แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
โยมผู้หญิง กราบนมัสการ ??? ดิฉันมีข้อคำถามอยากจะเรียนถามท่าน เพื่อความสว่าง ??? ขอให้ท่านตอบได้ตามสมควรเจ้าค่ะ ลูกเองเป็นจิตแพทย์ในวัยรุ่น อยู่ที่ศิริราช ภาควิชาจิตเวช ได้พบปัญหาของเด็กไทยและเด็กวัยรุ่นในสังคมไทยมีปัญหาอย่างมากในเรื่องยังหลงอยู่ในวัตถุนิยม ติดเกมส์ ยาเสพติด แล้วก็ปัญหาทางเพศก่อนวัยอันควร อย่างว่าไม่รู้เรื่องเพศศึกษา ไม่ค่อยมีความใฝ่รู้ใฝ่ทำสิ่งที่ดีงาม ศิษย์ขอกราบเรียนถามท่านเจ้าคุณว่า จะทำอย่างไรให้เด็กไทยของเรามีความใฝ่รู้ใฝ่ทำในสิ่งที่ดีงามสร้างสรรค์ ด้วยเหตุว่าในทางจิตวิทยานี้ไม่สามารถแก้ไขที่เหตุได้เจ้าค่ะ
สมเด็จฯ เจริญพร เรื่องนี้หลักการมันก็มีอันเดียวกันนั่นแหล่ะ แต่วิธีการนะมันเยอะ เพราะว่ามันเป็นเรื่องของชีวิตคน แล้วก็มีปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยวข้องหลายอย่าง ถ้าเอาหลักพระ คือพูดง่าย ๆ ก็บอกคือ[01:14]ทำตามเหตุปัจจัย ทีนี้เรื่องของคนเรานี่ตามปกติการปลูกฝังมันต้องเริ่มตั้งแต่เล็ก ๆ ในสังคมของเรานี้ก็แต่ก่อนมาเราก็อาศัยพ่อแม่ ชีวิตในครอบครัว อันนั้นก็เป็นเรื่องการศึกษาที่แท้ เพราะว่าพระพุทธเจ้าก็ว่าไปตามหลักความจริงอยู่แล้ว พ่อแม่เป็นบูรพาจารย์ เป็นครูต้นครูคนแรก เพราะว่าชีวิตคนเกิดมาก็เรียนรู้ทันที บางคนเกิดมาจะเป็นอยู่ได้ก็ต้องใช้ตาหูเป็นต้น ได้รับความรู้และเพราะได้รับความรู้มันก็เรียนไปฝึกตัวเองไป แล้วก็ตอนที่เขารับความรู้อะไรต่าง ๆ เข้าได้มานั่นแหล่ะ พ่อแม่ก็เป็นผู้ช่วยแนะนำเขา ทำให้เขาใช้เขาได้รับความรู้ถูกวิธีก็เดินหน้าไปในทางที่ดีได้ ฉะนั้นพอชีวิตเริ่มก็ถือว่าต้องเริ่มการศึกษา ถ้าพ่อแม่ทำหน้าที่ดีก็ทำให้เขาเดินไปในทางที่ดีงาม ทีนี้เวลานี้ปัญหาก็คือว่ามันพลาดแต่ต้น ในครอบครัวนี้พ่อแม่ไม่ค่อยได้ทำหน้าที่ บางทีนอกจากไม่ได้ทำหน้าที่แล้วยังนำไปผิดทางด้วย แล้วพ่อแม่ก็ไม่ได้เข้าใจว่าลูกของเรานี้จะเดินได้ถูกต้องดีงามได้อย่างไร กลับไปนำทางเขาผิด เช่นอย่างเราไม่รู้เรื่องความจริงของชีวิต เรื่องของหน้าที่พ่อแม่ ก็อาจจะนึกแต่เพียงว่ารักลูกอยากจะปรนเปรอบำรุงบำเรอ ก็ไปสนองความต้องการในทางบำรุงบำเรอ แล้วก็ทำให้เขานี้ได้พื้นทุนที่ผิดพลาดได้ไปในทางนี้อย่างที่คุณหมอว่า กลายเป็นว่าพ่อแม่นี้ปลูกฝังให้มาเป็นอย่างนี้เลยนะ แทนที่จะเป็นผู้แก้ไขหรือเป็นผู้ที่จะเตรียมภูมิต้านทานไว้ไม่ดี มันก็เหมือนกับว่าพร้อมที่จะส่งเขาไปสู่กระแสสังคมแบบนั้น มันก็เลยยาก ชีวิตที่เป็นแบบนี้มีนก็ไปอยู่กับความรู้สึกเป็นเรื่องฉาบฉวย
ทีนี้คนเรานี้เกิดมามันจะอยู่ในโลกได้ก็คือการติดต่อโลกภายนอก ทางพระเรียกว่า[04:02]เรามีประตูติดต่ออยู่ 2 ชุด ชุดที่ 1 เป็นประตูสำหรับรับรู้ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกกันอีกอย่างว่าอินทรีย์หกหรืออายตนหกก็ได้ อันนี้ก็คือ รับรส รูป กลิ่น เสียง สัมผัสกายทางอารมณ์ ด้านนี้เป็นประตูติดต่อในแง่ของการรับรู้แล้วก็เสพ ทีนี้อีกประตูหนึ่งก็คือ ประตูทำ เราทำต่อโลกอย่างไร ใช้กาย ใช้วาจา ใช้ใจ คิดพูดทำ หรือทำพูดคิด นี่ประตูทำ ประตู 2 ชุดนี้ที่เรามีความสัมพันธ์กับโลก ประตูชุดที่ 1 อินทรีย์หก ถ้าเรียกเป็นภาษาเป็นวิชาการ ภาษาบาลีเรียกว่า ผัสสะทวาร ประตูผัสสะ ประตูรับรู้ แล้วชุดที่ 2 มี 3 เป็นประตูทำกรรม เรียกว่ากรรมทวาร กาย วาจา ใจ ก็ทำกายกรรม ทำวจีกรรม ทำมโนกรรม ทีนี้ 2 ชุดนี้ทีนี้เราก็จะสนใจเรื่องทำกรรม กาย วาจา ใจ แต่ว่าชุดแรก ชุดรับรู้ชุดเสพ เรื่องรับรู้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดูฟังเป็นต้นเนี่ยบางทีเรามองข้าม ประตูนี้เป็นประตูสำคัญอย่างยิ่งเลย เพราะว่าเราจะเรียนรู้เราจะปฏิบัติต่อโลกถูกต้อง มันเริ่มจากประตูนี้ อันนี้การรับรู้ก็มี 2 อย่าง ประตูรับรู้ที่เรียกว่าผัสสะนี้มันก็ทำหน้าที่ 2 อย่างพร้อมกัน 1) รู้สึก 2) รู้ เวลาตาเห็น หูได้ยินเนี่ย มันมีทั้งเรื่องรู้และเรื่องรู้สึก อย่างตาเห็นก็มีรู้สึกสวยงาม สบายตา อะไรต่าง ๆ ด้านรู้สึก อีกด้านหนึ่งคือรู้ เห็นว่าเป็นอะไร เป็นต้นไม้ เป็นสีเขียว สีแดง ยาวสั้น อะไรเป็นต้น อันนี้ 2 ด้านเนี่ย ด้านที่ทำให้เราได้ปัญญาคือด้านรู้ แต่ด้านรู้สึกนี่ก็จะมาคอยช่วยทำให้เรากำหนดได้ว่าเราจะปฏิบัติต่อด้านนั้นอย่างไร อะไรต่าง ๆ อะไรต่ออะไร เป็นต้น หรืออย่างน้อยด้านต้นนี่ก่อนจะได้ความรู้ ความรู้สึกนี้มันช่วยเราว่านี้เป็นภัยอันตรายหรือไม่ ต่อจากนั้นไอ้ตัวด้านสำคัญที่จะทำให้เราได้ปัญญาได้พัฒนามีการศึกษาก็คือด้านรู้ ทางพระก็เน้นว่าทำอย่างไรเราจะไม่จมอยู่แค่ความรู้สึก พอตาดูเห็น หูได้ยินนี่ พอเห็นสวยงามถูกตานี่คือความรู้สึกแหล่ะ พอรู้สึกมันถูกตา ถูกหู เสียงไพเราะ รูปสวย ความรู้สึกเกิด ถ้าไม่ไปทางปัญญานะไม่ไปทางรู้ ความรู้สึกก็นำไปสู่การปรุงแต่งแหล่ะทีนี้ เออรู้สึกสวยงามชอบใจ ชอบใจอยากได้ รู้สึกไม่สบายตาก็อยากจะหนี เกลียด ไม่พอใจ อยากทำลาย ใช่ไหม อันนี้ด้านความรู้สึก ทีนี้ไอ้ด้านรู้นี่ ไอ้นี่มันเป็นอย่างไร มันคืออะไร มันเป็นมาอย่างไร มันเกี่ยวกับอะไร มันใช้ประโยชน์อะไรก็จะรู้มันก็ไปไกลเลย ทีนี้ทางพระท่านก็มาเน้นด้านรู้เนี่ย ท่านถึงให้มีสติ รับรู้แล้วก็อ้อไม่ไปตามความรู้สึก ไม่ให้ความรู้สึกมันครอบงำ เพราะว่ารับรู้แล้วก็ให้ได้ปัญญา เพราะปัญญาตัวนี้มันเกิดขึ้นมันก็จะได้ประโยชน์กับชีวิตของเรา ด้านความรู้สึกก็จะกลายมาเป็นตัวช่วยเกื้อหนุนในการรู้หรือว่ารู้สึกเริ่มก็จะต้องนำไปสู่ความรู้ต่อไป แต่ทีนี้ว่าถ้าเราไม่ได้เข้าใจแนวทางนี้จมอยู่กับความรู้สึกเลย อย่างดูทีวีนี้ก็ดูว่ามันสวยงาม ถูกตา เพลิดเพลิน สนุกสนาน ไม่ได้คำนึงเลย ไม่ได้เคยถามตัวดูว่า อันนี้คืออะไร มันเป็นยังไง มันมีประโยชน์อย่างไร ใช้อะไรได้บ้างไหมไม่ได้นึกเลย ไปตามทางรู้สึกอย่างเดียว ลุ่มหลง เพลิดเพลิน มัวเมา อย่างนี้ไม่ได้อะไรเลย การศึกษาไม่มี เนี่ยมันเป็นปัญหาอย่างหนักเลย ฉะนั้นปัญหาของยุคปัจจุบันก็คือว่า แม้แต่ใช้อินทรีย์ก็ไม่เป็น ใช้อินทรีย์ไม่เป็นก็แทนที่จะได้ปัญญาได้เรียนรู้ ก็ไม่มีการศึกษาก็ไม่เกิด ก็เริ่มผิวเผินต่อไปก็กลายเป็นนิสัยก็อยู่แค่นี้ พอดูฟังอะไรก็ใช้ประโยชน์อะไรไม่เป็นจมอยู่กับความสนุกสนานเพลิดเพลิน ความสุขอยู่ที่ชอบใจ-ไม่ชอบใจแล้วก็ปรุงแต่งไป ทีนี้เจ้ากิเลสด้านตัณหาอะไรนี้มันก็พอกพูน ใช่ไหม เพราะว่าต้องการบำรุงบำเรอ ความรู้สึกก็บำรุงบำเรอตัวเองให้ได้สุขทางผัสสะ แล้วก็ถ้าไม่ถูกใจก็เกลียดชังอยากทำลายก็มีเท่านี้ มีโลภอยากได้แล้วไม่ได้อย่างที่อยากก็โทสะชิงชังอยากทำร้าย แล้วก็พอได้อย่างใจชอบเดี๋ยวลุ่มหลงโมหะ ก็วนเวียนอยู่ใน [10:28]โลภะ โทสะ โมหะนี้ไม่ไปไหนแล้ว
นี่แหล่ะพระพุทธเจ้าจึงได้เน้นมาก ในพระไตรปิฎกถ้าเราอ่านจะเห็นว่า[10:38-11:07]พระพุทธเจ้าบอกว่า ภิกษุหรือว่าบุคคลก็แล้วแต่รับรู้ด้วยตา มองเห็นรูปด้วยตา หรือได้ยินเสียงด้วยหู แล้วพระองค์ก็ตรัสต่อไป แต่ว่ายินดียินร้ายหรือไม่ยินดียินร้าย มีสติแล้วก็ถ้าหากว่าปฏิบัติถูกต้องก็คือใช้อินทรีย์เป็น ใช้อินทรีย์ในการที่ทำให้ได้ความรู้ได้ประโยชน์ แล้วก็ไม่เกิดปัญหา ตอนนี้จุดเริ่มต้นเลยความใฝ่รู้จะมาหรือไม่ ทีนี้ถ้าเด็กจมอยู่กับความรู้สึกมันไม่มีความใฝ่รู้หรอก มันจะมีแต่ความใฝ่เสพ มีแต่การอยากได้รับการบำรุงบำเรอ ใช่ไหม ต่อไปก็เป็นฝ่ายรับคือไม่อยากทำอะไรด้วย ถ้าทำอะไรก็เหนื่อย ทุกข์ ลำบาก อยากได้รับฝ่ายเดียว มีสิ่งทั้งหลายมาบำรุงบำเรอตา หู จมูกของตัวเอง ก็อ่อนแอด้วย แล้วก็ทุกข์ง่าย เพราะว่าต้องได้รับการบำรุงบำเรอตา หู จมูก ลิ้นอย่างเดียว เมื่อไม่ได้ตามที่ปรารถนาก็ทุกข์หมด พอเจออะไรต้องทำเป็นทุกข์หมด เจออะไรที่ไม่ชอบใจ ไม่เป็นตามที่ปรารถนาหรือไม่ได้มากขึ้น เพราะเรื่องเสพนี่มันต้องมากขึ้นเรื่อยเพิ่มอัตรา เพิ่มปริมาณ เพิ่มดีกรี ต่อไปไอ้นี่เจอแค่นี้ไม่พอ 1) ไม่พอ 2) เบื่อหน่าย ก็หาสิ่งใหม่ ก็วิ่งไล่ตามความสุขก็ทุกข์ง่าย ทุกข์ง่ายขึ้นยิ่งเกิดไปนานยิ่งทุกข์ง่ายขึ้นสุขยากขึ้น ไอ้วิถีนี้เป็นวิถีที่ผิด ทีนี้ถ้าเราคอยระวังให้การรับรู้เนี่ยไม่ติดอยู่แค่ความรู้สึก มันไปสู่ปัญญามีสติเป็นตัวคอยช่วย มันเป็นประตูหลายประตูอยู่นี่ ทีนี้พอเด็กรู้เข้าใจอะไรแล้วมันเริ่มมีนิสัยว่าเออไอ้นี่รู้มันเคย เช่นว่าตั้งคำถาม ไอ้นี่มันคืออะไร มันเป็นอะไร มันมาอย่างไร มันเกี่ยวข้องกับอันโน้นอันนี้อย่างไร ทำไมมันจึงเป็นอย่างโน้นอย่างนี้นะ ตัวรู้เนี่ยมันมีช่องทางไปของมันเยอะ คือโลกนี้มันเป็นระบบความสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ความเป็นเหตุปัจจัยเป็นต้น พอเริ่มรู้ไม่ช้าเด็กจะเริ่มพัฒนาความอยากรู้ พอตัวความอยากรู้เกิดคราวนี้ละก็เริ่มสำเร็จ ทีนี้ที่ว่ามันเริ่มในบ้านเพราะอะไร เพราะว่ามันเกิดแต่เรายังไม่มีด้านเจ้าอยากบำเรอเนี่ยมันมาแรง ใช่ไหม พอเด็กพัฒนาความใฝ่รู้ที่จริงพอเด็กเกิดมาเขามีอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเนี่ยก็เพื่อให้เขาอยู่ในโลกนี้อย่างดี ไม่งั้นเขาอยู่ไม่ได้ เป็นแต่เพียงว่าเราเนี่ยไม่ไปช่วยในทางที่ถูกต้อง ทีนี้พอเราใช้ในทางที่ถูกต้องนี่ เขาก็พัฒนาเจ้าความอยากรู้ ความอยากรู้มันก็มาเป็นการสนองความต้องการเพราะอยากรู้ เพราะเขาต้องการรู้ คนเราเมื่อได้สนองความต้องการก็มีความสุข
ต่อไปเมื่อเด็กมีความอยากรู้ เขาก็หาทางสนองความต้องการที่อยากรู้นั้น พอไปดูไปอะไร ไปค้นคว้าหาความรู้ได้เขาก็มีความสุข เขามีความสุขในการได้สนองความต้องการรู้ มีความสุขในการกระทำเพื่อการรู้ ต่อไปการหาความรู้ก็เป็นความสุข ตอนนี้มันจะมากันมาช่วยทำให้ได้ดุลถ่วงกับฝ่ายสนองความรู้สึก ทีนี้มีสนองความต้องการรู้กับสนองความต้องการฝ่ายรู้สึก ใช่ไหม ไอ้[14:42]สนองความต้องการที่จะรู้สึกก็คือตัณหา สนองความต้องการรู้ก็คือปัญญา ตอนนี้การหาปัญญามันกลายเป็นความสุขไปด้วยแหล่ะ ทีนี้เด็กก็จะพัฒนาด้านนี้ เมื่อไม่อยู่กับด้านความรู้สึกเด็กก็ไม่เป็นทาสของตัณหาแล้วก็ไม่เป็นทาสของความชอบใจ-ไม่ชอบใจ แต่ว่ามันอยู่ที่ความรู้ แล้วไอ้ตัวที่จะให้เขาสุขและไม่สุข มันอยู่ที่รู้ อันนี้สิ่งที่ชอบใจก็ตามไม่ชอบใจก็ตามนี่มันให้ความรู้ได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นความสุขของเด็กไม่ขึ้นต่อสิ่งที่ชอบใจ-ไม่ชอบใจ เพราะอะไร เพราะว่าสิ่งชอบใจก็ได้เรียนรู้ สิ่งไม่ชอบใจก็ได้เรียนรู้ และไอ้สิ่งที่ไม่ชอบนั่นแหล่ะ บางทีมันให้ความรู้มากกว่า ไอ้สิ่งที่ไม่ชอบให้ความรู้มากกว่า มันกลายเป็นว่าไอ้สิ่งที่ไม่ชอบใจนะให้ความสุขได้มาก มันเป็นอยู่ข้างในเลย นี่ก็คือเด็กเริ่มก้าวหน้ามีความหลุดพ้นขั้นหนึ่งแล้ว คือสามารถพ้นทุกข์มีความสุขจากสิ่งที่ชอบใจ-ไม่ชอบใจ มามีความสุขกับการเรียนรู้ แม้แต่สิ่งที่ไม่ชอบใจก็มีความสุขได้ เพราะความสุขของเขาอยู่ที่การหาความรู้ ตอนนี้เด็กก็ไม่ค่อยเป็นปัญหา ใช่ไหม เพราะว่าปัญหาของคนปัจจุบันก็คือเจอสิ่งที่ชอบใจ-ไม่ชอบใจ พอเจอสิ่งไม่ชอบใจก็หงอยเป็นทุกข์ จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว เร่าร้อนกระวนกระวายทุกข์มา แต่ทีนี้เด็กที่หาความรู้มันไม่เป็นอะไรนี่ เจอสิ่งไม่ชอบใจ เธอก็ได้เรียนรู้หาความรู้มันพัฒนาต่อไป มันเข้าหลักการฝึกตน ว่าชีวิตคนนี่มันจะดีมันจะพัฒนามันต้องฝึกตัวเอง คนเราที่เจริญต้องมีการฝึกหัด เราก็ต้องหาแบบฝึกหัดมาทำ ทีนี้การพัฒนาแบบนี้มันทำให้เจอแบบฝึกหัดแล้วชอบ ใช่ไหม เพราะมันได้เรียนรู้ ต่อไปเจอปัญหาก็เออก็คือการที่จะได้รู้ได้คิดค้น ทำอย่างไร ๆ มันกลายเป็นว่าเด็กก็ไม่ค่อยกลัวปัญหา แล้วก็ต่อไปความรู้มันสัมพันธ์กับการกระทำ เมื่อรู้ว่าอันนี้เป็นอย่างนี้อันนั้นเป็นอย่างนั้น มันแยกความแตกต่างว่าอันนี้ของชนิดเดียวกัน ถ้าอย่างนี้ละก็ดีสมบูรณ์ถ้าอย่างนี้ยังบกพร่องก็อยากเห็นความสมบูรณ์ดีงาม พอเห็นสิ่งที่บกพร่องก็อยากทำให้มันดีให้สมบูรณ์ เห็นต้นไม้ต้นนี้เหี่ยวเฉาต้นไม้ต้นนั้นงดงาม สวย สะพรั่ง มีดอก(เขียว) ก็อยากให้ต้นนี้งามอย่างต้นโน้น ทำไง ก็คิดว่าต้องทำให้มันสวยงามให้มันดีให้มันสมบูรณ์ พอแกอยากจะทำให้มันดีงามสมบูรณ์อย่างนั้นแกก็ทำ แกไปรดน้ำไปทำอะไรก็แล้วแต่ ไอ้ตอนนี้มันไม่รู้สึกแล้ว มันไปอยู่ที่อยากให้มันเป็นอย่างนั้น พอไปทำการกระทำทุกอย่างเป็นความสุข ตอนที่แกไปทำการต่าง ๆ เพื่อที่จะให้เกิดผลอย่างที่แกว่ามันดี มันสมบูรณ์นั่นแหล่ะ ไอ้ตอนนี้คือฉันทะเกิด [18:08]ฉันทะคือ การอยากทำ ทำให้มันดี ซึ่งเป็นตัวตรงข้ามกับตัณหา ตัณหานี้อยากได้รับมาเสพบำรุงบำเรอ แต่ฉันทะคือต้องการทำให้สิ่งนั้นมันดีของมัน ใช่ไหม เราไปเห็นอะไรก็ตาม เราเห็นแล้วเราชื่นชมความดีความงามของมัน อยากให้มันดีงามอย่างนั้น อยากให้มันสมบูรณ์ อยากให้มันเรียบร้อย อันนี้เขาเรียกว่าฉันทะ ถ้าเป็นตัณหา คืออยากเอาเพื่อตน อยากได้เสพ อยากดูรูปสวยงาม เสียงเพราะอะไรก็ตาม คืออยากเพื่อตน แต่ถ้าฉันทะนี่คือความชื่นชมยินดีต่อสิ่งนั้นตามที่มันเป็นหรือเพื่อมัน ใช่ไหม ฉะนั้นอาตมาจึงได้เปรียบเทียบบ่อย ๆ ว่าอย่างไปเห็นกระรอก ถ้าเราเห็นแล้ว โอ กระรอกตัวนี้เอามาลงหม้อแกงคงอร่อยแฮะ ถ้ามองอย่างนี้ท่านเรียกว่าตัณหา แต่ถ้ามองเห็นกระรอกแล้ว โอ ดูมันน่ารัก มันเคลื่อนไหวดี อยู่ในบรรยากาศที่งดงาม อยู่ในป่าในสวน แล้วก็ทำให้ใจสบายรื่นรมย์ อยากให้มันอยู่อย่างนี้ ให้มันคล่องแคล่ว ให้รูปร่างสมบูรณ์แข็งแรงอะไรเนี่ย อันนี้ท่านเรียกว่ามีฉันทะ พอมีฉันทะแล้วก็จะเกิดเมตตา เห็นกระรอกแล้วน่ารัก อยากให้มันสวยงามอย่างนั้นต่อไป ทีนี้มันก็เลยมีคุณธรรม คือเมตตามาคู่เป็นตรงข้าม เหมือนอย่างคน พอเราไปเห็นคนก็อยากให้เขาหน้าตาสมบูรณ์ อยากให้แข็งแรง อยากให้รูปร่างดี ๆ ไม่มีโรคมีภัยอันนี้ก็เป็นเมตตา ก็เป็นฉันทะนั่นเอง ฉันทะที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อสัตว์ทั้งหลาย อยากให้ดีงาม อยากให้สมบูรณ์ เรียกว่าเมตตา ก็คือฉันทะในรูปหนึ่ง อันนี้เนี่ยมันไปด้วยกันหมด จากการพัฒนาที่ถูกต้อง
ทีนี้ตอนนี้ เจริญพร การทำเนี่ยมันกลายเป็นความสุขแล้วนะ พอเราไปทำแม้จะยากไม่นึกแล้วนะ มันนึกแต่ว่าอยากจะทำให้มันสำเร็จผล ให้มันดีให้มันสมบูรณ์ พอไปทำเข้ามันมีความสุข การกระทำก็กลายเป็นความสุข นี่แหล่ะพัฒนาถูกแล้ว แต่ถ้าพัฒนาไม่ถูกมันอยู่กับตัณหา มีแต่ความรู้สึกนะทำเมื่อไรทุกข์ทันทีเลย เพราะมันต้องการได้รับเสพ บำรุงบำเรออย่างเดียว ฉะนั้นเด็กทุกวันนี้เข้าสู่กระแสตัณหาสนองความรู้สึกอย่างเดียว เพราะฉะนั้นมันก็มีแต่ชอบใจ- ไม่ชอบใจ ไอ้เรื่องที่ชอบใจมันจะเป็นไปตามที่ปรารถนาของมนุษย์ทั้งหมดเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นเด็กพวกนี้จะต้องเจอทุกข์ก่อน แล้วต่อไปมันก็จะเบื่อสิ่งที่มันเคยให้สุขแล้วมันไม่พอ มันก็เบื่อมันก็ทุกข์ที่ต้องทนอยู่กับสิ่งที่เบื่อแล้ว มันก็ต้องหาสิ่งที่บำเรอใหม่ ๆ แล้วก็ต้องเพิ่มดีกรีเพิ่มปริมาณมันยากที่จะได้ เพราะฉะนั้นมันก็ทุกข์ง่ายสุขได้ยาก ฉะนั้นอยู่ในวิถีนี้ลำบาก ไอ้ทางที่จะเพิ่มทุกข์มันมากขึ้น ทีนี้ถ้าพัฒนาถูกทางมันพัฒนาฉันทะแล้วมันจะไปสู่เมตตา ไปสู่คุณธรรมอื่น ๆ เนี่ย มันมีความสุขได้ง่าย ช่องทางความสุขมันเยอะ แล้วเกิดมานาน ๆ เข้า สุขง่ายขึ้นทุกข์ได้ยากขึ้น ทีนี้เราก็มาพิสูจน์ไอ้เรื่องการพัฒนามนุษย์ได้อย่างหนึ่งในแง่ของความสุขความทุกข์ก็คือว่า ถ้าให้ดีนะเกิดมานาน ๆ ยิ่งอยู่นานไปยิ่งสุขได้ง่ายทุกข์ได้ยาก แต่ถ้าคนไหนเกิดมานาน ๆ เข้า ทุกข์ง่ายขึ้นสุขได้ยากขึ้น แสดงว่าแย่แล้วนะ
ทีนี้เราก็มาดูมนุษย์ยุคปัจจุบันนี้เป็นไง เด็กสมัยนี้แย่แน่ อาตมาคิดว่าอย่างนั้น โยมว่าไหม ยิ่งอยู่ไปนี่ทุกข์ง่ายขึ้นทุกทีสุขได้ยาก ฉะนั้นเด็กสมัยนี้แกก็อยู่มาไม่นานแกชักอยากฆ่าตัวตายแล้ว ทีนี้ถ้าพัฒนาเป็นนะ มันไม่ค่อยทุกข์ง่าย ๆ หรอกอยู่ไปมันทุกข์ได้ยากขึ้น ฉะนั้นไอ้อยากฆ่าตัวตายอะไรต่ออะไรเป็นไปได้ยาก ทีนี้พอเราเริ่มพัฒนาถูกทาง มันก็จะพัฒนาความสุขได้หลายช่องทางขึ้น [22:48]ความสุขจากการเสพอาศัยสิ่งภายนอก ท่านเรียกว่าสามิสสุข สุขที่อาศัยอามิส สุขที่อาศัยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะบำรุงบำเรอ อันนี้เป็นสุขขั้นที่ 1 ที่คนทั่วไปโดยเฉพาะยุคนี้เอาที่นี่ แต่สุขแบบนี้ที่ท่านเรียกสามิสสุข คือสุขที่ขึ้นต่อวัตถุภายนอก เป็นสุขที่ต้องอาศัยมันต้องขึ้นต่อมันขาดมันแล้วไม่มีสุข ถ้าสุขแบบนี้ลำบาก
1) ตัวเองก็ไม่เป็นอิสระ ใช่ไหม ถ้าไม่มีขาดมันตัวเองก็ไม่มีสุข ก็มีแต่ทุกข์
2) อาศัยสิ่งภายนอก สิ่งเหล่านั้นต่างคนต่างก็ปรารถนา คนอื่นก็อยากได้ก็แย่งกัน พอแย่งกันก็เกิดปัญหา เกิดทุกข์ในทางสังคม แล้วก็ต่อไปแต่ละคนที่อยากได้ ก็ทำให้มองกันด้วยความหวาดระแวงก็เสียไมตรี ก็มาลิดรอนบั่นทอนคุณธรรมด้านความเมตตาทำให้เกิดขึ้นได้ยาก ฉะนั้นท่านจึงไม่ให้อยู่กับสุขระดับนี้ พอสุขมาด้าน[23:55]ฉันทะมีความใฝ่รู้ใฝ่ทำอยากทำขึ้นแล้วเนี่ย มันมีทางที่จะมาส่งเสริมการร่วมมือสร้างสรรค์ มาร่วมมือกันทำ ทำให้สำเร็จอย่างนั้น เป็นความสุขร่วมกัน แล้วก็สุขนั้นมันมาเอง เพราะมีฉันทะที่อยากให้สิ่งทั้งหลายสมบูรณ์งดงาม ตัวเองไปเห็นอะไรพบอะไร ก็อยากให้มันดีงามมันสวยงาม ชื่นชมในความดีงามอย่างนั้น เห็นเพื่อนมนุษย์ก็อยากให้เขาร่างกายสดใสแข็งแรง มีสุขภาพดี เห็นเขามีสุขภาพดีก็ปลื้มใจเหมือนกับพ่อแม่เห็นลูกมีร่างกายงดงามสดสวย ใช่ไหม อันนี้ท่านเรียกว่า[24:30]เมตตา พอมีเมตตาขึ้นมามันก็มีความสุขจากการมีเมตตามีไมตรี ได้ทำให้เขาได้ช่วยให้เขามีความสุข การทำให้คนอื่นก็กลายเป็นความสุข ใช่ไหม เพราะอยากให้เขามีความสุข อยากให้เขามีร่างกายสดสวยงดงาม [24:48-26:49]เหมือนอย่างคุณหมออยากให้คนไข้มีร่างกายสมบูรณ์งดงาม พอไปช่วยรักษาไปบำบัดแก้ไขโรคตัวเองก็มีความสุข อยากทำทำไปก็มีความสุขเห็นคนไข้หายโรค ร่างกายแข็งแรงขึ้นก็ยิ่งปลื้มใจใหญ่เลยก็มีความสุข ฉะนั้นมันก็กลายเป็นมีความสุขที่เอื้อต่อกัน เราสุขเขาก็สุข เราทำให้เขาสุขเราก็สุขด้วย เป็นความสุขที่อาศัยซึ่งกันและกัน ไม่เป็นความสุขแบบแย่งชิงแล้ว ทีนี้ก็เป็นความสุขเริ่มขึ้นจากอามิส ตอนนี้ชักขึ้นกับอามิสน้อยลง ก็มาสู่ความสุขจากการรู้ ความสุขจากการกระทำ การสร้างสรรค์ แล้วก็ความสุขจากไมตรีจิตมิตรภาพ ความสุขจากการอยู่ร่วมกัน ความสุขจากการทำให้แก่กัน ความสุขแทนที่จะเกิดจากการเอาได้ ก็มีความสุขจากการให้ ทีนี้มันก็พัฒนาไปใหญ่ ต่อไปก็ตอนนี้มันเข้ามาอยู่ในจิตใจมากขึ้นแล้ว ต่อไปมันก็เป็นทางให้เราพัฒนาความสุขด้านจิตใจง่ายขึ้น ต่อไปก็ความสุขที่เกิดจากความสามารถในการ เรียกว่าปรุงแต่งจิตใจของตัวเอง ทำจิตใจของตัวเองให้ดีงามได้ อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะก็เริ่มมองในแง่ดีได้มากขึ้น จิตใจก็สบายมีความสุข นึกถึงอะไรต่ออะไรก็คิดในแง่ที่ทำดีสร้างสรรค์อะไรต่าง ๆ จิตใจก็เป็นสุขได้ง่าย แล้วก็พัฒนาต่อไป ตอนนี้ก็เป็นความสุขทางจิตใจมากขึ้นแล้ว เรียกว่าเป็นความสุขแบบปรุงแต่ง ถ้าใช้เป็นภาษาพระก็เป็นสมถะ แล้วต่อจากนั้นก็เป็นความสุขเหนือปรุงแต่ง ก็คือไม่ต้องปรุงแต่งก็คือเป็นสุขเหนือความโลภ ความโกรธ ความเป็นอิสระอะไรพวกนี้ แล้วพวกนี้ก็มีความสุขกับธรรมชาติแวดล้อมได้ง่ายเพราะมีฉันทะ ใช่ไหม พอมีฉันทะอย่างที่บอกแล้วว่า มันไม่เหมือนตัณหา ตัณหาก็คือว่าเห็นแล้วก็นึกจะเอาจะได้ แต่ว่าถ้าเป็นฉันทะก็คือว่า เห็นต้นไม้เห็นใบไม้เขียวก็ชื่นชมยินดีในความงามของมัน แล้วก็พอใจอยากให้มันเขียวอยากให้มันสมบูรณ์ อยากให้มันเติบโตดีอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ไปอยู่กับในธรรมชาติก็ได้ความสุขด้วย ฉะนั้นพวกนี้ก็ได้ความสุขหลายด้าน ความสุขจากอามิสก็เป็นเพียงตัวประกอบมาเสริม ได้รับประทานอาหารอร่อยบ้าง ได้สิ่งความสัมพันธ์อ่อนนุ่ม ที่นอนอะไรก็แล้วแต่นะ ได้ยินเสียงไพเราะก็มาประกอบ แล้วก็อย่าไปขึ้นต่อมันให้เป็นเพียงส่วนเสริม ทีนี้ตอนนี้เด็กสมัยปัจจุบันนี้มีความสุขแทบจะเหลืออันเดียวนี้ และเป็นความสุขที่สูญเสียอิสรภาพไปขึ้นต่อมัน หมดเลย ฉะนั้นเขาก็ไม่สามารถพัฒนา ช่องทางของเขาในโลกก็แคบหมด แล้วพอจะเห็นช่องทางไหมหล่ะ เจริญพร ถ้าจะแก้น่ะ
โยมผู้หญิง สงสัยคงจะต้องเริ่มจากเด็กนะค่ะ
สมเด็จฯ ก็เริ่มตั้งแต่มีชีวิตเพราะคนเราพอเริ่มมีชีวิตก็ใช้หู ตา จมูก ลิ้นทันที [28:08]การศึกษาเริ่มที่ไหนก็เริ่มที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ใช่ไหม เพราะว่าเรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจขึ้นมาทำไม ก็เพื่อเราจะได้อยู่ในโลกได้ จะได้รับรู้ ดู ฟังแล้วก็ติดต่อกับโลกภายนอก การติดต่อกับโลกเราก็อาศัยตา หู จมูก ลิ้น พอเราใช้ตา หู จมูก ลิ้นติดต่อกับโลกภายนอกชีวิตก็เริ่มก็ดำเนินไปการศึกษาก็มาทันที อันนี้ก็เลยต้องเริ่มจากบ้าน ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงบอกว่า “ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร” พ่อแม่นี้ท่านเรียกว่าเป็นบูรพาจารย์ ครูต้น ตอนนี้ครูต้นไม่ค่อยได้ทำหน้าที่ ใช่ไหมโยม อันนี้ก็น่าเป็นห่วง
เสียงโยมผู้หญิง กรณีคุณหมอ (???) เจอปัญหาเด็กวัยรุ่นเข้ามาแล้ว จะแก้อย่างไรพอมีหวังจะแก้ได้ใช่ไหมฮะ
สมเด็จฯ มันต้องสู้ คือเราจะไปถอยนั้นไม่ได้ แต่ว่าต้องรู้ความยาก อ้าวทีนี้ว่าอย่างไรกับเรื่องวัยรุ่น วัยรุ่นตอนนี้มันก็เป็นเรื่องของกระแส เรื่องของค่านิยม แล้วก็เรื่องพื้นฐานที่อบรมกันมา ตอนนี้จะเรียกว่าเขาได้สะสมในด้านของไอ้เรื่องการ(เสพคุด) ก็คือความชินกับการหาความสุขด้วยการเสพ ด้วยการบำรุงบำเรอนี้มานาน ด้านหนึ่งมันอาจจะมีหลายวิธี แต่วิธีหนึ่งก็คือ[29:41]ต้องให้สติ ต้องให้รู้ว่า คือท่านบอกว่าต้องให้รู้คุณรู้โทษ รู้ข้อดีข้อเสียแล้วจึงจะสู่ทางออก เจริญพร อย่างที่ว่าแล้วเนี่ย กระแสสังคมแล้วก็พื้นฐานซึ่งครอบครัวเวลานี้ก็อย่างที่บอกเมื่อกี้นี้แหล่ะ มักจะไม่ให้การศึกษาที่ถูกทางมา แล้วก็อาจจะทำให้นำไปสู่ทางที่ไม่ค่อยถูกด้วยซ้ำแล้วเราจะทำอย่างไร พระพุทธเจ้าก็ให้ไว้หลายวิธีคือเราต้องรู้ว่าคนนั้นแตกต่างกัน ใช่ไหม ทีนี้[30:22-31:09]พระพุทธเจ้าจะสอนคนนี่ก็ขึ้นต่อปัจจัย 2 ฝ่ายอย่างน้อยนะ คือปัจจัยภายนอก กับ 2 นะปัจจัยภายใน ปัจจัยภายในก็ตัวเด็กเอง เราต้องรู้เข้าใจเด็กว่าเขา เช่นอย่างพระพุทธเจ้ายกแนวให้ว่า ดูความแตกต่างแนวตั้ง แนวตั้งก็คืออินทรีย์ เช่น ปัญญามาก-น้อย อ่อน-แก่ ความแตกต่างแนวตั้งแต่ละคนไม่เหมือนกัน และสอง ความแตกต่างแนวนอนแม้แต่คนที่มีปัญญาเสมอกัน เรียนรู้เท่ากันก็แตกต่างกัน เช่น อัธยาศัย ความสนใจ ความโน้มเอียงไม่เหมือนกัน ต้องรู้ทั้ง 2 อย่าง พระพุทธเจ้าจะไปตรัสสอนใครพระองค์ก็ต้องดูเขา เช่นว่าคุยเขาหน่อยถามเขานิด เพราะความไวของพระองค์นี่ ถามเขานิดเดียวสังเกตเขาหน่อย เดี๋ยวก็รู้แล้วคนนี้นี่โดยอินทรีย์ระดับแค่ไหน เรียกว่า (อภิมุต)แนวโน้มไปทางไหน ใช่ไหม พอจับจุดได้ก็เอาแล้วเริ่มได้ ทีนี้ก็ขึ้นต่อปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกก็
1) สภาพแวดล้อม สังคม เหตุการณ์ แล้วก็รวมทั้งตัวผู้สอนเองเป็นกัลยาณมิตร มีความสามารถแค่ไหน ต้องรู้ตัวเองผู้สอน ผู้สอนมีความสามารถมากและถ้าผู้เรียนก็มีอินทรีย์แก่กล้า ก็จับจุดแนวโน้มความสนใจเขาถูก พูดปับเดียวเขากระโดดปุบขึ้นเลยสำเร็จเลย ฉะนั้นมีหลายกรณีที่พระพุทธเจ้าพบกับเขา สอนปับเดียวตรัสรู้เลยแบบนี้ ทีนี้คนทั่วไปเนี่ยต้องรู้ตัวเองว่า เรามีความสามารถอะไร แค่ไหน ถนัดทางไหน ทางการพูดหรือโดยใช้วิธีการอย่างอื่น แล้วก็ปรับวิธีการให้เหมาะกัน นี่ก็เลยต้องดูทั้งปัจจัยฝ่ายตัวเองแล้วก็ปัจจัยในตัวเขาด้วย และปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ อันนี้ก็เป็นเรื่องของวิธีการ ในเรื่องของรายละเอียดก็เป็นเรื่องของการใช้[32:48]วิธีฝึกโยนิโสมนสิการ จะให้เขาเดินความคิดให้ถูกก็ให้เขารู้จักมองและใช้คำถาม ไอ้เรื่องของการให้เดินความคิดถูกเนี่ย เช่นตัวอย่างง่าย ๆ ให้รู้คุณรู้โทษ แล้วก็ทางออก แต่ว่าในสิ่งที่เขาเกี่ยวข้องอยู่หรือแม้แต่ชอบอยู่เนี่ย บางทีเขาไม่เคยคิดเขามองด้านเดียว ด้านที่ชอบ ด้านโทษ ด้านข้อบกพร่อง ด้านข้อเสีย ทางเสียในอนาคต ในปัจจุบันเขาไม่เคยมอง เราอาจจะหาตัวอย่างหรืออะไรมาทำให้เขาเกิดสติที่จะมอง แล้วเขาก็จะเห็นว่า อ๋อ มันมีทางเสีย มีจุดอ่อนหรือมีข้อบกพร่องได้ อย่างนี้ ๆ อย่างน้อยเขาเริ่มมีสติ พอเริ่มให้เขารู้จักคิด รู้จักมองอะไรได้ดีขึ้นต่อไปมีโอกาสพัฒนา แล้วส่วนวิธีการจะใช้โยนิโสมนสิการอย่างไร มองแง่ไหนบ้างนิ มันเข้ามาต่อไป เช่น วิธีการแยกแยะ วิเคราะห์ วิธีการศึกษาเหตุปัจจัยอะไรอย่างนี้นะ [34:05]วิธีการมองความจริงของสิ่งทั้งหลายตามหลักไตรลักษณ์อะไรนี้นะก็ว่ากันไปอันนั้นเป็นขั้นตอนที่ก้าวหน้าแล้ว คราวนี้ให้เริ่มได้ก่อนให้เขารู้จักมีช่องทางที่จะคิด เพราะบางคนไม่เคยคิดอะไรเลยอยู่ไปอย่างนั้นเอง ท่านเรียกว่าอยู่กับความชอบใจ-ไม่ชอบใจ ภาษาบาลีเดิมท่านเรียกว่า มีแต่ความยินดียินร้าย หรือยินดี-ยินร้าย ชอบชัง-ชอบชัง เอา-ไม่เอาเท่านั้น ใช่ไหม ฉะนั้นไอ้เนี่ยคือปัญหา ให้เขาเริ่มเข้ามาสู่วิถีแห่งปัญญาบ้าง อย่าอยู่กับวิถีแห่งตัณหาอย่างเดียว เด็กสมัยนี้ก็เข้าสู่กระแสแห่งตัณหาเลย พูดได้เต็มที่ ฉะนั้นก็ต้องดึงเข้าสู่กระแสแห่งปัญญาบ้าง เดี๋ยวต้องให้คุณหมอพูดบ้าง คุณหมอจะมีแง่อย่างไรทีนี้
เสียงคุณหมอผู้ชาย (???) คือคุณหมอจิตแพทย์วัยรุ่น ก็มีปัญหาเด็กวัยรุ่น
เสียงคุณหมอผู้หญิง (???)ก็รู้สึกยากค่ะ เพราะว่าเด็กไม่ค่อยสนใจ ถึงแม้ว่าจะชี้คุณโทษ อย่างเช่น การดื่มสุรานี่ ก็ไม่ถึงกับ (???) ก็ยังรู้สึกไม่ (???)
สมเด็จฯ โอ๊ะ ไม่ได้สิ ต้องเอาสิ่งที่เขาสนใจอยู่ สิ่งที่เขาเกี่ยวข้อง คล้าย ๆ ว่ามันลงลึกแล้ว มันชินเกี่ยวกับเรื่องของการเสพ เรื่องของการเข้าสู่กระแสการสนองตัณหา แล้วมันไม่เห็นช่องทางอื่น เรียกว่าวิถีทางวิถีแห่งปัญญามันไม่เคย แล้วเขาไม่รู้ว่าวิถีนั้นเป็นวิถีที่มีความสุขได้ มีความดีอย่างไร ไม่มีสิ่งที่จะมาเปรียบเทียบ นี่ถ้าเขามีอยู่บ้างเนี่ย ไอ้จุดนั้นมันก็จะมีทุนที่จะไปเสริมเนี่ยเขาไม่มีต้นทุนเลย มีทางเดียวต้องมาเพิ่มด้านนี้ แต่เราต้องพยายาม เจริญพร ทำไมสมัยโบราณเขาเน้นเรื่องการอ่านประวัติบุคคลสำคัญด้วย ใช่ไหม เพราะว่าเด็ก ๆ เขายังไม่ได้มีประสบการณ์อะไรต่าง ๆ เพียงพอเขาก็อยากจะเลียนแบบ ทีนี้เด็กอยากเลียนแบบ ใช่ไหม ไปทางดาราไปทางทีวีอะไรต่าง ๆ ทีนี้การเลียนแบบสมัยนี้พอดีมันเข้าสู่ยุคธุรกิจเรื่องผลประโยชน์ มันก็เลยไม่มีแบบที่เราตั้งขึ้นมาด้วยเจตนาดีที่เลือกสรรให้ได้ มาเป็นอุดมคติหรืออะไรนั้น มันก็เป็นเพียงตัวแบบในทางสนองตัณหาสะมาก ฉะนั้นเด็กก็ได้ตัวอย่างที่ไม่ดีเลียนแบบ มันกลับทางไปในทางที่เป็นปัญหา อันนี้แต่ก่อนก็จะให้อ่านประวัติบุคคลสำคัญที่เขาได้เผชิญชีวิตมา ซึ่งบางคนก็อาจจะยากเย็นแสนเข็ญ ใช่ไหม เขายากจนแล้วเขามาประสบความสำเร็จ เขาแก้ปัญหาของเขาอย่างไร เขาอดทนทำย่างไร ขยันหมั่นเพียรอย่างไร เด็กก็มีความปรารถนาความใฝ่ฝันอยากจะทำให้ได้อย่างนั้น ใช่ไหม ฉะนั้นมันก็ปลูกฝังแนวทางในทางที่จะทำสิ่งที่ดีงามหรือสร้างสรรค์ชีวิตขึ้นมาได้ ตอนนี้มันแทบจะไม่มีมันก็เลยอยู่กับความผิวเผินหมด ผิวเผิน ฉาบฉวยในเรื่องของความรู้สึก เรื่องของการสนองผัสสะเนี่ยเลยยาก แต่ก็จำเป็นนะอันนี้ก็คือการที่เรากำลังมาทวนกระแสอย่างเต็มที่เลยกระแสกำลังแรงมาก แล้วก็เลยอยากให้สติว่าอย่าต้านกระแสต้องใช้วิธีทวนกระแส ทวนกระแสกับต้านกระแสไม่เหมือนกัน ถ้าต้านกระแสก็คือมันมาอย่างนี้เราสู้แล้วก็จะดันมันไว้ เราแรงไม่พอเราก็ตาย ใช่ไหม หรือไม่งั้นก็คือหักพังกันไปเลยแล้วก็ไม่ค่อยได้ผล ทวนกระแสก็หมายความว่าในกระแสที่มาแรงนี้ เราก็ทวนของเราไป เหมือนปลาที่ว่ายทวนน้ำ เรามีเป้าหมายของเราเอง เราก็ไปในกระแสที่มาแรงอย่างนี้ แต่เราต้องมีความสามารถ มีความเข้มแข็ง ถ้าเรารู้เรามีปัญญา มีความเข้าใจมีความสามารถของเรา ก็ต้องทวนกระแสใครทำได้สำเร็จในยุคนี้ก็ต้องเก่งมาก ๆ ก็ยอมรับความจริงนะ ทีนี้เราก็ต้องไม่ท้อนั่นเองอย่างน้อยก็ต้องรู้หลักคือตัวความจริงก่อน คือ[39:00-40:07]ก่อนที่เราจะไปปฏิบัติการภาคปฏิบัติต้องมาจากฐานรู้ความจริง ความจริงของชีวิต ความจริงของธรรมชาติ ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยอะไรต่าง ๆ มันเป็นอย่างไร เมื่อรู้อย่างนี้แล้วการปฏิบัติก็จะมาสอดคล้องกัน มันต้องดำเนินตามความเป็นจริงนี้ ถ้าไม่ดำเนินการตามความจริงนี้ มันก็ติดขัดมันก็ไม่สำเร็จ ตอนนี้ก็คือว่าเหมือนเราแบ่งเป็น 2 อย่าง ด้านหนึ่งคือการเรียนรู้เรื่องตัวความจริง ความจริงของชีวิตเป็นอย่างไร ความจริงของโลก ความเป็นไปตามกฎตามธรรมชาติ อะไรมันเป็นอย่างไร นี่คือตัวธรรมมะในแง่ที่ว่าความจริง สองเมื่อความจริงเป็นอย่างนี้แล้ว เราต้องการอย่างนี้ เราต้องการผลอย่างนี้ เราจะมาปฏิบัติตามความจริงนี้ คือเช่นตามเหตุปัจจัยเพื่อให้ได้ผลตามนี้ ตอนขั้นปฏิบัติการนี้คือขั้นที่ 2 นี้เราก็อาศัยความรู้ความสามารถเหมือนกัน พระพุทธเจ้าจึงแบ่งเป็นหลายแบบ พระพุทธเจ้าที่รู้ความจริง ค้นพบความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดา แล้วก็ทำให้ตัวเองได้รับประโยชน์ เป็นพุทธ ตรัสรู้ดับทุกข์ได้ แต่ไม่ช่วยสอนคนอื่นไม่ได้ ขาดความสามารถอันนี้ ท่านเรียกว่า ปัจเจกพุทธะ ทีนี้ท่านที่รู้ความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดา ธรรมชาติ รู้เข้าใจแล้วสามารถแนะนำสั่งสอน รู้เข้าใจ แล้วก็ปฏิบัติตามให้ได้ผลสำเร็จอย่างพระองค์ด้วย ก็เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ว่าอันต้นก็คือต้องรู้ เข้าใจหลักความจริง ถ้าไม่มีอันนี้เป็นฐานแล้วการปฏิบัติก็จะยาก ก็มักจะพลาดกันเองแหล่ะ ก็อยู่ที่ว่าเมื่อรู้ความจริงแล้วนี่เราจะเป็นผู้มีความสามารถในเชิงนำความจริงหรือหลักนั้นมาใช้มาประยุกต์ได้ไหม พระพุทธเจ้านี่ความสามารถขั้นที่ ๒ นี้สำคัญมาก คนเราทั่วไปก็เหมือนกันบางคนก็รู้เข้าใจความจริง แต่ว่านำมาใช้ไม่ค่อยได้ผล หรือไม่มีความสามารถหรือขาดปัญญาในด้านที่สอง ก็ต้องอาศัยปัญญา 2 ชั้น ปัญญาในการที่จะมาปฏิบัติการ เราก็เลยอาศัยวิธีการต่าง ๆ ที่ท่านผู้รู้ได้เคยปฏิบัติมีประสบการณ์แล้วเนี่ยมาเล่าให้ฟัง มาประมวลสรุปประสบการณ์ของท่านไว้เป็นวิธีปฏิบัติต่าง ๆ อย่างพระพุทธเจ้าพอตรัสสอนไป วิธีการของพระองค์ก็ออกมาด้วย เราก็ไปเรียนวิธีการปฏิบัติเหล่านั้น เอามาประยุกต์ใช้ ทีนี้ตัวความจริงในธรรมชาติของโลก มันก็เป็นของมันอย่างนี้ มันก็เป็นของมันตามเหตุปัจจัยเป็นต้น เคยเป็นเมื่อสองพันกว่าปีเป็นไงเดี๋ยวนี้มันก็อย่างนั้นอยู่ แต่ว่าสภาพ รูปร่าง อาการปรากฏของมันต่างไปหมดแล้ว ใช่ไหม แต่ตัวกฎเนี่ยมันก็อย่างเดิม สภาพภายนอกที่ปรากฎนี้มันเปลี่ยนไปเรื่อยเลย ทีนี้คนที่มารู้เข้าใจ ก็คือรู้เข้าใจกฎ รู้เข้าใจความเป็นจริงของมันที่เป็นพื้นฐาน ที่เป็นแก่น เป็นสาระ แล้วก็เมื่อรู้เข้าใจแล้ว ก็จะเอามาปฏิบัติต่อรูปปรากฎภายนอกที่มันเปลี่ยนแปลงไปได้ เพราะความฉลาดในเชิงปฏิบัติการก็ต้องได้ 2 ชั้น ใช่ไหม ทีนี้ถ้าเราแบ่งอย่างนี้ได้ละก็
[43:07-43:35]1) เราเข้าใจให้รู้หลักความจริง พอรู้หลักความจริงแล้ว เราจะมีความมั่นใจขึ้นไปอีกเยอะเลย เราเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์อะไรต่ออะไรเนี่ย เราเข้าใจเกี่ยวกับกฎธรรมชาติเป็นฐานไว้ให้มั่นเลย นี่ก็อยู่ที่ว่า
2) สองเราจะปฏิบัติอย่างไรต่อสถานการณ์คือนำเอาความรู้ ความจริงนั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาและทำการใหม่ให้สำเร็จ ทีนี้ตอนนี้ก็ฝึก 2 ชั้น เจริญพร
คำถามเสียงผู้หญิง (???)บุคคลที่มีอาการทางจิตนะค่ะ มีหูแว่ว มีความคิดหลงผิด (???)อยากที่จะปฏิบัตินะค่ะ ก็เลยขอคำแนะนำว่าควรจะให้เขาปฏิบัติอย่างไร ถึงจะสมควร(???)
สมเด็จฯ หลงผิดแบบไหนหล่ะ
คำถามเสียงผู้หญิง (???)มีหวาดระแวง มีหูแว่วอยู่ในสภาวะที่ไม่รับรู้
สมเด็จฯ อ๋อ อาจจะต้องใช้อะไรสักอย่างที่ให้เขามีความเชื่อ ฉะนั้นก็ต้องถามเขาด้วยว่าเขามีความเชื่อต่ออะไรหรือเปล่า ถ้าเขามีความเชื่อต่ออะไรไว้อย่างหนึ่งนะ แล้วเอาอันนั้นมาเป็นสื่อจะทำให้เขาพ้นจากปัญหา เช่นความระแวงได้ง่าย เพราะเขาเชื่อต่ออันนี้แล้ว อันนี้ว่าอย่างไรเขาก็ว่าไปตามนั้น ก็ทำให้เขาพ้นจากความคิดที่มันพาให้เขาวุ่นวายสับสน เพราะว่าความเชื่อนี้เป็นตัวที่มีความสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้คนมีกำลังและมุ่งแน่วไปในทิศทางนั้น ความเชื่อเป็นตัวที่ 1) ทำให้เกิดกำลัง 2) ทำให้มีเป้าหมาย เพราะว่าเชื่อก็คือมันมีจุดหมายแล้ว พอมันมีจุดไปมันมีกำลังมันเริ่มแล่นไปทางเดียว พอแล่นไปทางเดียวมีกำลังแล้ว มันก็พาให้พ้นจากทางอื่น ใช่ไหม ท่านก็อาศัยเอาอันนี้มาช่วย [45:09]ฉะนั้นคนทั่วไปเขาจึงเริ่มด้วยศรัทธา แม้แต่ศาสนาที่เน้นด้วยปัญญา ทำไมเวลาเริ่มเริ่มที่ศรัทธา เพราะว่าเขาจะได้มีจุดมีเป้ามีกำลัง ฉะนั้นแม้แต่ปัญญาก็จับจด อันนั้นก็จะรู้อันนี้ก็จะรู้ไม่เอาอะไรแน่สักอย่าง เสร็จแล้วปัญญาก็ไม่พัฒนา ทีนี้พอศรัทธามาช่วย ก็คือว่า เช่น โอ พอได้ฟังท่านผู้นี้ ท่านพูดได้มีเหตุผลนี่ เท่าที่เราจะพิจารณาเห็นได้นี่เป็นความจริงทั้งนั้นนี่ศรัทธาเริ่มขึ้น ต้องฟังท่านผู้นี้หรือสิ่งที่ท่านว่านี่ เราน่าจะต้องทำ เอาหล่ะอยากเรียนรู้ในเรื่องนี้ยิ่งขึ้นไป เกิดจุด เกิดเป้าหมายแล้ว เออเรื่องนี้ที่ท่านว่าไว้นี่มันใช่มันน่ารู้นี่ ถ้ารู้แล้วมันจะต้องเกิดประโยชน์แน่ ได้จุดแล้ว มีศรัทธาเกิดขึ้นมา จับจุดนั้นขึ้นมาจับจุดนั้นเป็นเป้า เราจะต้องรู้เรื่องนี้ให้ได้ [46:20-47:29]ศรัทธาเกิด ก็มีเป้าหมายด้วย แล้วก็มีกำลัง ใช่ไหม กำลังก็เกิดขึ้นว่าเราจะต้องเรียนรู้ให้สำเร็จ เกิดกำลังใจที่จะเรียน เพราะว่าเรียนแล้วจะได้ประโยชน์แน่นอน ได้ทั้งกำลัง ได้จุดหมายและทิศทางที่จะไป มันก็ตัดเรื่องวุ่นวายอื่นออก ก็เป็นตัวศรัทธาที่ทำให้เกิดพลังจิต เป็นตัวสัมพันธ์กับสมาธิ แล้วก็ทำให้เกิดความเพียร อินทรีย์ต่าง ๆ เริ่มมาแล้ว ทีนี้พอศรัทธาตัวนี้มาแล้วก็ค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องนี้ยิ่งขึ้นไป เพื่อจะได้รู้เข้าใจและจะได้ประโยชน์จากมันเต็มที่ ปัญญาก็พัฒนาไปเรื่อย ฉะนั้นศรัทธานี่เป็นตัวที่เป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนปัญญา ทางพุทธศาสนาก็เอาศรัทธามาเกื้อหนุนปัญญา ถ้าหากไม่มีศรัทธา ปัญญาไปเที่ยวรู้โน่นรู้นี่ก็ยุ่งอยู่นี่ไม่ไปไหมสักที จับจด ก็เลยเอาศรัทธามาคู่กับปัญญา
คำถามเสียงผู้หญิง แต่ศรัทธาที่จะนั่งปฏิบัติสมาธิก็ไม่เหมาะ เพราะว่าจะทำให้อาการทางจิตมากขึ้น แต่ถ้าเขาจะนั่งสมาธิ(???)จะทำไงคะ
สมเด็จฯ แต่ก็เป็นสมาธินี้ได้หลายแบบนี่ เราก็ไม่เอาสมาธิแบบที่ทำให้เขาวุ่นสิ เราก็เอาสมาธิแบบอะไร คือสมาธิมันมีเยอะ คือ[47:50]สมาธิก็คือเรื่องที่ว่า หลักการมันมีอยู่อย่างเดียวก็คือให้จิตอยู่กับอะไรสักอย่างที่มันไม่เสียหาย ใช่ไหม จิตอยู่กับสิ่งนั้นแล้ว เวลาจิตมันอยู่แล้ว มันก็จะมีอาการของจิตขึ้นมา ตอนนี้ที่ว่ามันอาจจะวุ่น ให้เขามีศรัทธาแล้วก็มีใจอยู่กับสิ่งนั้น แต่ทีนี้สิ่งที่เขาเอาใจไปอยู่ด้วยเนี่ยบางตัวมันเอื้อต่อการเกิดความคิดปรุงแต่งในทางไม่ดี มันก็เกิดนิมิตขึ้น เป็นธรรมดาว่า[48:21]เมื่อจิตไปอยู่กับอะไรเนี่ย แล้วมันก็มีภาพของสิ่งนั้นหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องขึ้นมา ภาพนั้นท่านเรียกว่านิมิต เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทีนี้เราก็ต้องการให้เกิดนิมิตที่ดี อย่างศิลปินนี่ บางท่านมานั่งสมาธิ โอ๋คราวนี้บอกว่า แหมได้เห็นในสมาธินี่ภาพสวยงาม ภาพที่ตัวเองเขียนนี้ว่าสวยงามแล้ว ไม่เท่าไม่มีทางเทียบเลย บอกไม่ถูก นี่อย่างนี้เพราะตัวเองแนวโน้มเป็นอยู่แล้ว จิตเป็นอย่างนั้น จิตมันก็เอาจากฐานที่ตัวมีเป็นทุนที่ตัวมีปรุงแต่ง ปรุงแต่งไปมันก็วิจิตรพิสดารใหญ่เลย รูปธรรมมันไม่สามารถทำให้ได้อย่างนั้นมันก็ได้แค่นามธรรม ทีนี้คนที่มีปัญหาอยู่ เขามีอะไรต่อมิอะไรอยู่ในจิตใจไว้เยอะ พอจิตมันเริ่มสงบมันอยู่กับอะไรอย่างเดียว ถ้ามันเกิดดึงเอาไอ้ตัวความคิดที่มันฝังอยู่ขึ้นมา มันเอาภาพร้ายขึ้นมาเลยปรุงแต่งกันใหญ่เลยทีนี้ น่ากลัวเลย บางทีเสียสติไปเลยได้เห็นภาพที่น่ากลัวมา ฉะนั้นโบราณจึงมักจะให้มีกัลยาณมิตรอยู่ด้วยในการนั่งสมาธิ เพราะว่ากันหลง กันออกนอกหลู่นอกทาง ไปเอานิมิตอะไรต่อมิอะไรที่ไม่ดีมาปรุงแต่ง เพราะคนเราสะสมมาแตกต่างกัน แล้วคนเรามักจะมีปัญหาหรือมีอะไรที่เป็นประสบการณ์ที่ไม่ดี แล้วพอจิตมันสงบ มันกลายเป็นตัวให้ช่องให้ตัวประสบการณ์นั้นโผล่ขึ้นมาเลย ที่ว่านี้จึงหมายความว่า สมาธิเป็นตัวเอื้อแล้ว [50:12]ท่านเรียกว่าทำให้จิตเหมาะแก่งาน เหมาะกับการใช้งาน พอมันสงบปับมันอยู่แล้ว แต่เราจะเอาอะไรให้มัน เนี่ยอันนี้เราต้องพยายามสนองเอาสิ่งที่ดีให้ ฉะนั้นในการทำกรรมฐานนั่งสมาธิ ท่านจึงให้เอาอารมณ์ สิ่งที่กำหนด สิ่งที่จิตยึดเหนี่ยวไอ้ที่มันดี ๆ มันงดงาม เช่นนึกถึง พระพุทธคุณ ธรรมคุณหรือว่าสังฆคุณ หรือแม้แต่กำหนดลมหายใจแล้วอย่าเขวนะ อย่าออกไปนอกเรื่องอื่น ไม่ให้ปรุงแต่ง พอเห็นนิมิตแล้ว ท่านจึงบอกให้รู้ทัน ไม่ให้หลงไปตามนิมิต เพราะถ้าเกิดเป็นนิมิตที่จิตมันสร้างขึ้นจากประสบการณ์เก่านี่มันมีปัญหา มันก็จะไปกันใหญ่ แล้วพอมีภาพอะไรขึ้นมาปับ หลักการทั่วไปคือให้รู้ทันนะคือนิมิต ให้บอกตัวเองว่านิมิตนะ นิมิตนะ พอรู้ทันปับว่าเป็นนิมิต มันก็เท่ากับมีสติกันนะ แล้วก็ไม่หลงไปตาม แล้วก็อาจจะชื่นชมถ้ามันเป็นนิมิตดีนะ อาจจะคุยกับมันสักครู่ สักพัก แล้วเราก็พอแล้ว ๆ แล้วเราก็กลับมาเข้าสู่สิ่งที่เรากำหนดเป็นอารมณ์ต่อไป เราก็ไม่เขวไม่เสีย ตราบใดที่ยังรู้ทันอยู่ไม่เป็นไร ทีนี้คนที่จะหลงก็คือไม่รู้ทันแล้ว เช่นหลงว่าอันนี้คือความจริงแท้ เอาแล้วไปเลยทีนี้วุ่นวายกันไปหมดเลย ทีนี้คนนี้คงต้องมีอะไรอยู่ในใจ มีประสบการณ์ฝังใจเก่าเป็นต้น ก็เวลานั่งสมาธิแกก็เอาอันนี้ขึ้นมาแล้ว แล้วก็อาจจะปรุงแต่งต่อไป ถ้าหากเขาจะนั่งสมาธิต่อไป ก็ต้องใช้อย่างที่ว่าหาสิ่งที่ดีงามมาให้ แล้วเขารู้วิธีปฏิบัติในขั้นต้นนี้ว่า ให้รู้ทันนิมิต แล้วก็ไม่หลงไปตาม แล้วให้รู้ว่าตัวเองใช้อะไรเป็นอารมณ์ แล้วอยู่กับอันนั้น ไม่ว่าจะเขวไปอะไรต้องกลับมาหาอันนี้ให้ได้ บอกว่าคุณอย่าหลงนะ อย่าให้อันนี้หลุดเลยนะ เช่น ถ้ากำหนดลมหายใจ คุณต้องกลับมาหาลมหายใจให้ได้ หรือจะกำหนดอะไรก็ตาม คนไทยสมัยก่อนนิยมกสิณ ใช้เพ่งเพราะเป็นรูปธรรม จิตมันเพ่งง่าย มันไม่หลุดง่าย ก็เอาวงสี สีเขียว สีแดง สีขาวอะไรนี่แล้วก็มาทำเป็นวงแล้วก็มอง แล้วก็ให้เป็นภาพเข้าไปติดในใจทั้งหลับตาเห็น แล้วจิตก็อยู่กับอันนี้ [53:02]สาระของสมาธิก็คือให้จิตอยู่กับอะไรสักอย่างหนึ่งที่มันไม่มีพิษมีภัยก็เป็นสิ่งดีงาม จิตใจเป็นบุญเป็นกุศลก็ดีไป แต่ว่าถ้าไม่ต้องปรุงแต่ง ขั้นต้นนี้ไม่ต้องการให้ปรุงแต่ง เพียงแต่ให้จิตมันอยู่กับสิ่งนั้น อยู่ได้นานตามที่ต้องการ เมื่อไม่ต้องการให้มันหลุดก็ไม่หลุด ทีนี้คนทั่วไปก็ทำไม่ได้ เพราะว่าจิตอยู่กับสิ่งนี้ได้แปบเดียวก็ไปที่อื่น ก็ทำอย่างไรให้จิตมีความสามารถอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ตามที่ต้องการ สมาธิสาระก็อยู่ตรงนี้ [53:47-54:55]ทีนี้พอจิตมันอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการแล้ว จะเอาจิตไปใช้อะไรตอนนี้ ก็เป็นขั้นที่ 2 จิตที่อยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการแล้ว ก็เหมาะกับการใช้งาน แล้วก็มีกำลัง สงบ และอะไรต่ออะไรกวนไม่ได้ ไม่มีความฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก ถ้าแกจะทำสมาธิก็ทำอย่างที่ว่า ทีนี้จะเอาอะไรดีหล่ะให้แกกำหนดเป็นอารมณ์ อา คุยกับแกสิต้องคุยกับแก ให้แกเสนอก็ได้ว่าเอาอะไรดี แกอาจจะออกมาเองว่า แกมีอะไรอยู่ในใจนะ จากการคุยก็เลยทำให้เรารู้ แล้วก็ให้แกเล่าว่าตอนที่แกปฏิบัติสมาธิไป เป็นไงจิตสงบไหม สงบแล้วเห็นอะไร แกก็จะเล่าว่าแกเห็นอย่างนั้น อ้าวแล้วคุณรู้สึกอย่างไรทำอะไรต่อไป เดี๋ยวแกก็บอกเราหมดพอบอกเราก็จะได้รู้ว่าแกทำผิดทำพลาดอย่างไร แล้วก็ใช้สมาธิให้ถูก ถ้าใช้สมาธิผิดก็เกิดปัญหากลายเป็นหลง เอาเป็นว่าที่คุยกันพอจะมองเห็นช่องทางเพิ่มขึ้นบ้างไหม ดีกว่า
คำตอบจากเสียงผู้หญิง ก็พอได้แนวทางค่ะ
สมเด็จฯ ก็โมทนา ก็เอาเป็น 2 ขั้น [55:06-59:24]
ต่าง ๆ นี้
2. ก็คือการนำเอาความรู้ในความจริงนั้นมาใช้ปฏิบัติต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่ทั้ง 2 ขั้นเลย
จากธรรมมะในความหมายที่ 1 คือ ความหมายของธรรมดา ก็คือความจริงสิ่งทั้งหลาย คือความธรรมดา อันนี้ก็คือความหมายของธรรมมะขั้นพื้นฐาน แล้วก็ข้อเรียกร้องของความจริงนั้นต่อมนุษย์ว่า ถ้าคุณต้องการผลดี คุณจะต้องทำอะไร อันนี้คือภาคปฏิบัติ อันนี้ก็คือธรรมมะในความหมายข้อที่ 2 ที่จริงเป็นข้อที่ 3 แล้ว ธรรมมะนี้มีความหมายง่าย ๆ 4 ข้อนะ
1) คือ สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ ที่นึกที่คิด ที่พบเห็นได้ทุกอย่าง เรียกว่าธรรมมะทั้งนั้น ใช่ไหม รูปธรรม นามธรรม โลกียธรรม โลกุตรธรรม กุศลธรรม อกุศลธรรม (อัพยากฤตธรรม) ธรรมทั้งนั้น ทำดีทำชั่ว ธรรมเป็นรูป ธรรมเป็นนาม อะไรต่ออะไร โลกียะ โลกุตระ สังขตะ อสังขตะ ปรุงแต่ง ไม่ปรุงแต่ง สังขาร อสังขาร ธรรมทั้งนั้น ทุกอย่างบรรดามีนี้เป็นธรรม ก็คือสิ่งทั้งหลายหรือธรรมชาติทั้งหมด
2) คือ ความจริงของมัน ความจริงของสิ่งเหล่านั้น ว่ามันเป็นอย่างไร มันเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นแล้วดับไป มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ต้นไม้ต้องอาศัยอะไรบ้างจึงจะงอกงามขึ้นได้ เอาความจริงของมันนี้เป็นความหมายที่ 2 ของธรรมมะก็คือ ธรรมดา อันที่ 1) ธรรมชาติ อันที่ 2) คือธรรมดา คือความจริงของธรรมชาติ ความเป็นไปตามธรรมดาของมัน หรือกฎธรรมชาตินั่นเอง อันที่ 2
3) คือ มนุษย์ต้องการความเป็นอยู่อย่างดี มีชีวิตที่ดี มีความสุข แต่ว่าไอ้การที่จะให้เป็นไปตามที่ต้องการก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามความจริงของธรรมชาติ ก็เลยเราก็ต้องรู้ความจริง คือ ธรรมมะนั้นเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็เป็นความหมายที่ 3 ที่พูดเป็นภาษา บุคลาธิษฐานว่าข้อเรียกร้องของความจริงนั้นต่อเรา ว่าเราต้องเป็นอยู่ กระทำ ปฏิบัติอย่างไร จึงจะได้ผลอย่างที่เราต้องการนั้น อันนี้คือธรรมมะในความหมายที่ 3 นะ ก็เป็นธรรมจริยา ความประพฤติ การปฏิบัติทั้งหลายนี้ ธรรมจริยาข้อแนะนำความประพฤติ ศีล สมาธิ ปัญญานี่ เป็นความหมายธรรมมะในความหมายที่ 3
4) คือว่าธรรมมะทั้ง 3 อย่าง มันอยู่ของมันอย่างนี้ ใครจะรู้-ไม่รู้ มันก็อยู่ของมันอย่างนี้ ทีนี้เมื่อเราไม่รู้ ไม่เข้าใจ ปฏิบัติไม่ถูก ไม่เอามาใช้ เราก็ไม่ได้ผลประโยชน์ ก็ได้มีท่านผู้ที่ได้ฝึกฝนตนบำเพ็ญตนที่เรียกว่าได้บารมีมา จนกระทั่งว่าได้รู้ ท่านเรียกว่าค้นพบ รู้เข้าใจความจริง รู้เข้าใจธรรมมะเหล่านี้แล้ว แล้วก็เอาความรู้ ความจริง ธรรมมะทั้งหมดนี้ ทั้ง 3 อย่างนี้มาสอนมาบอกมาสืบค้นเอง คำสอนของท่านนี้บอกไปที่ธรรมชาติ บอกไปที่ธรรมดา บอกไปที่ธรรมจริยา คำสอนนี้เป็นตัวแทนของธรรมมะ 3 ความหมาย ก็เลยเรียกคำสอนของท่านเป็นธรรมมะไปด้วย ความหมายธรรมมะเป็นสื่อไปสู่ไอ้ตัว 3 อย่างนี้ เหมือนกับธรรมมะคำสอนของพระพุทธเจ้านี้คืออะไร ก็คือบอกเรื่องธรรมชาติ บอกเรื่องธรรมดา บอกเรื่องธรรมจริยา ใช่ไหม คำสอนนี้ก็เลยเป็นธรรมมะไปด้วย
ก็มีเท่านี้ธรรมมะทั้งหมด แต่ว่ามันโยงกันนั่นแหล่ะ เจริญพร ก็คือการเข้าใจตัวหลักความจริงด้วย อย่างเรื่องนี้ อาตมาสังเกตดูนะ อย่างการศึกษาสมัยปัจจุบัน เขาไม่แยกเรื่องตา หู จมูก ลิ้น การรับรู้ ก็เรียกแค่นั้นนะ[59:47]การรับรู้ จะไม่แยกว่ามันมี 2 อย่างนะ รู้สึกกับรู้ แล้วเจ้ารู้สึกกับรู้นี่มันเป็นทางแยกให้เกิดปัญหาอย่างไร หรือเกิดปัญญาอย่างไร มันเป็นช่องทางในการที่จะพัฒนามนุษย์อย่างไร แค่แยกไม่ได้ก็ยุ่งแล้วนะ แยกตาทำหน้าที่ของอินทรีย์ ตาหูไม่ได้ ก็แค่รับรู้ ตาก็ใช้รับรู้หูใช้ฟัง จบ ไม่ได้แยกว่า เออมันทำหน้าที่ 2 อย่างนะ 1) รู้สึก 2) รู้ แล้วกระแสด้านรู้สึกไปอย่างไร ด้านรู้ไปอย่างไร ใช่ไหม แล้วจะเอามาใช้อย่างไร มาฝึกอย่างไร ถ้าเราจับจุดได้ นี่ก็คือเรื่องธรรมมะในความหมายด้านที่ว่ารู้ความจริงของมัน ซึ่งเป็นขั้นที่สำคัญ
คำถามเสียงผู้ชาย การปฏิบัติธรรมที่ดีมากเนี่ย เราอาจจะปลีกออกไปจากการปฏิบัติงาน เช่น เป็นผู้หญิงปฏิบัติธรรมได้ดี แล้วก็ไปปลูกกุฏิ ปฏิบัติธรรมต่างหากจะได้ไหมครับ
สมเด็จฯ หมายความว่าเอาการทำงานเป็นปฏิบัติธรรม
คำถามเสียงผู้ชาย เป็นการปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา โดยไม่ได้ทำงานทางโลกแล้ว เจ้าคุณอาจารย์มีความเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ ทั้งที่การปฏิบัติธรรมในหน้าที่การงานเขาก็ดีมาก แล้วเขาอยากปลีกออกไปปฏิบัติแล้วมีความสุข ตามที่อาจารย์สั่งสอน
สมเด็จฯ อ๋อเขาอยากจะเลิกงาน คือมันก็มีว่า ความสุขมันก็มีหลายอย่าง แต่ว่าความสุขบางทีเป็นโทษได้ ความสุขเป็นโทษ 1) มันติด สยบ ลุ่มหลง มัวเมา 2) เป็นเหตุให้ประมาท เมื่อสุขปับเพลินสบายแล้ว ไม่ดิ้นรนขวนขวาย อย่างนี้กลายเป็นว่าบางทีทุกข์ดีกว่า ทุกข์มันจะบีบคั้นให้ดิ้นรน แล้วก็อยู่นิ่งไม่ได้ ฉะนั้นคนที่สุขนี่ทำให้ไม่เจริญก้าวหน้าได้ ฉะนั้นท่านจึงระวังนักไม่ให้ประมาท ถ้าอะไรทำให้ประมาทผิดหมด ทีนี้ความสุขนี่ต้องระวังข้อเสียด้วย อย่าลืมว่ากุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลได้ [01:02:07}อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลได้ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลได้ อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลได้ ถ้าอกุศลมาต้องรู้ว่าใช้เป็นปัจจัยแก่กุศล เช่น ความสงสัยเป็นอกุศล ทำไมเป็นอกุศล เพราะเกิดขึ้นในจิตแล้วจิตไม่สบาย ที่เป็นอกุศลก็คือมันไม่เอื้อต่อชีวิตจิตใจ แต่เราใช้มันให้ดีเป็นปัจจัยแก่กุศล ก็คือให้เราค้นคว้าหาความรู้ ถ้าคนใช้ไม่เป็นอกุศลก็ยังคงอยู่เป็นปัจจัยแก่อกุศลต่อไป จิตใจเศร้าหมอง ไม่ได้ประโยชน์ ทีนี้กุศลก็เหมือนกัน เกิดปฏิบัติธรรมได้ผลดี เกิดความสุขลุ่มหลงมัวเมา หยุดเลยก็เลยไม่ก้าวหน้า ประมาท ฉะนั้นพระพุทธเจ้าบอกว่า มีพระที่ปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไป โอ แหมเราได้ปฏิบัติธรรมด้วยความขยันหมั่นเพียร บัดนี้ได้บรรลุธรรมขั้นนี้แล้ว พอรู้สึกอย่างนี้รู้สึกประสบผลสำเร็จชักเฉื่อยแล้ว พอจะเฉื่อยพระพุทธเจ้าตรัสเธอประมาทแล้ว ไม่ได้ ไม่ได้ ต้องไม่ประมาท ฉะนั้นอย่างที่คุณหมอว่าเนี่ย ไม่แน่นะต้องดูให้ดีว่า ท่านผู้นี้ท่านอาจจะไปติดเพลินความสุข ท่านอยากได้ความสุขแบบนั้น แล้วก็เลยไม่พัฒนาตัวเอง แล้วเราก็ต้องเห็นประโยชน์ของความทุกข์ด้วย ทุกข์ก็คือปัญหาปัญหามันทำให้คนต้องดิ้นรน ทีนี้[01:03:43-01:06:17]ปุถุชนนั้นมักจะดิ้นรนขวนขวายเมื่อถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม ใช่ไหม พอสุขสบายก็โน้มไปในทางที่จะหยุด เฉื่อย นอน แล้วก็เลยเสื่อม แล้วก็ต้องใช้ประโยชน์จากความทุกข์จากปัญหาเอาเป็นแบบฝึกหัด เพราะมนุษย์นี้จะพัฒนาได้ด้วยแบบฝึกหัด ฉะนั้นถ้าอะไรมาเป็นแบบฝึกหัดให้เราได้ แม้มันจะร้ายก็กลายเป็นดีหมด ใช่ไหม ฉะนั้นปัญหาและความทุกข์ก็เป็นประโยชน์ เมื่อใช้เป็นเอามาเป็นแบบฝึกหัด เอาเป็นแบบทดสอบความเข้มแข็ง ทีนี้ความสุขก็ต้องมีพัฒนาหลายขั้นด้วย เอาให้หลักเรื่องความสุขอีกหน่อย พระพุทธเจ้าตรัสวิธีปฏิบัติต่อความสุขไว้ 4 อย่าง
เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรมนี้จะเป็นนึกว่าปลอดภัยนะ เจริญพร อาจจะไปติดตรงไหนก็ไม่รู้เนี่ย แต่ว่าถึงอย่างไรก็ตาม เรื่องกระบวนการปฏิบัติธรรมเนี่ย มันจะมีธรรมมะชุดหนึ่งที่เกิดเรื่อย เมื่อเราเริ่มสละอกุศลได้ อกุศลธรรมที่เราจะพบบ่อย เรียกว่า[01:36:38-01:08:37]นิวรณ์ 5 นิวรณ์ 5 นี้จะเกิดมากในเด็กปัจจุบัน ดูสิวัยรุ่นนี้นิวรณ์เต็มไปหมดเลย ทีนี้พอกำจัดนิวรณ์ได้เนี่ย จะมีสัญญาลักษณ์สภาพจิต 5 อย่างก้าวไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นสมบัติที่ดีที่ทุกคนควรจะมี เขาเรียกว่า ธรรมสมาธิ ธรรมสมาธิคือการที่คุณสมบัติที่ดีของจิตใจ มันมั่นแน่วสนิทพร้อมที่จะทำให้จิตของเราเกิดสมาธิ พอเกิดธรรมสมาธิก็จะนำไปสู่จิตสมาธิ จิตสมาธิก็คือสมาธิที่เราต้องการ ทีนี้ธรรมสมาธิสภาพจิตที่ดีที่เข้าไปสู่สมาธินี่คือ
ปราโมทย์ แปลว่า ความร่าเริงเบิกบาน
2) ปีติ ความอิ่มใจปลื้มใจ ปฏิบัติธรรมไปได้ปีติ ได้อิ่มใจ ปีติมีตั้งหลายประเภท แล้วก็
3) ปัสสัทธิ แปลว่า ความผ่อนคลาย ไม่เครียด สงบ เย็นกายใจ
4) สุข ฉ่ำชื่นรื่นใจ
5) สมาธิ จบลงด้วยสมาธิ สมาธิก็คือจิตแน่วสงบ ตั้งมั่น ไม่มีอะไรกวน จิตที่เป็นสมาธิก็คือจิตที่ต้องการให้อยู่กับสิ่งที่ต้องการอย่างที่ว่าเมื่อกี้ แล้วก็ไม่มีอะไรกวนได้ เวลาอยู่กับอะไรต้องการให้จิตมันอยู่กับสิ่งนี้ สิ่งที่เราต้องการดีแล้วก็อยู่กับมันได้ ไม่วอกแวกไม่ฟุ้งซ่าน
เนี่ย 5 อย่างนี้ เป็นตัวใช้พิสูจน์ว่าก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมหรือไม่ ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ ตัวพื้นที่มีก็คือปราโมทย์ เป็นตัวพื้นเบื้องต้น ในคาถาธรรมบท ถ้าสังเกตจะมีคาถาที่พระพุทธเจ้าตรัสหลายแห่งที่พูดถึงปราโมทย์ เช่นว่า ปา ปราโมทย์ ชวโรภิกฺขุทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ ภิกษุผู้มากด้วยปราโมทย์จะทำทุกข์ให้หมดสิ้นไป คือบรรลุนิพพาน ฉะนั้นก็ต้องสร้างปราโมทย์เป็นตัวแรก [01:09:23]คุณหมอก็ต้องพยายามให้คนไข้มีปราโมทย์ให้ได้ ถ้าจิตใจเขามีความร่าเริงเบิกบานมีปราโมทย์แล้วก็เริ่มสบายใจได้ เพราะว่าใกล้นิพพานแล้ว ปราโมทย์ บางทีในพุทธศาสนานี้ เรามองข้ามเรื่องเหล่านี้ไป เหมือนกับว่าพุทธศาสนาเน้นเรื่องทุกข์ ใช่ไหม พุทธศาสนานี้เป็นศาสนาแห่งความสุข ให้ดูให้ดี ทุกข์นี้ท่านสอนหน้าที่กำกับไว้แล้ว ทุกข์สำหรับปริญญา ใช่ไหม [01:10:03]อริยสัจมี 1)ทุกข์ 2) สมุทัย 3) นิโรธ 4) มรรค แล้วท่านก็บอก กิจในอริยสัจ 4 ต้องทำให้ถูกนะ กิจก็คือหน้าที่ต่ออริยสัจ เราทุกคนต้องทำหน้าที่ต่ออริยสัจ ทีนี้คนเรียนอริยสัจ ไม่เรียนกิจในอริยสัจ มีธรรมปฏิบัติหน้าที่ต่อกิจอริยสัจผิดหลงเลย พระพุทธเจ้าจะเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ ถ้าปฏิบัติกิจต่ออริยสัจไม่ถูก ฉะนั้นเมื่อเรียนรู้อริยสัจต้องเรียนรู้กิจต่ออริยสัจด้วย อ้าว[01:10:48-01:16:11]
4 ข้อนี้ โยมต้องจำให้แม่นเลย บอกว่าทุกข์เรามีหน้าที่อะไร จิตต่อทุกข์คือปริญญา จิตต่อสมุทัยคืออะไร คือประหาร ละ กำจัด แก้ไข จิตต่อนิโรธคืออะไร คือทำให้เป็นจริง บรรลุ ประจักษ์แจ้ง แล้วก็มรรคเรามีหน้าที่อะไร มีหน้าที่เจริญ คือปฏิบัติ ทำให้ถูกหน้าที่เช่นนี้ ถ้าทำผิดหน้าที่ก็แสดงว่า อริยสัจไม่มีประโยชน์เลย อุตส่าห์เรียนไปแล้วทำไม่ได้เลย ฉะนั้นอริยสัจต้องทำกิจให้ถูกต้องเรียน ถ้าไม่เรียนกิจในอริยสัจนี้ว่าพลาดมาก ก็ตกลงว่าทุกข์เรามีหน้าที่แค่รู้ทัน แล้วก็ไปศึกษาเหตุปัจจัยของมัน เพื่อจะได้แก้ไขกำจัดเหตุ แล้วก็บรรลุจุดหมายก็คือไร้ทุกข์ แล้วก็ปฏิบัติวิธีการ ที่จะบรรลุจุดหมายนั้น แล้วก็ท่านก็เลยมาเปรียบกับเรื่องของคุณหมอ เพราะว่าท่านเจอคุณหมอเนี่ยท่านก็เปรียบอริยสัจเหมือนเรื่องของแพทย์ หนึ่งต้องรู้จักโรคและรู้จักร่างกายที่เป็นที่ตั้งแห่งโรค ทำไมมีขันธ์ 5 เพราะขันธ์ 5 เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นตัวที่ทำให้กระบวนการทุกข์เป็นไป ร่างกายของเรานี่มันทำหน้าที่ไม่ถูกหรือว่ามันถูกโรคภัยเข้ามาบุกรุกรานอะไรนี่ เราต้องเรียนรู้ร่างกายที่เป็นที่ตั้งแห่งโรค แล้วก็เรียนรู้โรคภัยไข้เจ็บ อาการ สภาพที่มันเกิดขึ้น ขั้นนี้เรียกว่าโรคเป็นอาการที่เป็นที่ร่างกาย ปวดหัวตัวร้อน อะไรต่าง ๆ ทีนี้ต่อไปสมุทัย ก็คือ เหตุปัจจัยของโรค ตัวจริงของมัน มันเชื้อโรคอะไร ใช่ไหม รู้แต่โรค อย่างปวดหัวอย่างนี้ แก้ไม่ได้ แต่รู้ทันว่ามันเป็นที่ไหน อะไรมันไปโยงกับสมุทัยอะไรนี่ แล้วก็จับไอ้ตัวเชื้อ ตัวเหตุปัจจัยให้ได้ หรือว่ามันเป็นที่การทำงานผิดปกติของร่างกาย หรืออวัยวะมันระส่ำระสายอะไรก็ว่าไป ไม่สมดุลอะไรก็ดูไป คือจับสมดุลให้ได้ แก้ที่สมุทัย ไม่ใช่แก้ที่โรคนะ แก้ที่สมุทัย การปวดหัวนี่ก็ได้แต่รักษาอาการใช่ไหม ก็ต้องไปแก้ที่เหตุปัจจัยของการปวดหัว แต่ต้องรู้ก่อนเรื่องของการปวดหัวอะไรต่ออะไรรู้จับให้ได้ จะได้วินิจฉัยโรคได้ ฉะนั้นหนึ่งก็คือเรียนรู้ร่างกายเป็นที่ตั้งแห่งโรค และเรียนรู้สภาวะอาการต่าง ๆ ของโรค แล้วก็เรียนรู้ที่จะต้องไปกำจัดแก้ไขที่สมุทัย ปัจจัยเช่นเชื้อโรค หรือการทำงานผิดปกติอะไรอย่างนั้น แล้วก็สามก็คือ ภาวะไร้โรค สุขภาพดี อันนี้เป็นนิโรธ เป็นจุดหมายที่ต้องประจักษ์แจ้งทำให้สำเร็จ แล้วต่อจากนั้นก็วิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดหมายนี้ เพื่อจะกำจัดเชื้อ กำจัดสมุทัย จะต้องทำอะไรบ้าง ตอนนี้กระบวนวิธีปฏิบัติทั้งหมดเป็นมรรค ต้องสร้างโรงพยาบาลขึ้น ต้องทำห้องอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องมีเครื่องมืออย่างนั้นอย่างนี้ ต้องฝึกคนมาช่วยกัน เป็นพยาบาลบ้างเป็นแพทย์บ้าง ทำอย่างไร ผ่าตัดหรือจะให้ยาอะไรหรือจะปฏิบัติตนอย่างไร ทั้งหมดนี้คือมรรค ก็เปรียบเทียบให้เห็นอย่างนี้