แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
พระถามปัญหา : เมื่อปลายเดือนกรกฏาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒ ได้มีพระเถระวัดป่า ๒ รูป มาพบเพื่อเล่าถวาย และปรึกษาว่า ได้เกิดปัญหาของพระสงฆ์ เกี่ยวกับพระวินัยในเรื่องการสวดพระปาฏิโมกข์ มีสาระสำคัญว่า พระเจ้าอาวาสวัดหนึ่ง เกิดความเห็นว่า การที่พระสงฆ์เถรวาททั้งหลาย สวดปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อนั้นมิถูกต่อพุทธวจนะ พระเจ้าอาวาสรูปนั้น ถึงกับได้นำพระสงฆ์ในคณะของท่าน สวดพระปาฏิโมกข์เพียง ๑๕๐ ข้อ และได้เผยแพร่ความคิดความเห็นนี้ทั่วไป ทางสื่อทั้งหลายด้วย สิกขาบทที่ท่านเจ้าอาวาสองค์นั้นตัตออก ๗๗ ข้อ จากปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ ให้เหลือ ๑๕๐ ข้อ คือ อนิยต ๒ และเสขิยวัตร ๗๕ ปัญหาที่ท่านนำมาเล่าถวาย และปรึกษานั้น แยกได้เป็น ๓ ข้อคือ ข้อหนึ่ง เจ้าอาวาสรูปนั้นถือปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ โดยยึดพุทธวจนะตามพระไตรปิฎกแปลภาษาไทยฉบับสยามรัฐอย่างเดียว โดยท่านอ้างว่า เป็นที่ยอมรับของมหาเถรสมาคม ข้อที่สอง คำแปลที่ท่านอ้างพุทธพจน์จากพระไตรปิฎกแปลเป็นภาษาไทยฉบับสยามรัฐนั้น มาจาก ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย ซึ่งพระไตรปิฎกแปลฉบับนั้น พิมพ์ไว้ว่า สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วน จากพระไตรปิฎกแปลที่ท่านเจ้าอาวาสฉบับนั้นเรียกว่า ฉบับสยามรัฐ นั้น คำที่แปลว่า ถ้วน คือ สาธิกัง ซึ่งพระไตรปิฎกแปลฉบับอื่นๆ เช่น ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ ฉบับของสมาคมบาลีปกรณ์ ประเทศอังกฤษ เป็นต้น แปลว่า สิขาบทเกินกว่า ๑๕๐ สาธิกัง นั้นแปลว่าอะไรแน่ แปลว่าถ้วนหรือแปลว่าเกินกว่า ๑๕๐ กันแน่ ข้อที่สาม นอกเหนือจากเรื่องพระไตรปิฎกแปลจะใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินได้แค่ไหน แล้วคำแปล สาธิกัง ว่า ถ้วน หรือ เกินกว่า มากว่า นั้นแล้ว การถือปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ หรือ ๑๕๐ ข้อ มีหลักพิจารณากว้างๆ อย่างไร ขอแยกถามทีละข้อ โดยเริ่มตั้งแต่ข้อหนึ่ง ข้อหนึ่ง เจ้าอาวาสรูปนั้นถือปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ โดยยึดพุทธวจนะตามพระไตรปิฎกแปลภาษาไทยฉบับสยามรัฐอย่างเดียว เป็นเกณฑ์ตัดสิน โดยท่านอ้างว่า เพราะเป็นที่ยอมรับของมหาเถรสมาคม
ท่านพระ ป. อ. ปยุตฺโต : ไม่ได้ มันต้องพระพุทธเจ้ายอมรับ คือ ไม่ต้องพูดถึงใครยอมรับหรอก หมายความว่า บาลีมันเป็นตัวต้นฉบับ นั้นเวลาเราดู เราก็ต้องดูต้นฉบับ ใช่ไหมฮะ เป็นหลักอยู่แล้ว คำแปลมันก็เป็นของที่ต่อมาอีกที การที่จะดูก็ต้องดูของเดิม ว่าต้นฉบับเค้าเขียนไว้อย่างไร แม้แต่หนังสือที่ผู้ประพันธ์ ผู้แต่งไว้ แล้วมีแปลไปต่างประเทศ เวลาเราจะดูว่า เจ้าของผู้เขียน เค้าเขียนไว้อย่างไร มันก็ต้องไปดูต้นฉบับเดิม ไม่ใช่มาดูฉบับแปล อันนี้เป็นธรรมดา ที่นี้ที่ให้คณะสงฆ์รับรองนี้ก็หมายความว่า เท่าที่ท่านได้ทำกันมาเนี่ย ทำได้แค่นี้ ยืนยันเท่านี้ ใช่ไหม เป็นฉบับที่ยอมรับว่า เอาล่ะ ใช้ได้ เพื่อจะไปกันว่าใครจะไปแปลเรื่อยเปื่อย ก็จะได้รู้ว่า อ้อ ควรจะใช้ฉบับนี้ก่อน ที่นี้พวกที่ทำที่หลัง อย่างที่มหาจุฬาฯ ก็ตาม หรือ ที่อื่นก็ตามเนี่ย เวลาท่านจะทำ ท่านก็ต้องดูฉบับสยามรัฐเหมือนกัน ก็คือใช้สยามรัฐเป็นหลัก แล้วท่านก็ได้เห็นข้อบกพร่องมา เพราะว่าใช้กันมานาน เมื่อใช้กันมานานก็เป็นธรรมดา ได้เห็นข้อบกพร่อง ก็ได้แก้ไข อันนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดาแหละครับ หมายความว่างานที่ทำทีหลัง ที่ทำอย่างมีหลักมีฐานนะฮะ ไม่ใช่ทำเรื่อยเปื่อย เมื่อทำอย่างมีหลักมีฐาน เค้าก็ต้องดูของเก่า นี่อย่างฉบับสยามรัฐเนี่ยก็เป็นต้น เป็นต้นทาง เป็นหลักให้กับฉบับอื่น แต่ที่นี้ฉบับอื่นเนี่ย มีโอกาสมากกว่าที่จะทำให้ดีขึ้น เพราะได้มีเวลาที่ได้อ่าน ได้ศึกษา แล้วเห็นข้อผิดพลาดไปแล้ว ที่ได้มีผิดพลาด อย่างน้อยที่เคยพบก็ อาจจะบันทึกไว้ในใจ หรือบันทึก เขียน พอถึงโอกาส ก็เลยมาแก้ไข ก็เป็นอย่างเนี่ย เป็นธรรมดาของการทำงาน ก็ไม่มีอะไรมาก มหาเถรสมาคมที่ว่ารับรอง ก็ไม่ได้ไปยืนยันความถูกต้องของคำแปล ก็ยืนยันได้ในแง่ ว่าอันเนี่ย พอเป็นหลัก เป็นเครื่องมือที่ใช้ศึกษาพระไตรปิฎก ยอมรับได้โดยทั่วไป ไม่ได้ยืนยันในความถูกต้องทั้งหมด ก็ใช้สำหรับศึกษา ก็ไม่ได้หมายความว่า ไปรับรองแล้วมันจะเกิดผลขึ้นมา ไปยุ่งกับพระไตรปิฎกบาลีเดิมเป็นไปไม่ได้นะ พระไตรปิฎกบาลีเดิมก็ต้องเป็นตัวมาตราฐานแน่นอน ถึงยังไงก็ต้องใช้พระไตรปิฎกบาลีเดิมเป็นมาตราฐาน เพราะเป็นตัวต้นฉบับ เป็นตัวออลิจินอล (Original) ก็เป็นธรรมดา เราก็ใช้พระไตรปิฎกแปลเป็นเครื่องมือศึกษาเท่านั้น ไม่ใช่เป็นตัวหลักเลย ใช้เป็นเครื่องมือศึกษา จะเห็นแปลผิดเยอะนะ คือพระไตรปิฎกแปลนี่เราต้องเห็นใจท่าน ผู้แปลเนี่ยก็แบ่งงานกันไป เอาแหละ เอาง่ายๆ เรื่องที่เป็นเนี่ย คือ เป็นคัมภีร์ใหญ่ ๔๕ เล่ม เวลาจะแปลเนี่ย ฉบับสยามรัฐเนี่ย ที่จริงๆ ก็เรียกไม่ถูก สยามรัฐ คือพระไตรปิฎกแปลเนี่ย มันไม่ใช่ฉบับสยามรัฐ มันเป็นฉบับแปลจากฉบับสยามรัฐ สยามรัฐหมายถึงบาลี พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ อันนี้ก็คือพระไตรปิฎกแปลจากบาลีฉบับสยามรัฐ ก็สืบเนื่องมาจากประมาณ พ.ศ. สองพันสี่ร้อย แถวๆ แปดสิบสอง ประมาณๆ สองสี่แปดสอง ใกล้ๆ นั้นแหละ ผมจำปีอาจจะคลาดนิดนึง ตอนนั้นก็เริ่มทำ ปรารภโอกาสอะไรเนี่ย ผมต้องไปดูก่อน แล้วก็ทำพระไตรปิฎกแปลสองชุด ชุดที่มาเป็นฉบับสยามรัฐที่แปลเนี่ยนะ ที่เดี่ยวนี้ก็เรียกฉบับกรมศาสนา เนี่ยก็เป็นอันหนึ่ง แล้วก็อีกอันหนึ่งเป็นฉบับใบลานเทศนา หมายความว่าคณะสงฆ์เนี่ยทำสองชุด อันนี้ชุดพระธรรมเทศนาอันเนี่ย เสร็จก่อน เป็นสำนวนเทศนาก็หมายความว่า ไม่ต้องเคร่งครัด คือเอาเนื้อความแล้วก็มาเทศน์ มาอธิบาย ส่วนฉบับที่แปล ที่เรียกว่าเคร่งครัดหน่อย ก็ไม่เสร็จ ก็ค้างมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ก็มีการฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ก็เลยรัฐบาล จอมพล ป. นั้นแหละครับ ตอนนั้น ก็ได้เอาผลงานเนี่ย ที่ได้ทำกันมายาวนานเนี่ย ถือเป็นโอกาศว่าได้พิมพ์พระไตรปิฎกแปล เป็นการร่วมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษด้วย นั้นพระไตรปิฎกแปลฉบับเนี่ยก็ออกมาครั้งนั้น ที่เริ่มมาจาก ๒๔๘๐ กว่า เพิ่งจะเสร็จ แล้วตอนนั้นก็ทำเป็น ๘๐ เล่ม เพราะว่า หนังสือแปลมันจะหนา เนื้อหามากกว่าฉบับเดิม เป็นบาลีเดิมนี้ก็ หนาน้อยกว่า มาเป็นไทยก็หนามาก โดยเฉพาะพระวินัยเนี่ยก็หนาจนกระทั่ง จัดเล่มให้เท่าเดิมไม่ได้ ท่านก็เลยคิดว่า เอะ เราจะทำไงเนี่ย จะลง ๔๕ เล่มไม่ได้ ก็คิดกันว่า อ้อ พระพุทธเจ้าเนี่ยพระชนมายุ ๘๐ พรรษา เอ้อเอา ได้อีกหลักหนึ่ง ก็จัดเอาพระไตรปิฎกแปลเนี่ย เป็น ๘๐ เล่ม ตามพระชนมายุ ๘๐ ก็เป็นอันว่า ยุติว่า ได้ฉบับ เค้าเรียกว่า ฉบับอะไร ฉบับฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พ.ศ. ๒๕๐๐ ก็ออกมา อันนี้แหละครับ เนี่ยก็ถือว่าเป็นครั้งแรก ที่นี้ต่อมาพระไตรปิฎกแปลฉบับเนี่ย องค์การศาสนาก็เป็นผู้รักษารับผิดชอบดูแล แล้วก็มีการที่ว่ามาดูแล ก็มีมาจัดใหม่ พิมพ์ครั้งต่อๆ มา ก็หาทางว่าทำไง จะให้ตรงกับบาลี ๔๕ เล่มเท่ากัน เพราะว่า ๘๐ เล่มนี้ เทศน์ยากเหลือเกิน แลดูบาลีนี่มา คือนักศึกษาเค้าก็จะถือบาลีเป็นหลัก เวลาเค้าแปล เค้าก็แปลไม่ออกบ้างไรบ้าง หรือไม่แน่ใจ เค้าก็มาดูแปลเทียบ นี้เค้าก็ดูยาก เพราะฉบับ ๘๐ เล่มกับฉบับ ๔๕ เล่ม มันเทียบยากเหลือเกิน นี้อาจารย์จากกรมการศาสนา เช่นอย่าง อาจารย์พิทูร มลิวัลย์เนี่ย ตอนนั้นท่านเป็นหัวหน้ากองศาสนศึกษา ท่านก็ได้ดูแลเรื่องนี้ด้วย ก็พยายามจัดว่า ทำยังไงให้ลงเท่ากับบาลี เพราะฉะนั้นในการพิมพ์ครั้งต่อๆ มาก็เป็นความรับผิดชอบของกรมศาสนาแล้ว ท่านได้จัดให้ลง ๔๕ เล่ม ในที่สุดตอนหลังเนี่ย ฉบับแปล ที่รัฐบาล คณะสงฆ์เป็นผู้จัดทำเนี่ย ก็มาอยู่ในความดูแลของกรมศาสนา แล้วก็ได้จัดลงตัวจาก ๘๐ เล่ม มาเป็น ๔๕ เล่ม ก็เลยตรงกับพระบาลี เป็นอันว่าลงตัวแล้ว ที่นี้อาจารย์ที่ดูแล อย่างอาจารย์พิทูรเนี่ย ท่านก็ดูด้วย ฉบับ ๘๐ ที่มาเป็น ๔๕ เล่ม ว่ามีอะไร ที่มันผิดพลาดบกพร่อง ท่านก็มาแก้ไขอีก นะลองคิดดู โยมแก้แหละทีเนี่ย คือแก้คำแปลเค้าไม่ได้ถือสำคัญ แก้บาลีนี่ แก้ไม่ได้เด็ดขาดใช่ไหมครับ เพราะบาลีนี้จะต้องตรวจสอบ ทำได้แค่ฟุตโน้ต ว่าเอ้อเจอตรงนี้ ทำไมเป็นงี้ ฉบับโน้นเค้าเป็นงี้ ก็ฟุตโน้ตไว้ว่า อันนี้นะฉบับอักษรโรมันบาลี Text (เทคท์) เป็นอย่างนี้ ฉบับสังคีติของพม่าเป็นอย่างนี้ ฉบับสิงหลเป็นอย่างนี้ ตัวนี้ต่างกันอย่างนี้ แต่แปลไทยนี้ โดยมากเค้าแก้เลย เค้ารู้ว่าแปลผิด เพราะบาลีมันยืนอยู่ เพราะฉะนั้นฉบับที่กรมศาสนารักษามาเป็น ๔๕ เล่มเนี่ย ก็จะต้องมี คงหลายแหล่งที่ไม่ได้เทียบ ที่ต่างจากฉบับที่คณะสงฆ์ยอมรับที่ว่า เมื่อ ๘๐ เล่มออกมานะ มันเปลี่ยนไปแล้ว ก็รักษากันมาอย่างเนี่ย นี่ก็คือความเป็นมา แล้วต่อมาก็มหามกุฏราชวิทยาลัย มหามกุฏฯ ท่านก็ทำฉบับแปลพระไตรปิฎกบ้าง แล้วก็ท่านก็เอาอรรถกถามาแปลต่อได้เลย ก็เลยเกิดเป็นพระไตรปิฎกอรรถกถาแปลฉบับมหามกุฏฯ เคยเห็นไหมฮะ ที่เป็น ๙๐ เล่ม นั้นคือทำทีหลัง ก็เอาจากฉบับที่กรมศาสนาที่รักษาไว้ของคณะสงฆ์เดิมเนี่ย มาเป็นหลัก จะเห็นว่าตรงกันเยอะแยะเลยน่ะ แต่ว่ามีบางแห่งที่แปลเปลี่ยนไป ถือว่าทำทีหลังก็ต้องดีกว่า ใช่ไหม เพราะว่าได้เห็นแล้วว่ามีอะไรผิดพลาดบกพร่องก็ปรับปรุง นี่ท่านก็แปลอรรถกถามาต่อด้วย พอจบพระสูตรนี้ อ้อก็ไปดูอรรถกถาอธิบายว่าไง ก็ทำต่อ นี้ต่อมาฉบับมหาจุฬาฯ มหาจุฬาฯ นี้ฉลาด ก็มีโอกาสมากกว่าทำทีหลัง ก็ทำดูทั้งฉบับโน้นฉนับนี้ที่เค้าทำมาก่อน มีบกพร่องอะไร แล้วก็วางหลักการในการทำให้เป็นระบบมากขึ้น เช่นมีการทำฟุตโน้ตอะไรต่อไรๆ ให้ดีขึ้น แล้วก็มีการอ้างอิง ว่า ตรงนี้นะ เออเคยเห็นในอรรถกถาอธิบายว่า อย่างงั้นอย่างงี้ ก็มาใส่ ทำละเอียดมากขึ้น ตอนนี้ก็เป็นเรื่องของ จะเรียกว่าพัฒนาการก็ได้ มันก็เป็นมาอย่างเงี่ย อันนี้ก็เป็นเรื่องทั่วไป ที่นี้เราทำงานเนี่ย เพราะพระไตรปิฎกใหญ่มาก ๔๕ เล่ม ก็จะแบ่งงานกัน ของคณะสงฆ์เดิมเนี่ย แบ่งเป็นกอง เค้าเรียกแม่กอง ฝ่ายพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม นี้แม่กองวินัยก็องค์หนึ่ง ตอนคณะสงฆ์เดิมนี้ดูเหมือนจะเป็นหลวงพ่อเจียร วัดโพธ์ เท่าที่ผมจำได้นะ หลวงพ่อเจียรท่านได้เป็นชั้นธรรมอะไร ก็จำไม่ได้แล้วนะ เรียกกันว่าหลวงพ่อเจียร สมัยสมเด็จสังฆราชปุ่น เคยได้ยินไหมสมเด็จพระสังฆราชปุ่น นั้นแหละฮะ รุ่นๆ กัน ที่นี้หลวงพ่อเจียรท่านเป็นประโยค ๙ แล้วก็ นับถือกันว่าท่านเก่งบาลี แล้วก็ ได้เป็นแม่กองวินัย แล้วก็มีแม่กองพระสูตร แม่กองพระสูตรนี่ผมลืมๆ แล้วจะเป็นองค์ไหนนะฮะ อาจจะเป็นสมเด็จพระสังฆราชวันเบญจฯ หรือเป็นสมเด็จวัดสามพระยา ผมไม่แน่ใจแหละ แล้วก็มา แม่กองอภิธรรม แม่กองอธิธรรมนี่จะเป็นองค์ไหนก็ รุ่นๆ เก่าเนี่ย จะเป็นสมเด็จพุฒาจารย์อาจ รึเปล่าไม่แน่ใจ หรืออาจจะก่อนสมเด็จอาจ ก็คล้ายๆ ยุคนั้นแหละนะ แต่รวมความก็คือแบ่งเป็นกอง โดยมีผู้รับผิดชอบ เป็นกองวินัย กองพระสูตร กองอภิธรรม แล้วที่นี้แต่ละกองก็ไปมีพระเถระเข้ามาทำงาน นี้วิธีทำงานก็อยู่ที่ หนึ่งก็การปรึกษากัน สองก็เรื่องแล้วแต่แม่กองนั้นด้วย นี่โดยทั่วไปแล้วมันก็จะเป็นการที่ว่า อาจจะแบ่งงานกันไป องค์นี้ หรือยังสมัยทำครั้งหลังเนี่ย เค้าจะแบ่งเป็นโต๊ะ โต๊ะละ ๓ องค์ สามองค์ก็รับผิดชอบเล่มนึง ตอนนั้นผมไม่ทราบว่าท่านแบ่งยังไง อาจจะมอบหมายว่าองค์นี้ เอาไปเล่มนี้ แล้วก็ไปทำของท่านไปแปล ท่านก็จะมีสิทธิ์ที่จะปรึกษาหารือค้นคว้าอะไรของท่านไป เราจะเห็นว่าฝีมือการแปลไม่เท่ากัน นะฮะ พระไตรปิฎกแต่ละเล่มๆ แล้วก็แต่ละหมวด เช่นอย่าง พระไตรปิฎกทีฆนิกายพระสูตรอะ ทีฆนิกายกะมัชฌิมนิกาย สังยุต อังคุตนิกาย ขุททกนิกาย อะไรเนี่ย เราจะเห็นเลยว่าฝีมือแปลไม่เหมือนกัน บางองค์นิแปลละเอียดปราณีต แล้วเราจะถือภาษาไทยเป็นมาตราฐาน ไม่มีทางได้ เพราะว่าพระบาลีอย่างเดียวกัน พระสูตรอย่างเดียวกัน เราจะเห็นว่าปรากฎในที่หลายแหล่ง เอาอย่างง่ายๆ เอาอย่างธัมมจักรกัปปวัตนสูตร ธัมมจักรกัปปวัตนสูตรก็มีทั้งในวินัยปิฎกเล่ม ๔ ในพระไตรปิฎกในพระสูตรเล่ม ๑๙ ในสังยุตตนิกาย แล้วคนละคนแปลแล้ว เพราะอยู่ห่างกันคนละกอง ใช่ไหมฮะ กองวินัยกับกองพระสูตรเนี่ย ห่างกันเยอะ แม้แต่ในกองเดียวกัน พระสูตรด้วยกันก็ยังต่างเล่มกันตั้งไกล อันนี้พอคนละคนแปลละครับ เอาละสิ ทีนี้ถ้าหากว่าองค์ที่แปลเค้ารู้กันว่า เออ องค์นั้นเค้าต้องแปลส่วนพระธัมมจักรกัปปวัตนสูตรด้วยในส่วนวินัย เราไปปรึกษา อันนี้ก็อาจจะมีทางตรง แต่บางสูตร หลายสูตร ที่อยู่ที่โน้นที่นี่ แปลไม่ตรงกันได้เพราะว่า ไม่รู้ว่าอีกองค์หนึ่งก็ทำอยู่ แล้วบางทีบางองค์ก็ไม่รู้ว่าพระสูตรนี้มีที่อื่นด้วย พอเจอก็แปลไปเลย อีกองค์หนึ่งเจอ ก็ไม่รู้ว่าอีกองค์หนึ่งแปลอยู่ อย่างในมหาปรินิพพานสูตรเนี่ย มีพระสูตรย่อยๆ มาอยู่ในมหาปรินิพพานสูตรนิเยอะนะ มหาปรินิพพานสูตรนั้นเหมือนกับเป็นพระสูตรที่ต่อเนื่องกันไปยาว แต่เราจะเห็นว่า ในนั้นแหละไปมีอยู่ในเล่ม ๒๕ เยอะเลย ในมหาปรินิพพานสูตร แต่เป็นสูตรเล็กๆ เป็นแต่ละตอนๆ ก็กลายเป็น พระสูตรหนึ่งๆ แล้วก็อยู่ในเล่มโน้นเล่มนี้ ที่นี้องค์ที่แปลก็ต่างองค์กัน เพราะฉะนั้นคำบาลีข้อความเดียวกัน ของบาลีนี้ท่านค่อยข้างแม่นยำ คือหมายความว่าพระสูตรที่เนื้อความเหมือนกันนิ จะตรงกันหมดเลย แต่ว่าแปลเป็นไทย คนละองค์แปล ไม่เหมือนกันเลย งั้นบางองค์ก็แปลผิด บางองค์ก็แปลถูก บางองค์ก็แปลสำนวนดี บางองค์ก็แปลสำนวนไม่ดี ต่างกันไป แต่รวมแล้วก็คือว่า ถึงยังไงก็ตาม รวมแล้วก็ยังมีที่ผิดเยอะ คือเราต้องยอมรับว่า อย่างที่บอกเมื่อกี้ องค์ที่รับงานไปเนี่ยมีความสามารถไม่เท่ากัน บางองค์เก่ง นอกจากมีความสามารถ มีความรู้ดีแล้วนะ แม่นยำ แล้วยังมีความละเอียด แล้วมีความจริงจังในการทำงาน บางองค์ก็อาจจะทำ ที่เราเรียกว่าลวกๆ มันก็เลยไม่เหมือนกัน คุณภาพงานแปลเนี่ยไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นปัญหาของฉบับแปลเนี่ยมีได้เยอะเลย พอมองเห็นนะฮะ งั้นพระไตรปิกฎแปลนิจะไปถือเป็นหลักอะไรทีเดียวไม่ได้ ก็อย่างที่ว่าอะเค้าใช้เป็นคู่มือศึกษาเท่านั้น ถ้าท่านไปไว้ใจพระไตรปิฎกแปล อย่างนั้นเดี่ยวท่านไปเจอที่แปลผิดไว้ แปลผิดไว้อย่างแรงหลายแห่ง แล้วท่านจะถือว่าระหว่างพระไตรปิฎกแปลกับอรรถกถาเนี่ย ใครจะแน่กว่ากัน ท่านไม่ยอมรับอรรถกถาใช่ไหม เอ้าไม่ยอมรับ แต่กลับมายอมรับพระไตรปิฎกแปล คือถ้ายอมรับพระไตรปิฎกบาลีแล้วไม่ยอมรับอรรถกถาพอฟังได้ แต่ถ้ายอมรับพระไตรปิฎกแปลแล้วไม่ยอมรับอรรถกถาเนี่ย อรรถกถาท่านต้นเดิมกว่าแปลนี่มากมาย ใช่ไหมฮะ คือเราต้องยอมรับความจริงนะครับว่า พระไตรปิฎกเนี่ย บาลีเดิมมันตั้ง ๒๕๐๐ กว่าปี แล้วจะมีศัพท์บางศัพท์ที่ยากมาก แม้แต่ในอรรถกถายังต้องสันนิษฐานเลยครับ แล้วอรรถกถานั้นเก่าแก่กว่าเราเท่าไร แล้วเล่าเรียนบาลีมาช่ำชองนะ เอ้าอรรถกถาเราก็ถือว่าเป็นผู้แปลเหมือนกันนะ แต่แปลภาษาบาลีเป็นภาษาบาลี แล้วระหว่างอรรถกถาที่เป็นผู้แปลเดิม กับพระสงฆ์ไทยที่มาแปลพระไตรปิฎกแปลเนี่ย ท่านจะไว้ใจองค์ไหนกว่า เอ้อ ก็พระสงฆ์ไทยที่มาแปลตอนเนี่ย เวลาแปลก็ไปดูอรรถกถาอีก ผมถึงได้เขียนไว้ในนี้ว่า คำแปลพระไตรปิฎกภาษาไทยเนี่ย โดยมากเป็นคำแปลตามอรรถกถา หรือคำแปลของอรรถกถา เพราะพระไทยเนี่ย อ่านแล้วพระไตรปิฎกบาลีเดิม หลายตอน อ่านไม่เข้าใจ เมื่ออ่านไม่เข้าใจ ก็ต้องไปปรึกษาอรรถกถา แล้วอรรถกถาท่านว่ายังไง ก็แปลไปตามนั้น แล้วบางทีเอาคำของอรรถกถามาใส่แทนคำในพระไตรปิฎก ผมถึงได้บอกว่า เวลาอ่านพระไตรปิฎกแปลเนี่ย บางทีกลายเป็นอ่านอรรถกถาไปเลย อย่างที่ยกตัวอย่างให้ในนี้บอกว่า ในเล่มที่เท่านั้น อย่างใน เถรกถาหรือไงเนี่ยนะ ก็มีพระไตรปิฎกแปลแห่งหนึ่ง แปลว่า พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากพระคันธกุฎีแล้วก็มาพบกับพระสงฆ์ พอไปดูในพระไตรปิฎกเสร็จออกจากพระวิหาร วิหารา เอ้าแล้วอรรถกถาท่านให้ความหมาย วิหาร ว่า คันธกุฎี แล้วผู้แปลพระไตรปิฎกไทยก็เลยแปลตามอรรถกถา พระไตรปิฎกตรงนั้นฉบับภาษาไทยก็แปลเป็นว่า พระคันธกุฎี อันนี้คือแปลตามอรรถกถา ใช่ไหมฮะ ที่นี้ถ้าเรารู้บาลีเราก็ อ้อ พระบาลีว่า วิหาร เท่านั้นเอง ก็บอกที่ประทับ อย่างนี้ก็มีหลายแห่ง ผมยกตัวอย่างให้ดู ฉะนั้นอันนี้เราต้องเข้าใจ แล้วยิ่งท่านอาจารย์ที่ท่านว่าเนี่ย ท่านบอกท่านไม่เชื่ออรรรถกถา แต่เสร็จก็เป็นว่าท่านไปถือตามทำแปลของอรรถกถา เพราะว่าพระไตรปิฎกแปลเนี่ย ไปแปลตามอรรถกถา ถูกไหมฮะ มันก็เลยกลายเป็นยุ่งกันใหญ่ บอกถ้าท่านจะมายืนยันตามพระไตรปิฎกเนี่ย ท่านจะมาเอาตามพระไตรปิฎกภาษาไทยไม่ได้ แน่นอนเด็ดขาดเลย ใช้ไม่ได้ พระไตรปิฎกก็ต้องคือบาลี ของแท้ ของจริง แล้วอย่างที่แปลผิดๆ เนี่ย ก็อย่างที่ว่าแหละ อรรถกถาบ้างแห่งท่านยังต้องสันนิษฐาน ว่าอาจจะเป็นอย่างงี้ๆ แล้วท่านก็อ้างว่าพระอาจารย์บางท่าน พระเถระบางท่าน ว่าอย่างงี้ อะไรอย่างงี้ มีอย่างนี้ด้วยนะ เราก็ต้องเข้าใจว่า เออ นี่เป็นมติหนึ่ง อะไรยังงี้ เวลาแปลก็อาจจะยึดเอามัตติหนึ่งมา มันมีแง่ปมเยอะครับ แล้วที่แปลตามอรรถกถา อรรถกถาก็ยัง บางแห่งไม่แน่ใจก็อย่า แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือผู้แปล แปลผิดจริงๆ เลย อาจจะเป็นเพราะท่านเผลอเรอ หรือเพราะท่านไม่ละเอียดลออ หรือท่านมีความรู้ไม่พอก็แล้วแต่ บางแห่งในพระไตรปิฎกแปลเนี่ย จะมีแปลผิดๆ แล้วบางแห่งแปลผิดตามกันด้วย พระไตรปิฎกฉบับที่กรมการศาสนารักษาไว้ ที่คณะสงฆ์ทำเดิม แปลผิดไปแล้ว ฉบับมหามกุฏฯ ก็เอาตรงนั้น ผิดตาม พอฉบับมหาจุฬาฯ ก็ผิดเหมือนกันอีก แสดงว่าลอกกัน ลอกกันไป เลยผิดเหมือนกันหมด ถ้ามีเวลาผมจะบอกให้ด้วยได้ ว่าตรงเนี่ย แปลผิดชัดๆ เลย เพราะงั้นมันเป็นปมตั้งแต่แง่แรกแหละ ถ้าท่านไปถือตามพระไตรปิฎกแปลแล้ว เป็นอันว่ายอมรับไม่ได้เลย นั้นต้องแก้จุด ตั้งแต่จุดเนี่ย จุดที่ไปเอาพระไตรปิฎกแปลเป็นมาตราฐาน นี้ไม่ได้เลย ก็บอกว่าพระไตรปิฎกแปลนั้นเป็นได้แค่เครื่องประกอบ หรือคู่มือในการศึกษา แล้วเอามาเทียบเคียง หรือเราติดขัดอะไรเงี่ย หรือว่าถ้าเราอ่านไปแล้ว เออชัดเจน ถ้าบางแห่งเราสงสัยเราก็ไปค้นบาลีมายืนยันให้แน่ใจ ก็ผู้ที่แปลเนี่ยล้วนพึ่งพาอรรถกถาด้วยกันทั้งนั้น ไม่ใช้พึ่งพาอรรถกถาอย่างเดียว พึ่งพาคัมภีร์ชั้นฎีกา ชั้นหลัง บางทีค้นในอรรถกถาแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ก็ไปค้นต่อในฎีกา แล้วจึงมาแปล เพราะฉะนั้นถ้าท่านจะบอกว่า ท่านไม่เชื่ออรรถกถา ฎีกา แล้วไปเชื่อแปล เอ้า แล้วคนแปลนั้น เค้าแปลไปตามอรรถกถา ฎีกา แล้วจะทำไงละครับ เนี่ย เอ้ ตอนนี้ท่านน่าจะแยกได้นะ ระหว่างตัวคัมภีร์เดิม กับคำแปล มันคนละอย่างกันเลย ไม่ต้องสมัยโบราณ เอาปัจจุบันเนี่ย เช่นว่าเอ้า เช่นของหลวงพ่อชาเนี่ย เป็นภาษาไทยใช่ไหม แล้วมีฝรั่งเอาไปแปลภาษาอังกฤษเนี่ย แล้วจะเชื่อตามฉบับภาษาอังกฤษหรือเชื่อฉบับ แล้วจะไปเชื่อตามฉบับภาษาอังกฤษ ไปยืนยันต่างๆ เค้าอาจจะแปลผิดอีกก็ได้ ก็ต้องมาเอาฉบับเดิมของหลวงพ่อสิ แล้วท่านจะไปเอาฉบับแปลไทยเนี่ย จุดแรกมันก็ตกไปเลยไอเรื่องไปเอาพระไตรปิฎกแปลมาเป็นมาตราฐาน ก็แปลก ก็ทำไมท่านไปถือเอาพระไตรปิฎกแปลเป็นมาตราฐาน สองไปเอาการรับรองของคณะสงฆ์มาเป็นหลัก คณะสงฆ์ก็รับรองได้แต่กฏหมายเถรสมาคม ให้รับรองพุทธพจน์ รับรองไม่ได้ ก็ที่จริงญาติโยมก็ต้องรู้อยู่แล้ว หนังสือแปลมันจะไปถือเป็นมาตราฐานได้อย่างไร ใช่ไหม เออ มันผิดหลักอยู่แล้ว มันต้องเอาต้นฉบับ ในเมื่อต้นฉบับยังอยู่ ถ้าหาไม่ได้ก็ เออ เอายอมรับไปก่อน
พระถามปัญหา : คำแปลพุทธพจน์ที่ท่านอ้างพระไตรปิฎกแปลเป็นภาษาไทย ฉบับสยามรัฐนั้น มาจาก ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย ซึ่งพระไตรปิฎกแปลฉบับนั้น พิมพ์ไว้ว่า สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วน จากพระไตรปิฎกแปลที่ท่านเจ้าอาวาสรูปนั้นเรียกว่า ฉบับสยามรัฐ นั้น คำที่แปลว่า ถ้วน คือ สาธิกัง ซึ่งพระไตรปิฎกแปลฉบับอื่นๆ เช่น ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ ฉบับของสมาคมบาลีปกรณ์ ประเทศอังกฤษ เป็นต้น แปลว่า สิกขาบทเกินกว่า ๑๕๐ สาธิกังนั้นแปลว่าอะไรแน่ แปลว่าถ้วน หรือแปลว่าเกินกว่า ๑๕๐ กันแน่
ท่านพระ ป. อ. ปยุตฺโต : คำว่า สาธิกัง แปลว่า มีส่วนที่เกิน มาจาก สะ กับ อธิกัง สะ ก็คือ สหะ แปลว่าพร้อมด้วย อธิกะ แปลว่า เกิน แปลว่าส่วนยิ่ง เกิน อธิกะก็แปลว่า เกิน ทั้งนั้นแหละ เกินทั้งนั้น อธิกะ อธิกมาส อธิกสุรทิน ปีนี้มีอธิกมาสก็คือ เดือนเกิน สาธิกัง สหะ อธิกัง สหะ พร้อมด้วย อธิกัง ก็ ส่วนเกิน
พระถามปัญหา : อันนี้ก็เข้าใจไม่ยาก พูดมากๆ เกรงว่าหลวงพ่อจะเหนื่อย
ท่านพระ ป. อ. ปยุตฺโต : เนี่ยก็จะเห็นว่า ที่พระไตรปิฎกแปล ที่ท่านเรียกว่าฉบับสยามรัฐ ซึ่งที่จริง ควรจะเรียกว่าฉบับกรมการศาสนาที่สืบมาจากฉบับอนุสรณ์ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ อันเนี่ยก็เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า แปลผิดยังไง เป็นตัวอย่างอันนึง แล้วก็พอดีท่านไปเจออันที่แปลผิดไว้ซะด้วย งั้นฉบับที่แปลทีหลัง อย่างของมหาจุฬาฯ เนี่ย ซึ่งมีโอกาสให้ทำให้ถูกต้องยิ่งขึ้น เพราะว่าทำทีหลัง แล้วก็คงได้พบแหละว่าองค์นี้แปลผิด แล้วก็แปลใหม่ ก็แน่นอนว่า สาธิกัง แปลว่า มีส่วนเกิน มีส่วนที่มากกว่า มีส่วนเพิ่ม มาจาก สหะ อธิกัง ไม่มีอะไรมาก เรื่องก็ง่ายๆ สาธิกัง แปลว่าในข้อเนี่ย ในคำว่าสาธิกัง นี้แปลว่า ถ้วน ไม่ได้หรอก ก็ตรงๆ ศัพท์มันบอกอยู่ แปลว่า มีส่วนเกิน มีส่วนที่เพิ่ม และมีส่วนที่มากกว่า พร้อมทั้งสิกขาบทที่เกินกว่านั้น ก็หมายความว่า ถ้าจะแปลเต็มก็ สิกขาบท ๑๕๐ พร้อมทั้งส่วนที่เกินกว่านั้น คือตัวเลขถ้วนอะ ๑๕๐ เป็นหลัก แล้วก็ สาธิกังก็เอามาประกอบกัน ส่วนที่เกินกว่านั้น ก็อันนี้ พอเป็นส่วนที่เกิดนี้แล้วแต่จะตีความ ตีความก็หมายความว่า ตอนนั้นอาจจะมีเกินกว่านั้นเท่าไรก็ไม่ทราบ หรือพระพุทธเจ้าจะตรัสไว้ เพราะตอนนั้นอยู่ระหว่างที่ การคณะสงฆ์หรือพุทธกิจก็กำลังดำเนินอยู่ พระองค์ก็ตรัสเผื่อไว้ข้างหน้าว่า จะมีการบัญญัติเพิ่มยังไงก็แล้วแต่ อันที่เกินกว่านั้น
พระถามปัญหา : การแปลนิต้องระมัดระวัง ต้องเข้าใจให้ถูก
ท่านพระ ป. อ. ปยุตฺโต : ท่านที่แปลบาลี โดยที่ไม่ดูอรรถกถาเลย พอเห็น สาธิกัง ว่า สิกขาบท ๑๕๐ มีสาธิกัง ก็มีส่วนเกินจากนั้นด้วย ก็อาจะบอกเลยว่าอันที่เกินนั้น เกิน ๗๗ ข้อ ก็รวมเป็น ๒๒๗ ข้อนั้นเอง ก็หมายความว่า พระไตรปิฎกตรงนี้ มองได้สองอย่างเท่านั้น คือว่า อันหนึ่งก็ แปลคำว่า สาธิกัง นั้น มีส่วนเกิน แล้วตีความ ที่ว่ามีส่วนเกินนั้นว่า ยังมีการบัญญัติต่อไป ส่วนอีกท่านก็อาจจะตีความว่า ๑๕๐ พร้อมทั้งส่วนเกินอีก ๗๗ ข้อ ก็ครบ ๒๒๗ ทีเดียวไปเลย ก็แล้วแต่จะตีความยังไง รวมความก็ไม่ใช่ ๑๕๐ เป็น ๒๒๗ นั้นเอง แต่ว่าจะเป็นเกิน เต็ม ๒๒๗ เวลานั้นหรือว่าเกินในเวลาที่จะบัญญัติต่อๆ มาอีก จนกระทั่งสิ้นพุทธกาลก็ตาม
พระถามปัญหา : ข้อที่สาม นอกเหนือจากเรื่องพระไตรปิฎกแปลจะใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินได้แค่ไหน แล้วคำแปล สาธิกัง ว่า ถ้วน หรือ เกินกว่า มากว่า นั้นแล้ว การถือปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ หรือ ๑๕๐ ข้อ มีหลักพิจารณากว้างๆ อย่างไร
ท่านพระ ป. อ. ปยุตฺโต : คืออันนี้มันจะเป็นเงื่อนไข ในประเด็นที่เราจะต้องพิจารณา หนึ่งในแง่เวลา สองในแง่จำนวน สามในแง่ผลดีผลเสีย อ้าว ในแง่เวลา พุทธบัญญัติเนี่ย พุทธองค์บัญญัติไปเรื่อยๆ ใช่ไหมฮะ แล้วแต่เหตุการณ์ แล้วที่นี้ ท่านรู้ไหมที่ตรัสในติกนิบาต ที่ว่า ๑๕๐ ข้อนั้นอะ พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อไหร่ ท่านรู้ได้ยังไงว่าเป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเลิกบัญญัติเพิ่มแล้ว อ้าว ถ้าตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระองค์นั้น เป็นตอนที่ช่วงพรรษา ๒๐ หรือ ๒๕ อะไรนะฮะ แล้วอีกตั้ง ๑๐ หรือ ๒๐ ปี แล้วพระองค์ก็ได้ตรัสสิกขาบทเพิ่มนิ นี้ท่านต้องมาบอกให้ได้ว่า ท่านรู้ได้ยังไงว่า หลังจากนี้พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติสิกขาบทเพิ่มแล้ว จึงเอาเท่านี้ อันนี้ หนึ่งเงื่อนไขเวลา นี่อรรถกถาเค้าถือจุดนี้ เค้าบอกว่า ที่ตรัส ๑๕๐ อะไรเนี่ย เป็นการตรัสตามเวลาในเวลานั้น เรียกว่าอาจจะเกิน ก็เกินไม่มาก มี สาธกัง เนี่ย แต่รวมแล้วก็คือว่า เป็นตอนที่ยังมีเท่านั้นๆ แต่ว่ามันไม่ได้จบเท่านั้น หมายความว่าสิกขาบทยังมีต่อ ไม่ได้หมายความ พระพุทธเจ้าหยุดบัญญัติแค่นั้น หมดเท่านั้น เพราะฉะนั้นท่านต้องหาหลักฐานมาประกันให้ได้ ว่า พระพุทธเจ้าตรัสพระสูตรนี้กับพระองค์เนี่ย เป็นตอนที่หมด จะจบพุทธกาลแล้ว พระพุทธเจ้าไม่ตรัสบัญญัติสิกขาบทอีกแล้ว อันนี้ต้องให้หาหลักฐานมายืนยันจะได้ไหม เนี่ย เออนี้เงื่อนไขเวลานะฮะ เป็นอันพระพุทธเจ้าบัญญัติสิขาบท พระองค์บัญญัติเรื่อย ตามเหตุ ตามกาล มีต้นบัญญัติให้ มีข้อปรารภให้ แล้วก็ตอนนั้นเราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่แน่ จะมีบัญญัติอีกไหม แต่ตามอรรถกถาท่านบอกยังมีบัญญัติต่อไป นะฮะ ตอนนั้นยังไม่จบเท่านี้ เอ้าที่นี้สอง ก็คือเงื่อนไขในเรื่องจำนวน จำนวนนี้เราจะรู้ได้ยังไง ท่านจะเอาหลักเอาเกณฑ์อะไรมาตัดสินว่า อันไหนอยู่ใน ๑๕๐ อันไหนอยู่นอกของ ๑๕๐ เพราะสิกขาบทก็ตรัสไปเรื่อย นะฮะ แล้วอาจจะมีพูดต่อไปเป็น ชี้ได้ว่า ในสิกขาบทที่ไม่ใช่อนิยต ไม่ใช่เสขิวัตรนะ ใน ๑๕๐ ข้อที่ท่านว่านะ ปรากฏว่าบางข้อไปตรัสหลัง ตอนปลายพุทธกาลเลยทีเดียว ก็อาจจะมี เออ ถ้าอย่างนี้ละก็ อย่างนั้นก็กลายเป็นว่า ไม่น่าจะอยู่ในจำนวน ๑๕๐ นี้ หรือยังไง อันเนี่ยจะเอาอันไหนอยู่ในจำนวน ๑๕๐ สิกขาบทไหนจะอยู่ในจำนวน ๑๕๐ เอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ เนี่ยแหละครับ นี่ก็ยากนะฮะ ใครจะตัดสินล่ะ ที่นี้ถ้าเราไม่ได้รู้แน่เรื่องกาลเวลา กับเรื่องจำนวน นี่ก็มาเอาข้อที่สาม ประเด็นที่สามก็ในแง่ผลดีผลเสีย ก็เอาในแง่ว่าที่มี ๒๒๗ เนี่ย ที่เท่าจะเอาออกไป เท่าไหร่ เอาไว้ ๑๕๐ แล้วตัดออกเท่าไหร่นะ ตัดออก ๗๗ ไอที่ ๗๗ เนี่ย เอ้า มันไม่ดีอย่างไร ไอ ๗๗ ข้อเนี่ย มันไม่ดียังไง ไอข้อทั้งหลายใน ๗๗ ข้อมันมีข้อเสียหาย ไม่ดียังไง เอาไว้ไม่ดี หนึ่งแหละ สองก็ ถ้าตัดออกไปแล้วมันดียังไง ตัดไอ ๗๗ ข้อออกไปแล้วดียังไง แก่การปฏิบัติ แก่การเจริญภาวนา ต่อตัวบุคคลนั้นดียังไง แก่คณะสงฆ์ แก่สังฆะ แก่สังคมไรเนี่ย ดียังไงกับพุทธบริษัท ไอ ๗๗ ข้อตัดออกไปเนี่ย มันมีผลดียังไง เอาไว้แล้วเกิดผลเสียยังไง ตัดออกแล้วมันมีผลดียังไง อันนี้ในทางตรงข้าม ตัดแล้วมันกลับมีผลเสียเหรอ นี่ก็ยิ่งไม่ดีใหญ่ ใช่ไหมฮะ ที่นี้ถ้ามาพิจารณาในข้อสุดท้ายนี้ก็ เราบอกว่า ถ้าไอ้ ๗๗ ข้อเนี่ย มันก็ไม่ได้เสียหายอะไร ตัดออกไปแล้วก็ไม่ได้ช่วยให้เกิดผลดีอะไร แต่ที่จริงเอาไว้มันก็มีดีด้วยอะ เออ แล้วที่นี้เรามาดูในเงื่อนไขข้อสุดท้าย ถ้าเราเอา ๒๒๗ เนี่ย ไอ ๑๕๐ ที่เราไม่รู้แน่อันไหน ได้หมด ถูกไหม มันพลอยได้หมดด้วย นี่หลักการของวินัยในเนี่ยท่านจะถือแบบนี้ เพื่อให้ได้แน่ว่าให้ได้ในสิ่งที่มันไม่เสีย ถ้าเราไม่รู้เด็ดขาดว่าอันไหนไม่ใช่ โดยกาลก็ตาม โดยจำนวนก็ตาม การเอา ๒๒๗ ไว้เนี่ย ทำให้ได้ ๑๕๐ แน่นอน แต่ว่าถ้าถือว่า ๑๕๐ ถูก เอาว่ะ มี ๑๕๐ ถ้าตัวจริงมี ๑๕๐ เราไม่รู้ว่าอันไหน เราเอา ๒๒๗ นั้นไว้ เราได้แน่ ๑๕๐ นี้ แต่ถ้าเราเอา ๑๕๐ นี้ไม่แน่ ว่าเราตัดถูกตัดผิด เออ อาจจะตัดอันที่ต้องอยู่ใน ๑๕๐ ออกไป กลับเอาอันที่ไม่ใช่ใน ๑๕๐ เข้ามา เออ มันยุ่งตรงเนี่ย ในแง่นี้ก็คือ จำนวน ๒๒๗ ถ้ามันไม่ได้เสียหาย ไอ ๗๗ ข้อที่เกินอะ แล้วมันทำให้ได้ ๑๕๐ แน่นอนมั่นใจ ใช่ไหมฮะ อันนี้ก็เป็นอีกแง่นึง ก็เนี่ย มันก็มีมาแต่เดิมนาน ท่านก็เห็นกันมา ท่านอ่านอรรถกถา อรรถกถาท่านถึงอธิบายไว้ อรรถกถาก็บอกอย่างนี้ว่า ก็ตอนที่ตรัสกับพระองค์นั้นนะ มันเป็นระยะที่สิกขาบทอยู่ในปริมาณ ๑๕๐ แต่ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสแค่นั้น แต่แน่นอน ในพุทธประวัติเหตุการณ์มันก็ยังมีไปเรื่อยๆ แล้วเราก็ไม่ได้ชัดเจนนิครับ ว่าตรัสกับพระองค์เนี่ย เมื่อไหร่ ไม่มีเรื่องชัดเจน อย่างในพุทธประวัติ พุทธกิจ ๔๕ พรรษานิ อ้าว พรรษาที่ ๒๐ อาจจะมี สี่ห้าข้อเท่านั้นเอง พอพรรษาที่ ๒๑ อ้าว กลายเป็น สิบห้าข้ออะไร อย่างเนี่ย แล้วพอไปอีก พรรษาที่ ๓๕ กลายเป็น ๑๕๐ ข้อ อะไรอย่างนี้ เดี๋ยวก็ยังไปอีก พรรษาที่ ๔๐ อีกนะฮะ อาจจะเพิ่มไปๆ อันเนี่ยๆ ที่ว่า เรื่องเวลา ถ้าจะมีอะไรมากำหนดว่า ตอนที่ตรัสกับพระองค์เนี่ยเป็น ตอนที่สิกขาบทจบ ปิดแล้ว ปิดรายการ ไม่มีเพิ่มแหละ นะฮะ จะยืนยันได้ยังไงนะฮะ ก็เป็นอันว่า หนึ่งเรื่องกาลเวลา สองเรื่องขอบเขตจำนวน ว่าจะเอาอะไรมาตัดสินว่าอันไหนอยู่ใน ๑๕๐ สามก็ในแง่ผลดีผลเสีย สี่ก็ในแง่ความแน่ใจ ถ้าเอา ๒๒๗ ไว้ ก็เด็ดขาดว่า ๑๕๐ อยู่แน่ แต่ถ้าเอา ๑๕๐ เนี่ย เกิดปัญหาแน่ ไม่รู้ว่าได้ครบไหม แต่ที่นี้ของท่านมันจะเสียตั้งแต่ต้นแหละ ที่ท่านไปเอาพระไตรปิฎกแปล คือพอเอาอันนี้เป็นมาตราฐานมันก็จบแล้ว ที่จริงมันก็จบแล้ว เพราะมันใช้ไม่ได้ พระไตรปิฎกแปลภาษาไทยจะให้คณะสงฆ์ไทยยอมรับรอง ขออภัยหรือจะให้สมเด็จพระสังฆราชรับรองมันก็ตัดสินไม่ได้ ก็ต้องให้ท่านเข้าใจเรื่องพระไตรปิฎกแปลเนี่ย อย่างพระไตรปิฎกแปลนะเราใช้เป็นคู่มือศึกษาเท่านั้น ปกติไม่ได้ใช้หรอกฉบับแปล ใช้เฉพาะเวลาที่ดูประกอบกัน เทียบกัน ใช้เป็นแบบแผนแบบฉบับทีเดียวไม่ได้