แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ทุกคนเกี่ยวข้องกับการเมืองด้วยวิธีที่ไม่เหมือนกัน มีบทบาท มีหน้าที่ มีท่าที ต่อการเมืองคนล่ะอย่าง ถ้าบอกว่าการเมืองเกี่ยวข้องกับพระก็นั่นแน่นอน พระเกี่ยวข้องกับการเมืองก็แน่นอนเหมือนกัน แต่ต้องถามต่อว่าเกี่ยวข้องอย่างไร?ไม่ใช่เข้าไปยุ่ง เลยขอให้หลักนิดหน่อย เวลานี้ญาติโยมก็อาจจะเป็นปัญหาว่าพระนี้จะเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างไร? หลักการนี้ก็พูดอยู่บ่อย ๆก็ไม่เห็นมีใครสนใจนะ คือเอาหลักเสียก่อน
หลักคือพระท่านมีหลักใหญ่เลย ท่านเรียกว่า
[01:40] หลักคิหิสังคะถะ?? พระนี้ไม่ให้มีคิหิสังคะถะ?? แปลว่าไม่ให้คลุกคลีกับคฤหัสถ์ แล้วคฤหัสถ์นี้ก็รวมไปถึงนักการเมืองด้วย เพราะฉะนั้นพระจึงไม่เข้าไปยุ่งเป็นฝักฝ่ายกับนักการเมืองฝ่ายไหนทั้งสิ้นเป็นกลางที่แท้จริง แต่เป็นกลางนี่ไม่ใช่พาไปอยู่ระหว่างกลางนะ กลางหมายความว่าเอาความถูกต้องเอาธรรมเป็นหลัก คำว่าเป็นกลางที่แท้ก็คืออยู่กับธรรมมะ เมื่ออยู่กับธรรมมะ แล้วธรรมะเป็นเรื่องของทุกคน มันก็เลยเป็นของกลางไปหมดเลย ไม่เข้าใครออกใครทั้งนั้น พระก็เช่นเดียวกันต้องไม่เข้าใครออกใคร เอาธรรมะเป็นเกณฑ์อยู่กับธรรมมะ ก็เป็นตัวแทนธรรมะ ว่าอย่างนั้นก็ได้ แล้วก็แสดงธรรมะไป แล้วโยมก็เอาธรรมะไปวัดกันเข้าไป ทีนี้ธรรมะนี้ก็เป็นเรื่องที่จะต้องตั้งเป็นเกณฑ์ไว้ เวลานี้เราก็ไม่ค่อยเอาใจใส่ แล้วสังคมไทยเราด้วยหลักการที่พระไม่มีที่ สัง??? ไม่เข้าไปคลุกคลีกับคฤหัสถ์ รวมทั้งนักการเมืองด้วยเราจึงมีประเพณีในทางการเมืองการปกครองมาโดยตลอด เป็นประเพณีการแยกระหว่างอาณาจักรกับศาสนจักร ขอให้ท่านดู โยมไม่ได้สังเกตเลย ขอให้ไปพิจารณากับนานแล้ว เถียงกันอยู่นั่นแหละว่าจะเอาพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่ ประเด็นนี้ไม่สำคัญเท่ากับประเด็นนี้ ว่า
[03:25] การแยกศาสนากับรัฐ แล้วการแยกระหว่างศาสนากับรัฐมีสองแบบ แบบไทย ขอตั้งศัพท์ว่า Positive Church Stage Separation ใช้คำสั้นก็พอแล้ว Church Stage Separation คือการแยกระหว่างศาสนจักร กับ อาณาจักร หรือจะเรียกว่าแยกระหว่างรัฐกับศาสนา ทีนี้ของเขานี่ เขาเป็นแบบ Negative แบบอเมริกันเป็นต้น ชัดเจนเลย คือ ของฝรั่งทั้งหมดเป็นการแยกแบบ Negative (Negative Church Stage Separation) แต่เมืองไทยนี้เป็น Positive Church Stage Separation ตลอดมาเลย ขอให้ศึกษาเรื่องนี้ให้ดี แล้วจึงไปจัดการกับปัญหาจะเอาพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่?
ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ชัดเจนแล้ว จะเอาเป็นหรือไม่เอาเป็น ก็จะมีวิธีปฏิบัติที่ได้ผลดีทั้งสองอย่าง เอาเป็นก็ได้ ก็ดีด้วย ไม่เป็นก็ต้องปฏิบัติให้เป็น ให้ดี แล้วจึงจะเป็นประโยชน์ แต่เดี๋ยวนี้เราไม่รู้จักสังคมของตัวเองเลยว่าเรามีประเพณีที่ว่า Positive Church Stage Separation อย่างไร อย่างที่ว่าอาตมาเคยเล่าตัวอย่างให้ฟังเยอะแยะไป
อย่างเรื่อง ขุนหลวงหาวัด ตอนช่วงกรุงเก่าจะแตก ก็มีพระเจ้าแผ่นดิน ก่อนจะถึงแผ่นดินสุดท้าย มีพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกสก่อนสวรรคตทรงพิจารณาเห็นว่าพระโอรสสองพระองค์ องค์พี่ไม่ไหวแน่ขึ้นครองแผ่นดินแล้วจะแย่ก็เลยต้องตั้งองค์น้อง ก็เลยไล่องค์พี่ไปบวช เขาเรียกว่าตัดหางเข้าวัด เอ๊ย! ตัดหางปล่อยวัด เป็นวิธีดีนะอย่าไปถือว่าไม่ดี พอเข้าวัดแล้วก็ไม่เกี่ยวกับการเมือง ก็เลยเอาองค์พี่ไปบวชเสีย องค์น้องคือเจ้าฟ้าอุทุมพรขึ้นครองแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร พอพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษสวรรคตไปแล้ว ตอนนี้เป็นปัญหา พอสวรรคตไปแล้ว พระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเป็นองค์ที่มีพระทัยดี ครองแผ่นดินอยู่ แล้วเป็นน้องด้วย องค์พี่อยากครองแผ่นดินก็สึกออกมา เอาแล้วทีนี้ก็เป็นเรื่อง ก็รู้แล้วว่าพี่จะมาแย่งแผ่นดิน แล้วเราจะทำอย่างไรดี พระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรนี้ไม่หวงตำแหน่งฐานะอะไร ก็เลยสละแผ่นดินให้พี่ ก็ยกแผ่นดิน ราชบัลลังก์ให้พระเจ้าเอกทัศน์ แล้วเจ้าฟ้าอุทุมพรก็ออกบวช พอออกบวชแล้วก็ไม่ยุ่งกันเป็นวิธีของประเทศไทย ในพุทธศาสนาที่เรียกว่า Church Stage Separationแยกกันแต่ว่าเกื้อหนุนกัน ไม่ใช่แยกแบบที่ว่าขัดขวางหรือแย่งผลประโยชน์กัน หรือว่าเพราะรังเกียจ กลัวกัน ระแวงกัน แบบฝรั่ง แบบฝรั่งนี่เขาแย่งกัน แข่งกัน ระแวงกัน ของเราคือแบบอุดหนุนกัน คือว่าการพระศาสนานี่ก็มาเข้าช่วยรัฐทางธรรมมะ ทางศีล ทางธรรมเป็นต้น ทีนี้ คนไหนไปบวชแล้วไม่ยุ่งกับบ้านเมือง บ้านเมืองก็ไม่เข้าไปยุ่ง ทีนี้เจ้าฟ้าอุทุมพรท่านก็ไปผนวช พระเจ้าเอกทัศน์ก็ขึ้นครองแผ่นดิน ต่อมาพม่ายกทัพมาพอมา ตี มาตีมา พระเจ้าเอกทัศน์เห็นว่าไม่ไหวแน่ ๆ ก็เลยเรียกน้องให้มาช่วยน้องก็ต้องสีกมาช่วย นี่คือของไทยเรา ของฝรั่งเขาไม่ต้องสึกเข้ารบเลย เข้ารบทั้งเป็นนักบวชนั่นแหละ ของเราก็ต้องสึกออกมาแล้วก็มารบ พม่าก็ถอยกลับไป พอพม่าถอยกลับไปเจ้าพี่ชักมองแล้ว เอ๊ะ ถ้าเจ้านี่อยู่แล้วเดี๋ยวมันจะขึ้นครองแผ่นดินหรือเปล่า?ก็เลยเจ้าฟ้าอุทุมพร ท่านเรียก ขุนหลวงอุทุมพรก็ทรงทราบว่าเจ้าพี่ระแวง อย่ากระนั่นเลย เราก็ไม่ได้ปรารถนาความยิ่งใหญ่อะไร มาช่วยการแผ่นดินบ้านเมืองเท่านั้น พอพ้นภัยแล้วท่านก็กลับไปบวชอีก พอกลับไปบวช ต่อมาพม่ามาอีก รบกันจนกรุงจะแตกอยู่แล้วคงมีเหตุอะไรหลายอย่าง ในพงศาวดารถึงกับเขียนไว้ว่าชาวบ้านเนี่ย ตักบาตรเขียนข้อความใส่บาตรเจ้าฟ้าอุทุมพรว่าขอให้ท่านสึกมาช่วยแผ่นดินเถิด บ้านเมืองจะแย่แล้วกรุงจะแตกแน่ แต่ตอนนั้นเจ้าฟ้าอุทุมพรท่านตัดสินพระทัยแล้ว ไม่สึก ฉะนั้นท่านก็ไม่สึกออกมาแล้วก็กรุงก็แตก อันนี้ก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่งของเรื่อง positive church stage separation แบบไทยคือเราจะไม่ยุ่งกันเลยในเรื่องบ้านเมืองกับเรื่องของพระศาสนา แต่ว่ามีวิธีที่กลับมาหนุนซึ่งกันและกัน หรือเล่าอีกเรื่องหนึ่งถอยไปสมัยพระนารายณ์มหาราช พระนารายณ์มหาราชเป็นที่รู้กันว่าเป็นมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ แต่ว่ามีความสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นอย่างดี ตอนนั้นก็ทางฝรั่งเศสเข้ามามากจนกระทั่งมีกองทหารตั้งเป็นป้อมอยู่หลายป้อมทีเดียวแล้วพอใกล้จะสิ้นแผ่นดินทางฝ่ายคนไทยอย่างน้อยขุนนางบางท่านก็ระแวงว่า ฟอลคอน เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ จะคบกับพวกฝรั่งเศสยึดแผ่นดินแน่ ก็ทำไงบ้านเมืองไทยจะต้องตกเป็นเมืองขึ้นเป็นอาณานิคม ก็เลยคิดกู้แผ่นดิน ไม่ทราบว่าฝ่ายไหนถูกฝ่ายไหนผิด อีกฝ่ายก็เป็นกบฏ คือ พระเพทราชา กับ พระเจ้าเสือ ก็เห็นว่าบ้านเมืองจะสิ้นแผ่นดินแล้ว สมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ประชวรหนักแล้ว ก็เลยเอาทหารมาล้อมวัง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นก็ทรงกริ้วมาก ก็ตามพงศาวดารเล่าไว้ว่าครั้งหนึ่งเนี่ ก็ทรงฉวยพระขรรค์ขึ้นมาจะทรงลุกขึ้นมาแต่หมดแรงแล้วเป็นลมไป ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรพระองค์ก็รู้แน่ว่าถ้าพระองค์สวรรคตพระเพทราชาและพระเจ้าเสือจะต้องจับขุนนางผู้ใหญ่ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามมากมายประหารชีวิต
พระองค์ก็ทรงคิดว่าจะช่วย จะช่วยอย่างไร นี่แหละวิธีคิดของไทย ก็วันหนึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ให้ราชบุรุษหรืออำมาตย์ไปที่วัดสมเด็จพระสังฆราชไปขอนิมนต์สมเด็จพระสังฆราชพร้อมด้วยคณะสงฆ์มาบวชอำมาตย์ราชบริพาร สมเด็จพระสังฆราชก็เสด็จมาพร้อมด้วยคณะสงฆ์ที่เพียงพอจะบวชได้ พอมาถึงแล้วเรียบร้อยเข้าที่ดีสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงดำรัสแสดงความมุ่งหมายของพระองค์แล้วพระองค์ก็กล่าวคำถวายวังเป็นวัด ถวายวังแก่พระศาสนา พอถวายวังแก่พระเสร็จ สมเด็จพระสังฆราชพร้อมด้วยคณะสงฆ์ก็ทำพิธีผูกสีมา ผูกสีมาก็อย่างโบสถ์เนี่ยก็ทำวังเป็นวัด แล้ววัดนั้นพระราชนิเวศก็เป็นโบสถ์ชั่วคราว แล้วก็ทำการบวชคน อ้าวคนไหนมีภยันตรายก็ให้บวชซะ ก็บวชกัน พอบวชเสร็จแล้วสมเด็จพระสังฆราชก็พาพระใหม่เหล่านั้น ซึ่งเป็นอำมาตย์ผู้ใหญ่ นายทหารผู้ใหญ่อะไรที่จะต้องตาย ตามสมเด็จพระสังฆราชออกไปไป ทหารฝ่ายพระเพทราชาอะไรต่ออะไรล้อมวังอย่างเต็มที่ ถ้าออกไปเป็นคฤหัสถ์ก็ฆ่าตายแน่นอน แต่ว่าไปเป็นพระเขาไม่ทำอะไรเลยก็หมายความว่า อำมาตย์ ข้าราชบริพาร ทหารใหญ่เหล่านั้นก็ติดตามสมเด็จพระสังฆราชไปอยู่วัด แต่ท่านเหล่านั้นการเมืองไม่เข้าไปยุ่งด้วยและท่านก็ไม่เข้าไปยุ่งการเมือง อันนี้เป็นวิธีที่เรียกว่า church stage separation แบบไทยแบบพุทธ อันนี้เป็นหลักการที่คนไทยไม่รู้เรื่องขออภัยที่ต้องใช้คำนี้ เวลาเถียงกันก็เถียงกัน ตอนนั้นเรื่องนี้ศาสนาประจำชาติบอกให้ศึกษาเรื่องนี้ก็ไม่มีความสนใจ เอาใจใส่แล้วมันจะไปได้เรืื่องอะไร ไม่รู้เรื่องมันก็ไม่ได้เรื่อง ฉะนั้นนี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสังคมตัวเองที่จะต้องเข้าใจ
ที่นี่เราก็กลับมาสู่เรื่องนี้คือพระเป็นผู้มีหน้าที่ให้ธรรมมะแก่การเมืองทั้งหมด พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้มากมายเรื่องเหล่านี้ ธรรมะสำหรับพระราชา ก็เรามีทศพิศราชธรรมเอามาจากไหนฦ?ก็เอามาจากพระพุทธเจ้า แล้วก็มีจักวรรดิวัตร ราชสังฆหวัตถุ เวลาในหลวงจะขึ้นครองราชย์ทุกแผ่นดิน ก็จะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในพระราชพิธีนั้นก็จะมีการอ่านพวกถ้อยคำที่จะถือว่าเป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนา ให้พราหมณ์อ่านนะไม่ใช่พระอ่าน พราหมณ์อ่านแต่ว่าเป็นหลักคำสอนทางพระ หลักธรรมที่จะต้องมากล่าวในที่ประชุมนั้นเสมอนั่นก็คือ (๑) ทศพิธราชธรรม (๒) ราชสังคหวัตถุ๔ (๓) จักรวรรดิวัตร๑๒ (๔) ขัตติยพละ๕ อันนี้คือ
[11:33] ธรรมของนักปกครอง ไม่ใช่เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน เคยพูดบอกแล้วว่าตอนนี้เราเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วจากราชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตย อำนาจก็เปลี่ยนจากพระมหากษัตริย์มาอยู่ที่ประชาชน แต่ว่าประชาชนก็มีตัวแทน มีสภาผู้แทนราษฎร และก็มีรัฐบาล มีคณะบริหาร ก็เหมือนกับว่ามารับพระราชอำนาจมา ก็บอกว่เมืองไทยเรานี้รัฐบาลรับพระราชอำนาจมาแต่รับพระราชธรรมมาด้วยหรือเปล่า? อันนี้คือสิ่งสำคัญในเมื่อรับพระราชอำนาจมาต้องรับพระราชธรรมด้วย ถ้าไม่รับพระราชธรรมมาสุขภาวะทางการเมืองต้องเกิดปัญหาแน่นอน ไม่รู้นะเวลานี้ญาติโยมบ่นกันต้องแก้ให้ได้ถ้าท่านใดเป็นนักการเมืองก็ต้องช่วย ต้องช่วยโดยที่ว่านำราชธรรมนี้มา เพราะว่าเวลานี้เราใช้พระราชอำนาจกันเต็มที่แต่พระราชธรรมไม่ค่อยพูดถึง พระราชธรรมท่านไม่ได้ให้ไว้สำหรับองค์พระมหากษัตริย์องค์เดียวก็คือให้สำหรับผู้ปกครองบ้านเมืองนั่นเอง ราชธรรมทั้งสี่หมวดที่ว่ามานี้คิดว่านักการเมืองไทยทุกคนจะต้องท่อง ถ้าท่องได้ก็จะดีแล้วปฏิบัติตาม เริ่มตั้งแต่ หนึ่ง ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ เอาหลักการ เอาธรรมเป็นหลักใหญ่เป็นเกณฑ์ตัดสินทุกอย่าง ไม่ใช่ว่าเอาความชอบใจของตัวหรืออัตตาธิปไตยอะไรทั้งนั้น อันนี้ก็เป็นเรืื่องหนึ่ง ที่นี่เรามาพิจารณาเรื่องนี้ เรื่องบทบาทที่ว่า ก็แปลว่าพระมีบทบาทเกี่ยวข้องโดยให้ธรรมมะแก่การเมือง นักการเมือง ท่านเป็นกลางหมด เรียกว่าต้องเป็นหลักให้แก่สังคม สังคมในที่นี่ก็รวมหมดทั้งนักการเมืองทั้งประชาชนทุกหน่วย แต่ที่นี่เขาไปแยกอีกว่าสังคมนี้แบ่งเป็นนักการเมืองหรือฝ่ายการเมืองกับ ฝ่ายประชาชน พระก็ต้องเป็นหลัก ให้แก่ทั้งสองฝ่าย ก็ต้องเป็นกลางไม่เข้าใครออกใคร ก็เป็นหลักให้ทั้งสองฝ่าย หรือเขาจะแยกกันไปอีกเป็นกี่ฝ่าย เช่นว่านักการเมืองเขาจะแยกไปอีกเป็นกี่พรรค พระก็ต้องเป็นหลักให้แก่ทุกพรรคเหมือนกัน เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นอยู่อย่างนี้ คือเป็นกลางโดยอยู่กับธรรมะ ไม่ใช่เป็นกลางล่องลอยนะ เป็นกลางเดี๋ยวนี้เขาเป็นกลางล่องลอย อยู่ระหว่างกลางไม่รู้ไปไหน เป็นกลางนี่มันต้องมีหลัก เป็นกลางคืออยู่กับธรรมะ อยู่กับความถูกต้อง อยู่กับความจริง แล้วก็ให้หลัก ให้ธรรมะ ให้ความถูกต้อง ให้ความจริงอะไรต่ออะไรเนี่ย ถ้าสังคมมันจะหย่อนหรือมันนึกไม่ถึงเรื่องธรรมะว่าเป็นอย่างไร พระก็ต้องมีหน้าที่ที่จะต้องให้ออกมา แล้วเราก็ใช้หลักนี้ มันก็ใช้ได้ทุกระดับ และการปฏิบัติที่ดีงานนี้เราใช้ปัญญาใช้ธรรมะเป็นเกณฑ์แล้วมันจะมีทางที่จะพิจารณาตัดสินโดยไม่มาตกอยู่ในอำนาจของอารมณ์ความรู้สึก แล้วความป่วยทางอารมณ์ ทางจิตใจ และความป่วยทางปัญญามันก็จะหายไป แล้วสุขภาวะก็จะดีไปหมด ถ้าสุขภาวะทางปัญญา กับสุขภาวะทางจิตใจมาแล้วเนี่ย สุขภาวะอื่นจะตามมาได้ง่ายมาก ท่านให้ไว้เกณฑ์เหล่านี้ใช้ได้หมด เช่น แม้แต่โจรก็ยังต้องมีจริยธรรม เมื่อกี้เราพูดถึงชาวบ้านว่าเราก็มีธรรมะสำหรับวัดว่าได้กี่คะแนน โจรก็มีเหมือนกันนะ ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระสูตรหนึ่ง ไม่ใช่พระสูตรเดียว สองสูตรเลย โจรสูตร เคยได้ยินไหม?
โจรสูตรที่หนึ่ง โจรสูตรที่สอง โจรสูตรนี่ เอ๊า พระสูตรหนึ่งว่าอย่างไร พระพุทธเจ้าตรัส อันนี้ถือเป็นจริยธรรมของโจรก็ได้นะ และโจรโบราณในเมืองไทยถือด้วยนะ ท่านลองไปดูเถอะคนไทยโบราณ
[15:38] โจรก็ยังมีจริยธรรม แล้วโจรมีจริธรรมแน่นอนมันดีต่อบ้านเมือง ดีต่อประชาชนมากกว่าโจรไม่มีจริยธรรม ในขณะที่เราไม่สามารถไม่มีโจร ก็ขอให้มีโจรที่ดีหน่อยใช่ไหม?ทีนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในโจรสูตรว่ามหาโจรประกอบด้วยองค์แปดประการจะไม่ย่อยยับฉับไวแต่จะอยู่ได้นาน ว่าอย่างนั้น ว่าอย่างไร องค์แปดประการ (๑) ไม่ทำร้ายผู้ไม่ทำร้าย เขาไม่สู้อย่าไปทำร้ายเขา เขาไม่ทำร้ายอย่าไปทำร้ายเขา (๑) ไม่ปล้นเอาจนเขาหมดตัว (๓) ไม่ลักพาสตรี (๔) ไม่ข่มเหงกุมารี ไม่ข่มเหงเด็กผู้หญิง (๕) ไม่ปล้นบรรพชิต คือ ไม่ปล้นพระสงฆ์ (๖) ไม่ปล้นพระคลังหลวง แล้วก็ต่อไป (๗) ไม่ทำการประชิดถิ่นเกินไป ประชิดถิ่น หมายความว่าอย่างไร ก็ถิ่นที่ตัวอยู่ก็ไปทำการประชิดถิ่นที่ตัวอยู่ก็จะเดือดร้อนมาก และข้อสุดท้ายบอกว่า (๘) ฉลาดในการเก็บรักษา เอ๊ะ นี่ครบแปดไม่ทราบนะ ครบนะ เอาละ นี่ก็เป็นจริยธรรมของโจร เราจะได้ยินว่าโจรสมัยโบราณชาวบ้านเขารู้กันนะ ถ้าโจรพวกนี้เป็นหัวหน้าใหญ่แล้วเขาจะถือจริยธรรมเคร่งมากเรื่องเหล่านี้ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เพราะฉะนั้นเวลานี้มันขัดหลักไปหมดแม้แต่โจรก็ไม่มีจริยธรรม ใช่ไหม?ทำการปล้นไม่มีหลักเลย แล้วบ้านเมืองจะอยู่อย่างไร สังคมมันก็ง่อนแง่นเต็มที อย่างที่ว่าแม้แต่งานวัดก็ไม่มีแล้ว กินเหล้ากัน งานศพก็ไม่เคารพต่อคนตายกินเหล้ากัน อะไรต่าง ๆเหล่านี้ แล้วสังคมมันจะเหลืออะไรล่ะ เพราะฉะนั้นมันจะต้องมาชำระสะสางสังคมยกเครื่องกันใหม่ ก็เอาธรรมะนั่นละกลับมา
[17:50] ธรรมะจะอยู่ได้ที่คน ก็คือคนคือโยมทุกคนต้องตั้งหลักขึ้นมาว่า เวลานี้สังคมมันป่วย การเมืองมันป่วย ศาสนาป่วย อะไรต่ออะไรป่วย เรานี้แหละต้องตั้งหลักขึ้นมาแล้วช่วยกัน มาตั้งเจตนาให้ดี จิตใจที่ดี แล้วก็ปัญญามาแล้วช่วยกันคิดแก้ไขหาทางใช้ธรรมะเป็นหลักเป็นเกณฑ์ อย่างที่ว่าถือธรรมเป็นประมาณ เอาหลักการเป็นเกณฑ์ต่อไปนี้เราก็จะเดินหน้าได้ นี่ก็เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่คิดว่าจะช่วยเรื่องของประเทศชาตสังคมเรานี้ได้
อาตมาภาพก็พูดมาได้พักหนึ่งแล้ว เห็นได้ข่าวว่าโยมอยากจะให้เป็นระยะเวลาตอบปัญหาบ้าง ไม่ทราบว่าตัวเองได้พูดจบประเด็นหรือเปล่า ถ้าไม่จบ ไม่หมด ก็เอามาตอบกันตอนที่มีคำถามก็แล้วกัน เจริญพร ถ้างั้นอาตมาเอาเป็นว่าช่วงบรรยายเอาเท่านี้ก่อน ต่อไปนี้ก็ขอให้โยมถามปัญหา เชิญเจริญพร
ถาม : จริง ๆคือท่านตอบคำถามหมดแล้วนะคะ ตอนแรกอยากจะเรียนนิมนต์ถามท่านเกี่ยวกับเรื่องของการเมืองที่มันลุ่มร้อนในขณะนี้ แต่เผอิญท่านก็ได้ตอบมาหมดแล้ว
ตอบ : การเมืองร้อนใจเราอย่าร้อน ใจเราสบาย มองเป็นแล้วไม่เร่าร้อนไปด้วย มองเป็นสนุกบ้าง อะไรบ้าง แต่อย่าเอาแต่สนุกนะ คนที่ทำเรื่องให้สนุกได้เป็นคนมีความสามารถ แต่คนที่เอาแต่สนุกนี่ใช้ไม่ได้ ก็พัฒนาความสามารถให้ทำเรื่องที่มันน่ากลัวเป็นเรื่องที่สนุกซะ แล้วเราก็จะได้พูดกันได้สบายๆ แต่ถ้ามัวเอาแต่สนุกแล้วอยู่ในความประมาท บ้านเมืองก็ล่มจมพินาศ ที่นี่คุณหมอกาญจนาเป็นผู้บอกใช่ไหมว่า ให้เวลาในการตอบคำถาม ถ้างั้นคุณหมอมีคำถามอะไร?
ถาม : มีผู้มาฟัง... บอกว่าไม่มีความรู้สึกอะไรเลย จิตว่าง....
ตอบ : คือต้องตั้งท่าทีใหม่ คือตอนนี้ สังคมป่วย การเมืองป่วย ศาสนาป่วย เราก็ต้องตั้งหลักขึ้นมา เอาคนเรามาเป็นผู้กลับไปรักษาสังคม แต่ที่อาตมาอยากจะย้ำ แล้วลืมพูดไป ก็คือ
[21:27] เมื่อสังคมนี้รับผลแห่งกรรมของตนเอง แล้วจะแก้ยังไง? การแก้ท่านเรียกว่า ปฏิกรรม เวลานี้เราเอาคำว่าแก้กรรมมาใช้กันเป็นเรื่องไสยศาสตร์ไป จะเรียกว่าน่าอเนจอนาจก็ได้ แก้กรรมของท่านเป็นเรื่องสำคัญเลยนะ ท่านเรียกว่าปฏิกรรม เราเอาคำว่าปฏิกรรมมาใช้กันหลายความหมาย เช่น ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นต้น แล้วก็ปฏิกรณ์ปรมณู คำว่าปฏิกรณ์ปฏิกรรมคือศัพท์เดียวกัน ในภาษาพระนี่ท่านใช้เป็นหลักสำคัญเลย แล้วคนไทยแทบไม่พูดถึงเลย หลักปฏิกรรมนี้หลักใหญ่ ถ้าอะไรมันเสียหายมันเสื่อมโทรม หรือ ทำไปแล้วมันผิดพลาด ให้ปฏิกรรม “ปฏิกรรม” ก็คือการแก้ไข ก็ต้องตั้งเป็นกระบวนการแก้ไขเลย เวลานี้สังคมของเราถึงเวลา ปฏิกรรมแล้ว ต้องเข้าขั้นนี้แล้ว ลองไปศึกษาหลักปฏิกรรม หลักปฏิกรรม พูดง่ายๆ ก็คือหลักการแก้ไข กรรมที่มันไม่ดี บกพร่องอะไรไป ต้องแก้ปรับใหม่ให้หมด หลักปฏิกรรมนี้ใช้ในทางพระวินัยมาก แม้แต่การปรงอาบัติก็เรียกว่าเป็นปฎิกรรมชนิดหนึ่ง ก็แทบจะเป็นขั้นต้นเลยของปฏิกรรม การปวารณาสังฆกรรมนั้นก็เป็นปฏิกรรม แล้วก็ถ้ามีพระองค์ใดองค์หนึ่งไปทำผิดต่อพระพุทธเจ้ามาขออภัยพระพุทธเจ้าก็บอกให้ขอปฏิกรรมซะ “ปฏิกรรม” “การแก้ไข” เราไม่รู้จักใช้ แล้วก็ปัญหาสำคัญที่สุด ในแง่หนึ่ง คือหลักในการแก้ไข สังคมไทยหรือคนไทยเรากำลังรับผลที่สมกับกรรมของตน กรรมของตนก็คือกรรมของคนทั้งสังคมนี้ที่ทำกันมา เป็นเวลายาวนาน ก็ทำไง ก็เป็นปัญหาคน เป็นปัญหาคนลึกลงไป ปัญหาคุณภาพคน ก็ต้องเอากันให้จริงจังเรื่องการพัฒนาคน การแก้ปัญหาพัฒนาคุณภาพของคนนี้เรื่องใหญ่ที่สุดในสังคมไทย เวลานี้สังคมไทยเป็นสังคมที่ หนึ่ง อ่อนแอมาก อ่อนแออย่างยิ่ง อ่อนแอทางกายยังไม่เท่าไร กายพอมีกำลังอยู่ แต่อ่อนแอทางจิตใจ ไม่มีกำลังใจ อ่อนแอที่ร้ายที่สุดคืออ่อนแอทางปัญญา ถ้าอ่อนแอทางปัญญาแล้วแย่ที่สุดเลย สังคมจะเอาดีไม่ได้ ต้องมีความเข้มแข็งทางปัญญา สร้างความเข้มแข็งทางปัญญาขึ้นมาแล้วจะไปได้ ความเข้มแข็งทางจิตใจอะไรต่ออะไรก็จะตามมาหมดเลย ทีนี้สังคมของเราแสดงสภาวะอ่อนแออย่างไร หนึ่ง ความรุนแรง ความรุนแรงแสดงถึงความอ่อนแอ ความรุนแรงเกิดจากความอ่อนแอ ขอตั้งเป็นข้อศึกษาไว้ จริงไม่จริง ความรุนแรงเกิดจากความอ่อนแอ คนอ่อนแอไม่มีทางที่จะรักษาใจเข้มแข็งก็ต้องวู่วาม ต้องแสดงออกอะไรต่ออะไรไป เกิดเป็นความรุนแรงขึ้นมาเพราะความอ่อนแอ เพราะฉะนั้นคนของเราไม่มีความเข้มแข็งแล้วก็อ่อนแอปล่อยตัวไปตามกระแสการเสพบริโภค ไม่ได้มีความยับยั้งพิจารณาทางปัญญา แล้วก็ไม่มีความอดทนเข้มแข็งที่จะรอผลจากการกระทำของตนเอง คนเราต้องอยู่ด้วยความหวัง มีความหวังก็ดีแล้ว แต่อย่าหวัง แต่ต้องก่อน ต้องหวังผล ต้อรอหวังผลจากการกระทำของตน ต้องหวังรอผลจากการกระทำของตน ไม่ใช่หวังรอผลจากเทวดาดลบันดาล หรือหวังผลจากคนเขาบันดาลให้ หวังผลจากคนอื่นบันดาลให้นี้แสดงว่าอ่อนแอ สังคมไทยเวลานี้เป็นสังคมรอผลดลบันดาล เป็นสังคมที่เทวดาบันดาลหรือมนุษย์บันดาลก็แล้วแต่ ก็เป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ ต้องมีความเข้มแข็ง ถ้าเราจะให้สังคมเข้มแข็งเราก็ต้องให้คนมีความเข้มแข็งที่จะรอผลจากการกระทำของตน แล้วเขาก็มีความหวังจากการกระทำ ถ้าหวังผลจากการกระทำแล้วรับรองเดินหน้าแน่
[25:09] พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการกระทำพระพุทธเจ้าตรัสไว้เลยว่าเราเป็น กรรมวาที เราเป็น วิริยวาที เราเป็นผู้สอนหลักแห่งการกระทำ เราเป็นผู้สอนหลักแห่งความเพียรพยายาม นี้คือท่านจะเอาสองคำนี้เป็นชื่อของพุทธศาสนาก็ได้นะ พระพุทธเจ้าตรัสไว้เลย เราเป็นกรรมวาที เราเป็นวิริยวาที ก็นี่คือชื่อพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาเรียกสั้นๆว่า กรรมวาท วิริยวาท เป็นศาสนาแห่งการกระทำ เป็นศาสนาแห่งความเพียรพยายาม ถ้าคุณไปหวังผลจากเทวดาดลบันดาล ก็แสดงว่า หมดหล่นจากพุทธศาสนาแล้ว เวลานี้สังคมไทยเป็นยังไง?รอผลดลบันดาลไม่อยากทำอะไรกลายเป็นคนเปลี้ยไม่มีกำลัง แล้วคนอ่อนแออย่างนี้ ชุมชนก็อ่อนแอ สังคมก็อ่อนแอ มันจะไปไหวยังไง เพราะฉะนั้น คนอย่างนี้ก็ไม่สามารถสร้างสรรค์สังคม แก้ปัญหาสังคมไม่ได้ ก็รอการบันดาลจากภายนอก พออย่างนี้คนก็ป่วยละ ชุมชนนั้น บ้านเรือนนั้น อะไรต่ออะไร ก็ป่วยไปหมด พอป่วยด้วยความอ่อนเปลี้ย ใช่ไหม ความอ่อนแอ เปลี้ยไม่มีกำลัง ถือเป็นความป่วยอย่างหนึ่ง อันนี้เขาอ่อนเปลี้ยไปหมดก็เป็นคนป่วยพอชาวบ้าน ชุมชนชาวบ้าน หมู่บ้านป่วย ต่อไปทั้งจังหวัดก็ป่วย ต่อไปประเทศไทยก็ป่วย ก็ต้องทำให้ประเทศไทยเข้มแข็งขึ้นมา ต้องพัฒนาคน ไม่ใช่ไปมัวเกรงใจ เวลานี้จะเอาแต่ใจชาวบ้านกัน เอาใจ จะให้เขารักอะไรก็แล้วแต่ ถ้าจะเอาใจต้องให้ความหวังจากการกระทำ ไปสนับสนุนให้เขาทำ คุณขาดทุน ขาดรอนอะไรต่ออะไรช่วยนะแต่คุณต้องทำนะอันนี้สำคัญที่สุดแล้วเขาจะเข้มแข็ง เพราะฉะนั้นสังคมไทยเวลานี้ที่ว่าทรุดโทรมมากจนวิกฤตอะไรเนี่ย เราอย่าอยู่แค่เอาวิกฤตเป็นโอกาส เวลานี้ไม่พอหรอกเอาวิกฤตเป็นโอกาส จะเอาโอกาสนั้นทำอะไร เวลานี้โอกาสที่จะต้องใช้คือเป็นโอกาสสำหรับสังคมไทยที่จะทำแบบฝึกหัด สังคมที่จะเจริญ แม้แต่ชีวิตคนที่เจริญ เด็กทีจะเจริญ จะมีปัญญา จะสำเร็จการศึกษาอย่างดี ต้องทำแบบฝึกหัดมาก สังคมไทยเราต้องทำแบบฝึกหัดเยอะๆแล้วเวลานี้สังคมมีแบบฝึกหัดให้ทำเยอะเลย แล้วเราจะเข้มแข็ง เราจะเจริญ เราจะพัฒนา ด้วยการทำแบบฝึกหัดนี้แหละ ตอนนี้เรามาถึงขั้นตอนที่จะต้องทำแบบฝึกหัดกันแล้วต้องลุกขึ้นมาทำแบบฝึกหัด แม้แต่ผู้ปฏิบัติธรรมก็อย่าแค่มาปฏิบัติธรรมพอให้ใจสบายหายทุกข์กลายเป็นนักหลบหลีกปัญหาไปซะนี่ อย่างนี้ไม่ได้ ปฏิบัติติธรรมต้องให้ใจเข้มแข็ง ให้เกิดปัญญาตั้งท่าทีของจิตใจให้ถูกแล้วจะได้กลับไปอย่างกระปรี้กระเปล่าเข้มแข็ง ปัญญาสดใส คราวนี้แหละสู้เต็มที่เลย คราวนี้จะทำอะไรก็ทำได้ผลยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นเดี๋ยวสมาธิจะกลายเป็น ขออภัย เป็นสมาธิกล่อมไป สมาธินี้ท่านไว้เพื่อจะให้เป็นฐานของปัญญา ถ้าใครไม่เอาสมาธิเป็นบาทฐานของปัญญาแสดงว่าสมาธินั้นอุดตัน ถึงทางตันแล้ว เพราะฉะนั้นธรรมะทุกอย่างนี้เป็นองค์ประกอบอยู่ในกระบวนการส่งต่อไปสู่จุดหมาย ถ้ายังไม่ถึงจุดหมายแล้วอย่าหยุดและอย่าให้ขาดตอน องค์ประกอบทุกอย่างจะขาดตอนไม่ได้ จะปฏิบัติธรรมข้อไหนต้องถามทันทีว่าธรรมะข้อนี้จะส่งต่อสู่ธรรมะข้อไหนและมันจะเป็นส่วนเอื้อแก่จุดหมายใหญ่ได้อย่างไร จุดหมายใหญ่พุทธศาสนาคืออะไร แล้วอันนี้มันจะเป็นส่วนร่วมเป็นส่วนเอื้อเป็นตัวปัจจัยเกื้อหนุนต่อการเข้าถึงจุดหมายนั้นอย่างไร ถ้าตอบไม่ได้แสดงว่ายังตก ยังสอบตกอยู่ ก็ต้องก้าวหน้าต่อไปเดินหน้าไปเรื่อย
[29:24] พุทธศาสนานั้นจุดหมายของชีวิตของบุคคลคือนิพานใช่ไหม แล้วนิพพานแล้วยังไง? นิพพานแล้วเขาจะทำการเพื่อโลกเพราะว่าเขาไม่มีอะไรที่ต้องทำเพื่อคน นิพพานคืออะไรตอบได้หลายแง่ นิพพานในแง่หนึ่งคือผู้ที่หมดกิจที่ต้องทำเพื่อตนเอง ไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตนเองแม้แต่ความสุข เออ ว่าอย่างนั้นนะ หมายความว่าความสุขมันก็เต็มอยู่แล้ว คนธรรมดาก็ต้องหาความสุข พระอรหันต์เป็นผู้มีความสุขอยู่ในใจเต็มเปี่ยมตลอดเวลา คือความสุขที่ไร้ทุกข์ความสุขนั้นจึงสมบูรณ์เพราะไม่มีทุกข์ สองความสุขนั้นเป็นอิสระ ไม่พึ่งพาไม่ขึ้นต่อสิ่งภายนอก ไม่ขึ้นต่อวัตถุเสพ ไม่เป็นความสุขที่พึ่งพาแต่เป็นความสุขที่อิสระ
สามเป็นความสุขที่เป็นประจำตลอดเวลาเป็นคุณสมบัติประจำตัวอันนี้คือนิพพาน นิพพานนี้ตอบในแง่ความสุข หรือตอบในแง่หนึ่งที่ว่า ในเมื่อคุณมีความสุขอยู่ในใจเต็มที่ตลอดเวลาเป็นอิสระไม่ต้องขึ้นต่อสิ่งใดแล้ว คุณก็ไม่ต้องหาความสุข คุณก็ไม่ต้องทำอะไรเพื่อตัวเอง ไม่ต้องทำอะไรเพื่อตัวเอง แล้วก็ตัวเองมีปัญญามีความสามารถอยู่เต็มที่ เพราะกว่าจะพัฒนามาเป็นพระอรหันต์บรรลุนิพพานได้ ผ่านมาเยอะเลย เก่งเต็มที่เลย ตอนนี้ก็เอาความสามารถของตัวเองไปทำเพื่อโลก เพราะฉะนั้นสองอย่างนี้สำคัญมาก บุคคลนิพพานทำการเพื่อโลก อันนี้คือจุดหมายของพุทธศาสนา แล้วยิ่งคนไหนระหว่างพัฒนานี่ยิ่งใกล้นิพพานเท่าไรก็ยิ่งมีความสามารถที่จะทำการเพื่อโลกได้ดีขึ้นเท่านั้นด้วย เพราะว่าเขาจะมีความพึ่งพาเป็นต้นน้อยลง พึ่งพาตนเองมีความเป็นอิสระมากขึ้นเป็นต้น และมีความสามารถมากขึ้นด้วย เช่น มีสติปัญญามากขึ้น เพราะฉะนั้นตอนนี้เป็นตอนที่สำคัญที่ว่าเราจะต้องลุกขึ้นมาแล้วจะต้องปฎิกรรม และปฏิกรรมสำคัญก็ต้องแก้เรื่องคุณภาพคน คุณภาพคนไทยเป็นเรื่องใหญ่อย่างยิ่งจะมานอนใจอยู่ไม่ได้ แล้วก็เรื่องปัญญานี่ ผู้ที่เป็นผู้นำจะต้องมีปัญญาให้คนเห็น เมื่อคนเห็นแล้วคนในสังคมนั้นจะมีศรัทธา คนที่ยังต้องพึ่งคนอื่นยังมีปัญญาไม่สมบูรณ์นี่ ก็อยู่ด้วยศรัทธา คนมีศรัทธาแล้วก็จะมีสุขภาวะขึ้นมาเยอะเลย ศรัทธาเป็นคุณสมบัติในทางจิตใจที่สำคัญเป็นตัวเชื่อมกับปัญญา ไม่ใช่ศรัทธางมงาย ไม่ใช่ศรัทธามืดบอดนะ แต่ศรัทธาในคุณธรรมความดี ศรัทธาในปัญญาความสามารถ อย่างผู้บริหารประเทศชาติ บ้านเมืองมีคุณธรรมมีจิตใจดี มีความประพฤติดี มีปัญญาแก้ปัญหาได้เก่ง ประชาชนก็มีศรัทธา พอประชาชนมีศรัทธาในบ้านเมือง ในนักการเมือง ในผู้บริหารประเทศชาติเนี่ยสุขภาวะมาทันทีเลย เวลานี้ที่เป็นปัญหาสุขภาวะมากมายเลยเพราะปัญหาหนึ่งคือขาดศรัทธา ศรัทธาเวลานี้กระปลกกระเปลี้ย เสื่อมหรือแทบจะไม่มี ใช่ไหม?วิกฤตศรัทธาก็คือการขาดศรัทธาเวลานี้คนไม่มีศรัทธา เวลาเห็นพระแล้วไม่ศรัทธา ใจเราก็เสีย เวลาเห็นผู้บริหารประเทศชาติไม่มีศรัทธา ใจเราก็เสียแล้วก็ขาดความเชื่อมั่นต่อวิถีชะตากรรมของสังคมอะไรต่ออะไร มันก็หมดสุขภาวะ มันก็หง่อยเหงาเศร้าหม่นหมองอะไรต่ออะไรหมด หดเหี่ยวท้อแท้ แต่ถ้าเรามีศรัทธาขึ้นมานะเห็นท่านผู้ที่ทำงานเป็นผู้นำมีจิตใจดีมีปัญญาอะไรต่ออะไรความสามารถ เจตนาสุจริต ทำอะไรต่ออะไรตั้งใจเพื่อประชาชนทำการเพื่อประโยชน์สุขอย่างแท้จริง ศรัทธามันมา พอศรัทธามาใจเขาก็หายป่วย เพราะฉะนั้นศรัทธาเป็นตัวเชื่อม ระหว่างนี้ในขณะนี้ที่เราทุกคนจะต้องพยายามแก้ปัญหาให้กับสังคมก็จะมีตัวเชื่อมอันหนึ่ง ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่บริหารบ้านเมืองจะช่วยประเทศชาติได้มากแม้แต่เพียงขั้นต้นก็คือสร้างศรัทธาขึ้นมา พอสร้างศรัทธาขึ้นมาได้ก็ประชาชนก็ใจดีหายป่วย หายป่วยขั้นที่หนึ่ง ต่อไปแล้วก็ประชาชนก็จะร่วมมือในการที่จะแก้ปัญหาสังคมและประเทศชาตินั้นด้วยศรัทธานั้น เพราะฉะนั้น ศรัทธาก็เป็นเรื่องสำคัญ แล้วศรัทธานั้นก็จะช่วยให้เรามาฟังกัน ฟังสิ่งที่ดีงามแล้วก็ได้ปัญญา ศรัทธาก็เป็นสะพานไปสู่ปัญญา เวลานี้ต้องระวังเรื่องนี้สังคมของเรากำลังอ่อนเปลี้ยด้วยเรื่องสภาพทั่วไปที่ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งก็คือ เรื่อง สภาพรอผลดลบันดาล รอเทวดามาบันดาลให้ ถ้าไม่ใช้เทวดาในสวรรค์ ก็จะเป็นเทวดามนุษย์ อย่างนี้ก็แล้วแต่ ก็ต้องระวังทั้งนั้นแหละ เทวดาดีท่านไม่ให้รอผลดลบันดาล อย่างนิทานอีสป เทวดาดีท่านต้องระวังเรื่องคุณธรรมด้วยเหมือนอย่างเรื่องท้าวมหาชนก ที่ในหลวงทรงพระราชนิพนธ์ พระนางมณีเมขลานั้นเป็นเทวดา ท่านจะมาช่วยท้าวมหาชนกเพราะอ้อนวอนก็เปล่า? มหาชนกนั้นเป็นผู้ที่ไม่ยอมอ้อนวอนเทวดา ตอนที่เรือแตกผู้คนทั้งหลายก็พิไรรำพันโศกเศร้า ปริเทวนาการ บ้างก็อ้อนวอนเทวดาให้มาช่วยกันต่าง ๆ มหาชนกไม่เอาด้วย ใช้ปัญญาเราจะไปอยู่จุดไหนของเรือเวลาเรือล่มล้มบนท้องทะเลแล้วจะอยู่ได้ดีที่สุด แล้วจะเตรียมตัวอะไรบ้าง มีไม้สำหรับเกาะ ไปเตรียมตัวเต็มที่เลยนี่ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ตอนวิกฤต ใช้ปัญญาแก้ปัญหายามวิกฤต ท้าวมหาชนกก็ไปอยู่ในจุดที่ดีที่สุด พอเรือล่มลงไป อ้อนวอนเทวดาตายหมด ก็ท้าวมหาชนกอยู่ได้เจ็ดวันก็ยังไม่เห็นฝั่งแต่ก็ไม่หยุดในความเพียร นางมณีเมขลานั้นเป็นเทวดารักษามหาสมุทรเห็นเข้าก็เลยมาดูเพราะว่ามีหน้าที่ดูแลรักษาท้องมหาสมุทรก็มาเยาะเย้ย ตอนแรกก็มาเยาะเย้ยว่ายน้ำไปทำไม?เจ็ดวันแล้วยังไม่เห็นฝั่งตายเปล่า
ก็เลยเกิดเป็นการสนทนาระหว่างท้าวมหาชนกกับนางมณีเมขลา แล้วก็ท้าวมหาชนกก็พูดจาให้เห็นว่ามนุษย์นี้ต้องทำความเพียรไป ยังไม่ตายถึงจะยังไม่เห็นทางก็ต้องทำความเพียรเท่าที่ปัญญาตัวเองจะมองเห็นได้ทำไปจนถึงที่สุดตายแล้วไม่เป็นหนี้ใครว่างั้น ท่านพูดไปจนนางมณีเมขลาเลื่อมใส มณีเมขลาก็พาขึ้นฝั่งไป อันนี้เป็นคติทางพุทธศาสนาต้องให้ใช้ความเพียรของตนเองให้เต็มที่ เทวดาก็เหมือนกับผู้ใหญ่ทั้งหลายจะช่วยก็ต้องช่วยคนที่ทำความดี แล้วก็มนุษย์คนนี้แกก็ไม่ไปอ้อนวอนเทวดาเลย แกก็ทำหน้าที่ของตัวเองไป แล้วผู้ใหญ่ที่ดีก็เห็นคุณค่าก็มาช่วยกันอะไรทำนองนี้ หรืออย่างอีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องชาวนาคนหนึ่งเกวียนหักก็ไปอ้อนวอนเทวดา เทวดาดีมาก็บอกคุณมีบ่าทำไมไม่เอาบ่าแบกทุ่นเกวียนล่ะ อันนี้ก็เป็นเทวดาดี เทวดาดีเขาก็สอนให้คำสอนรู้จักพึ่งตนเองอย่างนี้เป็นต้น ส่วนเทวดาที่จะไม่ดีก็เป็นเทวดาหวังผล จะเอาไว้ในอำนาจของตน เทวดาที่หวังผลจะเอาคนไว้ในอำนาจของตนให้อยู่ใต้อำนาจเขาเรียกว่า "มาร" อ้าวมารนี้แกก็มีอาวุธสำคัญหรืออุปกรณ์สำคัญสองอันก็คือ "เบ็ด" กับ "บ่วง" เบ็ดก็สำหรับติดเหยื่อล่อ ใช่ไหม อย่างเวลานี้สังคมไทยก็ติดเหยื่อล่อที่เบ็ดเยอะแยะไปหมดเลย นี่ก็ติดบ่วงมาร มารก็เอาบ่วงมารัดอีกที ตกลงว่า มาร ก็คือเทวดาที่มีอำนาจสูง เทวดาชั้นสูงมากชั้น "ปรนิมมิตวสวัตดี" แล้วเทวดาท่านนี้ก็ต้องการไม่ให้ใครพ้นไปจากอำนาจก็เลยทำการต่าง ๆ โดยวิธีโดยมากก็ ยั่วล่อเร้าต่าง ๆ เพราะฉะนั้นเทวดาดีก็ควรปฏิบัติติในทางที่ถูกต้อง คือเทวดาที่สนับสนุนการพัฒนาของมนุษย์ ถ้าเทวดาไม่ดีก็กลายเป็นมารไป ก็เลยพูดไปซะเยอะเลยโยมไม่เห็นมีคำถามอะไร และก็ถ้ามีเรื่องขึ้นมาใช่ไหม ที่บอกเมื่อกี้บอกว่า “เอาธรรมเป็นประมาณถือหลักการเป็นเกณฑ์” เราจะวัดคนเราก็วัดกันที่นั่น ไม่ต้องมาเถียงกัน ไม่ต้องมาเถียงกันระหว่างคนที่วัดด้วยเพราะเราเอาธรรมเป็นเกณฑ์ใช่ไหม?ก็ดูสิเอาเกณฑ์นี้นายคนนั้นได้เท่าไรคนนี้ได้เท่าไร ก็ว่ากันไป ทีนี้คนนั้นเอง ถ้าเขามีปัญหาเขาก็ไม่ต้องมาสู้กับคนด้วยกัน ให้ไปสู้กับธรรมะ สู้กับความจริงไง สู้หน้าความจริง สู้ความจริงไปเถอะคุณ ถ้าเขามีปัญหาเรื่องราวอะไรต่ออะไรก็สู้กับความจริงไป เราก็ไม่ต้องมายุ่ง เสียเวลายุ่งสู้กับคน แล้วก็เกิดปัญหาเปล่า ๆ สู้กับธรรมะดีที่สุด ก็เลยพูดไปเรื่อย ๆ โยมมีปัญหาบ้างหรือยัง
ถาม : กราบเรียนถามท่านอาจารย์ ขณะนี้มีวิกฤตศรัทธาทั่วรอบตัวเรา แต่ละคน แต่ละบุคคล ก็ทุกข์กายทุกข์ใจ เสร็จแล้วไม่รู้จะทำยังไง ก็ทำอะไรก็ทำไม่ได้สักอย่าง
ตอบ : [39:32] ก็ศรัทธาในคนไม่สำเร็จก็ศรัทธาในธรรม
ถาม : ก็ศรัทธาอยู่แล้ว
ตอบ : ถ้าศรัทธาในธรรมอยู่แล้วก็ตัดเลยบอกคนเราไม่เอา เราศรัทธาในหลักการ ในตัวธรรมในตัวหลักความจริงนี่ แล้วเราก็ตั้งตัวขึ้นมาใช้ปัญญาในการหาทางแก้ไข ใจเราก็อยู่กับเรื่องของการคิดแก้ปัญหา ตั้งหลักตั้งตัวขึ้นมาเข้มแข็ง ไม่หวังพึ่งคือ ถ้าเราศรัทธาก็หมายความเราเห็นท่านผู้นั้นพึ่งได้ เราก็เลยศรัทธา ที่นี้ ถ้าเราไม่มีทางศรัทธา ศรัทธาไม่ได้จริง ๆ เราก็มาศรัทธาอยู่กับธรรมซะ อย่าให้หมดศรัทธา “ศรัทธา”ในธรรมะเป็นหลักใหญ่ ศรัทธาในคนนั้นยังง่อนแง่น พระพุทธเจ้ายังไม่ยอมนะ พระสาวกมาศรัทธาในพระองค์ พระองค์ไม่ยอม คือยอมให้ในเบื้องต้น แล้วพระองค์ก็ตรัสว่า ศรัทธาในตัวบุคคลเนี่ยมีข้อเสียประการนั้น ๆ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก ตรัสหมดเลย ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงถือให้สาวกเป็นอิสระ คนที่มาอยู่กับพระพุทธเจ้าเพื่อไปอยู่อิสรภาพ แม้แต่อิสรภาพจากพระศาสดา ในพระพุทธศาสนานี้พระสาวกไม่ขึ้นต่อ พระศาสดา อย่างที่เรารู้กันนี่ว่าวันหนึ่งพระพุทธเจ้าถามพระสารีบุตร สารีบุตรเรื่องนี้เป็นอย่างนี้แบบนี้ใช่ไหม พระสารีบุตรบอกใช่พระเจ้าค่ะ พระพุทธเจ้าก็ถามต่อแล้วเรื่องนั้นเป็นอย่างนั้น อย่างนั้น ใช่ไหม ใช่พระเจ้าค่ะ ในที่สุดพระพุทธเจ้าถามที่เธอตอบอย่างนี้เพราะเชื่อแต่เราหรืออย่างไร พระสารีบุตรตอบ ที่ข้าพระองค์ตอบอย่างนี้มิใช่เพราะเชื่อต่อพระองค์ แต่เพราะมองเห็นด้วยตนเองว่าความจริงมันเป็นอย่างงั้น พระพุทธเจ้าก็สาธุสิ นี่คือพุทธศาสนาต้องเป็นอิสระ ที่พระพุทธเจ้ามาช่วยก็เพื่อให้เราเป็นอิสระ แต่เป็นอิสระแล้วก็ยิ่งเชื่อใหญ่ เชื่อในแง่ของความเคารพ พระสารีบุตรก็ยิ่งเคารพต่อพระพุทธเจ้า ก็เป็นความเคารพในแง่ของน้ำใจต่อกัน ก็รู้ว่าเจตนาท่านดีหวังดีต่อเราแน่นอนไม่มีอะไรแอบแฝงเลย แล้วปัญญาท่านก็ให้เราถึงความจริงได้จริง ๆ เพราะฉะนั้นเราก็ยิ่งมีความเคารพ เพราะฉะนั้นเมื่อโยมหาที่เคารพที่ศรัทธาในคนไม่ได้จริง ๆนั้นก็ศรัทธาในธรรม
ถาม : แปลว่าขณะนี้ที่เราป่วยอยู่เพราะว่าเรายังศรัทธาในธรรมะไม่พอใช่ไหมเจ้าค่ะ
ตอบ : เรายังตั้งหลักไม่ถูก จับหลักไม่ได้ เจริญพร ใจเรายังเคว้งคว้างอยู่ แต่ว่าเราก็พอได้ไหมล่ะ เจริญพร ข้อสำคัญ พอได้นะ ต้องกลายเป็นผู้รักษาคนอื่น ตอนนี้เจริญพรทุกท่าน ต้องตั้งตัวกลับเป็นผู้รักษาสังคมอย่างที่บอก เราอย่ามัวมาเป็นผู้อ่อนเปลี้ยท้อแท้ห่อเหี่ยวหงอยเหงา เศร้าซึม หดหู่ เบื่อหน่าย อะไรต่ออะไร อยู่ไม่ได้ อันนั้นเป็นสภาพจิตที่ไม่ดี เราก็กลายเป็นอยู่กับความรู้สึก เป็นด้านอารมณ์ เราก็ป่วยทางอารมณ์นั่นเอง พอป่วยทางอารมณ์มันเลยปิดกั้นปัญญา เพราะฉะนั้น เราต้องตั้งหลักขึ้นมา คือไปเอาปัญญามาเป็นหลักเลย ปัญญามันก็เอาธรรมเป็นหลัก ปัญญามันมีที่จับก็คือมันอยู่กับธรรมะมันเป็นตัวเข้าถึงธรรมมะ พอปัญญาเอาธรรมมะมาให้ปั๊บใจมันก็เข้มแข็งขึ้นมามันก็ได้ที่หายป่วยเลย หายป่วยทางอารมณ์ หายป่วยทางความรู้สึก เข้มแข็ง ก็ขอให้ทุกท่านเข้มแข็งทางปัญญา หายป่วยทางปัญญา เข้มแข็งทางปัญญา มีสุขภาวะทางปัญญา แล้วสุขภาวะทางจิต ทางอารมณ์ ทางสังคม ทางกาย ก็อาจจะตามมา ตามมาไม่มากก็น้อยแต่ตามมาแน่ ๆ ก็ขออนุโมทนา ไม่มีปัญหาอีกหรือ เจริญพร
ถาม : กราบเรียนว่าเวลานี้รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการเปิดบ่อนเจ้าค่ะ จะเปิดบ่อนคาสิโนให้คนเล่นการพนันได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย แล้วก็มีผู้สื่อข่าวไปถามพระดังรูปหนึ่งว่า ทำแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ท่านบอกว่า ตามหลักพระพุทธศาสนามันก็ไม่ถูกหรอกแต่อันนี้เห็นใจรัฐบาลเหลือเกินที่ต้องทำแบบนี้ เพราะว่าแก้ไขคนไทยไม่ได้แล้วเลยต้องตามใจให้เขาเล่น
ตอบ : อาตมาไม่วิจารณ์ แต่ต้องเห็นใจพระที่ท่านตอบแบบนั้น เจริญพร คืออย่างที่ว่า พระจะธรรมะให้แล้วโยมก็ไปวัดกันเอาเอง
ถาม : พระตอบแบบนี้ถือว่าบอกธรรมะแล้วหรือเจ้าค่ะ
ตอบ : อ้อไม่ใช่ คือตอบทั่ว ๆไปอยู่แล้ว
ถาม : เราก็มีความหวังว่าไปถามพระ พระคงจะให้ธรรมะอย่างดี ปรากฏว่าพระตอบอย่างนี้ โยมก็อาการป่วยทรุดลง
ตอบ : ไม่ทราบ ทีนี้ ท่านอาจจะเตรียมก้าวออกจากตรงนั้นก็ได้ ก็หมายความว่าจากฐานที่ว่าให้ธรรมะนี่ท่านจะให้อย่างอื่นด้วย ก็บางทีก็อย่างที่ว่าก็ต้องเห็นใจ ท่านก็ลำบากใจเหมือนกัน การที่จะตอบอะไร ที่นี่ถ้าท่านตั้งหลักอย่างที่ว่า โยมไปคิดเอาเองนะฉันจะให้ธรรมะอย่างนี้ก็หมดเรื่องไปเลย พระก็จะบอก เพราะไม่อยากไปยุ่งกับเรื่องความรู้สึก คือคนเราไม่มากก็น้อยต้องขึ้นต่อชอบใจและไม่ชอบใจ ความชอบใจและไม่ชอบใจมันจะมาครอบงำความรู้สึกเป็นตัวใหญ่ทางด้านอารมณ์แล้วก็จะเป็นตัวนำในการที่จะป่วยหรือไม่ป่วย ท่านจึงให้มีสติไม่ขึ้นต่อความชอบใจและไม่ชอบใจ
พอชอบใจไม่ชอบใจมาเนี่ยให้ตั้งหลักทันทีว่าไม่เอาความชอบใจหรือไม่ชอบใจเป็นตัวกำหนดแล้วเราก็เอาธรรมะเป็นตัวกำหนด อย่างที่ว่า "เอาธรรมเป็นประมาณเอาหลักการเป็นเกณฑ์" ตั้งขึ้นมา