แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันนี้เป็นวันที่ทั้งหมดก็มาทำวัตรร่วมกัน เพื่อฟังธรรมกัน นี่ปกติก็ทำวัตรทุกวัน สำหรับผู้ประสงค์จะเป็นกรณีพิเศษเพื่อฝึกฝนตนเอง ก็กำหนดเอาวัตรปฏิบัติของตน เพื่อให้มีสติเต็มที่ เป็นชีวิตส่วนตัวมากเต็มที่ ก็ใช้ความเพียรพยายามอย่างเต็มที่ในการเจริญสติ ประคับประคองดูแลตัวเองให้คุ้ม ดูแลกายดูแลใจของตนๆ ให้รอดปลอดภัย โดยการใช้ชีวิตเป็นส่วนตัว ยังไม่แบ่งให้ใคร สงวนเวลาไว้ใช้ของส่วนตัวก่อน ถ้าใช้เป็นก็มีประโยชน์ ถ้าใช้ไม่เป็นก็ไม่มีประโยชน์ มีโอกาสอยู่คนเดียว ชีวิตส่วนตัวก็เห็นแก่ตัว จะทำอะไรก็ได้ แต่หมกมุ่นครุ่นคิด อาศัยความสงบเพื่อหลบลี้ เพื่อทำความชั่ว เพื่อโง่เง่า นี่ก็มี
สมัยก่อนพระพุทธเจ้าก็เคยดุด่าพระสงฆ์ที่หลีกเร้น ปลีกวิเวกในป่า อยู่ป่าเพื่อโง่ อยู่ป่าเพื่อฉลาด เพราะโง่จึงอยู่ป่า เพราะฉลาดจึงอยู่ป่า นี่ก็มีเหมือนกัน เราจึงไม่มีใครรู้เท่ากับตัวเองรู้ตัวเอง เราจึงดูแลตัวเองให้ดีๆ ปฏิบัติธรรมก็คือดูแลตัวเองให้คุ้ม ไม่ใช่หลบลี้หนีไปไหน นี่ไม่มีที่ลับ ความลับกับคนอื่นพอที่จะลับได้ แต่ความลับกับตัวเองเนี่ยไม่มีแน่นอน แม้แต่ความคิด การแสดงแบบต่างๆ เราเป็นผู้ที่เห็นตัวเราเอง อย่าหลอกตัวเรา ผีหลอกไม่กลัว คนหลอกไม่กลัว กลัวแต่ตัวเองหลอกตัวเอง
งั้นเราก็ต้องพอสมควรในการฝึกตัวเอง อาศัยหลายๆอย่าง แรงเสริมเข้าไป อาศัยธุดงค์บ้าง วัตรปฎิบัติข้อใดข้อหนึ่งจับมาฝึกตัวเอง บางทีเห็นแก่ตัว เห็นแก่หลับแก่นอน เห็นแก่อยู่แก่กิน เห็นแก่ความสะดวกสบาย เราก็มีวัตรต่างๆตามธุดงควัตร 13 ข้อ นำมาใช้ประกอบด้วย เอกาสนิกังคะ ฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร ถ้าลุกจากที่นั่งนี้แล้วไม่ฉันอีก ในเวลาที่เราจะต้องสมาทานธุดงค์ รุกขมูลวัตร อยู่โคนไม้เป็นวัตร ไม่มีที่มุงที่บังอะไร มันมีกลดอยู่ ปักกลดอยู่ นี่เรียกว่า รุกขมูลวัตร ถือผ้าสามผืนเป็นวัตร บิณฑบาตเป็นวัตร อะไรต่างๆ
จะนั่งจะนอนจะเดินเป็นวัตร กำหนด อันนี่เราก็เอามาเสริมด้วย ไม่ใช่จับพุจับปู(จับพลัดจับผลู)ไป จับโน่นจับนี่ มันไม่ชัดเจน ใส่ใจติด ใส่ใจตาม ตามงานของตน ติดตามให้ได้ เนี่ยหลายๆ อย่าง ยิ่งเรามีสติก็ยิ่งชัดเจนหลายอย่าง สติทำให้แม่นยำชัดเจน จะพูดจะจาปราศรัย จะขบคิด จะใช้ชีวิตส่วนใด ปลีกย่อยส่วนใดชัดเจนลงไป ใส่ใจ จะนั่งก็ใส่ใจ จะแปรงฟันก็ใส่ใจ จะพูดจะจาก็ใส่ใจ จะขบจะฉันก็ใส่ใจ ให้ชัดเจน อย่าพล่า
จะตื่นให้งดงาม จะหลับก็ให้งดงาม นอนสวยๆ อย่าทิ้งตัวทิ้งกายทิ้งใจเกินไป เวลานอนก็ให้มันงาม วางขาวางแขนผ้านุ่งผ้าห่ม นอนท่าทางงามๆ เอาอย่างพระพุทธเจ้า ตะแคงข้างขวา ถ้าตะแคงข้างซ้ายมันทับหัวใจ อาจหายใจไม่สะดวก ตะแคงข้างขวาพอประมาณ วางตัวให้ดี บรรจงในการนอน เวลานอนก็ มือก็ไม่ทำอะไรแล้ว กายก็ไม่ทำอะไรแล้ว ใจก็ไม่ทำอะไรแล้ว อย่าหาเรื่องมาคิดในเวลานอน มีสติลงไป กำกับส่วนใดส่วนหนึ่ง เวลานอนก็ปฏิบัติธรรม ได้โอกาสดีเวลานอนได้ปฏิบัติธรรม หายใจก็ได้ จะกระดิกนิ้วก็ได้
ถ้ามันนอนไม่หลับ กล่อมตัวเอง ก็ดี ชื่นใจเวลานอนไม่หลับ จะสนุกทำความเพียร อย่าเอามาเป็นโทษเป็นภัย เอามาเป็นประโยชน์ทั้งหมด ส่วนใดที่เกิดจากกายจากใจเอามาเป็นประโยชน์ อย่าให้มีโทษ อย่าสร้างปัญหาให้ตัวเอง ถ้าเราไม่สร้างปัญหาให้ตัวเองได้แล้ว ก็ไม่สร้างปัญหาให้คนอื่น ไม่เบียดเบียนตนเองก็ไม่เบียดเบียนคนอื่น อยู่เนี่ย ให้มั่นใจในการกระทำของเรา ในการใช้ชีวิต ปัญหาของเรามีแน่นอน เกิด แก่ เจ็บ ตาย เราต้องเตรียมตัวอย่างนี้แล้วก็ไม่มีปัญหาอะไร เป็นกีฬาไปเลย
มีประโยชน์มากการฝึกตนสอนตนเนี่ย ยิ่งเรามาเจริญสติ มันก็มีสูตรอยู่แล้ว กายเคลื่อนไหวมีสติ มีสติดูกาย แล้วก็มีอยู่จริง กายก็มีจริง สติก็มีจริง สัมผัสกับสติ สัมผัสกับกายจริงๆ ไม่ได้เอาเหตุเอาผลอันใด มันมีอยู่ กายก็เอาส่วนใดก็ได้ เอามือสร้างจังหวะ เท้าเดินจงกรม เอาลมหายใจเข้าออก ส่วนหยาบๆ ส่วนละเอียด มีอยู่จริง ตามรู้ตามเห็นส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นเฉพาะเรื่อง ไม่มีว่างเว้น มีนิมิต มีที่เกาะมีที่ฝึก
เราจะฝึกอะไรต้องมีนิมิต มีความหมาย ฝึกวัวฝึกควายฝึกช้างฝึกม้า จะให้ทำอะไร ตามความประสงค์ของเรา เหล่านี้ก็เหมือนกัน การฝึกวัวฝึกควายยังนอกตัวอยู่ การฝึกตัวเองมันอยู่กับตัวเองแท้ๆ อย่าหลอกตัวเอง ฝึกใจ มันก็มีอยู่จริง ใจเนี่ย มันคิด มันมีสุขมีทุกข์ มีผิดมีถูก อะไรเกิดกับใจเยอะแยะ เอามันมาฝึก อย่าให้มันเถื่อนเกินไป สอดรู้สอดเห็นมัน มันสุขก็เห็นมัน มันทุกข์ก็เห็นมัน มันสงบก็เห็นมัน มันฟุ้งซ่านก็เห็นมัน อย่าให้มันเป็นอิสระ เพราะเราถูกฝึก เราฝึกจิตของเรา ถ้าปล่อยปละละเลยมันก็เกเรเหมือนกัน จิตใจเนี่ย สำส่อน บ้าๆบอๆ เป็นสังขารเป็นสมุทัย ไปเป็นกิเลสตัณหา อะไรต่างๆได้ มากมาย ปัญหาต่อใจแล้วไม่พอ กระทบตัวเอง กระทบต่อคนอื่นด้วย
การปฏิบัติธรรมคือการดูแลตัวเองให้ดีๆ นี่แหละ ดูตัวเองให้คุ้ม มันมีอยู่จริง ใจอ่ะ กายก็มีอยู่จริง สติก็มีอยู่จริง เข้ากันพอดี ไม่มีอะไรที่จะฝึกได้เท่ากับ สติกับกายสติกับจิตใจ เราก็ต้องให้มั่นใจ จะละความชั่วที่กายก็ละได้ทันที ถ้าทำความดีเอากายก็เอากายทำความดีทันที นั่งเฉยๆ งดงาม ไม่ผิดศีล จะละความชั่วก็ละได้ทันที อะไรที่มันทำชั่วจากกาย วางลงปลงได้ ไม่ต้องรีรอ ทันทีทันใด มีสติเข้าไป จะเอาใจมาทำความดีก็ทำได้ทันที จะเอาจิตใจมาละความชั่วก็ได้ทันที อาจจะแผ่เมตตาในใจ มองในแง่ดีอะไรต่างๆ อย่าให้ขาดแคลน คิดสิ่งใดประกอบด้วยเมตตา ทำสิ่งใดประกอบด้วยเมตตา พูดสิ่งใดประกอบด้วยเมตตา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ให้สรรพสิ่งทุกสิ่ง เสริมเข้าไป อย่าเลือกที่รักมักที่ชัง ให้เป็นอัปปมัญญา กว้างใหญ่ภัยศาล บางทีกรรมฐานมีสิ่งเหล่านี้ขวางกั้น เป็นอคติเกิดขึ้นได้
บางทีมันมีนิสัยมาก็ฝึกนิสสัย เอาพระพุทธเจ้าเป็นนิสสัย เคารพพระธรรม ทำดีมันก็ดี ทำชั่วมันก็ชั่ว อย่าทิ้งตรงนี้ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เคารพพระธรรม เป็นมาแล้ว เป็นอยู่ไปด้วย ทั้งพระพุทธเจ้าที่สอนอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นมาแล้ว กำลังเป็นอยู่ กำลังทำอยู่ เคารพ เคารพความชั่ว เคารพความดี สิ่งไหนที่ความชั่วอย่าเข้าไปใกล้ เคารพดีเป็นความดีน้อมเข้ามา เคารพ
หลวงพ่อเทียนสอนพวกเรา เคารพขี้ไก่ ขี้ไก่หนิเหมือนของเหม็น อย่าไปเหยียบมัน ถ้าเห็นแล้วหลีกมัน ถ้าไปเหยียบมันเหม็นมันก็ติดตัวเรา ไปนั่งอยู่กับใครเขาก็เหม็น ยิ่งเป็นสิ่งน่าเคารพ ความชั่ว อย่าเอามาพูด อย่าเอามาคิด อย่าเอามาทำ มื้อเนี่ย อะไรก็ตามมันเกิดขึ้นให้เราเห็น ทุกวันนี้มันมีการแสดงความชั่วเต็มไปหมด นอกจากเป็นสิ่งแวดล้อม บางทีก็อยู่กับเพื่อนของเราก็มี ไปบิณฑบาต เพื่อนเราบางครั้งก็ประมาท หลงตัว ชวนพูดชวนคุย เราก็เคารพไว้ ไม่ควรพูดก็ไม่พูด ไม่ควรคิดก็ไม่คิด ไม่ควรทำก็ไม่ทำ ก็มองว่าเพื่อนเราประมาทแล้ว เพื่อนเราหลงแล้ว ก็สอนตัวเอง เราจะไม่หลงเหมือนเพื่อนเราหลง เราจะไม่พูดเหมือนเพื่อนเราพูด เราจะไม่ทำเหมือนเพื่อนเราทำ เอาความไม่ดีเนี่ยมาสอนตัวเรา ไม่เอาอย่าง เอาอย่างความดี
ยิ่งภิกษุณีไปอยู่แถวเขาคิชฌกูฏ ข้างเขาคิชฌกูฏมันเป็นห้วย ภิกษุณีเห็นควานช้างเอาช้างอาบน้ำ บอกช้างลงไป ควานช้างก็นั่งอยู่ข้างบนฝั่ง บอกให้ช้างล้างหลัง มันก็มาเอาดูดน้ำมาพ่นหลัง บอกให้ช้างเอาน้ำมาล้างข้าง มันก็เอาดูดน้ำมาพ่นข้าง ซ้ายข้างขวา บอกให้ช้างล้างท้อง ช้างก็ดูดน้ำมาล้างท้อง ช้างก็ทำตาม บอกให้ช้างมุดดำลงไป ช้างก็มุดลงไป บอกให้ช้างขึ้นมา ช้างก็ขึ้นมา บอกให้ช้างนวดตัวบนต้นไม้ ช้างก็ไปนวดตัว นวดหลัง นวดข้างซ้าย นวดข้างขวา นวดท้อง เคยเห็นมั้ย ต้นไม้ มาเอาเอนหลังเนี่ย นวด นวด นวดๆๆ บางทีเอาข้างนวดๆ หันข้างซ้ายนวดๆ บางทีก็มันก็เอาท้อง เอนท้องนวด ข้างซ้ายข้างขวา จนเกิดเห็น อุทยานหินช้างสี ในภูเขาพองหนีบ
อันมีหลวงตาเคยไปเอาต้นไม้ต้นกล้าที่นั่น เรียกว่าอุทยานหินช้างสี หินก้อนหนึ่ง มันสำหรับช้าง สมัยก่อนช้างป่า เวลามันลงน้ำก็มาสีก้อนหิน เป็นรอยอยู่ เรียกว่าอุทยานหินช้างสี ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม เสาบ้านเสาเรือนเรานี่ วัวควาย ให้มีใต้ถุนเรือนมันรีดตัวมัน ช้างก็เหมือนกัน วัวควายก็เหมือนกัน เคยเห็นไหมโยม ควายมันสีเสา บางทีเสาบ้านเรามีขนขาดอยู่เต็มไปหมดเลย มันนวดตัวมัน เหมือนหลวงพ่อกรมไปนวดตัวเอง (หัวเราะ) อันนี้เครื่องนวด มันวิวัฒน์พัฒนาเจริญเขาซื้อเป็นแสนๆล้านๆ สมัยก่อนเอาต้นไม้นะ ภิกษุณีเห็นช้างปฏิบัติตามคำสั่งของควานช้าง เอาอย่างช้าง ต่อไปนี้เราจะสอนเรา ภาษาช้างก็ยังสอนได้ เอามาสอนตัวเราเอง อะไรเป็นความดี เราจะรู้สึกตัวอยู่นี้ เราจะมีสติอยู่ลมหายใจ เราจะวางปล่อยวางตัวตน ความทุกข์ความรักความชังจะวาง มันเกิดกิเลสวาง สอนตัวเรา ไม่นานเลยเป็นพระอรหันต์ทันที ภิกษุณี เอาอย่างช้าง
เราก็มีแบบฉบับอยู่แล้ว แบบอย่างอยู่แล้ว พระธรรมวินัยของเรา อาศัยธรรมวินัยเป็นใหญ่ในพวกเรา เคารพธรรม ธรรมะอยู่กับใครน่าเคารพ ธรรมะอยู่กับพ่อกับแม่ก็น่าเคารพพ่อแม่ ธรรมะอยู่ในครูอาจารย์ก็น่าเคารพครูอาจารย์ ธรรมะอยู่กับลูกศิษย์ก็น่าเคารพลูกศิษย์ ธรรมะอยู่กับแม่ชีภิกษุณีพระสงฆ์ญาติโยมก็เคารพทุกคนที่น่าเคารพ เคารพธรรม มีซิมีอยู่ในคน เราก็มองออก สิ่งที่พระพุทธองค์มาเป็นปิยวาจา มีชีวิตเราก็มองเห็นจิตเดิมๆ ที่เกิดจากจิตใจของคน ดูหน้าตาก็รู้ ปกติเราก็เคารพ อยากเข้าไปใกล้
เหมือนพระพุทธเจ้าไปบิณฑบาต พราหมณ์ เห็นพระพุทธเจ้าไปบิณฑบาต ปัดโธ่...อะไร ปัดโธ่ ฮึ พราหมณ์ว่าอะไร มองเห็นพระพุทธเจ้าเง่อเลย ปัดโธ่...ปัดสะโธ่ (หัวเราะ) ถ้าใครมีลูกชายอย่างนี้ พ่อแม่ได้นิพพาน ถ้าใครมีสามีอย่างนี้ ภรรยาได้นิพพาน ถ้าใครมีพี่ชายอย่างนี้ น้องได้นิพพาน ถ้าใครมีเพื่อนอย่างนี้ เพื่อนได้นิพพาน เห็นหน้าก็เย็นใจแล้ว (หัวเราะ) อ้าวเพราะอะไรล่ะ เพราะเคารพธรรม ปัดโธ่...ปัดโธ่... มีมั้ย เห็นใครแล้ว โอ้...อยากเข้าไปใกล้ อยากเข้าไปใกล้ เราจะไปเป็นสิงห์เป็นเสือทำไม คนเราแท้ๆ ไปเกลียดไปชังกันทำไม อิจฉาเบียดเบียนกันทำไม ความเป็นมนุษย์ของเราเกิดแก่เจ็บตาย มาทำความดีเนี่ย มาช่วยกัน เราก็จะอยู่ได้ไม่นานหรอก เอามาทำความดี มันอาศัยได้ ความดีเนี่ย มันบริสุทธิ์ จะตื่นก็สบายจะหลับก็สบาย จะตายก็สบาย
หลวงตาเคยตาย (หัวเราะ) ถ้าจะพูดแล่ว มันไม่อยากจะลืมเรื่องนี้เลย ตายลงไป ใจเย็นเหมือนฝ้าย เหมือนเส้นฝ้าย กิ่ว(ปั่น)ที่สุดเลย แล้วก็วาง เฮ้อ...ไม่เป็นไร เราไม่มีบาปมีกรรมอะไร ไม่เคยทำบาปทำกรรมไว้ ชื่นใจ ไม่มีผลกระทบกระเทือน ไม่มีสะดุ้งอะไรในบาปในกรรม มีแต่ทำความดีมา ไม่เคยผิดศีลผิดธรรม มีแต่ความดี อาจารย์ตุ้มจับมือเราอยู่ เมื่อเราตายก็ไม่ไม่ตกนรกเด็ดขาด ไม่เป็นเปรตไม่เป็นอสุรกาย อย่างน้อยต้องมีสุคติ พอดีก็ตายไปจริงๆ (หัวเราะ) ตายไปก็มีเทวดามาจับมือเนี่ย เอ๊า..มันสบาย นี่ จริงๆ นะ มีเทวดามา สุคติ สบาย...มีเทวดามานวดมือให้ข้างซ้ายข้างขวา เทวดานี่มาจริงๆ นะ เทวดาที่นวดมือเราเนี่ยต้องมาจากปรนิมมิตวสวัตตีชั้นสูงสุด พวกจาตุมฯนี่ไม่มาหรอก พวกนี้มันชั้นต่ำ ต้องเทวดาชั้นสูงล่ะ เทวดาจริงหรือ ก็พยายามปลุกตัวเองขึ้นมา ปลุกตัวเองขึ้นมา พยายามสร้างความรู้สึก มองไปเห็นอาจารย์ตุ้มนวดมือ (หัวเราะ) นี่ อาจารย์ตุ้ม อาจารย์โน้สนี่ ไม่ค่อยหลับค่อยนอนหรอก อยู่ข้างเตียง อาจารย์ครรชิตองค์หนึ่ง นี่ ไม่เป็นปัญหาเลย มีความสุขมีความสงบ
ใครว่าตายเป็นทุกข์นี่ไม่มีแน่นอน ถ้าเราไม่มีบาปมีกรรม แต่ว่าถ้าคนมีบาปมีกรรมหรอ มีทุกข์แน่นอน กลัวแล้ว กลัวแล้ว (ลากเสียง) พ่อร้องอยู่ลูกก็นั่งอยู่ ร้อง กลัวแล้วๆ ร้องอยู่ ลูกเต้าก็ กลัวอะไรพ่อ กลัวอะไร๊ อื้อ เขาไล่จับกูอยู่นั่น สูไม่ดูหรือ ไม่มีดอก ไม่มีดอก อ้อ มึงไม่ดูเนี่ย มึงไม่ดูพ่อหรือเนี่ย เขาไล่จับพ่ออยู่ มึงไม่ช่วยพ่อเลยเนี่ย ใครก็ช่วยไม่ได้ ลูกนั่งจับแขนอยู่เนี่ย กลัวแล้ว กลัวแล้ว (หัวเราะ) เพราะอะไร มันสะดุ้ง มันมีบาปมีกรรม หลวงตาไปเห็นตอนจะตายเนี่ย แต่ก่อนเขาเป็นหมอ ตอนจะตายก็ไปดู ตกเบ็ดอยู่ วางมือไม่ได้ ต้องปล่อยให้แม่ทำ เฮ้อ..สังเกตุว่าตกเบ็ด แม่ก็ นี่ ตกแต่เบ็ดตลอดเวลา ไปซิดเบ็ด บางทีก็ปลดปลาใส่ข้อง จับแขนไว้ไม่อยู่ ปล่อยมือ ต้องปล่อยให้ทำมัน จับไว้ไม่ได้ แข็งไปหมดเลย อันนี้ก็ มันเคยชินน่ะ มันติดเป็นวิญญาณได้ ไม่ใช่เรื่องเหลวไหล บาปกรรมเนี่ย มันเป็นตา มันติดนะ
ทำดีเถอะพวกเรา มีสติสัมปชัญญะ อย่าไปอาศัยใครทั้งสิ้นแล่ว มาปฏิบัติธรรมแล่ว ลาอาจารย์มา สิบวัน ลูก บอกลูกว่าจะมาสิบวัน ได้สิบวันแล้ว สิบห้าวันนี้แล้ว ไม่มีอำนาจ เราต้องมีอิสระ ต้องแบกผ่าน ต้องทวนพอสมควร อย่าอ่อนแอ ต้องทวนกระแส แบกไป แล้วจะมีอาลัยอยู่มันเรียกว่า ปลิโพธ มันไปไหนไม่ได้ ปลิโพธนี้มันเป็นสิ่งที่ผูกดึงไว้ ญาติปลิโพธ ห่วงญาติ ลูกหลานปลิโพธ ห่วงลูกหลาน ทรัพย์ปลิโพธ ห่วงทรัพย์สมบัติ อะไรต่างๆ มีปลิโพธ ทำให้เราห่วง ยิ่งจะตายมันจะยิ่งผูกเข้าไป ตัณหารักลูกเหมือนเชือกผูกคอ ตัณหารักผัวรักเมียนี้เหมือนปอผูกศอก ตัณหาข้าวหาของเหมือนปอกสุบเท้า ปลิโพธ ไปไม่ได้ บางทีก็ห่วง ห่วงอันนั้นอันนี้ขึ้นมา จะรู้สึกตัวไม่มีเลย ยิ่งเวลาจะตายนี่ยิ่งกังวลใหญ่ คนน่ะลุกลี้ลุกลน กลัวจะเป็นไง ไม่มีเลยจะปล่อย ลองปล่อยลองวาง สร้างสติ มันวาง รู้สึกตัว มันวาง อิสระเต็มที่คนมีสติ ออกจากปัญหาต่างๆ ปลดปล่อยตัวเอง เวลาใดเราได้สร้างสติมันงดงามสุดหัวใจ มันสุดหัวใจเรา
พระพุทธเจ้าว่า สมัยหนึ่ง พระเถระทั้งหลาย ไปอยู่ในป่า อานนท์ อุบาลี อนุรุทธะ โมคคัลลานะ สารีบุตร ไปเห็นป่า สังสาลสูตร (มหาโคสิงคสาลสูตร) ต่างก็สรรเสริญป่า ดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ ป่านี้ดีนะสำหรับพหูสูต อยู่ที่นี่ เหมาะที่สุด อานนท์พูด สารีบุตร ไม่ใช่ ป่านี้ดีสำหรับพระผู้มีปัญญาเลิศ โมคคัลลานะพูด ไม่ใช่ ป่านี้เหมาะสำหรับผู้มีฤทธิปาฎิหาริย์ เอ้า...อนุรุทธะพูด ป่านี้สำหรับผู้ที่มีฌานสมาบัติอยู่เหมาะสม อุบาลีพูดขึ้น ป่านี้ดีสำหรับผู้ทรงธรรมทรงวินัย พระพุทธเจ้าเดินมา (หัวเราะ) ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไรกัน อานนท์ก็พูดขึ้น อุบาลีก็พูดขึ้น สารีบุตร โมคคัลลานะ อนุรุทธะ ก็พูดขึ้น พระพุทธเจ้าว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ป่านี้ดีสำหรับเวลาฉันข้าวมา วางบาตรลง ดำรงสตินั่งตัวตรง ดำรงสติ มีสติสัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อม ป่านี้จะดีสำหรับบุคคลผู้อยู่ประเภทนี้ ภิกษุทั้งหลาย สาธุ (ลากเสียงยาว) ลงตัวเลยทีเดียว ดีสำหรับผู้ที่มีสติรู้สึกตัวนี้ ที่ใดก็ดีอ่ะ ถ้าเรามีสติ ที่ใดไม่ดีเลย ถ้าไม่มีสตินะ อยู่สวรรค์ก็อยู่ไม่ได้ ร้อนอกร้อนใจ ถ้าอยู่กับสตินี้มันจะเย็น...สุดหัวใจ
เวลาใดเราเดินจงกรมอยู่ทางเดิน รู้สึกมันประเสริฐที่สุดนะ นี่แหละทรัพย์ของเรา โอกาสนี้เราเต็มที่ จะนอนยังไงจะกินยังไงไม่ต้องคิด แม่ชีเขาคิดให้แล้ว โรงทานเขาคิดให้แล้ว โสตาย พวกเรา ว่าจะได้ทำเรื่องนี้ซักทีนึง ให้มันสุดหัวใจเราลองดู งั้นเรามีปัญหาอะไรก็มาถาม เรามีเพื่อน พวกเราอยู่ที่นี่จะไม่พาหลงทิศหลงทาง อาศัยพระธรรมคำสอนที่เป็นสัจธรรม มาช่วยกัน เวลานี้มันน้อยอยู่
กรรมฐานเนี่ย ในประเทศไทยยังมีน้อยอยู่ เรียกว่าภาวนาน่ะมีน้อยในพุทธบริษัท ส่วนมากอันอื่นมากมาย ให้พวกเราได้ตัดสินใจ ทำเรื่องนี้ลองดู อย่าไปจริงจังจนคร่ำเครียดนะ สนุกๆ ผิดก็หัวเราะมัน ถูกก็หัวเราะมัน ทุกข์ก็หัวเราะมัน สุขก็หัวเราะมัน ถ้ามันผิดแล้วไม่พอใจ ไม่ใช่นักกรรมฐาน อันเดียว เราจงวางใจ วางใจสู่ความปกติ มันไม่หวั่นไหว เวลาเราเจริญสตินี้ ยุงกัดก็รู้ อย่าไปโกรธให้ยุง บางทีโกรธให้ยุงให้ริ้น น้องชายหลวงตานี่ ไถนา ร้องไห้ ริ้นมันกัดหู! ร้องไห้ ไล่เท่าไหร่ก็มากัดแท้วะ(หัวเราะ) ริ้นเนี่ย มาเป็นตัวเท่าควายมาตีกูเลยน๊า อยากให้ริ้นตัวเท่าควายเนี่ยมาตีกันลองดู(หัวเราะ) ตัวเล็กมันมุ่น(มุด)หู มันมุ่น..โอ๊ย.. หูบวมหมดเลย แต่ก่อนชาวนาเนี่ยนะ ชาวนา เหลือบยุงริ้นไรกั๊ด... หูนี่บวมหมดแล่ว ขณะเนี่ย..อะไรก็โกรธได้ ริ้นตัวเล็กก็ไปโกรธให้มัน โกรธให้ตอ เวลาไถไปติดตอโกรธให้ตอ เดินไปสะดุดตอโกรธให้ตอ เอามีดไปฟันตอ ว่าขาตัวเองแตก ถ้าตอมันพูดเป็นมันก็บอกว่า โอ๊ย ผมก็เกิดอยู่นี่นานแล่ว แต่ว่ารากหยั่งลึกลงไปนะ เจ้าบ่ดู มาชนข่อยเฮ็ดหยังแน ไปโกรธให้ตอก็มีนะ โกรธให้ขางอีก พ่อใหญ่อีน่ะ ไปชนขางบ้านตัวเอง หัวแตก เอามีดมาฟันขางบ้านตัวเอง บ้านใกล้ๆกันหลวงตา
บางคนมันหาเรื่องง่าย อะไรก็โกร๊ธ..ออกหน้าออกตา แทนที่จะมาดูตัวเอง เดินไปชนตอแสดงว่าเราไม่รู้ ดีแล้วขามันแตกจะได้ระมัดระวัง ไปโกรธให้ตอ คนเขานินทาโกรธให้เขา เราต้องรู้ตัวเรา คนสรรเสริญก็ไปพอใจกับเขา ไม่ใช่ ต้องรู้ตัวเอง เวลามีสติเนี่ยกลับมา บัณฑิตมองตัวเองนะ ผิดมองตัวเอง ถูกมองตัวเอง คนอื่นผิดมองตัวเอง คนอื่นถูกมองตัวเอง สุขทุกข์มองตัวเอง คนพาลมองไปข้างนอก เอาผิดคนอื่น เอาดีกว่าคนอื่น บัณฑิตเค้ามองตนเหมือนส่องในกระจก มองไปข้างหน้าจริงแต่ว่ามันดูตัวเอง ให้เห็นตัวเองนะ
ความรู้สึกตัวมันเป็นอย่างนี้ มันสะท้อน รู้สึกตัว อะไรเกิดขึ้นรู้สึกตัว ไม่มีสิ่งที่หลอกตัวเราได้ นี่ ฝึกตน สอนตน โอกาสเต็มที่ พออยู่กันได้เน๊าะ ไม่ลำบากอะไร ถ้าลำบากก็บอกพวกเรา เราก็พระสงฆ์อยู่ที่นี่ก็ช่วยกันดูแลกันบ้าง เวลานี้หลวงตาก็แรงหมดลง เหนื่อย ตอนเช้านี่ก็พอพูดได้หรอก ตอนเย็นนี่ไม่มีเสียงแล้ว มันเป็นทาสโรคร้ายกินชีวิตไป สูญเสียไปหมดแล้ว นะ อันที่มันไม่ค่อยมีนะ บ้างก็ พวกเราก็ช่วยๆอกัน พระสงฆ์ก็ดูแลกัน หาข้อมูลให้ได้ ที่เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้
การสอนคนนี่ให้เป็นปัจจุบัน เอาเรื่องที่จะทำมาพูดมาสอนกัน ในเวลานี้เรามาเจริญสติมีความรู้สึกตัว พูดกันเรื่องนี้แหละ ให้มันได้รู้ได้เห็นเอาไว้ รู้ไว้ไม่ใช่บ่าแบกหาม รู้แล้วก็วางเย็นๆ ที่สุดถึงความไม่มีไม่เป็นอะไร นั่นแหละ เบาหวิ๊ว...แล้วก็มีได้ทุกโอกาส ความไม่มีไม่เป็นอะไร มีได้ทุกโอกาส เอามาใช้เป็นชีวิตประจำวัน ถ้ามันสุขไม่เป็นผู้สุข ถ้ามันทุกข์ไม่เป็นผู้ทุกข์ ไม่มีเป็นอะไรกับอะไรกับอะไร มันจะชำนาญไปเรื่อยๆไป