แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
(01:15)เราเรียนอะไรต้องชัด ถ้าไม่ชัดไม่เป็นปัญญา : สุขภาวะ vs สุขภาพ
เจริญสวัสดิ์คณะผู้จัด และคณะท่าน(01:19)ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน วันนี้ คณะกรรมการการ(01:23)การประชุมวิชาการ 120 ปีศิริราช ได้กำหนดให้พูดเรื่อง ฟื้นฟูสุขภาวะยามสังคมวิกฤต ชื่อเรื่องนี้ฟังแล้วก็หนักหน่อย ก็อยากจะเข้าเรื่องโดยตรงทันทีเลย ไม่ต้องล่าช้า เริ่มด้วยชื่อเรื่องเอง มีคำว่าสุขภาวะ คำว่า “สุขภาวะ” นี้เป็นคำที่ค่อนข้างใหม่ คิดว่าเพิ่งจะเกิดขึ้นในระยะสองสามสี่ห้าปีนี้แหละ และก็ยังเป็นที่สงสัยว่าคนจะเข้าใจความหมายชัดเจนกันดีกันชัดเจน(02:08)พอหรือยัง ก็เลยถือโอกาสทักนิดหน่อยว่าเรื่อง ถ้อยคำที่ใช้พูดกันก็(02:18)เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกัน จะต้องมีความชัดเจน เพราะเป็นเรื่องความเข้มแข็งทางปัญญา คือ ถ้าเรามีคำพูดใหม่ ๆแล้วบางทีพูดกันเพียงโก้โก้ ไม่มีความชัดเจนในความหมายก็จะต้องเรียกว่าเป็นความอ่อนแอทางปัญญา เพราะเมื่อถ้อยคำที่สื่อสารไม่ชัดเจน ต่อไปจะพูดถึงเรื่องอะไรความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ก็ไม่ชัดไปหมดเลย ต้องระวังมาก เวลานี้ ในสังคมไทยมีถ้อยคำใหม่ ๆ เกิดขึ้นเรื่อย ๆ และบางทีก็พูดกันไปอย่างที่ว่า(02:59)โก้โก้ แต่ความหมายนั้นคลุมเครือ สำหรับคำว่าสุขภาวะนี้ก็เป็นคำสำคัญ ผู้พูดเองก็ไม่รับประกันตัวว่าเข้าใจชัดดีพอไหม? แต่ว่าเอาเป็นเครื่องเตือนสติว่าให้(03:15)ไม่ประมาท ว่าต้องพยายามทำความเข้าใจให้ชัดเจน สิ่งต่าง ๆจะต้องมีความชัดเจน (03:23)เวลาเราเรียนเราศึกษาอะไรต้องชัด ต้องถามตัวเองว่าที่รู้เข้าใจเรื่องนี้ชัดไหม? ถ้าไม่ชัดไม่เป็นปัญญา ถ้าเป็นปัญญาต้องชัด รู้ชัด ตัวศัพท์มันบอกละ ปัญญารู้ทั่วชัด ทีนี้ชัดมันก็มีหลายระดับ แต่อย่างน้อยต้องชัดในระดับการสื่อสารเอาไว้ก่อน ระดับนี้เป็นขั้นต้นเลย ถ้าสื่อสารไม่ชัดต่อไปไม่ชัดหมด ถ้าเริ่มสื่อสารชัดก็จะก้าวไปเอง ค่อย ๆก้าวไปสู่ความชัดเจนในระดับที่ลึกลงไป ทีนี้เรามีคำว่าสุขภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้ เราก็มาใช้คู่กับคำเก่าที่ใช้มาก่อน คือ คำว่าสุขภาพ หรือบางทีแทบจะแทนที่คำว่าสุขภาพไปเลย คำว่าสุขภาพนี้ คนทั่วไปเข้าใจและใช้กันมานานก็มีความหมายที่อยู่ในขอบเขตจำกัด หมายถึงด้านร่างกาย คือ ความไม่มีโรคมีภัย ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยทางกาย และก็ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงเราก็เรียกว่ามีสุขภาพดี ทีนี้ตอนนี้เราก็มองเห็นกันว่า เรื่องสุขภาพที่เป็นเรื่องทางกายอย่างเดียวไม่พอหรอก เวลาดูคนสุขภาพทางกายก็ต้องโยงไปหาสภาพที่ดีที่สมบูรณ์ทางด้านอื่นด้วย เริ่มตั้งแต่ทางจิตใจเป็นต้นไป ออกไปทางสังคม ทางสิ่งแวดล้อม อะไรก็แล้วแต่ ต้องมองกว้างออกไปเราก็เห็นว่าศัพท์ว่าสุขภาพนี้ไม่พอ ก็ใช้คำว่าสุขภาวะ เกิดมีคำนี้ขึ้นมา ทีนี้คำว่าสุขภาวะก็เป็นคำใหม่แต่ว่าที่จริงแล้วคำว่าสุขภาวะนี้เป็นคำที่เก่าที่สุด ก็หมายความว่า คำว่าสุขภาพที่จริงเป็นคำใหม่กว่า คำว่าสุขภาพเป็นคำใหม่เกิดขึ้นในภาษาไทย แล้วเราก็นำมาจากภาษาบาลีที่มีคำเดิมคำ(5:36)ว่า สุขภาวะนี้เอง สุขภาวะนี้เป็นคำเดิมในภาษาบาลี แล้วเรามาใช้ในภาษาไทย แล้วก็แผลง ว เป็น ภ เหมือนกับที่เราชอบแผลงตัวอื่น ๆ ก็สุขภาวะซึ่งที่จริงเป็นคำเดิมคำแท้นั่นแหละก็กลายเป็นคำว่าสุขภาพไป ตอนนี้เรากำลังจะกลับไปหาคำเก่าที่แท้ดั้งเดิมคือคำว่าสุขภาวะอีกครั้งหนึ่ง แต่ว่าสุขภาวะในทีนี้เราก็อาจจะต้องให้คำจำกัดความของเราเอง เพราะความหมายที่เราใช้อาจจะไม่ตรงกันทีเดียวกับความหมายเดิมในภาษาบาลีของพระ (06:13)คำว่า สุขภาวะ ในภาษาบาลีเดิมก็แปลง่าย ๆก็ “ภาวะแห่งความสุข”หรือ “ความเป็นสุข”นั่นเอง สุขะ ก็เป็นสุข ภาวะ ก็ความเป็น ภาวะแห่งความสุข หรือภาวะแห่งความเป็นสุข ก็คือ สุขภาวะ แต่ว่าท่านก็อธิบายกันไปต่าง ๆ เช่นบอกว่าแยกเป็น กายิกสุข สุขทางกาย และ เจตสิกสุข สุขทางใจ ทั้งสองอย่างต้องพร้อมบริบูรณ์ อย่างนี้เป็นต้น ถ้าอย่างนี้ก็ชักจะเข้ากับทางภาษาไทยเรา แต่ในที่นี้เราจะไม่ลึกลงไปถึงภาษาบาลีเพราะว่าเดี๋ยวจะกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งไป ก็รวมความเป็นอันว่าตอนนี้เรามีคำว่าสุขภาวะคำเดิมที่เรานำมาใช้ในภาษาไทย เป็นคำทางวิชาการไปแล้ว
(06:58)แม้แต่ในระหว่างที่ยังเจ็บไข้ได้ป่วยนั้น ก็ต้องดูหลายๆด้าน ด้วย ไม่ใช่ดูเฉพาะสุขภาพทางร่างกาย แต่ต้องดูทางด้านสภาพจิตใจ ทางอารมณ์เป็นต้น
(06:58)ทีนี้สุขภาวะก็เป็นเรื่องใหญ่ แต่ว่าเวลามองเนี่ยเราก็มักจะมองเริ่มไปที่คนเจ็บไข้ได้ป่วยทางกายก่อนนั่นละ พอดูจะเหมือนว่าคำว่าสุขภาวะเราก็มาเริ่มกันที่วงการของเรื่องทางการแพทย์ และเรื่องของการสาธารณสุข คือ มองที่คนไข้ คนเจ็บ คนป่วย แล้วก็อย่างที่บอกเมื่อกี้ว่า ดูว่าคนที่ร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย แม้จะรักษาโรคภัยไข้เจ็บหาย สุขภาพก็อาจจะดี แต่สุขภาวะ สุขภาพหรือความเป็นสุขทางด้านอื่นก็อาจจะไม่มีหรือขาดแคลน ก็เลยต้องให้มีคำที่มีความหมายกว้าง แล้วก็ได้คำว่าสุขภาวะขึ้นมา (07:43)แม้แต่ในระหว่างที่ยังเจ็บไข้ได้ป่วยนั้น ก็ต้องดูหลายๆด้าน ด้วย ไม่ใช่ดูเฉพาะสุขภาพทางร่างกาย แต่ต้องดูทางด้านสภาพจิตใจ ทางอารมณ์เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่กว้างขวางออกไป ทีนี้มาดูเรื่องคนไข้ คนไข้ที่ว่าสุขภาพร่างกายเขาไม่ดี ก็คือ เจ็บไข้ได้ป่วยถูกโรค ทางพระเรียกว่า อาพาธเบียดเบียน เมื่อถูกอาพาธเบียดเบียนมีโรคก็เจ็บป่วยเป็นต้น จิตใจบางทีก็ไม่สบาย หรือมักจะไม่สบายไปด้วย ทีนี้เวลาใจไม่สบายก็มีปัญหาหลายอย่าง จิตใจก็ท้อแท้ หดหู่เซื่องซึม เหงาหงอยเบื่อหน่ายเป็นต้น เป็นภาวะที่ไม่ดี บางทีก็จิตใจก็เครียดถึงกับคับแค้นใจหมดหวังสิ้นหวังอะไรต่าง ๆเหล่านี้ เป็นสภาพจิตที่ไม่ดี เราถือว่าป่วยทางจิตใจด้วย ตอนนี้ก็หมายความว่าไม่ได้ป่วยเฉพาะทางกาย แต่ว่าทางจิตใจก็(08:44)ป่วย ที่นี้เวลาทาง (08:46)จิตใจป่วยมันก็โยงไปหาเรื่องอื่น คิดไปถึงเรื่องบ้าน เรื่องครอบครัว เป็นห่วงเขาจะเป็นยังไงกันอีก แล้วก็มีคนเอาใจใส่ดูแลให้กำลังใจ(08:56)ไหม บางทีไม่มีคนดูแลให้กำลังใจ อ้าว ก็โยนไปทางสังคมอีก ทางสังคมจิตใจก็นั่นแหละ ก็เริ่มจากจิตใจก็โยงไปหาทางสังคม ไม่มีความอบอุ่น แล้วทำให้จิตใจยิ่งท้อแท้เข้าไปอีก เบื่อหน่ายหมดหวังยิ่งขึ้น ก็สุขภาวะนี้ก็โยงไปถึงเรื่องทางสังคม แล้วก็โยงไปถึงทางเศรษฐกิจ คิดถึงเรื่องการเงิน เราจะมีเงินจ่ายหรือเปล่า เอ๊ะเราจะทำยังไงดี เศรษฐกิจก็โยงไปการเมืองอีก ถ้าสภาพการเมืองเป็นแบบนี้ เศรษฐกิจของเรามีหวังจะได้เงินหรือเปล่า อะไรมันก็โยงกันไป คำว่าสุขภาวะนี้ มันเลยโยงไปเศรษฐภาวะและไปทางภาวะอื่น ๆ ภาวะทางการเมือง ภาวะ(09:41)ทางสังคม อะไรต่ออะไร กว้างออกไปโยงไปหมด นี่ก็แค่คนไข้เท่านั้นเอง
(09:49) กายถูกกระทำแล้วกลายเป็นว่าใจเป็นผู้ถูกกระทำ แต่ที่จริงนั้นใจไม่ได้ถูกโรคกระทำเลย แล้วใครทำ?
ทีนี้เราลองมาพิจารณาเอาแค่ที่คนไข้ก่อน ว่าคนเจ็บคนไข้ที่มีปัญหาสุขภาพทางกาย แล้วก็โยงไปหาสุขภาวะทางอื่นเนี่ย ความจริงคนไข้เนี่ยถูกโรคภัยไข้เจ็บโจมตีทางร่างกายก็บอบช้ำไปด้านหนึ่งแล้วนะ เราเรียกว่าถูกกระทำทางด้านร่างกาย ทีนี้ถูกกระทำก็เจ็บป่วยทางกาย ทีนี้ปัญหาว่า ความจริงโรคเนี่ยมันไม่ได้ไปทำอะไรใจเขาเลย มันก็ไปกระทบกระทั่งเบียดเบียนร่างกายเขา ใจเขาก็อยู่ดี ๆ แต่ว่ากลายเป็นว่าด้านที่ถูกกระทำมากที่สุดเป็นด้านจิตใจ (10:38)พอกายถูกกระทำและใจถูกกระทำด้วย ๆทั้ง ๆที่ใจเนี่ยอยู่ดี ๆไม่ได้ถูกกระทำแต่กลายเป็นตัวถูกกระทำ แล้วพอรักษา แม้จะมีการรักษาที่ดีละ คุณหมอมาช่วยให้รักษาให้ แล้วผู้ป่วยเองก็ร่วมมือก็รักษา เรียกว่าตอนนี้ก็กระทำตอบต่อโรค เราก็กลายเป็นผู้กระทำ แต่หันไปดูทางจิตใจ จิตใจถูกกระทำอยู่ (10:58)ปัญหาสำคัญของเรื่องสุขภาวะเนี่ยก็คือว่า ไปเป็นผู้ถูกกระทำ ใจเป็นผู้ถูกกระทำเหมือนกับที่กายถูกกระทำแต่ว่าที่จริงนั้นใจไม่ได้ถูกโรคกระทำเลย แล้วใครทำ?ก็ตัวเองทำนั่นละ ทีนี้ตัวเองทำก็ต้องจับจุดนี้ให้ได้ก็คือว่าอย่าให้ใจถูกกระทำสิ มันเรื่องอะไรล่ะ เราไปถูกกระทำ เราก็แย่ แม้แต่ตั้งรับก็ไม่ไหวแล้ว อย่าทำอย่างนั้น ต้องเป็นผู้กระทำต่อมัน แล้วใจเราก็ยังเป็นอิสระอยู่นี่วางท่าให้ถูก ขณะนี้กายเราถูกโรคมันกระทำเอา เราตั้งตัวขึ้นมาเป็นผู้กระทำต่อโรคแล้ว(11:46) ต่อเรื่องต่าง ๆ ต้องเป็นผู้กระทำ (10:51)ถ้าผันตัวขึ้นมาเป็นผู้กระทำได้ สุขภาวะด้านจิตใจเป็นต้นจะมาทันทีเลย ฉะนั้นจุดสำคัญอันแรกเลยเขายอมตัวเป็นผู้ถูกกระทำหรือทำตัวเขาเสียเอง ดังนั้นสิ่งแรกคือ “ตั้งสติ” รู้ตัวขึ้นมาเลยว่า อ๋อตอนนี้ทำไมเราเอาตัวเป็นผู้ถูกกระทำ ก็ตั้งตัวเป็นผู้กระทำ โรคมันกระทำต่อกายเรา ใจเราอย่าถูกกระทำไปด้วย เราก็เป็นผู้กระทำต่อโรค พอเริ่มเป็นผู้กระทำเราก็เข้มแข็งมีกำลังขึ้นมาทันที ถ้าคนเป็นผู้ถูกกระทำนี่มันยอบแยบอ่อนแอ ปวกเปียกไปหมด ฉะนั้นเราเป็นผู้กระทำต่อโรคเสีย
(12:36) วิธีกระทำต่อโรคเริ่มตั้งแต่ใช้ปัญญา - เราจะอยู่กับมันได้ดีที่สุดแบบนี้ แล้วเราจะเอาประโยชน์จากมันได้อย่างไร?
วิธีกระทำต่อโรคก็มีหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ “ใช้ปัญญา”พิจารณาว่า เวลาร่างกายของเราเป็นอย่างนี้ โรคมันเป็นอย่างนี้ โรคแบบนี้เราควรจะดำเนินชีวิตแบบไหนมันจะเหมาะกัน ปรับตัวปรับวิถีชีวิตการดำเนินชีวิต(12:51)ให้เข้ากับโรค เสร็จแล้วก็ปรับชนิดที่ว่าเอาประโยชน์จากการเป็นโรคนี้ให้ได้ ว่างั้น ว่าโรคนี้เป็นอย่างนี้ มีภาวะอย่างนี้แล้วเราจะอยู่กับมันได้ดีที่สุดแบบนี้ แล้วเราจะเอาประโยชน์จากมันได้อย่างไร? อย่างบางทีเราปรับสภาพการดำเนินชีวิตของเราเนี่ย ตอนนี้เราทำอะไรหลายอย่าง งานบางอย่างเราทำไม่ได้เราก็หันไปทำสิ่งที่ทำได้บางคนก็อาจจะไปทางดนตรี ไปทางศิลปะ ไปทางศึกษาค้นคว้าหาความรู้ หรือว่าไปเล่นเรื่องงานอดิเรกทางธรรมชาติ ปลูกต้นไม้อะไรต่าง ๆไปอย่างนี้เป็นต้น หรือว่าศึกษาค้นคว้าธรรมะหาความเจริญงอกงามพัฒนาทางจิตใจทางปัญญา ได้หมด ทางไปเยอะแยะหมดเลย แม้แต่คนเป็นโรคเอดส์ก็เคยบอก ผม บางทีคุณจะเห็นว่าตอนเป็นโรคเอดส์เป็นโชคดีที่สุด ไม่แน่นะคนได้ประโยชน์สูงสุดตอนที่แย่ที่สุด เหมือนอย่างว่าบางท่านในพระไตรปิฎกก็มีเล่าไว้ บรรลุอรหันตผลตอนที่เจ็บป่วยหนักที่สุด ฉะนั้นพระพุทธศาสนานี้ท่านว่าไว้มนุษย์ไม่มีหมดหวังเลย(14:00) แม้แต่ขณะสุดท้ายแห่งชีวิตก็อาจจะได้สิ่งที่ประเสริฐสูงสุดที่คนอื่นหาไม่ได้ แม้แต่คนที่ร่างกายดีที่สุด เพราะฉะนั้นคนเจ็บไข้ไม่ได้เสียเปรียบใคร ดังนั้นให้สบายใจไว้เลยแต่ว่า(14:17) ตั้งหลักต้องเป็นผู้กระทำถ้าเราเป็นผู้กระทำเราก็มีแรงมีกำลังขึ้นมาทันที สุขภาวะก็มา เพราะฉะนั้นก็มีประโยชน์หลายอย่างที่เราจะทำได้ นอกจากปรับตัวปรับวิถีชีวิตเข้ากับมัน หาประโยชน์จากมัน ทำประโยชน์จากชีวิตในตอนนั้นให้ได้แล้ว อย่างน้อยก็ศึกษามัน ถือโอกาสตอนนี้เราเป็นโรคอะไรก็ศึกษามัน หรือว่าไม่มีเวลาศึกษา บางทีเป็นหลายโรคเวลาศึกษาไม่พอ เราก็ดูมันสิ แค่ดูมันเราก็เป็นผู้กระทำแล้ว ดูมันไปสิว่ามันเป็นอย่างไรๆ(14:55) เรื่องอะไรเราจะต้องไปถูกมันกระทำอยู่ อย่างนี้เป็นต้น นี่ก็เป็น(15:04)วิธีการที่ว่าเรื่องของสุขภาวะมันก็อยู่ที่ตัวเรา เราก็สามารถผัน บิด เบน พลิกตัวเราขึ้นมา คือ อย่าเป็นผู้ถูกระทำแม้แต่เป็นผู้ตั้งรับก็ไม่เอา ต้องเป็นผู้กระทำเท่านั้น
(15:14) แม้แต่เป็นผู้ตั้งรับก็ไม่เอา ต้องเป็นผู้กระทำเท่านั้น
พอเป็นผู้กระทำทีนี้เราก็เดินหน้าเลย นี่ก็เช่นเดียวกันกับเรื่องใหญ่ ๆ เรื่องอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากเรื่องสุขภาพทางกาย เมื่อเราดูเรื่องของคนที่เป็นปัญหาสุขภาวะทางร่างกายเราก็มาดูกว้างออกไป อ้อ ขอแทรกอีกนิดเดี๋ยวจะลืมไป คือ วิธีคิดก็เป็นเรื่องสำคัญ วิธีคิด วิธีมอง (15:40)อย่างคนเป็นโรคภัยไข้เจ็บ บางทีก็ไปหมกมุ่นครุ่นคิดเรื่องตัวเอง เราจะเป็นอย่างไร เราจะไม่มีชีวิตที่ดี เราจะมีความทุกข์ จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มัวไปหวาดไปกลัว หมดความหวังท้อแท้หดหู่เสียใจ ความจริงถ้ามองอีกทีเนี่ย มองไปเนี่ย โห!เรานี่ เราอยู่ในภาวะอย่างนี้นี่ คนอื่นที่เป็นโรคอย่างเราบางคนเขายากจนแร้นแค้น แล้วก็ไม่มีญาติมีมิตร แล้วเขาป่วยอย่างนี้เขาจะทำอย่างไร? เขาจะยิ่งแย่ใหญ่ กลายเป็นว่าเรื่องเจ็บป่วยของเรานี่เรื่องเล็กน้อยละ คนอื่นที่เขาทุกข์มากกว่าเราตั้งเยอะแยะ คราวนี้ก็คิดสงสารคนอื่นสิ อันนี้ (16:24) กลายเป็นว่าโรคภัยมันมาเตือนเราให้เราคิดสงสารเพื่อนมนุษย์ ให้รู้จักทุกข์ภัยของมนุษย์ทั้งหลาย เราจะได้ไม่ประมาท แล้วก็คิดว่าจะหาทางช่วยเหลือเขาอย่างไร ต่อไปเราหายจากโรคนี้ เราออกไปเราจะต้องไปช่วยคนเป็นการใหญ่เลย ทีนี้ คิดอย่างนี้ตั้งใจดีเป็นบุญเป็นกุศล หายโรคไปเองเลย อย่างนี้เป็นต้น หรืออย่างน้อยแม้ตัวเองจะมีโรคภัยไข้เจ็บมาก ไม่มีทรัพย์ ไม่มีฐานะดี ก็ยังคิดได้ คนที่เขาอยู่ในภาวะที่แย่กว่าเรา ยังมีอีก เพราะฉะนั้นอย่างไปมัวครุ่นคิดเรื่องตัวเองอยู่ พอครุ่นคิดเรื่องตัวเอง ยิ่งทุกข์ ยิ่งไปกันใหญ่ ทีนี้ก็ไปกันใหญ่ (17:06) อันนี้ก็เป็นตัวอย่าง
(17:07) เรื่องสุขภาวะที่กว้างขวางออกไป บ่นกันจนไปถึงเรื่องเบื่อการเมือง ก็จะต้องตั้งหลักกันให้ถูกต้อง
ทีนี้เราก็มามองดูเรื่องของสุขภาวะที่กว้างขวางออกไป เวลานี้ผู้คนในสังคมก็บ่นกันละ เป็นอันว่ามีปัญหา ใจคอก็ไม่สบาย ระยะที่แล้วมานี่ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง อาตมภาพก็ได้ยินญาติโยมบ่นกันเหลือเกิน เบื่อการเมือง โยมใกล้ชิดวัด คือ พระไม่ต้องไปไหน อยู่วัด โยมมาบ่นให้ฟังเองเอง โยมก็ใกล้ชิดมาพูดแล้วพูดอีกบอกว่าทีวีก็ไม่อยากเปิดดู เปิดดูอยู่ข่าวที่ออกมารีบปิดทันที วิทยุก็ไม่อยากฟัง หนังสือพิมพ์ก็ไม่อ่าน เบื่อการเมืองกันเหลือเกิน แล้วก็หันไปฟังคนโน้นคนนี้ ก็เบื่อกันไปทั้งนั้นเลย จนกระทั่งเกิดเป็นหนังสือเรื่องเบื่อการเมือง ก็เพราะว่าโยมมาบ่นเรื่องเบื่อการเมือง แล้วก็มาคุยกันไปกันมา ก็เกิดเป็นหนังสือขึ้น ทีนี้เรื่องเบื่อการเมือง ต่อมา ต่อมามันชักหนักเข้าไป มันจะ(18:06)เบื่อบ้านเมือง เบื่อบ้านเมืองทีนี้แย่เลย สถานการณ์ก็บอกว่ายังไม่มั่นใจเลย ใจคอไม่ดี (18:19) ชักจะเบื่อบ้านเมือง บางท่านก็ได้ยินบอกทำนองว่าไม่อยากอยู่ละประเทศนี้ ชักจะอยากย้ายประเทศเสียแล้ว ย้ายประเทศชาติไม่พอ จะย้ายสัญชาติเสียอีก ไม่อยากเป็นคนไทยเสียแล้วก็มี อะไรอย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้ก็น่าเห็นใจ แต่ว่าจะตามใจไม่ได้ เห็นใจแต่ไม่อาจตามใจ ต้องเป็นเรื่องที่มามองกันให้ถูก ก็เป็นสภาพแวดล้อมที่เราจะต้องพินิจพิจารณาให้ดี เรื่องของสังคมนี้ แล้วก็เรื่องรวมทั้งเรื่องของการเมืองด้วย มันก็เรื่องของชีวิตของเราที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง อยู่ตลอดเวลา ก็มีผลต่อชีวิตของทุก ๆคนนี่ละ แม้แต่พระนี่สังคมการเมืองเป็นยังไง มันก็มีผลกระทบมาด้วย ก็อยู่ที่ว่าเราจะวางจิตวางใจเริ่มต้นจากการมองอย่างไร เริ่มจากการมองให้ถูกต้อง มองให้ดี มองให้ถูกแล้วก็จะพลิกสถานการณ์ได้ ทีนี้ ปัญหาเรื่องสังคม เรื่องบ้านเมืองอะไรต่าง ๆเหล่านี้ มันเป็นสภาพแวดล้อมใหญ่ที่มีผลกระทบต่อทุกคน เพราะฉะนั้นจึงเป็นแหล่งสำคัญของ(แห่ง19:33)ปัญหาสุขภาวะ จิตใจของเราก็อยู่ในสภาพแวดล้อมอันนี้ กระทบกระทั่งอยู่ตลอดเวลา บางทีก็แทบทั้งวันทีเดียว ฉะนั้นมันมีผลแน่นอน ก็จะต้องตั้งหลักกันให้ถูกต้อง
ทีนี้ก็อย่างที่บอกเมื่อกี้ว่า “น่าเห็นใจ แต่ไม่อาจตามใจ” เราก็ต้องตั้งใจมาทำความเข้าใจกัน คือ ต้องมองให้ถูกต้องนั่นเอง สังคมของเรานี้ก็เป็นสังคมที่เรียกกันว่ามีปัญหามานานแล้ว เราพูดคำว่าวิกฤตกันมาตั้งนานแล้วกี่ปีแล้ว อย่างวิกฤตเศรษฐกิจนี่ปีอะไร 2540 มั้ง นั่นก็ 11 ปีเข้าไปละ แล้วก่อนนั้นก็เคยพูดก่อนที่เศรษฐกิจวิกฤตนี่สังคมไทย มันวิกฤตมานานแล้ว แต่ว่าเราไม่เอาประโยชน์จากสิ่งเตือนสติมาตั้งหลักแล้วก็มาใช้ปัญญาพิจารณาหาทางแก้ไขกัน ก็ยังอยู่ในความประมาท เมื่อประมาทต่อมามันก็ยิ่งเลื่อนไหลลงไปทุกทีทุกที ทีนี้เราก็มาดู ตอนแรกเรา(20:41)ก็ต้องมาพิจารณาให้ดี ที่บอกว่าไม่อาจตามใจได้ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
(20:53) สังคมไทยได้รับผลที่สมกับกรรมของตนเองทำมา ทำไมจึงว่าอย่างนั้น?
ก็คือสภาพสังคมที่เป็นปัญหาทั้งหมดนี้ ต้องบอกว่ามันเป็นผลกรรมของสังคมนี้เองที่สะสมมานาน หรือพูดกันไปก็คือสังคมไทยได้รับผลที่สมกับกรรมของตนเองทำมา ทำไมจึงว่าอย่างนั้น? เราไม่รู้ตัวแล้วเราก็ไม่ได้คิด แล้วเราก็มองไปแต่คนอื่น เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ที่จริงสังคมของเราก็เป็นปัญหามาอยู่นานแล้ว เราทำกรรมอะไร? คำว่า “กรรม” ที่จริงก็คือเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยในแง่ที่เป็นเรื่องของ(21:24)คน เรียกว่า กรรม ที่จริงคำว่ากรรมก็คือเหตุปัจจัย พูดอีกครั้งว่า กรรมคือเหตุปัจจัยในแง่ที่เป็นเรื่องของคน ทีนี้กรรมไม่ใช่เรื่องยาก แต่มันยากที่เป็นเรื่องของคน หมายความว่า (21:45)คนนี่ละที่ยาก กรรมไม่ได้ยากอะไร ทีนี้เราจะเข้าใจเรื่องกรรมก็ต้องเข้าใจเรื่องคน เรื่องคนมันเรื่องยาก คนนี้มีจิตใจมีอะไรต่ออะไรซับซ้อนเหลือเกิน ทีนี้เราจะเข้าใจเรื่องกรรมว่ากรรมมันเป็นเรื่องของคนก็ต้องเข้าใจคน เมื่อเข้าใจเรื่องคนก็จะเข้าใจเรื่องกรรมได้ง่ายเอง ไม่ต้องห่วง ทีนี้เรื่องคนเป็นเรื่องที่ยาก แล้วคนก็ทำกรรมกันมา ทำกรรมก็เกิดจากเจตน์จำนง แล้วเราก็ทำกันมาตลอดเวลายาวนานจนกระทั่งสังคมนี้ผุกร่อนมากแล้ว บางอย่างมันเหลือแต่ซากแล้วต้องขออภัยเรียกว่าอย่างนั้นนะ (22:22)สังคมไทยนี้เหลือแต่ซาก ถ้าเป็นคนป่วย ป่วยๆไปหนักเข้ามันก็กลายเป็นศพ ทีนี้ถ้าเป็นสังคมผุกร่อนหนักเข้ามันก็กลายเป็นซากไป เหมือนกับสิ่งวัตถุทั้งหลาย ถ้าเป็นซากอย่างไรเดี๋ยวมาดูกันอีกที เรื่องของสังคมตัวเองเราจะไม่ค่อยเข้าใจชัดเจน เมื่อไม่เข้าใจก็ไม่รู้ปัญหานั่นเอง เมื่อไม่รู้ปัญหามันก็แก้ได้ยาก หรือไม่รู้ว่าจะแก้ที่ไหน แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือ นอกจากไม่เข้าใจ ไม่รู้จักสังคมของตัวเองชัดเจนแล้วเวลาไปสัมพันธ์กับภายนอกคือต่างสังคม เราก็ไม่มีท่าทีในการรับที่ดี ที่ได้ผล ที่จะเอาประโยชน์มาได้
(23:11) กว่าเขาจะด่าออกมาได้เขาคิดนาน เขากลั่นกรองเยอะ เราก็เอาประโยชน์จากปัญญาของเขามา
ตอนนี้ก็เลยขอโอกาสพูดแทรกสักนิด พูดถึงฝรั่ง ฝรั่งคนหนึ่งเขาเขียนเรื่องเกี่ยวกับตะวันออกไว้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย เขาเขียนไว้นานแล้ว หนังสือเล่มนี้ คนเขียนชื่อนาย เกสเลอร์ (Kolestler) เขียนหนังสือชื่อ The Lotus and the Robot Lotus ก็แปลว่าดอกบัว Robot ก็แปลว่าหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรกลอัตโน(23:36)นวัตกรรม เครื่องจักรกลนี้ก็หมายถึงตะวันตก แล้วเขาก็เทียบถึงตะวันออกกับตะวันตก ถ้าพูดโดยสาระสำคัญ ใช้คำหยาบ คือ เขาด่าตะวันออกมาก แทบทั้งเล่ม ในตอนหนึ่งเขาพูดไว้ซึ่งเป็นคำที่ถือได้ว่าสรุป เป็นข้อความสำคัญ ต้องขออภัยที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ เวลานี้เวลาพูดภาษาอังกฤษอย่างในรัฐสภา เขาขออภัยนะ แสดงว่าเวลานี้คนไทยรู้ตัวว่าไม่ควรจะใช้ภาษาอังกฤษพร่ำเพรื่อ อย่างน้อยก็ควรจะใช้ต่อเมื่อจำเป็นหรือมีเหตุผล แล้วอาตมาก็ขออภัยด้วย ขออภัยแต่ไม่ใช่พูดภาษาอังกฤษ แต่เอาภาษาอังกฤษมาพูด ที่ว่าเอาภาษาอังกฤษมาพูด คือ เขาเอาถ้อยคำขอเอาข้อความ(24:26)ภาษาอังกฤษมากล่าวให้ฟัง ฝรั่งนายเกสเลอร์เขาบอกว่า As pupils we were not bad, but hopeless as teachers เอาละ ลองแปลดูสิ ก็แปลเป็นภาษาไทยก็บอกง่ายๆ ว่าถ้าเป็นนักเรียนแล้ว เขาใช้ได้ทีเดียวล่ะ แต่ (24:51) ถ้าให้เป็นครูละเขาไปไม่ไหว หมดหวัง หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่า ตะวันตกมาเรียนจากตะวันออกมาหาความรู้มาศึกษามาวิจัย เอาไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่แล้ว As pupils we were not bad แต่ถ้าให้มาเป็นครูสอนตะวันออก ตะวันออกจะไปเรียนอะไรจากเขาไม่ได้เรื่อง เขาสอนไม่ไหว ไม่ได้ประโยชน์อะไรมา นี่เขาว่าอย่างนี้แรงไหม นี่ฝรั่งว่านะ หนังสือเล่มนี้นายเกสเลอร์เขียนไว้เมื่อ เอาปีเขียนนี้คงไม่รู้แน่เขาเขียนปีไหน แต่พิมพ์ปี 1961 ก็คือปี พ.ศ. 2504 อาตมาเคยพูดเอามาอ้างเตือนคนไทยเมื่อ 26 ปีมาแล้ว ก็จืดจางหายไป ไม่เห็นมีอะไร เพราะฉะนั้นวันนี้ก็เอามาอ้างใหม่ ว่าเราควรจะอ่านหนังสือที่เขาด่าเราให้มาก ๆ เพราะว่าเรื่องที่เขาด่าก็คือเรื่องที่ไม่ดี แล้วที่(26:06)เราจะแก้ปัญหาสร้างสรรค์สังคม ก็คือ แก้ไขปัญหาสิ่งที่ไม่ดี แล้วเราจะทำอย่างไรถึงจะรู้สิ่งที่ไม่ดี ก็รู้จากสิ่งที่เขาด่า เพราะฉะนั้นเรื่องที่เขาด่า กว่าเขาจะด่าออกมาได้เขาคิดนาน เขากลั่นกรองเยอะ เราก็เอาประโยชน์จากปัญญาของเขามา เพราะฉะนั้นอยากจะให้ช่วยกันอ่านหนังสือที่เขาด่าประเทศไทยให้มาก ๆ เราจะได้ประโยชน์เยอะเลย เขาเขียนไว้ตั้งนานแล้ว ชื่อนายคนนี้ ลองไปเปิด Encyclopedia หรือสารานุกรมฝรั่งแทบทุกเล่มมีทั้งนั้น นายเกสเลอร์ เป็นคนมีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง เอาละนี่ก็เป็นเรื่องวาทะที่ฝรั่งเขาว่าไว้ เมื่อกี้บอกว่ามันเสื่อมโทรมผุกร่อนมาก จนจะกลายเป็นซากไปเยอะแล้ว ก็ขอยกตัวอย่างเช่นเมื่อสองสามวันก่อนก็มีข่าววิทยุบอกว่า มีคนไปเถียงกันในงานศพที่วัด กินเหล้าแล้วก็ยิงกันตาย เถียงกันเรื่องการเมืองว่างั้น เอาละ แค่เนี้ย แค่ว่าคนเถียงกันในวงเหล้ายิงกันตายในวัด แค่นี้มันส่อถึงอะไรหลายอย่างเลย หนึ่ง งานศพกินเหล้ามันก็ไม่เคารพศพละ แล้ววัฒนธรรมมันหายไปไหน แล้วก็งานศพนั้นก็อยู่ในวัด แล้วก็กินเหล้าในวัดในงานวัด แล้วก็ต่อไปก็ยังฆ่ากันตาย แล้วก็ฆ่ากันตายด้วยเรื่องการเมืองอีก การเมืองก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ควรจะเถียงกันด้วยปัญญา มาเถียงกันในวงเหล้า ว่างั้นนะ ควรจะยกขึ้นมาพูดกันเป็นเรื่องเป็นราวเกี่ยวกับประเทศชาติเจริญหรือไม่เจริญ จะแก้ปัญหาอย่างไร มันเป็นเรื่องสำคัญต้องใช้ปัญญา แล้วมาใช้ปัญญาในวงเหล้ามันจะได้อะไร? ฉะนั้นมันก็ส่อถึงสภาพสังคมไทยที่น่ากลัว อย่างน้อยมันเป็นเรื่องวัฒนธรรมด้วย เพราะว่าจัดงานศพในวัด ทั้งงานศพ ทั้งเรื่องในวัดมันเป็นเรื่องวัฒนธรรม แล้วสภาพที่เกิดขึ้นที่ว่าในงานศพก็มีการกินเหล้า ตั้งวงเหล้ากัน แล้วก็ทะเลาะกันเถียงกันอะไรต่าง ๆเหล่านี้มันก็เป็นแสดงถึงวัฒนธรรมมันเหลือแต่รูปแบบ สิ่งที่เหลือแต่รูปแบบมันไม่มีเนื้อหาสาระก็คือซากนั่นเอง เพราะฉะนั้น วัฒนธรรมไทยเวลานี้มันแทบจะเหลือแต่ซากแล้วนะ แล้วก็มีข่าวออกมาอีก อีกสองวันก็บอกว่า โจ๋ตะลุมบอนกันในงานวัดว่าอย่างนั้นนะ อันนี้ก็เป็นเด็ก ก็ยังเออ ที่จริงเด็กทำอย่างนี้ก็ยังเบากว่า ถ้าผู้ใหญ่ยังไปเถียงกัน ฆ่ากันตายในงานศพในงานวัด แล้วจะไปเอาอะไรกับเด็กละ ใช่ไหม(28:46) เราจะไปว่าเด็กเขายังไง ก็ผู้ใหญ่ทำถึงขนาดฆ่ากันตายในงานศพในวัดก็ไม่ไหว แล้วมาเมื่อวาน หรือวานซืนนี้เองก็มีสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแสดงผลงานวิจัยออกมาได้ความทำนองว่าเวลานี้ สตรีชาวอีสานนิยมมีสามีเป็นฝรั่งว่างั้น ก็ให้สถิติอะไรต่ออะไรเป็นจำนวนมาก อันนี้ก็หลายท่านก็อาจจะเป็นห่วงในแง่ทางวัฒนธรรมว่าสังคมไทยนี้เป็นอย่างไร?แต่ว่าถ้ามองไปอีกทีเทียบกันกับพวกผู้หญิงชาวอีสานที่นิยมมีสามีเป็นฝรั่งกับสภาพในสังคมที่เจริญอย่างในกรุงเทพเป็นต้นที่มีเรื่องอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ อะไรต่าง ๆ แล้วก็มาหลอกลวงกันในเรื่องกามารมณ์ ในเรื่องทางที่ไม่ดีไม่งาม เรื่องของเสพบริโภค เรื่องอาศัยเทคโนโลยีที่เจริญเหล่านี้มาใช้ในทางที่ไม่ดี อันไหนมันจะร้ายกว่ากัน ก็เป็นเรื่องที่น่าพิจารณา
(29:53) บางเรื่องมันไม่ต้องเถียงกัน เรื่องมันเกิดขึ้นแล้วเราเกี่ยวข้อง แล้วเราจะทำอย่างไร เราปฏิบัติต่อมันให้ดีที่สุด
แต่อย่างไรก็ตามก็จะร้ายหรือไม่ร้าย เราไม่พูดในแง่ว่าอันไหนควรสนับสนุนหรือคัดค้านอย่างกรณีของคุณผู้หญิงมีสามีเป็นฝรั่ง มองในแง่หนึ่งก็เป็นเรื่องที่ว่าอาจจะเกิดประโยชน์ขึ้นก็ได้ ในเมื่อสังคมมันเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ไปรับวัฒนธรรมตะวันตก อาจจะไปรับโดยได้(30:13)เนื้อหาสาระมากกว่าโดยวิธีทางอินเตอร์เน็ตด้วยซ้ำ ด้วยการแต่งงาน แล้วก็ทำอย่างไรที่จะทำให้ผู้หญิงของเรารักษาวัฒนธรรมที่ดีไปด้วย ในเมื่อแต่งงานไปแล้ว อาจจะเป็นจุดเริ่มที่ดีก็ได้ ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะคัดค้านหรือสนับสนุน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและเราต้องเกี่ยวข้องจะเอาอย่างไร จะปฏิบัติอย่างไรให้ดีที่สุด อันนี้ต่างหาก คือบางเรื่องมัวไปเถียงกันว่าจะเอายังไงจะหนุนหรือจะค้านก็เถียงกัน อีกฝ่ายหนึ่งก็หนุน อีกฝ่ายหนึ่งก็ค้าน บางเรื่องมันไม่ต้องเถียงกัน มันไม่ใช่เรื่องจะหนุนจะค้าน แต่เป็นเรื่องมันเกิดขึ้นแล้วเราเกี่ยวข้อง แล้วเราจะทำอย่างไร เราปฏิบัติต่อมันให้ดีที่สุด เมื่อปฏิบัติไปปฏิบัติไปเราจะเห็นเองว่าส่วนไหนควรหนุน ส่วนไหนควรต้านควรค้าน หรือควรแก้ไข ก็จะมองเห็นไปเอง ก็เป็นเรื่องที่ค่อย ๆเดินหน้าไป แต่รวมความว่าก็คือ(31:07)เป็นเรื่องของสภาพสังคมที่เป็นเพียงตัวอย่างให้มองเห็นว่าเวลานี้มันเป็นอย่างไร?
(31:15) ถ้าสภาพสังคมอย่างวัฒนธรรมมันเหลือแต่ซากอย่างนี้ เราก็มาดูเรื่องของท่าทีต่อสิ่งเหล่านี้
ถ้าสภาพสังคมอย่างวัฒนธรรมมันเหลือแต่ซากอย่างนี้ เราจะต้อง(31:18)คิดแก้ไข เราก็ต้องมาดูเรื่องของท่าทีต่อสิ่งเหล่านี้ ในเมื่อสังคมมีความตกต่ำ มีปัญหาอย่างนี้แล้ว เราก็จะเห็นขึ้นมาสองสามชั้นเลย ขั้นทีหนึ่งเรามองว่า คนนี้นะ เขามีปัญหาสุขภาวะ สุขภาวะทางกายไม่พอ สุขภาวะทางจิตใจ สุขภาวะทางจิตใจเป็นเรื่องด้วยสุขภาวะทางสังคมทางสิ่งแวดล้อม ทางสังคมก็ไปยุ่งทางเศรษฐกิจ ทางอะไรต่าง ๆอีกเยอะแยะไปหมด ก็มีปัญหากันมากมาย อย่างนั้นก็เป็นปัญหาเรื่องคน ทีนี้คนที่มีปัญหาสุขภาวะทางจิตใจทางสังคมเป็นต้น มันก็ยังพอว่านะ คือเช่นว่าสุขภาวะทางเศรษฐกิจ บางคนก็อาจจะไม่มีเงิน หรือบางคนก็อาจจะว่ามีเงินแต่มีไม่รู้จักพอ อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นปัญหาสุขภาวะทางจิตใจเหมือนกัน แล้วก็ ต่อไปก็มีปัญหาสุขภาวะทางด้านที่ไปเกี่ยวข้องกับสังคม การเข้ากับผู้คนไม่ได้ ไม่มีความอบอุ่นเป็นต้น ซึ่งถ้าเป็นเฉพาะบุคคลมันก็ยังพอว่า เรียกว่าเป็นปัญหาสุขภาวะของคน หรือคนนั้นป่วยทางสังคม ป่วยทางจิตใจ ป่วยทางอารมณ์ แต่ว่าถ้ามันเกิดมาถึงอีกขั้นหนึ่ง มันไม่ใช่แค่คนป่วยทางสังคม คนป่วยทางอารมณ์ คนป่วยทางเศรษฐกิจ แต่มันกลายเป็นเศรษฐกิจป่วย สังคมป่วยเสียเอง แล้วเราก็คิดว่ามาถึงขั้นนี้แล้ว พอมันมาถึงขั้นที่ว่าเศรษฐกิจป่วย สังคมป่วยเสียเอง มันเป็นปัญหาทั้งหมดเลย ครอบคลุมสังคม รวมทั้งพระศาสนาป่วยด้วย ก็อาจเป็นได้นะ เวลานี้ก็คงจะเป็นได้ พูดกันว่า ทั้งเศรษฐกิจป่วย สังคมป่วย ศาสนาป่วย การเมืองป่วย ป่วยกันไปหมด
(33:27)พอสังคมหรือหน่วยใหญ่มันป่วยแล้ว แต่ละคนต้องพลิกตัวกลับมาตั้งหลัก มันก็ต้องอาศัย “คน”มารักษา
(33:27)ทีนี้พอสถาบันองค์กร กิจการงานของบ้านเมืองสังคมส่วนใหญ่มันป่วยเสียเองแล้ว คนที่เป็นส่วนย่อยของกิจการหรือของสังคมนั้นก็มีทางที่จะป่วยได้ง่านง่าย ฉะนั้นเราจะมาแก้ปัญหาสุขภาวะในจิตใจคนแต่ละคนเท่านั้นไม่พอ ก็คือต้องแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจป่วย สังคมป่วย การเมืองป่วยเป็นต้นนี้ด้วย ทีนี้พอสังคมหรือหน่วยใหญ่มันป่วยแล้ว แต่ละคนต้องพลิกตัวกลับมาตั้งหลัก เพราะว่า “สังคม”เป็นต้น(34:04) ตอนที่ป่วยมันจะหายได้อย่างไร มันก็ต้องอาศัย “คน”มารักษา ทีนี้ถ้าคนไปมัวป่วย ยอบแยบ ยอบแยบ ท้อแท้ มีแต่ความท้อแท้ หดหู่ ห่อเหี่ยว หงอย เซื่องซึม หม่นหมอง ขุ่นมัว คับแค้นใจอยู่นี่ ถ้าคนเป็นอย่างนี้เสียเองแล้ว สังคมมันจะคืนดีได้อย่างไร?(34:30) เพราะฉะนั้นตอนนี้กลายเป็นว่า คนต้องตั้งหลัก กลับมา จะกลับไปรักษาสังคมที่มันป่วย ดังนั้นทุกท่านต้องตั้งหลักใหม่ ปรับใหม่(34:36) อย่าไปนึกว่าสังคมป่วย แล้วเราจะไปพลอยยิ่งแย่ ป่วย มันก็หมดทาง สังคมนี้ก็สิ้นหวัง
เราตั้งตัวมาว่าเราจะเป็นผู้รักษา เราก็จะเป็น “ผู้กระทำ”ขึ้นมาทันที
(34:49) ตอนนี้มันถึงเวลาต้องจับหลักที่ว่า (34:49)ตอนแรกคนป่วยเป็นราย ๆไป สังคมนี้ก็ต้องมาช่วยกันแก้ ถ้าสังคมป่วย คนนี้ต้องมาตั้งหลักช่วยกันแก้ หมายความว่า เราต้องมาชวนกันทุกท่านทุกคนมาช่วยกันรักษาสังคมนี้ ก็หมายความว่า พอเราตั้งตัวมาว่าเราจะเป็นผู้รักษา ก็เราก็จะเป็น “ผู้กระทำ”ขึ้นมาทันที พอเราตั้งตัวเป็นผู้กระทำ เราจะมีกำลังขึ้นมาทันที พอเรา “มีกำลัง”ขึ้นมา(35:17) เราก็มี”สุขภาวะ”ขึ้นมาทันทีด้วยเหมือนกัน ฉะนั้นความเสียสุขภาวะที่เป็นอยู่นี้เบาไปเลย ถ้าโยมตั้งใจให้ถูก ตั้งหลักขึ้นมาเลย ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเป็นผู้แก้ไข เป็นผู้มารักษาสังคมนี้ หรือสถาบันอะไรต่าง ๆ ทุกอย่างในสังคมนี้ รวมทั้งพระศาสนาด้วย ตั้งใจให้ถูกอย่างนี้แล้ว แล้วเราจะเข้มแข็งขึ้นมา พอคนเข้มแข็งตั้งใจได้เป็นหลักนะ ก็ทำให้เกิด ทางพระเรียกว่า สติ สมาธิ มันจะมาง่าย พอสติสมาธิมา ปัญญามันเตรียมมาทันทีเลย ฉะนั้น(35:39)คนไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ ปัญญามันไม่มีที่ทำงาน มาไม่ได้ พอเราตั้งตัวได้ถูกมีกำลังใจเข้มแข็งขึ้นมา “มีสติ มีสมาธิขึ้นมา ปัญญามันเริ่มทำงานได้” เราก็จะเริ่มเห็นทาง ตั้งท่าทีทางจิตใจให้ถูกก่อน
เวลานี้สังคมไทยที่ป่วยร้ายที่สุดคือป่วยทางปัญญา ฉะนั้นต้องแก้ไข เราต้องตั้งตัวขึ้นมาเป็นผู้รักษาสังคม เอาปัญญามาใช้
(36:21) เพราะฉะนั้นเวลานี้ ปัญหาสำคัญของคน คือ เราป่วยกันหลายอย่าง ป่วยทางกาย เราก็ทำใจให้ถูกก็อย่างที่ว่า ป่วยแต่กาย แต่ใจไม่ป่วย พอป่วยทางใจ ป่วยทางอารมณ์อะไรต่าง ๆ มันก็มีผลทำให้ปัญญาไม่ทำงาน เพราะฉะนั้นปัญญาก็ป่วย เวลานี้สังคมไทยที่ป่วยร้ายที่สุดคือป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูนะเวลานี้น่ากลัวที่สุดคือความป่วยทางปัญญา แล้วทั้งสองอย่างมันเนื่องกัน คือ ป่วยทางใจ กับป่วยทางปัญญาหรือป่วยทางอารมณ์ หรือป่วยทางปัญญา
(37:02) พออารมณ์เสีย จิตใจไม่ดี ปัญญาก็ไม่มา แล้วถ้าปัญญาไม่ดีก็มาทำใจไม่ถูกอีกก็เลยซ้ำเติมตัวเองอีก ก็เป็นวงจรร้ายที่ทำให้รุนแรงยิ่งขึ้น ดังนั้น ตั้งท่าทีเสียให้ถูก พอตั้งจุดถูก มีสติขึ้นมา ตั้งใจถูกต้องอย่างที่ว่า เราต้องตั้งตัวขึ้นมาเป็นผู้รักษาสังคม แค่นี้แหล่ะแหละ มันแก้ปัญหาการป่วยทางอารมณ์ ความป่วยทางจิตใจ ความป่วยทางความรู้สึก คนไทยนี้เอาความรู้สึกมาเป็นหลักใหญ่ อยู่กับความรู้สึกต่ออะไร ๆ อะไรต่ออะไร(37:34) มาก ฉะนั้นต้องแก้ไข เอาปัญญามาใช้ ต้องให้เป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมทางปัญญาสูง ใคร ๆ เขาก็ว่า สังคมไทยอ่อนวัฒนธรรมทางปัญญา เริ่มตั้งแต่ขาดวัฒนธรรมแสวงปัญญาเป็นต้นไป เพราะฉะนั้น ต้องเร่ง ต้องสร้างวัฒนธรรมแห่งปัญญา แล้วรวมทั้งวัฒนธรรมแห่งการแสวงปัญญาด้วย เวลามองพิจารณาอะไรต่ออะไร ความรู้สึกและอารมณ์เข้ามาก่อน รวมทั้งเรื่องการเมืองด้วย จะมองอะไรต่ออะไร พิจารณาอะไรๆ ยกตัวอย่างเช่น จะมองว่า คนนี้ กลุ่มนี้ พวกนี้ พรรค์พรรคนี้ ดีหรือไม่ดี มักจะไปติดที่ความชอบใจไม่ชอบใจ ถ้าชอบใจหรือไม่ชอบใจถือว่าเป็นภาวะทางอารมณ์หรือทางจิตใจ ทางความรู้สึก ก็หมายความว่า เอาความรู้สึกมาเป็นตัวตัดสิน พอความรู้สึกไปแล้วทีนี้ก็นำไปหมดเลย พอว่าพวกไหนคนไหนที่ตัวชอบ ไม่รู้ทำอะไรต่ออะไรดีไปหมด พอนายคนนั้นพวกนั้นที่ตัวไม่ชอบ ทำอะไรก็ไม่ดีไปหมด มันกลายเป็นอย่างนี้ไป ขอให้สำรวจกันเอง เป็น???หรือเปล่า นาทีที่ 39:54
ทางพระท่านมีวิธี ท่านไม่เอาคนเป็นประมาณ ท่านเอาทางปัญญา ปัญญาถืออะไรเป็นเกณฑ์ ถือ ธรรมเป็นเกณฑ์
(38:51)ทีนี้ทางพระท่านมีวิธีท่านไม่เอาหรอกวิธีนี้ ท่านไม่เอาคนเป็นประมาณ ไม่เอาความรู้สึก ไม่เอาอารมณ์เป็นประมาณ เอาทางปัญญา ปัญญาถืออะไรเป็นเกณฑ์ ถือ ธรรมเป็นเกณฑ์ ถือธรรมเป็นเกณฑ์ก็หมายความว่า เอาธรรมเป็นประมาณตั้งหลักการเป็นเกณฑ์ เอาธรรมเป็นประมาณตั้งหลักการเป็นเกณฑ์ทำอย่างไร? เราจะวัดอะไรหรือ ดูเลย ตั้งธรรมะขึ้นมา หลักว่าอย่างนี้ หลักความดี ความชั่ว ตั้งขึ้นมา แล้วดูว่านายคนนี้ กลุ่มนี้เป็นอย่างไร ตามเกณฑ์นี้ ข้อนี้เสีย ข้อนี้ได้ รวมแล้วได้คะแนนเท่าไร ยกตัวอย่างง่าย ๆ อย่างธรรมะในพระสูตรหนึ่ง ท่านเรียกว่า กามโภคีสูตร ก็วัดกันง่าย ๆวัดคนชาวบ้านที่อยู่ทำมาหากินประจำวันแต่ละคน แต่ละคนว่าเป็นคนที่ได้คะแนนทางธรรมะเท่าไร พระพุทธเจ้าจัดไว้เองเลยนะ เป็นตัวอย่าง บอกว่าดู คนที่อยู่ครองเรือน ว่าตามเกณฑ์นี้เขาได้คะแนนดีหรือเสียเท่าไร อย่าไปเหมารวม อย่าไปพูดแบบเหมาไม่เอา ท่านก็บอกว่าดูสิในเรื่องการทำมาหาเลี้ยงชีพแยกเป็น (๑) ด้านการหาด้าน(39:58)การแสวงหาแสวงหาทรัพย์ (๒) ด้านการเก็บรักษา (๓) ด้านการใช้ประโยชน์ (๔) การวางท่าทีต่อทรัพย์ สี่อย่าง เราวัดคะแนนสี่ด้าน ด้านที่หนึ่งการแสวงหาทรัพย์เป็นอย่างไร นายคนนี้แสวงหาทรัพย์ในทางสุจริตชอบธรรมหรือโดยวิธีรุนแรงทางที่ไม่ชอบธรรม เอาคะแนนไป หรือเสียคะแนนไป ด้านที่หนึ่ง ต่อไป ด้านที่สอง ด้านการเก็บรักษา ได้มาแล้วเก็บรักษาดีไหม มีความไม่ประมาท หรือไม่รู้จักประหยัดเลยไหม ด้านที่สองก็ดูว่าได้คะแนนเท่าไร เสียคะแนนเท่าไร ได้ไป ต่อไปด้านที่สาม การใช้ทรัพย์ เขาได้ทรัพย์มาแล้ว บางคนอุตสาห์อุตส่าห์ หาทางที่สุจริตชอบธรรมขยันหมั่นเพียรเป็นอย่างดี หาทรัพย์แล้วมาเก็บขี้เหนียว ไม่ใช้ประโยชน์ ไม่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ชีวิตตนเอง และชีวิตผู้อื่น เสียคะแนน ศูนย์ในหมวดนี้ ก็กลายเป็นว่าต้องดูว่าเขาเอาทรัพย์นี่ไปใช้ประโยชน์ไหม เลี้ยงดูตัว เลี้ยงดูครอบครัว เลี้ยงดูบุตร บริวาร คนรับใช้ คนงาน คนในความรับผิดชอบ ตลอดจนกระทั่งเอาไปใช้ทำประโยชน์ เอาไปทำบุญ ทำกุศล ไปบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ช่วยเหลือผู้คน อันนี้ก็ได้คะแนนหักคะแนนกันไป บางคนพอมาถึงขั้นนี้ ขั้นสำคัญละ เราจะเห็นคะแนนสูงขึ้นมาละ ทีนี้ต่อไปก็ไปหมวดที่สี่ ท่าทีต่อทรัพย์ ว่าจิตใจเขาและปัญญาของเขานึกถึงทรัพย์อย่างไร มองทรัพย์นี้ด้วยจิตใจที่หวงแหน ด้วยความรู้สึกที่มีแต่ความห่วง มีแต่ความกังวล แล้วก็มีความทุกข์เพราะทรัพย์นั้น แล้วอีกคนหนึ่งก็มีความรู้เท่าทันว่าทรัพย์เราต้องหาด้วยความสุจริตชอบธรรมด้วยความขยันหมั่นเพียรแล้วก็เก็บรักษาด้วยความไม่ประมาทให้ดีที่สุด แต่มันเป็นของไม่เที่ยงขึ้นต่อเหตุปัจจัย (41:59)ถ้ามีเหตุปัจจัยที่เหลือวิสัยเรา เรารักษาเต็มที่แล้ว เอาไว้ไม่อยู่ มันหายก็หายไป อย่างนี้ก็เรียกว่ารู้ทัน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา วางใจได้ อยู่อย่างรู้เท่าทัน วางใจถูกต้องไม่ทุกข์เพราะทรัพย์ ได้แต่สุขอย่างเดียว อย่างนี้ก็เป็นหมวดที่สี่ ท่านวัดสี่ด้านเลย แล้วก็ได้คะแนนกันไป อันนี้ก็เหมือนกัน เวลานี้เราไปเอาคนเป็นประมาณ แทนที่จะเอาธรรมเป็นประมาณ ตั้งธรรมขึ้นมาเป็นเกณฑ์ ตั้งหลักการเป็นเกณฑ์แล้วก็วัดกันไปเลย อย่างนี้ก็จะเป็นวิธีการที่ถูกต้อง แล้วฝ่ายไหนได้คะแนนไปเราไม่รู้ด้วย เวลาเถียงกันก็ไม่ต้องมาเถียงเรื่องคนละ จะเป็นฝ่ายไหนฝ่ายไหนก็มาดูกันที่ตัวหลักการ เอาอย่างนี้ นี่ก็คือเรื่องของวิธีปฏิบัติเป็นเรื่องทางปัญญา แล้วเรื่องความรู้สึกหรือทางอารมณ์จะเข้ามาครอบงำได้ยาก ไม่อย่างนั้นเจ้าความรู้สึกหรืออารมณ์มันเข้ามาครอบงำหมด แล้วก็เถียงเกิดเรื่องเกิดอะไรขึ้น เหมือนอย่างที่ยิงกันตายในวงเหล้าเพราะเถียงการเมือง อย่างนี้ก็เลยไม่ได้ประโยชน์ การเมืองมันเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเป็เป็นเรื่องที่ควรแก้ปัญหาช่วยสังคมนี้ให้ดี เรื่องอะไรไปทำให้เป็นเรื่องเสียหาย ก็ต้องทำให้มันดีให้ได้ ทำให้เป็นประโยชน์ แม้แต่พระก็ต้องเกี่ยวกับการเมือง (43:18)พระเกี่ยวกับการเมืองอย่างไร พระไม่ยุ่งกับการเมือง แต่ต้องให้ธรรมะแก่การเมือง ธรรมะนี่ละ พระให้ธรรมะ โยมก็เอาธรรมะนี้ไปเป็นเกณฑ์แล้วก็สำหรับ(43:23)ไปวัดอีกที แต่พระนี้ไม่ต้องไปวัดนะ คือถ้าไม่จำเป็นพระจะไม่ไปวัดด้วยละ พระท่านจะให้แต่หลักเกณฑ์ ให้โยมเอาไปวัด โยมวัดได้โยมก็ไปวัดกันเอง พระก็คอยให้หลักไว้ หลักการนี้ก็คือ วิธีปฏิบัติต่อการเมือง การเมืองเกี่ยวข้องกับทุกคน แต่ทุกคนเกี่ยวข้องกับการเมืองต่าง ๆกัน