แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เวลานี้เราพากันมาเจริญสติ มีกรรมมีงานมีการ คนผู้ทำงานก็จะต้องเห็นปัญหาต่าง ๆ ที่มันเกิดขึ้นขณะที่ทำงาน อย่าไปเอาความยากความง่ายมาเป็นเครื่องตัดสินใจ เช่น เราศึกษาเรื่องการทำงาน ได้ข้อมูลได้เหตุได้ปัจจัยต่าง ๆ แต่ว่าเวลาทำจริง ๆ น่ะ มันไม่ใช่ข้อมูลที่เราได้ มันมีสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะทำงานทำการหลาย ๆ อย่าง เช่น เราเดินทางมันก็จะต้องมีความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า แสงแดดละอองฝน ขรุขระน่ะ ที่ก้าวที่เดินบางทีอาจจะสะดุดหลักตอ ถึงล้มถึงเจ็บก็มี นั่นไม่ใช่ปัญหา เป็นลักษณะของผู้เดินทาง ต้องร้อนต้องหนาวต้องเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าไม่ใช่เป็นอุปสรรค สำหรับนักเดินทาง
สมัยก่อนคนโบร่ำโบราณก็เดินทาง แล้วก็จะพูดแต่เรื่องการเดิน ใครเดินเก่ง จากอำเภอหนองเรือ มาอำเภอแจ้งค้อ เดินกี่ชั่วโมง มากินข้าวเที่ยง ออกจากหนองเรือมากินข้าวเที่ยงแก้งคร้อ เขาเล่าเขาลือกัน เราก็อยากเก่งเหมือนเขา เราก็เพียรพยายามที่จะเดินทาง คนที่เดินทางห้าสิบกิโลน่ะ ใช้เวลาเพียงหกเจ็ดชั่วโมง ห้าชั่วโมง หกชั่วโมง เจ็ดชั่วโมง ก็แสดงว่ามีความเพียร เราก็ทำ เวลากินข้าวต้องเดินกิน ห่อเข้าแขวนเอวเดินกิน น่ะมันก็ได้ แล้วเมื่อเราทำได้ เราก็ยังภูมิใจ หรือเราทำไร่ทำนา เราไถ่นาเหลือบยุงลมแดดแสงแดดละอองฝน หนาวบ้างร้อนบ้าง เราก็ลุย ๆ ได้ นี่สำหรับผู้ทำงาน
สำหรับพวกเราผู้ปฏิบัติธรรม มีอะไรเกิดขึ้นในขณะที่เราปฏิบัติ ความง่วงเหงาหาวนอนอย่างนี้ มันก็ต้องมีสำหรับผู้เจริญสติ มันโชว์ให้เราเห็น ความสุข ความทุกข์ ความรู้ ความไม่รู้ ความลังเลสงสัยแสดงว่ามันโชว์ทำให้เราหลง เราจะต้องไม่หลง จะต้องไม่ถูกสิ่งเหล่านั้นหลอก โดยเฉพาะเรื่องกายเรื่องจิต มันจะต้องแสดงให้เราเห็นหลาย ๆ อย่าง บางทีมันเป็นนิสัยมันติดอะไรมา สำหรับชีวิตเราบางทีมันก็สะดวกสบายหลายอย่าง ชีวิตที่ไม่เคยต่อสู้กับอะไร เวลามานั่งใช้วิธีนั่ง ใช้วิธียกมือ ใช้วิธีเจริญสติ โหมันก็ไม่ค่อยติดง่าย จะให้กายให้สติมันติดอยู่ด้วยกันเนี่ย รู้ไปทุกอิริยาบถ มันก็เป็นไปได้ยากสำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึก สำหรับผู้ที่ไม่เคยนั่งสิบนาทียี่สิบนาทีก็เป็นเรื่องยาก ปวดหลังปวดเอวปวดข้อปวดแขน เราจะไปเจอสิ่งเหล่านี้ ทิ้งความเพียร ทิ้งสติก็มีเหมือนกัน แต่บางคนพอไปเจอสิ่งเหล่านี้เข้า ไม่ทิ้งสติแน่วแน่ ติดตามไป ติดตามไป เอาไปเอามา สิ่งที่มันโชว์มันหลอกกลายเป็นของเหลวไหล รู้แจ้ง อย่างบางคนสองวันสามวันนี่ พอได้หลักแล้ว ตามที่ไปถามดู ปัดโถหลวงพ่อ มันเอาจริง ๆ หนอความคิดนี่ หิ้วเราไปสุขทุกข์ก็เกิดจากความคิด เอาสิ่งที่เกิดนิมิตมาเป็นเครื่องตัดสินว่าสุขว่าทุกข์ มันไม่ใช่เสมอไป ถ้าเรามามีสติดูจริง ๆ แล้ว มันถูกหลอก หลอกให้สุข หลอกให้ทุกข์จากนิมิต จากสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ หลอกให้แพ้หลอกให้ชนะ ว่าดีว่าไม่ดี พัดเข้าไป ยากง่ายพัดเข้าไป ถ้าผู้เจริญสติจริง ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สนับสนุนให้เราสูงขึ้น ความยาก ก็ทำให้เรามีสติขึ้น ความง่าย ก็ทำให้เรามีสติขึ้น ความผิด ก็ทำให้เรามีสติขึ้น ความถู กก็ทำให้เรามีสติขึ้น ไม่หวั่นไหวกับสิ่งใด ความรู้สึกตัวนี่ มันไม่เหมือนการทำอย่างอื่น ถ้ามันสุขก็เห็นมันสุขอย่างนี้ ถ้ามันทุกข์ก็เห็นมันทุกข์อย่างนี้ ไม่เสียหาย ถ้ามันหลงก็เห็นมันหลง ไม่เสียหาย ถ้ามันรู้ก็เห็นมันรู้ ถ้ามันสงบก็เห็นมันสงบ ถ้ามันฟุ้งซ่านก็เห็นมันฟุ้งซ่าน ถ้ามันปวดมันเมื่อยก็เห็นมันปวดมันเมื่อย ถ้ามันง่วงเหงาหาวนอนก็เห็นมันง่วงเหงาหาวนอนน่ะ สติมันจะเป็นแบบนี้ ถ้าไปสยบกับสิ่งไหนแล้วไม่ใช่สติ ไม่ใช่สติปัฏฐาน สติปัฏฐานต้องมาตรฐานอยู่เช่นนั้น อะไรเกิดขึ้นก็เป็นสติอยู่เสมอ อะไรเกิดขึ้นก็เป็นสติเสมอ จะเป็นความสุขเกิดขึ้นก็เป็นสติ จะเป็นความทุกข์เกิดขึ้นก็เป็นสติ จะเป็นความรู้ความไม่รู้เกิดขึ้นก็เป็นสติ นี่เรียกว่ามาตรฐาน หรือว่าอมตะ เราต้องสร้างแบบนี้ให้ได้ให้เข้าถึงชีวิตแบบนี้ จึงจะเป็นชีวิตนิรันดร ชีวิตนิรันดรก็คือสตินั่นเองที่มีอยู่กับกายกับจิตใจ
มีสติอยู่กับกายกับจิตใจ กายกับจิตใจก็ได้ฐานได้ที่ตั้ง เหนือสุขเหนือทุกข์ไปทันที บางคนก็เข้าใจ เห็นความคิดที่หลอกตัวเอง เห็นความสุขความทุกข์ที่มันหลอกตัวเอง ก็พัดเข้าไปในความสุขความทุกข์ ที่แท้มันก็คือพวกนี้ ปัญญามันก็เกิดลักษณะแบบนี้แหละ เกิดปัญญาก็เกิดอย่างนี้ ยิ่งเรา ถ้าดูไปดูไปดูกายมันก็มีจริง ๆ กาย เอามาสร้างความรู้มันก็ได้จริง ๆ เอากายไปสร้างความหลงก็มีจริง ๆ เมื่อเราเอากายมาสร้างความรู้ ความหลงมันยังจะแย่งเอากันเกินไป ให้มันเกิดความหลงเรื่องของกาย เรื่องของจิตก็เหมือนกัน เราก็จะต้องเห็น เห็นจุดอ่อนเห็นจุดแข็งที่มันเกิดขึ้นกับเราขณะที่ปฏิบัติธรรม เราก็มีบทเรียนมีประสบการณ์ สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ ถ้าดูดี ๆ ถ้ามีสติมันจะเป็นปัญญา เป็นสิ่งที่รองรับทำให้เกิดปัญญา ทำให้ปัญญางอกงามอยู่บนความหลงต่าง ๆ ตรงกันข้าม มันหลงก็รู้สึกตัว มันเกิดอะไรขึ้นก็รู้สึกตัวนี่ รู้สึกตัวนี่ อย่างนี้เรียกว่าปฏิบัติธรรม จนกว่าความรู้สึกตัวมากเรียกว่าสติอินทรีย์ เป็นใหญ่เป็นธรรมเกิดขึ้นกับชีวิตจิตใจของเรา แต่ก่อนนี้มันตามันหู จมูกลิ้นกายใจรูปรสกลิ่นเสียงมันเป็นอินทรีย์มันใหญ่ มันแย่งกันเป็นใหญ่ ถ้าตามันเป็นใหญ่ก็ไปกับตา ถ้าหูมันเป็นใหญ่ก็ไปกับหู ถ้าจมูกลิ้นกายมันเป็นใหญ่ก็ไปกับกาย ใจมันเป็นใหญ่ก็ไปกับใจ ที่มันถูกปรุง ๆ แต่ง ๆ ไปรับใช้สิ่งต่าง ๆ จนเป็นจริตนิสัย
บัดนี้เรามาขอนิสัย มาขอนิสัยใหม่ ขอนิสัยจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าคือผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน หมายถึงมาสร้างความรู้สึกตัวนี่ มาขอนิสัย มารู้สึกตัว มารู้สึกตัวนี่ เอานิสัยได้นิสัย ง่ายที่จะรู้ ง่ายที่จะรู้ อะไรเกิดขึ้น ก็รู้ ๆ รู้สึกตัว รู้สึกตัวอย่างนี้น่ะ เมื่อรู้สึกตัว รู้สึกตัว ก็ได้นิสัย เป็นสติอินทรีย์ สติอินทรีย์ถ้าได้เป็นใหญ่ก็ได้รับความเป็นธรรม ถ้าใหญ่กว่าตา กว่าหูจมูกลิ้นกายใจ รูปรสกลิ่นเสียง อันนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้สนับสนุนให้เกิดความรู้สึกตัว แต่ก่อนสิ่งเหล่านั้นสนับสนุนให้เกิดความหลง ถ้าเป็นสุขเป็นทุกข์ก็อาศัยนิมิตทำให้เกิดสุขเกิดทุกข์ นิรามิสสุข สุขก็มีนิมิตทำให้สุข ทุกข์ก็มีนิมิตทำให้ทุกข์ เราก็เสียเวล่ำเวลา เสียเวลาไปโกรธไปโลภไปหลง เสียเวลาไปหมกมุ่นครุ่นคิด สิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็น
นี้เรามามีความรู้สึกตัว มามีความรู้สึกตัว เรียกว่า นิรามิสสุข ถ้าเป็นสุข สุขที่ไม่อาศัยนิมิตอันใด อาศัยธรรม อิงธรรม เองสติ อิงความรู้สึกตัวนี่ ต้องสร้างให้มีในชีวิตเรา ถ้าเราไม่สร้างมันมีไม่ได้ จะเอาเหตุเอาผลอันใด ไปแบ่งไปปันกับใครไม่ได้ เป็นปัจจัตตังของใครของเรา
เรามาสร้างอันเนี้ย ภาวะที่จะเป็นชีวิตได้ชีวิตก็เป็นอย่างนี้ สู่ความไม่เกิดไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายก็คือชีวิตแบบนี้ ความรู้สึกตัว ความรู้สึกตัว ไม่มีคำว่าเกิดแก่เจ็บตายในสติในความรู้สึกตัว ไม่มีคำว่าเกิดแก่เจ็บตายในชีวิตแบบนี้ ถ้าจะเป็นการเกิดการแก่การเจ็บการตายก็เป็นอันอื่น คนละภพคนละชาติ สิ้นภพสิ้นชาติคนละภูมิ ความหลงกับความรู้มันคนละภูมิกัน เรียกว่าภูมิธรรม ภูมิศีล ภูมิธรรม ให้ถึงภูมิ ให้มันพึ่งได้ มีจิตมีใจมีสติมันก็พึ่งได้ แต่ก่อนมีใจมันก็พึ่งไม่ได้ เอาใจไว้รักเอาใจไว้ชัง เอาใจไว้โกรธไว้โลภไว้หลง เอาใจไว้วิตกกังวล มันใช้จิตใจผิด ๆ ถ้าใช้ไม่เป็น บางทีมันใช้เราด้วย มีใจมันพึ่งไม่ได้ คุ้มร้ายคุ้มดี คู ๆ แคบ ๆ ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร ไม่มั่นใจตัวเองอย่างนี้ มันจะมีค่าอะไรชีวิตเรา
จิตใจที่เราฝึกดีแล้วเนี่ย จิตตัง ทันตัง สุขาวหัง จิตที่ฝึกดีแล้วนำความสุขมาให้ ถ้าจิตที่ยังไม่ฝึกก็นำความทุกข์มาให้ จิตฺเตน นียติ โลโก โลกอันจิตย่อมนำไป ถ้าเราไม่ฝึกมันก็ย่อมนำไป ถ้าฝึกมันก็นำไปอันอื่น มันเป็นอย่างนั้นจิตใจของเรา จึงเป็นเรื่องที่มีกายมีใจเพื่อให้มาฝึกหัด ถ้าไม่ฝึกหัดมันก็เป็นโทษเป็นพิษเป็นภัย มีภัยที่เกิดกับกายกับใจมากมายอยู่แล้ว ถ้าเราฝึก มันก็ไม่มีภัยเป็นแต่ธรรมชาติ เป็นอาการที่มันเกิดขึ้นธรรมดา ๆ ไม่มีอุปาทาน ไม่ไปยึดไปถือว่าเป็นตัวเป็นตน แต่ก่อนนี้ความร้อนความหนาวก็มีตัวมีตนอยู่ในความร้อนความหนาว เป็นสุขเป็นทุกข์ ความหิวความเจ็บความปวดไปอยู่ตรงนั้น อะไรมาก็ถูกหมด ความเจ็บ ความปวด ความสุข ความทุกข์ ความร้อน ความหนาว ความวิตกกังวล เป็นสิ่งที่ชนได้ไม่มีที่บังไม่มีที่หลบ หมดเนื้อหมดตัวไปกับความสุข หมดเนื้อหมดตัวไปกับความทุกข์ หมดเนื้อหมดตัวไปกับความร้อนความหนาว หมดเนื้อหมดตัวไปกับความเจ็บความปวด ไม่มีที่อาศัยเป็นเป้าให้สิ่งต่าง ๆ ถูกศรถูกยิงเจ็บปวดอยู่เช่นนั้นไม่ใช่ ชีวิตไม่ต้องเป็นอย่างนั้น ชีวิตมันต้องเหนือกว่านั้น ปฏิบัติธรรมเจริญสติจนมันไม่มีภัยจนพึ่งได้ ถ้าเห็นก็เห็นในสิ่งที่มันเกิดขึ้นจริง ๆ เราก็ต้องเห็นแล้ว
เมื่อเราปฏิบัติเมื่อเรามีสติ เห็นความหลงเห็นอาการต่าง ๆ ที่มันเกิดขึ้นกับกายกับจิตใจ ได้หลักได้ฐานเห็นจนเป็นรูปเป็นนาม ถ้าเคลื่อนไหวอยู่นี่ นั่งอยู่นี่ มันเป็นรูปที่มันรู้จักร้อนรู้จักหนาว รู้จักทำโน่นทำนี่ คิดโน่นคิดนี่มันเป็นนามธรรม มันเป็นรูปเป็นนาม มันเป็นก้อนมันเป็นกลุ่มสองกลุ่ม กลุ่มของรูป กลุ่มของนาม มันเป็นธรรมชาติมันเป็นอาการที่เกิดขึ้น ถ้ารูปมันไม่มีร้อนไม่มีหนาวไม่มีปวดไม่มีเมื่อย มันก็ไม่ใช่รูป รูปมันก็ไหลอยู่อย่างนั้น นั่งอยู่นี่มันก็ไหลอยู่ ไหลไปสู่ความแก่ ไหลไปสู่ความเจ็บ ไหลไปสู่ความตาย อันนี้เป็นรูป ไม่มีใครไปห้ามได้ ถ้ามันเจ็บไม่เป็นร้อนไม่เป็น หนาวไม่เป็นเหนื่อยไม่เป็น หิวไม่เป็น มันก็ไม่ใช่รูป โอ้มาเห็นเข้าโอ้มันเป็นอาการของเขา ไม่ใช่ตัวใช่ตนเด็ดขาด เราเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มันเกิดขึ้นกับรูป มีสติสัมปชัญญะ ไม่เอามาเป็นสุขเอามาเป็นทุกข์ เป็นปัญญา ได้ปัญญาเพราะรูปมันแสดง ปัญญาเกิดจากรูปแสดง อาการต่าง ๆ ธรรมชาติต่าง ๆ ปัญญารอบรู้ในกองสังขารของรูป เรียกว่ากายสังขาร เอามาเป็นวิสังขาร รูปมันปรุงแต่ใจไม่ปรุงมันคนละส่วน ความเจ็บที่เกิดขึ้นกับรูป ความเจ็บที่เกิดขึ้นกับนาม แต่ก่อนมันเป็นเช่นนั้น มันทุกข์สองต่อ ถูกศรสองดอก ดอกหนึ่งก็ถูกรูป ดอกหนึ่งก็ถูกนาม เช่น ความหิวรูปมันถูกศร อ้าวไปถูกนามอีก นามคือจิตใจก็เป็นทุกข์ไปอีก ถูกศรสองดอก ปุถุชนนี่ถูกลูกศรสองดอก ศรคือทำให้เจ็บปวด ปุถุชนถูกลูกศรสองดอก สำหรับพระอริยเจ้าพระอริยบุคคลถูกลูกศรดอกเดียว เฉพาะรูปเท่านั้นนามไม่มีถูกไปเลยตลอดจนตายถ้าฝึกหัดได้ ถ้าไม่ฝึกหัดอาจจะนามถูกมากกว่ารูปอีก คอยเจ็บคอยปวดไม่มีอะไรถูกก็เจ็บปวดไป ความคิดคิดขึ้นมาก็ทำให้เจ็บปวด ตัวเองทำลายตัวเอง เหมือนลูกระเบิด ลูกระเบิดมันทำลายตัวเองย่อยยับ มันก็ไปทำลายคนอื่น บุคคลที่ไม่เคยฝึกจิตใจนี่ นามมันทำลายตัวเองแล้ว แล้วก็ไปทำลายคนอื่นอีกมันเป็นอยู่เช่นนี้หรือชีวิตเรา ควรที่จะศึกษาควรที่จะไม่จำนนต่อสิ่งเหล่านี้ เราโกรธกี่ครั้งกี่หน เราทุกข์เรื่องอะไรต่าง ๆ กี่ครั้งกี่หน ควรที่จะหาทิศหาทาง แล้วมันก็มีแล้วพระพุทธเจ้านี่เป็นผู้ที่ค้นพบ จนได้หลุดออกไปตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณสอนคนอื่นให้รู้ตาม
นี่แหละเรามาตามรอยพระพุทธเจ้า รอยพระพุทธเจ้าก็เดินอยู่บนสติ อยู่บนศีลบนสมาธิบนปัญญา รอยของพระองค์เรากำลังตามรอยอยู่ ไม่ใช่รอยพระบาทที่เหยียบก้อนหินที่เป็นรอยอันน่ะ ก็เป็นอันใดอันหนึ่งเราก็ไปกราบไปไหว้ อันนั้นถ้าเราไม่รู้ตรงนี้แล้วก็ประโยชน์น้อย รอยพระบาทจริง ๆ คือเนี่ย ตามความรู้สึกตัวเข้าไปจนเกิดศีล เกิดสมาธิ เกิดปัญญา ศีลกำจัดกิเลสอย่างหยาบ สมาธิกำจัดกิเลสอย่างกลาง ปัญญากำจัดกิเลสอย่างละเอียด เป็นพระก็เกิดตรงนี้ พระก็เกิดตรงนี้ พระสงฆ์เกิดจากพระสัทธรรม มีการปฏิบัติดีเป็นต้น นี่ของจริง เอาของจริงมาศึกษา เอาของจริงมาบอกกัน เอาของจริงที่มันเป็นดุ้นเป็นก้อนมาศึกษา ให้มันเห็น แล้วมันก็เห็น ไม่หลบไม่หลีกไปไหน มันมีอะไรเกิดขึ้นที่รูปที่นามมันก็แสดงให้เราเห็นถ้ามีสติ ถ้าไม่มีสติก็ไม่เห็นเป็นเข้าไปกับมัน ก็เลยพูดแบบให้ได้หลักว่าเป็นผู้ดู อย่าเป็นผู้เป็น เป็นผู้ดูอย่าเป็นผู้เป็น ให้เห็นอย่าเข้าไปเป็น มันร้อนเห็นมันร้อนไม่ใช่เป็นผู้ร้อน นั่นเรียกว่า สักกายทิฏฐิ หมดไปแล้วสำหรับพระอริยบุคคลชั้นต้น อะไรเกิดขึ้นกับรูปกับนาม เห็นไม่เข้าไปเป็น เหนือแล้วเหนือรูปแล้วบัดนี้ ไปแล้วบัดนี้ขึ้นสูงไปแล้ว มนุษย์แล้ว ถ้าเป็นแล้วก็ต่ำลงไปแล้ว ถูกทับถูกถมแล้ว ความร้อนก็ทับถม ความหนาวก็ทับถม ความเจ็บความปวดก็ทับถม ทับถม ความโกรธความทุกข์อะไรต่าง ๆ ทับถมลงไปกี่ชั้นกี่หลืบ
เหมือนพญานาคพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ถาดทองลงไปซ้อนกับไม่รู้กี่ใบ พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก พญานาคก็ได้ยินถาดทองไปซ้อนกันปั๊บ ตื่นขึ้นมา โอ มีพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ขึ้นแล้ว องค์ที่หนึ่งแล้ว กกุสันโธ โกนาคมโน กัสสโป โคตโมศรี อาริยเมตไตรโย องค์ที่ใดแล้วนับ ตื่นที่หนึ่ง ตื่นที่หนึ่ง พอได้ยินเสียงถาดทองซ้อนกันลงไป โอ ตรัสรู้อีกแล้ว แล้วก็หลับไปอีก ซ้อนกันอยู่ตรงนั้น ไม่รู้ไม่ตื่นไม่เบิกบาน หมกมุ่นอยู่ในก้นบึ้งก้นนาค ก้นน้ำก้นดินที่ไหนไม่รู้ เราจึงมายกขึ้นมา ยกขึ้นมา มันหลงเห็นมันหลง ยกขึ้นแล้ว มันสุขเห็นมันสุข ยกขึ้นแล้ว มันทุกข์เห็นมันทุกข์ ยกขึ้นแล้ว มันโกรธมันวิตกกังวลเศร้าหมองมันง่วงเหงาหาวนอน ยกขึ้นแล้ว เห็นมันแล้ว เห็นมันแล้ว เห็นอย่างนี้ เรียกว่าเห็นธรรม เห็นสิ่งมันเกิดขึ้น
ผู้ใดเห็นพระพุทธเจ้า ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาทมันต่อกัน เกิดต่อกัน เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้มันจึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะมันมีรูปมันจึงรู้จักร้อนจักหนาว เราหกล้มเพราะถนนมันเปียก เราล้มเพราะถนนมันเปียกเราจึงล้ม ทำไมถนนมันเปียกเพราะฝนมันตก ทำไมฝนมันตกเพราะมีก้อนเมฆเพราะมีแสงแดด ถ้าจะเป็นปฏิจจสมุปบาท เห็นเหตุเห็นปัจจัยชัดเจน ไม่ใช่กรรมใช่เวรไม่ใช่เคราะห์เข็ญเวรกรรม มันมีเหตุต่อกัน เช่น เราจะเป็นทุกข์มันต้องมีเหตุ ก็แก้ที่เหตุ เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เนี่ย สิ่งต่าง ๆ เกิดแต่เหตุแก้ที่เหตุ คาถาพระอัสสชิสอนพระสารีบุตร พระสารีบุตรได้บรรลุธรรมเลย ปรารภพระอัสสชิ ถือว่าเป็นอาจารย์คนแรก จะถือว่าเป็นอาจารย์ พระอัสสชิบอกว่าไม่อย่าเลย พระพุทธเจ้าเป็นอาจารย์ของเรา พระอัสสชิว่าพระพุทธเจ้าอยู่ตรงไหน พระสารีบุตรถามพระอัสสชิ พระอัสสชิก็บอกว่าโน่นอยู่กรุงราชคฤห์ เข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์โน่น พระสารีบุตรเคารพพระอัสสชิได้ยินว่าพระอัสสชิอยู่ทางทิศใด สอบถามตลอดเวลาแล้วหันหัว เวลานอนหันหัวไปทางทิศพระอัสสชิอยู่ เพราะได้ฟังธรรมที่เป็นความลึกซึ้ง เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา สิ่งต่าง ๆ เกิดแต่เหตุ ดับก็ดับที่เหตุตรงนั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นลอย ๆ เรียกว่าเห็นธรรม เช่น เราโกรธทำไมเราจึงโกรธ โอ้เพราะเราหลง เราทำไมจึงหลง เพราะไม่มีสติ ทำไมเราไม่มีสติ เพราะเราไม่ได้สร้าง ทำไมเราจึงไม่ได้สร้างเพราะเราไม่ได้รู้ ไม่ได้ศึกษา ไม่สนใจ ปล่อยให้โกรธแล้วโกรธอีก หลงจนตาย โกรธจนตาย ทุกข์จนตาย
หลวงพ่อเคยพูดอยู่เสมอว่า ควรที่จะหลง ควรที่จะหลงเป็นครั้งสุดท้าย ควรที่จะโกรธเป็นครั้งสุดท้าย ควรที่จะทุกข์เป็นครั้งสุดท้ายด้วยซ้ำไป เราจะอยู่อย่างไรชีวิตเรา มีค่าอะไรถ้าเรายังอยู่ในลักษณะแบบนั้น นี่แหละทาง ทางชีวิตของเรา ทางชีวิตของเรา เราทำกับมือของเราได้ ทำกับชีวิตของเรา เห็นต่อหน้าต่อตา ความหลงก็เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา มันไม่หลบไม่หลีกไปไหน เราก็เห็นมันซะ ความทุกข์มันเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา มันก็ได้มุดอยู่ใต้ดินที่ไหน มันโชว์ให้เราเห็นอยู่ เราจะต้องแก้ เหมือนรถที่มีสมองดี เวลามันได้น้ำก็บอกว่ามันลุยน้ำต้องช่วยมันซิ เวลาน้ำมันหมด มันก็บอกน้ำมันหมดเราก็ต้องช่วยมัน เปลี่ยนซะ ถ้าใช้มันจริง ๆ นะ ถ้าน้ำมันหมดไฟแดงเข็มมันขึ้นสู่อันตรายเราก็ต้องช่วยมัน มันจึงจะอยู่กับเรา ถ้ามันโชว์แล้วไม่แก้ไม่ไขไม่เปลี่ยนไม่แปลง มันก็ฉิบหาย ชีวิตเราฉิบหาย มันหลงก็หลงอยู่แล้ว มันโกรธก็โกรธอยู่นั่น มันทำอะไร ความโกรธความหลงทำอะไรเรา ชีวิตเราจะต้องยอมรับอย่างนั้น ให้ความโกรธเป็นเจ้าเรือน ให้ความหลงเป็นเจ้าเรือน ให้ความทุกข์เป็นเจ้าเรือน ประโยชน์ของเราที่เกิดมาอะไรตรงไหน นี่แหละปฏิบัติธรรม
ทำไมจึงต้องปฏิบัติธรรม เพราะมันมีอย่างนี้ เห็นไหม เห็นไหม สามสี่ห้าวันเห็นมันหลงไหมเห็นมันสุขเห็นมันทุกข์ไหม เห็นมันเบื่อไหม เห็นมันขี้เกียจขี้คร้านไหม เห็นมันเครียดไหม โอ้มันจะต้องอยู่กับเราตลอดชีวิตหรือ สิ่งเหล่านั้นน่ะ มีสติลงไป มีสติลงไป รู้สึกตัวลงไป รู้สึกตัวลงไป นี่สิ้นภพสิ้นชาติ มันหลงทีไรก็ ทำความรู้สึกตัว ความหลงสิ้นไปแล้ว มันหลงอีกรู้สึกตัวอีก มันจะอยู่ได้ยังไง เหมือนเราปราบหญ้าคาป่าพงที่วัดป่าสุคะโต หญ้าคามีที่ไหนปราบมัน มันเป็นเชื้อไฟ ป่าพงอยู่ที่ไหนปราบมัน มันเป็นเชื้อไฟ แต่ก่อนแถวศาลาหอไตรเนี่ยป่าพงป่าหญ้าคาทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ก็เป็นต้นยางขึ้น พอปลูกยางขึ้นแล้วก็เห็ดระโงก .ก็เกิดขึ้นมา เปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิใหม่แล้วบัดนั้น แถวนี้เปลี่ยนภพภูมิใหม่แล้ว ภูมิป่ายาง ภูมิเห็ดระโงก ภูมิร่มเย็น ไม่มีไฟเข้ามาได้แล้วบัดนั้น มันไม่มีเชื้อ มันไม่มีเชื้อ เปลี่ยนภพภูมิให้กับตัวเรา จะไปยอมมันทำไม เราต้องเป็นเจ้าของกายของใจ สติสัมปชัญญะคอยดูแล คอยช่วยเหลือ คอยเฝ้าดู
เหมือนเรามีบ้านมีเรือนมีเจ้าของดูแล อะไรที่มีเจ้าของดูแล สิ่งเหล่านั้นก็ปลอดภัย ไม่ใช่เถื่อน ของเถื่อน ของสาธารณะ เขาทำให้เราโกรธเราก็โกรธโอ้ยมันสาธารณะ มันไม่ใช่เรา เขาทำให้เราหลง เราก็หลงโอ้ยสาธารณะ สำส่อน ถ้าเป็นจิตก็เป็นจิตสำส่อน คิดอะไรก็ได้ มันโสเภณีจิต เขาหอบหิ้วไปไหนก็ได้ จะคิดอะไรก็ได้ เขาคิดให้รักก็รัก เขาคิดให้ชัง เขาคิดให้โกรธ เขาคิดให้ทุกข์ เรียกว่า โสเภณีจิต เป็นจิตที่ต่ำต้อย ต้องเป็นจิตที่ไม่เป็นโสเภณี เป็นจิตที่เป็นชัดเจนแม่นยำ ของมีเจ้าของดูแลปลอดภัยอยู่ทุกโอกาส น่ะเดี๋ยวนี้เราดูแลตัวเราไม่ค่อยเป็น ปฏิบัติธรรมคือมาดูแล กายใจของเรา อยู่กับกายกับใจให้อยู่นาน ๆ รักกายรักใจ รักตัวเอง รักตัวเองนี่นะเอาจริง ๆ มันประเสริฐกว่ารักคนอื่น ถ้ารักตัวเองเป็นแล้ว ก็รักคนอื่นได้ง่าย ถ้าช่วยตัวเองเป็นแล้ว ก็ช่วยคนอื่นได้ง่าย ถ้าดูแลตัวเองคุ้มแล้ว ก็ดูแลคนอื่นคุ้ม ถ้าดูแลตัวเองไม่คุ้มแล้วโอ้ย มันก็จะมีอะไรที่จะต้องไปบอกไปสอนคนอื่น
พระนักสอนธรรมะยังกินหมาก ยังสูบบุหรี่ ยังโกรธอยู่ คนผอมขายยาอ้วน ไม่ใช่ ต้องทำให้เขาดูต้องอยู่ให้เขาเห็น ต้องพูดให้เขาฟัง อะไรที่เราทำได้ยังไงก็สอนอย่างนั้น เรารู้สึกตัวเรามีสติ ก็สอนให้คนอื่นมีสติ ถ้าสติอยู่กับเรา กับสติอยู่กับเขาก็อันเดียวกัน เช่น เรามาพลิกมือรู้สึกตัวนี่ รู้ไหม รู้ไหม เอออันเดียวกัน ความรู้สึกตัวไม่เป็นหญิงไม่เป็นชาย ความรู้สึกตัวไม่เป็นฆราวาสญาติโยม ความรู้สึกตัวไม่เป็นหนุ่มไม่เป็นสาวไม่เป็นคนแก่ เป็นความรู้สึกตัว การเดินก็คือความรู้สึกตัว การยกมือก็คือความรู้สึกตัว การหายใจก็คือความรู้สึกตัว ความรู้สึกตัวไปอยู่กับกาย ยึดกายยึดจิตไปเลย มีแต่ความรู้สึกตัว อะไรก็ตามมีแต่ความรู้สึกตัว มีแต่ความรู้สึกตัว เมื่อมีแต่ความรู้สึกตัว อะไรมันจะเกิดขึ้น พิสูจน์กันตรงนี้ พิสูจน์กันตรงนี้
พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ .ผู้ใดมีสติต่อเนื่องหนึ่งวันถึงเจ็ดวัน หนึ่งเดือนถึงเจ็ดเดือน หนึ่งปีถึงเจ็ดปี จะเกิดพระอริยอานิสงส์สองประการ หนึ่งเป็นพระอนาคามี ผู้มีภพอันเดียว สองเป็นพระอรหันต์ ผู้สิ้นภพ คำว่าภพเดียวนี่หลงปั๊บไม่หลงอีกแล้วเรื่องนี้ โกรธปั๊บไม่โกรธอีกแล้วเรื่องนี้ ภพเดียว พระอนาคามี มีภพอันเดียว ไม่ใช่ตายแล้วเกิด เกิดแล้วมาปฏิบัติธรรมอีก แล้วตายไปอีก เกิดมาแล้วมาปฏิบัติธรรมอีก จึงค่อยจะได้บรรลุธรรมไม่ใช่ มันหลงแป๊บเดียวแล้ว โอ้ยแม่นจริง ๆ ชื่นใจเห็นความหลง มันทุกข์มันก็เห็นก็ชื่นใจเห็นความหลง มันโกรธก็ชื่นใจเห็นความโกรธ ปัดโถ่ ๆ ปัดโถ่ ปัดโถ่เรียกว่าพุทโธน่ะ พุทโธ ๆ พุทโธน่ะเราเอามาบริกรรม ที่จริงมันตื่นทุกข์ มันตื่นทุกข์น่ะ นี่เราโกรธกี่ครั้งกี่หนเรื่องเราโกรธกี่ครั้งกี่หน บางทีโกรธแล้ววันนี้ อ้าวไปนอนอยู่บ้านจังหวัดบุรีรัมย์ อ้าวคิดถึงเรื่องนั้นโกรธอีกอ้าว นอนอยู่บ้านคิดถึงเรื่องนั้นโกรธ อ้าว มาสุคะโตคิดถึงเรื่องนั้นโกรธอีก คิดถึงเรื่องนั้นหลงอีก คิดถึงเรื่องนั้นรักอีก คิดถึงเรื่องนั้นชังอีก ตัวเองทุกข์อยู่นั่นน่ะ เอาเรื่องเก่ามาคิดแล้วก็ปรุง ๆ แต่ง ๆ เรื่องเก่า เรื่องเก่า ย้ำคิดเรื่องเก่า บางทียิ่งคิดมาก ถ้าเรื่องใดที่ทำให้เป็นทุกข์ ทำให้โกรธ เอามาคิดเก่ง ความสุขมีเยอะแยะ ความไม่โกรธมีเยอะแยะ ไม่ได้เอามาคิดเลยบางคน ชอบคิดแต่เรื่องที่ทำให้โกรธทำให้ทุกข์ เขาว่ากับเรา เขาว่ากับเรา ทำไมถึงทำอย่างนั้น ทำไมถึงทำอย่างนี้ มันติดน่ะ มันติด เขาเรียกว่า วิบากกรรม ไม่สิ้นกรรม เอามาคิดอยู่เรื่อย เอามาคิดอยู่เรื่อย เรียกว่ามีกรรมติดตาม กรรมติดตาม กรรมตามทันไม่สิ้นเวรสิ้นกรรม
รู้สึกตัวนี่ลบกรรมแล้วตัดกรรมแล้ว ใครจะเป็นยังไงก็ตามรู้สึกตัว อะไรที่มันวับไปคิดไปโน่นรู้สึกตัวนี่ ทำให้กรรมมันสิ้นไป แม้มันมีอยู่ก็เบาบางกรรมเบาบาง กรรมเบาบาง ความรู้สึกตัว ความรู้สึกตัว ถมลงไปถมลงไป ถ้าจะเปรียบเหมือนน้ำที่มันไหล โยนกระสอบทรายลงไปตุ้มลงไป อ้าวหายแวบไม่เห็นเลย โอ้ยหมดหวังแล้วไม่รู้อะไรแล้วปฏิบัติมานี่สองวันสามวันไม่รู้แล้ว อ้าวกระสอบทรายมันไปนอนอยู่ก้นน้ำโน้น มันก็ทำหน้าที่ของกระสอบทรายหนึ่งกระสอบ โยนลงไปอีกสองกระสอบ โยนลงไปอีก โยนลงไปอีก กระสอบทรายที่โยนลงไปไม่เสียหายไปไหนมันก็ทำหน้าที่ โยนไปโยนมา ถมลงไปเลยสองวันสามวันโยนลงไป อ้าวไปมาก็พ้นน้ำขึ้นมา พ้นขึ้นมา โอ้ ก็ขวางกั้นได้ เต็มลงไป ความรู้สึกตัวเป็นสิ่งที่ขวางกั้นบาปอกุศลทั้งหลาย ให้มันเต็มขึ้นมา เต็มขึ้นมา เต็มขึ้นมา เอาไปเอามาก็เป็นเขื่อน เป็นเขื่อนขวางกั้นกิเลสธรรมทั้งหลายได้เหมือนกัน อย่าไปประเมิน รู้สึกตัวลงก็เป็นความรู้แล้ว รู้สึกตัว รู้สึกตัว รู้สึกตัว นี่เราทำกับมือของเรา ทำกับตา เราทำกับชีวิตของเรา มันหลงก็เห็นของความหลงจริง ๆ เราก็เปลี่ยนความหลงเป็นความรู้ได้จริง ๆ นี่มั่นใจ มันทุกข์ก็เห็นมันทุกข์จริง ๆ ก็เปลี่ยนความทุกข์เป็นความรู้ทันทีนี่ ก็อย่างนี้นะเรียกว่าปฏิบัติธรรม
ปฏิบัติธรรมคือเปลี่ยน ภาวนาคือเปลี่ยนร้ายเป็นดี เปลี่ยนผิดเป็นถูก เปลี่ยนหลงเป็นรู้ เปลี่ยนทุกข์เป็นรู้ เปลี่ยนสุขเป็นรู้ อะไรก็ตามเปลี่ยนมาเป็นอันเดียว เปลี่ยนมาเป็นอันเดียว มันจะอยู่ได้ไหมล่ะ ถ้าทำอย่างนี้ สำหรับธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน พระธรรมสามารถปฏิบัติได้ ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ผู้ปฏิบัติต้องรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรติดตามสมควรแก่ผู้ปฏิบัติ อย่าไปอ้อนวอน อย่าไปอธิษฐานอะไรทั้งหลาย ต้องทำลงไปกระโจนลงไปจริง ๆ ยกมือรู้สึกตัว เดินรู้สึกตัว หายใจรู้สึกตัว เอามันเรื่องเดียวนี่ มันจะเกิดอะไรขึ้น ให้มีกรรมมีการกระทำจริง ๆ
สิ่งที่มันเกิดขึ้นขณะที่เราทำความเพียรนั่นแหละก็ให้เห็นมันซะ จะได้ไม่หลงกับมันอีก มันหลงให้สุข มันหลงให้ทุกข์ มันหลงให้ขี้เกียจขี้คร้านเบื่อหน่าย มันมารนั่นน่ะ กิเลสมาร ขันธ์มาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร เทวบุตรมาร คิดถึงที่นอนหมอนมุ้ง คิดถึงอาหารบ้าน คิดถึงความสะดวกสบาย ที่บ้านสะดวกกว่าอยู่นี้ อยู่วัดป่าสุคะโตน้ำแดง ๆ อาหารก็จำเจ ก็เดินอยู่อย่างนี้ อยู่ที่บ้านนั่งห้องได้อะไร เทวบุตรมารก็ขวางกันเหมือนกันนะ อ่อนแอ คิดถึงแต่ความสะดวกสบาย เช่น พระพุทธเจ้า นับประสาอะไรกับพวกเรา ปราสาทสามฤดู ฤดูฝนอยู่หลังหนึ่ง ฤดูร้อนอยู่หลังหนึ่ง ฤดูหนาวอยู่หลังหนึ่ง เวลานั่งพระองค์ไปนั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ย่อมคิดถึงปราสาทสามฤดู คิดถึงสาวสนมกำนัลใน คิดถึงพิมพา ราหุล เมียสวยลูกน่ารัก คิดถึงทรัพย์สินศฤงคาร คิดถึงพระราชบิดา บริวารทั้งหลาย ย่อมคิดไปโอ้เทวบุตรมาร มานั่งอยู่ในต้นโพธิ์ลมพัดก็ถูกละอองฝนก็ถูกฝนตกมาก็เปียก บางทีเหลือบยุงลิ้นไรงูเลื้อยมา สัตว์เลื้อยมาสัตว์ต่าง ๆ สมัยก่อนอยู่นี่เหมือนกัน งูเห่าดงน่ะขู่เก่ง เดินไปห้องน้ำ เวลานั่งอยู่ในห้องน้ำ มันขู่เรา ขู่ ๆ ขู่ บางทีมีไก่มันก็กัดไก่ตายเอามา กัดแล้วมันก็ขู่เรา เราก็อยู่คนเดียว โอ้ถ้าเราจะไปฆ่ามันก็ไม่ได้หนอ มันขู่เก่งสมัยก่อน เก้งก็เห่าเก่ง ช้างก็ขู่เก่ง อะไรต่าง ๆ คิดก็โอ้หนีไปกลัว กลัวตาย มัจจุมารกลัวตาย กลัวเป็นไข้มาลาเรีย กลัวงูกัด กลัวต้นไม้ล้มทับ เวลาลมมาหนีไปไหนไม่ได้ ต้นไม้ล้มครึ้มค่ำครึ้มค่ำ กลัวอะไรก็กลัวหมด ความกลัวคิดขึ้นมากลัว มีไหมคิดขึ้นมากลัวมีไหม มีก็คิดขึ้นมาแล้วกลัว กลัวเพราะคิดตัวเอง ยังไม่เป็นไรก็กลัวแล้ว คือติดอะไรมา ติดบุหรี่ ติดเหล้า ติดสุข ติดทุกข์อะไรมา ขันธ์มาร รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โอ้ยสังขารไม่ดีปวดหลังปวดเอวหลวงพ่อ นั่งขัดสมาธิก็ไม่ได้ ไปทำไม่ได้ ถ้าคิดเรื่องขันธ์เจ็บปวด อู้ยไปคิดทำไม นั่งไม่ได้ก็นอน นอนไม่ได้ก็นั่งเก้าอี้ทำก็ยังได้ ห้อยขาก็ได้ เหยียดขาก็ได้ พับเพียบก็ได้ ขัดสมาธิก็ได้ มีอิริยาบถเยอะแยะที่เราจะต้องสร้างสติ ไม่เกี่ยวกับรูปแบบอันใด
ถ้ามีสติเรามาฝึกอันนี้เพื่อให้เกิดสติ ทุกคนก็ต้องมีโอกาสปฏิบัติ ถ้ายังหายใจได้อยู่ปฏิบัติได้ กระพริบตาได้อยู่ กลืนน้ำลายได้อยู่ปฏิบัติได้ เหมือนอาจารย์กำพล เขียนจดหมายมาถึงหลวงพ่อ เขาว่าเขาเป็นคนพิการมีแต่อิริยาบถนอนอย่างเดียวทำอะไรไม่ได้ เขาบอกปฏิบัติธรรมได้ไหม เขาบอกว่าได้หายใจอยู่ก็ปฏิบัติได้ รู้สึกตัวขณะหายใจเข้าหายใจออก เขาก็ปรากฏว่าเขาทำได้ จนเขาบอกว่าร่างกายพิการแต่จิตสดใส ร่างกายพิการ