แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
พูดกับทุกท่านผู้ที่เจริญสติก็อาจจะฟังได้พบได้เห็นในสิ่งที่คำพูดเป็นการสัมผัสได้ คำพูดแต่ว่าเป็นการสัมผัสแต่ว่าผู้ที่ไม่เจริญสติ อาจจะไม่ค่อยสัมผัสได้ เพราะว่ามันเป็นส่วนตัว เราเจริญสติ สติมาไว้ที่กาย เราก็สัมผัสไปด้วยทันที รู้ที่กาย กายเราก็มีเหมือนกัน โดยเฉพาะรูปแบบ บริบทที่เราสร้าง เรียกว่า ปัพพะ กายปัพพะ สัมปัญชัญญะปัพพะ จิตปัพพะ คือ การเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวของกายของจิต เรียกว่า ปัพพะ ทั้งรู้สึก ทั้งระลึกได้ไปพร้อม ๆ กัน ก็ได้หลักได้ฐาน ความรู้ก็สัมผัสได้ ความหลงก็สัมผัสได้ แต่ว่าความหลงเราก็เปลี่ยนความหลงเป็นความรู้ให้มันถึงอกถึงใจ เปลี่ยนผิดเป็นถูก เปลี่ยนหลงเป็นรู้แล้ว มันจะเก่งตรงนั้นแหล่ะ
ถ้ามันไม่หลงมันก็ไม่มีประสบการณ์ไม่มีบทเรียน
ประสบการณ์ที่เราได้จากการศึกษาปฏิบัติ ก็ทำให้เราเก่งกล้าขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนเราศึกษาวิชาการต่าง ๆ ผู้ทำงานมีประสบการณ์ ก็ชำนิชำนาญ ในการประสบการณ์ที่ทำงาน ผู้ที่ไม่ทำงานก็ไม่มีประสบการณ์ ผู้ทำงานก็ต้องมีผิดมีถูก ผู้ปฏิบัติก็มีผิดมีถูกเหมือนกัน ความผิดเพื่อให้เกิดความถูกทุกเรื่องไป โดยเฉพาะการปฏิบัติมันเป็นของที่เปลี่ยนได้ แก้ได้ ไม่เหมือนการทำอย่างอื่น การทำบางอย่างถ้าเสียแล้วก็ทิ้ง เหมือนโรงงานแห่งหนึ่งเขาผลิตยางรถในมอเตอร์ไซค์ ผลิตหลายครั้งหลายหนก็ไม่ได้ ยางที่ไปผลิตก็ทิ้งไปเลยเป็นขยะไปเลย มันออกมาแล้วมันใช้ไม่ได้ เราไปทิ้งเอาไปขายเป็นขยะ แต่ว่าการปฏิบัติไม่เป็นเช่นนั้น มันเปลี่ยนร้ายเป็นดี เปลี่ยนผิดเป็นถูกได้ เหมือนกับว่ามันเป็นปฏิบัติได้ให้ผลได้ ความผิดทำให้เกิดความถูก ความทุกข์ทำให้เกิดความไม่ทุกข์ได้ ความหลงทำให้เกิดความไม่หลงได้ ที่มันเกิดขึ้นกับกายกับใจ โดยเฉพาะความรู้สึกตัวเป็นตัวเฉลย เป็นตัวเฉลยเรื่องกายเรื่องจิต เฉลยได้ทุกเรื่อง
ไม่จน ไม่จนถ้าเรามีสติ
เราจึงเพียรพยายามที่จะสร้างความรู้สึกตัวให้มีให้มาก ถ้ามียังไม่มาก ก็ไม่พอใช้ ครึ่งรู้ครึ่งหลง บางทีหลงมากกว่ารู้ด้วยซ้ำไป เหมือนเราไม่มีเงินมีทองก็ไม่สามารถที่จะซื้ออะไรมาอุปโภคบริโภคได้ ความยากลำบากอาจจะมากกว่าความสะดวก อันนั้นเป็นทรัพย์ภายนอก ทรัพย์ภายนอกก็ต้องหาโดยความพากเพียร ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา จึงจะมั่งมี จึงจะสำเร็จ ทรัพย์ภายในก็ต้องมีความเพียร มีศรัทธา มีสติ มีความอดทน มีความใส่ใจ มีเจตนา มีการประกอบ สติมันจะเกิดขึ้นก็เพราะการประกอบ ไม่ใช่คิดเอา ท่องเอา เอาเหตุเอาผลเอา คงจะเป็นอย่างนั้น คงจะเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่ ถ้าว่า คงจะเป็นอย่างนั้น คงจะเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่เด็ดขาด ต้องเป็นปัญจัง พบเห็นเอาเอง ถ้ารู้ก็รู้จริง ๆ ถ้าหลงก็หลงก็เปลี่ยนความหลงเป็นความรู้ แล้วก็ความหลง ก็หมดไปจริง ๆ แล้วก็ทำได้จริง ๆ มันจะหลงอะไรมันก็แสดงออกมาให้เราเห็นอยู่ ไม่ลับไม่ลี้ สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกาย กับจิตของเรา มันโง่ ๆ เห็นความหลงมันโง่ ๆ มันไม่ปกปิดซ่อนเร้นอะไร ผู้ที่มีสติก็ต้องพบเห็นทุกเรื่องไป เพราะว่าสติมันเป็นตา ดวงตาภายใน ไม่ว่าตาทิพย์ที่มันเห็นสิ่งต่าง ๆ อาการต่าง ๆ เกิดขึ้นกับกายกับใจ เห็นบางผู้บางคนไม่เคยเห็นความคิดตัวเอง ไม่เคยเห็นอาการต่าง ๆ ที่มันเกิดขึ้นกับกายกับใจ มีแต่เป็นไปกับมันตะพึดตะพือ
พวกเรามีสติก็เกิดการเห็นขึ้นมา เห็นความคิดที่มันผุดขึ้นมา ความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจ ส่วนความคิดที่ตั้งใจมันก็ตั้งใจคิด แต่ว่าถ้าตั้งใจคิดแล้วไม่มีสติ ความคิดก็เขโก่งทำให้เกิดความหมกหมุ่น ทำให้เกิดอารมณ์ ทำให้เกิดความเครียดได้ แต่ถ้าเราตั้งใจคิดที่มีสติ จับความคิดมาใช้ มาใช้สำเร็จแล้วก็หยุด เอาวางไว้ ทันความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้จับมันมา มันผุดขึ้นมา ที่เราสวดเมื่อกี้ว่า มีขันธ์ ขันธ์เดียว คือ ภาวะที่มันคิดขึ้นมา ก็เกิดจากความคิด อะไรมันเกิดจากความหลง มันจึงคิดขึ้นมา มันเกิดเป็นภพเป็นชาติได้ ความหลงความคิดตัวเนี่ย มันเป็นขันธ์ ขันธ์เดียวที่มันท่องเที่ยวไปคิดเรื่องนู้น มันคิดเรื่องนี้ก็เป็นไปตามภพตามภูมิของความคิดของความหลง ขันธ์ 4 ขันธ์ ก็พวกภพภูมิต่าง ๆ เช่น เทวดาหรืออินทร์ พรหม หรือพวกที่เขานับตั้งแต่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นชอบ เป็นไม่ชอบ ต้องเกิดเป็นขันธ์ 4 ขันธ์ เกิดดับ เกิดดับ ตามภพ ตามภูมิต่าง ๆ ไม่ต้องเลี้ยงดู แล้วก็ตายไปก็ไม่ทิ้งซากทิ้งศพ เกิดดับ เกิดดับ เป็นภพเป็นชาติ อันนั้นมันเกิดขันธ์ 4ขันธ์ เพราะว่ารูปขันธ์มันมีอยู่ มันจึงมีขันธ์ 4 ขันธ์ ที่มันขยัน เรียกว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พอมีสติมันก็กำหนด ควบคุม ขันธ์ที่มันจะเกิดขึ้นมา อย่างเราสวดเมื่อกี้ที่ว่า ว่าโดยย่ออุปทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์ ยึดมั่นในรูป ยึดมั่นในเวทนา ยึดมั่นในสัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตัวเป็นตนอยู่ตรงนั้น พอมีสติมันก็รื้อถอน รื้อถอน มีแต่ตัวรู้ รู้ก็ปล่อย มันก็คุม มันมีแต่ตัวรู้
ตัวรู้เป็นพุทธะ
พุทธะ แปลว่า รู้ ตื่น เบิกบาน เห็นดูอยู่ อะไรที่มันเกิดขึ้นมา ดูอยู่ เห็นอยู่ เห็นก็เห็นได้หลักได้ฐาน เห็นกาย เห็นเป็นรูป เห็นความรู้สึกคิดนึกอะไรได้ มันเป็นนาม มันเป็นรูปธรรม มันเป็นนามธรรม ที่มันเป็นกองรูป กองนาม กองรูป กองนามนี้เป็นธรรมชาติ เป็นอาการ เป็นธรรมชาติ เป็นอาการ ไม่ใช่ตัวตน อาการที่เป็นของรูปมีมากมาย ความร้อน ความหนาว ความหิว ความปวด ความเมื่อย อะไรต่าง ๆ มันเกิดขึ้นกับกองรูป กองนามก็คืออารมณ์ต่าง ๆ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความรัก ความชัง วิตก กังวล เศร้าหมอง มันเป็นอาการของนามธรรม ไม่ใช่ตัวใช่ตน บางทีเราไปเอาอาการเช่นนั้นว่าเป็นตัวเป็นตน ไปยึดเอา บางทีไปยึดเอากระทั่งความโกรธ ว่ากูโกรธ กูโกรธ ระวังนะ กูโกรธ ระวังนะ ถ้ากูได้โกรธ กูตายกูก็ไม่ลืม ไปยึดเอาความโกรธว่าเป็นตัวเป็นตน เพราะถูกความโกรธหลอก เสียผู้เสียคน กระทบกระเทือนไปหลาย ๆ อย่าง ที่แท้มันเป็นอาการของนามธรรมไม่ใช่ตัวใช่ตน ผู้มีสติก็เห็นแล้วบัดเนี่ย เป็นอาการจิ๊บจ๊อย ไม่มีค่าไม่มีราคา แต่ผู้ไม่มีสติก็หมดเนื้อหมดตัวไปกับอาการนั้นแต่ก็เป็นภพเป็นชาติ ภพความโกรธก็ไปสู่อบาย ความหลงก็ไปสู่อบาย ความทุกข์ก็ไปสู่อบาย ความขี้ขลาดขี้กลัวก็ไปสู่อบาย ไม่เจริญ ชีวิตเราไม่เจริญ เสียชีวิตไปเลย
อุตส่าห์เกิดมาได้รูปได้นาม เขาเอาไปใช้ให้เกิดภพภูมิต่าง ๆ ที่ต่ำต้อย เขาเอาไปใช้ เอากายไปใช้ เอาจิตหน่ะไปใช้ ไปรับใช้เขา ไปรับใช้ภูมิภพ พวกอสูรกาย พวกเปรต พวกเดรัจฉาน พวกสัตว์นรก เร่าร้อนตลอดเวลา ขาดจิตใจก็เร่าร้อน ขี้ขลาด ขี้กลัว เผาลน ไปทางขวาง ขวางเอาไว้ ไม่ให้ผ่านไปทางไหน ยึดเอาไว้ ติดเอาไว้เนี่ย พอเรามาเห็นรูปเห็นนามเนี่ย มันก็รื้อถอน รูปมันแสดงให้เราเห็น นามมันแสดงให้เราเห็น เราก็ฉลาด มันเปิดเนื้อ เปิดตัว กองรูป กองนาม ความเป็นทุกข์ ทุกข์ของรูป ทุกข์ของนาม ทุกข์บางอย่าง มันเป็นอาการที่มันเกิดขึ้น ถ้าเป็นทุกข์ก็เป็นทุกข์แบบถูกลูกศรลูกเดียว เรื่องของรูปก็เฉพาะรูป ถ้าฝึกหัดไป ฝึกหัดไป เรื่องของนามนี่ไม่มีเลย คำว่าทุกข์ คำว่าทุกข์ในนาม ไม่มี ถ้าผู้มีสติ เพราะนามเนี่ยมันฝึกได้ มันมั่นคง ปฏิบัติได้ให้ผลได้ อะธิจิตเต จะ อาโยโค เหมือนเราสวดโอวาทปาติโมกข์ การรู้จักทำจิตให้ยิ่ง จิตให้ยิ่ง คือ มันไม่ต่ำ ไม่ต่ำ ไม่มีอะไรมาปรุงมาแต่ง ได้ที่ ได้ที่อยู่ ได้หลัก มันมีที่อยู่ ที่อยู่ของจิตไม่เปลี่ยนแปลงเหมือนที่อยู่ของร่างกาย เราฝึกไป เราสัมผัสดูหะ อยู่ตรงไหน อยู่ตรงไม่เป็นอะไรกับอะไร มีสติแล้วแลอยู่ เหมือนฌานสมาบัติ เวทะกิธิติโรธ มีแต่สติแล้วแลอยู่ มีแต่สติแล้วแลอยู่ ไม่มีอะไร เพราะว่าถ้าสติได้สัมผัสกับความรู้สึกตัว แล้วมันก็เป็นหนึ่งเดียวกันเป็นสมบัติของกันและกันไม่ใช่ความหลง ความหลงไม่เป็นสมบัติของจิต แต่ว่าถ้าเราไม่ฝึกมันก็เป็นสมบัติของจิต ตั้งแต่เกิดจนตาย เราจำเป็นต้องมาฝึกหัด
อย่างที่พูดในคราวก่อนว่า ความหลงอาจจะมากกว่าความรู้สึกตัวนะ เราจึงจำเป็นต้องฝึกหัด จำเป็นต้องปฏิบัติ จำเป็นต้องสร้างสติ ให้มีให้เกิดขึ้นกับชีวิตจิตใจของเรา พอเราได้หลักได้ฐาน มันก็มีสูตร การศึกษาตามหลักของสติปัฏฐานสูตร มันมีสูตรอยู่ สูตรรื้อถอน เหมือนเรามี เหมือนเรารื้อบ้าน สร้างบ้าน เหมือนเรามีประตู มันก็ปิดได้ มันก็เปิดได้ มันจึงสร้างขึ้นมา ถ้าสิ่งไหนใช้ไม่ได้ มันก็ไม่ใช่จำเป็นจะต้องสร้าง ไม่ว่าวัตถุสิ่งของอะไรต่าง ๆ ชีวิตเรามันก็ใช้ได้ เมื่อเราเห็นรูปธรรม เห็นนามธรรม ก็เอารูปเอานามไปทำความดีได้สำเร็จ ความดีที่เกิดจากรูปธรรมมีมาก สำเร็จจริง ๆ แต่ความชั่วที่เกิดจากรูปธรรม ก็มีมากเหมือนกัน ฉิบหายจริง ๆ ความดีที่เกิดจากนามธรรมก็มีมากจริง ๆ และเอาไปทำได้สำเร็จจริง ๆ แต่ความไม่ดีความชั่วที่เกิดจากนามธรรมก็เป็นโทษมหาศาล
ไปก่อนถึงก่อน จิตพาไป สำเร็จก็เพราะจิต มันก็จึงมีสติเอารูปเอานามมาใช้ทำคุณงามความดี เป็นการขนส่งจิต เป็นการขนส่งชีวิตจิตใจของสัตว์โลกทั้งหลายให้พ้นไปแล้วก็สำเร็จ
ดึงกันไปคลี่ให้ดู แต่ก่อนนี้เราเสียเปรียบรูปไปทำชั่ว นามไปทำชั่ว สามสิบปี ป่าเถื่อน ถ้าเป็นรูปก็เถื่อน ถ้าเป็นนามก็เถื่อน เคยพูดอยู่เสมอว่า ถ้าเป็นนาม คือ จิตใจเนี่ย มันคิดอะไรก็คิดได้นะ เหมือนกับโสเภณีจิตส่ำส่อน เขาหอบหิ้วไปไหนก็ได้ ถ้าเรายังไม่ฝึกหัดปฏิบัติธรรมเหมือนไม่มีเจ้าของ จิตที่ไม่มีเจ้าของหรือกายหรือใจหรือรูปนามไม่มีเจ้าของเขาหอบหิ้วไปไหนก็ได้ เมื่อเราฝึกมีสติแล้ว นี่เป็นเจ้าของรูปเจ้าของนามที่เกิดอานิสงส์ขึ้นจากการเจริญสติ ก็เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา เป็นพลังร่วม ทำให้เกิดอำนาจเกิดความเป็นธรรม ความรู้สึกตัวเนี่ยเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา เรียกว่า พลังงานที่ร่วมกัน ศีลมาช่วย สมาธิมาช่วย ปัญญามาช่วย สนับสนุนกัน เราไม่มีสติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงก็รวมกันรุมเรา ชีวิตของเราก็เถื่อนไปเลย เถื่อนในตัวเรายังไม่พอ ยังมีผลกระทบต่ออีกหลาย ๆ อย่าง กินเหล้า สูบบุหรี่ อิจฉา พยาบาทกัน เป็นปัญหาก่อการทะเลาะวิวาท ทำให้เกิดปัญหาต่อโลก ทั้งโลก ความโกรธ ของคน ๆ เดียว สองคน เกิดเป็นการก่อวินาศกรรม ฉิบหายมามากต่อมากแล้วเราจะไปสร้างลูกระเบิดไปเข่นไปฆ่ากันมันก็ยังไม่ถูก เราจึงมาบอกกันเนี่ย มาบอกความจริง มันเกิดอยู่ที่นี่ เกิดอยู่ที่รูปที่นาม อยู่ที่ตัวหลงตัวรู้เนี่ย ทำยังไงคนเราจึงจะมาศึกษาเรื่องนี้กัน แล้วมันก็จบได้ เพราะในโลกเนี่ย ห้าหมื่นกว่าล้านคนเนี่ย
ถ้าทุกคนมีความรู้สึกตัวหมด ก็รับได้มือเดียว เกิดความสงบร่มเย็นทันที ถ้าไปเข่นไปฆ่ากัน สร้างลูกระเบิดไปทิ้งที่อัฟกานีสถานลูกหนึ่ง สองร้อยล้านบาท ห้าร้อยล้านบาท เจาะคอนกรีตได้แปดสิบเมตร ไปเข่นไปฆ่ากัน สมองเหมือนกัน ปัญญาเหมือนกัน ปัญญามันไปทางนั้นเหมือนกัน ปัญญาพุทธะมันต้องเป็นปัญญารื้อถอน ไม่ต้องไปทำตามที่เหตุที่ผลแบบนั้น กลับมา กลับมามองตัวเอง นิสัยของบัณฑิตต้องมองตน ไม่ใช่ไปมองอันอื่น ถ้าทุกคนหันกลับมามองตน เปลี่ยนร้ายเป็นดีที่รูปที่นามของเรา มีสติสัมปัญชัญญะ มันได้หลักได้ฐาน ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยเอาชีวิตไปห้อยไปแขวนไว้กับ สิ่งอื่น วัตถุอื่น ไปแขวนไว้กับผู้กับคน ไปแขวนไว้กับสิ่งกับของ ก็อกหักเสียอกเสียใจ จึงมาเป็นชีวิตของเราล้วน ๆ อยู่กรรมมือ ก็รู้ก็เห็นอยู่ มันจะเกิดขึ้นอะไรขึ้นมากับรูปกับนาม เราก็เกี่ยวข้องถูก เช่น เรามีสติ เห็นกาย เห็นกายก็ได้คำตอบว่า กายก็สักว่ากาย กายมันเป็นรูปธรรม ไม่มีใครเป็นใหญ่มันได้ในกายมีแต่เกี่ยวข้องให้มันถูกต้อง เหมือนกับรัฐบาลที่เป็น พระอรหันต์ ถ้าโลกนี้ไม่มีใครเป็นใหญ่ ไม่มีใครป้องกัน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน ยอมละทิ้งในสิ่งทั้งปวง โลกนี้บกพร่องอยู่เป็นนิตย์ เป็นไม่จักอิ่มเป็นทาสความรัก
กายรูปเนี่ย เราเกี่ยวข้องกับมันให้ถูก มันก็อยู่ให้เราใช้ถ้าเกี่ยวข้องไม่ถูกมันก็เป็นโทษต่อเรา ถ้าโกรธบ่อย ๆ ทุกข์บ่อย ๆ เครียดบ่อย ๆ ก็เป็นโรคกระเพาะอาหาร เกิดโรคแทรกซ้อน อาพาธมาก ถ้าจิตใจสงบร่มเย็น กายก็ไม่สูบบุหรี่ไม่มีอะไรที่เกิดความหลง มีแต่ความรู้เป็นเจ้าของ สิ่งไหนมีเจ้าของดูแล สิ่งนั้นก็ปลอดภัย เอามาใช้ให้สำเร็จประโยชน์ ปฏิบัติธรรมมันต้องไปแบบนี้ ไม่ใช่ไปมีฤิทธิลึกลับซับซ้อนจนมองไม่เห็น ไม่ใช่ลึกลับ คำว่าลึกลับนี่คือไม่มีใครศึกษาได้ แต่ว่าลึกซึ้งนี่เห็นได้ทุกคน ลึกซึ้งสัมผัสได้จะอืมม เห็นความหลงก็อืมม เห็นความรู้ อืมม สัมผัสกับความรู้ สัมผัสกับความหลง อืมมม มันเกิดร้อนเกิดหนาว อืมม มันเกิดหิวเกิดปวดก็อืมม สัมผัส มันเป็นการบันเทิง บันเทิงในธรรม คำว่า อืมม เป็นการบันเทิง รู้ลึกซึ้ง ไม่ใช่ว่าโอ้ย ไม่ไหว ไม่ใช่แบบนั้น ไม่ไหว ๆ ไม่มี ผู้ที่ปฏิบัติธรรมผู้ที่เจริญสติ เย้ ๆ ก็ไม่มี มีแต่ อืมม ความร้อน ความหิว อืมม ขอบคุณความร้อนขอบคุณความหิว ถ้ายุงกัดมันเจ็บ อืมม ขอบคุณความเจ็บซะ ถ้ารูปมันเจ็บไม่เป็นก็เป็นอันตราย ถ้ามันร้อนไม่เป็นก็เป็นอันตราย ถ้ามันหนาวไม่เป็นก็เป็นอันตราย ถ้ามันหิวไม่เป็นก็เป็นอันตราย ขอบคุณเขาที่เขาหิว ถ้าเขาไม่หิวมันอยู่ไม่ได้ มันตาย มันฉิบหาย เขารู้จักหิว เขารู้จักอิ่ม เขารู้จักขับถ่าย เขารู้เจ็บรู้ปวด ใช้งานมากก็ปวด กินอาหารถูกก็ท้องเสีย เขาก็รู้จักขับรู้จักถ่าย รู้จักช่วย มันจึงเกิดมีหมอมีหยูกมียากันมาเพื่อช่วยรูป ก็ช่วยเท่าไหร่ก็ไม่ไหวทุกวันนี้ สูบบุหรี่ก็เป็นโรคปอด กินเหล้าก็เป็นโรคตับ กินอาหารที่ไม่สะอาดก็เกิดเป็นโรคหลาย ๆ อย่าง โรคที่เกิดจากใช้กายไม่เป็นใช้ชีวิตไม่เป็น ก็มีมาก อย่าง อย่างโรคปรุงโรคแต่งโรคกิเลสตัณหากลายเป็นโรคเอดส์ โรคอะไรที่มันจะเกิดขึ้นอีกมากมาย เกิดขึ้นที่เราใช้ชีวิตไม่เป็น
พระพุทธเจ้าจึงรู้แจ้งโลกกายอันกว้างศอกยาววาหนาคืบ มารู้ตรงนี้ จงมารู้จักตัวเอง คำนี้หมายว่า ค้นพบเจ้าได้ในตัวท่าน หานอกตัวทำไมให้ป่วยการ ดอกบัวบานอยู่ในเราอย่าเขลาไป ในดอกบัว มีมณี อันเอกอุตม์ เพื่อมนุษย์ ค้นหา มาให้ได้ "การตรัสรู้ หรือรู้ สิ่งใด ๆ ล้วนมาจากความรู้ในตัวสูนั่นแหล่ะเอง" ในตัวเราเอง มีพร้อมแล้ว มีพร้อมทุกอย่าง มีทุกข์ความดับทุกข์ วิธีทำให้ถึงความดับทุกข์ ดับทุกข์ได้ ความโกรธก็ดับได้ ไม่โกรธก็ได้ ความหลงก็ดับได้ ไม่หลงก็ได้ ความทุกข์ก็ไม่ทุกข์ก็ได้ มันมีคู่ อย่าหมดเนื้อหมดตัวไปกับความหลง อย่าหมดเนื้อหมดตัวไปกับความโกรธ อย่าหมดเนื้อหมดตัวไปกับความทุกข์ มันเป็นการเปลี่ยนได้ ปฏิบัติได้ เปลี่ยนได้อยู่ มันหลงไม่หลง มันโกรธไม่โกรธ หัดเปลี่ยน หัดเปลี่ยนให้เป็น มันมีตรงกันข้าม เมื่อมีเกิดก็ต้องมีไม่เกิด เมื่อมีแก่ก็ต้องมีไม่แก่ เมื่อมีเจ็บก็ต้องมีไม่เจ็บ เมื่อมีตายก็ต้องมีไม่ตาย อะไรมันคือความเกิด อะไรมันคือความแก่ อะไรมันคือความเจ็บ อะไรมันคือความตาย ความไม่เที่ยงก็มอบให้ความไม่เที่ยง ความไม่ใช่ตัวตนก็มอบให้ความไม่ใช่ตัวตน ความเป็นทุกข์ก็มอบให้ความเป็นทุกข์ อย่าไปยึดว่าเป็นตัวเป็นตนเราสุขเราทุกข์
ทุกข์บางอย่างกำหนดรู้ด้วยการรู้ ทุกข์บางอย่างกำหนดรู้ด้วยการบรรเทา ทุกข์บางอย่างกำหนดรู้ด้วยการละ เช่น ความโกรธเนี่ย บรรเทาไม่ได้ กูได้ด่ามันกูก็หายโกรธ ไม่ได้เด็ดขาด ความโกรธต้องละทันที ความโกรธต้องละทันที ทุกข์เพราะความร้อนต้องเข้าร่ม อาบน้ำ พัดลม เข้าห้องแอร์ บรรเทา ทุกข์เพราะความหิวต้องไปกินข้าวไปกินน้ำ ทุกข์เพราะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าก็ต้องพักผ่อน อย่ารีบตัวเราจนเกินไป ทุกข์บางอย่างกำหนดรู้ เช่น ความไม่เที่ยงกำหนดรู้แล้ว รู้แล้วความไม่เที่ยง รู้แล้วความเป็นทุกข์ คำว่า รู้ แล้วเนี่ย เอาไว้ข้างหลังแล้ว อันความทุกข์นั้น พระพุทธเจ้าใช้เยอะคำนี้ ที่ว่า อัญญาสิ ๆ รู้แล้ว ๆ ความไม่เที่ยงก็รู้แล้วไม่เอามาไว้ข้างหน้าเอาไว้แต่ข้างหลังแล้ว ความไม่เที่ยง ผ่านแล้ว ความเป็นทุกข์ก็รู้แล้ว ความไม่ใช่ตัวตนก็รู้แล้ว เนี่ย ทุกข์อย่างนี้กำหนดรู้ด้วยการรู้ มันหนีไม่ได้ อันความไม่เที่ยงไม่มีใครหนีได้ ความเป็นทุกข์ก็ไม่มีใครหนีได้ ความไม่ใช่ตัวตนไม่มีใครหนีได้ แต่เราจะต้องใช้มัน เอาไปทิ้ง ความไม่เที่ยงก็ทิ้งลงในความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ก็ทิ้งลงความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตนก็ทิ้งลงไปในความไม่ใช่ตัวตน เป็นถังขยะของชีวิต ไม่มีขยะในชีวิตเลย สะอาดบริสุทธิ์บางทีความไม่เที่ยงก็มาเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตนเอามาเป็นทุกข์ ความเป็นทุกข์เอามาเป็นทุกข์ มันเต็มไปด้วยขยะ
ในไตรลักษณ์นี่เป็นที่ทิ้งของความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ความไม่ใช่ตัวตน ผู้ที่เห็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริงเอียงไปสู่ไปไหลไปสู่มรรคสู่ผล เจริญในไตรลักษณ์อย่างเดียวถึงมรรคถึงผลได้เหมือนกัน น่ะ เวลาใดมันโกรธ โอ้ ความโกรธก็ไม่เที่ยง สิ่งไหนไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งไหนเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ควรไปยึดไปถือ ผ่านไปแล้ว สิ่งไหนเป็นทุกข์มันก็เป็นทุกข์ สิ่งไหนเป็นทุกข์มันก็ไม่เที่ยง ความโกรธนั้นไม่เที่ยง ไม่เที่ยงจริง ๆ ความโกรธ ความโกรธมันเป็นทุกข์ควรหรือที่จะไปยึดเอา เมื่อเราสวดมนต์ทำวัตรตอนเช้าเนี่ย เอาคำเทศนาของพระพุทธเจ้ามาสาธยาย มีผู้บรรลุธรรมด้วยเรื่องนี้เป็นส่วนมาก เช่น อัญญาโกณฑัญญะ เนี่ย ก็รูปเที่ยงมั๊ย ไม่เที่ยงพระเจ้าคะ สิ่งไหนไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เป็นทุกข์พระเจ้าคะ สิ่งไหนเป็นทุกข์ควรหรือที่จะไปยึดว่าเป็นตัวเป็นตน ไม่ควรพระเจ้าคะ ก็หลุดพ้นไป หลุดพ้นไป หลุดพ้นไป จนในที่สุดสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นพระสงฆ์รูปแรกเกิดขึ้นในโลก ก็เพราะเรื่องนี้แหล่ะ เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ ที่เราสวด พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงสั่งสอนสาวกทั้งหลายเช่นนี้เป็นส่วนมาก สาวกทั้งหลายก็รู้เรื่องนี้เป็นส่วนมาก รู้เรื่องนี้เป็นส่วนมาก เจริญในไตรลักษณ์เนี่ย พอเห็นรูปเห็นนามก็เห็นเป้าเลย เป็นไตรลักษณ์ทันที ในรูป ครองรูปครองนามมันตกอยู่ในสภาพของไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์พาให้ถึงมรรคถึงผลได้ วางเป็น ทิ้งเป็น ไม่ไปยึดเอา บางทีเราเป็นทุกข์เพราะความไม่เที่ยง เราเป็นทุกข์เพราะความทุกข์ เราเป็นทุกข์เพราะความไม่ใช่ตัวตน พอเห็นแล้วเนี่ย โอ้ย เกลี้ยงเกลาเลย มีที่ทิ้งขยะเหมือนถังขยะหน้าบ้าน ถังขยะมีหน้าบ้านก็ไม่สกปรกไม่กระจุยกระจาย การปฏิบัติธรรมมันก็สรุปง่าย ๆ นะ ตัวรู้ ตัวหลง อะไรที่มันเกิดขึ้น ตัวรู้สึกตัวเข้าไปเกี่ยวข้องเข้าไปสัมผัส
นี่ปฏิบัติได้ให้ผลได้อย่างนี้ การปฏิบัติ อยู่กับตัวเราไม่ใช่อยู่สุคะโตไม่ได้อยู่กับ ครูบาอาจารย์ ไม่มีใครเป็นครูอาจารย์ของเรา เราเป็นแต่เพียงกัลยาณมิตรกัน อยู่ด้วยกันชวนกันพูดชวนกันคุย ท่านก็รู้เอาเอง ความรู้สึกตัวท่านก็รู้เอาเอง มือของท่านกายของท่าน ท่านก็มาพลิกความรู้สึกตัว เราก็ได้หลักอย่างนี้ ได้หลักอย่างนี้เอาไปใช้ เราอยู่ที่ไหนก็อยู่กับเรา อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ทำงาน มีความรู้สึกตัวก็เว้นวรรคบ้างบางโอกาสการทำงาน ไม่ใช่รีบ ไม่ใช่หมกหมุ่น วรรคไปบ้าง เช่น ทำงานไปมันคิดอะไร งานเยอะแยะก็วรรคไปบ้าง นั่งกระดิกนิ้วมือ อิ่มใจ วางใบหน้า หายใจลึก ๆ กระดิกนิ้วมือ รู้สึกตัว เปลี่ยนภาพพจน์ ถ้าจะว่า เปลี่ยนภาพพจน์ตั้งใหม่ ชีวิตที่ดีต้องตั้งต้นใหม่อยู่เรื่อย ๆ อยู่เรื่อย ๆ มันจึงใหม่ แม้เราสร้างจังหวะบางทีมันเก่านะ บริบทที่ใช้นาน ๆ มันเก่าเป็น ครึ่งรู้ครึ่งหลง เดินนาน ๆ ก็ครึ่งรู้ครึ่งหลง นั่งยกมือนาน ๆ ก็ครึ่งรู้ครึ่งหลง ควรจะวรรคมา มือมาวางไว้เฉย ๆ แล้วหายใจซักรอบสองรอบอยู่ที่ ลมหายใจ ค่อยมาก็พลิกมือเคลื่อนไหว ตั้งต้นใหม่ ตั้งต้นใหม่ ให้มันชัดเจน ๆ อย่าครึ่งรู้ครึ่งหลง มันจะได้นิสัยที่ดี ผู้บรรลุธรรมมันต้องจัดเจนในเรื่องนี้ ไม่ใช่หมกหมุ่น ทำตะพึดตะพือไม่รู้อะไร มันจะรู้เองหรอก มันจะรู้เองหรอก ทั้ง ๆ อยู่ในความหลง ก็ปล่อยให้ความหลงมันรู้ มันก็หลงไปเรื่อย ๆ ก็เปลี่ยนเรื่อย ก็เปลี่ยน ชัดเจน จัดเจน เหมือนคนไปฝึกงานก็ต้องตามงาน ต้องฝึกให้มันจัดเจนลงไป จุดอ่อนจุดแข็งมันอยู่ตรงไหน สร้างบ้านสร้างเรือนควรใส่ใจตรงไหน ตรงไหนมันเป็นจุดอ่อน เหมือน อ.ทรงศีล กำลังดูแลการก่อสร้าง จุดอ่อนมันอยู่ตรงไหน จุดแข็งมันอยู่ตรงไหน เอ่อ ถ้าผ่านจุดที่มันอันตรายได้ เออ พ้นไปแล้ว เป็นอย่างนั้นการปฏิบัติธรรม นี่ก็พูดให้ฟัง คำพูดวันนี้ ไม่ใช่จบปกติ มันก็อยู่กับเรา เราได้ยินได้ฟัง เอาไปทำ ๆ คำพูดนี่เป็นการสัมผัสไม่ใช่เล่านิทาน ไม่ใช่เล่านิยาย เป็นเรื่องชีวิตของเราจริงๆ นะ เอ้า ก็สมควรแก่เวลา