งพระเจ้าพิมพิสารและพระมเหสีสวรรคต พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ยิ่งทรงพระพิโรธมาก
    ว่าพระเจ้าอชาตศัตรูซึ่งเป็นหลานเป็นเหตุให้น้องของพระองค์ต้องสวรรคตไป วิธีแก้แค้นของพระเจ้าปเสนทิโกศล
    ก็คือว่า ตอนที่น้องของพระองค์ได้ไปอภิเษกสมรสกับพระเจ้าพิมพิสาร พระบิดาของพระองค์ชื่อว่าพระมหาโกศล
    พระเจ้ามหาโกศลได้มอบหมู่บ้านในแคว้นกาสีหมู่หนึ่งไปเพื่อจะให้เก็บเป็นภาษี เก็บภาษีสำหรับเป็นค่าใช้จ่าย
    ส่วนพระองค์ของพระมหเสีของพระเจ้าพิมพิสารที่เป็นน้องของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อพระน้องของพระองค์
    สวรรคตไปแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลพิโรธมากก็เลยให้ริบเอาหมู่บ้านในแคว้นกาสีอันนี้คืนมา พอริบเอาคืนมา
    พระเจ้าอชาตศัตรูก็พิโรธเหมือนกัน ก็เลยประกาศสงครามกับพระเจ้าปเสนทิโกศลที่เป็นลุง ตอนนี้ก็เลยเริ่มเกิด
    สงคราม แคว้นโกศลกับแคว้นมคธที่เคยมีสัมพันธไมตรีอันดีกันมาตลอดกาลยาวนาน ตอนนี้ก็เริ่มเกิดสงครามขึ้น
    ในการรบครั้งแรกแรก ปรากฏว่าพระเจ้าอชาตศัตรูเข้มแข็งกว่าก็รบชนะ ตอนนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลก็คงจะมีพระชนม์มายุมากสูงเรียกว่าแก่แล้ว ก็สู้ไม่ได้ แต่อยู่มาคราวหนึ่งอำมาตย์ของพระเจ้าปเสนทิโกศลไปในวัด แล้วไปได้
    ยินนายทหารเก่าคนหนึ่งซึ่งไปบวชท่านคุยกัน พระท่านคุยกันแล้วก็องค์หนึ่งท่านก็บอกว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่
    ฉลาดเลย ใช้วิธีรบไม่ถูกต้องจึงได้แพ้ทุกคราว ถ้าใช้วิธีอย่างนี้ ๆ แล้วก็ชนะแน่ ท่านก็ว่าของท่าน ท่านเป็นนาย
    ทหารใหญ่เก่า ฝ่ายอำมาตย์ของพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ยินวิธีรบแผนนี้เข้าก็ชอบใจ ก็เลยเอาไปกราบทูลพระเจ้า
    แผ่นดินของตัว พระเจ้าปเสนทิโกศลนี้เลยเอาแผนนี้ไปใช้ในการรบ ก็ปรากฏว่าครั้งสุดท้ายนี่เหมือนจะเป็นการรบ
    ครั้งที่สี่ พระเจ้าปเสนทิโกศลนี้ก็รบชนะจับตัวพระเจ้าอชาตศัตรูได้ด้วย อันนี้ก็เลยเป็นอันว่าคราวนี้พระเจ้าปเสนทิ
    โกศลก็ทำการได้สำเร็จสมดังพระราชหฤทัย จับพระเจ้าอชาตศัตรูมาก็บังคับขอให้สละราชสมบัติ พระเจ้าอชาตศัตรูก็ตกลงต้องยอม ยอมสละราชสมบัติ แต่ว่าเพราะเหตุที่เป็นลุงกับหลาน ก็ไม่กล้าฆ่า ก็ทำไม่ลง แล้วพระเจ้า
    ปเสนทิโกศลก็เป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัดด้วย ก็ไว้ชีวิต และเสร็จแล้วเพราะเหตุที่ยอมทำตามพระองค์สั่ง
    พระองค์ก็เลยกลับเป็นโปรด เอาเป็นว่าเอาละ เธอก็แพ้ฉันแล้ว ฉันก็ทำการสำเร็จก็เลยพระเจ้าปเสนทิโกศลก็มอบ
    ราชสมบัติคืนให้อย่างเก่า แล้วไม่เท่านั้น ยังให้พระราชธิดาไปองค์นึงด้วย แล้วก็มอบหมู่บ้านในแคว้นกาสีที่ริบ
    กลับคืนมานั้นให้แก่พระเจ้าอชาตศัตรูกลับไปอีก พอหลังจากนั้นทั้งสองแคว้นนี้ก็สงบ ไม่รบกันอีก อันนี้ก็เป็นเรื่อง
    ราวระหว่างแคว้นโกศลกับแคว้นมคธที่มีความเป็นญาติกัน แต่พระเจ้าอชาตศัตรูนี้ภายหลัง เมื่อพระราชบิดาสวรรคตไปแล้วก็รู้สึกสำนึกได้แล้วก็หันมาประพฤติตัวดี และได้กลายมาเป็นพุทธศานิกชนไปด้วย ได้นับถือพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้มาเป็นผู้อุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่หนึ่ง ที่ถ้ำสรรตบรรณคูหาภูเขาเวภาละบรรพตนั้น อันนี้เรื่องก็มา
    เกี่ยวข้องอีกตอนหนึ่งกับแคว้นโกศล คือพระเจ้าปเสนทิโกศลก็มีเรื่องต่อมาว่าพระองค์นี้อยากเป็นญาติกับ
    พระพุทธเจ้า ก็เลยได้ไปขอเอาพระราชธิดาทางด้านแคว้นศากยะมาเป็นพระมเหสี ทีนี้ทางพระเจ้าแผ่นดินทาง
    แคว้นศากยะนั้นถือตัวมาก ไม่ยอมแต่งงานกับคนนอกวงศ์ของตนเอง ก็เลยไปให้ลูกทาสีมา อันนี้ก็เกิดเรื่องอีก
    แล้วลูกทาสีนั้นได้มาเป็นมเหสีเป็นชายาองค์หนึ่งของพระเจ้าปเสนทิโกศล แล้วได้มีโอรสชื่อว่าพระเจ้าวิฑูฑะภะ
    วิฑูฑะภะนี้ต่อมาได้ไปเยี่ยมญาติที่แคว้นศากยะ แล้วไปรู้ว่าทางโน้นเค้าดูถูกตัวเอง ก็เลยผูกอาฆาตไว้ว่าได้ขึ้น
    ครองราชย์เมื่อไรก็จะยกทัพไปล้างโฆตรศากยะให้หมด ที่นี้เจ้าชายวิฑูฑะภะนี้ เพราะความคิดที่ร้อนแรงต้องการ
    จะแก้แค้นของตัวเอง ก็เลยเป็นเหตุให้ต่อมาก็ชิงราชสมบัติพระเจ้าปเสนทิโกศล ตอนท้าย ๆ เมื่อพระเจ้าโกศลพระชนมายุได้แปดสิบชันษาซึ่งแก่มากแล้ว ก็ถูกพระเจ้าวิฑูฑะภะซึ่งเป็นโอรสของพระองค์เองยึดอำนาจ ยึดอำนาจในวันที่พระเจ้าโกศลไปเฝ้าพระพุทธเจ้า วันนั้นเสด็จเข้าไปเฝ้าแต่ลำพังพระองค์เอง แล้วก็ได้มอบดาบอาญาสิทธิ์ไว้
    แก่อำมาตย์ที่ไว้วางพระราชหฤทัยอยู่ข้างนอก อำมาตย์คนนี้ก็สมคบกับพระเจ้าวิฑูฑะภะนี่ ตอนนั้นยังเป็นเจ้าชาย ก็ได้ดาบอาญาสิทธิ์แล้วก็เท่ากับได้รับมอบอำนาจหมด ก็เลยกลับไปในเมืองแล้วก็ขึ้นครองอำนาจไปเลย พระเจ้า
    โกศลก็หนีจะไปหาพระเจ้าอชาตศัตรูเพื่อไปขอกองทัพมาช่วย ทีนี้เดินทางไปพระองค์ก็ไปเฉพาะลำพังพระองค์
    แล้วก็มีเหมือนจะคนรับใช้เป็นผู้หญิงติดตามไปด้วยคนหนึ่ง ก็ไปด้วยม้าก็เหนื่อยพระวรกายมาก อายุก็มากแล้ว
    ไปถึงเมืองราชคฤห์เพื่อจะไปขอกำลังจากอชาตศัตรูที่เป็นหลานเพื่อจะมาชิงเมืองกลับ พอไปถึงเมืองโน้นราชคฤห์ไม่ทันก็ปรากฏว่าค่ำ ประตูเมืองเขาก็ปิด ในสมัยโบราณนั้นแม้แต่พระเจ้าแผ่นดินของเมืองนั้นเองก็เข้าเมืองไม่ได้
    ถ้าประตูเมืองปิดแล้ว ดังนั้นก็เลยต้องไปนอนไปบรรทมอยู๋นอกเมือง ก็ไปศาลาพักคนเดินทางหลังหนึ่ง พระเจ้า
    ปเสนทิโกศลทั้งเหนื่อยพระวรกายจากการวิ่งม้ามาตลอดวัน แล้วพระชนมายุก็มากถึงแปดสิบพรรษา อากาศคืน
    นั้นก็ปรากฏว่ากลางคืนมันเย็น ก็เลยคืนนั้นเองพระเจ้าปเสนทิโกศลก็สวรรคต ก็เป็นอันว่าลูกชายก็ยึดอำนาจไป
    แล้วพระเจ้าอชาตศัตรูตอนวันรุ่งขึ้นก็ได้ทราบว่า พระเจ้าลุงของพระองค์เองมาสวรรคตอยู่ทีใกล้ประตูเมือง ก็ไม่รู้
    จะทำยังไงได้ ก็สิ่งแรกที่จะทำก็คือว่าถวายพระเกียรติ โดยที่อัญเชิญมาแล้วก็จัดพิธีถวายพระเพลิงเสร็จสิ้นไป ทีนี้ด้วยเรื่องของพระเจ้าปเสนทิโกศลก็มีจุดจบ รู้สึกว่าจะไม่ต่างจากพระเจ้าพิมพิสารมากนัก ก็คือโดน ถูกโอรสของ
    พระองค์เองนั่นแหละฆ่าโดยตรงบ้าง โดยอ้อมบ้าง ส่วนพระเจ้าวิฑูฑะภะนั้นก็ เพราะความแค้นและก็อยากได้
    อำนาจ ชิงอำนาจจากพระราชบิดา ก็ไม่รู้ว่าตัวเองจะพบจุดจบที่ไม่ดีเหมือนกัน ต่อมาพอได้ครองราชย์สมบัติก็ด้วยความแค้นก็รีบจัดทัพเลย จัดทัพยกไปล้างโฆตรศากยะ ไปถึงกลางทางตอนนั้นพระพุทธเจ้าทรงทราบว่าพระเจ้า
    วิฑูฑะภะยกทัพจะไปรุกรานแคว้นศากยะ ก็พระองค์ก็เห็นว่าควรจะช่วยพระญาติไว้ก่อน ก็เสด็จมาประทับที่ใต้ร่ม
    ไม้ แต่ต้นไม้ต้นนั้นมีแต่กิ่งไม่มีใบ คือพระองค์ไปประทับกลางแดด แล้วพระเจ้าวิฑูฑะภะไปถึงก็ไปพบพระพุทธเจ้าก็เป็นญาติผู้ใหญ่ ก็ไม่สามารถจะผ่านไปเฉย ๆ ได้ ก็ต้องไปนมัสการ ถามว่าทำไมพระองค์ประทับอย่างนี้ พระองค์ก็ตรัสบอกว่าร่มเงาของญาตินั้นเย็น อะไรทำนองนี้ ก็ทำให้พระเจ้าวิฑูฑะภะไม่กล้า ก็ต้องถอยทัพกลับ และต่อมา
    ความแค้นพุ่งแรงขึ้นอีก จะยกทัพไปอีก แล้วไปพบพระพุทธเจ้าอย่างเดิมอีกก็ถอยทัพกลับมา ทำอย่างนี้สามครั้ง พอครั้งที่สี่พระพุทธเจ้าก็ทรงปลงพระทัยว่าอันนี้เป็นกรรมของสัตว์ซึ่งจะต้องปล่อยให้เป็นไป คือมันไม่สมควรแล้วที่จะไปกั้นกันอยู่อย่างนั้น ก็เลยปล่อย พระเจ้าวิฑูฑะภะก็ไปรบฆ่าฟันเจ้าศากยะล้มตายเกือบทั้งหมดเลย ที่หนีได้ก็หนีไป หนีไปได้ก็คงไม่มากเท่าไร แคว้นศากยะก็เลยหมดสิ้นตั้งแต่คราวนั้น แต่พระเจ้าวิฑูฑะภะพอรบเสร็จก็ยก
    ทัพกลับมา ก็ฉลองที่ชัยชนะที่ได้รบชนะ ล้างแค้นของตนก็ได้สมความประสงค์ ก็สนุกกันในระหว่างทาง แล้วตอนที่กำลังพักทัพไปพักทัพอยู่ที่ริมแม่น้ำอิระวดี ตอนกลางคืนก็ปรากฏว่ามีพายุใหญ่มาแล้วก็น้ำแม่น้ำนั้นได้ท่วมท้น
    อย่างรวดเร็ว น้ำแม่น้ำในอินเดียนั้นเวลาท่วมนี่ บางสายจะท่วมอย่างรวดเร็วจนกระทั่งมันหนีไม่ทัน ในเมืองไทยก็มีเหมือนกันแต่ว่าไม่ค่อยมาก แต่อันนั้นเขาเป็นมากอย่างรวดเร็วเหลือเกิน ก็ปรากฏว่าน้ำได้ท่วมทัพของพระเจ้า
    วิฑูฑะภะตายกันเกือบหมดเลย รวมทั้งพระเจ้าวิฑูฑะภะเองด้วยก็สิ้นพระชนม์ในครั้งนั้น ก็เป็นอันว่าพระเจ้าวิฑูฑะภะไปล้างโฆตรศากยะแก้แค้นให้ตนเอง และเสร็จแล้วตนเองก็พบจุดจบที่ไม่ดี ก็เรื่องของแคว้นโกศลก็ไม่ทราบว่า
    เป็นยังไงต่อไปหลังจากนี้ จะมารวมกับมคธแต่คราวนี้หรือยังไงไม่ทราบชัด นักประวัติศาสตร์ไม่สามารถให้คำตอบที่แน่นอน และก็ไม่ปรากฏประวัติศาสตร์หลังแต่นั้นมา ก็เป็นอันว่าแคว้นมคธ พระเจ้าอชาตศัตรูก็ครองแคว้นต่อมาและพระเจ้าอชาตศัตรูนี้มีโอรสชื่อว่าอุทัยภัทร ในที่สุดโอรสชื่ออุทัยภัทรนี่ก็ปลงพระชนม์พระเจ้าอชาตศัตรูอีก แล้วอุทัยภัทรนั้นต่อมาก็ถูกโอรสปลงพระชนม์อีก เหมือนจะถูกปลงพระชนม์กันอยู่อย่างนี้เจ็ดชั่วคน จนกระทั่งอำมาตย์นั้นพิจารณาเห็นว่า ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ปิตุฆาต คือฆ่าบิดาเรื่อยอย่าเอาไว้เลย พวกอำมาตย์ก็เลยสำเร็จโทษ
    พระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้าย แล้วตั้งวงศ์ใหม่ขึ้นมาครองแทน ก็เลยวงศ์พระเจ้าพิมพิสารที่เริ่มปิตุฆาตตั้งแต่สมัย
    พระเจ้าอชาตศัตรูก็สิ้นสุดลง แล้วพระเจ้าแผ่นดินสมัยหลังก็ย้ายเมืองหลวงจากเมืองราชคฤห์ไปที่เมืองปาฏลีบุตร ตอนที่พระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์นั้นก็ ได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ปาฏลีบุตรแล้ว ที่โยมบอกว่าเมืองปัตนะนั่นแหละ นั่นคือเมืองปาฏลีบุตร เป็นเมืองหลวงใหม่ของแคว้นมคธในระยะหลัง แล้วพระเจ้าอโศกมหาราชนี่ก็ ตามเรื่องตำ
    นาน นักประวัติศาสตร์ค้นได้ว่าเป็นราชวงศ์โมลียะ โมลียะนี้ว่าเป็นเชื้อสายศากยะ คือพวกศากยะที่หนีทัพ ที่หนี
    จากการถูกรุกรานของพระเจ้าวิฑูฑะภะนั่นเอง หนีออกมาอยู่ตามเชิงภูเขาหิมพานต์ แล้วต่อมาก็สืบเชื้อสายมาจนถึงพระเจ้าอโศกมหาราช ก็กลายเป็นว่าวงศ์ศากยะกลับมายิ่งใหญ่ภายหลังอีกครั้งหนึ่ง แล้วพระเจ้าอโศกมหาราชนี้แหละก็มาฟื้นฟูส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองขึ้นในระยะ พ.ศ. สองร้อยเศษ ๆ อันนี้ก็เป็นเรื่องความหมุนเวียนเปลี่ยนไปมาทางประวัติศาสตร์ อาตมาภาพก็เลยเล่าเรื่องแคว้นมคธและเรื่องราชคฤห์ที่สัมพันธ์กับแคว้นมคธแห่ง
    เมืองสาวัตถีให้โยมฟังเพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น แต่มีคติอยู่อันหนึ่งนอกจากเรื่องอนิจจังหรือความเปลี่ยน
    แปลงก็คือว่าเรื่องของอำนาจ ผู้ที่อยู่ในอำนาจนี่จะต้องมีความระแวงระวังอยู่เสมอ แม้ตัวจะประพฤติดีแล้ว อย่าง
    พระเจ้าพิมพิสารก็ดี พระเจ้าปเสนทิโกศลนั้นก็ดี ก็เป็นกษัตริย์ที่ทรงมีพระเมตตาธรรม เป็นพุทธศนิกชนดำรงอยู่
    ในธรรมะทั้งสิ้น แต่เพราะไปครอบครองอำนาจ อำนาจนั้น ตัวเองจะทำยังไงก็ตาม แต่คนอื่นเขาปรารถนา หมาย
    ความว่าสิ่งที่ตนครอบครองอยู่นั้น คนอื่นเขาปรารถนาอยู่ตลอดเวลา เขาไม่ได้ต้องการที่จะทำร้ายพระองค์ แต่เขาต้องการสิ่งที่พระองค์ครอบครอง ผลที่สุดเขาก็ต้องมาทำร้ายพระองค์ด้วย เพื่อจะได้สิ่งที่เขาต้องการนั้น ฉะนั้นผู้ที่มีอำนาจก็ ทำให้ต้องมีความระแวงอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากว่าทำใจไม่เป็นก็จะอยู่ด้วยความเป็นทุกข์ ทางธรรมะจึง
    สอนวิธีการที่จะให้ครอบครองอำนาจอยู่ด้วยความสุข และใช้อำนาจนั้นให้เป็นไปในทางที่มีประโยชน์แก่คนทั่วไป
    อย่างที่เรียกว่าให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก อันนี้ก็เป็นคติเกี่ยวกับเรื่องของความเป็นมาทาง
    ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ที่ว่าวงศ์หนึ่งก็ได้รุ่งเรืองและต่อมาก็อาจจะเสื่อมโทรมแล้วก็สูญสิ้นไป และความหมุน
    เวียนในเรื่องของอำนาจก็เป็นอย่างนี้ตลอดมา คือมีการที่ว่าแย่งชิงอำนาจกัน และผู้ที่แย่งชิงนั้นก็จะประสบความพิ
    นาศย่อยยับไปด้วยเหตุต่าง ๆ แล้วก็อาจจะมีผู้อื่นมาชิงไปบ้าง หรืออาจจะประสบภัยทางธรรมชาติ หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่นี่ถ้าหากว่าได้พิจารณาตามหลักธรรมก็รู้ว่ามันเป็นเรื่องคติธรรมดาของความเป็นไป ให้เรารู้เท่าทันและ
    อย่างน้อยก็ให้ทำใจให้มีความสุขได้ด้วยความรู้นั้น อาตมภาพก็ได้เล่าเรื่องของเมืองราชคฤห์อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธมาก็คิดว่าพอสมควรแก่เวลา วันนี้ก็พอเป็นเครื่องประกอบความรู้ของโยมเกี่ยวกับเรื่องดินแดนถิ่นฐาน
    ในสมัยพุทธกาลซึ่งได้เคยสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา ก็ขออนุโมทนาโยมเพียงเท่านี้ เจริญพร

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service