แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
สำหรับงานกรรมฐาน งานปฏิบัตินี่ใช้ได้ทุกโอกาส เพราะมันเป็นสูตรที่เป็นอัตโนมัติไม่เหมือนกับอย่างอื่น การปฏิบัติ การสอนธรรมะนี่ ก็ ผู้ใหม่ ผู้เก่า ก็ฟังได้ มันเป็นสูตรอันเดียว เหมือนกับเราเรียนหนังสือ เริ่มต้นอนุบาล ก.ไก่ ข.ไข่ ไป แต่ว่า ก.ไก่ ข.ไข่ เนี่ย มันก็ยังอ่านได้ตลอด รู้ความหมาย เป็นภาษาที่ขาดไม่ได้ มันเป็นสูตรของภาษา
ภาษาที่มันเป็นสูตรของชีวิตเราก็มีภาษา อ่านได้ตลอด อ่านได้ตลอด ไม่มีจน มีสติเห็นกาย มีสติเห็นเวทนา มีสติเห็นจิต มีสติเห็นธรรม อ่านออก ไม่ไปเอาสุขไม่ไปเอาทุกข์เพราะกาย ไม่ไปเอาสุขเอาทุกข์เพราะเวทนา ไม่ไปเอาสุขเอาทุกข์เพราะจิต ไม่ไปเอาสุขเอาทุกข์เพราะธรรมที่เป็นกุศลอกุศล ที่มันเกิดแล้วเกิดอีก เวทนามันก็เกิดแล้วเกิดอีก กายมันก็มีอย่างนี้ กายมันก็มีอย่างนี้ มันเป็นกายานุปัสสนา มันก็สักว่ากาย ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา แม้เราจะรู้ เราไม่รู้ มันก็แสดงอยู่นี้กาย เราไม่หลงแล้ว เกี่ยวกับกายเราไม่หลงเราอ่านออก เหมือนกับ หนังสือ ภาษา ที่เราอ่านได้แล้ว มายังไงก็อ่านได้ บางคนแก่ แก่ภาษาไทย เขียนยังไงก็อ่านได้ อย่างคนที่แก่ภาษา เขาไปเอาภาษาโบราณ ๆ มาเขาอ่านได้ เขาอ่านได้ เขาอ่าน หรือภาษาที่เขาเขียนเองเขาอ่านเอง เขาอ่านเอาเอง ภาษาอ่านคนเดียว เขาก็เขียนได้ คนอื่นอ่านไม่ออก แต่ว่าภาษาที่เขาเขียนเองเขาอ่านได้
การที่มีชีวิต มีศีล มีธรรม เนี่ย มันไม่จนหรอก มันไม่จน ไม่จนจริง ๆ เหมือนคนเรียนรู้ภาษา ไม่จน วิธีปฏิบัติเราก็ทำอันเดียว ผู้เก่าก็ทำอันเดียว ผู้ใหม่ก็ทำอันเดียว แต่ว่าผู้เก่าเนี่ยบางทีมันเก่าแบบไหน ผู้ใหม่มันใหม่แบบไหน ผู้เก่าก็รู้แล้วว่าอย่างเนี่ย รู้แล้วว่าอย่างเนี่ย ผู้ใหม่มันจะเอะใจ เอ๊ะ..ทำไม เอ๊ะ..ทำไม ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ เรียกว่าผู้ใหม่ จะต้องคิด จะต้องเสียเวลา จะต้องไปอยู่กับอาการต่าง ๆ ที่มันเกิดขึ้นกับกายกับใจ ทำไมถึงเป็นอย่างโน้น ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ เนี่ยเรียกว่าผู้ใหม่ ถ้าผู้เก่าไม่มีคำว่าทำไม มันก็เห็นแล้ว รู้แล้ว รู้แล้วนะ เกี่ยวกับกายเกี่ยวกับใจ รู้แล้วทั้งหมดเลย รู้แล้ว รู้แล้วนั่นแหละ กายก็รู้แล้ว เกี่ยวกับกายก็รู้แล้ว ทำได้ดีทำได้คล่อง คล่องตัว ชำนิชำนาญ เกี่ยวกับจิตใจก็รู้แล้ว คล่องตัว ชำนิชำนาญ สิ่งต่าง ๆ ที่มัน อาการต่าง ๆ ธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกายกับจิต รู้แล้ว ชำนิชำนาญ เรียกว่าผู้เก่า ถ้าผู้ใหม่นะ ผู้ใหม่ก็ยังเป็น อะไรนี่เป็นผู้หลง เป็นผู้รู้ เป็นผู้สุข เป็นผู้ทุกข์ เป็นผู้อะไรต่าง ๆ ยังเป็น ยังมีทำไม ยังเอะใจ เรียกว่าใหม่ เรียกว่าใหม่ แต่ถ้าใหม่ก็เพื่อให้มันเก่า ถ้าตึงก็เพื่อให้มันหย่อน ถ้าหย่อนก็เพื่อให้มันตึง มันมีอย่างนั้น ถ้าหลงก็เพื่อให้มันรู้ ถ้าทุกข์ก็เพื่อให้ไม่ทุกข์ มันทำได้อยู่ มันทำได้อยู่ อย่าไปจน ถ้าโกรธเพื่อให้ไม่โกรธ
อะไรก็ตามมันมันมีทางมันพบทาง ในกายในใจเราเนี่ย มันมีทางออกเยอะแยะ ถ้าเรามาดูมามีสติมาศึกษา มามีสติดูกายดูจิต ทางออกของกาย ทางออกของจิต ทางออกของจิตนี่คล่องที่สุดเลย ทางออกของกายบางทีต้องมีวัตถุที่หนึ่งที่สองที่สามมีผู้คนมีอะไรต่าง ๆ ช่วยเหลือ ช่วยเหลือ แต่ทางออกของจิตเนี่ย อัตตา หิ อัตตโน นาโถ พึ่งตนได้ร้อยพันเปอร์เซ็นต์ ยกไปก่อนเรื่องของจิต เอาไว้ก่อน มาก่อนถึงก่อน จะเกิดอะไรก็ตามภายนอกภายใน มาก่อนถึงก่อนจิต มีความรู้สึก มีความระลึกได้ถึงก่อน เจ็บปวดก็ถึงจิตก่อน จิตที่จะต้องไม่เป็นอะไร สุขทุกข์ แดดร้อน หิวกระหาย อะไรก็ตามจิตถึงก่อน ไม่ใช่ถึงแบบถูกเจ็บถูกปวด มันถึงแบบไม่มีอะไร มาก่อน ไม่มีอะไร เนี่ยถ้าเราฝึกมา ถ้าเราไม่ฝึก จิตก็ถึงก่อนถึงแบบ รับ เออ เป็นเป้า เป็นเป้า สุขก็ถึงจิตก่อน ทุกข์ก็ถึงจิตก่อน หลงก็ถึงจิตก่อน ได้ก็ถึงจิตก่อน เสียก็ถึงจิตก่อน ว่าเป็นเป้า
ถ้าผู้เก่า ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ชำนิชำนาญ มันก็ไม่ มันไม่เป็นแบบนั้น สุขก็ไม่ถึงจิต ทุกข์ก็ไม่ถึงจิต แต่ว่าจิตมันไม่ มันไม่เป็นอะไร ไว้ก่อน ไม่เป็นอะไร ไว้ก่อน ไม่เป็นอะไร ไว้ก่อน ตั้งไว้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้ว มั่นคงแล้ว นี่แหละ มันฝึกแล้วมันเป็นอย่างนั้น มันไม่ใช่ได้อะไร มันมีแต่เห็นแจ้งตามความเป็นจริง เห็นแจ้งตั้งแต่เรามีสติดูกายก็เห็นกายน่ะ สูตรของกายเนี่ย เห็นไม่มีอะไร มันก็มีแต่เพียงว่ากายสักว่ากาย ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา พระพุทธเจ้าสอนไว้ให้พวกเราแล้ว เราก็ทำตรงนี้ ให้เห็นอย่างนี้ ให้ทำอย่างนี้ ให้รู้อย่างนี้ ไม่รู้ ไม่รู้ ก็รู้แผนที่เอาไว้ กายสักว่ากาย ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา เหมือนเรายังไม่ได้เดินทาง เราก็ต้องรู้แผนที่ ถ้าจะพูดกับตัวเอง ถ้าจะทำลงไปก็ทำแบบนี้ กายสักว่ากาย ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา กายเนี่ยไม่มีตนที่จะมาเป็นสุข กายไม่มีตนที่จะมาเป็นทุกข์ ไม่เอาตน ไม่มีตนในกาย ไม่มีตนอยู่ในกาย ตนก็คือสุขคือทุกข์นั่นแหละ เหมือนกับพูดวันก่อน เวทีที่จะให้กายเนี่ยไม่มีเวทีที่จะให้แสดงสุขแสดงทุกข์ เวทีนี่รื้อแล้ว รื้อลงไปแล้ว เรียบแล้ว ไม่มีที่แสดง ไม่มีสุขทุกข์ที่จะมาแสดงบนกายไม่มี มันรื้อแล้ว เวทนาก็รื้อแล้ว ไม่มีสุขมีทุกข์ที่จะมาแสดงบนเวทนา เวทนาไม่ใช่เอาไปสุขไปทุกข์ ไม่มีตนอยู่ในเวทนา เหมือนเดิม แต่ถ้าเวทนามันก็เป็นเวทนาล้วน ๆ ไม่มีอุปาทาน ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ในเวทนา ไม่แสวงหาเวทนา มันเกิดเป็นเวทนาธรรมชาติตามอาการของเขา มันเวทนาล้วน ๆ ไม่มีอุปาทาน ไม่มีความหลงในเวทนา บางทีเราไม่ได้ศึกษาเวทนา ไปปล้นเอา ไปข่มขืนเอา ไปซื้อเอา เป็นสุขก็กินเหล้า เป็นสุขก็สูบบุหรี่ เป็นสุขก็เที่ยวเตร่เร่ร่อน ไปหาเอาอ่าน เขาหลงมาก ๆ เวทนาแบบนั้นไม่มี มันไม่หลอกได้ มันสักว่าเวทนาไปแล้ว รื้อแล้วเวทีแห่งเวทนาที่จะมาเป็นสุขเป็นทุกข์เหมือนกัน จิตที่มันเป็นทวารที่มันคู่กับอารมณ์ ก็รื้อเสียแล้ว อารมณ์ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่อารมณ์ คนละเรื่องกันแล้ว รื้อแล้ว ที่จะให้อารมณ์มาแสดงบนจิตใจที่เป็นสุขเป็นทุกข์ ที่เป็นโกรธ เป็นโลภ เป็นหลง เป็นอารมณ์ เป็นรัก เป็นชัง รื้อแล้ว ถ้าไม่รื้อตรงนี้มันก็ไม่เรียบนะ ยังมีการแสดงอยู่ เพราะมีสติมันไม่หลอก เวทนาก็ไม่หลอก กายก็ไม่หลอก จิตก็ไม่ได้หลอก เป็นจิตล้วน ๆ เป็นจิตที่ไม่มีอะไรหอบหิ้วไปใช้ เป็นจิตที่บริสุทธิ์ อย่างนี้ คำว่าจิต จิตตานุปัสสนา ก็รื้อแล้วที่จะให้อารมณ์มาแสดงบนจิตเป็นสุขเป็นทุกข์
ธรรมที่มาครอบงำเป็นความง่วงเหงาหาวนอน เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นความสุข ปิติ อะไรก็ตาม เห็น สุขอยู่ในธรรม สุขทุกข์อยู่ในธรรม เขารื้อแล้วเนี่ย เพราะว่าธรรมนี่เป็นของละเอียดกว่ากายกว่าเวทนา เพราะธรรมมันเป็นคู่ของอารมณ์ของจิต ความรู้ความไม่รู้ ความสุขความทุกข์ ก็เป็นธรรม ก็อันเดียวกัน ถ้าจะว่าแล้วกายก็ดี เวทนาก็ดี จิตก็ดี ธรรมก็ดี มันเป็นการแสดงของอาการต่าง ๆ มันถูกหมดทั้งหมด ทั้ง 4 อย่าง กายก็ดี เวทนาก็ดี จิตก็ดี ธรรมก็ดี เป็นการแสดงที่เราไม่ค่อยเห็นถ้าไม่มีสตินะ พอเรามีสติจะเห็น อาการที่มันแสดง มันก็เกิดปัญญา มันก็เกิดญาณทะลุทะลวง ข้ามล่วงจากกาย ข้ามล่วงจากเวทนา ข้ามล่วงจากจิต ข้ามล่วงจากธรรม ไปเห็นรูปธรรม ไปเห็นนามธรรม ก็สรุปกาย สรุปเวทนา สรุปจิต สรุปธรรม ลงเป็นรูปธรรม เป็นนามธรรม มันทำให้ยึดหลักฐาน ทำให้เกลี้ยงลงไปอีก
เหมือนกับถูบ้าน หรือเราไสกบขัดกระดาษทราย ขัดกระดาษทรายหยาบละเอียดลงไปอีก ให้เกลี้ยงไปเลย เหมือนกับถากขวานถาก ขวานแล้วก็กบไสกระดาษทรายเกลี้ยงลงไป บุกเบิกทีแรกก็สติเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เป็นรูปเป็นร่าง เป็นรูปศีล รูปสมาธิ รูปของปัญญา หรือเป็นแสงสว่าง เป็นกระแสเห็นทิศเห็นทาง บุกเบิกทีแรกเห็นทิศเห็นทาง ได้ทางได้ทิศ เรื่องของกายก็รู้แล้ว เรื่องของเวทนาก็รู้แล้ว เรื่องของจิตก็รู้แล้ว เรื่องของธรรมที่มันมาครอบงำย่ำยีจิตใจก็รู้แล้ว รู้อันเก่าบ่อย ๆ รู้อันเก่าบ่อย ๆ
พอเห็นเป็นรูปธรรมเห็นเป็นนามธรรมเคลื่อนไหวไปมามันเป็นรูป การเคลื่อนมันไหวเป็นนี่มันเป็นนาม มันร้อนเป็น มันหนาวเป็น มันเจ็บเป็น มันหิวเป็น มันปวดมันเมื่อยเป็น เพราะมันเป็นนาม เอ้าเวทนาก็ไม่ต้องว่าหรอก เป็นอาการแล้ว แต่ก่อนเรียกเวทนา มันปวด มันหนาว มันร้อน มันหิว อันนั้นเรียกว่าเวทนา บัดนี้มาเรียกเป็นอาการ ภาษาที่เรียกเอาเอง คนอื่นเรียก เรียกไม่ถูก ตัวเราเรียกเอาเอง เป็นภาษาที่เราใช้ส่วนตัว ไม่เหมือนภาษาที่เราใช้ส่วนรวม เป็นภาษาส่วนตัว อาการ ธรรมชาติ ใช้คล่องดี ใช้ดีกว่าเวทนา ใช้ดีกว่ากาย ใช้ดีกว่าจิต ใช้ดีกว่าธรรม เป็นภาษาที่ใช้ลัด ๆ ถ้าเป็นทางก็ลัดเข้าไป สั้นเข้าไป ไม่เสียเวลาคำว่ากาย ไม่เสียเวลาคำว่าเวทนา ไม่เสียเวลาคำว่าจิต ไม่เสียเวลาคำว่าธรรม เป็นย่อ ๆ เรียกว่า ธรรมชาติและอาการ ถ้าเกี่ยวกับกายกับจิต เกี่ยวกับรูปกับนาม เกี่ยวกับรูปกับนามเนี่ยเป็นธรรมชาติเป็นอาการ ใช้คล่องใช้ง่ายดี สะดวกดี ถูกต้อง จับอันเดียวถูกทั้งหมด ละอันเดียวละได้ทั้งหมด เห็นอันเดียวเห็นทั้งหมด รู้อันเดียวรู้ได้ทั้งหมด มันเป็น มันเป็นจุดรวม มันเป็นจุดอ่อน มันเป็นจุดแข็ง เนี่ยเป็นธรรมชาติเป็นอาการของรูปของนาม ย่อลงไปอีกก็สะดวก
เหมือนกับพ่อค้าขายเพชรขายทองเอาใส่กระเป๋า สะดวกไปขายได้เงินเป็นหมื่นเป็นแสน ไม่เหมือนพ่อค้าขายปอขายมันขายอ้อย พ่อค้าขายปอขายมันขายอ้อยเอารถสิบล้อไปได้เงินน้อย ๆ หรือบางทีพ่อค้าที่เก่งจริง ๆ สมัยหลวงพ่อเทียน ท่านพูดให้ฟัง หลวงพ่อเทียนเป็นพ่อค้า นั่งกินน้ำชานั่งกินกาแฟ แป๊บเดียวก็ได้เงินเป็นหมื่นเป็นแสนแล้ว เพราะบอกว่า ฝ้ายอยู่ในนั้นเท่านั้นตัน ฝ้ายอยู่ในนี้เท่านี้ตัน ว่าอยู่ที่โน้นเท่านี้ตัน พูดกันสองสามคำกับพ่อค้าเหมือนกัน ก็พูดกันแล้วก็จ่ายเงินให้กันก็ไปเอาฝ้าย คนที่ขนฝ้ายก็เป็นคนอื่น คนที่ชั่งน้ำหนักก็เป็นคนอื่น เข้าถึงตัวเงินเลยไม่ต้องไปขนไม่ต้องไปชั่ง เพราะมันสมองปัญญามันต่างกัน ไม่ต้องไปขับรถ ไม่ต้องไปนั่งเสียเวลา นั่งกินกาแฟแก้วเดียวก็ได้เงินหมื่นเงินแสน เงินร้อยเงินพันหายาก เงินหมื่นเงินแสนหาง่าย หลวงพ่อเทียนพูดให้ฟัง
การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ถ้ามันสะดวกแล้วมันก็ เข้าถึงได้ง่ายสะดวก เข้าถึงตัวสติ เข้าถึงตัวปัญญา เข้าถึงตัวสมาธิ เข้าถึงตัวหลุดพ้น อะไรก็ตามหลุดพ้นสะดวกกว่าอย่างอื่น ความหลุดพ้นสะดวกกว่าอย่างอื่น เกี่ยวกับกายเกี่ยวกับจิตนะ ถ้าทำอันอื่นมันก็ไม่เหมือนกับกายกับจิต เช่น ปลูกไม้ ก่อนที่จะพ้นอันตรายก็ต้องรดน้ำต้องดูแลดายหญ้าจึงเจริญเติบโต แต่ว่ากายใจเนี่ยพ้นง่ายกว่าอย่างอื่น ความหลุดพ้นมีอยู่ที่กายที่จิต ไม่ไปเอะใจ ไม่ไปหลงสุขหลงทุกข์ อย่างนี้ ไม่ไปหลงสุขหลงทุกข์ ไม่ไปหลง คำว่าไม่หลง มันก็ยิ่งใหญ่เหลือเสียแล้ว เพราะว่าไม่หลงน่ะ ออกหน้าออกตา ความไม่หลงมาก่อน สติสัมปชัญญะมาก่อน เอาไปเอามาเมื่อเห็นรูป เห็นนาม เห็นธรรมชาติเห็นอาการ เขาก็ ไปรู้ทุกข์รู้อะไรที่มันเป็นทุกข์นี่ ตรงกันข้าม คำว่าทุกข์เนี่ย โชว์ โชว์มาก คำว่าทุกข์เนี่ย อะไรก็ตามคำว่าทุกข์เนี่ยเขาโชว์ เขาโชว์ขึ้นมาเพื่อให้เราเห็น ถ้าเห็นทุกข์ก็ดับทุกข์ เหมือนพระพุทธเจ้าเทศนา เห็นทุกข์เรียกว่าเห็นอริยสัจเป็นของจริงอย่างประเสริฐ อริยสัจมันก็เห็นทุกข์นั่นแหละ ทุกข์ที่เป็นทุกข์อะไรก็ตาม โชว์เราก็เห็นของจริง ถ้าไม่เห็นทุกข์ มันก็มันก็ดับทุกข์ไม่ได้
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อยู่บนทุกข์ก็ว่าได้ ถ้าไม่มีทุกข์ไม่มีพระพุทธเจ้า แต่ว่าผู้ที่ไม่ศึกษามีทุกข์ทำให้เกิดเป็นปุถุชน มีทุกข์ทำให้เกิดเป็นเปรตเป็นอสุรกายเป็นสัตว์นรกเป็นเดรัจฉาน แต่พระพุทธเจ้ามีทุกข์ ทำให้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อยู่บนทุกข์ ความทุกข์มันโชว์ สภาวทุกข์ นิสสรณะทุกข์ อาคันตุกะทุกข์ แต่ก่อนเป็นเรื่องของเรา เป็นทุกข์ ไม่รู้จัก เป็นทุกข์ก็ไปเจ็บไปปวดกับความทุกข์กับความสุข พอมาเห็นรูปเห็นนามแล้ว เห็นความทุกข์ที่มันโชว์ สนุก สนุกที่สุดเลย กระตือรือร้น ถ้าเป็นความทุกข์ แล้วก็ถ้าเห็นทุกข์ทีไรก็เห็นเหตุ ก็ทำเหตุทันที มันหลงหรือ ถ้าเป็นทุกข์มันก็เห็นความหลง มันก็สร้างความรู้ เอาไปเอามาก็มันก็เป็นคู่กัน ทุกข์เป็นผล หลงเป็นเหตุ หลงคือตัวสมุทัย ไม่ใช่เราจะทุกข์ ไม่ใช่เราจะโกรธ ไม่ใช่เราจะรักจะชัง มันมีตัวหลงมันเป็นตัวสมุทัย มันก็ได้สองอย่างเป็นเหตุเป็นผล ทุกข์เป็นผล หลงเป็นเหตุ พระพุทธเจ้าจึงว่าสมุทัยเป็นเหตุ ทุกข์มันเป็นผล วิธีดับทุกข์เป็นทางคือปฏิบัติ ปฏิ คือเปลี่ยนน่ะ เปลี่ยน เปลี่ยนทุกข์เป็นรู้ เปลี่ยนสุขเป็นรู้ เปลี่ยนรู้เป็นโกรธเป็นหลงเป็นรู้ เปลี่ยนรักเป็นชังเป็นรู้ เปลี่ยนได้เปลี่ยนเสียเป็นรู้ ใช้สะดวก ไม่ได้ไปค้นหา ไม่ต้องไปดุไปด่า ไม่ต้องไปว่าอะไร ไม่ต้องไปคิดอะไร มาก่อนเปลี่ยนทันที
การเห็นทุกข์เป็นการเห็นอย่างประเสริฐ ไม่มีอะไรที่จะเห็นทุกข์ให้เป็นสมน้ำหน้า ความสมน้ำหน้าของชีวิตเราคือทุกข์ เราได้เปลี่ยนทุกข์เป็นไม่ทุกข์ โอ้ย..เนี่ยมันมีฝีมือ มันมีฝีมือ เห็นทุกข์เปลี่ยนไม่ทุกข์ เห็นหลงเปลี่ยนไม่หลงเนี่ย มันเป็นฝีมือของนักปฏิบัติ มันเป็นฝีมือของผู้ปฏิบัติธรรม มันไม่เปลี่ยนอย่างอื่น ถ้าจะเรียกว่ามันมันดี มันมันดีเปลี่ยนทุกข์เป็นไม่ทุกข์ โอ้ย..ดีมาก แล้วมันก็สมน้ำหน้ามันถึงอกถึงใจ แล้วก็เรื่องต่าง ๆ ที่มันจะเกิดขึ้นกับกายกับใจเขาก็แสดง ถ้าเป็นทุกข์มันก็บางอย่างมันก็หล่นไปเลย เหมือนกับต้นไม้ลูกไม้ที่มันยังไม่ได้ไปเกี่ยวข้องเลย พอเขย่าต้นนิดหน่อยก็หล่นไปเลยทุกข์บางอย่าง หล่นเหมือนเรา เหมือนเราสั่นบักทัน พุทรา เราขึ้นไป ปีนขึ้นต้นเฉย ๆ ก็หล่นลงมาแล้วยังไม่ได้เขย่าเลย ถ้าเป็นทุกข์บางอย่างนะ เหล้าหมดไป บุหรี่หมดไป ความโลภ ความโกรธ ความหลง ถ้าจะมีก็อยู่ในกำมือ แต่บางอย่างมันรีดไปเลย เหมือนบักเขียบ บักเขียบหลอด รู้จักบักเขียบหลอดบ่ บักเขียบมันหลอด ว่าแต่ซั่นมันดอกมันบ่มีค่าแล้ว ไม่มีค่าแล้ว แต่ว่ามันเป็นยานะบักเขียบหลอดนะ รู้จักไหมยาบักเขียบหลอด เวลาเป็นฝี เป็นฝี เป็นตุ่มเป็นฝีแดง ๆ ถ้าเป็นหนองน่ะ ไม่ต้องไปหาหมอก็ได้ ไม่ต้องไปหาหมอประเทืองไม่ต้องหาหมอศันสนีย์หรอก เอาบักเขียบหลอดฝนทาแตกปุ๊ออกมาเลยหนองดูดออกมาหมดเลย สมัยก่อนน่ะ อันนี่ทุกข์บางอย่างเหมือนกับบักเขียบหลอด มันบีบของมันไปเองมันหลอดลงไปเอง ไม่ต้องไปคุมมันนะ บางอย่างก็หลุดลงจริง ๆ สิ่งไหนหลุดไปก็รู้แล้วมันพ้นไป อะไรที่มันหลุดไปก็รู้แล้ว มันพ้นไป พ้นไป พ้นไป พิสูจน์ได้ไป ต่างเก่าพ่วงพ้นภาวะเดิม ล่วงพ้นภาวะเดิม ๆ หลุดไป หลุดไป หลุดไป อย่างนี้นะ ไม่ใช่ไปจำเอา ไปคิดเอา คงจะเป็นอย่างนั้น คงจะเป็นอย่างนี้ คำว่าคงจะเป็นอย่างนั้นคงจะเป็นอย่างนี้ไม่มีหรอก วิชากรรมฐาน มีแต่ว่าเห็นแล้วรู้แล้ว คงจะเป็นอย่างนั้นสวรรค์คงเป็นอย่างนั้น นิพพานคงเป็นอย่างนี้ นรกเป็นอย่างนั้น คงจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ใช่ มันคล้ายกับว่ามันรู้แล้ว รู้แล้ว รู้แจ้งแล้ว รู้แจ้งแล้ว แล้วคำว่ารู้แจ้งมันทำเสร็จแล้ว อะไรที่มันเกิดขึ้นกับกายกับใจ มันทำเสร็จแล้ว มันรู้แล้ว มันรู้แจ้ง ไม่ใช่รู้เฉย ๆ แจ้งแล้ว ไม่มีรอบสอง ไม่เอะใจ เป็นความหลงก็ไม่มี ไม่มีรอบสอง หลงแล้วหลงอีก ไม่มี ไปได้เลย ครั้งเดียว ถ้าโกรธก็แป๊บก็ไปได้แล้ว ถ้าทุกข์ก็แป๊บก็ไปได้แล้ว ครั้งเดียว ครั้งเดียว ครั้งเดียว มันหลงเพื่อรู้ มันทุกข์เพื่อรู้ มันโกรธเพื่อรู้ อะไรก็ตามมันเพื่อรู้ เพื่อรู้ เพื่อไม่มี เพื่อไม่เป็น เพื่อความหลุดพ้น มันไปแบบนี้นะปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ไปจำไปขบไปคิดเอา ไปหาเหตุหาผล เหตุผลไม่ได้หา มันพบเห็น ไม่ใช่หาเหตุผล อย่างทุกข์มันเป็นผล สมุทัยมันเป็นเหตุ ไม่ได้หา มาพร้อมกัน เกิดที่เดียวกัน ความหลงกับความรู้ก็เกิดที่เดียวกัน ความหลงเกิดที่กายความรู้อยู่ที่กาย ความหลงเกิดที่จิตความรู้อยู่ที่จิต ความทุกข์เกิดที่กายความไม่ทุกข์ก็อยู่ที่กาย มันมีรูปมีนามมันช่วยกัน ช่วยกันดี๊ดี รูปธรรมนามธรรมเนี่ย ช่วยแก้ปัญหาช่วยกัน เป็นปี่เป็นขลุ่ย แต่ก่อนมันเบียดเบียนกัน ความทุกข์อยู่ที่ใจ-กายเป็นทุกข์ ความทุกข์อยู่ที่กาย-ใจเป็นทุกข์ บัดนี้มันไม่เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างนั้น เรื่องกายก็รู้แล้วเรื่องจิตก็รู้แล้ว สองพลัง พลังกายพลังจิต ร่วมกันขนส่ง ให้ทุกข์หมดไปจากชีวิต ขนส่งเป็นพลังมากเลย
อ้าว...มีสติเข้าไปมีสมาธิมีปัญญามีศีลเข้าไป เหมือนกับพลังแห่ง อะไรต่าง ๆ ขนส่งน้ำหนักที่มันเท่าไหร่เท่าไหร่ก็ ยกออก ยกออก ยกออก ศีลมาช่วย สมาธิมาช่วย ปัญญามาช่วย สติมาช่วย ญาณปัญญา เยอะแยะไปหมดเลย ไม่จน ไม่จน ไม่จน ไม่จนเรื่องของความหลง ไม่จนเรื่องของความทุกข์ ไม่จนเรื่องโลภ โกรธ ไม่จน หวิว ๆ เลย เบาหวิวเลย มันมีพลัง พลังปัญญา พลังญาณวิปัสสนาญาณ เหมือนขนส่ง ยกออก ยกออก เนี่ยนะ แม้มันมีอยู่มันก็ยกได้เพราะมีกำลัง ยกออก ยกออก ไม่มีใครให้ไปแช่อยู่ ถ้าหลงก็ไม่ได้แช่อยู่ ทุกข์ก็ไม่ได้แช่อยู่ คนที่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมมีวิปัสสนาญาณ แม้ยังมีโกรธมีหลงมีโลภมีทุกข์อยู่ เขาก็ขนเป็น ขนออกเป็น ขนออกเป็น ไม่ให้ค้างคาไม่ให้เป็นการบ้าน ให้ข้ามวันข้ามคืนเพราะมันขนออกเป็น ไม่ให้ไปแช่อยู่ตรงนั้น เรียกว่าชีวิต เมื่อเราได้ชีวิต ความทุกข์เรียกว่าไปมีชีวิตแล้ว ชีวิตที่มันขนออก ได้ชีวิตเหมือนเก่า ได้ชีวิตเหมือนเก่า เอาชีวิตคืนมา มันหลงก็รู้คืนมา มันทุกข์ก็รู้คืนมา เรียกว่าได้ชีวิตมีชีวิต ชีวิตแบบนี้แหละเป็นชีวิตที่ไม่เกิดไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายเนี่ย ถ้าเป็นมรรคเป็นผลก็มีแบบนี้ มันเป็นมรรคเป็นผล มันหลงก็ ทำความหลงให้เกิดความรู้ เรียกว่ามรรคผล กำลังทำความรู้สึกตัวเป็นมรรคเป็นผลอยู่ ยกมือสร้างจังหวะ เวลาที่ยกมือก็เป็นมรรค ยกมือขึ้นรู้สึกตัวเป็นผล ยกสองครั้งก็รู้สองครั้ง ยกร้อยครั้งพันหนก็รู้ร้อยครั้งพันหนอย่างนี้ เป็นมรรคเป็นผลทันที ปฏิบัติธรรมตามแบบสติปัฏฐานมันเป็นมรรคเป็นผลทันทีนะ ไม่ได้รอเลยนะ ถ้าสร้างความรู้ก็ได้ความรู้ เวลาใดมันหลงก็สร้างเป็นความรู้ขึ้นมาเนี่ย มันเป็นมรรคเป็นผลทันอกทันใจ อันนี้นะ ไม่รู้ว่าฟังไหมฟังไหมรู้ไหม รู้ ทำไมไม่รู้ผู้ปฏิบัติธรรมก็พูดเรื่องเราทำอยู่ต่อหน้าต่อตาเนี่ยแหละ ไม่ได้พูดเรื่องอื่น พูดเรื่องงานการที่เราทำอยู่นี้ ผู้ใหม่ ผู้เก่า สรุปแล้วผู้เก่าก็ ก็ผู้เก่าก็ไม่มีคำว่าทำไมทำไม ผู้เก่าก็รู้แล้วรู้แล้ว ผู้ใหม่ก็ยังทำไมทำไม ทำไมเป็นอย่างนั้น สมัยก่อนก็เป็นอย่างนั้น เวลามันหลงทำไมมันถึงหลงหนอ มาหาตัวเองที่มันหลง เวลามันหลงเราอยู่อย่างไหนเมื่อกี้นี่ เราคิดไว้โน้นโอ้ว..ก็เลยไปหา รอยนกจับไม้ นกจับกิ่งไม้มันไม่มีรอย อย่าไปหามัน มันเสียเวลา รู้ทันที รู้ทันทีเนี่ย เป็นอย่างนี้การปฏิบัติธรรม