แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมกันเด้อ เพื่อให้เป็นส่วนประกอบกับการปฏิบัติ แต่อยากบอก อยากชี้ อยากนำ ถ้าไม่ทำเช่นนี้มันก็ผิดพลาดของเรา เพื่อให้เป็นส่วนประกอบกับการศึกษาปฏิบัติ เราก็มาปฏิบัติกันแล้ว เข้าสายตรงๆ มามีสติ รู้สึกระลึกได้กับกายเคลื่อนไหว เอากายมาเป็นนิมิต เป็นที่ตั้งเบื้องต้น มีสติไปในกาย อย่าหาเหตุหาผลอันใด ไปเอาความชอบ ความไม่ชอบ มันเนิ่นช้า ไปเอาความผิดความถูกมันก็ช้าเสียแล้ว ไปเอาความสุข ความทุกข์มันก็ช้าไปแล้ว เราจึงมารู้อะไรก็ตาม รู้สึกตัว รู้สึกตัว มันก็จะเจอความหลง
สิ่งที่เราศึกษาไม่ได้ขบคิดใช้สมองอะไร แล้วก็ไม่ได้ไปซอกค้นที่ไหน มันมีอยู่แล้ว เหมือนเรามีตา ก็ลืมขึ้นได้เลย อยากดูอะไร เมื่อลืมแล้วต้องเห็น สติเป็นดวงตาภายในของเรา พอรู้สึกตัวมันก็เห็น เห็นอะไร เห็นกายที่มันเคลื่อนไหว เอาให้เป็นที่ตั้งว่า เบื้องต้น เมื่อเห็นกายที่เคลื่อนไหว บางทีมันไม่เห็นกาย มันความคิด ความหลง แทรกซ้อนเข้ามา ก็เห็นมันอีก เห็นความหลง ก็กลับมาหาความรู้สึกตัว มาตั้งไว้ที่กาย เอากายเป็นนิมิตเคลื่อนไหว เป็นการกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกตัว ถ้าเราไปคิดเอาความรู้สึกตัว ไปเป็นความคิดเอาเหตุเอาผลมันเป็นอย่างนี้ ความรู้สึกตัวเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่ ให้มันดุ้น ๆ ก้อน ๆ ตรงๆ เข้าไป เห็นความหลง เห็นความรู้อยู่อย่างนี่ มันมีหลง ก็มีรู้ มันตรงกันข้าม
ในชีวิตของเรา ไม่ว่าอะไรก็ตาม มันมีตรงกันข้ามในกายในใจเนี่ย มันหลง ไม่หลงก็ได้ มันสุข ไม่สุขก็ได้ มันทุกข์ ไม่ทุกข์ก็ได้ มันผิด ไม่ผิดก็ได้ มันถูก ไม่ถูกก็ได้ มีสภาวะที่รู้เนี่ย เข้าเฉลยเสียก่อน อย่าเข้าไปถึงกับความพอใจ ความไม่พอใจ ความชอบ ความไม่ชอบ ให้เห็นธรรมอยู่เนื่องๆ เห็นธรรมคือเห็นอะไรก็ได้ที่มันเกิดขึ้น เช่นเรามีสติ รู้สึกตัว สัมผัสดู เอากายไปต่อกับสติ เอาสติไปต่อกับกาย ให้มันคุ้นเคย ให้มันชำนิชำนาญ หัดตน สอนตนไปต่อเวลามันเคลื่อนไหวก็พยายามที่จะรู้ เพิ่มธรรมเข้าไป บางทีมันหลง เรียกว่า ไม่ใช่ธรรม ก็เพิ่มธรรมเข้าไปในขณะที่มันหลง มีประโยชน์มาก เวลามันหลงรู้สึกตัวเนี่ย มีประโยชน์ ประสบการณ์จำดี
อะไรก็ตามที่มันเกิดขึ้นกับกายกับใจถ้าไม่ใช่ความรู้ ให้ความรู้สึกตัวไปเกี่ยวข้อง มันจะมีประสบการณ์ จึงจะรู้จักเลือก จึงจะชี้ผิด ชี้ถูกแก่ตัวเอง และเป็นความเป็นธรรมต่อตนเองได้ แต่จะมาศึกษาเรื่องนี้ให้มันเข้าสายตรงๆ มันมีความหลง ความรู้จริงๆ มันมีสุข มีทุกข์จริงๆ มันมีความพอใจ ความไม่พอใจจริงๆ มีเหตุ มีผลทุกคน มีสติปัญญากันทุกคน อันนั้นเป็นเรื่องหนึ่งต่างหาก เราก็เต็มไปแล้ว สมอง ปัญญา เราก็รู้ หาคำตอบจากความคิดได้เสมอ หาความผิด ความถูกจากความคิด เอาความสุข ความทุกข์จากความคิด อะไรที่มันคิดขึ้นมา อะไรที่มันแสดงออกทางกายเป็นไปตามมันทั้งหมดไม่ได้ เราจะมารู้ไว้ก่อน รู้ไว้ก่อน
เดี่ยวนี้เรามีการบ้าน อย่างน้อยก็ต้องมีความหลง ความสุข ความทุกข์ อะไรต่างๆ มากมาย เฉยไม่ได้แล้ว ต้องรีบด่วนสักหน่อย ขอท้าทายเรื่องนี้ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนานี้ พระพุทธเจ้าสิทธัตถะ เห็นเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นการบ้านของพระองค์ ไม่มีใครตอบได้ สมัยก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ สิทธัตถะ ถามพระเจ้าปู่ พระเจ้าย่า พระเจ้าตา พระเจ้ายาย ตอบไม่ได้เลย จึงเป็นการบ้านของพระองค์ เพราะพระองค์ประกาศแล้วว่า ตั้งแต่วันประสูติ ข้าพเจ้าจะประเสริฐที่สุดในโลก จะประเสริฐที่สุดในโลก จะเป็นหนึ่งในโลกทีเดียว เพราะฉะนี้มันเป็นการรับผิดชอบ อันนี้เราก็มีอยู่แล้ว
อันความหลงเนี่ย เราจะต้องหลงจนตายหรือ ความทุกข์ก็ต้องทุกข์จนตายหรือ ความโกรธเราต้องโกรธจนตายหรือ ไม่รับผิดชอบบ้างหรือตรงนี้ ทำไมปล่อยให้ตัวเองเสียเปรียบความทุกข์ เสียเปรียบความโกรธ เสียเปรียบความหลง เท่าไหร่แล้ว มันไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น สิทธัตถะจึงมองตรงกันข้าม เมื่อมีเกิด ก็ต้องมีไม่เกิด เมื่อมีแก่ ก็ต้องมีไม่แก่ เมื่อมีเจ็บ ก็ต้องมีไม่เจ็บ เมื่อมีตาย ต้องมีไม่ตาย แน่นอนที่สุด มองอย่างนี้
พอเรามาศึกษาดูก็เห็นอย่างนี้จริงๆ แล้วก็มาเปลี่ยนให้เป็น เวลาเราหลงรู้สึกตัวเนี่ย ยกตนออกจากความหลงให้เป็น ถ้าทำตรงนี้ไม่เป็น ก็ไม่ใช่นักศึกษา ไม่ใช่พระพุทธศาสนา ศาสนาคือรู้จักยกตรงนี้ มันโกรธ ไม่โกรธ รู้สึกตัว มันทุกข์ ไม่ทุกข์ เนี่ย เริ่มต้น เริ่มเห็นทาง แต่อย่าไปอยู่กับความทุกข์ ความหลง ความหมกมุ่นครุ่นคิด เสียเวลา มารู้เสียก่อน รู้เสียก่อน อะไรที่ไม่เป็นความรู้สึกตัว เหตุที่ไม่ใช่ความรู้สึกตัว เอามาเป็นบทเรียนทั้งหมด มาเกิดความรู้สึกตัวอย่างเนี่ย จนตอบได้ เวลามันหลง รู้ ทำเป็นแล้ว
ทีแรกก็หัด หัดอาศัยนิมิตคือกายเคลื่อนไหว พอทำไป ทำไป ไม่ต้องอาศัยนิมิตแล้วก็ได้ พอมันหลงรู้สึกตัว พอมันโกรธรู้สึกตัว พอมันทุกข์รู้สึกตัว พอมันพอใจ มันไม่พอใจรู้สึกตัว ถ้ามันเป็นแล้ว ทำให้มันเป็น ไม่ใช่ความรู้นะเรื่องเนี่ย เรื่องนี้ไม่ใช่ความรู้ ความรู้ไม่ต้องสอน พวกท่านทั้งหลายมีความรู้มาแล้ว จบมาแล้ว มีสติปัญญา จนเป็นเจ้าหน้าที่ทำงานทำการ นี่อันนี้ไม่ใช่ความรู้ เป็นการกระทำให้มันเป็น การทำให้เป็นอย่างนี้ไม่มีใครสอนเราได้ นอกจากเราสอนตัวเราเอง
เมื่อหลงรู้สึกตัว ทำเป็น มันทุกข์รู้สึกตัว มันโกรธรู้สึกตัว อะไรก็ตาม รู้สึกตัว รู้สึกตัวไป มันจะเป็น เมื่อมันเป็นแล้ว มันลืมไม่เป็นเรื่องเนี่ย เพราะมันได้บทเรียนที่ดี เช่น ความหลงไม่จริง ความไม่หลง ความรู้สึกตัวจริงกว่า ความหลงไม่เป็นธรรม ความไม่หลงเป็นธรรมกว่า ความโกรธ ไม่เป็นธรรม ความไม่โกรธเป็นธรรม ถูกต้องกว่า ความทุกข์ไม่เป็นธรรม ความไม่ทุกข์เป็นธรรม ถูกต้องกว่า มีความเป็นธรรมเกิดขึ้นแก่เรา เป็นธรรมาธิปไตย เป็นธรรมาธิปไตยะเกิดขึ้นแล้วในตัวเรา เห็นกระแส ไม่ใช่มืด ความหลง เพื่อให้เกิดความรู้
แต่ก่อนความหลงเกิดความหลง ความทุกข์เกิดความทุกข์ ความทุกข์ก็สร้างความทุกข์เรื่อยไป พอมาหัด มาปฏิบัติ ปฏิ คือ กลับ ทักท้วง กลับ มาปฏิบัติมันก็คนละทาง พอมันหลง รู้ พอมันทุกข์ รู้ ความหลงทำให้เกิดความรู้ ความทุกข์ทำให้เกิดความรู้ มันจะเป็นไปเอง เห็นกระแส เห็นทิศทาง พอเห็นกาย เห็นกายไปเนี่ย พอดูกายเคลื่อนไหวไปมา เห็นไป เห็นไป ทีแรกก็เป็นตัวเป็นตน สารพัดอย่างเกิดกับกาย ปวดขา ปวดแขน ง่วงเหงา หาวนอน เป็นร้อน เป็นหนาว หิวข้าว ปวดเมื่อย มันเป็นหมดเลย ไปเป็นตัวเป็นตนกับกายไปหมดเลย กายสามารถพาให้เราทำ พาให้เราคิด พาให้เรารู้สึกไปกับมันไปเลย ถ้าร้อนคือกู หนาวคือกู ปวดคือกู อะไรก็กูทั้งหมดเลย เป็นภพ เป็นชาติอยู่ในกาย หลงอยู่ในกาย
บัดนี้มารู้สึกตัวเนี่ย จนเห็นแล้ว เห็นอีก กายสักแต่ว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตน เรา เขา อ้าว พอเห็นไปมันก็เป็นแบบนี้ กายสักแต่ว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา แต่ก่อนเนี่ยกายเป็นตัวเป็นตน เป็นภพเป็นชาติ อะไรที่เกิดขึ้นกับกายเนี่ย เป็นภพภูมิต่างๆ ได้ โง่ก็มี สุขก็มี ทุกข์ก็มี อันสุขกับทุกข์ที่เกิดกับกาย มันไม่ใช่ มันต้องเป็นปัญญา กายสักแต่ว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา นี่มันเคลื่อนไหวไปมานี่ อะไรที่เกิดขึ้นกับกายนะ เราก็รู้
เวทนาเป็นความสุขความทุกข์ เกิดขึ้นกับกาย นั่งนานก็ปวดขาล้าแข้ง บางคนก็ไม่เคยนั่ง 10 นาทีก็ไม่เคยนั่ง 10 นาที 20 นาที ไม่เคยนั่ง อาจจะไม่รู้จักตัวตนเราก็ได้ พออะไรที่เกิดกับกายก็จะเป็นไปกับมัน โอ้ย ปวด โอ้ย เหนื่อย อะไรไปเลย พอเห็นเวทนาที่มันสุขมันทุกข์ เวทนา สักว่าเวทนา ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ก็ไม่หลงตรงนี่แล้ว
จิตที่มันคิด จิตใจที่มันคิดไป นั่งอยู่นี่ นั่งอยู่ป่าสุคะโตนี่ แต่จิตมันคิดไปที่ไหน แต่ก่อนถ้ามันคิดอะไร เป็นไปตามมัน มันขยัน ก็ทำตามความขยัน มันขี้เกียจ ก็ทำตามความขี้เกียจ ไปกับจิตไปหมดเลย มันสุข ไปสุข ไปตามความสุข ที่เกิดจากความคิด มันทุกข์ ก็เกิดความทุกข์ ที่เกิดจากความคิด ความคิด สักว่า จิต ก็สักแต่ว่าจิต ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มันก็เฉลยตนเอง ไม่หลงตรงนี้ เหมือนด่านที่มันเคยกักขังเรา เสียเวลาตรงนี้มาก เป็นสุข เป็นทุกข์ กับกาย กับเวทนา กับจิต ตลอดทั้งไปเห็นธรรม
ธรรม คือ คุ้มร้ายคุ้มดี - บางทีก็ดี เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา สงบ ร่มเย็น สบาย นั่งอมยิ้มตลอดเวลา บางทีก็เป็นอธรรม ความง่วง เหงา หาว นอน ความคิดฟุ้งซ่าน ลังเล สงสัย เกิดความคร่ำเครียด เบื่อหน่าย อันนี้ก็เป็นธรรมที่เกิดขึ้น ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน สิ่งเหล่านั้นก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา บางทีเราไม่รู้เอาความโกรธเป็นกู ความสุขเป็นกู เอาความทุกข์เป็นกู ธรรมมันเปลี่ยนได้ เป็นกุศล คือความเฉลี่ยวฉลาดมากมีเหมือนกัน ปฏิบัติไปมันอิ่มอก อิ่มใจ ปีติ ปัสสัทธิ น้ำตาร่วง น้ำตาไหล เดินไปเบากาย เบาใจ นี่ก็เป็นกุศล อย่าไปหลง มามีสติ เห็นอย่าเข้าไปเป็น เป็นไปกับกาย เป็นไปกับเวทนา เป็นไปกับจิต เป็นไปกับธรรม ที่เป็นกุศลละส่วน
ต้องเห็น ถ้ามันเห็น มันเปลี่ยนอย่างเนี่ย มันก็รู้จักเปลี่ยน ถ้าเป็นเราอยู่ในห้วงน้ำขึ้นฝั่งเป็น ขึ้นฝั่งเป็น เวลามันสุขเหมือนกับอยู่ในน้ำ ขึ้นบนบกไม่สุขก็ได้ เห็นมันสุข เวลามันทุกข์ เห็นมันทุกข์ ไม่ใช่เป็นผู้ทุกข์ เวลาเราหลงเห็นมันหลง ไม่ใช่เป็นผู้หลง เวลามันเกิดผิด เห็นมันผิด ไม่ใช่เป็นผู้ผิด เวลามาเกิดถูก เห็นมันถูก เวลามันสงบ เห็นมันสงบ ไม่ใช่เป็นผู้สงบ เวลามันฟุ้งซ่าน เห็นมันฟุ้งซ่าน ไม่ใช่เป็นผู้ฟุ้งซ่าน นี่ลักษณะของการปฏิบัติ เรียกปฏิบัติโต้ตอบทักท้วง ไม่เป็นไปกับมัน เมื่อมันชำนาญตรงนี้แล้ว มันก็จะเห็น มันจะรู้จักทิศทาง เริ่มต้นจากการรื้อถอนตัวตนที่มันเคยสุขเคยทุกข์กับกายกับใจออกไป ค่อยเบาบางจางหายไปเกิดศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมา จนมาเห็นรูปธรรม นามธรรม รูปธรรม
นามธรรมเนี่ย เป็นหลักสูตรที่มันได้หลักเหมือนกับเราศึกษาได้หลักสูตรออกไปให้มันแตกฉาน เนี่ยหลักสูตรนี่แล้ว เช่นสูตรคูณนี่ล่ะ 2 x 5 ก็เป็น 10, 2 x 5 เป็น 10 ไม่ใช่คำพูดแค่นี้ มันแตกฉานไปอีกหลายอย่าง 2 x 5 เป็น 9 มันก็ไม่ถูก 2 x 5 เป็น 11 ก็ไม่ถูก เพราะอะไร ใครเป็นผู้ตอบ เราตอบเอง ความหลงกับความรู้สึกตัว ถามใครไหม อะไรมันถูกต้อง ไม่มีคำถาม มีแต่คำตอบ ความสุข ความทุกข์ ถูกต้องไหม เห็นมันสุข มันทุกข์ ถูกต้องไหม สัมผัสเอา สัมผัสเอา
เมื่อมันรื้อถอดไปอย่างนี้แล้ว และมันก็ค่อยๆ จางคลายไป จางคลายไป เป็นทิศเป็นทางเป็นกระแส เป็นกระแส เมื่อหลง มันมีความรู้อยู่ จะหลงยังไง มีความรู้อยู่ ไม่จนตรงนี้ เมื่อมันโกรธ มันมีความไม่โกรธอยู่ ไม่จนไปกับความโกรธ เมื่อมันทุกข์ มันก็มีความไม่ทุกข์อยู่น่า.. ไม่จนไว้กับความทุกข์ มันก็ข้ามไป ข้ามไป ข้ามไป มันก็เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อปรินิพพานได้ เอากระแสไปจากนี้ เป็นกระแสไป มันต้องได้กระแสผู้ที่เจริญสติเนี่ย ไม่ใช่มืดตลอดไป ถ้าดูดีดีนะ จึงมาดูลองดู มาศึกษา อย่าไปเชื่อใคร อย่าไปเชื่อใคร สัมผัสความรู้ ความรู้สึกตัวเนี่ย ไม่ได้ขอ ไม่ได้ถามใคร
เช่น เอามือวางไว้บนเข่า เดี๋ยวนี้มือเราอยู่ที่ไหน มืออยู่ที่นี่ ไม่มีคำถาม คนอื่นจะว่า มือเราอยู่ที่อื่น มันก็ไม่เชื่อ พลิกมือขึ้นเราก็รู้นะ ไม่มีคำถาม มีแต่คำตอบ ตัวเองเราตอบตัวเอง ยกขึ้นก็รู้ วางลงก็รู้ คว่ำลงก็รู้ หัดให้มันเคยตรงนี้ ชำนาญก็รู้ ไปในกาย เอากายเป็นสะพาน สร้างความรู้สึกตัว เหมือนเราเขียนหนังสือ หัดเขียน กอ ไก่ ประถม ก็ตามบรรทัดไปก่อน เขียนตามบรรทัด ตาก็มองดูกระดาน มือก็เขียน ตาดูกระดาน มือก็เขียน เดี๋ยวนี้ไม่ต้องดูกระดาน อาจจะไม่ต้องตามบรรทัดก็ได้ ไม่ต้องมีบรรทัดก็ได้ เพราะมันชำนาญ การฝึกตนสอนตนมีโอกาสชำนาญได้ ง่าย ๆ ความรู้สึกตัวเนี่ย สะดวกกว่าความหลง สะดวกกว่าความหลง ไม่ใช่ยาก ทีแรกก็ง่ายที่จะหลง พอศึกษาไป ศึกษาไป ง่ายที่จะรู้ อะไรก็รู้ง่าย ๆ เป็นไปจริง ๆ การศึกษาไม่ฟรีหรอก ไม่ฟรี ไม่ต้องรอด้วยซ้ำไป ทันที พลิกมือขึ้นก็รู้ทันที ยกมือขึ้นก็รู้ทันที อะไรที่จะรู้อย่างนี้ไม่มีแล้ว เป็นกรรมฐาน เป็นวิชาที่ศักดิ์สิทธิ์ ชี้ตาย ชี้เป็น ชี้ผิด ชี้ถูกได้
เรียกว่า กรรมฐานเป็นวิชาเอก หรือว่าทางอันเอกของมนุษย์เรา ลองมาศึกษาแล้วนี่ลองดู จนในที่สุดไม่ใช่รู้สึกตัวเฉย อันเรามีความรู้สึกตัวมันเป็นอะไร มันละความชั่ว เรามีความรู้สึกตัวอยู่มันก็ทำความดี เรามีความรู้สึกตัวอยู่จิตมันก็บริสุทธิ์ ไปพร้อมกันไปเลย ละความชั่ว การทำความดี จิตบริสุทธิ์ คืออะไร ก็คือ ศีล คือ สมาธิ คือ ปัญญา เป็นสร้างให้มีขึ้น ไม่ใช่ขอ มันเป็นพ่วงความดี มันเป็นพ่อเป็นแม่ ความรู้สึกตัว เป็นบิดา มารดา ของความดี ความหลงตัวเป็นบิดา มารดาของความชั่ว เริ่มต้นจากความหลงความรู้ มีเท่านี้ชีวิตของเรา
มารู้อยู่ 1 วัน ต่อกัน 2 วัน 3 วัน 7 วัน ลองดูสิ ให้เต็มที่ ให้สุดฝีมือเรา มันก็เป็นไปจริง ๆ พลิกมือขึ้น 14 จังหวะ 1 รู้ 2 รู้ 3 รู้ 4 รู้ 5 รู้ 6 รู้ 7 รู้ 8 รู้ 9 รู้ 10 รู้ 11 รู้ 12 รู้ 13 รู้ 14 รู้ วินาทีหนึ่ง แต๊ก แต๊ก แต๊ก แต๊ก 14 วินาที 14 วินาทีได้ 14 รู้ อะไรจะยอดเยี่ยม ศักดิ์สิทธิ์เหมือนเรื่องนี้ ทำไมเราสละสิทธิของเรา หลงเท่าไหร่ นานเท่าไหร่เราหลงอีกแล้ว อยู่กับความหลงเท่าไหร่ อาจจะมากกว่าความรู้สึกตัวด้วยซ้ำไป ท่องเที่ยวไป แม้มีจิตใจก็พึ่งไม่ได้ คุ้มร้าย คุ้มดี ฟู ฟู แฟบ แฟบ ถ้าหัดตนสอนตนดีดี มันจะมั่นคง ไม่ต้องผุด ต้องเกิด มันเคยชิน มันเคยชิน จนชำนิชำนาญ
อันความเกิด แก่ เจ็บ ตาย มันก็เห็นนะ ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครแก่ ไม่มีใครเจ็บ ไม่มีใครตาย มีแต่เห็น เช่นเห็นมันเจ็บ ไม่ใช่เป็นผู้เจ็บ มันต่างกับการเป็นผู้เจ็บไหม เห็นมันหิวข้าว หรือเป็นผู้หิวข้าว มันจะต่างกันไหม เราเป็นผู้หิว หรือเห็นมันหิว เราเป็นผู้โกรธ หรือเห็นมันโกรธ เราเป็นผู้ทุกข์ หรือเห็นมันทุกข์ ดูดีดีนะ ส่วนมากจะเข้าไปเป็น อันนี้ ภพ ชาติ ถ้าเห็น ก็เหนือภพ เหนือชาติ อันตัวภพชาติที่มันจบเป็น สังขารมันจบเป็น มันเป็นวิสังขาร
เดี่ยวนี้มันมีการฟู ฟู แฟบ แฟบ ฟู ฟู แฟบ แฟบ คุ้มร้าย คุ้มดี บางทีก็ดีใจ บางทีก็เสียใจ นี้เป็นสังขาร ปุญญาภิสังขาร คือดีใจ, อปุญญาภิสังขาร คือ เสียใจ, อเนญชาภิสังขาร ยังไม่ดีใจ ยังไม่เสียใจ, อันนี้อย่าไปเชื่อมัน บางทีปกติอยู่ บางทีมีอะไรเกิดขึ้น แป๊บไปเลย ให้หัดให้มันหมดพิษหมดภัยเป็นวิสังขาร วิสังขาร คือ นิพพาน ไม่ใช่ตาย ไม่ปรุงไม่แต่ง เคยโกรธ ไม่โกรธ เคยทุกข์ ไม่ทุกข์ เป็นทุกข์เพราะความแก่จะไม่มี เป็นทุกข์เพราะความเจ็บจะไม่มี เป็นทุกข์เพราะความตายจะไม่มี เป็นการบ้านของเรา เราหนีไม่พ้นแล้วนะ นี่แหละ สิทธัตถะ ออกศึกษาค้นคว้าได้คำตอบเรื่องนี้ จนว่าชาติสิ้นแล้ว พรมหมจรรย์จบแล้ว กิจอื่นไม่มีอีกแล้ว มันก็จบเป็นนะ
เพราะนั้นเนี่ยเป็นสิ่งที่ตอบได้ทุกคน พระพุทธเจ้าก็กระตือรือร้นสอนคน ที่นี่ของรับผิดชอบเรื่องนี้ เรื่องอื่นเอาไว้ให้คนอื่นสอน เรื่องที่จะมาสอนเรื่องตรงๆ เข้าไป มีกายเอากายมาทำ รู้สึกตัว รู้สึกตัวไปนะอันนี้ก็ขอพูดแผนที่คร่าว ๆ ต้องไปทางนี้ ต้องไปทางนี้ อย่าไปทางโน้น มันสุข เห็นมันสุข ไม่เป็นผู้สุข ถ้ามันสุข เห็นมันสุข ไปผิดทางแล้ว ถ้ามันทุกข์ เห็นมันทุกข์ ผิดทางไปแล้ว (ตรงนี้หลวงพ่ออาจจะพูดผิดไปหน่อย) ถ้ามันสุข เห็นมันสุข มรรคแล้ว มรรควิถีชีวิต ไปแล้ว เหมือนเราเหยียบทางที่รกรุงรัง กับเหยียบทางที่โล่ง (ถ.)มิตรภาพ มันก็ต่างกัน เช่น สุขมันก็รกรุงรังแล้ว ใจก็ฟูฟูขึ้น มันทุกข์ มันก็รกรุงรัง ใจก็แฟบ ถ้ามาเห็นมันสุขมันทุกข์ มันเรียบ ไม่กระทบกระเทือน เห็นมันสุข เห็นมันทุกข์ เห็นมันสุข เห็นมันทุกข์ จิตใจเราเสียเวลา เสียพลังงาน การหัวเราะ ร้องไห้ มีความเหน็ดเหนื่อยเท่าๆ กัน ดูเฉยๆ
โดยเฉพาะพวกเรานะ เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเล่นกับพวกนี้ตลอดเวลา เราก็ไม่ได้อยู่คนเดียวด้วย อยู่กับเพื่อน กับมิตร กระทบกระเทือนกัน เขานินทา เขาสรรเสริญ ถ้าเราหัดนะ ถ้าเราไม่ฝึกจิตใจของเรา เขานินทา (แฟ๊บ) เขาสรรเสริญ (ฟู) ไม่ใช่จิต อันนี้เป็นสังขารอย่าไปเชื่อมัน บางทีคนเราทำตามสังขาร เมื่อมันโกรธก็ด่ากันงั้นเหรอ ยึดว่าเป็นตัวเป็นตน ถ้ากูได้โกรธแล้วตายก็ไม่ลืม ถ้ากูได้โกรธ กูไม่ยอม โกรธข้ามวันข้ามคืนมีไหม 1 คืนแล้วยังโกรธ (หัวเราะ) เป็นจริงหรือความโกรธ บางทีเราทำตามมัน ด่ากันไม่รู้จักอายหรือ พอหายโกรธแล้ว อายคน เสียเปรียบ
ขออยากบอกว่า ความหลงเป็นครั้งสุดท้าย ความโกรธเป็นครั้งสุดท้าย ความทุกข์เป็นครั้งสุดท้าย ชีวิตอิสรภาพเหลือเกิน มิตรภาพของชีวิต มาตรฐานของชีวิตในที่สุดเป็นผู้เห็นไม่เป็นผู้เป็น ไม่เป็นอะไรกับอะไร สุดยอดเลยชีวิตเรา