แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
การที่ท่านทั้งหลายได้เข้ามาขอบรรพชาครั้งนี้ ก็ด้วยมีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งมีความตั้งใจเป็นกุศล เรียกว่ามีฉันทะในการที่จะศึกษาปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น นอกจากจะเป็นไปด้วยศรัทธาของ ท่านทั้งหลายเองแล้ว ก็พร้อมด้วยความสนับสนุนจากบิดามารดาและท่านผู้ใหญ่ผู้มีความรักความเมตตาท่านเหล่านั้นเป็นผู้มีความปรารถนาดี ก็อยากจะให้ ได้มาอุปสมบทในพระศาสนา ซึ่งมีความหมายทั้งในแง่ของวัฒนธรรมประเพณี มีความหมายในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่บุพการีกับบุตรของตนกับทั้งมีความหมายสำหรับแต่ละบุคคลที่เข้ามาขอบวชคือการที่จะได้ ศึกษาเล่าเรียน เพราะฉะนั้นเราจึงเรียกว่าการบวชเรียน การบวชเรียนนี้ก็กลายเป็นประเพณีของพุทธศาสนิกชนชาวไทยแสดงถึงการที่พระพุทธศาสนาได้ฝังรากลึกลงไปประดิษฐานมั่นคงในประเทศไทยนี้ การบวชมีความหมายสำคัญคู่กับการเรียน เราจึงเรียกว่าบวชเรียน คือบวชเพื่อเรียน และการบวชก็เป็นการเรียน เพราะฉะนั้นเราก็เริ่มเรียนกันตั้งแต่บัดนี้เลย คือพอมาขอบรรพชาก็เริ่มเรียนทันที เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายจะต้องเข้าใจ ความมุ่งหมายของการบวชว่าถึงความมุ่งหมายในการบวชของเรานี้ พอจะสรุปได้เป็นสี่อย่าง อย่างที่หนึ่งการบวชนี้เป็นการทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนที่ว่าทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน ก็คือเราทุกคนที่เป็นพุทธฺบริษัทถือกันว่าเรามีหน้าที่ที่จะช่วยกันรักษาสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน เพราะว่าพระพุทธศาสนานั้นดำรงอยู่ก็เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน ทำให้สังคมของเรามีศีลธรรมมีความร่มเย็นเป็นสุข เราก็เห็นคุณค่าเห็นความสำคัญของพระศาสนา เรานับถือพระศาสนา เราอยากให้พระศาสนาดำรงอยู่ เราอาจจะอุปถัมภ์ บำรุงต่างๆ อยู่ข้างนอกเช่น ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์เป็นต้น แต่นั่นก็ยังไม่เต็มที่ถ้าเราได้เข้ามาบวชเราก็ได้มาประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยตัวเองให้พระพุทธศาสนาเข้าไปอยู่ในตัวของเราเลย โดยการเล่าเรียนทรงจำ รู้เข้าใจและประพฤติปฏิบัติ เมื่อไหร่พระพุทธศาสนาเข้ามาอยู่ในชีวิตของเรา โดยเราประพฤติปฏิบัติก็เท่ากับว่าเราเอาชีวิตของเรารักษาพระศาสนาไว้ ตราบใดที่ชีวิตเราอยู่พระพุทธศาสนาก็อยู่ด้วย เพราะว่าพุทธศาสนานั้นกลายเป็นเนื้อเป็นตัวของเรา ด้วยการรู้เข้าใจและประพฤติปฏิบัติ ที่ท่านทั้งหลายได้เข้ามาบวช ก็จะได้เล่าเรียนได้ปฏิบัติและก็ยังได้มาอยู่ในสงฆ์ซึ่งเป็นจะเรียกว่าสถาบันที่รักษา พระศาสนาไว้ตราบใดที่มีสงฆ์พระพุทธศาสนาก็ยังคงอยู่เพราะถือว่าสงฆ์นี้แม้จะเป็นสมมุติสงฆ์ก็นับเนื่องเข้าในพระรัตนตรัย เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายก็เข้ามาบวชอย่างนี้เป็นการทำหน้าที่ ของพุทธบริษัทที่จะรักษาสืบต่ออายุพระศาสนาก็เป็นบุญเป็นกุศลที่สำคัญประการที่หนึ่ง ต่อไปประการที่สองการบวชนี้มีความหมายว่าเป็นการทำหน้าที่ของคนไทยหรือกุลบุตรชาวไทย ทำไมจึงว่าเป็นการทำหน้าที่ของคนไทย ก็เพราะว่าเราถือว่าพระพุทธศาสนานี้เป็นสมบัติของชาติไทย เป็นมรดกที่บรรพบุรุษได้อุตส่าห์รักษากันสืบต่อมา ตัวพระพุทธศาสนาเองก็เป็นสมบัติที่ล้ำค่าอยู่แล้ว เพราะว่ามีคำสอนที่เป็นสัจธรรม เป็นอัมตะ ก็เป็นสิ่งมีค่าในตัว นอกจากนั้นพระพุทธศาสนายังเป็นบ่อเกิดเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทยของเราตั้งแต่ภาษาที่ใช้สื่อสารมีภาษาทางภาษาพระ ภาษาบาลี ตลอดจนไปจนกระทั่งสันสกฤตเนี่ยเข้ามา ใช้กันมากมาย และก็ออกมาทางวัฒนธรรมทางด้านวัตถุเช่น พวกศิลปกรรมต่างๆ อีกมากมายทำให้ประเทศไทยของเราเนี่ยเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมมีอารยธรรม เราก็ถือว่าพระพุทธศาสนานี้ เป็นสมบัติสำคัญของขาติ เราจะต้องช่วยกันรักษาไว้ การที่ท่านทั้งหลายมาบวชนี่ก็ เป็นการทำหน้าที่นี้อย่างหนึ่งด้วย ก็คือทำหน้าที่ของคนไทยที่จะรักษาพระพุทธศาสนาที่เป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติไว้ ต่อไปประการที่สาม การบวชมีความหมายแคบเข้ามาโดยมีความผูกพันกับบุพการี จะถือกันว่าการบวชนี้เป็นการตอบแทนพระคุณของบิดามารดา คุณพ่อคุณแม่นั้นรักลูกมาก ก็อยากจะให้ลูกเนี่ยได้เป็นคนดีมีความสุขความเจริญ ลูกก็ถือว่าพ่อแม่มีพระคุณมาก ก็มีหลักธรรมสอนให้กตัญญูกตเวทีให้ตอบแทนพระคุณของท่าน ทำไมจึงถือว่าการบวชเนี่ยเป็นการตอบแทนพระคุณ ก็อย่างที่กล่าวเมื่อกี้ ว่าพ่อแม่นั้นฝากความสุขความทุกข์ไว้กับลูกมากมาย ถ้าลูกมีความสุขความเจริญประพฤติดีพ่อแม่ก็มีความสุขด้วย ถ้าลูกประพฤติไม่ดีเป็นที่หนักใจ พ่อแม่นั่นแหล่ะก็เป็นคนที่ทุกข์ที่สุดในเมื่อพ่อแม่ฝากทุกข์และสุขไว้กับลูกอย่างนี้ ลูกที่ดีก็พยายามทำให้พ่อแม่มีความสุข มีความสบายใจไม่หนักใจกับเราได้มองเห็นเราด้วยความปลื้มใจและมีความหวัง ดังนั้นการที่พ่อแม่จะมีความสุขมีความหวังอย่างนี้ได้ก็ด้วยเห็นลูกอย่างที่กล่าวเมื่อกี้ว่าเป็นคนดี มีความขยันหมั่นเพียรมีคุณธรรม และก็มีความเจริญงอกงาม มีชีวิตที่ดีงามมีความสุข ถ้าพ่อแม่เห็นลูกดีงามมีความสุขความเจริญอย่างนี้พ่อแม่ก็มีความสุข ลูกไม่ต้องทำอะไรก็ตอบแทนพระคุณพ่อแม่ในตัว อันนี้การตอบแทนพระคุณพ่อแม่ก็เลยจะขอขยายว่าเราอาจจะสรุปได้สามอย่างคือหนึ่งก็เลี้ยงท่านในทางกาย ด้วยวัตถุอย่างที่เห็นง่ายๆ เช่นว่าเลี้ยงด้วยอาหาร เลี้ยงด้วยปัจจัยสี่ต่างๆ เวลาท่านแก่เฒ่าลงเราอาจจะช่วยเหลือท่านในเรื่องวัตถุปัจจัยสี่สิ่งอำนวยความสะดวกสบายอันนั้นเป็นด้านหนึ่ง แต่ว่าระหว่างที่ท่านยังแข็งแรงบางทีท่านเป็นฝ่ายเลี้ยงเรา ท่านเป็นผ่ายเลี้ยงเราก่อน ก็มีวิธีตอบแทนพระคุณอีกอย่างหนึ่ง ก็คือเลี้ยงทางใจ เลี้ยงใจเนี่ยเป็นเลี้ยงสำคัญ เลี้ยงใจก็คือว่าให้ใจของท่านหน่ะสบายมีความสุข เห็นลูกแล้วก็ปลื้มใจหน่ะ อย่างน้อยก็ไม่หนักใจ ก็อย่างที่กล่าวเมื่อกี้ที่ว่าถ้าเราประพฤติตัวดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนทำการงานมีความสุขความเจริญนั้นก็เป็นการเลี้ยงใจพ่อแม่ละทำให้พ่อแม่มีความสุขตลอดเวลา ละก็ประการที่สาม ลูกตอบแทนพระคุณอย่างสูงสุดแก่พ่อแม่ ด้วยการให้สิ่งที่ประเสริฐแก่ชีวิตของท่าน พระพุทธเจ้าตรัสไว้บอกว่าถึงลูกจะเอาพ่อแม่มาขึ้นบ่าประคบประหงมเลี้ยงดูตลอดชีวิตอย่างดีที่สุดก็ยังไม่ใช่ว่าตอบแทนพระคุณของท่าน แต่ลูกคนใดถ้าหากพ่อแม่เป็นคนไม่มีศรัทธาทำให้ท่านมีศรัทธาได้ พ่อแม่ไม่มีศีล ทำให้พ่อแม่มีศีลได้ พ่อแม่ไม่มีจาคะ ไม่มีความเสียสละไม่ช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์ลูกก็ทำให้พ่อแม่มีจาคะเป็นคนเสียสละบำเพ็ญประโยชน์ได้ พ่อแม่ไม่มีปัญญาลูกก็ช่วยหาทางเกื้อหนุนให้ท่านมีปัญญาขึ้นได้ เช่นมีความปัญญารู้ธรรมะ เข้าใจหลักพระศาสนาหันมาประพฤติดีปฏิบัติชอบโดยวิธีโน้มนำท่านอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยวิธีที่เหมาะสมอย่างนี้ถือว่า เป็นการตอบแทนพระคุณอย่างสูง เพราะอะไรเล่าจะมีค่าเท่ากับธรรมะ เกิดมาทั้งทีนี่ถ้าได้ธรรมะอย่างที่ว่า ได้ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ชีวิตก็กลายเป็นชีวิตที่ดีงามประเสริฐ ก็เท่ากับให้สิ่งประเสริฐแก่พ่อแม่ การที่ลูกบวชเนี่ยนอกจากเลี้ยงใจพ่อแม่แล้วก็โน้มนำให้พ่อแม่เข้ามาใกล้ชิดพระศาสนา เราถือกันว่าการที่ลูกบวชเนี่ยได้ช่วยให้พ่อแม่เป็นญาติของพระศาสนา ก็มีเรื่องสืบต่อมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าอโศกมหาราชที่ว่าเป็นมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ได้ทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายออกไปในประเทศต่างๆ รวมทั้งดินแดนสุวรรณภูมิของเราด้วย พระเจ้าอโศกได้อุปถัมภ์บำรุงพระศาสนามากมาย สร้างวัดถึง 84,000 วัดทั่วดินแดนชมพูทวีปที่กว้างใหญ่ซึ่งก็อินเดียสมัยนั้นก็ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ สมัยนี้ก็ยังเล็กกว่าอันนี้พระเจ้าอโศกได้อุปถัมภ์บำรุงพระศาสนามากมาย วันหนึ่งก็เลยได้ถามพระมหาเถระชื่อโมคคัลลีบุตรติสสเถระว่าที่โยมได้อุปถมภ์บำรุงพระศาสนามามากมายเนี่ยโยมก็อยากได้เป็นญาติของพระศาสนา ศาสนทายาท โยมทำมามากมายด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า สละทุนทรัพย์มหาศาลเนี่ยโยมได้เป็นญาติของพระศาสนารึยังโยมได้เป็นศาสนทายาทรึยัง พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระก็ตอบว่ายัง ลองคิดดูพระเจ้าอโศกมหาราชทรงได้สดับคำของพระเถระคงจะพระทัยท้อลงไปทีเดียว แต่พระเจ้าอโศกก็ไม่ได้ทรงท้อถอยก็ได้ถามต่อไปว่าอ่ะแล้วทำยังไงโยมถึงจะได้ชื่อว่าเป็นศาสนทายาท พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระซึ่งเป็นประธานพระสงฆ์สมัยนั้น ก็ได้ตอบแก่พระเจ้าอโศกมหาราชว่าถ้าหากว่าท่านผู้ใดที่ได้มีบุตรธิดาเข้าไปบวชในพระศาสนาท่านผู้นั้นแหล่ะได้ชื่อว่าเป็นศาสนทายาท พระเจ้าอโศกมหาราชก็จึงทรงพิจารณาและปรึกษา ก็มีพระโอรสพระธิดา ว่าเออจะมีใครพร้อมใจจะบวชบ้างมั๊ยก็พอดีมีโอรสธิดาที่อยากจะบวชอยู่แล้วรอขอพระบรมราขานุญาต คือเจ้าชายมหินทระ กับเจ้าหญิงสังฆมิตตาทั้งสองท่านก็เลยได้โอกาสก็ขออาสาสมัครขอบวชในพระศาสนา จีงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชเข้ามาบรรพชาอุปสมบท คือเจ้าชายมหินทระก็เป็นพระมหินเถระ เป็นพระภิกษุส่วนพระราชธิดาชื่อสังฆมิตตาก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุนี ชื่อว่าพระสังฆมิตตาเถรีแล้วทั้งสองท่านเนี่ยก็ได้มาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาหรือในศรีลังกาปัจจุบัน คือพระมหินเถระก็นำคณะสงฆ์มาตั้งประดิษฐานพระศาสนาเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ลังกาทวีป พระสังฆมิตตาเถรีก็เข้ามาตั้งภิกษุนีสงฆ์ พร้อมทั้งนำเอากิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์จากที่พุทธคยาที่ตรัสรู้นั้นมาประดิษฐานให้แก่ชาวลังกาทวีป ต้นโพธิ์ต้นนี้เดี๋ยวนี้ยังอยู่เป็นต้นโพธิ์ที่มีอายุสองพันเท่าไหร่สองพันสองร้อยกว่าปี สองพันสามร้อยกว่าปี แก่มากแล้วต้องใช้ไม้ที่เค้าประดับอย่างดีแล้วก็มาค้ำมาค้ำกันไว้อยู่ที่เมืองอนุราธปุระในหนังสือระหว่างประเทศพวกฝรั่งเค้าลงไว้ว่าเป็นต้นไม้ประวัติศาสตร์ที่อายุยาวนานที่สุดของโลกนี่คือต้นโพธิ์ที่อนุราธปุระนำมาจากเมืองพุทธคยาที่ตรัสรู้ อันนี้ก็เป็นตำนานเรื่องเก่าและเป็นประวัติศาสตร์แล้วไม่ใช่แค่ตำนาน เราก็เลยมีประเพณีกันมาว่าให้ลูกได้บวชแล้วจะได้เป็นศาสนทายาท การที่ได้เป็นศาสนทายาทเนี่ย เราก็มองในแง่ของคติสืบกันมาแต่ความหมายที่สำคัญก็คือว่าเมื่อลูกบวชพ่อแม่ก็ได้ใกล้ชิดพระศาสนา แต่ก่อนนี้เคยมีภาระกิจมากมายวุ่นวาย ไม่มีเวลาไปวัด อย่าว่าแต่ไปวัดเลยบางทีไม่มีเวลาจะคิดถึงวัดเลย แต่พอลูกบวชเพราะความที่รักลูกเนี่ย ตอนนี้หล่ะใจตามลูกไปละไปอยู่ที่วัดละ ใจไปอยู่กับลูกก็ไปอยู่กับพระด้วยเพราะตอนนี้ลูกกับพระเป็นคนเดียวกัน คิดถึงลูกก็คือคิดถึงพระพอคิดถึงพระใจก็ตามพระไปอยู่ที่วัด อันนี้ตอนนี้ พระท่านจะทำอะไรหนอกำลังจะไปบิณฑบาตรเราก็ได้ตักบาตรหรือว่าพระท่านไปทำวัดสวดมนต์พระท่านทำกิจวัตรโน้นนี้ โยมก็ใจคิดถึงอยู่เรื่อย ใจก็เลยมาอยู่กับวัด พอใจอยู่กับวัดก็น้อมมาหาธรรมะเนี่ย นี้ตัวเองก็ได้ตักบาตรบ้าง ได้มาวัดมาถวายภัตตาหารได้ใกล้ชิดพระสงฆ์ได้มารับบรรยากาศของวัดได้ฟังธรรม เลยบางทีได้เกิดความสนใจใฝ่ธรรมะ ลูกก็กลายเป็นสื่อที่ได้ช่วยโน้มนำพ่อแม่เข้ามาหาธรรมะ แต่ก่อนนี้มีประเพณีว่าเวลาลูกบวชก็จะต้องจัดให้ลูกไปเทศน์ให้โยมพ่อโยมแม่และญาติพี่น้องฟังซักครั้งหนึ่ง ลูกก็จะได้เตรียมตัวว่าค้นคว้าเต็มที่ โยมพ่อโยมแม่ก็ได้ตั้งใจชวนญาติมิตรมาฟังธรรมะกัน เนี่ยก็เป็นวิธีการที่จะทำให้โยมและญาติพี่น้องปู่ย่าตายาย ได้เข้ามาใกล้ชิดพระศาสนา และในโอกาสที่บวชเนี่ยก็ทำหน้าที่ต่อโยมพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ ปู่ญาติตายายเป็นต้นได้ ถ้ามีความตั้งใจดีก็พยายามโน้มนำให้ท่านเนี่ยเข้ามาใกล้ชิดพระศาสนาให้มีจิตใจโน้มมาทางธรรมะให้ได้เรียนรู้เข้าใจพระศาสนาเพิ่มขึ้นก็เป็นประโยชน์เป็นการตอบแทนพระคุณที่สำคัญตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ อันนี้ก็เรียกว่าทำให้โยมเนี่ยได้เป็นญาติของพระศาสนา ก็คือได้ใกล้ชิดเข้าอยู่ในวงในของพระศาสนาเลย และก็ข้อสำคัญก็คือว่า แต่ละเวลาที่บวชอยู่หน่ะถ้าตั้งใจประพฤติปฏิบัติดีโยมพ่อโยมแม่ปู่ย่าตายายได้เห็นได้นึกขึ้นมาก็มีความปลื้มปิติตลอดเวลา เห็นลูกห่มจีวรมาบิณฑบาต ได้ตักบาตแล้วก็ปลื้มใจ ก็มีความสุข มาวัดก็มีความสุข ก็ขอให้ตั้งใจว่าที่บวชเนี่ย บวชเพื่อโยมด้วย นะถ้าเราตั้งใจอย่างนี้เราก็ต้องคิดว่าเราต้องทำให้ดีที่สุดเพื่อให้โยมได้บุญมากที่สุด ให้โยมได้ความสุขให้โยมได้ความปลื้มใจมากที่สุดตลอดจนญาติพี่น้องทุกคนแหล่ะเนี่ยถ้าตั้งใจอย่างนี้แล้วการบวช การบวชก็จะเกิดผลดีกับตนเองด้วย เป็นบุญเป็นกุศลทั้งสองฝ่าย เอาละที่นี่ก็ต่อไปเป็นวัตถุประสงค์หรือความหมายข้อที่สาม ต่อไปข้อที่สี่คราวนี้แคบเข้ามาอีกก็มาถึงตัวเองละข้อที่สี่นี้การบวชก็คือเป็นการได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ได้ฝึกตนในพระธรรมวินัย การที่ท่านทั้งหลายมาบวชนี่มองในแง่หนึ่งก็เหมือนกับสละเวลาส่วนหนึ่งให้แก่พระศาสนา อย่างที่บอกเมื่อกี้นี้เราทำหน้าที่พุทธบริษัทให้เวลาแก่พระศาสนา มารักษาพระศาสนาแต่ที่จริงนั้นมองอีกทีคือการให้โอกาสกับตัวเอง การให้โอกาสกับตัวเองที่จะมาฝึกฝนตนเองในทางศีลบ้างในทางสมาธิในทางจิตใจในทางปัญญา ได้เรียนรู้คำสอนพระศาสนาได้ศึกษาปฏิบัติต่างๆ เนี่ยเป็นเวลาที่ดีที่สุดที่จะฝึกตนนั้นในที่สุดก็มาอยู่ที่ตนเอง จะมีโอกาสเรียนรู้พระธรรมวินัยนี้ถ้าหากว่าทำหน้าที่ในข้อที่สี่คือหน้าที่ต่อตนเองได้แล้วเนี่ย ก็จะได้ความหมายและวัตถุประสงค์สามข้อต้นตัวเองด้วย เพราะว่าสามข้อต้นนั้นในที่สุดก็มารวมอยู่ที่ข้อที่สี่นี่เอง ความจริงนั้นเราทำให้กับตนเองคนเดียวแหล่ะผลที่สุดก็ได้กับทุกข้อเลย พอตัวเองตั้งใจประพฤติปฏิบัติดี ศึกษาเล่าเรียนเป็นพระที่ดีมีความรู้ธรรมะวินัยดีแล้วเนี่ย อ้าวข้อหนึ่งก็ได้ทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน รักษาพระศาสนาก็ได้ไปเองในตัว สองทำหน้าที่ของคน่ไทยรักษามรดาของชาติก็ได้ไปเองในตัวด้วยการที่เราปฏิบัติตัวดี ข้อที่สามทำหน้าที่ต่อโยมพ่อแม่ ปู่ย่าตายายบุพการีก็ได้ ไปในตัวเพราะว่าเราเป็นพระที่ดีตั้งใจประพฤติปฏิบัติดีอย่างที่ว่าโยมก็ได้ปลื้มใจมีปิติมีความสุขได้บุญได้กุศลไปด้วย เพราะฉะนั้นในที่สุดก็มารวมที่ข้อสี่เนี่ยก็เลยมาลงที่ว่าข้อบวชเรียนนั่นเองตัวเองบวชเรียนแล้วก็ได้ประโยชน์ครบถ้วนตามความหมาย ความมุ่งหมายของการบวชทั้งสี่ข้อ ฉะนั้นตอนนี้เราจะบวชเราก็ต้องเข้าใจความมุ่งหมาย และถ้าเราเข้าใจความมุ่งหมายดีเราก็ตั้งใจถูกทางพอตั้งใจถูกทางการบวชก็จะได้ผลดีคือมีเป้าหมายมีวัตถุประสงค์และทำให้เกิดความตั้งใจจริง พอมีความตั้งใจจริงการประพฤติปฏิบัติก็จะเกิดผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเป็นความสำเร็จเพราะฉะนั้นก็ขอให้ได้เข้าใจตระหนักในความมุ่งหมายของการบวชทั้งสี่ประการนี้ ต่อจากนี้ไปก็จะได้มาเรียนเข้าใจเรื่องความหมายของตัวการบวชอีกทีหนึ่ง ว่าถึงการบวชเรียนของเรานี่เป็นประเพณีที่สืบต่อกันมานาน คนไทยเราอย่างที่กล่าวแล้วว่าเรามีประเพณีนี้เท่ากับว่าเป็นเครื่องหมายแสดงถึงการที่พระพุทธศาสนาเนี่ยเข้ามาแน่นแฟ้นอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทย เรามีประเพณีบวชเรียนที่คนไทยทุกหมู่เหล่า เข้ามาบวชเหมือนกันหมดตั้งแต่องค์พระมหากษัตริย์ลงมาจนถึงลูกชาวบ้าน การบวชนี่ก็เป็นเครื่องประสานให้คนไทยทุกคนเนี่ยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การที่เรามาบวชอย่างนี้ก็เข้าใจว่าเป็นประเพณีที่สืบต่อมาจากองค์พระมหากษัตริย์เพราะตามประวัติศาสตร์เท่าที่เราทราบนั้น ก็ว่าการที่มีโยมเข้าไปบวชพระชั่วคราวเนี่ยเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย ก็คือพระมหาธรรมราชาลิไททรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก พอศึกษาธรรมะแล้วคราวหนึ่งก็ทรงมีพระราชศรัทธามากก็เลย เสด็จออกผนวช ก็ไปผนวชที่วัดชื่อว่าวัดอรัญญิกในกรุงสุโขทัยประวัติศาสตร์ก็จารึกไว้ว่านั่น เป็นพ.ศ. 1904 นี้เรื่องที่พระเจ้าลิไทจะบวชนี่ก็มีเรื่องสื่อมาอีกว่า พระองค์ได้ทรงระลึกถึงพระมหาธรรมราชาพระเจ้าอโศกมหาราชนั่นเอง มีเรื่องว่าพระเจ้าอโศกมหาราชก็เคยทรงบวช แต่อันนี้เป็นเรื่องที่ว่ายังตีความกันอยู่แต่เราถือกันว่าคนไทยเราเนี่ยมีประเพณีนี้สืบเนื่องไปสัมพันธ์กันเรื่องพระเจ้าอโศกมหาราชด้วย ก็คือว่าพระเจ้าอโศกมหาราชเนี่ยได้ทรงให้ได้โปรดให้เขียนศิลาจารึกไว้ ศิลาจารึกอยู่แห่งหนึ่งหน่ะมีข้อความบอกว่านับเป็นเวลาได้สองปีครึ่งแล้วที่ข้าได้เป็นอุบาสก แต่ก็ยังไม่ได้ทำความพากเพียรจริงจังเลย และก็เป็นเวลาอีกหนึ่งปีเศษแล้ว ที่ข้าได้เข้าสู่สงฆ์นับแต่เวลานั้นมา ข้าจึงได้ทำความพากเพียรอย่างจริงจังอันนี้อยู่ในศิลาจารึกพระเจ้าอโศก อันนี้ข้อความในนี้บอกว่าเข้าสู่สงฆ์ คำว่าเข้าสู่สงฆ์เนี่ยเป็นคำที่ทำให้ต้องตีความเพราะตัวคำไม่ชัดไม่ได้บอกว่า อุปสมบท ทีนี้ข้างต้นมีคำว่าข้าได้เป็นอุบาสกมาสองปีครึ่งแล้วนี้มาเข้าสู่สงฆ์จึงได้เอาจริงเอาจัง เอ๊ะก็ถ้าเป็นอุบาสกแล้วมาเข้าสู่สงฆ์ก็ต้องบวชสินะฮะ ก็เลยตีความกันว่าทรงผนวช แต่บางท่านก็ยังไม่ยอมรับว่าบวชแต่ เอาละก็มีศิลาจารึกมีความไว้ว่าอย่างนี้เราก็ฟังกันไว้ให้เห็นว่าพระเจ้าอโศกเนี่ยทรงเลื่อมใสศรัทธามาก นี้พระเจ้าอโศกมหาราชได้เข้าสู่สงฆ์นี่ก็พ.ศ. ประมาณ 230 คือพระเจ้าอโศกมหาราชเนี่ยได้ขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อพ.ศ. 218 แล้วก็ยกทัพไปเที่ยวรุกรานตีเมืองโน้นเมืองนี้ 8 ปีจนถึงปีที่ 8 ก็ไปตีแคว้นกาลิงคะทำให้คนล้มตายเป็นแสน พระเจ้าอโศกมหาราชก็ทรงสลดพระทัย แล้วก็มาเลื่อมใสคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็มาเป็นอุบาสกนะฮะ ตอนนี้ 218 มาทำสงครามอีก 8 ปี จึงมานับถือพุทธศาสนาก็เข้าไปปีพ.ศ. 226 และเป็นอุบาสกสองปีครึ่งก็ 228 ปีครึ่งแล้วก็มาเข้าสู่สงฆ์อีกปีเศษก็ตีซะแล้ว 10 ปีอันนี้แหล่ะประมาณปีพ.ศ. 230 พระเจ้าอโศกมหาราชก็ได้ทรงเข้าสู่สงฆ์อย่างที่กล่าวแล้ว อันนี้ก็เป็นคติที่ทำให้อาจจะเกิดประเพณีการบวชที่เริ่มต้นจากองค์พระมหากษัตริย์ ในประเทศไทยคือพระมหาธรรมราชาลิไท นี้ต่อมาสมัยอยุธยา พระเจ้าอยู่หัวบรมไตรโลกนาถซึ่งเป็นมหาราชพระองค์หนึ่ง ก็ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนามากถึงกับสละราชสมบัติออกผนวชชั่วคราว 8 เดือน ที่วัดชื่อจุฬามณีย์ แล้วก็ทรงให้พระราชโอรสพระราชนัดดามาบวชเณรอีก อันนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่แท้จริงของประเพณีบวชเรียนในประเทศไทย ต่อแต่นั้นตั้งแต่องค์พระมหากษัตริย์มาจนถึงชาวบ้านทั่วไปก็พากันถือประเพณีบวชเรียนกันสืบมาอย่างในหลวงพระบาทสมเด็จเพราะเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันก็ได้ทรงผนวชเมื่อพ.ศ. 2499 อันนี้ก็เป็นประเพณีสืบต่อมาพวกเราที่มาบวชนี่ก็ถือว่าได้ทำหน้าที่ของคนไทยอย่างที่กล่าวมาแล้ว เป็นเรื่องที่มีความหมายสำคัญอยู่ในวัฒนธรรมประเพณีแต่อย่างที่กล่าวไว้ว่าข้อสำคัญก็อยู่ที่ตัวท่านเองที่ว่าในที่สุดก็เป็นการทำหน้าที่ต่อตนเองในการที่ได้ศึกษาก็คือบวชเรียน นี้ก็มาศึกษาความหมายของคำว่าบวชกันนิดหนึ่ง คำว่าบวชเนี่ยเป็นคำภาษาบาลี ภาษาบาลีก็ปะวะชะ หรือป.ว.ช หน่ะ ป.ว.ช ก็เวลามาเป็นไทยก็ปอ ก็แผลงเป็นบอ ก็อ่านว่าบวช บวชนี่ก็คำเดียวกับคำว่าบรรพชาเป็นยังไงบวชเนี่ยมีความหมายว่า เว้น ปลีกตัวออกไป เว้นปลีกตัวออกไปจากอะไร หนึ่งก็สิ่งที่เป็นบาปอกุศลหรือว่าสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีที่จะทำให้ชักจูงจิตใจไปในทางที่ไม่ดี เราก็ปลีกตัวออกมาจากสิ่งที่เสียหาย หรืออย่างถ้าสังคมมีอบายมุขมากมีสิ่งชั่วร้ายมากการบวชนี่ก็เป็นการเว้น การละ การสละ การปลีกตัวออกมาจากสิ่งเหล่านั้นทำให้ไกลออกไปอันนี้ก็ประการหนึ่ง ประการที่สองก็ปลีกตัวออกมาเว้นละออกมาจากความสับสนวุ่นวาย อย่างสังคมสมัยนี้ผู้คนจอแจพลุกพล่าน ไม่ได้มีความสงบเราก็สละละเว้นออกมาจากความวุ่นวายนั้นมาอยู่กับบรรยากาศที่วิเวกสงบ สงัด สงัดกายและก็สงัดใจโน้มจิตไปสู่ความวิเวกที่จะได้ปฏิบัติบำเพ็ญเพียรทางจิตใจเช่นทำสมาธิให้ได้ผลยิ่งขึ้น และอีกอย่างหนึ่งก็คือว่าเว้นปลีกตัวออกมาจากเครื่องพะลุงพลังห่วงกังวลทั้งหลาย เช่น วัตถุสิ่งของครอบครองต่างๆ มีกันเกิดขึ้นมานานเข้าก็ สะสมกันไว้มากมาย พอบวชก็ละเว้นมันซักทีนึง ทำตัวให้โล่งให้โปร่งทีนี้การเว้นการปลีกตัวออกมานี้ โปร่งโล่งอย่างนี้ก็ต้องทำใจให้โล่งตามอย่าไปห่วงกังวลเพราะฉะนั้นการบวชเนี่ยสำคัญอย่างหนึ่งก็คือว่าต้องทำตัวเองให้เป็นอิสระมีจิต ใจที่รู้สึกว่าปลอดโปร่งโล่งเบาจริงๆ แต่ว่าความเป็นอิสระนี้ไม่ใช่เพื่อจะได้ไปทำอะไรตามชอบใจ ความเป็นอิสระปลอดโปร่งโล่งเบานี่ก็เพื่อเปิดโอกาสกับชีวิตของเราให้เวลาแก่ชีวิตที่จะได้มาศึกษาเพิ่มเติมได้มาฝึกฝนได้มาพัฒนาชีวิตในทางที่ดีงามเพราะแต่ก่อนนี้อาจจะมัววุ่นวายกับเรื่องทุกอย่างแต่ละวันๆ นี้ไม่มีเวลาที่จะให้โอกาสแก่ชีวิต ตอนนี้เราก็ให้โอกาสกับชีวิตที่จะมาฝึกฝนตนในพระธรรมวินัยตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันนั้นนี่ก็เป็นความหมายของการบรรพชา เพราะฉะนั้นการบรรพชาเราได้โอกาสแล้วก็มาเล่าเรียน ศึกษา ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าให้สมกับการที่ว่าเป็นการบวชเรียน นี้การที่บวชเรียนอย่างนี้ เวลาเราบวชเนี่ยตอนแรกการบวชก็มีสมัยแรกในพุทธกาลก็ได้แก่ อย่างเดียวก็คือ พอบวชเช้ามาก็บวชเป็นพระภิกษุไปเลย ตอนพระพุทธเจ้าประกาศพระศาสนาใหม่ๆ ต่อมามีพระอยู่กันมากคณะสงฆ์ขยายใหญ่โตขึ้นก็ต้องมีระเบียบวินัยเพิ่มขึ้น พระพุทธเจ้าก็จัดสรรระบบของสงฆ์เนี่ยให้มีวินัยมีการจัดลำดับขั้นตอนอะไรต่างๆ วิถีชีวิตให้เป็นระเบียบเป็นระบบมากขึ้น การบวชในปัจจุบันนี้ก็เลยแบ่งเป็นสองตอน คือบวชเณรอย่างหนึ่งบวชพระอย่างหนึ่ง บวชเณรเรียกว่าบรรพชาคำว่าบรรพชาที่ได้กล่าวคำขอเมื่อกี้บอกว่าปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต ขอให้ท่านให้บรรพชาแก่ข้าพเจ้าเนี่ยหมายถึง ให้การบวชเป็นเณรก่อน นี้บวชเป็นเณรแล้วท่านทั้งหลายยังไม่พอใจยังประสงค์ให้สมบูรณ์เป็นพระภิกษุก็ต้องมีคุณสมบัติเช่นว่ามีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์เป็นต้นและก็มีคุณสมบัติอื่นๆพร้อม เมื่อมีคุณสมบัติอื่นพร้อมก็ถือว่ามีสิทธิ์ที่สมัครขอบวชได้ อันนี้เมื่อคณะสงฆ์ยอมรับก็เป็นการบวชเป็นพระภิกษุเรียกว่า อุปสมบทเพราะฉะนั้นการบวชปัจจุบันนี้ก็ต้องแบ่งเป็นสองขั้นตอน คือบวชเป็นเณรเรียกว่าบรรพชา และบวชเป็นพระภิกษุเรียกว่าอุปสมบท สำหรับท่านที่จะบวชเป็นพระภิกษุนั้น ก็ต้องผ่านการบวชเณรก่อน การบวชเณรก็เป็นขั้นตอนเบื้องต้นต้องบรรพชา จากนั้นเมื่อบรรพชาเป็นเณรแล้วก็จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยสมบูรณ์ต่อไปเมื่อบวชเข้ามาแล้วก็เข้ามามีวิถีชีวิตอยู่ในวัด เป็นพระเป็นเณรการเป็นพระเป็นเณร การที่จะเจริญงอกงามในการเรียน อย่างที่บอกว่าบวชเรียนนั้น ก็ต้องอาศัยหลักมีหลักที่จะช่วย หลักนั้นมีอะไรบ้าง หลักสำคัญของผู้ที่มาประพฤติปฏิบัติศึกษาเล่าเรียนในพระธรรมวินัย ก็คือต้องอาศัยพระรัตนตรัย พระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทางเรา เป็นหลักยึดถือให้แก่เรา ที่จะพาเราให้เดินหน้าไปในพระพุทธศาสนา ให้ก้าวหน้าเจริญงอกงามในพระธรรมวินัยได้ เหมือนกับว่าตอนนี้เราจะโดยสารพระรัตนตรัยไปละ สารนะนี่ในความหมายหนึ่งก็หมายความว่าโดยสาร เราจะอาศัยพระรัตนตรัยไปกับท่านละให้ท่านพาไป ทีนี้พระรัตนตรัยนี่เราก็ต้องเข้าใจความหมายว่าท่านจะมาพาเราไปอย่างไร ตอนแรกก็ถือว่าพระรัตนตรัยนี่ก็คือเป็นรัตนสามอย่าง รัตนก็คือสิ่งที่มีค่าที่ว่าเป็นพวกแก้ว แก้วในที่นี่ไม่ใช่หมายถึงแก้วน้ำ แต่หมายถึง แก้วเพชรนิลจินดาเป็นต้นเนี่ยที่เป็นรัตน ที่เป็นนพรัตน์อะไรต่างๆ รัตนต่างๆ เนี่ยสิ่งมีค่า คนเค้าถือกัน ทีนี้สิ่งมีค่าเนี่ยจะเป็นเพชรนิลจินดาก็ตามเนี่ย ก็เป็นมีค่าโดยสมมุติ เรายึดถือกันตกลงกันว่ามีราคาเท่านั้นเท่านี้แต่ที่จริงเอาเข้าจริงนั้นมันมีค่าไม่แท้ เพราะว่ามันไม่เกิดผลต่อชีวิตของเราแท้จริง ไม่ช่วยให้ชีวิตเจริญงอกงามแท้จริงไม่ช่วยชีวิตประเสริฐแท้จริงแม้แต่กินก็ไม่ได้ ลองเราไปติดเกาะสิลองเรือล่ม แล้วไปติดเกาะมีเพชรตั้งกระสอบหนึ่งสิกินไม่ได้เลย ใช่มั๊ยหล่ะสู้ข้าวจานเดียวก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นไอ้เพชรอะไรต่างๆที่ว่ามีค่าเนี่ยมันมีค่าโดยสมมุติเท่านั้นเองมันไม่มีค่าแท้จริง ทีนี้อะไรที่มีค่าสิ่งที่มีค่าแท้จริงก็ต้องทำให้ชีวิตเราดีงามประเสริฐขึ้นได้ นี้พระรัตนตรัยเนี่ยเป็นแหล่งของความดีงาม ความดีงามที่สำคัญมีสองอย่างคือปัญญากับปุญญัง ปัญญาก็คือความรู้เข้าใจปุญญังก็คือความดีหรือบุญ ความรู้และความดีงามเนี่ยเป็นสิ่งมีค่าแท้จริงมีค่าง่ายๆ อย่างที่ว่าอย่างทรัพย์สินเงินทองภายนอกที่ว่ามีค่าง่ายๆ ก็คือว่า เราต้องมีภาระต้องเก็บ ต้องถือต้องแบก ต้องหาม ต้องห่วงต้องกังวล แต่ว่าทรัพย์ที่มีค่าคือความรู้และความดีงามเนี่ย มันไม่ต้องแบกต้องหามอยู่ในตัวเราเราไปไหนก็ไปเองแล้วก็ใครลักไม่ได้ ทรัพย์สินเงินทองของมีค่าข้างนอกนั้น โจรลักได้แต่ว่าความรู้และความดีงามเนี่ยไม่มีใครลักไปได้ แต่ที่สำคัญก็คือว่าทรัพย์ภายนอกยิ่งใช้ยิ่งหมด ยิ่งใช้ยิ่งเปลืองมีแสนหนึ่งใช้ห้าหมื่นเหลือห้าหมื่น ใช้อีกสองหมื่นห้าเหลือสองหมื่นห้า ใช้ไปใช้มาเหลือศูนย์แต่ว่าทรัพย์ภายในคือสิ่งที่มีค่า ความรู้และความดีงามเนี่ย ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม ความรู้เราไปใช้ไปสอนไปบอกคนอื่นเราก็ยิ่งรู้มากชึ้นยิ่งชำนาญชัดเจน ความดีงามเหมือนกันเราทำความดีงาม ความดีงามนั้นยิ่งมากขึ้น ชีวิตของเรายิ่งดีมากขึ้น เพราะฉะนั้นคูณสิ่งมีค่าแท้จริงทรัพย์ภายในเนี่ย ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่มใช้ไม่หมดแต่ที่สำคัญก็คือว่าทรัพย์ภายนอกมันทำให้ชีวิตของเราดีงามประเสริฐไม่ได้ทำให้เรามีความสุขแท้จริงไม่ได้แต่ความรู้ปัญญา ความดีงามบุญกุศลเนี่ย ทำให้เรามีชีวิตดีงามประเสริฐแท้จริง ในที่สุดพ้นจากทุกข์ได้ด้วย เพราะฉะนั้นผู้ที่ฉลาดจึงต้องสะสมทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายนอกมีแต่ไม่มีทรัพย์ภายในไม่มีความรู้ไม่มีความดีเนี่ยยิ่งใช้ยิ่งหมดไป ที่มีอยู่ก็ใช้หมดที่ไม่มีก็หาเพิ่มไม่ได้เพราะว่าไม่มีความรู้ไม่มีความดีแต่คนที่มีทรัพย์ภายในมีความรู้และมีปัญญา มีความดีมีความขยันหมั่นเพียร ทรัพย์ภายนอกที่มีอยู่แล้วก็รักษาได้และก็ทำให้เพิ่มขึ้น ทรัพย์ภายนอกที่ยังไม่มีก็ทำให้มีขึ้นได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่าปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ คนที่มีปัญญาไม่มีทรัพย์ก็หาทรัพย์ได้ แต่คนมีทรัพย์ไม่มีปัญญาทรัพย์ที่มีอยู่รักษาไม่ได้ เพราะฉะนั้นทรัพย์ภายในสำคัญที่สุด และพระรัตนตรัยนี่แหล่ะเป็นแหล่งที่จะให้ทรัพย์ภายใน จึงมีค่าอย่างแท้จริง นี้เราก็มาดูว่าพระรัตนตรัยจะช่วยเราอย่างไร เราก็โดยสารไปกับท่าน โดยสารท่านหนี่งก็พระพุทธเจ้านี่ท่านมาช่วยเราอย่างไร ท่านมาช่วยเราแบบทำให้บันดาลให้ พระพุทธศาสนานี่ไม่เอาเรื่องการดลบันดาล แต่พระพุทธเจ้ามาช่วยให้ปัญญาแก่เรา หนึ่งก็พระองค์ก็เป็นเครื่องเตือนใจเราว่าอ่อ พระองค์นี่ก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งในแต่ก่อนเนี๊ย เดิมพระพุทธเจ้าก็เป็นมนุษย์อย่างเรา แต่เพราะพระองค์เนี่ยฝึกฝนพระองค์เองอย่างที่เราเรียกว่าบำเพ็ญบารมี พระองค์ไม่มีความเข้มแข็ง เสียสละ มีความตั้งใจมั่นคงแน่วแน่ก็บำเพ็ญความดีฝึกตนจนกระทั่งมีปัญญาตรัสรู้ได้ เพราะฉะนั้นเรานี่ก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งมนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ และมนุษย์เนี่ยจะดีจะประเสริฐได้ด้วยการฝึกไม่เหมือนสัตว์ชนิดอื่นอยู่ได้ด้วยสัญชาตญาณ มันเกิดมาแล้วมันไม่ต้องเรียนต้องรู้เท่าไหร่เดี๋ยวมันก็เดินได้กินได้ แล้วมันก็ไปตามเรื่องของมันเกิดมาอย่างไรก็ตายไปอย่างนั้นแต่คนเรานี่ทุกอย่างจะกินจะนอนจะนั่งจะดื่มจะขับถ่ายจะพูดจะเดินต้องฝึกทั้งนั้นถ้าไม่ฝึกแล้วไม่เป็นเลยอยู่ไม่รอด ฉะนั้นมนุษย์เนี่ยเป็นสัตว์ที่พระพุทธศาสนาสอนไว้ว่าเป็นสัตว์ที่ฝึกได้และต้องฝึก และถ้าฝึกแล้วจะประเสริฐถ้าไม่ฝึกแล้วแย่ที่สุดกว่าสัตว์ชนิดใดอื่นเพราะว่าไม่เรียนรู้แล้วอยู่ไม่ได้ตาย ไม่รอดเพราะฉะนั้นเราก็ต้องใช้หลักนี้ ทีนี้มนุษย์ถ้าฝึกแล้วประเสริฐ เป็นมหาบุรุษได้สร้างวัฒนธรรมอริยธรรมได้ ทำสร้างเป็นนักวิทยาศาสตร์ค้นพบเทคโนโลยี ทำประดิษฐ์ต่างๆได้จนกระทั่งเป็นพระพุทธเจ้าได้ มนุษย์เนี่ยสำเร็จได้ด้วยการฝึกเพราะฉะนั้นมนุษย์ มีตัวอย่างก็คือพระพุทธเจ้าเนี่ยได้ทรงฝึกพระองค์จนสูงสุดประเสริฐสุดเป็นพระพุทธเจ้า เราก็ตั้งพระพุทธเจ้าเป็นแบบว่าเออเรานี่เป็นมนุษย์คนหนึ่งนะเราจะมีชีวิตที่ดีต้องฝึกนะฮะ ถ้าเราไม่ยอมหยุดในการฝึกชีวิตของเราก็จะประเสริฐเราก็ศึกษาเรื่อยไป และก็ได้พระพุทธเจ้ามาเป็นเครื่องเตือนใจ ให้เรามีความมั่นใจในความเป็นมนุษย์ว่าเราเนี่ยเป็นสัตว์ที่ฝึกได้ ถ้าเราเอาพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่างเป็นที่ระลึกเตือนใจเราเนี่ยเราจะพยายามฝึกตนให้ดีให้มีคุณความดีให้มีคุณสมบัติอย่างที่พระพุทธเจ้าได้สอนเราให้เป็นอย่างพระองค์หน่ะฮะ แล้วพอเราระลึกพระพุทธเจ้าไว้เป็นแบบแล้วเราก็มีกำลังใจที่จะประพฤติปฏิบัติและเราก็ต้องรู้สำนึกในหน้าที่ว่า เป็นมนุษย์นี่จะเอาดีได้ก็ด้วยการฝึกด้วยการศึกษานะอย่ามัวประมาทอย่ามัวปล่อยตัวปล่อยเวลาไปตั้งใจศึกษาปฏิบัติเล่าเรียน และเราได้เปรียบพระพุทธเจ้านี่ต้องค้นพบเอง พระองค์ต้องลองผิดลองถูกเพียรพยายามลำบากนักหนากว่าจะสำเร็จพระองค์พอสำเร็จแล้วพระองค์ก็ประมวลประสบการณ์ของพระองค์ที่ได้บรรลุธรรมนั้น เอามาวางเป็นหลักให้เราเราก็ได้บทเรียนสำเร็จรูปง่ายกว่าพระพุทธเจ้าเยอะแยะเลยเนี่ย ดังนั้นเราได้ประสบการณ์ของพระพุทธเจ้าเราได้เปรียบแล้ว เพราะฉะนั้นเราก็ต้องใช้ให้เป็นประโยชน์อันนนี้เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วเราก็จะได้ก้าวไปในการฝึกแต่การที่เราจะฝึกฝนพัฒนาตนสำเร็จก้าวหน้าไปด้วยดีเนี่ยจะทำไง อันนี้แหล่ะก็มาถึงพระรัตนตรัยข้อที่สอง พระพุทธเจ้าก็นำเราต่อไปถึงข้อที่สอง ข้อที่สองคืออะไร ก็คือว่าพอระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าโอ้ฝึกพระองค์บำเพ็ญบารมีมาจนเป็นพระพุทธเจ้าประเสริฐสูงสุดได้อย่างเนี้ย พระองค์ประเสริฐได้อย่างไร ก็เพราะตรัสรู้ธรรม พระองค์ปฏิบัติตามธรรมะ รู้แจ้งธรรมะ ก็คือความจริงของสิ่งทั้งหลาย พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่าพระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่เกิดก็ตาม ธรรมะคือความจริงมันก็มีอยู่ตามธรรมดาของมันอย่างนั้น พระพุทธเจ้าเนี่ยได้มาค้นพบความจริงนี้ด้วยพระปัญญาของพระองค์และก็เอามาสั่งสอนเปิดเผยให้พวกเรา นี้พวกเราจะเป็นอย่างพระพุทธเจ้าจะมีชีวิตที่ดีงาม เราก็ต้องรู้เข้าใจธรรมะแล้วเอาธรรมะมาปฏิบัติ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามความจริงของธรรมชาตินั้นคือธรรมะนี่ก็คือความจริงตามธรรมดาธรรมชาติ ถ้าเราไม่รู้ความจริงของสิ่งทั้งหลายเราก็ปฏิบัติไม่ถูก พอเรารู้ความจริงเราปฏิบัติได้ถูกชีวิตของเราก็ดีงาม เราก็มีความเป็นอิสระทำอะไรก็สำเร็จ ไม่ติดขัดเพราะว่าหากถ้าไม่รู้นี่มัน หมดอิสระภาพทันทีมันติดตันทันทีเลย พอเราเจออะไรเราไม่รู้นี่ ตันเกิดปัญหา เป็นความทุกข์ทันที อึดอัดพอเรารู้ว่าอะไรเป็นอะไรจะทำยังไงเราก็โล่งเป็นอิสระเพราะฉะนั้นปัญหาเนี่ยเป็นสิ่งสำคัญ ปัญญาก็รู้ตัวตัวธรรมะก็คือความจริงของสิ่งทั้งหลาย พอรู้ความจริงของสิ่งทั้งหลาย ปฎิบัติถูกต้อง ปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น เช่นว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย เออเราต้องการผลอย่างนี้ต้องทำเหตุปัจจัยอะไร ศึกษาและทำเหตุปัจจัยให้ถูกต้องตาม อันนั้นก็เรียกทำให้ถูกต้องตามธรรมะ ผลก็เกิดขึ้น อันนี้เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็มาเตือนใจเรา แล้วนำเราเข้าสู่พระธรรมบอกว่าเออเธอจะฝึกตนได้สำเร็จประเสริฐได้เนี่ย ก็ต้องรู้ธรรมะปฏิบัติให้ถูกต้องตามธรรมะเราก็มาถึงธรรมะ ก็ธรรมะก็มาเป็นหลักยึดเหนี่ยวให้แก่เราเป็นข้อสำคัญที่จะต้องศึกษาให้รู้เข้าใจปฏิบัติให้ถูกต้องยิ่งขึ้นไปยิ่งเรายิ่งรู้เท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ทำได้ถูกต้องยิ่งดียิ่งประสบความสำเร็จยิ่งมีความสุขความเจริญงอกงามเท่านั้น อ่ะทีนี้ธรรมะเสร็จแล้วก็บอกว่าอ้าวทีนี้เวลาเราปฏิบัติธรรมเนี่ย ธรรมะจะมาถึงเราหนี่งอาศัยพระพุทธเจ้า ถ้าพระพุทธเจ้าไม่อยู่ต้องมีคนรับสืบทอดมาจากพระพุทธเจ้ามาช่วยนำมาให้เรานี้พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว และพระธรรมที่พระองค์สอนเนี่ยมาถึงเราได้ยังไงก็อาศัยพระสงฆ์และอีกอย่างหนึ่งก็คือพระสงฆ์นอกจากนำมาถึงเราแล้ว ท่านยังมาเป็นกัลยานมิตร มีเมตตากรุณามาช่วยแนะนำสั่งสอนเรา เราจะประพฤติปฏิบัติธรรมะอย่างเดียวรู้ธรรมะ รู้ก็ไม่ทั่วถึงรู้ไม่พอหรือบางทีไม่รู้เลยหรือรู้แล้วบางทีไม่มีกำลังใจปฏิบัติก็อาศัยสิ่งแวดล้อม ก็คือชุมชนสงฆ์เนี่ยพระสงฆ์ด้วยการที่อยู่ในวัดวาอารามพระสงฆ์ท่านเป็นกัลยาณมิตรมาช่วยเป็นบรรยากาศแวดล้อมมีวินัย อยู่ด้วยกันในระเบียบก็อยู่กันเป็นชุมชนที่ดีมีเมตตากรุณา ก็มาอยู่ช่วยเหลือกันเอื้อเฟื้อกันสั่งสอนกันเป็นอุปชาอาจารย์ เป็นต้น ตลอดจนเป็นพุทธสธรรมิก ก็ช่วยเกื้อหนุนแก่กันในการปฏิบัติให้เจริญก้าวหน้า เราก็อาศัยสงฆ์เนี่ยเป็นเครื่องช่วยเกื้อหนุนเราให้เจริญงอกงามในการปฏิบัติธรรม จนกระทั่งเราเองก็ไปมีส่วนร่วมเป็นสมาชิกของสงฆ์ไปด้วย นั่นก็จบก็ตกลงว่านี่คือหลักพระศาสนา ถ่ถ้าหากว่าเราได้ประพฤติปฏิบัติดีไปด้วยตามธรรมะเราพลอยร่วมเป็นสงฆ์ด้วยเราก็ช่วยมีส่วนสร้างสังคมที่ดีงาม สังฆะก็คือสังคมที่ดีงามเป็นอุดมคติจะเป็นสังคมของอริยะชน เป็นคนที่ดีประเสริฐไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน อยู่ด้วยความดีงามและความสงบสุข มีความเจริญที่แท้จริง ฉะนั้นเราก็มีหน้าที่ที่จะต้องช่วยสร้างสังฆะนี้ด้วย อย่างสร้างสังฆะ เข้าร่วมเป็นสังฆะเนี่ยไม่ได้ ก็ช่วยอุปถัมภ์สังฆะ แต่ยังไงก็ตามอย่างน้อยก็ได้อาศัยสังฆะเนี่ยทำให้เราเจริญงอกงามในธรรมะนี่ก็คือพระรัตนตรัย ก็ครบมันอ่านว่าสามอย่าง หนึ่งพระพุทธเจ้า สองพระธรรม สามพระสงฆ์ พระพุทธเจ้าเตือนใจเราให้ระลึกถึงตัวเองว่าเราเป็นสัตว์ที่ต้องฝึก ถ้าไม่ฝึกแล้วจะดีจะรอดจะประเสริฐไม่ได้ ฉะนั้นถ้าเราตั้งใจฝึกจะเป็นอย่างพระพุทธเจ้าก็ได้ ขอให้มีกำลังใจและตระหนักในหน้าที่ พอว่าจะฝึกอย่างพระพุทธเจ้า ได้พระพุทธเจ้าเป็นแบบก็นำเข้าสู่ธรรมะ ก็ต้องรู้ธรรมะปฏิบัติให้ถูกต้องตามธรรมะแล้วก็อาศัยสังฆะสงฆ์นี่มาเกี้อหนุนไปด้วยกัน ก็เจริญงอกงามแล้วก็ถ้าทำได้ ให้สังฆะนี้ขยายไปก็จะเป็นสังคมที่ดีงามไปทั่วทั้งโลกนี่ก็เป็นเรื่องหลักของพระพุทธศาสนา พระรัตนตรัย พอรู้เข้าใจอย่างนี้แล้วก็มาสู่หน้าที่ของเรา ก็คือการบวชเรียน ก็จะได้พูดต่อไปตอนนี้ก็เอาว่าจะเข้าสู่การบรรพชาก็รู้ความหมายของการบวชและก็รู้หลักที่เราจะต้องอาศัยในการที่จะศึกษาปฏิบัติต่อไป เมื่อเข้าใจอย่างนี้ก็ถือว่ามีพื้นฐานเบื้องต้นเพียงพอที่จะได้เข้าสู่การบรรพชาต่อไปแล้วต่อแต่นี้ไปเพื่อจะให้การบรรพชาแก่นาค ท่านทั้งหลายเมื่อบวชแล้วเนี่ยเข้ามาอยู่ในวัดก็มีวิถีชีวิตอีกแบบหนึ่ง เริ่มต้นยังไม่ได้เรียนได้รู้อะไรพอมาบวชเปลี่ยนวิถีชีวิตทันทีบางทีตั้งหลักไม่ทัน ท่านก็เลยบอกว่าให้มีหลักที่จะช่วยใจให้ทำใจได้ก่อน ก็เลยท่านก็บอกว่าเออเข้ามาวัดแล้วบางทีบวชใหม่ๆ นี่ถ้าเป็นคนที่ใจชอบสงบสงัดก็ดีหรอก แต่บางทีใจไม่คุ้นเคยนี่ก็จะดื้นรนฝุ้งซ่าน ใจก็จะออกจากวัดไป ไปโน่นไปนี่ท่านก็เลยบอกต้องหางานให้ใจทำซะ ท่านก็เลยบอกว่าให้พระอุปชานี่ให้กรรมฐาน กรรมฐานแปลว่าที่ตั้งของการทำงานหมายถึง งานที่ใจจะทำ หางานให้ใจทำ ทีนี้งานอะไรใจทำดี คนที่มาบวชใหม่ๆ เนี่ยโดยมาก ใจออกไปนอกวัดจะไปคิดถึงคนโน้นคนนี้ คนที่ชอบบางคนที่ชังบ้าง พอคิดถึงคนโน้นคนนี้แล้วใจก็วุ่นวาย กรรมฐานก็จะให้ตรงกันก็คือให้กรรมฐานที่ง่ายๆ ไม่ต้องคิดอะไรมาก คือพอคิดถึงคนนี่มองเป็นผมขนเล็บฟันหนังเท่านั้นเองนะฮะ พอนึกถึงใครคนหนึ่งก็ผมขน เล็บฟันหนัง หยุดเท่านั้นเองนะฮะ พอนึกถึงใครก็ผมขนเล็บฟันหนังจบ หน่ะคนเราเนี่ยเห็นกันแค่ผมขนเล็บฟันหนัง นี้พอบอกว่าผมขนเล็บฟันหนังก็ตัดตอนไปเลย ที่นี้ท่านก็ให้เป็นภาษาบาลีท่านเรียกว่ามูลกรรมฐาน แปลว่ากรรมฐานชั้นมูลหรือกรรมฐานเบื้องต้น กรรมฐานเบื้องต้น หรือกรรมฐานชั้นมูลเนี่ยก็มี 5 ข้อด้วยกัน ว่าเป็นภาษาบาลีซึ่งแปลเป็นไทยอย่าง ที่บอกเมื่อกี้ผมขนเล็บฟันหนัง นี่ท่านให้ว่าเป็นภาษาบาลีว่า ผมก็คือเกษา ขนก็คือโลมา เล็บก็คือ นะ-ขา ฟันก็ ทัน-ตา หนังก็ ตะโจ ก็ว่าไปตามลำดับอย่างนี้ นี่ว่าไปตามลำดับเกษา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ บางทีว่าคล่องไปใจเป็นอื่นซะละปากคล่องใจไม่อยู่ท่านเลยว่าย้อนลำดับซะบ้างจะได้ว่ายากขึ้น ใจจะได้ตั้งใจก็ว่าย้อน เกษา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ย้อนกลับก็เป็น ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกษา ตอนนี้ก็จะให้ฝึกว่า ก็ว่าตามก่อนตอนแรกว่าตามลำดับ เรียกว่าว่าโดยอนุโลม เกษา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ อันนี้ว่าตามลำดับ ทีนี้ว่าย้อนลำดับหรือว่าโดยปติโลม ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกษาก็จำไว้อย่างนี้เรียกว่ามูลกรรมฐาน งานที่ให้ใจทำเวลาอยู่ว่างๆ ไม่มีกิจวัตรไม่มีงานอื่นทำ ก็อาจจะนั่งว่าในใจถึงแม้ไม่ได้นึกถึงใครก็ว่าไปเฉยๆเพียงแต่เป็นคำศัพท์ถ้อยคำใจว่าไปก็ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ ก็เป็นวิธีการเบื้องต้น แต่ถ้าใจเกิดฟุ้งซ่านก็อย่างที่ว่าแหล่ะมองคนก็มองแค่เป็นผม ขน เล็บ ฟัน หนังก็จบเท่านั้น ก็เอาเป็นเครื่องสำหรับฝึกใจ ในเบื้องต้นก็ใช้ประโยชก่อนที่จะได้เล่าเรียนอื่นต่อไป บัดนี้ก็ถือว่านาคพร้อมแล้วที่จะได้รับการบรรพชาก็จะมอบผ้ากาสาวพัสตร์ให้ไป