แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมกันตอนเช้าตอนเย็นเนาะ เพื่อให้เป็นส่วนประกอบกับการศึกษาปฏิบัติธรรม เวลานี้กาลนี้พวกเรามาปฏิบัติธรรม มาจุ่มมาต่อทั้งที่พูดให้ฟัง เอากายมาจุ่มเอากับความรู้สึกตัว เอาใจมาจุ่มเอา จิตใส่ใจตามนะ อย่าทำแบบไม่มั่นใจ ทำอะไร ๆ ต้องมั่นใจ ตั้งใจทำ ถ้าเรามั่นใจและตั้งใจทำเนี่ย มันก็จะประสบการณ์ขณะที่ทำ บทเรียนขณะที่ทำ โดยเฉพาะการเจริญสติเนี่ย มันเป็นสูตร สูตรรู้ สูตรหลง แต่ว่ามันเป็นของคู่กัน ความหลงเป็นคู่กับความรู้ เหมือนกับความมืดเป็นคู่กับแสงสว่าง ความหลงเป็นคู่กับความไม่หลง
ชีวิตของเรามันอยู่มีสองอย่าง หรือบาปกับบุญ กุศลกับอกุศล มันเกิดขึ้นที่กายที่จิตของเราเนี่ย โดยเฉพาะชีวิตจิตใจของเราเนี่ยมันเลือกได้ มันเลือกเอาได้ ไม่ใช่เราจะเอาตะเปะตะปะไป ทั้งหลง ทั้งรู้ ทั้งโกรธ ทั้งทุกข์ ทั้งอะไรต่าง ๆ ไม่ใช่ บางทีถ้าเราใส่ใจมั่นใจแล้ว มันมีโอกาสจบได้ มันมีโอกาสพ้นได้ ความหลงก็จะพ้นได้ ความทุกข์ก็พ้นได้ ความโกรธก็พ้นได้ บาปก็พ้นได้ ถ้ามันเรารู้จักเลือก ไม่มีสิ่งไหนที่จะเลือกได้เท่ากับชีวิตของเรา เรื่องของกายก็ดี เรื่องของจิตใจก็ดี ที่เราเรียกว่าบุญวาสนา สามารถแต่งเอาได้ ประคองได้ ตั้งไว้ได้ นี่เวลานี้เรามาเลือก เรามาดูตัวเรา มาแก้ตัวเรา มาช่วยตัวเรา ให้รู้จักช่วยตัวเอง เราปล่อยปะละเลยมานานแล้ว เราจึงมาช่วยตัวเรา
การช่วยตัวเรา เบื้องแรกก็สร้างความรู้สึกตัว ที่เราเรียกว่า “ภาวนา” ภาวนาก็คือขยัน ขยันรู้ ตั้งใจรู้เอาไว้ ตั้งใจรู้เอาไว้ ให้มันมี ให้มันมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น ความรู้สึกตัวเนี่ย ถ้าความรู้สึกตัวมากขึ้น มากขึ้น มันก็ ความหลงก็หมดลง หมดลง หมดลง ความหลงเป็นสังขารถ้าจะว่าแล้ว ความรู้สึกตัวเป็นวิสังขาร เริ่มต้นสิ่งที่มันถูกต้องไว้ จับปั๊บถูกที่ถูกทาง สังขารคือความหลง วิสังขารคือความรู้ เริ่มต้นวิสังขารคือความรู้ วิสังขารคือมรรคผลนิพพาน สังขารคือทุกข์ มันเป็นคนละเส้นละสาย หันหลังให้กัน ชีวิตเราต้องหันหลังให้กัน ไม่ใช่แบ่งปันกัน แบ่งปันความหลง แบ่งปันความทุกข์ ชีวิตเรามันถูกแบ่ง มันก็ไม่เจริญเติบโต
ถ้าเรามาดูจริง ๆ แล้วเนี่ย ชีวิตของเรามาถึงวันนี้เนี่ย ความรู้กับความหลงอันไหนมันมากกว่ากัน ถ้าเรามีความหลงมาก มันก็ไม่มีความเป็นธรรม เราจึงมาสร้างกัน มาสร้างเอา มาสร้างเอา มาประกอบเอา เราก็ทำได้จริง ๆ มันเป็นแก้วสารพัดนึกชีวิตของเรา มันเป็นมนุษย์ มันเป็นสัตว์ประเสริฐ มันพัฒนาได้ นี่ความรู้สึกตัวก็สร้างเอา ประกอบเอา พลิกมือขึ้นก็รู้ได้ ยกมือขึ้นก็รู้ได้ มันเป็นความรู้จริง ๆ สัมผัสกับกาย กายก็มีอยู่จริง เอากายมาเป็นวัสดุอุปกรณ์ผลิตความรู้สึกตัวขึ้นมา อย่าเอากายไปผลิตความหลง จิตใจเวลาใดที่มันคิดขึ้นมา ก็ให้เป็นคู่กับความรู้สึกตัว ความรู้สึกตัวไปเป็นคู่ กับทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มีอยู่ในกายในใจ ตาเห็นรูปรู้สึกตัว หูได้ยินเสียงรู้สึกตัว จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส จิตใจมันคิด รู้สึกตัว รู้สึกตัว แต่ก่อนนั้นมันหลง มันหลงกาย รูปก็หลง เอ้าแสดงไป จึงมาดูแลตัวเอง นั่นแหละปฏิบัติธรรม มาช่วยตัวเรา มาดูแลตัวเรา มันก็มีส่วนดูแลอยู่ มันก็เห็นกับหูกับตาเราอยู่นี่แหละ มันไม่ลับไม่ลี้หรอก สิ่งถูกก็เห็นกับหูกับตา สิ่งผิดก็เห็นกับหูกับตาเราอยู่
มันก็มีกาย มันก็มีจิตใจ รู้อยู่ รู้อยู่ รู้สึกตัวอยู่ รู้สึกตัวอยู่ ความรู้สึกตัวไม่ใช่ไปคิดเอา ความรู้สึกตัวมันเป็นส่วนประกอบ เป็นการประกอบเอา ทำเอา เจตนาเอา สร้างเอา ความหลงบางทีมันไม่ได้สร้าง มันเกิดขึ้นมาเองความหลง เขาก็เป็นสังขาร เขาก็มีอาชีพ อย่างรูปน่ะ เขาก็มีหลายอย่างที่เรียกว่ารูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ ที่เรียกว่ารูปมันทำ รูปธรรมนามธรรม อย่างที่พูดให้ฟังเมื่อวาน รูปมหาภูตรูป มหาภูตรูปเป็นรูปอาศัยให้ทำความดี ทำความชั่ว ทำความดีได้สำเร็จ ทำความชั่วได้สำเร็จ รูปเนี่ย ไปฆ่าเขา เขาก็เจ็บ ไปลักของเขา เขาก็เสียหาย ไปผิดศีล ผิดธรรม ผิดประเวณี มันก็เกิดการเสียหาย รูปธรรมมันทำชั่ว มันทำดี เอามาไหว้พระ เอามาช่วยกัน มันก็ทำดี มันก็สำเร็จ
มหาภูตรูปมันประกอบด้วย ดุ้นด้วยก้อน มันเคลื่อน มันไหว เป็นดินน้ำลมไฟ ประชุมกันเข้าเป็นรูปเป็นก้อนขึ้นมา นี่เป็นรูปอาศัย อาศัยรูปนี่ทำความดี ตั้งแต่นี้ต่อไปเราจะใช้รูปให้ทำแต่ความดี จัดสรรรูปให้ทำความดี มีสติเป็นเจ้าของคอยดูแลรูป มีสติเป็นเจ้าของคอยดูแลนาม คือจิตใจ แต่ก่อนเราไม่ค่อยดูแล ไม่มีเจ้าของ รูปไม่มีเจ้าของ นามไม่มีเจ้าของ เป็นของเถื่อนสมัยก่อน จิตใจจะคิดอะไรก็ได้ ตะเปะตะปะไปตะพึดตะพือ คิดสำส่อน เหมือนโสเภณีสำส่อน จิตใจ รูปก็สำส่อน เป็นโสเภณี เขาเอาไปใช้อะไร ก็ไปกับเขา รับใช้เขา เอาไปใช้ความสุข เอาไปใช้ความทุกข์ เอาไปใช้รับใช้ความโกรธความโลภ ความหลง ความรัก ความชัง จนทำให้ความโกรธ ความโลภ ความรัก ความชัง เป็นเจ้าของรูป รับใช้เขา รับใช้ความโกรธ มันก็แตกร้าวสามัคคีได้สำเร็จ ถ้าความโกรธเกิดขึ้นที่ใดก็หาความดีได้ยาก เราก็ยังทำอยู่ เราก็รับใช้เขาอยู่ เพราะไม่มีเจ้าของดูแล บัดนี้ เรามีเจ้าของ มีสติเป็นเจ้าของ คอยดูแลรูป คอยดูแลนาม คอยดูแลจิตใจ จนเห็นแจ้ง เรื่องของรูปน่ะ เรื่องของรูป เรารู้หมด รู้ครบ รู้ถ้วน จนบอกสิ่งต่าง ๆ ว่า “รู้แล้ว” ความไม่เที่ยงก็รู้แล้ว ความเป็นทุกข์ก็รู้แล้ว ความไม่ใช่ตัวตนก็รู้แล้ว ความโกรธก็รู้แล้ว ความหลงก็รู้แล้ว ความรักความชังก็รู้แล้ว ความง่วงเหงาหาวนอนก็รู้แล้ว ความลังเลสงสัยก็รู้แล้ว เนี่ยเรารู้ มันผ่านมาให้เราเห็น มันก็เรื่องเก่าเท่านั้นแหละ มันไม่มีมาก เรื่องของรูปก็มีแต่เรื่องเก่า มันฉายหลอกเราอยู่ เราจึงเห็นมันว่ารู้แล้ว
คำว่ารู้แล้วเปลี่ยนสังขารเป็นวิสังขาร สังขารคือการปรุง วิสังขารคือไม่ปรุง หยุดปรุง เรียกว่า “เจ้าของ” เจ้าของรูป เจ้าของนาม มีสติสัมปชัญญะคอยดูแล เรื่องของนามก็รู้แล้ว อะไรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับรูปกับนามก็เป็นเรื่องเดียว หนังเรื่องเดียว มันฉายตั้งแต่เกิดจนตาย เราเรียนไม่จบ ออกมาจากไหนก็ร่วมกันไปกับเขา ร่วมกับเขาเพราะเราเป็นนักแสดง แสดงหลายบทหลายฉาก บัดนี้เรามาดู เรามาดู มันแสดง ถ้าเป็นหนังเรื่องเดียวเราดู มันก็จืดเป็น ถ้าเราดูนะ ถ้าเราเข้าไปเป็น มันจืดไม่เป็น ร่วมกับเขา เขาสุขก็สุขกับเขา เขาทุกข์ก็ทุกข์กับเขา เขารักเขาชังก็แสดงบทรักบทชังไปกับเขา บัดนี้เรามาดู เห็นมัน เห็นการแสดงของรูปของนาม เราก็มีโอกาสจบได้ จืด ไม่มีแนวร่วม เช่น เห็นมันทุกข์อย่างเนี่ย เห็นมันโกรธ เห็นมันหลง เห็นมันร้อน เห็นมันหนาว เห็นมันรัก เห็นมันชัง เราไม่แสดงไปกับเขา เราเห็น การเห็นเนี่ย มันเป็นการทักท้วงน่ะ ถ้ามีสติมาก ๆ เข้า มันก็ง่าย ๆ
ภาษาที่พูดแบบสรุป “เป็นผู้เห็น อย่าเป็นผู้เป็น” ให้เห็นอย่าเข้าไปเป็น สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับรูปกับนาม ให้เห็น อย่าเข้าไปเป็นไปกับมัน ถ้าเห็นนี่มันจบ ถ้าเป็นนี่จบไม่เป็น ไปเรื่อย เป็นภพ เป็นชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกข์ เกิดดับเกิดดับ มันเกิด มันเกิดมันดับ มันเกิด มันแก่ มันเจ็บ มันตาย ความรักเกิดขึ้น มันก็แก่เป็น มันก็เจ็บเป็น มันก็ตายเป็น เราเกิด เราแก่ เราเจ็บ เราตาย เพราะความรัก เราเกิด เราแก่ เราเจ็บ เราตาย เพราะความโกรธ เราเจ็บ เราแก่ เราเกิด เราตาย เพราะความทุกข์ เกิดดับเกิดดับ เกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป เกิดทุกข์คราวเป็นทุกข์ร่ำไป อันนี้ถ้าเราเห็นแล้วมันจบสิ้นภพ สิ้นชาติ สิ้นภพ สิ้นชาติ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เพราะความรัก ความทุกข์ ความโลภ ความโกรธ ความหลง สิ้นภพสิ้นชาติ ในรูปในนาม เรื่องของรูป เรื่องของนามนี่ จบเป็น จบเป็นปฏิบัติธรรมเนี่ย ก็หมดปัญหาแล้ว วางลงแล้ว ใครก็ตาม อันเดียวกัน ชีวิตของรูปของนามอันเดียวกัน จะเป็นคนชาติไหนภาษาใด ลัทธิใด นิกายใด เพศใด วัยใด เป็นแต่รูปเป็นแต่นาม ถ้าเรียกว่ารูปว่านามนี่มันเป็นสูตร มันฟ้อง มันเป็นสูตร มันก็จบหลักสูตร เหมือนพระพุทธเจ้าของเรา พระองค์ได้ตรัสออกมาจากพระโอษฐ์ของพระองค์ว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำไม่มีอีกแล้ว” นั่นมันจบเป็น มันจบเป็นเรื่องของรูปของนาม ถ้าเราไม่รู้ มันก็ไปเรื่อย เกิดดับเกิดดับเกิดดับ วันหนึ่งมันเกิดกี่ภพกี่ชาติ เรื่องเก่าก็เกิดขึ้นอีก บางทีก็ ถ้ามันไม่มีความรู้ช่วย ไม่มีศีล ไม่มีธรรม มันก็ ไปสู่ภูมิอันต่ำได้ เรียกว่า “อบาย” อบายนี่คือไม่เจริญ ชีวิตของเรามันไปไกลเหมือนกันนะ ความหลงก็พาไปสุดเปลี่ยนจนไปสู่อบาย อบายคือสัตว์นรก คือเปรต คืออสุรกาย เดรัจฉาน จนพัฒนาไม่ขึ้น พัฒนาไม่ได้ พวกสัตว์พวกนี้ อบายเนี่ย มันก็เกิดจากรูปจากนามนี่แหละ แต่ถ้าเราพัฒนามารู้ มันก็ไปสู่มรรคสู่ผล เป็นภูมิอันสูงขึ้นไปเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เป็นพระ ประเสริฐ เป็นออกมาจากรูปจากนามนี่แหละ เราได้มรดกน่ะ คือรูปคือนามนี่ ยิ่งพวกเรามีศาสนา มีวิธีปฏิบัติ การปฏิบัติก็เป็นการสัมผัสได้เนี่ย จะไปคิดหาอะไร จะไปลังเลสงสัยทำไม มันเป็นสิ่งที่เราสัมผัสได้ อยู่กับหูกับตาเราอยู่ เห็นกับหูกับตาเราอยู่ ความหลงก็เกิดขึ้นโทนโท่ให้เราเห็นอยู่ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นเราอยู่ เราก็ศึกษามัน เราก็เปลี่ยนมันได้อยู่
สังขารเปลี่ยนเป็นวิสังขาร อย่างที่พระท่านบังสุกุล “อะนิจจา วะตะ สังขารา” สังขารเกิดขึ้นแล้วหนอ ความรักเกิดขึ้นแล้วหนอ ความชังเกิดขึ้นแล้วหนอ “อุปปาทะวะยะธัมมิโน” เราไปยึดเอาหรือ ไปยึดเอาความโกรธหรือ ว่าเป็นตัวเป็นตนหรือ เรากำลังยึดเอาความโกรธหรือ เรากำลังยึดเอาความทุกข์หรือ “อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ” มันแก้ได้อยู่ เปลี่ยนความโกรธเป็นความไม่โกรธได้อยู่ เปลี่ยนความทุกข์เป็นความไม่ทุกข์ได้อยู่ มันเปลี่ยนได้อยู่ ลองเปลี่ยนดูซิ เปลี่ยนดูสิ ปฏิบัติแล้วบัดนี้ เปลี่ยนความหลงเป็นความไม่หลง “เตสัง วูปะสะโมสุโขฯ” เมื่อเปลี่ยนสังขารได้ เป็นวิสังขาร เป็นสุขในโลก อ้าว! มันทำได้จริง ๆ นะ นี่เรียกว่า “บังสุกุล” เราก็บังสุกุลตัวเอง เกิดความรักขึ้นมา ก็บังสุกุล โอ้! ปรกติซะ อย่าหลงไปในความรัก ปิดหูปิดตา ผิดศีล ผิดธรรม มันทุกข์ มันหลง มันโกรธ วิตกกังวลเศร้าหมอง ไม่ต้องไปแล้ว ปรกติ ๆ
บ้านของจิตของใจเรานี้ คือ “ปรกติ” สร้างบ้านหลังนี้ให้ได้ อย่าเลื่อนลอย อย่าอาภัพ กลางคืนว่าเป็นควัน กลางวันเป็นเปลว กลางคืนว่าฝัน กลางวันว่าคิด ไหล ชีวิตของเรามันต้องหยุด โดยเฉพาะจิตใจต้องหยุด ต้องเย็น ต้องนิ่ง ต้องวาง ไม่ใช่จะไปวิ่งตลอดเวลา แล้วมันก็วิ่งจริง ๆ นะ มันไหลจริง ๆ จิตใจของเราเนี่ย เห็นไหม เห็นไหม มาตั้งใจยกมือสร้าง อ้าว! ไปแล้ว ปู้ด! ไปแล้ว บุรีรัมย์ ถึงใครทางนั้น มันไปกี่เที่ยวกี่รอบ ไปแล้ว ไหลไป มันไหลไป ก็ทิ้งกระสอบทรายลงไป ปึ๊กลงไป รู้สึกตัว ยกมือรู้สึก เคลื่อนไหวไปมารู้สึกตัว อิริยาบถกรรมฐาน วิชากรรมฐานเนี่ย มันเป็นวิชาที่ช่วยยกคนขึ้นบก ยกชีวิตของเราขึ้นมา ตั้งไว้ หลงไปก็ยกขึ้นมาตั้งไว้ เรียกว่า “ปฏิบัติ” จะไม่ช่วยตัวเราหรือ คนเรา ปล่อยปะละเลย ให้มันไหลอยู่อย่างนั้นหรือ สันตติเกิดขึ้นทางทะเล มันก็ไหลไป เกิดขึ้นไหลไป เกิดขึ้นไหลไป ก็เรียกว่า “สังขาร” อันใดที่ว่าสังขาร มีทางเดียวคือเป็นทุกข์ ผลของสังขารคือทุกข์ เราอย่านึกว่าเรา เวลาใดที่เราทุกข์ขึ้นมา โอ๊ย! มันติดผลของสังขาร มันปรุงแล้วมันจึงมาทุกข์ มันหลงแล้วมันจึงมาทุกข์ ตัวหลงนี่แหละ ตัวหลงนี่เป็นตัวสังขาร ตัวรู้นี่แหละเป็นตัววิสังขาร จับได้ทันที จับได้ทันที จับได้ทันที อยู่หมัดทันที อยู่หมัดทันที
เหมือนนิทานธรรม เขาขังเสือ จับเสืออยู่ นิทานธรรม เคยได้ฟังบ่ (หัวเราะ) มีบุรุษผู้หนึ่งนะ เคยเล่าให้ฟังหลายทีแล้ว เกิดขึ้นมาก็เจริญเติบโต เอ้! เราเกิดมาทำไมเนี่ย พอมามองตัวเอง เกิดมาทำไม เกิดมาแล้วมันต้องทำอะไร ก็เลยไปแสวงหายาวิเศษ ยากันตาย ยาที่ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่เกิด เข้าป่าไป พอไปแล้ว ไปได้ยินเสียงสัตว์ร้อง สัตว์ร้องเป็นน่าสงสาร สนใจ ก็ตามเสียงนั้นไป ตามเสียงนั้นไป เพราะเสียงมันชวนให้ฟัง ชวนให้อยากไปดู ตามเสียงไป ไปเห็นเสือน้อย นอนดูดนมแม่ ทั้งดูด ทั้งร้อง แต่ดูแม่มันน่ะ ถูกศรเสียบเข้าหน้าอกหัวใจ มันตายแล้ว แต่ว่าเสือน่ะมันดูดนมแม่มัน ดูดมันก็ไม่ได้กิน ทั้งดูด ทั้งร้อง บุรุษตนนั้นก็สงสารเสืออย่างสุดหัวใจ เอาเสือมาเลี้ยงไว้ เสือตัวนั้นเป็นเสือหกปาก แต่ละปากกินอาหารไม่เหมือนกัน ต้องหาอาหารมาเลี้ยงเสือ เสือมันก็โตขึ้น โตขึ้น โตขึ้น บุรุษตนนั้นก็ใช้แรงเลี้ยงเสืออาหารจนไม่มีเวลาพักผ่อน ก็คิดอยากจะไม่ให้มีเสือ อยากฆ่าเสือซะ มันลำบากเหลือเกิน วันไหนถ้ามันหิวขึ้นมามาก ๆ ถ้าไปถ้ามันไม่ได้กินเหยื่อ มันก็กัดเจ้าของ ต้องทุกข์ ต้องลำบาก กลางคืนก็ไม่ได้อยู่ กลางคืนไม่ได้นอน เอาอาหาร ถ้าเสือมันหิวขึ้นมา ต้องไป บุรุษตนนั้นก็คิดจะฆ่าเสือ ทำไงหนอ ไปหาครูอาจารย์ ไปหาอาจารย์คนแรก อาจารย์ก็บอกว่าให้สร้างกรง สร้างกรงห้าซี่ขังมัน บุรุษตัวนั้นก็มาสร้างกรงขัง ห้าซี่ ไม่อยู่ เอาแปดซี่ ไม่อยู่ เอาสิบซี่มาขัง ไม่อยู่ เอาสองร้อยยี่สิบเจ็ดซี่มาขัง ไม่อยู่ ก็พังออกมาได้ ไปหาอาจารย์คนสุดท้าย บอกว่าเอากรง กรงซี่เดียว บุรุษตัวนั้นก็เอามาเอากรงซี่เดียวขังเสือ หยุดเลย เสือตัวนั้น หยุดในกรงเลย ไปไหนไม่ได้ เสือตัวนั้นเลยหายไปเลย
เนี่ยกรงห้าซี่คืออะไร พระเปลี่ยน หา! เออ! กรงสิบซี่ แปดซี่ เออ! ศีลแปด สองร้อยยี่สิบเจ็ดซี่ ศีลของหลวงพ่อ ขังบ่อยู่ (หัวเราะ) ฮึดออกไปเลย เออ! ซี่เดียวคืออะไร คืออะไร กรงซี่เดียวคืออะไร กรงซี่เดียวคือสติ รู้สึกตัว รู้สึกตัว (หัวเราะ) ลองคิดแบบรู้สึกตัว ไม่ไปแล้ว ไม่ไปหรอก จับได้แล้ว มันคิดออกไป กลับมารู้แล้ว รู้แล้ว เสือไม่ดุแล้วบัดนี้ เสือคืออะไร คือกิเลส ตัณหา ราคะ ความคิด สังขารปรุงแต่ง มันคิดไป กลับมา มันทุกข์ รู้สึกตัว มันสุข รู้สึกตัว เกิดอะไรขึ้น รู้สึกตัว รู้สึกตัวเนี่ย ความรู้สึกตัว รู้สึกตัว โถ! มันไม่ใช่เล็กน้อยหนา ที่เราทำอยู่เนี่ย มันเป็นมรรคเป็นผลจริง ๆ นะ มันเป็นประโยชน์ต่อรูปต่อนามของเราจริง ๆ นี่ให้เรามีบทเรียน ให้เรามีโอกาส ให้เราได้ให้เราได้ศึกษา ให้เราได้สัมผัสดู แม้นมันไม่รู้อะไรก็ตามเถอะ หนึ่งวัน เจ็ดวัน ที่เรามีคอร์สมาปฏิบัตินี้ ถ้ามันได้เคยได้ยินสักหน่อย มันก็อาจจะติดไปด้วย อาจจะคิดได้ ในยามจน ยามจนยามไหน ยามที่จะหายใจไม่ได้เลย ใครก็ช่วยไม่ได้แล้ว ไม่มีทางช่วยตัวเราแล้ว คว้าเอามา คว้าเอาลมหายใจน้อย ๆ ก็ยังได้ รู้สึกตัว รู้สึกตัว รู้สึกตัว ตอนนั้นมันจะเป็นคุณภาพ แต่ถ้าเราไม่เคยศึกษา มืดแปดด้าน หลงอยู่ กำเริบไปเลย ไปไกลเลยความหลง ไม่รู้จักทิศทางเลย เพราะนั้นหลวงพ่อเทียนนี่ท่านพูดว่า “ก่อนใจจะขาดซักห้านาที ถ้าเราเคยฝึก จะคว้าเอา คว้าเอาได้” เพราะมันเป็นสมบัติของชีวิตเราจริง ๆ ถ้าเราไม่ฝึกแล้ว มีแต่หลงนั่นแล้วกำเริบเนี่ย หัด เวลาหลับเวลานอน เราฝึกได้แล้ว บนนั่งรถเมล์ ที่ทำงาน เวลาพูด เวลาอะไรที่มันเกิดขึ้น หัดให้มีคู่ชีวิต ชีวิตของเราต้องมีคู่ ไปทางไหนอย่าไปคนเดียว ให้มีคู่พบ คู่ชีวิตคือความรู้สึกตัวของเรา ทำให้เรามีชีวิตน่ะความรู้สึกตัว ความหลงทำให้เราไม่มีชีวิต มันพัดไปแล้ว ความโกรธไม่มีชีวิตแล้ว ความทุกข์ไม่เป็นชีวิตแล้ว ความรัก ความชัง วิตกกังวลเศร้าหมอง ไม่ใช่ชีวิตแล้ว ชีวิตของเราไปเป็นอื่นแล้ว
ชีวิตของเรามันต้องปรกติ นิ่งอยู่กับเนื้อกับตัว นี่คือชีวิต ชีวิตแบบนี้แหละ ความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย พัฒนา พัฒนาขึ้นไป ให้รู้มาก รู้มาก รู้สึกตัว รู้สึกตัว รู้สึกตัว ถ้าเห็น สิ่งต่าง ๆ ที่มันไม่ใช่รู้สึกตัว ก็เป็นเรื่องของรูปของนาม รูปนาม เนี่ยนั่งอยู่นี่เป็นรูป นามก็คือมันรู้อะไรได้ ทำดีเป็น ทำชั่วเป็น สั่งรูปให้ทำความชั่ว อะไรสั่งมันก็เป็น อะไรมันสั่ง มันยังสั่งรูป เอ้ามือมันเฮ็ดหยังเป็นบ่เนี่ย เอ้าอันนี้กำกำปั้นนี่เบิ่งอยู่นี่มันเฮ็ดบ่เป็นนี่ ใจมันสั่ง ใจสั่งจังซี่ ใจดีหรือใจบ่ดี ใจบ่ดี 24.49 รูปมันเฮ็ดนำเขาได้แล้วแม่นบ่เนาะ เอามีดน่ะมันฝั้นเฮ็ดบ่เป็นเจ็บ มันก็เฮ็ดนำเขาได้รูป เขาสั่งให้เฮ็ด สั่งให้ตีลูก ตีบ่ล่ะ เคยตีลูกบ่ แน่บ่น่ะ เวลามันสั่งให้นำเขานี่ มันเห็นว่าความสั่งที่มันเฮ็ดอย่างซี่มันแม่นบ่ บ่แม่น มันบ่เที่ยง มันบ่ได้บ่มีแล้วนี่ความโกรธเนี่ย มันสั่งให้เฮ็ดอย่างซี่ มันให้รู้ ความโกรธมันก็แก่แรง แก่มันก็เจ็บมันก็ตาย เอาไปเอามามันบ่มีจากความโกรธ มันถูกหลอก แม่นบ่ ถูกหลอก โอ๊ยไปเบิ่งหลังลูกน้อย นิ้วมือห้อยแส้ โอ๊ยสงสารเสียสงสารลูก แม่หลุดตีนหลุดมือ แม่ตบยุงให้ ตบยุงที่ไหนหลังพองเป็นอย่างนั้น เสียเปรียบความโกรธ เสียเปรียบความหลง เขาทำสำเร็จนะ รูปธรรมนามธรรม เพราะนั้นเนี่ย นี่มันเป็นรูปเป็นนาม ถ้าเฮาบ่หัดมัน ถ้าเราไม่หัดมัน มันก็ไม่ดีนะ เพราะมันเป็น สิ่งที่ทำให้หลงมีเยอะแยะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป รส กลิ่น เสียง มันเป็นวัตถุที่ทำให้คนหลงในรูปนี่ มันเป็นรสของรูป เป็นรสของโลก รสของโลก ทำให้สัตว์โลกหลง หลง แม้แต่ความโกรธก็ยังหลง พอใจ ถ้าได้โกรธแล้วก็พอใจ พอใจบ่ พอเป็นถ้าได้โกรธ ถ้ากูได้โกรธก็บ่รื่นเร่ไปเลย (หัวเราะ) ตายก็บ่รื่นเร่ถ้ากูได้โกรธแล้วนะ มึงอย่ามาใกล้กูเด้อ มึงบ่รู้จักกูโกรธแล้วอยู่น่ะ มึงบ่รู้จักกูแล้วน่ะ เอาความโกรธมาเป็นตัวเป็นตน กูได้โกรธบ่แม่นผู้นี้เด้ บ่แม่นบ่เป็น บ่แม่นบ่เป็นจ้อย บ่แม่นเป็นผัวแม่อ้วนจ้อย โกรธแม่อ้วน ด่าแม่อ้วนหมู ๆ หมา ๆ บ่แม่นบ่เนาะ อ่ะมันบ่แม่นผู้นี้เด้ มันบ่แม่นพ่อเปลี่ยนได๋ ถ้าได้โกรธ มันบ่แม่นไผซักคนหรอก มันเป็นอย่างนู้น มันเป็นสัตว์ร้าย นะหลวงพ่อเห็น สมัยหลวงพ่ออยู่เมืองเลยนะ มีลูกฆ่าพ่อ ลูกชายฆ่าพ่อ เอาเมียมาเลี้ยง เอาเมียมาเลี้ยงพ่อ แม่ไม่มี พ่อก็อยู่กับลูกสะใภ้ในบ้าน ลูกชายก็ไปไร่ ไปทำไร่ ปู่นี่ก็ว่าลูกสะใภ้ ลูกสะใภ้ก็โกรธ วิ่งออกไปหาผัวที่อยู่ในไร่ ผัวได้ยินเมียมาบอกว่าปู่ด่าอย่างนั้นอย่างนี้ ก็โกรธให้ปู่ ขับรถมอเตอร์ไซค์สะพายปืนลูกซองมา พ่อปู่กำลังเหลาตอกอยู่ แม่ปืนใส่ตอกมึงอย่ายิง มึงอย่ายิง เอามือปิดมือทะลุใส่หน้าผาก ตายคามีดเหลาตอก ขณะนั้นมันโกรธมาก พอพ่อตายลงไปแล้ว วางปืน วิ่งขึ้นไป พ่อกูตายแล้ว พ่อกูตายแล้ว (หัวเราะ) อ้าว! ก็ช่วยไม่ได้แล้ว ก็เลยขับรถมอเตอร์ไซค์ไปโรงพัก ให้เขาจับ ตอนนั้นคิดได้ ความโกรธสั่งงานสั่งการ ให้ฆ่า ให้ดุ ให้ด่า กว่าที่จะมันว่าพ่อกูตายแล้วเนี่ย มันความโกรธมันหมดไป มันเที่ยงบ่ความโกรธ เที่ยงไหมความโกรธ มันเป็นตัวเป็นตนไหม มันไม่ใช่ตัวใช่ตน มันเกิดขึ้นมันก็ดับไป มันเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เราไปถือเอาว่าเรา ถ้ากูได้โกรธแล้ว ตายกูก็ไม่ลืม หยุดเลยพวกเราตอนนี้ เห็นมันแล้ว ชี้หน้ามันแล้ว นี่ไอ้เนี่ยเราเห็นแล้ว เรารู้แล้ว รู้แล้ว รู้แล้ว
ตัวที่ไม่เป็นอะไร คือความรู้สึกตัวเนี่ย นี่จะพาให้เราพ้นพิษ พ้นภัย เราจึงมาสร้างตัวนี้ สร้างเอาไว้ สร้างเอาไว้ สร้างเอาไว้ ดูแลตัวเรา ถ้าไม่ดูแลตัวเรา อันตรายนะ อย่างหลวงพ่อพูดวันก่อน มีใจก็พึ่งใจไม่ได้ มีกายก็พึ่งกายไม่ได้ จนไม่มั่นใจตัวเอง ไม่มั่นใจตัวเรา ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร อันตราย ถ้าเรายังไปมีลักษณะแบบนั้นอันตราย ไม่มั่นใจตัวเอง ทำไมไม่มั่นใจตัวเอง มันก็ของเรา มันโกรธก็เปลี่ยนเสียซิ เปลี่ยนเป็นความไม่โกรธ มันทุกข์ก็เปลี่ยนเป็นความไม่ทุกข์ แล้วมันก็ทำได้อยู่ มันเปลี่ยนได้อยู่ มันเปลี่ยนได้อยู่ อะนิจจา วะตะ สังขา อุปปาทะวะยะธัมมิโน อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ เปลี่ยนได้ เปลี่ยนได้ เปลี่ยนสังขารเป็นวิสังขาร เปลี่ยนหลงเป็นรู้ เปลี่ยนทุกข์เป็นไม่ทุกข์ เปลี่ยนโกรธเป็นไม่โกรธ เปลี่ยนผิดเป็นถูก ในกาย สิ่งไหนที่มันเกิดขึ้นกับกายกับใจเรานี้ มันทำได้ มันแก้ได้อยู่ มันมาให้เราแก้ มันเกิดขึ้นมาให้เราแก้ อย่างที่เราสร้างความรู้สึกตัวนี่ พัฒนาแล้ว ขยันแล้ว ขยันรู้แล้ว นี่มันพัฒนาแล้ว มันเปลี่ยนขึ้น เปลี่ยนขึ้น เปลี่ยนขึ้น
ถ้ารู้แล้ว มันก็ไม่หลง ถ้ารู้มาก รู้มาก รู้มาก รู้ ความหลงก็น้อยลง น้อยลง มันเป็นธรรมดา นี่หนาปฏิบัติธรรม มันจำเป็น ทำไมจึงต้องปฏิบัติ ถ้าเราไปถามไปคิดแบบนั้น ทำไมเราจึงโกรธ ทำไมเราจึงหลง ไม่โกรธไม่ได้หรือ ไม่หลงไม่ได้หรือ ไม่ทุกข์ไม่ได้หรือ ควรที่จะถามตัวเองแบบนั้น เรามั่นใจตัวเองใหม่ เชื่อใจตัวเองใหม่ เป็นอย่างไร ที่เราใช้กายใช้ใจทุกวันนี้ มันเป็นอันตรายต่อเราไหม บางทีมันก็เป็นอันตรายต่อเรา บางทีมันก็เป็นอันตรายต่อคนอื่นบุคคลอื่น สิ่งอื่น มีเหมือนกัน จนสร้างตัวบทกฎหมาย เพราะกายเพราะใจเรานี้ สร้างกองทัพ ตอนนี้ก็เดือดร้อน ภาคใต้ ฆ่ากันตายเป็นทุกวัน ๆ ทำไมจึงไม่เมตตากรุณาต่อกัน ไปฆ่ากันทำไม เป็นน่าสงสารนะคนเราเนี่ย น่าสงสารกว่าไก่ ถ้าจะมองดูแล้ว เนี่ยเวลานี้หลวงพ่อเห็นนกมันมาจากเอธิโอเปียนั่นแหละ ตัวขาว ๆ น้อย ๆ เขาบินมา กำลังหนีหนาวมา มาอยู่ในวัดสุคะโตนี้ เดินอยู่ตามดินตัวขาว ๆ ฤดูนี้เขาจะมา เขาบินข้ามโลก ข้ามมหาสมุทรมา เขาไปได้ เรานี่ไปไหนก็ไม่ได้ ฝนตกก็อาศัยตัวเองไม่ได้ ต้องไปตัดไม้ทำลายป่ามามุง แต่ไก่นี่มันนอน ไก่ ๆ นี่มันนอนอยู่ต้นไม้มันทำหางชัน ๆ ฝนตกมันก็ไม่เปียก อาศัยตัวมันได้ แต่เรานี้อาศัยอะไรก็ไม่ได้ หนังก็บาง ๆ ตายเพราะยุงกัด ตายเพราะอะไร โอ๊ย! ไปฆ่ากันทำไม หายใจเข้า หายใจออก ก็เป็นทุกข์อยู่แล้ว ต้องกิน ต้องถ่าย ต้องหลับ ต้องนอน ก็เป็นทุกข์อยู่แล้ว สงสารกันนะ เป็นสัตว์ที่น่าสงสารที่สุดคนเรานี่ ไม่ต้องไปฆ่า ไม่ต้องไปทะเลาะวิวาทกัน ตั้งแต่นี้ต่อไป เราไปช่วยกันเถอะ ไปช่วยกันเถอะ มีลูกก็ช่วยลูก ลูกของเรา ไปโกรธให้ลูกทำไม มีผัวก็ช่วยผัว มีเมียก็ช่วยเมีย มีพี่ มีน้อง มีเพื่อนกัน อย่าไปทะเลาะกัน ช่วยกันทำงานทำการ เป็นครูก็ช่วยลูกศิษย์ลูกหา เป็นงานเป็นการ เป็นหมอก็ช่วยกัน มีโอกาสได้ช่วย ช่วยกัน มาช่วยกัน ปฏิบัติธรรม คือมาช่วยกัน มาช่วยกัน ให้พ้นพิษพ้นภัย ช่วยตัวเองนะพ่อเก่งเนาะ