แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
แหลมคม มีเรี่ยวมีแรงสามารถที่จะสู้กับความเจ็บป่วยได้นาน ๆนี่ก็ยิ่งเหมาะที่สุด นี่มันเป็นสมบัติของเรา ถ้าเราไม่ประสบกับภาวะอันนี้หละก็ขาดทุนที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ ที่พบพระพุทธศาสนาเป็นสัจธรรม หาที่อื่นไม่พบต้องหาที่ตัวเรา แต่วิธีที่จะพบได้จริง ๆ หลวงพ่อก็ไม่รู้ว่าวิธีอื่น ก็คือการเจริญสตินี่แหละ แต่ถ้าการเจริญสติจะเป็นวิธีใดก็ตาม ขอให้เจริญสติ ตั้งต้นจากการเจริญสติให้ได้ เพราะสตินี่เองเป็นธรรมแม่บท เป็นกำเนิด เป็นเมล็ดพืช เมล็ดโพธิ ทำให้เกิดศีล เกิดสมาธิ เกิดปัญญาขึ้นมา ก็การเจริญสติสัมปชัญญะนี่เอง ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ ศีลจะไม่บริสุทธิ์ สมาธิก็เกิดยาก แต่ถ้าคนมีสติแล้ว เป็นฐานชีวิต เหมือนกับศาลาที่เรานั่งอยู่นี่ ต้องมีฐาน พื้นฐานดี เมื่อพื้นฐานดี ก็ตั้งเป็นโรงเป็นเรือน เป็นหลังคา เป็นกระดาน พื้นกระดาน ฝา อยู่อาศัยได้
การเจริญสติก็เหมือนกัน ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้นมา เป็นลำดับๆ สิ่งที่ไม่เคยมีก็มีมาก็เป็นได้ สิ่งที่เคยเป็นได้ก็หมดไป เพราะฉะนั้นเนี่ย หลักสูตรสำเร็จจริง ๆ ที่เราจะค้นให้ได้ เห็นให้ได้ ก็คือการที่เรามาเจริญสติสัมปชัญญะ มันก็ไม่ใช่เรื่องยาก มันอยู่กับตัวเรา อยากรู้เมื่อใดก็รู้ได้ ไม่เหมือนกับเราสร้างอย่างอื่น เราสร้างอย่างอื่น สร้างบ้านสร้างเรือน สร้างวัตถุสิ่งของ ต้องไปหา กลางคืนก็หาไม่ได้ กลางวันก็หาไม่ได้ ถ้าไม่มีโอกาส ต้องไปซื้อไปหาที่อื่น เรายังทำได้ เรายังเรียนได้ เรียนจบ แต่การเจริญสตินี่ มีอยู่กับเราตลอดเวลา เราจะหลับเราจะตื่นอยากจะรู้เมื่อไรก็รู้ได้ทันที รู้สึกขึ้นมาทันที ลองขวนขวาย ลองดู ให้โอกาสกับตัวเรา ให้มันจบ เราก็จะไม่มีปัญหา นี่การศึกษาหรือการปฏิบัติ หน้าที่ของเราที่จะเป็นการเริ่มต้น ก็เคยได้พูดอยู่เสมอ ว่าก็คือการได้มาปฏิบัติธรรม ทำกรรมฐาน เจริญสติ
อุปมาเหมือนกับเรามากินยาอายุวัฒนะ หรือกินโอสถที่จะรักษาโรคให้มันหาย ถ้าเราเจ็บหัว ปวดท้อง เป็นโรคภัยไข้เจ็บ เราก็กินยา ทานยา หน้าที่เราก็คือกินยา หรือทานยา ส่วนยานั่นมันจะไปทำลายสิ่งที่ตรงกันข้าม โรคภัยไข้เจ็บ ตัวโรคที่เรามองไม่เห็น ด้วยตา หรือเราทำกับมันไม่ได้ด้วยมือ ด้วยวัตถุสิ่งใด เหมือนกับเราไปซ่อมเครื่องยนต์กลไก อาศัยการกินยาทานยาเข้าไป หน้าที่ของยา ก็เข้าไปรักษาโรคนั้น ๆ ตามตำรับตำราของเขา ก็ทำให้โรคภัยไข้เจ็บหาย หายได้ ปลอดภัยจากโรค จนมีความสุขความปกติ
การที่เรามาเจริญสตินี่ก็เช่นกันนั่นล่ะ สติตัวนี้ สติสัมปชัญญะตัวนี้ เป็นยาคุมกำเนิดของทุกข์ทั้งปวง เวลาเรามีสติ หรือสร้างสติเข้าไปมาก ๆ จนเป็นธรรมชาติ เป็นกฎของธรรมชาติ เข้าไปเห็นรูปธรรม เห็นนามธรรม เห็นธรรมชาติของรูป เห็นธรรมชาติของนาม เห็นอาการของรูป เห็นอาการของนามธรรม เหมือนกับเราเห็นแหล่งโจร เห็นสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตัวเรา มันก็ตรงกันข้าม เช่น ความโกรธ ความโลภ ความหลง อันนี้มันจะหมดไป เราไม่ได้ไปอด เราไม่ได้ไปทน เอาความโกรธ ความโลภ ความหลง หมดออกไป หรือเบาบางลง จิตใจที่เป็นเจ้าสังขารชอบปรุงชอบแต่ง ครุ่นคิด เศร้าหมอง วิตกกังวล สะดุ้งผวา สิ่งเหล่านั้นจะหมดไป
เมื่อสิ่งเหล่านั้นหมดไป หรือจางคลายลง เป็นวิราคะ สังขารก็ไม่มีอำนาจ ความโกรธ ความโลภ ความหลงมาบังคับจิตใจไสส่งให้เราเป็นทุกข์ ไม่มี มีก็น้อยที่สุด ก็เหมือนกับเรา โรคของเรากำลังจะหาย วันดีคืนดี เราก็รู้ว่า เราหายเจ็บไข้ได้ป่วยหรือยัง เราก็รู้จากตัวเราเอง รู้จากตัวเราเอง โรคภัยไข้เจ็บหมดไปแค่ไหนเพียงไร สุขภาพเราดีขึ้น เดินได้ ทานอาหารได้ นอนได้ ถ่ายได้ ดีวันดีคืน ฉันใดก็ดี การปฏิบัติธรรมเหมือนกัน โรคก็คือภาวะที่ทำให้เราเกิดทุกข์ ย่อมให้เราลังเลสงสัย ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม บุญคืออะไร บาปคืออะไร ศาสนาคืออะไร พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์คืออันใด มรรคผลนิพพานคืออันใด เราไม่รู้
แต่พอเรามีสติเข้าไปมาก ๆ ทำลายสังขาร เปลี่ยนสังขารเป็นวิสังขาร ทำลายอกุศลธรรมเป็นกุศลธรรม ทำลายความเห็นผิด กลายให้เป็นความเห็นถูกขึ้นมา มันก็เป็นรุ่งอรุณ เหมือนกับแสงเงินแสงทองขณะนี้ มองชีวิตชัดเจนขึ้น รู้เรื่องรู้ราวรู้ตัวเองได้คำตอบมากขึ้นๆ บุคคลที่มีลักษณะอย่างนั้น ใครจะเป็นผู้รับรอง ไม่มีใครเป็นผู้รับรอง รู้เอง เห็นเอง เป็นปัจจัตตัง ๆ สิ่งไหนหมดออกไป ก็รู้ว่ามันหมด สิ่งไหนที่ไม่เคยมี มันเกิดมีขึ้นมา ใจสะอาด ใจบริสุทธิ์ ใจสงบเยือกเย็น เกิดมีขึ้นมา เราไม่เคยได้สัมผัสกับลักษณะเช่นนี้มาก่อน เกิดมีขึ้นแก่ตัวเรา เราก็รู้จากตัวเราเอง รู้เองเห็นเองจริง ๆ มีอานิสงส์จริง ๆ หายโรคภัยไข้เจ็บได้จริง ๆ ก็มีความเชื่อมั่น
โอ้ การที่มาเจริญสติปัฏฐาน เราสร้างอันนี้ แต่สิ่งนั้นมันทำไมหมดไป มันก็เป็นธรรมชาติ ไม่นึกว่าจะให้ความโกรธ ความโลภ ความหลงหมดไป แต่ความเป็นจริงมันหมดไปโดยไม่รู้ตัว พอเราทำถูกที่ถูกทาง ถ้าความโกรธ ความโลภ ความหลง หรือสังขารทั้งหลายนี่ ไม่หมดจากชีวิตจิตใจเรา คนนั้นไม่มีสุขแน่นอน จะมีเงินมีทอง จะมีอะไรก็ตาม ถ้ายังมีสังขารเป็นเจ้าการ เป็นผู้มีอำนาจ ชอบปรุงชอบแต่ง ครุ่นคิด ไม่มีความยับยั้งชั่งจิต ไม่มีสุข ไม่มีความสุขชีวิตของเรา ทั้งชาติไม่มีความสุข แต่พอทำลายให้ ความโกรธ ความโลภ ความหลงหมดไป ไม่ต้องหาความสุข มันมีมาเอง เหมือนกับเราซักผ้า ถ้าความสกปรกหมดไป ความสะอาดมันก็มีขึ้นมาเอง โดยธรรมชาติ มันเป็นของตรงกันข้าม มันเป็นคนละเรื่องกัน
เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะทำให้เรามีคุณมีค่าจริง ๆ เรามาเริ่มต้นกัน มาเจริญสติสัมปชัญญะ เจริญสติสัมปชัญญะให้มันมีมาก ๆ กินลงไป สร้างลงไป ทำให้มีขึ้นมาก ๆ ลองดู มันจะเป็นอย่างไรไม่ต้องไปคิดก่อน ไม่ต้องไปรู้ก่อน ไม่ต้องไปเป็นก่อน ให้กรรมตัวนี้จำแนกไป เหมือนกับเราที่เป็นเด็กเล็กสมัยก่อน พ่อแม่ให้เล่าให้เรียน ไม่ต้องไปคิดว่ามันจะเป็นอะไร จะได้อะไร ไม่ต้องไปคิดนะ หน้าที่เราก็เล่าเรียน ร่ำเรียนไป ถ้าเกิดความรู้ขึ้นมา มันก็คิดได้ เขียนออก อ่านออกเขียนได้ ก็แตกฉานไปเอง เหมือนกับศิลปกรรม หัตถกรรม ที่เราศึกษาเล่าเรียนมา วิชาใด สาขาใด ถ้าเราได้ทำวิชาที่เราเล่าเรียนมา มันก็ทำได้ ใช้ได้ สำเร็จประโยชน์
การเจริญสติ นี่ การเจริญสติสัมปชัญญะ มันเป็นเครื่องดับทุกข์ก็ว่าได้ ทุกข์นี่ เราบางคนก็จะบอกว่า ทำไมถึงต้องปฏิบัติธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมไม่ได้หรือ ไม่เห็นมีทุกข์อะไรๆ ไม่เห็นมีปัญหาเรื่องใด ก็อยู่ดีมีสุขอยู่ ไม่เห็นมีทุกข์ที่ไหน บางทีเราอยู่กับความทุกข์ ไม่เห็นทุกข์ อยู่กับความคิด ไม่เห็นคิด ถ้าเรามาดูจริง ๆ มันก็มีปัญหาอยู่นั้นแหละ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป รส กลิ่น เสียง อย่างใจบางทีไม่มั่นไม่คง คุ้มร้ายคุ้มดี บางทีก็โกรธ บางทีก็หลง บางทีก็คิด สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มันยังไม่แสดงออก ต่อเมื่อใดที่มันแสดงออกเต็มที่ เราจะเอาไม่อยู่ เราจึงว่า ยามสงบเราฝึก ยามศึกเรารบได้
แต่ถ้าเมื่อใดที่มันเกิดขึ้นมา เราจะไปสู้มันไม่ได้ ถ้ามันใหญ่โตขึ้นมา เราสู้ไม่ได้ เรารบไม่เป็นๆ บางทีเราพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ความไม่สบายกายความไม่สบายใจจะเป็นยังไงเมื่อใดมันไม่บอก เมื่อสิ่งเหล่านั้นมาถึง เราก็ไม่มีปัญญา ไม่มีปัญญาญานที่จะเข้าไปสู้ เข้าไปสู้ แต่บางทีจิตใจเราไม่เหมือนเก่า วันนี้ก็คิดอย่างหนึ่ง พรุ่งนี้ก็คิดอย่างหนึ่ง ตอนเช้าตอนสาย สิ่งที่เราเกี่ยวข้องจะเป็นวัตถุสิ่งของสิ่งแวดล้อมอะไรต่าง ๆ มันมั่นคงหรือเปล่า นี่อย่าประมาท เพราะฉะนั้นต้องศึกษาต้องปฏิบัติธรรม ให้รู้ก่อนมันซะ ให้เห็นก่อนมัน และเมื่อใดที่มันแสดงออก เราก็รู้ก่อนมันแล้ว ต่อเมื่อมันแสดงออก ก็เออ..รู้แล้ว จะเป็นลาภ เป็นยศ เป็นสรรเสริญ เป็นนินทา เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นได้เป็นเสีย ซึ่งเป็นสมบัติของโลก
ถ้าเรารู้ก่อน เมื่อสิ่งนั้นมันแสดงออกมา ก็รับได้ ตอบได้ ให้คำตอบได้ ไม่จนกอก(จนตรอก) เดี๋ยวนี้เราจน ไม่ได้จนทรัพย์สินเงินทอง ไม่ได้จนหมู่มิตรเพื่อนฝูง ที่อยู่อาศัย แต่เรามีความจนอันนึง คือจนต่ออารมณ์ๆ อารมณ์มาสั่งงานให้เราได้ สั่งให้คิด ชั่วโมงสองชั่วโมง วางไม่เป็นเย็นไม่ได้ สั่งให้โกรธ สั่งให้หลงอย่างนี้ เป็นต้น มันมี แสดงว่าเรายังไม่มีอิสระ ยังเป็นทาสของสิ่งต่าง ๆ อยู่ ยังไม่ได้ไถ่ถอน ไม่เป็นอิสรภาพ ยังตกเป็นทาสของสิ่งแวดล้อมของอารมณ์อยู่ ถ้าอย่างนี้ไม่ปลอดภัยๆ เราจึงมาศึกษามาปฏิบัติ ที่พูดว่าความโกรธ ความโลภ ความหลง เพราะว่าความโลภ บางคนไปเข้าใจว่า ทำมาค้าขาย ได้เงินได้ทองมาก ๆ กอบโกยเอาเงินเอาทอง ไม่รู้จักเพียง ไม่รู้จักพอ ถือเอาเป็นวัตถุอย่างเดียวเป็นความโลภ แม้นว่าเราทำมาด้วยความบริสุทธิ์ เป็นสัมมาอาชีพ ก็ยังไปเข้าใจว่าเป็นความโลภ
สมมติว่าเราเล่าเราเรียนจนได้ปริญญาตรี อยากได้ปริญญาโทก็ตั้งใจเรียนจนได้ปริญญาโท ตั้งใจเรียนจนได้ปริญญาเอก ตั้งใจเรียนจนได้ดอกเตอร์ ก็ถือว่าเป็นความโลภ อันนั้น ไม่ถูกๆ ความโลภคือมันเบียดเบียนตนเองและเบียดเบียนคนอื่น จะเป็นวัตถุก็เบียดเบียนตนเองเบียดเบียนคนอื่น จะเป็นนามธรรมก็เบียดเบียนตนเองเบียดเบียนคนอื่น ส่วนมากความโลภที่ มุ่งเข้าไปสู่ก็คือนามธรรม โลภเอาอารมณ์ สมมติความโกรธ เราไม่รู้จักวาง เขาว่ากับเราๆ กูไม่ยอมๆ กูจะต้องทำมันให้ได้ เอาความโกรธมาอยู่ด้วย ข้ามวันข้ามคืนไม่รู้จักปล่อยไม่รู้จักวาง วางไม่เป็น หยุดไม่เป็น นี่เรียกว่าความโลภ ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้ไปโลภเอาวัตถุอันอื่น แต่มันโลภด้วยอารมณ์ โลภอารมณ์ วางไม่เป็น เขาว่ากับเรา เขาว่ากับเรา อย่างนี้ก็ไม่ได้ ต้องแก้กัน ต้องทำให้มัน เอาอารมณ์นั้นมาอยู่ด้วยหลายวัน นี่ความโลภ ไม่เย็นไม่หยุด ไม่รู้จักปล่อยไม่รู้จักวาง
ถ้าเราไปทำมาหากินโดยสุจริต ทำมาค้าขาย เล่าเรียนจนได้เครื่องตอบแทน มีเงินมีทอง ไม่ใช่เป็นความโลภ ไม่ได้เบียนเบียนใคร เป็นความบริสุทธิ์ยุติธรรม กิเลส บางคนก็ไปเข้าใจว่า มีลูกมีเมียมีทรัพย์มีสิน มีไร่ มีนา ทอดทิ้งไม่ได้ ละไม่ได้ หาว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นกิเลส กิเลสไม่ใช่เป็นวัตถุสิ่งของ กิเลสหมายถึงเครื่องที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ถ้าสิ่งเหล่านั้นอาจจะเป็นวัตถุ กามคุณเฉยๆ เราเกี่ยวข้องกับมันเป็นไม่เป็นกิเลส มันเป็นสิ่งที่ทำให้เราสะดวก เช่น เรามีรถมีเรือมีความรู้หากินง่าย มีสติปัญญา มีความสะดวกแก่ตัวเอง ไม่ใช่เป็นกิเลส
กิเลสก็คือ เครื่องเศร้าหมอง ทำให้จิตใจเราเศร้าหมอง อันใดที่จะทำให้จิตใจเราเศร้าหมอง อาจจะเป็นวัตถุ ที่เราไปสมมติบัญญัติ คิดขึ้นมา ก็กลายเป็นกิเลส ถ้าเป็นวัตถุเฉยๆ ไม่ได้สมมติไม่ได้บัญญัติ ไม่ได้มีอุปาทานไม่ได้เข้าไปยึดไปเกี่ยวข้อง ก็วางเป็น หยุดเป็น ละ หรือว่าปล่อยวางเป็น คำว่าปล่อยวางไม่ใช่ทอดทิ้งนะ ทอดทิ้งนี่เป็นเรื่องหนึ่ง ศาสนานี่หลักธรรมคำสอนไม่ได้สอนให้เราทอดทิ้ง มีลูกมีเมียมีทรัพย์มีสินมีหมู่มิตรเพื่อนฝูง ไม่ได้สอนให้ทอดทิ้ง ถ้าสอนให้ทอดทิ้งมันไม่ถูก สอนให้ปล่อยวาง มีอยู่ รับผิดชอบอยู่ แต่ว่ารู้จักปล่อยรู้จักวาง
วางในที่นี้ หมายถึงทางด้านจิตใจ ให้รู้จักวาง อย่าไปยึดอะไรจนวิตก จนสะดุ้งจนผวา วิตกกังวล ทำใจให้มันเป็น อันนี้ไม่ได้สอนให้ทอดทิ้ง มีลูก มีหลาน มีเพื่อน มีมิตร มีบุตร ภรรยา สามี ให้รู้จักวางให้รู้จักพอ อย่าให้มันหนัก อย่าวิตกกังวล คนหนึ่งที่ท่ามะไฟหวาน เป็นเอามาก ๆ บางทีวิตกกังวล กลัวลูกจะหนี กลัวลูกของฉันจะเป็นอย่างไร สามีของฉันไม่รู้จะเป็นยังไง ไม่รู้ว่าเขาจะอยู่กับฉันตลอดไปหรือเปล่า หลวงพ่อจะมีวิธีอันใดที่จะพูดให้เขาเข้าใจ ให้ลูกให้สามีได้อยู่กับฉันตลอดชีวิต ตลอดภพตลอดชาติ จนเป็นประสาท
วันหนึ่ง หลวงพ่อกำลังแสดงธรรมตอนเช้ามืดตีห้า ก็เดินขึ้นไปหาหลวงพ่อที่กุฏิ ซึ่งหลวงพ่อไม่เคยมีคนเช่นนั้นขึ้นมา ก็เป็นเรื่องแปลก ก็นั่งอยู่กับอาจารย์บุญธรรมที่นั่งอยู่ใกล้ๆ นี่ เอ้ หลวงพ่อก็เลยหยุดพูด เรื่องอะไร เค้าก็เข้าไปหาอาจารย์บุญธรรมเนี่ย พอหลวงพ่อก็ฟัง พอหลวงพ่อก็เลยหยุดพูด ก็เลยเข้าไปถามว่า “อะไรหละ” ก็เลยกลับมาหาหลวงพ่อ มาพูดกับหลวงพ่อว่า มาพูดว่า “ฉันไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร พ่อของเด็กนี่ไม่รู้ว่าจะอยู่กับฉันได้หรือเปล่า ลูกของฉันไม่รู้จะอยู่กับฉันได้หรือเปล่า ฉันเป็นทุกข์ หลวงพ่อจงแผ่เมตตาให้สามีของดิฉัน ได้เข้าใจดิฉันได้อยู่กับฉัน” คิดวิตกกังวลเป็นประสาท เป็นประสาท บางวันนี่ปรุงแต่งขึ้นมา ทำให้ระแวงว่าสามีของเขาจะไปมีเมียเป็นคนใหม่มีแฟนเป็นคนใหม่ ก็ทะเลาะวิวาทกันไป
นั่นไม่รู้จักปล่อยจักวาง ยิ่งยึดยิ่งถือยิ่งมืดยิ่งมนเข้าไป ยิ่งวิตกยิ่งกังวลยิ่งสะดุ้งยิ่งผวา ยิ่งปรุงยิ่งแต่ง มากขึ้นๆ เพราะฉะนั้น แม้นว่าความคิดหรือตัวสังขารนิดๆ หน่อยๆ อย่าให้โอกาสแก่มัน อย่าให้โอกาส มีสติเข้าไปรู้ ล้าง คิด ถู ประหารเลยทีเดียว เรียกว่าปริญญาก็ได้ ปริญญาในทางธรรมก็ไม่ว่า ญาตปริญญา กำหนดรู้ด้วยการรู้ ตีรณปริญญา กำหนดรู้ด้วยการแจกแจง โอ้อันนั้นคือความคิด นั่งอยู่นี่คือรูป เชื่อมันไม่ได้ความคิดน่ะ มันคิดเรื่องใดขึ้นมา จะเชื่อมันทั้งหมดไม่ได้
ถ้ารู้จักทักท้วงความคิดของตนเอง นี่เรียกว่า ญาตตีรณปริญญา แจกแจง นั่งอยู่นี่เป็นรูปธรรม คิดอยู่นั้น คิดไปโน่นเป็นนามธรรม รู้จักตัวสติเป็นผู้ดูเป็นผู้รู้เป็นผู้เห็น นี่เรียกว่าตีรณปริญญา ปหานปริญญา รู้จักละเสีย ให้เร็วให้ไวที่สุด เหมือนกับไฟที่มันมาตกใส่ขาใส่เนื้อใส่หนังของเรา ปัดออกให้ไว คิดออกให้ไว จะได้ไม่ไหม้ตัวเรา ถ้าเราประมาท ปล่อยให้มันไหม้ มันก็เจ็บ เป็นแผล รักษาหลายวัน
อันเจ้าสังขารคือความคิดปรุงแต่ง จนนอนฝันจนสะดุ้ง ระวังให้ดี ต้องมีสติเข้าไปกำกับทันที อย่าประมาท ต่อไปมันจะด้าน คิดไปๆ จนเป็นเรื่องเป็นราวเป็นจริงเป็นจัง จนปรุงจนแต่งจนมีอุปาทานเข้าไปยึดเอา พอเกิดอะไรขึ้นมาก็หลงภพหลงชาติ หลงตัวหลงตนเข้าไป เพราะฉะนั้นมีสติสัมปชัญญะ ดูกายดูใจ สิ่งที่กำหนดรู้ก็รู้ สิ่งที่แจกแจงก็แจกแจงออกไป สิ่งที่ประหารสิ่งที่ละ ก็ละให้ไวให้เร็ว โดยวิธีที่เราปฏิบัติธรรมการเจริญสติ หลวงพ่อใหญ่หลวงพ่อเทียนเคยพูด ดูตัด ดูตัด พอเห็นเราก็ตัด ท่านว่าอย่างนั้น
ที่จริงคำว่าตัด นี่มันก็คือมีสติเข้าไปรู้ สิ่งเหล่านั้นก็หมดลงๆ คล้ายๆ กับว่าตัด พอมีสติ ความคิดมันก็หยุด พอมีสติความคิดมันหยุด ความคิดเกิดขึ้นมา มีสติ ความคิดมันหยุด มันยังไม่ถึงความโกรธ เพราะความโกรธมันเป็นผลงานของความคิด ความโลภมันเป็นผลงานของความคิด ความหลงมันเป็นผลงานของความคิด กิเลสตัณหา ราคะ โทสะ เป็นผลงานของความคิด ตัวคิดเป็นเจ้าการ เป็นตัวสังขาร เป็นผู้ก่อหวอดขึ้นมา ตัวคิด
ความคิดก็เคยพูดอยู่เสมอเลยว่า มันมีสองอย่าง อันหนึ่งมันลักคิด ไม่อยากคิดมันก็คิด นี่ตัวการ อันหนึ่งคือตั้งใจคิด คิดมันจบเป็น ไม่มีใครอยากคิด ถ้าตั้งใจคิด ไม่มีใครอยากคิด มอบให้คนนั้นคิด ให้คนนั้นล่ะคิดให้ด้วย คนนั้นแหละคิด อ้าว ฉันไม่คิด ให้คนนั้นล่ะคิด คิดเรื่องงานเรื่องการ คิดเรื่องเทคโนโลยี คิดเรื่องเทคนิคต่าง ๆ การทำงานการอะไรต่าง ๆ แต่ ตัวลักคิด นี่ ขยันมาก ไม่อยากคิด มันก็คิด ไหลไป นี่ตัวสังขาร
วันเมื่อวาน วันวาน พระพุทธเจ้าของเราเกิดขึ้น พูดออกมาคำแรกว่า นี่หรือ อเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง แต่ก่อนเรายังไม่พบญาณหยั่งรู้ เราก็ได้วิ่งท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นอเนกชาติ คล้ายกับความคิด นั่งก็คิด นอนก็คิดไป บัดนี้เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว เจ้าจะทำอะไรให้เราไม่ได้อีก โครงเรือนของเจ้า เราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว จิตของเราถึงสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป เป็นคำพูด ออกมาเป็นคำอุทาน ไม่ได้ไม่มีใครฟัง เป็นอุทานออกมาจากจิตใจพระพุทธองค์ เพราะเห็นสิ่งเหล่านี้เนี่ย
เพราะฉะนั้นนี่ สิ่งที่จะเห็นสิ่งเหล่านี้ ก็คือมาเจริญสติ มาสร้างสติ มาสร้างสัมปชัญญะ ตัวนี้ ดูกายดูใจซึ่งเป็นต้นตอของสิ่งทุกสิ่ง จะเป็นความโกรธ ความโลภ ความหลง จะเป็นกุศล จะเป็นอกุศลก็ตั้งต้นที่กายที่ใจ ถ้าเราไม่รู้ แล้วแต่ว่ามันจะเป็นยังไง แล้วแต่เหตุปัจจัยมันจะเป็นอย่างไร ถ้าเรารู้ มันก็ไม่มีสิทธิ์ เพราะกายใจมีเจ้าของ เดี๋ยวนี่กายของเราไม่มีเจ้าของ จิตใจไม่มีเจ้าของ เป็นของเถื่อน เป็นสาธารณะอยู่ แล้วแต่อะไรจะมาสั่ง เอาทั้งนั้น สั่งให้โกรธก็โกรธ สั่งให้หลงก็หลง สั่งให้รักก็รัก สั่งให้ฆ่าก็ฆ่า สั่งให้ด่าก็ด่า ปลอดภัยหรือเปล่า เราเป็นอย่างนั้นปลอดภัยหรือเปล่า น่าเชื่อตัวเองหรือเปล่า นั่นล่ะว่า สาธารณะ เหมือนกับคนไม่มีเจ้าของ บ้านไม่มีเจ้าของ เป็นคนจรจัด เขามาใช้อะไรก็เป็น ถ้าเป็น ถ้าเรียกว่าเขาเป็นโสเภณี ไม่มีเจ้าของ ใครจะหิ้วไปไหนก็ได้ จิตใจเป็นโสเภณี ไม่มีเจ้าของ เขาจะเอาไปทำอะไรก็ได้ ไปอยู่กับความโกรธข้ามวันข้ามคืนก็ได้ ไปอยู่กับความทุกข์ข้ามวันข้ามคืนก็ได้ ไปอยู่กับความรักข้ามวันข้ามคืนก็ได้ ไม่มีอิสระ เพราะฉะนั้นต้องมีเจ้าของ
สิ่งใดมีเจ้าของ สิ่งนั้นจะอยู่ในสภาพความปกติ บ้านมีเจ้าของ บ้านหลังนั้นก็มีสภาพปกติ เรือกสวนไร่นามีเจ้าของ รถเรือมีเจ้าของ ก็อยู่ในความปกติ เพราะฉะนั้นเรามาสร้างเจ้าของ มาสร้างหลักของชีวิตด้วยการเจริญสติดูกายดูใจของเรานี่หละ ให้เห็นดูสิอะไรจะมา อะไรจะมา ก็ทักท้วง เหมือนกับเฝ้าดู เรามีสติดูกาย เหมือนกับคนเฝ้าบ้าน มีสติหยุดดูใจก็เหมือนกับคนเฝ้าบ้าน มันจะเสียหายยังไง ความคิดเกิดขึ้นมา เราเห็นความคิด อารมณ์เกิดขึ้นมา เราเห็นอารมณ์ เมื่อเราเห็น มันจะทำอะไรได้ เหมือนกับเรามีตา เราเห็น จะทำอะไรได้ เราอยู่บ้าน ใครจะขึ้นมาทำอะไรได้ บ้านเราก็อยู่ในสภาพความปกติ รู้จักรับรู้จักไล่ รู้จักเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น ๆ ถูกต้อง
เพราะฉะนั้นนี่ การเจริญสติสัมปชัญญะ เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษา เป็นจุดเริ่มต้นของการถลุง การย่อย การแยก มันเป็นธรรมชาติอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องเว้นไม่ได้ แม้นว่าเราจะทำได้นิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่เป็นไร ดีกว่าไม่ทำ ทำวันนี้มันไม่รู้วันนี้พรุ่งนี้หรือปีนี้ ปีหน้าอาจจะรู้ได้ หัดให้เป็นนิสัยเป็นปัจจัยเอาไว้ ให้ได้เคยให้ได้ชิน บางทีเราจนกอก(จนตรอก)มาจะคว้าหาก็ได้ แต่บางคนไม่เคยได้ศึกษา ไม่เคยได้ปฏิบัติ ไม่มีทุน ไม่มีมรดก เป็นคนจน ถ้าเราสร้างขึ้นมาก็เป็นมรดก อาจจะตกกระไดพลอยกระโจนก็ได้สักครั้งหนึ่ง
เหมือนกับดูสิเจ้าชายสิทธัตถะ พออายุ เกิดมาไม่นาน พาไปแรกนาขวัญ ตั้งอยู่ ให้อยู่ในร่มหว้า ต้นชมพูใหญ่ ตามประวัตินะ ขณะนั้น เพราะว่าบางคนน่ะมันเป็นอัจฉริยะมนุษย์ตั้งแต่เด็ก ๆ ก็มี ก็จะนั่งอยู่ในความสงบ เย็น ลืมร้อนลืมหนาวไป แดดออกก็ไม่รู้จักร้อน ภาษาเราก็เลยพูดไปว่า “ร่มหว้าใหญ่ไม่คลาดเคลื่อนไปที่ไหน แม้แต่พระอาทิตย์จะอัสดงเอียงลงร่มหว้าก็ยังอยู่ อันนั้นเป็นไปไม่ได้ “
หมายความว่า คนที่มีสมาธิไม่รู้จักร้อนไม่รู้จักหนาว ทำงานไม่รู้จักเหน็ดไม่รู้จักเหนื่อย ลืมวันลืมเดือน ทำอะไรลงไปถ้ามีสมาธิดี ๆ ลืมไป มีอันเดียวเป็นเอกกิจ เป็นอันเดียวไปเลย ลืมเหน็ดเหนื่อย ถ้าคนทำอะไรที่ใจไม่ค่อยเป็นสมาธิ เหนื่อย เหน็ดเหนื่อยง่าย จากนั้นมาจนได้อายุ 29 มาบวชมาปฏิบัติธรรม มาทรมานตัวเองเป็น อัตตกิลมถานุโยค บำเพ็ญตนให้ลำบาก จนหนังหุ้มกระดูก จับดูทางท้องถูกด้านหลัง จับด้านหลังถูกด้านท้อง เพราะมันไม่มีเนื้อ มีแต่กระดูกกับหนังห่อหุ้ม แต่จิตใจมันยังโกรธปัญจวัคคีย์อยู่ เอ๊ะ! เรามาทรมานกาย แต่ใจมันทำไมยังโกรธ ไม่ยินดี ยังยินดียังยินร้ายต่อปัญจวัคคีย์