แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ไม่รู้จะนึกพูดเรื่องอะไรดี เอาว่าท่านอยากรู้เรื่องอะไรดี ก็เอาเป็นแบบคุยกัน อะไรก็ได้ นึกอะไรขึ้นมาก็คุยกันถามกัน องค์เก่าก็ได้องค์ใหม่ก็ได้ ขอกราบเรียนถามท่านพระเดชพระคุณอาจารย์ครับ คือถ้าในทางการแพทย์นะครับ เค้าจะถือว่าจิตเป็นการทำงานจากสมอง ก็เลยอยากทราบว่าในทางพุทธศาสนาจะอฺธิบายเรื่องจิตอย่างไร
โห..ก็ถามเรื่องใหญ่เลยนะ เรื่องหนัก มันก็เรื่องสำคัญเลย เป็นเรื่องที่เป็นนามธรรมลึกซึ้ง แล้วก็เป็นตัวที่มาทำงานในการที่เรามาพูดตอบวันนี้ด้วย เราจะตอบเรื่องจิตเราก็เอาจิตเนี่ยแหล่ะมาใช้งานใช่มั้ย จิตก็เป็นเรื่องของส่วนสำคัญของชีวิต ถ้าว่าตามหลักพุทธศาสนาแบบว่าเอาตัวหลักพื้นฐานนะ อย่างที่เราบอกว่า ธรรมชาติเนี่ยมันก็มีของมันอยู่ตามธรรมดา ถ้าเรียกว่าธรรม สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ตามธรรมดา ที่นี้ธรรมเนี่ยที่คนทั่วไปรู้จักเรียกว่ารูปธรรม รูปธรรมก็พวกวัตถุอะไรต่างๆ พวกนี้ พร้อมทั้งความเคลื่อนไหว ความเป็นไปของมันเรียกว่ารูปธรรม เป็นรูปน่ะพูดสั้นๆ ทีนี้พุทธศาสนาบอกว่ามันไม่ใช่มีแค่รูป มันมีนามด้วย ก็เลยเป็นรูปนาม ถ้าพูดยาวก็เป็นว่าธรรมมีสอง คือรูปธรรมกับนามธรรม ที่นี้ถ้าพูดให้สั้นลงไปก็เหลือรูปกับนาม แล้วชีวิตคนเราก็ประกอบด้วยรูปกับนาม เวลาเราพูดถึงคนสั้นๆ เราก็เรียกว่านามรูป กลับกันซะนี่ รูปกับนามน่ะแหล่ะ เวลาเรามารวมกันเราเรียกว่านามรูป ถ้าชีวิตเราตอบสั้นที่สุดก็นามรูป ก็มีแค่ส่วนที่เป็นนาม ก็ส่วนที่เป็นรูป ถ้าหากจะพูดให้แยกแยะชัดเจนออกไป ก็จะไปขยายว่า รูปแยกไปเป็นอะไรบ้าง และนามแยกเป็นอะไร ถ้าแยกอย่างง่ายที่สุดก็แยกนามเป็นสี่ เป็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างที่เราได้เรียนกันแล้ว รูปตอนนี้ยังไม่แยก ก็รูปหนึ่ง นามสี่ ก็เรียกจัดเป็นกองๆ ได้ว่า ห้ากอง ห้าขันธ์ ก็เป็นเบญจขันธ์หรือขันธ์ห้า เนี่ยชีวิตเราก็อย่างนี้ ที่นี้เราจะเห็นว่าชีวิตมนุษย์หรือที่เรียกว่าชีวิตเนี่ย มันก็ต่างจากพวกวัตถุทั้งหลายที่มีแต่รูปธรรม เพราะมันมีนามธรรมด้วย นี้นามกับรูปเนี่ยเป็นชีวิตของเรา เราไม่ได้มีเฉพาะรูปอย่างเดียวมีนามด้วย สองส่วนด้วยประกอบกัน ที่นี้มันมีปัญหาที่มนุษย์เถียงกันมาว่า นามก็คือจิตใจ ด้านจิตใจ มันมีจริงหรือว่ามันเป็นเพียงผลมาจากรูป พวกนักวิทยาศาสตร์ฝ่ายวัตถุนิยมมักจะถือว่านามจิตใจไม่มี เป็นเพียงผลของรูป ถ้าเถียงกันมา อีกพวกหนึ่งจะถือว่านามจึงจะมีจริง รูปไม่มี รูปนี่ปรากฎเพราะมีนาม ถ้าไม่มีนามไม่มีรูปปรากฎ แล้วรูปที่แท้เป็นอย่างไรก็ไม่รู้ นามมันบอกเราตามที่มัน เนี่ยจิตมันคิดมันเห็นมันรู้มันรับทราบยังไง ที่จริงมันเป็นยังไงก็ไม่รู้นะวัตถุที่เราเห็น มันเป็นอย่างที่เราอย่างงี้หรือเปล่า เราก็ไม่รู้นะ เรารู้ไปตามเรียกง่ายๆ ว่าตามที่จิตมันบอก เพราะฉะนั้นพวกนี้ที่บอกว่า คุ่นที่จริงนะ รูปสิไม่มี มันมีแต่นาม ที่เรารู้เรานึกว่ามันมี มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้มันจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ จิตมันบอกเท่านั้นเอง มันก็เถียงกันมาอย่างนี้ไม่รู้กี่พันปีแล้ว ที่นี้มาวิทยาศาสตร์ก็เป็นฝ่ายที่เอาแต่วัตถุมานาน นานมากแล้ววัตถุ มุ่งไปที่ว่าจะถืออะไรไม่จริงจะต้องตรวจสอบพิสูจน์สัมผัสได้ ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วก็ไม่ยอมรับ เนี่ยก็ถือกันมาอย่างนี้วิทยาศาสตร์ ถือกันมา ถือกันมานานจนกระทั่งมาถึง ไม่นานนี้เอง ครึ่งศตวรรตเนี่ย นักวิทยาศาสตร์ก็เกิดสงสัยขึ้นมา เข้ายุคที่ถือว่าเจริญที่สุดเลย เกิดมีนักวิทยาศาสตร์ที่หัวก้าวหน้าเป็นผู้นำทางด้านฟิสิกต์ บอกว่าที่วิทยาศาสตร์ได้รู้กันมา เข้าใจกันมา แล้วภูมิใจกันมานับว่าตัวเองเป็นผู้เข้าใจถึงความจริง ที่แท้ยังไม่ถึงเลย บอกว่าวิทยาศาสตร์จะนำเราให้เข้าถึงความจริงได้แค่เงาของความจริง นี่คือคำตอบของวิทยาศาสตร์ในยุคที่เจริญที่สุด พอเจริญถึงที่สุดแล้วกลับเลย แต่ก่อนนี้ภูมิใจอะไรต่ออะไรนี่จะถือว่าเป็นจริงได้ต้องวิทยาศาสตร์ยอมรับ นักวิทยาศาสตร์พวกนี้ก็เกิดความสงสัยว่า ที่ว่าวิทยาศาสตร์บอกเป็นจริงน่ะ ที่ว่าตรวจสอบได้เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหูอะไรต่างๆ เนี่ย มันจริงหรือเปล่า ไอ้ที่เรามาบอกว่ามันเป็นอย่างนั้น มันผ่านจิตทั้งนั้นเลย เพราะที่สุดก็ไม่รู้ว่า จิตที่ไปรู้คืออะไร แล้วถ้าไม่รู้จิตที่เป็นผู้รู้ล่ะ แล้วสิ่งที่จิตมันรู้มันบอกเรามันเป็นยังไง แล้วเราจะรู้ว่ามันผิดมันถูกยังไง มันเป็นจริงยังไง คล้ายๆว่า เราไปบอกว่าสิ่งที่ดูได้เห็นที่ได้ยิน มันเป็นมันเป็นยังไง แต่ใครเป็นผู้ดูผู้เห็นผู้ได้ยิน และนั่นมันเป็นยังไง รู้ได้ยังไงมันบอกถูกบอกผิด นักวิทยาศาสตร์ก็กลับมาตั้งต้นใหม่เลย ตอนนี้ก็เลยลอย ตอนนี้ก็กลายเป็นยุคที่วิทยาศาสตร์กลับมาสู่การค้นหาความจริงกันอีกครั้งหนึ่ง แทบจะเริ่มต้นเลย ก็มาถามว่าจิตคืออะไร และเดี๋ยวนี้ก็มีนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามจะตอบเรื่องจิต แม้แต่กระทั่งคิดว่าคอมพิวเตอร์จะมีจิตได้มั้ย ว่างั้นอะไรอย่างนั้น กลายเป็นว่าไปๆมาๆ มันวนอยู่นี่เอง นักวิทยาศาสตร์ไปๆมาๆในที่สุด ไปถึงระดับหนึ่งก็ไปเป็นนักปรัชญา แต่เป็นนักปรัชญาอีกแบบ เรียกว่านักปรัชญาวิทยาศาสตร์ ก็หมายความว่ามันไปถึงจุดที่ตัวเองไม่อาจจะรู้ชัด มันก็เลยอยู่ด้วยระดับของการใช้ปัญญาเชิงเหตุผลอะไรต่างๆ เหล่านี้ ก็เนี่ย ก็ยังเป็นเรื่องที่เรามาอยู่ในโลกปัจจุบัน เราก็ว่าไปตามความเจริญของโลกที่วิทยาศาสตร์เป็นผู้นำ ในการที่จะมาตรวจสอบไปสู่ความจริงต่างๆ และวิทยาศาสตร์ก็บอกทำนองว่า คล้ายๆว่าพุทธศาสนาไม่ต้องอยู่ด้วยความเชื่อ ให้พิสูจน์ด้วยความจริง แต่ในที่สุดคนที่พูดกันเนี่ย เวลาพูดอันนี้เป็นวิทยาศาสตร์เนี่ยก็คือเชื่อตามวิทยาศาสตร์บอก เชื่อตามนักวิทยาศาสตร์บอก ตัวเองไม่ได้เห็น ก็อยู่ที่เชื่ออีกแหล่ะ เพราะฉะนั้นมันก็เลยไม่ไปไหน พุทธศาสนาก็บอกว่าเชื่อกับรู้ ศรัทธาปัญญาเนี่ย มันเป็นตัวที่ว่าอาศัยต่อกัน ศรัทธานั้นเป็นตัวที่จะชักจูงหรือเป็นตัวนำ เป็นตัวเริ่มต้นให้ และก็เป็นตัวจับจุดที่จะได้ตรวจสอบศึกษาค้นคว้าไปหาปัญญาความรู้ นี่ก็ความรู้อย่างเรื่องจิตเนี่ย ก็ต้องถือแบบเดียวกับวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ถือประจักษ์ ทีนี้จิตมันก็ต้องประจักษ์กับตัวเอง ต้องประจักษ์กับตัวมันเอง ตอนนี้ที่เราไปประจักษ์รูปก็เห็นด้วยตา เราไปนึกว่านั่นเป็นวัตถุ เราก็ประจักษ์แต่วัตถุ แต่ที่จริงวัตถุนั้นก็ไม่ประจักษ์จริง เราบอกว่าตาเห็น เรานึกว่าตามันเห็นจริง เปล่า..เราเห็นด้วยตาเท่านั้นหรือ เวลาเห็นจริงๆนั้น ใครเห็น ต้องไปถึงจิตใช่มั้ย จิตใจรู้ ที่รู้เนี่ยรู้ถึงจิตใจ ในทางพุทธศาสนาเนี่ยมีการแยกแยะเรื่องรูปธรรมชัดเลย บอกว่าอย่างตาเห็นเรานึกว่าเห็นอะไร เห็นไม้เห็นอะไรเนี่ย นี่มันเป็นความจริงสองชั้นนะ พอเราเห็นมันนี่ถ้าบอกว่าเห็นแต่แสง เห็นสี แม้แต่สัณฐานรูปทรงกลมเหลี่ยมอะไรต่างๆ เนี่ยจิต จิตเป็นผู้บอก ก็หมายความว่ามันต้องไปสู่การสรุปของจิตอีกที จึงออกมา เพราะฉะนั้นรูปแบบนี้ท่านไม่ถือว่าเป็นรูปที่ประจักษ์ กลมสี่เหลี่ยมเนี่ยเป็นเรื่องที่จิตเนี่ยเอาจากความรู้ขั้นที่หนึ่งที่สัมผัสด้วยทางตา แล้วจิตไปประมวลอีกทีนึง แล้วบอกสัณฐานว่าเป็นยังไง เพราะฉะนั้นตาไม่ได้รู้สัณฐาน มันรับรู้ได้แค่สี แสงเท่านั้นเอง และก็จิตจึงประมวล แล้วก็มันจึงสรุปออกมาเป็นรูปร่าง เป็นทรวดทรง เพราะฉะนั้นกลายเป็นว่า แค่ตามันไม่พอ มันได้แค่นั้นเอง อ้าวแล้วที่จิตไปสรุปว่าเป็นทรงกลมทรงเหลี่ยมทรงอะไรเนี่ย แล้วมันจริงหรือเปล่า กลายเป็นว่าไม่แน่ใจแล้ว นักวิทยาศาสตร์ก็บอกไม่แน่ใจแล้ว ว่าเนี่ยเป็นความจริงตามที่ว่า คือตอนแรกก็ไปหลงว่า เราเห็นด้วยตามันชัดอยู่แล้วนะ ถ้าวัตถุนี้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เปล่าไม่รู้จริงว่าที่ที่จริงมันสองชั้น มันรับรู้ด้วยตามาชั้นแล้วจิตมันมาประมวลอีกทีหนึ่ง ตกลงก็บอกว่ามันกลายเป็นว่า ตัวผู้ดูผู้รู้นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้ เมื่อไม่รู้แล้วก็ไม่สามารถเข้าใจความจริงได้ ก็เลยเข้าถึงความจริงไม่ได้ ตกลงก็ตันตรงนี้ ที่นี้ทางพุทธศาสนาจะว่าอย่างไร เราก็มาแยกแยะ คือในแง่หนึ่งพุทธศาสนาจะคล้ายทางวิทยาศาสตร์ในแง่ที่ว่าต้องเอาประจักษ์ แต่ประจักษ์พุทธศาสนาจะยอมรับหมดหก ของนักวิทยาศาสตร์รับห้า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็แค่วัตถุรูปธรรม ที่นี้ทางพุทธศาสนายอมรับจิตด้วย จิตก็ต้องประจักษ์ อย่างความโกรธ ความอะไรเนี่ย ความรักอะไรเนี่ย อะไรไปประจักษ์ได้มั้ยนอกจากจิต ประจักษ์ไม่ได้ต้องจิตใช่มั้ย อันนี้เป็นประจักษ์เลย แล้วมันก็ยังมาทำหน้าที่ที่มาประสาน กลายเป็นว่าในที่สุดที่รับรู้เข้ามาทั้งห้าทางที่เป็นรูปธรรม ต้องมารวมที่จิตหมด แล้วจิตเป็นผู้สรุปอีกที ในที่สุดจิตกลายเป็นตัวรวมที่จะได้ความรู้ ที่เรามารู้อะไรต่ออะไรเรามาพูดกันเนี่ย เวลานักวิทยาศาสตร์รู้อะไรแล้วมาสื่อสารคนอื่นเนี่ยมันเป็นการประมวลผลของจิตของตัวเองแล้ว มันไม่ได้พูดตรงตามภาวะของรูปธรรมแล้ว ถ้าไม่เข้าใจจิตอันนี้มันก็ไปไม่ได้ ทีนี้มันก็เลยกลายเป็นว่าต้องเข้าใจทั้งจิต จิตก็ต้องประจักษ์ด้วย ทีนี้ประจักษ์ว่าการทำงานของจิตเป็นอย่างไร ทางพูดศาสนาบอกว่าชีวิตเป็นนามรูป ก็มีทั้งรูปธรรมและนามธรรม ท่านบอกว่าทั้งสองอย่างอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ไม่แยกกันอยู่ ทีนี้จะไปบอกว่าวัตถุอย่างเดียวมี หรือรูปอย่างเดียวมี จิตไม่มีเป็นผลจากรูป ก็ไม่ใช่ หรือว่านามอย่างเดียวมีก็ไม่ใช่ แยกกันก็ไม่ใช่อีก ต่างหากกันก็ไม่ใช่ ทีนี้เนี่ยเป็นสิ่งที่อาศัยซึ่งกันและกัน แต่ท่านถือว่าเป็นสภาวะธรรม มันมีอยู่ นามธรรมรูปธรรมก็ทำงานอาศัยซึ่งกันและกันไป ท่านไม่มาถือว่า อันไหนมีอีกอันไม่มี ไม่ใช่อย่างนั้นต้องอยู่ด้วยกัน ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ก็รวมกันก็เรียกสั้นๆ ว่านามรูป และถ้าแยกแยะออกไปก็แยกไป นามก็แยกไป แยกขั้นต้นก็สี่ รูปก็เพราะว่าส่วนว่าไม่ละเอียดซับซ้อนไปพูดกลางๆ ไว้เพราะเป็นที่อาศัยของนามไว้ก่อน แต่ถ้าจะแยกก็ไปแยกเป็น มหาภูตรูป อุปาทายรูป หรือจะไปแยกยังไงก็แยก ก็ไปแยกกันอีกที แต่นั่นก็นักแยกเหมือนกัน พุทธศาสนาก็แยกแยะ คือก็เป็นลักษณะอันหนึ่งในแง่ว่า หนึ่งก็คือเอาประจักษ์ แต่ของพุทธศาสนาเอาหก ไม่เอาห้า สองก็เป็นนักแยกแยะวิเคราะห์ ของเขาก็วิเคราะห์แยกแยะ เราก็แยกทั้งรูปธรรมนามธรรม แต่เรื่องนามธรรมเขาไม่เอา เขาก็เลยไม่ยุ่ง ในพุทธศาสนาถือว่านามธรรมเนี่ยสำคัญจิต ก็เลยแยกแยะเรื่องจิตนี่มากเป็นพิเศษ จนกระทั่งการทำงานของจิต มาทำงานเป็นอย่างไง เป็นขณะเกิดดับอย่างไร ก็เลยมาเอาเรื่องนี้ละเอียดกว่า
ทีนี้ในความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกายอีก นักวิทยาศาสตร์เมื่อเจริญขึ้นมาว่าตัวเน้นเรื่องวัตถุหรือรูปธรรมเนี่ย เขาก็จะศึกษาเป็นเรื่องรูปธรรมหมด เช่นว่า เวลามีอารมณ์ความรู้สึกนี้ขึ้นมา มีสารอะไรในสมองหลั่งออกมา เช่นคนมีความสุขไปตรวจดูสารเคมี ในสมองมีสารนี้ ต่อไปเราจะเก่งเนี่ย พอจับได้แล้วใช่มั้ยว่า เวลามีอารมณ์อย่างนี้และเราต้องการอารมณ์ที่ดี อารมณ์ไม่ดีอันนี้มีสารอย่างนี้ อารมณ์ดีอันนี้มีสารอย่างนี้ เราก็จับได้ละ อารมณ์อันนี้ดีมีความสุข สารนี้ออกมา จำไว้ มีความรู้สึกเมตตามีความรัก มีสารอะไรหลั่งออกมา อะไรอย่างนี้เป็นต้น ต่อไปก็เราก็จะปรุงแต่งคนได้ ต่อไปเนี่ย เวลาเขาใจไม่สบายเราก็เตรียมสารนี้ไว้ พอเขามีความทุกข์ใจขุ่นมัว เดือดร้อนวุ่นวายว้าเหว่ เราก็ฉีดสารนี้ปั๊บ แหมมีความสุขยิ้มแฉ่ง อะไรอย่างนี้ มันจะกลายเป็นสารเสพติดหรือเปล่า นี่แหล่ะๆๆ ก็เนี่ยล่ะที่ว่า ไปๆ มนุษย์พอไปทางวัตถุเกินไปมันหลง มันก็นึกว่ามันจะปรุงแต่งมนุษย์ได้ตามชอบใจ ที่นี้ว่า เวลาเอาเข้าจริงมันเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า ความจริงน่ะ ที่จริงระบบธรรมชาติที่ว่ามันเป็นความประสานของรูปธรรมนามธรรม มันต้ององค์ประกอบพร้อมบริบูรณ์ มันจึงเป็นอย่างนั้น ทีนี้เราสารนี้ไป มันสอดคล้องกับระบบทั้งหมดหรือเปล่า ว่าสารเป็นตัวทำให้เกิดอารมณ์อย่างนั้นจริงหรือ หรือว่าเมื่อมนุษย์มีความรู้สึกอย่างนี้มีอารมณ์อย่างนี้ และก็สารอย่างนี้มันก็มี เพราะว่า มันเป็นปัจจัยต่อกันระหว่างนามรูป หนึ่ง ถ้าเราอยู่ด้วยสารที่เราปรุงแต่ง ต่อไปนี้มนุษย์ก็จะหนึ่งขึ้นต่อวัตถุนั้น ไม่สามารถจะทำตัวให้มีความสุขได้ เช่นอย่างนี้ จะมีความสุขได้ต้องเอาสารนั้นมาฉีด ถ้าไม่ได้ฉีดก็เป็นอันว่าแย่ละ เนี่ยก็กลายเป็นหนึ่งขึ้นต่อมันละ ขึ้นต่อมันจะเรียกเสพติดหรืออะไรก็แล้วแต่ก็คือหมดอิสรภาพ ต้องขึ้นต่อมัน สอง มันมีผลอะไรต่ออีก กระบวนการระบบของมันพอเข้าไปแล้วเนี่ย เพราะมันไม่ได้กลมกลืนเป็นไปในระบบของมันเอง มันก็ไปเกิดความขัดแย้ง เพราะว่าสภาพที่เป็นจริงมันไม่เป็น มันไปเป็นตัว ตัวนี้มันเป็นตัวแปลกปลอมเข้าไป ไปบังคับต่างหาก ทำให้กระบวนการที่มันไม่เป็นจริง มันออกอาการนี้ เพราะตัวนี้ สารนี้ออกเมื่อมันมีอารมณ์นั้น มันก็เลยไปบังคับให้เกิดอารมณ์นี้ขึ้นมา แต่อารมณ์นี้ สารนี้มันไปขัดกับระบบทั้งหมด ต่อไปก็อีกนานจึงรู้ว่าเกิดปัญหาขึ้นมา มีเรื่องมีความความขัดแย้ง มีอะไรต่อไรออกมาแปรปรวนทางร่างกายทางจิตใจอื่นอีก ทีนี้ว่า ถ้าเรารู้ว่าการมีความสุขอย่างนี้ดี เราควรจะมีอย่างนี้ จะบอกว่าเราฝึกตัวได้ มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกตัวได้ เราก็มาฝึก เราจะเรียกว่าฝึกจิตหรือะไรก็ตาม ก็คือการฝึกกระบวนการของชีวิตนั้นเอง วิธีพูดก็คือว่า ที่จริงไม่ใช่ฝึกเฉพาะจิตหรอก แต่มันเป็นจุดเน้น ความจริงเวลาที่เราฝึกเราไม่ได้ฝึกเฉพาะจิตหรอก มันฝึกทั้งระบบ ระบบชีวิตเนี่ย กระบวนการที่จะให้เป็นอย่างนั้น แต่จิตเป็นตัวนำ หรือเป็นแกนก็ได้ หรือเป็นตัวประกอบสำคัญ และก็ฝึกตัวเราตามกระบวนการนั้น ซึ่งเราจะเห็นว่าในเวลาฝึกบางทีก็มีวัตถุเข้ามาผสมเยอะเลย เช่นจะให้สติมันเกาะเนี่ย เราต้องอาศัยรูปธรรม อาศัยวัตถุ อย่างนี้เป็นต้น ทีนี้เวลาเราฝึกจิต ฝึกแล้วเวลานั้น ความรู้สึกหรืออารมณ์ที่เราต้องการมันก็เกิดขึ้นมา สารนั้นมันก็มาละ มันก็เป็นธรรมดาของมัน สารนั้นเป็นตัวฝ่ายวัตถุที่มันจะได้กลมกลืนกันกับระบบของมัน เพราะว่ามันเป็นระบบของรูปนามที่มีทั้งกายทั้งจิต กายมันก็จะต้องสอดคล้อง เพื่อจะให้จิตที่มันมีความเป็นไปอย่างนี้ดำเนินไปได้ มันต้องอาศัยร่างกายนี่เป็นทางเดินของมัน เป็นที่ทำงาน มันจะเดินไปได้อย่างนั้น ก็ต้องให้มีสารมีอะไรต่ออะไรกระบวนการของฝ่ายกายมารับ มันสอดคล้องมันจึงไปได้ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นมันก็สอดคล้องอย่างนั้น ทีนี้พอเราฝึกได้ชำนาญ เมื่อเราต้องการเมื่อไหร่ เราก็ทำจิตให้เป็นอย่างนั้น ความสุขอย่างนั้นก็เกิดขึ้นได้ ระหว่างที่ว่าเวลาต้องการสุขอย่างนี้ก็เอาสารนี้มาฉีด กับการที่ว่าฝึกตัวเองได้ดีแล้วก็นึกอยากจะให้มีอารมณ์นั้นเมื่อไรก็ทำได้ เอาอันไหน เออใช่มั้ย เนี่ย ทีนี้มนุษย์ไม่รู้หรอกนึกว่าตัวเก่ง จะเป็นเจ้าแห่งธรรมชาติ ต้องการยังไงก็ได้ ก็เลยมาศึกษา ที่จริงก็คือไปเอาปรากฎการณ์นั้นมาส่วนหนึ่งแง่หนึ่งแล้วเอามาใช้ แต่ที่จริงไม่รู้หรอกว่า ปรากฏการณ์อันนี้มันเป็นเพียงปัจจัยตัวหนึ่งในกระบวนการนั้น ซึ่งอาจจะไปเกิดความขัดแย้งอะไรต่ออะไรเยอะแยะ เพราะฉะนั้นเลยกลายเป็นว่ากระบวนการวิทยาศาสตร์ไม่สมบูรณ์ แล้วก็เลยกลายเป็นว่าเกิดปัญหาอะไรต่ออะไรมากมาย อันนี้ก็อยากจะให้ฟังหลักอันหนึ่ง คือมนุษย์เนี่ยมันจะติดในหลักที่ผิดความเข้าใจที่ผิดอันหนึ่ง ก็คือมนุษย์เนี่ยคิดเรื่องเหตุผล แม้แต่พวกที่เจริญมาก ก็เรียกว่าคิดมีเหตุมีผลแล้วเนี่ย คือขั้นเหตุผลแล้วก็ถือว่าเจริญขึ้นเยอะแล้ว ไม่ใช่อยู่เรื่อยเปื่อยเลื่อนลอย คิดเป็นเหตุเป็นผล แต่โดยมากจะมาตกอยู่ในทิฐิหรือแนวคิดที่เรียกเหตุเดียวผลเดียว คือจะมองว่าเราต้องการผลอย่างนี้ก็ทำเหตุนี้ เมื่อทำเหตุนี้ก็แล้วผลนี้ก็จะเกิดขึ้น แล้ววิทยาศาสตร์ก็ไปติดในความคิดนี้เป็นหลักใหญ่อยู่ แต่ว่าเขาไม่ได้ติดทีเดียว เวลาเขาดำเนินการเขาก็รู้ เขาเรียกว่าตัวแปรอะไรเป็นต้น แต่ทีนี้ว่าตัวความคิดพื้นฐานยังไปติดอยู่ คือไม่ได้เอาหลักการมาเป็นตัวมองทั้งหมด เวลามองเป็นเหตุการณ์หลักก็จะมองเหตุเดียวผลเดียว และเอาตัวอื่นประกอบ ก็เลยบางทีไม่ชัดและมันทำให้เกิดปัญหามาก ทีนี้ พุทธศาสนาถือว่าลัทธิเหตุเดียวผลเดียวผิด ท่านเรียกว่าเอกการณวาท ลัทธิเหตุเดียวผลเดียว มีเหตุหนึ่งก็เกิดผลอันหนึ่ง อ้าว..ฉันปลูกเมล็ดพืชข้าว ก็เกิดข้าวขึ้นมาก็เหตุเป็นผล มนุษย์ทั่วไปก็จะคิดอย่างนี้นึกว่าอย่างนั้น พุทธศาสนาบอกมองให้ดีนะ ระวังจะผิด เนี่ยแหล่ะเพราะมนุษย์มองเหตุเดียวผลเดียว ทำให้เกิดความพลาดขึ้นมา เช่นอย่างเรื่องของการแพทย์ เรื่องของเคมี ที่ทำไปทำมาตอนหลังก็ได้ความเข้าใจขึ้นเยอะ ก็ระมัดระวัง เราก็นึกว่าทำอันนี้ขึ้นมา เราต้องการผลอันนี้ ผลที่เกิดจากเหตุ เราต้องการผลนี้ผลเกิดจากเหตุ เหตุของมันคืออะไรค้นให้ได้ และเราก็ทำเหตุนั้น เราก็จะได้ผล อันนี้วิทยาศาสตร์ก็พยายามสืบค้นอันนี้จะกระทั่งทำอะไรต่ออะไรเป็นผลสำเร็จมากมาย ทีนี้ปรากฎว่าได้ผลจริง ทำอะไรต่ออะไรออกมา ได้ผลเป็นยาเป็นสารเคมีมาใช้ในเรื่องของกระบวนการต่างๆ ในชีวิตความเป็นอยู่ ในการรักษาโรคอะไรต่างๆ ได้ผลเยอะเลย แต่ว่าต่อมาก็เริ่มมีคำว่าผลข้างเคียง เอาละ ปรากฎว่ามันไม่ใช่แค่นั้น ผลที่ตัวเองต้องการได้ แต่ปรากฏว่ามันมีผลอื่นขึ้นมาด้วย และบางอย่างเนี่ยร้ายแรงมาก ทำให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มระวัง ก็เลยกลายมาว่ามีผลข้างเคียง มีผลติดตาม ผลพลอยผลพ่วงอะไรต่างๆ เหล่านี้เยอะหมดเลย นี่คือ ท่านบอกว่าผลหนึ่งก็ไม่ใช่เกิดจากเหตุเดียว เกิดผลหลากหลายจากปัจจัยอันหนึ่ง ผลอันหนึ่งก็จากปัจจัยหลากหลาย ที่เกิดผลอันหนึ่งเนี่ยปัจจัยมันเยอะแยะ เราไปเอาจับที่เหตุตัวเดียว ก็อย่างที่ยกตัวอย่างบ่อยๆ ง่ายๆ เช่นท่านจะปลูกมะม่วงเนี่ย เราก็บอกว่าต้นมะม่วงเป็นผล แล้วอะไรเป็นเหตุ เราก็นึกว่าเม็ดมะม่วงถูกมั้ย เราก็บอกว่าต้องมีเม็ดมะม่วงเป็นเหตุ ก็ถูกน่ะสิ ถ้าไม่มีเม็ดมะม่วง หรือว่าไม่มีหน่อไม่มีเขาเรียกตอนตามกระบวนการของมัน ไม่มีเหตุอันนั้นละก็ผลก็เกิดไม่ได้ ที่นี้ แล้วท่านเอาเม็ดมะม่วงมา แล้วให้เกิดเป็นต้นมะม่วงเลยได้มั้ย ก็ไม่ได้ต้องมีปัจจัยพร้อม ทั้งหมดต้องเรียกว่าต้องปัจจัยพร้อม ก็เอาเม็ดมะม่วงไปปลูกลงในดิน มีปุ๋ย มีน้ำ มีอุณหภูมิ มีอากาศ แก๊สอะไรต่างๆ พรั่งพร้อม เมื่อปัจจัยพรั่งพร้อมแล้วผลจึงเกิด นี่อย่างนี้ อันนี้ก็เอาละ ในแง่ผลอย่างหนึ่งเกิดจากปัจจัยหลากหลาย ก็ง่ายละ พอชี้ก็เห็นเลย ในทางกลับกัน ปัจจัยอันหนึ่งส่งผลหลากหลาย ตอนนี้แหล่ะที่ว่าเวลาเราต้องการผลอันหนึ่งเราทำเหตุนั้น เราก็มองเฉพาะผลที่เราต้องการ เราไม่ได้ดูว่าที่จริงเหตุหรือปัจจัยที่เราทำไปส่งผลอื่นอีกเยอะแยะเลย ตรงนี้แหล่ะที่มันเป็นปัญหา คือเราเริ่มเรียนรู้ได้ก่อนตรงที่ว่าผลเกิดจากเหตุและมีปัจจัยหลากหลายให้พร้อม อันนี้ได้เรียนรู้ขึ้นมาและก็พยายามทำ หาปัจจัยให้พร้อม แต่ว่าตอนนี้ปัจจัยหนึ่งมันเกิดผลหลากหลาย ตอนนี้ไม่ค่อยได้มอง ตอนนี้ก็เริ่มละ โอว..ไม่ได้แล้ว ไปทำเหตุปัจจัยเขาอันหนึ่ง ที่เราต้องการผลอันนั้นได้จริง แต่มันเกิดอะไรอีกบ้าง ที่นี้สิ ผลข้างเคียงเกิดขึ้น ผลข้างเคียงตัวนี้ตามไม่ไหว ตรงนี้แหล่ะที่ตามไม่ไหว นักวิทยาศาสตร์จะแย่ตรงนี้ คือพอต้องการผลอันหนึ่งก็จับเหตุปัจจัยอันนั้นให้ได้ แม้แต่ปัจจัยประกอบอื่นก็เพื่อผลอันนี้เท่านั้น แต่ตัวไม่ได้รู้ว่า ที่ไปทำเหตุปัจจัยเหล่านั้น แต่ละอันละอันมันส่งผลของมันอีกเยอะแยะเลย สมมติว่าเราเอาเหตุปัจจัยมาทำให้เกิดผลที่เราต้องการอันเดียว แล้วเราไปทำเหตุปัจจัยตั้งยี่สิบ และยี่สิบแต่ละอันส่งผลต้องเท่าไร นี่ละจุดที่จะตัน ตอนนี้วิทยาศาสตร์ตามไม่ไหว เชื่อไหม ท่านจะเห็นว่าตามไม่ไหวเลย ปัจจัยยี่สิบอันที่ให้เกิดผลที่ตัวต้องการ มันส่งผลอะไรบ้าง เป็นจุดจะเรียกว่าจุดบอดเลยก็ได้ ที่จะเป็นปัญหามาก ที่นี้กระบวนการของธรรมชาติที่มันเป็นของมันน่ะ ก็คือเหตุปัจจัยมันพรั่งพร้อมของมันใช่มั้ย มันจึงเกิดผลอันนั้น แล้วเวลามันส่งผลมันก็ส่งกันไป มันเป็นความสัมพันธ์ของมันในระบบของมันเอง มันก็เลยเกิดสมบูรณ์ขึ้นมา ทีนี้พอเราทำอย่างนี้มันเกิดไม่สมบูรณ์ แล้วเราตามไม่ไหว เนี่ยจะเป็นจุดที่ลำบากกับวิทยาศาสตร์มาก แล้วจะทำไงตามไหวละใช่มั้ย เนี่ยแหล่ะ ตอนนี้ก็เกิดภาวะเยอะแยะ ส่งผลมาถึงภาวะโลกร้อน เนี่ยแหล่ะๆ เนี่ยแหล่ะตัวอย่าง เนี่ยก็คือการที่วิทยาศาสตร์ภูมิใจและนึกไม่ถึง พอมาถึงตอนหนึ่งจึงเริ่มอะไรกันเนี่ย วุ่นวายหมดแล้ว ตัวจะแย่แล้วสิ ตอนนี้ก็เลยสำนึกขึ้นมา แล้วทีนี้ก็พอเกิด อย่างนี้หนึ่งทางนักปราชญ์ทางวิทยาศาสตร์เองก็เกิดพูดขึ้นมาอย่างนี้ สองก็ปรากฎการณ์ที่เป็นผลจากความเจริญวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทำขึ้นมา แล้วมันมีผลข้างเคียง ผลพลอยที่ไม่ดีขึ้นมา มนุษย์เริ่มเกิดความไม่ไว้วางใจวิทยาศาสตร์ ก็เลย วิทยาศาสตร์จึงเริ่มเสื่อมความนิยม ทีนี้มนุษย์มันเสียอย่าง สุดโต่ง พอเสื่อมความนิยมวิทยาศาสตร์ก็หันไปหาไสยศาสตร์อีก ก็เลยกลายเป็นคนไม่เอาเหตุเอาผลเลยอีก อย่างนี้เรียกว่าสุดโต่ง ท่านให้สำนึกให้มีสติระมัดระวัง คืออย่างน้อยเราก็เตือนใจตัวเองว่า อย่าประมาทนะว่าเรารู้หมด นักวิทยาศาสตร์นึกว่าตัวรู้พอ แล้วไปทำอย่างนั้นเข้า ท่านจึงให้ไม่ประมาท ทำอะไรต้องคำนึงถึงเหตุปัจจัยให้รอบที่สุด ถ้าแม้จำเป็นต้องทำก็ทำ แต่ว่าไม่ประมาทนะ ต้องรู้ว่าที่เราอาจจะยังไม่พอต้องศึกษากัน ทีนี้อย่างนี้เรื่องจิตเรื่องวัตถุเนี่ย ท่านไม่ให้ไปบอกว่าเป็นของตายตัวอย่างนั้น สภาวะธรรมก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เรานึกเป็นขาวเป็นดำเป็นแดง เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เป็นตายตัว ถ้าเรียกว่าสภาวะธรรม มันก็มีอยู่ของมันตามธรรมชาติ แต่มันไม่ได้มีอยู่เป็นเด็ดขาดโดดเดี่ยวต่างหากจากกัน มันมีอยู่ในระบบความสัมพันธ์ มันสัมพันธ์กัน
อ้าว แล้วเมื่อกี๊ท่านถามอะไร ตอบหรือยัง ก็ตอบมาแล้วครับ ถ้าตอบก็ใช่ได้โมทนา ก็ลองถามกันดูคุยกันไปเรื่อยๆ เนี่ยมนุษย์จะต้องพยายามช่วยกันอีกเยอะ ก็เป็นเรื่องที่ละเอียดมากเรื่องนามธรรม ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ก็มาสนใจเรื่องนามธรรมกันมาก เพราะว่ามันเป็นส่วนที่ละเอียดมาก แล้วมันกลายเป็นว่าตัวเองที่ไปศึกษาที่เรียกว่าไปค้นคว้าวิทยาศาสตร์น่ะ ตัวเองที่เป็นส่วนสำคัญมันไปอยู่ที่จิตซะ และกลายเป็นส่วนที่ตัวเองเข้าใจน้อยที่สุด แล้วเมื่อไม่เข้าใจเราก็ไม่รู้สิ่งที่มันเข้าใจด้วย ว่าสิ่งที่มันเข้าใจถูกหรือผิด ตกลงเลยกลายเป็นเหมือนนักปรัชญาในยุคต้น พวกนั้นเถียงกันแยกเป็นสองพวก พวกหนึ่งว่าจิตมีจริง อีกหนึ่งพวกว่าวัตถุมีจริงจิตไม่มีอะไรเนี่ย ตั้งแต่ยุคนั้นก็แสดงว่านักปราชญ์ท่านก็เก่ง แต่ก็เถียงกันไปแบบว่ามักจะไปสุดโต่ง อย่างพวกที่ว่าจิตเท่านั้นมีจริงก็บอกอย่างนี้ บอกว่าวัตถุที่เราเห็นที่เรารับรู้ได้ยินเนี่ย มันมีจริงหรือเปล่า มันรู้จากจิต จิตบอกเรา มันบอกยังไงมันเราก็เชื่อไปตามนั้น คนตาบอดมา ก็รู้จักไม้จากหู ถูกมั้ย จริงไม่จริง ไม้เป็นยังไงก็เคาะ พอเคาะได้ยินไม้ ไม้คืออย่างนี้ แล้วไม้ในความเข้าใจของคนตาบอดเป็นยังไงครับ ก็แข็งๆ ก็เสียงป๊อกๆ นั่นคือไม้ใช่มั้ย ทีนี้ถ้าเราไม่มีตาไม่มีหู ก็มีแต่ลิ้นรับรส อยากจะรู้ไม้เป็นยังไงเอาลิ้นไปลิ้มดู แล้วพวกลิ้นก็เก่งนะครับ ท่านเรียกว่าอินทรีย์ อินทรีย์เนี่ยมันรับรู้ แล้วถ้าฝึกดีเนี่ยมันจะคมชัดมาก อย่างคนสมัยโบราณ เช่นอย่างเรื่องว่าเหรียญจริง เหรียญเก๊ เหรียญปลอม คนสมัยโบราณก็เก่ง พวกนี้หนึ่งคลำบางทีเนี่ยไม่ต้องเห็นเลยใช่มั้ย บางทีอ้าวเห็นก็ช่วยให้รู้ละ บางคนนี่ไม่ต้องเห็นคลำก็รู้เลยใช่มั้ย บางคนลิ้นสัมผัสแตะรู้เลย มันแยกวัตถุโลหะชนิดต่างๆ ได้ เนี่ยประสาทสัมผัสของมนุษย์แต่ละอย่างฝึกได้มีความคมชัด อย่างง่ายๆ อย่างตาเราก็คมชัดไม่เท่ากัน อย่างชาวเขา เขาอยู่มาไม่มีวิทยาศาสตร์ บางทีเก่งกว่าพวกในเมืองอีก พอเห็นแดดอย่างนี้บอกวันนี้จะมีฝน แดดอย่างนี้ สีอย่างนี้ดูออก นี่ตา ประสาทสัมผัสคมมาก ถ้าคนในเมืองไปไม่รู้เรื่องเลย เอ้า..หูก็เหมือนกัน หูคนตาบอกบางคนได้ยินรถมา บอกได้เลยว่ารถสายไหน นี่อย่างนี้ หรือรู้ความกระเทือน ประสาทสัมผัสมีความสามารถของมัน อย่างหมอเหมือนกัน หมอสมัยก่อนนี้เก่งนะ พอมองเห็นคนไข้เดินเข้ามา ท่าทางลักษณะอย่างนี้ปั๊บบอกได้ก่อนขั้นหนึ่งละ มีหวังเป็นโรคอย่างนั้น เอาละตาเนี่ย ช่างเครื่องยนต์เก่งๆ เอ้าลองเปิดเครื่องดูสิ มันเสียอะไรพอได้ยินเนี่ย บางทีแทบจะบอกได้เลยว่าเสียที่ไหน เนี่ยคือ ประสาทสัมผัสของมนุษย์ ความคมของอินทรีย์ มนุษย์ถ้าไม่ฝึก อินทรีย์พวกนี้ก็จะด้านจะหยาบ อย่างหมอปัจจุบัน ถ้าไม่ได้ฝึกในการที่ตรวจคนไข้อะไรต่ออะไรมาก พอคนไข้มาก็สั่งเข้าเครื่อง เข้าเครื่อง เข้าเครื่อง เครื่องตรวจได้หมด เสร็จแล้วกลายเป็นว่าต่อไปถ้าเกิดไม่มีเครื่อง ตัวเองตรวจไม่ได้เลย แย่เลยถูกมั้ย นี่แหล่ะครับ เพราะฉะนั้นจึงต้องไม่ประมาท แม้จะมีเครื่องมือช่วย เราต้องบอกว่าเครื่องมือเทคโนโลยีนี้มาเสริมความสามารถเรา อย่าให้เราขึ้นต่อมัน หลักการสำคัญเลย มนุษย์สมัยนี้ไม่ฝึกอินทรีย์ กลายเป็นว่าไปๆมาๆ ขึ้นต่อเทคโนโลยี พอไม่มีเทคโนโลยีอยู่ไม่ได้ หมดเลยทำอะไรไม่ได้เลย เป็นมากแล้วนะเดี๋ยวนี้ ตั้งแต่เครื่องคิดเลข สมัยก่อนนี้ พอเข้าเรียนประถมต้องท่องสูตรคูณ มีเลขคิดในใจถูกมั้ยสมัยก่อนมีวิชาเลขคิดในใจ ต้องคิดเลขในใจกันให้เก่งเลย เดี๋ยวนี้คิดไม่ออกแล้ว รุ่นผมยังได้เรียนพวกนี้อยู่ ใช่มั้ย แล้วเครื่องคิดเลขก็ยังไม่ให้ใช้ เออแล้วเดี๋ยวนี้เป็นไง เดี๋ยวนี้ก็พกเข้าไปในห้องสอบได้เลยครับ รุ่นผมยังได้ใช้สไลด์อยู่ เนี่ยบางทีบางคนเด็กๆ สมัยนี้ หรือคนขายของไม่มีเครื่องคิดเลขคิดไม่ออก เพราะฉะนั้นอินทรีย์คมชัดสำคัญนะครับ อย่าไปประมาท ถ้าฝึกไว้ได้ดีที่สุด แล้วมนุษย์จะมีความเป็นตัวของตัวเอง ยังมีอิสรภาพ แล้วให้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องเสริม อย่ากลายเป็นว่า พอมีมันแล้วเราหมดอิสรภาพและต้องขึ้นต่อมัน ทีนี้อย่างหมอที่ว่า ตาดูรู้ บางทีสัมผัสแตะนิดรู้ เป็นโรคอะไรใช่มั้ย เรื่องความคมชัดของอินทรีย์สำคัญมาก อินทรีย์เหล่านี้มันก็เป็นเรื่องที่ว่า มันมาช่วยให้ชีวิตเราเข้าถึงในความรู้ความเข้าใจต่างๆเหล่านี้
อ้าวเมื่อกี้ผมจะตอบเรื่องอะไร เลยพูดเรื่อยเปื่อยมาเรื่องความคมชัดของอินทรีย์ละ ช่วยทวนคำถามอีกที เรื่องจิต ไม่ใช่เมื่อกี้มาเรื่องอะไรละ อันนั้นๆ ไปขั้นหนึ่งละ เอ้อ..เมื่อกี้ว่าจะพูดตอบอะไรนะ ใครถามอะไรอีกหรือเปล่า ไม่ได้ถามหลวงพ่ออธิบาย เหรอ เลยพูดเรื่อยไป สมองชักจะแย่ อินทรีย์ชักจะเสื่อม ก็เนี่ยแหล่ะครับพวกอินทรีย์สำคัญ อินทรีย์มันก็ทำงานของมันเราต้องฝึกให้ดี แล้วการเข้าถึงความจริงก็อาศัยอินทรีย์เหล่านี้ที่จะรับรู้ เออ..เมื่อกี้ต้องการจะมาถึงบทสรุปอันหนึ่ง แล้วก็เลยลืมไปเลย คืออธิบายเรื่องความคมชัดของอินทรีย์เนี่ยเพื่อจะมาตอบอันนี้ เลยลืมไปเลยว่าตัวประเด็นที่ต้องการคืออะไร พูดไปๆ เพลิน เดี๋ยวคุยกันไปบางทีนึกออกเอง เอาเลยนิมนต์ มีอะไรก็ถาม
งั้นแสดงว่าไม่ว่าจิตจะคืออะไรแต่ว่าทางที่ดีคือ สิ่งที่เราควรจะสนใจคือ จะทำยังไงให้จิตกับรูปทำงานให้มันสอดคล้องกัน ให้เกิดผลเป็นประโยชน์มากที่สุด แล้วก็ฝึกมันไป ฝึกมันไปแล้วต่อไป มันจะเกิดความรู้ประจักษ์ รู้ประจักษ์ แม้แต่จิตเองก็ต้องฝึกให้เกิดความรู้เข้าใจ อย่างเราจะรู้จิต ก็ต้องรู้ด้วยจิต รู้สภาวะของมันเนี่ย บางคนก็ไม่รู้เพราะไม่เคยได้ดูตัวเอง ดูจิตดูใจของตัวเอง มีสิ่งที่พระท่านเรียกเจตสิก สิ่งที่ประกอบกับจิต ความรู้สึกอะไรต่างๆ เหล่านี้ มันเกิดขึ้นมันเป็นไปอย่างไร พระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ พระองค์ก็เล่าถึงพระองค์ก่อนตรัสรู้ว่า พระองค์มีความรู้สึกอันนี้เกิดขึ้น พระองค์ก็ตามดูมัน ว่ามันเกิดขึ้นยังไง มันเป็นไปยังไง มันดับไปยังไง จนกระทั่งพระองค์ก็เข้าใจจิตของพระองค์ จากการรู้เนี่ยตามดูมันไป เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปยังไง ในการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ก็คือกระบวนการเป็นไปของมัน เป็นไปยังไง แล้วมันก็ส่งผลเป็นปัจจัยต่อกัน อย่างที่ว่ามันเป็นความสัมพันธ์กัน มนุษย์จะไม่ได้เข้าใจความจริงเฉพาะศึกษาสิ่งนั้นหรอก มันเข้าใจจากรู้ความสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ ด้วย ปัจจัยทั้งหลายอื่นๆ มันมาสัมพันธ์กันหมด ทีนี้มาดูจิตของตัวเองเห็นความเกิดดับอะไรต่างๆ มันก็จะเข้าใจส่วนนาม แล้วส่วนนามก็ไปโยงกับส่วนรูป แล้วมันจึงจะค่อยๆ เรียกว่าประจักษ์ความจริงขึ้นไป ประจักษ์จากการที่ก็ดูจากสภาวะที่มันเป็นไปแต่ละขณะ เพราะเราจะรู้เข้าใจก็คือขณะนั้น พอต่อจากนั้นแล้วมันก็เป็นอดีต มันก็เป็นสัญญา เป็นสิ่งที่จำไว้ ก็ระลึกขึ้นมามันก็เป็นภาพแหล่ะ มันไม่ใช่ของจริงแล้วใช่มั้ย พอมันผ่านขณะนั้นไปเนมันก็เป็นสิ่งที่เก็บไว้ในความทรงจำ ระลึกขึ้นมามันก็เป็นภาพ ถ้าเราจะดูของจริง ก็ต้องดูที่มันกำลังเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ก็เลยในที่สุดพระท่านก็สอนว่าให้ดูความจริงจากความจริง ความจริงจากความจริงไงก็คือขณะที่มันกำลังเป็นอยู่เนี่ย เพราะว่ามันผ่านไปขณะหนึ่งแล้ว มันเป็นสัญญาไปแล้ว มันเป็นความจำไปแล้ว มันเป็นอดีตไปแล้ว มันเป็นภาพไปแล้วมนุษย์ก็ไปศึกษาจากภาพส่วนมาก ก็ต้องยอมรับว่านั่นคือยังไม่ใช่ของจริง เราก็เลยต้องมาศึกษาทุกขณะ ท่านบอกว่ารูปเกิดดับขณะหนึ่ง จิตเกิดดับสิบเจ็ดขณะ ก็หมายความว่าจิตมันมีความเกิดดับ หรือมีความเป็นไปรวดเร็วมาก รูปธรรมก็เร็วอยู่แล้ว ความเกิดดับของมัน ฉะนั้นมันก็เป็นเรื่องที่ยากก็ไม่รู้จะใช้ศัพท์อะไร ก็เรียกว่าละเอียดอ่อน แต่ว่าเอาในแง่ประโยชน์ในการใช้ก่อน คือหนึ่งต้องการรู้ความจริง รู้สภาวะ สองก็คือการใช้ประโยชน์หรือทำให้เป็นประโยชน์ ยังไงก็ตามตอนนี้ก็คือว่าให้มันเกิดประโยชน์ขึ้นมา จากการที่เราฝึกเราศึกษา มันก็เกิดประโยชน์ ในการที่เกิดประโยชน์ต่างๆ นอกจากประโยชน์หยาบๆ ที่มาใช้ในชีวิตประจำวัน ก็คือประโยชน์กับตัวชีวิตเอง ก็คือในขณะที่เราทำประโยชน์เหล่านี้ เราก็ฝึกรูปธรรมนามธรรมของเราไป ตัวชีวิตเองรูปธรรมนามธรรมก็พัฒนาขึ้นไป มันก็มีความชำนาญมีความสามารถเพิ่มขึ้น มีอะไรมั้ยครับ เอาสิมีอะไรคุยกัน มันก็หวิวๆ ร่างกายไม่ค่อยทนทาน ถ้ายังไม่มีคำถามอะไร ก็วันนี้ก็คุยกันเท่านี้ก่อน