แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คือสำหรับวันนี้อาตมาภาพอยากจะเล่าเรื่องปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า พอได้ยินว่าปาฏิหารย์นั้นเราก็นึกถึงคนทำอะไรได้แปลกๆ ที่คนธรรมดานึกไม่ถึงก็คือเรื่องฤทธิ์ต่างๆ นั่นเอง แต่เอาเข้าจริงคำว่าปาฏิหารย์สำหรับพระพุทธเจ้านั้น ไม่ได้มีความหมายว่าเฉพาะต้องเป็นเรื่องทำอะไรแปลกๆ เป็นเรื่องอัศจรรย์ เป็นเรื่องของฤทธิ์ เป็นการดลบันดาลอะไร แต่ปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าเนี่ยตามความหมายของศัพท์ก็คือการทำให้เห็นผลจริงเป็นอัศจรรย์ การทำให้ได้ผลจริงเป็นอัศจรรย์นั้นท่านแบ่งไว้ 3 อย่าง ท่านมีว่า 1.อิทธิ ปาฏิหาริย์ คือว่าแสดงฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ นี้คือปาฏิหาริย์ที่เรามักจะเข้าใจกันอยู่เสมอ เช่นว่า เดินน้ำ ดำดิน
เหาะไปบนอากาศอะไรอย่างนี้ มองเห็นด้วยตาทิพย์ ได้ยินเสียงด้วยหูทิพย์ แบบนี้เป็นเรื่องของฤทธิ์ ทีนี้อย่างที่ 2 ท่านเรียกอาเทศนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ด้วยการทายใจหรือว่าทายใจได้เป็นอัศจรรย์ หมายความว่ามองเห็นผู้อื่นมาเนี่ย เห็นเค้าลักษณะท่าทางหน้าตาอะไรเล็กน้อยก็สามารถหยั่งได้ถึงจิตใจว่าขณะนี้กำลังคิดเรื่องอะไร กำลังมีอารมภ์อะไรอย่างไร อันนี้เรียกว่าอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอย่างที่ 3 ท่านเรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือคำสอนหรือสอนให้ถึงความจริงและทำได้จริงเป็นอัศจรรย์ ก็คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดนี้ ก็เป็นเรื่องของอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ซึ่งปาฏิหาริย์ก็มี 3 อย่าง ๆ นี้ ในทางพระพุทธศาสนานั้นท่านสรรเสริญปาฏิหารย์อย่างที่ 3 คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือคำสอนที่ทำให้ผู้ฟังได้เข้าถึงความจริงและทำได้ผลจริงเป็นอัศจรรย์ ปาฏิหาริย์ 2 อย่างนั้น 2 อย่างแรกคือ ฤทธิ์ก็ดีหรือว่าการทายใจก็ดีพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเท่าไรแต่ว่าจะมีผลดีขึ้นมาก็เมื่อนำมาใช้ประกอบกับการสั่งสอนคือมาช่วยให้การสั่งสอนได้ผลดีขึ้น ทำไมพระพุทธเจ้าจึงถึงว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์นั้นเป็นเรื่องที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญเป็นของดีจริง ก็เพราะว่าคำสอนนั้นจะช่วยให้ผู้ฟังได้เกิดปัญญาขึ้นและก็พึ่งตนเองได้ เพราะว่าถ้าหากว่าใช้ฤทธิ์คนฟังเค้าก็ไม่เกิด เอ่อคนที่ได้รับหรือได้เห็นการดูฤทธิ์อะไรนี้ตนเองก็ไม่เกิดปัญญา เพราะเป็นเรื่องของท่านผู้อื่น ท่านผู้มีฤทธิ์ท่านก็ทำไปเราก็ได้แต่มองก็ไม่รู้ว่าท่านทำได้อย่างไรก็ได้แต่อัศจรรย์ใจก็ไม่เกิดปัญญาขึ้นมา แล้วก็พึ่งตนเองก็ไม่ได้ต้องมาหวังพึ่งผู้มีฤทธิ์นั้น หรือว่าทายใจก็เหมือนกันก็อั
ได้แต่อัศจรรย์ใจในความสามารถของท่านผู้ทายใจแล้วก็ก็ต้องไปอาศัยท่านอีกแหละ แต่ถ้าเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ท่านสอนไปแล้วเราก็ได้ปัญญาแล้วเราก็สามารถไปทำได้ตามนั้นก็คือทำให้ผู้ฟังได้ปัญญา แล้วก็สามารถพึ่งตนเองได้นำไปทำได้อย่างนั้นด้วย แม้แต่อิทธิปาฏิหาย์และอาเทศนาปาฏิหารย์ก็ต้องอาศัยอนุสาสนีปาฏิหาริย์คือถ้าไม่มีคำสอนของท่านผู้รู้มาช่วยเราก็คงไม่สามารถทำได้ด้วย ในทางพระพุทธศาสนาก็เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญอนุสาสนีปาฏิหาริย์ และในบางโอกาสก็ทรงใช้อิทธิปาฏิหารย์และอาเทศนาปาฏิหารย์นั้นมาช่วยในการสั่งสอนด้วย อาตมาภาพจะยกตัวอย่างอนุสาสนีปาฏิหาริย์คือการสอนให้ได้ผลจริงเป็นอัศจรรย์นี้พระพุทธเจ้าก็ทรงเป็นพระบรมครูและบรมศาสดาก็เป็นนักสอนที่เยี่ยมยอด พระองค์มีวิธีสอนต่าง ๆ มากมายที่จะทำให้ได้ผลตามที่ทรงพระประสงค์อย่างผจญกับคนที่มีวิชาความรู้ความสามารถ ก็ใช้วิชาความรู้ความสามารถอย่างเดียวกับเขานั้นแต่ว่าให้เหนือขึ้นไป หรือถ้าคนนั้นต้องการฤทธิ์พระองค์ก็หรือว่าเค้าถือว่าเค้ามีฤทธิ์ พระพุทธเจ้าก็อาจจะทรงใช้ฤทธิ์เพื่อจะทำให้เค้ายอมเชื่อแล้วจึงจะทรงสั่งสอน กับคนที่มานั้นก็มีลักษณะต่างๆ กัน บางคนก็โกรธมาแล้วพระพุทธเจ้าก็มีวิธีการปฏิบัติกับคนที่โกรธนั้นจนกระทั่งทำให้เค้ายอมรับที่จะเชื่อฟังพระองค์ อาตมาภาพจะยกตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงสอนคนโกรธเพราะแม้แต่การสอนคนโกรธอย่างเดียวก็ต้องมีวิธีการต่างๆ กัน คราวหนึ่งมีพราห์มคนหนึ่งที่บ้านของแกนั้นแม่บ้านคือนางพราห์มณีเป็นคนเลื่อมใสในพระพุทธเจ้ามาก เวลาทำอะไรแกก็คอยจะกล่าวคำว่า นะโมตัสสะ คือนอบน้อมพระพุทธเจ้า วันหนึ่งขณะที่กำลังคดอาหารให้สามีก็เกิดว่าทำหกขึ้นมาก็อุทานออกมาเป็น นะโมตัสสะ ภควาโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฝ่ายพราห์มผู้เป็นสามีนั้นเป็นคนที่ยังไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และก็ไม่พอใจที่ภรรยาไปนับถือพระพุทธศาสนา วันนั้นพอพราห์มณีกล่าวอุทานขึ้นมาว่า นะโมตัสสะฯ ก็เกิดความไม่พอใจก็บอกว่า ก็กล่าวเป็นคำหยาบคายนี่แน่ะนี่นาง อะไร ๆ ก็นะโมตัสสะฯ เรื่อยพระพุทธเจ้าพระโคดมเนี่ยพระหัวโล้นองค์โน้นมีดีอะไร นี่วันนี้ฉันจะต้องไปทำให้พูดไม่ออกเชียวว่างั้น นางพราห์มณีก็บอกว่าโอ๊ยพระพุทธเจ้าท่านไม่มีใครไปทำให้พูดไม่ออกได้หรอกแต่ว่าท่านจะลองดูก็ได้ ฝ่ายพราห์มสามีก็โกรธมากหลังจากนั้นก็ไปที่พระพุทธเจ้า ไปถึงสำหรับพราห์มคนนี้ที่มีความโกรธมากนั้นก็ไป ไปด่าพระพุทธเจ้า ด่าหยาบ ๆ คาย ๆ มากมาย พระพุทธเจ้าก็ทรงนิ่งไว้ก่อนฟังพราห์มด่าจนกระทั่งจบแล้ว เมื่อพราห์มด่าจบพระพุทธเจ้าก็ตรัสถามขึ้นมา บอกว่า เนี่ยแน่ะท่านพราห์มที่บ้านของท่านเนี่ยมีญาติมิตรสหายมาเยี่ยมเยียนเป็นแขกบ้างหรือไม่ พราห์มก็บอก มีซิ ก็มีมาเป็นครั้งเป็นคราว บอกว่าแล้วเวลาเพื่อนบ้านหรือญาติมิตรมาหาเป็นแขกของท่านแล้วท่านเอาของมาต้องรับไม๊ พราห์มก็บอกว่าก็ต้อนรับก็ต้องเอาเครื่องดื่มน้ำอาหารหรือว่าเอาอะไรมาต้อนรับตามสมควร พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่าแล้วถ้าแขกเค้าไม่ได้รับประท่านของเหล่านั้น ของจะเป็นของใครพราห์มก็บอกว่าก็เป็นของฉันน่ะซิชั้นเป็นเจ้าของบ้านนี่ พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่าการที่ท่านด่าว่าข้าพเจ้าวันนี้ทั้งหมดนั่นน่ะข้าพเจ้าไม่รับด้วย ถ้าเช่นนั้นก็ขอให้กลับเป็นของท่านก็แล้วกัน พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่าถ้าหากว่าคนเค้าโกรธมาเนี่ย มาด่าเราแล้วเราไปด่าตอบก็เหมือนกับว่าเราไปร่วมบริโภคอาหารกับเค้าด้วย สำหรับที่ท่านมาให้คำด่าของเค้าแก่ข้าพเจ้าวันนี้ข้าพเจ้าก็ไม่รับคือไม่บริโภคร่วมด้วย พราห์มก็บอกว่าท่านโกรธหรืออย่างไรท่านสมณะโคดมได้ข่าวว่าเป็นพระอรหันต์ไม่มีกิเลสท่านโกรธหรือเปล่า พระพุทธเจ้าก็เลยตรัสสอนต่อไปอีก ก็อันนี้ก็ทำให้พราห์มนั้นเกิดความเลื่อมใสแล้วในที่สุดก็กลับใจหันมานับถือพระพุทธศาสนา อันนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งหรืออีกคราวหนึ่งก็พราห์มที่เป็นเพื่อนกับคนนี้ก็ได้ข่าวว่าพราห์มเพื่อนกันนี้มาหาพระพุทธเจ้าแล้วมากลับใจแล้วก็ถึงกับบวช บวชพระได้มาอยู่กับพระพุทธเจ้าเป็นลูกศิษย์ก็มีความโกรธอีกเช่นเดียวกันก็เดินทางมาที่พระพุทธเจ้า คนนี้มาถึงก็มายืนนิ่งๆ ไม่ว่าอะไร พระพุทธเจ้าทรงหยั่งทราบจิตใจของเค้าว่าเค้ามีความโกรธ พระองค์ก็ตรัสบอกว่าคนที่คิดประทุษร้ายคนที่ไม่ได้คิดประทุษร้ายด้วยนั้นผลร้ายจะตกกับตนเองอันนี้เค้าก็มีแผลอยู่ในใจเค้าก็ไม่เข้าใจเค้าก็เลยไม่สบายใจเค้าก็พูดออกมา ก็ผลที่สุดก็ได้รับคำสอนก็กลับใจได้ หรืออีกคนหนึ่งมาความจริงพราห์มคนแรกที่มาก็ชื่อว่าชนันต์ธานีคนนี้มาถึงพระพุทธเจ้า ก็มาถามถามบอกว่านี่แน่ะท่านสมณโคดมท่านจะตอบข้าพเจ้าได้ไม๊ว่าฆ่าอะไรแล้วจะได้ไม่เศร้าโศก ฆ่าอะไรแล้วจะได้เป็นสุข ที่เค้าถามอย่างนี้เค้าอาจจะมีความรู้สึกในใจที่ว่าโกรธมากคล้ายๆ ทำนองว่าเนี่ยถ้าฉันฆ่าท่านได้ฉันก็เป็นสุขแต่เขาจะพูดแบบนั้นไม่ได้ เค้าก็ถามพระพุทธเจ้าบอกว่าเนี่ยท่านตอบฉันได้ไม๊ฆ่าอะไรแล้วจะเป็นสุข พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบไปว่าฆ่าความโกรธเสียได้แล้วเป็นสุขก็แทงใจดำทีเดียวอันนี้เป็นต้นวิธีการต่างๆ หรืออย่างอีกตัวอย่างก็คนโกรธเหมือนกันคือพราห์มผู้เฒ่าท่านหนึ่งได้ยินข่าวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าก็เดินทางมาหา ทีนี้มาถึงพระพุทธเจ้าเค้าก็หวังว่าพระพุทธเจ้าจะต้องมาไหว้มาต้อนรับรูปลักษณ์เค้าแสดงความเคารพเพราะเป็นพราห์มเฒ่าพระพุทธเจ้าก็ไม่ทำอย่างนั้นเค้าก็โกรธมากเค้าก็บอกว่าเนี่ยท่านเรานี้เป็นผู้สูงอายุกว่าท่านเป็นพราห์มท่านทำไมไม่แสดงความเคารพนับถือ พระพุทธเจ้าก็ตรัสให้ทราบว่าพระพุทธเจ้าจะแสดงความเคารพคนทั่วไปอย่างนั้นไม่ได้เค้าก็โกรธมากเค้าก็ด่าพระพุทธเจ้าต่างๆ คำด่านั้นเอาเป็นคำที่เป็นภาษาบาลีซึ่งมันมีความหมายในแบบของภาษาบาลีซึ่งคำหนึ่งนั้นก็อาจจะแปลความหมายเป็นอย่างอื่นไปก็ได้ อันนี้เราเทียบกันยากขอประทานอภัยซึ่งอย่างในภาษาไทย สมมุติว่าเค้าด่าพระพุทธเจ้ามีคำหนึ่งซึ่งแปลได้ว่าเจ้าเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด พระพุทธเจ้าก็บอกว่าที่ท่านว่าข้าพเจ้านี้ที่จริงก็ถูกอยู่ก็มีความหมายที่แปลได้ในทางที่ถูกต้องข้าพเจ้านี้ได้ทำลายสังสารวัฏไปแล้วเพระฉะนั้นก็เป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ก็ถูกของท่านอยู่เหมือนกันทำนองนี้นะ เค้าก็พูดทำนองว่าเจ้าเป็นคนไม่มีที่ซุกหัวนอน พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่าที่ท่านว่าข้าพเจ้านี้ก็มีส่วนถูกอยู่เพราะข้าพเจ้าเป็นคนจาริกเดินทางไปเสมอไม่มีที่อยู่ที่แน่นอนก็ถูก เค้าจะว่าอย่างไรพระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่าถูกทั้งนั้นเลย แล้วพระองค์ก็แปลให้ใหม่ในที่สุดพราห์มนั้นก็เลยเลื่อมใส อันนี้เป็นตัวอย่างที่แสดงถึงอนุสาสนีปาฏิหาริย์หรือว่าการสอนที่ได้ผลเป็นอัศจรรย์ หมายความว่ากรณีอย่างเดียวกันก็ต้องใช้วิธีการต่างๆ แล้วแต่ว่าโอกาสบ้าง สถานการณ์บุคคลบ้าง ก็การสอนของพระพุทธเจ้าก็สำเร็จผลเด็ดขาดทุกครั้งไปก็เพราะด้วยเหตุนี้ อันนี้เป็นตัวอย่างของอนุสาสนีปาฏิหาริย์ อันนี้อาตมาภาพนำมากล่าวในวันนี้ก็เพื่อแสดงพุทธคุณประการหนึ่ง แต่ที่เป็นคติอีกด้านหนึ่งนอกเหนือจากการที่เผชิญกับคนโกรธนั้นแล้วก็คือการรักษาจิตใจของเรา คือการโกรธนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจมัวหมองไม่สบายเพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็จะตรัสสอน อย่างที่บอกว่า ?????????????14.30 ฆ่าความโกรธเสียได้แล้วจะเป็นสุขอันนี้ก็เพื่อให้จิตใจของเรานี้เป็นจิตใจที่มีสุขภาพดีเพราะความโกรธนั้นทำให้เสียสุขภาพจิตใจแล้วก็จะมีผลมาทางร่างกายด้วย สภาพจิตที่ดีงามที่จะทำให้มีความสุขและส่งเสริมสุขภาพเมื่อสุขภาพจิตดีแล้วก็ออกมาทางกายก็พลอยให้สุขภาพทางร่างกายก็พลอยดีไปด้วย สภาพจิตใจที่ดีนั้นก็มีหลายอย่างพระพุทธเจ้าจะทรงสั่งสอนให้ปลูกฝังขึ้นเสมอๆ คือแทนที่จะปลูกฝังความโกรธเราก็ปลูกฝังคำต่อไปนี้ เช่นว่า ปิติความอิ่มเอิบใจความปลื้มใจ ปัสสัทธิความสงบระงับกายใจไม่มีความเคร่งเครียดมีความผ่อนคลาย แล้วก็ปราโมทย์ความแช่มชื่นใจแล้วก็ความสุขก็คือความสบายความสะดวกกายสะดวกใจ อันนี้เป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนควรจะปลูกฝังอยู่เสมอ เป็นธรรมะที่ตรงข้ามกับกิเลสเช่นความโกรธเป็นต้นนั้น ปิตินี้เป็นอย่างไรความอิ่มเอิบใจอย่างเด็กนักเรียนไปสอบได้พอได้ยินข่าวว่าสอบได้แกก็จะปลื้มใจมากความปลื้มใจนั้นไปถึงกับกระโดดโลดเต้น หรืออาจจะออกอุทานพูดออกมาตะโกนเสียงลั่นแสดงความดีใจนั้น ทีนี้ปิตินี้เป็นปิติของทั่วไปซึ่งก็ทำให้สบายใจอย่างน้อยในเบื้องต้น แต่ถ้าหากว่าเป็นปิติที่ดีมากที่สุดก็คือปิติในธรรมะ เช่นว่าได้ทำความดีอะไรขึ้นมาแล้วเราก็ระลึกถึงการทำความดีนั้นแล้วจิตใจของเราก็อิ่มเอิบแจ่มใสอันนี้ก็เป็นปิติก็ช่วยส่งเสริมจิตใจให้ดียิ่งขึ้น นอกจากปิติก็ปัสสัททิ
ปัสสัททิก็คือความผ่อนคลายของจิตใจ คนเรานั้นจะมีความเครียด เครียดทางกายบ้าง เครียดทางใจบ้าง แต่เราได้ไปพบไปเห็นหรือได้ฟังสิ่งที่ดีงามแล้วจิตใจของเราก็ผ่อนคลายสงบเยือกเย็นอันนั้นเรียกว่าปัสสัทธิก็เป็นสิ่งที่ดีเหมือนกันส่งเสริมให้เรามีความสุข อีกอันหนึ่งก็คือปราโมทย์ ปราโมทย์ก็คือความแช่มชื่นใจก็เป็นลักษณะจิตใจที่คล้ายๆ กับปิติ แต่ปิติเรามักจะได้ในเหตุการณ์ที่สำคัญๆ เป็นคล้ายๆ ว่าเป็นความรู้สึกของจิตในทางที่ดีในระดับที่สูงขึ้นไปอย่างรวดเร็วก็เป็นปิติ การที่เป็นความรู้สึกสบายแบบว่าเฉื่อยๆ ช้าๆ นานๆ แบบระดับที่ไม่สูงนักก็เป็นปราโมทย์ความแช่มชื่น แล้วก็จากปิติมีปัสสัทธิ มีปราโมทย์แล้วก็มีความสุขนี่แหละ ถ้าเรามีปิติแล้วความสุขก็มักตามมา หรือมีปราโมทย์ก็ได้ความสุขไปด้วย มีปัสสัทธิก็ได้ความสุขไปด้วย ท่านเปรียบเหมือนอย่างบอกว่าคนเราคนหนึ่งนี้เดินทางไปในที่แห้งแล้งไปกลางแดดร้อนแดดก็แผดเผาหิวน้ำเป็นกำลัง ขณะนั้นเดินไปข้างหน้าเห็นหมู่ไม้ใหญ่ที่แน่ใจว่ามีน้ำหรือมีคนใดคนหนึ่งมาแล้วก็บอกข้างหน้าตรงนั้นเดินไปอีกซักครึ่งกิโลหรือหนึ่งกิโลเนี่ยมีบ่อน้ำสระน้ำใหญ่น้ำใสจะอาบจะกินก็ได้ เค้าจะมีความปลื้มใจมากอันนี้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจนี้ท่านบอกว่าเป็นปิตินี้เป็นการเปรียบทางรูปธรรม เมื่อเดินทางไปถึงที่นั่นแล้วไปลงอาบน้ำในสระน้ำนั้นได้ดื่มได้กินน้ำในสระน้ำมีความสุขขึ้นมา ก็ได้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นตอนนั้นเรียกว่าความสุข ท่านให้แยกระหว่างปิติกับสุขอย่างนี้ ปิติเกิดขึ้นตอนหนึ่งแล้วต่อจากนั้นก็จะได้ความสุข จะเป็นปิติก็ตามเป็นปัสสัทธิก็ตามก็จะตามมาด้วยความสุข พอคนเรามีความสุขแล้วจิตใจก็จะเข้าสู่ธรรมะได้ดียิ่งขึ้น การปฏิบัติธรรมอาศัยหลักเหล่านี้คือปิติและปัสสัทธินี้ช่วยให้เกิดสมาธิ คนที่มีปิติมีปัสสัทธิมีความสุขแล้วสมาธิจะมาได้ง่าย เพราะจิตใจไม่ดิ้นรนไม่กระวนกระวายก็ไม่ฟุ้งซ่าน และก็เข้าจับอยู่กับอารมภ์ที่ปรารถนาได้อันนั้นเรียกว่าสมาธิ อยู่ใจอยู่กับจิต จิตอยู่กับสิ่งที่กระทำ ไม่หนีไม่อะไรไปไหนแน่วแน่เรียกว่าเกิดสมาธิขึ้นอันนี้ก็เลยเข้าสู่การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง สำหรับความมุ่งหมายในที่นี้ก็คือว่าเราในฐานะพุทธศาสนิกชนก็พยายามสร้างสภาพจิตใจที่ดีงามขึ้น คือให้มีปิติบ้างให้มีปัสสัทธิบ้างให้มีสุขบ้างแล้วก็นำไปสู่สมาธิ หรือว่าแม้แต่มีปราโมทย์อยู่ตลอดเวลาเป็นเวลาเป็นส่วนมากของชีวิตในแต่ละวัน ถ้าทำได้อย่างนี้แล้วก็จะเป็นสิ่งที่ดีงามเป็นการที่ได้รับประโยชน์จากพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วอาตมาภาพมาได้ยินการที่คุณโยมคุณโยมสุขุมและพร้อมทั้งโยมคุณหญิงจันฟองก็ได้ถวายที่ดิน ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการที่ทรงสร้างโรงเรียนราชวินิตนี้ก็เป็นที่น่าอนุโมทนาด้วยก็เป็นบุญเป็นกุศลซึ่งหวังว่าก็จะได้เกิดภาวะของจิตใจที่ดีงามอันนี้คือปิติบ้าง ปัสสัทธิบ้าง ปราโมทย์และความสุขตลอดจนกระทั่งนำไปสู่สมาธิ ก็ขอโยมจงได้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปในคุณธรรมความดีงามเหล่านี้ อาตมาภาพก็ขออนุโมทนาไว้ในที่นี้ และก็ขอตั้งจิตอารธนาคุณพระรัตนตรัยอำนวยพรให้โยมได้พร้อมทั้งบุตรหลานทั้งปวงได้เจริญในพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพรั่งพร้อมด้วยจตุรพิธพรชัย มีความสุขกายสบายใจพร้อมทั้งญาติมิตรทั้งปวงตลอดกาลนานเทอญ