แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ในวันนี้จะพูด เพราะคิดว่าให้สืบเนื่องจากครั้งก่อน ครั้งก่อนนี้พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับหลักการพระพุทธศาสนา โดยเทียบเคียงกับสภาพหลัง ของสังคมที่พุทธศาสนาเกิดขึ้นที่อินเดีย นี่ก็ให้เห็นว่า หลักการสำคัญของพระพุทธศาสนานั้นก็รวมอยู่ที่สิกขา การศึกษา อันนี้นั่นเป็นการพูดในแง่หนึ่ง เมื่อพูดในแง่นั้นแล้วก็ควรจะพูด อีกแง่หนึ่งเข้ามาเป็นการย้ำถึง เหตุผลที่พุทธศาสนา สอนเรื่องสิกขาพูดให้เต็มว่าไตรสิกขา นี่เป็นหลักการสำคัญ นี่ก็มองในแง่ที่ผ่านมาคือหลักการนั้นเทียบกับศานาพราหมณ์ ที่เขามีการนับถืออ้อนวอนเทพเจ้า ทีนี้มาดูว่าหลักการนี้ที่จริงนั้นก็ เป็นการสอนตามธรรมชาติของมนุษย์ เพราะฉะนั้นเหตุผลสำคัญ ที่พระพุทธเจ้าสอนไตรสิกขานี้ก็ เป็นเหตุผลที่เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ถือว่าพระพุทธเจ้าสอนหลักธรรมนี้ขึ้นมาก็สอนโดย ถือเอาธรรมชาติของมนุษย์ นี่เองเป็นพื้นฐาน ธรรมชาติของมนุษย์คืออย่างไร ธรรมชาติของมนุษย์นั้นตามหลักพุทธศาสนา ก็ว่าเป็นสัตว์ที่เรียกว่าต้องฝึกและฝึกได้
คำว่าต้องฝึกและฝึกได้ นี้ใช้คำบาลีว่า ทัมมะ ทัมมะ ท ทหาร ทัมมะ ท ทหารก็เขียนคล้ายๆกันกับธัมมะที่เรารู้โดยทั่วไปว่าหลักธรรมคำสอน คือว่า ท ทหาร ไม้หันอากาศ ม ม้าสองตัว สระอะ ถ้าเป็นธัมมะ ที่เป็นหลักธรรมก็เพียงเปลี่ยนเป็นธ ธง ธ ธงไม้หันอากาศ ม ม้า 2 ตัว สระ อะ ธัมมะนั้นเป็นหลักการของธรรมชาติ ทัมมะ ทหารนี้เป็นธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้และต้องฝึก อันนี้ก็เทียบกับสัตว์ ทั้งหลายชนิดอื่น สัตว์ชนิดอื่นนั้นตามปกติโดยทั่วไปถือว่าเป็นสัตว์ที่ฝึกไม่ได้คือฝึกได้น้อย ไม่ใช่หมายความว่าฝึกไม่ได้เลย ฝึกได้น้อย จนกระทั่งการฝึกนี้ไม่ค่อยมีความหมายสำหรับการดำรงชีวิตของเขา ทีนี้เขาอยู่ได้ด้วยอะไร ภาษาปัจจุบันถือว่า เขาอยู่ได้ด้วยสัญชาติญาณ สัตว์ชนิดอื่นเมื่อเกิดมาแล้ว อาศัยสัญขาติญาณก็อยู่ได้เรียนรู้น้อย ฝึกน้อย สัตว์ต่างๆ เกิดมาออกจากท้องแม่เขานี่ ชั่วประเด่วเดียวเขาก็ เดินได้ วิ่งได้ ว่ายน้ำได้ บางชนิดก็อาจจะต้อง สองสามวัน แต่รวมแล้วก็คือว่าเรียนรู้น้อยฝึกน้อย
ทีนี้ส่วนมนุษย์นั้น ไม่เหมือนสัตว์เหล่านั้นมนุษย์นี้เกิดมาแล้วช่วยตัวเองไม่ได้ยังไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ ก็ต้องอาศัยพ่อแม่เลี้ยงดูซึ่งใช้เวลานานมาก อาจจะเป็นไม่ใช่อาจจะเป็น ต้องเป็นเวลาหลายปีเลยทีเดียว จนกระทั่งอาจจะ 10ปี 20 ปีจึงจะสามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยตัวเอง ทีนี้ในระหว่างที่คนอื่นเลี้ยงดูนั้น เราจะต้องมองที่ตัวเขาว่าเขาทำอะไรระหว่างที่พ่อแม่เป็นต้นเลี้ยงดูนั้น ตัวเขาเองก็ฝึก เรียนรู้ศึกษา เขาก็เรียนรู้ฝึกหัดตนเองพัฒนาตัวเอง ในการที่จะดำเนินชีวิตเป็นอยู่ให้ได้ การเรียนรู้นี้ก็แทบทุกอย่างแม้แต่ว่าการเป็นอยู่ประจำวันในเรื่องง่าย ๆ กิน นอน นั่ งยืน ขับถ่าย สารพัด ต้องฝึกหมดต้องเรียนรู้หมดไม่ได้มาด้วยตัวเอง ไม่ได้มาเองโดยธรรมชาติ กระทั่งในราวปีหนึ่งก็มีการฝึกเดินฝึกพูด ก็ต้องมีการฝึกกันทั้งนั้นเรียกว่าเรียนรู้นี่คือคำว่าการฝึก ภาษาพระท่านใช้คำว่า ทมะ ทมะ ทหาร ม ม้าสระอะ ทมะแปลว่าการฝึก พอเป็นคนก็เลยซ้อน มออีกตัวเป็นทัมมะ แปลว่าสัตว์ที่ต้องฝึก คำว่าทมะ ฝึกนี้เป็นศัพท์ที่ใช้แทน กันได้หรือใกล้เคียงมากกับคำว่า สิกขา สิกขา ก็แปลว่าเรียนรู้ฝึกเหมือนกัน ใช้กันได้กับคำว่าพัฒนาแปลว่าทำให้เจริญขึ้นมา เพราะนั้นเราจึงแปลกันว่าเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนา มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนา อย่างที่ว่ามา เมื่อเขาฝึกฝนพัฒนา เขาก็สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ แต่ก็เป็นข้อพิเศษเมื่อเราเทียบกับสัตว์อื่น ก็คือว่ามนุษย์นั้น ไม่ได้การดำเนินชีวิตมาเปล่า ๆ แต่ว่าต้องลงทุนโดยการฝึกฝนเรียนรู้ไม่เหมือนสัตว์ชนิดอื่นที่ว่า การดำเนินชีวิตของเขานั้น ได้มาส่วนใหญ่ด้วยสัญชาติญาณ เพราะฉะนั้นสัตว์ชนิดอื่นนั้นพอเกิดมาก็เป็นอยู่ได้ง่าย ๆ เรียนรู้นิดหน่อยเท่านั้นเอง กะเด่วก็ว่ายน้ำได้ เดินได้ รู้จักหากินช่วยตัวเองได้ ถ้าในแง่ของธรรมชาติพื้นฐานอย่างนี้ก็เท่ากับมนุษย์นั้น สู้สัตว์ชนิดอื่นไม่ได้ เพราะสัตว์ชนิดอื่นนั้น ไม่ต้องฝึกไม่ต้องเรียนรู้ไม่ต้องพัฒนา มันก็อยู่ได้ด้วยสัญชาติญาณ มนุษย์นั้นต้องเรียนรู้ ต้องฝึกหัดพัฒนา จึงจะดำเนินชีวิต ไปได้ มีสัตว์บางชนิดที่ว่าฝึกได้โดยเทียบกับสัตว์ชนิดอื่นก็ฝึกได้มากหน่อย เช่นช้าง ม้า ลิงเป็นต้น ปลาโลมา อย่างนี้ก็ฝึกได้มากหน่อย สามารถเรียนรู้ได้เยอะ แต่ก็มีขีดจำกัดไปไม่ได้ไกล ข้อสำคัญคือฝึกตัวเองไม่ได้ต้องอาศัยมนุษย์ฝึกให้ ความสามารถนั้นมาอยู่ที่มนุษย์ ที่ฝึกให้สัตว์อีกทีนึง ทำให้ช้างนี่สามารถ ลากซุงได้ ไปรบทำสงครามได้ ม้าก็เอามาใช้เป็นพาหนะ ลิงก็เอาไปเก็บมะพร้าวให้เจ้าของสวนเป็นต้น หรือไปเล่นละครลิง ถ้ารวมแล้วมนุษย์นี่ฝึกให้ทั้งนั้น เป็นอันว่าสัตว์นี้ เรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาได้น้อย ถ้าได้มากหน่อยก็ต้องอาศัยมนุษย์ฝึกให้ ถึงจะฝึกอย่างไรก็ ก็มีขอบเขตจำกัดไปไม่ได้ไกล ก็จบแค่นั้นแหละมนุษย์ใช้งานและไปเล่นละครสัตว์ ไม่ได้ดีไปกว่านั้น มนุษย์นี้เสียเปรียบตอนที่ว่า ถ้าไม่ฝึกไม่เรียนรู้ก็ไม่สามารถเป็นอยู่ได้ นั้นจึงเรียกว่าเป็นสัตว์ที่ต้องฝึก แต่ว่าในการที่ต้องฝึก นี่ก็เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ด้วยตอนที่ฝึกได้ตอนที่ฝึกได้นี่แหละที่สำคัญมาก ก็คือว่าพอฝึกแล้วก็ประเสริฐเก่งสามารถยิ่งกว่าสัตว์ ทั้งหลายทั่วไป สัตว์ทั้งหลายนั้นอยู่ได้โดยสัญชาติญาณ แต่ว่าก็อยู่อย่างนั้นจนตลอดชาติ จนกระทั่งตายไป เกิดมาได้เท่าไร ก็ตายไปได้เท่านั้น ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงเพราะฉะนั้นเขาก็อยู่ด้วยสัญชาติญาณของเขาอย่างนั้นตลอดชีวิต
โลกของสัตว์ทั้งหลายก็อยู่ในท่ามกลางธรรมชาติอยู่ตามพื้นฐานเดิม ส่วนมนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่ฝึกได้เพราะความที่ฝึกได้ เรียนรู้ได้ พัฒนาได้ ก็เลยฝึกกันเรื่อยไป ฝึกไม่รู้จักจบ เรียนรู้ถ่ายทอดความรู้ จากบรรพบุรุษก็ได้ ตัวเองเรียนรู้ฝึกตัวเองให้ทำอะไรต่างๆได้ จนกระทั่งว่าเรียกได้ว่าแทบไม่มีขีดจำกัด พอมนุษย์เรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาไป ก็สามารถที่จะมาประดิษฐ์สร้างสรรวัตถุต่าง ๆ ที่เป็นของ เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนกระทั่งเทคโนโลยีก็ทำให้โลกมนุษย์นั้นเจริญก้าวหน้า และ ก็มีการจัดสรร ระบบสังคมความเป็นอยู่ อะไรต่างๆขึ้นมาเป็นวัฒนธรรมเป็นอารยธรรม ก็เป็น โลกของมนุษย์ต่างหาก กลายเป็นว่าเวลาเราพูดคำว่าโลกก็เลยต้องแยกไปว่าเป็นโลกตามที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือโลกธรรมชาติหรือเป็นโลกที่มนุษย์สร้างสรรขึ้นมา โลกมนุษย์นี้มีความพิเศษแปลกไป จากโลกของธรรมชาติเป็นอีกโลกหนึงเลย มนุษย์นี้ก็ฝึกฝนพัฒนาได้อย่างที่ว่าในทางเรื่องของวัตถุก็ได้ ในทางจิตใจ ก็มีคุณธรรมที่ประเสริฐ จนกระทั่งว่าเป็นมนุษย์ที่เราเรียกว่าดีงาม ยอด เลิศ สูงสุดแต่ว่าที่สำคัญที่สุดก็คือ ปัญญา มนุษย์มีปัญญาที่พัฒนาได้ จนกระทั่งสามารถ ตรัสสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ เราก็เลยตั้งเอาพระพุทธเจ้านี่เป็นแบบ ให้เห็นว่า คนที่พัฒนาสูงสุดและเป็นพระพุทธเจ้า นั้นตกลงว่ามนุษย์มีความประเสริฐอยู่ที่การฝึกได้ การที่เป็นสัตว์ฝึกได้นี่แหละ เราจึงเรียกว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ที่บอกว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ ไม่ใช่ประเสริฐลอย ๆ แต่ว่าประเสริฐที่ฝึกได้ ที่ว่าฝึกแล้วจึงประเสริฐ ก็พูดให้เต็มว่ามนุษย์เป็นสัตว์ ประเสริฐด้วยการฝึกหรือ จะเติมต่อไปก็ได้ ถ้าไม่ฝึกก็ไม่ประเสริฐ ถ้าไม่ฝึกไม่เรียนรู้ไม่พัฒนาแล้วก็จะด้อย ยิ่งกว่าสัตว์ชนิดอื่น ไม่มีสัตว์ชนิดใดที่แย่กว่ามนุษย์ เพราะว่าสัตว์ชนิดอื่น อาศัยสัญชาติญาณอยู่ได้ แต่มนุษย์นี้เพียงสัญชาติญาณก็อยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นมนุษย์แย่กว่าสัตว์ แต่ว่าเพราะเป็นสัตว์ที่ฝึกได้กลายเป็นว่าเมื่อฝึกแล้วประเสริฐอย่างยิ่ง ประเสริฐจนกระทั่ง พระพุทธเจ้าให้กำลังใจ มนุษย์ไว้ว่า มนุษย์ที่ฝึกตนดีแล้วนั้น ประเสริฐ แม้กว่าเทวดาและพระพรหม แม้แต่เทวดาและพระพรหมก็หันมาเคารพบูชา มนุษย์ที่ฝึกตนแล้ว เราถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้พัฒนา ฝึกตนสูงสุดแล้ว ก็จึงใช้พระพุทธเจ้าเป็นแบบฉบับแล้วก็ว่า เทวดา และพรหมก็มาน้อมนมัสการพระพุทธเจ้า จะมีคาถาแสดงคาถาแสดงความประเสริฐของมนุษย์นี้ในเรื่องเกี่ยวกับการฝึกนี้เยอะ อย่างคาถาหนึ่งในธรรมบทเขาบอกว่า
ปรมัติ สัตรา ทันตา อาชานียา จสินทวา กุนชรา จะมหา นาคา อัตตถันโต ตะโตวะรัง ว่า อะไร อัสดรช้างม้าทั้ง ช้างทั่วไปและช้างหลวงต่างๆ ฝึกแล้วประเสริฐ ขณะที่สัตว์ชนิดที่ฝึกได้ พอฝึกแล้วก็นับว่าประเสริฐได้ใช้งานใช้การได้มีความสามารถมาก แต่ถ้าบอกว่า อัตตถันโต ตะโตวะรัง คนที่ฝึกตนแล้วประเสริฐกว่านั้น ก็มาจบที่มนุษย์ ว่ามนุษย์นี่แหละฝึกได้มากและประเสริฐที่สุดจริง ๆจนกระทั่งถึงคาถา มนุษปูตังสัมพุทตัง อตทันตัง สมาหิตัง เทวาปินมัสสันติ ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ทั้งที่เป็นมนุษย์นี่แหละฝึกพระองค์ดีแล้ว มีพระหฤทัย อบรมถึงที่แล้ว แม้เทพทั้งหลายก็น้อมนมัสการ เนี่ยก็เป็นคาถา ที่แสดงธรรมชาติของมนุษย์ด้วยแล้ว ก็ให้กำลังใจแก่มนุษย์ด้วยก็เป็นว่าเรานี้สามารถฝึกตนให้ดีให้ประเสริฐได้ เพราะนั้นก็หลักพระพุทธศาสนาก็จึงถือว่ามนุษย์นั้นต้องฝึก ที่เราจะมีชีวิตที่ดีงามก็ต้องฝึกฝนพัฒนาเพราะธรรมชาติของเราเป็นอย่างนั้น แต่ถ้าเราไม่ฝึกฝนพัฒนาแล้วเราก็แย่เราก็ด้อยกว่าสัตว์ชนิดอื่น แต่ถ้าเราฝึกฝนพัฒนาแล้วก็เหมือนกับว่าฝึกอย่างไรได้อย่างนั้น จนกระทั่ง เป็นผู้ประเสริฐที่สุด
เมื่อมนุษย์ ได้มองเห็นธรรมชาติของตนเป็นอย่างนี้แล้วก็จะได้ ตั้งอกตั้งใจนำเอาหลักการ นำเอาการนำเอาธรรมชาตินี้มาใช้ประโยชน์ ในการที่จะทำให้ชีวิตของตัวเองดีงามประเสริฐขึ้น มิฉะนั้นแล้วก็จะฝึกหรือเรียนรู้ โดยไม่รู้ตัวเท่าที่พอจะมีชีวิตอยู่ได้ อย่างที่กล่าวแล้วว่า การดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นไม่ได้มาเปล่า ๆแต่ ต้องลงทุนด้วยการเรียนรู้และฝึกฝนเพราะนั้นเราต้องฝึกฝนในการ เดินในการกินในการพูด เป็นต้น พอเราพูดได้ เดินได้ เป็นอยู่ประจำวันได้ เราไม่สำนึกตระหนักในธรรมชาติของเราที่ว่าถ้าฝึกแล้วจะดีงามประเสริฐ เราเอาพออยู่ได้ แล้ว เราก็เลยหยุด เราก็หยุดฝึกหยุดเรียนรู้แค่ว่าพูดได้กินได้ เดินได้อยู่ได้ เพราะนั้นศักยภาพ ความสามารถที่มีอยู่ ก็เลยไม่ได้ผล ไม่สัมฤทธิผล ไม่ออกผลมาให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควรก็เอาแค่อยู่ได้พูดได้เป็นต้น นี่ถ้าเราฝึกต่อไป ก็จะสามารถมีความประณีตของพฤติกรรม พฤติกรรมต่างๆ ในการเคลื่อนไหว ในการเป็นอยู่ในการพูดเป็นต้น ก็ประณีตยิ่งขึ้นและก็ได้ผลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ถ้าเราไม่ฝึกฝนต่อเราก็ ได้แค่เดินได้พูดได้ แต่พอเราฝึกแล้วเดินเป็นพูดเป็น เป็นต้น ก็ทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น อย่างเรามีวัฒนธรรมเป็นต้นมีมาเรื่องของมารยาทต่างๆ เป็นการฝึกให้มีให้มีพฤติกรรมที่ประณีตยิ่งขึ้น
นอกจากพฤติกรรมประณีตยิ่งขึ้นแล้วจิตใจก็ประณีตยิ่งขึ้นมีคุณธรรมมากขึ้นเป็นต้น แต่ที่สำคัญที่สุดก็อย่างที่กล่าวแล้วก็คือปัญญา ปัญญาก็จะมีความเฉียบคม มีความลึกซึ้ง มีความกว้างขวาง มีความละเอียดละออยิ่งขึ้น จนกระทั่งว่า อยากรู้ถึงสัจธรรมความจริงของสิ่งต่างๆ สามารถเชื่อมโยงเหตุปัจจัยต่างๆ สามารถคิดการแก้ปัญหาสามารถสร้างสรรค์อะไรต่างๆ ได้จึงได้เกิดเป็นอารยธรรมวัฒนธรรมของมนุษย์นั้น เพราะนั้นถ้า เราไม่หยุดเสียมนุษย์ก็จะใช้ความสามารถตามธรรมชาติ คือการฝึกตนได้และทำให้ตนเองกลายเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐ เมื่อเรารู้ตระหนักในธรรมชาติอย่างนี้แล้ว ก็เลยพยายามฝึกฝนพัฒนาตนอยู่เสมอ เราก็พูดได้ว่าชีวิตของมนุษย์นั้นที่มีมาได้อยู่ได้ก็อยู่มาได้ด้วยการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนเอง เพราะนั้นถ้าเราจะมีชีวิตที่ดีงามเราก็ต้องเรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาเรื่อยไป ก็สรุปว่าชีวิตของมนุษย์นั้นที่จะชีวิตที่ดีงาม ได้ก็ได้การเรียนฝึกหัดพัฒนาที่เรียกว่าการศึกษาหรือจะใช้ศัพท์พื้นฐานว่าธรรมะก็ได้ ทีนี้ว่าเราฝึกหัดพัฒนาไปก็เป็นสัตว์ผู้ประเสริฐ พระพุทธศาสนาก็เอาหลักการที่มันใช้ก็ให้มนุษย์นี่ฝึกหัดพัฒนาตนเองเรียนรู้อยู่เสมอ ก็ใช้หลักสิกขา และพัฒนา 3 ด้าน พฤติกรรม จิตใจและปัญญา ฝึกหัดเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนา ในด้านพฤติกรรมก็เรียกว่าศีล ฝึกฝนพัฒนาในด้านจิตใจก็เรียกว่าสมาธิ และฝึกฝนพัฒนาในด้านปัญญาก็ยังคงชื่อเดิมว่าปัญญา เมื่อฝึกหัดพัฒนาไปมนุษย์ประเสริฐยิ่งขึ้นก็จะเปลี่ยนจากมนุษย์ที่เรียกว่าปุถุชนไปเป็นมนุษย์ที่เรียกว่าเป็นผู้ที่อยู่ในขั้นที่มีการศึกษาหรือกำลังศึกษา ก็เรียกว่าเสขะ หรือเสกขะก็คือคำว่าสิกขานั่นเองมาเรียกคนสิกขา เป็นนามแสดงถึงสภาวะคือการเรียนรู้ฝึกหัดพัฒนา ทีนี้พอมาเป็นคนก็เปลี่ยน อิ เป็น เอ สิกขาก็เป็น เสกขา และทำ อาเป็น อะ ก็เป็น เสกขะ นี่คือคนที่กำลังศึกษาหรือมีการศึกษามี มีคำแยกผู้มีการศึกษานี่เป็นระดับต่างๆ ขั้นต้นนี่เรียกว่าเป็นโสดาบัน แล้วก็สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งเรียกว่า สกทาคามี สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งเรียกว่าอนาคามี 3 ระดับนี้ เรียกว่าเป็นเสกขะ จะพูดให้สั้นเข้าอีกตรรกอ เป็นเสขะ เสขะหรือเสกขะแปลว่าผู้ยังศึกษาหรือกำลังศึกษาหรือเรียกว่ามีการศึกษาก็ได้ บางครั้งก็ยอมลดหย่อนให้เรียกเอา ปุถุชนที่เป็นชั้นดี ปุถุชนชั้นดีท่านมีศัพ์ท์เรียกว่ากัลยาณปุถุชน ปุถุชนชนชั้นดี ก็ยอมให้เป็นเสขะ หรือเสกขะได้ แปลว่า ผู้มีการศึกษาหรือกำลังศึกษา แต่ว่าคนทั่วไปก็เรียกว่าปุถุชนเฉยๆ ปุถุชนนี่แปลว่าคนที่ยังหนาอยู่ หนาหมายความว่ายังมีกิเลสมากถ้าเป็นคนที่เป็นปุถุชน กิเลสหนามากก็มืดบอดเลยท่านเรียกว่าอันธพาลปุถุชนชนนั้น ปุถุชน ชั้นหยาบเรียกว่าอันธพาลปุถุชนแปลว่าปุถุชน ผู้ อันธ แปลว่าบอดแล้วก็ พาละก็แปลว่าเขลา เป็นอันธพาลไป ทีนี้พอดีขึ้นมาก็เป็นกัลยาณปุถุชนจัดเข้าในระดับของคนที่มีการศึกษา แต่ก็ยังต้องศึกษาอยู่ แล้วก็ไปเป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี นี่ทั้งหมดเนี่ยยังอยู่ระดับยังต้องศึกษา ทีนี้พอศึกษาจบไม่ต้องศึกษาอีกต่อไป ก็เป็นพระอรหันต์เรียกว่า อเสขะ หรืออเสกขะ
ก็มีบุคคลระดับเดียวที่ไม่ต้องศึกษาถือว่าจบการศึกษาเรียกว่าอเสข คือพระอรหันต์ รวมทั้งพระพุทธเจ้าด้วยก็เป็นพระอรหันต์ เหมือนกันทีนี้ใครยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็เลยต้องศึกษาเรื่อยไป เหมือนอย่างพระที่บวชมานี่ก็เข้ามาเพื่อจะเรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาตนเอง ตราบใดที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ก็ยังต้องศึกษา แม้จะบวชมา 50 60 ปีจนกระทั่งว่าเป็นพระเถระผู้ใหญ่เป็นมหาเถระ พรรษาอาจจะเข้าอยู่ถึงอายุ 90 ก็อาจจะพรรษาสัก 70 ก็ยังต้องศึกษาอยู่นั่น ไม่รู้จบเป็นเรื่องของชีวิต ของเราบอกแล้วว่า ชีวิตที่ดีงามคือชีวิตแห่งการศึกษาเรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาต้องเรียนรู้เรื่อยไป ใครไม่ศึกษา บวชเป็นพระเข้ามาอายุ 70 80 ปีแล้วถือว่าตัวบวชนานไม่ศึกษาไม่เรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาตนเองต่อไป ก็ถือว่าตกอยู่ในความประมาท ก็ผิดธรรมะ ผิดธรรมชาติของตัวเอง หนึ่งศึกษากันไม่รู้จบเดี๋ยวนี้เขาเรียกว่าการศึกษาตลอดชีวิตซึ่งมา ระยะหลังนี่มานิยม คนต้องมีการศึกษาตลอดชีวิต พุ ทธศาสนาสอนไว้ตั้งนานแล้ว ถือว่าเป็นอย่างนั้นเองเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ก็ต้องศึกษากันไปจนกว่าจะเป็นพระอรหันต์ ทีนี้เราก็มาบอกว่า สังคมให้เป็นสังคมแห่งการศึกษาและเรียนรู้ พระพุทธศาสนาก็สอนมาตั้งนานแล้วว่าคนทุกคนที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ฝึกหัดพัฒนา สังคมมนุษย์ก็เป็นสังคมของคนที่เรียนรู้ศึกษาพัฒนาทั้งนั้น เวลาศึกษาพัฒนาอย่างนี้มาเป็นพระโสดาบันขึ้นไปเนี่ย จนกระทั่งเป็นพระอรหันต์ ท่านจึงถือว่าเป็นอารยชนที่แท้จริง ความเป็นอารยะ อารยะเป็นผู้เจริญเป็นผู้ประเสริฐนั้นอยู่ที่ การที่ได้ศึกษา เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาก็เปลี่ยนใหม่จากแนวคิดของพวกอารยันที่เคยพูดไปแล้วว่า พวกอารยันหรือภาษาบาลีเรียกว่า อริยกะถือตัวเองว่าเป็นพวกที่เป็นผู้ประเสริฐเป็นพวกศิวิไลซ์ และโดย เป็นเผ่าพันธุ์ของเขา แล้วก็มากำหนดในวรรณะ ว่าวรรณะชั้นสูงคือวรรณะแพศย์ พ่อค้า นักธุรกิจขึ้นไปแล้วก็พราหมณ์แล้ว ก็กษัตริย์ เป็นอริยะ อารยชนถ้าเป็นพวกสูตร พวกจันฑาล ก็ไม่มีทางเป็นอารยชนได้ ความเป็นอารยะชนนั้น กำหนดโดยชาติกำเนิด พระพุทธศาสนาเกิดมาก็ถือว่าความประเสริฐของมนุษย์อยู่ที่การเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนที่เรียกว่าสิกขาดี เพราะฉะนั้นผู้ใดได้เรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนดีขึ้นแล้วก็เป็นผู้ประเสริฐก็เป็นอารยชน พุทธศาสนากับหลักความเป็นอารยะชนนั้นมาอยู่ที่ นี่แหละโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์นี่แหละ เป็นอารยชนเราเรียกว่าเป็นอริยบุคคลเป็นภาษาบาลี สันสกฤต ก็เป็นอารยะ ถ้าเทียบกันทางศาสนาพราหมณ์สังคมอินเดียสมัยนั้นที่ว่าแบ่งคนเป็น 4 วรรณะ กษัตริย์พราหมณ์แพศย์สูตรถือว่า 3 วรรณะชั้นสูงเป็นอารยชนเป็นอริยะในทางพุทธศาสนาบอกว่าเป็นอารยชนไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิดอยู่ที่การเรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาซึ่งทำให้คนเรารู้จักทำกรรมที่ดีงามเป็นกุศล ก็เลยจัดว่าคนที่จะเป็นอารยชนจะมาจากชนชั้นวรรณะไหนกำเนิดยังไงก็ได้ขอให้พัฒนาตนขึ้นมาแล้วเราก็แบ่งระดับโดยถือเอา การพัฒนาหรือการศึกษานี้เป็นมาตรฐานในการวัด การจัดและบุคคลที่ได้พัฒนามาจนกระทั่งมีคุณธรรมความดีมีสติปัญญามีพฤติกรรมในระดับหนึ่ง เรียกว่าโสดาบัน สูงขึ้นไปเรียกว่า สกทาคามี สูงขึ้นไปเรียกอนาคามีและสุดท้ายเรียกว่าอรหันต์ นี่แหละคนที่เป็นอย่างนี้จะเป็นใครก็ได้ก็จะเป็นอารยชนเป็นอริยบุคคลที่แท้จริง ศัพท์เก่าๆของศาสนาพราหมณ์ เราก็มาใช้ในความหมายใหม่ แม้แต่คำว่าพราหมณ์เองที่เขาบอกว่า เป็นผู้ประเสริฐ พุทธศาสนาก็มาใช้เรียกพระอรหันต์ว่า เป็นพราหมณ์ เพราะพราหมณ์ของแปลว่าผู้ลอยบาปเขาลอยบาปแล้ว แล้วเขาก็ไปลอยบาปในแม่น้ำคงคา พราหมณ์ นี้เขาเวลาจะลอยบาปเขาไปลงในแม่น้ำคงคา ก็แม่น้ำคงคาก็พาบาปไปหมดล้างบาป พระพุทธเจ้าตรัสว่า เอ ถ้าแม่น้ำคงมัน ล้างบาปได้นี่ เต่าปลาปู หอยที่อยู่ในแม่น้ำคงคา มันก็หมดบาปก่อนพวกพราหมณ์สิ พระพุทธเจ้าก็บอกว่า น้ำมันพาบาปไปไม่ได้หรอก ถ้ามันพาบาปไปได้มันก็พาบุญไปด้วยว่างั้นนะ ก็เลยพระองค์บอกว่าการลอยบาปมันอยู่ที่นี่ แหละการฝึกฝนพัฒนาตน เมื่อเราพัฒนาตนดีขึ้นมาแล้วเราก็เป็นผู้หมดบาป เป็นผู้หมดบาป ลอยทั้งบุญทั้งบาปเลย พระพุทธเจ้าเอางั้น พรามหณ์ก็ตั้งใจจะลอยแต่บาปทีนี้ พระพุทธเจ้าบอกไม่ต้องไป ลอยเฉพาะบาปลอยให้หมดทั้งบาป ทั้งบุญเลย อันนั้นก็เป็นพระอรหันต์ที่พ้นจากทั้งบุญจากทั้งบาป พ้นหมดสู่ความบริสุทธิ์ที่แท้จริง ก็เราเลยบอกว่าพราหมณ์ที่แท้จริงคือพระอรหันต์เป็นใครก็ได้จะอยู่ในวรรณะไหนก็ได้ขอให้ประพฤติปฏิบัติฝึกฝนพัฒนาตนแล้วก็เป็นพราหมณ์และเป็นทางที่แท้จริงด้วย วันนี้ก็คิดว่าคงจะพูดกันเท่านี้ก่อนนะให้เห็นว่าหลักการพระพุทธศาสนา เรื่องไตรสิกขานี้ก็ เป็นการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงของธรรมชาติคือ ธรรมชาติของมนุษย์ ที่ต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาจึงจะมีชีวิตที่ดีงามได้ ถ้ามนุษย์มาตระหนักสำนึกในธรรมชาติของตนอันนี้แล้วก็จะได้ปฏิบัติตนให้เป็นไปตามธรรมชาติของตนเอง ใช้ความจริงตามธรรมชาติให้เป็นประโยชน์แล้วก็กลับทำให้ชีวิตของตนให้ดีงามประเสริฐดังที่กล่าวมา วันนี้ก็ขอพูดยุติกันไว้เพียงเท่านี้ก่อน