แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรม ตอนเช้าตีห้า เพื่อประกอบกับการศึกษาปฏิบัติธรรม ที่เรากำลังทำอยู่
(ภาษาจีน)
กรรมฐาน ฟังดู ที่ตั้งของการกระทำ ให้อยู่ในกรอบของกายที่ตั้ง ที่ตั้งคือ สติ ตั้งไว้ในกาย อย่าให้ไปอยู่ที่อื่น เอากายเป็นนิมิตไปก่อน ให้รู้สึกกายไปก่อน เมื่อมันหลงไปจากกายให้กลับมา
(ภาษาจีน)
มีสติเหมือนเป็นหูเป็นตา เป็นเจ้าของกาย เป็นเจ้าของจิตใจ ดูแลกาย ดูแลใจ ถ้าอะไรไม่รู้สึกตัวก่อนพูด ก่อนทำ ก่อนคิด อย่านำไปคิด อย่านำไปใช้ ให้รู้สึกตัวเสียก่อน
(ภาษาจีน)
มันอาจจะหลงไปบ้าง แต่ที่มันหลงไปน่ะ ก็ให้รู้สึกตัว อย่าให้หลงเป็นหลง ให้ความหลงเป็นความรู้ อย่าให้ทุกข์เป็นทุกข์ ให้ความทุกข์เป็นความรู้ อย่าให้ความโกรธเป็นความโกรธ ให้ความโกรธเป็นความรู้ อย่าให้ความยากความง่ายเป็นความยากความง่าย ให้เป็นความรู้ในตัวไป
(ภาษาจีน)
เรื่องแบบนี้เกิดขึ้น สมัยสองพันห้าร้อยเก้าสิบกว่าปีมาแล้ว เกิดขึ้นกับพระสิทธัตถะ สิทธัตถะก็ไม่ใช่คนไม่รู้อะไร มีเหตุมีผลทั้งนั้น บางทีก็มีเหตุมีผล คิดไปต่าง ๆ นา ๆ นั่นไม่ใช่ เวลานี้เราไม่ใช่มา ไม่ ไม่มาใช้ความคิดเหตุผล มากระทำ มาหัด ให้มันรู้สึกตัวอยู่ มันไปทางไหนก็กลับมา อย่างนี้เรียกว่า “กรรมฐาน”
(ภาษาจีน)
อย่าไปเอาความชอบ อย่าไปเอาความไม่ชอบ แบบนั้นดี แบบนี้ดี ไม่ต้องไปคิดหาเหตุหาผล เปรียบเทียบ เหตุผลไม่ใช่ความจริง เอาการกระทำเป็นที่ตั้งก่อน ให้รู้สึกตัวอย่างนี้ รู้สึกตัวอย่างนี้ มันไปทางไหนก็ให้กลับมานี่ เรียกว่า “ปฏิบัติ” พระสิทธัตถะอาจจะคิดไปถึงพิมพา ราหุล ก็กลับมา คิดถึงปราสาท ๓ ฤดูก็กลับมา อย่างนี้
(ภาษาจีน)
ถ้ามันหลงตรงไหนให้รู้ตรงนั้น เปลี่ยนหลงเป็นรู้เนี่ย มันจะสุข มันจะทุกข์ ไม่ไป ให้เห็นกาย บางทีมันหลงกาย กายนี้ยังมีสิ่งที่หลง ทำให้พลัดป็นตัวเป็นตน ความร้อน ความหนาว ความปวด ความเมื่อย ทำให้หลง เป็นสุขเป็นทุกข์ได้
(ภาษาจีน)
หลงไปทางความคิดบ้างก็มี ความคิดมันเคยคิด มันเคยไหล คิดอะไรก็คิดได้ บัดนี้ทักท้วงมัน อย่าหลงไปในความคิด อะไรก็ตามที่เกิดจากความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจ ความคิดมี ๒ ลักษณะ ความคิดแบบตั้งใจคิด ก็ไม่ควรจะมาคิดในตอนนี้ ความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจ เปลี่ยนทันทีเนี่ย รู้สึกตัวทันทีเนี่ย
(ภาษาจีน)
เราก็มีหลงกันเยอะแยะ มีกาย มีจิตใจ สองอย่างเท่านี้ ปัญหาเกิดขึ้นกับสิ่งสองอย่างที่กายกับใจ การแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดปัญญา ก็มารู้เรื่องกายเรื่องใจนี้ ให้มี “สติ” เกี่ยวข้องกับทุกกรณี สิ่งไหนที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ ให้มีสติ มีความรู้สึกตัว ได้ศึกษาเล่าเรียนบ้าง ได้รู้มา
(ภาษาจีน)
ใคร ๆ ก็มีกายมีใจ มีสติ เหมือนกันหมด เรานั่งอยู่เนี่ย เหมือนกันหมด แม้จะเป็นคนมีอายุ (เป็น)หนุ่ม เป็นสาว เป็นเฒ่า เป็นแก่ เหมือนกัน จะเป็นหญิง เป็นชาย เหมือนกัน จะเป็นลัทธินิกายภาษาไหนก็เหมือนกัน มีกายมีสติ มีใจมีสติ อันเดียวกัน แต่เราต้องศึกษาตรงนี้ ศึกษาที่ “กาย” นี่แหละ ศึกษาที่ “ใจ” นี่แหละ เป็นตำราเล่มใหญ่ ให้มันเห็นทุกแง่ทุกมุม เราจะได้บทเรียนจากกายจากใจ ปัญญาเกิดขึ้นตรงนี้
(ภาษาจีน)
มันจะหลงที่กาย ให้ความหลงที่กายเป็นความรู้สึกตัว มันจะหลงที่จิตใจ ให้ความหลงที่จิตใจเป็นความรู้สึกตัว ได้ความรู้สึกตัวจากความหลงกาย จากความหลงใจ เปลี่ยนมาเป็น “ความรู้สึกตัว” ให้ได้ อย่าให้หลงเป็นหลง อย่าให้ผิดเป็นผิด เปลี่ยนอย่างนี้เรียกว่า “ปฏิบัติ”
(ภาษาจีน)
ความหลง ที่มันจะเป็นด่านของความหลง มันก็มีมาก มีอยู่ ๔ ด่าน คือกาย คือเวทนา สุข ทุกข์ คือจิตที่มันคิดนู่นคิดนี่นั่น คือธรรมที่มันมีความผิดความถูก ความพอใจ ความไม่พอใจ ง่วงเหงาหาวนอน ความคิดฟุ้งซ่าน ความสงบ เนี่ยมันทำให้หลง อันใดที่เกิดจาก ๔ ด่านนี้ ให้รู้สึกตัว อยู่บ่อย ๆ
(ภาษาจีน)
หลงกาย มีมาก ความร้อน ความหนาว ความปวด ความเมื่อย ความหิว อย่าเอาอาการเช่นนั้นว่า เป็นตัวเป็นตน ให้มองเห็นเป็นอาการธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับรูป อย่างเนี้ย ให้เห็นเป็นสักแต่ว่ากาย สักแต่ว่าใจ ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา ดั่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แม่นยำ เฉลยไปก่อน ให้สร้างความเห็นไปก่อน
(ภาษาจีน)
เห็นไปก่อน ให้เกิดความเห็นไปก่อน ว่ากายสักแต่ว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา จะเป็นสุข เป็นทุกข์ ที่ภาษาธรรมเรียกว่า “เวทนา” เวทนาอันสุขก็เป็นเวทนา อันทุกข์ก็เป็นเวทนา นั่นก็ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา ไม่ใช่เราสุข ไม่ใช่เราทุกข์ ให้เห็นเป็น “สักแต่ว่า เป็นอาการของกาย ของใจ”
(ภาษาจีน)
จิต ก็เช่นกัน อะไรที่มันเกิดจากจิตคือความคิด เมื่อมีความคิดก็เกิดความสุข เมื่อมีความคิดเกิดความทุกข์ ความคิด เกิดเป็นสุข เป็นทุกข์ นั่นก็เป็นสักแต่ว่าความคิด ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา อย่างนี้
(ภาษาจีน)
บางทีมันสงบ บางทีมันฟุ้งซ่าน บางทีก็ง่วงเหงาหาวนอน ที่มันเกิดขึ้นจากจิตจากกาย เป็นอาการที่เรียกว่า “ธรรม” บางทีก็สงบ บางทีก็ฟุ้งซ่านเนี่ย เป็นสักแต่ว่าธรรม อาการที่เกิดขึ้น ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา
(ภาษาจีน)
มีอยู่ ๔ อย่าง ๔ ด่านเนี่ย กาย เวทนาคือสุข คือทุกข์ จิตที่มันคิด ธรรมที่มันเกิดขึ้น เป็นความฉลาด เป็นความหลง เป็นความง่วง เป็นความสงบเนี่ย ถ้าไม่หลง ๔ ด่านนี้ ก็ไขกุญแจแก้โซ่หลุดไปได้
(ภาษาจีน)
ในพระสูตรก็มีเท่านี้ อ่าความหลงเป็นความรู้ ถ้าเปลี่ยนหลงเป็นรู้ได้ “ง่าย” ถ้าเปลี่ยนหลงเป็นหลง “ยาก” เปลี่ยนทุกข์เป็นรู้ ง่าย เปลี่ยนทุกข์เป็นทุกข์ อันทุกข์เป็นทุกข์ มันยากกว่า ลองสัมผัสดู สัมผัสกับความทุกข์ สัมผัสกับความรู้ สัมผัสกับความหลง สัมผัสกับความรู้ มันจะต่างกันมากทีเดียว เรียกว่าเลือกได้อย่างนี้ เรียกว่าสัมผัสเอา เป็นการสัมผัส ไม่ใช่เหตุผล
(ภาษาจีน)
อาจจะหัวเราะความหลงได้ อาจจะหัวเราะความทุกข์ได้ อาจจะหัวเราะความโกรธได้ เพราะมันไม่ใช่ตัวใช่ตน อันภาวะที่รู้เนี่ยมันเป็นที่พึ่งได้ มันสว่าง มันสะดวก อันภาวะที่เข้าไปเป็นสุข เป็นทุกข์ มันไม่ใช่ ถอนออกมาให้รู้สึกตัว เรื่อยไป เรื่อยไป มันก็เป็นทางไปอยู่ เป็นทางง่าย ๆ ปฏิบัติธรรมเนี่ย
(ภาษาจีน)
ทางมันจะบอก เหมือนเราเดินทางมันจะบอก กายมันบอก ใจมันบอก อะไรที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ มันจะบอก ได้ปัญญาเพราะกายเพราะใจ เรียกว่า “ความรอบรู้ในกองสังขาร” ชื่อว่าปัญญา สังขารก็คือกายนี้กายสังขาร จิตสังขารก็คือใจนี่เอง
(ภาษาจีน)
มันก็มีหลักอย่างนี้นะ ต้องมีหลักอย่างนี้ มีที่ตั้งแบบนี้ มีการกระทำแบบนี้ เหมือนเราไปศึกษา ทิศทางการเดินไป งานวิชาการ นั่งทำบ่อย ๆ ก็เป็น ก็ชำนาญในงาน เรียกว่า “เป็นงาน” กรรมฐานต้องทำให้เป็น ไม่ใช่เรียนรู้ มันหลงรู้ ง่าย ๆ มันทุกข์รู้ อะไรก็ตามให้รู้ไป มันจะเป็นไปอย่างเนี้ย เป็นปัจจัตตัง เป็นปัจจัตตัง เป็นของตัวเราที่ชำนาญในกายในใจ รู้หมด รู้ครบ รู้ทั่ว รู้พ้นภาวะเก่า รู้พ้นภาวะเดิม เข้าถึงวิปัสสนาได้
(ภาษาจีน)
ดูดี ๆ ถ้าเกิดอันนี้จะรู้เรื่อง “สมถะ” จะรู้เรื่อง “วิปัสสนา” สมถะมันสงบ วิปัสสนามันรู้มันเห็นความสงบ สมถะมันอยู่ในความสงบ วิปัสสนามันเห็นความสงบ ไม่เข้าไปอยู่ในความสงบ เห็นความสงบอะไรก็ตามมันก็เป็นอย่างนี้ คนละมุมกัน ความสงบนี้ง่าย สอนง่าย แต่การที่จะรู้นี่ ต้องทำเอาเอง ความสงบมีหลายอย่าง บริกรรมเข้าไป ให้มันสงบก็ได้ พุทโธ พุทโธ อย่างนี้ก็ได้ แต่วิปัสสนามันขยันรู้นะ การขยันรู้เรียกว่า “ภาวนา” สมถะคือความสงบ วิปัสสนาคือขยันรู้
(ภาษาจีน)
ก็พูดในทางส่วนประกอบ เพื่อจะได้หัดได้เอง ดังที่ได้พูดให้ฟังนี้ มันสุขก็รู้นี่ มันทุกข์ก็รู้ มันหลงก็รู้ เปลี่ยนอะไรทุกอย่างให้เป็นภาวะที่รู้ทั้งนั้น หัดอย่างนี้
(ภาษาจีน)
เวลาหลงท่านก็หลงเอง ไม่มีคำถามฉันหลงหรือเปล่า ท่านก็ต้องรู้เอง ความรู้ไม่ต้องไปขอใคร เวลามันหลงก็รู้ซะอย่างนี้ เวลามันทุกข์ก็รู้ซะอย่างนี้ เวลามันง่วงก็รู้ขึ้นมาซะ เวลามันสงบก็รู้ขึ้นมาซะ เปลี่ยน ให้เป็นความรู้ เปลี่ยนเป็นความรู้ ต่อไปก็ง่าย ง่าย ๆ ปฏิบัติ
(ภาษาจีน)
มันสงบไหม ปฏิบัติธรรมนี่ เห็นของจริง เห็นของไม่จริง ความไม่จริง ของที่มันจริง เห็นของที่มันผิด เห็นของที่มันถูก มันสงบจริง ๆ นะ มันมาพร้อมกับความหลง มาพร้อมกับความรู้ ความทุกข์มาพร้อมกับความรู้ ความโกรธมาพร้อมกับความรู้ อะไรที่เป็นความผิด ความผิดเป็นอกุศลนะ เป็นกุศลแล้วบัดนี้ ที่ว่าเปลี่ยนร้ายเป็นดี เปลี่ยนร้ายเป็นดีจึงเรียกว่า “ปฏิบัติธรรม” เรียกว่า “ภาวนา”
(ภาษาจีน)
สังเกตดู พระพุทธองค์ พระพุทธเจ้า ได้บอกชัดเจนว่า “เห็น” เนี่ย อย่า “เป็น” เนี่ย เห็นอะไร เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เห็นความโกรธ เห็นความทุกข์ เห็นทุกข์มันก็พ้นจากทุกข์ เห็นความโกรธมันก็พ้นจากความโกรธ ความทุกข์ถ้าเปรียบการเห็นเหมือนกับงู เห็นเนี่ยเหมือนกับเราเห็นงู มันก็ไม่ให้งูกัด เห็นทุกข์มันก็พ้นจากทุกข์ มันเป็นความเห็นอันประเสริฐ เห็นอย่างนี้ อะไรก็เป็นอย่างนี้แหละในชีวิตของเรา เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อนิพพาน ความหลงหมดไป บรรลุธรรมให้ความรู้ขึ้นมา ความทุกข์หมดไปได้ความรู้ขึ้นมา มันก็เปลี่ยนหลงเป็นรู้ เรียกว่า บรรลุธรรมเป็นชั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ๆ ไปเนี่ย
(ภาษาจีน)
ถ้าเราเปลี่ยนอย่างนี้ มันจะมีครั้งสุดท้ายได้ อันชื่อว่าความหลงนี่ มันไม่โง่ไปหา ไม่เหมือนเชื้อโรค เปลี่ยนได้ มันจะมีครั้งสุดท้าย ความหลงเป็นครั้งสุดท้ายได้ ความทุกข์เป็นครั้งสุดท้ายได้ ความโกรธเป็นครั้งสุดท้ายได้ แต่ต้องเปลี่ยนอย่างนี้จริง ๆ นะ ถ้าไม่เปลี่ยนหลงเป็นรู้ ไม่มีครั้งสุดท้าย หลงจนตาย ถ้าไม่เปลี่ยนโกรธเป็นความรู้ จะโกรธจนตาย ไม่มีครั้งสุดท้าย ถ้าไม่เปลี่ยนทุกข์เป็นรู้ จะมีทุกข์ไปจนตาย แค่นี้เองนะปฏิบัติธรรม มันน่าจะชื่นใจเวลาเปลี่ยนหลงเป็นรู้ อย่างนี้ ทำอย่างนี้แหละ
(ภาษาจีน)