แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ตอนนี้มีข่าวสำคัญ ข่าวอะไรครับ สุรปัญโย ทุบพระพรหมครับ พระพรหมนี่แหละ พระพรหมมาแล้วนะ พระพรหมเอราวัณ พระพรหมนี่ก็มีกี่หน้า คนฟังตอบ 4 หน้า พระพรหมมี 4 หน้า แล้วก็พรหมวิหารก็มี 4 ข้อ เหมือนกันเลย ก็คือเป็นหลักธรรมะที่มาเทียบเคียงกับพระพรหม พระพรหมนี่เป็นเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาไหนเอ่ย คนฟังตอบ ศาสนาพรหมณ์ พราหมณ์ พระพรหม พระพราหมณ์ชื่อก็บอกแล้วใช่ไหม พรหม พราหมณ์ พระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุดเป็นผู้สร้างสรรค์บันดาลโลกแล้วก็สร้างบรรดาสังคมมนุษย์ทั้งหมดนี่ตามหลักศาสนาพราหมณ์ เอ้านี่ก็ทางศาสนาพราหมณ์เขาก็มีพระพรหมเป็นผู้สร้างโลกบรรดาทุกสิ่งทุกอย่าง ในภาษาไทยเราจะได้ยินพรหมลิขิต เคยได้ยินไหมครับ คนไทยไม่น้อยเชื่อพรหมลิขิตนึกว่าเราจะเป็นยังไงชีวิตของเราจะเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าประสบความสำเร็จหรือไม่เป็นยังไงก็เป็นที่พรหมลิขิต พรหมลิขิตก็มาจากพรหม กับลิขิต ลิขิตแปลว่าอะไร คนฟังตอบ เขียน เขียนก็แปลว่า ชีวิตเราโชคชะตาของเราเนี่ยพระพรหมท่านเขียนไว้แล้วถูกไหม ก็แก้ไขอะไรไม่ได้สิถ้าอย่างนั้น นี้พุทธศาสนาไม่ยอมรับหลักนี้ แต่ว่าคนไทยทั้ง ๆ ที่เป็นพุทธก็ยังไปเชื่อพรหมลิขิต ผิดนะครับ ก็ผิดนะสิไปเชื่อได้อย่างไร ตัวเป็นพุทธนี่ก็ไปเชื่อศาสนาพรหมาณ์ ถ้าพระพรหมเขียนไว้หมดแล้วเราก็ไปทำอะไรได้ละใช่ไหม มันก็ต้องเป็นไปตามท่าน จะแก้ไขไม่ได้ ทางพุทธเราไม่ได้ยอม ให้ยอมตามนั้น ต้องเพียรพยายามใช้สติปัญญาความสามารถพัฒนาตนเอง เพื่อจะได้สร้างชีวิตให้มันดี พัฒนาตัวเองได้ นี้ศาสนาพราหมณ์ก็มีพระพรหมเป็นผู้สร้างโลก พระพรหมนี่ก็เป็นใหญ่อยู่เดิม แล้วต่อมาศาสนาพราหมณ์นี่ก็วิวัฒนาการเจริญขึ้นมานาน ๆ เข้าก็มีเทพเจ้าอื่นเกิดขึ้น เทพเจ้าบางองค์ที่เคยเล็กก็ใหญ่ขึ้นมาจนกระทั่งชักจะข่มพระพรหม พระเจ้าที่ใหญ่ขึ้นมาอีก 2 องค์นี่ก็คือพระนารายณ์ เคยได้ยินไหมครับ พระนารายณ์ พระนารายณ์ก็ใหญ่มากเหมือนกันนะครับ แต่มาใหญ่ยุคหลังพระพรหมมีมาแต่เดิม นารายณ์นี้เพิ่งมียุคเนี่ยเอาง่าย ๆ ก่อนศาสนาคริสต์ไม่นานแต่ว่าของพระพรหมนี้มีก่อนพุทธศาสนาตั้งนานมีมาแต่เดิม พระพรหมท่านใหญ่มาแต่เดิม ต่อมาพระนารายณ์ชักใหญ่ขึ้นมามีผู้นับถือมากขึ้น ก็เกิดมีนิกายที่นับถือพระนารายณ์ ก็ถือว่านารายณ์ใหญ่กว่าพระพรหมอีก พวกที่นับถือพระนารายณ์เขาก็กลายเป็นสร้างตำนานขึ้นมาใหม่ให้นารายณ์ใหญ่กว่าพระพรหม นารายณ์นี้มีชื่ออีกอย่างหนึ่งเรียกว่าพระวิษณุ เคยได้ยินไหมครับ นี่พระวิษณุองค์เดียวกันให้จำไว้ด้วยวิษณุนารายณ์นี่องค์เดียวกัน 2 แล้วนะพระพรหม กับ 2 พระนารายณ์ พระวิษณุ ทีนี้อีกองค์หนึ่ง คือพระอิศวร เคยได้ยินไหม ได้ยิน คนไทยได้ยินหมดแหละพระเจ้าเหล่านี้ พระอิศวรก็ใหญ่มากอีกพวกหนึ่งก็ไปนับถือพระอิศวร นี้พวกนับถือพระอิศวร ก็จะถือว่าอิศวรใหญ่กว่าพระนารายณ์ เอาละสิทีนี้ก็แข่งกัน ฝ่ายผู้นับพระอิศวรก็มีตำนานแต่งขึ้นมาว่าใหญ่กว่าพระนารายณ์อย่างนั้น ทีนี้อิศวรมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าพระศิวะ เคยได้ยินชื่อไหมครับ อ้าว เคยนะ ตกลงได้ยินหมดแล้ว เอ้าก็ทวนอีกทีหนึ่งมีพระผู้เป็นเจ้าของศาสนามีอยู่องค์เดียวคือพระพรหม เป็นผู้สร้างผู้ดลบรรดาลทุกสิ่งทุกอย่าง ต่อมามีอีก 2 องค์ก็คือพระนารายณ์ ซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งชื่อพระวิษณุกับพระอิศวร ซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่าพระศิวะ เป็น 3 องค์ 3 องค์นี่ต่อมาเขาก็มีวิวัฒนาการก็เป็นเรื่องของการที่อาจจะทำให้เกิดความสามัคคีอะไรก็แล้วแต่เป็นเรื่องของเขา เขาก็ถือว่า 3 องค์นี่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็ สามทรีอินวัน สามในหนึ่ง สามเป็นอันเดียวกัน แล้วก็ตั้งชื่อขึ้นมาเรียกว่าตรีมูรติ เคยได้ยินไหมครับ เอ้ได้มายินจากไหน ตรีมูรติ คนฟังตอบ ที่โรงเรียนก็มีสอน เหรอ เอ้าทำไมไปสอนเรื่องนี้ละ คนฟังตอบ ก็มันอยู่ในวิชาสังคม เหรออ๋อ ตรีมูรติบางคนนี่ไปได้ยินเพราะว่ามีรูปปั้นพระตรีมูรติอยู่ที่ไหนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ นี่เดี๋ยวนี้คนไปนับถือมากเหมือนกัน ท่านทราบไหมมีศาลพระตรีมูรติ นี่ก็แบบเดียวกับพระพรหมมีเอราวัณ พระนารายณ์มีที่ไหน แล้วมีพระตรีมูรติ เดี๋ยวนี้ที่กรุงเทพฯ เที่ยวมีกันวุ่นหมดสร้างศาลกัน ศาลพระตรีมูรติก็มีคนไปไหว้เยอะ ตรีมูรติก็คือ 3 องค์รวมกัน
กลับมาเรื่องพระพรหมอีกนิด เรื่องพระพรหมนี่เริ่มต้นไว้ก็ยังพูดไม่จบ นี้พระพรหมเป็นผู้สร้างโลกตามคติศาสนาพราหมณ์เป็นเทพเจ้าสูงสุด เพราะพระพรหมท่านยิ่งใหญ่เนี่ยก็เรียกว่าเป็นอุปมาเหมือนก็ท่านมีดวงตาที่มองเห็นรอบหมดทั่วจักรวาลทุกทิศก็เลยสร้างคติเป็นว่ามี 4 หน้า 4 หน้าก็ครบทุกทิศใช่ไหม ก็เห็นหมดใช่ไหม ถ้าเรามีหน้าเดียวเราก็เห็นได้ด้านเดียว นี้พระพรหมท่านเห็นหมด 4 ทิศเลยก็รู้หมดเลย ที่นี้ทางพุทธศาสนาเราก็เกิดขึ้นมาในถิ่นที่นับถือศาสนาพราหมณ์แต่เราไม่ได้นับถือความยิ่งใหญ่ของพระพรหม แต่ว่าพุทธศาสนาก็ไม่ได้ดูถูกดูหมิ่นใครไม่เบียดเบียนใคร พระพรหมก็ยังอยู่ได้ พระพรหมก็เลยเกิดมีฐานะใหม่เป็นสัตวโลกชั้นสูง สัตวโลกชนิดหนึ่งชั้นสูง คือหมายความว่าโลกนี้มีสัตว์ประเภทต่าง ๆ รวมทั้งมนุษย์ด้วยนะ มนุษย์ก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง นี้สัตว์ต่าง ๆ เหล่านี้มีหลายระดับที่มีสติปัญญามีคุณความดีมีธรรมะสูงก็เราก็เรียกเป็นพวกเทวดา เทวดาก็เป็นระดับขึ้นไป เช่นเทวดาชั้นโลกบาล 4 ชั้นดาวดึงส์ชั้นดุสิตอะไรพวกนี้เคยได้ยินชื่อไหม จนกระทั่งไปสูงขึ้นไปก็เป็นพระพรหม แล้วพระพรหมก็มีอีก 16 ชั้น 16 ชั้นนี้เป็นพรหมและยังมีอรูปพรหม อีก 4 ชั้น โหเยอะแยะหมด เป็น 20 ชั้น เป็นพระพรหม เอาละเป็นอันว่าพระพรหมมีเยอะแยะ นี่พระพรหมก็เยอะหมดเลย พระพรหมก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งเป็นสัตวชั้นสูงแต่ไม่ใช่เป็นผู้สร้างโลกแล้วก็พรหมนี้ก็เวียนว่ายตายเกิดได้ พระพรหมนี่เมื่อหมดบุญหมดความดีก็กลับมาเกิดในภพดับ มาเป็นมนุษย์หรือถ้าทำไม่ดีอีกก็ไปเกิดในนรกไปอีก ทีนี้คนทุกคนอย่างมนุษย์เราเนี่ย ถ้าหากว่าพัฒนาจิตใจดีได้ฌานสมาบัติสมาธิชั้นสูงตายก็ไปเกิดเป็นพระพรหมได้ พระพรหมก็ไปจากมนุษย์นี่แหละไปจากสัตว์ทั้งหลายเนี่ย ที่จะพัฒนาจิตใจได้ดี เอาละนี่พระพรหมก็มีความหมายใหม่อย่างพระพรหมที่เอราวัณนี่ให้ไปดูสิ เขาบอกไว้เลยพระพรหมนี่ท่านจะออกมารับการไหว้บูชาเซ่นสรวงของมนุษย์นี่ตอนค่ำทุกวัน เว้นพระ ท่านอ่านหรือเปล่าวรู้ไหมนี่อยู่ต้องรู้ทันเขา ท่านมารับการบูชาเนี่ยทุกวัน เว้นวันพระ แล้ววันพระท่านไปไหนรู้ไหมไปเฝ้าพระพุทธเจ้านี่เขาบอกไว้อย่างนี้นะ นี่ของเขาเองนะไม่ใช่เราว่าเขาว่า อ่อก็แสดงว่าพระพรหมนี่เป็นพระพรหมที่ยอมรับมานับถือพุทธศาสนาแล้วใช่ไหม วันพระไปไหว้พระพุทธเจ้า เออนี้พระพรหมที่เอราวัณนี่แหละ วันพระไปไหว้พระพุทธเจ้า นั้นถ้าใครจะไปหาพระพรหมต้องเว้นวันพระ นี่คนไทยนี่เวลาเราบางทีนับถืออะไรคิดแต่ว่าจะเอาบูชาอยากได้โน้นได้นี่ แล้วไม่รู้เรื่องสิ่งที่ตัวไปบูชา อย่างพระพรหมที่ตัวไปขอไปเซ่นยังไม่รู้เลยท่านเป็นยังไง ท่านมายังไงใช่ไหม แย่คนไทยเนี่ยขาดการเรียนรู้ไม่ศึกษาเลย ต้องเตือนโยมนะ วันพระไปขอไม่ได้ก็ต้องไปขอวันธรรมดา ต้องเว้นวันพระที่จะไปขอพระพรหม วันพระพรหมโอกาสไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทีนี้ชาวบ้านไม่รู้ก็ปฏิบัติผิด 1 ก็ไปขอทุกวันเลย ไม่เว้นวันพระผิดแล้วใช่ไหม ขอได้ทุกวัน ต้องเว้นวันพระ 1 แล้ว 2 ไม่สนใจพระพรหมบ้างเอาแต่ใจตัวขออย่างเดียว ไม่นึกถึงพระพรหมบ้างมีใจเผื่อแผ่ไถ่ถามพระพรหมบ้างว่า พระพรหมครับ เมื่อวานนี้วันพระท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรมอะไรมา ผมจะได้ฟังบ้าง 3 ที่สำคัญเลยนะ ก็คือเป็นการบอกให้รู้ว่าทั้งพระพรหมและเราชาวบ้านนี่ก็มาพบกันวันธรรมดา เรามีเรื่องของชาวบ้านมาขอเดือดร้อนมีทุกข์มีภัยแต่พอวันพระแล้วทั้งพระพรหมแล้วทั้งชาวบ้านทุกคนก็ไปวัดไปเฝ้าพระพุทธเจ้าไปไหว้พระพุทธเจ้าด้วยกัน นี่คือพระพรหมท่านก็เป็นพุทธศาสนิกชน แล้วชาวบ้านก็เหมือนกันเรามีหน้าที่เหมือนกันอย่างหนึ่งก็คือพอถึงวันพระก็ไปทำหน้าที่ของตนต่างก็ไปไหว้พระพุทธเจ้าไปฟังธรรม เอานะวันพระ พระพรหมท่านก็ไหว้พระพุทธเจ้า เราก็เหมือนกันก็มีหน้าที่ต้องไปไหว้พระไปวัดฟังธรรม ก็คือโบราณเขาหาทางออกไว้ให้ ให้มันมีช่องพัฒนาบ้าง ทำได้อย่างนี้ก็เจริญงอกงามสังคมไทยยังมีช่องให้เจริญบ้าง ไม่งั้นปิดช่องเจริญหมดเลย ขอผลดลบันดาลท่าเดียวไม่เอาไหน เอ้าทีนี้มาดูให้รู้ไว้หน่อยว่า พระพรหมเอราวัณนี่เขาสร้างกันขึ้น เปิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ 2499 กี่ปีแล้ว กี่ปีครับ 2499 50 ปี ถือว่า 50 ปีพอดี นี่พระพรหมเอราวัณได้ 50 ปี หนังสือพิมพ์ลงบอกคู่บ้านคู่เมือง คู่บ้านคู่เมืองอะไรละแค่ 50 ปี ว่ากันไปได้ดูซิคนไทย เอ้ออย่างนี้เขาเรียกว่าพูดส่ง ๆ ใช่ไหม เอ้าก็เป็นอันว่าท่านมีประวัติมาอย่างเงี้ยได้ 50 ปี แล้วก็เรื่องของท่านเองก็บอกอย่างนี้ บอกว่าท่านออกรับเครื่องเซ่นมนุษย์นี่ทุกวันเว้นวันพระ วันพระไปเฝ้าพระพุทธเจ้า คนไทยไม่สนใจเลยจะเอาอย่างเดียวนะ ก็น่าจะไปถามพระพรหมบ้าง โอ้ท่านครับเมื่อวานวันพระท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าแสดงธรรมว่ายังไงบ้างครับ ผมจะได้ฟังบ้างใช่ไหม หรือว่า เออพระพุทธเจ้าฝากคำสอนอะไรมาให้พวกเราบ้างไหมยังดีใช่ไหม ถามยังงี้บ้าง ไม่ถามเลยเอาอย่างเดียว นี่สังคมอย่างนี้จะไม่ไหวนะต้องพัฒนาแล้ว ไม่รู้ไม่ชี้อะไรทั้งนั้นเลยเอาอย่างเดียว ก็เรียกสังคมรอผลดลบันดาลต้องระวังนะ หวังลาภลอยคอยผลดลบันดาล คนไทยไม่น้อยเป็นอย่างนี้ จริงไม่จริง หวังลาภลอยนี่คือยังไง อะไรนะ หวังลาภลอย หวังลาภจะถูกหวยลอตเตอรี่คือมันไม่รู้มันจะถูกไม่ถูกใช่ไหมแล้วแต่ลอยมา ก็คือเลื่อนลอยนั่นแหละ ลอยก็คือเลื่อนลอย เอ้าคอยผลดลบันดาลเป็นยังไง เป็นไงคอยผลดลบันดาล คนฟังตอบ ฝากสักการะ เอ้าก็ไปขอไง ไปเซ่นไหว้แล้วก็ไปบน บนเอาเจ้าพระคู้นนี่เรียกว่าคอยผลดลบันดาล ไปขอท่านแล้วบนแล้วก็คอยไปซิ เพราะตัวเองทำไม่ได้เลยใช่ไหม ก็ต้องรอให้ท่านดลบันดาลให้ นี้พุทธศาสนานี่เป็นศาสนาแห่งเหตุปัจจัยใช้ปัญญา เราก็ต้องเรียนให้รู้เหตุปัจจัยแล้วก็ทำเหตุปัจจัยไม่ต้องไปคอย อย่าไปคอยอยู่ถ้าไปคอยท่านเรียกประมาทถูกไหม นั้นลัทธิหวังลาภลอยคอยผลดลบันดาลนี่ มองตามหลักพุทธศาสนาคือลัทธิแห่งความประมาท ก็ผิดหลักพุทธศาสนา ทีนี้ชาวพุทธเราเนี่ยมันเลื่อนลอยไม่ค่อยรู้คำสอนของพุทธศาสนาเองก็เลยเที่ยวเฉไฉเข้าไปประพฤติผิด ๆ ถูก ๆ ไปเชื่อเรื่องไม่เป็นเรื่องที่จริงไม่ใช่พุทธศาสนา นี่อย่างที่ว่าพระพรหมนี่ก็เป็นพุทธหมือนกัน คือท่านนับถือพุทธศาสนาแล้วเพราะว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาแล้ว เมื่อพุทธศาสนาแผ่ขยายกว้างขวางออกไป พระพรหมก็เลยกลายมาเป็นพุทธซะเยอะ มีเรื่องในพระไตรปิฎกด้วยนะ พระโมคคัลลานี่ไปปราบพระพรหม เอาไปอ่านดูได้ในพระไตรปิฏก ไปปราบพระพรหมแล้วก็มีเพลงหนึ่งที่เราได้ยินบ่อย ๆ เพลงนี้ก็เกิดจากเรื่องระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระพรหม ไม่ใช่เฉพาะพระโมคคัลลากับพระพรหมนะ พระพุทธเจ้าก็เคยไปปราบพระพรหม สมัยก่อนเวลาไปปราบอย่างนี้เขาใช้คำว่าทรมาน พระพุทธเจ้าไปทรมานพระพรหม เอ้อย่างนั้นพระพุทธเจ้าจะเมตตาหรือ ทำไมไปทรมาน ทรมานแปลว่าอะไรครับ ท่านสมเณรสมพงษ์ว่ายังไง ทรมาน สามเณรตอบทำให้เจ็บปวด ทำให้เจ็บปวด นี่ภาษาไทยก็เป็นตัวอย่างเพี้ยน เอ้าทำความเข้าใจสะ ทรมานนี่นะภาษาบาลีว่า ทะมะนะ แล้วทะมะนะ ตัวนี้ตัวเดียวกับคำว่าทะมะ เคยได้ยินไหม ทะมะ ใครเคยได้ยินบ้างทะมะ ทะมะ ทอทะหาน มอม้า สระอะ สัจจะ ธมะ ขันติ จาคะ ได้ยินไหม คนฟังตอบ เคยได้ยิน เอ้าได้ยินมาในหลักที่เรียกว่าฆราวาสธรรม 4 ธรรมะแปลว่าอะไรเอ๋ย ธรรมะแปลว่าฝึก ไอ้คำว่าทรมารเนี่ยเดิมก็มีความหมายเป็นธรรมะนี่แหละคือไปฝึก ไปฝึกหมายความว่าไปทำให้คนเนี่ยดีขึ้นไปฝึกเขา ให้เขาเปลี่ยนแปลงจากที่มันเคยไม่รู้ไม่มีปัญญามันโง่ให้มีปัญญาขึ้นก็เรียกว่าฝึก เขาเป็นคนไม่ดีเป็นคนพาลก็ทำให้เป็นบัณฑิตเรียกว่าฝึก คำว่าทรมานก็คือไปเปลี่ยนนิสัย ทีนี้พระพุทธเจ้าไปทรมานพระพรหมก็คือไปเปลี่ยนแปลงพระพรหมให้ดีขึ้น ให้ท่านเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนความเข้าใจใหม่ให้ถูกต้องไม่ใช่ไปทรมานอะไรให้เจ็บปวด นี่ภาษาไทยมันเพี้ยนไป เอาเข้าใจซะ
ที่นี้ท่านเล่าให้ฟังเรื่องหนึ่งเพราะมันเกี่ยวกับเรื่องของดนตรีไทยด้วย เวลาพระจะขึ้นเทศน์นี่ ปี่พาทย์เขาจะบรรเลงเพลงหนึ่ง เคยได้ยินไหมเอ๋ยใครใกล้ชิดกับประเพณีไทยบ้าง ใครเคยได้ยินไหมเวลาพระจะเทศน์มีเพลง ๆ หนึ่งเขาเรียกว่าเพลงสาธุการ ไม่ทันแล้วสมัยนี้ เป็นเพลงที่เพราะมากเวลาพระจะขึ้นเทศน์ปี่พาทย์ก็จะบรรเลงเพลงสาธุการ ก็เรื่องมันก็เป็นมาอย่างนี้ คือมันเข้ามาเป็นเรื่องตำนานมาเข้ากับวัฒนธรรมประเพณี ก็คือมีเรื่องว่าพระพุทธเจ้าไปทรมานพระพรหม พระพรหมองค์นั้นชื่อพะกะ คนไทยเรียกพกาพรหม นี่พกาพรหมท่านเป็นพรหมนี่ก็ถือท่านยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นผู้สร้างผู้บันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วท่านก็ไม่เกิดไม่ตาย ท่านก็อยู่อย่างงี้ พระพุทธเจ้าก็ไปทรมานก็คือไปแก้ความเข้าใจผิด ที่จริงท่านไม่ใช่ว่าไม่เกิดไม่ตายหรอก คือพรหมเข้าใจผิดตัวเองมีอายุยืนจนกระทั่งว่ามันทวนระลึกไปไม่ไหวนึกไปเมื่อไหร่ตัวก็ยังอยู่ ก็เลยนึกว่าตัวนี่ไม่เกิดไม่ตาย ที่แท้นี่ไม่จริง พระพุทธเจ้าไปแก้ความเข้าใจ พระพุทธเจ้าก็ไปสนทนากับพระพรหมชื่อพกาพรหม ถึงตอนหนึ่งก็ลองฤทธิ์กัน อันหนึ่งก็คือเอ้ามาลองหายตัวกันแล้วหา เรียกว่าซ่อนหานั่นแหละ ซ่อนหาแบบนี้ก็คือหายตัวไปเลย หายตัวไปแล้วก็อีกฝ่ายหนึ่งต้องบอกว่าอยู่ไหนเรียกตัวกลับมา ถ้าบอกได้อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องแพ้ใช่ไหม เอ้าตกลง พระพรหมหายตัวก่อน พระพรหมก็หายตัวไปจะไปอยู่สะดือทะเลใต้มหาสมุทรสุดจักรวาลไหน พระพุทธเจ้าชี้ได้หมด พระพุทธเจ้าเธออยู่นี่ ไปสุดจักรวารไหนอยู่นี่ พระพรหมยอมขั้นที่หนึ่ง แสดงว่าหนีไม่รอด ก็ถึงทีตาพระพุทธเจ้าบ้าง เอ้าพระพุทธเจ้าหายตัวบ้าง ให้พระพรหมหา พระพุทธเจ้าก็หายตัวหาพระองค์ พระพรหมมี 4 พักตร์ มองเห็นทั่วจักรวาลหมด เอ้อย่างงั้นก็ยังมองไม่เห็น จนกระทั่งในที่สุดอ่อนใจเอาละยอมแล้ว พระพุทธเจ้าอยู่บนเศียรพระพรหม พระพรหมบอกเรายอมแล้วลงมาเถอะ พระพุทธเจ้าวางเงื่อนไขยังไม่ลงต้องเชิญลงต้องแต่งถ้อยคำให้ไพเราะเชิญลง นี่แหละก็เลยเป็นที่มาของเพลงสาธุการ ก็คือเพลงที่พระพรหมแต่งขึ้นเพื่ออัญเชิญพระพุทธเจ้า เพลงสาธุการก็เกิดขึ้นในดนตรีไทย เวลาพระจะขึ้นเทศน์ก็ต้องบรรเลงเพลงสาธุการ พระก็เดินขึ้นธรรมาสน์นี่พระพรหมก็อัญเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จ อันนี้ก็เป็นส่วนตำนานของไทย แต่ว่าไปเชื่อมกับเรื่องในพระไตรปิฏก เรื่องในพระไตรปิฏกนั่นไม่เหมือนอย่างไทยหรอก แต่ว่าไทยนี่เราเอามาเล่าให้คนไทยเข้าใจง่าย ๆ ว่าชาวบ้านนี่จะไม่เข้าใจเรื่องลึกซึ้ง นี้พระพุทธเจ้าตรัสในนั้นเป็นเรื่องคำสอนที่เรียกว่าปรัญญา นี้ชาวบ้านจะเข้าใจยังไง คนไทยเราที่เป็นบรรพบุรุษก็ฉลาดจะเอามาสื่อสารกับชาวบ้านก็ต้องมาแต่งเป็นเรื่องให้มันสนุก ก็พูดกันเป็นเรื่องเป็นราวอีกแบบ นี่เรื่องในวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งมีรากฐานมาจากพุทธศาสนาท่านจะได้รู้ไว้ พระพรหมก็เป็นอันรู้ว่ามี 4 พักตร์ ก็เห็นสัตว์ทั่วไปหมดทั่วจักรวาล
ทีนี้พุทธศาสนานั้นไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องพระพรหมและอำนาจยิ่งใหญ่ ถือธรรมเป็นใหญ่ก็เปลี่ยนจากเทพสูงสุดเป็นธรรมะสูงสุด ก็เอาธรรมะคือความจริงเนี่ยมาให้มนุษย์ศึกษาเล่าเรียนให้รู้ความจริงและปฏิบัติให้ถูกต้องก็เลยเอาหลักเกี่ยวกับเรื่องพระพรหมนี่มาใช้ในความหมายใหม่ พรหมมีในพุทธศาสนา 1 ก็อย่างที่บอกเมื่อกี้ ที่เป็นสัตวโลกประเภทหนึ่งที่สูงประเสริฐที่ได้สมาธิได้ฌานสมาบัติ แล้วสัตวโลกที่ประเสริฐก็ต้องมีคุณธรรมความดี โดยเฉพาะก็จิตที่สูงที่เป็นสมาธินี่ จิตที่เป็นสมาธิจิตดีนี่ก็มีคุณสมบัติ ท่านก็ให้หลักที่ว่ามนุษย์เนี่ยจิตยังไงจะเป็นจิตที่ดีจะเป็นจิตที่ช่วยให้อยู่ร่วมกันในโลกอย่างมีสันติสุข มนุษย์แต่ละคนควรจะรับผิดชอบต่อโลกที่ตัวอยู่ด้วย ไม่ใช่รอให้พระพรหมมาสร้างตัวเองได้แต่ทำลาย เราทุกคนนี่แหละสร้างสรรค์บันดาลโลกได้ด้วยการที่เรากระทำต่าง ๆ ทำไม่ดีเราก็ทำลายโลกถูกไหม ที่เราเบียดเบียนกันอย่างงี้คือทำลายโลก ถ้าเราช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็ช่วยสร้างสรรค์โลกใช่ไหม เอ้อนี่แหละพระพุทธเจ้าก็ทรงเอาที่จุดนี้ บอกมนุษย์เรานี่แหละ ไม่ต้องไปมัวไปมองเทพเจ้าหรอกพวกเธอนี่แหละทุกคนเนี่ยเราต้องรับผิดชอบช่วยกันสร้างโลกให้ดีเราก็มาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประพฤติดีต่อกัน มีความสัมพันธ์ที่ดี ก็มาจากคุณธรรมในใจก็ต้องมีคุณธรรมที่ดี คุณธรรมที่ดีที่มีต่อกันต่อเพื่อนมนุษย์สัตว์ทั้งหลายถ้วนหน้านี่ ก็จะเป็นเหมือนกับพระพรหมที่มี 4 หน้า ตั้งเป็นหลักขึ้นมามีธรรมะ 4 ข้อ ถ้ามีแล้วก็เหมือนพระพรหม 4 หน้า เมื่อปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย 4 อย่างนี่สม่ำเสมอทั่วกันหมดก็รักษาให้โลกนี้อยู่ด้วยดีมนุษย์ทุกคนก็จะมีส่วนในการสร้างสรรค์บันดาลโลกนี้หมด เราเป็นพรหมเลย ถ้าเรามีคุณธรรม 4 ประการนี้เราเป็นพรหม ทุกคนเป็นพรหมไม่ต้องรอให้พระพรหมมาทำให้ เข้าใจไหมครับ นี่หลักพุทธศาสนา นั้นท่านก็เลยให้ผมวิหาร 4 วิหารแปลว่าที่อยู่ พระหมก็คือพระพรหม 4 ก็คือธรรมะ 4 ข้อที่เป็นที่อยู่ของพระพรหมหมายความว่าพรหมก็อยู่เนี่ยอยู่ในคุณธรรม 4 ประการนี่ เหมือนกับธรรมะ 4 ประการนี่เป็นที่อยู่ของพรหม เราก็เรียกง่าย ๆ ว่าประจำใจ ธรรมะประจำใจพระพรหม 4 ข้อก็มีเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา ถ้าเราประพฤติปฏิบัติตาม 4 ข้อเนี้ย เราทุกคนนี่จะทำให้โลกนี้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข มาถึงนี่ก็สั้นแล้ว เอาแต่ความหมายง่าย ๆ 1 เมตตา อะไรครับ เมตตา ช่วยกันหน่อย พยายาม เดาก็ได้ คนฟังตอบ ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่นก็ใกล้เข้าไปแล้ว ก็ได้นัยยะ แต่ว่าเดี๋ยวจะต้องให้ความหมายมันชัด คือเรียนอะไรก็ต้องพยายามให้ชัด อะไร คนฟังตอบ การคิดสงสาร ก็จวน ๆ ไป เฉียด ๆ ไป คนฟังตอบ เอื้อเฟื้อแบ่งปันครับ ก็เกือบ ๆ อยู่ ยังไม่ตรงทีเดียว นี่ถ้าเรามันมีหลักในการเข้าใจนะ มีวิธีเข้าใจ มันมีหลักที่สำคัญ ไม่งั้นมันจะเป็น 4 ด้านได้ยังไง สี่หน้าก็สี่ด้าน สี่ด้านมันจึงครบ ถ้าไม่ครบ 4 อย่างมันก็ไม่ครบ 4 ด้าน ไม่ครบ 4 ด้านมันก็ไม่ทั่วหมด 4 อย่างนี่ต้องครบ ไม่ครบแล้วไม่ทั่วหรอก แค่ผมคำถามว่าเมตตากรุณาต่างกันยังไง เมื่อกี้ผมถามเมตตา แล้วท่านก็ตอบว่าอย่างนี้ แล้วถ้าผมถามกรุณา ท่านก็ตอบอย่างนี้อีกใช่ไหมมันจะเหมือนกันได้ยังไง เมตตาก็อย่าง กรุณาก็อย่าง แล้วเวลาผมถามท่านเมตตาก็อันนี้แหละ พอถามกรุณาเอ้าก็ตอบเหมือนกันแสดงว่าไม่ชัดแล้ว คนไทยเนี่ยแยกไม่ออกแล้วเมตตากรุณาต่างกันยังไง เพราะว่าไม่รู้จริงต้องแยกได้นะเมตตากรุณา
เอ้าจะเล่าให้ฟังเวลาน้อยแล้ว วันนี้ให้ได้หลักนี้ไว้ คนเราเนี่ยนะชีวิตของคนเราทุกคนที่เราสัมพันธ์กันอยู่นี่ เรามองคนอื่นเราจะต้องปฏิบัติต่อเขาให้ดีมีจิตใจต่อเขาให้ถูกต้อง ที่นี้คนเราเนี่ยเขาก็เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ สถานการณ์ต่าง ๆ ที่คนเราที่เขาประสพเราจะต้องปฏิบัติต่อเขาให้ถูกต้องตามสถานการณ์นั้น ๆ สถานการณ์ที่เป็นหลัก ๆ นี่ เขามีอยู่กี่สถานะการณ์ ก็พูดง่าย ๆ เริ่มต้นก็สถานการณ์ปกติใช่ไหม ไม่มีอะไรเกิดขึ้นอยู่กันสบาย ๆ เหมือนกับอยู่ในบ้าน อย่างสมเณรเวลาอยู่บ้านอยู่กับโยมเราก็สุขสบายดีร่ำเรียนหนังสือไปตามปกติ เราก็ไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บอะไร นี่เรื่องสถานการณ์ปกติที่สถานการณ์ที่ 1 ต่อไปสถานการณ์ที่ 2 เอ้าลองคิดดูซิ ไม่ปกติแล้ว สถานะการณ์ไม่ปกติมีกี่แบบ เอ้าลองดู นี่เอาจากเรื่องธรรมดา ธรรมะมาจากเรื่องธรรมดา สถานการณ์ที่ 2 จะมาแล้วนะนี่ 1 มันปกติ 2 มันก็ต้องได้ปกติใช่ไหม แต่ที่นี้ไอ้ปกติเนี่ยมันมีกี่แบบ เอ้าช่วยกันคิดสิว่า คนฟังตอบ น่าจะ 2 แบบครับ เอาว่าไง คนฟังตอบ ก็มีดีกับแย่ครับ อ้อนี่แสดงว่าใช่ สถานการณ์ไม่ปกติใช่มี 2 ถ้าเราใช้คำให้ชัด ถ้าหนึ่งมันปกติมันไม่ปกติก็คือมันตกต่ำลงกลับขึ้นสูงใช่ไหม ก็เป็นอันว่าพอแบ่งซอยไปไม่ปกติ 2 รวมเป็นเท่าไหร่รวมด้วยกันทั้งหมดเป็นกี่อัน คนฟังตอบ 3 3 สถานการณ์ เอานะมนุษย์ทั่วไปเนี่ยอยู่ใน 3 สถานการณ์ สถานการณ์ที่ 1 เป็นปกติ สถานการณ์ที่ 2 ก็ตกต่ำ ตกต่ำนี่คือเดือดร้อนเป็นทุกข์ เขามีปัญหา เขายากจนข้นแค้น เขาเกิดโรคภัยไข้เจ็บ อย่างนี้เรียกว่าสถานการณ์ที่ 2 ตกต่ำเดือดร้อน เอาละสถานการณ์ที่ 3 ขึ้นสูงคืออะไร เจริญก้าวหน้าประสบความสำเร็จได้ดีมีสุข อย่างเณรอยู่บ้านกับโยม เวลาลาสิกขาไปแล้วสอบได้ดี สอบได้ที่ 1 อย่างนี้เรียกสถานะการณ์ขึ้นสูงใช่ไหม หรือว่าได้ไปทำงานดี ๆ ได้เงินมาอย่างนี้สถานการณ์ที่ 3 เอ้าทวนอีกทีหนึ่ง สถานการณ์ที่ 1 เป็นปกติ สถานการณ์ที่ 2 ตกต่ำ สถานการณ์ที่ 3 ขึ้นสูง คนก็มี 3 สถานการณ์ เราก็ต้องปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ให้ถูกต้องตามสถานการณ์ทั้ง 3 นี้เราก็ต้องมีคุณธรรมมีจิตใจ 3 อย่าง สำหรับสถานการณ์ที่ 1 ท่านก็ให้มีคุณธรรมที่เรียกว่าเมตตา เมตตาเวลาให้ความหมายจะต้องเข้าใจสถานการณ์ ต้องตรงกับสถานการณ์เป็นปกติ ถ้าท่านไม่บอกสงสารนี่ตรงสถานการณ์ไหม ตรงไหม สงสารมันต้องสถานการณ์ที่เท่าไหร่ คนฟังตอบ 2 2 เขาต้องเดือดร้อนตกต่ำ มีปัญหา สถานการณ์เป็นปกตินี่ยังไงละ เออก็คือเรารักใคร่ปรารถนาดีเป็นมิตรเมตตาจะเห็นว่าเขียนเกิดเหมือนกับมิตรเลยใช่ไหม เมตา มิตตะ ภาษาบาลีมิตตะ ตอ 2 ตัว ทีนี้เราใช้มิตร เป็น รอ เพราะเป็นสันกฤต บาลีสันสกฤตต่างกันนิดหนึ่ง บาลีเป็นมิตตะ ตอ 2 ตัว ก็ต่างกับเมตตา แค่อะไร เป็นสระอิ กับสระเอ มิตตะเป็นเมตตา อะเป็นอา เอาอิเป็นเอ ก็เป็นเมตตา มิตตะเป็นคน เมตตาก็เป็นคุณธรรม ความเป็นมิตรน้ำใจมิตร คือเมตตา ถ้าแปลตรง ๆ นะ เมตตาก็คือน้ำใจมิตร จำไว้เลยง่ายนิดเดียว เมตตาก็แปลว่าน้ำใจ มิตรคือความเป็นมิตร ความเป็นมิตรคืออย่างไร คือปรารถนาดีต่อกันรักกัน อยากให้เขาเป็นสุข ถูกไหม เอานะนี่ถานการณ์ที่ 1 นี่เมตตา เมื่อเขาอยู่เป็นปกติไม่มีอะไรเดือดร้อนไม่มีอะไรขึ้นลงทั้งนั้น เราก็มีความเป็นมิตรมีเมตตาปรารถนาดีรักกันได้แล้วนะข้อ 1 เมตตา ภาษาสันสกฤตเขาใช้คำว่าไมตรี ที่จริงอันเดียวกัน ภาษาบาลีเรียกเมติ เมตตาเมติ พอเมติสันสกฤตก็เป็นเมตตา เอาล่ะทีนี้ต่อไปสถานการณ์ที่ 2 ก็ตกต่ำเดือดร้อนเขาเป็นทุกข์เราก็ต้องมีข้อที่ 2 มาเราต้องเปลี่ยนแล้ว ย้ายอยู่กับเมตตาไม่ได้แล้วตอนนี้ ทายซิจะไปข้อไหน ชื่ออะไร เอ้าทายข้อที่ 2 ทายได้เลยไม่ยาก เอ้ออะไรละ สามเณรอัครดิตลองทายดูซิ เมตตาแล้วทีนี้อะไร คนฟังตอบ กรุณา กรุณาก็ถึงแล้วนี่แหละ 2 กรุณาก็คือนี่แหละจิตใจที่พลอยหวั่นไหวในทุกข์ของคนอื่น กรุณานี่แปลอย่างนี้นะ ท่านจำไว้ ถ้าต้องการให้ละเอียดลึกซึ้ง แปลว่าความมีใจพลอยหวั่นไหวไปกับความทุกข์ของคนอื่น พอเห็นคนอื่นทุกข์ยากเดือดร้อนยากจนข้นแค้นประสบภัยอันตรายมีโรคภัยไข้เจ็บแล้วใจหวั่นไหวทนนิ่งอยู่ไม่ได้ก็ต้องทำไงต้องหาทางช่วยปลดเปลื้องทุกข์ใช่ไหม ดึงเขาขึ้นมาก็คือสถานการณ์ที่ 2 เขาตกต่ำเดือดร้อนเป็นทุกข์เราก็มีกรุณามีใจหวั่นไหว เราแปลเป็นไทยว่าสงสาร ภาษาไทยแปลว่าสงสาร แต่แปลจากภาษาบาลีตรง ๆ นะ แปลว่าความมีใจหวั่นไหวไปกับความทุกข์ของผู้อื่น แล้วก็หาทางช่วยเหลือปลดเปลื้องให้เขาพ้นจากความทุกข์นั้น แค่นี้ท่านเห็นไหมต่างกันไหมเมตตากรุณา ต่างกันไหมครับ ต่างชัดไหมชัดแจ๋วเลยใช่ไหม ไม่ต้องไปถามกันอีกแล้วเมตตากรุณาต่างกันอย่างไรจริงไหมเณร เณรตอบจริง เนี่ยมีหลัก จับหลักนี้ได้ปั้บมันชัดแจ๋วแหว๋วเลย ไม่งั้นก็พูดกันอยู่นั่น เมตตากรุณามันต่างกันอย่างไรอธิบายอยู่นั่น โอ้ไม่ชัดสักที ก็เป็นการใช้คำพูดเท่านั้นเอง แต่มันไม่ใช่ของจริง อันนี้มันของจริงเลย เอาละทีนี้ 2 แล้วนะ 1 เมตตาคือภาวะจิตที่ปรารถนาดีมีน้ำใจเป็นมิตรต่อผู้อื่นในยามที่เขาเป็นปกติ 2 กรุณาก็ความสงสารพอมีจิตใจหวั่นไหวไปในยามที่เขาตกต่ำเดือดร้อนเป็นทุกข์อยากจะช่วยเหลือ ทีนี้ต่อไปสถานการณ์ที่ 3 ท่านบอกแล้วนี่สถานการณ์อะไร สามเณรสมมา สถานะการณ์อะไรครับที่ 3 สถานะการณ์อันที่ 1 ปกติ สถานะการณ์ที่ 2 ก็ตกต่ำเดือดร้อน สถานการณ์ที่ 3 สามเณรสมมาตอบขึ้นสูง สถานการณ์ที่ 3 ก็ขึ้นสูง คือได้ดีมีสุขประสบความสำเร็จ เราก็เปลี่ยนอีกก็เปลี่ยนไปเป็นข้อที่ 3 คืออะไร สามเณรธนพลทายได้ไหมครับ สามเณรตอบความยินดี พลอยยินดี ได้ภาษาไทยก็เอานะเดี๋ยวนี้เขามีนะ เขามีพิธีแสดงอะไรเวลาคนสอบได้เวลาคนได้ตำแหน่งอะไรพวกเนี้ยแล้วก็จะมีพิธีแสดงอะไร คนฟังตอบแสดงความยินดี นั่นแหละ นี่มาจากอันนี้ มุตทิตาก็แปลว่าพลอยยินดีด้วย พลอยยินดีด้วยก็หมายความว่าพลอยอนุโมทนา พลอยชื่นชมชื่น ชื่นชมที่เขาได้ประสบความสุขความสำเร็จก็ไปแสดงความยินดี ยินดีด้วย ยินดีด้วย ส่งเสริมสนับสนุน เช่นว่า เห็นคนนี้เขาเล่าเรียนศึกษาได้ประสบความสำเร็จสอบได้ดีก็ไปมุทิตา แต่ที่จริงมันเป็นเรื่องของจิตใจที่มุตทิตา ไม่ใช่แค่ไปแสดง อาการ บางทีไปแสดงอาการในใจไม่ได้ยินด้วยก็มีใช่ไหม เพราะฉะนั้นมันต้องอยู่ที่ใจ ใจก็ต้องมุตทิตาพลอยยินดีด้วย เพราะฉะนั้นคนเขาทำความดีอะไรก็สนับสนุนส่งเสริมเขา มุตทิตาจะทำให้ส่งเสริมคนดี ข้อที่ 3 มันจะคล้ายกับอันที่ 2 ที่ว่าพลอย ข้อที่ 2 กรุณาก็คือเขาตกต่ำเดือดร้อนเป็นทุกข์ก็พลอยมีใจหวั่นไหวกับมาทุกข์ของเขา อันที่ 3 ก็พลอยอีก เขาประสบความสำเร็จได้ดีมีสุขก็พลอยมีใจยินดีด้วย 3 แล้ว ครบหรือยัง สถานการณ์ครบแล้วใช่ไหม เอ้าได้ 3 สถานะการณ์ เอ้มี 4 ข้อนี่ ทำไมล่ะ เอ้มันเกินสถานการณ์หรือ จะว่ายังไง นี่ไงธรรมะว่าไปในแง่หนึ่งลึกซึ้งนะ ถ้าเข้าใจดีแล้วท่านจะชัดเลย เอ้ 3 สถานการณ์มันก็น่าจะครบแล้วนะมนุษย์จะมีอะไรอีกนะ สถานการณ์ปกติตกต่ำแล้วก็ขึ้นสูง แล้วจะมีอะไรอีก สถานการณ์อะไรอีก ก็คนเราจะก็ครบแล้วนี่ 3 สถานะการณ์จะเอายังไงดีละ แล้วท่านบอกไม่พอไม่ครบ ถ้ามีอยู่แค่นี้ผิดได้ วันนี้เราแค่จบหลักนี้ก็พอ นี่เราจะเป็นพระพรหมได้ทุกคนแล้วก็เราจะช่วยกันทำให้โลกนี้อยู่เย็นเป็นสุข แค่ 4 ข้อนี่พอ แล้วข้อที่ 4 นี่สำคัญที่สุดก็คือเป็นการก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง 3 ข้อแรกเนี่ยเราอยู่กับคนด้วยกันนะ เอ้อเพื่อนมนุษย์เรา พี่น้องเรา เขาก็ 1 เป็นปกติ 2 ก็ตกต่ำเดือดร้อนเป็นทุกข์ 3 ขึ้นสูงใจดีมีสุข เราก็อยู่กับเพื่อนมนุษย์ แต่เพื่อนมนุษย์เรานี่รวมกับเราด้วยเรานี่เรียกว่าสังคมใช่ไหม สังคมก็คือหมู่มนุษย์อยู่ร่วมกัน หมู่มนุษย์อยู่ร่วมกันเนี่ยมีความสัมพันธ์ที่ดีก็ 3 อันนี้แหละ ก็มีความรักเมตตาปรารถนาดีเป็นมิตรต่อกันช่วยเหลือกันยามเดือดร้อนมีปัญหาแล้วก็ส่งเสริมกันในยามที่ทำความดี เอ้อดีแล้วสังคมก็อยู่ดี แต่สังคมมันไม่ได้อยู่ลำพังมันนะ สังคมนี่อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติจริงไหม สังคมอยู่ใต้กฏธรรมชาติสังคมมนุษย์ไม่ได้อยู่ลำพังเอง ถ้าสังคมมนุษย์ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ไม่รู้ธรรม ไม่รู้ความจริงของธรรมชาติ ทำผิดทำถูก มนุษย์ก็อยู่ไม่รอดใช่ไหมเนี่ยสังคมมนุษย์ที่เดือดร้อนนี่เพราะว่ามันไปทำผิด ทำผิดต่อหลักความจริงของธรรมชาติผิดกฎธรรมชาติมันก็เลยยุ่งยากปั่นปวนทำไงผิด เอ้านี่แหละ 3 อันนี้แหละผิดได้ เช่นเราบอกว่าถ้าเขาได้ดีมีสุขขึ้นสูงเราก็ต้องพลอยดีใจด้วยมุตทิตาใช่ไหม บางทีเราคิดไม่ถึงเหมือนกันให้ตาคนนั้นน่ะมันได้ดีมีสุขมันไปลักขโมยเขามาได้ห้าพันบาท มันได้ดีมีสุข เราก็พลอยยินดีส่งเสริมสนับสนุน ถูกไหม เอ้าแสดงว่าให้ 3 ข้อเมื่อกี้ชักจะไม่พอแล้ว ทีนี้เราเป็นผู้พิพากษา เขาจับโจรมา โจรคนนี้ฆ่าคนมา ทีนี้มาขึ้นศาลก็พิจารณา เราเป็นผู้พิพากษารู้แล้วตาคนนี้ฆ่าเขาจริง แล้วคนที่ฆ่าเขากฎหมายวางไว้ใช่ไหมว่าจะต้องรับโทษอย่างแรงอาจจะประหารชีวิต อย่างเบาลงมาจะติดคุกเท่านั้นเท่านี้ปี เราก็สงสารนี่นายคนนี้จะตกต่ำเดือดร้อนเป็นทุกข์ไม่ได้เราต้องช่วยให้มันพ้นทุกข์ เราจะต้องตัดสินให้มันไม่ผิดอย่างนี้ใช้ได้ไหม กรุณาใช้ได้ไหม ไม่ได้ผิด เมื่อมุตทิตาก็ผิด ตอนนี้กรุณาก็ผิด แสดงว่าไอ้ 3 ข้อต้นนี่ไม่แน่เสมอไป เพราะอันนี้แหละเพราะว่ามันอยู่ได้แง่ของสังคมมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง แต่ว่าสังคมมนุษย์นี่มันไม่ได้อยู่ลำพัง มันมีจักรวาลมีธรรมชาติที่ครอบใหญ่กว่านั้นอีก เราเรียกง่าย ๆ ว่าธรรม หมายความว่าสังคมเนี่ยไม่ได้อยู่กับมนุษย์เท่านั้นต้องอยู่กับธรรมะคือความจริงของกฏธรรมชาติด้วยแล้วจะต้องปฏิบัติให้ถูก แล้วอันนี้ยิ่งใหญ่มากต้องมีปัญญารู้ถ้าไม่รู้แล้วปฏิบัติไม่ถูก เพราะว่าความจริงของธรรมชาติเนี่ยมันเป็นไปตามเหตุตามผลอย่างที่บอกเมื่อกี้เป็นไปตามเหตุปัจจัยเป็นต้น ซึ่งถ้ามนุษย์ไม่มีปัญญาไม่มีทางรู้เลย มนุษย์ก็จะต้องมีปัญญาก็รู้ความจริงของมันเรียกรู้ธรรม รู้ธรรมแล้วปฏิบัติให้ถูกตามธรรม ตอนนี้พอจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามธรรมตามหลักความจริงความถูกต้องอะไรดีงามเนี่ย เราก็ต้องวางใจต่อเพื่อนมนุษย์ที่เมื่อกี้เราบอกว่าให้มีกรุณา มีมุตทิตา ต้องวางใจเป็นกลางที่จะไปส่งเสริมก็ไม่ส่งเสริม ที่จะไปช่วยอะไรขึ้นมาก็ต้องวางใจเป็นกลาง เฉย นี่คือข้อเสีย คือข้ออะไรครับ คนฟังตอบ อุเบกขา อุเบกขามาแล้วนี่นะ ทำไมต้องอุเบกขาต้องมา เพราะอันนี้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ก็คือก้าวไปสัมพันธ์กับจักรวาล สัมพันธ์กับความจริงธรรมชาติของกฏธรรมชาติ เพื่อจะมารักษาสังคมมนุษย์ไว้อีกทีหนึ่งคล้าย ๆ ว่าสังคมมนุษย์เนี่ยมันอยู่บนธรรมะลองรับไว้อีกที ถ้าธรรมะนี้ไม่อยู่สังคมมนุษย์ก็ไปเลย ฉะนั้นมนุษย์ต้องรักษาธรรมะนี้ไว้ด้วยปฏิบัติให้ถูกต้อง ข้อที่ 4 ก็มาเพื่ออันนี้เพราะว่า 3 ข้อแรกไม่พอ ก็คือก้าวไปสู่การที่จะรักษาความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์ทั้งหมดกับธรรมะความจริงของธรรมชาติอีกทีหนึ่ง เอานะ 3 ข้อแรกรักษาความสัมพันธ์ในหมู่มนุษย์เอง แล้วข้อ 4 ก็คือรักษาความสัมพันธ์ที่ถูกต้องระหว่างสังคมมนุษย์ทั้งหมดกับความจริงของธรรมชาติ ทีนี้อันนี้อย่างที่ว่า เราต้องมีปัญญา ต้องมีความรู้เข้าใจ แล้วก็วางใจเป็นกลางต่อเพื่อนมนุษย์ เพื่ออะไร เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามธรรม ตามหลักการ ตามความถูกต้องความดีงามความเป็นธรรมความชอบธรรม อันนั้นผู้พิพากษาขึ้นบัลลังก์แล้วว่าไปตามหลักการว่าไปตามกติกาต้องวางเฉยต่อนายคนนี้ ที่ว่าวางเฉยนั้นเพราะว่าเราจะปฏิบัติตามธรรม ไม่ใช่วางเฉย ๆ ๆ นี้คนไทยไม่รู้นึกว่าเฉย ๆ คนไทยคือไม่เอาเรื่องใช่ไหม ผิด ทางพระท่านให้ระวังเฉยนี่นะ ท่านแยกไว้มี 10 อย่าง เรียกว่าอุเบกขามี 10 อย่าง เอาง่าย ๆ เอาสองอย่าง เฉยดี กับ เฉยร้าย เฉยร้ายนี่ท่านเรียกว่าเฉยโง่ เฉยโงคือเฉยไม่รู้เรื่อง ภาษาเต็มเรียกอัญญานุเบกขา เฉยโดยไม่รู้ ก็คือเพราะไม่รู้มันก็เลยเฉย จริงไหมคนไม่รู้นี่เฉยไหม เฉยเพราะมันไม่รู้เรื่อง มีอะไรเกิดขึ้นฉันไม่รู้ก็เฉย ถ้าเฉยอย่างนี้ท่านเรียกว่าเฉยโง่ ใช้ไม่ได้เฉยไม่รู้เรื่องพอเฉยไม่รู้เรื่องมันก็เฉยไม่เอาเรื่อง พอเฉยไม่เอาเรื่องมันก็เลยเฉยไม่ได้เรื่อง ถ้านั้นต้องระวังคนไทยนี่เข้าใจผิดเอาไว้เฉยอุเบกขาไปเป็นเฉยโง่นี่แหละ ก็ผิดนะสิ เฉยที่ถูกต้องเฉยด้วยปัญญารู้แล้วความจริงมันเป็นอย่างนี้เราจะปฏิบัติให้ถูกต้องเราจะเอากับไอ้หมอนี่ไม่ได้แล้ว เราจะไปช่วยไม่ได้แล้ว เราจะส่งเสริมไม่ได้แล้ว เฉยก่อน แล้วธรรมะหลักการถูกต้องเป็นยังไง เราก็รู้เข้าใจแล้วปฏิบัติตามนั้นก็คือทำให้ถูกต้องตามธรรมะ เฉยเพื่อทำให้ถูกต้องตามธรรมะนี่เรียกว่าอุเบกขา เฉยด้วยปัญญารู้เข้าใจ ครบแล้ว ชัดหรือยัง สามเณรสมพร เข้าใจแน่นะ อันนี้ไม่มีสงสัยแล้ว สามเณรสัมมาชัดนะ ต้องปฏิบัติให้ถูก สามเณรสิทธาไม่มีปัญหาแน่นะ เข้าใจแน่ อันนี้ถ้าเราจับหลักได้ไม่มีปัญหาเลยแม้แต่ความคลุมเคลือก็ไม่มี สับสนก็ไม่มีระหว่างนั้น ตอนนี้ไม่ต้องไปพูดแล้วเมตตากรุณามันต่างกันอย่างไร แล้วอุเบกขามันเป็นอย่างไร ทำไมต้องมีอุเบกขา ต้องพูดได้เลยถ้าหากว่าทำตาม 3 ข้อแรกจะผิด เพราะว่ามันเป็นธรรมะเราก็ต้องอุเบกขา เพื่อรักษาธรรมะความถูกต้องไว้ 3 ข้อแรกนี่เป็นความรู้สึกที่ดีต่อกัน ความรู้สึกรักใคร่ปรารถนาดีสงสารอยากช่วยเหลือมีความพลอยยินดีด้วยความรู้สึกนั้น แต่ข้อ 4 นี้ต้องมากับปัญญาคือความรู้ ต้องรู้ความจริงว่า เอ้อไอ้นี่มันถูกต้องหรือไม่ถูกต้องหลักการความเป็นธรรมชอบธรรมมันเป็นยังไงต้องรู้ พอรู้ด้วยปัญญาแล้วก็ปฏิบัติถูกต้องตามธรรมะ ข้อ 4 ก็ต้องอาศัยปัญญา เพราะฉะนั้นมนุษย์ต้องดุลกัน นี้หลักการทั่วไปต้องจำอีกอัน คือมนุษย์เราเนี่ยมีด้านความรู้สึกกับด้านความรู้ ด้านความรู้สึกนี่ก็เป็นเรื่องที่ว่าเราต้องพัฒนาด้วยความรู้สึกไม่ดีมีความรู้สึกโกรธความรู้สึกขุ่นมัว ความรู้สึกเศร้าหมองอะไรเนี่ยด้วยความรู้สึกไม่ดีใช่ไหม เราต้องแก้ไม่เอา เราก็มีความรู้สึกที่ดีอย่างที่เราพูดไปแล้วเช่น ความรู้สึกร่างเริงเบิกบานผ่องใสความรู้สึกปราบปลื้มยินดีปิติอิ่มใจยินดีจริงใจ ความรู้สึกผ่อนคลาย ความรู้สึกสงบเย็น ความสุขอะไรอย่างงี้ อันนี้้ด้านความรู้สึกก็ต้องเอาที่ดี แต่มีเพียงความรู้สึกไม่พอต้องมีความรู้ด้วย ด้านความรู้ก็คือว่าอะไรเป็นอะไรมันจริงไม่จริงมันถูกต้องไม่ถูกต้องอะไรเป็นไง แล้วด้านความรู้นี่แหละจะมาทำให้ความรู้สึกมันพอดี ถ้าไม่งั้นความรู้สึกมันจะพอดีไม่ได้ ไม่ควรจะดีใจก็ไปดีใจ ไอ้ที่ไม่ควรเศร้าโศกก็ไปเศร้าโศก เพราะความไม่รู้ความรู้ด้วยปัญญามันจะมาปรับให้ความรู้สึก เพราะฉะนั้นมนุษย์ต้องมี 2 ด้านให้พอดี ความรู้สึกกับความรู้และความรู้ก็มาปรับความรู้สึกให้สมดุล นั้นเราก็มีหลักที่เรียกว่าพรหมวิหาร 4 พอมีก็เท่ากับว่าพรหมสี่หน้าก็ครบทุกด้านเลย ปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ได้พอดีหมดครบทุกสถานการณ์แล้ว ยิ่งกว่านั้นก็คือยังรักษาความจริงของธรรมชาติตัวธรรมะรองรับสังคมไว้ได้ดี ถ้ามนุษย์ปฏิบัติตามหลักพรหมวิหาร 4 ได้ โลกนี้ก็สบาย ถูกไหม พระพุทธเจ้าสอนไว้ก็เป็นความจริงมนุษย์ทุกคนก็เป็นพรหมได้เหมือนกัน ไม่ต้องไปรอพระพรหม
นี่แหละพระพุทธศาสนาท่านต้องการให้มนุษย์พัฒนาตัวเอง ให้มนุษย์นี่มารู้จักรับผิดชอบทำเองได้ไม่ต้องไปรอดลบันดาลอยู่ ไม่งั้นก็รออยู่นั่นแหละ อ้อนวอนให้พระพรหมให้ท่านมาทำให้ เอานะวันนี้ก็ได้เข้าใจแล้วหลักนี้ พรหมวิหาร 4 เอาเรื่องอันนี้ไปแนะนำญาติโยมด้วย บอกว่าถ้าคุณยังไปไหว้พระพรหมแล้วก็อย่าลืมนะวันพระอย่าไปเชียวนะ แล้ววันพระพรหมนี่ท่านก็ไปวัด เราก็ไปวัดเหมือนกัน ถ้าไปหาพระพรหมต้องถามท่านด้วย เมื่อวานวันพระพระหมบอกว่าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนแสดงธรรมอะไรใช่ว่าจะไปเอาอย่างเดียว เอาละผมของฝากเป็นการบ้านให้ท่านไปคือพรหมวิหาร 4 นี่ที่ใช้สำคัญมากแดนต้นแหล่งที่มาของโลกทั้งหมดนี่มาจากไหนบ้าง โลกมนุษย์เราเนี่ยที่แท้ก็มาจากครอบครัวนี่แหละ เป็นสังคมต้นแบบสังคมแรก พรหมวิหาร 4 ก็เลยต้องใช้ในบ้านก่อน ให้ท่านไปพิจารณาว่าคุณพ่อคุณแม่มีพรหมวิหารอย่างไร นอกจากว่าท่านมีอย่างไรแล้วถ้าเราไปเป็นพ่อแม่ เราจะปฏิบัติอย่างไรจะได้เลี้ยงลูกให้เจริญเติบโตอย่างไร ฝากให้เป็นการบ้านไว้คิด ปฏิบัติอย่างไรก็คือปฏิบัติระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูก โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่จะปฏิบัติต่อลูกอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักพรหมวิหาร 4 ให้ไปคิดนะ ลูกมี 3 สถานการณ์อย่างไร แล้วปฏิบัติต่อลูกด้วย 3 ข้อแรกอย่างไร และข้อที่ 4 ปฏิบัติต่อลูกเมื่อไหร่ ข้อที่ 4 นี้แหละยาก พ่อแม่จะมีอุเบกขาต่อลูกเมื่อไหร่อย่างไร ถ้าท่านคิดออกนะนี่แหละถ้าเป็นพ่อแม่ก็จะเลี้ยงลูกได้ยังพัฒนาเจริญงอกงามก้าวหน้ามีความเข้มแข็งและมีความสุขให้เอาหลักนี่ไปคิดตีให้แตกและถ้ามีโอกาสก็มาคุยเรื่องนี้ต่อหน่อยอันนี้ก็ไม่ยาว เพราะได้หลักใหญ่แล้ว เอานะวันนี้ว่าสะยาวเลยเรื่องพระพรหมก็ดีเป็นการที่ได้มองกว้าง ๆ ให้ชัดไปเลย เราจะได้เห็นพุทธศาสนาเจริญขึ้นมาได้ยังไง และสอนยังไง ไม่มีอะไรสงสัยนะถ้าไม่มีสงสัยวันนี้เอาเท่านี้ก่อน