แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
จริงๆแล้วถึงแม้จะเป็นฆราวาส คนธรรมดาที่ทำงานอยู่ ก็สามารถปฏิบัติธรรมได้อยู่ ถูกต้องใช่หรือไม่ แล้วท่านพูดถึงมีสองขั้วใหญ่ๆคือ ศีล สมาธิ ปัญญา และอีกอันคือ ทาน ศีล และภาวนา คราวนี้สิ่งที่ทำในประจำวัน เช่น สมมติเราขับรถไป ที่ท่านพูดถึงถึงแม้การขับรถก็ตามก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ พอถึงขั้นที่สองคือ การปฏิบัติด้วยการสมาธิ และขั้นต่อไปก็ถึงปัญญา ผมอยากจะทำอย่างไรว่า ทำให้เป็นคำง่ายๆ แจ่มแจ้ง สำหรับชาวบ้าน สำหรับฆราวาส สำหรับหมอที่จะเกษียณ จะทำอย่างไรต่อชีวิต ไม่จำเป็นที่ว่าทุกวันจะต้องสมาธิทุกวัน ให้คนธรรมดาทั่วไปสามารถถือเป็นหลักปฏิบิติ เราเป็นคนธรรมดาไปทำงานก็ยังปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนาได้ตลอดเวลา โดยความเป็นจริง ไม่ใช่เป็นตามทฤษฎี ทำอย่างไรให้ท่านอธิบายอย่างง่ายๆสำหรับคนที่ต้องใช้ชีวิต ไปงานสังคม ไปงานแต่งงาน ไปงานศพ จะต้องไปงานปาร์ตี้ แต่ดำเนินการเป็นชาวพุทธที่ดีได้อย่างไร ในฐานะที่คฤหัสถ์ที่สนใจอยากจะทำตัวเป็นคนที่ดี หรือทำให้สังคมดี ทำอย่างไรง่ายๆ ให้คนอ่าน 2-3 หน้า หรือให้รู้สึกไม่ต้องไปตามภาคทฤษฎีมาก เผื่อผมจะเอาไปพิมพ์
เดี๋ยวก่อนจะไปพูดเรื่องนั้น พูดถึงถ้อยคำ พูดถึงถ้อยคำนิดนึง คุณหมอพูดถึงสมาธิ สมาธิอันนี้ก็เป็นตัวอย่างการที่บางทีเราไปหลงแล้วไปติดในความหมายแง่ใดแง่หนึ่ง คือสมาธิในรูปแบบ กับสมาธิโดยสาระ สมาธิในรูปแบบเราจะไปติดกับการไปนั่งอยู่อย่างนี้แล้วไปอยู่ในที่อย่างนั้น แล้วเป็นสมาธิ แล้วก็เอาสมาธิไปผูกอยู่กับรูปแบบนั้น ความจริงสมาธิเป็นธรรมชาติ มันเป็นสภาวะ เป็นคุณสมบัติของจิตใจ เมื่อจิตใจมันอยู่ แน่วแน่ มันอยู่กับสิ่งนั้น มันไม่ไปฟุ้งซ่าน มันไม่วอกแวกอยู่ มันก็เป็นสมาธิ อันนี้สาระตัวสมาธิตัวแท้ คนไปนั่งสมาธิ แกอาจจะใจไม่มีสมาธิเลย เลยก็ได้เลย ใช่มั้ย ใจก็ไปนั่งงุ่นง่าน งุ่นง่าน คิดอยู่โน่นคิดอยู่คนเดียว ฉะนั้นไม่มีสมาธิ ไปนั่งสมาธิเฉยๆ ฉะนั้นสมาธิเวลาเอากันจริงๆ มันก็เนื้อหาสาระความจริงก็เป็นธรรมชาติ คือเป็นคุณสมบัติของจิตใจ ที่จิตใจมันสงบ แล้วอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการ อาตมาเลยพูดง่ายๆ สมาธิก็คือ จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการ ตอนแรกจิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการ นี่ก็เข้าสมาธิแล้ว ได้ตามต้องการนี่คือสมาธิแน่นเลย ใครอยู่ในสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการ ก็เก่งแล้ว อันนี้คือสมาธิที่แสดงว่าไปได้ไกล คนไปนั่งสมาธิมีกี่คนที่อยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการ เอารูปแบบที่สำคัญ ทีนี้พอจิตอยู่ในสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการแล้ว แล้วแต่เราว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร เค้าเรียกว่าจิตเหมาะแก่การใช้งาน เพราะจิตที่สงบไม่พลุ่งพล่าน ไม่กระวนกระวาย ไม่วอกแวก ไม่พลุ่งพล่าน ไม่เหงา มันก็เป็นจิตที่พร้อม ตื่นตัว มีความหนักแน่นมั่นคง มันจะใช้ทำงานอะไรก็ได้ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็คือธรรมะที่เป็นของจริง เราจะเรียกว่าธรรมมะในชีวิตประจำวันหรืออะไรก็ได้ ซึ่งทุกคนมีโอกาสสามารถมีคุณสมบัตินี้ แต่ทำไมต้องมีรูปแบบอย่างนั้น ก็เพราะว่าคนเราคุณสมบัติในจิตใจไม่เหมือนกัน การพัฒนาของจิตใจของปัญญาไม่เท่ากันทั้งนั้น แล้วเมื่อจิตไม่พร้อม ให้สภาพแวดล้อมต่างๆมันก็มีอิทธิพล ฉะนั้นเวลาเราจะฝึก คนเราบอกว่าคุณสมบัติที่ดีจะสำเร็จได้ด้วยการฝึก แต่การฝึกบางทีมันต้องมีการอาศัยเทคนิค โดยทั่วไปต้องมีเทคนิคแล้วมันจะช่วย แล้วสภาพแวดล้อมอย่างหนึ่ง วิธีการอย่างหนึ่งจะมาช่วย ก็เลยมีการพัฒนารูปแบบวิธีปฏิบัติขึ้นมา เป็นการนั่งสมาธิอะไรต่างๆเหล่านี้ เพื่อจะมาฝึกเท่านั้นเอง พอคนฝึกได้ดีมีสมาธิจริงแล้วมันไม่ต้องมานั่งแบบนั้นแล้ว นั่งก็หมายความก็อาจจะมีเหตุผลขึ้นมาว่า ไปอยู่ในอิริยาบทอื่นมันก็เรื่องเข้ามาเกี่ยวข้องวุ่นวายมาก เลยอยากไปพัก อยากกลับไปนั่ง อะไรก็แล้ว ตกลงอันนี้คือเป็นตัวอย่าง เรื่องสมาธิสาระที่แท้จริงอยู่ที่คุณสมบัติที่เป็นธรรมชาติที่อยู่ในจิตใจของมนุษย์เอง และเมื่อเราเข้าใจแยกได้ตัวสาระและรูปแบบแล้ว เราก็จะเข้าถึงพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น ว่าเรื่องของมนุษย์ก็คือ เราก็ดำเนินชีวิตอยู่ในโลก การดำเนินชีวิตอยู่ในโลก ท่านก็บอกว่าชีวิตของเราเนี่ย ในด้านดำเนินชีวิตมันมีสามด้าน
หนึ่งด้านการแสดงออกภายนอกด้วยกายวาจา โดยสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคมอย่างหนึ่ง กับทางวัตถุอย่างหนึ่ง ด้านนี้พัฒนาไปเท่าไหร่ก็ตาม ทำให้มันดีขึ้น ให้มีการพูดได้ผลดี พูดถูกต้อง พูดเป็นคำสุจริต เป็นคำสัจจะ เป็นคำสุภาพอ่อนโยน พูดได้ผลต่างๆ การฝึกนี้เรื่องวาจาสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ และการฝึกพัฒนาในเรื่องของการใช้กายทำอะไรต่างๆอย่างเช่น บริโภคอาหาร ใช้ปัจจัยสี่ ใช้เทคโนโลยี หรือว่าการใช้ตาหูจมูกลิ้นไปสัมพันธ์กับโลกภายนอก การดู การฟัง และการอยู่ร่วมสังคม การอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ กติกา การอยู่ในวินัย กฎจราจร อะไรก็ตาม หรือวินัยของทหาร หรือการที่จะทำอาชีพของตัวเองให้ถูกต้องสุจริตเกิดผลดี เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวิชาชีพนั้นๆ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องพฤติกรรมกายวาจาสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคมและทางวัตถุ ทั้งหมดนี่เรียกว่าศีล จะไปอยู่ไหนก็ตาม เพราะฉะนั้นมนุษย์เราก็ต้องยุ่งกับเรื่องศีลตลอดเวลา ถ้าใครไม่ฝึกพฤติกรรมตัวเองก็เรียกว่าเราไม่เอากับศีล นี่คนที่ต้องการมีความเจริญงอกงามในด้านพฤติกรรม ในการอยู่ร่วมสังคม ในการปฏิบัติกับสิ่งทั้งหลาย ให้มันมีผลดีขึ้นต่อชีวิตให้มันเกิดผลดีแก่ผู้ร่วมสังคม เรียกได้ว่ามีศีลแล้วฝึกกันเรื่อยไป นี่ด้านหนึ่ง
สอง ด้านลึกเข้าไปก็คือว่า ก่อนที่จะออกมาเป็นพฤติกรรม การสดงออกกายวาจา ทุกครั้งเลยมนุษย์มีเจตจำนง มีเจตนา มีความตั้งใจ มีความจงใจ คิดจะเอาจะได้ หรือจะทำ จะแสดงออกอย่างไร แสดงว่าพฤติกรรมที่แสดงออกมาข้างนอก มีตัวอยู่เบื้องหลังก็คือ ความตั้งใจ ความจงใจ เจตนา หรือเจตจำนง แสดงว่าด้านจิตใจมีความสัมพันธ์อยู่กับพฤติกรรม พฤติกรรมตั้งอยู่บนฐานของจิตใจอีกที แล้วจิตใจจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม มีเจตนาอย่างไร ขึ้นต่อคุณภาพของจิตใจ จิตใจมีโลภะมาก ก็พฤติกรรมกายวาจาจะไปแบบหนึ่ง โลภมากๆ โลภน้อยลงก็มีพฤติกรรมก็ไปอย่าง มีโทสะมากก็พฤติกรรมกายวาจาก็ไปอย่างหนึ่ง ถ้ามีโมหะก็แสดงออกมาที่พฤติกรรม ก็อยู่ที่ว่าจะมีคุณสมบัติหรือสิ่งที่เป็นโทษดีมาประกอบกับจิตอย่างไร เพราะฉะนั้นถ้าจะให้พฤติกรรมดีมั่นคง ต้องพัฒนาจิตใจด้วย แต่ข้อสำคัญในที่สุดสุขทุกข์ เราก็ไปอยู่ที่ใจเหมือนกัน มันไม่ใช่เฉพาะคุณสมบัติของพฤติกรรมที่ดีร้ายเท่านั้น ประณีต หยาบ ละเอียด แต่หมายถึงว่า ความสุขทุกข์ทั้งหมดอยู่ที่จิตใจ เพราะฉะนั้นด้านจิตใจก็ต้องมีการฝึก เพราะฉะนั้น เราก็ฝึกจิตใจเรื่องคุณธรรมความดีงาม ให้มันมีความโลภ ความโกรธ ความหลงน้อยลง ให้ความโกรธ โลภะ โทสะ มีอิทธิพลต่อจิตใจน้อยลง ให้มีคุณสมบัติที่ดี ซึ่งเป็นตรงข้ามกับโลภะ โทสะ ให้มีความคิดเผื่อแผ่เสียสละ ให้มีเมตตากรุณา ให้มีจิตใจ มีอุดมคติ ให้มีความใฝ่รู้อยากทำในสิ่งที่ดีงาม อะไรขึ้นมาอีก ซึ่งนอกจากนี้ จิตใจอ่อนแอ ว้าเหว่เหงาอะไรต่างๆเหล่านี้อีก ไม่ได้ให้พัฒนาจิตใจให้มีสมรรถภาพ มีความเข้มแข็ง มีความเพียรพยายาม ใจสู้ไม่ย่อท้อ มีกำลังใจแกร่วกล้า มีสติยับยั้งใจได้ มีสมาธิใจแน่วแน่ สามารถทำใจให้สงบได้ ทำใจให้ผ่องใส ไม่ว้าเหว่ ไม่ขุ่นมัว ไม่เศร้าหมอง ไม่เครียด ให้สดชื่น ร่าเริง เบิกบาน แล้วจิตใจเยอะ นี่ก็เป็นแดนใหญ่เลย ลึกลงไปกว่าด้านพฤติกรรมก็มีด้านจิตใจในเรื่องคุณธรรมความดี ความสมรรถภาพความเข้มแข็งของจิตใจ เรื่องของความสุข ความระเริง เบิกบาน ผ่องใส สรุปต้องฝึกด้านจิตใจด้วย ด้านจิตใจท่านได้สรุปใช้คำเดียวตัวแทนว่าสมาธิ ที่จริงสมาธิคลุมหมด ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอย่างนั้นอย่างเดียว ทีนี้มนุษย์เราไม่ได้อยู่แค่จิตใจ กับพฤติกรรม จิตใจที่แสดงพฤติกรรมออกไป แล้วพฤติกรรมจะแสดงออกได้แค่ไหนขึ้นกับความรู้ คนเราจะแสดงพฤติกรรม จะเดินไปไหน ต้องรู้ แล้วจะทำพฤติกรรมได้แค่ไหนอยู่ในขอบเขตของความรู้ คนที่มีความรู้กว้างขวาลึกซึ้ง พฤติกรรมก็ยิ่งซับซ้อน ยิ่งทำได้มากขึ้น และสามารถทำให้เกิดผลสำเร็จด้วย ถ้าไม่มีปัญญา ไม่มีความรู้ พฤติกรรมทำไปเปล่าๆ เหลว ไม่ได้เรื่อง จิตใจก็เหมือนกัน จิตใจไม่มีปัญญา มันจะอึดอัด เพราะเจออะไร ไม่รู้จะทำยังไง อึดอัด ทุกข์เลย แต่พอรู้ปั๊บ โล่งเลย เพราะฉะนั้นปัญญามันเป็นตัวสำคัญ พฤติกรรมจะไปได้ จิตใจจะโล่งจะโปร่งเป็นอิสระได้ด้วยปัญญา ปัญญาเป็นตัวชี้นำบอกทางให้แสงสว่างเปิดขยายมิติ แล้วก็ทำให้เป็นอิสระ เป็นตัวปลดปล่อย พอปัญญามาจะรู้พอติดอะไรปั๊บ ปัญญามา หมด โล่ง ปัญญาเป็นตัวสำคัญ ในที่สุดจะพฤติกรรมพัฒนาจิตใจได้ต้องอาศัยปัญญา ในที่สุดก็เลยต้องมีแดนหนึ่งแดนปัญญาความรู้ แดนปัญญาความรู้ก็ว่าไปตั้งแต่ รู้ข้อมูลธรรมดาที่สดับจับฟังจากผู้อื่น รู้เข้ามาทางตาหูจมูกลิ้นรับรู้เข้ามา การรับรู้ของคนก็มีปัญหาว่ารับรู้อย่างไร รับรู้ไม่เป็นก็อยู่ชอบใจไม่ชอบใจ เห็นสวยงามก็ชอบใจ เห็นไม่สวยไม่งามไม่ถูกตาถูกใจก็ไม่ชอบใจ พอไม่ชอบใจต้องอยู่กับมัน เกิดความทุกข์ แล้วคิดจะทำลาย จิตใจ งุ่นง่าน พลุ่งพล่าน โทสะเกิด พอไปเจอที่ถูกตาถูกใจ ชอบ จะเอา แล้วก็เกิดความสุข พอได้มาแล้วมันไม่อยู่ด้วย หรือได้มาแล้วมันสลายไป ในการรับรู้ของมนุษย์เป็นช่องทางที่มาของความสุขความทุกข์ของมนุษย์แหล่งใหญ่เลย ถ้ามนุษย์พัฒนาขึ้นก็จะไม่อยู่แค่รับรู้ชอบใจไม่ชอบใจ ก็หนึ่งรับรู้รับความรู้สึก สองใช้ตาหูจมูกลิ้นกายรับรู้แต่รับความรู้ แค่นี้ก็ต่างแล้วเป็นจุดแย้ง รับความรุ้สึก รู้สึกสบายชอบใจ รู้สึกไม่สบายไม่ชอบใจ สุขทุกข์อยู่ชอบใจไม่ชอบใจ พอรับความรู้ คราวนี้ไม่เกี่ยว ความรู้สึกไม่เกี่ยว ได้ความรู้ก็แล้วกัน มันจะสบายไม่สบาย ถูกตาไม่ถูกตาไม่เกี่ยว เพราะฉะนั้นคนที่เริ่มขยับจากการใช้ตาหูจมูกลิ้นเพียงรับความรู้สึกมาเป็นรับความรู้ จะเปลี่ยนมิติใหม่ของความสุข คือไม่สุขไม่ทุกข์ จากสิ่งชอบใจไม่ชอบใจ แต่มองในแง่การรู้ ทั้งสิ่งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ สุขหมด เพราะว่ามันได้ความรู้ เราต้องการได้ความรู้ ถ้าใจเราไปอยากได้ความรู้ปั๊บ การได้ความรู้ เป็นการสนองความต้องการ และเป็นตัวให้เกิดสุข เพราะฉะนั้นสิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจไม่เกี่ยว สิ่งที่ชอบใจก็ให้ความรู้ได้ ก็สุขได้ สิ่งไม่ชอบใจ ให้ความรู้ฉันได้ ฉันก็สุขได้ เพราะฉะนั้นสุขได้ทั้งสิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจ อันนี้คือการพัฒนาของมนุษย์
ที่นี้ถ้ามนุษย์รับรู้ในแง่เอาความรู้สึกเป็นใหญ่ ความรู้สึกมันก็จะมาเคลือบมาคลุมให้การรับรู้ไม่บริสุทธิ์ เกิดความลำเอียง มองตามชอบใจไม่ชอบใจ ก็เกิดอคติ ยังไม่เกิดอคติก็ไม่เห็นความเป็นจริง เหมือนใส่แว่นสี เพราะฉะนั้นการรับรู้จะมีอิทธิพลมาก หนึ่งรับรู้แค่ความรู้สึก เค้าเรียกว่ายินดียินร้าย ก็จะไม่พัฒนา อยู่กับสุขทุกข์ชอบใจไม่ชอบใจ พอเปลี่ยนการรับรู้เป็นการรับความรู้ ก็พ้นจากสุขทุกข์ ชอบใจไม่ชอบใจ มาสุขเพราะการได้เรียนรู้ คือสนองความต้องการรู้ และอย่างหนึ่งก็คือ การรับรู้จากบริสุทธิ์จะตรงความจริงขึ้น มนุษย์จะพัฒนาไม่ได้ ถ้าไม่รู้จักปรับปรุงในเรื่องการรับรู้ของตัวเอง การใช้ตาหูจมูกลิ้น พอปรับปรุงแค่นี้ก็ดีขึ้นแล้ว แดนความสุขความทุกข์ก็เปลี่ยนไป แล้วแดนปัญญาก็พัฒนาเพราะว่าเราสามารถรับรู้ทิศได้ความรู้ที่ตรงและบริสุทธิ์ขึ้น ต่อจากนั้นก็เอาข้อมูลความรู้มาเก็บไว้ เป็นความจำ สำหรับสติระลึกขึ้นมา แล้วนำมาใช้งาน เอาความรู้ต่างๆมาวิเคราะห์มาสืบค้นสืบสาวหาเหตุปัจจัย แล้วก็นำมาปรับใช้กับสถานการณ์ต่างๆในการแก้ปัญหา ในการคิดสร้าง ในการทำการต่างๆได้ อันนี้เป็นเรื่องของแดนปัญญาซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ จนกระทั่งว่า รู้เข้าใจชีวิตของตนเอง รู้เข้าใจโลกตามความเป็นจริง พอรู้เข้าใจอย่างนี้แล้ว วางใจได้ถูกต้องสิ่งต่างๆ เพราะมนุษย์อยู่ใต้กฏธรรมชาติ ชีวิตของเราก็เป็นไปตามสิ่งทั้งหลายที่เข้ามาเกี่ยวข้อง มีความสัมพันธ์กัน ที่นี้มนุษย์ที่ยังไม่ได้ฝึกฝนพัฒนา ไม่อยู่ด้วยปัญญา ก็อยู่ด้วยความอยาก ที่เรียกว่าตัณหา เมื่ออยู่ด้วยความอยาก ตัวองก็อยากให้เป็นอย่างนั้นอยากให้เป็นอย่างนี้ มันเป็นไปตามอยากก็มีความสุข มันไม่เป็นตามอยาก ก็ทุกข์ แต่ว่ามนุษย์จะให้สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามอยากของตัวเองเป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปตามอะไร มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ตอนนี้ที่มันเป็นเรื่องของการที่มนุษย์จะเข้าไปขัดแย้งกับความจริงหรือไม่ ถ้าเอาตัณหามาเป็นหลักของจิตใจ มันก็ขัดแย้งกับความเป็นจริง เพราะตัวอยากให้เป็นอย่างนี้ แต่ความเป็นจริงสิ่งทั้งหลายไม่ได้เป็นไปตามความอยากของมุษย์ สิ่งทั้งหลายมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ในระบบความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลาย เพราะฉะนั้นถ้าอยู่ด้วยตัณหาก็เกิดขัดแย้งแน่ และถ้าขัดแย้งขึ้นมาถามเลยว่าใครชนะ ตอบได้เลยว่า ความจริงชนะ ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยชนะ มนุษย์ก็ต้องทุกข์เรื่อย พอมนุษย์พัฒนาปัญญา ก็รู้ความเป็นจริง ปัญญา รู้ตรงกับเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นไปของธรรมชาติ ฉะนั้นจิตมันก็ปรับไปตามปัญญาไปตามกัน ก็รู้ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย มันคงอยู่ไม่ได้เพราะมีเหตุปัจจัยอย่างนั้นเกิดขึ้น ถ้าเราต้องการไม่ให้เป็นอย่างนั้น เราก็ต้องเรียนรู้มัน ศึกษาเหตุปัจจัย แก้เหตุปัจจัย ทำได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น ถ้ามันไม่เป็นไปตามที่ใจปรารถนา แสดงว่ามีเหตุปัจจัยที่เราทำไม่ทั่ว หรือมีเหตุปัจจัยที่อยู่นอกเหนือวิสัยของเรา เราก็รู้ความเป็นจริง จิตใจของเราก็รู้ความจริงอย่างนี้ ทุกข์มันก็เบา แล้วก็แก้ไขเหตุการณ์ ทำอะไรสำเร็จ หนึ่งทุกข์ก็น้อย สองทำการณ์ก็สำเร็จ อยู่ได้ด้วยปัญญา คนที่อยู่ด้วยตัณหา ความอยาก หนึ่งก็ไม่สำเร็จ สองทุกข์มา ให้พัฒนาก็คือชีวิตเรานี่เอง ถ้าหากว่าปฏิบัติถูกต้องมันก็เป็นธรรมะ ธรรมะก็คือความจริงของสิ่งทั้งหลาย เราก็รู้เข้าใจความจริงนั้น เอาใช้ประโยชน์ปฏิบัติได้ถูกต้องตามนั้น มันก็เกิดผลดีต่อชีวิตของเรา
ตกลงเราก็ต้องฝึกปฏิบิติ ผมกำลังจะตั้งหัวข้อ กำลังเขียนว่า ผมบวชมาแล้วสองปีเศษ ว่าผมเป็นคนดีขึ้นหรือเปล่า เพราะว่าก่อนที่ผมจะบวช ผมเคยเขียนเรื่องว่าผมเป็นคนไกลวัด ผมไม่ชอบพระ ผมมีข้อคิดเห็น ผมไม่ชอบ ไม่เข้าหาศาสนา บางทีพระที่ ขออนุญาติใช้คำว่าเว่อร์ไป ภูติ ผี ปีศาจ ผมไม่นับถือ หลังจากที่ผมบวชแล้วที่นี่ ผมก็มีความรู้สึกที่ดีมาก ก็เขียนอีกอันว่า เมื่อคนไร้วัดบวช คราวนี้สองปีแล้ว ผมอยากจะมานั่งหยุดคิดดูว่า ที่ผมบวชแล้วเผมป็นคนดีขึ้นหรือไม่ ผมรู้แต่เพียงว่าถ้าผมฝึกปฏิบัติบ่อยๆ ผมดีขึ้นนิดหน่อย เช่น ผมอ่านข้อเขียนของท่านมาก อ่านมากตาม ลืมอ่าน อ่านแล้วอ่านอีก ยกตัวอย่างเช่น ขับรถอยู่ มีมอเตอร์ไซค์ขับรถมาแทรก สมัยก่อนจะโมโหมาก โมโห ยิ่งบางคนขับแท็กซี่มาโมโห แล้วมาทำปากขมุบขมิบ เราก็นึกว่าเขาด่าแล้ว ขณะนี้ถ้าจะให้ดีก็ต้องแผ่เมตตาไปเลย แต่ในขณะนี้ คิดว่าถ้าผมโมโหไป ความดันผมขึ้นเปล่าๆ เรื่องอะไรผมจะโมโห ผมทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ก็ยังดีไม่ที่สุด อยากจะฝึกหัดตัวเอง ทำอย่างไรถึงแม้เขาจะปาดหน้าเรา เราถูก เค้าผิด เราจะทำยังไง อนุโมทนาไปว่าเขาอาจจะไปเยี่ยมพ่อแม่เจ็บป่วย จะมีวีธีทำยังไง ให้ทานเค้าไป หรือทำยังไงให้จิตใจแทนที่จะโมโห ด่ากลับ หมุนกระจกลงมาด่าเค้าเลย ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่กระทำ กระทำแต่ว่าเฉยๆ ทำยังไงให้มันดีเหนือขึ้นไปกว่านั้น แผ่เมตตาไป หรือว่ายกตัวอย่างอีกอัน อย่างเช่นว่า ทางเดินเท้าในตรอกรถเข้าไม่ได้เลย ขนาดนี้ราก็รู้สึกพวกนี้คนจนเข้ามาขายของ เราก็น่าจะเห็นใจเขาบ้าง สมัยก่อนเราคิดว่าถนนของเรา บ้านของเรา ทำไมเค้ามารุกล้ำ ขณะนี้ก็คิดได้ว่า แผ่เตตาไปหน่อย เค้าจนกว่าเรา เราก็ขับรถไป ทำยังไงถึงจะฝึกหัดให้ ให้รู้สึกว่ามันดีขึ้น ขึ้นไปอีกว่านั้น อันนี้สิ่งที่ผมบวชแล้วได้ คิดอะไรกว้างขึ้น มีทฤษฎีขึ้นมาจับได้นิดหน่อย ผมคิดว่าาอันที่สามารถทำอะไรง่ายๆ หรือมีข้อแนะนำง่ายๆ คนอื่นอาจจะได้ประโยชน์ได้เยอะ
หนึ่ง อาจจะเป็นคนดีเท่าเดิมก็ได้ แต่เป็นคนดีที่ทำดีมากขึ้น หมายความว่าปริมาณสิ่งที่ดีที่ทำมากขึ้น แต่ระดับการเป็นคนดีเท่าเดิม อันนี้ก็ถือว่าดีแง่หนึ่ง ระดับของความเป็นคนดีเท่าเดิม แต่ว่าในความดีที่ตัวเป็นอยู่ ก็เลยได้เป็นความดีมากขึ้นตามกาลเวลา อันนี้ก็เป็นข้อดีอย่างหนึ่ง
สองเลื่อนระดับความดีของตัวเอง
มีอะไรช่วยให้มีกลไกยังไง ช่วยได้ง่ายๆ
ความเป็นคนดีขึ้น ดีขึ้นได้หลายด้าน ถ้าเราใช้คำใหญ่มา เอาคำหลักเมื่อตะกี๊มาเทียบ ดีขึ้นทางศีล ดีขึ้นทางสมาธิ คือด้านจิตใจ และดีขึ้นทางปัญญา ต้องดูทั้งสามด้าน
ด้านศีล การประพฤติปฏิบัติของเรา การดำเนินชีวิตทั่วไป การสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ดีขึ้นไหม เราเบียดเบียนน้อยลงมั้ย เราบำเพ็ญประโยชน์กับเพื่อนมนุษย์มากขึ้นไหม นี่ด้านศีล ดูได้เลยว่าเราดีขึ้นไหม การปฏิบัติ ข้าวของเครื่องใช้ การกินอยู่ทั้งหมดด้านศีลเราดีขึ้นหรือไม่
สองด้านจิตใจ เราจิตใจร่าเริงเบิกบานผ่องใสสดชื่นขึ้นไหม เครียดน้อยลงไหม ทุกข์น้อยลงไหม มีคุณธรรมมากขึ้นไหม มีเมตตากรุณามากขึ้นไหม มีศรัทธาอะไรต่างๆ มีคุณธรรมความดีมากขึ้นไหม มีสติ มีวิริยะความเพียร มีจิตใจเข้มแข็ง มีกำลังใจดีขึ้นไหม ด้านความสุขก็พูดไปแล้ว
แล้วมาดูด้านปัญญา มีความรู้เข้าใจ เรื่องวิชาการไม่ต้องพูดถึงในที่นี้ รู้เข้าใจชีวิต รู้เข้าใจเพื่อนมนุษย์ รู้สิ่งทั้งหลายได้ดีขึ้น มากขึ้นไหม อันนี้ก็ดูได้ ดูสามด้าน ก็วัดตัวเองได้เลย
ที่นี้ ถ้าจะมาใช้ปฏิบัติอย่างในเฉพาะกรณีหรือเป็นแง่ๆเรื่องๆ อย่างว่า กรณีขับรถ วิธีง่ายๆก็เรียกว่า โยนิโสมนสิการ คือการรู้จักมอง รู้จักคิด ให้จิตมีทางเดินหลายๆอย่าง คือมันมีตัวนำก็คือการใช้ปัญญา หรือวิธีมอง ซึ่งยังไม่ต้องใช้ปัญญามากมาย เพียงวิธีมองเท่านั้นเอง เช่นว่าเราคิดเผื่อให้เค้า อย่างที่คุณหมดพูดเมื่อกี๊ อย่างหมอเห็นคนไข้ หน้าตาไม่ดี พูดไปแล้วพูดกลับมาไม่ดี หมดคิดว่าโอ้โหคนไข้คนนี้ที่จริงเค้าไม่ได้มาโกรธอะไรกับเรา แต่เค้ามีอารมณ์ค้าง หรือเขากำลังวิตกกังวล มีความทุกข์ ทุกข์เพราะโรคภัยไข้เจ็บของเขา ทุกข์เพราะเป็นห่วงลูก ถ้าพ่อป่วยไปแล้วลูกจะอยู่อย่างไร ทุกข์เรื่องครอบครัว เงินทอง จะเอาที่ไหนมาใช้ ตัวเองรักษาใช้เงินมากไหม แล้วเวลานั้นครอบครัวจะอยู่ได้อย่างไร ห่วงโน่นห่วงนี้ทำให้เขาอารมณ์เสีย แล้วเขามาพูดตอบมาไม่ดี เพราะฉะนั้นถ้าคิดได้อย่างนี้อาจจะไปเห็นใจเขา คิดหาทาทางปลอบโยน หรือไปไถ่ถาม แทนนที่จะอัดอั้นอยู่คนเดียวกับตัวเอง แล้วก็ทุกข์ แล้วก็ปรุงแต่งใจไม่สบาย อันนี้ก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่ง คือการมองและใช้วิธีคิดแบบนี้เรียกว่า ยนิโสมนสิการ ซึ่งใช้ได้หลายอย่างมาก เคยเล่าไว้ในหนังสือ รักษาใจยามรักษาคนไข้ รักษาใจยามป่วยไข้ รักษาใจยามรักษาคนไข้ คือเรามีวิธีมองได้เยอะแยะ แม้แต่มองตัวเองว่า การได้เจอประสบการณ์ต่างๆหลากหลาย แล้วได้สนุก กับการได้เห็นประสบการณ์เหล่านั้น หมายความว่าผู้คนมนุษย์ต่างๆกัน ท่าทางอาการ กิริยา นิสัยใจคอ ไม่เหมือนกัน เราเจอคนนี้เป็นอย่างนี้ คนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นยิ้ม คนนั้นหน้าบึ้ง คนนั้นหัวเราะตลอดเวลา คนนี้เป็นอย่างนั้นนี้ เราขำไปหมด ขำไปหมด เห็นใครนั้นมาท่านี้ มาท่าโน้น ขำอย่างเดียว ไม่รับกระทบ อย่างนี้ก็มี มันอยู่ที่การวางท่าทีของจิตใจ หรือวางท่าทีในการเรียนรู้ มนุษย์มีต่างๆหลากหลาย วันๆหนึ่งเราได้เรียนรู้ เจอคนนี้ก็ได้เรียนรู้ว่า คนอย่างนี้ก็มี คนอย่างนั้นมีลักษณะอย่างนั้น เรียนรู้ เรียนรู้ มองเป็นเรียนรู้หมด มาดีก็เรียนรู้ มาไม่ดีก็เรียนรู้ ได้ศึกษาได้ท่าเดียว คนเมื่อกี๊นี้ผ่านท่าเดียว ขำผ่าน ขำผ่าน แต่คนที่สองได้อย่างเดียว ได้ความรู้เรื่อยไป คนที่สามมองอย่างที่ว่า มองแบบเข้าใจเพื่อนมนุษนย์ คิดเผื่อให้เขา อาจจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเราหาทางมีความสัมพันธ์ไถ่ถามเพื่อให้รู้ความจริงต่างๆ อันนี้ก็กลายเป็นช่วยแก้ปัญหาให้แก่มนุษย์ ให้แก่เพื่อนมนุษย์ และมีเมตตากรุณา แล้วอีกอันก็ได้ มองเป็นบททดสอบตัวเรา เราเจอดีบ้างไม่เจอดีบ้าง เจอดีเราก็ไปชอบใจ ทีเจอไม่ดีแล้วไม่ชอบใจ เราทดสอบตัวเอง เรามาเรียนธรรมะ อยู่ในโลกที่มีชีวิติที่ดี เรามีความเข้มแข็งอดทนแค่ไหน ต้องเจอบททดสอบให้เขาด่า เราจะได้ดูว่าเราทนได้ไหม อย่างนี้ก็ได้บททดสอบ มองทุกอย่างเป็นบททดสอง พอไปเจอก็ไม่มีปัญหา เป็นบททดสอบ วันนี้พอกลับบ้าน ได้บททดสอบใหม่ วันนี้บททดสอบแรงหน่อย ก็เลยสนุกอีก รู้สึกสนุกกับบททดสอบ ต่อจากบททดสอบก็เป็นแบบฝึกหัดพัฒนาตัวเอง คนเราจะพัฒนาต้องมีแบบฝึกหัด คนไม่เจอแบบฝึกหัดมันไม่ได้พัฒนา ไม่ได้แก้ปัญหา ชีวิตที่ราบรื่นมันดี มันสุข เป็นชีวิตที่ไม่มีแบบฝึกหัด คนที่ชีวิตราบรื่นเกินไป มีความสุข เกิดมาในความสุข ถ้าไม่มีกัลยาณมิตรมาช่วยฝึก ไม่พัฒนาเลย แล้วชีวิตจะอาดีเข้มแข็ง มีปัญญาจะจัดการณ์สถานการณ์ได้น้อย เพราะฉะนั้นคนที่เจอแบบฝึกหัด เจอปัญหาเยอะ เจออะไรต่ออะไร เรื่องราวต่างๆ มองเป็นแบบฝึกหัดหมด ทีนี้ก็พัฒนาตัวอย่างดียว ได้ฝึก ได้หัด ได้แก้ปัญหา ดีหมดนี่คนที่ห้า
คนที่หก ได้พัฒนาปัญญาถึงขั้นรู้เข้าใจโลกชีวิตตามความเป็นจริง ก็รู้ข้าใจแบบคนที่อยู่บนภูเขา ยอดเขามองลงมาเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นไปต่างๆ รู้เข้าใจ โลกชีวิตมันก็เป็นแบบนี้ คนเราก็มีกิเลสบ้าง ไม่มีกิเลสบ้าง ก็เป็นไปต่างๆกัน เขาก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย นี่มองไปตามความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัย เข้าใจตามเป็นจริงไปเลย ไม่กระทบเลย เรียกได้ว่ารู้เข้าใจโลกชีวิต วางใจถูกต้อง ใจเป็นอิสระไปเลย
ก็เรื่องต่างๆที่เป็นวิธีเรียกว่า โยนิโสมนสิการ ซึ่งใช้ได้หมดเลย แต่อย่าน้อยขั้นแรก ก็คือว่าคนเราจะใช้ตาหูเป็นด่านสำคัญในการสัมพันธ์กับโลกภายนอก มันก็มีแบบนี้แยกไว้เลยว่า หนึ่งมองด้วยความยินดียินร้ายอย่างที่พูดตอนต้น เห็นสิ่งที่สบายตาถูกตาก็ชอบใจ เห็นสิ่งไม่สบายตาไม่ถูกตาก็ไม่ชอบใจ แล้วสุขทุกข์ก็อยู่ตรงนี้ นี่เป็นการใช้ตาหูจมูกลิ้นแบบแรกสามัญ และแบบสัมพันธ์กับโลกภายนอกด้วยการใช้ปัญญา แบบที่ว่า อย่างน้อยมองตามเหตุปัจจัย ก็เลยมองตามชอบใจ กับมองตามเหตุปัจจัย พอเจออะไรก็ ถ้ามองตามชอบใจ ก็สะสมปัญหา ถ้ามองตามเหตุปัจจัยก็เกิดปัญญา ถ้าเราเพียงตั้งท่าทีแบบนี้ก่อน ว่ามองตามเหตุปัจจัย เราไปเจออะไรปั๊บ เราระลึกอันนี้ เราจำไว้เป็นคติ เป็นคติว่ามองตามเหตุปัจจัย คติก็คือทางไปให้จิตมันเดินได้ พอเกิดเรื่องปั๊บที่จะไม่ชอบใจ เอาสติระลึกถึงคติมา เอาคติมาตั้ง เราก็เอาสติเป็นตัวดึงคติมาใช้ ระลึกถึงคติว่าอันนี้เกิดเรื่องแล้ว เกิดสิ่งไม่ชอบใจละนะ คติบอกมองตามเหตุปัจจัย อย่างมองตามชอบใจ ยั้งจาการมองตามชอบใจ เปลี่ยนมามองตามเหตุปัจจัย พอมองตามเห็นปัจจัยปั๊บ สะดุด หยุดปัญหาได้ หยุดปัญหาได้ก็มามองด้วยปัญญาวิเคราะห์ ศึกษา มองตามเหตุปัจจัย แม้แต่ในเรื่องของครอบครัวในบ้าน มันมีเรื่องกระทบหูกระทบตาอยู่เรื่อย ซึ่งเข้าไปถึงจิตใจ ถ้ามองตามชอบใจไม่ชอบใจ ก็เกิดเรื่องเรื่อย แล้วก็มีปัญหาทั้งของตังเอง ออกมากระทบกัน เป็นปัญหาออกมาข้างนอก พอเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย ก็ตั้งสติได้ เริ่มใช้ปัญญา หาทางแก้ปัญาหาโดยทางที่ถูกต้อง อย่างน้อยตัวเองก็ไม่เกิดความกระทบ ไม่ขุ่นข้องหมองใจ ใช้ปัญญา เป็นเรื่องของความเป็นจริงที่เป็นกลาง ปัญญาอยู่กับความเป็นจริงที่เป็นกลางๆ เพราะฉะนั้นมันไม่มีปัญหา ปัญญาเป็นตัวทำลายปัญหาแล้วแก้ความทุกข์ สลาย เป็นตัวสลายทุกข์ เป็นตัวปลดปล่อยทำให้เป็นอิสระ
เรื่องของมนุษย์ก็เป็นอย่างนี้ ทำได้อย่างนี้ เป็นวีธีการเอาธรรมะไปใช้ในชีวิติประจำวัน บางคนไปอยู่วัด มองเห็นในรูปแบบ ไปนั่งปฏิบัติมากมาย แต่พอชีวิตจริง ปฏิบัติไม่ถูก วางใจไม่ถูก ยังโกรธ ยังรุนแรง ยังพลุ่งพล่านอยู่ แสดงว่ายังเอามาใช้ไม่ได้
ผมเคยเจอบางคนท่องทฤษฎีได้ เป็นคำพระได้หมด รู้หมด รู้ทฤษฎีหมด แต่ในชีวิตประจำวันยังเห็นความโลภ เห็นตัวอย่างอย่างนี้เยอะครับ
อย่างนี้แหละ ไม่ได้เอามาฝึกจริงๆ คือธรรมะที่แท้ ที่เราปฏิบัติ มันก็หมายถึง มันเป็นจริงขึ้นในชีวิตของเรา ชีวิตจิตใจมีการพัฒนา เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ถ้าเราเอาธรรมะมาจะโดยรู้ก็ตาม จะปฏิบัติก็ตาม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงขึ้น ไม่มีผล ที่บอกว่าพัฒนาก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ที่ไหนละ ก็เกิดขึ้นในชีวิตจิตใจของเรา ดูที่ไหน ดูที่พฤติกรรม กายวาจาสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้องทางสังคมและทางวัตถุ ดูที่ไหน ดูที่จิตใจ ดูที่คุณธรรม ดูที่ความดีงาม ความเข้มแข็งสมรรถภาพจิตใจบ้าง ดูที่ความสุขความทุกข์บ้าง ดูเค้าร่าเริงเบิกบาน ผ่องใส จิตใจดี มีทุกข์น้อย มีความเครียดน้อย สามารถแก้ปัญหาจิตใจได้ดีไหม ถ้ามองดูด้วยปัญญาโลกชีวิต การมองสิ่งทั้งหลายที่มองเห็นตามเป็นจริงมากขึ้น ไม่มองตามความเคลือบแฝงของกิเลส ความลำเอียง อคติต่างๆ อันนี้ก็ดูของจริงเลย จิตใจที่ทำให้หลุดพ้น อย่างที่ท่านบอกว่าผู้ที่รู้ เข้าใจ สิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง เราก็อยู่ในโลกตามปกติเหมือนคนอื่น เพราะฉะนั้นในโลกเรียกว่าโลกธรรม สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลก หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไป แม้แต่ชีวิตร่างกายเราก็เปลี่ยนแปลงไปตามกฎธรรมชาติ แต่ที่นี้พอเรารู้เข้าใจตามความจริงแล้ว สิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไป กฎธรรมชาติเปลี่ยนไป มันไม่ส่งผลกระทบจิต เพราะปัญญามันรู้ทันหมด เพราะฉะนั้นท่านบอกว่า ผู้ใดถูกโลกธรรมทั้งหลายซึ่งหมายถึง เรื่องดีร้าย ถูกใจไม่ถูกใจ เข้ามากระทบกระทั่งแล้ว จิตไม่หวั่นไหว ไม่ขุ่นมัวเศร้าหมอง เป็นจิตผ่องใส ร่าเริงเบิกบานเป็นจิตเกษม ไม่มีความเศร้าโศก เบิกบานได้ตลอดเวลา อย่างนี้เรียกว่าเป็นมงคลอันสูงสุด
ได้ยินคุณหมอจะถามเรื่องชีวิตหลังเกษียณ
ชมรมคณาจารย์เค้าจะทำมุทิตา ไม่แน่ใจว่าใช้คำถูกรึเปล่า
ก็แล้วแต่จะมองคำว่ามุทิตาจิตแปลว่า เคารพแสดงความยินดี
ยินดีด้วยเมื่อคนอื่นได้ดี เวลาลูกศิษย์ลูกหาเวลาทำให้อาจารย์ ซึ่งจะเกษียณ เค้าจะติดประกาศว่า ขอแสดงมุทิตาจิตต่ออาจารย์สองสามคน เป็นคำที่ถูกต้องรึเปล่า
อยู่ที่วิธีมอง จะใช้คำอะไรให้ถูกต้อง
อย่างนี้ก็ไม่ผิด อย่างน้อยก็เป็นการช่วยนำจิตใจมองในทางที่ดี คือถ้าเรามองว่า เกษียณคือหมดสิ้น หมดแล้วอายุราชการ หมดแล้วตำแหน่งฐานะ ถ้ามองอย่างนี้ เราก็เสีย หรือจะมุทิตาได้อย่างไร มุทิตาแสดงความยินดี นี่คือการสูญเสีย แต่ถ้ามองอีกทีหนึ่ง แย่ ทำงานหนักมานาน ไม่มีอิสรภาพ อยู่ในขอบเขตจำกัด วันนี้เป็นอิสระซักที พอมองอย่างนี้ มุทิตาได้เลย
เป็นเพราะว่า ตอนนี้ดีแล้ว คือการเกษียณอายุ ถ้ามองในแง่ดีก็มีแง่ดีเยอะ แล้วก็มีสิทธิ์จะมองในแง่ดีได้มากด้วย เพราะว่าผู้เกษียณได้ถือว่าการรับราชการก็ได้ทำประโยชน์แก่ประชาชน และบ้านเมืองมาเยอะแล้ว และในแง่ทำประโยชน์ในชีวิต พอสมควร การเกษียณบอกให้เหมาะว่าทำมาพอสมควรแล้วนะ และในเวลาทำงานแบบนั้นในแง่หนึ่งเราถูกจำกัด เรามีภาระรับผิดชอบ บางอย่างเราทำไม่ได้ตามที่ใจปรารถนา พอเกษียณปั๊บ ชีวิตเป็นของตัวเอง เวลาเป็นของตัวเอง เวลาจะทำอะไรก็ทำได้ตามใจปรารถนา นี่ตรงนี้จึงเป็นอิสระ นี่ก็อยู่ที่ว่า เมื่อเกษียณแล้วเลือกทำอะไร เข้าหลักอิทธิบาทที่ทำให้อายุยืน คือผู้เกษียณ ถ้าไปมองในแง่ลบเป็นสูญสีย ก็จะใจคอเหงาหงอย เศร้าสร้อย ว้าเหว่ พอมองในแง่ดี ฉันเป็นอิสระ คราวนี้มีเวลาเป็นของตัวเอง แค่ท่านบอกว่าอย่าอยู่เฉยๆ เลื่อยลอย ให้มีอะไรทำ อิทธิบาทก็เริ่มต้นด้วยข้อแรก ให้มีอะไรทำก่อน ให้คิดก่อนว่า เรามีอะไรที่อยากจะทำ แต่ก่อนนี้เราก็อาจจะอยากทำ แต่เราไม่มีเวลาจะทำ และจะทำตามที่ต้องการไม่ได้ ซึ่งที่ต้องการก็ไม่อาจจะทำ ต้องไปทำในสิ่งอาจจะไม่ต้องการเท่าไหร่ ถึงเวลานี้เราก็มีอิสระแล้ว อะไรที่เราเห็นว่ามีคุณค่า จะเป็นคุณค่าแก่ชีวิต คุณค่าแก่สังคม หรือสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นคุณค่าประเสริฐ เราอยากจะทำ เอาเวลาตอนนี้ตั้งใจเลย พอตั้งใจจะทำสิ่งนี้ใจปรารถนา อยากจะทำให้สำเร็จ ยิ่งมีปัญญามองเห็นคุณค่าสิ่งนั้นว่าดีงาม เป็นประโยชน์เท่าไหร่แล้วใจใฝ่จะทำเท่าไหร่ยิ่งดี มันจะเกิดอันที่สอง อันที่หนึ่งเรียกว่าาฉันทะ ความใฝ่ปรารถนา ความรักที่จะทำ
อันที่สอง กำลังที่จะทำจะตามมา พอมีความใฝ่ปรารถนามาก กำลังจะเกิดมาก
ก็เกิดวิริยะ ความเพียร ต้องทำให้สำเร็จ ยกตัวอย่าง บางคนเรื่องนี้ถ้าไม่สำเร็จ ฉันตายไม่ได้ ตั้งใจอย่างนั้น เกิดกำลังใจ ทำเต็มที่ แล้วก็เกิดกำลังขึ้นมา ความเหงาหงอย ว้าเหว่ หายหมด ทีนี้ก็มีกำลังใจขึ้นมา พอมีกำลังใจจะทำ มันก็เกิดความอุทิศตัว พอใจ ฝักใฝ่เรื่องนี้อุทิศตัว อุทิศเวลาให้ ใจจะไม่รับกระทบมากับความวุ่นวาย เรื่องไม่เกี่ยวเป้าหมายของฉัน อาจจะกระทบบ้างตามวิสัยปุถุชน แต่เดี๋ยวก็ลืมเพราะมีเรื่องจะทำ แต่คนแก่ที่ไม่มีอะไรจะทำ เคว้งคว้าง จะเก็บเอาเรื่องกระทบในชีวิตประจำวันมาคิด ลูกหลานทำอะไรผิดหูผิดตา มานั่งคิด ก็ไม่มีอะไรทำ ก็มาคิด สมองเสียเลย ใจคอก็เศร้าหมอง มีแต่ความทุกข์ เหงาหงอย จิตใจหงุดหงิด ไม่สบายใจ เดี๋ยวก็บ่นไปกันใหญ่ จิตรับกระทบเรื่อย ปรุงแต่งมาก คนมีอะไรจะทำ ตั้งใจแล้วที่นี้ ไอ้เรื่องกระทบไม่มีความหมายเลย มันไม่เข้าเป้า ตัดหมด มาอยู่กับเรื่องที่ทำ หรือกระทบ เดี๋ยวเดียวมันลืม พอมีเรื่องใหญ่ที่จะทำ ใจก็มีจิตตะ พอเราอุทิศตัวอุทิศใจกับเรื่องที่ทำ มันก็ใช้ปัญญา คิดพิจารณา จะแก้ไข จะปรับปรุงจะทำให้สำเร็จอะไรต่างๆ วิมังสาก็มา มีเหตุทางการแพทย์ ถ้ายังใช้ความคิดใช้ปัญญาอยู่ สมองไม่ค่อยฝ่อ
ข้อที่สี่ก็มาหมดเลย สี่ข้อ ท่านบอกว่า ระวังนะคิดมีสองแบบ หนึ่งคิดปรุงแต่ง คิดด้วยอีโมชั่น คิดทางอารมณ์นึกถึงเรื่องเก่าๆ นึกถึงเรื่องคนโน้นกระทบกระทั่ง พอใจไม่พอใจ มาคิดปรุงแต่ง อย่างนี้ท่านห้ามเลย เป็นความคิดเชิงอารมณ์ แต่คิดเชิงปัญญา คิดเท่าไหร่คิดไป ท่านบอกไม่เป็นไร คิดทางปัญญา คิดสืบสาวปัจจัยให้เป็นกลางๆ ไม่มีดีมีชั่ว คิดแบบใช้ปัญญาไป ตกลงว่าอิทธิบาทสี่ถ้ามาแล้วจะทำให้อายุยืน
เพราะฉะนั้นคนที่เกษียณก็มองในแง่ดีก็เป็นประโยชน์เยอะ หนึ่งก็มองเป็นอิสระภาพ สองคิดจะทำสิ่งที่มีคุณค่าที่จะใจต้องการจะทำ สามเอาประสบการณ์ที่มีมาเยอะแยะมาถ่ายทอด หรือทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น อันนี้ก็เป็นประโยชน์มาก ประสบการณ์ของท่านที่ได้ทำงานทำการ ผ่านชีวิตมาเยอะแยะ คนในแต่ละยุคมันสูญเสียอันนี้ไปมาก อาตมาก็ยังเสียดาย คือตอนนั้นก็ไม่มีโอกาส แล้วเราก็ไม่ทันคิด พระรุ่นเก่าๆอายุรุ่น 80-90 รู้เรื่องเก่าๆ ถ้าเราไปบันทึกไปไถ่ถามเรื่องเก่าๆเช่น เรื่องการคณะสงฆ์ เราจะได้อะไรเยอะ นี่ก็ของพระเป็นตัวอย่างที่มันหายไปกับพระรุ่นเก่า เลยไม่ได้ประสบการณ์ของท่านไว้เป็นประโยชน์
แต่ของพวกกระผมที่เป็นหมอเป็นอาจารย์ ก็ไม่แตกต่างเท่าไหร่ หมดแต่ตำแหน่งที่เป็นอาจารย์ งานประชุม แต่ยังเป็นหมอทางเดิม ผมก็ยังไปผ่าตัด ตรวจคนไข้เรียกว่า สเตตัสไม่เปลี่ยน ไม่เหมือนพวกนายทหาร เค้าหมดยศอำนาจ เพียงแต่ว่า หมดงานประชุมที่มันไม่ค่อยเกี่ยวข้อง
เกษียณแต่ในนาม ไม่ได้เกษียณแท้
เกษียณแบบผู้ว่าราชการจังหวัด หงอยเหงาว้าเหว่ อย่างอาชีพหมอได้เปรียบเยอะเลย เพียงแต่ว่า อย่างว่า อย่างน้อยให้ภาระรับผิดชอบต้องกังวลมันน้อยลงคือ ให้มีงานที่ต้องทำ แม้หนักไม่เป็นไร อย่าให้หนักใจ อย่าให้ต้องกังวล ได้แค่นี้พอ