แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : วันนี้จะถามเนื่องในโอกาสวันวาเลนไทน์ 14 กุมภา ???
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ทีนี้เด็กสมัยนี้จะยอมรับได้ไหม เด็กวัยรุ่นหนุ่มสาว
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : กลายเป็นแฟชั่น พอวาเลนไทน์ก็ต้องหาดอกไม้ ขนม ตามธรรมเนียมฝรั่ง เขาก็จะทำกันนะคะเด็ก???
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : อันนี้ก็จะต้องมีแง่อันหนึ่ง การทำเรื่องนี้นะ ก็คือว่านอกจากเรื่องความรักที่จะต้องมีความเข้าใจให้ถูกต้องแล้ว ก็คือพฤติกรรมในการแสดงออกอย่างนั้น คือการที่ไปสวมรับวัฒนธรรมตะวันตก เราควรทำด้วยปัญญา อย่าให้เขาดูถูกได้ว่าเป็นคนที่ไร้สติปัญญา สักแต่ว่าทำตามเขาไป หนึ่ง-รู้ไหมว่าประเพณีวาเลนไทน์เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วมันมีความหมายที่แท้จริงยังไง เราสักแต่ว่าทำตามๆ กันไป กลายเป็นคนไม่มีอารยธรรม เป็นคนที่สมเป็นประเทศด้อยพัฒนา ทีนี้ก็เรามองในแง่ของเรา เราจะนึกว่าทำอย่างฝรั่งนี่มันโก้มันดี เพราะลึกๆ นั้นเรามองเห็นว่าเขาเจริญกว่าเรา คือเขาเก่งกว่าเรา เขาดีกว่าเรา เรารู้สึกว่าเราทำอย่างนั้นแล้วเราจะดี คือเรายอมรับความด้อย ใช่ไหม ว่าเขาดีกว่า เขาสูงกว่า เราจึงรู้สึกว่า เราโก้เมื่อเราทำตามอย่างเขา นี่ประการที่หนึ่ง ทีนี้เราก็อาจจะสบายใจที่ได้ทำอย่างนั้น ดีใจ ทีนี้มองแง่ที่หนึ่งมองในแง่ตัวเอง ทีนี้มองจากแง่เขา สมมติว่าเป็นฝรั่งมาเห็นเราทำ เขาจะรู้สึกอย่างไร อาตมาเคยนั่งรถผ่านไป เห็นซุปเปอร์มาร์เกต หรือว่าห้างสรรพสินค้าบางห้าง ตอนจะขึ้นปีใหม่ merry christmas & happy new year แล้วแถมทำรูปกำลังเล่นสกีบนหิมะ ประเทศไทยมันมีหิมะให้เล่นเหรอ ทีนี้ลองคิดดูว่าถ้าฝรั่งเขามาเห็นเขาจะรู้สึกยังไง เราอาจจะมองเป็นโก้จริง แต่มองในแง่ของฝรั่ง เขาดูถูกไหม เยาเหยียดหยาม โอ้โห พวกคนไทยนี่มันหลงจนกระทั่งว่าไม่ได้คิดถึงสภาพความเป็นจริง ไม่ลืมหูลืมตาเลยเหรอเนี่ย ว่ามันมีหิมะให้เล่นหรือเปล่า ทำกันไปอย่างไร้เหตุไร้ผล เขามองแล้วเขาจะเย้ยหยันในใจ เขาดูถูกนะ นี่ประเภทหนึ่ง ความรู้สึกของฝรั่ง อันที่สองเขาอาจจะมีความรู้สึกว่า โอ้ ดีแล้ว พวกนี้ลืมหูลืมตาไม่ขึ้น โงหัวไม่ขึ้น อยู่ใต้อำนาจเราตลอดไป ใช่ไหม แม้จะขายสินค้า หรือจะอยู่ในความเป็นทาสทางวัฒนธรรมก็ตาม ก้คืออยู่ใต้เขาตลอดไป ทีนี้อาตมาว่าคนไทยเนี่ย ในระยะที่ผ่านมาเนี่ย ได้เคยชินกับนิสัย เป็นนิสัยของจิตเลย ที่จะเป็นพวกตามและรับ คอยรับเอาจากเขา คือสภาพจิตนี่นึกแต่จะรับเอาจากฝรั่ง แล้วก็เมื่อคอนรับเนี่ย มันก็กลายเป็นผู้ตาม เมื่อคอยแต่จะรับ ก็ย่อมต้องตามเขาเรื่อยไป ใช่ไหม จะรับเอา ก็ต้องคอยตามเขาสิ ถึงจะได้ เราไม่คิดบ้างหรือว่าเราเป็นผู้นำได้ เราจะต้องสร้างจิตสำนึกเป็นผู้นำ การที่เราจะเป็นผู้นำคือการที่เรามีอะไรจะให้แก่เขาบ้าง เราจะต้องนึกถามตัวเองขึ้นมาว่า เรามีอะไรให้แก่เขาบ้างไหม ในแง่ของสติปัญญา หรือจะเรียกว่าภูมิปัญญา หรือในแง่ของสิ่งอะไรที่ดีงาม ที่เป็นประโยชน์ มีอะไรที่ตัวเองจะรู้สึกว่ามีให้แก่ผู้อื่น ถึงจะภูมิใจได้บ้าง ไม่ใช่แต่คอยรับคอยตาม ก็จะต้องปลุกจิตสำนึกในการเป็นผู้นำ ผู้นำซึ่งมีอะไรที่จะให้แก่เขาบ้าง อันนี้อาตมาว่าสำคัญมาก ถ้าหากว่าเด็กและเยาวชนของเราที่จะเป็นอนาคตของชาติ ยังมีลักษณะนิสัยจิตใจแบบผู้ตามผู้รับอยู่อย่างนี้ ก็น่าเป็นห่วง นำประเทศไทยไปได้ ก็จะต้องรีบกัน ตื่นตัวขึ้นมามีการสำนึกในการที่จะเป็นผู้นำผู้นำที่มีอะไรจะให้แก่ผู้อื่นบ้าง อันนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่สำคัญ การรับวัฒนธรรมอะไรก็ตาม ให้ถามตัวเองว่าเป็นการกระทำของความเคยชินของนิสัย ที่จะรับจะตามหรือไม่ แล้วเป็นการที่ยอมรับความด้อยของตัวเองหรือเปล่า
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : มีเพื่อนมาขอหนังสือธรรมะของท่านเจ้าคุณ ก็จัดหนังสือไปให้ชุดใหญ่ ก็เห็นบอกว่าอยากจะมีความรู้ทางด้านพุทธศาสนา เขารับไปแล้วเขาก็อ่าน เขาก็ถูกใจมากกลับมา ซื่อไมโครเวฟมาให้เพื่อน ที่เพื่อนเอาหนังสือพุทธศาสนาไปให้เขา เขาบอกว่าเวลาที่ไปต่างประเทศ เวลาเขาไปเป็นทูตอยู่ต่างประเทศ เจอฝรั่งเจอใครต่อใครเนี่ย ไม่ว่าความรู้ได้มาทางด้านไหน ต่อให้เก่งฉลาดยังไง พูดอะไรออกมามันก็เฉย เพราะว่าเราเรียนรู้จากเขา คือเขาน่าจะก้าวไปกว่าเราตั้งหลายเท่า มีสิ่งเดียวที่ฝรั่งถามเขาแล้วถามเขาอีก คือพุทธศาสนาคืออะไร
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : เพราะเขาไม่มี
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : เขาก็ตอบไม่ได้ เขาก็อายมาก แต่เขาจะหาความรู้ที่ไหน คือเขาก็รู้สึกโมโหที่ว่าระบบการศึกษาไม่ได้สอนสิ่งนี้ให้เรา แล้วเขาก็ตอบฝรั่งไม่ได้ แล้วเขาก็พยายามจะหาหนังสือดีๆ อ่าน เขาก็ไม่รู้จะไปหาที่ไหน แล้วตอนนี้ทางกระทรวงต่างประเทศ concern เรื่องนี้ ที่จะให้รู้เรื่องศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : คือในแง่ของต่างวัฒนธรรมกัน มันจะมีการเปรียบเทียบ พอมีการเปรียบเทียบขึ้นมาปั๊บ มันก็จะมีการมองกันในแง่ใครเหนือกว่าใคร ทีนี้ถ้าใครเป็นผู้รับผู้ตาม ก็แสดงความด้อยลงไปอีก ก็ต้องมีอะไรให้แก่ผู้อื่น ถ้าเราจะรับอะไรเราต้องรับอย่างมีสติปัญญา ใช่ไหม รับอย่างมีความเข้าใจ แล้วก็รับเอามา ที่จะมาทำให้เกิดประโยชน์ ว่าทำยังไงให้เกิดประโยชน์แก่สังคมของเราบ้าง แล้วก็มาเป็นตัวประกอบเสริมให้เราได้มีคุณค่าบางอย่างดียิ่งขึ้น หมายความเรามีดีบางอย่างอยู่แล้ว เอาของเขามาเสริม แล้วเราก็จะเหนือยิ่งขึ้นไป ถ้าอย่างนั้นก็ไม่เป็นไร เพราะว่าวัฒนธรรม อารยธรรมต่างๆ ที่เจริญก้าวหน้า มันต้องอาศัยการรับจากอารยธรรมอื่น อารยธรรมตะวันตกที่เจริญขึ้นมานี้ แกรับจากที่ไหนไม่รู้ อย่างภาษาอังกฤษเนี่ย มีภาษาอังกฤษแท้กี่เปอร์เซ็นต์ กลายจากภาษาอะไรเยอะแยะไปหมด รับเข้าไป รับเข้าไป แต่ว่ามันมีอยู่ว่าเขาเป็นหลัก แล้วอื่นๆ นั้นมาเสริม ใช่ไหม พอได้หลัก อันอื่นเป็นเสริมแล้ว เขาก็ยิ่งสบาย เขาก็ยิ่งงอกงาม ยิ่งเจริญ ยิ่งเด่น ใช่ไหม แต่ถ้าไม่มีหลักซะเลย หมด ก็กลายเป็นตัวตาม เป็นตัวด้อยไปเลย ทีนี้ถ้าคนไทยเราจะรับอะไรจากฝรั่ง หรืออารยธรรมอื่น วัฒนธรรมอื่น ต้องจับหลักของตัวเองให้ได้ก่อน แล้วส่วนที่ดีของคนอื่น เราเลือกเอามาเลย เราเลือกอย่างรู้ทันนะ แล้วเอามาประกอบของเราปั๊บ เราไปได้สบาย เราก็จะอยู่ในภาวะผู้นำ
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : ทีนี้ปัญหาที่ว่าอย่างวาเลนไทน์เนี่ย คือเรานี่รับเขามาทั้งดุ้นเลย แล้วมีปัญหาเรื่องที่เขาพยายามจะโปรโมตเพื่อจะขายสินค้า
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : อันนี้ก็คือความรู้ไม่ทันไง
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : มันได้สร้างค่านิยม เกิดกระแสที่รุนแรง โฆษณาซะจน เด็กนี่รู้ไม่ทันแน่ๆ มันก็จะไหลไปตามกระแสรุนแรงมาก กระแสธุรกิจ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ใช่ กระแสธุรกิจ แล้ววัฒนธรรมก็เข้ามาด้วย คือไม่รู้ทันตั้งหลายขั้น ขั้นที่หนึ่ง-ไม่รู้ทันว่าประเพณีวาเลนไทน์มันเกิดขึ้นยังไง ก็ทำไปตามซะอย่างนั้นเอง ไม่รู้ความหมายว่าอะไร สอง-ก็ไม่รู้ทันการที่เขามาโปรโมตว่าเพื่อวัตถุประสงค์อะไร แล้วเราทำไปแล้ว เราอยู่ในฐานะเป็นอะไร เมื่อเราทำอย่างรู้ไม่ทัน เราก็กลายเป็นเหยื่อเขาไป เป็นเหยื่อ หรือหนักก็เป็นทาสไปเลย อย่างนี้ก็ช่วยตัวเองไม่ได้
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : คือเด็กวัยรุ่นนี่ การรับรู้เขายังจำกัด ก็เป็นทาสสิ่งนี้ได้ง่ายมาก
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ก็ถึงว่าต้องสร้างจิตสำนึกขึ้นมา มีจิตสำนึกในการที่ว่าจะต้องปลุกคนไทยให้มีความเป็นผู้นำและเป็นผู้ให้
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : แล้วพวกที่สร้างเด็กอย่างพวกครูอาจารย์ทั้งหลาย ก็ไหลตามไปกับเขาด้วย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ก็ไปก่อนแล้ว
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : แล้วจะทำยังไงกันคะท่าน
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : อ้าว ไม่รู้แหละ ตอนนี้เราก็ต้องหาจุดใดจุดหนึ่งมาเริ่มก่อน??? ก็นั่นแหละ เวลามองวัฒนธรรม ให้ดูว่าเวลาเราทำพฤติกรรมอย่างนั้น สมมติว่าเจ้าของวัฒนธรรมเองเขามาเห็น เขารู้สึกยังไง เขาเห็นคนไทยเต้นยอกๆแยกๆ อย่างเขา เขารู้สึกยังไง เขารู้สึกดูถูกไหม เราไม่เคยมองในแง่ของเขาบ้าง เรามองแต่ตัวเอง เรานี่ทำอย่างนี้โก้ดี แต่มานึกสิ ฝรั่งเขามามองปั๊ย โอโห พวกนี้ ไม่ลืมหูลืมตา ไม่รู้อะไรเป็นอะไร ทำตามเขาไป ใช่ไหม เขาดูถูก ฉะนั้นต้องนึกบ้าง เรามีอะไร มีอะไรดีที่น่าภูมิใจ ไม่มีอะไรที่เป็นหลักที่น่าภูมิใจในตัวเลยหรือ ??? ไม่ใช่ในแง่นั้นนะ เจริญพร
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : ไม่ใช่ คนละแบบ ตอนนี้การไหล
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : แต่ว่าถ้าจำเป็นต้องปลุกมานะบ้าง ก็เอามาใช้ในแง่นี้ มันจะเป็นประโยชน์กว่าที่จะเป็นมานะกันเอง คือว่ามันมีมานะนะ คือพวกนี้ที่ไปเรียนแบบฝรั่งเพื่อจะเอามาอวดโก้กับพวกตัว เอามาข่มพวกตัวเอง นี่มันกลายเป็นว่าเป็นเหยื่อเขา เบี้ยล่างเขา เสร็จแล้วก็มาข่มพวกตัวเอง เพื่อจะโก้ในหมู่พวกตน เด่นในหมู่พวกตนว่าทำได้อย่างฝรั่ง แต่เสร็จแล้วไม่รู้ว่านั่นคือแสดงความด้อยให้ฝรั่งเห็น ใช่ไหม ทีนี้เราทำยังไงจะพลิกกลับได้ ทำให้เราเหนือกว่าฝรั่ง ใช่ไหม โดยที่ช่วยนำพวกเราเองขึ้นไป อันนี้มันจึงจะถูกต้องกว่า นี่กลายเป็นว่าเรามาแข่งกันเองแล้วมาขัดกันเอง
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : ทีนี้วิธีการละคะท่าน คือการไหลกันของกระแสวัฒนธรรมเนี่ย คือการถ่ายเท ทีนี้มันมีจุดหนึ่งที่มันจะประสานกัน ที่จะเข้าใจกันได้ ระหว่างชาติ ระหว่างต่างวัฒนธรรม คือการรับการให้กันอยู่ตรงไหนที่จะเป็นจุดที่พอดี ที่จะรักษาความเป็นตัวของตัวเอง แล้วก็จุดสมดุลนี้เอาไว้ได้
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ต้องมีความเป็นมิตร มีความปรารถนาดีต่อกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ใช่ไหม ไม่ใช่วัฒนธรรมโน้นมา แสดงออกต่อวัฒนธรรมนี้ มาอ่อยเหยื่อเพื่อเอาผลประโยชน์กลับไป อย่างนี้ถือว่าไม่ซื่อต่อกัน เอาเปรียบ ทีนี้ลักษณะนี้มีหรือเปล่า การที่เขาเข้ามา นี่แสดงว่าเราก็ต้องรู้ทัน หลักสำคัญก็คือการรู้เท่าทัน ใช่ไหม ฉะนั้นเด็กไทยต้องรู้เท่าทันเรื่องวัฒนธรรมอื่น ว่าวัฒนธรรมอื่นที่เข้ามานั้นมันเป็นยังไง เรื่องแต่ละเรื่องที่เข้ามามันมีเหตุมีผลยังไง
ผู้ฟัง (ผู้ชาย) : เมื่อกี้เราพูดถึงเรื่องวัฒนธรรมที่มาพบกันแล้วก็หาจุดสมดุลที่จะอยู่ด้วยกันได้ อย่างไปด้วยกันได้
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : อันนี้มันก็ต้องมองจุดหมายระยะยาวด้วย ความจริงแล้วเราต้องไม่มีความรู้สึกหวงแหนกีดกัน หรือว่า มัจฉริยะ ทางพระเรียก มัจฉริยะ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขของหมู่มนุษย์เนี่ย ในที่สุดมันต้องผสานกลมกลืนกัน แต่เราต้องมองว่าเป้าหมายระยะยาว จะสำเร็จได้ด้วยดีอย่างไร แต่ว่าเราต้องก้าวไปอย่างมีขั้นตอน ไม่งั้นมันจะพลาดตั้งแต่ต้น คือในตอนต้นมันต้องมีความเป็นตัวของตัวเองอยู่ เพื่อให้การประสานนั้นเป็นไปอย่างที่มันมีความชอบธรรม หรือจะเรียกว่ามีความยุติธรรมด้วย แล้วมันก็จะได้ไม่เกิดความรู้สึกที่เป็นปมขึ้นภายหลัง ใช่ไหม ฉะนั้นมันจะต้องมีความเสมอภาคกันในระหว่างวัฒนธรรม แล้วก็ความเข้าใจดีต่อกัน ในการที่มาคบหา การมีความเข้าใจ ที่จะรู้ เห็นใจ เข้าใจ วัฒนธรรมของเขาว่ามีเหตุผลเบื้องหลังที่เขาต้องเป็นอย่างนั้น แล้วเขาก็ต้องเข้าใจเราว่าเรามีเหตุผลเบื้องหลังภูมิหลังเป็นยังไง เช่นเหตุผลในทางประวัติศาสตร์ ถ้าอย่างนี้แล้วก็คบกันได้ แล้วก็รู้ว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรมก็เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่ระหว่างวัฒนธรรมใหญ่ๆ เท่านั้น แม้แต่คนในประเทศเดียวกัน สังคมเดียวกัน อยู่ต่างถิ่นกัน มันก็ต้องมีความแตกต่าง เพราะภูมิหลังมันไม่เหมือนกัน ความแตกต่างนี้เราต้องยอมรับ แต่ละถิ่นจะให้ประพฤติเหมือนกันยังไงล่ะ มันอยู่กับภูมิหลังของแต่ละถิ่น สภาพแวดล้อมมันต่างกัน แม้แต่อย่าไปว่าถึงสังคมใหญ่ในแต่ละถิ่น แม้แต่ในถิ่นเดียวกัน คนละบ้านมันยังมีข้อแตกต่างเลยใช่ไหม อย่าว่าแต่คนละบ้านเลย คนละคนก็ยังมีข้อแตกต่าง ทีนี่วัฒนธรรมไม่ใช่อะไร ถ้าเรามองเป็นชาติประเทศหนึ่งเป็นบุคคลคนหนึ่ง ก็หมายความมันมีลักษณะประจำตัว เราก็ต้องเคารพลักษณะประจำตัวของเขา นี่ก็เหมือนกับคนสองคนเนี่ย มีภูมิหลังมีอะไรประพฤติสั่งสมมา กิริยาอาการก็มีแบบของตัวเอง ทีนี้จะให้อีกคนหนึ่งไปเลียนแบบอีกคนหนึ่งยังไง ถูกไหม มันไม่ถูกต้อง เขาก็ต้องมีความประพฤติตามแบบของเขา เป็นด้วยเหตุผลอย่างนั้น แต่ทีนี้ว่าแต่ละคนก็เรียนรู้จากการเข้ามาคบหากันได้ ยอมรับกันได้ เข้าใจซึ่งกันและกัน แต่ว่าประโยชน์ที่ได้ในการพัฒนาตน คือเราอาจจะได้เรียนรู้เองว่าบางอย่างเราบกพร่อง บางอย่างเราอาจจะประพฤติไม่ถูก เราจะได้มีโอกาสปรับตัว เราเรียนรู้จากคนอื่น แล้วเขาก็เรียนรู้จากเรา ในแง่นี้มันก็ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป แต่เป็นไปอย่างมีสติปัญญา เหมือนกับแต่ละวัฒนธรรม คนละสังคมมาพบกันใช่ไหม เมื่อคบหากันได้ดีแล้วก็ได้เรียนรู้กัน มันก็กลายเป็นเรียนรู้สิ่งที่ดีสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนาตัวเองจริงๆ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงสักแต่ว่าเลียนแบบไปโดยไม่รู้เรื่องรู้ราวแล้วก็ทำแบบโง่เขลา แล้วทำไปไม่สมเหตุสมผล ใช่ไหม เหมือนกับคนสองคนอย่างที่ว่าพบกันแล้วให้อีกคนหนึ่งเลียนแบบทำตามกิริยาอาการคนหนึ่งไปเลย โดยที่มันกลายเป็นไม่สมจริง นี่ก็เหมือนกัน ทำตามเขาก็รู้สึกโก้รู้สึกอะไรต่างๆ ทีนี้ถ้าทำอย่างมีเหตุผลมันก็เป็นการปรับปรุงพัฒนาตัวเอง ทีนี้ต่อไปนานๆ เข้า เมื่อมาอยู่ร่วมกันได้ดีแล้ว ก็เหมือนกับคนที่มาอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวเดียวกัน แล้วอยู่กันได้ ก็ประสานกลมกลืน ความแตกต่างก็เป็นเพียงส่วนที่จะมาหลากหลายในการที่อยู่ร่วม บางอย่างก็มาเป็นการประสานเสริมกันและช่วยให้มันมีครบถ้วน ความแตกต่างบางอย่างมันช่วยเสริมให้สมบูรณ์ คนนี้มีความสามารถอันนี้ คนนี้มีความสามารถด้านนี้ คนนี้เก่งด้านนี้ คนนี้เก่งด้านโน้น อะไรอย่างนี้ มันก็ทำให้สังคมนี้มีความพรั่งพร้อมยิ่งขึ้น ความหลากหลายนั้นก็ช่วยเติมให้สังคมนั้นมีความบริบูรณ์ อย่างนี้ก็เหมือนกันแหละ พอวัฒนธรรมทั่วโลกมาอยู่ร่วมกันด้วยดี เข้ากันด้วยลักษณะที่ถูกต้อง ท่าทีที่เหมาะสม แล้วทำให้สังคมของโลกมีความพรั่งพร้อม กลายเป็นอารยธรรมมนุษย์โดยส่วนรวมที่ดี ที่เจริญก้าวหน้า ในที่สุดมนุษย์ก็จะต้องคลาย ทีนี้ตอนนี้มีปัญหา คือมนุษย์จะมีความหวงแหนกีดกันกัน เช่นขณะนี้ปัญหาเรื่องสีผิว เรื่องเชื้อชาติอะไรต่างๆ เรื่องศาสนาเนี่ย ซึ่งมันแสดงว่ามนุษย์ยังไม่พัฒนาพอ เพราะว่าเมื่อพัฒนาพอแล้ว ทางพระบอกหมด มัจฉริยะ วัณณมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกันกันด้วยเรื่องวรรณะ เช่น สีผิว กุลมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกันกันด้วยเรื่องตระกูล ตระกูลนี้ก็หมายถึงพวกนั่นเอง แบ่งพรรคแบ่งพวก แบ่งกลุ่มแบ่งสังคม กุลละ นี่ไม่ได้หมายความแค่ตระกูลธรรมดา หมายถึงว่าเผ่าชนอะไรพวกนี้ แล้วก็ยังมี มัจฉริยะ อื่นๆ อีก แค่ 2 อันนี้ มนุษย์ก็จะไปไม่รอดอยู่แล้ว บอกพระโสดาบันเป็นคนพัฒนาประเทศชาติ ถึงขั้นโสดาบันนี้ไม่มีมัจฉริยะ เลย ฉะนั้นจะเป็นสังคมอุดมคติอย่างที่ว่า ทีนี้ในแง่ปุถุชนก็ต้องพยายาม ไม่ใช่ไปย้ำ มัจฉริยะ ทีนี้ตัวที่เราเห็นในสังคมวัฒนธรรมต่างๆ มันมีหลายสังคมที่เป็นแบบมัจฉริยะ ที่ไปเสริมย้ำใช่ไหม คือไม่ยอมที่จะไปกลมกลืนกับพวกอื่น ถือที่จะต้องย้ำของตัวเอง แล้วบางทีก็ถึงขนาดที่ว่าเข้าไปทำลายวัฒนธรรมอื่นหรือพวกอื่น ศาสนาอื่นแล้วชอบธรรม ทำแล้วกลายเป็นดี อย่างนี้ก็หมดทางเลยสำหรับโลก ฉะนั้นถ้าไปเป็นขั้นเป็นตอนอย่างถูกต้อง ไม่มีปัญหา เรามองวัฒนธรรมต่างกัน เหมือนกับคนสองคนที่มันต้องมีความต่างกันเป็นธรรมดา มาคบหากันแล้วได้ส่วนที่ดีมีประสานมาเสริมกัน แล้วก็ได้เรียนรู้ ได้พัฒนาขึ้นไป แล้วมาอยู่ร่วมกันได้ดี ใช่ไหม ไม่มีปัญหา นี่ถึงที่สุดแล้ว เรามองให้ถูกต้องแล้วเนี่ย การที่เรามีความระมัดระวังในเรื่องวัฒนธรรมอะไรต่างๆ ที่มีความภูมิใจนี่ มันเป็นวัฒนธรรมปฏิบัติที่จะให้เขาพัฒนาตัวเองไปอย่างถูกต้อง อย่างที่ว่า ไม่ใช่เหมือนกับคนสองคนมาคบกันแล้ว ให้อีกคนไปเลียนแบบตามอย่างไปเรื่อย ไม่ลืมหูลืมตา พอเห็นเป็นโก้ มันก็จะไม่ได้ลักษณะที่ดีแท้ ไม่เป็นการพัฒนาตัวเองเลย เพราะการเลียนแบบไม่ใช่การพัฒนาใช่ไหม มันต้องเป็นการเรียนรู้ ไม่ใช่เลียนแบบ เมื่อเรียนรู้แล้วเขาปรับปรุงตัวเอง อันนั้นได้เลย ทีนี้เราไปคบกับวัฒนธรรมฝรั่ง เป็นการคบแบบเรียนรู้หรือเลียนแบบ อันนี้เป็นข้อถามเบื้องต้นเลย ถ้าเป็นการเลียนแบบแสดงว่าการศึกษานี้ไม่มีความหมาย นั่นไม่ใช่การศึกษาแล้ว นั่นคือถ้าเรามองว่ามีกิจกรรมการศึกษาเป็นงานอย่างหนึ่งของสังคม การศึกษานั้นจะล้มเหลวหรือเปล่า การศึกษาจะต้องสอนคนให้เรียนรู้ไม่ใช่เลียนแบบ
ผู้ฟัง (ผู้ชาย) : อย่างนั้นก็แสดงว่าการที่เราเลียนแบบวาเลนไทน์ก็เป็นปัญหา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ก็เป็นปัญหาสิ ก็มันไม่มีการศึกษา เพราะการศึกษาต้องเริ่มที่การเรียนรู้ เมื่อไม่มีการเรียนรู้ ก็ไม่ใช่การศึกษา การเลียนแบบไม่ใช่การศึกษา เป็นการเลียนแบบ ก็มีแต่ความรู้สึกโก้ตามเขา ไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่ตัวทำ ไม่เข้าใจว่ามันคืออะไรเป็นยังไง ไม่เข้าใจเหตุผลในเรื่องนั้น แล้วไม่เข้าใจคุณโทษประโยชน์ที่ต้องการ ว่ามันจะมีประโยชน์กับเรายังไง ใช่ไหม ทำเป็นโก้ ทำด้วยความรู้สึกโก้เท่านั้น ถ้าเป็นอย่างนี้ล่ะก็จบ ใช่ไหม
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : อันนี้คืออย่างวุฒิภาวะ maturity ของคน ถึงขั้นที่เรียกว่าจะหาจุดที่ว่าเป็นตัวของตัวเอง มันต้องอาศัยการพัฒนาสติปัญญาอะไรต่ออะไรนี่มาก ในขณะที่สังคมมันก็มีปัญหาตั้งแต่ปัญหาจุดเล็กที่สุด ครอบครัว อะไรต่างๆ มันไปขัดขวางการพัฒนาอันนี้ของเด็กมากเลย คือทุกอย่างมันดูเหมือนเป็นปัญหาที่มันขัดขวางการพัฒนาไปทั้งหมด ทีนี้การพัฒนาจุดนี้ให้ขึ้นมาของคนในสังคม จะต้องอาศัยผู้นำทางปัญญามาก
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ก็ต้องมีกัลยาณมิตรไง
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : เดี๋ยวนี้ก็ไม่ใช่หาง่าย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ไม่ใช่หาง่าย ก็คือสื่อมวลชนของเราเป็นกัลยาณมิตรได้ไหม แล้วสื่อมวลชนเมื่อนำเสนอสิ่งต่างๆ นำเสนอแบบอะไร โดยตัวทำหน้าที่กัลยาณมิตรหรือไม่ ที่จะปลุกเร้าให้เขาใช้ความคิดสติปัญญา ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ หรือว่าสื่อมวลชนทำหน้าที่เพียงปลุกเร้าความต้องการ กระตุ้นให้เขามีความต้องการขึ้นมา โดยแม้แต่ตัวเองก็มีแรงจูงใจแอบแฝง ต้องการผลประโยชน์เป็นต้น ถ้าอย่างนี้ก็จบ ใช่ไหม สื่อมวลชนก็ไม่มีบทบาทในการพัฒนามนุษย์ ไม่มีบทบาทในการศึกษา
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : คือดูแล้ว ทุกจุดดูเหมือนจะ fail ไปหมด ตัวสื่อมวลชนเองก็ประกอบไปด้วยคนที่เข้ามาทำงานในนั้น สร้างสรรค์อะไรขึ้นมาในสิ่งที่เขาคิดเขาทำ คือพวกนี้เขาก็ได้รับการสั่งสอนอบรมมา การศึกษามา ก็ในสังคมที่ปัญหาเยอะแยะ คือ fail ไปหมด แทบทุกอย่าง เขาก็ย่อมมาสร้างจุดต่างๆ ที่มันเสียหายในสังคมขึ้นมาต่อไป อย่างนี้ไงคะ คือทำยังไงมันถึงจะมีวิธีการอะไรที่เหมือนกับเรามองไปแล้วทุกอย่างมันปัญหาเยอะไปหมด
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : คือหมายความว่ามันจ่อท้าย มันหมุนๆ ไปเรื่อย
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : คือเราจะทำอะไรที่มันมีผลในการแก้ปัญหาให้ได้ตรงจุด แล้วก็คือมีผลในวงกว้าง ที่ว่าในที่สุดแล้วมันจะเปลี่ยนแปลงได้ หรือว่าในทางที่ดีที่ท่านพูดมาทั้งหมด เป็นสังคมอุดมคติอย่างนี้
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ก็ต้องมีขั้นมีตอน แต่อย่างน้อยยอมรับความจริง แต่ว่าไม่ใช่ยอมรับแล้ว ยอมรับสภาพ ยอมรับความจริง ไม่ใช่ยอมรับสภาพ ยอมรับความจริงนี่ไม่ใช่ยอมรับสภาพแล้วเฉยเลย ก็กลายเป็นยอมตาม แต่อาจจะพูดอีกสำนวนหนึ่งว่า ยอมรับความจริง แต่ไม่ได้ยอมตามนั้น ยอมรับความจริงเพื่อรู้จุดที่จะแก้ไข ทีนี้พอยอมรับความจริงแล้ว เราจับจุดที่จะแก้ได้ เราก็ไม่ยอมตามนั้น เราไม่ยอมปล่อยตัวไปตามนั้น เราก็แก้ไข ทีนี้จะแก้ไขอย่างไร เราก็ต้องยอมรับความจริงว่ามันหมักหมมมานานต้องแก้ไขยาก ถ้าไม่ยอมรับความจริงนี่เดี๋ยวเราจะไปท้อ โอ้ ทำไมเราแก้ไม่สำเร็จ ไม่ก้าวหน้า ก็มันหมักหมมมานาน แต่ว่าเราจะต้องเพียรพยายาม ว่าจะเริ่มจุดไหนจุดหนึ่งขึ้นมาก็ได้ จุดเริ่มซะก่อนนะ แล้วก็หาทางขยายออกไป ก็ปลุกเร้าอย่างน้อย เช่นว่าปลุกเร้าจิตใจ แล้วถ้ามีส่วนมีบทบาทในการศึกษาก็ให้การศึกษานี้มามีบทบาทในการแก้มากๆ เพราะว่าตัวสำคัญก็คือการศึกษา ที่จะผันการเลียนแบบมาเป็นการเรียนรู้
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : ตอนนี้ผู้นำทางสติปัญญาให้สังคมนี่หายาก จำเป็นต้องมี
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : จำเป็น ก็คือการที่เริ่มด้วยกัลยาณมิตร เพราะว่าเขาเอง เขาไม่มีสติปัญญา ก็ต้องมีกัลยาณมิตร มีสติปัญญามาช่วยชี้ มาช่วยแนะ มาช่วยจี้จุด ยาวแล้วนะเนี่ย โอ้โห แล้วเวลาออกไปจะเป็นหนังสือเล่ม
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : น่าจะเป็นเล่มใหญ่ ตอนแรกว่าจะพิมพ์บางๆ
ผู้ฟัง (ผู้ชาย) : แต่มีประโยชน์มากเลยครับ ที่ท่านเทศน์มาทั้งหมดนี่มีประโยชน์จริงๆ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ขอโมทนา
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : อย่าง maturity หนูยังติดใจอยู่นิดหนึ่ง อย่างการรับรู้ วุฒิภาวะที่จะรับรู้ได้ คืออย่างหลักการของพระพุทธศาสนา คือไม่ใช่ว่าจะเข้าใจได้ง่ายๆ ปฏิบัติตามได้ง่ายๆ ฉะนั้นเด็กจะต้องเจริญวัยขึ้นมาถึงที่เขาจะเข้าใจ คือยอมรับได้จริง เข้าใจจริงๆ ว่า อันนี้มีประโยชน์กับเขา ฉะนั้นช่วงก่อนที่เขาจะถึงวัยนั้น คือมีวุฒิภาวะโตพอที่จะรับรู้อันนั้นได้ ช่วงนั้นก็คือช่วงสำคัญ ช่วงนี้เขาจำเป็นต้องอาศัยผู้นำ ซึ่งตอนนี้ถ้ามองไปถึงการศึกษาแล้ว นี่มัน fail แล้วมันเหมือนกับ hopeless ไม่มีความหวังเลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : นี่แหละคือ สำหรับเด็กที่ยังไม่มีปัญญาที่จะใช้ความคิดเป็นของตนเอง ไม่มีความเป็นตัวของตัวเองเนี่ย แกก็มีความโน้มเอียงที่จะเลียนแบบ แรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการเลียนแบบก็คือความรู้สึกโก้ ตามเด่น ได้สนองความจูงใจที่เรียกว่ามานะ ความอยากเด่น อยากเป็นพิเศษเหนือใครอะไรอย่างนี้ ทีนี้ตัวที่จะมาทำให้เกิดการเลียนแบบนี้ก็คือศรัทธา แกศรัทธา แกมีความนิยมชมชอบ แกก็จะไปตามนั้น ทีนี้แกมีความเชื่ออยู่ในใจว่าวัฒนธรรมตะวันตก มันเจริญ คนฝรั่งเก่ง ความรู้สึกนี้มันฝังอยู่ ก็ศรัทธาฝรั่ง นี่แหละ เมื่อศรัทธาเขาก็จะตามใช่ไหม ในระยะนี้ที่ไม่มีสติปัญญาพอ ตัวแก้ก็คือขุดตัวมานะขึ้นมา ก็ใช้มานะให้เป็นประโยชน์ ที่เขาเอามานะนี้มาใช้ เขาตามฝรั่งก็เพราะมานะ เพื่อเขาจะมาอวดพวกตัวเอง ใช่ไหม ว่าฉันแน่กว่าพวกเธอ คือพวกเราด้วยกันนั่นแหละ ในหมู่พวกเรา ฉันแน่กว่า แต่ก็คือยอมรับว่าฉันนี่แย่หรือด้อยกว่าฝรั่ง แต่ว่ามาอวดพวกตัวเอง ทีนี้เราก็ใช้มานะกลับมาเป็นอุบาย ปลุกขึ้นมาให้นึกถึงความเป็นคนไทยว่า ไทยควรจะเป็นผู้นำได้ กระตุ้นเร้าศักยภาพของเขาให้เขาเห็นว่าเขามีศักยภาพที่จะนำได้ นี่ก็แง่หนึ่ง และแง่ที่สองก็คือว่าพร้อมกันนั้นเราก็ไม่ละทิ้งที่จะต้องชี้แจงเรื่องเหตุผลเรื่องความเข้าใจต่างๆ ในเวลาที่เราชี้แจงเนี่ย เด็กส่วนมากจะตามไม่ได้ จะไม่เข้าใจ แต่จะมีเด็กพวหนึ่งที่มีปัญญา ที่มีการเจริญเติบโตทางสมองไว มีวุฒิภาวะขึ้นมา เด็กพวกนั้นเข้าใจ แล้วเด็กพวกนี้ซึ่งเข้าใจเนี่ย เก่งว่าพวกเด็กเหล่านี้อยู่แล้ว ส่วนใหญ่ แล้วเด็กมันตามกันเองด้วย เพราะฉะนั้นเราจะได้เด็กพวกนี้ แม้จะเป็นส่วนน้อย พอพวกนี้ยอมรับได้ ใช่ไหม พวกนี้ก็จะกลายเป็นตัวชักนำกันเองในหมู่เด็กเลย นี่อีก 2 อัน แง่นี้เราก็จะได้ด้วย จะต้องทำอันนี้ขึ้นมา ขณะนี้เด็กที่เราว่าเก่งเนี่ย จะเป็นเด็กประเภทที่จะยอมรับความด้อยของตัว ใช่ไหม ไปยอมรับว่าตัวด้อยกว่าฝรั่ง ทีนี้มันไปแย่ตรงนี้ ทีนี้จะทำยังไงให้เด็กพวกนี้ได้เข้าใจความจริง แล้วก็กลับมาเป็นผู้นำที่แท้ในหมู่พวกตัวเอง ไม่ใช่ไปเอาฝรั่งมาข่มพวกตัวเอง แต่ทำตัวเองให้มีคุณค่า มีความสามารถที่พวกเขายอมรับเอง ให้พวกด้วยกันยอมรับ แล้วก็ตามกัน ตอนนี้ก็ต้องปลุกกันหน่อย พอเห็นทางนะ
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : ??? คือบางคนชอบบ่น สมมติไปอินเดีย เขาจะชอบพูดว่าคนอินเดียเขารักษาประเพณี อย่างเช่นวันเพ็ญเดือนสิบสองนี่เขาไปที่ริมแม่น้ำ ก็จะพร้อมใจกันมาก แน่นไปหมดเลย แล้วก็จะมาเอาเป็นข้อเปรียบเทียบว่า อย่างคนไทยหละหลวมอะไรต่ออะไร การที่ปลูกฝังเรื่องศรัทธานี่มันง่าย มีการสอน ยูต้องทำอย่างนี้ มันง่าย แล้วก็ทำให้คนมารวมกันง่ายมาก ทีนี้ทางหลักในพระพุทธศาสนาไม่ใช่อย่างนั้น ยูต้องรู้จักคิด ยอมรับด้วยใจทั้งหมด แล้วยูถึงปฏิบัติตามได้ แต่กว่าจะถึงขั้นนั้นมันจะต้องโตพอแล้ว ที่ว่าเป็นเหตุเป็นผลรับรู้ได้แล้ว คือ beyond ศรัทธาขึ้นไปอีก
ผู้ฟัง (ผู้ชาย) : จริงๆ แล้วบางทีมันอาจจะต้องผสมผสานกันระหว่าง 2 ส่วน
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ก็พุทธศาสนาก็ยอมรับไงเรื่องของศรัทธา ตอนต้นเราต้องใช้นะ แม้แต่เราต้องใช้มานะที่มันได้ขัดเกลาขึ้นมาเป็นตัวแทนมานะที่มันผิด นี่ก็คือใช้อกุศลกรรมมาเป็นปัจจัยกับกุศล แต่ว่าเราผู้ที่จะทำเนี่ยมีความรู้เท่าทันเรื่องที่ทำ รู้แนว รู้ทิศทาง
รู้เป้าหมาย ไม่ใช่ทำโดยเข้าใจว่าสิ่งนั้นดีแล้ว ต้องเข้าใจจุดนี้
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : แต่ศรัทธาของพระพุทธศาสนาก็ต้องประกอบด้วยปัญญา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : แล้วก็เป็นทางนำสู่ปัญญา ศรัทธานี่เป็นตัวฐาน เป็นตัวที่จะเป็นสื่อโยงไปหาปัญญานะ ศรัทธา
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : ทีนี้ศรัทธาในศาสนาอื่นเขาใช้วิธีขู่ ถ้ายูไม่เชื่อ ยูจะอย่างนั้นอย่างนี้
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ศรัทธาแบบนี้มันมีภัยระยะยาว มันทำให้เบียดเบียนผู้อื่น แล้วเกิดทะเลาะเบาะแว้งกัน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่โตเลย ที่เป็นปัญหาสุดท้ายของมนุษย์จะอยู่ที่นี่นะ ปัญหาที่มนุษย์จะตันเลย มนุษยชาติทั้งหมด ประชาธิปไตยในแต่ละประเทศ มันไปได้ถึงตอนที่ว่า ตอนนี้มันมีกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจที่ประกบศีรษะอยู่ ตัวเองก็จะถอนตัวให้พ้นจากการครอบงำ ทีนี้พออำนาจที่ครอบงำออกไปแล้ว เป็นอิสระได้ ตอนนี้กำลังทะเลาะกันเอง จะแยกกลุ่มกันอย่างนี้ ศาสนา เชื้อชาติ ผิว เหมือนสังคมอเมริกัน ตอนนี้ก็มาถึงจุดนี้แล้ว เป็นสิทธิเสรีภาพของแต่ละบุคคลได้แล้ว ถึงจุดสบายไม่มีตัวครอบงำแล้ว ทีนี้ทะเลาะกันเองแล้ว ตอนนี้แต่ละฝ่ายก็จะถือ ดูถูกกันบ้าง ยึดในเชื้อชาติบ้าง อะไรอย่างนี้ ไม่ยอมกลมกลืนกลับผู้อื่น ถือว่าการทำต่อผู้อื่นแล้วเป็นสิ่งที่ไม่มีบาป อะไรอย่างนี้นะ ก็ตันตรงนี้เลย คือในสังคมโลกก็จะแบบนี้เลย พวกยึดถือในผิว ในเชื้อชาติ ในศาสนา
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : แล้วเขาปลูกฝังกันมานานๆ อย่างนี้ ถอนยาก
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ถอนยาก นี่แหละจะเป็นจุดที่ว่าประชาธิปไตยไปไม่รอด อาตมาถึงได้เตือนไว้ในสร้างสรรค์ประชาธิปไตยในที่สุด เพราะว่าหลุดพ้นเป็นอิสระ มีสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล จบแล้ว จะมาตันที่นี่ ตัวนี้จะเด่นขึ้นมาแทน ตอนนั้นมีอำนาจมาครอบงำ ก็นึกแต่อย่างเดียว ทำไงจะสู้กับเจ้านี่ให้หลุดออกมา พออำนาจครอบงำนี้พ้นไปเท่านั้น ตอนนี้แตกเป็นกลุ่มๆๆ แล้วก็แย่งชิงกันเอง แย่งชิงผลประโยชน์ ทีนี้ว่าถึงเรื่องประเพณี การยึดถือในประเพณีนี้ มันก็เกิดจากเหตุหลายอย่างต่างกัน พวกหนึ่งก็คือความงมงาย อย่างในอินเดียไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีนะในการยึดถือประเพณี หนึ่ง-ความงมงาย สอง-ปฏิกิริยา เป็นปม หมายความว่าเช่น เคยเป็นเมืองขึ้นเขา ใช่ไหม ความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ที่เคยเข้ามาครอบงำ ทำให้ยึดมั่นในของตัว เพื่อแสดงปมขึ้นมา ฉะนั้นเป็นปมในใจ แบบนี้ก็ไม่ปลอดภัย มันไม่ได้เกิดจากสติปัญญา ทีนี้ทำยังไงเราจะให้คนรักษาประเพณีด้วยความเข้าใจคุณค่าประโยชน์ที่แท้จริง ใช่ไหม มันเป็นสิ่งที่ยาก แต่ว่าเราต้องพยายาม ประชาธิปไตยจะเดินไปด้วยดี ก็ต้องมีคนให้สติปัญญาอย่างนี้ ใช่ไหม ทีนี้ข้อสำคัญก็คือว่า มันไม่สามารถเข้าสู่แนวทางนี้ ความงมงายก็ไม่เอา ความรู้สึกที่เป็นปม ที่เกิดเป็นปฏิกิริยาต่อผู้ที่เคยครอบงำตนก็ไม่มี ของไทยนี่ชัด ไม่มี ใช่ไหม เพราะไม่เคยเป็นเมืองขึ้นใคร และไม่มีปฏิกิริยาเรื่องนี้ ก็เลยได้แต่เห่อตามเขา กลายเป็นเห่อไป แทนที่จะมีความเป็นตัวของตัวเอง ใช่ไหม แต่สำนึกในคุณค่า มีสิ่งที่ดีของตัวเนี่ย ฉะนั้นอาตมาจึงบอกว่า พอไปๆ นานๆ เลยกลายเป็นมีนิสัยของผู้รับและผู้ตาม ซึ่งเคยชินในจิตใจคนไทยปัจจุบัน ตั้งแต่เด็กไปจนกระทั่งถึงนักการเมือง ผู้ปกครองประเทศเลย มีสภาพจิตของการเป็นผู้รับและผู้ตามนี้มาก คือพอนึกอะไรปั๊บ นึกอย่างนี้ จะรับอะไรจากเขา เขามีอะไรให้เรา จะตาม ใช่ไหม โดยไม่รู้ตัวหรอก เราไม่โทษเขา เพราะเราปลูกฝังกันมานาน มันเคยชิน พอนึกอะไรขึ้นปั๊บ ในแง่ที่สัมพันธ์กับต่างประเทศ ในแง่ที่สัมพันธ์กับอารยธรรมตะวันตก พอนึกปั๊บมานึกว่าเขามีอะไรให้เราตาม ให้เรารับ เราจะรับอะไรจากเขา ไม่เคยนึกในแง่ว่าอันนี้ถึงฝรั่ง เรามีอะไรให้เขา ใช่ไหม เพราะฉะนั้นเราก็ต้องเตือนให้เขาสำนึก เพราะเขาไม่รู้ตัว เขาไม่รู้ตัวว่าเขาอยู่ในสภาพจิตแบบนี้ เป็นผู้รับและผู้ตามจนเคยชิน ต้องปลุกว่าเดี๋ยวนี้ท่านอยู่ในสภาพอย่างนี้นะ เราจะต้องเป็นผู้นำเขาได้ แล้วจะต้องมีอะไรที่จะให้กับผู้อื่น พอนึกถึงเขาปั๊บ เราต้องนึกว่า เอ๊ะ เรามีอะไรจะให้เขา ก็เปลี่ยนจิตสำนึกกันใหม่
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : แม้กระทั่งในวงราชการชั้นสูงนะคะ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : เป็นตลอด จนกระทั่งหมด
ผู้ฟัง (ผู้หญิง) : ดิฉันทำอยู่ฝ่ายที่ต้องหาทุนเข้าประเทศ ต้องไปเจรจาอะไรต่ออะไร พยายามหาเคสต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ ถึงจะไปขอทุนเขามาได้
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ใช่ คือว่ากิจกรรมอะไรต่างๆ มันทำกันมาจนกระทั่งลงร่องเลย จนกระทั่งว่าสภาพจิตเป็นอย่างนั้นแล้ว เวลานึกคิดขึ้นมา ถึงฝรั่งปั๊บ นึกว่ามีอะไรจะรับจากเขา ใช่ไหม ??? เนี่ยยอมรับความด้อยของตัวเอง รับตามด้อย ทำไงจะปลุกจิตสำนึกนี้ขึ้นมา ถ้าเราจะรับจะตาม ตอนนี้เป็นการเรียนรู้ และมีความเข้าใจว่ามันจะมาเป็นส่วนเสริมอะไรแก่เรา โดยที่เรามีหลักของตัวเอง ว่าเราจะนำเขาได้ในเรื่องอะไร ตกลงว่าคงจะต้องลอกเทปกันยาวนาน
ผู้ฟัง (ผู้ชาย) : ไม่มีปัญหา ปัญหาคือท่านจะตรวจไหวไหม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ก็ต้องตรวจน้อยๆ ก่อน