แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ตอนนี้ก็มีข่าวใหญ่ในวงการพระศาสนา ผมพูดอย่างนี้ยังไม่ได้บอกว่าอะไร ทุกท่านก็คงรู้ในใจแหละก็คือ ข่าวหลวงพ่อปัญญานันทะถึงมรณภาพเมื่อวานตอนเช้า 9 โมง ซึ่งท่านก็ทราบรายละเอียดดีแล้ว นี่ก็ถือว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญ เพราะว่าท่านเป็นผู้ที่ทำงานสำคัญให้แก่พระศาสนามามากและยาวนาน ถือได้ว่าท่านเป็นผู้เปิดยุคใหม่ของการเผยแผ่ แต่ก่อนนี้พระเราก็จะเคร่งครัดในแบบแผนประเพณีทำตามพิธีแสดงธรรม ก็คือเทศน์ต้องขึ้นธรรมมาส ถือใบลาน นี้มาหลวงพ่อปัญญานันทะนี่ ท่านเป็นผู้ที่เรียกได้ว่าเริ่มยุคนี้ ความจริงคณะของท่านก็มีสาม เรียกว่าสามพี่น้อง ก็คือ หลวงพ่อพุทธทาส หลวงพ่อ บ.ช.เขมาภิรัตน์ หลวงหลวงพ่อปัญญานันทะ 3 พี่น้องนี้ก็หลวงพ่อ บ.ช. เขมาภิรัตน์ก็มรณะภาพไปก่อน แล้วก็มาหลวงพ่อพุทธทาส แล้วก็มาหลวงพ่อปัญญนันทะ หลวงพ่อปัญญานันทะก็เพิ่งทำบุญครบ 8 รอบ อายุ 96 ปีไปเมื่อไม่กี่เดือนนี่เอง นี่ท่านตั้งใจว่าอยากจะอยู่ให้สร้างโบสถ์น้ำที่มหาวิทยาลัยจุฬาวังน้อยเสร็จ แต่ก็มีเหตุเกิดขึ้นหัวใจของท่าน เมื่อไปแก้ไขเรื่องหัวใจมันก็กลับไปเป็นภาระแก่ไต เพราะท่านฉีดสี ฉีดสีเข้าไปทีนี้ไตมันต้องทำ ไตผู้สูงอายุมากทำงานไม่ไหว ก็กลายเป็นมรณะภาพเพราะไตวาย นี่ปัญหาใหญ่ที่จริงท่านก็จะอยู่ได้ละก็คือทำการแก้ไขเรื่องหัวใจได้สำเร็จ แต่ก็กลายเป็นว่า ไปอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องไตสะ แล้วก็มีเรื่องปอดติดเชื้ออีก แต่คิดว่าเหตุสำคัญก็อยู่ที่ไต
หลวงพ่อนี่ก็เป็นผู้อย่างที่บอกแล้วว่า ท่านเป็นผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องใกล้ชิดประชาชนมากงานเผยแผ่ก็เลย 3 องค์นี้ ท่านถึงประชาชนมากที่สุด หลวงพ่อพุทธทาสก็มักจะอยู่ในระดับปัญญาชน นี้หลวงพ่อ บ.ช. เขมาภิรัตน์ ท่านก็อายุสั้นหน่อย หลวงพ่อปัญญานี่อยู่ได้ยืนยง แล้วท่านก็ทำงานเผยแผ่กว้างขวางไปทั่วหมด จากใต้ไปจดเหนือ ไปตั้งศูนย์กลางที่เชียงใหม่ ในอดีตท่านเคยไปสอนอยู่ที่เชียงใหม่นาน หรือจะชื่อสวนพุทธธรรมใช่ไหม ตอนนั้นท่านไปสอนที่นั่น ไปแสดงปาฐกถาแบบสมัยใหม่เนี่ย ตามที่เสียงผมได้ยินสมัยนั้นผมก็ไม่ทันท่านมากหรอก แต่ว่าในระดับที่ได้ยินข่าวอยู่ไกล ผมก็อยู่ทางใกล้ ๆ กรุงเทพฯ นี่แหละ แต่หลวงพ่อปัญญานันทะท่านไปสอนอยู่เชียงใหม่ ข่าวมาว่าท่านพูดนี่พวกโรงหนังอ่ะ ถ้าเปิดพร้อมกันละแพ้ท่านเลย โรงหนังคนไม่ไปมาฟังท่านปัญญานันทะ เรียกว่าต้องเก่งจริง ๆ คือท่านพูดนี่เข้าใจง่ายแล้วก็ถึงอกถึงใจคน เข้าใจดี ธรรมะที่ท่านบรรยายก็อยู่ในระดับของการประพฤติปฏิบัติตัวของประชาชนในสังคมที่เป็นระดับโดยเฉลี่ยนี่ทันกัน ที่เรียกในปัจจุบันก็คือเป็นระดับที่เขาใช้คำสมัยนี้ว่าจริยธรรม ท่านจะพูดในระดับนี้มาก แล้วก็เป็นเรื่องของการทันสมัยในแง่เป็นวิทยาศาสตร์ คือท่านไม่ต้องพูดเรื่องวิทยาศาสตร์ แต่หมายความว่าท่านนิยมเหตุผล ไม่ไปทางเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ไสยศาสตร์โดยเฉพาะท่านติเตียนมากในยุคนั้นสัก 50 ปีมาแล้วนี่ เป็นยุคที่สังคมกำลังเคลื่อนไหวเข้ายุคนิยมวิทยาศาสตร์ด้วย ก็เรียกว่าเข้าถึงคนยุคปัจจุบันได้อย่างดี ท่านก็ทำงานนี้มา การที่ยืนเทศน์ ปาฐกถาแสดงธรรมปากเปล่าอะไรมีคนนั่งฟังในหอประชุมนั่งเก้าอี้อะไรนี่ ก็เรียกว่าท่านเป็นผู้นำเป็นผู้เปิดยุคนี้ แม้แต่ตอนท้าย ๆ นี่ท่านก็ยังนำนะ เป็นผู้ที่ริเริ่มในการที่ว่าจัดงานศพเวลามีสวดศพแทนที่จะสวด 4 จบ ก็ท่านก็ให้เทศน์สะแล้วก็สวดจบเดียว ก็บางวัดก็นิยมจัดตาม อันนี้ก็เป็นความคิดที่เริ่มของท่าน ก็เรียกว่าท่านทำอุปการะเกื้อกูลแก่งานพระศาสนามามาก ก็ควรที่จะระลึกถึงความสำคัญของท่าน แล้วก็เอามาเป็นแนวทางในการที่ว่าจะช่วยกันทำงานพระศาสนากันต่อไปอย่างไร
อันนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ ยุคนี้ก็เป็นยุคที่เหมือนกับว่าความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์อิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ เรื่องจตุคามรามเทพ นี่มันย้อนกลับมาแรง กระแสนี้เรียกว่าสังคมหนักหน่วงอยู่ ซึ่งมันสัมพันธ์กันพอดีที่พูดคราวที่แล้วว่า ความนิยมวิทยาศาสตร์ก็เสื่อมลง เรื่องที่ภาษาอังกฤษที่เรียก Security ก็เลยเก่อขึ้นมามีโอกาสที่จะเด่นขึ้นมาคู่เคียงเรื่องที่เราเรียกว่าจิตวิญญาณ ที่เขานิยมใช้คำนี้ แต่ว่าถ้าใช้ศัพท์เดิมก็เรื่องผี ๆ ที่ว่าจะกลับคืนมา ก็แรงขึ้นมาตอนนี้ นี้ว่าในเรื่องของเรื่องผี ๆ นี่เราก็ต้องรู้จักแยกเอาไอ้สิ่งที่ดีมาใช้ประโยชน์ไม่ใช่หลงตามไป แยกแยะไม่เป็นก็ยุ่ง มันมีทั้งด้านเสียด้านดี ส่วนบางส่วนก็เข้ามาพุทธศาสนาได้ แล้วทีนี้ในแง่ที่ว่าหลวงพ่อท่านเผยแผ่ธรรมะที่เข้าถึงผู้คนทั่วไปท่านก็เน้นที่เรียกกันในปัจจุบันว่าจริยธรรม แล้วเวลานี้ท่านอาจจะได้ข่าวว่ากำลังมีการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการที่จะเดินเครื่องเรื่องจริยธรรมที่โยงไปสู่แนวคิดเมื่อสมัยสัก 20 ปีมาแล้ว ที่เรียกว่าจริยธรรมสากล ได้ยินบ้างไหม เวลานี้กำลังมีการเคลื่อนไหวอันนี้ บางที่ก็ใช้คุณธรรมและจริยธรรม ก็เลยขอพูดเรื่องนี้นิดหน่อย พูดแบบสรุปเพราะมันเป็นเรื่องใหญ่เหลือเกิน เรื่องจริยธรรมแล้วก็เอาคุณธรรมมาหนุน เวลานี้มักจะต้องพูดคู่ว่า คุณธรรมและจริยธรรม ทีนี้จริยธรรมอันนี้ ตัวคำเองก็เป็นคำใหม่มากคือมันไม่ใช่ศัพท์เดิมในสังคมไทย ถ้าพูดเป็นเล่น ๆ ก็บอกว่าสังคมไทยเมื่อ 100 ปีที่แล้วไม่มีจริยธรรม ก็ฟังได้ 2 อย่าง ไม่มีจริยธรรมหมายความว่า คนไทยนี่แย่ซิใช่ไหม เปล่าไม่ใช่ หมายความมันไม่มีคำว่าจริยธรรม คำว่าจริยธรรมเมื่อ 100 ปีก่อน ไม่มี มันเป็นศัพท์บัญญัติเพิ่งมีขึ้นเมื่อสัก 40 ปีแล้ว ประมาณนี้เป็นศัพท์บัญญัติ เพื่อจะให้ตรงกับคำว่า Ethics ของฝรั่ง นี่คำว่า Ethics มาแปลเป็นจริยธรรม เกิดขึ้นมาแล้วคนไทยเนี่ยกำลังนิยมวิชาการจากตะวันตก ฉะนั้นคำว่าจริยธรรมก็ใช้กันมากขึ้น มากขึ้น จนกระทั่งต่อมาคำว่าศีลธรรมซึ่งเป็นคำเดิมในสังคมไทยก็ค่อย ๆ ถูกละเลยหรือตั้งใจทิ้งก็ไม่รู้นะ จนกระทั่งแม้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการก็เลิกใช้คำว่าศีลธรรม วิชาศีลธรรมก็หมดไป แล้วก็พยายามมีคำว่าจริยธรรมเข้าไป เข้าไป เข้าไป
จนกระทั่งว่าเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้วเนี่ยได้มีการเคลื่อนไหวที่ว่าจะให้มีแบบจริยธรรมสากล จริยธรรมสากลก็หมายความว่าเป็นจริยธรรมที่เป็นกลาง ๆ ไม่ขึ้นต่อชาติไหน สังคมไหน ประเทศไหน ศาสนาไหนทั้งสิ้นทำกันถึงขนาดที่ว่า เอ้อ พวกหลักความประพฤติในสังคมไทยนี่มาจากพุทธศาสนา เมตตาก็พุทธศาสนา สติก็พระพุทธศาสนา สมาธิก็พุทธศาสนา ศรัทธาก็พระพุทธศาสนา เราต้องเป็นกลาง ๆ ตอนนั้นเขามีการเคลื่อนไหว ต้องเป็นสากล สากลก็หมายความว่าทั่วโลกเป็นกลาง ๆ หมด เราต้องเอามาทำบัญชีดูกันคล้าย ๆ อย่างงั้น คล้าย ๆ ทำบัญชี ว่าอันไหนมันเป็นจริยธรรมที่ยอมรับได้ทั่วโลก แล้วก็พยายามใช้เป็นคำไทย สัจจะแปลว่าอะไร แปลว่าความจริง ไม่เอาแล้วคำว่าสัจจะ เอาคำว่าความจริง เมตตาอะไรความรัก ตัดทิ้งเมตตา ศรัทธาแปลว่าความเชื่อก็เอาความเชื่อสิ จะเอาศรัทธาทำไม ตัดไป อะไรอย่างงี้นะ มาถึงเอ้ไอ้สตินี่จะแปลว่าไงดี ระลึกได้ หาคำที่มันมีความหมายคุมยาก ก็พยายามดิ้นรนกัน นักวิชาการสมัยใหม่จะทำจริยธรรมสากล ก็เป็นความเคลื่อนไหวสำคัญนะในวงการวิชาการและก็เข้าสู่กระทรวงศึกษาธิการ ถ้าสำเร็จก็จะเป็นหลักสูตรกระทรวง เป็นอันว่าศีลธรรมนี้ก็หลุดหายไปแล้วแหละ จริยธรรมก็เข้ามา นี้เมื่อพูดถึงศีลธรรมนักวิชาการสมัยใหม่ก็เลยต้องพยายามมาทำความชัดเจนในแบบสมัยใหม่เพื่อจะอุดตัดได้ เอ้าเขาก็ให้ความหมาย เอาละนะ จริธรรมนี่เป็นหลักความประพฤติเป็นแบบแผนความประพฤติที่ทั่ว ๆ ไป ส่วนศีลธรรมนั้นคือหลักความประพฤติที่มาจากศาสนา นี่คำจำกัดความใหม่เกิดขึ้นในยุคนั้น นี้ตอนนั้นเขาก็บอกว่าเราไม่ควรขึ้นต่อศาสนาไหน ที่ว่าจะเป็นจริยธรรมสากลเพราะฉะนั้นก็ไม่เอาศีลธรรมก็ถูกแล้วซิใช่ไหม เพราะเป็นศีลธรรมเป็นจริยธรรมที่มาจากศาสนา นี่แนวคิดตอนนั้น ทีนี้เรื่องนี้มันก็โดดเด่นอยู่พักนึงแล้วมันก็เบา ๆ ลงไป แต่ว่ากระแสมันก็ยังอยู่ก็คือศีลธรรมก็เป็นหมดจากหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการไป ก็มีจริยธรรมเข้ามา ทีนี้ต่อมาก็จะมีการอบรมจริยธรรมอะไรต่าง ๆ แล้วก็เห็นว่าจริยธรรมมันเป็นเรื่องความประพฤติข้างนอกแสดงออกมันต้องมีด้านจิตใจด้วย ก็เลยมีคำว่าคุณธรรมเข้ามาว่าเป็นเรื่องจิตใจต่อมาก็ใช้ควบคู่กัน เวลาจัดอบรมอะไรที่ไหนก็อบรมคุณธรรมและจริยธรรมอะไรต่าง ๆ ก็ใช้กันมาจนเดี๋ยวนี้ อันนี้มันถึงต้องวิเคราะห์ว่าในแง่พุทธศาสนาเรามองเรื่องนี้อย่างไร แต่ว่าเราต้องรู้เกิดขึ้นมาอย่างไรด้วย เอาละผมจะตัดตอนมาก่อน แล้วจะพูดละเอียดแล้วมันจะเยอะ
นี้จริยธรรมสากลก็เบา ๆ ไป เพราะมันคิดยาก แม้แต่คำว่าสตินี่จะหาคำแปลภาษาไทยมันไม่มีหรอก ทำอะไรที่มันจะกินความได้อย่างสติมีไหมครับ เป็นไปไม่ได้ ก็เป็นการคิดริเริ่มขึ้นมา แต่ว่ากระแสใหญ่ก็ยังอยู่ ก็คือศีลธรรมก็ถูกตัดไป ก็เป็นจริยธรรม นี้มาตอนนี้เกิดการเคลื่อนไหว เรื่องที่เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมนี่แล้วก็โยงไปสู่เรื่องของจริยธรรมสากล เพราะเขาจะบอกจริยธรรมสากลนี่พูดที่ไหนก็รู้กันทั้งนั้น เขาละไว้ไม่ต้องพูดถึง เราก็รู้ว่ามันไม่เหมือนอย่างหลักพระศาสนานี่ อย่างของพุทธศาสนาก็พูดรู้ในประเทศไทย ลังกา พม่า เดี๋ยวไปฝรั่งเขาก็ไม่รู้นะอย่างงี้นะ คล้าย ๆ อย่างงั้นจริยธรรมอย่างงี้ละก็พูดที่ไหนก็รู้กันทั่วโลก แล้วก็ศีลธรรมก็ขึ้นต่อศาสนา นี้เราก็ต้องมาวิเคราะห์ดู ต้องทันเขา จริยธรรมที่ว่าสากลนี่ สากลอย่างไง 1 เหมือนอย่างเสื้อผ้าชุดสากล รู้จักไหมครับ สากลก็คือของฝรั่งเท่านั้นเองใช่ไหม มันสากลจริงไหม สากลมันก็ต้องมีทั่วไปหมดทั้งโลกมันต้องเหมือนกันหมด อย่างเดียวกันหมดไอ้สากลชุดสากลมันก็แค่ของฝรั่งเท่านั้นแหละไทยเราไปเกิดนิยมขึ้นมาเรียกชุดสากล เวลานี้มันก็ใช้ไม่ได้ทั่วโลกใช่ไหม ชุดสากล มันจะเป็นชุดสากลยังไง ทีนี้จริยธรรมสากลมันก็เป็นของฝรั่งนั้นเองจริยธรรมฝรั่ง ไม่ใช่สากลอะไรหรอก ถ้าสากลจริงนะ ก็คือความจริง ความจริงเนี่ยใครจะรับไม่รับมันสากลใช่ไหม มันไม่ต้องมีคนมารับ ไอ้นี้ต้องจริยธรรมมาสากลด้วยคนรับ พอคนพูดมาแล้วคนนี้บอกว่าใช่ คนนี้บอกใช่ คนไปรับรองได้เลย ไอ้ที่จริงสากลก็คือความจริง ความจริงนี่มันแน่นอน ความจริงก็ต้องเป็นความจริงตามธรรมดาธรรมชาตินะ ถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรมชาติ อย่างงี้แหละสากลจริงมันไม่ขึ้นต่อที่ใด ไม่เข้าใครออกใครละ สากลแบบนี้ นี่คือจริงเป็นสากลแท้ก็ต้องเป็นความจริง เราอย่าไปหลงตามเขานะ เขาบอกว่าสากล พูดที่ไหนเขายอมรับ ไอ้นี้สากลคนพูด สากลของฝรั่ง ใครนิยมตามฝรั่งก็ว่าใช่ ใช่ไหม เออนี่ ดีไปเชื่อตามเขานี่ บอกว่าคุณมันไม่จริงหรอกสากลของคุณนะ ของคุณสากลก็คือฝรั่ง 2 สากลของคุณนี่เอาตามปากคุณพูด คนไปรับรองอะไรได้จริงละ สากลแท้มันต้องความจริง อันนี้เด็ดขาดก็ต้องมาพิสูจน์กันว่าอันไหนเป็นความจริง
ที่นี้จริยธรรมที่มาแบบสายตะวันตกนี่เราก็ต้องรู้ภูมิหลังเขา จริยธรรมตะวันตกนั้นมา 2 สายใช่ไหม
1 สายปรัชญา ตั้งแต่กรีก โสกราตีส เพลโต อริสโนเติล มาเรื่อยมาสาย 1 แล้วมาสายศาสนา ศาสนายิวคริสต์ โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ เพราะคริสต์เป็นใหญ่ในสมัยกลางตั้ง 1000 ปี ทีนี้ศาสนาคริสต์ก็เป็นจริยธรรมแบบเทวบัญชาหรือเทวองค์การ พระผู้เป็นเจ้าสั่ง ส่วนจริยธรรมของนักปรัชญาตั้งแต่กรีกมาก็เป็น Speculation คือการคิดคะเนตามเหตุผลใช่ไหม คิดคะเนตามเหตุผลแล้วก็บางทีก็โยงเข้าเรื่องบัญญัติของมนุษย์จะเข้าถึงความจริงตามธรรมชาติหรือเปล่าก็เถียงกันอยู่นักปราชญ์เองเถียงไม่รู้กี่สำนักใช่ไหม นี่ เอาแล้วมา 2 สาย
ทีนี้มาในยุโรปตลอดเวลา 1000 ปีของสมัยกลางเนี่ยมันขึ้นต่อศาสนาคริสต์ เพราะฉะนั้นจริยธรรมของปรัชญาตะวันตกของสายกรีก อะไรนะก็ต้องเหมือนชะลอชะลอหรือไม่มีหลัก ก็มีนักคิด นักปราชญ์อะไรพวกหัวปัญญาชนที่คิดอยู่ แต่ว่าอิทธิพลที่จะเอามาใช้ปฏิบัติธรรมนี่มันอยู่ที่จริยธรรมกับเทวบัญชาของศาสนาคริสต์ ก็คือพระเจ้าท่านสั่งมาอย่างงี้ พระองค์ห้าม ถ้าฝ่าฝืนแกก็ถูกลงโทษ พระองค์สั่งให้ทำอย่างนี้ให้ปฏิบัติตามถ้าไม่ทำตาม ข้าก็ลงโทษแก ลงโทษยังไง รอวันสิ้นโลก Judgment Day พวกแกตายไปแล้ว ก็วิญญาณรอ วันสิ้นโลกก็ตื่นลุกขึ้นมาหมด ทีนี้พระเจ้าก็ตัดสินพิพากษา เขาเรียก Judgement Day วันสิ้นโลก นี้เอาละจริยธรรมแบบเทวบัญชา ก็ครอบงำยุโรปและโลกตะวันตกอยู่ 1000 ปี นี้พอผ่านยุคสมัยกลางมาขึ้น Renaissance ยุคที่บางทีเขาบัญญัติศัพท์คุนารุชีพหรือยุคเกิดใหม่ วิทยาการของกรีกโรมันโบราณขึ้นมาแล้ว เอาละนะตะวันตกหันกลับไปหาปรัชญากรีกโรมันแล้ว ทีนี้วิทยาการของกรีกโรมันก็ฟื้นขึ้นมาแล้วก็โยงมาหาวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ก็ฟื้นฟูเจริญขึ้นมา ตอนนี้ละครับเข้ายุควิทยาศาสตร์เข้ายุคแห่งปัญญา ฝรั่งซึ่งถูกศาสนาคริสต์บีบคั้นถึงกับตั้งศาลเขาเรียกว่าศาล Epitation ศาลตัดสินศรัทธามาเล่นงานมาตลอดสงสัยไมเบิลไม่ได้ สงสัยโลกกลมโลกแบนของแกสงสัยแกไปบอกว่าโลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล แกไปพูดว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ต้องจับขึ้นศาลกลืนยาพิษหรือเผาทั้งเป็นอะไรนั่นนะ นี้พวกฝรั่งก็ดิ้นมาพ้นจากสมัยกลางก็ยังไม่หมดยังถูกฆ่าไอ้ศาล Epitaton ยังอยู่ แต่ว่าตอนนี้ก็คืออิทธิพลศาสนาน้อยลงตามลำดับจนกระทั่งเป็นปฏิปักษ์ปฏิเสธศาสนาเลย
ยุควิทยาศาสตร์ขึ้นมา นักวิทยาศาสนตร์ขึ้นมาตอนนี้เอาแล้วมามองว่า วิทยาศาสตร์นี่มองจริยธรรมยังไง วิทยาศาสตร์นี่ต้องเอาแค่ผัสสะทั้ง 5 เคยบอกแล้ว ตาหูจมูกลิ้นกาย ใจไม่เอา ถือว่าใจเป็น Subjective มันเป็นของไม่จริงแล้วแต่คนคิด ความรู้สึกไปเองแต่ละคนไม่เหมือนกัน มันอยู่ที่ต้องผัสสะทั้ง 5 เช่น ตาเห็น หูได้ยิน มือคลำได้ จึงจะเป็นความจริง วิทยาศาสตร์ก็เอาที่ 5 ผัสสะ นี้ก็ตอนนี้เขาไม่เอากับพระศาสนาอยู่แล้วนี่ จริยธรรมของศาสนาอะไรมีที่ไหนเทวบัญชา พระผู้เป็นเจ้าสั่งนี่ไม่จริง มันก็เป็นเรื่องสมมติเอา ที่จริงไอ้จริยธรรมเนี่ย หลักความประพฤตินี่มันเป็นเรื่องมนุษย์ตกลงกันเอา สังคมโน้นดูซิบอกว่าอันนี้ดี แล้วไปอีกสังคมหนึ่ง อันเดียวกันนั่นแหละไอ้ที่ว่าสังคมนี้ว่าดี สังคมโน้นบอกว่าไม่ดี ไอ้ที่สังคมโน้นว่าดี สังคมนี้ไม่ดี นี่จริยธรรมความดีความชั่วไม่มีจริงเป็นของมนุษย์บัญญัติเอา ตกลงกันเอา นั้นวิทยาศาสตร์ไม่เชื่อจริยธรรม
ทีนี้ก็เหลือสายปรัชญา จริยธรรมก็มาง้อวิทยาศาสตร์ต้องปรับตัวเข้าวิทยาศาสตร์ วิชาการต่าง ๆ ที่มาจากสมัยกรีกเกริกโบราณนั้นต้องมาปรับตัวเข้าวิทยาศาสตร์ให้หมดเพราะตอนนี้วิทยาศาสตร์มาเป็นใหญ่แล้ว ฝ่ายศาสนาคริสต์เองก็ต้องปรับจริยธรรมของตัวเองเข้ากับวิทยาศาสตร์ ว่าทำยังไงฉันจะเป็นวิทยาศาสตร์ได้ ยกตัวอย่างง่าย ๆ แนวคิดใหญ่ของตะวันตกมาตั้งแต่กรีก ผมเล่ามาแล้วที่เป็นพื้นฐานของอริยธรรมตะวันตก คือแนวคิดพิชิตธรรมชาติมาตั้งแต่กรีก มามีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์ก็คือเป็นตัวนำของวิทยาศาสตร์เป็นเจตจำนงของวิทยาศาสตร์ ที่เขาเรียกวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์แล้วต่อมาบางพวกบอกโอ้ไม่จริงวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์มันถูกไอ้เจตนานี่ครอบงำ นักวิทยาศาสตร์ตะวันตกนั้นที่ค้นคว้าวิทยาศาสตร์ขึ้นมาตัวอิทธิพลแรงบันดาลใจสำคัญก็คือความตั้งใจที่จะพิชิตธรรมชาติ แล้วมนุษย์จะได้ทำอะไรได้ตามชอบใจเป็นใหญ่ในจักรวาลนี้จะมีความสุขแท้จริง ไอ้แนวคิดนี้มาครอบงำวิทยาศาสตร์ตะวันตก ทีนี้ศาสนาคริสต์ก็เลยต้องมาประสาน มาออมชอม มาปราณีประนอมกับแนวคิดวิทยาศาสตร์ ก็เลยมาหนุนว่าแนวคิดของคริสต์ เขาบอกอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าสร้างโลกมาดูซิ Benesik พระองค์สร้างโลกมา วันนั้นทำอันนั้น วันนั้นทำอันนั้น แล้วพอสร้างมนุษย์ขึ้นมา สร้างมนุษย์ขึ้นมาเสร็จแล้วเอาก็ชักซีกโครงซีกหนึ่งจากผู้ชาย สร้างเป็นผู้หญิงอีกคนได้คู่แล้ว พอสร้างครบคู่แล้วก็บอกว่าสิงสาราสัตว์อะไรทั้งหลายบรรดามีในโลกเนี้ยให้เจ้ามีอำนาจครอบงำบัญชาจัดการได้ให้มนุษย์นี่มีอำนาจเหนือธรรมชาติทั้งหลาย ไอ้สิ่งเหล่านั้นเป็นอาหารของเธอนะ เพราะฉะนั้นฝรั่งก็ถือว่า ฆ่าสัตว์อะไรกินเกินเป็นอาหารตามพระเจ้าสั่งไว้ว่าอย่างงั้นนะ ไม่มีผิดเขาถือย่างงี้ แล้วเขาก็เข้ากับหลักการของวิทยาศาสตร์แนวคิดที่ว่า โอ้เพราะฉะนั้นมนุษย์ก็จัดการกับธรรมชาติได้ตามชอบใจ เพราะพระเจ้าบอกแล้วนี่ พระเจ้าสร้างจักวาลมาสิงสาราสัตว์มานี่ให้อยู่ใต้อำนาจมนุษย์ ให้มนุษย์จัดการดูแลเอา นี่จริยธรรมแม้แต่ของคริสต์ก็ต้องประสานเข้าแนววิทยาศาสตร์ให้ได้จนมาตอนนี้ เอ้าขอลัดนิดนึงนะ
อันนี้อันนี้ถือเป็นส่วนพิเศษ เพื่อจะให้เข้าปัจจุบันเวลานี้เรื่องการรักษาธรรมชาติเป็นสำคัญ ไอ้แนวคิดพิชิตธรรมชาติก็ทำให้ฝรั่งแทบจะร้องให้ เพราะว่าตายแล้วเราผิดนี่ เราจะไปคิดพิชิตธรรมชาตินะมันผิด เราจะต้องไม่มองธรรมชาติต่างหากจากเรา เราต้องมองว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ นี้เป็นความคิดใหม่ของตะวันตกนะ เดิมมนุษย์นี่ต่างหากจากธรรมชาติ มนุษย์ฝ่ายหนึ่ง ธรรมชาติฝ่ายหนึ่ง แล้วมีท่าทีเป็นปฏิปักษ์กัน มนุษย์จะต้องจัดการกับธรรมชาติกำราบมันให้ได้ แล้วก็เอามันมารับใช้สนองความต้องการของตนเอง ทีนี้พอตามธรรมชาติทรุดโทรมร่อยหรอจะแย่แล้วก็เปลี่ยนแนวคิดใหม่ บอกว่าตอนนี้ไม่ได้แล้วจะต้องมองว่ามนุษย์นี่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติแล้วก็มองเป็นมิตรกัน ว่าเป็นพวกเดียวกัน แล้วทีนี้ฝ่ายคริสต์ก็เอาใหม่แล้วนี่นายอันกอเป็นต้น โอ้ศาสนาคริสต์จริยธรรมที่ผ่านมายุควิทยาศาสตร์นี่ไปประสานเข้ากับแนวคิดของวิทยาศาสตร์ที่สืบมาจากปรัชญาของกรีกที่ว่าให้มนุษย์นี่มีอำนาจเหนือธรรมชาติจัดการกับธรรมชาติได้ตามชอบใจ อันนี้ไม่ใช่ความคิดที่แท้จริง ไม่ใช่คำสอนของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ของศาสนาคริสต์ เอาแล้วเขาตีความใหม่ พระเจ้าสอนนี่ไม่ใช่มีความหมายอย่างงั้น เอ้าแล้วสอนแล้วมีความหมายยังไง เพราะก็คำใน Benesik มันชัดอยู่แล้วนี่ว่าพระเจ้าสร้างสิงสาราสัตย์ สรรพโลกสิ่งทั้งหลายมาเนี่ย ให้มนุษย์นี่จัดการตามประสงค์ ไอ้ตาอันกอก็บอกว่านี่ องค์กรศาสนาคริสต์นี่ทำความผิดไปประนีประนอมกับปรัชญากรีก เพื่อเอาใจความคิดวิทยาศาสตร์ที่จะพิชิตธรรมชาติ ตอนนี้ไม่ได้แล้วต้องกลับไปหาความคิดที่เดิมของพระผู้เป็นเจ้าที่แท้ของพระเยซู หมายความว่ายังไง ที่ตรัสว่าให้มนุษย์มี Dominion เขา เรียก Dominion นะ มี Dominion over nature แหละ ให้มีอำนาจครอบงำบัญชาการปกครองธรรมชาตินี่หมายความว่า พระผู้เป็นเจ้าท่านสร้างมา สร้างมาทั้งคน ทั้งสัตว์ ทั้งธรรมชาติแวดล้อมทุกอย่างเนี่ยเป็นสมบัติของท่าน แล้วท่านสร้างสิ่งเหล่านั้นมา แล้วท่านสร้างมนุษย์ขึ้นมาเนี่ยเพื่อให้เป็นตัวแทนท่านดูแลสมบัติของท่าน เอ้อเขาเก่งเหมือนกันนะอีตาอันกอนี่ รู้จักไหมอันกอ คนฟังตอบ รองประธานาธิบดีสหรัฐ รองประธานาธิบดีสหรัฐเป็นคนสำคัญในเรื่องงาน environment ในเรื่องสิ่งแวดล้อมนี่ แกกำลังเป็นตัวการใหญ่เลยนะพระเอกคนหนึ่ง แล้วนี่แกเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง Earth in the Balance โลกในภาวะสมดุล แล้วแกก็บอกอันนี้ แกบอกว่าศาสนาคริสต์นี่มันผิดพระองค์ก่อนศาสนาคริสต์ สถาบันศาสนาคริสต์พวกโป้บ แต่ว่าตัวศาสนาคริสต์แท้จริงถูกแกว่าอย่างงั้น ก็คือว่า พระผู้เป็นเจ้าท่านสร้างสิ่งนี้ขึ้นมานี่ แล้วก็สร้างมนุษย์มาแล้วให้มาเป็นตัวแทนดูแลสมบัติของฉันไว้นะ เพราะฉะนั้นพวกเธอจะต้องดูแลสมบัติให้ดี พอตีความอย่างนี้ก็กลายเป็นว่า พลิกให้ศาสนาคริสต์นี่พิทักษ์ธรรมชาติไปเลยใช่ไหม นี่แนวคิดใหม่ เขาเรียกว่าแนวคิด Stewart Chip of the Nature Stewart Chip แปลว่าอะไร Stewart แปลว่าผู้ดูแล แนวคิด Stewart Chip of the Nature ท่านต้องจำไว้ด้วย อันนี้ผมเลยเถิด เอาละเป็นอันว่านี่คือ วิวัฒนาการเรื่องของจริยธรรม ที่ตอนนี้จริยธรรมมันกลับมามีความหมายสำคัญก็เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติมันทรุดโทรม ถ้ามีเวลาก็ต้องเล่าให้ฟังว่าหวนกลับมาอย่างไง แต่จริยธรรมในตอนนั้นเป็นอันว่าวิทยาศาสตร์มองไม่เห็นความหมายแล้ว จริยธรรมนี่เป็นเรื่องมนุษย์คิดขึ้นมาบัญญัติตกลงกันเองอย่างที่ว่าเมื่อกี้ ไม่ใช่ของจริงก็อันนี้ก็เป็นว่า เบื้องหลังภูมิหลังตะวันตกแล้วจะมาเป็นจริยธรรมสากลให้เรา อะไรละง่อนแง่น ง่อนแง่นจะแย่อยู่แล้วใช่ไหม ตอนวิทยาศาสตร์ขึ้นมา จริยธรรมเทวบัญชาก็ไปเขาก็ไม่เชื่อแล้ว อริยธรรมที่มาจากกรีกก็ต้องมาปรับปรุงตัวพยายามทำให้เป็นวิทยาศาสตร์ แล้วก็ยังเป็นไม่ได้ แต่ก็ยังอยู่ในหมวดปรัชญาใช่ไหม อยู่ในหมวดปรัชญา หมวดปรัชญาก็เป็นสายมนุษยศาสตร์อีก คือจัดหมวดวิชาใหม่ในยุควิทยาศาสตร์ เป็นหมวดวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ หมวดสังคมศาสตร์ หมวดมนุษยศาสตร์ ก็คือว่าเอาวิชาการที่สืบมาแต่โบรั่มโบราณศิลปศาสตร์มาจัดใหม่
พวกหนึ่งที่จริงแท้แน่นอนก็เป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติอันดับหนึ่ง วิทยาศาสตร์อันดับเลิศ ทีนี้วิทยาการที่สืบมาแต่โบราณ ตั้งแต่กรีกตั้งแต่อะไรก็แล้วแต่นี่ อยากจะมีฐานะดีก็ต้องปรับตัวให้เป็นวิทยาศาสตร์ ทำไงก็คือเอา Senatic Method ไปใช้เอาวิธีวิทยาศาสตร์ไปใช้วิธีวิทยาศาสตร์ เช่นว่าต้องวัดได้ตาหูจมูกลิ้นกายสัมผัสทั้ง 5 สัมผัสได้ วัดเป็นตัวเลขได้ ก็เลยมีศาสตร์เก่า ๆ เช่น เศรษฐศาสตร์มาปรับตัวให้วัดได้ออกมาเป็นตัวเลขทำเป็นอะไรต่ออะไร วิธีวิทยาศาสตร์มาใช้ เศรษฐศาสตร์ก็ได้เป็นวิทยาศาสตร์ระดับหนึ่งขึ้นมา สังคมวิทยาก็พยายามใช้วิธี Senatic Method ก็ได้ อะไรเนี่ยมนุษยวิทยาก็ได้ขึ้นมาในฐานะพวกนี้ก็เขาก็จัดให้เป็นวิทยาการหมวดหนึ่ง เรียกว่าสังคมศาสตร์ มีฐานะเป็นอันดับ 2 ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เป็นวิทยาศาสตร์สังคม เศรษฐศาสตร์ สัมคมวิทยา มนุษย์วิทยา อะไรพวกนี้ ก็ได้เป็นระดับสังคมศาสตร์ ส่วนวิชาที่เอาวิธีวิทยาศาสตร์ไปใช้ไม่ได้ เป็นเรื่องการคิดคำนึงของมนุษย์อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ให้เป็นหมวดหนึ่งเรียกว่ามนุษยศาสตร์ ก็เช่นปรัชญาศาสนาอะไรต่ออะไรพวกนี้ พวกนี้ก็กลายเป็นมนุษยศาสตร์ ในยุควิทยาศาสตร์ เจ้ายุควิทยาศาสตร์ตกต่ำด้อยอำนาจวาสนาแย่ใคร ๆ ก็จะต้องอันดับหนึ่ง วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ พอจะไปไหวก็สังคมศาสตร์นี่วิทยาศาสตร์รับรองได้ งี้ นี่ก็เป็นมาอย่างงี้ ทีนี้ไอ้เจ้าจริยธรรมก็ไปอยู่ในหมวดปรัชญาและอยู่ในหมวดมนุษยศาสตร์ ก็ไม่ค่อยมีฐานะศักดิ์ศรีอะไร นี้เรื่องก็เป็นมาอย่างงี้
ทีนี้จริยธรรมของฝรั่งก็เป็นอันว่ามี 2 สายเข้าใจแล้ว แล้วก็ง่อนแง่นไปในยุควิทยาศาสตร์ขึ้นมา นี้ต่อมาพวกนักวิทยาศาสตร์เองบางคนก็เป็นนักปรัชญาด้วยเป็นนักปรัชญาวิทยาศาสตร์และบางคนก็เอาใจใส่เรื่องจริยธรรม แล้วก็ถกเถียงกันแต่มันก็คือปัญญา ถึงยังไงนักวิทยาศาสตร์ไปสนใจจริยธรรมเหล่านั้นก็เป็นได้แค่ปัญญา ทีนี้มันก็เลยกลายเป็นว่าเมื่อไม่ใช่จริยธรรมศาสนาที่ศาสนาคริสต์บัญญัติมาว่าต้องอย่างนี้ ต้องอย่างนี้แล้วใช่ไหม มันก็กลายเป็นจริยธรรมที่ขึ้นต่อปรัชญาหรือนักปราชญ์แต่ละคนไป จริยธรรมเรื่องนี้ เอ้า Sokratis ว่าไง เพลโตว่าไง Aristotle ว่าไง John Lockeว่าไง George Edward Moore ว่าไง John Dewey ว่าไง เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ ว่าไง Howard ว่าไง อย่างนี้เป็นต้น ก็ต้องอย่างงี้กลายเป็นคนนั้นว่างี้ คนนี้ว่างั้น จริยธรรมเรื่องเดียวกันก็เห็นไม่เหมือนกัน เราก็บอกว่าจริยธรรมตะวันตกมันจะเป็นสากลได้ยังไง แม้แต่ฝรั่งเองก็ยังเถียงกันจะตายอยู่ใช่ไหม แล้วจะเป็นจริยธรรมสากลอะไรเล่า ตะวันตกเองไม่รู้กี่นักปราชญ์เถียงกันอยู่นี่เดี๋วนี้ เอารวมกันไม่ได้ก็แล้วแต่ใครจะเป็นลูกศิษย์สายไหน ทีนี้ก็จะเป็นจริยธรรมสากลก็คือมีคนนักคิดบางคนนี่พยายามไปประมวลความคิดของนักปราชญเหล่านั้นอีกทีหนึ่ง หรือบางทีก็อาจจะเป็นไปในรูปคณะบุคคลมาประมวลความคิด แล้วก็มาจัดขึ้นมา
เหมือนอย่างที่ผมเล่า เมืองไทยที่มาตั้งคณะหรือมารวมกันพยายามคิดว่าอันไหนมันแปลเป็นไทยว่ายังไง จะให้เป็นจริยธรรมสากล มันก็เป็นความคิดของคนกลุ่มหนึ่งใช่ไหมจะเป็นจริยธรรมสากล ไอ้จริยธรรมที่คณะบุคคลหรือนักคิดนี่คิดขึ้นมาบอกว่าสากลนี่ ตอนนี้เข้ากันได้กับปรัชญาทั้งหมดทุกคนลองไปหานักปรัชญาที่ว่าเป็นปรัชญาเวทีสำคัญ แกอาจจะไล่เตลิดไปเลยใช่ไหม อีตานักปราชญ์คนนั้นเขาก็ไม่ยอมรับ ไอ้จริยธรรมสากลที่พวกนี้คิดขึ้นมา นี่เพราะฉะนั้นของตะวันตกนี่ มันยังเรียกว่ากระจัดกระจาย เพราะฉะนั้นจริยธรรมตะวันตกก็เป็นจริยธรรมแยกส่วน แยกส่วนโดยขึ้นต่อบุคคลต่าง ๆ หลายความคิด หลายนักปราชญ์ แล้วก็เป็นเรื่อง ๆ ไปยังไม่มีเป็นระบบที่โยงกันหมด มันเป็นเรื่อง ๆ นักปรัชญาคนนี้เคยคิดเรื่องจริยธรรมด้านนี้ คนนั้นก็ว่าจริยธรรมเรื่องนี้ เรื่องนี้ หายากที่จะคิดได้ประมวลเป็นระบบที่มีความคิดค่อนข้างรวบยอดก็อาจจะกลับไปตั้งแต่ยุคโซเกติสเปโต้ อริสโตเติล แต่มันก็ยังเป็นปรัชญาเป็น Speculation นักปรัชญาก็อยู่ที่ Speculation คือการเก็งความจริงด้วยเหตุผล นี้ปรัชญาตะวันตกมาเป็นฐานหรือศาสนาด้วย ในฐานตะวันตกทั้งหมดเนี่ย มันง่อนแง่นแล้วมาเป็นจริยธรรมสากล แล้วคุณจะเอาอะไรเราก็ต้องรู้ทันใช่ไหม ทีนี้อริยธรรมตะวันตกสากลนี่เมื่อมันมาสายความคิดอย่างงั้นเนี่ยก็เข้ามาที่พูดเมื่อกี้
1 มันไม่มีระบบที่เข้าถึงความจริงของธรรมชาติ มันอยู่ในระดับของการคิดเก็งความจริงของนักปราชญ์ ถ้าไม่อ้างศาสนาเทวบัญชานะ มันก็กลายเป็นความคิดของนักปราชญ์ไป ก็ได้แค่นี้ บางคนก็คิดเชิงธรรมชาติ มีนักปรัชญาตะวันตกบางคนพยายามที่คิดจริยธรรมในเชิงธรรมชาติเหมือนกัน แต่มันไม่เป็นระบบที่ชัดเจน มันก็กระจัดกระจายอย่างว่า มันแยกส่วนกันไป ก็เป็นอันว่าพูดได้รวม ๆ ก็คือไม่เป็นระบบนิยมที่โยงเข้าสู่ความจริงตามธรรมดาของธรรมชาติ เมื่อมันโยงไม่ได้เป็นระบบให้เห็นชัดเจนนี่ เราจะยอมรับเป็นสากลไม่ได้ เพราะว่าสิ่งที่เป็นสากลแท้ก็คือความจริง ก็เป็นจริยธรรมที่ไม่ยั่งยืน จริยธรรมไม่ยื่นเพราะอะไรบ้าง ก็ 1 ไม่เข้าถึงความจริงของธรรมชาติ
2 ก็คือเป็นจริยธรรมประเภทที่ฝืนใจ เพราะจริยธรรมของตะวันตกนี่มันไม่โยงไปสู่ระบบของการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด อันนี้เราจะมาเทียบกับพุทธศาสนา จริยธรรมแยกส่วนออกไปนะ ตามแบบแผนของจริยธรรมตะวันตก มันแยกกับวิชาการอื่น ๆ แยกกับการดำเนินชีวิตส่วนอื่นของ
มนุษย์ ทีนี้ทำเป็นเรื่องการประพฤติ การอยู่ร่วมสังคม การปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มันไม่ใช่ทั้งชีวิต มันก็ไม่เป็นองค์รวม เมื่อมันเป็นแยกส่วนอย่างนี้ จริยธรรมเนี่ยมันก็กลายเป็นว่า มีหลักความประพฤติว่าอย่างนี้ แล้วเราจะต้องประพฤติปฏิบัติตาม แต่มนุษย์นั้นมีความปรารถนาของตัวเองที่อยากจะทำตามชอบใจ อยากจะได้ยังงั้น ๆ ๆ ได้แล้วก็ไม่พออยากได้อีก ขัดใจขึ้นมาอยากทำร้ายคนโน้นคนนี้ หลักจริยธรรมบอกทำไม่ได้ ถ้าอยากได้ ได้แค่นี้พอนะ ถ้าไปใช้วิธีผิดไปเบียดเบียนคนอื่นอะไรนี่ผิดจริยธรรม คุณอยากจะได้คุณก็ต้องเอาด้วยวิธีการที่มันไม่ผิดหลักจริยธรรมที่วางไว้ หรือจะไปโกรธคนอื่น จะไปทำร้ายเขาไม่ได้ผิดจริยธรรม จริยธรรมก็กลายเป็นแบบแผนความประพฤติที่วางไว้อย่างนี้ นี้มนุษย์ก็ถูกตีกรอบแต่ตัวเองมีความอยากความปรารถนาจะทำทำไม่ได้ก็อึดอัดใจก็ฝืนใจ จริยธรรมตะวันตกเข้ามาได้แค่นี้ มาได้แค่จริยธรรมแห่งความภูมิใจ เมื่อเป็นจริยธรรม ความฝืนใจก็ไม่ยั่งยืน ไม่ยั่งยืนเพราะว่าเมื่อจิตใจคนไม่มีความสุข ปฏิบัติตามจริยธรรมด้วยความฝืนใจถูกบังคับ มันก็คิดฝ่าฝืนตลอดเวลามีโอกาสเมื่อไหร่มันก็ละเมิดใช่ไหม นั้นจริยธรรมแบบนี้ในที่สุดก็ต้องตั้งระบบอะไรต่ออะไรมาคุมกันมากมาย แต่รวมแล้วก็คือไม่ยั่งยืน
นี่แหละครับเป็นจุดอ่อนของจริยธรรมแบบสายตะวันตกที่เขาจะเป็นจริยธรรมสากลที่เราจะต้องเข้าใจ แล้วก็อันนี้เราจะมาเทียบกับระบบของพุทธศาสนา จริยธรรมอะไรเราก็ไม่ว่า แต่ว่าเราต้องตั้งศัพท์ใหม่ บัญญญัติขึ้นมา เมื่อประมาณ 40 ปี แล้วเลยกลายเป็นว่าไม่พอต้องไปเอาคุณธรรมมาด้วย ต่อไปก็จะรู้ตัวไม่พออีก จัดอบรมจริยธรรมไม่พอ ต่อมาต้องมีจัดอบรมคุณธรรมและจริยธรรม ทีนี้เป็นคำคู่ไปแล้ว ต่อไปจะรู้ตัวว่าคุณธรรมและจริยธรรมก็ไม่พอ ต้องมีความสุขด้วย ถ้าไม่มีความสุขมนุษย์ไปไม่รอด จริยธรรมนี่แหละ ความประพฤติต้องมีความสุข จิตใจต้องเบิกบานผ่องใสมีความสุขพอใจ มันจึงจะทำให้ประพฤติปฏิบัติสิ่งนั้นได้ดี ก็ต้องจัดอบรมคุณธรรมจริยธรรมและความสุข ต่อไปก็จะรู้ตัวอีก เอ้คนเราจะประพฤติปฏิบัติอะไรต้องรู้เหตุรู้ผล ทำไมเราไม่ฆ่าคนอื่นไม่เบียดเบียนเขา เช่นอย่างพุทธศานาสอนว่า เรารักตัวฉันใด เรารักชีวิตฉันใด คนอื่นก็รักฉันนั้น เราไม่อยากให้ตัวเองทุกข์ ไม่ทำลายตัวเอง ก็ไม่ทำร้ายผู้อื่น อะไรอย่างงี้ก็แล้วแต่ คือหมายความต้องมีเหตุผลให้พิจารณาเข้าใจด้วยปัญญา มองเห็นเหตุผผลว่าทำไมจึงควรทำอย่างงี้ ทำไมจึงไม่ควรทำอย่างงั้น ควรงดเว้นอย่างไง ปัญญาต้องมี ไม่ใช่ถือโด่เด่ตามใจทำใช่ไหม จริยธรรมก็ฟืนใจต้องมีปัญญาต้องรู้เหตุรู้ผล แล้วปัญญานี่จึงจะพัฒนาจิตใจ เมื่อปัญญามันเห็นคุณโทษ เห็นประโยชน์ในการประพฤติ เห็นอะไรดีแล้ว มันจะเต็มใจประพฤติ ใจมันก็จะสบายมีความสุขในการประพฤติจริยธรรมมันก็ไปด้วยดี แล้วพัฒนาได้ นั้นใน พุทธศาสนาจริยธรรมต้องมีปัญญาด้วย ตกลงว่าต่อไปนี่จริยธรรมที่อบรมกันต้องเพิ่ม จัดอบรมคุณธรรมจริยธรรมความสุขและปัญญาไม่รู้จักจบ ต่อไปต้องมี คอยดูเถอะ เพราะว่าจริยธรรมของเขานี่มันแยกส่วนอย่างที่ว่า มันเกิดจากการที่มามองคนที่อยู่ในสังคมและประพฤติตัวยังไงจะทำไงห้ามไม่ให้เบียดเบียนกันแล้วก็วางหลักเกณฑ์ความประพฤติขึ้นมามันเลยเกิดจริยธรรมก็แยกส่วนจากชีวิตทั้งหมด ทีนี้ต้องดูพุทธศาสนาว่าเป็นองค์รวมหมด
พระพุทธศาสนาเรานี่แหละตั้งอยู่บนฐานของความจริงของธรรมชาติแล้วก็เป็นระบบของชีวิตทั้งหมด จึงออกมาเป็นศีลสมาธิปัญญา ศีลออกมาสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายวาจา ก็เป็นจริยธรรมคุมหมด จริยธรรมก็อยู่ในศีล ที่เราเรียกเดิมศีลธรรม แล้วก็มีเรื่องจิตใจ ตั้งแต่เจตนาที่จะออกมาสู่การประพฤติปฏิบัติ แล้วก็เครื่องปรุงแต่งเจตนา จิตใจต่าง ๆ คุณธรรมความดีเรื่องของความเข้มแข็งจิตใจสติสมาธิ เรื่องของความสุข ความร่าเริงเบิกบานสดชื่นแจ่มใสอะไรเนี่ยต้องมีด้วยต้องให้พัฒนาเรื่องของคุณภาพความสุขความอะไรในจิตใจ มันถึงกันหมด มีสมาธิเป็นแกนแล้วก็ต้องมีปัญญาด้วย ระบบจริยธรรมที่ต้องศีลสมาธิปัญญาต้องหมดทั้งชีวิต ศีลสมาธิปัญญาคือทุกด้านของชีวิต นั้นจริยธรรมตะวันตกมันไปไม่รอด
แล้วก็เล่าอีกหน่อยถึงว่า เมื่อจริยธรรมตะวันตกมาถูกวิทยาศาสตร์ตี จริยธรรมเทวบัญชาก็ง่อนแง่น ง่อนแง่น แล้วจริยธรรมแบบสายปรัชญามาก็ต้องพยายามคิดแบบวิทยาศาสตร์อะไรต่าง ๆ เหล่านี้มันก็ไม่มั่นคงมานี่ แล้วทีนี้เมื่อเกิดการเรียกร้องจริยธรรมใหม่ ซึ่งมาเรียกร้องมากในยุคที่เกิดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ปี 1960 กว่า จนมาก็เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นมาเด่นในอเมริกา พอ 1972 ก็เป็นปัญหาโลกเลย เคยเล่าแล้วนี่ การประชุมระดับโลกเรื่องสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นเมื่อปี 1972 เป็นครั้งแรก แล้วต่อมาก็เรียก Earth Summit 1992 ที่ละ 20 ปีจัด นี่พอปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดนี่มนุษย์จึงเรียกร้องจริยธรรมกันจริงจัง ตอนก่อนนี่ก็หวังวิทยาศาสตร์จะนำมนุษย์ไปสู่ความสุขความเจริญ วิทยาศาสตร์พัฒนาเทคโนโลยี เทคโนโลยีพัฒนาอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมทำให้เกิดความเจริญทางเศรษฐกิจ นี่คือองค์ประกอบของการพัฒนาในยุคที่ผ่านมา 1 วิทยาศาสตร์ 2 เทคโลยี 3 อุตสาหกรรม 4 เศรษฐกิจเป้าหมาย แล้วมาตกลงกันเมื่อตอนที่เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมนี่ ว่าการพัฒนาอย่างนี้ Unsustainable ด้วยการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน แล้วเกิดศัพท์ใหม่ Sustainable Development การพัฒนาที่ยั่งยืน นี่แหละครับเกิดขึ้นตอนนี้ นี้ตะวันตกมันเกิดปัญหามาเรื่อย ๆ เมื่อวิทยาศาสตร์เป็นความหวังว่าจะนำมนุษย์ไปสู่ความสุขสมบูรณ์ทุกอย่าง ต่อมามันเริ่มรู้สึกจิตใจก็กระวนกระวายในยุคอุตสาหกรรมทำงานก็มีความเคลียด เรียกก็มี แต่ก่อนศัพท์นิยมที่เคยเล่า Associaty แล้วก็มายุคนี้ก็ State นี่ศัพท์เด่น ก็มีปัญหาเรื่องทุกข์ใจ 1 แล้ว 2 สังคมก็เดือดร้อนอาชญากรรมก็มาก เบียดเบียนกันก็ไม่เห็นดีสักที แต่มันก็ยังไม่หนักเท่าไหร่ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดคราวนี้ไม่ไหวแล้วบอกว่ามนุษย์จะอยู่ไม่ได้ถ้าหากว่าทรัพยากรธรรมชาติหมด มลภาวะเต็มโลกอยู่ไม่ได้แน่แล้ว ก็เลยเปลี่ยนครั้งใหญ่ก็กลับมาเรียกร้องจริยธรรม จริยธรรมก็กลับเด่นขึ้นมาในยุคนี้ ในยุคที่ฟื้นฟูเรื่องธรรมชาตินี่ ทีนี้เรียกร้องจริยธรรมกันใหญ่ ก็เกิด Environment Exist จริยธรรมสิ่งแวดล้อมขึ้นมา เป็นจริยธรรมอย่างใหม่เลยนะ ก็สำคัญมาก ที่ว่าต้องมองมนุษย์ใหม่ มองว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ใช่แยกต่างหากจากธรรมชาติแบบเดิมของตะวันตก แล้วต้องมองเป็นมิตรไม่ใช่มองเป็นศัตรู แต่ก่อนมองเป็นปฏิปักษ์จะไปกำจัดกำหราบ ทีนี้ต้องมองเป็น Friendly เป็นมิตรกันนะ อะไรอะไรดูธรรมชาติ จะผลิตอะไรอุตสาหกรรมก็จะต้องดูว่ามัน Nature Friendly ไหม มันเป็นมิตรกับธรรมชาติไหมอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ นี่เดี๋ยวนี้ต้องคิดอย่างนั้น เอ้าก็เป็นอันว่า มองใหม่แล้วก็ให้อยู่กลมกลืนกับธรรมชาติ แล้วจริยธรรมก็คือต้องรักษาธรรมชาติด้วย ทำไงก็ขัดกับไอ้แนวคิดเดิม แนวคิดเดิมบอกว่ามนุษย์จะมีความสุขก็ต้องเอาธรรมชาติมาจัดการให้เต็มที่ตามชอบใจ จริยธรรมนี้จะรักษาธรรมชาติ ก็ตรงข้ามจะจัดการธรรมชาติตามชอบใจไม่ได้ ตอนนี้ตอนตกมาถึงจุดขัดแย้งอย่างหนักเลย เขาเรียก Dilemma เรียกปัญหามากกลืนไม่เข้าคลายไม่ออก
เอ้อทำไงละ คติเดิมมันมาสายไอ้แนวคิดอุตสาหกรรมว่าเราต้องผลิตเอาธรรมชาติมาเข้าโรงงานเป็นวัตถุดิบ เข้าโรงงานอุตสาหกรรมออกมาเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เสพบริโภคกันเต็มที่มนุษย์จะมีความสุขสมบูรณ์ ก็มนุษย์จะสุขสมบูรณ์มากที่สุดเมื่อเสพบริโภคได้เต็มที่ใช่ไหม ก็คือจัดการกับธรรมชาติให้เต็มที่ เนี่ย ๆ แนวคิดยุคอุตสาหกรรม แต่มาตอนนี้บอกว่า ถ้ามนุษย์จัดการกับธรรมชาติตามใจตัว ธรรมชาติวอดวายมนุษย์ก็อยู่ไม่ได้ นั้นมนุษย์จะต้องไม่ทำกับธรรมชาติตามใจชอบ ต้องระงับยับยั้งใจตัว เอ้าแต่ฉันจะมีความสุขต่อเมื่อฉันได้เสพบริโภคจัดการกับธรรมชาติได้เต็มที่ ก็เมื่อฉันจัดการกับธรรมชาติไม่เต็มที่ ก็บริโภคไม่เต็มที่ เสพได้ไม่เต็มที่ แล้วฉันจะไปมีความสุขได้อย่างไร นี่ตอนตกมันขัดตรงนี้ เวลานี้กำลังอยู่ที่จุดเนี่ย แนวคิดเดิม บอกว่าต้องจัดการกับธรรมชาติเอามาเป็นวัตถุเสพบริโภคได้เต็มที่จะได้มีความสุขเต็มที่ ตอนนี้บอกว่าจัดการไม่ได้ทำงั้นมนุษย์วอดวาย ธรรมชาติวอดวาย มนุษย์อยู่ไม่ได้ นั้นจะต้องระงับยับยั้งตัวจัดการกับธรรมชาติแต่พอดี ไม่รุกรานมันไม่กำจัดเบียดเบียนมันต้องมี Restraint ศัพท์นี้พอเราเรียกสังวรว่า Restraint ว่าเป็นศัพท์จริยธรรมอันหนึ่ง ต้องมี Restraint ความระงับยับยั้งชั่งใจมีสังวร สังยะมะ Restraint แปลว่าสังยะมะ เอาละแล้วทำไงล่ะ เอ้าก็ในเมื่อจัดการกับธรรมชาติตามชอบใจไม่ได้มันก็ไม่มีความสุขเต็มที่สิใช่ไหม นี่ถึงยุคนี้ ตะวันตกมันติดขัด แม้จะรื้อฟื้นจริยธรรมขึ้นมาก็เป็นจริยธรรมแบบฝืนใจจะรักษาธรรมชาติแวดล้อมก็รักษาเพราะจำเป็น มันถูกบังคับนั้นเองให้ต้องรักษาไม่งั้นมันต้องตาย ทีนี้เมื่อไปรักษาธรรมชาติตัวเองก็ต้องฝืนใจตัวเอง ตัวเองก็ไม่สุขเต็มที่ ก็มีความทุกข์สิ อย่างน้อยไม่สุขก็ทุกข์นะแหละ ฝืนใจตัวเอง ก็เป็นจริยธรรมฝืนใจ แล้วจริยธรรมก็เลยไม่ยั่งยืน นี่มันก็อยู่อย่างนี้ ฝั่งเขาก็หาทางออก นั้นพวกนักคิดฝรั่งตอนนี้เขาก็มาหาแนวคิดตอนออกด้วย เขามาดูว่าพุทธศาสนา ศาสนาตะวันออกทั้งหลายนี่คิดต่อเรื่องธรรมชาติแวดล้อมอย่างไร
ผมเจอกับพวกนี้มาเป็น 10 ปีแล้ว ฝรั่งมาเมืองไทยก็มาถามความคิดพุทธศาสนาว่าอย่างไง เกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติสิ่งแวดล้อม พุทธศาสนามองอย่างไร เขาจะเอาความคิดตะวันออกไปเสริมแก้ไขปรับปรุงจริยธรรมตะวันตกเพราะมันไปไม่รอด แล้วคุณจะเอาจริยธรรมตะวันตกมาเป็นจริยธรรมสากลอะไรเล่า ตอนนี้นอกจากมันง่อนแง่นฐานเดิมมันแย่แล้ว ตอนนี้เขากำลังหาทางออกอยู่ นี่ฝรั่งเองหาทางออกมาหาจากเรา นั้นต้องรู้ทัน นี้ถ้าเราไม่รู้ก็ไม่รู้จะว่ายังไง ตอนนี้ก็คือ ถึงตอนที่ตะวันตกกำลังหาทางออก งั้นจริยธรรมเขาก็มาถึงจุดนี้ แล้วจะทำอย่างไรละ มนุษย์มันถึงทางที่มันคล้าย ๆ มันไปทางไหนไม่ได้ทั้งนั้น จะเอาทางที่จัดการกับธรรมชาติตามชอบใจมีสุขสมบูรณ์ตามที่เข้าใจมาเดิมก็ทำไม่ได้ แต่ว่าจะไปทางนี้ที่ต้องยอมฝืนใจแล้วก็ยอมอด ยอมเว้น ยอมงด ตัวเองก็ไม่มีความสุขอีก เอ้อแล้วจะทำไงมันก็ไม่ดีทั้งคู่เลย ทีนี้ทำไงก็ตาม มันก็บังคับเอาแล้วจริยธรรม Environment Exist จริยธรรมสิ่งแวดล้อมมันบังคับ เขาก็เน้นเรื่องนี้ขึ้นมา แล้วก็จริยธรรมสิ่งแวดล้อมนี่มันโยงไปหาตัวสำคัญที่สุดคืออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเป็นตัวร้ายที่ทำลายธรรมชาติใช่ไหม เพราะต้องเอาธรรมชาติเป็นวัตถุดิบเข้าโรงงานอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้นจะต้องให้อุตสาหกรรมนี่มาใช้จริยธรรมสิ่งแวดล้อมด้วย แต่อุตสาหกรรมที่มันมีผลต่อสังคมเนี่ยมันออกมาในรูปธุรกิจคือธุรกิจอุตสาหกรรมคือ Business เอ้าตัวการสำคัญก็ Business นี่แหละ นั้นธุรกิจนี่สำคัญ ธุรกิจอุตสาหกรรม เวลานี้เรื่องของกิจการสังคมนี่ ถูกครอบงำด้วยระบบธุรกิจใช่ไหม คือระบบกำไรสูงสุด ทำไงละกำไรสูงสุดมันก็จะมาทำลายธรรมชาตินี่แหละ ก็จะต้องเอาจริยธรรมสิ่งแวดล้อมนี่เข้าสู่ระบบบธุรกิจให้ผู้ดำเนินงานธุรกิจนี่มีจริยธรรมแบบที่ว่า จริยธรรมสิ่งแวดล้อม นั้นมหาวิทยาลัยในอเมริกาก็เลยต้องบรรจุวิชาใหม่ วิชา Exist ยุคใหม่ก็เกิดขึ้น 1 Environment Exist จริยธรรมสิ่งแวดล้อม แล้วจริยธรรมสิ่งแวดล้อมก็เข้าไปเป็นแกนเป็นส่วนสำคัญในการทำจริยธรรมธุรกิจ เขาเรียก Business Exist เวลานี้มหาวิทยาลัยสำคัญในอเมริกาก็จะมีวิชานี้ด้วย เรียกว่าวิชา Business Exist แล้วใน Business Exist นี้ก็คือนี่ มีเรื่องให้คำนึงสิ่งแวดล้อม ก็ได้แค่ให้ยับยั้งใจนะอย่าไปจัดการกับธรรมชาติตามชอบใจนะ ให้งดเว้นบ้างอะไรนี่ ก็หาทางกันต่าง ๆ เพื่อสงวนรักษาธรรมชาติก็ไม่ไหว พอประชุม Earth Summit ทีหนึ่ง 20 ปี ทั้ง ๆ ที่พยายามโฆษณาชักชวนกันก็ปรากฏสิ่งแวดล้อมก็เสื่อมโทรมลงไปอีก แทนที่จะดีขึ้นไม่ดีขึ้น นั้นเวลานี้เขาหาทางออกไม่ได้นะ บอกคุณอย่างไปมัวติดกับไอ้ Exist สากลของฝรั่งเลย มันตันไปแล้ว มันไปไม่รอด หาจริยธรรมใหม่ คุณจะเอาพุทธหรือไม่เอาก็แล้วแต่ คุณต้องหาใหม่ จะหาใหม่มันไปไม่รอดมาเอาเราเอง เอ้าเลยเล่าให้ฟังจะได้รู้เรื่องจริยธรรม เอาละครับวันนี้ก็คุยพอสมควร เข้าใจเรื่องนี้สำคัญนะ เพราะตอนนี้เขาพยายามแล้ว พอมองเห็นแล้วนะ จะได้รู้ทัน ต้องรู้ทันเรื่องนี้ รู้ทั้นเรื่องที่เกิดขึ้น แล้วก็รู้ทันลึกไปอีกว่าพวกนี้รากฐานมาอย่างไง ภูมิหลังเป็นยังไง เอ้าช่วยกันนะช่วยกันมองช่วยกันทำความเข้าใจไว้ เพราะเป็นเรื่องใหญ่พุทธศาสนา ทำไงเราจะเอาหลักพุทธศาสนาที่แท้ออกไปสู่สังคม เพราะเวลานี้เราก็ต้องโทษตัวเองด้วยว่าที่เขาคิดอย่างนี้ ก็เพราะว่าเราเองด้วยถูกไหม เพราะเรานี่บกพร่องตัวเองก็ไม่ได้รู้เรื่องชัดเจน แล้วก็ไม่บอกเขา ไม่สอนเขาแล้วมัวไปยุ่งกับเรื่องอะไรก็ไม่เป็นเรื่องทำให้เขามองภาพเราเสียไป ก็เลยเขาก็ไม่เอาซิใช่ไหม เราก็ต้องโทษตัวเองด้วย ก็ต้องปรับปรุงตัวเอง นั่นสิ ที่นี้เราก็ต้องวิเคราะห์ให้ดี เอานะครับวันนี้
ที่พูดเรื่องนี้ก็ปรารภกับหลวงพ่อปัญญานันทะว่าท่านมีบทบาทสำคัญในเรื่องจริยธรรม ทีนี้ท่านสิ้นแล้วจะต้องนึกว่าทำอย่างไงจะให้การสอนจริยธรรมนี่ดำเนินไปด้วยดี เราต้องมีกำลังสู้ต่อไป เผยแผ่ต่อช่วยกัน ตอนนี้ก็ขอให้ระลึกถึงหลวงพ่อปัญญานันทะ นึกถึงท่านก็ขอให้ทำใจสงบ ประมาณ 2 นาทีก็ได้ ว่าทำใจสงบระลึกถึงหลวงพ่อปัญญานันทะพร้อมทั้งอุปการะคุณของท่านแล้วก็ความตั้งใจที่จะทำงานเผยแผ่ธรรมะ เผยแผ่พระศาสนา เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนชาวโลกสืบไป ขอตั้งใจทุกท่าน เอาละครับขอโมทนาทุกท่าน สาธุ ขอโอกาสลาขึ้นกุฏิ