แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
[00:10] ความรักในทางพุทธศาสนาเป็นอย่างไร?
วันนี้อยากจะมาเรียนถามถึงเรื่องความรัก เพราะว่าอย่างมนุษย์ในโลกนี้ถ้าพ้นวัยเด็กขึ้นมาแล้วเนี่ยเข้าสู่วัยหนุ่มสาวก็มักจะมีความรักเกิดขึ้นระหว่างหนุ่มสาวแล้วก็มีความสัมพันธ์ ทำให้เกิดเอ่อ ทำให้เกิดครอบครัวขึ้นซึ่งเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสังคม แล้วก็มีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนรวม เพราะฉะนั้นความลับในเรื่องความรักนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์
ชีวิตมนุษย์ที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ ดูอย่างกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดของอังกฤษมีความรักกับมิสซิสซิมป์สันถึงขณะสละราชบัลลังก์ทิ้งหมดทั้งลาภยศ ลาภ เกียรติยศ ความมั่งคั่งทั้งหมดไปอยู่กับแม่ม่ายคนเดียวแสดงว่าความรักเนี่ยมีผลต่อชีวิตมนุษย์มากเลย อยากจะเรียนถามท่านเจ้าคุณว่ามีความเห็นยังไงเกี่ยวกับเรื่องความรักแล้วก็ในทางด้านพุทธศาสนาเนี่ย ให้คติสอน ให้คติอะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ กราบเรียน
คำถามนี้กว้างมากก็ทางพระพุทธศาสนาก็ยอมรับธรรมชาติมนุษย์ปุถุชนเป็นอันดับที่หนึ่งก่อนแต่ว่าไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้นบางทีก็มีการพิจารณาต่อไปว่าในกรณีที่ธรรมชาติของปุถุชนนั้นมันอาจจะมีข้อบกพร่องหรือมีโทษก็จะสอนถึงการปรับปรุงแก้ไขหรือการทำให้ดียิ่งขึ้นเรียกว่าการพัฒนาทีนี้ก็ไปสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์อีกประการหนึ่งก็คือการที่ว่ามนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่ฝึกได้แล้วก็คือว่าพัฒนาได้หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือต้องฝึกต้องพัฒนาแล้วเมื่อฝึกพัฒนาไปแล้วมีศักยภาพสูงสุดเป็นผู้ที่ประเสริฐอย่างยิ่งในนี้เราก็เลยเอาหลักการสองอย่างนั่นมาว่าทำยังไงให้มันเกิดผลดี
[02:28] ความรักตามธรรมชาติของปุถุชน
ในกรณีที่มีความรักแบบที่ว่าตามธรรมชาติของปุถุชนในการที่จะมีครอบครัวอะไรเนี่ยก็ทำไงจะให้เป็นไปในลักษณะที่ไม่เกิดโทษกับชีวิตของตนแล้วก็ไม่เกิดโทษแก่สังคมแก่ผู้อื่นแต่ให้เป็นไปในทางที่ดีงามที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชีวิตและแก่สังคมนั้น อย่างน้อยก็แก่ทั้งสองคนนั่นแหละเค้าอยู่กันด้วยดีมีความสุข
ในนี้ก็เป็นขั้นที่หนึ่งอันนี้เราก็จะมีหลักธรรมให้ว่าทำไงเค้าจะพัฒนาจิตใจของเขาแล้วก็มีหลักในการดำเนินชีวิตมีหลักในการปฏิบัติต่อกันซึ่งจะมีผลดีต่อทั้งแง่ระหว่างสองคนแล้วในแง่ของแต่ละคนจิตใจของแต่ละคนความสุขของแต่ละฝ่ายแล้วก็ประโยชน์ที่ออกไปสู่สังคมวงกว้างด้วยใช่ไหมฮะ คือถ้าเค้ามีบุตรก็จะเป็นประโยชน์แก่บุตรหลานของเขาต่อไปเรื่อย ทีนี้ก็ต่อไปก็คือว่าที่เหนือกว่านั้นทำไงจะพัฒนาเขาขึ้นไปใช่ไหมฮะว่าให้เขาสามารถมีความสุขที่สูงขึ้นไปอีกแล้วก็จะมีคุณธรรมที่เข้ามาคล้ายๆ ว่าเหมือนกับมาแทนที่ให้ความรู้สึกรักแบบแรกนี้อาจจะเรียกว่าเป็นความรักแบบที่สองเข้ามาแล้วความรักแบบที่สองก็จะเจริญงอกงามยิ่งขึ้นแล้วก็จะช่วยให้ความรักประเภทที่หนึ่งนี่ประณีตงดงามจนกระทั่งแม้เมื่อเขาไม่อาศัยความรักประเภทที่หนึ่งเขาก็มีความรักประเภทที่สองอยู่ตลอดไป
ทีนี้ก็เป็นอันว่าความรักประเภทที่หนึ่งนี้ที่ท่านยอมรับแล้วก็พยายามจะทำให้มันอยู่ในกรอบหรือขอบเขตที่ดีงามแล้วก็เป็นประโยชน์ก็ยังถือว่ามีส่วนที่เป็นโทษ
เพราะฉะนั้นทางพุทธศาสนาจะพิจารณาว่าทุกอย่างมีข้อดีหรือคุณข้อเสียหรือโทษข้อบกพร่อง แล้วก็ทางออกทางแก้ไขก็จะพิจารณาทุกอย่างคือให้เรามีอะไรต่างๆ หรือปฏิบัติต่อทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ
[05:07] ความรักแบบที่หนึ่ง – ความรักเพื่อสนองความสุขของตนเอง
ที่นี้ก็มาดูเรื่องความรักประเภทที่หนึ่งนี้นะ ความรักประเภทที่หนึ่งที่เริ่มต้นของปุถุชนที่มันจะมีข้อเสียก็คือว่ามันจะเป็นไปลักษณะที่ว่าต้องการหาความสุขให้แก่ตนเองถึงแม้ความที่รักเขานั้นเพื่อให้เขาเนี่ยมาเป็นเครื่องบำเรอความสุขแก่ตนต้องการเอาความสุขเพื่อตนเอง อันนี้ความรักแบบที่หนึ่งเนี่ยที่แท้แล้วมันจะเป็นลักษณะนี้ถ้าหากว่าคู่นั้นเขาไม่อยู่ในภาวะที่จะให้เรามีความสุขเราก็จะเบื่อหน่ายแล้วก็อาจจะรังเกียจจะเห็นได้ว่าไม่ยั่งยืน อันนี้จึงเป็นข้อบกพร่อง ข้อบกพร่องที่สำคัญแล้วก็นอกจากนั้นก็มีความหวงแหนเห็นแก่ตัวก็คือว่าอาจจะเกิดการแย่งชิงทะเลาะเบาะแว้งแล้วก็นอกแม้ไม่แย่งชิงทะเลาะเบาะแว้งก็คือการที่จะเกิดความมัวเมาหมกหมุ่นจะกระทั่งละทิ้งกิจหน้าที่ความดีงามที่ควรกระทำหรือไม่งั้นอีกลักษณะหนึ่งก็คือการที่จะโลภ แสวงหาอะไรต่างๆ กอบโกยมาเพื่อตนเองและก็เพื่อคนที่ตัวรักเท่านั้นโดยไม่เห็นแก่ผู้อื่นเลยอาจจะทำให้เกิดการเบียดเบียนกันได้ง่ายนี่คือโทษประการต่างๆ แต่ในที่สุดแล้วเนี่ยมันไม่ยั่งยืนตามที่ว่าเพราะแท้จริงแล้วมันเป็นเรื่องของการหาความสุขให้แก่ตัวเอง เราเห็นเขาคู่ครองแม้จะเป็นคู่ครองก็เห็นเขาเป็นสิ่งสนองความสุขสนองความต้องการของตนเองเท่านั้นใช่ไหม ถ้าหากว่าเขาไม่สามารถสนองความต้องการของเราลองถามตัวเองซิคนที่รักแบบนั้นจะรักเขาไหมใช่ไหมฮะ ต้องถามอย่างนี้เลย ถ้าหากว่าเขาไม่สามารถสนองความต้องการของเรา ไม่สามารถให้ความสุขแก่เราถ้าเรามีความซื่อสัตย์ตัวเองลองตอบดูเราจะรักเขาไหมหรือเราจะกลายเป็นเบื่อหน่ายรังเกียจนี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นอันนี้คือโทษของความรักแบบที่หนึ่ง
[07:39] ความรักแบบที่สอง – รักแท้ต้องอยากให้อีกฝ่ายมีความสุข
ทีนี้ความรักแบบที่สองที่ท่านบอกว่าคนเราเนี่ยพัฒนาได้ พัฒนาได้ก็คือความรักได้แก่ความปรารถนาดีอยากให้ผู้อื่นมีความสุขเรารักใครก็อยากคนนั้นมีความสุขอันนี้ลองถามก่อนเลยเวลาเรารักใครเนี่ยถามตัวเองว่าเราต้องการความสุขเพื่อตัวเราหรือเราอยากให้เขามีความสุขถ้าความรักที่แท้ต้องอยากให้เขามีความสุขถ้าเราอยากให้เขามีความสุขแล้วมันก็มีความยั่งยืนมั่นคง เขามีความทุกข์ความเดือดร้อนเขาไม่สามารถสนองความต้องการของเราได้เราก็ยังมีความรักเขาเราจะเกิดความสงสาร ตอนแรกเรามีความรักปรารถนาดีพอเขาเกิดความทุกข์ความเดือดร้อนขึ้นมาเนี่ยเราก็จะเกิดเป็นความสงสารอยากช่วยเหลือคนเขาพ้นจากความทุกข์เราจะไม่เป็นเบื่อหน่ายรังเกียจใช่ไหมฮะ ซึ่งต่างกันชัดเจนกับความรักแบบที่หนึ่ง ความรักแบบที่หนึ่งก็ต้องการหาความสุขด้วยตนเองพอเขามีความเดือดร้อนหรืออยู่ในภาวะที่ไม่สามารถสนองความต้องการได้ก็เบื่อหน่ายรังเกียจแต่แบบที่สองนี่ต้องการให้เขามีความสุขพอเขามีความทุกข์เดือดร้อนเราก็สงสารอยากจะช่วยปลดเปลื้องความทุกข์
[09:05-09:15] ความรักแบบที่หนึ่งนี่ทางพระท่านเรียกว่าราคะ ทีนี้หรือเสน่หาเท่านั้น ทีนี้ความรักแบบที่สองนี่ทางพระเรียกว่าเมตตา
นี้ถ้าหากว่าคนนั้นเค้าเกิดเปลี่ยนเป็นมีความทุกข์ความเดือดร้อน เมตตานั้นก็ไปเป็นกรุณา ก็คือเมตตากรุณาก็คู่กันแล้วนี่ก็เป็นลักษณะของความรักสองแบบทีนี้คนเรานี้ท่านยอมให้ในแง่ปุถุชนว่ามีความรักแบบที่หนึ่งแต่ถ้าเขามีความรักแบบที่สองมาคุมอยู่ด้วยนั่นแหละคือการที่เขาพัฒนาตัวเองดีขึ้นแล้วก็คือการที่ว่าเริ่มจะเป็นความรักที่ยอมรับได้คือความรักแบบที่หนึ่งมีความรักแบบที่สองมาช่วยก็ถือว่ายอมรับได้เหมือนอย่างว่าความรักที่เราเห็นอยู่ในครอบครัวเนี่ยก็อย่างความรักระหว่างพ่อแม่ต่อลูก ไม่ใช่ระหว่างพ่อแม่กับลูกแต่เป็นพ่อแม่ต่อลูก พ่อแม่ต่อลูกนี่เป็นความรักที่อยากเห็นลูกมีความสุขแล้วก็พยายามทำอะไรต่างๆ ให้ลูกมีความสุขเห็นลูกมีความสุขเราก็มีความสุขด้วยแม้ตัวเองจะต้องทุกข์เดือดร้อนตัวเองก็ยอมบางทีตัวเองต้องลำบากเดือดร้อนแต่พอเห็นลูกมีความสุขก็มีความสุข แล้วก็ถ้าหากเห็นลูกไม่สบายหรือตกทุกข์ลำบากพ่อแม่ก็มีความสงสารไม่มีความรังเกียจไม่มีความเบื่อหน่ายทนทุกข์ทนลำบากเพื่อลูกได้นี่ถ้าคู่ครองกันได้มีลักษณะอย่างนี้หรือความรู้สึกของเราต่อผู้อื่นเป็นอย่างนี้ก็เป็นความรู้สึกที่ดีงามเป็นเรื่องคุณธรรมเป็นความรักประเภทที่สอง เรื่องอะไร???”
[11:00] คุณธรรม ๔ ข้อ สำหรับความรักแบบที่หนึ่ง
“เมื่อกี้ที่ท่านเทศน์ก็มีธรรมะที่สรุปให้ความรักแบบที่หนึ่งอีก ผมจำไม่ค่อยได้”
“ก็เป็นอ๋อ อยู่ในกรอบอยู่ในขอบเขตที่ดีงามให้มันผันไปในทางที่เป็นคุณประโยชน์”
“ไม่ทราบว่าเป็นยังไง”
“ก็คือการที่ว่าเรามีหน้าที่เกิดขึ้น แล้วก็ปฏิบัติหน้าที่ต่อกันเช่นว่า มีครอบครัวก็มีความรักประเภทที่หนึ่งแต่ก็ ก็เกิดมีฐานะขึ้นมาเช่นเป็นสามีภรรยาหรือแม้แต่เป็นคู่รักก็มีหน้าที่ต่อกันเริ่มต้นตั้งแต่มีสัจจะมีความจริงต่อกันแปลว่ารักจริง จริงใจต่อกันซื่อสัตย์ต่อกันแล้วก็ซื่อสัตย์ต่อกันแล้วก็ ก็มีจริงใจ จริงวาจาแล้วก็จริงในการกระทำใช่ไหมฮะ
[12:03] ๒) ความรับผิดชอบในหน้าที่
แล้วก็ต่อจากนั้นก็มีหน้าที่ต่อกันหน้าที่ในการที่อยู่ในครอบครัวอาจจะสามีก็ต้องทำหน้าที่ต่อภรรยา ภรรยาก็ต้องทำหน้าที่ต่อสามี เช่นว่า ตกลงกันในเรื่องว่าการจัดสรรความเป็นอยู่อะไรยังไงก็ต้องทำหน้าที่ต่อกันก็เช่นเกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทองหรือการดูแลกิจการในบ้านอะไรอย่างนี้เป็นต้น หรือการดูแลลูกการเลี้ยงลูก ฉะนั้น???สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่คนที่มีความรักแบบที่หนึ่งถ้าไม่มีคุณธรรมมาเช่นว่าไม่มีสัจจะ ไม่มีความรับผิดชอบ ก็จะไม่เอาใจใส่เพราะว่าต้องการแต่การหาความสุขให้กับตนเองอย่างเดียวเห็นเขา เห็นผู้อื่น เห็นอีกฝ่ายหนึ่งเป็นสิ่งสนองความต้องการของตนใช่ไหม แกไม่ได้มีความต้องการในการที่จะทำอะไรเพื่อคนอื่น แกไม่มีความต้องการที่จะทำหน้าที่แกก็ละทิ้งละเลยไม่ทำสิ่งเหล่านั้นอันนี้ก็จะเกิดผลเสียหายฉะนั้นก็ในเมื่อมีความรักประเภทที่หนึ่งก็จะต้องมีธรรมะมีหลักความประพฤติมีหลักการดำเนินชีวิตที่เป็นความรับผิดชอบต่อกันขึ้นมาด้วยก็คืออย่างน้อยมีความรับผิดชอบต่อกันระหว่างสองฝ่ายฉะนั้นมันจะไม่มาเลื่อนลอยคือว่าไม่ใช่สิ่งที่ได้มาฟรีๆ มันจะต้องมีอะไรเป็นเครื่องตอบแทนให้แก่โลกนี้หรือสังคมนี้ที่จะช่วยให้สังคมนี้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
ถ้าหากว่าคนต้องการสนองความสุขของตนเองอย่างเดียวไม่ทำหน้าที่ไม่มีความรับผิดชอบก็จะเกิดความวุ่นวายระส่ำระสายครอบครัวก็อยู่ดีไม่ได้สังคมก็อยู่ไม่เป็นสุข นั้นก็เป็นอันว่าเราก็เมื่อมีความรักอย่างนี้แล้วก็ต้องมีความรับผิดชอบที่จะทำหน้าที่อย่างน้อยต่อกันระหว่างสองฝ่ายซึ่งเป็นความรับผิดชอบต่อผู้อื่นและต่อสังคมทั้งหมดและเมื่อเขาทำหน้าที่ต่อกันได้ดีระหว่างสองฝ่ายแล้วผลดีมันก็เกิดขึ้นในความเป็นอยู่ร่วมกันหน่วยสังคมหน่วยยากที่สุดก็อยู่เป็นสุขแล้วก็จะเป็นส่วนประกอบที่เมื่อเขาอยู่กันด้วยดีแล้ว ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ประโยชน์นี้มันก็เผื่อแผ่กลับสู่สังคมก็ช่วยเป็นเครื่องรักษาหรือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทำให้สังคมนี้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขด้วยก็กลายเป็นว่าเขามีส่วนเกื้อกูลต่อสังคมในการมีชีวิตครอบครัวที่ดีงามที่ถูกต้องชอบธรรมก็กลายเป็นดีไป
ฉะนั้นแม้แต่ความรักประเภทที่หนึ่งก็ต้องมีตัวข้อปฏิบัติที่เป็นความรับผิดชอบซึ่งเป็นหน้าที่ เป็นต้น เราจะ??? เรียกว่าธรรมะนั่นเองมาเป็นตัวที่จะช่วยให้มันเกิดประโยชน์ที่ดีงามแล้วก็อย่างที่ว่ามันจะพัฒนาไปได้ดีมันก็ต้องมีธรรมะ เอ้ยไม่ใช่ความรักข้อที่สองนี้เข้ามาช่วยพอเป็นความรักประเภทที่สองได้นะความรักประเภทที่หนึ่งนี้จะยั่งยืนแล้วก็ราบรื่นดีเพราะว่ามันเป็นการที่เราปรารถนาจะให้อีกฝ่ายหนึ่งผู้ที่เรารักแล้วเขามีความสุขธรรมดาว่า [15:18]เรารักใครก็คือเราต้องการให้เขา ให้ผู้นั้นมีความสุขจึงจะเรียกเป็นรักแท้ แต่ทีนี้คนไม่น้อยไม่ได้เป็นอย่างนั้นเราก็เรียกไปอย่างนั้นเองว่าเป็นความรักแต่ที่จริงคือหาความสุขให้แก่ตนเองเท่านั้นเองก็เป็นอันว่าจุดนี้เป็นจุดที่สำคัญก็นี่ก็คือเรื่องของความรัก แล้วต้องถามต่อแล้วตอนนี้”
[15:45] ๓) ปรับตัว ลดขัดแย้ง ด้วยปัญญาพิจารณา และมีความอดทน
“ทีนี้อยากทราบว่าธรรมะสำหรับความรักในข้อที่หนึ่งเริ่มจากสัจจะแล้วยังมีอะไรอีก”
“อวยพร ก็แหมมีหลายข้อนอกจากสัจจะ ความจริงต่อกันนะฮะ ก็อันนี้เป็นหมายความคุณธรรมที่เป็นพื้นฐานด้านจิตใจก็คือรู้จักปรับตัวปรับใจเข้าหากันอันนี้ก็สำคัญมากเพราะคนทุกคนเนี่ยมีพื้นเพภูมิหลังต่างๆ กันแม้จะมาเป็นคู่ครองมีความรักกันเนี่ยมันมีอะไรที่ไม่เหมือนกันหลายอย่างเกิดในชาติตระกูลแตกต่างกัน ท้องถิ่นแตกต่างกัน สภาพแวดล้อมแตกต่างกัน การศึกษา โอมันต่างกันใช่ไหมฮะเพราะฉะนั้นมันก็ต้องมีข้อแตกต่างเหล่าเนี้ยเมื่อมาพบกันแล้วความแตกต่างนี้ก็จะเป็นความขัดแย้งได้ไม่รู้จักปรับตัวก็จะเห็นอีกฝ่ายหนึ่งทำตัวอย่างนั้น พูดจาอย่างนั้นอะไรอย่างนี้ก็รู้สึกขัดหูขัดตาทีนี้ก็จำเป็นจะต้องมีการปรับตัวก็ทำไงจะปรับตัวเข้าให้เกิดความประสานกลมเกลียว เช่น ทำยังไงจะให้ความแตกต่างไม่เป็นความขัดแย้งแต่ทำให้ความแตกต่างกลายเป็นความประสานเสริมนี่ก็เป็นเรื่องที่บางทีก็ไม่ใช่ง่าย บางทีก็ต้องมีความแก้ไขปรับปรุงซึ่งกันและกันด้วยซึ่งจะต้องใช้วิธีการของปัญญาโดยการที่รู้จักพูดจาหารือกันทำความเข้าใจกัน นี่ก็เรื่องของการปรับตัวนี่ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่ใช่เฉพาะกับคู่ครองเท่านั้นหรือคู่รักเท่านั้นนะ แม้แต่ว่าในชีวิตการทำงานการอยู่ร่วมกับใครก็ต้องมีการปรับตัวอันนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดาโดยเฉพาะคู่ครองนี้ก็เป็นผู้ที่เราใกล้ชิดที่สุดก็ต้องถือหลักอันนี้เป็นสำคัญมากในการปรับตัวก็ต้องมีความอดทนก็ต้องมีแน่ความกระทบกระทั่งแม้แต่ในการที่จะปรับตัวในระหว่างนั้นก็ต้องมีการอดทนไม่วู่วามอย่างที่โบราณสอนเรื่องลิ้นกับฟันกระทบกันเป็นธรรมดา
[18:00] ๔) มีน้ำใจ เอาใจใส่ สละความสุขของตนเองเพื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้
แล้วก็ต่อไปก็มีน้ำใจต่อกัน มีความเสียสละนี้ก็เป็นหลักเบื้องต้นว่าเมื่อรักก็ไม่ใช่เห็นแก่ตัวก็ต้องมีน้ำใจที่จะเสียสละความสุขของตนเพื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้อันนี้คือจุดสำคัญที่ว่ามันก็จะไปประสานกับเมตตาถ้าหากว่าเรามีรักแบบที่สองเป็นเมตตาแล้วมันก็พร้อมที่จะเสียสละความสุขของตนเพื่ออีกฝ่ายหนึ่งเพราะต้องการให้อีกฝ่ายหนึ่งมีความสุขแต่ทีนี้ถ้ามาย้ำอันนี้ไว้ก็อาจจะไม่ได้ปลูกฝังเมตตาให้เกิดขึ้นหรือว่าถือเป็นหลักเป็นหน้าที่ของตัวเองที่จะต้องมีอันนี้ก็ทำให้เราจำเป็นจะต้องทำคือเราจะต้องมีน้ำใจสละความสุขของตนเองเพื่ออีกฝ่ายนึงได้ไม่ใช่เห็นแก่ความสุขของตัวเองไม่ใช่ว่าเรารักเขาเพื่อจะเอาแต่ความสุขแต่ว่ารักเราต้องยอมสละความสุขของเราให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้เขาได้มีความสุขฉะนั้นยามที่เขาต้องการความช่วยเหลือความยามที่เขาเดือดร้อนเป็นทุกข์เราก็จะต้องเอาใจใส่อย่างน้อยก็ความเอาใจใส่ก็แสดงถึงความเสียสละความมีน้ำใจ สละแม้จะทางใจให้แก่เขาบ้างคือความเอาใจใส่เราจะแสดงความเอาใจใส่โดยการแสดงออกในการที่ว่า เช่น ในการต้อนรับหรือในการช่วยเหลือในยามที่ฝ่ายหนึ่งมีสิ่งที่เกินกำลังที่จะทำหรือว่าในยามเจ็บไข้ได้ป่วยหรืออะไรก็ตามมีภาระกิจบางอย่างเกิดขึ้นก็เอาใจใส่กันอย่างนี้ก็ถือว่าเป็นจาคะ สี่ข้อนี่ถือว่าเป็นหลักสำคัญแล้วนอกจากนั้นก็จึงจะเป็นหน้าที่
หน้าที่ในเชิงปฏิบัติเช่นอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสในเรื่องทิศหกหน้าที่ของสามีภรรยาต่อกันก็มีหลายข้อเช่นการดูแลบ้านเรือนการรักษาทรัพย์สินหรืออะไรต่างๆ เนี่ยนะการใช้จ่าย”
“นี่ก็เป็นธรรมะที่ช่วยให้ความรักข้อที่หนึ่ง”
“มันมีความเป็น มีความหมายและประโยชน์ขึ้นมีคุณค่ามิฉะนั้นแล้วมันก็อยู่อย่างเห็นแก่ตัวไปแล้วก็มันก็กลายเป็นเหตุของความแย่งชิงผลประโยชน์คือความรักกลายเป็นการหาผลประโยชน์เมื่อแต่ละฝ่ายหาผลประโยชน์ก็ต้องเกิดการขัดผลประโยชน์แล้วก็อาจจะเกิดการแย่งชิงและขัดแย้งต่อไป ก็ตกลงว่าความรักประเภทที่หนึ่งนี้ถ้าจะให้ดีก็ต้องมีความรักที่สองเข้ามาช่วยที่จะคุมให้อยู่ในความดีงามแล้วก็มาช่วยให้มันยั่งยืนด้วยเพราะความรักประเภทที่หนึ่งนั้นอย่างเดียวไปไม่รอดแน่”
[21:07] ธรรมะสำหรับความรักแบบที่สอง
“ทำยังไงถึงจะเกิดความรักประเภทที่สองตามมา”
“ประเภทที่สองนี่ต้องอยู่ที่การพัฒนาเมื่อพัฒนาคนขึ้นไปก็จะทำให้เค้ามีความรู้สึกที่ปรารถนาดีต่อผู้อื่นก็เราก็นึกถึงธรรมชาติของมนุษย์อย่างโดยแม้แต่ในหมู่ปุถุชนก็จะมีพ่อแม่เป็นตัวอย่าง พ่อแม่นี้สามารถมีเมตตาต่อลูกได้เราก็มองต่อไปอีกว่าพี่น้องก็สามารถมีความรักต่อกันได้เช่นพี่รักน้องพี่ที่มีเมตตาก็อยากจะให้น้องมีความสุขพี่ก็สามารถเสียสละความสุขของตนเองเพื่อน้องได้ ได้เห็นน้องมีความสุขก็มีความสุขด้วยหรือว่าเพื่อนที่รักกันก็เห็นเพื่อนมีความสุขเราก็มีความสุขหรือเราก็อยากให้เพื่อนมีความสุขใช่ไหมทีนี้ก็อย่างน้อยก็มองเห็นคู่ครองว่าเป็นเพื่อน เป็นเพื่อนที่สนิทด้วยก็อย่างพุทธภาษิตที่บอกว่า (ภริยา ปรมา สขา) ภรรยาเป็นยอดคนเพื่อนเท่านั้นหรือเป็นเพื่อนอย่างยิ่งท่านว่าอย่างนั้นนะ”
“แล้วสามี”
“ภรรยาเป็นยอดสหาย ก็สามีก็เหมือนกันแหละ”
“ลองกล่าวดู???”
“หมายความว่านี่ท่าน ท่านต้องสอนผู้ชายมั่งนะ คือคติเดียวกัน”
“แล้วในกรณีที่ถ้าเกิดเคยมีตัวอย่างที่ว่าปรับตัวในที่สุดไปกันไม่ได้ก็ต้องหย่าร้างกันแล้วทางพุทธศาสนามองกรณีอย่างนี้ยังไงคะ”
“ก็พุทธศาสนาก็มองด้วยการยอมรับความจริง”
“ว่าถ้าอยู่กันไม่ได้จริงๆ ก็ต้องเลิก”
“เอ่อ ท่านก็ท่านก็ไม่รู้จะว่ายังไงก็แม้แต่พระสงฆ์ใช่ไหม ท่านก็อนุญาตให้ภรรยาพูดจาสมัครสมานอะไรต่างๆ ได้แต่ถ้าถึงจุดที่เค้าหย่ากันแล้วท่านไม่ให้เข้าไปยุ่งเลย”
“อ๋อพระสงฆ์เข้าไปยุ่ง”
“พอหย่าแล้วนี่พระสงฆ์ไม่ใช่ไม่ยุ่งคือไม่ใช่ให้ไปยุ่งกับชีวิตของเขานะ แต่ไม่ใช่ให้ไปยุ่งในแง่การที่เค้าจะมาคืนดีกัน”
“อ๋อ ถ้าหย่าไปแล้วนี่จะไม่พูดกันใช่ไหมคะ”
“ถ้าหย่าไปแล้ว ไม่เข้าไปเป็นทำหน้าที่เป็นสื่อ”
“แต่ถ้าช่วงที่กำลังมีปัญหาอาจจะช่วย”
“อ่าช่วย ด้วยเมตตาเพราะว่าคือไม่ให้ไปเป็นสื่อ ท่านห้ามเรื่องการชักสื่อสำหรับพระแต่ถ้าหมายความว่าเมื่อหย่าแล้วพระก็จะต้องตามไปช่วยเพื่อความอยู่ดีหรือเป็นสุขของแต่ละฝ่ายอันนั้นก็เป็นอีกเรื่องนึง”
“การที่ผู้ชายมีเมียน้อยเนี่ยหมายถึงว่าเป็นความรักในส่วนที่หนึ่งอยู่หรือเปล่าครับ”
“ก็ความรักส่วนที่หนึ่ง”
“หรือว่าผู้หญิงมีเยอะเท่าสามี???”
“ก็ความมันก็เป็นความรักประเภทที่หนึ่งนั่นแหละต้นกำเนิดมันมาจากนั้นส่วนที่จะมีความรักประเภทที่สองมาด้วยหรือไม่ก็อยู่ที่ลักษณะของความรู้สึก ลักษณะของความรักว่าซึ่งถามตัวเองได้ว่าเราเนี่ยมีความต้องการที่จะให้เขามีความสุขอย่างแท้จริงแล้วก็ขั้นที่หนึ่งนะเราอาจจะตอนนี้อาจจะตอบว่าใช่เราก็อยากจะให้มีความสุขทีนี้ ข้อที่สองบอกถ้าเขาไม่สามารถสนองความสุขให้เราได้เรายังจะรักเขาไหมหนึ่งสองสามนี้ ถ้าหากว่าเอ้อยังรักเขาอยู่แม้เขาจะเป็นยังไงไปนะฮะก็แสดงว่าอันนี้ปรารถนาดีต่อเขาจริง”
“ถ้าเป็นข้อที่ตกลงกันได้นะคะพวกสามีภรรยาคือกรณี
อย่างพวกฝรั่งนี่เค้าก็ที่ตกลงกันได้ว่าต่างคนต่างก็ไปมีใหม่ได้ในขณะที่เค้าก็อยู่ด้วยกันอยู่อันนั้นมันผิดหลักการของทางพระพุทธศาสนา คือเดี๋ยวนี้สภาพสังคมมันซับซ้อนมันคลุมเครือ”
“คือพระพุทธศาสนาพูดถึงเรื่องนี้จะมีสองลำดับ คือระดับแรกระดับของการยอมรับกติกาของสังคมในแต่ละยุคในแต่ละสมัยหรือตามกาลเทศะเหมือนอย่างพระพุทธศาสนาเกิดในอินเดียก็ยอมรับกติกาของสังคมอินเดียเบื้องต้นก่อนเพราะเมื่อเรายอมรับอันนั้นแล้วนะทีนี้อย่าละเมิดแล้วถ้าละเมิดก็เป็นผิดใช่ไหมฮะ เพราะไม่ซื่อตรงต่อกติกานะฮะ ก็มีเจตนาละเมิดหรือเจตนาไม่ซื่อต่อกติกาเพราะฉะนั้นมันก็ขึ้นต่อกติกาที่ตกลงกันในสังคมนั้นก่อน สังคมนั้นน่าจะมีความชัดเจนที่นี้ปัญหาอีกอันนึงก็คือสังคมที่ไม่มีความชัดเจนก็ทำให้เกิดความสับสนใช่ไหม สังคมไทยเนี่ยอาตมาว่าอยู่ในสภาวะที่สับสนคือไม่วางกติกาให้ชัดเจนว่าจะลงตัวในรูปใด”
“สมมุติผมสมมุตินะฮะ สมมุติว่าภรรยาเนี่ยอยากจะมีอนุสามีแล้วก็สามีก็มีความรักภรรยาก็ยินยอมให้ภรรยามีอนุสามีได้เนี่ยมันเป็นปัญหาทางพระพุทธศาสนาหรือเปล่าเพราะว่าความรักภรรยาเนี่ยให้ภรรยาไปมีสามีอีกสองสามคนตามใจ เพราะงั้นความรักของสามีนี้จะอยู่ในประเภทที่สองหรือเปล่า”
“อันนี้ก็จะมีข้อ ไม่มันเป็นข้อพิจารณาต่างหากกันคือมันอยู่ที่ความรู้สึกจิตใจใช่ไหมว่ามีความรักต่อภรรยาอย่างไรถ้าหากว่าใจมีความปรารถนาดีอยากให้เค้ามีความสุขแสดงว่าเมตตามีอยู่ตรงนี้ก็ส่วนการยินยอมนี้จะเกิดจากความรู้สึกอะไรถ้าตัวไม่มีความหวงแหนคือเหตุผลที่ทางพระท่านไม่ให้ละเมิดในเรื่องเนี้ยก็มีเหตุผลอย่างน้อยสองประการคือหนึ่งหลักการทั่วไปคือความรักประเภทที่หนึ่งเนี่ยทำให้มีการหวงแหนทางก็ยอมรับสิทธิของปุถุชนว่ามีความหวงแหนท่านก็เลยเรียกว่าหวงผัสสะถ้ามีใครมาละเมิดก็เรียกว่าละเมิดสิทธิในผัสสะก็เลยกลายเป็นผิดศีลไปทีนี้ถ้าเกิดไม่หวงขึ้นมาล่ะ นะเกิดไม่หวงขึ้นมาก็เลยต้องคิดอีกนานต้องไปคิดดูอีกที”
“ในกรณีที่มีที่ตั้งเยอะอย่างที่นครปฐมที่ภรรยาก็ยอมให้สามีไปมีเมียอีกตั้งเจ็ดคน”
“เป็นกอเลย”
“เป็นกอเลยอย่างเงี้ย อย่างกรณีเค้าเค้าก็ยอมโอเค คืออาจจะเป็นในแง่เศรษฐกิจหรืออะไรก็ตามแต่เค้าก็ไม่หวงผัสสะนี้นะคะ”
“อา ไม่หวงผัสสะ”
“ก็ยอมให้ไปมีเมียอีกตั้งเจ็ดคน เคสอย่างนี้รู้สึกจะไม่ค่อยถูกเอามากล่าวหรือว่าเอามาดูว่าเป็นการผิดศีล”
“ใช่ อันนี้ก็”
“เพราะว่าศีลธรรมปุ๊บเนี่ยผิดแน่ๆ???”
“ในแง่ที่หนึ่งหวงผัสสะแล้วก็แง่ที่สองถ้าเรียกว่าประเวณี ประเวณีคือประเพณีหมายความว่าสืบสายตระกูลไม่ให้ตระกูลสับสนอันนี้ข้อที่สอง คือเรื่องของอันนี้เป็นเรื่องของสายตระกูลด้วยไม่ให้เกิดความสับสน”
“ลูกใครลูกใคร”
“อะไรทำนองนี้ นี่ก็เป็นข้อที่สองเป็นเหตุผลแล้วก็ข้อที่สามก็กติกาสังคมที่ว่าข้อตกลงว่าสังคมจะเอายังไงนี่แหละเรื่องราว???ก็มีความซับซ้อนของมัน ก็เหมือนอย่างสมัยโบราณเนี้ยเขาไปยอมรับสิทธิของพระเจ้าแผ่นดินอย่างนี้เป็นต้นว่ามีสิทธิเหนือทุกอย่างก็เลยก็เป็นกติกาของสัมคมไปเลยว่าไม่ผิดเพราะยอมรับอำนาจยอมรับในสิทธิ”
“เอ๊ะ ในการที่ยอมรับว่าไม่ผิดแล้วจริงๆ สิ่งนั้นผิดหรือเปล่าครับ”
“คืออันนี้มันเพราะความรักประเภทที่หนึ่งก็สาระก็คือการที่ว่าต้องการหาความสุขในทางเพศทีนี้ก็อยู่ที่สังคมจะยอมรับยังไงกติกานี้ต้องตกลงกันใช่ไหมฮะ ก็เป็นขั้นอย่างที่ว่าเป็นโลกสมมุติของสังคมมี”
“อันนี้คือเราตัดทางสมมุติทางสังคมออก???”
“มันก็มีมันมีข้อบกพร่องอยู่แล้วในเรื่องนี้เพราะเรื่องของความสุขระดับนี้ท่านถือว่ามี อาทีนวะมีโทษมีข้อบกพร่องใช่ไหมฮะในตัวทั้งนั้นถ้าจัดการไม่ดีก็เกิดปัญหาหมด จัดการไม่ถูกต้องเราก็ต้องยุ่ง”
“ก็ขอเรียนถามต่อฮะ”
“ได้ครับ เชิญจ้ะ”
เมตตา เป็นธรรมะสำหรับความรักแบบที่สองที่ปรารถนาความสุขเพื่อผู้อื่น
“แล้วไม่ทราบว่าธรรมะสำหรับความรักแบบที่สองนี้ไม่ทราบว่าพอจะมีอะไรบ้าง”
“แบบที่สองมันเป็นธรรมะอยู่ในตัวเพราะเป็นเมตตาเป็นความรักใช่ไหมฮะ เป็นความรักที่ปรารถนาความสุขเพื่อผู้อื่นคืออยากใหผู้อื่นมีความสุขแล้วความสุขของเราอยู่ที่เห็นเขามีความสุข”
[31:18] ธรรมะของความรักแบบที่สองพัฒนาได้อย่างไร ?
“การพัฒนาจิตใจไปแต่ละขั้นนี่คือเป็นเรื่องที่จะต้องแบบคือเรื่องยากใช่ไหมคะ”
“แล้วจะทำไงให้เกิดธรรมะแบบที่สองได้”
“จะให้เค้าให้คนที่อยู่ในสังคมนี้เกิดความรู้สึกนี้ขึ้นมาได้”
“มันก็ต้องปลูกฝังกันเช่นว่าตอนแรกก็ตั้งแต่เด็กๆ ใช่ไหมฮะ
การที่ได้รับความรักอย่างถูกต้องจากพ่อแม่ก็จะทำให้เด็กมีความรู้สึกแบบนี้ขึ้นมาได้ด้วยเหมือนกันแต่ว่าพ่อแม่ต้องปฏิบัติให้เห็นให้เค้าเกิดความรู้สึกในทางที่ดีเห็นความซาบซึ้งในความรักของพ่อแม่เค้าก็จะมีความรู้สึกในทางที่ดีตอบแทน
แต่ทีนี้ว่าพ่อแม่จะให้มาผูกพันอยู่กับพ่อแม่อย่างเดียวไม่ได้จะต้องให้ความรู้สึกเนี่ยขยายไปยังพี่น้อง เพื่อนเขา ผู้ใหญ่คนอื่นๆ ทั่วๆ ไปแล้วก็รุ่นเด็กรุ่นน้องกว่าเขาด้วยนี่ถ้าทำได้อย่างนี้นะไอ้นี่มันก็กลายเป็นคุณธรรมที่ปลูกฝังขึ้นมาแต่เด็กซึ่งจะติดตัวง่ายนี่ถ้าหากว่ามันไม่ได้รับการปลูกฝังแต่เด็กเนี่ยเราต้องยอมรับความจริงว่ามันจะยากขึ้นเพราะว่ามันอาจจะเกิดความรู้สึกขุ่นเคืองความมีโทสะขึ้นมาแทนใช่ไหมฮะแล้วก็อันนี้ก็จะเป็นตัวกวนจิตแล้วก็เป็นนิสัยของจิตซึ่งทำให้การปลูกฝังคุณธรรมยากขึ้น”
“ตัวขุ่นเคืองของจิตนี่นะคะมันเกิดขึ้นมาอย่างช่วงไหนล่ะคะ”
“ก็ ก็ความรู้สึกโกรธแค้นที่หากเช่นว่าหนึ่งไม่ได้รับการตอบสนอง ขัดใจก็ความโกรธเคืองนี่ก็เป็นตัวปฏิปักษ์กับความรักใช่ไหมฮะหรือความอยากได้ความรักประเภทที่หนึ่งเนี่ยเป็นพวกเดียวกับความอยากได้เมื่อมีความอยากได้ไม่ได้รับการสนองก็ย่อมเกิดความรู้สึกเป็นปฏิกิริยาคือโกรธนี่คือตัวคู่เพราะฉะนั้นในแง่หนึ่งนั้นความโกรธเกิดจากความรักแล้วเกิดจากความอยากได้แล้วไม่ได้รับการตอบสนองเพราะเกิดปฏิกิริยาโกรธเคืองอันนั้นเป็นตัวคู่กันเลยนี้ถ้าหากว่าเด็กมีความปรารถนาอยากได้ความสุขที่เป็นธรรมดาของธรรมชาติปุถุชนแต่เค้าไม่ได้รับการตอบสนองเค้าก็เกิดความแค้นเคืองพอความแค้นเคืองนี้เกิดขึ้นเค้าก็จะมองอะไรต่ออะไรร้ายไปหมด”
“เป็นเด็กก้าวร้าวไปเลย”
“อ่าเป็นเด็กก้าวร้าว”
“เพราะฝังอยู่ในจิตใจไปเลยมั้ง”
“ใช่ฝังไปในจิตใจก็เลยปลูกฝังเมตตา”
“อย่างกรณีเด็กกำพร้าที่ขาดพ่อแม่”
“ไม่พอก็เกิดการแค้นเคืองไปหมด แค้นเคืองทุกสิ่งทุกอย่าง”
“แต่ตามธรรมชาติของเด็กเค้าก็ต้องการนู่นต้องการนี่อยู่ตลอดเวลา”
“แน่นอน ใช่”
“เราจะไปสนองให้เขาตลอดเวลาก็ไม่ได้เหมือนกัน”
“อันนี้ก็ ใช่แต่ว่าตอนนี้ไม่ใช่ว่าเป็นแบบว่าคือเป็นแบบว่าคือมันหักโหมมันหักหาญหมายความเค้าอยากจะได้อยู่แล้วถูกหัก หักทันทีใช่ไหมฮะ ทีนี้ถ้าหากว่ามันมีทางออกให้เขาเช่นว่า เกิดปัญญารู้เข้าใจคือเขามองเห็นว่าอ้อสิ่งนี้ที่เขาทำเนี่ยมันไม่อาจเป็นไปได้เค้ายอมรับความจริงถ้าเค้ายอมรับแล้วไม่มีปัญหาที่นี้ตอนแรกเนี่ยเค้ายังไม่ยอมรับเค้าถูกหักทันทีเพราะฉะนั้นเราจะต้องให้เค้ามีการยอมรับในการที่เขาจะไม่ได้อย่างนั้นเช่นให้เขารู้ด้วยปัญญาว่าการที่เขาอยากได้อย่างนั้นเป็นสิ่งที่เกิดผลเสียหายไม่ดีมีโทษ มีโทษต่อตัวเองมีโทษต่อผู้อื่นยังไงแล้วมีโทษเสียระยะยาวอย่างไรมีผลระยะเฉพาะหน้าระยะสั้นอาจจะเห็นว่าดีแต่ระยะยาวเกิดผลเสียนี่ถ้าเขาได้รับการชี้แจงได้ใช้ปัญญานี่แหละที่ว่าฝึกโยนิโสมนสิการเพราะมีความเข้าใจเค้ายอมรับได้อันนี้จะไม่เกิดเป็นไอ่ตัวที่ค้างจิตใช่ไหมมันก็ชำระไปเองก็ไปเกิดโทษ”
“อย่างนี้ก็ยากมากนะคะ”
“ยาก”
“สมมุติว่าเวลาที่เค้าเกิดอยากได้อะไรสักอย่างนึงขึ้นมาแต่สิ่งนั้นมันผู้ใหญ่ก็มองเห็นมันไม่เหมาะไม่ควรจะได้ก็พยายามอธิบายด้วยเหตุผลเค้าก็รับไม่ได้คือหมายถึงเค้าก็เค้าอาจจะยังคือเค้าไม่เห็น”
“ใช่ เค้าไม่เข้าใจ”
“เห็นเพียงแค่คำอธิบายอย่างเงี้ยคือเค้าจะไม่รับเค้ายังรับไม่ได้นะคะ บางทีเราต้องยอมปล่อยให้มันเห็น”
“ก็จำเป็นในบางกรณีเราก็ต้องยอมที่จะขัดขวางความต้องการของเขากว่ามันจะมีตัวช่วยคือหนึ่งเราต้องทำด้วยการชี้แจงเค้า เค้าจะเข้าใจไม่เข้าใจเราได้ชี้แจงแล้ว สองเราได้แสดงออกว่าจิตใจของเรานั้นไม่ได้มีความมุ่งร้ายอาฆาตมาดร้ายเขาแต่เราทำด้วยความปรารถนาดีต่อเขา แล้วก็ต่อเขาและประโยชน์ส่วนรวมด้วยประโยชน์ส่วนรวมที่เขาถ้าเขาทำอย่างนั้นมันจะเกิดผลเสียต่อครอบครัวต่อพี่น้องหรือต่อเพื่อนมนุษย์ใช่ไหมฮะ เราให้เค้าเห็นไปก่อนแล้วก็สามอาจจะมาในรูปของกติกาสังคมที่ว่าเป็นวินัยว่าเราตกลงกันไว้นะทำอย่างนี้ไม่ถูกก็เป็นกติกาไว้
ถ้าใครทำก็ละเมิดเธอต้องการตามปรารถนาแต่ละเมิดกติกานี่ระวังนี่คือก้าวศีลเข้ามาศีลนี่คือตัวกติกาที่วางไว้สมาธิก็คือจิตใจถ้าเราทำด้วยจิตใจปรารถนาดีไม่ได้มุ่งร้ายสามปัญญาเราได้ชี้แจงให้เข้าใจเท่าที่ทำได้ถ้าหากว่าทำได้เต็มที่อย่างนี้แล้วเขาไม่ยอมใช่ไหมเราก็กั้นได้แต่ว่ามันไม่ใช่ มันไม่ใช่สิ่งที่แบบหักหาญทันทีก็แม้จะต้องลงโทษก็ให้เค้าเห็นว่าทำด้วยเมตตาปรารถนาดี”