แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ก็ได้พูดไปถึงเรื่องธรรมชาติของคนเรา เริ่มตั้งแต่ว่าเกิดมาอยู่ในโลกต้องดำเนินชีวิตไปท่ามกลางสิ่งแวดล้อมทำไงจะเป็นอยู่ได้แล้วก็เป็นอยู่ให้ดี ทีนี้ในเมื่อยังไม่รู้จักอะไรก็จะปฏิบัติต่อชีวิตของตัวเองแล้วต่อสิ่งแวดล้อมไม่ถูกต้อง เมื่อไม่รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรนี่ก็ทำให้เกิดความติดขัดบีบคั้นในตัวเองก็คือเกิดความทุกข์หรือเกิดปัญหาก็เลยบอกว่าเพราะว่าไม่รู้นั่นเองอะ ก็ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าทุกข์หรือปัญหา นั้นความไม่รู้เรื่องอวิชชาก็เป็นตัวสาเหตุของความทุกข์ ทีนี้ว่ามนุษย์ก็ต้องการความรู้ เพราะว่าถ้ารู้แล้วก็ดำเนินชีวิตไปได้ เพราะว่ารู้ว่าจะทำยังไงจะปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายอย่างไร ความรู้ก็เป็นตัวทำให้พ้นจากทุกข์พ้นจากปัญหา นั้นสิ่งที่ตรงข้ามกับความไม่รู้ก็คือความรู้ ความไม่รู้เรียกว่าอวิชชา ความรู้ก็เรียกว่าวิชา แต่คำว่าวิชานี้สงวนไว้สำหรับความรู้แจ้งเรื่องธรรมชาติจริง ๆ นี้ความรู้ที่เกิดขึ้นในระหว่างนี้มันยังไม่รู้จริงรู้พอได้เป็นอยู่ได้ก็เลยให้ศัพท์กว้าง ๆ ว่าปัญญา ทีนี้อวิชชาความไม่รู้คู่กับทุกข์ วิชาและก็ในระดับทั่วไปเรียกว่าปัญญานี้ก็คู่กับความพ้นทุกข์ พ้นปัญหา หรือว่าไม่เกิดปัญหาไม่เกิดทุกข์เราเรียกว่าวิมุติ อันนั้นก็วิชาคู่กับวิมุตติ ในขั้นสูงสุดก็จะ ศัพท์ก็จะมาคู่กัน วิชาวิมุตติ นี้ในระหว่างนี้ก็เรียกว่าปัญญา ก็ทำให้เราลดความทุกข์ลงหรือทุกข์น้อยลง ก็เป็นระดับเรียกว่าสัมพัทธ์ สัมพัทธ์ก็จะทุกข์น้อยลง ก็มีสุขมาก อันนี้ก็เป็นหลักการทั่ว ๆ ไป นี้ว่าในการที่มนุษย์จะดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างนี้ ที่ว่าจะมีความรู้อะไรเราก็มีเครื่องมือติดมากับตัว ที่ว่ามาแต่ตัวที่จริงตัวนะไม่เปล่า มันก็มีเครื่องมือมาสื่อสารกับโลกสิ่งแวดล้อมก็คือว่าตาหูจมูกลิ้นกายใจที่เรียกว่าอายตนะหรืออินทรีย์ เรียกว่าอายตนะเพราะว่าเป็นแดนที่ใช้ติดต่อกับโลกภายนอก เรียกว่าอินทรีย์ เพราะว่าเป็นอวัยวะที่เป็นเจ้าหน้าที่สำหรับทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นว่า ทำการเห็น ทำการได้ยินเป็นต้น
นี้เราก็มีอายตนะหรืออินทรีย์มาสื่อสารติดต่อกับโลก ทีนี้ อายตนะหรืออินทรีย์นี้ก็ทำหน้าที่ในการสื่อสารกับโลกก็ทำหน้าที่เป็น 2 อย่าง คือ รู้ว่า อะไรเป็นอะไร สีเขียว สีแดง สีเหลือง เสียงสัตว์ เสียงแมว เสียงคนอะไรเป็นต้น ก็อีกด้านหนึ่งก็คือ รู้สึก รู้สึกว่าสบายหรือไม่สบาย ทีนี้ในด้านรู้นี่เป็นเรื่องที่ว่าจะแก้ปัญหาโดยตรงจะทำให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอยู่ได้ แต่ว่าการรู้นี่ต้องอาศัยการเวลาพอสมควรกว่าจะได้ความรู้มาต้องมีกล่าวความสัมพันธ์ระหว่าง แม้แต่ว่าตัวอายตนะอินทรีย์อย่างว่า รับรู้เข้ามาทางตาหูแล้ว แล้วเข้าไปในใจถ้าไม่มีการเชื่อมโยงความรู้อีกกว่าจะได้เป็นปัญญาที่จะมาใช้ประโยชน์สำหรับดำเนินชีวิตได้หรือทำอะไรต่าง ๆ ได้ อันนั้นกระบวนการที่จะเกิดเป็นความรู้เป็นปัญญานี้ มันมีความซับซ้อนพอสมควร พูดง่าย ๆ ก็ต้องอาศัยเวลา ต้องใช้ความเพียร แต่อีกด้านหนึ่งก็คือ ด้านรู้สึกนี่มันเป็นเรื่องที่ว่ามีผลในการดำเนินชีวิตได้ทันทีเลย พอรู้สึกว่าสบายก็มีปฏิกิริยาชอบใจได้ทันที ถ้ารู้สึกไม่สบายก็ไม่ชอบใจก็เป็นไปได้ในทันที ทีนี้ด้านความรู้สึกนี่แหละก็เลยเข้ามาชักนำการดำเนินชีวิตของเราก่อน เมื่อรู้สึกสบายก็ชอบใจก็อยากได้จะเอา ถ้าว่าไม่สบายก็ไม่ชอบใจเกลียดชังจะหลีกจะหนีจะทำลาย ในด้านความรู้สึกก็เลยเข้ามาเป็นตัวเด่นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ขั้นต้น เมื่อยังไม่ได้เรียนรู้ไม่มีปัญญาเพียงพอ อันนี้ด้านที่ว่ารู้สึกนี่ ศัพท์พระรู้สึกสบายไม่สบายเฉย ๆ เรียกว่าเวทนา เป็นเวทนาที่สบายก็เป็นสุข ก็สุขเวทนา รู้สึกไม่สบายทุกข์เรียกว่าทุกขเวทนา รู้สึกเฉย ๆ เพลิน ๆ ก็เรียกว่า อุเบกขา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่จริงเวทนาความรู้สึกนี้ยังแบ่งออกไปเป็นละเอียดแบ่ง 3 ก็ง่าย ๆ ที่ว่าสุขทุกข์เฉย ๆ ทีนี้ถ้าแบ่งละเอียดก็แบ่งเป็น 5 แบ่งเป็นสุขกาย ทุกข์กาย แล้วก็มีสุขทางใจ เรียกว่าดีใจเป็นโสมนัสก็ทุกข์ทางใจไม่สบายทางใจเรียกว่าโทมนัส แล้วก็ไปอุเบกขา ก็เฉย ๆ นี่เวทนาก็เลยแบ่งละเอียดเป็น 5 5 ก็ไปแยกอีก กายกับใจนั่นเอง รวมแล้วถ้าเราไม่ไปแยกกาย แยกใจ ก็เรียกเป็นกลาง ๆ ว่า สุขทุกข์แล้วก็เฉย ๆ ก็เป็น 3 ทีนี้ความสุขความทุกข์ที่มีแค่เนี้ย แต่มันมีอิทธิพลยิ่งใหญ่เหลือเกิน จนกระทั่งเราเห็นได้ว่ามนุษย์นี่บางทีที่ดำเนินชีวิตอยู่ตลอดเป็นวันเป็นเดือนเป็นปีอะไรนี่เพียงเพื่อจะหาความสุข แล้วก็หลีกหนีความทุกข์เท่านั้นเอง นั้นเรื่องเวทนานี่ เหมือนกับว่ามันนิดหน่อย มันมีแค่ 3 หรือ 5 เท่านี้ แต่มันมีอิทธิพลต่อชีวิตของแต่ละคน ต่อโลกทั้งหมด ต่อสังคมมนุษย์เหลือเกิน อันนี้จากเวทนานี่แหละที่มนุษย์ต้องการ จะเอาที่สบายหลีกหนีไม่สบาย ก็ตามมาด้วยอย่างที่ว่า ชอบใชไม่ชอบใจ ชอบใจไม่ชอบใจก็ตัณหา เจ้าตัณหาที่ชอบใจไม่ชอบใจนี่แหล่ะมันเป็นตัวที่มาสัมพันธ์กับเวทนา เวทนานั้นเป็นเพียงฝ่ายรับ ฝ่ายรับก็คือว่ามันเป็นเรื่องที่เกิดตามธรรมชาติ เวลาไปสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ ด้วยตาหูเป็นต้นมันก็รู้สึก แต่นี้ที่จะเป็นเรื่องของเราเองก็คือ ปฏิกิริยาตอนชอบใจไม่ชอบใจที่เรียกว่าตัณหานี่ แล้วตอนที่มันจะมาบงการหรือบัญชาชีวิต นำชีวิตของเราก็ตอนที่เป็นตัณหา เวทนานั้นมีอิทธิพลมากแต่อาจจะไม่ครอบงำเราถ้าเรามีปฏิกิริยาถูกต้องหรือไม่มีปฏิกิริยาในทางชอบใจไม่ชอบ แต่ว่าตอนที่เรามีปฏิกิริยาต่อไอ้ความรู้สึกนี่แหละที่สำคัญ พอเรามีชอบใจไม่ชอบใจ ไอ้ตัวชอบใจไม่ชอบใจก็คือเริ่มเป็นการกระทำของเราเอง เวทนาความรู้สึกนั้นยังไม่ถือว่าการกระทำของเราเองและถือว่าเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ เมื่อเราไปสัมผัสกับแสงสว่างที่จ้าเกินไป เราเป็นไม่สบายตาใช่ไหม กันก็เป็นเรื่องตามธรรมชาติเป็นความรู้สึกที่เกิดมา แต่ทีนี้ว่าพอเรารู้สึกไม่สบาย ทีนี้เราไม่เอาไม่ชอบใจตอนนี้เป็นการกระทำของเราแล้ว เป็นการกระทำทางใจ อันนั้นการกระทำของเรานี้มันเริ่มต้นตอนที่ชอบใจไม่ชอบ ไม่ใช่ตอนรู้สึก ตอนรู้สึกนี้ถือว่าเป็นกระบวนการตามธรรมชาติเป็นฝ่ายรับ การกระทำของเราก็เป็นอันว่าตอนชอบใจไม่ชอบใจที่เป็นตัณหา แล้วชอบใจไม่ชอบใจนี่แหละที่จะเป็นตัวนำว่าถ้าชอบใจก็จะเอานะ ถ้าไม่ชอบใจก็จะเรี่ยงจะหนีจะทำร้าย นี้ความชอบใจไม่ชอบใจก็จะเป็นตัวนำอย่างที่ว่าแล้ว ก็ทำให้เราเริ่มแต่คิดว่าทำไงจะได้สิ่งนี้มาหรือทำไงจะหนีอันนี้ไปทำลายมันได้ จากการคิดก็ออกมาสู่การเคลื่อนไหวใช้มือใช้เท้า เช้าเดินไปหาไปเอา มือหยิบอะไรต่าง ๆ เป็นต้น หรือถ้าเป็นไปในทางไม่ชอบใจก็ใช้มือผลักมือทำลายไปเลย หรือเท้าก็พาวิ่งหนีไปเลย อันนั้นก็เป็นว่าด้านความรู้สึกก็ต่อด้วยเรื่องความชอบใจไม่ชอบเรียกว่าตัณหา ตัณหาก็เป็นตัวนำชีวิตไป นี้ด้านความรู้สึกนี้ไม่ต้องอาศัยความรู้ เพราะฉะนั้นมันก็เลยอยู่กับพวกเดียวกับอวิชชา เมื่อยังมีอวิชชาความไม่รู้อยู่มันก็เป็นช่องว่างให้ตัณหานี่มาเป็นตัวนำทางชีวิต นั้นก็ถือว่าเป็นอวิชชานี่เป็นปัจจัยแก่ตันหา คำว่าเป็นปัจจัยนี่ไม่ใช่หมายความว่าจะต้องเป็นตัวทำให้ตัวนี้เกิด แต่หมายความแม้แต่เป็นตัวเปิดช่องให้ก็ถือว่าเป็นปัจจัย คำว่าเป็นปัจจัยที่มีความหมายกว้างเป็นตัวเกื้อหนุน เป็นตัวให้โอกาสเป็นตัวที่สืบเนื่องกันอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เราก็เลยได้ 1 อวิชชากับทุกข์มาแล้วนี่คู่กัน ทีนี้แทรกกลางเข้ามาก็คือตัณหาใช่ไหม พออวิชชาเป็นตัวช่องว่างเปิดอยู่ตัณหาก็เข้ามาเป็นตัวบงการชีวิตของเรา เราก็ทำไปโดยที่ว่าอวิชชาเป็นฐานเป็นพื้นอยู่มันก็ไม่ปลอดภัยเพราะไม่มีความรู้ ตัณหามันจะนำไปก็เอาแต่ชอบใจไม่ชอบใจ ซึ่งขึ้นต่อเวทนาที่ได้รับว่าเป็นสุขเป็นทุกข์ นี้การที่ตัณหามันนำชีวิตนี่ก็ไม่ปลอดภัยอย่างที่ว่าไปแล้ว นี้ด้านที่ใช้ตัณหาเป็นตัวบงการแล้วก็มุ่งไปที่เวทนาความรู้สึกนี้ตัณหามันก็จะเอาไอ้เวทนาที่สุข แล้วก็มันก็จะเรี่ยงเวทนาที่เป็นทุกข์ นี่คือเรื่องของตัณหาแล้ว ตัณหามุ่งไปที่เวทนาอย่างเดียว อันนี้ในเมื่อมันมุ่งที่เวทนา เวทนานั้นได้รับผ่านมาคือเป็นความรู้สึกตาหูจมูกลิ้นกาย ให้ตาได้เห็นสิ่งที่สวยงาม หูได้ฟังเสียที่ไพเราะ จมูกได้ดมกลิ่นที่หอม ๆ ลิ้นนี่ลิ้มรสที่อร่อย กายได้สัมผัสสิ่งที่มันนุ่มนวลซู่ซ่าอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ลักษณะนี้มันก็กลายเป็นว่าเจ้าตัณหานี่มันก็จะมาบงการให้เราใช้ตาหูจมูกลิ้นกาย เพื่อจะหาเวทนา ให้ได้รับเวทนาที่มันชอบใจ การกระทำอย่างนี้เราก็ใช้คำว่าเสพใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็เลยใช้ตาหูจมูกลิ้นกายนี้เพื่อเสพ นี่ก็เลยเป็นลักษณะการดำเนินชีวิตด้านหนึ่งของคน โดยเฉพาะปุถุชนก็คือใช้ตาหูจมูกลิ้นกายนี้มุ่งไปที่การเสพ บำรุงบำเรอให้กายของเราตาของเรานี่ได้สิ่งที่สบายมีความสุข ทีนี้หันไปดูอีกด้านหนึ่งที่ว่าไปแล้วก็คือด้านความรู้และความหลุดพ้นเป็นอิสระจากทุกข์จากปัญหา ด้านนั้นก็ใช้ตาหูจมูกลิ้นเหมือนกัน ด้านนั้นก็บอกแล้วว่ารู้เห็นได้ยินในแง่ที่ว่า อ้ออะไรมันเป็นอะไร เป็นตาก็ดูเห็นเริ่มตั้งแต่เขียวแดง ขาวเหลือง รูปร่างกลมแบนยาวเหลี่ยมอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ทรวดทรง สันฐานแล้วก็ใหญ่เล็ก หูก็ได้ยินเสียง เสียงทุ้มเสียงแหลม เสียงเบา เสียงดัง เสียงนกเสียงกา เสียงเสือ เสียงอะไรต่าง ๆ เสียงกระทิง เสียงแร้ดอะไรก็ว่าไป นี้ในด้านความรู้นี่ เมื่อรู้แล้วเนี่ยมันจะเชื่อมต่อออกไป คือพอรู้ว่าอะไรเป็นอะไรเนี่ยมันก็จะเชื่อมต่อไปที่สิ่งที่เรียกว่าข้อมูล พอข้อมูลมันเชื่อมต่อกันมันก็เกิดความรู้มากขึ้นแล้วนี่ก็คือความรู้จากความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ พอสิ่งทั้งหลายสัมพันธ์กันต่อมามันก็รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเพิ่มขึ้นทุกที จากเห็นใบไม้ ต่อไปมันก็เห็นไปที่กิ่งไม้ มันมีก้าน มันเป็นกิ่งไม้ เอ้ากิ่งไม้มันกับต้นไม้นี่มันงอกมาจากต้นไม้อะไรต่าง ๆ ต้นไม้นี่ เอ้มันมาอย่างไร ต่อมาก็รู้ว่าเอ้ามาจากเม็ดอะไรต่าง ๆ เหล่านี้
ต่อมามันก็เห็นความเป็นไปของสิ่งเหล่านี้ ก็ตอนแรกก็เท่ากับว่าเห็นตัวธรรมชาติสิ่งที่เป็นธรรมชาติ เสร็จแล้วก็เห็นความจริงของธรรมชาติก็คือ เห็นตัวธรรมะใช่ไหม ตัวธรรมดาของมันนี่ แต่ว่ามนุษย์เราก็จะรู้ไอ้ความจริงระดับนี้แค่ผิวเผินพอใช้ในการดำเนินชีวิตเท่านั้นเองไม่รู้ลึกซึ้งอะไร ถ้ายิ่งรู้ลึกซื้งยิ่งได้ประโยชน์มาก นั้นคนที่แม้แต่มีปัญญาความรู้ในระดับของการอยู่ประจำวันนี่ที่ไม่ลึกซึ้งเท่าไหร่ก็ยังช่วยผู้อื่นได้เยอะ ช่วยให้เกิดความเจริญแม้แต่วิทยาการต่าง ๆ จากการสังเกตุ การรู้ความสัมพันธ์ เอ้เห็นเมฆมา ต่อมาก็มีฝนตกอย่างนี้ ต่อมาก็รู้ว่านี่เมฆนี่ ถ้าเมฆมาแล้วมีหวังฝนอาจจะตกเลย อะไรอย่างงี้ บางทีตก บางทีไม่ตกอย่างน้อยก็ได้รู้ว่าอาจจะตก ต่อมาก็จะเห็นปรากฏการณ์อื่นที่แทรกเข้ามา เอ้เวลาก่อนฝนจะตกเมฆมามักจะมีลมมาด้วยหรือลมมาแล้วเมฆก็มา ไอ้การที่ได้รู้ได้เห็นปรากฏการณ์เหล่านี้แล้วก็เชื่อมโยงความสัมพันธ์ก็ทำให้มนุษย์ได้ปัญญา แล้วก็รู้ว่าจะปฏิบัติต่ออะไรอย่างไรถูกต้องทำให้ดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น ด้านนี้ที่สำคัญก็คือเป็นอันว่าอีกด้านหนึ่งก็คือเราใช้ตาหูจมูกลิ้นกายของเรานี้สำหรับรู้ เมื่อรู้ก็เป็นทางมาของปัญญา แต่ว่าก็อยู่ที่วิธีด้วย วิธีเชื่อมโยงซึ่งมาอยู่ที่การทำงานของอายตนะสำคัญคือจิตว่าจะสามารถใช้ความเชื่อมโยงข้อมูลความรู้อย่างไรซึ่งอันนี้คือการคิดนั่งเอง ถ้ามีวิธีคิดที่ดีก็คือสามารถที่จะเอาข้อมูลความรู้ต่าง ๆ มาเชื่อมโยงกันในลักษณะของการที่ว่าสืบสาวเหตุปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างเหตุปัจจัยต่าง ๆ การวิเคราะห์แยกแยะสิ่งที่เห็นได้ยินเป็นต้นออกเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ แล้วก็เอามาสัมพันธ์กันอีกทีหนึ่งเป็นต้น วิธีคิดเหล่านี้ที่จะทำให้คนได้ปัญญา
ทีนี้ ตอนนี้ก็เป็นอันว่า ด้านที่สำคัญนี่ก็คือด้านความรู้ เมื่อใช้ตาหูจมูกลิ้นรับรู้ได้ความรู้ข้อมูลนี้ก็เกิดปัญญาก็ทำให้มุษย์สามารถดำเนินชีวิตได้ดี อันนี้แหละที่เป็นตัวแก้ปัญหา นั้นเราพูดโดยใช้ศัพท์ภาษาไทยก็เท่ากับว่าปัญญานี้เป็นตัวแก้ปัญหา ถ้าปัญญามาก็ปัญหาก็หมดไป ตอนแรกที่เรายังไม่มีปัญญาก็คืออวิชชา ปัญหามันก็มาครอบงำเราใช่ไหม นั้นเมื่อปัญหาครอบงำก็คือทุกข์นั่นเอง เราก็ต้องการปัญญา ปัญญามาก็แก้ปัญหาได้ ถ้าใช้ศัพท์พระก็คือ เมื่อปัญญามาก็แก้ทุกข์ได้ ในที่นี้เราก็ใช้ง่าย ๆ ก็คือทุกข์ก็คือปัญหานั่นแหละ นี่ปัญญาก็คู่กับปัญหาหรือทุกข์ ปัญญาก็แก้ปัญหาไป แก้ทุกข์ไป ทำให้เป็นอิสระจากทุกข์ได้ นี้ด้านรู้นี้เมื่อเรารู้ขึ้นมา พอเรารู้นี้มันได้ประโยชน์ แล้วยิ่งสามารถมาเชื่อมต่อโยงกันทำให้เราเห็นทางที่จะทำนู่นทำนี่แก้ไขปัญหานี่ พอเราได้ประโยชน์นี่เราชอบ มันจะมีความสุขจากการได้ความรู้ขึ้นมา นั้นคนที่รู้จักใช้อายตนะตาหูจมูกลิ้นกายใจในการที่จะรู้มันก็ได้เกิดการเรียน พอรู้ ๆ ๆ นี่มันก็เรียนไปด้วย เรียนว่ามันมาเป็นประโยชน์แก่ชีวิตเรานั่นเอง เรียนก็คือลักษณะที่ว่าเห็นความ เห็นประโยชน์ของความรู้ที่มาเกื้อกูลเกื้อหนุนต่อการดำเนินชีวิต เรียนก็เอามาใช้ประโยชน์แก่ชีวิต เอาความรู้มาใช้ประโยชน์แก่ชีวิตเราก็เรียกว่าเรียนรู้ เรียนรู้นี่มันก็นำไปสู่การที่จะทำอย่างไรด้วย ตั้งต้นพอเรียนรู้ว่าอันนี้มันเป็นอย่างงั้นอย่างงี้แล้ว เราก็จะทำอย่างงั้นอยางงี้ได้ใช่ไหม อันนั้นมันก็เมื่อเราทำไป เราก็ทำเป็น เราก็ทำสิ่งนั้นได้ถูกต้อง เช่นว่า เรารู้ว่า เอ้อไอ้ต้นนี้ ต้นไม้นี้มันเกิดจากเม็ดอย่างที่ว่า อ้ออย่างนั้นเราเอา ก็หาเม็ดมันมาสิ อ้อเม็ดมันอยู่ในลูกนี่น่า ลูกมันแก่แล้วหล่นลงมา อ้อมันมีเม็ด ถ้างั้นถ้าเราเม็ดไปปลูกที่บ้านเรามันก็ขึ้นใช่ไหม นี่เราได้เรียนแล้ว เรียนแล้วก็เอาอย่างนั้นเราก็ทำได้แล้วซิทีนี้ เราก็เอาเม็ดไปปลูกที่บ้านใช่ไหม ทำมันก็ต้นไม้ก็ขึ้นมาใช่ไหม พอต่อไปไอ้การปลูกนั่น เอ้ปลูกขึ้นบ้างไม่ขึ้นบ้าง เอะทำไมล่ะก็ได้เรียนตลอดเวลาว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้ อ้อส่วนประกอบไอ้ดินมันอาจจะไม่ดีหรือลึกไปตื้นไปหรือว่าขาดน้ำเอาไปปลูกไว้เฉย ๆ มีแต่เม็ดไปใส่ดินมันนึกขึ้นไม่ขึ้นหรอก มันต้องมีน้ำด้วยแห้งมีแต่มีแต่ดินเฉย ๆ แล้วก็ถูกแดดทั้งวันร้อนแล้วก็แห้งไม่มีน้ำเลยนี่จะขึ้นยังไง ต่อมาก็รู้ว่าต้องมีน้ำด้วย อะไรต่าง ๆ นี่ ต่อมาก็ชำนาญขึ้นก็เรียนรู้ใช่ไหมแล้วก็ได้ฝึกฝน ต่อมาก็ชำนาญแม้แต่การปลูกต้นไม้ การดำเนินชีวิตอะไรต่าง ๆ ก็มาจากการเรียนรู้ฝึกฝน
ไอ้การที่เรียนรู้ฝึกฝนมันก็พัฒนาทำให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนานี่เรียกว่าศึกษา ก็เป็นอันว่าตอนนี้ก็เท่ากับว่าเราได้ใช้ตาหูจมูกลิ้นกายอีกอย่างหนึ่งก็คือใช้เพื่อศึกษาหรือเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนา ตอนนี้เพราะว่าเราได้เห็นประโยชน์นี่ในการที่รู้นี่ แล้วเราก็เลยมีความสุขจากการได้รู้ได้เรียน เราก็ชอบ เกิดความใฝ่รู้ ตอนนี้ก็อยากรู้มากเพราะขึ้น พอยิ่งอยากรู้มากขึ้นนะ เวลาได้เรียนรู้มันก็ยิ่งมีความสุขมากขึ้นจนกระทั่งถ้ามันสะสมมาก ๆ มันเคยชินจนกระทั่งว่าเป็นคนที่อยากจะรู้ความจริงของสิ่งต่าง ๆ ไปเจออะไรแล้วไม่สนใจในแง่เสพแล้ว มาสนใจแต่ในแง่ที่จะรู้ อันนี้มันก็มีความสุขจากการสนองความใฝ่รู้สิ มันเลยมองข้ามด้านเสพ มันบางทีไม่ค่อยเอาใจใส่ นั้นมันก็ทำให้เปลี่ยนแปลงสภาพชีวิตแล้วก็คุณสมบัติของจิตใจแล้ววิธีดำเนินชีวิตก็ชักเปลี่ยนไป อย่างน้อยก็มี 2 ด้านขึ้นมาแล้ว ด้านหนึ่งนั้นไปใช้ตาหูจมูกลิ้นกายเพื่อเสพ แต่อีกด้านหนึ่งนี่ใช้ตาหูจมูกลิ้นกายใจเพื่อเรียนรู้ นี้มีความใฝ่รู้อยากรู้มากขึ้นก็มีความสุขจากการได้สนองความใฝ่รู้นั้น แล้วบอกแล้วว่าใช้ตาหูจมูกลิ้นกายใจเพื่อเรียนรู้นี้แล้วก็ฝึกฝนพัฒนาไปเรียกว่าศึกษา เราก็ใช้ศัพท์ง่าย ๆ ว่าใช้ตาหูจมูกลิ้นกายใจเพื่อศึกษา ตอนนี้ก็เท่ากับมีทางแยก 2 ทาง ด้านหนึ่งก็ใช้ตาหูจมูกลิ้นกายใจเพื่อเสพ อีกด้านหนึ่งใช้เพื่อศึกษา นี้ด้านเสพแกก็จะมีความต้องการเสพที่มากขึ้น มากขึ้น แล้วก็สนองความต้องการเสพ แกก็สุขจากการเสพ
ที่นี่ฝ่ายศึกษานี่ก็พัฒนาความใฝ่รู้มากขึ้นแล้วก็มีความสุขจากการศึกษาคือการที่ได้เสนอความใฝ่รู้ อันนี้ลักษณะที่ต่างกันของ 2 ด้าน คือ ด้านเสพความสุขมันจะขึ้นต่อสิ่งที่ชอบใจ แล้วก็ถ้าไปเจอสิ่งไม่ชอบใจก็ทุกข์ใช่ไหม เพราะมันมุ่งเวทนานี่ เวทนาที่สบายจึงเอาเสพและก็สุข ทีนี้ถ้าเจอเวทนาที่ไม่สบายไม่ชอบใจก็ทุกข์แล้วยังไม่ทันเสพเลยทุกข์แล้ว พอเจอไม่ชอบใจเพราะมันรู้แล้วนี่ มันอาศัยความจำเดิม อันนั้นความสุขทุกข์ขึ้นต่อสิ่งชอบใจไม่ชอบใจ หมายความว่าเจอสิ่งที่ชอบใจก็สุข เจอสิ่งที่ไม่ชอบใจก็ทุกข์ ทีนี้คนเรานี่มันดำเนินชีวิตไปมันก็ต้องเจอแน่ล่ะทั้งสิ่งชอบใจไม่ชอบใจใช่ไหม อันนั้นคนพวกนี้ที่เป็นนักเสพใช้ตาหูจมูกลิ้นกายใจเพราะเสพก็จะมีสุขทุกข์ที่วนเวียนอยู่กับสิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจ วัน ๆ หนึ่งก็อยู่ความชอบใจไม่ชอบใจได้เห็นสิ่งที่สบายใจชอบใจก็สุข เจอสิ่งไม่ชอบใจก็ทุกข์ มันก็อยู่อย่างนี้วนเวียนอยู่
ที่นี้ฝ่ายใช้ตาหูจมูกลิ้นกายใจเพื่อศึกษาเพื่อเรียนรู้ ไอ้คำว่าเรียนรู้นี้มันใช้ได้กับทุกอย่าง อะไรก็ตามเข้ามาที่เราเรียกว่าประสบการณ์ เราเรียนรู้ได้หมดไม่เกี่ยวกับชอบใจไม่ชอบใจเพราะฉะนั้นในเมื่อเราเรียนรู้แล้วมีความสุขเนี่ยความสุขของเราไม่ขึ้นต่อสิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจ เราสามารถเรียนรู้ได้จากทุกอย่างที่เข้ามาหมดเพราะฉะนั้นเราในเมื่อเรามีความสุขจากการใฝ่รู้จักการศึกษาเราก็เลยสามารถมีความสุขจากทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้ประสบได้เรียนรู้หมดเลย นี่คือจุดต่าง เป็นอันว่าพวกที่ใช้ตาหูจมูกลิ้นเพื่อเสพ เป็นนักเสพแกก็สุขทุกข์หมุนเวียนอยู่กับเรื่องชอบใจไม่ชอบใจ ฝ่ายผู้ใช้ตาหูจมูกลิ้นกายใจเพื่อศึกษานี่เป็นสุขทุกข์สถานการณ์ นี่เรียกว่าพ้นจากสังสารวัฏระดับที่ 1 เลย นั้นต่อไปแกพัฒนามากขึ้นเพราะความใฝ่รู้มันมากขึ้นนี่มันจะเป็นอิสระจากการเสพเข้าไปทุกที ทีนี้แกเจอตัณหาแกเจออะไรแกมีความใฝ่รู้มากนี่ไอ้ความใฝ่รู้มันยิ่งมากยิ่งทำให้ปัญหากลายเป็นสิ่งที่ทำให้สนองความใฝ่รู้ยิ่งขึ้น ไอ้ยิ่งเป็นปัญหามันยิ่งได้คิดมากยิ่งได้เรียนรู้มากเพราะฉะนั้นมันเลยกลายเป็นว่าชอบใจ ไปชอบสิ่งที่เขาไม่ชอบ ไอ้เจ้าฝ่ายนักเสพไม่ชอบใจสิ่งนี้แต่ไอ้เจ้านักศึกษามันกลับไปชอบเพราะมันได้เรียนรู้เยอะ มันได้ชอบสิ่งที่เป็นปัญหาเป็นต้น แต่รวมแล้วก็คือแกพ้นจากสังสารวัฏ ขั้นที่ 1 คือพ้นจากสุขทุกข์ที่อยู่กับสิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจนะ แกสามารถหาความสุขได้ทุกสถานการณ์จากการได้เรียนรู้ เอาละนะเราก็ได้ 2 อย่างละ ฝ่ายหนึ่งก็ดำเนินชีวิตมาโดยใช้ตาหูจมูกลิ้นกายใจเพื่อเสพเป็นนักเสพ แล้วก็สุขทุกข์อยู่ที่ชอบใจไม่ชอบใจ แล้วก็ 2 พวกที่ใช้ตาหูจมูกลิ้นกายใจเพื่อศึกษาก็มีความสุขจากการศึกษาหรือการเรียนรู้ แล้วก็สุขได้จากทุกสถานการณ์ทุกสิ่งที่ประสงค์
ทีนี้ฝ่ายพวกศึกษามันไม่หยุดแค่นั้น ถ้าฝ่ายเสพจบแค่นั้นวนอยู่แค่นั้น ทีนี้ฝ่ายศึกษามันไม่จบเพราะไอ้เจ้าความรู้นี้มันพัฒนา มันพัฒนาต่อไปก็คือว่า พอมันรู้เนี่ยมันเห็นอะไรมันได้ยินอะไร มันรู้แล้วมันก็รู้ว่า อ้ออันนี้เป็นอย่างนี้ อ้ออันนั้นเป็นอย่างนั้น อ้อพอไปเทียบกัน อันนี้มันอยู่ในภาวะที่ดีที่ถูกต้องควรจะเป็น อันนั้นไม่อยู่ในภาวะควรจะเป็น อันนั้นทำมันฝ่อมันเหี่ยว อันนี้ทำไมมันสดชื่นนี่ เอ้มันเห็นมันรู้หมด พอรู้แล้วอย่างนี้ เอ้าก็อย่างนั้นภาวะที่มันควรจะเป็น มันควรจะสดชื่น มันควรจะสมบูรณ์อย่างนี้นะ ๆ อันนี้ห่อเหี่ยวแห้งไม่ถูกต้อง รู้พอเห็นมันเกิดปัญญา มันก็รู้ว่าอันนี้มันควรจะเป็นอย่างนี้มันไม่ควรจะเป็นอย่างนี้ แล้วมันก็เกิดความอยากขึ้นมาอีกอย่างหนึ่งว่า เอ้อมันควรจะเป็นอย่างนี้มันน่าจะเป็นนี่ เราก็อยากจะให้มันเป็นอย่างนี้ เช่นเห็นสิ่งที่ห่อเหี่ยวโทรมอะไรอย่างนี้ ก็อยากจะให้มันสมบูรณ์แข็งแรงอะไรอย่างเช่นเห็นต้นไม้เหี่ยวกับต้นไม้ที่มันไม่สมบูรณ์ อยากให้ต้นไม้นั้นมันสมบูรณ์ ทีนี้พออยากให้มันสมบูรณ์อยากให้มันแข็งแรงก็คืออยากให้มันดีใช่ไหม พออยากให้มันดีเนี่ยทำไง มันยังไม่ดีนี่ใช่ไหม ก็ต้องทำให้มันดีก็เกิดการอยากทำให้มันดี ตอนแรกก็อยากให้มันดี ไอ้ตัวความรู้นี่นำไปสู่จุดนี้ รู้แล้วก็อยากให้มันอยู่ในภาวะที่ดีที่สมบูรณ์ เมื่อมันยังไม่เป็นก็อยากทำให้มันดีให้มันสมบูรณ์ พออยากทำให้มันดีขึ้นมาไอ้เจ้าความอยากนี่ก็คือความต้องการชนิดหนึ่งก็ต้องสนองใช่ไหม และการสนองความต้องการนั้นทำให้เกิดความสุข พอต้องการให้มันดีอยากทำให้มันดีก็ต้องสนองในการทำ นั้นพอทำปั้บก็มีความสุขเพราะว่ามันทำให้ได้บรรลุจุดหมายที่ตัวต้องการได้สนองความต้องการที่จะให้มันดีเวลาทำไปนี่มันก็ค่อย ๆ ก้าวไปสู่ภาวะที่ตัวต้องการขึ้นทุกทีใช่ไหม ตัวเองก็มีความสุขในการกระทำนั้นเลื่อยไป พอทำเสร็จก็มีความสุขว่าได้สนองความต้องการโดยสมบูรณ์ได้บรรลุจุดหมาย อันนี้การทำให้มันดีนี่เราก็เลยมาใช้ศัพท์สมัยใหม่เรียกว่า การสร้างสรรค์ใช่ไหม คือการทำนี่ไม่ใช่ทำลอย ๆ เป็นการทำเพื่อให้มันดี เรียกว่าการสร้างสรรค์ นี้เมื่อเขาทำการสร้างสรรค์อยู่ เวลานี้เขาทำก็มีความสุข อันนั้นคนนี้ก็จะมีเพิ่มขึ้นมาอีกในตอนนี้คืออะไร 1 คือความใฝ่สร้างสรรค์หรืออย่างสร้างสรรค์ หรืออยากทำ ทางพระท่านเรียกอยากทำ ท่านหมายถึงอยากทำให้มันดี แล้ว 2 ก็มีความสุขจากการกระทำนั้นหรือการสร้างสรรค์นั้น นี่ก้าวไปอีกขี้นหนึ่งแล้วน่ะ
นั้นการศึกษาจึงมาสัมพันธ์กับการสร้างสรรค์ใช่ไหม จากการศึกษา ก็ก้าวสู่การสร้างสรรค์จากความใฝ่รู้ ก็ก้าวสู่ความใฝ่ธรรมหรือฝ่ายสร้างสรรค์ที่ว่านี้ จุดนี้ก็อยู่ตรงข้ามกับฝ่ายนักเสพอีก ฝ่ายนักเสพนี่ สุขทุกข์แกวนเวียนอยู่กับสิ่งชอบใจไม่ชอบใจที่มาบำรุงบำเรอตาหูจมูกลิ้นแก่ใช่ไหม เมื่อมันมาบำเรอตาหูจมูกลิ้นแกก็สบาย สิ่งที่แกต้องการก็คือมาบำเรอตาหูจมูกลิ้นแกสบาย แล้วแกก็ไม่ต้องทำอะไรใช่ไหม พวกนี้จะมีความสุขจากการที่ได้รับบำเรอ ได้รับบำเรอ แล้วก็คือไม่ต้องทำอะไร ถ้าต้องทำอะไรก็คือทุกข์เพราะฉะนั้นสำหรับพวกนักเเสพ ทำคือความทุกข์ ทีนี้ฝ่ายพวกศึกษาเดินหน้ามาสู่การสร้างสรรค์นี่การกระทำมันสนองความต้องการที่จะไปบรรลุจุดหมายมันกลายเป็นสุขไป เพราะฉะนั้นมันมีความสุขจากการกระทำ ฝ่ายนักเสพมีความทุกข์จากการกระทำตรงข้ามอีกใช่ไหม นี่คือจุดแยกของการศึกษาที่เริ่มมาจากตาหูจมูกลิ้นกายของเรา นั้นการศึกษาเริ่มต้นที่นี่เอง พอได้แค่นี้แล้วก็เรียกว่าชีวิตนั้นเดินหน้าแล้วพัฒนา ถ้าเป็นฝ่ายนักเสพก็ไม่พัฒนาก็จมอยู่ในสังสารวัฏ ฝ่ายผู้ที่ใช้ตาหูจมูกลิ้นเพื่อศึกษาและสร้างสรรค์ใฝ่รู้และใฝ่สร้างสรรค์มีความสุขจากการได้ศึกษาและสร้างสรรค์นี้ก็พัฒนาต่อไป ก็พ้นจากสังสารวัฏ พ้นจากสังสารวัฏแห่งความสุขทุกข์จะชอบใจไม่ชอบใจแล้วก็สามารถมีความสุขในการดำเนินชีวิต เพราะว่าการดำเนินชีวิตที่มันต้องทำนี่มันต้องไปเรียนรู้ ต้องสู้ปัญหาต้องทำโน่นทำนี่มันอยู่ได้สบาย
นี้ตอนนี้ที่พูดมาทั้งหมดนี่ก็ให้เห็นเรื่องจุดเริ่มของการศึกษาในชีวิตของคนเรา ซึ่งเราจะโยงไปหาธรรมะแม้แต่สูงสุดในพุทธศาสนาได้หมด ว่าเริ่มขึ้นจากตาหูจมูกลิ้นกายใจเพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงเน้นนักเรื่องนี้ในพระไตรปิฎกเดี๋ยวเจอแล้ว เอ้าอึกอักขึ้นมาก็ เอาละซิภิกษุหรือบุคคลรับรู้ด้วยตาด้วยหูด้วยจมูกแล้วก็เกิดความยินดียินร้าย เอาละทีนี้มากระแสนี้ปั้บก็คือไปสู่ทุกข์วงจรหรือสังสารวัฏแห่งทุกข์เกิดขึ้นมา ทีนี้พอเกิดเวทนารู้สึกสุขทุกข์แต่ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจชอบใจไม่ชอบใจตัณหาไม่มาแล้วใช้ปัญญาเรียนรู้พ้นอำนาจของความรู้สึกได้ ตอนนี้เรียนรู้ก็กลายเป็นว่าพ้นสังสารวัฏไปใช่ไหม แต่ว่าในระหว่างนี้ชีวิตของคนเราอย่าที่ว่าแล้วมันมีคนปุถุชนเนี่ยมันจะหนักในทางเสพ แต่ว่าเขาจะอยู่กับเสพอย่างเดียวเป็นไปไม่ได้ใช่ไหม เพราะการดำเนินชีวิตที่ดีที่จะอยู่รอดเนี่ยอาศัยชอบใจไม่ชอบใจอย่างเดียวก็ไปไม่รอดหรอก นั้นเขาเลยต้องอาศัยใช้ปัญญาเหมือนกัน ตอนนี้แหละที่มันจะมาเกิดความสับสนกันที่ว่า เมื่อมนุษย์หนักในด้านเสพแต่แกก็ต้องเรียนรู้บ้าง ไอ้การเรียนรู้นี่กลายเป็นเรื่องจำใจแกนะ และแกก็ต้องทำเพราะว่าถ้าแกอยากจะเสพแต่ว่าสิ่งนั้นมันไม่ได้มีให้เสพตลอดเวลา แกต้องหามานี่นะใช่ไหม ไอ้เนี่ยมันเป็นกลายบังคับจำเป็นจะต้องเรียนรู้แล้วต้องทำ แต่ที่แกต้องเรียนรู้และที่แกต้องทำนี่ก็เป็นความจำใจหมดเลย ที่แกต้องทำนี่เป็นเงื่อนไขเพื่อจะให้ได้สิ่งเสพ แกไม่ทำด้วยใจชอบ ไม่ได้มุ่งหมายว่าเอ้อ สิ่งนี้มันจะได้ไปอยู่ในภาวะที่ดีของมันได้สมบูรณ์แล้วนะ แกไม่ได้นึกอย่างนั้น แกจะนึกในแง่จะได้มันมาเสพ อันนั้นเป้าหมายอะไรต่ออะไรมันผิดหมด นี้แต่ว่ามันมีการที่ว่าแกจะต้องเรียนรู้บ้างแกต้องศึกษาบ้าง แกได้ปัญญา ไอ้ปัญญานั้นกลับมาเป็นตัวมาสนองฝ่ายชอบใจไม่ชอบใจมาสนองตัณหาหมายความว่าตัณหาเป็นตัวแรงกว่าเป็นตัวเจ้าอิทธิพลเป็นผู้นำ ปัญญาก็กลายเป็นผู้รับใช้ไปใช่ไหม เพียงแต่ว่าหาความรู้มาเพื่อจะมาสนองความต้องการในการได้สิ่งนั้นมาเสพเท่านั้นเอง ก็จบ แล้วที่ต้องทำก็จำใจทำเพื่อว่ามันไม่ได้มีความสุขในการกระทำนั้นหรอกแต่ว่าถ้ามันไม่ทำแล้วมันไม่ได้สิ่งเสพ มันก็เลยจำใจทำใช่ไหม อันนี้ก็เป็นความซับซ้อนอย่างหนึ่ง นี้ว่าทำไงเราจะรู้เข้าใจเท่าทันเมื่อมนุษย์รู้เข้าใจแล้วก็จะเห็นว่า โอ้เราจะต้องอย่าไปอยู่ใต้อำนาจตัณหาที่มุ่งจะเสพ ก็คือว่าพัฒนาด้านปัญญาขึ้นมาแล้วเราก็พ้นจากความสุขทุกข์เพียงแต่ชอบใจไม่ชอบใจรู้จักหาความสุขจากการศึกษาและสร้างสรรค์ให้มากขึ้น การศึกษาก็จะมาช่วยในการที่ว่าทำให้เราพัฒนาชีวิตดีขึ้น ถ้าหากว่าเราไม่เข้าใจหลักการนี้ใช่ไหมไอ้ตัวเสพ ใฝ่เสพตัณหาจะเป็นตัวนำเป็นตัวเจ้าอิทธิพลแล้วก็ไม่รู้ตัวว่า เราเนี่ยไปเรียนรู้ศึกษาเป็นต้น เพียงเพื่อมารับใช้เจ้าตัณหาที่ต้องการจะเสพเท่านั้นเอง ต่อไปก็เลยชีวิตก็ไม่พัฒนาเพราะว่ามันมุ่งในด้านเสพอย่างเดียวก็กลับไปหาทางที่จะทำให้เสพได้มาก ปรนเปรอในตัวนี้จิตใจตัวเองก็ไม่พัฒนาขึ้นมา แล้วก็ในการที่มุ่งจะเสพก็ต้องหาต้องได้มาเพื่อตนมากก็เกิดการแย่งชิงเบียดเบียนกันในสังคมมากชีวิตตัวเองก็ไม่ได้ดีขึ้นจริง ความทุรนทุรายกระวนกระวายในการหาเสพก็มาก การเบื่อหน่ายกับสิ่งที่ได้มีอยู่แล้ว หรือว่ามันไม่พอเพราะสิ่งที่ได้เสพเดิมนี้ดีกรีความกระตุ้นในเรื่องของความรู้สึกมันเบาก็เกิดความเบื่อหน่ายจะหาสิ่งที่รุนแรงยิ่งขึ้นอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ นี้ตัวเองก็มีชีวิตที่ต้องวนกระวายมาก แล้วก็ต้องแสวงหามากแย่งชิงเบียดเบียนกันมากก็เลยเป็นความเดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและสังคม ทุกข์ในตัวเองก็แผ่เป็นในสังคมด้วย นี้ถ้าหากว่าเข้าใจเรื่องชีวิตที่มันดำเนินไปอย่างไรจึงจะถูกต้องอย่างไหนผิดอย่างไหนถูก ก็จะมาพัฒนาชีวิตของตนเองไปในสายในวิถีของการศึกษาและสร้างสรรค์มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เราเนี่ยมีความสุขจากการเรียนรู้และสร้างสรรค์มากขึ้นแล้วก็เป็นทาสของกระแสอวิชชาตัณหาและทุกข์น้อยลง เป็นทาสของการเสพน้อยลงไม่จำเป็นต้องหาการสุขจากเสพมากนักความสุขก็ขึ้นต่อวัตถุภายนอกน้อยลง เพราะสุขจากการเสพนั้นเป็นสุขที่ต้องขึ้นต่อสิ่งภายนอกตัวเอง สิ่งที่จะมาสนองความรู้สึกทางตาหูจมูกลิ้นนั้นมาจากภายนอกต้องไปเอาต้องขึ้นต่อมัน ความสุขนั้นขึ้นต่อสิ่งภายนอกไม่อยู่ในตัวของตัวเอง พอเรามีการรู้ศึกษาและสร้างสรรค์นี่ความสุขมันมาอยู่ในตัวเอง มันอยู่ภายในไม่ต้องขึ้นต่อสิ่งภายนอก นั้นเขาจะเป็นอิสระมากขึ้น นี่ก็เป็นวิถีของชีวิต 2 แบบ
ในเวลานี้ปัญหาของโลกก็คือว่า มนุษย์นี่จะไม่เข้าใจเรื่องการศึกษา เรื่องชีวิตของตนเอง แล้วก็เลยไปเป็นทาสของการเสพนึกว่าความสุขนั้นอยู่ที่การเสพวัตถุ ก็มุ่งในการแสวงหาให้มากที่สุด จนกระทั่งกลายเป็นอารยธรรมไปเลย นึกว่าคือความเจริญ นั้นความเจริญแบบนี้ก็เห็นได้ชัด มนุษย์ก็ไม่ได้มีชีวิตที่มีความสุขจริง แล้วก็มีการเบียดเบียนกันในสังคมมาก แล้วก็ต้องทำลายสิ่งแวดล้อมธรรมชาติก็มีแต่ผลเสียเดือดร้อนกันไปแล้วก็มาบอกว่า นี่เจริญ แล้วก็หาทางแก้ปัญหาไม่ได้เพราะมันจบจุดไม่ถูก นั้นก็เป็นหน้าที่ของผู้ที่รู้เข้าใจเรื่องธรรมะก็คือศึกษาความเป็นจริงของชีวิตตามธรรมชาติ เมื่อเข้าใจตัวความจริงธรรมชาติแล้วก็ดำเนินชีวิตเสียให้ถูกต้อง เราพัฒนาไปชีวิตและความสุขจะขึ้นต่อวัตถุภายนอกน้อยลง โดยมีความเป็นอิสระที่ว่าความสุขนั้นเกิดภายในมากขึ้นทุกที เมื่อความสุขเป็นของภายในตนเองไม่ต้องขึ้นต่อวัตถุภายนอกมากนักมันก็ต้องไม่จำเป็นต้องไปแสวงแย่งชิงกันมาก แล้วกลับมาเกื้อกูลกันได้ด้วยเพราะการสร้างสรรค์นั้นหมายถึงการทำให้สิ่งต่าง ๆ มันดีขึ้น มันก็กลับมาเกื้อกูลต่อสังคมชีวิตของตัวเองก็เป็นอิสระมีความสุขภายในปลอดโปร่งมากขึ้นด้วยกัน เกื้อกูลกันในสังคมดีขึ้นการที่จะทำลายทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้นก็น้อยลง มันก็ดีไปทุกด้าน
ก็พูดไปเท่าที่จะนึกออก แต่ตอนนี้คิดว่าก็เท่านี้ก็น่าจะเพียงพอสำหรับเช้านี้นะ มีอะไรสงสัยไหมครับ
คนฟังถาม ไม่จะของถามเรื่อง ปฏิจจสมุปบาทเกี่ยวข้องที่บรรยายอย่างไร
พระตอบ อ๋อก็ใช่ นี่แหละจุดปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้าที่ตรัสส่วนมากนี่ไม่เริ่มจากอวิชชามาเลยแบบที่ว่าเต็มกระบวน พระองค์มักจะเริ่มจากตาหูจมูกลิ้น นี่แหละผัสสะ ตาเห็น หูได้ยิน เกิดรู้สึกสบายก็ชอบใจ ไม่สบายไม่ชอบใจ เรียกว่ารับรู้ด้วยความยินดียินร้ายชอบชัง นี่ก็คือเกิดตัณหาแล้ว พอตัณหามาก็กระบวนการของปัญหาก็มาเลย พอตัณหามาปัญหาก็มา ตัณหาก็ตามด้วยปัญหา
คนฟังถาม จะเสนอว่า ที่ผมคิดอย่างนี้ไม่ทราบว่าพระเดชพระคุณอาจารย์ช่วยกรุณาให้คำแนะนำว่าถูกหรือผิด เช่นผัสสะก่อนที่จะเวทนานี่ที่มีภาษาพระที่เราว่าชัดแต่ว่ารู้นี่ ถ้าเราสามารถตัดตรงช่วงนี้ได้ ก็คือตรงนี้ใช่ไหมครับ กับช่วงที่ว่าผัสสะนั้นมาเป็นเวทนา
พระตอบ อื้ม เวทนาไม่ต้องไปตัด เวทนามันเป็นของกลาง ๆ
คนฟังถาม แล้วที่สักแต่ว่ารู้ละครับ
พระตอบ ก็สักแต่ว่ารู้ก็คือแค่รู้ความจริงของมัน แต่ว่าความรู้สึกมันมีมาเองโดยธรรมชาติ ไอ้ตัวนั้นเราไม่ได้คำนึง หมายความว่า ตอนนี้ที่ว่ารู้ก็สักแต่ว่ารู้ คำว่าสักแต่ว่านี่ต้องระวังเหมือนกัน สมัยนี้ความหมายมันแปรไปแล้ว สักแต่ว่ามันกลายเป็นไม่เอาเรื่องเอาราว ไม่ใส่ใจอะไรไปนะ สักแต่ว่าหมายความว่า แค่ เห็นก็แค่เห็น หมายความว่าคือไม่เกิดไอ้ความรู้สึกปรุงแต่งที่ว่าชอบใจไม่ชอบใจ คือหมายความว่าแค่เป็นความรู้นะ
คนฟังถาม คืออย่างที่บอก ฟังทีท่านแล้ว คำว่า สงสาร ในช่วงระหว่างผัสสะกับเวทนา มีวิญญาณเกิดขึ้น เพราะว่าตัววิญญาณมันคงระวัง ตรงนั้น ตรงที่วิญญานที่ผมว่าแต่ว่ามันตรงกันใช่ไหมครับ แต่เป็นลักษณะ
พระตอบ วิญญาณรู้ก็หมายความแค่รู้น่ะถูกต้อง แต่ว่าเวทนามันเป็นของ ท่านเรียกว่าเป็นเจตสิกที่เป็นสัพพสาธรณเจตสิก ถ้าว่าตามแบบอภิธรรม แต่ว่าไม่ต้องไปว่าตามแบบอภิธรรมก็ได้ หมายความว่ามันเกิดทันทีพร้อมกับวิญญาณเลย เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปใส่ใจมันคือว่า มันเกิดของมันตามธรรมชาติ แต่ว่าวิธีปฏิบัติของเราก็คือว่าเราเอารู้ เราเอาที่รู้ใช่ไหม ไอ้เวทนามันเกิดก็ว่าเราไม่ไปใส่ใจใช่ไหม ก็คือว่าไม่ได้ไปเกิดปฏิกิริยาที่เวทนา แต่เวทนานั้นเราไปตัดมันไม่ได้ เวทนามันเป็นความรู้สึกที่มากับผัสสะ ผัสสะเวทนา ทีนี้ว่าเวทนามา ตัณหาจะไม่เกิดเพราะว่าเราจุด ๆ เป้าของเราไม่ไปอยู่ที่เวทนา เราไปอยู่ที่ไอ้ตัวที่ตอนผัสสะก็คือว่ามันเป็นตัวเชื่อมระหว่างเรากับสิ่งแวดล้อม เมื่อมันเชื่อมเราต่อสิ่งแวดล้อมใช่ไหม ผลพ่วงมันเกิดเวทนาแก่เรานะ แต่เราไม่ได้ใส่ใจจุดนั้นเพราะถ้าเราไปใส่ใจจุดนั้นเราไปต่อตัณหาปั้บ จบเลย เราไม่ได้ความรู้ที่ควรจะได้จากสิ่งแวดล้อม ทีนี้ไอ้ผัสสะนี้เป็นตัวต่อทำให้เราได้ความรู้ใช่ไหม เราก็อยู่ที่ผัสสะนี้ เราก็ที่บอกว่ารู้ก็แค่รู้ก็หมายความว่า อยู่แค่ความรู้นะไอ้นี่เขียวแดงเหลืองเป็นความรู้ ท่านเรียกว่า ยานะมะทายะ สติมัตตายะ ก็รับรู้เพียงเพื่อรู้ อะไรเป็นอะไร มันคืออะไรเป็นอย่างไร แล้วจะต่อไปสู่การรู้ธรรมชาติของมันเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตามีการเปลี่ยนแปลงอะไรต่าง ๆ ใช่ไหม แล้วสติมัตตายะ เพื่อสำหรับระลึก คือหมายความว่าเราก็ได้ข้อมูลแล้ว อ้อข้อมูลไว้สำหรับใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของเราต่อไป สติก็ได้ข้อมูลไว้ระลึก อย่างนี้เรียกว่าถูกต้อง ฉะนั้นจุดของเราก็คือว่าไอ้จุดที่ว่าเราจะปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรถูกต้องถูกไหม ทีนี้ถ้าเราไปติดกับไอ้ผลพวงที่มาจากผัสสะการรับรู้คือไปเวทนาซะเราก็ไม่ได้ติดต่อกับสิ่งแวดล้อมแล้วใช่ไหม เราก็กลายเป็นว่าเราเป็นหลงไปเอาที่ความรู้สึกแล้วไปต่อด้วยตัณหาความพอใจไม่ชอบใจก็เลยไปเลยปรุงแต่งไป ที่นี้เราไม่หลงไปตามไอ้ตัวพ่วงคือเวทนา เราก็อยู่กับผัสสะ เราก็เห็นสิ่งแวดล้อมใช่ไหม เราก็รู้มันตามเป็นจริงเลย ถูกไหม อันนั้นจึงบอกว่า รู้ก็แค่รู้ เห็นแค่เห็น ได้ยินแค่ได้ยิน ก็คือหมายความอยู่กับไอ้ตัวความรู้นะ อยู่กับตัวความรู้นะ อย่าไปอยู่กับความรู้สึกถูกไหม แต่ความรู้สึกนั้นห้ามไม่ได้ มันเป็นเวทนาเป็นฝ่ายที่เป็นตัว ๆ ที่พ่วงมากับผัสสะ พอผัสสะปั้บเวทนาก็เกิด แต่ว่าเวทนาตัวนี้จะไม่ต่อไปตัณหา
คนฟังถาม แสดงว่าเป็นปัญญาที่พระเดชพระคุณ ปัญญานี่คือเวทนาที่เป็นไปตามกฏธรรมชาติก็คือ ความรู้สึกเจ็บปวด หรือความสึกเมื่อย หรือว่าอะไร แต่อีกระดับหนึ่งเวทนาที่เกิดจากความรู้สึกชอบ สุขหรือทุกข์ใช่ไหมครับ
พระตอบ อันนั้นมันปรุงแต่ง เวทนาที่เกิดจากการปรุงแต่งอีกตอนหนึ่ง คนฟังตอบ ครับ
คนฟังถาม ผมก็ไปมองในกระบวนการ อยากจะรบกวนเวลาท่านในประเด็น
พระตอบ เดี๋ยวต้องทำความเข้าใจตรงนี้ก่อน แต่ไม่ว่าเวทนานั้นจะมาจากผัสสะเบื้องต้นก็ตาม จากการปรุงแต่งก็ตาม มันก็เป็นเพียงตัว passive มันไม่เป็นตัวปฏิกิริยาไม่เป็นสังขารไม่เป็นตัวการกระทำเพราะฉะนั้นท่านจึงแยกเป็นคนละขันธ์นะ ไม่อยู่ในสังขารละขันธ์ เพราะว่ามันเป็นเพียงตัวที่ว่ามันเกิดขึ้นมาแล้วเราจะเอายังไงกับมัน ถ้าเรามีปฏิกิริยาต่อก็คือชอบใจไม่ชอบใจตอนนี้แหละเป็นการกระทำของเราแล้ว ถ้าเป็นเวทนานี่เป็น ท่านเรียกว่าเป็นวิบากเป็นฝ่ายผล นั้นเวทนานี่ก็คือเพียงแต่ว่าเราอย่าไปมีปฏิกิริยาต่อมัน เราไม่ไปจุดเป้าของเราที่เราเกี่ยวข้อง เราไม่ไปจับที่เวทนา เราไปจับที่ข้อมูลความรู้ใช่ไหม ถ้านั้นเราก็ไปอยู่ที่ผัสสะ นั้นผัสสะตัวนี้ก็ให้ประกอบด้วยไม่ประกอบด้วยตัวอวิชชาตัณหานะ มันก็มาเป็นเรื่องของการรู้ไป แล้วถ้างั้นจุดสำคัญก็อยู่ที่ตรงนี้ รับรู้ว่าทำไงจะอยู่ที่ตรงจุดผัสสะ แล้วก็ไม่ให้ แล้วมันก็ตัดตอนเอง เวทนาก็จะไม่ตามด้วยตัณหาใช่ไหม ทีนี้สงสัยอะไร
คนฟังถาม ประเด็นที่ผมคิดนะครับ ไม่ได้ขัดแย้งกับพระเดชพระคุณ แต่พอดีผมไม่ได้มองที่ตัวผัสสะกับเวทนานี่ อย่างที่พระเดชพระคุณมองในทันทีมันเกิด พอดีผมไปคิดแล้วไปขยายความเอาเอง ความรู้สึกนะครับ ความรู้สึกตัวเองศึกษามา ผมก็ไปมองในช่วงผัสสะเวทนามีวิญญานเกิดอวิมุตติที่จุดอันหนึ่ง เวทนาที่มันเกิดตัณหา ที่ผมมองว่ามีสังขารเข้ามาเกี่ยว ถ้าเราสามารถจับสังขารในช่วยระหว่างเวทนาไปตัณหาได้ มันก็จับเหตุการณ์ปรุงแต่งอย่างนั้นได้ แล้วมันจะเป็นไปได้ใน 2 ลักษณะ แต่ว่ารู้ในช่วงตรงที่วิญญานเกิด กำจัดกับตัวตัณหาในช่วงเวทนาไปตัณหา ผมก็เลยมองการที่มันจะเกิดได้ 2 ช่วงแต่ว่าเราจะจับตรงช่วงไหน ตอนที่พระเดชพระคุณที่บรรยาย ผมเห็นด้วยทุกประการ แต่ว่าลักษณะของที่การ คือที่ผมคิดพอดีเป็นลักษณะแบบนั้น มันทราบว่าจะถูกต้องไหมครับ
พระตอบ คือว่า อันนี้เป็นเรื่องความละเอียดซับซ้อน เพราะว่าทันทีที่เกิดชอบใจไม่ชอบใจนี่สังขารแล้ว เพราะว่าตัณหานี่เป็นสังขารนะ ตัวมันเองก็เป็นสังขาร เพราะฉะนั้น แต่ว่าถึงแม้ตัดตอน มันตัดได้ทุกตอน คือตัดได้เกือบทุกตอนเลยในกระบวนการปฏิจจสมุปบาท แล้วจุดสำคัญจุดแรกก็คือตอนรับรู้นี้เลยตอนนี้ ทีนี้ส่วนว่าถ้าเราไม่ทันจุดนี้เราจะไปตัดที่ไหนก็เรื่องของเรา ตอนนั้นอีกเรื่องหนึ่ง หมายความ เอาเป็นอันว่า เอ้อตอนนี้ผมไม่ทันแล้วจะทำอย่างไงก็ไปตัดตอนหลังซิใช่ไหม แต่ว่าจุดสำคัญที่เราใช้เป็นหลักก่อนก็คือไว้ตอนนี้ พอรับรู้ปั้บทำไงจะตัดกระแส แต่ว่าพอรับรู้ปั้บวิญญาณที่รู้เนี่ยเวทนามันเป็นตัวที่เกิดทันที มันมาด้วยแต่ว่าเราไม่ไปพุ่งเป้าไปที่เวทนา เราไม่มีปฏิต่อเวทนา มันก็เป็นสักแต่ความรู้สึกที่เป็นเวทนานั้นใช่ไหม แต่ว่าไอ้จุดสำคัญก็คือขณะนี้การรับรู้ของเรามันเป็นไปได้ตัวปัญญาความรู้ตัวเองนะ ก็รู้ตรงไปเลยต่อสิ่งนั้นว่าคืออะไรเท่านั้นเองใช่ไหม ก็เวทนาที่มีรู้สึกก็เลยไม่ตามมาได้ตัณหาใช่ไหม นั้นเวทนาก็เลยไม่เป็นตัวเด่นในกรณีนี้ แต่ว่า แต่ว่าต้องระวังอย่างที่ว่าเดี๋ยวจะเข้าใจเป็นเวทนาเป็นตัวสำคัญ เวทนาเป็นเพียงผลพ่วงที่เกิดมากับการรับรู้ใช่ไหม นี้เวทนาไม่ใช่ชอบใจไม่ชอบใจ ชอบใจไม่ชอบใจคือตัณหานะ นี้อันนี้ก็จะมีปัญหาเหมือนกันเรื่องการใช้ศัพท์เพราะว่ามีการแปลเป็นเวทนาทำให้เข้าใจไปว่าชอบใจไม่ชอบใจ ต้องระวังถ้าใช้ภาษาอังกฤษจะบอกว่าเวทนานี้เป็น passive ถ้าเป็นชอบใจไม่ชอบใจเป็นตัณหาเป็น active ใช่ไหม จะพอชัดไหม คนฟังตอบ ชัดครับ
คนฟังถาม พระเดชพระคุณอาจารย์ครับ มนุษย์ที่อารยธรรมมีความเจริญนี่ เพราะการสนองต่อกิเสสตัณหาความต้องการเสพ แล้วกับอารยธรรมที่ไม่มีความเจริญเป็นเพราะเหตุใด
พระตอบ อ๋อหมายความว่าไอ้นี่แง่อื่น คือว่า ทีนี้มนุษย์มีความสามารถในการเรียนรู้ เสร็จแล้วเอาความสามารถในการเรียนรู้เนี่ยไปสนองไปเป็นรับใช้เสพซะถูกไหม แทนที่จะพัฒนาด้านนี้ ทีนี้สัตว์มันไม่มีความสามารถอันนี้ มันได้แต่เสพ ๆ แต่ไม่มีความสามารถในการเรียนรู้ที่เราเรียกว่าเป็นสัตว์ที่ไม่สามารถฝึกหรือฝึกไม่ได้ มันก็เลยจบเท่านั้น เพราะฉะนั้นไอ้ตัวที่จะทำให้มนุษย์เจริญด้วยอารยธรรมมันอยู่ที่ฝ่ายไหน มันอยู่ที่ศึกษาสร้างสรรค์ถูกไหม แต่ทีนี้มนุษย์เนี่ยเพราะว่าตัวเองเนี่ยมีไอ้ตัวฐานที่ว่าเสพอยู่ด้วย ที่นี่มีความสามารถศึกษาและการสร้างสรรค์กลับเอาความสามารถศึกษาสร้างสรรค์ ไปรับใช้ฝ่ายเสพถูกไหม อารยธรรมมันก็มาในรูปนี้ไม่สามารถช่วยให้มนุษย์พ้นไปจากปัญหาได้อย่างแท้จริง พอไปพัฒนาไปอารยธรรมมากขึ้น เอ้ปัญหาไม่ลดลงใช่ไหม ทีนี้ทำไงว่าจะเข้าใจหลักการนี้ได้ไหม แม้แต่เพียงว่าเมื่อมนุษย์พัฒนามากขึ้น เขาเป็นอิสระมากขึ้นความเป็นอิสระนี้คืออย่างไร เราก็พูดว่า ความเป็นอิสระเช่นความสุขของเขาจะขึ้นต่อสิ่งเสพน้อยลง อย่างนี้เป็นต้นใช่ไหม ถ้าพูดแค่นี้ปั้บ มันขัดกับอารายธรรมปัจจุบันแล้วใช่ไหม เพราะอารายธรรมปัจจุบันไม่มองว่าความสุขของมนุษย์นี่พัฒนาได้เปลี่ยนแปลงได้ แล้วความสุขที่ปราณีตขึ้นพัฒนาขึ้นนั้นก็คือขึ้นต่อวัตถุเสพน้อยลง เพราะว่าอารยธรรมปัจจุบันมันมองเป็นว่า เอ้อความสุขมากขึ้นก็คือได้เสพมากขึ้นถูกไหม เพราะฉะนั้นฐานมันไปสนอไอ้ตัวแนวเสพเสียแล้ว การใช้ตาหูจมูกลิ้นกายเพื่อเสพเนี่ยมันไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง มันยังมาเน้นจุดนี้อยู่ นั้นการที่มันต้องศึกษาสร้างสรรค์มันเป็นเพียงตัวเงื่อนไขจำใจใช่ไหม เพราะเพื่อตัวจะได้เสพได้มากอะไรต่าง ๆ มันก็เลยต้องเรียนรู้ต้องสร้างสรรค์ เลยมันทำ มันเรียนรู้ มันศึกษาสร้างสรรค์เพียงเพื่อมาสนองไอ้ความใฝ่เสพหรือต้องการเสพไปหมดเลย แทนที่ว่าจะช่วยดึงให้มนุษย์นี่ให้เป็นทาสของการเสพน้อยลง มันไม่อย่างนั้นใช่ไหมเนี่ย เพราะฉะนั้นมนุษย์มีความสามารถไอ้ที่สร้างอารยธรรมได้มันอยู่ที่ตัวศึกษาและสร้างสรรค์ แต่มันกลับเอาไอ้เจ้านั้นมารับไอ้เสพนี่
คนฟังถาม งั้นปัญญาก็นำไปสู่ความเป็นไทย ตัณหาก็นำไปสู่ความเป็นทาส
พระตอบ ก็อย่างนั้น แต่ที่ว่าตอนนี้ มนุษย์มันไปสนองตัณหาใช่ไหม มันมุ่งที่การหาเวทนาที่เป็นสิ่งเสพ ก็เลยกลายเป็นว่า ที่มันสร้างปัญญา ไอ้ปัญญานั้นกลับมารับใช้ในสาย ก็แล้วแต่จะคิดอันนั้น แต่ดูแล้วมันแก้ปัญหาไม่ได้
คนฟังถาม อุเบกขานี้เป็นทางด้านปัญญา ในขณะเดียวกันในด้านโมหะก็มีทุกข์กับสุขใช่ไหมครับ
พระตอบ อุเบกขานี่เป็นศัพท์ใช้แทนกันได้กับอทุกขสุขเวทนา
คนฟังถาม ผมมองว่าทางด้านโมหะน่ะครับ มันทำให้เกิดความรู้สึกเฉย ๆ อย่างนี้ได้
พระตอบ เอ้า นี่อุเบกขาเวทนาจะมากับโมหะเป็นหลักเลย คือส่วนมาก หมายความว่า พอสุขมักจะโลภะเกิดใช่ไหมอยากได้ พอทุกข์ก็โทสะเกิดง่าย ทีนี้พอเพลิน ๆ ก็โมหะมา เฉย ๆ นี่แหละโมหะมาดีนะ มันก็เกิดกลึ่ม ๆ เพลิน ๆ แต่โมหะ เพราะฉะนั้นอุเบกขานี่จะมากับโมหะเป็นตัวหลักเลย ทีนี้อุเบกขาของพระอรหันต์ต้องพูดอีกแบบหนึ่ง นั้นอุเบกขาอีกแบบหนึ่ง อุเบกขาท่านจึงแยกเป็นตั้ง 10 ชนิดแน่ อุเบกขานี่ต้องเรียนรู้เยอะ เพราะว่าคนไม่รู้เรื่องรู้ราวมันก็อุเบกขาเหมือนกัน คนที่รู้จนจบก็อุเบกขาหมือนกันนะ เพราะว่า 2 คน คนหนึ่งเฉยเพราะรู้ อีกคนหนึ่งเฉยเพราะว่าไม่รู้เรื่องเลยใช่ไหม ทีนี้สำหรับปุถุชนเนี่ยมันเฉยเพราะไม่รู้ นี้พอเวทนาที่เป็นอทุกขสุขเกิดก็คือมันเพลิน ๆ โมหะก็ครอบงำจิตไปเลื่อย ๆ
คนฟังถาม อุเบกขามีความหมายโดยทั่วไปหนึ่งความหมาย แล้วก็มีความหมายในลักษณะที่เป็นข้อธรรมในโภชชงค์ หรือในพรหมวิหาร 4
พระตอบ มันอยู่ในเวทนา คือตัวเวทนานี้นะ มันเป็นกลาง ๆ ที่พูดไปแล้วไง เวทนานี้เป็นกลาง ๆ ทีนี้เวทนามันแบ่งเป็นสุขทุกข์ แล้วก็อทุกขมสุข หรือว่าสุขทุกข์ โสมนัส โทรมนัส อุเบกขาใช่ไหม ทีนี้ไอ้ตัวเวทนาทั้งหมดนี่ มันไม่ดีไม่ชั่วในตัวมันเอง มันไม่เป็นกุศล อกุศล ท่านเรียกว่าเป็นอะภะยะกิจ เพราะมันเป็นวิบาก มันเป็นฝ่ายผล เพราะฉะนั้นมันไม่ดีไม่ชั่ว นี้เมื่อไม่ดีไม่ชั่วอะไรล่ะที่มันดีมันชั่วก็คือไอ้ตัวที่ประกอบอยู่กับเวทนานั้น ในขณะที่มีเวทนานั้นจิตมีคุณสมบัติอะไรอื่น จิตก็จะมีโลภะหรือมีโทสะ มีโมหะ มีปฏิกิริยาหรืออะไรยังไงนี่แหละอันนั้นสิที่มันดีมันชั่ว มันไม่ใช่ดีช่วยที่ตัวเวทนา มันไปดีไปชั่วไอ้ตัวที่คุณสมบัติอื่นที่ประกอบอยู่กับจิตในเวลา ในเวลาที่มีเวทนานั้น ๆ อย่างมีเวลามีอุเบขาเวทนามีความรู้สึกเฉย ๆ นี่ ในเวลานั้นจะมีคุณสมบัติ ไม่ใช่เป็นคุณสมบัติฝ่ายร้ายก็คือโมหะมันจะมาครอบงำจิตใจอยู่ ไอ้ตัวที่มันเป็นอกุศลหรือร้ายก็คือโมหะนี่ไม่ใช่ตัวเวทนาเอง อันนั้นเวทนานี่อย่างน้อยต้องแยกเป็น 2 อย่างคือ เวทนา ของอภัย อุเบกขาแยกเป็น 2 อย่าง อุเบกขาที่เป็นเวทนา กับอุเบกขาที่เป็นสังขาร นี่คือหลักการแยกใหญ่ในเมื่อเราแบ่งเป็นขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ใช่ไหม เวทนา ขออภัย อุเบกขาเนี่ยมันจะเป็นอุเบกขาในเวทนานี้อย่างหนึ่ง กับอุเบกขาในสังขารอย่างหนึ่ง ที่นี้อุเบกขาในเวทนานี่แหละที่เป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่เป็นกุศลอกุศล เพราะฉะนั้นเวลาพูดว่า อุเบกขา ถ้าเราหมายถึงเวทนานะมันจะเป็นของกลาง ๆ แต่ว่าสำหรับปุถุชนอุเบกเวทนามักจะมากับโมหะ ในโมหะก็อยู่ในสังขาร สังขารที่เป็นโมหะจะมากับเวทนาที่เป็นอุเบกขาสำหรับปุถุชน แต่สำหรับพระอรหันต์ท่านมีอุเบกขาเวทนา แต่ในจิตของท่านมีปัญญานะ ไม่ประกอบด้วยโมหะ แล้วก็เลยเป็นอุเบกขาในสังขารด้วย จะมีอุเบกขาในสังขาร อุเบกขาในสังขารนี้ท่านเรียกว่าตะตะมะชะตะตา เพราะฉะนั้นบางทีพูดเต็มอุเบกขาตะตะมิชิตะตา เป็นภาวะจิตที่เป็นกลาง ๆ มีภาวะดุลยภาพอยู่ตัว ได้ที่ เรียบสงบ
คนฟังถาม โภชชงค์
พระตอบ อุเบกขาในโภชชงค์นั้นก็เป็นอย่างหนึ่งในบรรดา 10 อย่าง มีหมายความ มีเยอะอุเบกขา อุเบกขารวมแล้วก็ที่ว่า ให้เป็นอุเบกขาในเวทนาก็เป็นอุเบกขาในสังขาร ถ้าเป็นอุเบกขาในสังขารนี่ จะหมายถึงอุเบกขาที่เป็นตัวดี ถ้าเป็นอุเบกขาในเวทนานี้เป็นกลาง ๆ แล้วแต่จิตในขณะนั้น ถ้าเป็นจิตที่มีโมหะ อุเบกขามันจะเปิดโอกาสให้โมหะเข้ามา แต่ทีนี้ว่า ถ้าจิตนั้นมีปัญญารู้ถึงที่สุดก็จะอุเบกขาเหมือนกัน แล้วจะเป็นอุเบกขาในสังขารและขันธ์ที่เป็นตัวกุศลธรรม แล้วก็อุเบกขาเวทนา ก็จะพ่วงมาด้วยเลย พอจะเข้าใจน่ะ ก็ต้องแยกให้ถูกที่ว่า
คนฟังถาม ก็อย่างกิเลสกับตัณหา คือที่ผมมองมันเป็นตัวเดียวกัน แต่มันแบ่ง
พระตอบ กิเลสเป็นคำกว้างที่สุดคือว่าไม่ว่าอะไร ไอ้ที่เป็นฝ่ายร้ายจัดเป็นกิเลสหมด มันเป็นคำที่นิยมใช้สมัยหลัง ในสมัยพระพุทธเจ้าพุทธพจน์เองตรัสคำว่ากิเลส ตรัสไม่กี่แห่ง แต่ยุคหลังนี้ใช้มากเหลือเกิน เอาเป็นว่าในพระไตรปิฎกใช้คำว่ากิเลสน้อย แล้วมาใช้ในอภิธรรมบ้างพอสมควร ในพระสูตรนี้ใช้น้อยพูดถึงนิดหน่อยเท่านั้น
คนฟังถาม เมื่อกี้ใช้ความหมายอย่างไรครับ
พระตอบ กิเลสก็ความเศร้าหมอง ตัวมันเองแปลอย่างงั้นนะ กิเลสแปลว่าภาวะที่ทำให้เศร้าหมองขุ่นมัว
คนฟังถาม ความหมายอย่างกว้างที่สุดเลย
พระตอบ ก็เป็นสิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ทีนี้ยุคหลังยุคอรรถกถานี่นิยมใช้มากศัพท์นี้ นี้ตัณหาก็เป็นกิเลสอย่างหนึ่งเท่านั้นเอง ก็ถือว่า ถ้าเราจะใช้ตอบให้กว้างก็ใช้กิเลส ตัณหาก็เป็นส่วนหนึ่งของกิเลสเป็นกิเลสประเภทหนึ่ง ตัณหาเป็นต่อธรรรมารมณ์ก็ได้ ทุกอย่างละ รูป เวทนา สัญญา สังขาร ขออภัย รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์ ตัณหาต่อธรรมารมณ์ต่อสิ่งที่คิดนึกในจิตใจก็ได้ ต่อนามธรรม ต่อสิ่งที่คิดนึกได้ทั้งหมดแหละ
คนฟังถาม โดยมากมักใช้พวกวัตถุ
พระตอบ ท่านแยกประเภทเสร็จแล้ว ตัณหา รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา ลักษตัณหา โภชตัณหา ธรรมตัณหา ตัณหาในธรรมก็มี อันนั้นไม่ได้จำกัด แล้วก็แยก 3 ก็เป็น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา แยก 6 ก็ได้ แยก 6 ก็ คือแยก 3 นี่ เป็นด้านต่าง ๆ ของตัณหา ที่แสดงออก ทีนี้แยก 6 นี้หมายความว่าเป็นตัวเป้าหมายของตัณหา ตัณหาต่อรูป ตัณหาต่อเสียง ต่อกลิ่น ต่อรส ต่อโพทะพะ ตัณหาต่าง ๆ
คนฟังถาม อายตนะ
พระตอบ ก็แยกตามสิ่งที่เข้ามาทางอายตนะ ท่านเรียกว่า ตามสิ่งที่เรียกว่าอารมณ์ แต่อารมณ์ด้วยภาษาไทยสับสน ต้องระวัง ก็พอเห็นนะ เข้าใจ ก็เป็นอันว่าคำว่ากิเลสเป็นคำที่นิยมในยุคอรรถกถาเป็นต้นมา เป็นศัพท์ที่มีความหมายกว้างมาก ครอบคลุมไอ้พวกสิ่งที่ร้าย ๆ ไม่ดีไม่งามทั้งหลายรวมทั้งตัณหาก็อยู่ในกิเลสด้วย ในยุคหลัง ๆ มีการให้จำนวนเสียด้วย กิเลส 1500 ว่าอย่างงั้นนะ แต่ว่าไปเที่ยวหากิเลส 1500 มีอะไรบ้าง คนฟังบอก 108 ตัณหา 108 มีในพระไตรปิฎก แต่ว่ากิเลส 1500 ไม่มีในพระไตรปิฎก
คนฟังถาม ก็อย่างสมัยที่ผมเรียนกิเลสจะประกอบไปด้วยโลภะ โทสะ แล้วโมหะ ผมจะท่องมา กิเลสประกอบเป็น 3 ตัว
พระตอบ อ้อ ไม่ตัวศัท์จริงเรียกว่า อกุศลมูล โลภะ โทสะ โมหะ
คนฟังถาม หลักสูตรของการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา เรียนมาอย่างงั้นจริง ๆ พวกกิเลสจะมีอยู่ 3 ตัว ผมก็เลยท่องมาตลอด
พระตอบ คล้าย ๆ ว่า เขาต้องการจะพูดให้ง่าย แต่ว่าที่จริงไม่ใช่ศัพท์ทางวิชาการ โลภะโทสะโมหะ นี่ชื่อจริงเขาเรียกอกุศลมูล
คนฟังถาม อย่างงี้ตัวทำให้เกิดตัณหาก็คืออวิชชาและอุปทาน ที่เป็นตัวทำให้ตัณหา
พระตอบ อวิชชาเป็นปัจจัย อวิชชาเป็นปัจจัย ตัณหาแรงขึ้นก็เป็นอุปาทาน
คนฟังถาม ในทางกลับกัน อุปาทานก็กลับมาเป็นตัณหาแรงขึ้นด้วย
พระตอบ อ๋อไอ้ความเป็นปัจจัยแน่นอนเป็นปัจจัย แต่ว่าโดยตัวเอื้อสำคัญนี่ ก็ตัวอวิชชามันเปิดโอกาส เพราะฉะนั้นอวิชชาถือเป็นมูล เป็นตัวเปิดโอกาสแก่ไอ้สิ่งที่ร้ายทั้งหลายนี้เข้ามา เพราะว่าอวิชชามันหายไปปัญญามา ไอ้เจ้าพวกนี้ถูกตัดโอกาสหมดเลย ตัณหาเป็นต้น อุปาทานนี่ถูกทำลาย ถูกทอนกำลัง นั้นถ้าปัญญาไม่มาอวิชชามันอยู่ใช่ไหม มันก็ให้โอกาสแก่พวกนี้เพิ่มพูน เพิ่มกำลังขึ้นไป นี้ในเมื่อเจ้าพวกนี้ทำการอยู่อวิชชาก็ยิ่งเต็มที่อยู่เลื่อยใช่ไหม อวิชชานี่มันเราไม่ต้องไปพูดว่ามันเพิ่มหรอก มันคล้าย ๆ กับเป็นพื้นอยู่อย่างนั้นใช่ไหม เป็นแต่เพียงว่าจะมีปัญญาเข้ามา แล้วมันก็น้อยไป
คนฟังถาม แสดงว่าทุกอย่างในโลกนี้มันมีอย่างนี้หมดเลย ไม่ว่าจะเป็นด้านดี จะเป็นด้านร้ายก็มีวัตรของมันอยู่ คือเป็นมูลแล้วก็กลับมาหนุนตัวมันเอง ก็สัมพันธ์กันอยู่อย่างนี้
พระตอบ เป็นระบบปัจจัยสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ แล้วปัจจัยเหล่านี้ก็หนุนกันในลักษณะต่าง ๆ แต่ว่าต้องเข้าใจอย่างที่พูดไปแล้ว ปัจจัยไม่ได้หมายความว่าเป็นเหตุ ปัจจัยเป็นตัวเอื้อ แม้แต่เอื้อโอกาส เช่นว่า เพราะอันนั้นไม่อยู่เจ้านี้ก็เลยเกิดได้ การที่เจ้านั่นไม่มี แล้วทำให้เจ้านี่มันมีโอกาสเกิด นี้ก็เป็นปัจจัยเหมือนกัน เข้าใจไหม คำว่าปัจจัย ไม่ใช่ปัจจัยหมายความว่า อันนั้นมันทำให้อันนี้เกิด ไม่ใช่อันนั้น มันเปิดโอกาส แต่ถ้ามันเปิดโอกาสไอ้เจ้านี่มาไม่ได้เหมือนกันนะ เรียกว่าเป็นปัจจัย ปัจจัยมีความหมายหลายอย่าง ในอภิธรรมท่านแยกเป็น 24 อย่าง หมายความว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ เนี่ยมันมาเกื้อหนุนกันโดยอาการ 24 แบบ จึงเรียกว่าปัจจัย 24 อุเบกขามี 10 ประเภท อุเบกขาบอกแล้วไง เอาแยกง่าย ๆ ก่อน อุเบกขาเวทนา อุเบกขาในสังขารนะ แยกซะให้ได้ หรือจะแยกอีกแบบก็ได้ อุเบกขารู้ กับอุเบกขาไม่รู้ อุเบกไม่รู้ก็เรียกว่า อันยานุเบกขาคือ เฉยโง่ หมายความว่า เฉยเพราะไม่รู้เรื่องรู้ราว อย่างนี้แหละเป็นอุเบกขาโง่ แต่อุเบกขาโง่แบบนี้เป็นอุเบกขาเฉยในท่าทีของสังขารเหมือนกันนะ นั้นก็เป็นอุเบกขารแบบนี้นี่ไม่ดี แต่ว่าอุเบกขาในสังขารก็จะมาพ่วงอุเบกขาเวทนาความรู้สึกมันก็จะเฉย ๆ ไปด้วย นี่ก็เป็นว่าเฉยเพราะรู้หรือว่าเฉยเพราะไม่รู้ เอามั้งนะไว้นึกออกค่อยพูดต่อ พูดอีกทีว่าจะพูดโน่นพูดนี่ก็พูดไปมันเลยวาบหายไปก็เลยไม่ได้พูดให้หมด ถ้าซ้ำไปก็ถือเป็นทวนไปก็แล้วกัน