แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เมื่อคราวที่แล้วที่คุยกันได้ปรารภเรื่องคำพูดในภาษาพระ ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมะพอเข้ามาในภาษาไทยแล้วความหมายก็พูดกันไปพูดกันไปแล้วก็ไม่ได้มีการทบทวนศึกษาทำความเข้าใจนานๆเข้าก็เพี้ยนไปคลาดเคลื่อนไป ความหมายผิดไปจากเดิมมากบ้างน้อยบ้าง บางคำก็ตรงข้ามเลย อันนี้ที่จริงก็เป็นเรื่องธรรมดาของภาษา ภาษาจะมีการที่ความหมายมันเปลี่ยนแปลงไป งอกบ้าง คลาดเคลื่อนไปจากเดิมบ้างก็เป็นกันเรื่อยๆ แต่ทีนี้สำหรับศัพท์ทางพุทธศาสนามันมีความสำคัญในแง่ว่ามันโยงไปถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เรานับถือและก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับหลักใหญ่ๆอื่นๆด้วย ถ้าเข้าใจผิดเพี้ยนไปแล้วก็ทำให้พลอยเข้าใจผิดต่อหลักสำคัญๆด้วย และยิ่งพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภทที่ต้องอาศัยปัญญา ไม่ได้บังคับศรัทธา ก็เลยกลายเป็นเหมือนจุดอ่อนว่าพระพุทธศาสนาจะเสื่อมก็เพราะอันนี้ด้วย ง่าย เคยย้ำบ่อยๆว่าถ้าเป็นศาสนาแห่งศรัทธา เค้าก็จะมีกำหนดเลยว่า
หนึ่งต้องเชื่ออย่างนี้ และก็กำหนดไปเลยว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า ต้องเชื่ออย่างนี้ตายตัว เหมือนอย่างกับพูดกับชาวบ้านว่า เอ้า เธอต้องเชื่อว่าโลกแบน จบ ไม่ต้องพูดกันแล้ว สมัยก่อนถ้าแกไม่ยอมเชื่อข้าละก็จับฆ่าเลย หมดเรื่องไปเลย เค้าตายตัวอย่างนี้
สองก็ปฏิบัติ เมื่อกี้นี้เชื่อ สองปฏิบัติก็บอกไปเลย หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า วันหนึ่งให้ทำอันนี้เท่านี้ครั้ง สองก็ให้ทำอย่างนั้น สามให้ทำอย่างนั้น มันตายตัวไปหมด ก็เชื่อไปตามนั้น ทำไปตามนั้น ไม่ต้องมาซักมาถามกันอีก เมื่อความเชื่ออย่างนี้ การปฏิบัติอย่างนี้ยังอยู่ ศาสนานั้นก็อยู่ ก็ในแง่หนึ่งก็ง่ายดี ทีนี้พระพุทธศาสนานี่เปิดโอกาส บอกว่าให้ใช้ความคิดพิจารณาโดยเฉพาะก็คือ ให้ปฏิบัติด้วยมีปัญญา และก็ยิ่งพัฒนาปัญญามากขึ้นยิ่งดี ให้ทำด้วยความรู้ความเข้าใจ ให้ชัดเจนที่สุด ทีนี่พอไม่ศึกษา ไม่ทำความรู้ เข้าใจ มันก็ค่อยๆแปรปรวนคลาดเคลื่อนไปหมด เพราะฉะนั้นก็เสี่ยงกับความเสื่อมมาก พระพุทธศาสนาจึงต้องขึ้นกับการศึกษา ถ้าการศึกษาไม่มีก็แปลว่าพระพุทธศาสนาก็เสื่อม อย่างเวลานี้เราก็เห็นได้ว่าประชาชนไม่ค่อยมีการศึกษาในเรื่องพระพุทธศาสนา ไม่มีความรู้ความเข้าใจ ก็สักแต่ว่าพูดตามๆกันไป ถ้อยคำต่างๆก็ความหมายก็เพี้ยนคลาดเคลื่อนไป ไม่เฉพาะถ้อยคำเท่านั้น พวกหลักการอะไรต่างๆก็เพี้ยนหมด หลักการเหล่านั้นมันก็แฝงอยู่หรือก็อิงอยู่กับพวกถ้อยคำเหล่านี้ด้วย คราวที่แล้วมุ่งเน้นไปที่ถ้อยคำและถ้อยคำเหล่านั้นก็ยังมีอยู่อีกมากมาย ซึ่งต้องพูดกันยืดยาวอย่างเช่นคำว่าเวทนา เวทนานี่เดี๋ยวนี้ศัพท์ภาษาไทยก็บัญญัติให้อ่านสองแบบ ถ้าอ่าน เว-ทะ-นา ก็มีความหมายเป็นความรู้สึกสุข ทุกข์ เป็นต้น แต่ถ้าอ่านว่า เวด-ทะ-นา เวทนาก็แปลว่าสงสารใช่มั้ย ก็ตัวเดียวกันนั่นแหละต้องหาทางยักเยื้อง เพื่อให้รู้ว่าอ่านอย่างไรความหมายอย่างไรให้มันแปลกกันซะบ้าง อันนี้เป็นการเพียงยกตัวอย่างไม่ต้องสนใจ อย่างคำว่าวาสนานี่ก็เพี้ยนไปไกลเลย จนกระทั่งคนไทยนี่พูดกันว่าแข่งอะไรแข่งได้แข่งวาสนาแข่งไม่ได้ นี่เป็นเรื่องของคนไทยนะไม่ใช่สำนวนพระของพระไม่มี แข่งอะไรแข่งได้แข่งวาสนาแข่งไม่ได้นี่พระพุทธศาสนาไม่ได้สอน ทีนี่คนไทยเราก็ได้ยินคำว่าวาสนาก็นึกว่ามาจากพุทธศาสนา แถมบางทีพูดรวมกันอีกคำเป็นบุญวาสนาใช่มั้ย ก็แล้วแต่บุญวาสนาเป็นอย่างนั้นไป วาสนาเป็นคำที่เพี้ยนไกลมาก ยกตัวอย่างเช่นว่าในพระพุทธศาสนาบอกว่าพระอรหันต์จะละทั้งกิเลสและวาสนา เมื่อกี้คนไทยบอกว่าแข่งอะไรแข่งได้แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้ แล้วแต่บุญวาสนาแล้วแต่บุญแต่กรรม แต่ของพระพุทธศาสนาบอกว่าต้องปฏิบัติไปจนละได้ทั้งกิเลสและวาสนา คนฟังก็ไม่มีความรู้ชัดเจนไม่ได้ศึกษาก็จะอธิบายไม่ได้เลยว่าอะไรกันอันหนึ่งแข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้อีกทางหนึ่งบอกให้ละบุญให้ละวาสนาให้ละกิเลส เป็นเรื่องต้องเรียนทั้งนั้น หรือคำว่าบารมี ในภาษาไทยก็ไม่ได้มีความหมายเหมือนเดิมแหละ บารมีมาจากศัพท์พระที่สำคัญที่พระพุทธเจ้าจะสำเร็จโพธิญาณได้ก็ต้องบำเพ็ญบารมี ต่อที่บำเพ็ญบารมีก็เป็นพระโพธิสัตว์ บารมีของท่านมาถึงภาษาไทยมันมีบารมีของผู้ยิ่งใหญ่ เจ้าพ่อคนนั้นบารมีเยอะ อย่างนี้นะ เป็นผู้กว้างขวางมีบารมี เสร็จแล้วความหมายก็มาเป็นความหมายปัจจุบันแบบที่พูดกันในสังคมซึ่งเพี้ยนไปแล้วผมก็จะไม่อธิบายถ้อยคำเหล่านี้มันเยอะแต่ทีนี้ว่าอยากจะพูดเลยต่อไปว่ามันไม่ใช่เฉพาะถ้อยคำ ในแง่หลักการ แนวความคิดมันเพี้ยนไปหมด อย่างคำว่าแล้วแต่เวรแต่กรรม เมื่อกี้ก็แล้วแต่บุญแต่กรรม ลักษณะคำพูดคนไทยให้เห็นอันหนึ่งนะ มันโน้มเอียงไปในทางที่จะทำให้อยู่นิ่งไม่ทำอะไร แม้แต่คำอย่างที่พูดคราวที่แล้ว สบายก็โน้มไปในทางเฉย ปล่อย เรื่อยเปื่อย แล้วแต่บุญแต่กรรมก็แปลว่าไม่ทำอะไร ใช่ไหม แล้วแต่บุญแต่วาสนา แข่งบุญแข่งวาสนาไม่ได้ มันก็หยุดหมดสิ ทีนี้วันนี้อยากจะพูดสักประโยคหนึ่งคือข้อความที่พูดกันว่าเกิดมาใช้กรรม ทุกท่านคงเคยได้ยินแล้วจะรู้สึกว่า รู้สึกคือเข้าใจผิดว่าเป็นคำสอนของพระพุทธศาสนาแม้แต่ชาวพุทธเองหลายคนก็จะพูดอย่างนั้น แต่เสร็จแล้วก็ไม่ทำความเข้าใจให้ชัดเจน ตัวคำพูดเองที่ว่าเกิดมาใช้กรรมหรือเกิดมาเพื่อใช้กรรมก็ไม่ชัดเจนว่าตัวการมีชีวิตขึ้นมาคือการเกิดนี้เป็นการชดใช้กรรมเก่า การที่เกิดมีชีวิตขึ้นมาหรือว่าบางทีการที่หมายความไปทำนองที่ว่าเกิดมาใช้กรรมหมายความว่าที่มีชีวิตมาและจะอยู่ต่อไปนี้อยู่เพื่อใช้กรรม นี่ผมอยากจะถามท่านก่อน ก่อนที่จะมาพูดจาชี้แจงในเรื่องนี้ว่าท่าน
(นาทีที่ 10)
เข้าใจว่าอย่างไร หนึ่งในแง่ของความหมายของถ้อยคำว่าการมีชีวิตขึ้นมาเป็นการใช้กรรม หรือว่าที่เราจะอยู่ไป คือการปฏิบัติต่อชีวิตก็คือเราให้อยู่ไปแบบใช้กรรมหรือเป็นจุดหมายของชีวิตอยู่ไปเพื่อใช้กรรม และก็อันนี้เป็นแง่ความหมายนะ เข้าใจความหมายอย่างไร และก็ สองในแง่ของความคิดเห็นต่อข้อความนี้ เมื่อเข้าใจอย่างไรนี่คือความรู้ต่อไปความคิดเห็นต่อข้อมูลหรือความรู้อันนี้ นี่เป็นของท่านเองตัวที่สอง ก็เป็นของท่านเองทั้งสองตอน แต่อันแรกในแง่ความรู้ความเข้าใจที่อาจจะรับมาจากคนอื่น ตอนที่สองก็เมื่อมีความรู้ความเข้าใจข้อมูลอย่างนั้นแล้ว ตัวเองมีความคิดเห็นอย่างไรว่ามันดีหรือไม่ดีที่จะทำอย่างนั้นมันผิดหรือจะถูกเกิดโทษเกิดภัยอย่างไร เอาลองถาม เอาเป็นอย่างนี้ก่อนใครอยากแสดงความเห็นก่อนถ้าไม่แสดงผมจะถาม ใครอยากจะแสดงความเห็นบ้าง คุยกันอย่างนี้แหละดี คือเราอยู่ไปในแง่ของพุทธศาสนิกก็ควรจะชัดเจนว่านี่มันเรื่องพุทธศาสนาในความหมายพุทธศาสนามันเป็นอย่างไง อยู่ไปอย่างไรไม่รู้เรื่องชัดเจน สองถึงแม้ไม่มองในแง่ของพระพุทธศาสนามันเป็นคำพูดที่ใช้ในสังคมมันอาจจะกลายเป็นแนวคิดเป็นค่านิยมและอยู่กันไปได้อย่างไงคนในสังคมนี้ อยู่ๆทำอะไรเป็นไปโดยไม่มีความเข้าใจอะไรชัดเจนมันจะเป็นสังคมที่ดีได้อย่างไง ใช่มั้ย มนุษย์จะมีชีวิตที่ดีมันต้องอยู่ด้วยความรู้ความเข้าใจ และถ้ายังไม่เข้าใจก็ต้องศึกษา ให้มันเข้าใจให้มันชัดเจนให้ได้ มันจะได้รู้ว่ามันผิดหรือมันถูกมันมีคุณมีโทษชีวิตมันจะดีขึ้น สังคมก็จะดีขึ้น นี่เรื่อยๆเปื่อยๆอยู่กันไปได้ ทีนี้ถามอีกทีย้ำว่าท่านไหนมีความเห็นอย่างไร หนึ่งในแง่ของความหมาย นิมนต์ครับช่วยกัน
ตามความเข้าใจนะครับ กรรมคือการกระทำ การเกิดมาเพื่อใช้กรรมนี้หมายถึงเราได้เคยกระทำในสิ่งที่ดีและไม่ดีในอดีตเราถึงมีกรรม คือมีกรรมทำให้เกิดมาเป็นคน เกิดมาก็ไม่ใช่ว่าเกิดมาเพื่อที่จะใช้กรรมเก่าอย่างเดียวก็คือการที่เราเกิดมานี้เราก็จะมีกรรมเก่าที่เราได้เคยทำมาแล้ว เป็นตัวที่ทำให้เราได้รับทุกขเวทนาหรือได้รับสุข แต่ว่าเราก็ต้องสร้างกรรมใหม่ต่อไปด้วยเพื่อที่จะเป็นบุญกุศลต่อไปในภายภาคหน้า
โมทนาด้วย ดีแล้วได้แสดงความเห็นกันก็เป็นการแสดงความเห็นทั้งความหมายของถ้อยคำด้วย และทั้งในแง่ของท่าที หรือทัศนคติต่อข้อความนี้ด้วย ทีนี่นิมนต์จะพูดอะไรหรือเปล่า
จริงๆแล้วมันก็อธิบาย มันก็สับสนอยู่ครับ เกิดมาใช้กรรมนี่ก็คือแบบว่ามันเหมือนกับคนเราโทษอะไรอย่างนี้ครับคือโทษว่าเราเกิดมาใช้กรรมอะไรอย่างนี้ ลักษณะเหมือนกับว่าท้อแท้ ไม่ได้เผชิญหน้ากับความจริง ก็คงจะเหมือนกับท่านที่พูดไว้
ก็อันนี้นี่ที่ท่านพูด พูดในแง่ความหมาย ความหมายของถ้อยคำนั้นตามที่ท่านเข้าใจ ทีนี่ตัวท่านเองมีทัศนคติอย่างไรต่อถ้อยคำว่าผิดถูกเป็นคุณเป็นโทษ มีผลดีต่อชีวิตต่อสังคม มีผลเสียต่อชีวิตต่อสังคม
มันก็ต้องเข้าใจถึงความหมายให้ดีๆครับว่าจริงๆถ้าเรามัวแต่คิดว่าเราเกิดมาเพื่อใช้กรรมเราก็คงจะไม่เจริญ
นี่ก็ทัศนคติเท่าที่นึกได้ตอนนี้ ท่านอื่นมีอะไรไหมครับ นิมนต์พูดกันตามสบาย แต่เป้าหมายของเราก็คือต้องการความชัดเจน อย่าปล่อยทิ้งไว้เรื่องราวเหล่านี้ มีอะไรมั้ย ไม่มีเดี๋ยวถามนะ ลองท่าน ??? ลองพูดดู ท่านเข้าใจว่าอย่างไรตามที่รู้มา อาจจะเป็นผู้ใหญ่ได้บอกเล่าสั่งสอนไว้หรืออะไรก็แล้วแต่
เกิดมาใช้กรรมคิดว่าเป็นคำพูดที่เป็นคำพูดของคนที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้ประโยชน์ในการกระทำต่างๆ อย่างเช่นคนจน ก็ไม่มีเงิน ไม่มีสตางค์ ก็จะเกิดปัญหาต่างๆ ก็จะโทษตัวเองว่ากรรม กรรมเก่า ที่มาตั้งแต่ชาติก่อนอะไรอย่างนี้ครับ โทษกรรมดีกว่า ทางคนจนก็อาจจะโทษกรรมไป ที่ตัวเองเกิดมาจนอะไรอย่างนี้ ก็ต้องชดใช้กรรมตัวนี้ไป
สำหรับคนที่ด้อยที่เสียเปรียบก็จะเอามาใช้สำหรับเป็นข้ออ้าง
ใช่ครับ
หรือปลอบใจ
สังเกตว่าคำว่าเกิดมาใช้กรรมจะไม่เป็นคำพูดของคนที่ค่อนข้างจะมีทรัพย์สินมีความสบาย
ได้เปรียบในชีวิต
ใช่ครับ
แล้วดีไหมละ ในความคิดเห็นของท่านเอง
ความคิดเห็นก็คือว่าไม่ดีครับ
ถ้าเป็นอย่างนั้น
ถ้าเป็นอย่างนั้น ถ้ามีคนมาพูดอย่างนี้กับผม ถ้าผมได้ยินผมก็จะบอกว่าให้ศึกษาของกรรมที่คุณทำมาตรงนี้ ที่คุณเกิดมามีชีวิตเพราะอะไรถึงได้มาเป็นอย่างนี้ อาจจะบอกว่าไม่ได้ศึกษา ไม่ได้เรียนนะครับก็ไม่มีอาชีพการงานที่ดี นี่แหละครับผมก็ต้องให้เค้ามองย้อนกลับไปว่าเพราะอะไร ผมก็จะแนะนำอย่างนี้แหละครับ
ไปแนะนำ
ใช่ครับ
แต่ไม่ได้พูดในแง่คุณโทษ ผลดีผลร้ายก็แสดงว่าอยู่ในตัวว่าถ้าขืนถืออย่างนี้แล้วมีผลร้ายแน่ เป็นผลเสียต่อชีวิต และก็โยงไปถึงสังคม ทำให้เป็นคนท้อแท้ เป็นคนที่ไม่กระตือรือร้นขวนขวาย ไม่เพียรพยายาม และก็ไม่ทำการนี่สำคัญ ขัดกับหลักพระพุทธศาสนาตรงที่ไม่ทำกระทำ ถ้าไม่กระทำก็ขัดกับหลักพุทธศาสนาบอกแล้วว่าเป็นศาสนาแห่งการกระทำและความเพียร แต่กระทำอะไรต้องพูดกันอีกทีนะไม่ใช่ทำเรื่อยเปื่อย มีใครจะแสดงความเห็นกันอีกมั้ยครับหรือพอแล้ว อย่างนั้นก็ผมจะพูดบ้างแล้ว คือในแง่ความหมายก็อย่างที่ว่ามันคลุมเครือ คนที่พูดว่าเกิดมาใช้กรรมนี้เป็นการพูดถึงการเกิดการมีชีวิตขึ้นมาเป็นผลของกรรมแค่นั้นจบ แล้วจะทำอย่างไรก็ว่ากันต่อไปอีกที ถ้าอย่างนี้มันก็ยังพอว่านะ หมายความว่าต่อจากนี้เราจะทำอย่างไรก็อีกเรื่องนึง แต่ว่าหลายคนจะพูดแบบว่าเกิดมาใช้กรรมคือว่าเกิดมามีชีวิตแล้วก็เป็นอยู่ต่อไปเพื่อใช้กรรม กรรมในที่นี้หมายถึงกรรมเก่าในชาติก่อน ใช่ไหม ก็หมายความว่าก็รอไปสิแล้วแต่ว่ากรรมเก่ามันจะมีผลอย่างไร แล้วก็เรียกว่าก้มหน้ารับกรรมไปใช่ไหม ก็เลยไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องขวนขวายกระตือรือร้น ไม่ต้องปรับปรุงแก้ไขทั้งนั้น หลายคนมีความเข้าใจอย่างนี้ เชื่อไหม จริงไม่จริง ??? ก็สัมผัสคนมาเยอะด้วย เป็นอย่างไร ใช่ไหม คนมีความเข้าใจอย่างไร
ใช่ บางคนเหมือนกับยอมสยบเลย แบบว่ายอมสยบไม่ยอมทำอะไร
ลักษณะนี้แหละ คือเขามองในแง่ของการมีชีวิตอยู่ทั้งหมดทั้งชีวิตก็คือการยกให้แก่การรอผลกรรมเก่า แล้วแต่ผลกรรมเก่าจะเป็นอย่างไร นี่เรามาวิเคราะห์อย่างนี้ เอาละ เอาความหมายที่หนึ่งการเกิดมามีชีวิตนี้ เรียกได้ง่ายๆว่าชีวิตนี้เป็นผลของกรรม ในแง่นี้มีแง่ถูกเยอะ แต่ว่าเป็นการพูดเน้นในส่วนที่สำคัญสำหรับมนุษย์
(นาทีที่ 20)
คือความจริงว่าชีวิตนี้ ชีวิตมนุษย์ในแง่หนึ่งในส่วนหนึ่งก็เหมือนชีวิตสัตว์อื่นมันต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างใช่ไหมครับ ปัจจัยที่เรียกว่าธรรมชาติทั้งหลาย เป็นกฎธรรมชาติทั่วไป เหตุปัจจัยเรื่องดิน น้ำ ลม ไฟ หรือจะใช้ภาษาปัจจุบันก็แล้วแต่ที่มันประกอบกันขึ้น แม้แต่เรื่องของกรรมพันธุ์ก็มีส่วน เรื่องของการสืบต่ออะไรต่างๆของธรรมชาติที่เป็นเหตุเป็นผลกัน อันนี้ก็เหมือนกับชีวิตทั้งหลาย แต่อีกด้านหนึ่งก็คือว่ามนุษย์มีส่วนพิเศษก็คือกรรม ก็มนุษย์มีความสามารถ มีเจตจำนง มีสติปัญญาในการคิดพิจารณา ซึ่งเราพูดใช้ง่ายๆใช้คำว่ากรรม ก็มนุษย์นี้ก็มีการรู้จักคิดพิจารณา มีกิเลส มีความโลภ ความโกรธ ความหลงต่างๆ แล้วก็ตั้งเจตจำนงไปกระทำการต่างๆไป และอันนี้แหละที่เรียกว่ากรรมก็มีผลขึ้นมาเป็นตัวปรุงแต่งชีวิต ซึ่งชีวิตมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยตามกระบวนการธรรมชาติ แต่มันทำให้ชีวิตนั้นมีลักษณะพิเศษเป็นตัวของตัวไป นี่เราพูดตัดเอาเพียงบางแง่เราพูดว่าเกิดมาการเกิดหรือการมีชีวิตนี่เป็นผลของกรรม มีกรรมเป็นปัจจัย ถ้าพูดให้ชัดก็ในแง่ว่ามีกรรมเป็นปัจจัยอันสำคัญ ใช่ไหมครับ เพราะภาษาไทยมันจะคลุมเครือ เกิดมาใช้กรรม ก็อาจจะมีความหมายหนึ่งในแง่อย่างนี้ ซึ่งควรจะทำความเข้าใจให้ชัดว่าถ้าจะยังจะใช้คำพูดนี้อยู่ต้องเข้าใจเพียงว่าชีวิตตามที่เกิดมานี่ มีกรรมเป็นปัจจัยอันสำคัญ สำหรับมนุษย์ (โดยเฉพาะสำหรับมนุษย์) ที่นี่ว่าให้เพราะกรรมเป็นปัจจัยที่สำคัญ มันก็เป็นหลักการเลย มันไม่ใช่เฉพาะในอดีตใช่ไหม ที่ว่ามันเกิดมามีกรรมเป็นตัวปรุงแต่งเป็นปัจจัยสำคัญ ก็แสดงว่ากรรมมันเป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่เป็นหลักการอยู่ ไม่เฉพาะในอดีต นี่เราพูดถึงอดีตที่มารับผลเท่านั้น ต่อไปไอ้กรรมนี่แหละก็จะมาเป็นตัวปรุงแต่งเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะฉะนั้นเมื่อพูดอย่างนี้มันจะเล็งถึงปัจจุบันและอนาคตว่าเอาละสิถ้างั้นเรามาอย่างนี้เพราะกรรมมันดีหรือไม่ดีก็มามีผลอย่างนี้ เพราะฉะนั้นถ้าเราต้องการผลให้มันดีต่อไปเราก็ต้องจัดการกับกรรมให้ดีเสียตั้งแต่ตอนนี้ ถ้าพูดอย่างนี้มันจะเล็งถึงปัจจุบันและอนาคตที่จะต้องจัดการกับกรรมให้ดี ก็คือจะต้องปรับปรุงพัฒนาแก้ไข ถ้ากรรมที่ทำมามันทำให้เกิดผลไม่ดีใช่ไหม ก็แสดงว่าเราต้องเปลี่ยนแปลงทำให้มันดีขึ้น ถ้ามันดีอยู่แล้วก็รักษาและก็ทำให้ดียิ่งๆขึ้นไป นี่พูดแบบว่าเอาไอ้ความเข้าใจตามศัพท์นี้มาพิจารณา แต่เดี๋ยวจะเข้าสู่หลักการพระพุทธศาสนา ตอนนี้ก็เท่ากับว่าเราควรจะพูดในแง่ของความหมายของคำนี้ว่าเป็นเรื่องของการพูดถึง เพียงขั้นของการเกิดมีชีวิตขึ้นมา แค่นั้น ไม่พูดถึงการมีชีวิตหรือการดำเนินชีวิตหรือการปฏิบัติต่อชีวิตต่อไป แล้วก็เมื่อเข้าใจถูกต้องมันจะเล็งไปถึงการปฏิบัติต่อไปในแง่ที่ว่าจะต้องทำให้เรารู้หลักการที่จะว่าเราจะต้องปฏิบัติต่อกรรมหรือจัดการกับกรรมนี้ให้ดีที่สุด เพื่อให้เกิดผลที่ดีต่อไป อย่างนี้ก็ยังดียังได้ขั้นหนึ่ง ที่นี้เราก็จะพูดในแง่อื่นๆต่อไปด้วย ถ้าหากว่า ที่นี้โยงมาหาหลักการแล้ว ถ้าหากว่าไปมองว่าเกิดมาใช้กรรมก็คือว่าเราอยู่ไปทั้งชีวิตเป็นเรื่องของการรับผลกรรมเก่าแล้วเราก็มีแนวคิดมีทัศนคติว่าเราจะอยู่อย่างนั้นชดใช้รับผลกรรมไปอย่างนี้ท่านเรียกว่าลัทธิ ปุพเพตกเหตุวาท เป็นลัทธิมิจฉาทิฏฐิเลย แปลสั้นๆว่าลัทธิกรรมเก่า ไม่ใช่หมายความว่าพุทธศาสนาปฏิเสธกรรมเก่านะ แต่ลัทธิกรรมเก่าถือว่าบุคคลจะได้สุขหรือได้ทุกข์หรือได้สุขได้ทุกข์อย่างไรย่อมเป็นไปแล้วแต่กรรมที่ทำไว้ในชาติปางก่อน ก็แปลว่าจบนี่ลัทธินี้เรียกว่าลัทธิ ปุพเพตกเหตุวาท เรียกสั้นๆว่าลัทธิ ปุพเพกตวาท เป็นลัทธิเดียรถีย์หนึ่งในบรรดาประชุมลัทธิเดียรถีย์สาม เดียรถีย์เคยได้ยินใช่ไหมก็แปลว่าพูดง่ายๆคือลัทธินอกศาสนา นอกพระพุทธศาสนา มาสามลัทธินี้ก็เลยถือโอกาสพูดไปซะด้วยเลย ลัทธิเดียรถีย์สามลัทธิ หนึ่งลัทธิที่ถือว่าบุคคลจะได้สุขหรือได้ทุกข์หรือได้ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์อย่างไรก็แล้วแต่กรรมที่ทำเอาไว้แต่ชาติปางก่อนนี่พวกลัทธิที่ถือเช่นนี้เช่นลัทธินิครนถ์ เคยได้ยินไหมลัทธินิครนถ์ นี่พวกนิครนถ์ถืออย่างนี้ แกก็เลยบำเพ็ญตบะ ก็แกถือว่านี่ไอ้กรรมเก่าทำมาทำให้เรามามีทุกข์อย่างนี้เราต้องให้หมดกรรมซะ เราก็บำเพ็ญตบะ ไม่ยอมตามใจกิเลสเป็นต้น ทรมานร่างกาย ทีนี่ลัทธิที่สองลัทธิที่ถือว่าบุคคลจะได้สุขหรือได้ทุกข์หรือได้มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตามเป็นไปเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่ เรียกว่าลัทธิ อิสสรนิมมานเหตุวาท ชื่อยาวจัง เรียกสั้นๆว่า อิศวรนิรมิตวาท อิศรก็เป็นภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตว่าอิศวร พระผู้เป็นเจ้าองค์หนึ่งเรียกว่าพระอิศวร ได้แก่พระศิวะ ที่นี้ก็หมายถึงลัทธิพระผู้เป็นเจ้าทั่วไป ผู้เป็นใหญ่ ผู้มีอำนาจเหนือสรรพสัตว์ เหนือโลก สร้างสรรค์บันดาลทุกอย่าง และก็สามลัทธิที่ถือว่าบุคคลจะได้สุขก็ตามหรือได้ทุกข์ก็ตามหรือได้มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตามย่อมเป็นไปเองโดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเรียกว่าถึงคราวก็เป็นไป ถึงคราวก็เป็นไปเอง นี่ก็พูดภาษาไทยง่ายๆว่าลัทธิแล้วแต่โชค ลัทธิแล้วแต่โชคก็เมื่อถึงคราวก็เป็นไป ลัทธิทั้งสามนี้ท่านบอกไม่เป็นไปเพื่อการกระทำ ทำไมถึงบอกว่าไม่เป็นไปเพื่อการกระทำ หนึ่งเชื่อว่าอะไรๆก็เป็นไงก็แล้วแต่กรรมเก่า แล้วจะไปทำอะไร มีประโยชน์อะไรละ ใช่ไหม ถ้าทำไปมันก็ไม่ได้เรื่องมันแล้วแต่กรรมเก่าก็รอไปสิใช่ไหม เราทำไปไม่มีประโยชน์ สองลัทธิที่ว่าพระผู้เป็นเจ้าบันดาล แล้วทำไปทำไมละ ถ้าพระผู้เป็นเจ้าท่านไม่เอาด้วย ท่านก็บันดาลอะไรสักอย่าง ฉะนั้นทางที่ดีก็คือไปอ้อนวอนท่าน เอาใจก็เกิดลัทธิบูชายัญ เซ่นสรวง สามลัทธิแล้วแต่โชค ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย ทำไปไม่มีประโยชน์อะไร ใช่ไหม เมื่อถึงคราวมันก็เป็นไปเอง
ลัทธิที่เค้าเชื่อเรื่องดวงนี่ละครับ
ก็นี่แหละต้องระวังนี่แหละ
เราสามารถแยกว่าอยู่ในลัทธิอะไรได้บ้าง
ใกล้ลัทธิที่สามนี้มาก แต่ว่าพวกนี้ดวงเขาก็พยายามนะ ก็พยายามทำตัวให้เป็นเหตุปัจจัย คือว่าเขาจะอธิบายในแง่ว่าสรรพสิ่งในโลก ในจักรวาล มันมีอิทธิพลต่อกัน เช่นว่าดวงดาว พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวพระราหู จริงๆพระราหูคือโลกนี่แหละ ดาวพฤหัส ดาวเกตุ ดาวมฤตยู อะไรก็แล้วแต่นะ มันจะส่งผลมีอิทธิพลต่อความเป็นไปในชีวิตของแต่ละคน นี่เขาก็อธิบายให้เป็นเหตุปัจจัยเหมือนกัน ที่นี่ที่ผมอธิบายให้ฟังก็คือให้เห็นว่ามันมีความเป็นไปได้อยู่ เราก็อย่าไปดูถูก ทำไมนี่เอาเลยขอแทรกนิดหนึ่งคือเมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนแล้วผมก็ได้ยินมานานคือมีนักวิทยาศาสตร์ที่เขาค้นคว้าทำนองวิจัยถึงเรื่องความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อชีวิตมนุษย์
(นาทีที่ 30)
สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลมากนะ อย่างง่ายๆอย่างเช่นอากาศร้อนอากาศหนาวก็มีอิทธิพลแล้วใช่ไหม ไม่ต้องมากหรอกความรู้สึก อากาศดีเราก็สบายใจผ่องใส ปลอดโปร่ง อากาศร้อนจิตใจก็งุ่นง่านได้ ใช่ไหม ไม่ต้องพูดถึงทุกข์หรอก มันใจร้อนด้วยดีไม่ดีเกิดเรื่องกันง่ายด้วยใช่ไหม อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อชีวิตจิตใจ นี่นักวิทยาศาสตร์ก็ไปค้นคว้าเรื่องพระจันทร์เขาก็ตั้งข้อสังเกตว่าในวันที่เรียกแบบเราว่าเท่านั้นค่ำเท่านั้นค่ำมักจะมีเหตุการณ์ประเภทนี้ มีสถิติสูง คือนักวิทยาศาสตร์เค้าจะทำงานแบบที่มีข้อมูลมีข้อสังเกตอะไรต่างๆ ในการทดสอบ อันนี้แล้วเขาก็รวบรวมสถิติลองมาวิเคราะห์ในเชิง ก็แบบเราในเชิงเหตุปัจจัย ในที่สุดเค้าก็มาตั้งสมมติฐาน เพราะว่ามันสอดคล้องกับไอ้เรื่องของหลักเหตุผลนี้มีอยู่ว่าพระจันทร์นี่เรารู้อยู่แล้วมันชัดอยู่แล้วมันมีอิทธิพลต่อความเป็นไปในโลก ก็อย่างง่ายที่สุดก็น้ำขึ้นน้ำลง
ขึ้นแรม15ค่ำ 8ค่ำอะไรอย่างนี้ น้ำขึ้นน้ำลงโดยอิทธิพลของพระจันทร์ ทีนี่น้ำขึ้นน้ำลงไม่เฉพาะในน้ำทะเลหรือในแม่น้ำเท่านั้น น้ำมันมีอยู่ทุกหนทุกแห่งน้ำในร่างกายเรานี้มีน้ำส่วนใหญ่ของชีวิต เชื่อไหม ก็เช่นเดียวกันแหละเวลาพระจันทร์อยู่ในค่ำแรมอย่างนั้นมันก็มีแรงดึงดูดน้ำในตัวเราจะมีผลอย่างนั้นด้วย แล้วการที่น้ำมีสภาพไปตามการดึงดูดของพระจันทร์น้ำที่มันเปลี่ยนแปลงมีผลต่อจิตใจด้วย เออเค้าพูดเข้าทีไหม คือเหตุปัจจัยทั้งหลายบางทีเรามองไม่เห็นความสัมพันธ์เรามองข้ามอะไรบ้างอย่าง เราก็มองไม่เห็น ใช่ไหม แต่ที่จริงเอาเป็นว่าสิ่งทั้งหลายในจักรวาล ในโลกเรานี้ มันมีความสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยต่อกัน ส่งผลต่อกัน โดยตรงโดยอ้อม โดยใกล้ โดยไกล ใช่ไหม มากบ้างน้อยบ้าง ฉะนั้นในแง่นี้เราไม่ไปปฏิเสธแต่ว่าคนก็ไม่ได้รู้ชัด ความไม่รู้ชัดเป็นอันตรายอย่างหนึ่งถ้าไปลุ่มหลงเชื่อเขา ไปปักใจเชื่อในสิ่งที่ไม่รู้ชัด แล้วรู้ผิดทำอย่างไร ใช่ไหม สองเหตุปัจจัยมันมี ใกล้ไกลที่มีผลมากผลน้อย อิทธิพลมากน้อย สามมันมีชนิดเราจัดการได้เราจัดการไม่ได้ เราต้องรู้จักแบ่งแยก เราจะไปฝากชีวิตไว้กับไอ้พวกอิทธิพลเหตุปัจจัยที่มันเลือนลางมีอยู่เราไม่ได้ปฏิเสธใช่ไหม ไกลมีอิทธิพลน้อย แล้วก็ไม่ชัดเจน แล้วก็จัดการไม่ได้ ทำไมเราไม่ว่าเป็นขั้นๆละ เหตุปัจจัยอะไรที่เรารู้ชัด ทำอย่างนี้ปั๊ปเกิดผลอย่างนั้นและเราสามารถไปจัดสรรได้ เหตุปัจจัยอะไรมาเสริม มันทำไม อันนี้เราต้องพยายามศึกษาเอา แล้วก็หนึ่งรู้ชัดได้ สองมีอิทธิพลมีกำลังมากใช่ไหม มันมีผลโดยตรงเลย สามเราจัดการได้ อย่างนี้สิเอาก่อนถูกไหม อย่าไปรอทีนี้ใครไปรอดวงก็หมายความว่าไปฝากอะไรไว้กับเหตุปัจจัยเลือนลางไม่รู้ชัดจัดการไม่ได้ เราไม่ประมาทหลักนั้นเราใช้ ไม่ประมาท เราเอาก่อน พุทธศาสนาว่าเป็นขั้นตอนเลย นี่แหละหนึ่งเหตุปัจจัยโดยตรงโดยใกล้มีกำลังมากเราเรียนรู้ศึกษาให้มันชัดเจนได้ จัดการมันได้ เอาเลย จริงไม่จริงอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเราไม่ได้ไปว่าแต่เราต้องสอนเหมือนกันต้องเตือนเหมือนกันนะคนที่ไปมัวเชื่อดวง เค้าไปฝากโชคชะตาไว้เป็นอันว่าไม่ทำอะไร ไอ้เหตุปัจจัยใกล้ชิดมากมายเลยก็มองข้ามหมด ถูกไหม แล้วจะดีเหรออย่างนี้ ก็เสียก็เล่าตัวอย่างพวกที่ทำปฏิวัติมาแล้วก็พลาดไปดูดวงไว้ว่าทำปฏิวัติ เวลาเท่านั้น ฝ่ายอีกพวกหนึ่งมีสอดแนมรู้ไปว่าพวกนี้มีฤกษ์เวลาเท่านั้นชิงเอาซะก่อนเลย เป็นไง ก็เลยแพ้เลยใช่ไหม แหมฤกษ์ดีเลยไม่ได้ความเลย ปฏิวัติเลยไม่สำเร็จ ถูกจับ กลายเป็นกบฏ เข้าคุกไป อะไรอย่างนี้ละ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าเลยไม่ให้มัวมาฝากโชคชะตาไว้กับนี้ แต่เราก็ไม่ใช่อยู่ๆก็ไปผลีผลามไปปฏิเสธเขา ใช่ไหม มันต้องค่อยๆพิจารณาไปเป็นขั้นเป็นตอน กลับเข้ามาเรื่องของเราสักที ท่านมีอะไรสงสัยไหมครับเรื่องแทรกนี้
ก็อ่านหนังสือเรื่องเชื่อกรรม แต่ยังไม่พบในส่วนที่ชาวบ้านเค้าพูดกันเรื่องที่ว่าเรื่องของเจ้ากรรมนายเวรนี่ครับ อยากจะถามความคิดเห็นของท่านเจ้าคุณนะครับว่ามีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร
ชาวบ้านก็คลุมเครือกับเจ้ากรรมนายเวรไม่รู้ชัดว่าใครเป็นใคร ก็คือคนที่ผูกเวรกันไว้หรือทำอะไรกันไว้ ก็มองไปว่าเราไปทำอะไรเขาไว้เขาก็เป็นเจ้ากรรมเราเหมือนเขาเป็นเจ้าหนี้เราเป็นลูกหนี้ เจ้ากรรมก็เหมือนกับเจ้าหนี้กรรม อยู่ที่ว่าเราไปทำอะไรเค้าไว้เราเป็นลูกหนี้ มันก็เลยว่าเราจะรับผลหรือที่ร้ายเค้าผูกเวรเราด้วย ว่านายคนนี้มาทำข้าไว้ ข้าผูกเวรข้ามีโอกาสข้าจะทำมันบ้างอะไรอย่างนี้ นี่ก็เลยว่าก็เลยถือเรื่องเจ้ากรรมนายเวร ก็มองกันไปว่าเวลาเกิดเหตุร้ายอะไรขึ้นมาก็มีเจ้ากรรมนายเวรเขามุ่งร้ายเราอยู่ เขาก็เลยแกล้ง อันนี้ก็คล้ายๆว่าเป็นผลพ่วงจากเรื่องกรรม เป็นความเชื่อข้างเคียงที่พ่วงมากับความเชื่อเรื่องกรรม เราก็ยอมให้ในระดับหนึ่งแต่ว่าเราต้องจัดให้ดีว่าเราจะปฏิบัติแค่ไหน คือมันก็เป็นธรรมดา พอเราเกิดมามันก็มีแหละคนที่เราไปเจตนาบ้างไม่เจตนาบ้างแม้แต่เผลอไผลไปทำให้เขาไม่พอใจเขาก็ผูกใจเจ็บ ยิ่งว่าพูดกันยาวในสังสารวัฏนี้ อาจจะไปฆ่ากันไว้ทำอะไรกันไว้ มันก็เลยมีเวรมีกรรมอะไรแบบนี้ ก็อย่างหนึ่งก็คือว่าเมื่อมีความเชื่อนี้ก็จะทำให้จิตใจไม่สบาย ก็จะพลอยมายึดมั่นแล้วก็ทำให้เกิดผลได้จริงๆ เพราะฉะนั้นก็ทำให้โปร่งไปซะก็คือว่า อุทิศกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร พออุทิศไปแล้วใจเราก็เหมือนกับทำใจให้โปร่งโล่ง ปล่อยจิตออกไปได้ ปลดเปลื้อง หรือปลดปล่อยจิตให้มันเบาโล่งโปร่งไป แล้วก็การที่เรามีเมตตาทำบุญอุทิศกุศลมันไม่เสียหาย มันก็เป็นเรื่องของการทำความดีเพื่อปฏิบัติต่อสิ่งที่ไม่เห็นในอีกแบบหนึ่งที่ไม่ต้องไปทำร้ายไม่ต้องไปพึ่งเทพเจ้า ไปอ้อนวอนเซ่นทรวงบูชายัญ แก้ปัญหานั้นไปซะ ก็มาใช้วิธีง่ายๆแบบที่ว่าเอาแค่การทำความดีแล้วอุทิศกุศลแผ่เมตตา เพราะมนุษย์สัมพันธ์กับสิ่งที่อยู่เรียกว่าเหนือธรรมชาติ ซึ่งทางพุทธศาสนาที่จริงท่านไม่ถือว่าเหนือธรรมชาติแต่มนุษย์ใช้สำนวนว่าเหนือธรรมชาติ ก็คือสิ่งที่มนุษย์ไม่รู้ ยังไม่เข้าใจ เมื่อเรายังมีสิ่งที่ไม่รู้ไม่เข้าใจเราก็มีความหวาดกลัว เมื่อมีความหวาดกลัวมนุษย์ก็มีวิธีแสดงออก วิธีปฏิบัติดำเนินชีวิตอย่างที่ว่า เมื่อไม่หาทางออกอย่างอื่น อย่างทางกรรมนี้ แกก็จะนึกไปว่ามีเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่บันดาล ก็เลยเกิดลัทธิอ้อนวอนบรวงสรวงบูชายัญที่นี้ก็จะไปกันใหญ่ เพราะฉะนั้นในแง่นี้พระพุทธศาสนาจะมาช่วยในขั้นที่ว่าไม่ต้องไปมัวอ้อนวอนนบรวงสรวงบูชายัญ ซึ่งเป็นการเบียดเบียนก่อปัญหาหนักเข้าไปอีก ก็ให้มาใช้ทำกรรมดีแล้วก็อุทิศกุศลอะไรไป แล้วก็เรื่องรายละเอียดค่อยศึกษาไป ตอนนี้เอาแค่นี้ก่อนแต่ว่าไอ้นั่นเป็นปมข้างเคียงแต่ตัวสำคัญต้องกลับมาหาหลัก กลับมาสู่หลักการที่แท้ เมื่อกี้ผมพูดถึงว่าลัทธิเดียร์ถีร์สามลัทธิ
(นาทีที่ 40)
ให้แยกว่าให้ดีว่าไม่ใช่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะลัทธิกรรมเก่าบางทีใกล้มากจนกระทั่งบางทีเอาพระพุทธศาสนาไปเป็นลัทธิกรรมเก่าก็คือเป็นลัทธินิครนธ์จำไว้เลย พุทธศาสนาถือหลักกรรม กรรมมีทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต กรรมเก่าเป็นปัจจุบันมันเป็นกระบวนการ เป็นความจริงของเหตุปัจจัย มันก็ดำเนินไปเรื่อยๆ ใช่ไหม เมื่อมันเป็นกระบวนการความจริงที่ดำเนินไปเป็นเหตุปัจจัย มันก็อยู่ของมันไปมันก็แล้วแต่สิ ทำตอนไหนที่เป็นอดีตก็เก่า ทำปัจจุบันก็เป็นกำลังทำเป็นปัจจุบันเฉพาะหน้าทำต่อไปก็เป็นอนาคต มันไม่ใช่มาตัดตอนอย่างเดียวกรรมเก่าก็จบ เมื่อเป็นขบวนการก็ไปเรื่อยไปก็เป็นเหตุปัจจัย เอาละทีนี้เราตัดเรื่องลัทธิที่ไม่ถูกต้องออกไป ทีนี่ว่าเอาเรามาดูว่าพุทธศาสนาถ้าถือหลักเรื่องเกี่ยวกับชีวิตที่ว่าถ้าอยู่ไปเพื่อใช้กรรมหรือเกิดมาเพื่อใช้กรรม พุทธศาสนาจะพูดอย่างไรดี พูดอย่างไรถึงจะถูกหลักพุทธศาสนา เพราะคำว่าเกิดมาใช้กรรมนี่ไม่เห็นมีเลยในพระพุทธศาสนาที่ไหน มีไหมท่านเคยเจอไหม เกิดมาใช้กรรม
ส่วนมากจะเชื่อกันว่าเหมือนกับว่าเคยไปฆ่าอะไรมาต้องมาใช้กรรมเป็นโน้นเป็นนี่แทน
นั่นสิก็คือไอ้ที่เราพูดเมื่อกี้ว่าเรามองถึงความหมายในแง่ว่า เอาชีวิตที่เกิดมา การเกิดมามีชีวิตนั้น ชีวิตที่เกิดมาตอนนั้น ได้รับผลจากกรรมที่เป็นมาอันนั้นเราพูดไปขั้นหนึ่ง แต่ตอนนี้ความหมายของหลายคนมันจะมีถึงว่าอยู่ไป มีชีวิตนี้ไป ตลอดชาตินี้เพื่อชดใช้กรรมเก่าอย่างนั้นใช่ไหม มันมีหลักการอย่างนี้ไหมในพุทธศาสนา แม้แต่คำว่าอยู่ว่าเกิดมาใช้กรรมอะไร หรือใช้หนี้กรรม บางคนก็พูดอย่างนี้ มีไหม มันไม่มี ถ้าพูดในหลักให้ถูกหลักพระพุทธศาสนาจะต้องพูดว่าเกิดมาเพื่อทำกรรมที่จะดับกรรม หรือเกิดมาเพื่อจะทำกรรมที่จะทำให้สิ้นกรรม ดับกรรมอาจจะสู้คำนี้ไม่ได้ เกิดมาเพื่อจะทำกรรมที่จะทำให้สิ้นกรรม อย่างนี้ถูกหลักเลยไม่ผิดแล้ว ไม่ผิดแน่ แต่ว่าท่านไม่ได้ไประบุหรอก คือ ข้อความนี้ไม่ใช่เป็นข้อความที่อยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาว่าเกิดมาเพื่อจะทำกรรมที่จะทำให้สิ้นกรรม แต่ว่าคำสอนนั้นเมื่อเราพิจารณาไปเราจะเห็นชัดว่าเมื่อมาเทียบกับข้อความเมื่อกี้จะต้องเปลี่ยนข้อความเมื่อกี้เสียใหม่ แทนที่จะพูดว่าเกิดมาเพื่อใช้กรรมต้องเปลี่ยนว่าเกิดมาเพื่อจะทำกรรมที่จะนำไปสู่ความสิ้นกรรม ทีนี้ต้องทำแล้วนะ ไม่ใช่อยู่ไปรอให้มีผลเกิดขึ้นแล้วก็หมดไป ทำกรรมให้สิ้นกรรม พระพุทธเจ้าตรัสหลักกรรมไว้ ในที่หนึ่งตรัสถึงว่าคือตรัสเรื่องกรรมตรัสไว้เยอะเพราะหลักกรรมเป็นหลักใหญ่แต่นำมาพูดเฉพาะในส่วนที่ใช้พิจารณาในเรื่องนี้ แห่งหนึ่งพระองค์ตรัสไว้กรรมสี่ กรรมดำ กรรมขาว กรรมทั้งดำทั้งขาว แล้วก็กรรมไม่ดำไม่ขาว นำไปสู่ความสิ้นกรรม ทีนี้กรรมดำก็กรรมชั่วนะแหละอกุศล กรรมขาวก็กรรมดีเป็นกุศล ความดีทั้งหลาย กรรมทั้งดำทั้งขาวก็ปนๆกันไปชั่วบ้างดีบ้าง ทีนี้กรรมไม่ดำไม่ขาวเป็นไปเพื่อการสิ้นกรรมนี่แหละอันนี้สำคัญที่ว่าชาวพุทธก็จะมีวิธีปฏิบัติต่อกรรมทั้งสี่นี่เลย กรรมดำนี่ควรจะละเว้นใช่ไหมกรรมอกุศล กรรมขาวนี่ควรทำ แต่ก็ยังไม่ใช่อุดมคติ ควรทำกรรมขาว กรรมที่เป็นกุศล แล้วก็กรรมดำกรรมขาวก็ทำคละกันไปนี่เป็นธรรมดาของมนุษย์ แต่เราก็ต้องพยายามให้ว่า ทำกรรมดำให้น้อย ทำกรรมขาวให้มาก แล้วก็กรรมไม่ดำไม่ขาวเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม อันนี้คือกรรมที่มันไม่ประกอบด้วยกิเลส แต่ประกอบด้วยปัญญา แล้วก็ถูกแนวทางของ เรียกง่ายๆว่าแนวทางของพระพุทธศาสนา เราใช้คำเพื่อเป็นเครื่องหมายรู้หรือว่าเป็นกรรมที่ถูกแนวทางของเหตุปัจจัยที่มันจะไม่ก่อผลปรุงแต่งต่อไป อันนี้ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวก็เกิดด้วยปัญญาอย่างที่ว่าเราทำอะไรนี้ อย่างคนทำอะไร ทำชั่วด้วยความเห็นแก่ตัว ทำร้ายเขา หรือทำความดีเราก็ยังมีกิเลสของเราอยู่ มีความปรารถนาอย่างโน้นอย่างนี้ยังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ ทีนี้ว่ามันมีกรรมการกระทำที่ว่า ชาวบ้านเขาเรียกว่าเป็นความดีนี่แหละแต่ว่ามันประกอบด้วยปัญญา ทำไปด้วยปัญญา ถ้าใช้ภาษาชาวบ้านก็คือปัญญาบริสุทธิ์ เหตุผลบริสุทธิ์ ว่ามันเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ด้วยเหตุผลเพื่อแก้ไขปรับปรุงอันนั้นหรือทำสิ่งนั้นให้ดีงาม มันไม่มีความปรารถนาส่วนตัวหรืออะไรไปเกี่ยวข้อง เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน พระอรหันต์ท่านก็ทำใช่ไหม พระพุทธเจ้าก็เดินทางไปโปรดพวกโน้นพวกนี้ พระอรหันต์ท่านก็ทำอะไรของท่านไป ที่เราเรียกกันว่าความดี แต่ท่านไม่ได้ยึดถือแต่ท่านรู้ว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์ เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ทำให้คนนั้นเขาได้หายโง่อย่างนี้เป็นต้น หรือทำให้เขาพ้นจากความทุกข์ และพระองค์ก็ทำ ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์โดยรู้ด้วยปัญญา ทำด้วยความเข้าใจไม่ได้ไปยึดมั่นเพื่อผลตอบแทนอะไรกับตัวทั้งสิ้น ทำแบบนี้เพราะฉะนั้นกรรมไม่ดำไม่ขาวก็จะมีคำอธิบายหลายแบบ แต่แบบหนึ่งที่เราเข้าใจง่ายก็คือในที่แห่งหนึ่งตรัสว่าก็คือมรรคมีองค์แปดนี่เอง มรรคมีองค์แปดนี่แหละเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว.เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ก็หมายความว่าเมื่อพวกเราดำเนินชีวิตถูก ทำการต่างๆถูกต้อง เข้าหลักของมรรคมีองค์แปด เช่นมีสัมมาทิฐิ มีความเข้าใจถูกต้องก็คือมีปัญญาเห็นชอบ ทำการไปด้วยความรู้ความเข้าใจ เรื่องความเป็นเหตุปัจจัย เราต้องการให้เกิดประโยชน์นี้ ช่วยเหลือคนนี้ ทำชีวิตให้ดีงามก็ทำไป อย่างนี้ก็จะเป็นกรรมที่ทำไปเพื่อความสิ้นกรรม เพราะมันจะไม่ก่อให้เกิดกรรมที่จะมาปรุงแต่งชีวิตให้วุ่นวายอีก
กรรมไม่ดำไม่ขาวนี่ครับคือยังสงสัยอยู่นิดหนึ่งว่าอย่างสมมติว่ามรรคแปดนี่ครับเออ เป็นกรรมไม่ดำไม่ขาวใช่ไหมครับ แต่ว่ามรรคแปดการเจริญมรรคแปดมันก็ส่งผลในทางที่ดี ก็คือมันส่งผลกรรมที่ดีให้กับตัวเราอยู่ดี แล้วมันจะต่างอะไรกับกรรมที่เป็นสีขาวครับ
อันนี้มันเป็นความหมายเฉพาะ หมายความว่าคือว่าถ้าพูดแบบภาษาชาวบ้านเช่นว่าท่านที่ทำอย่างนั้น ชาวบ้านเขาเรียกว่าดี เป็นความดี แต่ว่าความดีของคนทั่วไปเขาทำด้วยความยึดและมีความปรารถนาส่วนตัวอย่างนั้นอย่างนี้ ทีนี้ถ้าเป็นกรรมแบบนี้เป็นความดีที่เราเรียกโดยสมมติว่าความดี แต่ที่จริงมันก็เป็นเรื่องของการกระทำที่เป็นไปตามปัญญาที่มองรู้เหตุปัจจัยและก็ทำไปเพื่อผลที่ท่านเรียกว่าประโยชน์ ทำให้เกิดการพัฒนาชีวิตและจิตใจเป็นต้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับการยึดถือ คือหมายความว่ารู้ความจริงตามเหตุปัจจัย ธรรมชาติมันเป็นของมันอย่างนั้น และก็เห็นว่ากระบวนการเป็นอย่างนี้แล้วมันจะเป็นประโยชน์ทำให้เกิดผลที่ดีงาม คำว่าดีมันก็ทิ้งไปได้เหมือนกัน มันดีโดยรู้ตามที่ตกลงพูดกัน แต่ไม่ใช่ดีในการยึดถือ พอจะเข้าใจไหมครับ คือไม่ใช่เป็นความยึดมั่นส่วนตัว ที่พอมีความยึดมั่นก็จะมีความปรารถนาส่วนตัวขึ้นมา
สมมติว่าเราทำบุญที่แบบ ประกอบด้วยความเห็นที่ถูกต้อง ไม่มีกิเลส ไม่ได้หวังผลตอบแทนอะไร อย่างนี้จะเรียกว่าเป็นกรรมที่ไม่ดำไม่ขาวได้หรือไม่
นี่เข้าแนวทาง เราเรียกได้ว่าเข้าแนวทาง ถือว่ามีชื่อเลยนะ โอปธิกบุญ กับ อโนปธิกบุญ , โอปธิกบุญบุญที่ประกอบด้วยอุปธิก เช่นว่าเป็น
(นาทีที่ 50)
ความเข้าใจ ความปรารถนา ผลอะไรของมนุษย์ ปุถุชน ที่ทำบุญทำความดีก็ยังมี อุปธิก มีกิเลสปนอยู่ พอเข้าใจใช่ไหม ทีนี้อโนปธิกบุญนี่ บุญที่ไม่มีกิเลส ก็อย่างที่ว่า ทำโดยรู้ว่าอันนี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ก็ที่เรียกสมมติกันว่าดีงาม ที่เราเรียกว่าดีงาม คือมันเป็นประโยชน์ มันเกื้อกูลทำให้สิ่งทั้งหลายมันอยู่ในภาวะที่ดี หรือดียิ่งขึ้นทำไปเพื่อนั้น โดยเราไม่ได้ไปยึด มุ่งหมายผลหรืออะไรอย่างนี้ มันก็เข้าแนวอโนปธิกบุญ แต่ว่าจิตของมนุษย์ปุถุชนนี้จะให้บริสุทธิ์แท้นะมันยากเราจึงว่าเข้าแนว คือว่าจะให้บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนอย่างพระอรหันต์ มนุษย์ปุถุชนบางทีมันก็ยาก มันมีนิดๆหน่อยๆอย่างน้อยก็สลับเข้ามา ผุดขึ้นมาในจิตแล้วก็อาจจะผ่านไป ก็ยังต้องสู้กัน คือฝึกนั่นเอง สำหรับมนุษย์ปุถุชน มันเป็นเรื่องของการฝึก ท่านก็ให้แนวไว้คุณจะเอาอันไหน เราก็ควรจะฝึกตัวในแนวทางที่เรียกว่าเป็นอโนปธิกใช่ไหม หนึ่งเราฝึกตัวเองเพื่อละกรรมชั่วที่เป็นกรรมดำ เราก็ฝึกใช่ไหม มาทำกรรมที่ดี ทีนี้ในทางกรรมที่ดีมันก็มีกรรมที่ดีโดยยังยึดถืออยู่ ยังมีปรารถนาส่วนตัวอยู่ แล้วก็ยังมีกรรมดีที่เราเรียกในภาษาชาวบ้านว่ากรรมดีที่ท่านถือนี่แหละ กรรมที่ไม่ดำไม่ขาวนี่แหละ ที่ว่ามันไม่เกี่ยวกับความยึดความปรารถนาของตัวตนอะไรแล้ว เราก็ต้องฝึกอีกทีหนึ่ง ก็คือฝึกให้พ้นจากการทำกรรมดีที่เป็นความยึดความปรารถนาไปสู่ขั้นอีกขั้นหนึ่ง พอจะเห็นไหม มันจะทำให้เห็นการพัฒนาที่เดินหน้าสูงขึ้นไปได้ เพราะฉะนั้นให้เข้าใจว่าที่ไม่ดำไม่ขาวในที่นี้ก็คือเป็นภาษาที่เอาสภาวะมาพูด แต่ว่าในแง่ของมนุษย์ทั่วไปนี่ก็ยังถือเป็นดีนั่นเอง ในภาษาชาวบ้านพระอรหันต์ท่านทำอะไรเราก็บอกว่าความดี ถูกไหม แต่ท่านไม่ได้ยึด ก็คือกรรมไม่ดำไม่ขาว ทีนี้มรรคมีองค์แปดก็เลยยังมีโลกียะ โลกียมรรค และ โลกุตรมรรค สำหรับมนุษย์ปุถุชนนี่ มันก็จะมีแม้แต่สัมมาทิฐิก็เชื่อกรรม ท่านก็บอกว่าเชื่อกรรมแบบที่ว่านี้ก็เป็นโลกียสัมมาทิฐิ ถ้าโลกุตรสัมมาทิฐิก็จะไปมองในแง่ของความเป็นเหตุปัจจัยเลย บริสุทธิ์ ขบวนการเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยมันเป็นไปอย่างนั้น ถ้าเกี่ยวกับมนุษย์เกิดเป็นเหตุเป็นปัจจัย ผลเกิดเป็นอย่างนั้น อะไรอย่างนี้ แล้วก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็น ไตรลักษณ์ นี่คือมองแบบโลกุตรสัมมาทิฐิ ก็เป็นอันว่านี่แหละพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ให้เรามารอนั่ง นิ่ง รอรับผลอะไรอยู่หรอก ถ้าหากว่าเกิดมาแล้วมันยังไม่ดีก็ต้องแก้ไขปรับปรุงทำให้มันดียิ่งขึ้น แต่ว่าที่ให้ถูกก็คือว่าทำกรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ก็คือทำกรรมชนิดที่ว่านี้ ซึ่งเป็นกรรม การกระทำอย่างสูงเลยที่มันบริสุทธิ์ สะอาด แต่ถ้ายังไม่ได้ขั้นนี้ก็ทำกรรมที่มันเป็นกรรมขาว ก็ยังดี มีให้แล้วนี่สี่อย่าง เราก็พัฒนาเราขึ้นไป แต่ว่าข้อสำคัญอย่าไปถือหลักลัทธิแนวคิดที่ทำให้งอมืองอเท้า เดี๋ยวชาวพุทธจะเป็นคนหงอกอหรือหงอยก๋อยไป ชาวพุทธต้องเป็นนักทำ แต่รู้จุดรู้หลักที่จะธรรม ก็ทำกรรมแต่ทำกรรมที่มันดีหรือยิ่งกว่านั้นก็ทำกรรมที่สมมติเรียกกันว่าดีนี่แหละ แต่ที่จริงมันเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม เพราะมันไม่ก่อกรรมเลย
พระโพธิสัตว์นี่ยังอยู่ในระดับที่เป็นกรรมขาวอยู่ใช่ไหมครับ
ก็โดยทั่วไปก็อย่างนั้น
คือยังไม่ใช่กรรมไม่ใช่ขาวไม่ใช่ดำเลยทีเดียว
ยังๆ เพราะอย่างนั้นท่านยังจะบรรลุโพธิญาณเป็นพระอรหันต์ไปซะก่อน ท่านต้องสะสมกรรมดีให้ถึงที่สุดเลยจึงเรียกว่าบารมี แต่ว่าก็เป็นการพัฒนาในระดับที่สูง คือเรียกว่า เทียบกับมนุษย์ทั่วไปก็สูง แต่ว่าจะเทียบกับพระอรหันต์ไม่ได้ เทียบกับพระอริยะไม่ได้เพราะไม่ได้เป็นโสดาอะไรทั้งนั้น
อย่างนี้หมายความว่าที่เราทำ ก็ไม่มีทางที่จะเป็นกรรมที่ไม่ดำไม่ขาวหรือครับ ถ้าเรายังไม่บรรลุพระอรหันต์
ก็เรียกโดยเปรียบเทียบได้ ก็หมายความว่าพอเรามีสัมมาทิฐิก็เข้าหลักกรรมไม่ดำไม่ขาวแล้ว ก็หมายความว่าโดยเทียบเอา แต่ว่าความแน่แท้ บริสุทธิ์สิ้นเชิง เรายังไม่ได้จริง อย่างน้อยก็คือมันไม่อนุญาตโดยขณะจิตเป็นต้น พอขณะจิตนี้มันดี พออีกขณะจิตมันมาอีกแล้ว มันก็เลยไม่บริสุทธิ์
อย่างสมมติในขณะนี้ครับ ที่พวกเราได้มาฟังธรรม ก็เป็นกรรมเก่ากรรมดี แล้วก็เป็นการสร้างกรรมดีต่อไป ซึ่งจะได้รับผลในอนาคต แต่สมมติว่าเราไม่รู้ว่าการที่เราทำความดีจะได้อะไรเราเลยไม่ได้หวังผลในจุดนั้น อย่างนี้เรียกว่าเป็นกรรมที่ไม่ดำไม่ขาวได้ไหมครับ
มันมีซ้อนสองชั้นเหมือนกัน คือว่าบางทีมีความปรารถนาแบบไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นตัวอิทธิพลที่ครอบงำหมดเลย ไอ้ตัวนี้ ตัวความปรารถนาที่ไม่รู้ตัวมันรองรับเป็นฐาน ครอบงำ พฤติกรรมต่างๆ ที่ดำเนินไปตลอดเวลา ตัวนี้บางทีเราไม่รู้ตัวเลย เช่นว่าเราอาจจะตั้งความปรารถนาไว้ว่าฉันไปเข้าสู่ เอาแม้แต่มาบวชทั้งหมดการบวชเราตั้งใจปรารถนาของเรามีตัวความปรารถนาที่เป็นมูลฐานไว้ แล้วพอตั้งปรารถนาไว้นี่ เวลาพอเราไปทำอะไรเราไม่รู้ตัวถึงความปรารถนานี้แต่ถามว่าความปรารถนานี้มีอิทธิพลอยู่ไหม มีใช่ไหม มีตลอด อันนี้ไม่รู้ตัว ทีนี้แต่ว่า เอาละ ถึงอย่างไรก็ตามมันเป็นเรื่องละเอียด เขาเรียกกันว่าละเอียดอ่อนนี่แหละนะ เวลาเราทำไป ความรู้ ความเข้าใจ อะไรที่เราทำ ความรู้ความเข้าใจเกิดความเข้าใจขึ้นมามันก็เรียกธรรมเหมือนกันนะ มันกลับไปเป็นตัวไปแก้ไอ้ความปรารถนาตัวมูลนั้นด้วยซ้ำ กลับไปบั่นทอนได้เหมือนกัน ลองคิดดู เพราะฉะนั้นมันเกิดได้ มันเกิดไอ้ตัวนี้ได้แต่ว่าอิทธิพลเจ้าตัวนั้นถามว่ามันมีไหม มี ไอ้ตัวนั้นคอยครอบงำอยู่เรื่อยแต่ไอ้ที่เราทำนี่ก็ มันก็ไปทอนกำลังอิทธิพลเจ้าตัวปรารถนานั้นเหมือนกัน เช่นอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสนี้ บางคนในสมัยก่อนเขามีประพฤติพรหมจรรย์ได้ตั้งปรารถนาว่าจะได้ไปเกิดเป็นเทพเจ้าเอาละสิ แกมาบวชแกก็ตั้งใจอย่างนั้นแล้ว ว่าเราไปบำเพ็ญพรหมจรรย์ เมื่อสำเร็จผลดีแล้วเราจะได้ไปเกิดเป็นเทพเจ้ายิ่งใหญ่ อย่างนั้นๆ นี่ไอ้ความปรารถนามันมีอิทธิพลตลอดเวลาเลย ไม่รู้ตัวเลย แต่ว่าเมื่อมาศึกษาพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไรต่ออะไร เลยกลายเป็นว่าไปแก้ไอ้ความปรารถนานี้ด้วย บั่นทอนกำลังให้ลดลงๆไปเรื่อยนะ เป็นไปได้อย่างนี้
แล้วอย่างสมมติว่าผมทำบุญอะไรสักอย่างนะครับ แล้วก็อธิษฐานจิตว่า ขอให้ชาติหน้าได้เกิดในประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเจริญตั้งมั่น ได้เรียนธรรมะที่ถูกต้อง อะไรอย่างนี้ อย่างนี้ผิดหรือไม่ครับ
ไม่ผิดหรอก แต่ว่ามันต้องแยกเป็นระดับๆหมายความว่าในแง่ของปุถุชนนับว่าดีมากแล้ว แล้วก็ในแง่ปฏิบัติการโดยสมเหตุสมผล มันก็เอาที่ว่าเราเมื่อยังนึกว่าเรายังคงไปเกิดใหม่อีก ยังไม่จบชาตินี้ เราก็ตั้งใจอย่างนี้ก็ดีแล้ว ก็นับว่าดีแล้ว โดยภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า comparatively โดยเปรียบเทียบ ก็ต้องใช้แบบนั้นหรือ relatively โดยสัมพัทธ์ก็ได้ คือใช้คำ relatively เหมาะกว่าโดยสัมพัทธ์ คือเรื่องของพระพุทธศาสนานี้เราพูดได้ในแง่ว่าใช้หลักสัมพัทธ์เป็นประโยชน์มาก คือมันไม่ absolute มันไม่สัมบูรณ์เขาบัญญัติกันว่างั้น ไม่เด็ดขาด เพราะมันอยู่ระดับสัมพัทธ์ ว่ามันดีโดยสัมพันธ์กันอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ว่าไอ้อันนั่นแหละถ้าไปสัมพันธ์กับอันโน้นมันก็ยังไม่ดีนะ
(นาทีที่ 1.00)
เหมือนอย่างว่าเราทำกรรมหนึ่ง ถ้าเรามองในแง่หนึ่งว่าไปเทียบกับมนุษย์ทั้งหลายที่เขาอยู่กันอย่างนี้กรรมของเราดีมากแล้วเป็นกรรมดีเหลือเกิน ดีในความหมายของศัพท์ของคนทั่วไป แต่ว่าลองไปโยงกับการกระทำของพระอรหันต์ยังไม่ดีใช่ไหมอย่างนี้เรียกว่าดีโดยสัมพัทธ์ใช่ไหม relatively เพราะฉะนั้นเวลามองอะไรก็ต้องมองในระบบความสัมพันธ์นี้ด้วย และเราก็จะทำให้หรือเรียกร้องให้เรานี่ต้องใช้ปัญญามากขึ้น และเราจะละเอียดอ่อนมากขึ้นในการมองสิ่งทั้งหลายให้เห็นเหตุปัจจัยของมันลึกซึ้งลงไปและก็โยงๆกันไป แล้วก็เห็นให้แง่มุมเยอะแยะเลย แต่ถ้าเราไม่รู้จักมองอย่างนี้นะ จบไม่พัฒนา ก็มองทีเดียวจบ มองทีเดียวจบก็เลยไม่ไปไหน เรื่องกรรมก็เป็นเรื่องของการพัฒนามนุษย์ ก็พระพุทธเจ้าตรัสให้เราพัฒนา ก็ท่านบอกให้ละอกุศล ก็คืออกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล และให้ทำกุศลกรรม อันนี้ก็คือท่านไม่ได้บอกสักหน่อยให้มารอผลอะไรใช่ไหม และก็คือการพัฒนาจากการที่เคยทำอกุศลกรรมหรือเคยทำอกุศลกรรมมากก็ให้ทำให้มันน้อยลง และก็ทำกุศลกรรมให้มาก นี่คือการพัฒนา ถ้าเราใช้ภาษาปัจจุบันก็คือท่านให้พัฒนากรรมจากการทำกรรมที่ชั่วมากๆก็ให้ชั่วน้อยลง และก็ทำกรรมชั่วเยอะแยะก็ให้ทำมันเพียงนิดหน่อย และก็ทำกรรมดีกุศลให้มากขึ้น อะไรอย่างนี้ ให้สูงขึ้น จากกามาวจรกุศลเป็นรูปาวจรกุศลและก็ขึ้นไปเรื่อย ถ้าเราใช้ภาษาแบบชาวบ้านก็ต้องบอกว่า เราเกิดมาถ้าประพฤติตามหลักพระพุทธศาสนาต้องดำเนินตามหลักเกิดมาเพื่อพัฒนากรรม ไม่ใช่เกิดมาเพื่อชดใช้กรรม ถ้าคนที่คิดชดใช้กรรมก็แปลว่าไม่ต้องทำอะไร งอมืองอเท้า รออยู่นั่นแหละ ถ้าใช้ภาษาให้สมยุคสมสมัยก็ต้องพูดใหม่ว่าเกิดมาเพื่อพัฒนากรรม จริงไหม ถูกหลักไหม ถ้าพูดว่าพัฒนากรรม ถูกนะครับ มันแน่นอนเพราะพระพุทธเจ้าให้เราละอกุศลและทำกุศล ท่านไม่ใช่ให้หยุด เพราะฉะนั้นถ้อยคำที่คนไทยพูดมันชวนให้หลงเข้าสู่ลัทธิต่างๆที่ว่าเป็นลัทธิเดียร์ถีร์สามลัทธินั่น หนึ่งก็จะเข้าลัทธิกรรมเก่า อันนี้ก็ไปได้เยอะเลยใช่ไหม เกิดมาชดใช้กรรมก้แปลว่าทั้งชาติไม่ต้องทำอะไรรอผลกรรมเก่าไป สองก็แล้วแต่บุญแต่กรรมอันนี้เข้าลัทธิไหน อเหตุวาทนี่ใกล้เข้าไปเลยนะ บางทีก็แล้วแต่เวรแต่กรรม ก็แล้วแต่ถึงคราวมันก็เป็นไปเอง พวกนี้ก็พูดบ่อยนะถึงคราวก็เป็นไปเอง พวกถึงคราวก็เป็นไปเอง ลัทธิที่สามแล้ว อย่างนี้ไม่ไหว คนไทยเราต้องชัด อะไรมันไม่ชัดก็ทำให้มันชัดซะ พูดอะไรก็พูดด้วยความเข้าใจที่ชัดเจน ถ้ายังไม่เข้าใจชัดเจนต้องหาทางศึกษาให้มันชัด แล้วปฏิบัติให้มันเกิดผลจริงจังไม่ใช่ทำเรื่อยเปื่อย เมื่อคนไม่รู้ไม่เข้าใจทำอะไรทำมันก็ทำแบบไร้จุดหมาย ทำแบบเรื่อยเปื่อยไปหมดเลย ชีวิตมันก็โลเลๆ สังคมมันก็พลอยอ่อนแอ ไม่มีทิศมีทาง แม้แต่มานับถือพระพุทธศาสนาก็ยังเรื่อยๆเปื่อยๆ ไม่มีอะไรชัดเจน มีอะไรสงสัยไหม
เชื่อเรื่อง ??? เรื่องคู่กันแล้วไม่แคล้วกัน เหมือนกับว่าเป็นพรหมลิขิต
พรหมลิขิตนั่นก็หมายความว่าพระพรหมท่านขีดมาให้ ถ้าเชื่อว่าพระพรหมขีดมาให้ก็เข้าลัทธิอิศวรนิรมิตวาท พระผู้เป็นเจ้าบันดาล คือมันก็ปล่อยปละละเลยแต่ว่าบางทีเขาเอาไว้ปลอบใจเท่านั้นคือหมายความว่าบางทีมันเป็นอุบายของผู้ใหญ่ สำหรับมาระงับไอ้ความงุ่นง่านของเด็กใช่ไหม ผู้ใหญ่เองก็ไม่ได้เชื่อตามนี้หรอก คือว่าเอามาเห็นเด็กมันวุ่นวายนักก็เลย เออถ้ามันเป็นคู่กันมันไม่แคล้วกันหรอก ไม่งั้นแล้วแกไปขวนขวายทำอะไรที่มันอาจจะพลาดได้ แล้วพูดกับเขาไม่รู้เรื่อง พูดกันยาก ก็เลยปลอบใจ เป็นวิธีการ เรียกว่าอุบาย ทีนี้บางทีในวงการพระพุทธศาสนาพวกถ้อยคำเหล่านี้ มันเกิดมาจากการปลอบใจหรือการใช้เฉพาะกรณีและเสร็จแล้วมันเอามาใช้ในความหมายกว้างมันเลยคลาดเคลื่อนทำให้เข้าใจผิดไป เหมือนอย่างกับว่า เออเราทำบาปแล้วก็ก้มหน้ารับกรรมไปเถอะ นี่เป็นตัวอย่าง นี่บางทีก็เป็นคำปลอบใจ คนนี้แกได้ไปทำความผิดเช่นฆ่าคนตายมาแล้วแกก็ทุกข์มาก แต่ว่าอีกอันหนึ่งก็คือแกคิดในแง่เรื่องจะทำอะไรอื่นที่มันไม่ดีไปอีก ก็มีคำปลอบอันหนึ่งว่าให้ก้มหน้ารับกรรมไปเถอะ คือใจจะได้ยอมรับซะ แล้วก็หายทุกข์คับแค้นที่มันมากเกินไปให้มันเบาลง ให้ทุกข์น้อยลง แล้วก็ระงับการที่จะไปทำกรรมชั่วอะไรอื่นอีก อันนี้เป็นเรื่องของถ้อยคำที่จะมาใช้เฉพาะกรณี ซึ่งเราจะมีแบบนี้เช่นเวลามีการพลัดพรากจากกันก็จะมีการปลอบใจว่าสิ่งทั้งหลายมันเป็นอนิจจัง หรือจะพูดว่าอนิจจังไม่เที่ยง เกิดแล้วก็ต้องตาย เจริญแล้วก็ต้องเสื่อม อะไรอย่างนี้ ก็เอามาปลอบใจ ก็ทำให้ใจยอมรับได้ มันก็เป็นความจริงอันหนึ่ง ในระดับหนึ่งมันเป็นความจริงอย่างนั้นแต่เราไม่ได้พูดหมดไม่ได้พูดตลอดกระบวนการ พูดถึงความจริงในแง่หนึ่ง ระดับหนึ่งแล้วให้ใจเขายอมรับความจริงนั้นมันก็จะหายทุกข์หายโศกไปขั้นหนึ่ง หรือบรรเทาเบาบาง แต่ทีนี้ถ้าเกิดคนไปยอมอยู่แค่นั้นก็จบ เช่นว่าไปทำอะไรมากิจการก็เสื่อมหรือว่าล้มละลายหรือวอะไรก็แล้วแต่ ก็บอกว่าเออเจริญแล้วมันก็ต้องเสื่อม มันเป็นอนิจจัง แล้วก็เลยเสื่อม ก็เลยปล่อยเลยทีนี้ ไม่แก้ไขปรับปรุงไม่กระตือรือร้น อย่างนี้ก็กลายเป็นเสียไปเลยเป็นประมาทไป นี่หลักของท่าน อนิจจัง ก็คือไม่เที่ยง มันเจริญได้ เสื่อมได้ แต่จะเจริญหรือเสื่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย ท่านไม่ได้จบแค่นี้ไม่ได้จบแค่ว่าบางคนไปพูดว่าเจริญแล้วก็ต้องเสื่อม ก็จบกันทีนี้ บางทีก็เลยกลายเป็นว่าไม่ขวนขวาย ไม่หาทางใช้ปัญญาแก้ไขป้องกันความเสื่อม ความเสื่อมมันก็ต้องมาก็เลยปล่อย ทีนี้ท่านบอกว่าสิ่งทั้งหลายมันไม่เที่ยง มันเปลี่ยนแปลงไป มีเสื่อมได้เจริญได้ เราอย่าไปพูดว่าเจริญแล้วต้องเสื่อม เราพูดว่าเจริญได้เสื่อมได้ทั้งนี้เป็นไปตามเหตุปัจจัย เจริญหรือเสื่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย อนิจจังมันเปลี่ยนแปลงไม่เที่ยงแต่มันไม่ใช่ว่าเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยเปื่อย ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงไปเองแต่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย นี่หลักอนิจจังมันมีตัวรองรับอยู่คือหลักเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นไตรลักษณ์เป็นรูปปรากฏที่เรียกว่าลักษณะ ลักษณะก็คืออาการที่ปรากฏ แต่เบื้องหลังของมันคืออะไร ตัวกฎธรรมชาติคือปฏิจสมุปบาทความเป็นไปตามเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นรูปลักษณ์ ลักษณะที่ปรากฏ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ก็คือมันเป็นไปเหตุปัจจัยนี้ เพราะฉะนั้นไอ้ตัวหลักอนิจจังหรือเปลี่ยนแปลงเอามาใช้ในโลกสามัญของชาวบ้านมาก และต้องทำความเข้าใจให้ถูกว่า อย่าลืมว่าอนิจจังตั้งอยู่บนฐานของเหตุปัจจัย ถ้าท่านต้องการให้เจริญท่านต้องเรียนรู้ศึกษาเหตุปัจจัยที่จะทำให้เสื่อมแล้วป้องกันแก้ไขเหตุปัจจัยของความเสื่อม แล้วก็ศึกษาเหตุปัจจัยที่ทำให้เจริญ แล้วท่านก็ทำเหตุปัจจัยนั้นเพื่อรักษาความเจริญไว้และทำให้เจริญยิ่งขึ้นไป
(นาทีที่ 1.10)
อย่างนี้จึงจะถูกหลักพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ไปอยู่ก็ยอมเรื่อยเปื่อยไป เว้นแต่มันไม่มีเหตุปัจจัยให้เป็นไปอย่างนั้น ยกตัวอย่างคือว่าอย่างบางคนบอกว่าอย่างนั้นไปเป็นพระอรหันต์แล้วก็เป็นอนิจจังพระพุทธเจ้าตรัสไว้ สิ่งทั้งหลายเป็นอนิจจังไม่เที่ยง อย่างนั้นไปเป็นพระอรหันต์แล้วอนิจจังก็ต้องกลับมาเป็นมนุษย์ปุถุชนได้สิ จะไปเถียงเขาอย่างไรละ พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้แล้วเป็นอนิจจัง มันจริง ถ้าอย่างนั้นพระอรหันต์ก็ต้องกลับมาเป็นปุถุชนได้ ไม่เที่ยง ก็นี่แหละต้องโยงเข้าหาเหตุปัจจัย มันไม่มีเหตุปัจจัยให้กลับมาเป็นปุถุชน เหตุปัจจัยใดที่ทำให้กลับมาเป็นปุถุชนเหตุปัจจัยนั้นท่านกำจัดไปหมดแล้ว เมื่อเหตุปัจจัยที่จะให้เป็นปุถุชนมันหมดมันก็ไม่รู้จะเอาเหตุปัจจัยไหนให้มาเปลี่ยนเป็นปุถุชนอีก เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าเหตุปัจจัยเพื่อความเป็นอย่างนี้ได้ถูกละ กำจัด สิ้นไปแล้ว นี่ตรงนี้
ตามความเข้าใจนะครับ เรื่องพรหมลิขิตเมื่อกี้นี้ เหมือนกับว่าค่อนข้างเชื่ออยู่บ้าง ลักษณะว่ากรรมสัมพันธ์นะครับ สมมติว่าในอดีตเราเคยมีกรรมสัมพันธ์กันคนๆหนึ่งมาแล้วก็จะต้องชดใช้ มีกรรมกับคนนั้นต่อไปในชาตินี้ แต่ว่าก็ไม่ถึงกับว่ารอให้มันเป็นอย่างนั้นไปเลย เราก็ต้องสร้างเหตุให้เกิดกับผลก่อน แต่ว่าในความคิดก็คิดว่ามีส่วนในเรื่องพรหมลิขิตเหมือนกับว่าเป็นกรรมสัมพันธ์กับคนๆหนึ่งมา
ดีแล้วที่ท่านถามผมลืมไป เมื่อกี้ยังไม่พูดไม่จบ คือไปพูดถึงพรหมลิขิตแล้วก็เลยเรื่อยเปื่อยไป เพราะไปพูดในแง่พระพรหมใช่ไหม ทีนี้ท่านพูดในแง่กรรมไม่เป็นไร ทีนี้ในแง่กรรมก็คือนี่แหละเป็นกระบวนการของเหตุปัจจัยก็หมายความว่าคนเรานี่นะมีเหตุปัจจัยอย่างหนึ่งก็คือความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เช่น ทำดีต่อกัน หรือมีความชอบพออะไรกัน เป็นทุนอยู่ มันก็เป็นปัจจัยก่อให้เกิดผลก็คือความรู้สึกที่ดีต่อกัน หรือความที่จะมีความโน้มเอียง เป็นต้น ได้ง่าย อันนี้ท่านก็เลยเรียกกันว่าบุพเพสันนิวาส เคยได้ยินใช่ไหม ก็อย่างนี้ท่านไม่ได้ปฏิเสธ กรรมเก่าไง ไม่ได้ปฏิเสธแต่ว่าอย่าไปฝากชีวิตให้กับมัน อันนี้ข้อสำคัญที่ว่าเกิดมาใช้กรรมคือเขาเกิดมาฝากชีวิตไว้กับมัน นี่กรรมเก่าเราไม่ปฏิเสธแต่เราปฏิบัติต่อมันให้พอดีกับความจริงของมัน นี่คือข้อปฏิบัติที่ถูก ปฏิบัติให้พอดีกับความจริงสำคัญมากนะ คืออย่าเกินไปอย่างที่ว่าเขาจะเชื่อดวงเราก็ไม่ต้องไปดูถูกลบหลู่อย่างที่ว่า แต่การที่เราไม่ลบหลู่ของเรามีเหตุผลไม่ใช่ว่าไม่ลบหลู่แบบที่เขาพูดๆกัน เราก็เผื่อไว้ให้ในแง่ว่าเราไม่ไปดูถูก เพราะว่าเรื่องระบบของสิ่งทั้งหลายในธรรมชาตินี้ มันมีความสัมพันธ์ในเชิงเหตุปัจจัยอะไรต่อกันได้ แต่ว่าเรามีหลักของเราแล้ว เราจะมัวไปฝากโชคชะตาชีวิตไว้กับไอ้เรื่องอย่างนี้ได้อย่างไร เราก็ไม่ไปมัวหมกหมุ่นจมอยู่กับมัน เพราะบางคนเราจะเห็นว่าแกไม่เอาเรื่องอะไรเลยปล่อยชีวิตจมอยู่กับไอ้เรื่องอย่างนี้ ทีนี้อย่างที่ท่าน ??? ว่าก็เข้าเรื่องนี้ว่ามองในแง่นี้ก็คือว่ามีความเป็นไปได้ในเชิงเหตุปัจจัยในด้านกรรมคือความสัมพันธ์ ความดีงามที่ทำต่อกันในอดีตทำให้มีความโน้มเอียงในทางถูกกัน ถูกอัธยาศัยเป็นต้น หรือแม้แต่ชอบพอกัน ทีนี้เราจะไปติดอยู่แค่นั้นเราจะเอาเป็นว่า กรรมเก่ามันดีแล้วก็เลยไม่ใส่ใจอีกมันอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นมาก็ได้ นี่ก็ต้องสร้างกรรมใหม่ที่ดีงามขึ้นมา ตอนนี้ที่ปัจจุบันจะสำคัญมากกว่าแหละก็คือสิ่งที่จะต้องทำต่อไป เพราะแม้แต่ความผูกพันในอดีตนี้เราก็ไม่รู้ มันอาจจะมีปัญหากันมาก็ได้ ทั้งๆที่ว่าเคยสัมพันธ์กันดี บุพเพสันนิวาสอะไรนี่แหละ ถ้าว่ามันเคยเกิดเรื่องกันเหมือนกันนะ
เป็นเจ้ากรรมนายเวร
ก็อาจจะไม่ถึงขั้นนั้น แต่หมายความว่าอย่างคนที่เป็นคู่ครองก็หลายคู่ใช่ไหม ก็อยู่ด้วยกันตลอดชีวิต แต่มันก็มีทุกข์มีอะไรกันเยอะเหมือนกัน
มีบางคู่ก็ตีกันตลอด
ก็ใช่ เพราะฉะนั้นไอ้บุพเพสันนิวาสมันก็อาจจะมีอิทธิพลมาในแง่ด้านหนึ่งที่เรามัวไปเอาแต่ส่วนดี และเราเพราะความไม่รู้ เราก็ไม่รู้ที่จริงมันมีแง่ร้ายซ่อนอยู่ด้วย ถ้าเราไปประมาทเราก็ไปหวังพึ่งมันซะ เราก็แย่สิใช่ไหม เพราะฉะนั้นเราอย่าไปมัวปล่อยฝากชะตาชีวิตไว้กับมัน เรารู้ เข้าใจ เท่าทัน และก็เอามาใช้ประโยชน์ และสำคัญที่สุดก็คือสิ่งที่จะทำต่อไป สิ่งที่จะทำในขณะนี้ที่ทำได้สำคัญที่สุด ทำให้ดี แล้วก็จะเป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดกรรมเก่าที่ดีต่อไปเพราะกรรมที่ทำในขณะนี้อีกนาทีหนึ่งมันเป็นกรรมเก่าแล้วเชื่อไหม ถ้าเราจะพูดว่าเราเป็นอย่างไรแล้วแต่กรรมเก่าในแง่นี้ก็ถูกก็กรรมเก่าด้วยใช่ไหม ทำขณะนี้อีกนาทีก็เป็นกรรมเก่าแหละและไอ้กรรมเก่าที่เราทำเมื่อนาทีก่อนมันก็มีผลต่อเราต่อไปๆ เราก็ทำกรรมเก่า ทำอยู่เรื่อยแหละมันเป็นปัจจุบันแต่ประเดี๋ยวเดียวมันเป็นกรรมเก่า แล้วตกลงไอ้ที่เรารับผลนี่ชีวิตเราเป็นไปอย่างไรนี่ส่วนมากก็เป็นไปตามกรรมเก่าถูกไหมครับ ก็เพราะว่าไอ้กรรมใหม่ที่เป็นปัจจุบันนี้เราก็เพิ่งทำ แล้วก็ทำ มันมีขณะเดียว มันเป็นปัจจุบันใช่ไหม ต่อจากนั้นก็อดีต เจ้าอดีตเก่านี้มันเต็มไปหมดเลย เพราะฉะนั้นกรรมเก่านี่แหละในแง่นี้มีผลมาก แต่เราอย่ามัวไปมองกรรมเก่าเฉพาะชาติก่อนโน้น เก่าๆๆๆเรื่อยเปื่อย แล้วก็กรรมขณะนี้ที่เราทำมันก็เป็นปัจจัยก็เป็นกรรมที่กำลังจะเก่าต่อไปนี้มันจะเป็นปัจจัยแก่วิบากหรือผลที่เกิดต่อไปในอนาคตนี้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องวางแผน การวางแผนก็คือกรรมอย่างหนึ่ง คือกรรมดีที่ทำ ทำด้วยปัญญา การวางแผนก็เป็นกรรมใช่ไหม ก็ต้องใช้ความคิดแล้วนี่ แล้วก็วางแผนการทำกรรมให้ดี อย่างที่ว่าให้ลดอกุศล เพิ่มฝ่ายกุศล แล้วทำกุศลให้มากขึ้น แล้วก็ให้พัฒนากรรมชนิดที่ว่าเป็นกุศลที่ดีแล้วนี่ให้มันดีไปชนิดเพื่อให้สิ้นกรรม มีอะไรอีกไหม ยังไม่ชัดก็ว่ากันเสียให้ชัด นี่อย่าอยู่กันอย่างคลุมๆเครือๆ สังคมไทยของเราน่าห่วงในแง่นี้ด้วยชาวพุทธเองนี้มาพูดกันแต่ว่า พูดกันไปพูดกันไป ก็ไม่ทำให้ชัดเจน ถ้าเราพูดอย่างนี้เราก็ไม่ได้ปฏิเสธสักอย่าง กรรมเก่าไม่ได้ปฏิเสธใช่ไหม แต่ว่าเรารู้สถานะของมันรู้ขอบเขตของมันพอดีกับความจริงตามที่มันเป็น พระพุทธศาสนาเน้นว่าให้มองดูให้รู้เห็นตามที่มันเป็น ตามที่มันเป็นแล้วก็พอดีกับความจริง ว่าปฏิบัติให้พอดีกับความจริง
จะใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาแต่ว่าทางเราอย่างทางประเทศไทยอย่างนี้เป็นความเชื่อเก่าๆที่แบบว่าผู้หลักผู้ใหญ่เขาสอน คือมันอาจจะดีในบ้างด้านแต่ว่ามันทำให้คนหลงลืมการใช้เหตุผลไปอะไรอย่างนี้ครับ
ก็นั่นแหละทีนี้มันมีแง่มองหลายอย่าง หนึ่งมันก็ไม่ถูกหลักพระพุทธศาสนาใช่ไหม พุทธศาสนาท่านให้ใช้ปัญญา และเป็นศาสนาที่เน้นเรื่องปัญญา ศรัทธาก็ต้องมีปัญญาประกอบ ท่านจะไม่ให้มีศรัทธาอย่างงมงาย เป็นศรัทธาตาบอด ท่านจะใช้ศัพท์ธรรมะทางนักธรรมะก็จะย้ำบ่อยๆให้เป็นสัทธาญาณสมปยุติ คำว่าญาณสมปยุติก็แปลว่าประกอบด้วยปัญญาหรือประกอบด้วยความรู้ ศรัทธาหรือความเชื่อนะต้องประกอบด้วยปัญญา ไม่ใช่สัทธาญาณวิปยุติ ถ้าเป็นญาณวิปยุติก็เป็นศรัทธาที่ปราศจากความรู้ปราศจากปัญญา วิปยุติแปลว่าปราศจาก สมปยุติแปลว่าประกอบด้วย ญาณก็ความรู้หรือปัญญาในที่นี้พูดง่ายๆว่าปัญญา นี่ชาวพุทธเรา
(นาทีที่ 1.20)
มันไม่ใช้ปัญญาญาณไอ้สัทธาญาณสมปยุติ เอาแต่ศรัทธาแบบว่าไม่ชัดไม่เจน ของเราแล้วมันก็มีว่าไม่ถูกบังคับอีกด้วยก็เลยเป็นคนที่เรื่อยๆเชื่อยๆ ของเขานี่ศรัทธาแบบไม่ต้องใช้ปัญญาก็ได้แต่เขาต้องบังคับเลย ของเขามันก็ต้องชัดสิว่าต้องเชื่ออย่างไง นี่ของเรามันกลายเป็นว่าเชื่อไม่ใช้ปัญญาด้วยแต่พร้อมกันนั้นก็ไม่มีใครบังคับด้วย มันก็เลยไม่มีหลักมีเกณฑ์ยิ่งร้ายใหญ่เลย เลยไม่รู้ว่าเชื่ออะไรอย่างไงก็แล้วแต่ว่าฟังมาแล้วตัวเข้าใจนึกอย่างไงก็ว่าไปใช่ไหม มันเสียซ้อนสองนะกลายเป็นเสียยิ่งกว่าศาสนาที่เขาบังคับเสียอีก ของเขาบังคับเขามีคนคอยตรวจเชื่อถูกหลักของเขาหรือเปล่า แกต้องเชื่ออย่างนี้เอาแค่นี้แต่ว่าต้องเชื่อตามที่ว่า นี้ของเราไม่บังคับด้วยเชื่ออย่างไรก็เชื่อไป เสร็จแล้วปัญญาก็ไม่ใช้ด้วยเลยไปกันใหญ่ มันก็วุ่นวายสับสนหมดแต่ละคนละคนตัวเองก็ไม่ชัด อยู่ร่วมสังคมเดียวกัน สังคมเดียวกันก็วุ่นวายมันไม่เหมือนกันเลยเชื่อคนนี้ก็เชื่อคนนั้นก็เชื่อ คำเดียวก็เชื่อแต่หมายความไม่เหมือนกัน เลยกลายเป็นสังคมที่อะไรก็ไม่รู้
น่าเสียดาย ???????????????
นั่นสิพระแทนที่จะไปเป็นหลักเลยเป็นกลายไปพาเขาเสียนี่ ทีนี้เรามาพูดถึงตะวันตก เอาละในแง่นี้แปลว่าเราไม่ได้ปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา ได้แต่อ้างว่าเป็นพุทธเป็นพุทธ สองก็ตะวันตกตะวันออก ศาสนาตะวันตกเป็นศาสนาแห่งศรัทธาเดิมเขาบังคับศรัทธาอย่างรุนแรงมากใช่ไหม แต่ว่าที่เขามาใช้เหตุผลมากนี่ก็เพราะความดิ้นรนมันก็มีเหตุผลเชิงประวัติศาสตร์และก็หลักการด้วย คือคนเราถ้ามันถูกบังคับมาก มันดีอย่างหนึ่งก็คือมันสยบไปเลยแบบหนึ่งนะแบบสยบ อีกแบบหนึ่งคือดิ้นรนของฝรั่งนี้มันได้ทำให้เกิดการดิ้นรนมาก จากการดิ้นรนนี่แหละทำให้เกิดวิทยาศาสตร์ ใช่ไหม การค้นคว้าหาความรู้ การตั้งกลุ่มที่จะมาค้นคว้าอะไรต่างๆกัน ค้นคว้าแสวงหาปัญญาเป็นประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของตะวันตก ในการดิ้นรนแสวงหาความรู้นี้ กลายเป็นนิสัยไป เพราะฉะนั้นไอ้การดิ้นรนนานๆเข้ามันลงตัวมันกลายเป็นวิถีชีวิตที่จะใช้เหตุผล งั้นคนตะวันตกที่เขาเป็นปัจจุบันเป็นนักเหตุผลมันเกิดจากภูมิหลังในการดิ้นรนจากระบบศรัทธาแบบบังคับ
???
ไอ้นั่นอีกอันหนึ่ง เอาชนะธรรมชาติมันหนุนเรื่องนี้อีกทีหนึ่ง เพราะว่าไอ้นั่นแนวคิดกรีกเขามีเดิมอยู่แล้ว แล้วตอนที่ฝรั่งจะดิ้นรนจากการบังคับด้วยศรัทธาของศาสนาคริสต์นี่คือกลับไปได้รับรู้แนวคิดของกรีกที่แสวงปัญญา ทีนี้กรีกมีแนวคิดที่จะเอาชนะธรรมชาติเลยมาด้วยกัน ความคิดที่จะหาปัญญามันไปประสานกับแนวคิดพิชิตธรรมชาติว่าที่เราหาความรู้แสวงปัญญาเพื่อรู้ความจริงที่เรียกว่าความลับของธรรมชาติ เมื่อรู้ความลับของธรรมชาติแล้วเราจะได้สามารถจัดการกับมันได้ ฝรั่งมีไอ้ตัวนี้อยู่ เพราะฉะนั้นไอ้การแสวงหาปัญญาของฝรั่งมันก็เลยมาบรรจบกับไอ้ลัทธิแนวคิดพิชิตธรรมชาติว่ารู้เพื่อเอาความลับของมัน แล้วเราจะได้จัดการมันได้ ก็ทีนี้กรีกก็มีความคิดนี้อยู่แล้ว แล้วก็ตะวันตกก็พ้นจากกรีกโรมันโบราณแล้วมาเข้าแนวคิดของคริสต์ ระยะที่เต็มที่อยู่ระยะหนึ่งเขาเรียกว่า dark ages ยุคมืดแต่ก่อน สมัยกลางเขาให้ยุโรปทั้งหมดนี้เขาถือเป็นยุคมืดทั้งหมด ต่อมาเขาแบ่งว่าสมัยกลางยุคต้นเท่านั้นเป็นยุคมืดเฉพาะตอนนั้น ต่อมาก็มีการแสวงปัญญา เริ่มมีเรื่องของปัญญา แม้แต่นักบวชคริสต์ก็ยังไปศึกษาปรัชญาแนวคิดกรีก แล้วต่อมาก็มีการดิ้นรนมากเพราะว่าศาสนาคริสต์ก็พยายามที่จะบังคับศรัทธาถึงขนาดตั้งศาลไต่สวนศรัทธา เขาเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Inquisition ถ้าใครไปสงสัยไบเบิ้ล สงสัยพระเจ้า สงสัยคำสอนของคริสต์ศาสนา แม้แต่ว่าโลกนี้ไม่ใช่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล เป็นโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ เขาถือว่านี่ผิด เป็น sin เป็นบาป เป็นความผิดต่อพระผู้เป็นเจ้า เขาก็จับขึ้นศาลนี้ ศาล Inquisition แล้วถ้าหากไม่ยอมละเลิกความคิด เขาก็เผาทั้งเป็น กาลิเลโอนี้เบาหน่อยเขาจะให้กลืนยาพิษแล้วแกก็ยอมสารภาพผิดเขาก็เลยให้ขังอยู่ในบ้านจนตาย แกอยู่ในบ้านรู้สึกจะแปดปีจึงตาย เรียกว่าลดโทษให้ แล้วก็เพิ่งมายกโทษให้เมื่อสิบปีได้ยังไม่รู้ ทางวาติกันประกาศออกมาเลยว่ายกโทษให้กาลิเลโอ นานเนกว่าจะได้รับยกโทษ แล้วยังล้อว่าที่จริงกาลิเลโอน่าจะยกโทษให้พระคริสต์ศาสนา ไปทำร้ายกันนี้น่าจะให้กาลิเลโอยกโทษให้ นี้ประกาศแล้วเขาประกาศยกโทษให้กาลิเลโอ นี้ก็คือเดิมศาสนาคริสต์เขาบังคับศรัทธามากก็เลยดิ้นรนก็เลยเกิดวิทยาศาสตร์เจริญและแนวคิดกรีกก็พัฒนาขึ้นมาก็เป็นตัวหนุนให้ความเจริญของวิทยาศาสตร์ แนวคิดพิชิตธรรมชาติก็มาประสานกันขึ้นมาเลย นี้ก็ทำให้ฝรั่งมีวิถีชีวิตนิยมเหตุผลจากการสร้างเนื้อสร้างตัวที่ดิ้นรน แล้วก็ใฝ่เสริภาพอิสรภาพแบบอเมริกันที่หนีภัยของการบีบคั้นที่เขาเรียกว่า persecution การกำจัด ที่ว่าเอาขึ้นศาลไต่สวนศรัทธาเป็นต้น พวกนี้ก็หนีดิ้นรนไปหาอิสรภาพ ก็เป็นนักไขว่คว้าหาเสรีภาพ ก็กลายเป็นว่าคำว่า freedom เป็นอุดมคติสูงสุดของอเมริกัน นี่ของเราที่จริงมันตรงข้ามเรามีศาสนาแห่งปัญญาแต่คนไทยกลับไปอยู่กับศรัทธาแบบเรื่อยๆเปื่อยๆ ปล่อยปละไม่เอาใจใส่ ไม่ศึกษาไม่ค้นคว้า ของเขาอยู่กับศาสนาที่เอาศรัทธาเป็นหลักแต่เขากลับไปมีวิถีชีวิตนิยมปัญญาเหตุผลได้ แต่ของเราอยู่กับศาสนาแห่งปัญญานิยมปัญญาความรู้การแสวงหาความเข้าใจกลับมาปล่อยไม่เอาใจใส่ เรื่องการค้นคว้าหาความรู้ อยู่กับความเชื่อเรื่อยๆเปื่อยๆ มันเป็นอย่างไงนี่ ไอ้องค์ประกอบด้านอื่น ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยของที่เราเรียกง่ายๆว่า ปัจจัยเชิงประวัติศาสตร์มีส่วนสำคัญ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าศึกษาอยู่ แต่ว่าถึงอย่างไรก็ต้องช่วยกันแก้ไขปล่อยอย่างนี้ไม่ไหวสังคม ชีวิตและสังคมมันก็จะแย่ แม้แต่ชาวพุทธอย่างที่ว่า พูดกันไปเรื่อยๆอย่างนี้ อยู่ๆได้ยินทางวิทยุเดี๋ยวเราเกิดมาใช้กรรมเอาอีกแล้ว เป็นอาจารย์สอนพุทธศาสนาด้วยไปพูดว่าเกิดมาใช้กรรมอยู่นี่ แล้วก็ไม่ทำความเข้าใจให้ชัดเจน นี่ก็จะทำให้เกิดโทษได้ เอาเป็นว่าเราก็มาพยายามทำความเข้าใจกระจ่างแจ้งในเรื่องเหล่านี้
คือถ้าพูดถึงเรื่องกรรมก็จะเนื่องไปถึงความดี ความไม่ดีด้วย ทีนี้ความดี ความไม่ดี นักปรัชญาเขาก็คุยกันมานานแล้วนะครับ แล้วพุทธศาสนาเราจะอธิบายได้ขอบเขตได้แค่ไหนครับ
คืออย่างนี้มันมาตั้งแต่ภูมิหลังนี่แหละ คือฝรั่งนะเดิมแกก็อยู่ใต้อิทธิพลศาสนาคริสต์ว่าง่ายๆนั่นแหละ ศาสนาแบบเทพเจ้า เรื่องดี เรื่องชั่ว เรื่องระบบศีลธรรมจริยธรรมก็แล้วแต่นี้ มันมาจากบัญชาพระผู้เป็นเจ้า ถูกไหมครับ คือท่านสั่งมาเสร็จตามที่คัมภีร์หรือนักบวชมาสอน พระผู้เป็นเจ้าท่านบอกนี้เป็นบาป นี้เป็นบาป นี้เป็นบาป ก็เป็นคำสั่งใช่ไหมแล้วความหมายลึกลงไปก็คือการทำผิดต่อพระเจ้าเป็น sin
(นาทีที่ 1.30) 20/5
ที่เรียกว่า sin ที่เรามาแปลว่าบาป ที่จริงเดี๋ยวนี้ทางพุทธเราไม่ยอมให้ใช้นะ ห้ามแปลบาปว่า sin เพราะความหมายมันไปกันไม่ได้เลย sin ก็คือความผิดต่อพระผู้เป็นเจ้าเช่นไปสงสัยต่อพระผู้เป็นเจ้าหรือไปทำอะไรก็แล้วแต่ก็เป็นการละเมิดพระบัญชาบ้างอะไรบ้าง รวมแล้วก็คือความผิดต่อพระผู้เป็นเจ้า เรียกว่าบาป นี่หลักการวินิฉัยมันก็อยู่ที่นี่ อ๋ออยู่ที่เทวบัญชา คำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าบอกไว้อย่างนี้ เป็นความผิดต่อพระองค์ ทีนี้ต่อมาเมื่อวิทยาศาสตร์เจริญขึ้น อิทธิพลของศาสนาเสื่อมลง คนฝรั่งก็มาคิดหาเหตุผลกัน อิทธิพลปรัชญากรีกบ้างอะไรบ้าง ก็มาคิดกันว่าความดีความชั่วคืออะไร คือแกไม่ยอมรับกันแล้วว่าพระผู้เป็นเจ้าสั่งมา ก็เท่ากับว่าเดิมแกยึดมั่นอยู่ว่าที่ว่าบุญบาปดีชั่วมันอยู่ที่พระเจ้าท่านว่า พอเขาไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าเคว้งคว้างละทีนี้ ไม่รู้จะเอาอะไรเป็นหลักตัดสิน ก็มาหากันสิทีนี้ ว่าจะอะไร บ้างก็บอกว่าดีชั่วมันไม่มีหรอก มันแล้วแต่คนตกลงกัน เราจะเห็นได้ว่าดูสิในสังคมนั้นทำอย่างนี้เค้าว่าดี พอไปดูอีกสังคมหนึ่งอันที่เขาว่าดีไอ้สังคมนี้ว่าชั่ว พวกนี้ก็ยกตัวอย่างได้เยอะ พวกนี้ก็เลยบอกว่าดีชั่วไม่มีจริงหรอก เป็นเรื่องของมนุษย์ตกลงกัน มาดูก็สมจริงในระดับหนึ่ง ทีนี้พระพุทธศาสนาท่านว่าไปตามความจริงที่มันมีมา ซึ่งมันมีหลายขั้นหลายตอนแต่เอาง่ายๆท่านเรียกว่ากุศล อกุศล กุศลนะแปลว่าเกื้อกูล เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจพูดง่ายๆก่อน แล้วก็มีความหมายอื่นมันไม่ก่อความเสียหาย หรือว่ามันมีผลเป็นสุข มันมีปัญญาแอบอิงอยู่ เป็นฐานอยู่ หรือประกอบด้วยปัญญา แต่เอาง่ายๆความหมายพื้นฐานก็คือเกื้อกูล อย่างเมตตาผมยกตัวอย่างบ่อย เมตตาความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ความรักความปรารถนาดีเกิดขึ้น เป็นอย่างไรลองพิจารณาดูสิ จิตใจเป็นอย่างไร สบายไหม เมตตาเกิดขึ้นความปรารถนาดีจิตใจก็สบายเบาไม่เครียดไม่เดือดร้อนไม่ว้าวุ่นไม่กระสับกระส่ายเย็น แล้วต่อมาผลต่อชีวิตร่างกายอย่างไร ผลต่อร่างกายกล้ามเนื้อผ่อนคลายหมด ถูกไหมครับ หน้าก็มีความผ่อนคลายจะยิ้มแย้ม แล้วก็ถ้ามองไกลออกไปนะถ้ากล้ามเนื้อมันเครียดมากแก่เร็วนะใช่ไหมครับ ถ้ากล้ามเนื้อผ่อนคลายจะแก่ช้าด้วย แล้วก็มีผลต่อบุคลิกอะไรต่ออะไร มันสัมพันธ์กันไปหมด อย่างคนมีเมตตามันก็ไม่ออกเฉพาะหน้าแล้วมันไปหมดแหละ กิริยาท่าทางอะไรมันก็ไปของมันโดยไม่รู้ตัว นี่ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆทั้งหลาย ถ้าโกรธเป็นอย่างไง ความโกรธเกิดขึ้นมาปั๊ปใจร้อนแล้วใช่ไหม วุ่นวาย กระสับกระส่าย พลุ่งพล่าน จิตไม่สงบ เรียกง่ายๆว่าทุกข์ แล้วทีนี้เป็นไง ออกทางร่างกายด้วยนะ หายใจแรงขึ้นแล้ว การเผาผลาญในร่างกายมาก กล้ามเนื้อเกร็งเขม็ง ตั้งแต่กล้ามเนื้อหน้าเป็นต้นไป ร่างกายทำงานหนัก แค่นี้ก็ทำให้ร่างกายทรุดโทรมแล้วใช่ไหม ทรุดโทรมแล้วจะเรียกว่าแก่เร็วหรืออะไรก็ว่าไป แล้วมีผลไประบบอะไรมันเสียนี่มันเครียด มันมีน้ำกรดออกในกระเพาะอีกใช่ไหม บางทีไปกัดกระเพาะอีกเป็นโรคกระเพาะเลย นานๆเข้าเป็นคนขี้โกรธ เป็นปัจจัยทางด้านนี้ก็นี่คือกรรม กรรมปัจจัย เมตตามันเป็นอย่างนี้แหละ ท่านก็เรียกว่ากุศลมันเกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ ส่วนความโกรธท่านเรียกว่าอกุศลมันไม่เกื้อกูล มันตรงข้ามเลย ไม่เกื้อกูลมันทำร้ายเลยชีวิตจิตใจ นี่คือความหมายพื้นเลยของกุศล อกุศล ที่เราแปลว่าดี ไม่ดี แล้วเป็นอย่างไง ต้องรอใครบัญญัติไหม รอไหมครับ นี่มันเมตตามันดีเพราะพระพุทธเจ้าตรัสว่าดีเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า มันไม่เกี่ยว มันเป็นเรื่องธรรมชาติ พระพุทธเจ้าตรัสไปตามธรรมชาติ พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วเราจะเกิดไม่เกิดก็ตาม มันก็เป็นอยู่อย่างนั้นเรามาค้นพบมาบอกให้อย่างนั้น ก็คือเมตตามันก็มีผลของมันอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็บอกเออไอ้เมตตามันเกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจนะใช่ไหม แล้วก็มาบอกเรา พระองค์ไม่ได้มาบัญญัติ มาสั่งอะไรใช่ไหม ไม่ใช่เป็นผู้กำหนด
พระองค์ก็ใช้เมตตา
พระองค์ก็มาบำเพ็ญบารมีมา พัฒนาตนมาอย่างนั้น ก็พัฒนาก็รู้อยู่แล้วว่าสิ่งนี้มันเกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ คุณสมบัติอะไรที่เป็นกุศลเกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจก็พัฒนามันขึ้นไป ไอ้ที่ไหนที่มันเป็นอกุศลไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจก็พยายามละ กำจัดไป นี่คือการพัฒนาชีวิต อันนี้แหละคือหน้าที่ของเราที่ว่าทำต่อชีวิตนี่แหละ พอเห็นไหมความหมายของดีชั่วในพระพุทธศาสนา มันเกื้อกูลนี้ความหมายพื้นๆนะแล้วมันจะมีปัญญาเข้ามาประกอบโดยที่ว่ายิ่งมีปัญญามากขึ้นมากขึ้นจะยิ่งเป็นกุศลมากขึ้น แต่ตอนแรกมันจะมีเพียงนิดหน่อย แต่ถ้าเป็นฝ่ายอกุศลมันจะกั้นปัญญาเลย เช่นว่า โกรธขึ้นมาไม่รู้เหนือรู้ใต้แล้ว ท่านจึงบอกว่าแม้แต่พ่อแม่ยังฆ่าได้เลย ตอนนั้นไม่รู้ผิดรู้ถูกไม่คิดอะไรเลย ตกอยู่ใต้อำนาจอารมณ์ความโกรธ ความโมหะ ลุ่มหลง รุนแรงขึ้นมาก็ฆ่าได้หมดเลย ผัวเมียฆ่ากัน พ่อแม่ลูกฆ่ากัน พอเสร็จแล้วตายมันแก้ไม่ได้ ร้อนเหมือนถูกไฟเผา นี่แหละกุศลอกุศลความดีความชั่วในพระพุทธศาสนาท่านว่าไปตามธรรมชาติ ทีนี้ก็ค่อยว่าไปสิทีนี้ จาก เมตตามันดีต่อชีวิตจิตใจอย่างนี้แล้วต่อมาในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ดีไหมแล้วมันมีผลออกมาอย่างไร มีผลในการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ก็มีผลต่อๆๆๆไปอันนี้ก็ว่ากันไปเป็นขั้นเป็นเหตุปัจจัยชั้นๆๆๆก็ว่าไปได้เรื่อยแหละไม่รู้จักจบ ไม่ต้องมารอว่าเป็นเพราะพระพุทธเจ้าว่าจึงเป็นอย่างนั้น คือไม่ใช่ว่าเพราะพระพุทธเจ้าว่าจึงเป็นอย่างนั้น แต่มันเป็นอย่างนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่ามันอย่างนี้ๆๆ นี่คือเรื่องความดีความชั่วเป็นต้น มันเป็นธรรมดาธรรมชาติอย่างนั้นเอง เพราะฉะนั้นไอ้หลักความดีความชั่วมันไม่ใช่ของที่สักแต่ว่ามนุษย์มาคิดเอาเอง แต่ทีนี้ว่าในระดับหนึ่งมันจะมีการตกลงกันในระดับนั้นก็คือที่เราเรียกว่าวินัย มาเป็นวัฒนธรรม เป็นอะไร เป็นคำสั่ง เป็นกฎกติกา อันนี้เพื่อการอยู่ร่วมกัน มันก็เลยว่าเพื่อให้ได้ผลดีอย่างนี้ มันมีความซับซ้อนขึ้นในระดับการอยู่ร่วมกันในสังคม คนชักเห็นไม่ชัดแล้ว ไอ้ตัวสภาวะธรรมชาติที่ดีอย่างนี้เมื่อออกมาสู่ปฏิบัติการแล้วจะใช้ระบบหรือวางแบบแผน ใช้ข้อปฏิบัติอย่างไรดี พอถึงระดับนี้แตกต่างกันแล้ว เหมือนอย่างกับว่าสังคมหนึ่งก็จะบัญญัติบอกว่าพี่น้องกันไม่ให้แต่งงานกันแล้วถ้าไปแต่งงานกันก็ถือเป็นไม่ดี อีกสังคมเขาถือให้พี่น้องแต่งงานกันเค้าถือว่าดี ไอ้ดีแบบนี้ดีชั่วแบบนี้ถือเป็นบัญญัติ เพราะเขาเกิดจากมนุษย์ที่อยู่ในสังคมนี้ไม่รู้จะเอาอย่างไรดีเพื่อให้เกิดผลดีกับชีวิต ไอ้ตอนนี้มันซับซ้อนเกินไปในเรื่องธรรมชาติที่เขามองไม่เห็นในระบบเหตุปัจจัยที่มันละเอียดอ่อนเหลือเกิน มันหลายชั้นหลายเชิง เขาก็มองไปอย่างนั้น บางทีก็เป็นอิทธิพลจากเรื่องของมนุษย์พวกหนึ่งหรือว่า
(นาทีที่ 1.40)
บรรพบุรุษตกลงมาก็เลยว่าตามกันไปก็ยึดถืออย่างนี้ อันนี้เราก็แยกได้เป็นเรื่องของความดีความชั่วในระดับธรรมชาติ ความดีความชั่วในระดับที่เป็นบัญญัติของสังคมมนุษย์ ว่ากันไปก็เหมือนอย่างแม้แต่ในพระพุทธศาสนาทั้งๆที่มีธรรมะกับวินัย วินัยก็เป็นเรื่องของสมมติ วินัยนี้สมมติทั้งนั้นก็คือตกลงกันว่าจะเอาอย่างไร ซึ่งมันไม่ได้เป็นความจริงในธรรมชาติ วินัยนี้ แต่เพราะอะไร ก็เพื่อให้ผลดีในธรรมชาติเกิดขึ้น ก็จึงวางวินัยขึ้นมา ก็อย่างว่าเรารู้อยู่แล้วโดยธรรมชาตินี้ถ้ามนุษย์มาอยู่ร่วมกัน แล้วก็มาเกื้อกูลช่วยเหลือกัน ใครมีความรู้มากกว่าก็มาแนะนำด้วยเมตตาปรารถนาดีต่อกัน มีความสัมพันธ์ที่แบบว่าเกื้อหนุนกันเจือจานกันแบ่งปันกัน มันเป็นประโยชน์ เราก็วางวินัยเป็นข้อบัญญัติทางสังคมขึ้นมาว่าภิกษุพึงแบ่งปันลาภอย่างนั้นๆ มีของเกิดขึ้นให้จัดอย่างนี้ ถ้าหากว่าไปแย่งของเขาแล้วก็มีความผิดอย่างนี้เป็นต้น นี่เป็นบัญญัติทางสังคมก็โดยที่ว่าอิงอาศัยหลักการที่เป็นความจริงในเชิงธรรมชาติ เราเองจะให้มีผลในเชิงสังคมที่อยู่ร่วมกันก็เลยบัญญัติขึ้นมา เป็นกฎ เป็นกติกา ก็คือวินัยเป็นกฎข้อบังคับ เป็นกฎหมายระเบียบแบบแผนที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อนำเอาความจริงที่มีในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ให้เกิดผลเป็นจริงเป็นจังในสังคมมนุษย์ แต่ถ้าบัญญัติทางวินัยกฎหมายนั้นไม่ได้เกิดจากปัญญาที่รู้ถึงความจริงของธรรมชาติจริงก็อาจจะพลาด แล้วก็ไม่เกิดผลตามที่ต้องการ หรือถ้ามีเจตนาร้ายเข้าไปอีกก็ยิ่งเขวเลย ฉะนั้นจึงบอกว่าอย่างผู้ที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติออกกฎหมาย หนึ่งต้องรู้มีปัญญา รู้เรื่องของความจริงของชีวิต เช่นอย่างรู้ข้อเท็จจริงเพียงว่าชีวิตเราเป็นอยู่อย่างไร ควรอยู่เพื่ออะไร อย่างมนุษย์ เช่นเขาเชื่อว่ามนุษย์ที่ดีชีวิตก็ต้องมีของเสพบริโภคให้มากที่สุด เช่นเชื่ออย่างนี้ใช่ไหม อีกคนหนึ่งเชื่อว่า ไอ้ชีวิตนี้ที่จริงมันเป็นธรรมชาติพื้นของมันนี้ แล้วเราต้องมีศักยภาพที่เราควรพัฒนาออกมา แล้วเรามีสังคม มีวัตถุเพื่อมาเกื้อหนุนให้มนุษย์นี้ได้มีโอกาส ได้มีเครื่องช่วยในการที่จะพัฒนาศักยภาพนั้นขึ้นมาให้มากที่สุด สองคนนี้มีความเชื่อต่างกันก็คือรู้ปัญญาของเขาไม่เหมือนกัน สองคนนี้ไปเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มันจะมีผลต่อการบัญญัติกฎหมายไหม มีใช่ไหม นี่ชัดเลย ปัญญานี่สำคัญเลย แล้วปัญญาก็ออกในระดับทั่วไปที่ทิฐิแนวคิด ทฤษฎีอะไรต่างๆ พวกที่เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาดีที่สุดก็ต้องมีกินมีใช้ไว้เสพบริโภคให้มากที่สุด พวกนี้เวลามีกฎหมายมาก็มองไปแบบหนึ่ง ท่านที่เชื่ออีกแบบหนึ่งมีความเข้าใจแบบหนึ่งก็จะบัญญัติกฎหมายแบบหนึ่งจะไม่เอาด้วยกับกฎหมายแบบนี้ แล้วสองก็เจตนาถ้าผู้นั้นมีความรู้พอสมควรแต่เจตนาจะเอาเพื่อตัว เอาผลประโยชน์บางอย่างหรือจะกลั่นแกล้งคนบางพวกอย่างนี้กฎหมายก็เขวแล้ว การบัญญัติ ท่านถึงชี้สองอัน หนึ่งปัญญา ต้องรู้ เข้าใจ เรื่องของความจริง สัจจธรรม ระบบความสัมพันธ์ในเหตุปัจจัยในของธรรมชาติ ในสังคม ความเป็นเหตุปัจจัยเชิงสังคมก็สำคัญนะ ยิ่งรู้เท่าไหร่เข้าใจชัดเจนก็จะได้ผลในการมาทำหน้าที่นิติบัญญัติ และเจตนาก็ต้องบริสุทธิ์ มีเมตตาปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อสังคมนี้ ถ้าได้ทั้งสองอย่างเจตนาก็ดีงาม ปัญญาก็รู้ถ่องแท้ชัดเจน ทั่วถึงตลอด ก็จะได้ผลดี ผู้ทำหน้าที่นิติบัญญัติจึงสำคัญอย่างยิ่ง อย่าไปนึกว่าแค่เลือกๆกันเข้าไป เอาแค่ดูกันนิดหน่อยข้างนอก ความจริงต้องดูหลายขั้นเลย แล้วเวลานี้เป็นไงผู้ที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ มาบัญญัติกฎหมายแก่สังคมนี้ ถูกความคิดแบบไหนครอบงำอยู่หรือเปล่า มีเจตนาอย่างไร แล้วมีแนวคิดที่เป็นเชิงปัญญาแบบไหน อย่างที่ว่าเมื่อกี้เอาแค่ที่ผมพูดไปก็ได้ บอกว่าลองนึกดูสิว่ามีเยอะไหมที่เชื่อว่าวัตถุประสงค์ของชีวิต จุดมุ่งหมายของชีวิตเรานี้ ก็แค่ว่าเพื่อให้มีกิน มีเสพบริโภคมากที่สุด เยอะไหมที่เชื่อแบบนี้ เยอะไหมครับ เยอะนะ นี่แล้วลองดูวิถีของการบัญญัติกฎหมายจะเป็นอย่างไร แล้วมีผู้ที่เข้าใจเรื่องชีวิตเรื่องสังคมลึกซึ้งอะไรแค่ไหน มองชีวิตมนุษย์ เป็นภาวะธรรมชาติที่มีความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีศักยภาพหลายอย่างซึ่งจะต้องพัฒนาขึ้นไปแล้วจะเกิดผลดีมากมาย เราต้องมาสร้างปัจจัยเกื้อหนุนทางเศรษฐกิจ ทางสังคมมาเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาชีวิตของคน มีเท่าไหร่ อะไรอย่างนี้ มันมีผลไปหมด ไอ้ระบบเหตุปัจจัยในแง่ต่างๆที่ว่ามีผลแม้แต่ในระบบสังคม แต่หลักการก็ง่ายๆที่ว่าปัญญากับเจตนา ใช้ได้ทุกระดับ ปัญญาให้ชัดเจนถ่องแท้ที่สุดทั่วตลอดที่สุด แล้วก็เจตนาให้บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมตตาเป็นต้น มากที่สุดมีคุณธรรม ไปทำอะไรก็ใช้หลักนี้ได้ทั่วหมด
คือเคยคุยกับท่านอาจารย์ที่วัดเรานี้ ที่พูดถึงเรื่องกุศลครับ ท่านบอกว่าท่านไปอ่านเจอในคัมภีร์ที่อธิบายศัพท์พระพุทธเหมือนกับหญ้าคา
อ๋อ ตัด อันนั้นแปลโดยรากศัพท์ รากศัพท์แปลว่าตัด
ทีนี้ท่านบอกว่าไปอ่านเจออีกที่หนึ่ง ว่ากุศลนั้นคือหญ้าคา ละนั้นคือตัวตัด ตกลงคือตัดหญ้าคาหรือใช้หญ้าคาตัดกันแน่
คือตัวศัพท์นะท่านโดยรากศัพท์แปลว่าตัด ก็คือหมายความว่ามันไปตัดความชั่วนั่นเอง
ไม่ใช่ตัดหญ้าคานะครับ
ในแง่นั้นเป็นเพียงอุปมาเหมือนกับว่าคือมันอาจจะเป็นเพียงความสับสนในเรื่องของการทำความเข้าใจตัวศัพท์กับความหมาย เอาว่าตัวรากศัพท์ ท่านเรียกว่าธาตุในภาษาบาลี ตัวธาตุเป็นละธาตุในความตัด ลุ ตัด เช่น ลุนาติแปลว่าตัด ตัดกิเลสดั่งหญ้าคา แต่อย่าไปถือสามากไอ้พวกรากศัพท์ คือพวกนี้มันมีรากศัพท์ทั้งนั่นแหละ แล้วบางทีพวกรากศัพท์เหล่านี้ก็มาพัฒนาโดยสันนิษฐานก็มี เหมือนอย่างนี้เราเอามาพูดกันเป็นเล่นไปเลยก็มี เหมือนอย่างคำว่าบุรุษ
บุรุษมาจากรากศัพท์ว่าปุระ แปลว่าเมือง แล้ว ษะ ตัวนี้แปลว่านอนหรืออยู่ ปุริษะก็แปลว่าผู้อยู่ในเมืองหรือนอนในเมือง นี่แปลแบบรากศัพท์ หรือปุคโล ปุคโลก็มีผู้แยกศัพท์ ปุคโลก็มาจาก คละ แปลว่ากลิ้ง ติปุษะเหมือนลูกแตงโม ปุคโลบุคคลก็แปลว่าผู้กลิ้งเหมือนลูกแตงโม เป็นอย่างไงกลิ้งเหมือนลูกแตงโม ท่านก็อธิบายต่อไปอีกว่ากลิ้งไปในสังสารวัฏดั่งลูกแตงโม ดีไหม สนุก คือพวกเล่นศัพท์บางทีก็ได้ในแง่ว่าเอามาเสริมความเข้าใจบ้าง บางทีก็เป็นการเสริมบรรยากาศ ในการเล่าเรียนศึกษา บางทีก็ได้ประโยชน์บ้างบางทีก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรมากหรอก
(นาทีที่ 1.50)
คือว่าไอ้พวกศัพท์เหล่านี้ความหมายที่แท้ไม่ได้ขึ้นต่อรากศัพท์แล้ว เราเอามาใช้บ้าง บางครั้งเอามาหนุนความเข้าใจ บางครั้งมันก็ไม่หนุน เข้าใจนะ อย่าไปติดอยู่ ก็เอาเป็นว่าสรุปบุคคลแปลว่าอะไรก็ไปบอกเขานะ บุคคลแปลว่าผู้กลิ้งเหมือนลูกแตงโม กลิ้งอย่างไรกลิ้งไปในสังสารวัฏ เหมือนลูกแตงโม ก็ไปกันเรื่อย แต่กลิ้งแบบลูกแตงโมมันก็บังคับตัวเองไม่ได้เลย เรามันยังกลิ้งมันต้องมีปัญญา มีเจตนา มาคิดหาทางแก้ไขปรับปรุง ถ้าปล่อยกลิ้งแบบลูกแตงโมก็เข้าลัทธิแล้วแต่โชค ไม่มีอะไรแล้วนะ เอาละอนุโมทนา ถ้ามีอะไรสงสัยก็มาคุยกันอีก ก็ขอให้ชัดเจนเราเอาหลักพระพุทธศาสนาไปสู่ชีวิตและสังคมให้เป็นปฏิบัติการที่แท้จริง เอาละครับโมทนา
(จบ) 1:51:11