แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
นี่ก็ จะมีอะไรถามไหมล่ะวันนี้ ก็ขออนุญาต เรียนถาม พระเดชพระคุณหลวงพ่อ เรื่องสถานการณ์บ้านเมืองของประเทศไทยในปัจจุบันนี้นะครับ เอ่อ ไม่ทราบหลวงพ่อได้ข่าวเ รื่องที่มีเหตุการณ์ที่ใช้ความรุนแรงกัน เลยอยากจะขอทราบความคิดเห็นของพระเดชพระคุณหลวงพ่อนะครับ แล้วก็เกี่ยวกับว่า ประชาชนคนไทยควรวางท่าทีอย่างไร หรือแม้แต่พระเองนะครับ ควรจะคิดอย่างไรกันนะครับ แล้วก็ขอทราบทางออกและแนวทางแก้ไข ว่าควรเป็นอย่างไรด้วยครับ
อ้าว โอ้ ถามเรื่องใหญ่ ต้องพูด ต้องคิด ต้องพิจารณา หลายอย่าง เนี่ยตอนนี้ถึงกับ มีการอยากให้พระไปพูดไปอะไร ที่จริงก็มีพระไปพูด ได้ทราบว่าอย่างนั้น แล้วก็ถึงกับมีการก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ว่าจะเน้นเรื่องนี้ เรื่องว่าจะหาพระ นิมนต์พระไปพูด คือถึงจะนิมนต์พระไป น่าเกรงว่า ถึงขั้นที่ แม้แต่พระพุทธเจ้ามาตรัส เขาจะฟังกันหรือไม่ ถ้าหากแม้แต่พระพุทธเจ้ามาตรัส เขาก็ยังไม่ฟัง แล้วเราเป็นพระ องค์ไหนก็ตาม ไปพูดเขาจะฟังทำไม ใช่ไหม มันก็จะไม่มีความหมาย นี่ก็เป็นแง่ที่ต้องคิดพิจารณา วางท่าทีให้ดี อย่าไปนึกว่าเขาจะฟัง คือคนนี่ถ้าใจมันตั้งว่าไม่ฟังสะแล้วเนี่ย มันไม่เอาทั้งนั้นน่ะ เชื่อไหม เพราะมันไม่รับเข้าไปพิจารณา ฉะนั้นขั้นต้น พระพุทธเจ้าเวลาจะทรงสอนเนี่ย จึงต้องมีการพูดจากันก่อน ข้อสำคัญก็คือให้เขายอมรับฟัง ยอมรับและก็รับฟัง พอเขารับฟังมันก็พอไปกันได้ นี่ถ้าหากว่าเขาเกิดศรัทธาก็จะมีความตั้งใจเลยทีเดียว เอาแค่ว่ารับฟังก็ยังดี พอมีการรับฟังได้ มันจะเริ่มต้นได้
พอพูดไปสักเดี๋ยว อย่างพระพุทธเจ้าตรัสกับคนที่เค้ายอมรับฟังเนี่ย พอเค้าเกิดศรัทธา คราวนี้เค้าตั้งใจฟัง ก็ดูแต่เนี่ยอย่างพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ พระองค์ก็ระลึกถึงว่า พระองค์จะไปแสดงธรรมแก่ใคร ก็นึกถึงอาฬารดาบส กาลามโคตร อุทกดาบสรามบุตร นี่ตามพุทธประวัติ ว่าพระองค์เคยไปศึกษาในสำนักของท่าน พระองค์ก็ระลึกถึงนี่แสดงว่าพระพุทธเจ้าระลึกถึงผู้ที่มีคุณความดีต่อพระองค์ อ้าว ก็ปรากฏว่าทั้ง 2 ท่านเนี่ย สิ้นชีวิตแล้ว ก็นึกต่อมา นึกถึงเบญจวัคคีย์ ที่เคยมาอยู่อุปฐาก ก็ตอนนี้ เอ่อ เขายังอยู่แล้วเขาก็ไปไหนหนอ ก็ทรงระลึกได้ว่า เขาไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่เขาไปนั่นก็เพราะ เขาหนีจากพระองค์ไป เขาไม่พอใจ เขาหมดความเลื่อมใส ก่อนนี้เขาไปอยู่กับพระองค์ด้วยศัรัทธา แต่ศรัทธานั้นเป็นศรัทธาที่ไม่ตั้งอยู่บนฐานของเหตุผล เป็นศรัทธาตามลัทธิโหราศาสตร์ ก็คือทำนายว่าพระพุทธเจ้าเนี่ย ถ้าออกบรรพชาจะเป็นพระพุทธเจ้า ถ้าไม่ออกบรรพชาจะเป็นพระจักรพรรดิ เค้าเชื่อตามตำราพราหมณ์ เขาก็เลยมีศรัทธาในแบบนั้น ซึ่งไม่ถูกต้อง ก็บวช มาอยู่กับพระพุทธเจ้า ทีนี้ศรัทธาแบบนั้นมันก็ต้องเป็นไปตามแบบแผนของพราหมณ์ ก็คือ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าจะต้องไปทำอย่างงั้นๆ ทีนี้พอพระพุทธเจ้าไม่ทำตามแนวทางที่เป็นความเชื่อเก่า เขาก็เลยตีจาก หนีเลย
ก็ตีจากหนีไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน บอกหมดแล้ว พระสมณโคดมนี่ไม่มีทางน่ะ เจ้าชายสิทธัตถะ หมดความเลื่อมใส ทีนี้พระพุทธเจ้าทรงระลึกถึงก็จะเสด็จไปโปรด พอไปถึงเห็นมา เค้าก็ตั้งใจกันแล้ว ไม่อยากจะต้อนรับ เพราะว่าเห็นว่าพระองค์เนี่ย คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคน เห็นแก่ เรื่องของความสุข การเสพบริโภคอะไรอย่างนั้น เพราะพระองค์หันมาเสวยภัตตาหาร ไม่มีทางนะ ก็เลยตั้งใจ นัดหมายกันว่าจะไม่ต้อนรับ เพราะความที่เกรงพระทัย และความที่พระองค์มีลักษณะที่เขารู้สึกทนไม่ได้ที่จะแสดงอาการไม่ดี เขาก็เลยต้องต้อนรับ แต่เขาก็ไม่ยินดีจะฟัง ทีนี้ก็เลยต้องมีการพูดกันเริ่มต้น เนี่ยตอนนี้ก็สำคัญ คำตรัสของพระองค์ที่บอกว่า เคยไหมที่เราพูดอย่างนี้ ก็เป็นจุดที่ไปสะกิดใจ กระตุก ให้เกิดความนึกว่า เอ๊ะ จะต้องมีอะไรพิเศษ พระพุทธเจ้าจะต้องค้นพบอะไร ก็เลยเอ่อ ลองฟังดู ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ว่า เริ่มมีจิตที่จะรับฟัง พอมีจิตรับฟัง พระพุทธเจ้าก็เริ่มได้ พอเริ่มแล้วพระองค์ก็ตรัสไป ก็ศรัทธา มีความเลื่อมใสเพิ่มขึ้นๆ แล้วศรัทธานี้พระองค์ก็เอาเป็นบันไดไต่ไปสู่ปัญญา ไม่ใช่มุ่งจะไปให้เขาเชื่อ เอาศรัทธาเป็นเพียงสะพานต่อไปหาปัญญาเท่านั้น ในที่สุดท่านก็เข้าใจ ก็เลยเลิกความเชื่อแบบเก่า เนี่ยข้อสำคัญก็คือต้องให้รับฟัง ถ้าเราจะพูดก็ต้องมีอะไรเป็นเครื่องหมายว่าจะรับฟังกันก่อน ไม่ใช่พูดเรื่อยเปื่อยไป พูดแล้วก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา นี้ก็เลยบอกว่าเนี่ย สถานการณ์ตอนนี้สภาพจิตของคนทั่วไปจะเป็นแบบนั้น นี่ในแง่ที่ว่าถ้าจะเอาพระไปพูดเนี่ยก็จะเป็นอย่างนี้หรือไม่ ก็คือว่าถึงตอนถึงขั้นที่เขาจะไม่ฟังแม้แต่พระพุทธเจ้า ก็ต้องให้เขาตั้งใจรับฟัง เปิดจิตขึ้นมาก่อน
นี่อีกแง่หนึ่งในสถานการณ์ที่ทั่วไปของเขาเอง เราจะเห็นว่า ได้มาถึงขั้นที่เป็นฝ่ายชัดเจน 2 ข้าง แล้วก็มีความหมายมั่น ภาษาพระ ท่านใช้คำว่ ามีความหมายมั่น หมายมั่นยังไงก็คือ หมายมั่นว่าจะต้องเอาชนะ ต้องชนะให้ได้ยอมกันไม่ได้ แล้วมันไม่ใช่เป็นเพียงความหมายมั่นที่ตั้งใจจะเอาชนะเท่านั้น แต่มันกลายเป็นว่าได้สร้างเงื่อนไขกันแก่ตนเองด้วย คือพวกนี้ได้นำตัวเข้าสู่สถานการณ์ที่เกิดเงื่อนไขว่า แพ้ไม่ได้ เพราะถ้าแพ้มัน จะเกิดปัญหาอะไรต่อตัวเองอีกไช่ไหม มันก็เลยเป็นบีบให้ตัวเองต้องชนะอย่างเดียว แพ้ไม่ได้ ทีนี้ถ้าเราจะแก้ปัญหานี้ต้องไป คลายเงื่อนไขนี้ คือให้รู้สึกว่า เอ่อ มันยอมได้นะ ถึงจะไม่ชนะก็ไม่เป็นไรนะ อย่างเงี้ยนะ ไม่งั้นแล้วเขาก็ยอมไม่ได้ มันก็ต้องพูดจากันให้ชัด ให้เปิดเผย เนี่ยจุดนี้ มันจะไม่กล้าพูด เจ้าตัวเค้าก็ไม่กล้า พูดไม่ได้ ใช่ไหม ไอ้เงื่อนไขที่เค้าแพ้ไม่ได้นี่เขาพูดไม่ได้ ทีนี้ว่าคนที่จะไปพูดที่ไปแก้ไขปัญหาต้องรู้ทัน แล้วไปทำให้เขาเบาใจ ว่าอย่าไปติดกับไอ้เรื่องที่จะต้องแพ้อะไรนั่นเลยนะ เพราะว่าตอนนี้มันเป็นเรื่องว่า อย่าเอาชัยชนะของคุณมาเป็นความแพ้ของประเทศชาติ อย่างที่นายหลวงตรัสน่ะ อันนี้ก็ชัดเพราะพระองค์ก็ได้ตรัสตั้งแต่ครั้งก่อน เห็นวิทยุเอามาออกด้วยเนี่ย แต่ก็ไม่เห็นปฏิบัติกัน ก็เอาละนะ ก็คือตอนนี้มัน เข้าสู่สถานการณ์ที่มีความหมายมั่น ว่าจะต้องชนะเท่านั้นแพ้ไม่ได้ ทีนี้จะทำยังไงในการแก้ปัญหาเนี่ยนะ เราก็อาจจะเริ่มด้วย เตือนกันก่อน ให้มาพิจารณา ก็ในเมื่อจะหมายมั่นต้องเอาชนะกันเนี่ย มันก็รู้อยู่แล้วว่าที่จริงนั้น เราทำเพื่ออะไร แต่ละฝ่ายนี้ก็ต้องตระหนักในจุดมุ่งหมาย แต่ละฝ่ายก็อ้างว่า ตัวเองเนี่ย รักประเทศชาติ ทำเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน ก็เรียกว่าทำเพื่อชาติและประชาชนเป้าหมายอยู่นั่น อย่างน้อยก็เป็นข้ออ้าง แต่อย่าให้เป็นแค่ข้ออ้างต้องให้เป็นความจริง เพราะฉะนั้นไอ้ความชนะของคุณนะไม่ใช่จุดหมายที่แท้แน่นอน จุดหมายที่แท้นี้จะต้องเป็น ประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชน โดยชัยชนะของคุณนั้นพิสูจน์ได้ไงว่าจะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติ ประชาชน แต่มันพิสูจน์ได้ในทางตรงข้ามมากกว่า ว่าถ้าคุณชนะมันก็ไม่ชนะจริงเพราะมันต้องย่อยยับอีกฝ่ายหนึ่ง ก็คืออย่างที่บอก ก็ต้องพังกันไป แล้วผู้ที่เสียหายมันก็ประเทศชาติ ประชาชน เพราะฉะนั้นจึงบอกว่าไม่มีใครชนะมีแต่แพ้
ก็คือประเทศชาติ ประชาชน หรือ คนไทยทั้งชาติ แพ้แน่นอน ฝ่ายไหนชนะก็ตาม แต่ว่าคนไทยทั้งชาตินี่แพ้ เอาแล้วไหนบอกว่าทำเพื่อคนไทยทั้งชาติก็ผิด เพราะฉะนั้น จะให้ใครชนะก็ควรที่เป็นชัยชนะของคนทั้งชาติให้ได้ ไม่ใช่เป็นความเสียหาย ทีนี้ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น เราก็ ลงมาวิเคราะห์ เริ่มแต่ข้อปลีกย่อยไป ที่ตัวคนแต่ละคน ผู้ที่มีส่วนร่วมในเรื่องนี้ ก็มองตีวงแคบเข้าไปก็คือ อยู่ที่สองฝ่ายนั่นแหละ
คนสองฝ่ายนี้ก็ต้องตรวจดูตัวเอง วิธีดูง่ายๆที่ตัวแต่ละคนก็คือ กาย วาจา ใจ หลักการมันก็มีอยู่แล้ว คือ กายเนี่ยก็จะต้องไม่มีการกระทำที่รุนแรง เราถือโดยหลักธรรม มันก็รุนแรงไม่ได้อยู่แล้ว หรือไม่ก็เอาหลักธรรมนะ เอาหลักทั่วไปของสากล ก็ถือว่า ว่าต้องไม่รุนแรง
แล้วในแง่ของวัฒนธรรมไทยก็ถือว่า คนไทยนี้เป็นคนที่ไม่รุนแรง ก็ต้องสามารถรักษาวัฒนธรรมหรือจะเรียกว่าเอกลักษณ์ที่ดีงามของไทยอันนี้ไว้ให้ได้ อย่าให้เสีย ถ้าเสียก็เป็นความแพ้ชนิดหนึ่งเหมือนกันนะ ว่าไม่สามารถรักษาเอกลักษณ์ไทยที่เป็นคนไม่รุนแรงนี้
ฉะนั้นถ้าฝ่ายไหนทำการอะไรที่เป็นรุนแรงขึ้นมา นั่นคือความแพ้ที่เกิดขึ้นแล้วทันที เพราะฉะนั้นต้องเตือนตัวเองทันทีว่า รุนแรงไม่ได้ใครทำรุนแรงก็ คือ ความพ่ายแพ้เกิดขึ้นแล้ว แล้วต้องหยุด ก็นับคะแนนได้เลยว่า แพ้กี่ครั้งแล้ว นี้ก็เอาในแง่กายก่อนนะ รุนแรงไม่ได้
ทีนี้สอง วาจา วาจาเนี่ย เดี๋ยวนี้เค้ามีศัพท์อันหนึ่งเรียกว่า วาทกรรมการเมือง คือว่า เวลาพูดอะไรนี่ยก็เอาดีเข้าตัว ว่าอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่งั้นก็เลี่ยงประเด็น เวลาจะพูดมาเรื่องเกี่ยวกับตัวเองก็เลี่ยงประเด็นไป เรื่องอื่น คืออันนี้ เดี๋ยวนี้ มันเป็นเรื่องที่ว่าการเมืองพูดกันแบบนี้ คือพูดง่ายๆก็คือ พูดแบบการเมือง ทีนี้พูดแบบการเมืองคนก็ได้ยินกันทั่วนะ ภาษาการเมืองเป็นภาษาที่มีคนพูด เขาหมายถึงว่าเป็นการพูดแบบไม่จริงใจ ใช่ไหม พูดแบบการเมือง ก็พูดแบบไม่จริงใจ เพราะฉะนั้นต้องพูดแบบตรงไปตรงมา ว่ากันแบบชัดเจน วาจาที่มีความปรารถนาดี มุ่งประโยชน์ของส่วนรวมจริงๆ เนี่ยให้มันชัดออกมา คนฟังเค้าก็รู้นี่กว่าพูดแบบการเมืองหรือไม่ ใช่ไหมฮะ เพราะฉะนั้นคุณอย่าพูดแบบการเมือง อย่าใช้วาทกรรมการเมือง อ้าวแล้วก็อย่าพูดแบบใช้วาจาเสียดสีกันกัน วาจาหยาบคาย ทางพระท่านเรียก วจีทุจริต วาจาเท็จ พูดไม่จริง วจีทุจริต วาจาหยาบคายก็ทุจริต วาจาส่อเสียดก็ทุจริต วาจาสร้างความแตกแยกก็ทุจริต ที่จริงในหลักพระศาสนานั้น วาจา ท่านคุมไว้หมดแล้ว เพราะฉะนั้นจะทำการเพื่อประโยชน์ส่วนรวมเนี่ย เราก็ต้องพิสูจน์ตัวเองว่าเราทำสิ่งที่ดีงามใช่ไหม ทำสิ่งที่ถูกต้องคุณก็ต้องใช้วาจาที่ถูกต้องอย่าใช้วจีทุจริต เอ้าอันนี้เป็นกลางๆ เราไม่ต้องไปเข้าข้างไหน หลักการมันพิสูจน์ตัวมันเอง
แล้วต่อไปก็ ใจ เมื่อกี้ กายกรรม และก็ วจีกรรม และมโนกรรม มโนกรรมทางใจก็ต้องมีความจริงใจ จริงใจต่ออะไร จริงใจต่อประเทศชาติ จริงใจต่อประชาชน แล้วจริงใจต่อประเทศชาติประชาชนอย่างไร ก็คือจริงใจต่อจุดหมาย จุดมุ่งหมายที่ว่าทำนี้เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติแท้ๆ อ้าว ทีนี้จริงใจนี่ก็ หมายความว่า เรามุ่งไปที่จุดหมาย ไม่ใช่มีเป้าหมายซ่อนเร้น บางทีเนี่ยไอ้จุดหมายที่อ้างเป็นอย่างหนึ่ง มันมีเป้าหมายซ้อนเร้นขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง อันนี้คุณจะต้องไม่มี ใช่ไหม เป้าหมายซ่อนเร้นมีไม่ได้ ถ้าก็มีอยู่ ก็ต้องรีบแก้ไขปรับปรุงตัวเอง เอาเป้าหมายที่มันปลอมมันไม่จริงเนี่ย ซ่อนเร้น แอบแฝงนี้ออกไปเสีย มุ่งสู่จุดหมายที่แท้จริง แล้วก็อย่างน้อยก็ไม่มุ่งที่เอาชนะ มุ่งที่ประโยชน์สุขของประเทศชาติประชาชนแท้จริง อันนี้ก็เป็นการตรวจสอบแต่ละคน และตัวเองก็ตรวจสอบตัวเองได้เลย ใช้สามอย่างเนี่ย กาย วาจา ใจ
เราดูมา ลงมาที่ส่วนแคบมาตั้งแต่ละคน ทีนี้ก็มองดูกว้างออกไปละ ตอนนี้เราบอกว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ประชาชนเป็นใหญ่ แม้แต่ทำการนี้ก็ต้องอ้างว่าทำเพื่อประชาชน เพื่อประเทศชาติส่วนรวม ฉะนั้นประชาชนจะต้องเป็นใหญ่ในเรื่องนี้ด้วย แล้วเป็นใหญ่ยังไงล่ะ ก็คือว่า หนึ่งเราต้องมองที่ประชาชน ไม่ใช่ไปมองที่สองฝ่ายนั่น นี่เป็นจุดเริ่มต้นและเป็นหลักด้วย ส่วนสองฝ่ายนั้นเป็นส่วนปลีกย่อยประชาชนจำเป็นต้องตัวยืนพื้น ประชาชนเป็นส่วนใหญ่เป็นเป้าหมายเป็นจุดหมาย เพราะว่าเราบอกว่าเป็นการปกครองของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชนนี่ใช่ไหมฮะ อ้าวนี่ก็เพื่อ ประชาชนเป็นใหญ่เป็นเจ้าของเรื่องเค้าทำเพื่อประชาชน เอ่อ เราก็ตั้งประชาชนเป็นหลัก ประชาชนเป็นหลักเนี่ยแล้วมันมีอันหนึ่งที่สำคัญก็คือ ประชาชนทั้งหมดเนี่ย เราพูดได้ว่ายังรวมเป็นอันเดียวกัน แม้แต่ดูข้างนอกแตกแยก ก็คือว่าประชาชนนี้มีจุดมุ่งหมายว่า เพื่อประโยชน์อย่างน้อยก็ของตัวเองของเราของประชาชนเนี่ย แล้วก็ประชาชนก็มุ่งไปที่ว่า มองกว้างไปก็คือประเทศชาติ โดยรวมและทั่วไปเนี่ยประชาชนทั้งหลายคนทั้งหลาย นี่ก็ยังต้องการประโยชน์สุขของประเทศชาติอยู่
ฉะนั้นมองรวมแล้วเนี่ย ประชาชนยังมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างน้อยก็โดยเนี่ย มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน อ้าวแล้วคุณจะไปแตกแยกทำไม ที่แตกแยกนั่นมันผิดจุดและ ไปมองที่แง่ มันตอนไปเข้าข้าง แต่ถ้ามองให้ดีแล้วเรายังเห็นทางแก้ไข ก็คือโดยแท้แล้วเขายังมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็คือว่าเขามีจุดหมายร่วมกัน เป็นแต่เพียงเพราะตอนนี้แขาไปมอง เขวไป ไปมองไอ้ที่สองฝ่ายนั้นสะ
เแทนที่จะมองที่ เอ้อพวกเราเอง ประชาชนทั้งหมดยังมีจุดหมายรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนะ เราจะเป็นอันเดียวกัน เอาแล้วนะหนึ่งเรามีจุดรวมต้องเป็นอันเดียวกัน
สองการปกครองประชาธิปไตยก็อย่างที่บอกเมื่อกี้ ก็คือว่า ประชาชนเป็นผู้ปกครองประเทศ อ้าวก็เราเป็นผู้ปกครอง ก็เราก็เป็นใหญ่เนี่ย เมื่อเราเป็นใหญ่ทำไง ตั้งต้นแต่ว่าเขาต้องทำเพื่อเรา แล้วเขาก็อ้างเราด้วย นี่อย่าให้อ้างฟรีๆ ไม่ใช่ไปอ้างทำให้เสียหายนะ คุณต้องอ้างให้ถูก แล้วเราจะรู้ไงว่าอ้างถูก เราก็ต้องเป็นผู้ตรวจสอบเขาไม่ใช่เขามาเป็นผู้ที่จะมาชักพาหรือจะมาเอาเราเป็นเครื่องมือ หรืออะไรไม่ได้ทั้งนั้นน่ะ ประชาชนตอนนี้ หนึ่งใจยังรวมกันเป็นอันเดียวกัน แล้วก็ในฐานะเป็นผู้ปกครองก็ต้องเป็นผู้ไปมองดูเขา มันก็จะมีเรื่องมองหลายอย่าง คือพวกนี้ ถ้าจะทำการ เขาก็อ้างประชาชนเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน มองในแง่หนึ่งก็คือจะเป็นรัฐบาลหรือเป็นฝ่ายอะไรก็แล้วแต่ ฝ่ายไหนๆ พวกคุณนี่ต้องเป็นเครื่องมือของประชาชน ที่จะสร้างสรรค์ประโยชน์สุขของประเทศชาติ ประชาชน เอ๊ะ ถ้าเราทำผิดจุด พวกฝ่ายนี้มาเอาประชาชนเป็นเครื่องมือ ก็มันก็ผิดน่ะสิ แน่ ไม่ได้ อย่าให้ประชาชนกลายไปเป็นเครื่องมือของฝ่ายไหนทั้งสิ้น คุณจะต้องมาเป็นเครื่องมือของฉัน ตอนนี้คุณเป็นเครื่องมือฉันไหม แต่ยังไงก็ตามอย่างน้อย อย่าเอาฉันไปเป็นเครื่องมือไม่ได้ ตั้งหลักตรงนี้ให้ดีนะ คุณจะต้องเป็นเครื่องมือของฉัน ทีนี้ในเมื่อเป็นเครื่องมือ คุณเป็นเครื่องมือที่ถูกหรือเปล่า เครื่องมืออันนี้มันจะให้สำเร็จผล ที่จะทำให้สร้างสรรค์ประโยชน์สุขของส่วนรวมได้หรือเปล่า เอ่อ ถ้ามันเกิดไปใช้ผิด มันก็เสียหายสิใช่ไหม เอ่อ มันก็กลายเป็นเครื่องบั่นทอนประโยชน์สุขของส่วนรวม มาตีกันเอง ประชาชน ใช้ไม่ได้แล้ว ทีนี้ในการว่าจะดูว่าเค้าเป็นเครื่องมือของเราหรือเปล่า เราก็ต้องพิสูจน์ ทั้งประชาชนพิสูจน์เขาแล้วเขาต้องพิสูจน์ตัวเอง ประชาชนก็ดูสิ ตอนนี้เราไม่มีหน้าที่จะเป็นฝักฝ่ายข้างไหนทั้งสิ้น แต่เราต้องตรวจสอบ ตรวจสอบไม่ว่าฝ่ายไหนทั้งนั้นน่ะ แล้วการตรวจสอบที่ถูกต้อง ไม่เอาคนมาวัดกัน ถ้าเอาคนละวัดกันนี่ แย่
ตอนนี้ปัญหามันอยู่ที่เอาคนมาวัดกัน มันก็ยุ่งน่ะสิครับ ทางพระท่านไม่เอาหรอก ท่านเอาธรรมวัด เอาหลักการ เอาความถูกต้องขึ้นตาชั่งเลย หลักการคำพิพากษาตุลาการเขาต้องใช้อย่างนี้ เขาไม่เอาคนมาวัดกัน เค้าเอาหลักการ เอาหลักธรรม เอากฎหมายมาตั้งเป็นเกณฑ์ ใช่ไหม แล้วก็เอาไอ้คนนั้นน่ะมาขึ้นตาชั่งอีกที แล้วก็วัดด้วยกฎหมาย วัดด้วยธรรม จะวัดด้วยนิติธรรมหรือวัดด้วยหลักธรรมที่แท้ก็แล้วแต่ อ้าวเราก็เอาธรรมมาวัด ทีนี้พอวัดอย่างนี้เราไม่เอาคนมาวัดกัน เนี่ยเราจะวัดการกระทำแต่ละอย่าง ไอ้การกระทำอันนี้ ฝ่ายไหนทำก็ตาม มันไม่ถูก เราจะพูดได้เลย แล้วมันจะไม่ใช่กลายเป็นว่าฝ่ายนี้ดี ฝ่ายนี้ไม่ดี ทั้งสองฝ่ายน่ะ มันมีทั้งถูกทั้งผิด แกทำอันไหนผิด แกต้องแก้ แล้วฉันต้องบอกว่าอันนี้ไม่ถูก แล้วเป็นการกระทำของฝ่ายไหนฝ่ายนั้นก็ต้องแก้ ไม่ใช่ฝ่ายไหนไอ้ตัวชอบก็ฝ่ายนั้นทำอะไรดีหมด ฝ่ายไหนตัวไม่ชอบทำอะไรเสียหมด ถูกไหม เวลานี้คนมันเป็นอย่างนั้น ที่มันเสีย มันไม่พัฒนา ตอนนี้มันมีโอกาสที่จะพัฒนาประชาชน เพราะว่าในเรื่องทั่วไปที่เป็นมา ก็คือว่าประชาชนคนทั่วไปเป็นอย่างเงี้ย คือไม่รู้จักพิจารณาแม้แต่เรื่องของการใช้ธรรมะ ไปวัดคนจะเข้าข้างกัน ชอบข้างไหนข้างนั้นทำอะไรดีหมด ไม่ชอบข้างไหนข้างนั้นทำอะไรเสียหมด ทางพระท่านไม่เอาด้วย ท่านเอาการกระทำของเขามาวัด ไม่ต้องไปวัดคน วัดการกระทำของเขา การกระทำอันนี้ เป็นของใครก็ตาม ไม่ถูกก็ไม่ถูก อ้าวนี่ก็ต้องวัดกันไปอย่างนี้ แล้วเราก็จะเห็นอะไรสว่างขึ้นมา
ละก็ลดไอ้การถือข้าง ถือฝ่ายลงไป แต่ทีนี้สำคัญฝ่ายผู้กระทำนั่นเป็นข้างเป็นฝ่ายต้องพิสูจน์ตัวเอง พิสูจน์ยังไงล่ะ อ้าวก็คุณรู้อยู่แล้ว อะไรถูกต้อง อะไรชอบธรรม เมื่อคุณบอกว่าคุณจะสร้างสรรค์สังคมที่ดี จะทำสิ่งที่ดีงาม นำสิ่งที่ดีงามมาให้แก่สังคม ทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนมันก็ต้องพิสูจน์ ตั้งแต่สิ่งที่เห็นในบัดนี้ ต้องทำเป็นตัวอย่างก่อน ต้องทำสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ถูกต้องจะโดยนิติธรรมหรือโดยศีลธรรมโดยอะไรก็แล้ว ใช่ไหมฮะ ธรรมมีหลายธรรม อย่างต่ำก็ทำนิติธรรมนี่แหละ นิติธรรมนั้น ถ้ามันไม่ชอบใจเขาก็มาตกลงกัน เลยว่าฉันจะขอฝ่าฝืนกฎหมายนี้โดยขอแก้ แต่ถ้าเป็นกฎหมายที่ยุติกันว่าเป็นธรรม แล้วก็ทุกคนจะต้องปฏิบัติ คนอื่นปฏิบัติ แต่พวกคุณมาไม่ปฏิบัติไม่ได้ อันนี้ไม่ได้ นิติธรรมนี้ก็ต้องเป็นเกณฑ์วัด ถ้าอันไหนไม่เป็นธรรม ไม่ถูกต้อง ก็ต้องทำเป็นตัวอย่างว่าคุณไม่ปฏิบัติตามธรรม แล้วถ้าหากแม้แต่ นิติธรรมข้างต้นที่ถือเป็นหลัก ก็คุณยังไม่ทำแล้วจะไว้ใจต่อไปยังไงล่ะ ใช่ไหม พอมีอำนาจขึ้น แล้วจะไปไว้ใจได้อย่างไร แม้แต่บัดนี้ก็ยังไว้ใจไม่ได้ อันนั้นก็เป็นเรื่องที่ว่า จะต้องพิสูจน์ตัวเองให้เห็น แล้วจะทำตั้งแต่บัดนี้ไม่ใช่ไปรอว่าให้สำเร็จงานของฉันก่อน แล้วฉันจึงจะทำ ถ้าบัดนี้ตั้งแต่ธรรมะในขั้นพื้นฐานนี่คุณยังไม่ทำ แล้วฉันจะไปเชื่อได้อย่างไรว่าคุณจะทำต่อไป ใช่ไหม คุณก็มีข้ออ้างได้ตลอด พอถึงตอนนั้นก็อ้างอีกแหละ ไม่ทำ เพราะฉะนั้นมันก็ต้องทำเป็นตัวอย่าง การพิสูจน์ต้องมี เนี่ยนะฮะ
ทีนี้ อย่างเราดูเนี่ย แม้แต่ดูประชาชน ดูฝักฝ่ายอะไรก็ตาม เนี่ยหลักในการดูเนี่ย ไม่ใช่คลุกดูทุกอยู่ข้างใน แล้วก็ทำให้เห็นแคบ ทางพระท่านใช้คำว่า ปญญาปาสาโท ขึ้นปราสาทแห่งปัญญาแล้วมองลงมา คำว่าปราสาทในสมัยโบราณ บาลี ท่านแปล่า เรือนชั้น ไม่ใช่ปราสาทแบบราชวังหรอก ในภาษาบาลีเนี่ย อย่างพวกคนมีเงิน เศรษฐีสมัยก่อน นี่ก็อยู่ประสาทกันเยอะแยะส่วนมาก ปราสาทแปลว่าเรือนชั้นก็คือว่า เรือนปกติมันก็อาจจะเป็นชั้นเดียว ทีนี้เรือนหลายชั้น อาจจะมีถึงเจ็ดชั้นก็เรียกว่า ปราสาท ทีนี้เรือนที่เป็นปราสาท มีลักษณะอย่างไรก็คือมันสูง พอขึ้นไปบนนั้นแล้วก็จะมองเห็นกว้าง เห็นภาพรวม ถ้าไม่ขึ้น เรือนชั้นเป็นประสาทก็ไปขึ้นภูเขาแต่ทีนี้ในเมือง มันอาจจะไม่มีภูเขา ท่านก็เลยบอกให้ขึ้นปัญญาประสาท เรือนชั้น หรือ ปราสาทแห่งปัญญา ปราสาทแห่งปัญญา ก็หมายความว่า เราขึ้นไปเหมือนกับคนไปมองในที่สูง การที่จะมองเห็นอะไรเนี่ย ถ้าจะมองภาพในเรื่องส่วนรวม ให้ไปมองแบบมองคลุมลงมา มองจากที่สูงลงมา คล้ายๆ ขึ้นไปอยู่เหนือข้างบนนั้น เหนือเหตุการณ์แล้วก็มองลงมา ถ้าเรามองคลุกอยู่ในนั้น แล้วจะมองไม่ค่อยเห็น แล้วก็จะเห็นแคบ ก็จะเห็นเฉพาะส่วน แล้วก็จะเกิดการเขว เพราะฉะนั้นพอขึ้นไปมองข้างบนปัญญาประสาท แล้วจะมองเห็นชัดเลยใครทำอะไร แม้แต่ถูกผิดก็จะวินิจฉัยได้ง่ายขึ้น ตอนนี้เราต้องขึ้นปัญญาประสาท ประชาชนก็แต่ละคนก็ควรจะใช้หลักการขึ้นบนปัญญาประสาท แล้วก็มองลงมา ดูว่าเขาทำอะไรต่ออะไรกันไป แล้วเราก็จะพ้นจากความเป็นฝักฝ่ายได้ง่าย ตอนนี้การคือข้างถืออะไรนี่เป็นตัวสำคัญที่จะทำให้เกิดปัญหา อ้าวอันนี้ก็เป็นเรื่องที่ว่าตอนนี้ประชาชนเนี่ย จะต้องเอาตัวขึ้นมาเป็นอิสระเพื่อจะมาแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ ต้องถือว่าประชาชนเป็นผู้แก้ปัญหาไม่ใช่พวกนั้น ถ้าพวกนั้นจะช่วยแก้ปัญหาก็คือ คุณต้องมาเป็นเครื่องมือที่ดีของประชาชน ใช่ไหม คุณจะเป็นเครื่องมือที่ดีก็ต้องมาพิสูจน์ตัวเอง และก็ประชาชนก็ไม่ต้องไปตามเขา ต้องเป็นผู้มีหลักการมีหลักของตัวเอง ที่นี้หลักเราก็มีอยู่แล้ว คุณไม่ใช้เอง มัวไปคลุกฝุ่น ตามเขาอยู่เนี่ยมันก็เลยแย่
ก็ดึงประชาชนออกมาสะ ทีนี้ว่ามันหลักทั่วๆไปอยู่ ในการมองว่า คนเนี่ยเวลาถือฝักถือฝ่าย แล้วก็อย่างที่ว่าที่บอกเมื่อกี้น่ะ พอฝ่ายที่ตัวชอบใจ ทำอะไรก็ดีหมด ฝ่ายที่ตัวไม่ชอบทำอะไรก็เสียหมด อะไรอย่างนี้นะฮะ อันนี้ต้องรู้เลยว่าไม่ถูก ต้องใช้การกระทำแต่ละอย่างน่ะ เป็นเครื่องวัด นอกจากนั้นก็คือ ในหลักการทั่วไปนี่ มันจะทำให้เราได้มีสติขึ้นมา พอสติมามันก็ได้หลักปัญญาก็เกิดขึ้น พอได้สติก็ยังตัวได้ ก็มองให้ถูกต้อง ปัญญามาก็มองให้ถูก มองให้ชัดเจนขึ้นมา
ทีนี้ที่ว่าคนทะเลาะกันเนี่ย คนมักจะมองว่า ฝ่ายหนึ่งดี ฝ่ายหนึ่งร้าย แล้วก็อย่างที่ว่าเมื่อกี้ ตัวชอบไหนก็ว่าฝ่ายนั้นดี ทีนี้เราเอาหลักการใหญ่ก่อนนะ เราไม่ได้ว่ากรณีนี้นะ เราว่าหลักการใหญ่ แล้วคุณพิจารณาเอง ฉันให้หลักการ ฉันไม่ได้บอกให้คุณเชื่อ อย่างพระจะพูดเนี่ย ฉันไม่ได้พูดให้คุณเชื่อนะ ฉันเอาหลักการมาให้คุณคิดด้วยตัวเอง ใช้ปัญญาคุณเองนะฉันไม่ได้พูดให้คุณเชื่อ คุณไม่ต้องมาเชื่อฉัน แต่ฉันเอาหลักมาแล้วคุณใช้ปัญญาคุณพิจารณาเอง แล้วคุณก็จะเห็นด้วยตัวเอง ไม่ชอบใจฉันก็ไม่ว่า ฉันก็เป็นอิสระของฉัน คุณก็เป็นอิสระของคุณ ทีนี้ไอ้เรื่องที่ว่า คนทะเลาะกันมักมีว่าเราเป็นมองว่า คนดีกับคนร้ายทะเลาะกันเหมือนจะเป็นอย่างนั้น แต่ที่จริงไอ้ที่ทะเลาะกันมันมีได้ทั้งนั้น มันมีว่าคนดีกับคนดีทะเลาะกันก็มี คนดีกับคนร้ายทะเลาะกันก็มี คนร้ายกับคนร้ายคนทะเลาะกันก็มี จริงไม่จริง ตอนนี้เราจะได้หลักเพิ่มขึ้นอีกอัน จริงไม่จริงฉันก็ไม่ได้ว่านี่ ไม่ได้บอกว่าที่เขาทะเลาะกันนี่เป็นแบบไหน แต่คุณไปคิดเอาเอง แล้วคุณก็ต้องใช้หลักการไปตรวจสอบเอาสิ ไอ้กรณีนี้เราไม่ได้วินิจฉัย เป็นแบบไหน เป็นคนดีกับคนดีทะเลาะกัน หรือคนดีกับคนร้ายทะเลาะกัน หรือคนร้ายกับคนร้ายทะเลาะกัน แต่มันจะเป็นคนดีคนดีทะเลาะ คนดีคนร้ายทะเลาะ คนร้ายคนร้ายทะเลาะกัน ก็แล้วแต่ อย่าให้เสียกับประชาชนกับประเทศชาติก็แล้วกัน
ก็แม้แต่กรณีที่คนร้ายกับคนร้ายทะเลาะกัน โจรกับโจรทะเลาะกันเนี่ยมันกลับเป็นผลดีแก่เรา ถูกไหมถูก ถ้าเราทำเป็นนะ จริงไหม อ้าวโจรกับโจร ทะเลาะกันถ้าเรารู้จักเอาประโยชน์ มันก็ได้ประโยชน์แก่เราสิ แต่ทีนี้เราไม่เป็นไปเข้าข้างโจรสะนี่ มันก็เลยเสร็จเลย โจรฝ่ายโน้นกับโจรฝ่ายนี้ อันนี้ฉันไม่ได้ว่านะ ว่าตอนนี้โจรกับโจรทะเลาะ ว่าฉันไม่ได้บอกอะไรทั้งนั้น มันก็อาจจะเป็นคนดีคนดีทะเลาะกันก็ได้ใช่ไหม ตอนนี้คนดีคนดีทะเลาะกัน ก็ไม่ว่า ถ้าคนดีคนดีทะเลากัน คุณก็พิสูจน์ตัวเองสิ เรื่องอะไรฉันไม่ได้ว่าคุณนี่ หลักการพิสูจน์ก็มีอยู่แล้ว คุณพิสูจน์ตัวเองว่าเป็นคนดี อะไอ้ฝ่ายนั้น ก็พิสูจน์ตัวเองได้คนดี อ้าวคนดีคนดีทะเลาะ เอ่อดีไม่ว่าอะไร ฉันจะช่วยประนีประนอม หรือไกล่เกลี่ย ใช่ไหม แต่ว่าประชาชนนี่อย่าไปตกเป็นเบี้ยล่าง ของพวกฝ่ายเหล่านี้ ต้องอยู่ข้างบนอยู่เหนือเขา เอาละะครับ นี่ก็หลักหนึ่ง ที่ว่าเราต้องดูว่าไอ้เนี่ยเป็นกรณีไหน คนดีกับคนดีทะเลาะกัน หรือคนดีกับคนร้ายทะเลาะกัน หรือคนร้ายกับคนร้ายทะเลาะกัน แต่จะเป็นพวกไหนทะเลาะกันก็แล้วเนี่ย แต่ประชาชนประเทศชาติต้องเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ ประชาชนต้องไปคิดถ้าฉลาด ว่าทำไงจะเอาประโยชน์จากสถานการณ์ที่เขาทะเลาะกันให้ได้ ที่เขาเป็นฝักเป็นฝ่าย แล้วก็จุดหมายรวมเรายังอยู่เนี่ยนะ เรายังเป็นพวกเดียวกัน เพราะจุดหมายเราก็ยังร่วมกันอยู่ว่า ถึงยังไงเราก็รักประเทศชาติ ใช่ไหม ต้องการประโยชน์ของประชาชนของส่วนรวมอยู่ดี เรายังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่เรื่องอะไร เราจะไปทะเลาะกันเป็นฝ่าย ด้วย ไม่เข้าเรื่อง
อ้าวตั้งตัวให้ดี นี่ก็แง่หนึ่ง แล้วก็อะไรอีกล่ะ ผมก็ตอนนี้ก็นึกได้เป็นแง่ๆ เดี๋ยวพูดไปค่อยนึกออก มันมีแง่เยอะแยะไปหมดที่จะมอง ซึ่งเราเนี่ยเป็นเพียงนำเสนอ หลักการทั่วไป ข้อพิจารณาให้คุณโดยคุณไม่ต้องมาเชื่อฉัน แต่คุณต้องใช้ปัญญาคุณเองนะ เอาไอ้ข้อพิจารณาเหล่านี้ไปคิดเอง เป็นแต่เพียงว่า คุณไม่ได้นึก ประชาชนก็ตามหรือแม้แต่ผู้ที่ฝ่ายเหล่านั้น ไม่ได้นึกถึงเรื่องเหล่านี้ เราก็เอาข้อพิจารณาเหล่านี้ไป มอบให้ หรือเสนอให้ ให้เขาเอาไปคิดเอง เราไม่ได้คิดให้ด้วย แล้วเราก็ไม่ได้ว่ายังไงทั้งนั้น อ้าว นิมนต์ ครับ เออดี ถามสะบ้าง เดี๋ยวเผื่อจะได้นึกไอ้สิ่งที่มันหายๆ ไป
เอ่อ ท่านพอจะมีวิธีการแนะนำแนวทาง หาประโยชน์จากการที่คนทะเลาะกันไหมครับ เป็นขั้นตอน
ก็เนี่ยถ้าเราตั้งท่าทีถูกต้อง ประชาชนก็ขึ้นมาอยู่เหนือแล้ว วางท่าทีตั้งแต่ขึ้นปัญญาประสาทเป็นต้นไป แล้วก็ขั้นตอนก็คือนี่แหละ เราก็มองดูให้ถูกต้อง วางท่าทีถูกต้อง แล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณา และก็หาทางเอาประโยชน์จากสถานการณ์นี้ ถ้าให้ดีนะะประชาชนต้องบีบเจ้าสองพวกนี้ให้มันมาพูดกันให้ได้ อ่ะ ขออภัยใช้คำ มัน ก็ไม่ได้ ควรจะใช้ว่า ท่าน ต้องให้วิธีการที่จะบีบให้ท่านทั้งสองฝ่ายเนี่ย มาพูดกัน ก็หลักการของประชาธิปไตย หรือไม่ว่ามนุษย์ยุคไหนที่มันดี คือมนุษย์นี่มันมีดี ขออภัย ดีกว่าสัตว์ทั้งหลาย มีมือ มีปากด้วย ใช่ไหม มือมันก็มี หนึ่งมีสมองดีใช่ไหมฮะ สัตว์ทั้งหลายไม่มีแต่ถึงอย่างไรสมองสัตว์อื่นมันก็มี แต่มันมีแพ้เรา แต่ที่มันแพ้เรามากก็คือ มือ หนึ่งละนะฮะ ใช่ไหม มืออาจจะมีอย่างลิงก็ใช้ประโยชน์ได้ไม่เท่าคน ก็เรียกว่ามือนี่เป็นอวัยวะพิเศษอันหนึ่ง เอาละมีสมองพิเศษ แล้วก็มีเครื่องมือที่สำคัญก็คือ มือ แล้วอีกอันก็คือ ปาก เพราะว่าปาก ปากมนุษย์ไม่ใช่กินข้าวอย่างเดียว ใช้พูดได้ด้วย แล้วก็มนุษย์มีความสามารถพิเศษ สื่อสารโดยภาษา ใช่ไหม มนุษย์นี่มีมือกับปากนี่เป็นเครื่องมือที่สำคัญมาก ทีนี้มือเนี่ยมันก็เป็นส่วนของเราแล้ว ไอ้มือเนี่ยนะ เราจะทำยังไงก็ทำไป แต่ปากนี่มันมีพิเศษอันหนึ่งคือ มันสื่อสารกันได้ ระหว่างสองคนขึ้นไป ฉะนั้นตอนนี้เราต้องการการสื่อสารมนุษย์มีเครื่องมือพิเศษ ก็คือปาก ที่ใช้ภาษาสื่อสาร และก็ใช้ความพิเศษของมนุษย์เนี้ย มาเป็นเครื่องแก้ไขปัญหา ใช้ปากเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหา ไม่ใช่ไปใช้มือทันที มือต้องว่าอีกขั้นหนึ่ง มือก็เป็นเครื่องรับใช้ในแค่เช่นว่า วาจามันตกลง สื่อสารกันว่าไง แม้แต่ในพวกเดียวกันก็ยังต้องพูดจาว่าจะทำอย่างงั้น ทำอย่างงี้ มือก็เป็นเครื่องมือรับใช้อีกขึ้นหนึ่ง แต่วาจานี่เป็นเครื่องมือของปัญญาชั้นสูง ไอ้มือนี่ไปรับใช้ปัญญาที่คล้ายๆ ว่าตกลงแล้ว แต่ว่าวาจานี้มันเป็นเครื่องมือในการพัฒนาปัญญาเลยนะ ใช่ไหม เวลาเราสื่อสารเราใช้วาจาถาม เขาก็ได้เพื่อจะได้รู้ ข้อมูลที่เรายังไม่รู้ เราบอกเขาเขาก็ได้ความรู้ หรือมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน มาเจรจากัน เกิดความเข้าใจกัน โอ้ ไอ้วาจาเนี่ยเป็นเครื่องมือพิเศษของมนุษย์ เพราะฉะนั้นเวลานี้ประชาธิปไตยพัฒนาขึ้นมาก็ต้องเอาวาจานี่เป็นเครื่องมือ เจรจาระดับต่างๆจนถึงระดับชาติ ในโลกนานาชาติ ก็ต้องใช้เจรจา สหประชาชาตินี่ก็เป็นเวลาเจรจานั่นแหละ จุดสำคัญเลย ใช่ไหม
สหประชาชาติ นี่ไอ้เวทีเจรจานั่นแหละ ไอ้ส่วนอื่นมันเป็นเครื่องประกอบ เพราะฉะนั้นมนุษย์จะอยู่ด้วยกันได้ดีเนี่ย ต้องสื่อสารกัน พระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสห้ามไงล่ะ เคยเล่าให้ฟังแล้วมั้ง ที่ว่ามีพระไปจำพรรษา แล้วก็มีกลุ่มหนึ่ง แหมอยากจะเคร่งครัด พรรษานี้ เราเข้าพรรษากันแล้วนี่ เราจะต้องปฏิบัติให้เต็มที่ ก็เลยตั้งกติกากัน บอกว่าพรรษานี้นะ เราไม่พูดกันละ ตั้งใจปฏิบัติอย่างเดียว พอพูดกันเดี๋ยวมันจะวอกแวกออกไปอื่น ทีนี้ปฏิบัติจนตลอดพรรษา ออกพรรษาแล้วก็มาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามสุขทุกข์ อะไรต่างๆแล้วเป็นไง อยู่จำพรรษากันดีไหม แหมพระชุดนี้ดีใจเราจะได้อวดเต็มที่แล้ว แหมบอกพรรษาที่แล้วนี่ พวกเกล้ากระหม่อมนี่ ปฏิบัติเคร่งครัดมากถึงจะตั้งกติกากันเลยว่าไม่พูดกัน ปฏิบัติอย่างเดียว แทนที่พระพุทธเจ้าจะทรงชม พระพุทธเจ้าบอกว่า เธอทำไมไฉนจึงอยู่อย่างปศุสัตว์ เอาหนักเลยนะ บอกว่าปศุสัตว์มันอยู่มันไม่พูดกันหรอก แต่มนุษย์อยู่นี่ต้องพูดกัน แล้วก็เลยทรงบัญญัติสิกขาบทเลยนะ ถึงกับเป็นวินัย ห้ามไม่ให้ภิกษุ ไม่ได้ใช้คำว่า ห้าม คือพระพุทธเจ้า จะไม่ใช้คำว่า ห้าม ภิกษุไม่พึงถือ ??? มูควัตร มูควต แปลว่า ข้อปฏิบัติของคนใบ้ คนใบ้ไม่พูดกัน ถ้าภิกษุใดถือ มูควัตร ให้ปรับอาบัติทุกคน
เนี่ย ภิกษุในศาสนาถือ มูควัตรอยู่ โดยไม่พูดกันไม่ได้ อยู่เป็นหมู่คณะก็ต้องพูดกันแต่รู้จักฝึก ฝึกวาจาว่าจะพูดแค่ไหนพอดี พูดให้พอดี แล้วฝึกว่าจะพูด ใช้วาจาให้เป็นประโยชน์อย่างไร นี้ก็เป็นเวทีฝึก ประชาธิปไตยก็เหมือนกัน ประชาธิปไตยก็เป็นระบบชีวิตของคนที่อยู่กันเป็นหมู่คณะ ใช่ไหม อยู่เป็นส่วนรวมประชาชนเป็นใหญ่ ประชาชนส่วนใหญ่ก็ต้องยิ่งสื่อสาร ยิ่งต้องพูดจากัน ประชาธิปไตยจะสำเร็จด้วยวาจานี่แหละ เพราะฉะนั้นก็เอาวาจามาพูดกัน ว่าเรามีความคิดอย่างไร จะแก้ไขปัญหายังไง ใครไม่เจรจามันก็เป็น พวกถือ มูควัตร แล้ว ก็เข้าหลักที่พระพุทธเจ้า ตรัส ติเตียนน่ะ ใช้ไม่ได้ ฉะนั้น การแก้ปัญหาในหมู่มนุษย์นี่ต้องเจรจา ก็ใช้วาจาให้เป็นประโยชน์ เอานี่แง่หนึ่ง นิมนต์ครับ
จะถามว่า ที่ การศึกษาของประเทศไทย ตอนนี้ ตกต่ำ มากกว่าเดิมเนี่ย เพราะอะไรครับ
คือการศึกษามีหลายแง่ หลายมุมน่ะ การศึกษาที่ผ่านมาเนี่ยในสังคมไทยในระยะที่เริ่มรับการศึกษาแบบตะวันตก ก็ตั้งแต่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทีนี้ตอนแรกเนี่ย ในหลวงรัชกาลที่5 พยายามให้อิงกับวัด เพื่อจะให้ได้ในเรื่องของทางจิตใจด้วย พระองค์ก็ตรัสไว้ว่าให้เอาวัดนี่แหละเป็นที่เรียน แล้วก็เอาพระสอน โดยเฉพาะตอนแรกในชนบทจะเน้นที่นี่ แล้วพระองค์ก็เน้นเรื่องศีลธรรม บอกว่าเนี่ยให้ดี ระวังนะ พวกนี้ถ้าหากว่า ตอนที่ยังไม่ได้เรียนเนี่ย อยากจะโกงแต่โกงไม่เป็น พออยากจะโกง พอเรียนได้สูงยิ่งโกงเก่งใหญ่ ว่างั้น เอ้าจริงของท่านไหม เพราะฉะนั้นต้องระวัง ต้องให้คนที่จะเรียนเนี่ย ไม่เป็นคนโกง มิเช่นนั้นการศึกษาจะทำให้คนที่โกง ยิ่งโกงได้ดีขึ้น ทีนี้มันก็เข้าแนวปัจจุบันเลยใช่ไหม คนที่จิตใจไม่ดีเนี่ย เป็นคนโกงอยู่แล้ว ก็ยิ่งโกงได้เก่งใหญ่ ทีนี้การศึกษาที่แล้วมาเนี่ย มันจุดมุ่งหมายอย่างไรก็ตาม เราไม่ได้ตัวสาระปรัชญาตะวันตกมานะ แม้แต่ในทางการศึกษา เราเอาระบบการศึกษาตะวันตกมา แล้วเราก็ลืมระบบการศึกษาไทย เรียกได้ว่าล้มน่ะ เราเอาระบบการศึกษาตะวันตกมาแต่เราเอาระบบรูปแบบมา ปรัชญาการศึกษาได้มานิดหน่อยแทบจะไม่ติดมาเลย ทีนี้การพัฒนามนุษย์มันไม่ค่อยมี แต่ว่ามันกลายเป็นว่าเอาการศึกษาเนี่ยมาเป็นเครื่องมือที่จะ ก้าวไปสู่สถานะในสังคม
อย่างที่ท่านอาจารย์เอกวิทย์ ท่านเรียกว่า บันไดดารา เป็นบันไดดาราก็หมายความว่า ใช้ไต่ขึ้นไปสู่ที่สูง การศึกษาในสังคมไทยในยุคที่รับการศึกษาตะวันตกมาก็เลยเป็นแบบนี้มาตลอด เป็นบันไดดาราหรือเป็นเครื่องมือไต่ขึ้นสู่สถานะที่สูงในสังคม ในระยะช่วงแรกที่สุดเนี่ย เราจะมุ่งไปที่ความเป็นใหญ่ เพราะยุคนั้นมันติดต่อ กับยุคที่ ความเป็นใหญ่ในพวกขุนนาง อะไรพวกนี้ เพราะฉะนั้นการศึกษาก็มาสนองค่านิยมนี้ ก็เลยเป็นการศึกษาเพื่อเป็นข้าราชการ ยุคแรกของการศึกษาไทยเนี่ย เรียนเพื่อเป็นข้าราชการ แล้วชาวบ้านจะพูดว่าจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ถูกไหม
การศึกษาไทยในยุคแรกเนี่ย เพื่อเป็นข้าราชการในความหมายที่ว่า จะได้เป็นใหญ่เป็นโตเป็นเจ้าคนนายคน เวลาเด็กไปหาผู้ใหญ่ขอรับพร เวลาไปเรียนหนังสือ ผู้ใหญ่ก็จะให้พรอย่างนั้นจริงๆ ขอให้เธอได้เป็นใหญ่เป็นโตเป็นเจ้าคนนายคน จนกระทั่งค่านิยมมาเปลี่ยนในเมื่อสักสิบกว่าปีมาเนี่ย ที่ธุรกิจฟุ้งเฟื่องขึ้นมา เข้าสู่ยุคของธุรกิจ ตอนนี้เป็นยุคของธุรกิจ เรื่องของกิจการค้าขาย ผลประโยชน์ของเอกชนนี่ ชักจะเฟื่องฟู ความนิยม ที่จะเรียนเพื่อเป็นข้าราชการก็ลดลงไปเลย ก็เปลี่ยนมา ตอนนี้วิชาบริหารธุรกิจ แหมเฟื่องเหลือเกินนะ ในระยะที่ เนี่ยสิบปีที่ผ่านมาเนี่ย ใช่ไหม จะเรียนอะไร บริหารธุรกิจ อันนี้ก็เป็นยุคของธุรกิจเฟื่องฟุ้ง แต่ว่ารวมแล้วก็คือ การศึกษาของไทยเ นี่ยเพื่อเป็น เครื่องมือไปสู่การได้ลาภ ได้ยศ หนึ่งยศในยุคแรก เป็นใหญ่เป็นโต สอง ลาภ ได้ผลประโยชน์ จะได้รวย พอจะเรียนก็นึก โอ้ เราเรียนแล้วต่อไปเราสำเร็จ จะได้มีรถยนต์อย่างนั้นนั่ง จะได้สร้างอะไร นึกถึงประโยชน์ส่วนตัวทั้งนั้น ว่าเราจะได้มีอะไรๆ ถูกไหม นี่คือการศึกษาของไทย ทีนี้ประเทศชาติต้องการพัฒนา ต่อมาก็อยากจะมีอุตสาหกรรม อยากจะเป็นประเทศพัฒนากับเขาบ้าง เราถูกเรียกตอนแรกเข้ายุคพัฒนาเมื่อปี 2503 เคยบอกแล้วว่าเป็น The First Decade of World Development เป็นทศวรรษแรกแห่งการพัฒนาของโลก 1960 ไทยก็เริ่มยุคพัฒนากับสหประชาชาติด้วยนะฮะ
ทีนี้พอเริ่มยุคแรกของการพัฒนา ความหมายเค้าให้ตอนนั้นน่ะ ความหมายของประเทศที่พัฒนา พูดได้สองแบบ จะเรียกว่า Developed Country ก็ได้ เรียกว่า Industrialized Country ก็ได้ ถ้าจะบอกว่า Developed Country ก็คือ Industrialized Country ประเทศที่พัฒนา คือประเทศที่ได้เป็นอุตสาหกรรมแล้ว ทีนี้ประเทศไทยเรานี่ ตอนแรก ถูกเรียกว่า ประเทศด้อยพัฒนา Underdeveloped เรียก Underdeveloped เลยนะ ตอนแรก ทวนเมื่อกี้นิดหน่อย บอกว่าเราเข้ายุคพัฒนาเมื่อปี 1960 หรือ พ.ศ. 2503 อันนั้นเป็นทศวรรษโลกแห่งการพัฒนา ของสหประชาชาติและไทยเราก็เข้าตอนนี้น พอดีเข้ายุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ก็ตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท กรมการพัฒนาชุมชน แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ เกิดขึ้นตอนนี้หมดคือแผนแรกนี่เรียก แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พอแผนสองนี่ โอ้ไม่ได้แล้วพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเดียว สังคมแย่แน่ ก็เลยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เติมสังคมเข้าไป ตัดคำว่าการออกนะ ทีนี้รายละเอียดปลีกย่อยเนี่ย แผนพัฒนาการเศรษฐกิจ ตอนที่สองนี่ การตัดออกเหลือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คำว่า ศีลธรรม จริยธรรม อะไรเนี่ยไปดูได้จากแผน พัฒนาเหล่านี้ได้หมด ว่าไอ้คำไหนมันเข้ามาตอนไหน ไอ้คำไหนมันตกอันดับไป อะไรต่ออะไรเนี่ย ไปดูแผนเหล่านี้ท่านจะเห็น ความคลี่คลายของประเทศไทย
เอ้าทีนี้กลับมาที่ว่า เมื่อกี้ ทีนี้ว่าประเทศไทยเราก็เป็น Underdeveloped Country ต่อมาก็รู้สึกไม่เป็นการสุภาพแก่ประเทศเหล่านี้ ก็เปลี่ยน Underdeveloped Country ประเทศด้อยพัฒนา เป็น Developing Country ประเทศที่กำลังพัฒนา เดี๋ยวนี้ก็เลิกใช้คำว่า Underdeveloped Country ซึ่งหมายถึง Backward Country ประเทศที่ล้าหลัง เอานะก็เป็นอันว่า เราไปมุ่งที่ว่าประเทศเจริญพัฒนา มุ่งที่พัฒนาเศรษฐกิจ เป้าหมายตอนนั้นก็มุ่งไปที่จะพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการมีอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้นก็ค่อนข้างละทิ้งภาคชนบท ก็ภาคของเกษตร ทั้งๆ ที่สำคัญมากเลย ของไทยเราเนี่ย ทีนี้ใจเรามุ่งไปๆ มองอุตสาหกรรมเป็นตัวที่จะสร้างสรรค์ พัฒนาเศรษฐกิจ ให้เศรษฐกิจนี่เจริญงอกงาม เศรษฐกิจก็เป็นเป้าหมาย เพราะฉะนั้นก็จะต้องให้พัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญรุ่งเรือง โดยระบบการอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ
ต่อมาก็มีคำเกิดขึ้นเรียกว่า Human Resource มองคนเป็นทรัพยากร คือเรามีทรัพยากรในการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ รวมทั้งต่อมาพัฒนาสังคมนี้ด้วย ก็มี Resource ต่างๆ ไอ้ Resource หนึ่งที่สำคัญ ก็คือมนุษย์ ก็มองมนุษย์ในฐานะที่ลืมไปเลย ตอนนั้นลืมจริงๆ มองมนุษย์เนี่ยเป็นทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรมนุษย์ก็คือเป็นตัวเครื่องมือ หรือเป็นทุนชนิดหนึ่ง เป็น Human Capital เป็นทุนมนุษย์ที่จะมาใช้พัฒนาอุตสาหกรรม มนุษย์ในแค่นี้ เป็นทุนและเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรม ความเป็นมนุษย์เนี่ยเค้าลืมนึกไปเลย ต่อมา จึงนึกได้ โอ้นี่เราลืมความเป็นมนุษย์ มนุษย์นี่ไม่ใช่เป็นเพียงทรัพยากรที่มาใช้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แต่มันมีความเป็นมนุษย์ มีชีวิตจิตใจ มีคุณความดีมีคุณค่าอะไรต่างๆ อีก จึงมาเตือนกันทีหลัง ผมก็พูดเรื่องหนึ่ง พิมพ์เป็นเรื่องเรียกว่า การศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิตหรือการศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิต หรือการศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตหรือการศึกษาเพิ่มผลผลิต ทีนี้มองมนุษย์เป็นทรัพยากรนี่ก็คือการศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิต เราก็ลืมว่า ไอ้ความเป็นบัณฑิตน่ะมันคนละอย่างกับการเป็นเพียงทรัพยากร เค้ามองความบัณฑิตก็คือการไปเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ได้ผลมีปัญญา ปัญญาก็เป็นเพียงปัญญาที่ไปรับใช้ระบบอุตสาหกรรม ทุนนิยมหรืออะไรก็แล้วแต่ แม้แต่อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ก็เป็นแบบเดียวกันอีก ก็เป็นอุดมการณ์วัตถุนิยมแบบเดียวกันกับทุนนิยมเหมือนกัน พวกนั้นเข้าเทือกเดียวกันไปหมดเลย เราก็เลยต้องมาเตือนว่า ไม่ได้นะความเป็นมนุษย์นี่อีกอัน และไอ้การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมน่ะ มันต้องมาสนองความเป็นมนุษย์ต่างหาก ไม่ใช่เอาความเป็นมนุษย์ไปเป็นเครื่องมือของพวกอุตสาหกรรม เป็นต้น
มันกลับหัวเป็นหาง หางเป็นหัว กลับทิศกลับทางหมด นี่ละครับ การศึกษาที่ผ่านมาก็เลยกลาย เป็นยุคที่เอามนุษย์เป็นทรัพยากร เพื่อไปเป็นทุนในการพัฒนาอุตสาหกรรม ระบบเศรษฐกิจ พอจะเห็นไหมฮะ
ทีนี้ ตอนนี้ ก็เลยกลายเป็นว่า แม้สังคมจะมีความสำนึกบ้าง แต่มันแก้ปัญหาได้ยากเพราะว่ามันเป็นกระแสใหญ่ ที่มันดำเนินไปแล้วเนี่ย มันก็เลยกลายเป็นว่าต้องแก้ปัญหาระยะยาว แล้วถ้าลืม ก็ปล่อยตัวไปอีกในกระแสนี้ เหมือนอย่างกระแสโลกที่ว่า สำนึกแล้วในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เค้าสำนึกว่าจะต้องแก้ปัญหาธรรมชาติ ก็ต้องให้มนุษย์เนี่ย ยับยั้งชั่งใจตัวเอง ไม่ไปเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างล้างผลาญ และก็ไม่สร้างมลภาวะมากเกินไป แต่ในทางปฏิบัติเขาทำไม่ได้ คือในกระแสปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นกระแสของโลกที่พัฒนาแบบที่ว่าทำให้เกิดการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ที่ว่าไปล้างผลาญทรัพยากรธรรมชาติ และก็ก่อมลภาวะ ถูกไหมฮะ กี่ปีๆ ยี่สิบปีที่หนึ่งผ่านไป ยี่สิบปีที่สองผ่านไป เอ้อ Summit อะไรเกิดขึ้นมาก็ มีแต่เสื่อม เนี่ยเมืองไทยเนี่ย
ก็เหมือนกับโลกที่ยังแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ได้ ทั้งๆ ที่ว่าสำนึกปัญหาแล้ว พอจะรู้วิธีแก้ก็แก้ไม่ได้ เมืองไทยเราก็พอจะเห็นบ้าง แต่เราก็อยู่ในกระแสของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบระบบเศรษฐกิจเป็นใหญ่นี่แหละครับ ยิ่งระบบธุรกิจเป็นใหญ่ เข้ามาด้วย ยิ่งไปกันใหญ่เลย ตอนนี้คนก็มีค่านิยมในทางเสพบริโภค เป็นบริโภคนิยมเข้าไปอีก มันก็ไปสนองระบบทุนนิยม ที่เห็นแก่ตัว ที่หาผลประโยชน์เข้าไปอีก เพราะฉะนั้นการศึกษามันก็กลายเป็นเครื่องมือเพื่อจะมาสนองของระบบเศรษฐกิจและสังคมแบบนี้ รวมความก็คือการศึกษาได้กลายเป็นเครื่องมือเพื่อสนองความต้องการของระบบเศรษฐกิจและสังคมแบบปัจจุบัน ก็เลยไม่ใช่การศึกษาที่แท้จริง เพราะการศึกษาที่แท้จริงมันไม่ใช่การศึกษาที่มาสนองระบบเศรษฐกิจและสังคม แต่มันสนองความต้องการที่แท้จริงของความเป็นมนุษย์ ว่าทำไงจะสร้างมนุษย์ที่ดี ถูกไหม เพราะฉะนั้นตอนนี้เรายังแก้ไม่ตกนะครับ ตอนเนี้ย การศึกษานี่เป็นปัญหา