แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ตอนนี้อรรถวุฒิ ละก็อนุรักษ์ เป็นต้น ก็ได้เป็นสามเณรแล้ว ก็ต้องเรียกชื่อเป็นว่าสามเณรอรรถวุฒิ สามเณรอนุรักษ์ สามเณรอภิวัฒน์ สามเณรอิศรา ใช่มั้ยครับ
นี่ก็ตอนนี้เป็นสามเณรแล้วก็ต้องระลึกว่า โอ้วันนี้เราได้เปลี่ยนจากคฤหัสถ์มาเป็นสามเณรจะต้องประพฤติปฏิบัติตตามหลักการดำเนินชีวิต ในเพศของเรียกว่าบรรพชิตคือผู้บวชแล้ว นี่ก็ทางวัดก็ได้มีการจัดไว้อย่างที่บอกมะกี้ บอกว่าเราบวชแล้วก็เรียน ก็จะให้มีความรู้ บวชแล้วจะได้เป็นประโยชน์
ในการเรียนนั้นก็ เป็นคำภาษาไทยง่ายๆ ถ้าเอาจริงเอาจังก็คือว่า ตัวแท้ของมันเรียกว่าการศึกษา การศึกษานี่ภาษาพระท่านเรียกว่าสิกขา สิกขานี้เป็นเนื้อหาสาระของการบวช คือที่เราบวชขึ้นมานี้ก็เพื่อจะได้ฝึกฝนอบรมตนที่เรียกว่าสิกขา สิกขาคือการฝึกฝนอบรมตนที่เรียกว่าพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น ก็มี 3 ด้านด้วยกัน อย่างง่ายๆ ที่จริงเรื่องศึกษามีเยอะแยะ คือการฝึกฝนพัฒนาตนเองนี่ต้องทำหลายอย่าง แต่ว่าสรุปเอาแต่ว่าส่วนสำคัญ ประมวลแล้วก็ได้ 3 อย่าง
คือหนึ่ง ด้านศีล ด้านศีลก็คือเรื่องของการแสดงออกภายนอก ทางกาย วาจา อย่างนั่งที่นี่ อย่างนั่งในที่นี้นี่ก็เราก็อยู่ในศีลกันละ มีการนั่งให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สำรวมกาย ละก็สำรวมวาจา ไม่ถึงเวลาพูด เราก็ยังไม่พูด ถ้าพูดก็พูดถ้อยคำที่ไม่เสียหาย เป็นถ้อยคำที่ดีงาม เป็นประโยชน์ สุภาพ เป็นต้น อันนี้ก็เรื่องของการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ไม่เบียดเบียนกัน อยู่ด้วยดี ดำเนินชีวิตให้อยู่ในระเบียบ ระเบียบวินัยของเณร ของวัด อะไรทั้งหมดอย่างเงี้ย เรียกว่าเป็นเรื่องของศีล ก็รวมแล้วก็คือชีวิตด้านนอกของเรา
ทีนี้ด้านที่สอง ก็ลึกเข้าไป ก็คือด้านจิตใจ จิตใจของเรานี่ก็ต้องฝึกเหมือนกัน ต้องฝึกกันเยอะทีเดียว เพราะเป็นเรื่องที่เป็นนามธรรม ด้านกาย วาจานี่ยังเป็นของเห็นง่าย ด้านจิตใจนี่มองไม่เห็น จิตใจนี่ท่านเรียกว่าเป็นนามธรรม เพราะมองไม่เห็น มันก็ พอจะมาจับให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทำไม่ได้ ก็ต้องมีความตั้งใจ ตั้งใจทำ แต่ว่าตั้งใจแล้วก็ต้องทำให้สำเร็จ ก็ฝึกฝนจิตใจของเรา ทีนี้จิตใจของเราบางคนก็อ่อนแอ ไม่เข้มแข็ง ท้อถอยง่าย มีความท้อแท้อะไรต่างๆ นี่ก็ต้องฝึกเหมือนกัน ทำให้เป็นคนมีจิตใจเข้มแข็ง ทำอะไรก็ใจสู้ ไม่ถอย ทำให้สำเร็จอย่างงี้เรียกว่าฝึกให้มีความอดทน ให้มีความเพียรพยายาม บางคนก็ใจนี่ไม่แน่วแน่ ฟุ้งซ่าน ทำอะไร ใจก็ไม่อยู่กับเรื่องที่ทำ เรียนหนังสือใจก็ไม่อยู่กับเรื่องที่เรียน ก็เรียนไม่ได้ผล ก็ต้องฝึกให้ใจแน่วแน่มั่นคง บางคนก็ใจหม่นหมองขุ่นมัว มีความทุกข์มาก ไม่สบายใจ ก็ต้องฝึกให้ใจสบาย ให้ใจนี้เบิกบานผ่องใส เป็นคนร่าเริง ถ้าฟุ้งซ่านนัก ก็ให้รู้จักมีความสงบ มีความสบาย มีทุกข์น้อยๆ มีความสุขมากๆ จิตใจร่าเริงเบิกบาน อันนี้เป็นจิตใจที่ดี ก็ถ้าฝึกเป็นก็ได้ผล อย่างน้อยฝึกขึ้นมาแล้วก็ต้องได้ผลบ้าง
ละก็นอกจากนั้นก็คุณธรรมต่างๆ มีความเมตตากรุณา มีความเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือกัน ความรักพ่อรักแม่ หรือมีความรักเพื่อนอะไรต่างๆเหล่านี้ ก็มีไม่เท่ากัน ถ้าเราทำจิตใจให้ดี ก็มีคุณธรรมมากขึ้น อันนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องฝึก ด้านนี้เรียกว่าด้านจิตใจ เรียกง่ายๆรวมเป็นคำว่าสมาธิ
แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือ ด้านสุดท้ายก็คือปัญญา ความรู้ความเข้าใจ ได้รู้ ได้เรียนอะไรต่างๆมากขึ้น แต่ในเรื่องพระพุทธศาสนารู้จักประวัติพระพุทธเจ้ามากขึ้นได้อย่างง่ายๆ ด้วยเรื่องราวความเป็นมาของพระพุทธศาสนา ถ้ารู้เรื่องหลักธรรมคำสอน พระพุทธเจ้าสอนอะไร ก็รู้ว่าหลักในการดำเนินชีวิตจะทำไงจึงจะประสบความสำเร็จได้ดี รู้วีธีการต่างๆ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องราวอะไรต่างๆ แม้แต่ภาษา เจอภาษาบาลี เอ๊ เราเป็นพุทธศาสนิกชนนี่ถ้าอ่านออกก็คงดี เราก็เรียนกันบ้าง นี่ก็ภาษาอังกฤษนี่ เราก็คงจะรู้เป็นประโยชน์ ก็เรียนไป นี่เรียกว่าเรื่องปัญญา เรียนให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เรื่องปัญญาก็เป็นเรื่องใหญ่ ต้องเรียนต้องฝึกกันมาก ก็เป็นด้านที่สาม รวมแล้วก็คือเราก็มาเรียนมาฝึกมาศึกษากันในเรื่องนี้ ศีล สมาธิ ปัญญา สามอย่าง ที่นี้บวชมาแล้ว ท่านก็บอกว่าให้เรียนฝึกตนในไตรสิกขา ไตรสิกขาก็สิกขา 3 อย่าง คือ การศึกษา 3 ด้าน ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้เอง แล้วก็ไปขยายเอามากมาย ต่อแต่นี้ไปก็เป็นอันว่าวันนี้เราได้มาบวชกันแล้ว เราก็มีความหมายเรื่องอื่นด้วย เรียนก็ได้ศึกษาในเรื่องเหล่านี้ แต่การเรียนที่จริงไม่ใช่อะไร ต้องมานั่งคร่ำเคร่งในชั้นเรียนอย่างเดียวหรอก คือในชีวิตของเรานี่เอง ถ้าเราทำถูกต้องเป็นการเรียนตลอดเวลา เราสังเกตอะไรต่ออะไรเป็นเนี่ย คือธรรมดาเนี่ย เราก็เรียนตลอดเวลา ได้เรียนรู้ มานั่งกันอยู่แค่นี้วันนี้ก็ได้เรียนเยอะ เรียนกันตลอดเวลา ถ้าคนรู้จักสังเกต รู้จักคิด รู้จักพิจารณาแล้ว จะเป็นคนที่เรียนรู้ชีวิต และฝึกฝนพัฒนาตนขึ้นตลอดทุกเวลา ก็เป็นประโยชน์กับชีวิต ทำให้ชีวิตเจริญงอกงาม ได้ผลดีเป็นความสุขความเจริญ
อันนี้วันนี้ก็ขออนูโมทาน สามเณรทั้ง 4 รูปที่ได้ตั้งใจ มีศรัทธา มีความเพียร และมีความตั้งใจจริงที่จะบวช ก็ขอส่งเสริมกำลังใจว่าถ้าบวชเข้ามาแล้วก็ขอให้สำเร็จผลดังที่ดั้งใจ ให้เรียนแล้วให้บวชแล้วก็เกิดผลกำไรแก่ชีวิต แล้วก็ให้ได้ผลนี้เผื่อแผ่ไปแก่ คุณพ่อคุณแม่ญาติโยมทั้งหลายที่ท่านมีความปรารถนาดี ก็ตั้งใจขอให้ท่านมีความสุขด้วย ก็ตั้งใจดีต่อท่าน ก็ขอให้ท่านได้รับประโยชน์จากการบวชของเรานี้ด้วย ให้ความสุขที่เกิดขึ้นกับเรา ผลดีกับชีวิตของเรานี้เป็นผลดีเป็นความสุขแก่โยมพ่อโยมแม่เป็นต้นด้วย แล้วก็สรรพสัตว์ทั่วไปทั้งหมด ขอให้ทุกคนมีความสุขความเจริญ ตั้งใจอย่างดีอย่างนี้ขอให้ชีวิตของเรามีความเจริญงอกงาม การบวชของเรามีผลดี ขอให้โยมพ่อแม่มีความสุขความสบายใจได้รับผลดีนี้ด้วย ขอให้ทุกคนจงได้มีความสุขโดยทั่วกัน นี่ตั้งใจดี เริ่มด้วยความดีงาม ต่อจากนี้เราก็เอาละ บวชเป็นเณรละก็ทำกิจวัตรกันต่อไป ก็ขออนุโมทนา เอาละ ทีนี้ก็ถือว่าพิธีการบวชก็ได้เสร็จสิ้นลง ทีนี้ก็กราบพระอีก 3 ครั้ง