แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
พระถาม โยมมีอะไรจะคุยละ
คนฟังถาม ท่านเจ้าคะ ดิฉันขอกราบเรียนถามถึงเรื่องจริยธรรม อยากให้ท่านอธิบายเรื่องจริยธรรมคืออย่างไร เพราะว่าขณะนี้มีคนเรียกร้องหาจริยธรรมกันมาก ในการทำงาน ในการปกครองอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ อยากขอให้ท่านอธิบายเพื่อให้ทราบทั่วกันค่ะว่า คำว่าจริยธรรมนั้นเป็นมาอย่างไร แล้วก็ขอย่อ ๆ เจ้าค่ะ
พระตอบ คือมันเป็นเรื่องที่คนปัจจุบันนี่ถูกกระทำให้สับสน ก็อยู่กันมาดี ๆ เราก็มีคำเช่นศีลธรรม คำนั้นใช้มาในสังคม แล้วก็ยังใช้อยู่ ๆ ก็มามีคำใหม่ เมื่อมีจริยธรรมขึ้นมา แล้วก็มีความโน้มเอียงที่จะไม่ค่อยใช้คำว่าศีลธรรม แล้วคำใหม่จริยธรรมตัวเองก็ไม่ชัด แล้วก็มาใช้กันไปเป็นคำโก้ ทีนี้เมื่อตัวเองไม่ชัดมันก็ยุ่งนะสิ ความหมายมันไม่ชัดนี่ก็พูดเกล่อ ๆ ไปงั้นเอง เดี๋ยวก็อบรมจริยธรรมที่นั่น ที่นี่ พอถามความหมายแท้ก็ไม่ชัดเจน มันยุ่งพอดู
คือคำว่าจริยธรรมเนี่ยความจริงมันก็เป็นศัพท์ที่มาจากภาษาพระภาษาบาลี แต่ที่ใช้ในรูปว่าจริยธรรมนี่ท่านไม่นิยมใช้ ใช้ได้แต่ว่าท่านไม่ได้ถือเป็นศัพท์ มันมีประกอบอยู่ในคำอะไรอยู่แห่งสองแห่ง ซึ่งไม่เป็นศัพท์แท้ของมันนี่เราก็มาใช้เป็นศัพท์บัญญัติเมื่อประมาณสัก 30, 40 ปี ตอนที่เราบัญญัติ เอ็ดดิก คำฝรั่งว่า เอ็ดดิกนี่ เราจะใช้เป็นภาษาไทยอะไรก็เกิดมีบัญญัติขึ้นมา ในทางปรัชญาเอ็กดิก มีเอสนี่ บัญญัติว่าเป็นจริยศาสตร์ แล้วก็สำหรับในศัพท์ทั่วไปก็ใช้เป็นจริยธรรม ก็บัญญัติขึ้นมา ก็เลยมีคำว่าจริยธรรมเกิดขึ้นมาในสังคม นี้ก็กลายเป็นว่าเราต้องไปให้ความหมายจริยธรรมตามศัพท์ฝรั่งเวลาจะมองว่าจริยธรรมมีความหมายอย่างไรก็ต้องไปดูเอ็ดดิกของฝรั่งความหมายว่าอย่างไร ก็คือความหมายศัพท์นี่ไปขึ้นต่อศัพท์ฝรั่งเพราะเป็นศัพท์บัญญัติ เราก็เลยต้องไปดูเอ็ดดิกคืออะไรก็ยุ่งพอดู ก็เป็นธรรมดาก็ต้องบัญญัติเพราะว่าศัพท์เขามาใช้ในทางวิชาการด้วย แต่ทีนี้ว่าเราก็ไปหลงอยากจะใช้ศัพท์แบบฝรั่ง งั้นเราก็ไปเที่ยวเอาคำบัญญัติแบบฝรั่งมาใช้หมด ไอ้ศัพท์เดิม ๆ ของเราก็ทิ้งไป
ทีนี้เอ็ดดิกเอาในแง่ฝรั่งเอาเข้าคร่าว ๆ ว่าความหมายของเขานี่มันเน้น การปฏิบัติ การประพฤติในทางสังคมหรือแสดงออกภายนอก การอยู่ในสังคม การกระทำต่อกัน การประพฤติตัววางตัวอะไรต่าง ๆ ในสังคมที่แสดงออกมุ่งในด้านข้างนอกก็เรียกว่าจริยธรรม ที่นี้มองดูว่าเอ้ไอ้จริยธรรมที่มันแสดงออกภายนอกนี่มันไม่พอนะ ในใจมันต้องมีความดีอยู่ด้วย จะมีแต่การแสดงออกประพฤติปฏิบัติอย่างเดียวมันก็ไม่มั่นคงแล้วมันก็ไม่แท้จริง ก็เลยไปนึกว่า อ้อถ้างั้นในทางจิตใจจะต้องมีความดีด้วย ไป ๆ มา ๆ ก็เลยบอกว่าเออในทางจิตใจนี่คุณความดีมันมีศัพท์ ต้องมีด้วยคำว่าคุณธรรม ก็เลยต้องมีคำที่ต้องนิยมใช้คู่กันว่ามีจริยธรรมก็ให้มีคุณธรรมพร้อมไปด้วย ต่อมาก็เลยคู่ ๆ กัน คุณธรรมและจริยธรรม จะเห็นในสังคมปัจจุบันนี่เวลาจัดประชุมจัดกิจกรรมอะไรก็จะมีคู่กันโดยมากเลย คุณธรรมและจริยธรรม คุณธรรมเป็นความดีภายในจิตใจแสดงออกมานำมาสู่การปฏิบัติเป็นจริยธรรมเป็นอย่างงั้นไป จริยธรรมก็ต้องมีคุณธรรมเป็นฐาน อันนี้ความคิดมันก็สืบเนื่องมาจากการที่ไปนำศัพท์บัญญัตินี้มาใช้ก็เป็นเรื่องของโลกสมัยใหม่ที่ไปนิยมตามฝรั่ง ใช้ศัพท์ของเขามา
ทีนี้ตอนหลังนี้ก็มี เอ้อแล้วเรามีคำว่าศีลธรรมเดิมว่ายังไง ยุคหลังนี้ก็เลยเอาอย่างงี้ก็แล้วกัน ตกลงเขาก็ให้ความหมายว่า ศีลธรรมก็คือหลักความประพฤติที่มาจากศาสนา เพราะเดิมในเมืองไทยเราสังคมไทยนี้นับถือพุทธศาสนาหลักคำสอนหลักปฏิบัติในทางความประพฤติมันก็มาจากพุทธศาสนา พุทธศาสนาก็เป็นศาสนาหนึ่ง ศีลธรรมนั้นเป็นหลักความประพฤติที่มาจากศาสนาเป็นศีลธรรม เอาละให้ความหมายแยกกันซะ ว่าจริยธรรมนี้ก็เป็นหลักความประพฤติที่เป็นกลาง ๆ เอ้อเติมสากลเข้าไปอีก ก็เลยมีคำว่าจริยธรรมสากล หรือแม้ไม่เติมก็ให้ถือว่าจริยธรรมนี่เป็นของกลางของสากล มีที่ไหนก็ประพฤติออย่างนั้น เหมือนกับว่าช่วยเหลือกันเนี่ยเป็นจริยธรรมเป็นของสากลเป็นจริยธรรมสากลไม่ว่าศาสนาไหนหรือไม่ใช่ศาสนานอกศาสนาก็ถือว่าดีหมดเป็นจริยธรรม แต่ว่าหลักความประพฤติบางอย่างที่มาในศาสนาก็เรียกเป็นศีลธรรมไม่เป็นจริยธรรม นักให้ความหมายระยะหลังก็จะโน้มไปในทางให้ความหมายอย่างนี้ ว่าจริยธรรมก็คือหลักความประพฤติ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากคุณธรรมในใจ คุณธรรมก็ภาษาอังกฤษเวอร์จิว ก็ต้องมีเวอร์จิวเป็นคุณธรรมอยู่ข้างในใจแล้วก็ออกมาสู่การประพฤติปฏิบัติ เช่น ในสังคมก็เป็นเอ็ดดิกเป็นจริยธรรม ก็มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นของสากล ถ้ามาจากศาสนาก็เป็นศีลธรรม อันนี้ความหมายแบบสมัยใหม่ที่ค่อย ๆ เหมือนกับพัฒนาขึ้นไป
เอ้าทีนี้เราหันมาดูในหลักของพุทธศาสนา ทางพุทธศาสนาเนี่ยที่จริงจริยนี่ใช้อยู่ แต่ไม่มีคำว่าธรรม ก็บอกเมื่อกี้แล้วว่าจริยก็เป็นศัพท์หนึ่งในพุทธศาสนา มีคำว่าจริย ก็เป็นศัพท์สำคัญในพุทธศาสนาก็มีคำว่าพรหมะเติมเข้าข้างหน้า ก็เป็นพรหมจริยา แล้วก็มาแปลเป็นไทยว่าพรหมจรรย์ พรหมจรรย์นี่แปลความหมายเยอะ แล้วบางทีความหมายบางอย่างก็อาจจะแคบไป ก็ถ้าก็ถ้าจะให้ดีก็ใช้ศัพท์เดิมว่า พรหมจริยา จริย ก็จริยนั่นแหละ แล้วก็พรหมะที่เป็นของประเสริฐเป็นพรหม พรหมะคือพรหม พรหมะเป็นพรหม พรหมแปลว่าประเสริฐยิ่งใหญ่ของผู้มีคุณความมีจิตใจยิ่งใหญ่ คือคำว่าพรหมนี่ในศาสนาพราหมณ์เดิมเขาใช้เป็นชื่อของเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด แต่ว่าเวลาใช้เป็นคุณศัพท์พรหมก็คือประเสริฐยิ่งใหญ่ เช่นว่าจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่ ที่นี้พรหมจริยาเป็นจริยะที่ประเสริญ เพราะว่าจริยะนี่อาจจะไม่ประเสริฐก็ได้ จริยะมันคำเป็นคำกลาง ๆ จริยะก็มาจากรากศัพท์เดิมมันเป็นกิริยา รากศัพท์มันคือจร จร ก็จอรอนั่นเอง จอรอจะระ มาเป็นไทยเราอ่านจรในภาษาบาลีก็อ่านว่าจะระ จอหรือจะระตัวนี้ก็แปลว่าเดิน เดิน ถ้าไปไกล ๆ เรียกว่าเที่ยว เดินหรือเที่ยว เราก็ใช้เป็นภาษาธรรมดาจร จรไปก็จรมา จรไปจรมา เป็นภาษาบาลีว่าจราจรเดินไป อาจาระ อาแปลว่ามา เติมหน้าจร จรเดินไป อาจรเดินมา รวมกันเป็นจราจรแปลว่าเดินไปเดินมา ก็มาใช้เป็นภาษาไทย เราก็รู้จักกันจราจรทั่วไป หรือว่าพเนจร พเนจรก็วันนะภาษาบาลีท่านเรียกว่าแจกพิพัฒน์เป็นวะเน ภาษาบาลีมาเป็นไทยนี่วอแผลงเป็นพอได้ เหมือนกับวะนะ แปลว่าป่า มหาวนาป่าใหญ่อยู่ในเวสสันดรชาดกกัณฐ์หนึ่ง ว่ามหาวะนะมาเป็นไทยก็เป็นมหาพน วะนะวอเป็นพอกันมหาพนก็ป่าใหญ่ แล้วทีนี้ก็มาแจกวิภัต วะนะหรือพะนะในป่าจะเป็นรูปว่าวะเณ หรือ พะเน วะเน พะเนแปลว่าในป่า แล้วเติมจรเข้าไปเป็นวเนจรหรือพเนจรแปลว่าท่องเที่ยวไปในป่า หมายความว่าเป็นคนเดินป่า เดินไปไม่มีจุด หมายสมัยก่อนป่ามันมากไม่เหมือนสมัยนี้ คนที่เดินป่าเที่ยวในป่าก็เป็นคนที่ไม่มีจุดหมาย แล้วต่อมาเข้าภาษาไทยเลยคนพเนจรก็เลยกลายเป็นคนที่ไปไหนมาไหนไม่มีจุดหมายเรียกเป็นคนพเนจร แต่ก่อนนี้หมายถึงว่า เป็นคนเดินเที่ยวไปในป่าไม่มีหลักแหล่งเลย อย่างนี้เป็นต้น คือตกลงว่าจรตัวนี้ก็เดินนั่นเอง ทีนี้เดินในทางรูปธรรมก็เดินไปจร เอ้าท่านก็เอาศัพท์รูปธรรมนี่มาใช้กับนามธรรม หรือศัพท์รูปธรรมเยอะเอามาใช้เป็นนามธรรม เหมือนอย่างมรรค มรรคมีองค์ 8 นี่ มรรคมันก็ทางนี่แหละ ทางเดินก็เรียกว่ามรรค ก็เอาศัพท์รูปธรรมมาใช้กับธรรมะเป็นมรรคมีองค์ 8 ประการใช่ไหมเจริญพร มรรคก็กลายเป็นศัพท์ธรรมะไปเป็นนามธรรม ทีนี้จรเดินนี้ก็เหมือนกัน จรเดิน เอ้าทีนี้เดินทางก็เดินไป ชีวิตของเรานี่ในแง่หนึ่งก็เหมือนกับว่า เราอยู่ไปเหมือนกับเดินทางในชีวิต เดินทางชีวิตเราก็เลยเอาจร จรที่เดินในทางรูปธรรม เดินถนนหนทางนี่ใช้กับชีวิตด้วย เดินนี่เราแผลงเป็นดำเนินได้ เดินดำเนิน ทรงเดินก็ทรงพระดำเนิน เสด็จพระราชดำเนินก็เดินไปนั่นแหละ เดินเป็นดำเนิน ทีนี้มาเดินทางชีวิตเราก็เลยเรียกดำเนินชีวิตนี่จร จรเดินมันก็เลยกลายเป็นมาใช้นามธรรมกับชีวิตได้เป็นดำเนินชีวิต เอาละโยมก็เห็นแล้วนะ จรดำเนินชีวิต ทีนี้จรนี่มันเป็นต้นศัพท์เวลาทำให้เป็นนามสมบูรณ์นี่ท่านก็ใส่องค์ประกอบหรือเครื่องปรุง เครื่องปรุงทางไวยากรณ์ท่านเรียกปัจจัยใส่เข้าไป ปัจจัยตัวนี้เติมเข้าไป จรให้เป็นนาม จรมันเป็นกิริยา เติมนิยะ จะระก็เลยกลายเป็นจริย จริยก็แปลว่าการเดิน หรือการดำเนิน นี้เราใช้ทางนามธรรม เมื่อกี้นี้บอกแล้ว ดำเนินชีวิต จริยก็แปลว่าการดำเนินชีวิต เอาละโยมก็เห็นแล้ว พระพุทธเจ้าก็ใช้ จริย มรรค แล้วอีกศัพท์หนึ่งคือ ปฏิปทา ศัพท์นี้มาจากรูปธรรมทั้งนั้น มาจากเรื่องถนนหนทาง ทางเดินการเดินนี่แหละ มรรคทางเดิน ก็มาเป็นมรรคมีองค์ 8 จริยการเดินก็เป็นจริยการดำเนินชีวิต แล้วก็อีกตัวหนึ่ง เดินทางเนี่ยภาษาบาลี เขาเรียกว่าปฏิปทะ เวลาเดิน เดินทางเนี่ยภาษาบาลีก็ปฏิปชติเดินไป เดินทางไป นี้ใช้ในทางนามธรรมก็เดินทางชีวิตเหมือนกันมาเป็นรูปศัพท์ ที่เรียกปฏิปทา โยมก็เห็นแล้วใช่ไหม นี่ปฏิปทาก็คือการดำเนินชีวิตของตัวเอง ดำเนินไปอย่างไร ก็เป็นศัพท์อย่างเดียวกันชุดเดียวกันเป็นมรรค เป็นจริยะ เป็นปฏิปทา ทั้ง 3 ศัพท์นี้ มาเป็นชื่อขององค์ธรรมเดียวกันหมด องค์ธรรมนั้นก็คือ ชุดที่เรียกว่ามรรคมีองค์ 8 ประการ มรรคมีองค์ 8 ประการ เรารู้จักกันมากที่สุด แต่บางทีก็เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทาใช่ไหม เจริญพรนี่ ปฏิปทาที่ก็ทางเดินเหมือนกัน แต่ว่าทางเดินสายกลางมัชฌิมาปฏิปทาคืออะไร ก็บอกก็คือมรรคมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐ มรรคมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐนี่แหละคือมัชฌิมาปฏิปทา ตกลงมรรคปฏิปทาศัพท์เดียวกัน ทีนี้พระพุทธเจ้าทรงใช้อีกศัพท์อีกอย่างว่า จริย จริยทั่วไปมันเดินดีหรือเดินไม่ดีก็ยังไม่รู้ใช่ไหมเจริญพร ก็เดินให้มันดีเดินให้ประเสริฐก็เติมคำว่ามรรคเข้าไปก็เป็นจริยการดำเนินชีวิตอย่างประเสริฐก็เป็น พรหมจริยะ พรหมจริยะคือมัชฌิมาปฏิปทาหรือมรรคมีองค์ 8 ประการอันเดียวกันหมด ตกลงว่าธรรมจริย เป็นชื่อของมรรคมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐ เอ้าแล้วนะโยมเข้าใจแล้วนะ ธรรมจริยพุทธเจ้าก็ตรัสว่า อะยะเมวริยะโตกะหังมิโกมะโค พรหมจริยัง ก็บอกว่ามรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐนี้แหล่ะ เรียกวว่าพรหมจริยะ มีพุทพจน์ไว้ด้วย ตกลงโยมเข้าใจแล้วนะ นี่คือจริยาในพุทธศาสนาของเดิม แยกนะโยมต้องแยกจริยธรรมปัจจุบันกับจริยในพุทธศาสนาที่เป็นของเดิม แยกได้แล้วนะเจริญพร จริยธรรมนั้นบัญญัติมาจากเอ็ดดิกของฝรั่ง ส่วนจริยในพุทธศาสนานี่คือพรหมจริยะที่หมายถึงมรรคมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐ การดำเดินชีวิตอย่างประเสริฐ ทีนี้การดำเนินชีวิตอย่างประเสริฐ หรือการเดินทางชีวิตอันประเสริฐเนี่ยต้องเป็นมรรคมีองค์ 8 ประการ สรุปลงเป็น 3 ใช่ไหมเจริญพร มรรคมีองค์ 8 ประการสรุปเป็น 3 มีอะไรบ้าง มีศีล สมาธิ ปัญญา ท่านสรุปเป็นขันธ์นะ เวลาสรุปนี่โยม ขอให้ทราบอันนี้ก่อน คือ เวลาเรียกไปหมวด ๆ ท่านใช้ภาษาบาลีว่าขันธ์ 3 ขันธ์แปลว่าหมวด นี้มรรคมีองค์ 8 เป็นข้อ ๆ เรียกว่าองค์ องค์ก็แปลว่า ข้อ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ แต่ละอันก็สัมมาทิฏฐิก็เป็นองค์หนึ่ง สัมมาสัมกัปปะก็เป็นองค์หนึ่ง สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ แต่ละข้อนี่เป็นองค์ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ที่นี้ก็จัดองค์นี้รวมเข้าเป็นขันธ์ก็เป็นหมวด สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ 2 องค์นี้รวมเป็นขันธ์หนึ่งเรียกว่าปัญญาขันธ์ก็เป็นหมวดปัญญา แล้วก็สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ 3 องค์นี้รวมเป็นขันธ์ 1 เป็นศีลขันธ์ แล้วก็สัมมาวายามะสัมมาสติ สัมมาสมาธิ 3 องค์นี้รวมเป็นขันธ์หนึ่งเรียกว่าสมาธิขันธ์ ก็เป็นขันธ์ 3 โยมต้องรู้จักขันธ์อีกชุดแล้ว ก็เป็นอันว่ามีขันธ์ 3 มี ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์นี่
ทีนี้ถ้าปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 หรือ 3 ขันธ์นี้ไปนี่จะต่อไปเพิ่มได้อีกขันธ์หนึ่ง เรียกว่าวิมุตติขันธ์ วิมุตติขันธ์ได้อีกขันธ์หนึ่งแล้ว คือหมวดความหลุดพ้นแล้วผลสำเร็จของการปฏิบัติได้วิมุตติขันธ์ แล้วก็จะได้วิมุตติญาณทัสสนะขันธ์อีกขันธ์นึงก็รวมเป็น 5 ขันธ์ จบจริง ๆ ต้องมี 5 ขันธ์ เพราะฉะนั้นมรรคที่ปฏิบัติกันนี่อยู่ใน 3 ขันธ์แรก พอปฏิบัติไป ปฏิบัติไป จะเพิ่มอีก 2 ขันธ์ แล้วโยมจะได้เป็น 5 ขันธ์ แล้วโยมก็จะมีขันธ์ฝ่ายปฏิบัติ 5 ขันธ์นี้ไปคู่กับขันธ์ 5 โยมรู้จักใช่ไหมเจริญพร ขันธ์ 5 ชีวิตเรานี่ เราต้องปฏิบัติไอ้ขันธ์ 5 ชีวิตของเราให้เป็นที่ตั้งของ 5 ขันธ์นี้ ขันธ์ของเรามีอะไรบ้างละ 1 รูปขันธ์ 2 เวทนาขันธ์ 3 สัญญาขันธ์ 4 สังขารขันธ์ 5 วิญญาณขันธ์ นี่ชีวิตของเรายังเป็นของดิบ ๆ อยู่ ยังไม่รู้ว่ามันดีมันร้าย เอามาใช้ยังไง ก็แล้วแต่จะใช้ นี่เรามี 5 ขันธ์อยู่แล้ว เรามีขันธ์ 5 ก็คือ 5 ขันธ์ ถ้าเราปฏิบัติไปบรรลุผลดีแล้วจะได้อีก 5 ขันธ์ ได้ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณขันธ์ ก็ต้องให้ขันธ์ 5 นี่มาเป็นที่ตั้งของอีก 5 ขันธ์ แล้วก็สมบูรณ์เลย เอ้าอาตมาก็ว่าเรื่องเปื่อยไป
เอ้าว่าเรื่อง 5 ขันธ์ต่อไป นี้กลับมาตอนนี้เรายังอยู่ในขั้นปฏิบัติเรายังไม่ได้ครบ 5 ขันธ์นะ ก็กลับมาแค่ 3 ขันธ์ 3 ขันธ์ก็คือมรรคเมื่อกี้ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ ไอ้นี้คือตัวองค์ธรรม ทีนี้เราจะต้องไปปฏิบัติไปฝึกให้มันเกิดเป็นผลขึ้นมา ท่านก็จัดเป็นระบบการปฏิบัติเรียกว่าสิกขา การศึกษาการฝึก เราจะเห็นว่าเมื่อไปฝึกนี่ฝึกชีวิตเพื่อจะให้ขันธ์เหล่านี้นะ ไอ้การปฏิบัตินี่ท่านเรียกสิกขา ก็ปฏิบัติให้ได้ชุดนี้ ไอ้ข้อปฏิบัติมันก็เรียกอย่างนี้เหมือนกัน ก็เลยกลายเป็นว่าที่เป็นศีลขันธ์นี่ ก็เป็นศีลสิกขาเป็นฝ่ายปฏิบัติ แต่เวลาเรียกท่านเรียกให้มันมีความหมายชัดว่ายิ่งขึ้นไป ยิ่งขึ้นไป ก็เลยเรียกว่าเป็นอทิศีลสิกขา มีคำว่าอทินำหน้า เช่นอย่างศีล 5 ถ้าปฏิบัติเรื่อยเฉื่อยไป ท่านบอกไม่ใช่อทิศีลสิกขา ถ้าจะเป็นอทิศีลสิกขานี่ต้องปฏิบัติด้วยความรู้ความเข้าใจมีจุดหมายถูกต้อง สัมพันธ์กับการที่จะให้เกิดสมาธินำไปสู่พระนิพพานอะไรอย่างนี้ เรียกว่าอทิศีลสิกขา แม้ปฏิบัติศีล 5 ก็เรียกอทิศีลได้ก็อยู่ในสิกขา เอาละศีลมาเป็นสิกขาก็เป็นอทิศีลสิกขา ทีนี้สมาธิมาเป็นสิกขาเราก็เรียกง่าย ๆ ว่าสมาธินี่แหละ แต่ว่าท่านจัดเป็นสิกขา ท่านเอาคำว่าจิตมาแทน เพราะเรื่องสมาธิเป็นเรื่องการฝึกจิตใจ ก็เรียกอทิจิตสิกขา การฝึกด้านจิต แล้วก็ปัญญาก็เป็นอทิปัญญาสิกขา เวลาเรียกกันสั้น ๆ ลัด ๆ เป็นชุด ก็เรียกว่าศีลสมาธิปัญญา สิกขา 3 ก็เรียก ศีลสมาธิปัญญา ชื่อเต็มคำว่า อทิศีลสิกขา อทิจิตสิกขา อทิจะปัญญาสิกขา เราก็เรียกกันแค่ศีลสมาธิปัญญา ตกลงศีลสมาธิปัญญา ก็มาเป็นสิกขา แล้วก็มรรคมีองค์ 8 ก็ย่อลงจัดเป็นหมวดหมู่ก็รวมกันแค่ 3 ศีลสมาธิปัญญานี่ จะไปเรียก ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ หรือเรียกศีลสมาธิปัญญาเข้าชุดไตรสิกขาแล้วแต่ อันนี้โยมเพียงรู้ไว้เป็นความรู้ แต่ข้อที่น่าสังเกตุก็คือองค์ 8 ของมรรค มาจัดหมวดหมู่เป็นศีลสมาธิปัญญา ศีลสมาธิปัญญาประกอบกันนี้เรียกว่าเป็นมรรค เป็นปฏิปทาที่เป็นมัฌชิมา แล้วก็เป็นพรหมจริยะ อันนี้ก็คือเป็นมรรคก็ได้ ปฏิปทาก็ได้ พรหมจรรหรือพรหมจริยะก็ได้
เอาละเรามาเน้นในแง่ พรหมจริยะ จริยอันประเสริฐ การดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ นี่มีหลักการใหญ่ 3 อย่าง คือ ศีลสมาธิปัญญา ศีลก็คือความประพฤติทั่วไป ความประพฤตินี่เราแยกไปอีกก็คือกายวาจาด้านภายนอกกายวาจา เอาที่แสดงออกก็เป็นกายวาจา กายวาจาคือเจตนาที่ออกมาทางกายวาจาเน้นที่ตัวเรา คือกายวาจาที่ไปสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก สิ่งภายนอกมีอะไร 1 มนุษย์ด้วยกันสมัยปัจจุบันเขาเรียกทางสังคม ก็คือความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่ร่วมกับคนอื่นเป็นยังไง ดีไหม เบียดเบียนเขาไหม ทำร้ายเขาไหม หรือสงเคราะห์ช่วยเหลือกัน เอาแล้วอะไรอีก ไม่ใช่เฉพาะสัมพันธ์กับมนุษย์เท่านั้นนะ สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอาหารการกิน สิ่งที่ได้พบ ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังอะไรต่าง ๆ สิ่งแวดล้อมทั้งหลายทั้งหมด ตกลงว่า ศีลนี่ก็มีกายวาจา แต่แยกละเอียดไป เอ้ามันไม่ใช่แค่นั้นนะ กายวาจานี่เป็นด้านกระทำ อย่างวาจานี้ก็พูดออกไปเป็นการกระทำเลย แต่ทีนี้บางอย่างรับเข้ามา อย่างรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสนี่เห็นได้ยิน ได้กลิ่นลิ้มรส อันนี้ฝ่ายรับ ตกลงว่าเราไม่ได้ใช้แต่กายวาจาอย่างเดียวนะ ที่จริงนะเราสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายนี่ ตาหูจมูกลิ้นกายแล้วก็มาเข้าใจ กายวาจาก็ออกไปจากใจ กายวาจาออกไปจากใจ ตาหูจมูกลิ้นกายเข้ามาใจ แดนเข้ากับแดนออก ตกลงก็เลยมี 2 แดน ไอ้ที่เราออกไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกนี่แดนรับเข้ากับแดนออก ท่านก็เลยแยกเป็นทวาร 2 ชุด เป็นทวารฝ่ายรับเข้าเรียกว่าผัสสะทวารมี 6 ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ใจมาเป็นแกน แต่ว่าที่ไปรับมาก็ตาหูจมูกลิ้นกาย นี้เรียกว่าผัสสะทวาร ประตูรับรู้ แล้วก็ประตูการกระทำแสดงออก ท่านเรียกกัมมะทวาร กัมมะทวารก็มี 3 กายวาจาใจหรือกายวทวาร วจีทวาร มโนทวาร อันนี้ก็ไว้แสดงออกก็เริ่มจากใจคิดอย่างไรแล้วก็แสดงออกทางกาย แสดงออกทางวาจาพูด นี่ทวาร 2 ชุดนี้เราก็สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์สัมพันธ์กันอย่างไรจะดีร้ายเบียดเบียนหรือไม่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน หรือจะไปสัมพันธ์กับสิ่งของวัตถุ อาหารการรับประทานหรือไปสัมพันธ์กับวิทยุทีวีไปฟังไปดูชมอะไรต่าง ๆ นี่ แดนที่สัมพันธ์ภายนอกทั้งหมด ปฏิบัติให้ถูก ท่านเรียกว่าศีลทั้งนั้น เพราะฉะนั้นศีลเยอะหมดเลย ก็คือถ้าดูที่ชีวิตเราก็ดูที่ทวารกายวาจาหรือว่าตาหูจมูกลิ้นกายแล้วก็ลงมาถึงใจที่ไปเกี่ยวข้องทั้งหมดอยู่ในแดนของศีล
เพราะฉะนั้นของพระนี่ ศีลจะครบ จัดเป็น 4 ชุด ชุดอินทรีย์สังวรการใช้อินทรีย์ตาหูจมูกลิ้นกายใช้เป็นไหม ถ้าใช้ไม่เป็นดูอะไรต่ออะไรลุ่มหลงดูทีวีดูอะไรแล้วก็ลุ่มหลงมัวเมาเป็นโทษแก่ชีวิตสังคม ท่านเรียกว่าไม่มีศีล ถ้าอินทรีย์ใช้เป็นดูแล้วเกิดความรู้ได้คติอะไรต่าง ๆ เนี่ยมาเป็นประโยชน์กับชีวิต ท่านเรียกว่ามีศีล อินทรียสังวรศีล ชื่อเต็มเลยอินทรียสังวรศีล ศีลอินทรีย์นี้สำคัญมากคนไทยเราไม่ค่อยจะเอามาใช้ พระบวชปั้บนี้อินทรีย์สังวรศีลอันดับหนึ่งเลย ต้องเริ่มด้วย การใช้อินทรีย์ถ้าใช้ไม่เป็นแล้วเป็นโทษมาก แล้วเด็กเดี๋ยวนี้ก็ใช้อินทรีย์ไม่เป็นตั้งแต่เรื่องของไอทีนี่แหละ ไอทีนี้ชุดอินทรียสังวร เด็กสัมยนี้ไม่มีศีลชุดนี้แย่ ใช้ไอทีไม่เป็นได้รับโทษจากไอทีเพราะไม่มีอินทรียสังวรศีล ศีลชุดที่ 1 แล้วก็ศีลชุดที่ 2 การสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอะไรอ่ะ ก็อาหารการรับประทานสิ่งเสพบริโภค สิ่งเสพบริโภค เครืองอุปโภคบริโภคใช้สอยทั้งหลายเนี่ยเราต้องปฏิบัติต่อมันให้เป็น อย่างนี้เรียกว่าปัจจัย 4 สิ่งประคับประครองอุดหนุนชีวิตตั้งแต่อาหารการกินเป็นต้นไป อาหารเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เครื่องใช้สอยต่าง ๆ นี่ต้องใช้ให้เป็น กินไม่เป็นอย่างเดียวก็เกิดโทษแก่ร่างกายต่อชีวิตแล้วก็ลุ่มหลงมัวเมาใช้สิ้นเปลืองเบียดเบียนคนอื่น แต่ถ้าใช้เป็น กินเป็น ก็กินได้เป็นประโยชน์แก่ร่างกายแล้วก็รู้จักประมาณ ไม่เกิดโทษต่อชีวิตตนและผู้อื่นไม่เบียดเบียนกันไม่ทำให้เกิดการแย่งชิงเป็นต้นอะไรนี่ ทุกอย่างแหละต้องใช้เป็นหมด อันนี้ท่านเรียกปัจจัยสันนิสิตศีล ศีลที่อิงอาศัยปัจจัย 4 หรือบางทีเรียกว่าปฏิเสธวนา การรู้จักเสพบริโภค อันนี้ก็เรื่องใหญ่เลยเป็นศีลปัจจุบัน ยุคปัจจุบันนี้ไม่เอามาใช้เลย ก็รู้จักกิน กินให้เป็น นุ่งห่มให้เป็น แล้วจะได้ประโยชน์ ศีลชุดนี้เราไม่มี เราก็กลายเป็นทาสของบริโภคนิยม เสพบริโภคลุ่มหลงกันไปเป็นอันตรายต่อชีวิตและสังคมเสียอีก
ต่อไปก็มีอีก 2 ชุดเราต้องอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นหมู่เป็นคณะ เช่น พระก็อยู่เป็นชุมชนพระเป็นสังฆะ ก็ต้องมีกติการะบบชีวิตของชุมชนนี้ให้มันเหมาะกันว่าเรามีความประสงค์ของสังคมนี้ชุมชนนี้ชีวิตในระบบนี้อย่างไรก็วางข้อปฏิบัติกติกาให้เหมาะ ศีลนี่เช่นของพระนี่ก็มีชื่อพิเศษเรียกว่า ปาฏิโมกขสังวรศีล ที่เป็นศีล 227 เป็นเพียงหมวด 1 ในศีลพระ ที่มี 4 หมวดเท่านั้นไม่ใช่ศีลทั้งหมดแล้วก็แค่ไหนปาฏิโมกข์ นอกปาฏิโมกข์ยังมีอีกไม่รู้กี่พัน เราก็รู้จักพระมีศีล 227 ไม่จริงอะ ใครบอกพระมีศีล 227 เยอะแยะ แค่ปาฏิโมกข์ 227 นอกปาฏิโมกข์อีกกี่พัน ชุดปาฏิโมกขสังวรศีลนอกนั้นยังมี 3 หมวดปาฏิโมกข์ก็หมายความว่าเราอยู่ในชีวิตแบบไหนชุมชนแบบไหนก็ต้องปาฏิโมกช์สังวรศีล และนอกนั้นยังมีอีก 3 หมวด เอาแล้วปาฏิโมกข์ก็หมายความว่า เราอยู่ในชีวิตแบบไหนชุมชนแบบไหนก็ต้องมีกติกามีข้อปฏิบัติ เพื่อให้อยู่กันเรียบร้อยชุมชนนั้นสงบเกื้อกูลต่อการปฏิบัติเพื่อจุดหมายร่วมกันอันนั้น นี่เรียกว่าเป็นศีลปาฏิโมกขสังวรศีล แล้วก็อีกอันหนึ่งก็สำคัญคนเรานี่ต้องเลี้ยงชีวิตต้องทำมาหากิน การทำมาหากินก็ต้องมีกติกามีหลักประพฤติปฏิบัติอาชีพนั้นไม่เบียดเบียนผู้อื่นไม่ทำร้ายเขาไม่เบียดเบียนสังคมเป็นต้น เรื่องอาชีพก็ต้องเป็นศีลชนิดหนึ่งเรียกว่าอาชีวปาริสุทธิศีล หรือสัมมาอาชีวะนั่นเอง ก็เป็นศีลอีกชุดหนึ่ง ศีลนี่มีทั้งหมดสำหรับพระ 4 ชุด
ซึ่งโยมก็เหมือนกันท่านวางหลักไว้ว่า ปาฏิโมกข์สำหรับพระนี่ 227 ญาติโยมไม่ไหวหรอกเอาพอเหมาะก็เอาศีล 5 ถ้าจะถือเป็นปาฏิโมกข์ ถือศีล 5 นี่ก็ได้แค่ชุดปาฏิโมกข์ชุดเดียว เราบอกว่าให้ปฏิบัติศีล 5 ที่จริงได้ชุดเดียวไม่ได้ใช้ชุดอินทรียสังวรศีล ชุดปัจจัยสันนิสสิตศีล หรือปฏิเสวนา แล้วก็ชุดอาชีวะปาริสุทธิศีล ไม่ได้คิดกันเลย เพราะฉะนั้นต้องปรับปรุงสังคมใหม่ ยิ่งยุคนี้ไอทีนี่ อินทรียสังวรศีล ปัจจัยสันนิตสิตศีลนี่สำคัญอย่างยิ่งเลย การใช้ตาหูเป็นต้น แล้วก็การกินการเสพบริโภค ยุคนี้ต้องเน้นศีลนี้ เอาละเป็นอันว่านี่คือศีล นี่คือจริยชุดที่ 1 ศีลนี่เยอะแยะหมดแล้วนี่ แล้วศีลอันนี้แหละที่มาเป็นศีลธรรมของสังคมไทยแต่ท่านบอกว่าจริยะ หรือเราจะเรียกให้เข้ากับปัจจุบันว่าจริยธรรมก็แล้วแต่ จริยธรรมไม่ได้จบแค่ความประพฤติสัมพันธ์กับสิ่งภายนอกทางสังคมและทางวัตถุสิ่งแวดล้อมเท่านั้น
ต่อไปจริยะหมวดที่ 2 ก็คือสมาธิหรืออาทิตย์จิตสิกขาด้านจิตใจ เอาละสิบอกที่คุณจะดูอะไรจะฟังอะไรมันมาจากไหน มาจากใจมีเจตนา เจตนาตั้งใจ ตั้งใจจะดูนั่น ดูนี่ เอาจะดูนี่ก็เพราะมีเจตนาจะดู จะฟังนั่นเจตนาจะฟัง แล้วทำไมจึงมีเจตนาจะดูจะฟัง เอ้ามันมีโลภะหรือมีโทสะ หรือมีอะไรอยู่ไอ้ตัวนั้นเป็นตัวปรุงเจตนา เออเพราะมันชอบนี่ มันมีตัณหาชอบอย่างนั้นก็เลยดูนั่น เจตนาก็ตั้งไป แล้วมีโทสะอันนี้ก็เลยทำให้เจตนาตั้งไปจัดการยังงั้น ยังงี้ อ๋อไอ้ตัวประกอบปรุงในจิตใจเยอะแยะไปหมดนี่แดนจิตใจ ก็เลยกลายเป็นว่าไอ้ที่ออกมาแดนศีลนี่ มันมาจากแดนจิตใจ มีตัวเชื่อมคือเจตนา ออกมาเจตนาทั้งนั้นตาหูจมูกลิ้นกายนี่จะสัมผัสจะเสพ จะดูจะฟังอะไรก็เจตนาทั้งนั้นกำกับอยู่ แล้วกายวาจาจะพูดอะไรจะทำอะไรก็เจตนาทั้งนั้น เป็นกรรมทั้งนั้น ออกจากใจเพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่ไปจัดการกับด้านจิตใจให้เจตนามันออกมานะดีนะการแก้ปัญหาระดับศีลนี่มันไปไม่รอดได้แค่มีกติกาแล้วก็ต้องฝืนใจบังคับกันมีระเบียบ อันนี้ทำไม่ได้ อันนี้ฉันถูกลงโทษเป็นต้น อย่างนี้ก็ฟืนใจก็เป็นทุกข์ ทีนี้ถ้าหากว่าใจเราเอาด้วย เอออันนี้ดีนี่ เราจะปฏิบัติกติการนี้จะทำให้เรามีชีวิตที่ดีสังคมดีเราก็เต็มใจจิตใจก็ไม่ทุกข์ก็เป็นสุข เพราะอยู่ที่เจตนาแล้ว ฉะนั้นจะต้องไปฝึกด้านเจตนาระลึกลงไปก็คือตัวที่มาปรุงเจตนานี้ก็แดนจิตใจทั้งหมด โอ๋ลงไปแดนจิตใจสิ่งทั้งหลายที่อยู่ในใจเยอะแยะหมดที่เขาเอามาใช้อันหนึ่ง คุณธรรม นี่ ๆ เราโยงได้แล้วนะเขาเอฟฟิกของเขา ก็คือแดนที่ 1 เมื่อกี้ที่เราพูดแดนที่ 4 แดนสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเขาเน้นแง่สังคม แต่เขาคลุมเราไม่หมด ศีล 4 แดนเอ็ดดิกของเขานี่เขาคลุมได้แค่ไหน โยมลองพิจารณาดู ศีล 4 แดน 1 การใช้ตาดูหูฟังอะไร อินทรยสังวร 2 แดนเสพบริโภค 3 แดนอาชีพ 4 แดนกติกาสังคมชุมชนที่อยู่ร่วมกัน จริยธรรมของเขาคุมได้แค่ไหน คำว่าจริยธรรม ของเขาไม่มีหลักในการแจกแจงจำแนกชัดเจน บางทีไปเรียกจริยศาสตร์แบ่งเป็น 6 ไม่เป็นระบบที่ชัดเจน เอาละที่นี้ลงมาถึงแดนที่ 2 แดนใหญ่นะ จากศีลหรือแดนสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกทั้งทางสังคมและทางวัตถุก็มาจิตใจเลย จิตใจก็เป็นฐานที่ออกไปของศีล เราก็ต้องมาฝึกอบรมจิตใจ จิตใจมีอะไรบ้าง โอ๋มีเรื่องเยอะเลยกว่าจะออกสู่เจตนาออกมาสัมผัสภายนอก มันมีเครื่องปรุงมามาย มีดีมีร้าย ไอ้ดีก็มีเยอะ เช่น มีเมตตา มีกรุณา มีมุทิตา มีความเสียสละ มีความเคารพ มีความกตัญญู มีศรัทธา มีอะไรต่ออะไรนี่ แดนดีก็มีเยอะอันนี้แหละที่เรียกเป็นคุณธรรม ได้อันหนึ่งแล้วที่จะเป็นคุณธรรมสัมพันธ์อริยธรรม นี่แดนหนึ่ง ทีนี้ฝ่ายร้ายก็มีเยอะก็เป็นเรื่องของโลภะโทสะโมหะเรื่องความอิจฉาริษยาเรื่องอะไรต่ออะไรเยอะแยะไปหมดนี้ฝ่ายร้ายจิตใจ นี้เป็นเครื่องปรุงจิตใจ ที่ทำให้เจตนาออกมาอย่างนั้นแต่มันไม่ใช่เท่านั้นหรอก นอกจากนั้นแล้วอีกด้านหนึ่งก็คือความขุ่นมัว ความเศร้าหมอง ความเบิกบาน ความสดชื่น ความสุข ความทุกข์ ความเร่าร้อน ความเยือกเย็นอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ สภาพจิตใจด้านนี้ก็สำคัญมากนะ อันนี้มันไม่ใช่คุณธรรมมันเป็นภาวะด้านความสุข เรียกว่าความสดชื่น ความเบิกบานความเอบอิ่ม ความปลื้มใจซึ่งสำคัญมาก ด้านนี้ก็เรื่องใหญ่ ใหญ่มากทีเดียว เรียกง่าย ๆ เรื่องจิตใจด้านความสุขก็แล้วกัน เอ้านี่ 2 แล้วนะในด้านจิตใจ เรื่องความดีความชั่ว เอาความดีก็เป็นคุณธรรม แล้วเรื่องของความสุขไม่เอาความทุกข์ เอ้ายังเตรียมไม่พออีก ต้องมีอีกด้านหนึ่งของจิตใจคือสมรรถภาพของจิตใจที่มีความเข้มแข็ง ความตั้งมั่น ความอยู่ตัว ความแกล้วกล้า ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร อะไรพวกนี้นะ อันนี้ไม่ใช่ตัวดีตัวช่วยโดยตรง แต่เป็นตัวสำคัญเลย สติก็เป็นด้านนี้ เป็นตัวช่วยชีวิตมาก สติมันทำให้อยู่กับสิ่งต่าง ๆ ทันสิ่งต่าง ๆ ถ้าเราขับรถไม่มีสติใจลอยก็เกิดปัญหา กลายเป็นขับรถโดยประมาท โดยเฉพาะสมาธิ จิตใจตั้งมั่น ไม่มีสมาธิ ฟังอะไรก็ไม่รู้เรื่อง อ่านอะไรก็ไม่รู้เรื่อง ใจไม่อยู่กับสิ่งนั้นก็ต้องมีสมาธิต้องมีความเพียรใจแกล้วกล้าสู้เจออะไรที่ยากไม่ถอยมีขันติมีความอดทน อะไรต่ออะไรพวกเนี้ย ด้านนี้ก็เรื่องใหญ่เหมือนกันของจิตใจ เนี่ยพวกนี้สมัยนี้ก็ไม่รู้จะไปไว้ที่ไหนก็อาจจะไปขลุก ๆ อยู่ในคุณธรรมได้บ้างไม่ได้บ้าง พระก็ต้องแยกได้หมด โอ้ด้านจิตใจนี่ เยอะนี้ แล้วพวกนี้มีผลต่อเรื่องความประพฤติที่เป็นศีลทั้งนั้นเลย ที่เรียกว่าจริยธรรมนี่ ถ้าเราจะประพฤติดีเขาบอกต้องมีคุณธรรมในใจ เอ้ายอมรับต้องมีความดีเช่นว่าจะไม่เบียดเบียนกันไม่ทำร้ายผู้อื่นจะช่วยเหลือกันก็ให้มีคุณธรรมในใจมีเมตตา จริยธรรมที่ช่วยกันแสดงออกโดยมีคุณธรรมคือเมตตาในใจ อ้าวรับกันแล้ว แต่ว่าคุณธรรมนี่ไม่พอนะเราจะประพฤติความดีต่าง ๆ ได้ยั่งยืนมั่นคงและจริงจังมากนี่ ในเมื่อใจเรามีความสุข ถ้าใจเราทุกข์เราจะฝืนใจใช่ไหม ถ้านั้นก็ต้องทำให้จิตใจมีความสุขสดชื่นเบิกบานด้วย ถ้าใจมีความสุขสดชื่นเบิกบานด้วยความประพฤติข้างนอกที่ว่าดีนี่จะยั่งยืนมั่นคงแท้จริงเลย ถ้างั้นจะประพฤติจริยธรรมนี่ต้องให้ใจมีความสุข ทีนี้จริยธรรมแบบฝรั่งนี่โดยมากเป็นจริยธรรมทำแบบฝืนใจลองไปดูสิ ต้องฟืนใจ คล้าย ๆ ว่าความประพฤติดีนี้ก็คือการที่เราต้องไปฝืนใจตัวเองอดกลั้นไม่ตามใจตัวเอง ไม่ตามใจตัวเองเอาตามใจอยาก ก็ต้องเบียดเบียนกันแย่งชิงเขาจะมีจริยธรรมก็ต้องอดกลั้นต้องยอมละเว้น ฝืนใจไม่เอาจริยธรรมแบบสมัยใหม่เนี่ยมักจะอยู่กับความฟืนใจ จริยธรรมก็กลายเป็นเรื่องที่ว่า อันนั้นทำไม่ได้ อันนี้ทำไม่ได้ จริยธรรมก็เลยต้องอยู่ด้วยความฟืนใจก็ไม่มีความสุขแท้จริง ของเราท่านยอมรับตอนแรกก็เริ่มด้วยฟืนใจแต่พอฝึกไป ฝึกไปแล้วก็มีความสุข จนกระทั่งยังเป็นพระโสดาบันนี้จริยธรรมศีลเป็นไปเองเลย เป็นไปเองไม่ต้องตั้งใจ ศีลของพระโสดาบันนี่ถ้าใช้ภาษาสมัยใหม่ เรียกว่าศีลอัตโนมัติไม่ต้องตั้งใจมันเป็นไปเอง เพราะจิตท่านเป็นอย่างนั้นแล้ว จิตที่จะคิดละเมิด จิตที่จะคิดเบียดเบียนมันไม่มีแล้ว ใจท่านมีความสุขที่จะอยู่กับการประพฤติที่ดีงามต้องเป็นอย่างนั้น เอาแล้วเป็นอันว่า แดนจิตใจต้องให้พร้อมต้องมีทั้งเรื่องคุณธรรมความดีงามต้องมีทั้งเรื่องของความสุขแล้วก็ต้องมีทั้งเรื่องของความเข้มแข็งอะไรต่าง ๆ สติสมาธิขันติวิริยะอะไรต่ออะไร เอาละนะเป็นอันว่า ด้านจิตใจก็ต้อง 3 แดนเป็นอย่างน้อยแล้ว ต้องฝึกจิตใจ แล้วเราก็เอาสมาธินี่โยงให้ได้ สมาธิ เป็นสภาพอยู่ตัวของจิต ถ้าจิตไม่อยู่ตัวไม่ตั้งมั่นแล้ว คุณธรรมอะไร ความดีความสุขมันตั้งอยู่ไม่ได้ เรียกว่าจิตใจมันไม่เป็นสมาธิ มันไม่อยู่กับอารมณ์เดียวได้ มันพลุ่งพล่าน มันวอกแวกอยู่นี่จิตมันไม่สงบ มันก็เป็นสุขที่แท้จริงไม่ได้ จะเอาสุขก็ไม่ได้ ความธรรมจริงก็ไม่ได้ อะไรก็ไม่ได้ ก็เลยท่านก็เน้นสมาธิที่รวมเป็นจุดรวมเป็นที่ตั้ง เป็นภาวะอยู่ตัวของจิตใจที่จะทำให้คุณความดีอะไรสิ่งที่ดีคุณสมบัติต่าง ๆ มันอยู่ได้ แล้วก็ทำงานได้ เอาอะนะเจริญพรด้านจิตใจ ด้านสำคัญ ก็เป็นอันว่าจริยต้องมีด้านจิตใจด้วย คุณธรรมก็ไม่พอไม่มีความสุขด้วย เอ้าต่อไปยังไม่พอ จริยยังมีอีกแดน แดนปัญญา แดนปัญญาความรู้ความเข้าใจยิ่งรู้เท่าไหร่ยิ่งเข้าใจสภาวะธรรม จนกระทั่งทำให้จิตหลุดพ้นไปเองเป็นอัตโนมัติไม่ยึดมั่นที่แท้ นี่มันต้องปัญญาเราก็ฝึกปัญญาให้รู้เข้าใจ ตอนแรกก็อยู่ด้วยเหตุผล ที่ว่าเอ่ออันนี้ไม่ดีนะ การเบียดเบียนกันนี่ คนอื่นเขาก็รักชีวิตเขา จริงไม่จริง จริง เอาเรารักชีวิตเราฉันใด เขาก็รักชีวิตของฉันนั้น เบียดเบียนกันไม่ดี สังคมก็เดือดร้อนเขาก็อยากแก้แค้น แล้วก็คนอื่นญาติพี่น้องเขาก็ลำบาก สังคมเขาก็ไม่เป็นสุขเราก็ไม่เป็นความสุขด้วย นี่ว่าด้วยเหตุผลปัญญาก็มาช่วยจริยธรรม ไอ้ศีลนี่ต้องอาศัยปัญญา ปัญญาก็พัฒนาไปเป็นลำดับ ต้องมีปัญญาด้วยจริยที่ธรรมะจริยนี่ ปัญญาแดนที่ 3 นี่คือตัวคุมที่สำคัญจริยะถ้าไม่มีปัญญามาช่วยมันก็อยู่แค่นั้นแหละ เมื่อไหร่ เมื่อไหร่มันก็อยู่ด้วยเอ้า มีกติกาว่าหลักจริยว่าอย่างนี้ เอ้าคุณก็ประพฤติไปสิแต่ปัญญาเนี่ยมันจะมาช่วยพัฒนา ให้เห็นเหตุเห็นผล ปัญญาต้องมี จริยธรรมไม่มีปัญญา ไปไม่รอดแล้วมันจะไม่มีความสุข พอปัญญาเราเห็นโทษเห็นภัยของการประพฤติไม่ดี เห็นประโยชน์ของการประพฤติดีอะไรต่าง ๆ เราเต็มใจประพฤติจิตใจก็มีความสุขแล้วก็พัฒนาไปว่า เอ้อเมื่อประพฤติอย่างนี้ดีนะช่วยเหลือกันแค่นี้มันน้อยไปเราจะหาวิธีช่วยเหลือกันเกื้อกูลกันไม่เบียดเบียนกันยังไงอีกปัญญาก็มาเสริมในจริยธรรมนั้น เพราะฉะนั้นจริยเนี่ยตัวแท้ที่จะทำให้มันพัฒนาได้ก็คือปัญญา นั้นพรหมจริย จริยอันประเสริฐในทางพระจึงต้องมี 3 แดนครบมีศีลสมาธิปัญญา ธรรมะจริยก็เป็นว่าต้องครบชุด นี้ตอนนี้เข้ามาเอากันว่ามีคุณธรรมจริยธรรม จริยธรรมเพื่อแค่ข้างนอกแค่ศีล แล้วไปเอาคุณธรรมมาด้านจิตใจหน่อย ต่อไปก็ต้องเอ้าคุณธรรมกับจริยธรรมเออดีแล้ว จริยธรรมประพฤติได้ด้วยมีคุณธรรมในใจ เอ้ต่อไป ต่อไปก็มันได้คิดบอก ไม่มีความสุขมันฝืนใจ มันก็ไม่มั่นคง ถ้างั้นต่อไปต้องมีความสุขด้วยก็ต้องเพิ่มเข้าไปอีกต่อไปก็อบรมคุณธรรมจริยธรรมและความสุข ต่อใปไม่พอแล้ว ต้องจัดอบรมคุณธรรมจริยธรรมและความสุข ต่อไปก็เอ้อไม่ได้ ไม่ได้ไม่มีปัญญา มันไม่รู้ไม่เข้าใจเหตุ เข้าใจผล มันไม่พัฒนาปัญญาจริยธรรมมันไม่มั่นคงไม่ได้ของแท้จริงต้องมีปัญญาด้วย ต่อไปก็ต้องเพิ่มอบรมคุณธรรมจริยธรรมความสุขและปัญญาความจริงจริยธรรมนี่มันมีหมดแล้ว จริยของพระพุทธเจ้านะเจริญพร ธรรมะจริย มันมีทั้งจริยธรรม มีทั้งคุณธรรม แล้วยังมีเกินอีกเยอะมีความสุข มีสมรรถภาพของจิตใจ มีปัญญา แล้วโยมจะเอายังไง ตกลงนี่คือพูดเรื่องจริยธรรม โยมเห็นไหมความหมายมันต่างกันเยอะ
จริยธรรมของปัจจุบันเนี่ยเขามองตามความหมายที่มาจากตะวันตกเป็นศัพท์บัญญัติ แต่ว่าไม่ชัด จริยธรรมคืออะไร เวลานี้เขาพูดกันพล่า ๆ คือบอกว่าจริยธรรมคนที่พูดก็ไม่ชัดว่าอะไรแค่ไหน ใช่ไหมในความคิด มันไม่ชัด นี้สังคมไทยก็เลยเต็มไปกับสิ่งที่ไม่ชัด สิ่งที่พล่า ๆ แล้วก็ค่อย ๆ คืบเคลื่อนไป แล้วที่นี้ยิ่งกว่านั้นก็คือย้อนกลับไป คือจริยธรรมตะวันตกนี้มันง่อนแง่น เขาเรียกว่าเป็นจริยธรรมสากล มันสากลที่ไหนก็คือจริยธรรมที่ฝรั่งคิดขึ้นมาในสายความคิดหนึ่งของอารยธรรม เหมือนเสื้อผ้าชุดสากลเรียกไปอย่างยังงั้น สากลมันแปลว่าทั่วไปทั้งหมดใช่ไหม สากลละโลก สากลจักรวาล เสื้อผ้าชุดสากล สากลจริงไหมเราเรียกเป็นอะไรโดยมากสากลก็คือของฝรั่ง ที่จริงต้องเรียกให้ถูก เสื้อผ้าชุดสากลก็คือเสื้อผ้าชุดฝรั่ง ไปเรียกชุดสากล มันสากลที่ไหนละบางประเทศเขาไม่ใช้แล้ว สากลมันต้องทั่วหมด ไอ้นี้ก็แบบเดียวกันจริยธรรมสากละ เป็นสากลที่ไหน ที่จริงมันเป็นจริยธรรมของคนฝรั่งของฝั่งตะวันตกคิดขึ้น พื้นฐานจริยธรรมตะวันตกมายังไง จริยธรรมตะวันตกนี่มันเกิดจากความคิดนักปราชญ์ทั้งหลายคิดขึ้นมาสมัยก่อนก็มีศาสนาอย่างศาสนาคริสต์ ศาสนายิวแล้วมาพวกนักปราชญ์ นักปรัชญา ตอนหลังมาเน้นทางปรัชญาเป็นจริยศาสตร์ ทีนี้ในการพัฒนาของจริยธรรมของฝรั่งนี่ แหล่งเดิมมันก็คือศาสนา พอมาถึงยุควิทยาศาสตร์ พวกวิทยาศาสตร์นี่มองว่าจริยธรรมคำสอนต่าง ๆ ที่ให้ประพฤติปฏิบัติถือว่าเป็นองค์การจากพระผู้เป็นเจ้าเป็นเทวบัญชา พระผู้เป็นเจ้าท่านสั่งมานะ ที่ให้ทำอย่างนี้หรือไม่ให้ทำเป็นคำสั่งพระเจ้า เพราะฉะนั้นจริยธรรมตะวันตกมีฐานมาจากเทวบัญชา พอวิทยาศาสตร์เกิดขึ้น พวกนักปราชญ์ในยุควิทยาศาสตร์ก็ไม่ยอมรับบอกว่าไอ้จริยธรรมความประพฤติอะไรต่าง ๆ เนี่ยมันไม่มีแหล่งเดิม มันก็คือศาสนาแล้วก็บอกว่าพระเจ้าท่านสั่งมา ทีนี้พวกนักวิทยาศาสตร์ตอนนั้นกำลังแรงไม่เชื่อเลยเรื่องศาสนา มีที่ไหนเทพเจ้ามาบัญชาจริยธรรมเป็นของคิดขึ้น มนุษย์นี่แต่งขึ้นเองไม่ใช่พระเจ้าท่านสั่งมา มันก็ไปสุดโต่ง เดิมเป็นเทวบัญชาพระผู้เป็นเจ้าสั่ง พอนักวิทยาศาสตร์เกิดบอกไม่มีไม่ใช่เป็นของมนุษย์สร้างขึ้น มีที่ไหนความประพฤติดี อันนี้ตี อันนั้นไม่ดีเนี่ย มนุษย์บัญญัติตกลงกันเอง สังคมนี้ก็บัญญัติว่าอย่างนี้ดี อย่างนี้ดี เอ้าประพฤติอย่างนี้ เพราะไปอีกสังคมหนึ่ง บอกว่าอันนี้ไม่ดี อย่างนั้นบางทีตรงข้าม ตกลงไอ้ดีชั่วจริยธรรมนี่ไม่มีจริงหรอก นี่วิทยาศาสตร์มากลายเป็นหักล้างไปเลย จริยธรรมตะวันตกเนี่ยมันมาแบบนี้ก็เป็นว่าพอถึงยุควิทยาศาสตร์ก็กลายเห็นจริยธรรมเป็นของไม่มีเหตุผล เป็นของไร้สาระจริยธรรมก็ง่อนแง่นเลย เอ้าก็ได้จริยธรรมแบบนักปราชญ์แบบโซคราตีส เพลโต อริสโตเติล สายกรีกมา ไอ้นั่นมีเรียกจริยศาสตร์ ก็เป็แหล่งหนึ่งของจริยธรรมก็มี 2 สายแล้ว สายศาสนาและสายปรัชญา ทีนี้ พวกนี้ก็เป็นนักเหตุผลของสายนักปรัชญากรีกมาคิดเหตุผลกันไป ก็ไม่ลงตัวมันก็เป็นสายความคิดหนึ่งก็มาอย่างนี้
แต่ตกลงว่าในยุควิทยาศาสตร์ไม่ให้ความสำคัญแก่จริยธรรม เพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วก็ถือว่าเป็นของที่มนุษย์บัญญัติคิดแต่งกันขึ้นดีชั่วเป็นเรื่องของมนุษย์ตกลงกัน สังคมนี้ว่าอย่างงี้ สังคมนั้นว่าอย่างงั้น จริยธรรมไม่ใช่ของจริงแท้ เขาก็ไม่ค่อยสนใจวิทยาศาสตร์สนใจของจริงของแท้ที่เขาพิสูจน์ได้นี่ แล้วจริยธรรมก็อยู่ในพวกมนุษยศาสตร์ไม่ได้ไปอยู่ในแดนที่เป็นของแท้ของจริงอะไร ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ก็ไปอยู่ในจริยศาสตร์ในเรื่องวิชาปรัชญาเป็นพวกมนุษยศาสตร์ไป แล้วในยุควิทยาศาสตร์ ไอ้เจ้าพวกวิทยาศาสตร์นี้ก็ถูกดูถูก วิชาอันดับหนึ่งก็คือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ หมวดที่หนึ่งเด่นที่สุด พวกวิทยาการสมัยเดิมมาก็พากันอยากจะเป็นวิทยาศาสตร์เพราะจะได้มีโก้มีเกียรติ เอ้าเศรษฐศาสตร์ก็พยายามทำตัวให้วัดได้ให้นับได้ เป็นตัวเลขได้สังคมวิทยา มนุษย์วิทยาพวกนี้ก็พยายามที่จะให้มีวิธีการวิทยาศาสตร์เข้าไปใช้ ก็เลยค่อย ๆได้ชื่อเป็นวิชาที่เข้าในพวกวิทยาศาสตร์แต่เป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติไม่ได้เลยเป็นสังคมศาสตร์ ก็ได้ชั้นรอง 1 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติเป็นหมวดที่ 1 2 หมวดสังคมศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ทางสังคมต้องวัดได้นับตัวเลขได้ใช้วิธีวิทยาศาสตร์ได้ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยาและมนุษย์วิทยาอะไรพวกนี้ ทีนี้ไอ้เจ้าพวกที่วัดไม่ได้อะไรต่าง ๆ นับตัวเลขไม่ได้ก็ต้องอยู่ในมนุษยศาสตร์ไป พวกนี้อับด้อยน้อยวาสนาหมดเลยพวกมนุษยศาสตร์ในยุควิทยาศาสตร์ จริยศาสตร์ก็แย่ไปด้วย จริยธรรมอะไรต่ออะไรก็ไม่มีเกียรติ นี่คือสภาพสังคมตะวันตกที่เป็นไป ต่อมาตอนหลังนี่เกิดความเสื่อมถอยของฐานะสังคมวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ตอนก่อนนี่ถือว่าอะไรต้องเป็นวิทยาศาสตร์หมด อะไรไม่เป็นวิทยาศาสตร์ใช้ไม่ได้หรือวิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับทำเป็นมาตรฐานวัดทุกสิ่งทุกอย่างตอนนั้น ทีนี้ตอนหลังมานี่นักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ นักปราชญ์ชั้นนำบอกวิทยาศาตร์เข้าถึงความจริงแท้ไม่ได้เลย เข้าถึงได้เพียงเงาเท่านั้นเอง นักวิทยาศาสตร์พูดอย่างนี้ วิทยาศาสตร์ไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้เข้าถึงแค่เพียงเงาของความจริง
แล้วก็เกิดวิทยาศาสตร์ใหม่ฟิสิกซ์ใหม่อะไรขึ้นมา ต่อมาวิทยาศาสตร์ที่เชื่อกันมาเดิมก็ชักง่อนแง่น ว่าไม่สามารถเข้าถึงความจริงได้แค่นี้ก็ มันชักเสื่อมฐานะ แล้วต่อมาความหวังจากผลผลิตที่มาจากเทคโนโลยีซึ่งอาศัยวิทยาศาสตร์เป็นฐานนึกว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้มนุษย์มีสุขสมบูรณ์ต่อมาก็มองเห็นว่าจะมีทีวีมีอะไรต่ออะไร ชีวิตก็ไม่ได้มีความหมายแท้จริงไม่มีความสุขแท้จริงฝรั่งเริ่มก่อน พอรู้สึกอย่างนี้ความศักดิ์สิทธิ์ของวิทยาศาสตร์ก็อ่อนลง ว่าโอ๋วิทยาศาสตร์จะนำมนุษย์ไปสู่สวรรค์บนพื้นดินไม่จริงแล้ว มนุษย์ก็เริ่มแสวงหาชีวิตที่ดีคืออะไร ความหมายความสุขที่แท้จริงยังไร จะพึ่งวิทยาศาสตร์ไม่ได้ ต่อมาก็มองเห็นอีก เอ้าแล้วเทคโนโลยีความเจริญทางวิทยาศาสตร์ มีวิทยาศาสตร์เป็นฐานเกิดโทษขึ้นมาจิตใจคนที่อยู่ในสังคมแบบนี้อยู่ในยุคอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมมีเทคโนโลยีเป็นฐาน แล้วก็อาศัยวิทยาศาสตร์รองรับอยู่นี่เจริญมาด้วยวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมจะทำให้มนุษย์สุขสมบูรณ์ก็ไม่จริง ชีวิตก็กระวนกระวายเดือดร้อนมีความเครียดสูงจิตใจก็ไม่ดี สังคมก็ไม่ดีมีการเบียดเบียนแย้งชิงกันมากใช้ผลผลิตอุตสาหกรรมมาเบียดเบียนรบราฆ่าฟันทำลายล้างกัน แล้วในที่สุดก็มาธรรมชาติแวดล้อมเสื่อมเสียโอ้แย่แล้ว มีมลภาวะธรรมชาติร่อยหรอทรัพยากรหมดไปมาถึงอันนี้มาถึงไอ้เรื่องธรรมชาติแวดล้อมเสียเนี่ยตายแล้ว ถ้าขืนเป็นอย่างนี้มนุษย์ก็สิ้นด้วย พอเห็นภัยธรรมชาติแวดล้อมเสื่อมอันนี้เลยหยุดไม่ได้แล้ว ตอนนี้ก็ทำให้ระบบความเจริญแบบวิทยาศาสตร์นี้สูญเสียความเชื่อมันแทบหมดเลย มาถึงยุคที่ความเจริญที่ผ่านมานี้เป็น Unsustainable เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนตกลงระบบการพัฒนาที่ผ่านมามีวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเศรษฐกิจไปไม่รอด ก็เปลี่ยนใหม่ เป็นระบบที่เรียกว่า Unsustainable ต้องหาทางให้เกิดการ Sustainable Development ให้การพัฒนายั่งยืน นี่คือการสูญเสียความเชื่อมั่นต่อวิทยาศาสตร์ นั้นต่อมาไอ้พวกของเดิมที่มันเคยด้อยไปเนี่ยที่ฝรั่งไม่นับถือแย่ไปหมดเลย เฟื่องฟู้ขึ้นมา ด้านตรงข้ามกับวิทยาศาสตร์คือด้านอะไร ด้าน ซะพีชัวริตี้ ตอนนั้นตอนที่วิทยาศาสตร์เกิดขึ้นมาด้าน ซะพีชัวริตี้ ด้านที่ปัจจุบันภาษาไทยนิยมมาเรียกกันว่าจิตวิญญาณ สมัยนั้นสมัยวิทยาศาสตร์เฟื่องนี่ไอ้พวกนี้แจ้งหมดเลย พอวิทยาศาสตร์เสื่อมฐานะลง พวกจิตวิญญาณ ที่เขาเรียกกันนะ ที่จริงภาษาไทยเดิมเราก็เรียกเรื่องจิต ที่ถูกภาษาไทยเดิมเรียกว่าเรื่องผีผี เพราะคำว่า Spirit นี่แปลว่าผี พระผู้เป็นเจ้าของฝรั่งนี่เขาเรียก Supreme Spirit แปลว่า ผีสูงสุด คือคำว่าผีในภาษาไทยเป็นคำดีไม่ใช่เป็นคำร้าย บ้านผีเรือนผีปู่ย่าตายายผีทั้งนั้น ก็คือสิ่งที่สำคัญมาก อาจมองไม่เห็นลี้ลับ นี้เรื่อง ผีผี เรื่อง Spirituality ก็เลยมีฐานะโดดเด่นขึ้นมามีความสำคัญขึ้นมาในยุคนี้ที่วิทยาศาสตร์เริ่มเสื่อมสถานะ แล้วจริยธรรมก็มีความสำคัญขึ้นมาตอนเนี่ยตอนที่ว่าสิ่งแวดล้อมมันเสื่อม ทำไงเราจะรักษาสิ่งแวดล้อมไว้ได้ โอ้ต้องมีจริยธรรม เอ้าแล้วเรียกร้องจริยธรรม ว่ามนุษย์จะต้องมีจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องรู้จักยับยั้งชั่งใจเขาเรียกว่า Restrain ยับยั้งชั่งใจต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทำตามใจตัวเองไม่เอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างสุรุ่ยสุร่าย แล้วก็การเสพบริโภคก็ต้องมีความยับยั้งชั่งใจ นี่คือจริยธรรม ไม่บริโภคเต็มที่ตามที่ใจตัวต้องการ ถ้าเสพบริโภคเต็มที่ตามใจตัวถ้าใช้ทรัพยากรธรรมชาติตามใจตัวก็หมด สิ่งแวดล้อมก็มลายสูญหมดและมนุษย์ก็อยู่ไม่ได้โลกพังทลาย นั้นก็เลย เรียกร้องจริยธรรม จริยธรรมที่ฟื้นขึ้นมามากก็เพราะเรื่องเสิ่งแวดล้อม แล้วก็เกิดจริยธรรมใหม่เรียกว่า Envioromental Exit ทำจริยธรรมสิ่งแวดล้อมขึ้นมาใหม่ในยุคนี้เฟื่อง แล้วจริยธรรมสิ่งแวดล้อมนี้ก็เข้าสู่วงการธุรกิจ เพราะธุรกิจนี่เป็นตัวสำคัญที่ไปโยงกับอุตสาหกรรมและไปทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้นธุรกิจนี่จะต้องมีจริยธรรม จริยธรรมนั้นก็เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมนั่นแหละก็เลยเกิด Business Exit จริยธรรมทางธุรกิจ ตอนนี้ก็เรียนกันในมหาวิทยาลัยในอเมริกา environmental Exit Business Exit Exitจริยธรรมก็เลยเฟื่องขึ้นมา เป็นอันว่าจริยธรรมฝรั่งเนี่ยฐานมันคลอนแคลน 1 จะเรียกวาเป็นสากลมันก็ใช่ว่าสากลจริง ถ้าสากลก็คือของฝรั่ง 2 ฐานคลอนแคลนเพราะว่าเดิมมันถูกวิทยาศาสตร์ตีไม่ยอมรับแล้วของเดิมมันก็ง่อนแง่น มันไม่มีฐานชัดเจนมาจากสายศาสนา มาจากสายปรัชญา แล้ววิทยาศาสตร์ก็ไม่เอาใจใส่แล้วมาฟื้นขึ้นใหม่โดยเรื่องของความจำเป็นทางสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นใหญ่แล้วก็เรื่องปัญหาสังคมเรื่องปัญหาชีวิตจิตใจคน แต่ปัญหาชีวิตจิตใจคนจริยธรรมไม่ค่อยเอามาเกี่ยวกับจริยธรรมคือเรื่องของด้านภายนอกเท่านั้น ทีนี้จริยธรรมตะวันตกเป็นอย่างนี้ ฝรั่งเองก็รู้ตัวก็เลยแสวงหา เขาแสวงหาว่าจริยธรรมอะไรที่มันจะช่วยเสริมให้จริยธรรมเขาสมบูรณ์ ตอนนี้ มันเป็นเวลาที่เขาแสวงหาไม่ใช่ว่าเราจะไปเอาจากเขา เป็นจริยธรรมสากล แต่เรานี่แหละเป็นที่เรียนของเขา เรื่องมันก็มีเท่านี้ แต่เราต้องรู้ทันว่าเขาเป็นยังไงมายังไง แล้วตกลงว่าเรื่องจริยธรรม ก็เล่าให้โยมฟัง ก็ต้องเข้าใจให้ชัด เพราะจริยธรรมของไทยปัจจุบันก็คือจริยธรรมของฝรั่ง เพราะว่าคำว่าจริยธรรมเป็นคำใหม่ เป็นคำที่เราบัญญัติขึ้นเมื่อ 30 40 ปี ศีลธรรมก็เป็นส่วนหนึ่งของพรหมจริยะหมายความว่าระบบชีวิตทั้งหมดก็คือพรหมจริยะ นั้นคือรวมหมด ศีลสมาธิปัญญา แล้วในพรหมจริยะนั้นมีศีลธรรมอยู่ที่ศีลนี่ออกมาเป็นศีลหรือศีลธรรมเป็นส่วนหนึ่งของพรหมจริยะ ทีนี้บางคนก็อยากจะแปลความหมายอีกว่าศีลธรรมแปลว่าอะไร ศีลธรรมก็แปลได้ 2 อย่าง 1 แปลว่าศีลและธรรม 2 แปลว่าธรรมขั้นศีล แปลว่าธรรมขั้นศีล ก็คือ ศีลธรรม สมาธิธรรม ปัญญาธรรม ธรรมขั้นศีล ธรรมขั้นสมาธิ ธรรมขั้นปัญญา ศีลธรรมก็คือ ธรรมขั้นศีลยังจะต้องก้าวสู่ธรรมะขั้นสมาธิ ก้าวไปสู่ธรรมะขั้นปัญญา ทีนี้แปลอีกอย่างหนึ่งว่า ศีลและธรรมก็หมายความว่าศีลและธรรม ธรรมหมายถึงสมาธิและปัญญา ก็หมายความว่า เอาทั้งศีล ธรรมะอันนั้นรวมคำว่าสมาธิปัญญา ก็ให้เป็นศีลและธรรม ศีลถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็เลยไปบอกว่าคือข้อห้าม ธรรมะ ก็คือคำแนะนำสั่งสอนให้ทำอะไรอย่างงี้ แต่ที่จริงเป็นการพยายามให้ความหมายกัน ก็แล้วแต่ เอาธรรมะขั้นศีลก็คือในศีลสมาธิปัญญาก็แค่ศีล ถ้าเอาศีลและธรรมก็คือศีลพร้อมทั้งธรรมะที่เหลือคือสมาธิและปัญญา ก็หมายความว่าอย่าหยุดแค่ศีลนะ ต้องเอาสมาธิและปัญญาด้วย ยืดยาวเลยต้องพูดกันให้ชัด ก็ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เพราะไม่งั้นก็ไม่ชัดว่า จริยธรรมคืออะไร เอ้าวันนี้คงเท่านี้ก่อน