แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมกันเป็นส่วนประกอบกับการศึกษาของพวกเรา ถ้ามาถึงที่นี่แล้ว ตั้งใจมากันทุกชีวิต พบกันกลางทางก็ว่าได้ อะไรที่มันเป็นไปได้ และเป็นไปไม่ได้ เราก็มาพิสูจน์ร่วมกันดู ก็ดีน่ะพบกันกลางทางนี่ พระพุทธเจ้าไปพบกับปัญวัคคีย์กลางทาง ลูกสาวช่างหม้อเดินทางไปส่งข้าวพ่อ พบกันกับผู้คนที่เดินเข้าวัดเชตวัน พบกันกลางทาง ถามกันขณะที่เดินไปด้วยกัน ลูกสาวช่างหม้อก็เลยแวะไปเชตวันด้วยกับหมู่ที่ไปฟังธรรม จึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ พบกันกลางทางแค่นิดเดียว ได้ไปส่งข้าวพ่อต่อไป นี่ก็คนที่จะมีอะไรที่บอกที่สวดกันบ้าง บางที่เราก็สาธยายพระสูตร เรื่องความพากเพียรชอบ เป็นภาษาบาลีบ้าง เป็นภาษาไทยบ้าง อาจจะฟังไม่ค่อยคุ้นหู ถ้าฟังบ่อย ๆ ก็ชินไป มันจะซึมซาบเข้าถึงจิตใจได้
ถ้าจะพูดแบบง่ายๆ ก็ว่ามีฉันทะ พอใจในการกระทำ ในงานของเรา ในการปฏิบัติของเรา ในความเพียรของเราในเวลานี้ให้มาก ให้มีฉันทะ อย่าเดินไปทิศอื่นทางอื่น ช่วงช้างสะบัดหู ช่วงงูแลบลิ้นก็ยังดี ถ้าไปสนใจเรื่องอื่นไม่ใช่แล้ว เราอยู่ที่นี่แล้ว เรียกว่ามีฉันทะพอใจ แล้วฉันทะเฉย ๆ ไม่ใช่ ต้องมีวิริยะความเพียรประกอบ ทีนี้เขาประกอบความเพียรกัน เดินจงกรม สร้างจังหวะ ฝึกกาย ฝึกใจของตน มีสติ อ้าวมันก็มีสติได้ ขณะที่เราเดินจงกรม สร้างจังหวะ เอาลงไป เติมลงไปในฉันทะ ในวิริยะ ในสติ ในจิต เอาใจใส่อยู่เสมอไม่ทอดธุระ เดินก็ให้รู้จักเดิน ยกมือก็ให้รู้จักยกมือ อะไรที่เกี่ยวกับกายให้รู้มัน แล้วก็ขบเคี้ยว อย่าซื่อบื้อ
เวลามันหลงก็เห็นความหลง เวลามันรู้เห็นความรู้ สัมผัสเอา มันมี ความหลงก็มี ความรู้ก็มี ความสุขความทุกข์ก็มี ความผิดความถูกก็มี ในกายในใจนี้ อย่าให้มันฟรีได้ ถ้ามันสุข อืม..เห็น ถ้ามันทุกข์ อืม..เห็นมัน มาดู สติต่างหาก ความสุขต่างหาก ความทุกข์ต่างหาก คนละอันกันอยู่ เรียกว่า “วิมังสา” ขบเคี้ยว อย่าเอาอะไรผิดก็คือเรา ถูกก็คือเรา สุขก็คือเรา ทุกข์คือเรา อะไรต่าง ๆ มันไม่ใช่ ไม่เคี้ยวไม่ขบ ไม่สัมผัสอย่างลึกซึ้ง เหมือนจระเข้ จระเข้มันกินอาหารเนี่ย มันไม่เคี้ยว มันกลืนเข้าไปเลย คาบอันเดียวก็กลืนลงไปเลย ชีวิตของเราอาจจะเป็นจระเข้ กลืนลงไป สุขก็กลืนลงไป ทุกข์ก็กลืนลงไป
ตามประเพณีคนไทยเราทอดกฐิน มีรูปอะไรบ้างประกอบการทอดกฐิน ถ้าจะยก มีรูปจระเข้ (หัวเราะ) ใช่บ่ มีรูปจระเข้ มีรูปนางมัจฉาเอามาปักไว้ มันกลืนลงไป มันก็มีโทษมีประโยชน์ อันคืนคนกลืน อันคายออก คนจะเอาออก เหมือนเรากินอาหาร เคี้ยวอาหาร การขบเคี้ยวคือเคี้ยวอาหาร ไปเคี้ยวไปถูกหิน แล้วก็คายออก เวลากลืนลงไป ถ้าเคี้ยวไปถูกกระดูกก้าง เราก็คายออกมา การคายออก การกลืนไม่มีใครบอก มันรู้จักเอง สัมผัสเอาเอง เหมือนเด็กน้อยเวลาหัดกินข้าว แม่ป้อนข้าวด้วยปลา บางทีไม่เห็นก้าง ป้อนไปกับคำข้าว ลูกน้อยพอมาเคี้ยวก้างปลา มันก็อ้าปาก มันเอาออกไม่เป็น บางทีมันก็ไม่เอา มันบอก มันร้อง อ้าปากร้อง บางทีมันคายออกมาทั้งหมด เอาบางทีมันก็รู้ เอาออกเอง แล้วก็กลืนลงไปส่วนที่มันกลืนได้ ไม่ใช่ทั้งหมด มันเป็นผิด ไปสัมผัสความผิด ถูกมันเป็นถูก ทุกข์มันเป็นทุกข์ สัมผัส พอเคี้ยวแล้ว เคี้ยวแล้ว ถอนออกแล้ว
อาตาปี สัมปชาโน ถอนออกมา มันสุขมันทุกข์ อยู่กับกาย อยู่กับใจ อยู่กับเวทนา มันเป็นรสของโลก ไม่ใช่รสของธรรม เป็นอกุศล ถอนออกมา อกุศลที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิด เรียกว่ารสของโลก ถ้าเราไม่รู้จัก มันก็ไม่รู้จักถอนออก มันสุข มันทุกข์ มันพอใจ มันไม่พอใจ นี่ถอนออกมา นี่แหละ คือความสำเร็จ สมัยสอบนักธรรม ทำไมถามตรง ๆ แบบนี้ เขาถามเรื่องปัญหา คือปิดไว้ไม่ให้เปิดเผย ว่าเรามีปัญญาไหม เขาถามว่า ในโลกนี้ทางการศึกษาเขาสำเร็จสูง เป็นวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ อย่างเวลานี้ไข้หวัดพันธุ์ใหม่ เขาพิสูจน์ได้ เขากำลังผลิตวัคซีนส่งไปตามสถานีอนามัยทั่วประเทศให้ทัน เพราะเขาพิสูจน์ได้ มันเกิดจากอันนี้ มันเกิดจากอันนี้ แต่ทางธรรมเนี่ยอะไรมีความสำเร็จบ้าง ธรรมข้อไหนที่ทำให้ธรรมสำเร็จ ทางวิทยาศาสตร์เขาพิสูจน์ได้ แต่ทางธรรมเนี่ย อะไรที่ทำให้สำเร็จได้ ตอบมาให้มีหลักฐาน จะตอบยังไง อะไรทำให้สำเร็จในทางธรรม
ก็บอกว่าทางธรรมก็มี ธรรมที่ทำให้เกิดความสำเร็จได้ มีอยู่ 4 ข้อ
1. ฉันทะ พอใจ
2. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
3. จิตตะ เอาใจใส่
4. วิมังสา ตริตรองให้ดีในสิ่งที่เกิดขึ้น
เลือกให้เป็น อะไรเกิดขึ้นสำเร็จได้ อธิบาย เขาบอกอธิบาย จงอธิบาย ตอบเท่านี้ไม่พอ จงอธิบาย ฉันทะพอใจ เช่น สามีภรรยาพอใจที่จะเป็นสามีภรรยากันอยู่ตลอดเวลาไม่เสื่อมคลาย พอใจ รักกัน ทำหน้าที่ ต่างดีต่อกัน วิริยะ เพียรประกอบต่อกันในทำความดี อย่าทอดทิ้ง อย่าทอดทิ้ง อย่าหนีไปทางอื่น วิริยะ วิริยะเพียรประกอบทำหน้าที่ของตน จิตตะ เอาใจใส่อยู่เสมอ ทำดีเพื่อลูก ทำถูกก็เพื่อครอบครัว วิมังสา ตริตรอง อะไรผิด อะไรถูก เว้นสิ่งที่ผิด ทำสิ่งที่ถูก ก็มีความสำเร็จในภรรยาสามีได้ตลอดชีวิต
บางทีหลวงตาไปบ้านท่ามะไฟหวานนี้ เห็นผู้เฒ่ามาจำศีล สามีมาจำศีล ภรรยามาส่งข้าว ภรรยามาจำศีล มีสามีก็ต้องเข้ามาส่งข้าว(หัวเราะ) ดีเน้อ นี่บ่พ่อเปรม พ่อทายกจง แม่อาภรณ์เสียชีวิตไปแล้ว....ต้องเอามาเอง ผู้เฒ่าเด่ะ ลุกขึ้นหุงต้มแต่ดึกแต่ดื่น ถือตะกร้า ไอ้เราก็เห็นเนี่ย อ๋อนี่หนอ เขามีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา รักกันคงเส้นคงวา ตลอดชีวิตจนเฒ่าจนแก่ รักกันถึงกระดูก หลวงตาไปเก็บกระดูกคนหนึ่งที่เขาตาย ฟ้าผ่า ฟ้าผ่าตาย แล้วก็ฝังไว้ในไร่เขา นี่น่ะเราก็รวมไปขุดหลุม คนฟ้าผ่าตาย เขาจะฝังยืน แล้วก็เอากระทะคลุมหัวไว้ แล้วเอาดินถม แม่นบ่ ไปขุดๆ พอขุดลงไป ขุดลงไป เห็นกระทะ สับกระทะ เป๊ง... เห็นใกล้แล้วๆ พอขุดลงไป ดึงกระทะออกเป็นกะโหลกหัว ทีแรกก็ให้ลูกชายลงไปขุด พอเจอกะโหลกหัว กระโดดขึ้นหลุมเลย กระโดดขึ้นไป ไม่สู้ กลัวเสียแล้ว เนี่ยพ่อจะแก่ กูเอง กระโดดลงไป พอเห็นกองกระดูก กระโดดลงไป นั่งลงเอาผ้าขาวม้าเก็บกระดูกหัวของเมียของตนมาใส่ผ้า ใส่ผ้าเนี่ยดูสิ มันถึงกระดูกแล้วรักกันใช่ไหม นี่พ่อทายกว่าจะเก็บกระดูกเนี่ย นี่จะบ่นชิบหาย เนี่ยนี่คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
เอาทำความเพียรเนี่ย มีไอ้นี่มา อย่าไปซื่อบื้อซื่อบี้กันแล้ว มีส่วนประกอบใส่ใจเสมอ ไม่ทอดธุระ แล้วก็นี่แหละเป็นหลักที่เราปฏิบัติ เราไม่ใช่สวดเฉยๆ สวดแล้วมันขูดออกตัวเอง ขูดตัวเอง ขูดตัวเอง ขัดเกลาออก การสวดนี่เป็นอย่างนี้ เมื่อวานหลวงตาไปฟังปาติโมกข์ที่วัดภูเขาทอง แล้วก็นั่งฟัง พอสวดปาติโมกข์จบ อือหือ..สนุกดี ม่วนชื่นดี เหมือนกับเราได้นั่งฟังคำสอนออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า เวลาฟังไปสิกขาบทไหน มันโดนเรา มันโดนเรา มันโดนเรา มันโดนเรา พระบางรูปนั่งหาวนอน (หัวเราะ) โอ้ย...ไม่มีฉันทะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีจิตตะ ไม่มีวิมังสา ไม่สำเร็จ เนี่ยก็มีเหมือนกันน่ะ นั่งฟังปาติโมกข์ 40 – 50 นาที อาจจะไม่มีประโยชน์เลย..... แต่บางรูปตั้งใจฟัง
เราทำความเพียรนี่ เราจะวิปัสสนาเห็นกาย บางคนเอากายไปเป็นตัวเป็นตนไป บางคนเห็นกายสักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เหมือนกับมันขูดออก ขูดออก ๆ ๆ เห็นเวทนา ถ้าเราซื่อบื้อ ก็สุขทุกข์ ถ้าผู้ที่มีวิมังสา เห็นเวทนาสักว่าแต่เวทนา ไม่ใช่ว่าสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา มันขูดออกน่ะ เห็นจิตที่มันคิดไปนู่นไปนี่ นี่มันก็นึกว่าเราทั้งหมด เป็นความสุข ความทุกข์ จิตใจ ความรัก ความชัง โกรธ โลภ หลง เพราะจิตใจ อ๋อเห็นแล้วๆ อ๋อสักว่าจิต ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา มันขูดออก เคยเป็นหลงเพราะใจ เคยถูกเพราะใจ เคยผิดเพราะใจ เคยทุกข์เพราะใจ อ้าว มันเรียบ ๆ ๆ ๆ เหมือนกับการขัดให้เป็นเงาขึ้นมา มองอะไรเห็น เหมือนขัดพระพุทธรูป พระพุทธรูปเศร้าหมอง ขัดออก ๆ ถึงเนื้อทอง มันเลื่อมระยับไปเลย
ถ้ามีมาตรฐานกันหน่อย เหมือนในชีวิตปิดทองพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน น่ะเลี่ยมมันขึ้นมาน่ะ เหมือนกับนี่มันแต่งได้ ให้เห็นอย่างนี้ เรียกว่า ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา มันสำเร็จได้น่ะ งั้นเราเพียรประคอง อย่าให้มันหลงฟรี ๆ ผิดฟรี ๆ ถูกฟรี ๆ สัมผัสความหลง ความรู้ ความทุกข์ ความไม่ทุกข์ ความโกรธ ความไม่โกรธ มันตรงกันข้าม มันก็กระทบกระเทือนไปทางโน้น น่ะหลวงตาก็พูดตั้งแต่วันนั้นน่ะว่า จนถึงนู่นน่ะ จนถึงสมมติบัญญัติ วัตถุอาการ การสัมผัส มันรื้อถอน มันรื้อถอนจริง ๆ น่ะ ปฏิบัติธรรมนี่ ไม่ใช่เพื่อเอาไปจำ ไปถกไปเถียง ไปโต้ไปอะไรกัน ไม่ใช่เลย มันเถียงกับตัวเอง มันเอากับตัวเองนี่ ผิดก็เราเห็นมันผิด เห็นถูกก็เห็นมันถูกเนี่ย มันฟ้องเราพิพากษาตุลาการ
สตินี่เหมือนพิพากษาตุลาการ ความหลง ต่างละอัน ความหลง ความผิด ความนั่นน่ะเป็นจำเลย มันสู้ธรรมไม่ได้ ธรรมย่อมชนะอธรรมเสมอ มันรื้อออก ๆ ๆ ๆ เห็นวันนั้นพูดถึงอะไร พอจำได้ไหม สมมุติบัญญัติ วัตถุอาการต่าง ๆ วัตถุ คือตา คือหู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป รส กลิ่น เสียง อารมณ์ เมื่อตาเห็นรูปมีอาการเกิดขึ้น มีความพอใจและความไม่พอใจ หูได้ยินเสียงก็มีอาการเกิดขึ้น เหมือนฆ้อง แต่มันอยู่เฉย ๆ มันไม่มีเสียง พอไปตีมันก็ดังขึ้นมา เสียงครางของฆ้องนั้น เรียกว่าเจตสิก มันแล่นไป ตาเห็นแล้วก็แล่นไป พอใจ มันแล่นไหม ไม่พอใจ มันแล่นไปไหม มันครางไป เรียกว่า “เจตสิก” มันเป็นอย่างนี้ แต่พอเราเห็นมันก็ อันนี่มันเสียงครางฆ้อง ไม่ใช่ฆ้อง เพราะเราไปตีมันก็เลยดัง แต่อย่าไปชอบกับเสียงมัน อย่าไปไม่ชอบกับเสียงมัน ที่มันสุขมันทุกข์ ก็เพราะมีเหตุปัจจัย เราต้องดูที่เหตุมัน ไม่ใช่ไปตำหนิเสียงฆ้อง บางที่ได้ยินเสียงฆ้อง คนที่นอนตื่นสายก็ไม่พอใจ ใช่ไหม อ้าวหักกะสินอนหลับเมื่อกี้ มาตีไว้แท้น้อฆ้อง (หัวเราะ)
โบราณท่านว่าละอองฝนไม่พอใจสำหรับคนขี้หนาว แสงแดดไม่พอใจคนขี้ร้อน คนนอนตื่นสายไม่พอใจคนที่ปลุกให้ตื่น บางทีแม่ปลุกลูก ครางเฮ้ย ๆ ๆ เพราะมันเสียง ใช่ไหม(หัวเราะ) มันนอนตื่นสาย ไม่พอใจกับการพ่อแม่ปลุกให้ตื่น นี่เสียงฆ้อง ใจก็พอใจไม่พอใจแล้ว วันไหนที่เรานอนหลับ หมดเรี่ยวหมดแรงแล้ว แล้วก็ได้ยินเสียงฆ้อง โอ๊ย......ชื่นใจ ขอบคุณ แต่บางคนไม่ขอบคุณน่ะ ตีหยังใด๋เว้ยคนเราเนี่ย เฮ้าก็จะนอนเด้อ(หัวเราะ) อ้า..อย่างเนี่ย เราเห็นมัน เราเห็นมันแล้ว มันครางไป ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส จิตใจคิดนึก มันเป็นอาการต่อกันมา บางทีเราก็วิ่งไปตามอาการนั้น อาการเฉยๆ ก็ไปเอาความผิดความถูก ไปเอาความสุขความทุกข์ มันก็หลอกเรา ล้มเหลว คว้าน้ำเหลว ไม่ใช่ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา อันเนี่ยเห็นสมมุติในอาการเช่นนั้น ว่าดีว่าไม่ดี บัญญัติเอาว่าชอบ ว่าไม่ชอบ อุปาทานยึดเอาว่าตัวว่าตน พอเห็นสมมุติบัญญัติ มันพังทลายน่ะ เหยียบย่ำ ถึงกับทำลายความโลภ ความโกรธ ความหลงไปเลย ทำลายสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
หลวงตาอยากจะบอกว่า นี่แหละประตูธรรม เปิดออกได้ เปิดออกได้เลย เข้าไปสู่ธรรมะอย่างสง่างามน่ะ พอเห็นสมมตินี่มันรื้อถอนออก รื้อถอนออก เหมือนเราเห็นรื้อบ้าน รื้อบ้านเขารื้อตรงไหน ต้องรื้อตรงแปมัน พอรื้อไป รื้อไป เห็นช่องเห็นอันนี้ติดตรงนั้นตรงนี้ รื้อออก ๆ ๆ อะไรมันติด มันไม่ต้องเรียน มันสอนเรา การรื้อบ้านก็ดี การสร้างบ้านก็ดีเนี่ย สร้างเรือนก็ดี คำว่า เรือนน่ะ แต่ภาษาอีสานเขาว่า เรียน ภาษาไทยเรียกว่า เรียน เรืยนก็เลยต่างกันนิดหน่อย คำว่า เรียนเนี่ย มันบอกเรา เรียนรู้ มันบอกเรา เช่นจะยกบ้าน เอาอะไรขึ้นก่อน มันก็บอก ขุดหลุม เสาตั้ง ตีคาน วางตรง ตีคอเสา ใส่ขื่อ ใส่จันทัน มันบอก ไม่ใช่ไปทำหลังคาก่อน ไม่ใช่ต้องไม่ต้อง เวลารื้อก็เหมือนกัน อนุโลมปฏิโลม ในปฏิจจสมุปบาทเรียกว่า อนุโลมปฏิโลม อันหนึ่งไป อันหนึ่งรื้อ อวิชชามันไป อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ มันเกิดมาจากนู้นน่ะ ชรา มรณะน่ะ อวิชชา วิชชาเกิดสังขารดับ นามดับ รูปดับ ดับไป รื้อบ้านออก หมดเลยน่ะ ถ้าจะว่าเหล่าความโลภ ความโกรธ ความหลงน่ะ จืดจางไปเลยน่ะ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสนี่ อ้าวมันจะยากอะไรนี่ มันรื้อไปจากนี้แล้วปานนั้น
นี่ถือว่าการเปลี่ยนแปลงของชีวิตตรงนี้ได้เหมือนกัน แต่ระวังน่ะตรงนี้ มันจะเป็นจิตญาณ เป็นวิปัสสนู มันตกแหล่งความรู้ ตกแหล่งความรู้น่ะ มันมีแหล่งความรู้เหมือนกันน่ะ มีแหล่งความหลง มีแหล่งความรู้ มีแหล่งความหลง แหล่งความรู้ทำให้หลงง่าย อันนั้นก็รู้ อันนี้ก็รู้ รู้ไปๆ ๆ ๆ รู้นั่งรู้ เดินรู้ เลยไม่ได้ทำความเพียรเนี่ย เดินจงกรม มีแต่เทศนาสั่งสอนนั่นๆ ก็โอ้ยไม่เคยได้ยิน ไม่เคยมีใครมาบอก น่าจะพูดอย่างนี้ ไม่พูดอย่างนี้ เป็นวิปัสสนูไปเลยน่ะ เสียเวลา น่ะ เป็นสุขก็เป็นสุข มีปัญญาก็มีปัญญา แต่มีปัญญาแบบ ไม่ใช่แบบทำลายกิเลส มีปัญญาแบบรู้หลงไปทั้งหมดเลย ไม่ใช่ อันนั้นไม่ใช่ ให้กลับมา
หลวงพ่อเทียนบอกว่าอย่าเป็นผู้รู้ ให้เห็นมันรู้ เนี่ยยอดเยี่ยมเลย เราจึงบอกไปเลย ขวางหน้าไปเลย ไม่มี ไม่เป็นอะไรกับอะไร มันสุขก็ไม่เป็นผู้สุข มันทุกข์ก็ไม่เป็นผู้ทุกข์ มันรู้ก็ไม่เป็นผู้รู้ มันหลงก็ไม่เป็นผู้หลง บอกไว้เลย หลวงตาบอกไว้เลย เพราะการสอนธรรมตรงนี้ ไม่ต้องสอบอารมณ์ เพราะเป็นการบอกกันอย่างละเอียดอยู่แล้ว มันหลงเห็นมันหลงเนี่ย มันผิดก็เห็นมันผิดเนี่ย มันถูกก็เห็นมันถูกเนี่ย นี่แหละมรรค ล่ะ
พอหลวงพ่อเทียนบอกว่าให้เห็นมัน มันสุขมันรู้ มีปัญญาอย่าหลง มันจะกลายเป็นวิปัสสนู เสียเวลา แล้วบางทีมันก็มาตั้งต้นใหม่ไม่ได้ กลับมาเห็นต่าง ๆ รู้สึกต่าง ๆ ไป เห็นมันสุข เห็นมันทุกข์ไป แล้วก็ปรารภความเพียรไป มีสติไปอีก มันก็เห็นช่องทาง มันก็มีอะไรที่มันแตกต่างกันกว่าเดิม จิตใจมันก็เปลี่ยนแปลงไป จนท้าทายได้ว่าต่อไปนี้ อันความสุข ความทุกข์ ที่เกิดกับกายกับใจจะไม่มีอีกเลย ความสุขที่เกิดกับกาย ความสุขที่เกิดจากใจจะไม่มีแล้ว ความทุกข์ที่เกิดจากกาย ความทุกข์ที่เกิดจากใจ จะไม่ต้องมีต่อไป จะมีกี่ภพกี่ชาติ ไม่ต้องกลัวเรื่องนี้เลย มันก็เหมือนกับปิติ อิ่มอก อิ่มใจ เหมือนกับเราน่ะทำอะไรได้สำเร็จ มันก็มีความภูมิใจ พ่อทายก พ่อผู้ใหญ่สวน ทำไร่ปลูกอ้อย สองร้อยสามร้อยไร่สำเร็จเลย ทำนาสำเร็จเลย แล้วก็ร้องเพลงไต่คันนาได้ แม่นบ่ พ่อทายก ให้ไปร้องเพลงไป เหมือนกับร้องเพลงน่ะ ร้องเพลงไต่คันนา สิกบร้องช้า ตะวันเย็นๆ(หัวเราะ) แม่นบ่ ฝนตกเขียดร้อง ตัวนาข้าวเขียวก็งามน่ะ มีความสุขเหมือนกันน๊า..
หลวงตาเป็นชาวนาร้อยเปอร์เซนต์ มีความสำเร็จในการทำนามาก แต่ว่าไม่มีใครสู้ได้ละไป๋ การทำนานี่ การทำนานี่ไม่กลัว เคยเป็นหนุ่มตีข้าว นวดข้าวคืนเดียวเสร็จ นาสองที่ ตีข้าวตลอดรุ่งเลย พุทโธ ๆ ๆ ๆ พุทโธไป มันไวน่ะ พุทโธ ๆ มันนี้มันไว ทิ้งไป ๆ เพลินไป ๆ ไม่นอนเลย ตื่นขึ้นมานะกวาดยุ้งข้าวอยู่ ผู้เฒ่าในบ้านซะแต้ไปหา มันผู้ใด๋ตีข้าวเนี่ย มันหมดคืนหมดเซ่าแจ้งน่ะ มันคือผู้จังได๋นี่ ผมละพ่อใหญ่ว่า แม่นๆ พูดจังได๋วา ก็ผมนี่ แหละว้า ผมซิเข้าไปตีข้าวแปลงอื่นในนายังมีอีกช่วงหนึ่ง ตีข้าวเสร็จแล้ว หย่อมๆ เข้ามาในบ้าน มาบอกแม่สุดพ่อใหญ่หนู หาเกวียนมาทุกข้างขึ้นฉางขึ้นเล่าบ้าง ไม่มีใครเชื่อเรา เสร็จแล้วลงไปนาแปลงอื่น นี้เมื่อมีความสำเร็จเนี่ย บางทีมัน มันก็มั่นใจนะ อาชีพอะไรก็มั่นใจ การปฏิบัติธรรมยิ่งสำเร็จ กว่านั้นทันที มันหลงก็รู้ได้ นี่มันหลงรู้ได้ ทำไมจะไม่รื้อไม่ได้หรือ สักกายทิฏฐิ เนี่ยถือกระหายเป็นตัวเป็นตน มันจะยากขนาดไหน ทำไมไปร้องไห้เพราะกาย ทำไมไปแก่เพราะกาย ทำไมไปเจ็บเพราะกาย เป็นอาการของเขา เรียกว่า สักกายทิฏฐิ ถอนความพอใจ และความไม่พอใจในโลกออกเสียได้
มันจะยากไหม มีความสามารถทุกคน เส้นผมบังภูเขา ว่าแต่ดูดี ๆ มีสติดี ๆเนี่ย มันจะเกิดอะไร ไม่ต้องไปอ้อนวอนขอร้อง เกิดจากการกระทำ แต่เวลาใดมันรู้ ก็รู้ไป เวลามันหลงก็หลงไป ไม่ใช่ เป็นตัวรู้ทั้งหมด อ้าวความโลภ ความโกรธ ความหลง จะอยู่ที่ใดกระทบกระเทือนไป กิเลสตัณหา ราคะ กระทบกระเทือนเลย เหมือนกับแต่ก่อนมันน๊อตมันหมุนปิด มันติดไป วันนี้มันเคลียร์ออก ไม่ติด เวลาจะให้มันดึง มันไม่ดึงล่ะ มันขาดออก มันขาดออก อยากให้มันแน่นมันไม่แน่น จะดึงลากไปในความรัก มันหลุด จะดึงไปในความชัง มันก็หลุด จะดึงไปในความโกรธ มันหลุด จะดึงไปในความอะไรต่าง ๆ กิเลสตัณหามันหลุดออก มันใช้ไม่ได้ มันใช้ไม่ได้ จะให้รักมันก็ใช้ไม่ได้ จะให้โกรธมันก็ใช้ไม่ได้ จะให้สุขมันก็ใช้ไม่ได้ มันเอาน๊อตออกแล้ว ใช่ไหม
รู้จักน๊อต ไหม มันขันอะไร ขันทุกอย่างให้เป็นอันเดียวกัน ความโกรธใช้ได้บางคนน่ะ ทำตามความโกรธสำเร็จ ความทุกข์ใช้ได้ ทำตามความทุกข์สำเร็จ จนฆ่าตัวตาย ฆ่าคนอื่นตาย มันติดกูเป็นคนโกรธ กูเป็นคนรัก กูได้โกรธ กูได้ชอบ กูไม่ชอบ มันติด ตอนนี้มันไม่มี มันถอนออกมา มันๆ เปิดเกลียวมันหมุนน๊อตออก แต่มีรูปอยู่ กระทบกระเทือนไป ขันธ์ห้า เห็นปรมัตถ์ ขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในกองขันธ์ห้ากองเนี่ย โอ้ยมันเป็นความคิดเฉยๆ มันเป็นความคิดเฉยๆ ในขันธ์ห้า ไม่ใช่ตัวใช่ตน เราไปยึดเอาว่า ขันธ์ห้าคือรูป คือเรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตัวเป็นตน อุปาทาน อุปาทานยึดไว้
อย่างที่เรามาสวดพระสูตร ทำวัตร ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์ สวดให้ฟังสักหน่อยได้ไหม ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์ เสยยะถีทัง ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ รูปังอนิจจัง รูปไม่เที่ยง ว่าไปดูสิ ขันธ์เวทนาไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง สอนลงไปอีก รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน วิญญาณไม่ใช่ตัวตน ตะคอกมันแรงๆ ได้ยินไหม สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน ควรหรือที่จะไปยึดว่าเป็นตัวเป็นตน เราเสียเวลาเราผิดพลาดตรงนี้ แทนที่จะมีประโยชน์เห็นโทษเห็นภัย กลายเป็นเอากงจักรมาขุนหัวตัวเอง มานอนร้องไห้เพราะอุปาทาน เพราะอุปาทาน รื้อถอนอุปาทานในขันธ์ออก มันก็เป็นกอง ขันธ์ห้านี่หันหลังให้กัน เหมือนคน 5 คน พอไป พอไป แล้ว โอ้ย..ก็หยุดทำ เป็นแต่ธรรมชาติของขันธ์ ขอบคุณขันธ์ที่มันเป็นรูป รูปก็คือดุ้น คือก้อน คือมหาภูตรูป เอามาละความชั่ว เอามาทำความดี เอามาทำจิตใจให้บริสุทธิ์ นี่เป็นรูปนามโดยย่อ
โอ้ย...ขอบคุณหนอ ที่พ่อแม่ให้เรากำเนิดเกิดมาเป็นรูปเป็นนามนี้ ถ้าเราไม่มีรูปนามเราทำอะไรไม่ได้ นี่แหละหนอ การเกิดขึ้นมานี้น่ะเพื่ออันนี้โดยตรง เพื่ออย่างนี้โดยตรง ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น พ่อแม่ทำไม่ได้จึงให้ลูกไว้ เพื่อทำหน้าที่อันนี้ ถ้าเราทำหน้าที่สำเร็จ ก็โอ้ยขอบคุณพ่อแม่ ที่ให้รูปให้นามมา พ่อแม่ทำไม่สำเร็จจึงส่งผลให้ลูกทำต่อไป ทำต่อไป มันเป็นอย่างนี้น่ะ ใช่ไหม ไม่ใช่ว่า โอ้ยกูจะมาทุกข์มายาก เกิดมาจะได๋ ไม่ใช่ ไม่มีมรดกตกทอดอะไรเลย ไม่ใช่น่ะ มันอยู่ที่เราแล้ว นี่แหละมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ เพราะธรรมอันนี้น่ะ เนี่ยเราจะไปอยู่ที่ไหนกัน มันจำเป็นเหมือนกันต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เป็นนักโทษที่ตัดสินประหารแล้วชีวิตเราเนี่ย เราจะต้องไปทางนั้นหรือ ทางไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายมีอยู่ มองตรงกันข้ามมานี่
เหมือนพระสิทธัตถะ เห็นการเกิดแก่เจ็บตาย ศึกษาเรื่องนี้จนได้สำเร็จ มาบอกมาสอนพวกเราทุกวันนี้ เกิดบริษัททั้งสี่ มีวัดวาอาราม พวกเราอยากให้วัดเป็นยังไง อยากได้พระเป็นยังไง หา..อยากให้วัดเป็นยังไง อยากให้วัดเป็นวิกเหรอ ถ้าอยากให้วัดเป็นวิก ก็พากันมาตัดต้นไม้ทิ้งหมด สร้างวิก เอาหนัง เอาหมอรำมารำ เก็บเงินผ่านประตู เอาบ่พ่อเป็ง (หัวเราะ) เอาสนุกสนานดี
หลวงตาเคยไปอยู่วัดท่ามะไฟหวานปีแรก519 (พ.ศ.2519) หาอะไรก็ไม่มี ขอเสื่อเขามานอน ก็ไม่เห็นมีอะไร ก็เลยถามโยมมาประชุมกัน โยมอยากให้วัดเป็นยังไง อยากให้พระเป็นพระอย่างไหน ถามชาวบ้านน่ะ พ่อเป็งนะมาให้เราช่วย(หัวเราะ) เถียงกันมาหลายสิบปีแล้ว ถามโยมก็พูด อยากให้พระอยากให้วัดเป็นวัดที่พอมีที่ทำบุญทำทาน สร้างบ้านสร้างเมืองให้เจริญ อยากให้พระเป็นอย่างไหน อยากให้พระมาบอกมาสอน ให้มีคุณงามความดี อะไรมันไม่ดี ถามไป ๆ แต่ก่อนน่ะ สังเกตุไหม ขี้เหล้าเมายากัน การพนันอยู่ในวัดนี้เต็มไปหมด แม่นบ่ โรงไพ่ไฮโลเต็มวัดไปเลย พออยู่ใหม่ๆ ขนขวดเหล้าไปฝังไว้ เป็นวัน ๆ แก้วแตก มีเวทีมวยอยู่บนศาลานั้นน่ะ
อะไรมันไม่ดี กินเหล้าเมายา มันดีไหม ไม่ดี ทะเลาะวิวาทกันดีไหม ไม่ดี เล่นการพนันดีไหม ไม่ดี แล้วจะให้สอนไหม ถ้ามันไม่ดี ไม่ให้ทำเลยเข้าใจไหม ประกาศเลย ถ้าจะให้พระมาสอนน่ะ หยุดเล่นการพนันในวัด หยุดการเอาเหล้ามากินในวัด หยุดไม่ต้องเอามวยมาตีในวัด พูดแล้วก็ทำเลย เวทีมวยเอามะละกอไปปลูกไว้(หัวเราะ) ปีต่อมาเขาไม่กล้าเอามวยไปตี ก็มีมะละกออยู่นั่นเต็มไปหมดเลย ออกไปนอกวัดไล่ส่งไป ตอนนี้ไม่มีเลย กินเหล้าในวัด
สัญญากันน่ะ ในวันปวารณาออกพรรษานี้ ปวารณากับชาวบ้าน ถ้าใครกินเหล้าในวัดน่ะ เมาเหล้าให้เห็นเนี่ย ทำยังไง ให้หลวงพ่อลงโทษ ทำลงโทษแบบไหน ต้องเฆี่ยนเลย มีคนๆ หนึ่งพ่อใหญ่ลิงติ ๆ พ่อใหญ่ลิงน้อ ทอดกฐินใหม่ๆ เมาเหล้ามายืนอยู่หน้าวัด ชี้มาใส่หลวงตา หลวงตากวาดวัดศาลาอยู่ นี้เมาเหล้า กฐินทอดใหม่ๆ ก็เรียกเข้ามา มานี่ ๆ ๆ เรียกเข้ามา หลวงตาเคยบอกไม่ใช่หรือ สัญญากันแล้ว ถ้าเห็นเมาเหล้ามา จะต้องทำโทษ ต้องตีน่ะ ต้องเฆี่ยนน่ะ จะให้เฆี่ยนไหม แล้วแต่หลวงพ่อจะเฆี่ยน ไปเอาไม้เรียวมา ไปเอาไม้เรียวมา เอาไม้เล็กน้อยไม่เอา เอาไม้เรียวดีกว่านี้ นอนลงเฆี่ยนเลย แต่ก่อนนี้ทำไมเป็นอย่างนี้น่ะหลวงตาเนี่ย เดี๋ยวนี้ไม่กล้าเฆี่ยนใครเลย ดูซิแต่ก่อนมันกล้าน่ะ เฆี่ยนพ่อลิงเหรอ ไปเหรอ พอเฆี่ยนแล้วก็ อ้ายข้าวต้มมีอยู่หลาย อ้าวเอาผ้ามาใส่ เอาไปแบ่งชาวบ้านกันกินน่ะ ให้ห่อข้าวต้มไป เดี๋ยวนี้ไม่กล้าเฆี่ยนใครเลย ตอนนี้บอกก็ไม่กล้าบอกแล้ว
มันก็สมัยก่อนมัน มันก็เป็นหนุ่มหนอ มาครั้งนี่ให้อยากให้วัดเป็นยังไงพวกเรา อยากให้พระเป็นยังไงหา จะต้องมาทำยังไงกับพระนี่ อยากให้วัดเป็นยังไง สำหรับหลวงตาอยากให้วัดเป็นอย่างนี้ อยากให้พระเป็นอย่างนี้ อยากทำวัตรเช้าทำวัตรเย็น ทำวัตรเช้าทำวัตรเย็น แล้วจะได้มีคนมานั่งอยู่อย่างนี้ จะได้สอนอย่างนี้ จึงจะคุ้มกับข้าวถุงน้ำแกงของชาวบ้าน มันผิดหรือมันถูก นี่อยากให้เป็นอย่างนี้ แล้วก็เป็นอย่างนี้มา