แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เจริญพร ท่านผู้สนใจภาวนาทุกท่าน วันนี้อาตมาจะพูดในหัวข้อเรื่อง จิตวิทยากับการเจริญภาวนา ซึ่งหัวข้อนี้จะว่าด้วยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยากับข้อปฎิบัติที่เกี่ยวกับจิตใจในพระพุทธศาสนา
จิตวิทยา คือวิชาการสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นและถูกพัฒนามาในประเทศแถบตะวันตก โดยจิตวิทยาตะวันตกมาสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของความสัมพันธ์เชิงวิชาการ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจนจึงต้องทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ด้วย กล่าวคือ
ในโลกตะวันตกมีความสนใจพระพุทธศาสนากันมาก หรือพูดได้ว่ามีความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ 2-3 วันก่อน อาตมาได้ฟังรายการวิทยุ VOA ของอเมริกา ได้พูดถึงความเจริญอย่างรวดเร็วของพระพุทธศาสนาในประเทศอเมริกา จากเมื่อ 20 ปีก่อน มีศูนย์หรือสำนักของพุทธศาสนาไม่กี่แห่ง ปัจจุบันมีมากถึง 425 แห่ง มีสถิติที่ยังไม่ยืนยันว่ามีชาวพุทธเพิ่มขึ้นจากหลักแสนมาเป็น 2-3 ล้านคน เมื่อเทียบกับชาวยิวมี 4 ล้าน ถือว่าเป็นความเจริญก้าวหน้าของพระพุทธศาสนารวดเร็วมาก แต่ความจริงแล้วพระพุทธศาสนาได้รับความสนใจจากตะวันตกมายาวนาน เรียกได้ว่าถึงศตวรรษแล้ว ก่อนที่จะมาเจริญอย่างมากในช่วง 20 ปีมานี้
ในช่วงยุคอาณานิคมมีชาวตะวันตกเข้ามาในประเทศแถบเอเชีย และการเมืองการปกครองต้องเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย แต่การเรียนรู้วัฒนธรรมทำให้ต้องเรียนรู้พระพุทธศาสนาด้วย โดยผู้ที่สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาโดยตรงมีความสนใจอย่างจริงจัง กระทั่งหันไปศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างเดียวกลายเป็นงานของชีวิต บางคนก็หันมานับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งความสนใจพระพุทธศาสนาในช่วงนั้นเป็นไปในเชิงปัญหาหรือความสนใจเชิงวิชาการ โดยเฉพาะในยุคที่อุตสาหกรรมเจริญใหม่ๆ ผู้คนฝากความหวังไว้กับอุตสาหกรรม ที่มีเทคโนโลยีเจริญขึ้นโดยอาศัยวิทยาศาสตร์ ผู้คนกำลังอยู่ในระยะที่ตื่นวิทยาศาสตร์มากและมีความภูมิใจในวิทยาศาสตร์
จุดที่ชาวตะวันตกหันมาสนใจพระพุทธศาสนา เนื่องจากเห็นว่าพระพุทธศาสนามีคำสอนที่สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งฝรั่งมักอ้างถึง “กาลามสูตร” รวมถึงมีความแปลกประหลาด อัศจรรย์ใจว่าพระพุทธศาสนาไม่เหมือนกับศาสนาใดๆเลย เพราะศาสนาส่วนใหญ่เน้นเรื่องศรัทธา ต้องเชื่อตามหลักคำสอน แต่พระพุทธศาสนาสอนอย่าง กาลามสูตร คือ อย่าเชื่อเพียงเพราะได้ยินได้ฟังกันมา ทำให้ฝรั่งเห็นว่าคำสอนของพระพุทธศาสนาสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์
ในยุคปัจจุบัน (ช่วง 20-30 ปีมานี้) แนวความสนใจเปลี่ยนไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคม การพัฒนาอุตสาหกรรมนั้นเมื่อผ่านมาระยะหนึ่งทำให้คนเกิดปัญหาจากการพัฒนา คนจำนวนไม่น้อยมีปัญหาการใช้ชีวิตที่ผิดพลาด ซึ่งการใช้ชีวิตที่ผิดพลาดก็ทำให้เกิดปัญหาทางจิตใจ ซึ่งบางทีก็โทษว่าเกิดจากการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด เรียกว่าเป็นปัญหาในยุคอุตสาหกรรม เมื่อคนมีปัญหาทางจิตใจมากทั้งๆที่มีวัตถุพรั่งพร้อมมากขึ้น ทำให้คนมาสนใจพระพุทธศาสนาในแง่ใหม่ ช่วงหลังจึงทำให้ฝรั่งหันสนใจพุทธศาสนาในแง่การแก้ปัญหาทางจิตใจ ในการฝึกปฏิบัติสมาธิหรือการเจริญภาวนา นี้เป็นความโน้มเอียงหรือความสนใจในตะวันตก อย่างเช่นประเทศอเมริกา เป็นต้น
ไม่เพียงแต่คนทั่วไปที่สใจแต่ในทางวิชาการก็ให้ความสนใจด้วย จึงมีการศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งในเชิงวิชาการจิตวิทยา ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ โดยเฉพาะที่กล่าวมาแล้วคือการปฏิบัติสมาธิ จะเห็นว่าในระยะหลัง 20-30 ปี มีศูนย์ปฏิบัติสมาธิตั้งขึ้นในประเทศตะวันตกโดยเฉพาะอเมริกามากหมาย มีพุทธศาสนาแบบเซน แบบทิเบต แบบเถรวาท เข้าไป อย่างเช่น สถาบันนาโรปะ ที่เมืองโบลเดอร์ รัฐโคโลราโด เป็นพุทธศาสนาแบบทิเบต มีการตั้งสถานบันการศึกษา นอกจากมีการฝึกสมาธิในภาคปฏิบัติแล้วยังมีการสอนจิตวิทยาในเชิงวิชาการด้วย สำนักของทิเบตมีสาขาอยู่ในประเทศอเมริกามากมาย เมื่อหลายปีก่อนมีถึง 30-40 แห่ง ก่อนนั้นนิกายเซนของญี่ปุ่น ได้รับความนิยมอยู่ก่อนแล้ว มีความแพร่หลาย จนกระทั้งทิเบตเข้ามา
สำหรับฝ่ายเถรวาท ส่วนมากจะเป็นชาวตะวันตกที่มาศึกษาที่ประเทศแถบเอเชีย มาฝึกปฏิบัติหรือมาบวชพระ ฝึกสมาธิ เจริญภาวนา แล้วกลับไปประเทศของตน มีการตั้งศูนย์เผยแพร่พระพุทธศาสนาที่เน้นการปฏิบัติและการเจริญภาวนา เช่น เมืองมาเล่ รัฐแมสซาซูเซตส์ มีผู้เข้าปฏิบัติเป็นคอร์สในคอร์สหนึ่งๆมี 150 คน ส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว นี้คือภาพของความสนใจในพระพุทธศาสนาในประเทศตะวันตกซึ่งเน้นการทำสมาธิ ทำให้การปฏิบัติสมาธิกลายเป็นแฟชั่น
นักจิตวิทยาสนใจพระพุทธศาสนา คือการทำสมาธิ ซึ่งนักจิตวิทยาสนใจนำมาใช้ในทางจิตบำบัด และในทางทฤษฎีวิชาจิตวิทยา ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเกิดจากการมองเห็นปัญหาของมนุษย์ในยุคอุตสาหกรรม รวมกับความสนใจในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะภาคปฏิบัติการเจริญภาวนาในตะวันตกมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในสภาพชีวิตและสังคม ซึ่งมนุษย์ในยุคนี้มีความผิดหวังในการเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม เกิดปัญหาต่างๆขึ้นมามากมาย โดยเฉพาะปัญหาทางจิตใจ ที่เกิดมาจากปัญหาในสภาพแวดล้อม ทำให้ปัญหาต่างๆเข้ามามากกมาย วิชาการตะวันตกจึงไม่เพียงพอในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น พร้อมทั้งความใฝ่รู้ของคนตะวันตกทำให้กระแสความสนใจนี้มาบรรจบเข้ากับเรื่องพระพุทธศาสนา เท่ากับว่าชาวตะวันตก นักวิชาการจิตวิทยามาสนใจพระพุทธศาสนาเพื่อต้องการจะนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในวงวิชาการจิตวิทยาสมัยใหม่หรือจิตวิทยาตะวันตกนั้นยอมรับเอาจิตวิทยาของพระพุทธศาสนามาเป็นวิชาการที่พึงศึกษา แต่ถ้ามองในแง่พระพุทธศาสนาก็ถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นตัวของตัวเอง มีระบบจิตวิทยาที่ถือว่ามีความสมบูรณ์ในตัวของตัวของตัวเอง เป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจกันเบื้องต้น
ความเหมือนหรือแตกต่างของจิตวิทยาในพุทธศาสนากับจิตวิทยาตะวันตก
ถึงแม้ว่าจะมองเรื่องความสัมพันธ์แต่ควรมองถึงความแตกต่างด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น จิตวิทยาตะวันตก ได้พัฒนาและเน้นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาป่วยทางจิตใจเป็นจุดเริ่มต้นที่พยายามแก้ปัญหาผู้ป่วยทางจิตและมีการทำความเข้าใจความเป็นมนุษย์และพัฒนาความรู้เชิงทฤษฎีขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาคนไข้เหล่านั้นด้วย ต่อมามีการใช้ในทางบวก เช่น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พัฒนาแรงจูงใจ ใช้วงการศึกษา เป็นต้น สำหรับความสัมพันธ์กับค่านิยมในทางอุตสาหกรรม การพัฒนาจิตวิทยาตะวันตกนั้นไปประสานกับจิตวิทยาในยุคอุตสาหกรรมทำให้คนทั่วไปมองจิตวิทยานำมาใช้ในแง่การจัดการกับคนอื่น เพื่อสนองความต้องการของตนเอง จัดการคนอื่นให้เป็นไปตามความปราถนาของตนเอง ความหมายของตะวันตกมักจะพูดในแง่ของคำที่ว่า จิตวิทยานำมาใช้ในการทำจุดมุ่งหมายของตนให้สำเร็จ ซึ่งความมุ่งหมายนั้นจะดีหรือไม่ดีก็ได้ แต่ในยุคอุตสาหกรรมนั้นจะแสวงหาความพรั่งพร้อม ทางวัตถุ ลาภยศ เกียรติยศให้กับตนเอง
ปัจจุบันจิตวิทยาตะวันตก ต้องมาเผชิญกับปัญหาของมนุษย์ในยุคอุตสาหกรรม แนวโน้มก็จะต้องเปลี่ยนไป คือการที่จะต้องมาแก้ปัญหาของมนุษย์ที่ประสบปัญหากับการแสวงหาในยุคอุตสาหกรรมหรือค่านิยมในยุคเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเรื่อยมาจนกระทั่งในยุคปัจจุบัน มองในฝ่ายพุทธศาสนา มองปัญหาจิตใจของคนไม่ได้จำกัดวงของการป่วยทางจิต แต่ปัญหาจิตใจของคนในทางพระพุทธศาสนาหมายถึงปัญหาของมนุษย์ทั่วไปทุกคนที่ยังมีความทุกข์ ยังมีความบกพร่อง คนที่ยังไม่สมบูรณ์ พูดง่ายๆก็คือมนุษย์ทุกคนที่ยังไม่ไร้ทุกข์ กล่าวคือ พระพุทธศาสนาสนใจปัญหาของทุกคนธรรมดาสามัญที่อยู่ในสังคมทั่วไปแล้วขยายความสนใจนี้ให้ครอบคลุมไปทั้งเรื่องปัญหาที่มีต่อชีวิตบุคคลและปัญหาสังคมด้วย
เมื่อเรามองปัญหาของมนุษย์ พระพุทธศาสนาไม่ได้มองแบบแยกส่วน แต่มองเรื่องจิตใจของมนุษย์สัมพันธ์กับการดำเนินของวิถีชีวิต เพราะฉะนั้นในพระพุทธศาสนามองจิตวิทยาในแง่ของการแก้ไขปัญหาและการพัฒนามนุษย์ เราจึงมองว่าจิตวิทยาในพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของกระบวนการพัฒนามนุษย์ หากเราพูดแต่จิตวิทยาก็จะทำให้เข้าใจผิด เพราะทำให้รู้สึกว่าเป็นการแยกวิชากับจิตใจออกมาจากระบบอื่น ซึ่งระบบในพระพุทธศาสนาเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นองค์รวม กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาสมัยใหม่นี้ใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์คือถือเอาประสบการณ์เป็นสำคัญ ใช้การตรวจสอบและทดลอง แต่ความหมายของการตรวจสอบและทดลองในพระพุทธศาสนา ในจิตวิทยา สมัยใหม่หรือตะวันตกนี้อาจจะไม่ตรงกัน ในจิตวิทยาตะวันตกนั้นใช้วิธีวิทยาศาสตร์ที่เน้นไปทางวัตถุ คือการที่จะต้องตรวจทดลองออกมาให้เป็นรูปธรรม ให้แสดงผลออกมาในสิ่งที่สามารถมองเห็นได้ บางทีก็ดูที่พฤติกรรมภายนอก และแสดงออกที่ปรากฎในเชิงสังคม แต่ของพระพุทธศาสนานั้นคำว่าประสบการณ์ที่เราจะมองหมายถึงประสบการณ์ของจิตใจ ประสบการณ์ที่ได้รับ ได้รู้ ได้ประจักษ์ในเชิงของจิตใจของตนเอง ซึ่งเทียบกับทางตะวันตกก็คือ Introspection ศึกษาละเอียดก็จะเห็นว่ามันไม่เหมือนกันซะทีเดียว
ประสบการณ์ทางจิตใจโดยตรงเป็นเรื่องสำคัญ คือคนเราที่จะรู้ความรัก ความโกรธ ความหลง ก็รู้ในจิตใจของตนเองชัดเจนโดยตรง เป็นสิ่งที่เป็นเรื่องเฉพาะตน ประสบการณ์ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ ประสบการณ์ทางจิตใจโยงมาสู่พฤติกรรมภายนอกด้วย ซึ่งระบบนี้เป็นระบบหนึ่งของมนุษย์ซึ่งไม่อาจจะแยกออกจากกัน เรียกว่าเป็นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัย เป็นองค์รวม ระบบชีวิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทุกสิ่งอาศัยซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นในพระพุทธศาสนานั้นประสบการณ์ทางจิตใจถือว่าเป็นผลโยงมาทางด้านพฤติกรรม และพฤติกรรมก็โยงไปถึงด้านจิตใจด้วย จากนี้ทำให้เรามองเห็นว่าจิตวิทยาตะวันตกมักจะมองเน้นด้านจิตวิทยา ด้านปัญหาชีวิตจิตใจของมนุษย์โดยเน้นเป็นอย่างๆไป โดยแต่ละสำนักก็จะเน้นจุดนั้น ปฏิเสธด้านอื่น บางสำนักจะเน้นสนใจเฉพาะเรื่องจิตไร้สำนักหรือให้ความสำคัญด้านนี้เป็นพิเศษ บางสำนักก็เน้นพฤติกรรมเพราะพฤติกรรมเป็นของแน่นอน แต่ไม่ยอมรับเรื่องภายในจิตใจ เป็นต้น เรียกได้ว่าแยกเน้นกันไปเป็นอย่างๆแต่ในพระพุทธศาสนามองว่าทุกส่วนมีความสำคัญและมีความสัมพันธ์กัน จึงต้องมีการโยงประสานและมองความสำคัญเป็นปัจจัยสัมพันธ์กัน ซึ่งความสัมพันธ์แต่ละด้านของจิตใจมนุษย์นั้นมีความสำคัญไม่เท่ากัน เราจะมองว่ามีความสำคัญแค่ไหนก็ให้มองความสัมพันธ์กับระดับพัฒนาการของบุคคล เช่น บุคคลที่มีพัฒนาการในระดับต้น ซึ่งระดับนี้การมองพฤติกรรมภายนอกจะมีความสำคัญมาก แต่เมื่อบุคคลมีพัฒนาการระดับสูงขึ้นไป มีจิตใจลึกถึงระดับปัญญา จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นอีก เพราะฉะนั้นพุทธศาสนาจะมองโดยภาพรวมองค์ประกอบระดับต่างๆทุกระดับ ทุกส่วน มาโยงมาสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน อาจจะกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนานั้นมองกฎธรรมชาติโดยแยกออกไปเป็นด้านๆ คือ ด้านเกี่ยวกับชีวิตจิตใจมนุษย์จะมีกฎธรรมชาติที่สัมพันธ์อยู่ด้วยกัน 2 ส่วน ได้แก่ จิตนิยาม กับ กรรมนิยาม
จิตนิยาม กับ กรรมนิยาม
จิตนิยาม หมายถึง กฎเกี่ยวกับการทำงานของจิตใจ
กรรมนิยาม หมายถึง กฎเกณฑ์เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ พฤติกรรมและผลของพฤติกรรมนั้นๆ
ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นคนละกฎ เป็นกฎธรรมชาติคนละด้าน โดยรวมแล้วเป็นความสัมพันธ์ของกฎเดียวกันแต่แยกศึกษากัน เพราะฉะนั้นจิตนิยาม กับ กรรมนิยาม ต่างกับจิตวิทยาตะวันตกซึ่งถ้าเรามองจากแง่มุมของพระพุทธศาสนาจะเห็นว่าการมองเรื่องกฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับชีวิตจิตใจของมนุษย์ มันมีคำอธิบายสับสนอยู่ ใช่ว่าจะมองเชิงพฤติกรรมอย่างเดียว โดยมองเรื่องจิตใจมาเป็นพฤติกรรมต่างๆ ก็จะสับสนระหว่างจิตนิยามกับกรรมนิยามเป็นต้น
อีกอย่างหนึ่งจากการที่ว่าทางตะวันตกมองแยกเรื่องเกี่ยวกับระบบจิตใจ ชีวิต ของมนุษย์เป็นส่วนๆ จึงมองแยกจิต กับ ปัญญา บางทีไม่ได้สนใจเรื่องปัญญา บางทีสนใจแต่ไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน บางทีเน้นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งพระพุทธศาสนาอย่างที่กล่าวแล้วว่าทั้งหมดนี้เป็นส่วนประกอบ เป็นองค์รวม เพราะฉะนั้นเรื่องจิตับปัญญาในพระพุทธศาสนาจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก เราถือว่าจะเป็นเรื่องที่แยกจากกันไม่ได้ มีผลต่อกัน ปัญหาของมนุษย์โดยเฉพาะด้านจิตใจจะมีสาเหตุทางจิตใจ แต่ก็จะมีสาเหตุทางด้านปัญญาด้วย เมื่อมองให้ลึกซึ่งแล้วสาเหตุทางด้านจิตใจจะเป็นส่วนที่เบื้องต้น และหากสืบให้ลึกลงไปก็จะเป็นปัญหาทางด้านปัญญา หรือการขาดปัญญา เพราะฉะนั้นในขั้นสุดท้ายในการแก้ไขปัญหาทางด้านจิตใจ แก้ปัญหาระบบชีวิตทั้งหมดของมนุษย์จึงต้องเอาปัญญาเป็นตัวแก้ปัญหา เป็นตัวตัดสิน ซึ่งปัญญาจะกลายเป็นตัวในการแก้ปัญหาทางด้านจิตใจและนำจิตใจมนุษย์ไปสู่อิสรภาพ
หากพูดถึงทุกข์ของมนุษย์ เราอาจกล่าวถึงสาเหตุระดับจิตใจก็คือตัณหา แต่สาเหตุทางจิตใจหรือสาเหตุระดับตัณหานั้นยังไม่ใช่ขั้นสุดท้าย เพราะการแก้ปัญหาทางด้านตัณหาอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาทุกปัญหาของมนุษย์ได้ สาเหตุทางด้านปัญญาที่ลึกลงไปคืออวิชา เรื่องเดียวกันต้องสืบการแก้ปัญหา ๒ ระดับ หากจะการแก้ปัญหาให้จบต้องแก้ที่อวิชา แก้ไปให้ถึงระบบชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด เรามองได้ถึง ๓ คือ ๑) ระดับระดับพฤติกรรม ได้แก่ ทุจริต การมีเจตนาที่ไม่ถูกต้อง เจตนาที่ไม่ดีงาม เราเรียกว่าปัญหาในระดับนี้ว่า “ศีล” ๒) ระดับจิตใจเป็นสาเหตุระดับตัณหา และ ๓) ระดับปัญญา ทั้ง ๓ ระดับนี้มีสาเหตุโยงเป็นปัจจัยสัมพันธ์กัน เป็นจุดสนใจและเป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนาสอนไว้
ความเป็นไปของสังคมตะวันตกที่สนใจพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะข้อปฏิบัติทางด้านจิตใจ จากที่กล่าวแล้วข้างต้นถึงความเปลี่ยนแปลงสภาพชีวิตและสังคม ปัญหาของชีวิตมนุษย์ในยุคพัฒนาอุตสาหกรรมที่ผ่านมา ที่นำมาสู่การสนใจในพระพุทธศาสนา ความเจริญในยุคอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศตะวันตกนั้น ได้ทำให้คนมีความพรั่งพร้อมทางวัตถุมากขึ้น แต่แล้วก็ปรากฎว่าชีวิตของมนุษย์ที่เจริญพรั่งพร้อมด้วยวัตถุมากนี้กลับมีปัญหามากขึ้นในด้านจิตใจ ได้แก่ strain (ความเครียด) Alienation (ความรู้สึกแปลกแยก) Boredom (ความรู้สึกเบื่อหน่าย) Loneliness (ความหว่าเหว่ โดดเดี่ยว) Emptiness (ความว่างเปล่า) ซึ่งสภาพจิตใจเหล่านี้กำลังรบกวน รังควาน ความสุขของคนในประเทศตะวันตกเป็นอย่างมาก และพยายามหาทางออก เห็นว่าการมีความพรั่งพร้อมทางวัตถุนั้นไม่มีความหมาย ในเมื่อปัญหาเหล่านี้มีอยู่และมีความบีบคั่น กดดัน หรือมีความทุกข์นั้นเอง เคยมีนักเขียนได้เขียนเกี่ยวกับความเจริญของสังคมอเมริกัน สรุปสภาพชีวิตจิตใจของคนในสังคมอเมริกันไว้ มีสภาพปัญหา ๓ เรื่อง คือ
กลายเป็นว่าสังคมที่เจริญไปอย่างมากมาย มีเสรีภาพ มีความคิด แต่กลับตรงกันข้าม คนไม่ต้องการใช้ปัญญา ไม่ต้องการเสรีภาพ แต่อยากมีชีวิต เป็นอยู่เป็นแบบที่ว่าให้เขาสั่งมา สำเร็จรูป ซึ่งเป็นปัญหาต่อสภาพจิตใจของคนอเมริกัน เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่า สภาพความหลงไหลงมงายมีขึ้นเป็นคู่แข่งกัน ร่วมถึงมีคนเคยกล่าวไว้ว่า สังคมเมริกันไม่มีภาวะความสุขที่เป็นส่วนร่วม ขาดความอบอุ่น ความมีน้ำใจ เป็นปัญหาเกี่ยวเนื่องกับ ๓ ข้อข้างต้น
จิตวิทยาตะวันตกใช้ในแง่อุบายของมนุษย์ในการตอบสนองของความต้องการของตนเอง มีส่วนร่วมในการก่อปัญหาสังคมด้วย เป็นจุดที่ทำให้วงการจิตวิทยาขยายความสนใจจากคนเจ็บป่วยทางจิต เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยน มาสู่อาการเจ็บไข้ของสังคมทั่วไป (สังคมป่วย) การเปลี่ยนแปลงในการเข้าใจเกี่ยวกับความเจ็บป่วยด้านสุขภาพ เมื่อขยายก็มาบรรจบกับพุทธศาสนา แต่พูดถึงปัญหาจิตใจของทุกคนที่ไม่ไร้ทุกข์ ตราบใดที่ยังเป็นคนไม่สมบูรณ์ก็อยู่ในความสนใจของพุทธศาสนาทั้งสิ้น นั้นคือ ๑) ความสนใจในการแก้ปัญหาจิตใจ มีความสัมพันธ์กับตะวันออก คือ สมาธิ และ ๒) การขยายความหมายของการป่วยทางจิต ตรงกับปัญหาความทุกข์พื้นฐานของพระพุทธศาสนา นี้คือจุดสำคัญกับจิตวิทยาตะวันตก กับ พระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาพื้นฐานของมนุษย์จะเชื่อมโยงกับกระบวนการพัฒนามนุษย์ด้วย
นักจิตวิทยาตะวันตก สนใจการทำสมาธิ (meditation) ซึ่งไม่ครอบคลุมกับการเจริญภาวนา การเข้ามาใช้ประโยชน์จากพระพุทธศาสนา คือ ระดับวิธีการแก้ปัญหา เป็นการนำเอาพระพุทธศาสนาไปใช้ตามแนวความเชื่อ ความรู้ของตนเอง ส่วนการปฏิบัติเป็นการขยายมาสู่การแก้ปัญหาในสังคมทั่วไป จิตวิทยาเกี่ยวกับมนุษย์ไม่เหมือนกับวิทยาศาสตร์ สิ่งที่เกิดจากวิทยาศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเข้าพื้นฐานของมนุษย์ ในการใช้ประโยชน์เป็นการใช้ประโยชน์ภายนอก ทำให้เราเข้าใจโลกวัตถุยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทำให้เกิดปัญหากับมนุษย์เช่นกัน
จิตวิทยา หากไม่เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ แม้จะเอาวิธีพุทธศาสนาไปใช้ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้สิ้นเชิง เพราะฉะนั้นปัญหาวิธีการ หรือ ระดับวิธีการ ต้องโยงปัญหาไปกับองค์ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ด้วย ซึ่งความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์นี้จะทำให้เข้าใจจิตใจ จุดหมายของชีวิตมนุษย์ไปด้วย วิธีทางพุทธศาสนาจึงไปเสริมจิตวิทยาตะวันตก แต่หากนำวิธีการไปใช้ไม่ถูกต้องก็จะมีความเสี่ยงต่อความผิดพลาด จึงจะเห็นว่าปัจจุบันนี้ได้นำเอาวิธีการสมาธิของตะวันออกไปใช้เพื่อสนองค่านิยมของสังคมอุตสาหกรรม หรือการนำสมาธิไปใช้เพื่อที่จะให้มีความสามารถมากขึ้น ถือว่าเป็นการประยุกต์จิตวิทยาตะวันตกกับข้อปฏิบัติในจิตใจตะวันออก ซึ่งจะมีการวิเคราะห์กันอีกว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ถูกต้องจริงหรือไม่ ก็โดยอาศัยพื้นฐานดังที่กล่าวมาแล้ว
สรุปได้ว่าจากเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ต้องมีการศึกษาพุทธศาสนาหรือเรื่องจิตใจของพระพุทธศาสนา ๒ ระดับ คือ ๑) ความเข้าใจธรรมชาติหรือจุดหมายของชีวิต และ ๒) การแก้ปัญหาของมนุษย์ในระดับวิธีการ จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าตะวันตกสนใจระดับวิธีการมากกว่านั้นคือนำเอาสมาธิไปใช้ และโยงเข้าหาความรู้ ทฤษฎีต่างๆด้วย แต่ก็เป็นการนำเอาวิธีการไปใช้ ตัวทฤษฎีที่สมบูรณ์
หากมามองถึงการยอมรับ มองจากแง่ของเราก่อนว่ามองว่าพระพุทธศาสนามีความสมบูรณ์ในตัว การที่จะเข้าถึงอย่างแท้จริงต้องศึกษาทฤษฎีพระพุทธศาสนาทั้งหมด มีข้อแม้ในทางพระพุทธศาสนาที่ว่า การที่จะเข้าใจพระพุทธศาสนาได้ เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ได้นั้น การศึกษาเพียงทฤษฎีไม่เพียงพอแต่ต้องพิสูจย์ด้วยประสบการณ์ตรงหรือการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติหรือการภาวนา เป็นการตรวจสอบความรู้ทางทฤษฎี ทำให้ความรู้หรือการศึกษาโดยทฤษฎีนั้นไม่ไขว้เขว จิตวิทยาตะวันตกจึงสนใจการปฏิบัติ หาประสบการณ์ทางจิต แต่การปฏิบัติโดยไม่มีทฤษฎีรองรับก็จะทำให้หลงไปกับประสบการณ์ของตน ซึ่งอาจทำให้เกิดความไขว้เขว้ได้ เรารู้ปริยัติหรือทฤษฎี (ทฤษฎีในพระพุทธศาสนาไม่ใช่เป็นความรู้เชิงเหตุผล แต่ทฤษฎีในทางพระพุทธศาสนาในที่นี้หมายถึงบันทึกประสบการณ์ของผู้ที่เคยปฏิบัติมาแล้วนั้นเอง) ซึ่งได้ประสบการณ์จริง เพราะฉะนั้นการที่เรารู้ทฤษฎีของพระพุทธศาสนาเป็นการนำประสบการณ์ของผู้ที่เคยปฏิบัติไปแล้วโดยเฉพาะของพระพุทธเจ้ามาตรวจสอบกับประสบการณ์ของเรา นั้นคือการตรวจสอบประสบการณ์ด้วยประสบการณ์ แต่เป็นการตรวจสอบประสบการณ์ของเราเฉพาะตัวด้วยเป็นของท่านที่เรายอมรับว่าเป็นวิธีการที่ถูก เข้าถึงความจริงแล้ว หรือว่าได้บรรลุผลของการปฏิบัติแล้ว จึงวนกลับไปกลับมาว่าการศึกษาทฤษฎีจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีประสบการณ์จากการปฏิบัติ แต่การปฏิบัติจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีความรู้ทางทฤษฎีของท่านที่ได้ปฏิบัติมาก่อนนี้ มาเป็นเครื่องตรวจสอบด้วย เพราะฉะนั้นต้องรู้และเข้าใจ ๒ ประการ คือ ประการที่หนึ่ง การศึกษาด้านทฤษฎีหรือปริยัติ ในที่นี้ก็เท่ากับการศึกษาหลักการเพื่อเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์และจุดหมายของชีวิต ประการที่สอง ต้องมีการปฏิบัติ หรือ ภาวนา เป็นวิธีการพิสูจย์ความจริงของปริยัติให้มีผลจริงแท้
จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นตัวอย่างการแก้ปัญหาจิตใจ ที่เกิดมาจากความขัดแย้งในสภาพความเป็นจริงในชีวิตและสังคม กับสภาพจิตใจของมนุษย์ซึ่งไม่มีปัญญารับมือให้เท่าทันกันกับสภาพความเป็นจริงในสังคมนั้น เมื่อไม่มีปัญญาพอที่จะรับมือกับมันจะเป็นความขัดแย้งและเป็นปมขึ้นมา ขอยกตัวอย่าง คำพูด ๔ ประโยคให้เห็นลักษณะความเป็นไปของมนุษย์ในสังคมอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้วที่กำลังมีปัญหายุ่งยาก ดังนี้
กรณีตัวอย่าง ปัญหาคนเหงา หว่าเว้ อยู่คนเดียวไม่ได้ เพราะข้างในว่างเปล่าเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนในสังคมปัจจุบันมาก คนกลุ่มนี้จะวิ่งออกข้างนอกเพื่อเติมเต็มตนเอง ไม่สามารถมีความสุขกับการอยู่กับตนเอง ในขณะที่คนเหงา หว่าเว้ ในการอยู่คนเดียว วัฒนธรรมตะวันตกแก้ปัญหาอย่างไร (วิธีปฏิบัติในการแก้ปัญหา) วัฒนธรรมตะวันตกแทนที่จะไปแก้ปัญหาที่ต้นตอ คือให้คนสามารถอยู่คนเดียวได้โดยไม่หว่าเหว้ แต่ไม่เป็นอย่างนั้น ใช้วิธีเปลี่ยนความเหงาเปล่าเปลี่ยวจากการอยู่คนเดียวมาเป็นความเหงาเปล่าเปลี่ยวเป็นหมู่คณะ กลายเป็นซ้ำปัญหา ปัญหาเดิมไม่ได้แก้ แต่ยังเพิ่มปัญหาใหม่ เพราะแต่ละคนต่างก็หนีจากตนเองเพื่อออกมาหามาเติมจึงไม่สามารถช่วยเหลือกันได้ สังคมนั้นก็ไม่สามารถสนองความต้องการของบุคคล เป็นสังคมที่มีการยิ้มก็ยิ้มแบบธุรกิจ ไม่จิรงใจ แต่ในทางพระพุทธศาสนามองว่าต้องแก้ที่ต้นตอ แก้ที่จุดปัญหาโดยตรง คือ ทำให้สามารถอยู่คนเดียวได้อย่างมีความสุข เรียกว่าเป็นสุขในวิเวก อยู่คนเดียวได้โดยไม่ต้องวิ่งออกไปข้างนอก ทำให้ตนเองเต็มจากข้างใน เมื่อออกไปสู่สังคมก็มีความชื่นชม เบิกบาน สุข เพราะแต่ละคนในสังคมต่างก็เต็ม มีความพร้อมที่จะให้กับผู้อื่น เกิดไมตรีที่ดี จิตวิทยาถูกนำมาฝึกสนองความต้องการคือ ให้คนยิ้มที่หน้าพร้อมกับอ้ามือล่วงกระเป๋าได้ด้วย หากใครทำได้สำเร็จเรียกได้ว่ามีจิตวิทยา พระพุทธศาสนาคนจะต้องมีความเต็มในตัว การยิ้มจะต้องยิ้มด้วยใจจริง คนมีความเต็มสมบูรณ์มาและได้ความเต็มนี้กลับไป อยู่คนเดียวก็มีความสุข เมื่ออยู่ในสังคมก็เป็นสังคมแห่งความสุขด้วย นี้เป็นตัวอย่างที่ยกมาเปรียบเทียบถึงวิธีการของพระพุทธศาสนากับเรื่องของตะวันตก
การทำให้มีความสุขอยู่กับตนเองได้ โดยไม่ต้องวิ่งหนีตนเอง เป็นจุดสำคัญอย่างหนึ่งในการแก้ปัญหาซึ่งแก้ปัญหาจากบุคคลแล้วก็ขยายไปสู่สังคมด้วย แต่วิธีการทางพุทธศาสนาวิธีการแก้ปัญหาแทนที่จะแก้ที่ตัวคนเดียวกลับเน้นวิธีแก้จากสังคม เพราะพระพุทธศาสนาจะยืดหยุ่น เช่น การแก้ปัญหาว่าจะทำอย่างไรจะให้คนมีความสุขในการอยู่คนเดียวได้ สำหรับคนที่แก้โดยระดับปัญญาใช้โยนิโสมนสิการอย่างเดียวพอ คือแก้ที่ตัวเอง แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นแบบนั้นฉะนั้นสำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว วิธีการแก้ปัญหาของบุคคลจะเริ่มมาจากวิธีการทางสังคม ในทางพระพุทธศาสนาเริ่มจากการให้มีกับกัลยาณมิตร กัลยาณมิตรคือคนที่เต็มข้างในจะมาช่วยคนที่อ้างว่างภายใน โดยช่วยทางด้านจิตใจก่อนจะทำให้เขาอยู่กับสังคมชนิดที่ไม่อกหัก ช่วยให้เขามีความเต็มภายในใจ กัลยาณมิตรนอกจากช่วยทางด้านจิตใจแล้วจะช่วยด้านปัญญาด้วย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตจิตใจของตนเอง จนกระทั้งคนนั้นมีอิสระภาพเพราะช่วยตนเองได้ การแก้ปัญหาในทางพระพุทธศาสนาจากที่กล่าวแล้วข้างต้นเห็นว่ามีองค์ประกอบหลายอย่าง มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ในการแก้ปัญหาแม้แต่มีบุคคลที่มีความเหงาหว่าเว้ในใจเราต้องการกัลยานิมตร ต้องการสังคมที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ที่ไม่เบียดเบียน ไม่มุ่งหาผลประโยชน์ ซึ่งเชื่อมโยงไปทางจิตใจ สุดท้ายต้องมีปัญญารู้เข้าใจความจริงแห่งชีวิต สิ่งที่จะทำให้หายว่างเปล่าก็ต่อเมื่อเข้าใจความว่างเปล่า นั้นคือ อนัตตา เข้าถึงความจริงของชีวิตอย่างที่สุด หรือ สุญตา คนเหล่านั้นจะหาย หมดความว่างเปล่า
กล่าวโดยสรุปคือการแก้ปัญหาขั้นสุดท้ายต้องเข้าถึงปัญญา ปัญญาที่เข้าถึงความว่างเปล่าจากตัวตน คือ รู้จักอนัตตา เข้าใจชีวิต เข้าใจโลกตามความเป็นจริง เมื่อรู้จักด้วยปัญญา รู้จักความว่าง จะเกิดภาวะทางจิต คือ ความว่างของจิตใจจากกิเลสและความทุกข์ นี้คือการแก้ปัญหาระดับจิตใจที่โยงมาถึงการแก้ปัญหาระดับปัญญา (ความว่างในนี้คือความเป็นอิสระ) เมื่อจิตว่างจากกิเลสและความทุกข์แล้วทำให้จิตนั้นเต็มอิ่ม เป็นการปฏิบัติระดับจิตใจนั้นคือการปฏิบัติระดับสมาธิ เมื่อมีจิตเต็มอิ่มระดับสมาธิเมื่อออกไปมีสัมพันธ์ในสังคมก็จะมีความสัมพันธ์ที่มีความชุ่มชื่น เบิกบาน ในสังคมนั้น ในกรณีนี้กลับกันว่าจากระดับปัญญาส่งผลมาสู่ระดับจิตหรือสมาธิ แล้วระดับจิตส่งผลไปถึงพฤติกรรมทางสังคมคือระดับศีล เราจึงมองว่าระบบในทางพระพุทธศาสนาเวียนกลับไปมา การปฏิบัตินั้นจากศีล - สมาธิ - ปัญญา แต่ในทางกลับกันส่งผลในทางปัญญาส่งผลมาสู่ระดับจิต และส่งผลมาสู่พฤติกรรมระดับศีล ทั้งหมดนี้คือระบบความสัมพันธ์ในองค์รวมของชีวิตมนุษย์
ข้างต้นเป็นจุดเริ่มต้นที่จิตวิทยาตะวันตกหันมาสนใจในพระพุทธศาสนา ความว่าง กลับเป็นจุดแก้ปัญหาในสังคมปัจจุบัน ข้อสังเกตุคือการอยู่เดียวก็จะทำให้เกิดโรคจิตได้ หรืออาจเป็นการแก้โรคจิตก็ได้ ขึ้นอยู่ว่ามีสภาพจิตใจและปัญญาอย่างไร being alone หากปฏิบัติดีจะพบวิเวกแต่ถ้าไม่จะเกิด being lonely เป็นปัญหาเรื่องจิตใจ ขาดปัญญาที่แท้จริง พระพุทธเจ้าก็เคยตรัสถึงความแตกต่างความอยู่เดียวที่แท้กับความอยู่เดียวเทียม คือ ความอยู่เดียวแท้จะทำให้ตนเองเป็นสุข แต่ความอยู่เดียวเทียม (การมีสภาพที่ไม่มีปัญญา ขาดการพัฒนา) จะทำให้เกิดปัญหา กิเลสและความทุกข์ ขึ้นมา เกิดความว่างแบบเต็มกับความว่างแบบกลวง และความว่างที่เห็นแจ้งด้วยปัญญา ความว่างทางอารมณ์คือการรู้จักความว่างกับความรู้สึกว่าง หากเป็นการรู้จักความว่างนี้คือปัญญา ถ้าเป็นความว่างนั้นคือด้านจิตและอารมณ์ ส่วนความว่างแบบไม่รู้ทิศทาง ไม่รู้ว่าจะไปไหน สับสน น่ากลัว สำหรับคนที่พัฒนาจิตปัญญาแล้ว จะมีความว่างที่โปร่งโล่งกลับทำให้เกิดความคล่อง เบิกบาน โล่ง เป็นผู้ว่างแต่เป็นผู้เต็ม คนเราเป็นได้ทั้ง ๒ อย่าง เป็นตัวอย่างที่ยกมาพูดเพื่อให้เห็นภาพความสัมพันธ์ของจิตวิทยาสมัยใหม่ กับ ข้อปฏิบัติทางจิตใจทางพุทธศาสนา ซึ่งจะเน้นให้เห็นว่านำไปใช้ประโยชน์อย่างไร หากเข้าใจจะสามารถเข้าใจสาระของพระพุทธศาสนาได้