แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ขอเจริญพรโยมญาติมิตรผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน บัดนี้คณะบุญจาริกก็ได้เดินทางมาถึงจุดสำคัญเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือต้นพระศรรีมหาโพธิ์ เราเรียกกันว่าพุทธคยา สถานนี้ก็นับเนื่องอยู่ในสังเวชนีสถานทั้ง 4 ตอนนี้เราก็พูดได้เต็มปากว่า เราได้มาถึงสังเวชนีสถานอย่างแท้จริง ที่ผ่านมานั้นแม้จะเป็นสถานที่สำคัญในทางพุทธศาสนา แต่ก็ยังไม่อยู่ในสังเวชนีสถานที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ สังเวชนีสถาน 4 นั้น ก็จำเพาะว่าได้แก่
1 สถานที่พระพุทธเจ้าประสูติ
2 สถานที่พระองค์ตรัสรู้
3 สถานที่พระองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
และ 4 สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน
อันนี้เป็นถานที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติในเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ในพระชนม์ชีพของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ส่วนสถานที่อื่นนั้นเป็นสถานที่เสด็จไปผ่านไป ไปประทับทรงบำเพ็ญพุทธกิจอะไรต่าง ๆ แม้จะมีความสำคัญแต่ว่าก็ถือว่ายังไม่ใช่สังเวชนีสถาน วันนี้เราเดินทางมาถึงจุดนี้ก็เข้าสู่สังเวชนีสถาน ในลำดับที่หนึ่งสำหรับการเดินทางของเรา คือถ้าว่าตามลำดับในเหตุการณ์ของพุทธประวัติแล้วก็อาจจะสับกันไปสับกันมาบ้าง อันนั้นก็เป็นเรื่องของเส้นทางที่จะเดินทางไปได้โดยสะดวก ทีนี้ในการมาถึงสถานที่ตรัสรู้นี้เราพูดได้ว่า นี่แหละคือจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเริ่มต้นจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็จึงนำเอาธรรมะที่ตรัสรู้นี้ไปเผยแผ่สั่งสอนต่อไป สถานที่เราผ่านมานั้นก็เป็นประจักษ์หลักฐานของการบําเพ็ญพุทธกิจที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรม ทำให้พระศาสนาขยายกว้างขวางออกไป และบางแห่งนั้นก็เป็นสถานที่เกี่ยวด้วยเหตุการณ์หลังพุทธกาล คือเป็นผลงานของพระสงฆ์และก็อุบาสก อุบาสิกา ที่ได้นำพระศาสนาสืบกันมา ถ้าเราพูดในแง่หนึ่งแล้ว เราเดินทางมาจากประเทศไทยมาถึงที่นี่เหมือนกับเราเดินย้อนมา เราเริ่มต้นจากประเทศไทยก็ถือว่าเป็นจุดปลายทางที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปถึง เราเดินทางมา มาถึงเมืองปัตนะ หรือปาฏลีบุตร ก็เป็นจุดต้นแหล่งที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปถึงประเทศไทย นั้นก็หมายความว่า เราเดินทางจากประเทศไทยมาถึงแหล่งที่พระพุทธศาสนาได้แพร่ออกไป พอมาถึงเมืองปาฏลีบุตร เราก็ได้พบสถานที่ ๆ ท่านได้ส่งพระสงฆ์ไปประกาศพระศาสนาเป็นศาสนาทูต เราก็รู้ว่า อ้อ พระโสณะอุตตระ ที่ไปถึงดินแดนประเทศไทยของเราตั้งแต่สมัยก่อนโน้น ที่เรียกว่าสุวรรณภูมินั้น เราก็มาถึงแล้วก็คือดินแดนของพระเจ้าอโศกมหาราช ทีนี้ต่อจากนั้นเราเดินทางต่อมาอีกจากเมืองปาฏลีบุตร พอมาถึงเมืองราชคฤกห์อันนี้ก็ยิ่งเป็นต้นทางมากยิ่งขึ้น ปาฏลีบุตรนั้นเป็นที่ส่งศาสนาทูตไปก็จริงแต่เป็นเหตุการณ์หลังพุทธกาลตั้ง 200 กว่าปีแล้ว พุทธศาสนากว่าจะไปถึงปาฏลีบุตรนั้นก็ต้องเริ่มต้นไปจากที่เมืองราชคฤกห์ก่อน เมืองราชคฤกห์นี้เป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากราชคฤกห์นี่แหละพุทธศาสนาก็แพร่ขยายกว้างขวางออกไปแล้วมามั่นคงเจริญยิ่งขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพราะฉะนั้นราชคฤกห์ก็เป็นจุดเชื่อมต่อเป็นต้นทางของที่ปฏลีบุตรอีกทีหนึ่ง นี้ราชคฤกห์นั้นเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าเสด็จไปประดิษฐานที่นั่น นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่แก่ประชาชน เริ่มตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินเป็นต้นไป การที่จะทรงปฏิบัติอย่างนั้นได้ ก็เพราะว่าได้ตรัสรู้ในสถานนี้ คือที่พุทธคยา ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้ เราเดินทางมาตามลำดับ ลำดับในที่สุดก็มาถึงต้นแหล่ง ต้นทางของธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่ คือพระพุทธศาสนาที่มาถึงประเทศไทยเรา นั้นบัดนี้เรามาถึงจุดศูนย์กลางของพุทธศาสนาที่แท้จริงแล้ว เราก็ได้มานมัสการ ได้มาบูชาพระรัตนตรัย ได้ทำวัดสวดมนต์ ได้สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย อันนี้ก็ได้แสดงออกซึ่งศรัทธาน้ำใจของพุทธศาสนิกชน แล้วจำเพาะพอดีวันนี้ก็เป็นวันมาฆะบูชาด้วย เป็นวันสำคัญในทางพุทธศาสนา ก็ควรจะได้มีความอิ่มใจปิติมากยิ่งขึ้น ที่ว่าเราได้มานมัสการพระศรีมหาโพธิ์ในวันสำคัญอย่างยิ่งวันหนึ่งในทางพุทธศาสนา สำหรับพิธีวันมาฆะบูชานี้ก็เมื่อวานนี้ก็ประจวบกับคณะบุญจาริกได้มาถึงพระเวฬุวัน ซึ่งเป็นสถานที่ ๆ เป็นต้นกำเหนิดของมาฆะบูชา เราก็เลยถือว่าถึงสถานที่นั้นแล้ว เวลาก็จวนแล้วก็เลยประกอบพิธีเวียนเทียนมาฆะบูชากันซะก่อนที่นั้น แต่ถึงแม้มาที่นี้แล้ว มาถึงวันจริงเข้าจะทำพิธีอีกก็ไม่เป็นไร เมื่อวานนี้มาถึงสถานที่จริง วันนี้มาถึงวันจริง ได้ 2 อย่าง 2 จริง 2 ครั้ง สถานที่จริงก็ทำไปทีหนึ่ง พอถึงวันจริงก็ทำอีกหนึ่งก็ไม่ไร เรื่องบุญนี้ทำยิ่งทำมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น เพราะฉะนั้นโยมก็มาเวียนเทียนบูชาพระรัตนตรัย เนื่องในโอกาสมาฆะบูชากันอีกครั้งหนึ่งที่ใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์นี้ ก็จะเจริญบุญเจริญกุศลยิ่งขึ้น เราก็มาน้อมนำใจให้รำลึกถึงพุทธคุณโดยโยงไปหาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นเกิดขึ้นอย่างไร เราก็เรียนพุทธประวัติกันมาพอสมควรแล้ว ลำดับเหตุการณ์นั้น อาตมาก็คงไม่จำเป็นจะต้องมาเล่าให้โยมฟังอีก
แต่ว่ามีจุดเฉพาะสำคัญ สำคัญที่ควรสังเกตุ ก็ขอย้อนรำลึกไปถึงคำที่อาตมาเคยเล่าให้ฟังว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นคือการค้นพบสัจธรรมความจริง แล้วความจริงที่ว่านี้ก็เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมดาตามพุทธพจน์ที่เคยได้อ้างไว้ว่า ตถาคตทั้งหลายจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดก็ตาม หลักความจริงก็ดำรงอยู่เป็นปกติของมันอยู่แล้วว่าดังนี้ ดังนี้ ตถาคตคือพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ค้นพบความจริงนั้นและนำมาเปิดเผยแสดงชี้แจงให้เข้าใจง่าย วางเป็นหลักลงว่า ดังนี้ ดังนี้ นี่คือพุทธพจน์ที่ตรัสแสดงหลักความจริงที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้นี้เป็นเรื่องของธรรมดาธรรมชาติมีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้พระองค์ก็จึงได้ทรงเปล่งอุทานวาจา คำเปล่งอุทานนี้ก็มีปรากฏอยู่ที่ว่ายะทา หะเว ปาตุภะวันติ ธัมมา เป็นต้น ซึ่งมีความหมายโดยย่อบอกว่าเมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ คำว่าพราหมณ์ในที่นี้ หมายถึงว่าท่านผู้บำเพ็ญปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายที่ดีงามสูงสุด คือเป็นคำกล่าวที่เขาใช้กันสืบมา พระองค์ก็นำศัพท์มาใช้ด้วย เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมหมดสิ้นไป เพราะมารู้ทั่วถึงธรรมพร้อมทั้งปัจจัย อันนี้เป็นพุทธพจน์ที่แสดงหลักความจริงที่ตรัสรู้ส่วนหนึ่ง ก็คือแสดงถึงกฎธรรมชาติแห่งความเป็นเหตุปัจจัย ที่บอกความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดาพระพุทธเจ้ามาค้นพบนี้คืออะไร ก็คือมาค้นพบความจริงกฎธรรมชาติความเป็นไปตามเหตุปัจจัย คือการที่ผลเกิดจากเหตุ เหตุก่อให้เกิดผล ที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่าบทปฏิจจสมุปบาท หรือเรียกเต็มว่าอิทัปปจจยตา ปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง แล้วพระองค์ก็ตรัสต่อไปเป็นคาถาที่ 2 ข้อความคล้าย ๆ กันว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยของพราหมณ์นั้นย่อมหมดสิ้นไป เพราะมารู้ธรรมอันเป็นที่สิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย อันนี้ก็คือการที่พระองค์ตรัส กล่าวอ้างอิงไปถึงธรรมะอันเป็นที่สิ้นเหตุปัจจัย ที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ ได้แก่ พระนิพพาน ข้อที่ 1 นั้นแสดงหลักปฏิจจสมุปบาท ข้อที่ 2 ก็แสดงถึงพระนิพพานที่เป็นธรรมพ้นจากปัจจัยปรุงแต่ง และเมื่อได้ตรัสรู้ถึงอิทัปปจจตา ปฏิจจสมุปบาท พร้อมทั้งพระนิพพานแล้ว คาถาสุดท้ายก็แสดงถึงการที่ว่า พระองค์ก็ได้กำจัดบารเสนาเหมือนอย่างดวงอาทิตย์อุทัยที่พ้นขึ้นมาจากเมฆหมอกภูเขาแล้วก็ทอแสงสว่างทำให้เห็นสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ชัดเจนสว่างจากกระจ่างจ้า อันนี้ก็คือปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าที่ทำลายความมืดแห่งอวิชชาหมดไป อันนี้เป็นพุทธพจน์ที่เราเรียกว่าเป็นปฐมพุทธพจน์ในตถาคตท่านว่าอย่างนั้น บอกว่าพุทธพจน์แรกเลยที่พระพุทธเจ้าคำตรัสก็คือพุทธพจน์ที่แสดงการตรัสรู้อันนี้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริงที่มีอยุ่เป็นธรรมดาคือ กฏธรรมชาติความเป็นไปตามเหตุปัจจัยพร้อมทั้งธรรมะพ้นนี้จากปัจจัยปรุงแต่ง นี่แหละเป็นเรื่องที่ดูเป็นเรื่องคล้าย ๆว่าง่าย ๆ เพราะว่าถ้าเราจะตอบชาวบ้านไปเวลาเขาถามว่าพุทธศาสนาสอนอะไรหรือพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไรตอบในความหมายหนึ่ง ง่าย ๆ ก็บอกว่าตรัสรู้ธรรมดานี้เอง ตรัสรู้ธรรมะนั้นก็คือธรรมดา แต่ว่าธรรมดานี่แหละเป็นเรื่องที่ยากที่สุด ความจริงมีอยู่เป็นของธรรมดามีอยู่ตลอดกาล ใครจะรู้ไม่รู้ ใครจะเห็นไม่เห็น ความจริงก็คงอยู่อย่างนั้น แต่เพราะมนุษย์ไม่รู้ความจริงอันนี้ที่เป็นธรรมดานี่แหละ ก็จึงดำเนินชีวิตไม่ถูกต้องก็ทำให้ก็เกิดปัญหาต่าง ๆ ทั้งปัญหาในชีวิตของตนเอง ปัญหาในสังคม ปัญหากับสิ่งแวดล้อมทุกอย่างทุกประการ แต่ว่าถ้ามนุษย์รู้ความจริงที่มีอยู่ตามธรมมดานี้เมื่อใด เมื่อนั้นเขาก็จะปฏิบัติถูกต่อทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อปฏิบัติถูกต้องก็ไม่เกิดปัญหาทุกอย่างก็ดำเนินไปด้วยดีเรียบร้อยชีวิตก็ดีงามประเสริฐมีความสุข ฉะนั้นปัญหาของมนุษย์ในที่สุดเมื่อสืบลึกลงไป สืบสาวไปไม่รู้ไม่เข้าใจความจริงนี่เอง นั้นมองในแง่หนึ่งแล้ว เรื่องของการตรัสรู้นี้ก็เหมือนกับว่าไม่มีอะไรมากก็คือการเข้าถึงตัวธรรมดาหรือความจริง แต่ตัวความจริงหรือตัวธรรมะอันนี้แหละเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด ถ้าเราเข้าถึงความจริงเมื่อใด ทุกอย่างก็เรียบร้อย แม้แต่วิทยาศาสตร์อย่างที่เรารู้จักกันนี้ก็ไม่ได้ค้นพบอะไร ก็คือค้นพบธรรมดานี่แหละ ค้นพบความจริง แต่ก็เพียรพยายามกันมาทำเป็นกิจการใหญ่โตลงทุนลงแรงไม่รู้เท่าไหร่ เพื่อจะหาความจริงตามธรรมดานี้ แล้วก็ค้นพบกันมาทีละน้อย ละน้อย วิทยาศาสตร์ก็ค้นพบความจริงกับด้านวัตถุด้านเดียว อันนั้นแม้แต่ความจริงเพียงด้านวัตถุอย่างเดียว ก็ยังใช้เวลากันไม่รู้ว่าเท่าไหร่ และบัดนี้ก็ยังหาได้ถึงความจริงนั้นไม่ สิ่งที่ค้นพบไปในทางวิทยาศาสตร์ สมัยหนึ่งก็ว่าอย่างนี้ อย่างนี้ นึกว่าค้นพบเป็นความจริงแท้แล้ว เวลาผ่านไปอีก 20 ปี 50 ปี 100 ปี คนรุ่นหลังนักวิทยาศาสตร์ที่มีเครื่องมือทันสมัยยิ่งขึ้น แล้วก็มีประสบการณ์จากคนรุ่นก่อนทำไว้ให้มากขึ้น ก็มาค้นพบว่าสิ่งที่นักวิทยาศาตร์รุ่นก่อนที่ค้นพบไว้นั้นไม่จริงแท้เสียแล้ว เพราะว่ามองความจริงไม่ทั่วถึง มองเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์นั้นไม่รอบด้าน ก็กลายเป็นว่าสิ่งที่ค้นพบเหล่านั้นเป็นเท็จไป ค้นพบความจริงใหม่ก็ประกาศว่าอันนี้ถึงจะจริง ต่อไปก็ปรากฏว่าค้นพบอีก อันนั้นก็ไม่อาจจริงอีก ก็เป็นอย่างนี้กันเรื่อยมา จุดปรารถนายอดความต้องการสูงสุดก็อันเดียวก็คือต้องการเข้าถึงความจริง ที่มีตามธรรมดานี่เอง
สำหรับธรรมะในพุทธศาสนานั้น เรามองเห็นกันว่าเป็นความจริงที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง คือพระพุทธเจ้าทรงค้นพบความจริงนั้นเป็นหลักการใหญ่ที่ไม่จำกัดเฉพาะด้านวัตถุอย่างเดียว แล้วไม่จำกัดเฉพาะนามธรรม ทางพระพุทธศาสนานี่ท่านมองครอบทุกอย่างทั้งรูปธรรมและนามธรรม ที่เราเรียกกันว่ารูปนาม เราถือว่าชีวิตมนุษย์นี้เป็นสุดยอดของสิ่งทั้งหลายที่บรรดามีในโลก ถ้าเราไปค้นพบแต่เพียงวัตถุ เราก็ได้เพียงด้านเดียว เข้ามาถึงก็แค่ตัวเราด้านร่างกายเท่านั้นเอง แต่ชีวิตของมนุษย์นี้เป็นสิ่งที่มีทุกอย่างรวมอยู่ด้วยกันในตัว จะว่าทางด้านวัตถุ ก็คือการกลั่นกรองวัตถุทั้งหลาย ที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่า ดินน้ำลมไฟ นี่กลั่นกรองมาสุดยอดแล้วก็มาเป็นร่างกายของเรานี่ แล้วนอกจากร่างกายแล้วยังมีส่วนจิตใจอีก มีนามธรรม เราเรียกว่าเป็นขันธ์ 5 มีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาน ทั้ง 5 อย่างนี้แหละเป็นชีวิตของมนุษย์ พระพุทเจ้าค้นพบตรัสรู้ความจริงกฏธรรมชาติที่ครอบคลุมทั้งเรื่องนามธรรมและรูปธรรม เพราะฉะนั้นก็จึงเป็นความจริงที่มีความสมบูรณ์ในตัว ไม่ใช่เป็นความจริงเฉพาะด้าน เวลานี้ก็ในการค้นพบทางวิชาการต่าง ๆ ที่ว่าเป็นวิทยาศาสตร์เจริญเข้ามาไปเน้นแต่ทางวัตถุก็เลยว่ายังไม่ค้นพบความจริงไม่ทั่วถึง ก็ต้องพิสูจน์ค้นกันต่อไป ต่อไป จนกระทั่งมาถึงปัจจุบันนี้ ก็เริ่มมาสนใจเรื่องจิตใจ แต่ก่อนนี้ถือว่าเรื่องจิตใจนี้เป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจน เป็นเรื่องที่ว่าไม่เกี่ยวกับตัวความจริงในธรรมชาติ จนกระทั้งว่าแยกคนนี้ออกเป็นส่วนหนึ่งต่างห่างจากธรรมชาติไปเลย เวลานี้ก็มาเริ่มมาสนใจเรื่องนามธรรมเรื่องจิตใจว่าคืออะไร ถ้ามนุษย์จะเข้าถึงความจริงแท้หนีไม่พ้นที่จะต้องเข้าใจตัวมนุษย์เอง ถ้าเข้าใจตัวมนุษย์เองแล้ว กล่าวได้ว่าเข้าใจหมดทุกอย่าง เพราะว่าตัวมนุษย์นี้เป็นสุดยอดของสิ่งทั้งหลายในบรรดามีในโลกนี้
ฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็ตรัสให้เราค้นพบตัวเองให้รู้จักตัวเอง ให้เข้าถึงความจริงที่มีอยู่ในขันธ์ 5 นี่แหละ เมื่อใดเข้าถึงความจริงอันนี้แล้ว ก็จะทำให้เรานี่ปฏิบัติต่อสิ่งหลายถูกต้อง ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายภายนอกถูกต้อง ถ้าปฏิบัติต่อชีวิตจิตใจของตนเองยังไม่ถูกต้องก็ยังแก้ปัญหาไม่จบไม่สิ้น ปัญหาทุกอย่างนั้นมันโยงกันไปหมด มีเหตุปัจจัยถึงกันทั้งรูปธรรมและนามธรรม นั้นการแก้ปัญหาของมนุษย์นี้มักจะเป็นส่วนหนึ่งด้านหนึ่ง อย่างมนุษย์ปัจจุบันที่กล่าวมาเพราะเราไปให้ความสนใจทางวัตถุมาก บางทีเราก็แก้ปัญหาโดยพิจารณาแต่ด้านเหตุปัจจัยทางวัตถุอย่างเดียวก็แก้ปัญหาไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ เพราะว่าเหตุปัจจัยนั้นอย่างที่กล่าวเมื่อกี้ว่าโยงกันทั้งหมดทั้งรูปธรรมและนามธรรม ในที่สุดมันก็จะหนีไม่พ้นที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง ซึ่งประกอบด้วยทั้งกายและใจ ทั้งนามธรรมและรูปธรรม พุทธเจ้าได้ทรงจับเข้าถึงจุดของความจริงอันนี้เลย ก็คือว่าค้นพบความจริงของชีวิตนี้ทั้งหมดทั้งนามธรรมรูปธรรมกฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัยที่ครอบคลุม เพราะฉะนั้นโพธิญานของพระองค์นี้ จึงเป็นสิ่งที่ให้ถึงสัจจะไม่มีการเคลื่อนคาดเปลี่ยนแปลง 2500 กว่าปีแล้ว มาถึงปัจจุบันนี้เราก็ไม่เห็นว่าจะมีการคลาดเคลื่อนไป ยิ่งเวลาผ่านไปเราก็ยิ่งเห็นคุณค่า เห็นความจริงแห่งพระธรรมะที่พระองค์ประกาศไว้มากยิ่งขึ้นทุกที่ แต่อย่างไรก็ตามความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นี้ แม้จะแต่เป็นเรื่องธรรมดาง่าย ๆ นี่แหละ แต่ว่าสำหรับคนทั่วไป มนุษย์เรานี่ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมมีความคิดความเชื่อถือที่ถ่ายทอดกันมาจนกระทั่งมีความยึดติดถือมั่นเป็นวัฒนธรรมเป็นศาสนาอะไรต่าง ๆ แล้ว พอมีความยึดติดถือมั่นแล้วนี่ทำให้เข้าถึงความจริงใจได้ยาก บางทีสิ่งที่เราเชื่อ สิ่งที่เรายึดถือนี่แหละก็กลับมาปิดบังตาหรือป้องกันกีดกั้นตนเองไม่ให้ยอมรับ ไม่ให้ยอมฟัง ไม่ยอมศึกษา ไม่สามารถเข้าใจความจริงนั้นได้
เพราะฉะนั้นจึงเป็นความลำบากในการที่ว่าจะนำธรรมะมาแสดง จะเห็นได้ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้มาทรงรำพึงถึงธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็โน้มพระทัยไปในทางที่จะไม่ทรงสั่งสอนตามที่เราได้เรียนในพุทธประวัติ เราแปลกันว่าท้อพระทัย ที่จริงไม่ใช่ท้อพระทัย แต่ท้อพระทัยนี้เป็นสำนวนพูดของชาวบ้าน พระพุทธเจ้าจะไปท้ออะไร คือหมายความน้อมพระทัยไปในทางที่จะไม่ทรงแสดงธรรม ทำไมน้อมพระทัยไปไม่แสดง คือว่าทรงพิจารณาว่า เอ้ จะแสดงไปนี่จะได้ประโยชน์แค่ไหน ก็ทรงพิจารณาเห็นว่าธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นี้ คนทั้งหลายนี่ที่ ๆ วุ่นวายอยู่ อยู่ในความรุ่มหลงมัวเมามีความเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะในทางวัตถุนี่จะรู้ตามเข้าใจตามได้ยาก ธรรมะที่กล่าวนี้ก็พระองค์ก็ตรัสสั้น ๆ บอกว่า อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท และพระนิพพาน อย่างที่กล่าวเมื่อกี้ ที่คาถาที่พระพุทเจ้าอุทานไว้นั้น ก็แสดงหลักธรรมใหญ 2 ประการนี้ ทรงนำไปแสดงเป็นตัวหลักการตัวความจริงในธรรมชาตินี้ยากที่คนทั้งหลายจะเข้าใจ เพราะว่ามีสิ่งหุ้มห่อที่ได้กล่าวเมื่อกี้มีความลุ่มหลง มีความเพลิดเพลิน มึความมัวเมาต่าง ๆ มีความเชื่อ มีวัฒนาธรรมอะไรต่าง ๆ ประเพณียึดติดถือมั่นยากที่จะเข้าใจ พระองค์ก็น้อมพระทัยไปในทางไม่ทรงแสดงธรรมและเสร็จแล้วก็มีเรื่องกล่าวว่า มีพระพรหมณ์มาอาราธนา สามบดี สามบดีพรหมร์อาราธนาว่า ยังมีสัตว์ที่มีธุรีในดวงตาน้อย หวังว่าสัตว์เหล่านั้นคงจะพอเข้าใจได้บ้าง ก็หมายความว่าถ้าว่าโดยคนส่วนใหญ่แล้วนี่ยากที่จะเข้าใจ แต่ว่าคนที่มีสติปัญญาและก็ไม่มีความลุ่มหลงเพลิดเพลินมัวเมาติดในอามิสวัตถุทั้งหลายมากมายนัก ท่านเหล่านั้นก็อาจจะพอสามารถที่จะได้รับการแนะนำให้เกิดความเข้าใจได้บ้าง อันนี้ก็ทำให้พระพุทธเจ้าได้ทรงตัดสินพระทัยที่จะเสด็จออกมาทรงแสดงธรรมสั่งสอน อันนี้เป็นพุทธพจน์ที่เป็นเครื่องเตือนใจเราอย่างหนึ่ง ให้เราเห็นว่าการที่จะเข้าใจถึงตัวธรรมะแท้ ๆ เนี่ยถ้าจะเอาให้ถึงที่สุดแล้วก็จะได้เพียงคนส่วนน้อย แต่พุทธศาสนานี้ก็มองมนุษย์ในแง่ที่ว่าเป็นสัตว์ที่ต้องฝึกกันไป เมื่อฝึกกันไปก็หมายความว่าถึงแม้ส่วนใหญ่นี่จะไม่ถึงที่สุดไม่ถึงความจริงสูงสุดแต่ให้เขาดีขึ้นกว่าเดิมก็ยังดี อันนั้นถ้ามองในแง่นี้แล้วเราก็สามารถทำให้พุทธศาสนานี้ก็เกิดผลเป็นประโยชน์แก่มนุษย์จำนวนมากได้
เราหันไปมองดูสภาพของอินเดียสมัยพุทธกาลนี้ก็จะเห็นความจริงที่ทำให้พระพุทธเจ้าทรงโน้มพระทัยในทางที่ไม่ทรงสั่งสอน อินเดียในพุทธกาลเป็นอย่างไร เต็มไปด้วยสภาพแวดล้อมที่ทำให้จิตใจของคนให้เหินห่างจากความจริงห่างจากตัวธรรมะ เอากันอย่างง่าย ๆ คนในสมัยพุทธกาล ก่อนพุทธกาล ก่อนพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ตกอยู่ใต้อำนาจคำสอนหลักลัทธิของศาสนาพราหมณ์ มีความเชื่อในพระพรหมในเทพเจ้าสูงสุด ผู้สร้างสรรค์บันดาลโลกและชีวิต พระผู้เป็นเจ้าคือพระพรหมนี้สร้างสรรค์บันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง สร้างโลก สร้างชีวิตมนุษย์ขึ้นมาแล้วยังแถมกำหนดมาเสร็จ ว่าให้มนุษย์นี้แบ่งกันเป็นวรรณะสี่ เป็นกษัตริย์ เป็นพรหมรณ์ เป็นแพทย์ เป็นสูตร เกิดมาอย่างไรก็ต้องอยู่อย่างนั้นตลอดชาติ อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เช่นในเรื่องวรรณะนี่มีความแน่นหนักฝังลึกเหลือเกิน ที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้นั้นเราจะเห็นได้ว่าเป็นความจริงจนกระทั่งปัจจุบัน เวลานี้วรรณะสี่ก็ยังครอบงำคนอินเดียอยู่ โยมผ่านมาเมื่อวานนี้ก็เห็นชัดเจน แค่ไปที่ตโปทาราม ไปเห็นคนอินเดียที่มาอาบน้ำที่บ่อน้ำร้อน เสร็จแล้วแบ่งกันเป็นเขต ๆ คนที่เป็นวรรณะสูงก็อาบตอนสูง แล้วก็คนวรรณะต่ำลงมาก็ยอมรับสถานะของตนเองไปยอมอาบน้ำที่คนวรรณะสูงเขาใช้แล้วอาบแล้วเนี่ยมาอาบตัวเองอีก อันนี้สภาพควมยึดติดถือมั่นอันนี้ฝังลึกมากเพราะเชื่อว่าพระพรหมท่านสร้างมาอย่างนั้น ก็แก้ไขได้ยาก พระพุทธศาสนาเข้ามาเจริญรุ่งเรืองพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมประกาศความจริงให้ ในที่สุดพุทธศาสนาเองก็ยังอยู่ไม่ได้ พระพุทธศาสนาก็ปราถนาการไปจากประเทศอินเดีย คนอินเดียก็นับถือวรรณะสี่กันต่อไป เวลานี้ก็ยังอยู่ในสภาพอันนั้น นี่ก็คือความฝังลึกจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาด้วยความยากลำบากขนาดไหน นี่ที่ว่า เราจะต้องดูสภาพแวดล้อมความเป็นจริงอันนี้
มีอีกด้านหนึ่งก็คือ สัมพันธ์กับเรื่องเดียวกัน เทพเดียวกันความเชื่อในเทพเจ้าสูงสุด ที่สร้างสรรค์บันดาลทุกอย่างนี้ ก็มีเทพเจ้าต่าง ๆ อีกเยอะแยะมากมายเป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่นเป็นแสน เทพเจ้าเหล่านั้นก็มีอำนาจ มีอิทธิฤทธิ์ มีปาฏิหาริย์เป็นผู้ที่จะดลบันดาลสิ่งต่าง ๆ มนุษย์ต้องการอะไรอยากได้อะไรก็ไปอ้อนวอนต่อเทพเจ้าเหล่านั้น กลัวภัยอันตรายต่าง ๆ ก็ไปเอาอกเอาใจเพราะว่าเชื่อว่าเทพเจ้าเป็นผู้บันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง จนกระทั่งว่าคนอินเดียนี้ได้ประดิษฐ์ประดอยวิธีเอาอกเอาใจบูชาเทพเจ้า เกิดการบวงสรวงอ้อนวอนต่าง ๆ การบวงสรวงอ้อนวอนเหล่านั้นก็ทำให้ใหญ่โตมากขึ้นวิจิตรพิสดารมากขึ้น จนกระทั่งเป็นพิธีที่เรียกว่า การบูชายัญ การบูชายัญก็เป็นพิธีที่เอาอกเอาใจเทพเจ้านั่นเอง แล้วเราจะไปรู้ได้อย่างไรว่าเทพเจ้า ท่านจะพอใจแค่ไหน เราทำไปแค่นี้ เราเห็นว่า เออ เหตุร้ายยังไม่หมดไปเราก็นึกว่าเทพเจ้าท่านไม่พอใจนะ เราก็เอาใจมากขึ้นอีก หรือว่าทำไปแล้วอยากจะได้สิ่งที่ปรารถนานี้ก็อ้อนวอนไปแล้ว ทำพิธีบูชายัญบวงสรวงไปเท่านี้ยังไม่ได้ แทนที่จะมาคิดถึงเหตุผล แทนที่จะไปไหว้เทพเจ้าก็ไปคิดว่าตัวเองคงยังเอาใจไม่พอ เมื่อเอาใจไม่พอก็ต้องพยายามเอาใจให้มากขึ้นอีก วิธีบูชายัญบวงสรวงก็เลยวิจิตรพิสดารขึ้นทุกที จนกระทั่งว่ามีพิธีบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมากมายอย่างละเป็นจำนวน 500 500 โดยเฉพาะวัว 500 แพะ 500 แกะ 500 จนในที่สุดก็ถึงขั้นเอาคนไปบูชายัญ ต่อมาประเทศชาติเจริญมากขึ้นสังคมเจริญมากขึ้น ก็มีการออกกฎหมายห้าม อย่างอินเดียนนี่ อังกฤษเข้ามาปกครองก็มีการออกกฎหมายห้าม แล้วสังคมเป็นประชาธิปไตยขึ้นก็มีกฎหมายห้ามไม่ให้เอาคนมาบูชายัญ เพราะการฆ่าคนนี่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว แม้กระนั้นความเชื่อทางศาสนาก็เป็นเหตุให้คนยังพยายามอยากจะได้ผลประโยชน์จากการบูชายัญ ที่เมืองกัลกัตตาก็พระที่นั้นก็ยังเล่าว่า ยังมีคนพยายามบูชายัญด้วยการฆ่ามนุษย์อยู่ ก็จะมีการลักพาหญิงสาวพรหมจารีเอาไปฆ่าสังเวยเจ้าแม่กาลีที่เทวาลัยเจ้าแม่กาลีในเมืองกัลกัตตานี่ เป็นครั้งเป็นคราว อยู่ ๆ ก็ผู้หญิงสาวพรหมจารีก็หายไปจากบ้าน ปรากฏว่าถูกนำไปฆ่าสังเวยเจ้าแม่กาลีซะแล้วที่ศาลเจ้าแม่กาลีนั้นก็มีแท่นบูชายัญ เขาบอกว่า พอคนไปวางแล้วเวลาตัดศรีษะนี้ เลือดจากคอจะพุ่งตรงไปที่ปากเจ้าแม่กาลีพอดี สร้างประดิษฐ์ประดอยดีเหลือเกิน ถ้าเอาความคิดอย่างนี้เอาความสามารถนี้มาประดิษฐ์สิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์แก่มนุษย์นี่จะได้คุณค่ามหาศาลนี่แทนที่จะคิดอย่างนี้เอาไปประดิษฐ์ประดอยหาทางเอาใจเทพเจ้า เอาใจเจ้าแม่กาลี นี่แหละเป็นกันจนะกระทั่งแบบนี้ เรียกว่าแม้แต่กฎหมายลงโทษรุนแรงเขาก็ยังกล้า ยังพยามหาทางหาทางหลีกเลี่ยง นี่ก็คือสภาพแวดล้อมในสังคมตั้งแต่สมัยพุทธกาลนี่ คนก็ลุ่มหลงอยู่ในสิ่งเหล่านี้อ้อนวอนขออำนาจดลบรรดาของเทพเจ้า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาแล้ว ตรัสรู้ค้นพบความจริงเข้าถึงกฎธรรมชาติ ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยแล้วพระองค์ก็มาทรงแสดงธรรม เท่ากับว่าไปบอกแก่ประชาชนทั้งหลาย บอกว่า เออท่านทั้งหลายอย่ามัวไปมองออกไปข้างนอกนะ อย่ามัวไปหวังผลการดลบันดาลจากเทพเจ้า ไปขอให้ท่านช่วยโน่นช่วยนี่ สิ่งทั้งหลายนี่นะมันเป็นไปตามความจริงตามเหตุปัจจัยของมันเอง หันมาดูความจริงกันสิ อย่ามัวแต่มองไปที่เทพเจ้าว่าเราจะเอาโน่นเอานี่แล้วขอให้ท่านทำให้ ให้มามองตัวความจริงที่อยู่รอบตัวเรานี่แหละ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราว่าสิ่งทั้งหลายเนี่ยเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ผลที่เราต้องการนี้จะเกิดขึ้นด้วยการกระทำของเราด้วยการทำเหตุ ถ้าเราทำเหตุแล้วผลก็จะเกิดขึ้น นี่คือความเป็นไปตามเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็ชี้ชวนประชาชนนี่ให้หันเหเบนความสนใจจากการดลบันดาลของเทพเจ้าที่เป็นอำนาจภายนอกที่เลื่อนลอยที่ตัวเองมองไม่เห็นแล้วไม่สามารถบังคับควบคุมได้นี่ ให้หันมาดูความจริงของสิ่งทั้งหลายที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน คือตัวธรรมะ ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยตัวความจริงนี้ เราใช้ศัพท์สั้นนิดเดียวด้วยคำเดียวว่าธรรมะ จากเทพเจ้าที่ดลบันดาลนั้นพระพุทธเจ้าเบนความสนใจของประชาชนมาสู่ตัวธรรมะ เพราะฉะนั้นพุทธกิจอย่างหนึ่งที่สรุปได้ง่าย ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำก็คือ ทรงดึงประชาชนจากเทพมาสู่ธรรม จากเทพสู่ธรรมนี้คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพุทธกาล ประชาชนหลงใหลวุ่นวายอยู่กับเรื่องเทพเจ้า อ้อนวอนขออำนาจเทพเจ้า อ้อนวอนเทพเจ้าบันดาลโน่นบันดาลนี่อะไรต่าง ๆ นี้พระพุทธเจ้าดึงมาให้เขามาสนใจตัวธรรมะคือความจริงความเป็นเหตุปัจจัย อันนี้แหละคือหลักการใหญ่ของพุทธศาสนา เพราะฉะนั้นจึงเป็นการปฏิวัติสังคมในขณะที่สังคมเนี่ยมัววุ่นวายอยู่กับการหวังผลจากการดลบันดาลของเทพเจ้าต่าง ๆ พระพุทธเจ้าดึงคนให้มาสนใจตัวธรรมะ เมื่อมาสนใจตัวธรรมะความเป็นไปตามเหตุปัจจัยหรือความเป็นเหตุเป็นผลกันในสิ่งทั้งหลาย
ความเป็นเหตุเป็นผลความเป็นเหตุปัจจัยนั้นที่สัมพันธ์กับตัวมนุษย์คืออะไร คือมนุษย์นี้ต้องการผล ต้องการประโยชน์บางอย่างให้แก่ตนเอง ผลที่ต้องการนี้ก็ต้องเกิดจากเหตุ เหตุนั้นก็คืออะไรก็คือการกระทำของตนเอง เมื่อเราต้องการผล ก็ต้องการทำเหตุ การทำเหตุด้วยตัวของมนุษย์เอง อันนั้นก็คือตัวการกระทำ เพราะฉะนั้นตัวการกระทำเป็นตัวเหตุปัจจัยที่จะนำผลที่ต้องการมาให้ ตัวการกระทำของมนุษย์นั้น ท่านเรียกว่ากรรม เพราะฉะนั้นกฎแห่งธรรมะคือความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้นในส่วนที่เกี่ยวกับตัวมนุษย์ก็แคบลงมา เรียกว่ากรรมนั่งเอง อยากทำก็มาหากรรม กรรมก็ซ้อนอยู่ในธรรม เมื่อบอกแล้วว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยผลจะเกิดจากเหตุ เอ้าที่นี้ผลในส่วนที่เกี่ยวกับตัวมนุษย์ ผลที่มนุษย์ต้องการก็เกิดจากการทำเหตุ การกระทำเหตุนั้นคือตัวกรรม เพราะฉะนั้นผลที่เราต้องการก็เกิดจากกรรม เพราะฉะนั้นจากธรรมพระพุทธเจ้าก็ชี้แคบลงมาถึงกรรม พอมาถึงกรรม แล้ว ทีนี้ต่อไปอะไรล่ะ แล้วมนุษย์จะต้องทำกรรมให้สำเร็จผลที่ต้องการ ทีนี้ถ้าต้องการผลดีก็ต้องทำกรรมดี ถ้าหากว่าไม่ต้องการผลชั่วผลร้ายก็ต้องหลีกเลี่ยงกรรมชั่วร้าย ก็เลยมีหลักการว่ากรรมดีนำไปสู่ผลดี กรรมชั่วนำไปสู่ผลชั่ว ทำกรรมดีก็จะทำให้ได้รับผลดี ทำกรรมชั่วก็ได้รับผลชั่ว นี้มนุษย์ก็ต้องเพียรพยายามทำเอา แต่ว่ามนุษย์ที่เพียรพยายามทำเอานี่ ถ้าหากว่าตัวเองไม่มีความรู้เข้าใจทั้ง ๆ ที่มีความเพียรพยายามทำ ทำกรรมไปแต่ทำเหตุไม่ตรงผล ถ้าเหตุไม่ตรง ผลที่ต้องการก็ไม่เกิดขึ้น ถ้านั้นการทำกรรมก็ยังไม่ทำให้เกิดความมั่นใจว่าจะได้สำเร็จผลที่ต้องการเพราะว่าไม่รู้ว่าการกระทำใดจะนำไปสู่หนใดอันนี้ก็ขาดอะไรไปอย่างก็คือขาดปัญญา นี้ขาดปัญญาเพราะฉะนั้นจะต้องมีปัญญาเพื่อจะให้ทำกรรมที่ถูกต้องตรง ที่เป็นเหตุให้เกิดผลดีแท้ ๆ จริง ทำไงจะทำให้เกิดปัญญาขึ้นมาแต่ว่าตอนนี้ตัดสินได้ว่ามนุษย์จะต้องมีปัญญา ก็ต้องรู้เข้าใจแล้วก็ต้องมีปัญญารู้เข้าใจจะได้รู้ว่ากรรมไหนจะนำไปสู่ผลอันไหนที่ตนต้องการได้ อันนั้นก็คือเรียนรู้เหตุปัจจัยนั่นเอง จะได้ทำได้ตรงจุดนั้นคนเราจะต้องมีปัญญาจะทำให้มีปัญญาทำยังไงก็ต้องฝึกคนพัฒนาคนขึ้นมา ฉะนั้นก็เลยทำให้มีหลักการของพระพุทธศาสนาขึ้นมาว่ามนุษย์นี้จะต้องมีการฝึกฝนพัฒนานะเราก็เลยเกิดหลักการปฏิบัติในพุทธศาสนาขึ้นมาเรียกว่าสิกขา ซึ่งแปลว่าการศึกษาหรือการฝึกฝนมนุษย์ การฝึกฝนมนุษย์นี่เป้าหมายสำคัญก็ให้เกิดปัญญา เกิดปัญญาแล้วก็รู้ถึงความเป็นเหตุปัจจัยหรือถึงตัวเหตุที่จะทำให้เกิดผลที่ต้องการก็คือรู้ตัวธรรมะนั่นเอง รู้ตัวธรรมะรู้ความจริงของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย เสร็จแล้วพอตัวมีปัญญารู้เหตุปัจจัยได้ดีตัวเองก็มาทำกรรมได้สอดคล้องได้ถูกต้อง ก็ทำกรรมที่จะให้เกิดผลที่ดีงามที่ต้องการหลีกเลี่ยงกรรมที่จะเป็นเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดผลที่ไม่ดีได้ เพราะฉะนั้นหลักการของพุทธศาสนาในที่สุดก็มาถึงตัวมนุษย์ว่าจะต้องมีการสิกขา ก็มีการฝึกฝนพัฒนาอันนี้แหละก็เป็นหลักสำคัญของพุทธศาสนาจากเทพพระพุทธเจ้าดึงคนมาสู่ธรรม จากธรรมในนั้นแฝงเรื่องกรรมอยู่ จากเรื่องกรรมเพี่อจะให้กรรมได้ผลดี มนุษก็ต้องพัฒนาปัญญาขึ้นมา จะพัฒนาปัญญาขึ้นมาต้องมีสิกขา นี้จะให้มีการสิกขามีการฝึกฝนมนุษย์นั้นก็เพื่อปัญญานั่นแหละแต่ว่าปัญญาจะเกิดขึ้นนั้นมันต้องอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ ทุกด้านของมนุษย์ มนุษย์จะต้องมีพฤติกรรมที่ดีงามที่เอื้อต่อการเจริญปัญญา เอาไม่มีพฤติกรรมที่ดี ปัญญาก็ไม่เกิดเหมือนกัน ฉะนั้นก็ต้องวางฐานเอาพฤติกรรมต่าง ๆ ความประพฤติกายวาจาต้องจัดให้ดีเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่จะเอื้อต่อการแสวงหาปัญญา เพื่อตัวเองจะได้หาความรู้ได้เจริญปัญญายิ่งขึ้นจะต้องฝึกฝนจิตใจเพื่อสร้างสภาพจิตที่ดี แม้กระทั่งในที่สุดสร้างจิตให้เกิดสมาธิ สมาธิทำให้จิตเป็นกัมมนียะ กัมมนียะทำให้จิตเหมาะแก่งาน แล้วก็เอาไปใช้ทำให้พิจารณาคิดสิ่งต่าง ๆ สมาหิโต ยถาภูตัง ปชานาติ พอจิตมั่นคงเป็นสมาธิก็ทำให้เกิดปัญญาได้ง่ายและเอื้อต่อการเกิดปัญญา ฉะนั้นเพื่อจะให้เกิดปัญญานี่แหละก็เลยต้องมีการพัฒนาในด้านพฤติกรรมที่เรียกว่าศีลด้วย พัฒนาในเรื่องจิตด้วยก็เลยกลายเป็นสิกขา 3 ขึ้นมา มีศีล มีสมาธิ ปัญญา ศีลก็พัฒนาในเรื่องพฤติกรรมกายวาจา ในการสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางสังคมบ้าง ทางด้านวัตถุบ้าง แล้วก็พัฒนาการ ทางด้านจิตใจแล้วการพัฒนาปัญญาแล้วก็มาช่วยกันเสริมกันมนุษย์ก็จะเข้าถึงธรรมมากขึ้นตามลำดับ พอมนุษย์เข้าถึงความรู้ความจริงของเหตุปัจจัยทั้งหลายแล้ว อ้าวเราก็รู้ว่าจะทำกรรมยังไง จะสร้างเหตุปัจจัยอะไรถึงจะได้ผลดี มนุษย์ทำกรรมได้ถูกต้องก็เกิดผลดีตามที่ตัวต้องการ กรรมนี่ก็จะปราณีตขึ้นตามลำดับจนกระทั่งว่าพ้นกรรมไปเลย
นี่ก็คือหลักการใหญ่ ๆ ของพระพุทธศาสนา แต่หลักการใหญ่ที่ครอบคลุมเนี่ยมันก็เป็นเรื่องที่ว่าพูดง่ายทำยาก เวลาพูดนี่ไม่ยากเท่าไหร่ แต่ว่าเวลาปฏิบัตินี่แสนยาก โยม แค่รักษาศีลอย่างเดียวพัฒนาศีลก็แทบแย่แล้ว แต่ที่นี้อย่างไรก็ตามก็ขอให้ได้ภาพรวมไว้ก่อน ถ้าเราได้ภาพรวมของพุทธศาสนาไว้แล้วนี่ เราก็จะได้มองเห็นจุดหมายปลายทางเห็นความสัมพันธ์ในการปฏิบัติของเราว่าอันไหนโยงไปไหน แล้วเราจะปฏิบัติได้ถูกต้องดีขึ้น หลักการของพุทธศาสนานี้ ที่ว่าด้วยธรรมะนี่แหละจึงขยายไปสู่หลักปลีกย่อยต่าง ๆ แล้วหลักปลีกย่อยทั้งหลายนี้ก็โยงถึงกันหมดทุกอย่างเลย พระพุทธเจ้าทรงแสดงมาให้แล้ว และข้อสำคัญก็คือว่า พระองค์ไม่ได้แสดงไว้แค่นี้ไม่ได้แสดงแต่หลัก พระองค์ให้กำลังใจพวกเราด้วย ให้กำลังใจอย่างไร พระองค์ตรัสบอกว่า เอ้อมนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้นะ มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกฝนพันฒนาได้อันนี้แหละเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่พร้อมกันนั้นมองอีกด้านหนึ่งก็คือบอกว่า เป็นสัตว์ที่ต้องฝึกด้วยน่ะ ฝึกได้นี่ให้เกิดกำลังใจแต่ต้องฝึก นี่บอกให้สำนึกในหน้าที่ว่าเราเป็นคนนี่ต้องฝึกตน แต่อยู่อย่างสัตว์ทั้งหลายไม่ได้ ก็ต้องย้ำอีกทีหนึ่งว่าความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์ทั้งหลาย มนุษย์นี่เป็นสัตว์พิเศษ เป็นสัตว์พิเศษที่ว่ามีการฝึกฝนพัฒนาได้เท่านั้นเอง คือสัตว์ชนิดอื่นนี่มันฝึกฝนพัฒนาไม่ได้ มันมีข้อแตกต่างอย่างนี้ สัตว์ทั้งหลายอื่นที่เราเรียกว่าเดรัจฉานนั่นน่ะอยู่ด้วยสัญชาตญาณ ในแง่สัญชาตญาณแล้ว สัตว์ทั้งหลายนี้เก่งกว่า เราอย่าไปเทียบเลยนะสัญชาตญาณ มนุษย์เกิดมานี่อาศัยสัญชาตญาณได้น้อยไม่ค่อยมีความสามารถอะไรพิสูจน์ว่าเราแพ้สัตว์ทั้งหลายในเรื่องสัญชาตญาณ สัตว์ทั้งหลายนี้เกิดมา พอออกมาจากท้องพ่อท้องแม่ก็มีชีวิตอยู่ได้ช่วยเหลือตัวเองได้ สัตว์ทั้งหลายนั้นช่วยเหลือตัวเองได้ พอออกจากท้องแม่ก็เดินได้เลย หลายชนิดทีเดียว ว่ายน้ำได้ หากินได้ แต่ว่ามนุษย์นั้นอ่อนแอมาก พอคลอดออกมาแล้ว ถ้าไม่มีใครเลี้ยงดูประคบประหงมแล้วไม่สามารถมีชิวิตอยู่ได้ ต้องมีคนเลี้ยงดูจนกระทั่งแม้อยู่ได้ปีหนึ่งก็ยังช่วยตัวเองไม่ได้ อยู่ได้ปีหนึ่งแล้วนี่ ถ้าใครทิ้งก็ตายอีกแหละ ฉะนั้นมนุษย์นี่เป็นสัตว์ที่อ่อนแอไร้ความสามารถที่สุด แต่ว่า มีข้อดีพิเศษกืคือ ว่ามีการเรียนรู้ มนุษย์นั้นเรียนรู้มีการเรียนรู้ก็คือการศึกษานั่นเอง เมื่อมีการเรียนรู้มีการศึกษาก็ทำให้สามารถที่จะทำอะไรต่ออะไรได้ สามารถรับถ่ายทอดความรู้จากคนรุนเก่า พ่อแม่บอก ครูอาจารย์บอก คนแวดล้อมบอก ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นสามารถเอาความรู้ที่สะสมมาเป็นเวลาพัน ๆ ปีเนี่ยมาอยู่ในคนเดียวได้ อันนี้เป็นข้อประเสริฐพิเศษของมนุษย์ไม่เหมือนสัตว์ทั้งหลายอื่น เรื่องความพิเศษของมนุษย์นี้ก็จึงอยู่ที่การเรียนรู้อย่างที่ว่าแล้วการเรียนรู้นี่คือการศึกษา การศึกษาก็เป็นการฝึกฝนพัฒนาคนและตัวสิ่งสำคัญก็คือปัญญานั่นเอง ปัญญาทำให้รู้ทำให้ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้องแก้ปัญหาได้สำเร็จ ทีนี้สัตว์ทั้งหลายมันอยู่ด้วยสัญชาตญาณอย่างไรก็อย่างนั้นตลอดชีวิต เกิดมาอย่างไรก็ตายไปแค่นั้น ส่วนมนุษย์นี้เกิดมาโดยไร้ความสามารถ แต่เมื่อเรียนรู้แล้วก็ฝึกฝนพัฒนาไปจนกระทั่งว่ามีความสามารถพิเศษอย่างแทบจะไม่มีที่สิ้นสุด การที่มีพระพุทธเจ้าไว้นี้ เป็นประจักษ์พยานของการพัฒนามนุษย์ให้เห็นว่ามนุษย์นี้สามารถพัฒนาได้สูงสุดจนเป็นพุทธะ พุทธะนั้นคือคำแสดงภาวะที่พัฒนาสูงสุดของมนุษย์ ว่ามนุษย์นั้นพัฒนาสูงสุดได้ถึงขนาดนี้ก็เป็นพุทธะ ก็ต้นแบบสำหรับมนุษย์ทั้งหมด เพราะฉะนั้นเราจึงกล่าวว่ามนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ ขอย้ำว่าทางพุทธศาสนานั้นไม่ได้ถือว่าประเสริฐเฉย ๆ มนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่ประเสริฐด้วยการฝึก ถ้าไม่ฝึกแล้วหาประเสริฐไม่ เราไปพูดกับมนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐความจริงพูดด้วน ๆ ขาดห้วนไป ต้องพูดให้เต็มว่ามนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่ประเสริฐด้วยการฝึก พอฝึกแล้วประเสริฐสุดทันต่อมะนุทเสโสสุ ในหมู่มนุษย์นั้นผู้ที่ฝึกแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด พอประเสริฐจนกระทั่งว่า เทวดาและพระพรหมก็น้อมนมัสการ เพราะฉะนั้นจะมีพุทธพจน์มากมายที่ให้กำลังใจแก่มนุษย์ว่าให้มนุษย์เรานี่ฝึกฝนพัฒนาตนไปแล้วเทวดาทั้งหลายพรหมทั้งหลายก็น้อมนมัสการเอง เราไม่ได้ไปเรียกร้อง เราไม่ได้ไปดูถูกท่าน แต่ว่าพระคุณความดีจากการที่เราได้บำเพ็ญ ได้ฝึกฝนพัฒนาตนนี้แหละ เทพพรหมทั้งหลายก็หันมาน้อมนมัสการ อันนี้เป็นการเตือนมนุษย์ไม่ให้มัวไปสยบอยู่คือมนุษย์ในสมัยก่อนพุทธกาลนั้น มัวแต่มองออกไปข้างนอกตัวไม่ได้มองดูตัวเองว่าเราจะต้องทำอะไร มองแต่ว่าเราจะได้อะไรจากเทพเจ้ามาช่วย มองไปหาพระพรหม มองไปหาเทวดาท่านจะช่วยอะไรเราได้บ้างไปอ้อนวอน คิดแต่อย่างนั้นตัวเองไม่เอาใจใส่ที่จะฝึกฝนพัฒนา นี่แหละมนุษย์จะเป็นอย่างนี้ ที่จริงทำอย่างนั้นมันก็ง่ายดีมนุษย์ก็เลยมีความโน้มเอียงที่จะทำอย่างนั้น ขอคนอื่นง่ายกว่าทำเองมันยาก งั้นก็เลยไม่คิดจะฝึกตนสักทีหนึ่ง คิดแต่ว่าจะขอให้เทพพระเจ้าขอให้พระพรหมช่วยดลบันดาล คิดกันแต่อย่างนี้
ทีนี้พระพุทธเจ้ามาแก้ปัญหานี้เรียกว่าปฏิวัติสังคม ดึงให้หันมาดูตัวเองว่าเรานี่จะต้องทำอะไรบ้าง จากการที่ดูว่าตัวต้องทำอะไรบ้างก็เลยให้ดูเรื่องธรรมะคือความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนี่แหละ นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ แล้วพระพุทธเจ้าก็มาให้เรานี่สนใจเรื่องความสามารถพิเศษที่มีอยู่ในตัวเราเนี่ยความพิเศษของมนุษย์นั้นคือการที่เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ จะมีพุทธพจน์บอกว่าสัตว์ทั้งหลายอื่นนี่น่ะ มันฝึกตัวเองไม่ได้ สัตว์โดยทั่วไปแล้วฝึกไม่ได้ สัตว์บางชนิดฝึกได้ แต่ฝึกตัวเองไม่ได้ต้องให้คนฝึก อันนี้เป็นข้อพิเศษนะแม้แต่สัตว์ที่ฝึกได้ยังต้องอาศัยคนฝึก ช้างฝึกตัวเองได้ไหม ไม่ได้ ม้าฝึกตัวได้ไหม ไม่ได้ ลิงฝึกตัวเองได้ไหม ไม่ได้ ให้คนฝึกทั้งนั้น ท่านบอกว่า ปะระมะสัตตา อะทันตาชานิยาสินตะวา เป็นต้น บอกว่าช้างหลวง ช้างพลาย ช้างอะไรต่าง ๆ ตลอดจนกระทั้งม้าอาชาไนยต่าง ๆ เนี่ย เมื่อได้รับการฝึกแล้วก็ประเสริฐเป็นสัตว์ที่เก่ง แต่มนุษย์ที่ฝึกแล้วประเสริฐกว่านั้น คือสัตว์ทั้งหลายเนี่ย มันฝึกตัวเองไม่ได้ต้องอาศัยมนุษย์ฝึก แถมฝึกได้ในขอบเขตเดียวเท่านั้นเอง ฝึกไปถึงระดับหนึ่งไปไม่ไหวแล้ว มันได้แค่นั้น แต่มนุษย์นี่ฝึกตัวเองได้แล้วฝึกตัวเองไม่มีที่สิ้นสุดจนกระทั่งเป็นพุทธะได้ ประเสริฐเลิศที่สุด นั้นมนุษย์ที่จะต้องหันมาดูความพิเศษของตัวเองตรงนี้แทนที่เราจะไปติดอยู่กับคำว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐแล้วก็หลงภูมิใจตัวเองอย่าเอาเลยนะมาสนใจที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีกว่าว่าความพิเศษและความประเสริฐของมนุษย์นั้นอยู่ที่ความเป็นสัตว์ที่ฝึกได้ อันนี้มีประโยชน์กว่า ถ้าเราไปติดคำว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐแล้วเราหลงตัวเองเลย เราก็ไม่ต้องทำอะไร แต่ถ้าเรามาเอาตามพุทธพจน์ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้แลัวต้องฝึกนี่ เราเห็นทางปฏิบัติเลยใช่ไหม แล้วมันจะดีกว่าเยอะแยะ นี่พุทธพจน์เรากลับไปเอา คำของพระพุทธเจ้านี่ แสดงว่าบางทีเราก็เพลิน มองข้ามไปเหมือนกัน ถ้าเราจะเอาคำที่ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐต้องต่อว่าเป็นสัตว์ที่ประเสริฐด้วยการฝึก อันนี้จึงจะครบถ้วนใจความที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ รวมความว่าพระพุทธเจ้าได้ชี้เรื่องธรรมะให้แล้ว ความจริงความเป็นไปตามเหตุปัจจัยดึงความสนใจจากเทพมาสู่ธรรมะ ดึงความสนใจจากการรอคอยอำนาจดลบันดาลของเทพเจ้ามาสู่การทำความเพียรพยายามด้วยกรรมของตนเองที่ดี พอดึงมาเสร็จแล้วพระพุทธเจ้าไม่ได้หยุดแค่นั้นก็ชี้มาที่ในตัวมนุษย์อีก บอกว่าเอ้อ อย่าไปท้อใจน่ะ มีกำลังใจเราเป็นสัตว์พิเศษที่ฝึกตัวเองได้พัฒนาได้ พอมาถึงอันนี้แล้วมนุษย์ก็มีกำลังใจ ตอนนี้ให้ข้อสังเกตว่าจะมีตัวธรรมะ 2 ตัว ธรรมะที่หนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าดึงมาจากเทพสู่ธรรมะ เขียนเป็นภาษาบาลี ธอธงไม่หันอากาศ มอม้า 2 ตัว สระอะ นี้คือตัวธรรมะ ที่พระพุทธเจ้าต้องการชี้ให้เราทุกคนเข้าใจ แล้วมาดูที่ตัวเราก็เป็นธรรมะเหมือนกันเป็นทอทหาร ทอทหาร ทอทหารไม้หันอากาศ มอม้า 2 ตัว สระอะ ธรรมะแปลว่าสัตว์ที่ฝึกได้ ดู 2 ตัวนี้ พอเลยโยม แล้วชาวพุทธจะปฏิบัติเข้าสู่ทางที่ถูกต้อง 1 หลักการใหญ่ที่อยู่ล้อมรอบตัวเราทั้งหมดเนี่ยชีวิตของเราก็อยู่ใต้สิ่งนี้ด้วยก็คือตัวธรรมะ ทอธง ความจริงที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของกฏธรรมชาติ แล้วตัวเราเองก็เป็นทอทหาร ไม้หันอากาศ มอม้า 2 ตัวสระอะ เป็นธรรมะเหมือนกัน แล้วเจ้าตัวธรรมะตัวที่ 2 ตัวธรรมะอยู่ที่ตัวเราเนี่ยเราภูมิใจในความสามารถเจาะจุดถูกแล้วทีนี้ เราก็ฝึกตัวเอง เราไปจะเข้าถึงตัวธรรมะที่ 1 ตัวทอธงได้ แล้วชีวิตของเรานี้จะเป็นชีวิตที่ดีงาม ตัวธรรมะ ตัวทอทหาร นี่ฝึกไปเป็นบุคคลแรกที่เข้าถึงตัวธรรมที่ 1 ตัวทอธง กลายเป็นพุทธะเลย ก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะฉะนั้นหลักพระรัตนตรัยก็เกิดขึ้นจากอันนี้ ก็คือว่ามีมนุษย์ผู้หนึ่งที่เดิมก็เป็นเหมือนกับมนุษย์ทั้งหลายนี่แหละเหมือนกับคนอื่น ๆ นี่แหละ แต่ได้ฝึกฝนพัฒนาพระองค์มาจนกระทั้งเกิดปัญญาที่เป็นโพธิ ปัญญานั้นจะพัฒนาจนเป็นโพธิ เป็นโพธิญาณก็ได้ เรียกว่าโพธิญาณ ปัญญาที่เรียกว่าโพธิญาณ นี้ก็สามารถหยั่งเข้าถึงตัวธรรมะทอธงที่ว่านี้ พอเข้าถึงธรรมะทอธงตัวนี้ มนุษย์ผู้นั้นได้กลายเป็นพุทธะไปเลย เป็นพุทธะไปแล้ว แล้วก็เลยก็มี 2 ขึ้นมาแล้ว ตอนนี้ 1 ทอธง ธรรมะทอธง นั้นคือตัวความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดา 2 ก็คือตัวมนุษย์ที่เข้าถึงตัวธรรมะทอธง นั้นได้กลายเป็นพุทธะ 2 แล้ว อันนี้คือต้นกำเนิดของพระรัตนตรัย นี้พอพุทธะทอทะหาร แล้วก็ที่ได้ฝึกจนกระทั่งเข้าถึงธรรมะทอธง เป็นพุทธะไปแล้ว ก็นำเอาธรรมทอธงนี่มาชี้แจงประกาศสั่งสอนมนุษย์อื่นต่อมามนุษย์อื่นต่อมาก็สามารถเข้าถึงความจริงนี้ได้ประกอบกันเข้าเป็นชุมชน หมู่ชนผู้พัฒนาตนเป็นพุทธะอย่างเดียวกับพระพุทธเจ้า ชุมชนอันนี้เป็นชุมชนและหมู่ชนพิเศษให้ชื่อว่าสังฆะ
เราก็ได้สิ่งที่เรียกว่าพระรัตนตรัยที่เป็นหลักประกอบของพุทธศาสนา 3 ประการ พระรัตนตรัยก็เกิดขึ้นแล้ว หลักพระรัตนตรัยนี้ก็เอามาใช้เป็นเครื่องเตือนใจเป็นเครื่องระลึกสำหรับพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เพื่อจะน้อมนำจิตเข้าสู่การปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาแล้วจะได้ไม่เขวถ้าเราระลึกถึงพระรัตนตรัยถูกต้องแล้วโยมจะไม่พลาดจากหลักพุทธศาสนา ถ้าหากเราเข้าใจพระรัตนตรัยไม่ถูกไม่ระลึกถึงพระรัตนตรัยเป็นเครื่องเตือนใจตัวเองบางทีเราก็เขวออกไป ดีไม่ดีถึงออกไปสู่เทพอีกตามเคย แทนที่จะอยู่กับธรรมะออกไปสู่เทพอีก อันนี้จะอยู่ได้ยังไง หลักพระรัตนตรัยนี่จากที่อาตมาพูดมาแล้วชัดเจนแล้ว ว่ามนุษย์นี่พัฒนาตัวเองจนเข้าถึงธรรมะก็กลายเป็นพุทธะ อันนี้หลักพุทธะนี้ก็จะมาเตือนใจเรา ให้เรานี้ได้ประโยชน์เวลาเราระลึกถึงนี้ หลายอย่างหลายประการ
ประการที่ 1 ก็เป็นเครื่องที่ชี้โยงมาถึงตัวเรา เวลาเราระลึกถึงพระพุทธเจ้าก็เตือนใจให้เราระลึกว่า เราโอ้ในตัวเราที่เป็นมนุษย์นี่ก็มีความสามารถอันนี้อยู่ที่เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ ที่จะฝึกฝนพัฒนาตัวไปเป็นอย่างพุทธะนั้น พระพุทธเจ้าเคยเป็นอย่างเรานี้แหละ เป็นมนุษย์นี่แต่ด้วยความสามารถหรือศักยภาพที่ฝึกตัวเองได้ พระองค์ก็พัฒนาพระองค์จนเป็นพุทธะไป เพราะฉะนั้นพอระลึกถึงพระพุทธเจ้าก็เป็นต้นแบบเตือนใจเราว่า เรามีความสามารถอันนี้อยู่จะต้องฝึกฝนพัฒนาตัวเรา ก็เท่ากับเตือนให้ระลึกถึงหน้าที่ของมนุษย์ หน้าที่ของมนุษย์ก็คือการที่จะต้องฝึกฝนพัฒนาตัวเองจะเรียกว่าพัฒนาศักยภาพก็ได้
อันที่สอง อะไรอีก อันที่สองก็ให้กำลังใจซิ บอกในการที่จะพัฒนาฝึกฝนนี่เราจะนึกว่ายาก ยากแล้วเราก็จะท้อ อันนั้นพอเราระลึกถึงพระพุทธเจ้า เราก็นึกว่าเอ้า มีตัวอย่างเป็นจริงนี่ มีผู้ที่เข้าถึงความจริงเป็นพุทธะอย่างนี้ได้แล้ว มีผู้ที่พัฒนาตนได้สูงสุดอย่างนี้ เป็นจริงนี่เราเห็นพระพุทธเจ้า มีอะไรเราก็เกิดกำลังใจว่าเราทำได้ เราทำได้ เราทำได้น่ะ อันนี้ได้สองแล้วน่ะ
หนึ่งเตือนให้ระลึกถึงหน้าที่ของเราในความเป็นมนุษย์ต้องฝึก
สองก็ทำให้มีกำลังใจว่าเรามีแบบอย่าง มีท่านที่ทำได้จริงอย่างนี้แล้วเราก็ทำได้อย่างพระองค์ สองก็เกิดกำลังใจอะ สามอะไรอีก
สาม ก็ได้แบบอย่างวิธีปฏิบัติ เอ้อพระพุทธเจ้าทำมายังไงท่านเดินหน้านำทางให้เราแล้ว เราง่ายขึ้นแล้วเราไม่ต้องไปเที่ยวลองผิดลองถูกอีกแหละ ถ้าเราไม่มีพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างให้ เราก็แย่ซิใช่ไหมลองผิดลองถูกเมื่อไหร่จะถึงสักที พระพุทธเจ้าทำไว้อย่างนี้แถมบอกวิธีว่าให้เยอะแยะด้วย เราก็ได้ตัวอย่างแบบอย่างวิธีการที่พระองค์ได้นำทางไว้ให้แล้วชี้ไว้ให้แล้วเราสะดวกสบายหลายอย่าง เพราะฉะนั้นการระลึกถึงพระพุทธเจ้านี่ได้ประโยชน์ 3 ประการอย่างน้อยเจริญพร
1 เดือนใจให้ระลึกถึงหน้าที่ของเราเองที่ต้องฝึกฝนพัฒนาตน
2 ก็ทำให้เราได้กำลังใจที่จะฝึกฝนพัฒนาอย่างนั้น
3 ก็ได้แบบอย่างวิธีปฏิบัติทำให้เราทำได้ง่ายขึ้น
ทีนี้พอพระพุทธเจ้าชี้มาถึงการพัฒนาตัวเรา พระองค์ก็ชี้ต่อไปว่า เอ้อที่จะเธอจะสำเร็จอย่างนี้ได้พัฒนาตนสำเร็จ เธอต้องเข้าถึงธรรมะน่ะใช่ไหม การที่จะพัฒนาตนได้สำเร็จนี้เราต้องเข้าถึงธรรมะ เริ่มต้นต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามธรรมะ เพราะการพัฒนาตัวของเรานั้นต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้้งนั้นเลย ถ้าเราพัฒนาตัวเองเราทำไม่ตรงตามเหตุปัจจัยไม่ตรงตามกฎธรรมชาติไม่ตรงตามตัวธรรมไม่สำเร็จหรอก เพราะฉะนั้นเราจะต้องยึดถือหลักธรรมะเป็นสรณะเป็นเกณฑ์ตลอดเลยตั้งแต่ต้นจนจบเลย และการดำเนินชีวิตที่ดีของเรานี่เราต้องปฏิบัติตามนี้แหละ ธรรมะจะต้องเป็นสรณะเป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึก เป็นเครื่องเตือนใจตลอดเวลา ชีวิตประจำวันเนี่ยมีประสบการณ์ต่าง ๆ เข้ามารับอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจนี่ก็ต้องมองในแง่ของธรรมะคือมองตามเหตุปัจจัย พอเริ่มเอาหลักของธรรมะ คือความเป็นไปตามเหตุปัจจัยมาใช้ เราก็เริ่มฝึกตัวเองแล้ว แต่ก่อนนี้เราไปมองสิ่งทั้งหลายตามชอบใจไม่ชอบใจ พอไปเจออารมณ์อะไรเข้ามาทางตาหูจมูกลิ้นกายมันสบายก็ชอบใจไม่สบายก็ไม่ชอบใจอยู่ด้วยความชอบใจไม่ชอบใจ แล้วก็คิดปรุงแต่งไป ยินดียินร้าย มนุษย์ก็เป็นอย่างนี้มนุษย์ไม่ได้ฝึกฝนพัฒนาท่านเรียกว่า อะสุตะวาปุชะโน ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับไม่ได้เรียนรู้ ก็จะเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น คือว่ามีการรับรู้ด้วยความชอบและชัง ยินดีและยินร้าย แต่พอเริ่มฝึกตนจะเริ่มเข้าสู่ความเป็นอริยะชนหรือว่าเป็นอริยะสาวกก็คือรับรู้โดยมองตามเหตุปัจจัยโดยใช้ปัญญา พอเริ่มมองตามเหตุปัจจัยมองเห็นตามความจริงก็จะกำจัดป้องกันแก้ไขความยินดียินร้ายชอบชังได้ จิตใจก็จะสบายขึ้นแล้วเจริญปัญญาเกิดความรู้เข้าใจไม่ใช่มองด้วยโมหะ ไม่ใช่มองแต่สักแต่ว่าโลภะโทสะโมหะเท่านั้น อันนั้นเอามาใช้ธรรมะก็เป็นที่พึ่งเป็นสรณะของเราในชีวิตประจำวันเลย แต่ว่ารวมความก็คือว่าชีวิตของเราต้องเดินตามธรรมะตลอด จนกระทั่งในที่สุดเมื่อถึงธรรมะเข้าถึงตัวธรรมะจริง ๆ เข้าถึงความจริงที่เรียกว่าเป็นหลักการใหญ่แล้วเราก็กลายเป็นพุทธะด้วยเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า แต่เพราะว่าเราไม่ได้ค้นพบธรรมะด้วยตนเองเราก็เลยไม่ได้เป็นสัมมาสัมพุทธะ เราก็เป็นอนุพุทธะไป เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระสาวก ที่ตรัสรู้แล้วนี่ มีในพระสูตร พระองค์เรียกพุทธะเหมือนกันนะ ตอนที่พระสารรีบุตร โมคคัลลานะ เดินเข้ามา มาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า นั่นพุทธะกำลังมา นั้นก็คือว่า ทุกคนที่ได้ฝึกตนจนกระทั้งเข้าถึงธธรรมะโดยสมบูรณ์อย่างพระองค์ก็เป็นพุทธะเช่นเดียวกับพระองค์เหมือนกัน ทีนี้พุทธะที่เป็นอนุพุทธะนี่แหละก็จะมีการพัฒนาตนขึ้นมา เมื่อมนุษย์มีการฝึกฝนพัฒนาตน เขาเริ่มใช้ความสามารถที่จะอยู่ของเขามาเข้าถึงธรรมะเอาตัวธรรมะทอทหารมาประสานกับธรรมะทอธง ตอนนี้เขาก็จะเดินในทางของการเป็นพุทธะ เมื่อเขาเดินทางที่จะเข้าความเป็นพุทธะนี้เขาจะเริ่มเป็นอริยชนจะก้าวหน้าไปตามลำดับเป็นคนที่พัฒนาขึ้นมาระดับแรกที่ท่านยอมรับก็คือเป็นโสดาบัน พอพัฒนามากขึนก็เป็นสกทาคามี พัฒนามากที่เป็นอนาคามี จนกระทั่งจบก็เป็นพระอรหันต์ ท่านเหล่านี้ก็อยู่ในสายของการศึกษาระหว่างที่ยังไม่จบการศึกษายังไม่บรรลุธรรมะสูงสุดก็เรียกว่าเป็นเสขะ เสขะก็มาจากคำว่าเสกขะ เสกขะก็มาจากสิกขา สิกขาแปลงอีกเป็นเสกขา เสกขาตัดอาเลยก็เป็นอะ เป็นเสกขะ นั้นคนผู้บำเพ็ญสิกขานั่นเอง ผู้บำเพ็ญสิกขาก็เป็นเสกขะ นั่นเริ่มได้ชื่อว่าเข้าสู่ชุมชนที่จะเป็นพุทธะแล้ว พอจบก็เป็นเสกขะไม่ต้องศึกษาต่อไป ชุมชนนี้ก็เกิดขึ้นมาคือชุมชนของคนที่มีการศึกษาพัฒนาตน ชุมชนนี้กำหนดให้เรียกชื่อว่าสังฆะสมาชิกของชุมชนซึ่งเป็นนักศึกษาผู้บำเพ็ญสิกขาได้สร้างชุมชนนี้ขึ้นเป็นจริงมีอยู่จริงเป็นไปได้ แล้วเราก็จะต้องเข้าร่วมในชุมชนนี้ด้วย เพื่อสร้างสรรค์ชีวิตสังคมที่ดีงามขึ้น ถ้าเราเอาหลักสังฆะมาเตือนใจเรา เราก็จะได้เพิ่มกำลังใจที่โยงมาถึงตัวเองแล้ว ตอนแรกเรามองพุทธะ อ้อมีมนุษย์ผู้หนึ่งที่ได้พัฒนาตนสูงสุดเป็นแบบอย่างเป็นพุทธะ 2 ที่จะพัฒนาอย่างนั้นสำเร็จเพราะเข้าถึงธรรมะ 3 ตัวเราล่ะ ตัวเราก็อยู่ในชุมชนที่เป็นสังฆะได้ เพราะฉะนั้นมีประจักษ์พยานให้เห็นว่าเราก็จะเป็นได้อย่างนั้น เราก็เกิดหลักพระรัตนตรัยขึ้นมา ถ้าเราระลึกถึงพระรัตนตรัยอย่างถูกต้อง เราก็จะเกิดกำลังใจและสำนึกปฏิบัติในหน้าที่แล้วเราจะปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยถูกต้องด้วย อันนี้คือพระรัตนตรัยซึ่งมาเป็นไตรสรณะ เป็นที่พึ่งที่ระลึกเตือนใจเรา 3 ประการ ตกลงหลักพระรัตนตรัยนี้ก็เป็นเครื่องนำเราเข้าสู่ธรรมะนั่นเอง
เมื่อเราได้ระลึกถึงหลักพระรัตนตรัยอย่างนี้เราก็จะเข้าสู่หลักการที่ว่าสิ่งทั้งหลายนี้จะต้องปฏิบัติไปตามกฎแห่งธรรมะคือความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ตอนนี้แหละที่หลักอริยสัจจะมา พอน้อมระลึกถึงพระรัตนตรัยถูกต้องแล้ว หลักพระรัตนตรัยนี้จะน้อมนำไปสู่หลักอริยสัจ 4 ประการ นี้อันนี้พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้เองในคาถาธรรมบท พระองค์ตรัสบอกว่าพะหุงเวสะระนังนันยันติพะตาติวนาอนิจะ เป็นต้น ก็ตรัสบอกว่า มนุษย์ทั้งหลายถูกภัยคุกคามแล้วพากันหรือเอาเจ้าป่าเจ้าเขาต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์อะไรต่าง ๆ เป็นที่พึ่งที่ระลึกแต่สิ่งเหล่านั้นหาใช่ที่พึ่งอันเกษมไม่ บุคคลถือเอาสิ่งเหล่านั้นเป็นที่พึ่งแล้วย่อมไม่อาจพ้นจากทุกข์ทั้งปวง โยจะพุทังจะมันจะสังฆังสะระณังคะโต ส่วนผู้ใดมาถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์เป็นสรณะ มีปัญญารู้เข้าใจทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และทางให้ถึงความดับทุกข์ นั้นจึงจะเป็นสรณะอันเกษม บุคคลเข้าถึงสิ่งเหล่านี้เป็นสรณะแล้ว ย่อมพ้นทุกข์ทั้งปวงได้อันนี้แหละที่เป็นสิ่งสำคัญ พระพุทธเจ้าให้หลักพระรัตนตรัยไว้นี่เพื่อโยงเราเข้าสู่ธรรมดานั่นเอง เพราะมิฉะนั้นเราก็จะไปหลงสิ่งอื่น ๆ อย่างที่ว่า มนุษย์ทั้งหลายถูกภัยคุกคามแล้วก็ไปยึดถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ อ้อนวอนขอผลดลบันดาลอย่างที่เป็นมาในสังคมอินเดีย จนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็วุ่นวายอยู่กับเรื่องเหล่านี้ เทวดาในอินเดียแทนที่จะน้อยลงมากขึ้นทุกที ท่านที่อยู่ในอินเดีย บอกว่าเทวดาอินเดียไม่รู้กี่หมื่น ก็แกก็ตั้งใจหาทางอ้อนวอนกันอยู่นี่แหละ เอาอกเอาใจยังไงก็ไม่พอ นี้ถ้าหากว่ากฎหมายไม่ออกมานะ ฝรั่งไม่เข้ามาปกครองแล้วไม่มีการปกครองแบบปัจจุบัน ป่านนี้อินเดียพัฒนาบูชายัญไปถึงไหนก็ไม่รู้น่ะ ป่านนี้มันเอาใจไม่รู้จะสิ้นสุด การเอาใจเทพเจ้านี่ ไม่มีทางสิ้นสุดเพราะเราไม่รู้ใจเทพเจ้า ไม่รู้ว่าเทพเจ้าจะเอายังไงเพราะฉะนั้นเป็นหลักเตือนใจชาวพุทคำว่าต้องคอยตะล่อมตัวเองให้เข้าสู่หลักของพระพุทธศาสนาให้ดี มิฉะนั้นเราจะเพี้ยน มันไปสิ่งล่อมันง่าย การที่จะไปขออำนาจดลบันดาลภายนอกนี้ง่ายเหลือเกินใช่ไหม คนเราใจมันน้อมไปในทางที่จะอ่อนแอการที่จะฝึกฝนพัฒนาตนเองทำกรรมด้วยตนเอง นี้มันยาก แต่ว่าความจริงก็เป็นความจริงอยู่อย่างนั้นแหละ นั้นหลักการนี้ไม่เคยเปลี่ยนแปลง จริงอย่างไรก็จริงอย่างนั้น มนุษย์ทั้งหลายถูกภัยคุกคามแล้ว นี่จุดเริ่มต้นมนุษย์อยู่ที่นี่ เพราะถูกภัยคุกคามก็หันไปหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หันไปหาพึ่งสิ่งภายนอกขอให้สิ่งโน้นช่วย สิ่งนี้ช่วย มันก็พัฒนาวิธีอ้อนวอนเป็นบูชายันต์อะไรเป็นไปตามเรื่องของมัน นี้พระพุทธเจ้าเข้าถึงธรรมะ แต่ว่าการที่จะโยงคนเข้าหาธรรมะตัวหลักความจริงนี้ก็ต้องมีตัวเชื่อมโยงให้ก็เอาพระพุทธเจ้าตัวพระองค์เองมาเป็นตัวเชื่อมใช่ไหม ก็เป็นหลักพระรัตนตรัยข้อแรก เอ้ามีพุทธะแล้วเกิดขึ้นมนุษย์นี่แหละเราทุกคนเหมือนกันเป็นมนุษย์ สามารถพัฒนาได้เป็นพุทธะได้ พอมีพุทธะมาเป็นแบบให้ 1 ก็ทำให้เรามองเห็นธรรมชาติของตัวเราเองที่เป็นสัตว์ที่ฝึกฝนพัฒนาได้ พัฒนาได้เป็นธรรมะ ทอทหาร แล้วก็มีกำลังใจที่จะฝึกฝนพัฒนาตนเองแล้วก็ได้แบบอย่างเราก็ทำไปตามหลักธรรมะ เข้าถึงธรรมะ ตัวธรรมะ เข้าพุทธะ เพราะพุทธะก็โยงเราเข้ามาสู่ธรรมะ แล้วเราสำนึกในการที่เราก็เป็นคนหนึ่งมีตัวอย่างที่เข้าไปสังฆะกันได้เยอะแยะแล้ว เราก็จะต้องทำได้ด้วย เราก็มาปฏิบัติตามธรรมะพอถึงจุดนี้แหละธรรมดานี่แหละก็ขยายเป็นอริยสัจ 4 ประการเริ่มต้นด้วย เอ้าสิ่งที่เกี่ยวข้องกับท่านทั้งหลายคือสิ่งที่อยู่รอบตัวที่มันเกิดเป็นปัญหาขึ่นได้นี่เรียกว่าทุกข์ ต่อจากนั้นเราก็ดูซิว่าเราจะแก้มันได้ แก้มันได้กลายเปลี่ยนมันพลิกมันจากเป็นทุกข์ให้กลายมันไม่มีทุกข์ สิ่งทั้งหลายที่เราเกี่ยวนี่แหละเราปฏิบัติต่อไม่เป็นทุกข์ทั้งนั้น พอปฏิบัติต่อมันถูกต้องมันพลิกจากทุกข์เป็นหายทุกข์หมด ทุกข์เป็นสุขไปเลย เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็เริ่มจากทุกข์ตัวธรรมะนี้จะทำให้ท่านรู้จักสิ่งทั้งหลาย ไอ้ที่มันเป็นปัญหาแก่ท่านนี่ ท่านรู้มันเสียก่อน เอ้าจับตัวมันให้ได้ เสร็จแล้วก็คลำหาเหตุ สืบสาวหาเหตุ สมุทัยรู้แล้ว รู้เป้าหมายจุดหมายของตัว แล้วก็รู้ว่าตัวเองทำได้น่ะ เสร็จแล้วก็บอกวิธีปฏิบัติให้พลิกมันซะ พอปฏิบัติถูกต้องทุกข์นั้นก็หายไปเลย ก็กลายเป็นว่าทุกข์นั้นไม่มี พอไปปฏิบัติตามหลักธรรมที่สุดแล้วทุกข์ไม่มี เพราะทุกข์มันหายไปเลย อันนั้นคือความสิ้นทุกข์ ดับทุกข์ หมดทุกข์ เพราะฉะนั้นท่านผู้ปฏิบัติสำเร็จตามธรรมะ เข้าถึงธรรมะแท้จริงแล้วนี่ทุกข์ไม่มีหายไป ทุกข์นั้นมีแต่ในธรรมชาติ ตามธรรมดาของมัน สิ่งทั้งหลายเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา มันก็เป็นไปตามธรรมดาธรรมชาติของมัน แต่มนุษย์นี้ไม่รู้ไม่เข้าใจเลยตกเป็นทาสถูกกฎธรรมชาติคลอบงำเกิดทุกข์ขึ้น พอรู้ความจริงเข้าถึงค่อย ๆ เป็นอิสระทุกข์น้อยลงสุขมากขึ้นจนกระทั่งในที่สุดทุกข์หมดไปไม่เหลือ เพราะว่าทุกข์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติก็เป็นเรื่องของธรรมชาติไป ใครไปแก้ได้ทุกข์ในธรรมชาติ สิ่งทั้งหลายสังขารเป็นทุกข์ นี่ใครไปแก้ได้ แก้ไม่ได้ แต่ว่าสิ่งทั้งสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ทำไมมาเป็นในเราด้วย ที่นี้พอเราปฏิบัติถูกความจริงเข้าถึงธรรมะแล้ว ทุกข์ที่มีในธรรมชาติก็เป็นทุกข์ตามธรรมชาติไป แต่ว่าไม่เข้ามาคลอบงำจิตของเรา ๆ เราไม่เป็นทุกข์ไปด้วย งั้นเรียกว่าเป็นอิสระหลุดพ้น ก็เป็นการปฏิบัติตามธรรมะไปจนกระทั่งถึงจุดหมาย แต่ว่าก่อนที่จะถึงจุดหมายที่หมดทุกข์อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ได้ มนุษย์จะประเสริฐขึ้นตามลำดับมีความดีความเกิดขึ้นในชีวิตของตนเองเป็นส่วนประกอบที่ดีงามของสังคมเป็นมนุษย์ที่เกื้อกูลต่อชาวโลก ชีวิตก็ดีงามสังคมก็ดีงามช่วยกันสร้างสรรค์โลกนี้ให้น่าอยู่ไปด้วยทุกคนก็เป็นสุขร่วมกัน ถ้าปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนานี่ ก็จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเนี่ยดีงามขึ้นพร้อมกับการประสานกลมกลืนและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ถ้าหากว่าเป็นวิถีของมนุษย์ที่เป็นปุถุชนไม่ฝึกตนก็หันไปคิดจะแก้ไขข้างนอกเอาชนะข้างนอกอย่างวิทยาศาสตร์นี้ก็มุ่งหวังพิชิตธรรมชาติ เสร็จแล้วก็จะจัดการกับโลกภายนอก ตัวเองไม่เอาชนะไม่เอาชนะธรรมชาติภายใน เสร็จแล้วก็เกิดปัญหายุ่งยากจนปัจจุบันเนี่ย เกิดความขัดแย้งกันไปหมด ชีวิตมนุษย์ก็ขัดแย้งกับสังคมผลประโยชน์ของบุคคล ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของสังคม ผลประโยชน์ของมนุษย์ขัดแย้งกับผลประโยชน์ธรรมชาติอยู่ร่วมกันไม่ได้ฝ่ายหนึ่งได้ไปฝ่ายหนึ่งก็เสีย วุ่นวายอยู่ในปัจจุบันนี่ ปัญหาสภาพแวดล้อมเสียปัญหาสังคมอยู่กันมีความขัดแย้งรบลาฆ่าฟันไม่มีความสุขแท้จริงชีวิตของคนก็ไม่มีความสุข เพราะว่ามีความเร่าร้อนกระวนกระวายตลอดเวลา เพราะว่าเดินทางไม่ถูกต้องไม่เป็นไปตามตัวธรรมะถ้าจะเอาให้ถูกต้องจริง จะให้ชีวิตดีงามมีความสุขทั้งชีวิตตนเอง กายใจ ทั้งสังคมทั้งสิ่งแวดล้อมอยู่กันด้วยดีนิ ตอนนี้เรียกว่าไม่มีทางเลี่ยงแล้ว จะต้องเข้าสู่ทางของธรรม เวลานี้โลกมนุษย์เริ่มสำนึกรู้มากขึ้นตามลำดับ ว่าวิธีแก้ปัญหาวิธีสร้างความเจริญหาความสุขแบบที่เป็นอยู่ในหมู่มนุษย์ทั้งหลายที่สร้างอริยธรรมขึ้นมาอย่างที่เห็นกันอยู่เนี่ยมันผิดพลาดทำให้เกิดปัญหามากมายเพราะว่าอยู่ไปแล้วตัวเองมนุษย์เองก็ไม่ได้มีความสุขมากขึ้น ชีวิตกายใจก็ไม่ดีขึ้นสังคมก็วุ่นวายเดือดร้อนมากขึ้น สิ่งแวดล้อมก็ถูกเผาผลาญ ถูกผลานถูกทำลายสลายเสื่อมลงไปตามลำดับ ฉะนั้นเวลานี้ก็ได้บทเรียนมากขึ้นก็ทำให้มนุษย์นี่เริ่มหันมาสนใจธรรมะ แต่ว่ามองในแง่นึงก็เหมือนกับกระแสมันก็ยากเหมือนกันแต่ว่าถ้าเราจับจุดที่ว่าเมื่อกี้ได้ โยมจะสบายใจ ที่ว่าตัวธรรมะสองตัวนี่จับให้ได้ เราไม่มีทางเลี่ยงที่ว่าจะให้ชีวิตดีงามจะให้ทุกสิ่งนี่เป็นไปด้วยดีเนี่ย เราหลีกเลี่ยงความจริงไม่พ้นหรอก เราต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับความจริง ใช้ปัญญาที่รู้ความจริงมาจัดการไม่มีวิธีทางอื่นที่ดีกว่านี้อันนี้แน่นอนปฏิเสธไม่ได้ไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ วิทยาศาสตร์ที่พยายามแก้ปัญหาก็โดยการพยายามเข้าถึงความจริงอันนี้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปมัวหวังวิธีอื่นเลย พระพุทธเจ้าสอนไว้แล้วนานแล้วอย่างน้อย พระองค์ก็ดึงจากเทพมาสู่ธรรมแล้ว วิธีแน่นอนต้องเข้าถึงตัวธรรมะปฏิบัติไปตามธรรมะความจริงอันนี้แน่นอน ตัวธรรมะที่ 1 ในเมื่อเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องใช้วิธีนี้ อันที่สองก็คือว่ามาดูตัวเองเราเป็นธรรมะ ทอทหาร เป็นสัตว์ที่ฝึกได้พัฒนาได้เราก็มีกำลังใจมีแบบอย่างให้คือพุทธะ เราก็พัฒนาตัวเองให้เกิดปัญญาเข้าถึงธรรมะแล้วปฏิบัติได้ตามธรรมะ นำธรรมะคือปัญญาที่รู้ความจริงของธรรมะมาใช้ประโยชน์ให้ได้ อันนี้เป็นทางออกและความสำเร็จอันเดียวของมนุษย์ เราจะพอใจหรือไม่ก็แล้วแต่ แต่ไม่มีทางเลี่ยงได้ อันนี้สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นี้เป็นสัจธรรมความจริงที่ไม่มีใครกล้าคัดค้านได้ หรืออาจจะกล้าคัดค้านแต่คัดค้านไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้นต้องใช้ธรรมะต้องเข้าถึงธรรมะนี้แน่นอน แล้วตัวเราจะต้องพัฒนาตัวเองขึ้นไป นั้นชาวพุทธนี่เอาสองอย่างนี้นะ 1 ตัวธรรมะตัวทอธง 2 ตัวเราธรรมะเอาเจ้าสองตัวนี้ไปประสานกันให้สำเร็จนั่นก็จะบรรลุความเป็นพุทธะ เรามาถึงที่นี่แล้ววันนี้มาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ นี่แหละคือจุดประสานของธรรมะทอทหาร กับทอธงแล้ว เรามาถึงจุดแบบอย่างพุทธะเกิดขึ้นที่นี่ ก็เป็นกำลังใจบอกโยมให้รู้แล้วว่าเราจะต้องทำหน้าที่นี้ให้สำเร็จ แล้วก็ไปช่วยกันแก้ไขปัญหาโลก ปัญหาสังคมปัญหาชีวิตให้สำเร็จด้วย ถ้าหากว่าเราทำใจได้ถูกต้องพิจารณาความจริงนี้แม้จะยาก แต่เพราะเป็นสัจธรรมเราก็จะเกิดความมั่นใจตัวเอง แล้วเราจะต้องช่วยกันกระตุ้นเตือนจิตสำนึกและสร้างความมั่นใจกำลังใจนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้ ฉะนั้นเวลานี้นั้นกำลังในฝ่ายธรรมะนี่ เวลานี้เบา อ่อนแอน้อย ก็คนที่จะมีความมั่นใจในหลัก 2 ประการเนี่ยเดี๋ยวนี้น้อย 1 มั่นใจในตัวธรรมะคือความจริงของกฎธรรมชาติความเป็นไปตามเหตุปัจจัยอันนี้เราต้องสำรวจตัวเราเอง แม้แต่ชาวพุทธว่าเรามีความมั่นใจแค่ไหน 2 มั่นใจในตัวเราเองที่ฝึกได้พัฒนาได้ที่จะเป็นพุทธะนี่เรามั่นใจแค่ไหน นี้เป็นทางออกทางเดียวที่จะแก้ปัญหาของโลกมนุษย์นี้ได้ เราจะต้องพยายามช่วยเหลือโลกมนุษย์นี้ด้วยการสร้างความมั่นใจนี้ขึ้นมา เรามาถึงจุดนี้แล้วเหตุการณ์ที่ธรรมะ กับธรรมะ 2 ตัว ทอทหาร ทอธง ประสานกันได้เกิดขึ้นที่นี้แล้ว เพราะฉะนั้นก็ขอให้เรานี่ได้สร้างความมั่นใจขึ้นในตัวเราด้วย โดยเอาองค์พระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง ขอให้โยมทุกท่านได้มีความมั่นใจกำลังใจ ใน 3 ประการอย่างน้อยก็ให้องค์พุทธมาช่วยเตือนใจเรา
1 สำนึกในความสามารถในศักยภาพในตัวเราที่เป็นมนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกฝนพัฒนาได้จะต้องฝึกมันขึ้นไป 1 แล้ว
2 มีแบบอย่างมีพระพุทธเจ้าทำได้จริงอย่างนี้แล้วมาเกิดขึ้นที่นี่แล้ว เรามีกำลังใจว่าเราก็จะทำได้
3 พระองค์ก็ให้วิธีแบบอย่างที่พระองค์บำเพ็ญไว้แล้ว
ขอให้เราประพฤติปฏิบัติต่อไป เพียงแค่โยมมาวันนี้ได้แค่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าให้เกิดความระลึกเตือนใจใน 3 ประการนี้ก็คุ้มแล้ว นั้นขอให้โยมได้เกิดความมั่นใจอันนี้ขึ้นมา เราต้องกระตุ้นกันมากหน่อย ระยะนี้เพราะว่าโลกปัจจุบันสิ่งแวดล้อมเป็นเหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า โลกนี้มัวแต่หลงระเริงอยู่ในสิ่งที่ชักจูงให้เพลิดเพลินมัวเมา เพราะฉะนั้นการที่จะได้เกิดกำลังใจในธรรมะนี้ก็ยาก พระองค์จึงน้อมพระทัยไปในการไม่สั่งสอนแต่เราฐานะเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า เราได้รับคำสอนของพระองค์ถ่ายทอดกันมาแล้วเราต้องถือว่าเราอยู่ในพวกที่สัตว์ที่ฝึกได้แล้วก็มีธุลีในดวงตาจะไม่มากนัก คือว่าเรามีธุลีไม่มากนักเราก็จะเป็นแสงสว่าง แล้วเราก็จะได้ดำเนินปฏิบัติตามพุทธะปฏิปทาต่อไป
วันนี้ก็ของอนุโมทนาโยมทุกท่านที่ได้มาจาริก เราเรียกว่าบุญจาริก การจาริกที่เป็นบุญเป็นกุศลเป็นการทำความดีแล้วมาถึงที่นี่แล้ว ความดีนั้นมีหลายอย่างหลายประการการทำบุญทำกุศลมีทานศีลภาวนาแล้วก็มองให้เข้าหลักที่สำคัญคือ ไตรสิกขา ศีลสมาธิปัญญา วันนี้เราเอากันสุดยอดเลยคือตัวปัญญาให้โยมนี้เกิดปัญญารู้เข้าใจตัวธรรมะ และธรรมะอย่างที่กล่าวมา เพื่อจะเป็นทางเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติในทางพุทธศาสนาต่อไป ก็ขอให้โยมได้สําเร็จผลตามที่อาตมาได้กล่าวมานี้ ขอให้เจริญศรัทธาและให้ศรัธทาที่ได้มีมาแล้วนั้นได้เพิ่มพูนขึ้นออกผลเป็นปิติเป็นความอิ่มใจปลาบปลื้มใจว่าได้มาถึงสถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้มาถึงสังเวชนีสถานแห่งหนึ่งแล้วและได้มาระลึกคุณพระรัตนตรัยได้มาน้อมนำจิตรำลึกบูชาพระคุณของพระองค์ ได้ทำวัดสวดมนต์ทั้งหมดนี้ขอถวายเป็นพุทธบูชาและขอให้พุทธบูชาที่เราได้บำเพ็ญนี้มาเป็นปฏิบัติบูชานำเราให้เข้าถึงธรรมะที่พระองค์ทรงสั่งสอนต่อไป ขอให้พระพุทธเจ้าทรงเป็นกำลังใจให้แก่เราในการที่จะบำเพ็ญปฏิบัติกุศลในการที่ว่าจะได้ไม่ทำชั่ว ทําดีทําใจให้ผ่องใสอันเป็นพุทธโอวาทในวันมาฆะบูชานี้ แล้วเราก็จะได้มีชีวิตที่ดีงามช่วยกันสร้างสรรค์โลกสังคมให้มีความร่มเย็นเป็นสุขสืบต่อไปก็ขออำนาจแห่งศรัทธาในคุณพระรัตนตรัยและบุญกุศลที่โยมทุกท่านได้บำเพ็ญในบุญจาริกครั้งนี้จงเป็นปัจจัยอำนวยจตุรพิธพรให้ทุกท่านเจริญงอกงามด้วยกำลังกายกำลังใจกำลังปัญญาสามารถที่จะประพฤติปฏิบัติในทางแห่งมรรค คืออริยมนตรา เพื่อเข้าถึงจุดหมายของพุทธศาสนามีความร่มเย็นเป็นสุขในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยทั่วกันทุกท่านตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ สาธุ