แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมกัน เรียกว่าเป็นอาชีพ เรียกว่าธรรมสวมัย เป็นอาชีพของพวกเรา เทศนามัยก็ถือว่าเป็นอาชีพของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นบุญ อย่าเบื่อหน่าย เพื่อแสดงธรรมก็ไม่ต้องเบื่อหน่าย มีชีวิตชีวา ผู้ฟังก็อย่าเบื่อหน่าย ถ้าผู้ฟังเบื่อหน่ายก็ไม่เจริญ เบื่อหน่ายต่อคำสั่งสอน ขี้เกียจทำตามเรียกว่าชีวิตไม่เจริญ โดยเฉพาะพวกเราที่มาอยู่วัดวาอาราม ยิ่งมีหน้าที่โดยตรง แล้วก็หน้าที่ฟังธรรมเพื่อให้เป็นส่วนประกอบกับการปฏิบัติ พวกเราก็พากันมาปฏิบัติ มาปฏิบัติ มาเจริญสติ การเจริญสติกับการฟัง เป็นอันเดียวกัน มันแยกไม่ออก ฟังก็การพูดก็อันเดียวกันกับการกระทำของพวกเรา โดยเฉพาะการเจริญสติ ผู้ที่ทำใหม่ๆ ยังไม่ชำนิชำนาญ ไม่ชำนาญในการที่จะให้กายมารู้สึกตัว เวลามันหลงก็ไม่ชำนาญ เวลามันรู้ก็ไม่ชำนาญ ให้ความหลงหลงไปเรื่อยๆ ให้ความรู้หลงไปเรื่อย ๆ มันชำนาญในความหลง ความรู้เพื่อหลง ความหลงเพื่อหลง พอเรามาฝึกหัดเนี่ย ความหลงก็เพื่อรู้ ความรู้ก็เพื่อรู้ อะไรก็ตามที่มันเกิดขึ้นกับกายกับใจ ผู้ที่ชำนิชำนาญจะเกิดความรู้ไปเกี่ยวข้องทุกเรื่องทุกราว มันมีความชำนาญได้ การฝึกอะไรก็ชำนาญในเรื่องนั้น จะเป็นการใช้ตาใช้หูใช้รูปใช้รสใช้กลิ่นใช้เสียง ก็คุ้นเคยกับสิ่งที่เราทำบ่อยๆ การได้ยินได้ฟังกับการกระทำ อย่างมันก็อาศัยกันประกอบกัน เวลามันหลงเราก็รู้สึกตัว เวลามันไม่หลงเราก็รู้สึกตัว ให้ประกอบให้ทำแบบนี้ไป ขณะที่ทำใหม่ๆ ก็อย่าเพิ่งไปเอาผิดเอาถูกกับการกระทำของเรา อย่าไปเอาเหตุเอาผลกับการกระทำของเรา หลงก็ไม่เป็นไรรู้ก็ไม่เป็นไรเรื่อยไปเสียก่อน มันมีหลักอยู่หรอก ทำไป ทำไป มันหลงเพื่อรู้ ทำไป ทำไป มันรู้เพื่อรู้ เพราะมันได้ความถูกได้ความผิด ความผิดก็ทนต่อความถูกมาได้ ความผิดก็ไม่มีโอกาสที่จะผิดไป ถ้ามีความถูกต้อง ธรรมย่อยชนะอธรรม สิ่งไหนเป็นธรรมก็ย่อมทนต่อการพิสูจน์ สิ่งไหนไม่เป็นธรรมก็ย่อมไม่ทนต่อการพิสูจน์ ในตัวเรานี้ เช่น กายมีสติดูกายนี่ ตัวตนอะไรที่มันเกิดขึ้นกับกายที่มันเป็นสุขเป็นทุกข์ ที่มันเป็นตัวเป็นตนเราไปเป็นภพเป็นชาติในกาย มันไม่จริง ในกายนี่ถ้ามีสติ สติยึดพื้นที่ของกาย กายไม่ได้แสดงอันอื่น ไม่ได้แสดงฉากอื่น แสดงแต่ความรู้สึกตัว แต่ก่อนนี้กายมันแสดงหลายฉาก เป็นสุขเป็นทุกข์เป็นตัวเป็นตนเป็นภพเป็นชาติ เป็นเกิดเป็นแก่เป็นเจ็บเป็นตาย อยู่ในกายแบบป่าๆ เถื่อนๆ พอเรามีสติแล้ว หมดสิทธิ เรื่องอื่นมีแต่สติเข้าไปครอง มีแต่สติเข้าไปครองกายอันนี้ วิธีปฏิบัติที่เราทำ
ความจริงก็ย่อมเป็นความจริงแบบนี้แหละ เมื่อมีสติไปลงพื้นที่กับกายก็ยึดพื้นที่ของกาย เพื่อเป็นที่ตั้งของฐานของสติปัฏฐาน ถือว่าชอบธรรมแล้วถ้ากายมีสติ การแสดงออกทางกายทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นแต่เรื่องของสติ เกิดชอบธรรมไม่เสียเวล่ำเวลา ไปสุขไปทุกข์ไปเป็นภพเป็นชาติให้สิ่งอื่นมาแสดง เป็นความหลงเป็นความรู้เป็นความผิดเป็นความถูกอยู่บนกาย เราก็เคยเสียเวลามามากแล้ว พอมารู้มาเห็นเข้าก็กระตือรือร้น ก็จะช่วยกาย การช่วยกายนี่เป็นเรื่องกระตือรือร้นมากๆ ถ้าผู้ที่มีสติหรือผู้ที่รู้ธรรม ผู้ที่ได้บรรลุธรรมไม่ได้คิดอย่างอื่น คิดแต่ที่จะช่วยเหลือคนนั้นคนนี้ สิ่งโน้นสิ่งนี้ ผู้ที่มีสติเห็นกายเป็นเบื้องต้น ก็ช่วยกายเป็นการเป็นงาน สมน้ำสมเนื้อ แม้แต่เวทนาที่มันเกิดขึ้นกับกายกับจิต แต่ก่อนเวทนานี่เป็นที่แสดงของหลายๆ อย่าง ต่อไปจนเวทนาก็เกิดอุปาทาน เวทนาเกิดตัณหา เวทนาเกิดกิเลส เวทนา เกิดสุขเกิดทุกข์อะไรมากมาย มันไปทางโน้น พอมีสติเห็นเวทนามันก็ยึดพื้นที่ของเวทนาอีก ไม่ให้เป็นที่แสดงของสุขของทุกข์ของกิเลสตัณหา ของอุปาทานของภพของชาติ ในเวทนามันก็มีภพมีชาติ บางทีมันก็ติดภพติดชาติด้วยเวทนานะ เป็นภพเป็นชาติ เก่งคู่กันกับจิตกับขันธ์กับรูปอะไรมากมาย ในเวทนามันเกี่ยวข้องไปไกลเหมือนถนนหนทางต่อกันไปเรื่อย ๆ ออกไปโน่นผ่านตรงไปนี้ไปเรื่อย ๆ มันไปเกิดโน่นเกิดนี่ โผล่โน่นโผล่นี่ไปเรื่อยๆ น่ะมันไป มันไป มันไม่หยุด เหมือนเชื้อโรคที่มันเกิดขึ้นกับร่างกายของเรา บางทีถ้ามันลุกลามมากๆ เขาก็ตัด ตัดขาตัดแขนตัดมดลูกตัดเต้านมเพื่อตัดทางมัน ไม่ให้มันคุกคามไปไกล การมีสติไปเห็นกายเห็นเวทนา ก็เหมือนกับตัด รู้แบบตัด รู้แบบตัด เพื่อไม่ให้มันกำเริบไปนั่น มีแต่ความรู้สึกตัว เห็นจิตก็เหมือนกัน ที่มันเกิดขึ้นจากจิตเยอะแยะมากมาย อย่างเดียวคือจิต คือคิด จิตมันคิด เกิดจากจิตที่มันคิด ความคิดเกิดได้หลายอย่าง คิดไปได้หลายเรื่อง เกิดความโลภความโกรธความหลง มีสติพอมีสติลงไปก็ยึดพื้นที่ของจิต อันอื่นมาแสดงอยู่บนจิตไม่ได้เลย มีแต่ความรู้สึกตัวมีแต่สติ แสดงอยู่บนจิต เป็นธรรมต่อจิต เป็นธรรมต่อเวทนา เป็นธรรมต่อกาย มีความรู้สึกมีความระลึกได้ ในจิตยิ่งมั่นคงไปน่ะคู่กันพอดี๊พอดี
การบรรลุธรรมก็บรรลุตรงจิตนี่แหละ ไม่ใช่บรรลุตรงที่ไหน จับหลักจับฐานจับต้นเหตุต้นตอ เห็นจิตคือเห็นมันคิด เห็นมันคิดคือเห็นมันหลง สาวไป สาวเหตุสาวต้นตอ ทำไมมันจึงหลงเพราะมันไม่รู้ ทำไมจึงไม่รู้เพราะไม่ได้สร้างสติ ทำไมเราไม่ได้สร้างสติ ก็เพราะเรามัวแต่ไปทำอันอื่น ไปใช้ชีวิตแบบอื่นมากมาย ความคิดก็เอาไปกินซะในโลภในโกรธในหลง กายก็ไปติดจะไปติดอะไรมา เวทนาก็ไปติด หลายเรื่องหลายราว ก็จับปลาหลายมือเลยไม่ได้อะไร กายก็ฟรีไป เวทนาก็ฟรีไป จิตก็ฟรีไป เอาไปกินฟรี ถ้าเป็นกิเลส ก็กิเลสเอาไปกินฟรี ลอยนวล กิเลสมันเอาไปกินแบบลอยนวล เหมือนโจรผู้ร้ายมันลักของไปกินอย่างลอยนวล มันก็เคย ถ้ามันเคยลักเคยได้ มันก็เคย กลายเป็นนักเลงไป พอเราจะรู้เราก็หมดไปแล้ว มันเอาไปกินแบบลอยนวล บัดนี้พอมีสตินี่มันเอาไปกินไม่ได้ มันไม่ลอยนวลได้ เวลาใดมันหลง มันกลับขึ้นมารู้อย่างนี้ มันไม่ลอยนวล มันไม่ได้เอาไปกินฟรี กายก็ดีในเวทนาก็ดีในจิตก็ดีในธรรมก็ดี มีแต่สติดีกับที่แก้ที่ไขที่หยุดที่ตัด หลวงพ่อเทียนบอกว่า รู้แบบตัด แต่ก่อนเราก็ไม่เข้าใจหรอก หลวงพ่อเทียนเอาไม้สองอันมาวางชนกัน แต่ดูไม่เป็นก็นึกว่าไม้อันเดียว พอนิ้วมือไปชนตรงกลางก็ตัดออกไป นี่ๆ หลวงปู่เทียนบอกนะ ให้ทำแบบนี้ เอาไม้สองอันมาชนกันเข้า เอานิ้วมือไปสอดเข้าตรงที่มันชนมันก็แยกออก ให้รู้ตัดแบบนี้ ให้รู้ตัดแบบนี้ อะไรก็ตามให้รู้ตัดแบบนี้ เป็นสุขก็ตัดแบบนี้ เป็นทุกข์ก็ตัดแบบนี้ เป็นหลงก็ตัดแบบนี้ เป็นอะไรก็ตามรู้ตัดอย่างนี้ รู้ตัดอย่างนี้ รู้แบบตัดๆ ไม่ใช่รู้แบบต่อ ถ้าเป็นความรู้ก็รู้เป็นครั้ง รู้เป็นครั้ง มันจะเก่งเวลามันรู้ตัดน่ะมันตัดน่ะตัวเก่ง มันเคยชิน ตัดให้สั้น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ ตัดความหลงมาต่อความรู้ ตัดความทุกข์มาต่อความไม่ทุกข์ ตัดความโกรธมาต่อความไม่โกรธ ตัดความหลงมาต่อความไม่หลง รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ รู้แบบตัดความรู้สึกตัวจริงๆ อย่าไปรีๆรอๆ อย่าไปทำไม อย่าไปหาเหตุหาผล ทำไมจึงเป็นอย่างโน้น ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ ไม่ได้ตัด ยิ่งไปต่อไปเชื่อมเข้า เอาพูดคำว่าทำไม ไปคิดคำว่าทำไมน่ะมันเชื่อมต่อ รู้เฉยๆ มันตัด มันตัดเข้าไป ผู้ที่เจริญสติก็ ก็มักจะเป็นแบบนั้น ไม่ต้องไปใช้สมองหาเหตุหาผล ความหลงก็มาซื่อบื้อซื่อ ๆ มันไม่มีเหตุมีผลหรอกความหลง เราก็รู้แบบตรงๆเข้าไป หาเหตุหาผลจากความหลงไม่ได้ หาเหตุหาผลจากความโกรธไม่ได้ ตัดไปเลย หาเหตุหาผลจากความสุขความทุกข์ไม่ได้ ตัดไปเลย ภาษาพระพุทธเจ้าพูดกันแบบสากล กายสักแต่ว่ากายไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาหนะ ตัดได้ เวทนาก็สักว่าเวทนาไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขานั้นหนะ เวทนาอันที่มันเป็นสุขเป็นทุกข์นั่นหนะตัดไปเลย สติเข้าไปตัดไปเลย หายไปเลย จิตที่มันคิดโน่นคิดนี่ ฟุ้งเฟื่องฟุ้งเฟ้อสับสนหมกมุ่นรู้ตัดเข้าไปเลย แต่ก่อนมันยาวอะไรที่มันเกิดจากจิตมันยาว ยาวเป็นภพเป็นชาติเป็นชรามรณะโสกะปริเทวะทุกข์ เป็นภพเป็นชาติเกิดดับเกิดดับ เกิดต่อกันไปต่อสันตติต่อเอาไว้ต่อเอาไว้ เหมือนกับน้ำที่มันไหล น้ำเก่าไหลไปน้ำใหม่ไหลมา เรียกว่าสันตติสภาพจิตที่มันเป็นอย่างนั้น มันคิดเป็นอย่างนั้น
ถ้าผู้ไม่มีสติไม่เห็นหรอก ไม่เห็นทิศทาง เหมือนเราไปเห็นน้ำไหล โอ้น้ำไหลถ้ามองดี ๆ แล้ว น้ำ มันก็อันเก่ามันไหลไปอันใหม่มันไหลมา มันสันตติมันสืบต่อ มันสืบต่อกัน การไหลเรียกว่าเทไปทันทาเลไหลไป อะไรก็ตามที่เกิดกับจิตนี่ มันเป็นแบบนั้น ผู้ที่ไม่มีสติไม่สร้างสติจะไม่ค่อยเห็น ไม่ค่อยเห็นความคิด ไม่ค่อยเห็นจิตที่มันคิด มันก็อยู่กับความคิดตะพึดตะพือไป พอรู้สึก แต่ว่าเวลาฝึกใหม่ ๆ อย่าไปยุ่งกับมัน มันจิตนี่ มันจะคิดหรือมันไม่คิดอย่าไปยุ่งกับมัน เรามายุ่ง เรามาสร้าง เรามาตั้ง เรามาตั้งไว้ที่กายของเรา ของยากกลายเป็นของง่าย ของหนักกลายเป็นของเบา ถ้าเราไปข่มจิตนี่มันจะยุ่งจะยาก เข็ดหลาบ บางทีถ้าไปเกี่ยวกับอันถูกอันผิดอยู่กับจิตเสียก่อนนะ มันจะวกวนสับสน ไม่รื้อถอนเหมือนเราไปเด็ดยอดไม้ แต่รากมันอยู่มันก็จะงอกมาอีก แบบสมถะกรรมฐานคุมจนสงบ จนนิ่งจนไม่มีอะไร ที่จริงมันก็มีอยู่นั่นแหละ แต่ว่าเวลาคุมมันก็ไม่งอก เหมือนเอาหินเอาไม้ไปทับหญ้าคา มันไม่จริงเอาไม้ไปทับไว้มันไม่เป็นของจริง วิธีที่เราทำนี่เหมือนกับถอนราก ตั้งแต่ดูกายนี่ไป กายก็ปราบเข้าไป เวทนาที่มันเกิดสุขเกิดทุกข์เป็นทวารที่เอามา เป็นรสเป็นชาติในเวทนา รสชาติในเวทนาทำให้สัตว์โลกติด แม้แต่สุข ติดแม้แต่ทุกข์ก็ติด บางทีไม่ใช่ก็อาจจะติดทุกข์มากๆ ด้วยซ้ำไป ความสุขก็อาจจะมีบ้างวับๆแวมๆ แต่ความทุกข์อาจจะมาก น่ะมันติด ติดในเวทนา เป็นตัวเป็นตนอยู่ในเวทนา ออกมาปราบมาปรามไปสองขั้นแล้วถึงเวทนาแล้ว มันก็ปราบไป พอไปดูจิตหละอ่อนเลยแล้วบัดนั้น อ่อนไปเลย เหมือนกับมันมีพลังตั้งแต่กายตั้งแต่เวทนานี้ เหมือนรถที่เขาจะเอารถขึ้น รถแม็คโครขึ้นเทรลเลอร์ หรือเอาวัวเอาควายขึ้นรถ เขาจะต้องหาที่ลาด ๆ ที่สูงไว้ก่อนเพราะขึ้นง่าย การขึ้นไปสู่จิตขึ้นจากกายจากเวทนาไป พอไปเอาจิตนะบำเพ็ญทางจิตมันง่าย กายก็ช่วยแล้ว เวทนาก็ช่วยแล้ว ช่วยให้เกิดความรู้สึกตัว สนับสนุนให้เกิดความรู้สึกตัว กายนี่ เวทนาก็สนับสนุนให้เกิดความรู้สึกตัว พอไปเกี่ยวข้องกับจิตนี่มันก็ง่ายไป ตัดง่ายกว่ากายเวทนา เกี่ยวข้องกับกายยังออกแรง เกี่ยวข้องกับเวทนาต้องทวนกระแสพอสมควร ไปเกี่ยวข้องกับจิตนี่ง่ายกว่า ง่ายกว่ากายง่ายกว่าเวทนา เพราะจิตนี่มันไม่มีอะไร กายมันก็มีเป็นดุ้นเป็นก้อน มันก็ปวดจริง ๆ มันก็เจ็บจริง ๆ มันก็ร้อนจริงๆ มันก็หนาวจริงๆ มันก็หิวจริงๆ ถ้าไม่มีสติมันก็เป็นสุขเป็นทุกข์จริงๆ พอตัดได้กายก็ดีเวทนาก็ดี ยึดพื้นที่ของกายของเวทนาได้ พอไปเกี่ยวข้องกับจิตแล้วนั่น ก็ง่ายแล้วนั่น ร่วมมือกันง่ายๆ จิตกับสตินี่ แป๊บเดียว แป๊บเดียว อะไรที่เป็นจิตก็เป็นเรื่องของสติ อะไรเป็นสติก็เป็นจิต จิตกับสติเป็นอันเดียวกันไปเลย เป็นอันเดียวยิ่งกว่ากายกับเวทนา เพราะเวทนามันคนละเรื่องกัน แต่ว่าจิตนี่กับสตินี่เหมือนกับอันเดียวกัน น้ำกับน้ำ น้ำลำปะทาว น้ำในสระวัด น้ำในชี น้ำในมูลอันเดียวกัน นมกับน้ำอันเดียวกันเข้ากันได้ ความรู้สึกนี่เข้ากันได้ต่อความหลง ความหลงเข้ากันกับจิตไม่ได้ พอเราสัมผัสดูแล้วนะ ให้ฝึกไป ให้ฝึกไป จะพบทาง พบประตูออกประตูปิดเปิด ใช้ได้ชีวิตนี่ ถ้าชีวิตใช้ไม่ได้มันไม่ใช่ชีวิต
พวกเรา ที่อยู่อาศัยต้องใช้ได้ประตูเปิดได้ปิดได้ อะไรก็ตามที่มันใช้ได้ต้องใช้หลาย ๆ อย่าง มีรถมีราก็หยุดได้วิ่งได้ เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาได้ ปล่อยได้ช้าได้มันจึงเป็นของใช้ได้ ชีวิตของเราก็เหมือนกัน ถ้ามัวแต่ไปกายเอาไปกิน เวทนาเอาไปแล้วเป็นของกายไป เป็นกูอยู่ในกาย เป็นตัวเป็นตนอยู่ในกาย เป็นตัวเป็นตนอยู่ในเวทนา เป็นตัวเป็นตนอยู่ในจิตชีวิตมันใช้ไม่ได้ ชีวิตมันใช้ไม่ได้ มีแต่อันอื่นเอาไป กายเอาไปกินมันก็หลอกเราตั้งแต่เกิดจนตาย เวทนาก็หลอกเราตั้งแต่เกิดจนตาย จิตก็หลอกเราไปเรื่อยๆ หลอกไปเป็นภพเป็นชาติเป็นเปรตเป็นอสุรกายไม่รู้สึกตัวเลย ความหลงก็ไม่รู้ว่ามันหลงเป็นผู้หลงไป ความโกรธก็ไม่รู้ว่ามันโกรธเป็นผู้โกรธไป ความทุกข์ที่เกิดก็ไม่รู้ว่ามันทุกข์เป็นทุกข์ไป เข้าไปอยู่กับเขาไปเป็นกับเขาร่วมวงกับเขาแสดงกับเขา เวลาบททุกข์ก็แสดงทุกข์หมดเนื้อหมดตัว นี่มันเกิดขึ้นกับจิตพอมันมีสติแล้วมันไม่แสดง มันยึดแล้วมันไม่แสดง สติไม่มีแสดงนะ กายก็ไม่มีการแสดง เวทนาก็ไม่ได้แสดง จิตก็ไม่ได้แสดง เพราะสติมันปิดฉาก มันยึดพื้นที่มันชัก มันชักสะพาน ไม่มีอะไรจะมาแสดงได้ มันเป็นไปทำนองนี้การปฏิบัติธรรม ให้เราลองดูแบบลึกซึ้งเห็นแบบลึกซึ้ง ถ้าดูแบบเผินๆ ไม่อยากดู เขาเปิดตัวให้ดูก็ไม่ดู เขาแสดงให้ดูก็ไม่ได้ดู แล้วไม่ชิมดูไม่ได้สัมผัสรสชาติภาวะที่ดูจริง ๆ ไปสัมผัสรสชาติอันหลอกๆ เวลาใดมันหลงมันก็มีรสมีชาติ เวลาใดมันทุกข์มันก็มีรสมีชาติ เวลาใดมันสุขมันก็มีรสมีชาติ มันหลอก เอาความรู้สึกตัวนั้นเป็นรสเดียว รสพระธรรมนั้น ไม่ได้ชิมดูจริงๆ ไม่ได้สัมผัสจริงๆ บางทีก็จับๆวางๆ เหมือนกับเราถือห่อข้าวเอาไว้ ไม่ได้กิน ว่าตัวเองมีห่อข้าว เวลาหิวก็ไม่กิน เอาไปให้คนอื่นกิน คนอื่นเขาก็อิ่มก่อน บางทีผู้ที่สอนธรรมบางทีเขารู้ก่อน ผู้ที่บอกธรรมบางทีไม่รู้ ถือห่อข้าวไปให้คนอื่นกิน ต้องสัมผัสดูดี ๆ ความรู้สึกตัวนี่ ปั๊ป พร้อมๆกันเลย พลิกมือรู้สึก หงายมือรู้สึก ยกมือรู้สึก พอมันเกิดอะไรขึ้นรู้สึก มันจะติดเหมือนกัน รสพระธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง มันติดรสเหมือนกัน ทั้งรู้ทั้งหลง ทั้งรู้ทั้งหลง ไปพร้อม ๆ กัน นั่นมันก็ไม่ชัดเจน เป็นรสพระธรรมมันไม่ได้สัมผัสได้ชัดเจน มีอะไรมาทำให้รสมันเสีย ทั้งรู้ทั้งหลง รสเสีย
เหมือนทะเลเหมือนเกลือหยิบหนึ่ง น้ำไหลมาไปลงใส่เกลือ เอาเกลือไปลงใส่น้ำ ก็รสพระธรรม ให้มันรสล้วนๆ รู้ล้วนๆ หาวิธีให้มันรู้ซื่อๆรู้ตรงๆ มือก็มีอยู่เอามาพลิกพร้อมๆ กิริยาที่พลิกมือ ซื่อๆตรงๆ ก็รู้แบบซื่อๆตรงๆ ยกมือขึ้นก็รู้ รู้ซื่อๆ ตรงๆ เอามือมาไว้หน้าท้อง ก็รู้ซื่อๆตรงๆ ให้มันรู้กับอิริยาบถที่มันเคลื่อนไหวพอดีๆกัน รู้ก่อนรู้หลังก็ไม่เอาพอดีๆกัน ไปพอดีไปพร้อมกัน อิริยาบถนิมิตกับรู้นี่ไปพร้อมๆ กัน มันก็มีแต่ความรู้มันไม่ใช่อิริยาบถ ถ้ารู้ดีๆ มันไม่ใช่อิริยาบถ ไม่ใช่ยกมือมันเป็นความรู้สึกตัว ไม่ใช่หายใจมันเป็นความรู้สึกตัว ไม่ใช่พริบตามันคือความรู้สึกตัว ไม่ใช่อะไรทั้งหมดมันคือความรู้สึกตัว ไม่ใช่ว่าหายใจนะไม่ใช่เอาไปเอามามันเป็นอันเดียวนั่นน่ะ เพราะมันเป็นอันเดียวมันมีแต่ความรู้สึกตัว เป็นชีวิตไปเลยนั่นน่ะ ความรู้สึกตัวอยู่ที่ไหนคือความรู้สึกตัวทั้งหมด ทำให้มันแม่น มีดินหมั่นฟื้นมีปืนหมั่นยิง ยิงให้แม่น ยิงให้แม่นๆ ถ้าจะรู้ก็รู้ไปเลย ถ้าไม่รู้อย่าไปทำ มันทิ้ง มันยิงเข้าป่าเข้าดงไปไม่จริง เสียแรงพริบตาดู กลืนน้ำลายดูรู้ ยกมือดูรู้ เดินดูรู้ เคลื่อนไหวดูรู้ ให้มันแม่นๆ หัดให้มันแม่นๆ ผู้ที่ทำใหม่ๆ เริ่มต้นให้แม่นยำดีๆ อย่าไปมัวคิด อย่าไปมัวพิสูจน์ อย่าไปมัวทดลอง การปฏิบัติธรรมแบบการเจริญสติไม่ใช่ทดลอง เป็นการสัมผัส เป็นการสัมผัสกับรสความรู้สึกตัว เมื่อสัมผัสกับรสความรู้สึกตัว มันจะมีรสอะไรเปรียบเทียบ ความสุขความทุกข์ความหลงมันนั่นแหละ มันจะเป็นรสที่เปรียบเทียบกับความรู้สึกตัว มันเทียบกันไม่ติดเลย ถ้าเราไม่ได้สัมผัสกับรสแห่งความรู้สึกตัว อะไรก็เปรียบเทียบไม่เป็น เอาไม่เป็น เลือกไม่เป็น ความหลงก็หลงอยู่นั้นแหละ เลือกไม่เป็น ถ้าเรามีความรู้สึกตัวน่ะ แต่บางทีต้องอาศัยเวลา ถ้าผู้ที่ทำความเพียรอย่างแม่นยำนี่ เวลาไม่มาก เวลาไม่มากจริง ๆ หนึ่งวันก็ยังใช้ได้แล้ว ชั่วโมงหนึ่งก็ใช้ได้แล้ว มันแม่นยำ แต่ก่อนเคยพูดกับนักปฏิบัติ ดูนักปฏิบัติ เขาบอกว่า ถ้าทำแบบคุณทำเนี่ย ทำอยู่เดือนหนึ่งไม่เท่ากับผมทำชั่วโมงเดียว ถ้าเขาพูดแบบนี้ เพราะว่าเวลาเราไปถามเวลาเราไปดูนี่ เอาหลงออกหน้าออกตา ความหลงออกหน้าเราดูก็ออก คนที่มีความหลงออกหน้า คนที่มีความรู้สึกตัวออกหน้า เราดูก็ออก เขาทำความเพียรอยู่หลายวัน ยังมีความหลงออกหน้าออกตา บางคนทำความเพียรไม่หลายวันมีความรู้ออกหน้าออกตาก็มีเหมือนกัน เพราะฉะนั้นไม่ใช่ทำสักแต่ว่ายกมือ การเดินเฉย ๆ เหงื่อไหลไคลย้อย นั่งหลังขดหลังงอ อาจจะไม่จริงเสมอไป ตั้งอยู่กับจริงก็คือความรู้สึกตัวออกหน้าออกตา การใช้ชีวิตเติมเข้าไป เติมเข้าไปนะ วิธีปฏิบัติก็มีเทคนิค มีเคล็ดลับบ้าง
เคล็ดลับแบบนี้มันไม่ใช่เรื่องก็อปปี้จากครูบาอาจารย์ ก็อปปี้ไม่ได้เด็ดขาด ต้องเป็นเรื่องของใครของเรา ก็อปปี้แล้วก็อปปี้เรื่องเทคนิคต่างๆ เรียนจากกันไม่ได้น้า ต้องเป็นของตัวเรา ตัวใครตัวมัน ตรงที่ขยันตรงที่ใส่ใจ ตรงที่วางใจมันก็มีเหมือนกัน ขยันตรงไหน ขยันตรงที่มันไม่รู้นั้นแหละ เอาความรู้ไปใส่ ขยันตรงที่มันหลง เอาความรู้ไปใส่ ขยันตรงมันหลงเอาความรู้ไปใส่ ขยันตรงที่มันทุกข์เอาความรู้ไปใส่ ขยันตรงที่มันสุขเอาความรู้ไปใส่นั่นแหละขยัน บางทีนั่งสร้างจังหวะอยู่เวลามันหลงก็หลงไปกับมัน เพราะนั้นเกียจคร้านน้า ผู้ใดคนใดครุ่นคิดในอารมณ์ที่ครุ่นคิด ไม่รู้จักสลัดความคิดไม่มีสติ แม้เธอนั่งอยู่ แม้เธอเดินอยู่ แม้เธอทำอะไรอยู่ ก็ถือว่าเป็นบุคคลเกียจคร้าน ส่วนผู้ใดเมื่อใดครุ่นคิดในเวลาที่ครุ่นคิด เธอมีสติสลัดความคิดนั้นออก รู้สึกตัว แม้เธอนอนอยู่ นั่งอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ ก็ถือว่าเป็นผู้ปรารภความเพียร พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้น ให้มันอยู่กับการกระทำนั้น ใส่ใจดี ๆ สนุกสนาน ไปกับการประกอบการทำความเพียร อย่าไปเศร้าโศกง่อยเหงา เบื่อหน่าย ขี้เกียจ ไม่ใช่ อาศัยสิ่งแวดล้อมให้กับตัวเอง สร้างสิ่งแวดล้อมให้กับตัวเองให้ดีๆ ยิ้มแย้มแจ่มใส มองอะไรมองแบบรื่นๆราบเรียบ อยากมองแบบชอบไม่ชอบ ผิดๆถูกๆ เอาผิดเอาถูก ชีวิตมีแต่ผิดๆถูกๆ สร้างสิ่งแวดล้อมให้กับตัวเองไม่ดี ชีวิตของเรามันก็หลุดไป มีแต่ความรู้สึกตัวเท่านั้น นั่งทำความเพียรอยู่ใครจะโหวกเหวกโวยวายไม่เป็นไรรู้สึกตัวเรื่อยไป ใครจะมาทำไรไม่เป็นไรรู้สึกตัวเรื่อยไป อย่าซุกซนไปหาเอาผิดเอาถูกกับคนอื่นสิ่งอื่นวัตถุอื่น อยู่กับเนื้อกับตัว อยู่กับความรู้สึกตัวอย่างนั้นนะ สร้างสิ่งแวดล้อมให้กับชีวิตของเรา ในเวลาเรากำลังฝึกหัดใหม่ เหมือนกับเราสร้างสิ่งแวดล้อมให้ต้นไม้ต้นกล้าเล็กๆ ทำหลังคารำไรๆแดดบ้างร่มบ้าง ให้เขาได้ให้ตั้งตัวให้ดี หรือเมล็ดไม้ที่ยังไม่งอก สร้างสิ่งแวดล้อมให้เขา เอาผ้าพลาสติกคลุมให้อากาศอบอ้าว หรือเราปลูกเห็ดฟาง ฝนจะตกหรือแดดจะออกก็สร้างสิ่งแวดล้อมให้มันดีๆ มันครึ้มอบอ้าว เห็ดหูหนูออก เห็ดฟางออก สร้างสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมก็ช่วยได้ สิ่งแวดล้อมไม่ใช่ภายนอกเสมอไปในการปฏิบัติ สิ่งแวดล้อมต้องเป็นภายใน อันนี้ก็เรียกว่าพูดให้ฟังหนอ มันก็พูดธรรมะแป๊บๆปะเดี๋ยวมันก็จบแล้วล่ะ เอ้ามีสตินะ เห็นรูปเห็นนามนะ ไปแป๊บเดียวสองสามคำจบแล้วแสดงธรรม แต่ว่าการแสดง คำว่าแสดงเทศนา คือ แจกแจง เพื่อให้เห็นแง่เห็นมุมต่างๆ ช่วยกัน ตกแต่งเสริมสร้าง ให้กับผู้ปฏิบัติ กับนิสัยปัจจัยต่างๆ แตกต่างกันไป เพื่อให้มันเกิดความง่ายเกิดความชัดเจนแม่นยำเข้าไป เราก็สร้างจังหวะเหมือนกัน สิบสี่จังหวะเหมือนกัน แต่ว่าสิ่งแวดล้อมที่เรานอกจากจังหวะที่เราสร้างเหมือนกันนี่ มันมีอีกเยอะแยะนะ มันมีอีกเยอะแยะที่เราหามาประกอบกับสิบสี่จังหวะให้มันได้ ให้มันเข้าโรงเดียวกันเป็นปี่เป็นขลุ่ย เป็นพลังร่วมแนวร่วมให้เกิดสิบสี่จังหวะให้เกิดสติชัดเจนไป อย่าไปทำลุ่มๆดอนๆ เกินไป เป็นการปฏิบัติที่เราจะต้องหามา ประสบการณ์บทเรียน บางทีเราไปถามว่าเดินช้าหรือไวดี นั่งเท่าไหร่ชั่วโมงเดินเท่าไหร่ชั่วโมง มานี่ มันไม่มีคำถามหรอกมันอยู่กับเรา ที่เราจะสร้างให้ความพอดี ช้าหรือไวมันอยู่กับเรา ไม่ใช่อยู่กับสูตรสำเร็จ มันอยู่กับเราตามกาลและเวลา
-จบ-