แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
จะมีเรื่องเดียวเท่านี้แหละที่เราจะต้องลำดับลำนำ มีความจำเป็นเหมือนกัน เกี่ยวกับการบอกการสอน ธรรมะ คนอื่นสอนบ้าง เราสอนตัวเราบ้างได้หลาย ช่วยตัวเองหลายช่องหลายทาง โดยเฉพาะการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมคือการเจริญสติ การเจริญสติก็คือเอากายมาสร้าง มาเป็นนิมิตมาเป็นเครื่องหมาย ไม่ใช่คิดรู้ คิดเข้าอกเข้าใจ ไม่ใช่ความคิดรู้ เรียกว่าคิดเห็น การสร้างการประกอบเรียกว่าพบเห็น ให้มันเป็นของที่พบเห็น จึงจะเป็นปัญญา ใครคิดเห็น ใครคิดเห็นก็ได้ แต่ไม่จริงมันอยู่ไกลเกินไป จะหาคำตอบจากความคิด เอาผิดเอาถูกกับความคิดไม่ถูกเสมอไป วิธีปฏิบัติจึงไม่ได้สอนให้คิด ท่านจึงเรียกวิชานี้ว่า วิชากรรมฐาน วิชาแห่งการกระทำ ให้ทำเอา เราก็มีกาย เอากายมาเป็นวัสดุอุปกรณ์ สร้างความรู้ ให้มีความรู้อยู่กับกายมันเป็นของจริง กายก็มีอยู่จริง ความรู้ก็มีอยู่จริง อิริยาบทที่เราสร้างรู้เป็นครั้ง เป็นครั้ง อย่าหลงพลัดเข้าไปในความคิด บางทีความคิดมันก็รู้ก่อน ถูกก่อน ผิดก่อน บางทีมันพยายามที่จะหลอกเรา อย่าไปเอา อย่าไปคิดรู้ บางทีมันก็รู้นะ อย่างหลวงปู่เทียนสอนให้รู้จักรูป รู้จักนาม ท่านก็เอารูปมาให้ดู เป็นรูปอยู่ในหนังสือ เอ่อ อันนี้คืออะไร อันนี้ก็คือรูป นามมันอยู่ตรงไหน อันนี้มันมีนามไหน เราก็บอกว่าไม่มีนาม จับก้อนดิน ก้อนหินกันมา อันนี้เป็นรูปอะไร รูปก้อนดินมีนามไหม มันไม่มีนาม ถ้าเราคิดรู้ไป มันก็รู้ เราคิดรู้ก็รู้ไป ต้องบอกตัวเองว่าหยุดก่อน หยุดก่อน อย่าเพิ่งไปเอาความรู้จากความคิด หยุด หยุด หยุด มันจะคิด รู้ไปต่างๆนาๆ กลายเป็นจินตญาณ เราก็หยุด โอ๊ย ไม่ไหว ไม่ไหว ไม่ไหว มันรู้มากแล้วเนี่ย กลับมา มาสร้าง มาสร้างสติ มาสร้างความรู้สึกตัว
โอ้ นี่ ให้เห็นนี่ กายที่มันเคลื่อนมันไหว ไม่ใช่คิดเห็น ไม่ใช่คิดรู้ มันสัมผัส พลิกมือขึ้น มันก็พลิกมือ กริยาที่พลิกมือก็มีจริงๆ รู้ก็รู้จริงๆ รู้แล้วจริงๆ รู้แล้วว่ามือเราตั้งไว้อยู่ ยกมือขึ้นก็รู้แล้วว่ามือเรายกอยู่ โอ้ว รู้เป็นครั้ง เป็นครั้งไปกับรูปแบบสิบสี่จังหวะ รู้ไป รู้ไป เอามา เอามาก็กลายเป็นภาวะที่ดู เป็นภาวะที่เห็น เห็นการเคลื่อนเห็นการไหวของมือ เอาไปเอามาก็เห็นการเคลื่อนการไหวของจิตที่มันคิด การเคลื่อนไหวของจิตที่มันคิดก็เป็นการเคลื่อนไหวเหมือนกัน แต่เราไม่ไปใช้การเคลื่อนไหวแบบนั้นเป็นการสร้าง เอามาสร้างโดยการเคลื่อนไหวของมือ ถ้ามันเคลื่อนไหวที่เกิดจากความคิดเราก็ไม่ไปกับมันเราก็กลับมา ไม่คอยจ้องที่จะเมื่อไหร่ที่มันคิดจะได้รู้มัน ก็ไม่ถูกอีกล่ะ ความคิดที่ไม่ต้องไปรอ ไปคอย ไปหา ไปจ้อง เหมือนเราจะเข้าประตูคอกเป็ด คอกไก่ที่ปิดเอาไว้ ที่เปิดออก เดี๋ยวมันจะออกมา อันนั้นก็ไม่ต้องไปคิด มันจะคิดขึ้นมาเองให้มันเห็นจังๆ เห็นความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจ ความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจเนี่ย ถ้าเห็นจังๆเนี่ย มีประโยชน์มากๆ ถ้าครึ่งหลงครึ่งรู้จะไม่มีประโยชน์ ความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจมันก็จะหลอกเราไปอีกเรื่อยๆ ถ้าเห็นความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจเห็นแล้ว ยิ้มไว้ลึกๆ รู้สึกว่ามันได้ ได้หลักก็ว่าได้ แล้วอะไรที่มันเกิดขึ้นจากกาย จากจิต มันเป็นอาการอะไรเกิดขึ้นกับกาย กับจิต เช่นมันปวด เราก็เห็นอีกแล้ว ไม่ต่างกันกับเห็นความคิด ไม่ต่างกันกับเห็นการเคลื่อนไหว เรารู้สึกตัวเข้าไปเกี่ยวข้อง ความปวด ความเมื่อย ก็เป็นอาการที่มันเกิดขึ้นกับกายกับจิต ความร้อน ความหนาว มันเกิดขึ้นกับกายกับจิต ความหิวมันเกิดขึ้นกับกายกับจิต ความสุข ความทุกข์มันเกิดขึ้นกับกายกับจิต
ลักษณะของผู้สร้างสติก็เห็น เห็น เห็นลักษณะที่เห็นนี่เหมือนกัน กับเห็นการเคลื่อนไหวของกาย เพราะมันเป็นการเคลื่อนไหวของกายเหมือนกัน ความร้อน ความหนาวมันเป็นอาการที่มันเกิดขึ้นแล้วว่า อาการแบบนั้นเราไม่ได้เจตนา มันเกิดขึ้นมาเองแล้วก็เห็น แต่การเคลื่อนไหวที่เรายกมือสิบสี่จังหวะนี้ เราเจตนา อันนี้ต้องรู้แน่นอน อันที่มันเกิดขึ้นจากอริยาบทอื่นๆ บางทีนั่งอยู่เฉยๆ ยกมือไปจับไม้ ยกมือไปโน่นไม่ได้เจตนา ก็รู้เหมือนกันก็สอนตัวเราเหมือนกัน ไม่ใช่จะยกมือไปสุ่มสี่สุ่มห้า ลำดับ ลำนำ การฝึกตนนี่ จับเงื่อนจับไขอะไรที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ก็หัดไป หัดไป บางครั้งบางคราวมันก็ทำให้เราฝึกหัดไปหลายๆอย่าง การเจริญสตินี่ ฝึกหัดกาย กายก็มีมากมายหลายอย่าง ฝึกหัดจิต จิตก็มีมากมายหลายอย่าง คอยจับรู้ คอยจับรู้ จับเห็นมัน คอยดูที่มันจะแสดงออกมา บางอย่างมันแสดงออกมาก็ยากหน่อย เช่นความง่วงเหงาหาวนอน บางทีเราก็ไปเกี่ยวกับความง่วงไม่เป็นก็ ยากหน่อย ถ้าเราทำเป็นเกี่ยวข้องเป็นมันก็ไม่ยาก ความง่วงที่มันเกิดขึ้นมาทีไร แล้วก็เข้มแข็งตรงนั้น เข้มแข็งตรงนั้นอย่าให้ความง่วงมันครอบงำ อาจจะลืมตามองไปไกลๆ มองท้องฟ้า มองก้อนเมฆ มองทิศต่างๆ มองยอดไม้ ทำความรู้สึก กลับมากำหนดมือ เคลื่อนมือไหว ทำความรู้สึกว่ามันเป็นกลางวัน ทำความรู้สึกว่ากลางวันไม่ใช่เวลานอน กลางคืนจึงเป็นเวลานอน ก็โต้มันไป โต้มันไป แล้วมาสร้างสติ ยกมือสร้างจังหวะ มันยังง่วงอยู่ ก็อ้าว ลุกขึ้นด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใสไม่ใช่อ่อนเพลีย เข้มแข็ง เป็นความเข้มแข็ง เห็นแล้ว เห็นแล้ว แต่นี่เป็นอาการนิวรณธรรมเป็นภูเขานะ
พระพุทธเจ้าคงพบอาการเช่นนี้เกิดขึ้นกับพระองค์เหมือนกัน จนพระองค์ได้ตรัสว่า ภูเขาลูกแรกกางกั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณงามความดี ถีนมิทธะ ภาษาบาลี ภาษาบ้านเราก็คือความง่วงเหงาหาวนอน บางทีมันก็มีกลุ่มของเขาเป็นพลังที่จะทำให้เราพ่ายแพ้ได้ อุทธัจจะกุกกุจจะ กุกกุจจะนี่ความคิดเหมือนกับไก่เขี่ย กุกกุจคือไก่ ความคิดเหมือนกับไก่เขี่ย มันก็มาร่วมทางอีกทำให้เราหลง หรือบางทีก็เกิดพยาบาท ลำดับกันไปสิบปี ยี่สิบปี อัสสาทะหรือสาทะกับเรื่องใด อะสาทะคือไม่พอใจเรื่องใด บางทีก็ติดมาด้วย มันจะมาฉายให้เราดู เวลาเราปรารภความเพียร หรือสาทะ ความพออกพอใจเรื่องใดที่ผ่านมามันก็มาฉาย อาจจะคิดเห็นหน้าคนรัก อาจจะคิดเห็นสิ่งที่ชอบใจ เสียงเพลง เสียงอะไรดนตรี มันก็มีสาทะพอใจ แล้วก็พยาบาทมันเกิดขึ้นมา เราก็รู้ รู้ครั้งที่หนึ่งอาจจะไม่ชัดเจน ถ้าเราตั้งไม่ถูก มันเห็นไม่ชัด แต่ถ้าเรามีสติจริงๆ มันจะเห็นชัด อย่างน้อยมันก็หลอกเราไม่ได้ถึงร้อยครั้งพันหน ความง่วงเหงาหาวนอนเนี่ย แต่ถ้าเราไม่ทำให้แจ่มแจ้ง ขณะที่อาการต่างๆเกิดขึ้น นอกจากการเจริญสติ ไม่ทำให้แจ่มแจ้ง มันก็หลอกเราไปเรื่อยๆนะ ไม่มีที่สิ้นสุด ต้องทำให้แจ้ง มันก็หลอกไม่ได้ มันกลัวความแจ้ง ความหลง ความมืด เหมือนโจรผู้ร้ายมันกลัวความแจ้ง มันชอบความมืด พอมันจะหลอก มันทำให้ง่วง มืด แล้วมันก็หลอก พอไปคิด มันมืดมันก็หลอกไป กลายเป็นตัวเป็นตนไปกับอาการต่างๆ ก็เลยกลายเป็นเรื่องยาก ปวดหลัง ปวดเอวก็ยาก ความคิดก็ยาก เกิดญาณหอบเสื่อ หอบกระเป๋ากลับบ้านก็มี อะไรก็ยาก อะไรก็ง่าย ไปถึงความยาก ไปถึงความง่าย เป็นแดนหนึ่งเหมือนกันนะ สู้ไม่ได้ เมื่อมันยากทีไรก็เป็นเรื่องที่เรายากเสียแล้ว แต่ถ้าเราเจริญสติจริงๆนะ เห็นความยาก เห็นความง่าย เห็นความสุข เห็นความทุกข์นี่ สบายเลย ถ้าทำได้อย่างเนี่ย ก็ต้องเป็นอย่างนี้แน่นอน ผู้เจริญสติถูกทิศถูกทาง ต้องเกิดอาการเห็น บางที ทำตรงนี้ไม่ถูกต้อง เวลามันทุกข์ก็ทุกข์นั่นแหละ ก็บอกว่าให้เห็นมันทุกข์ก็ยังเป็นผู้ทุกข์อยู่ มันทุกข์ดูหน้าตาก็บูดบึ้งตึงเครียด มันก็ไปเจอความทุกข์ ความทุกข์ก็ครอบงำ พลิกล๊อคนิดหน่อย พลิกล๊อค นิดเดียว ก็กลายเป็นบรรลุธรรมตรงนั้นก็ได้ เห็นความทุกข์ ปั๊ดโธ่ ความทุกข์ มันถูกหลอกทำให้เป็นทุกข์ ถ้าเรามีสติจะเห็นว่ามันทุกข์ ภาวะที่เห็นว่ามันทุกข์เนี่ย มันจะเกิดญาณตรงนี้ได้เหมือนกัน หยั่งรู้ เห็นทุกข์ไม่ใช่ของเลวทราม เห็นทุกข์เป็นของดีอันประเสริฐ เห็นของจริงอันประเสริฐ แต่ว่าบางคนทำตรงนี้ไม่แจ้ง ก็กลายเป็นคนผู้ทุกข์ไปเลย ทำความเพียรก็ด้วยความทุกข์ ความยาก ความลำบาก ถือว่ายากไปเสียแล้ว เอาจริงๆไม่ได้ยากนะ ทำความเพียร การเจริญสติไม่ได้ยาก ก็ออกมาเหนือความยาก ขี่คอบนความยาก ความยากไปถึงไหนเราก็ขี่คอมัน ความง่ายไปถึงไหนก็ขี่คอมัน ความทุกข์ไปถึงไหนก็ขี่คอมันบนความทุกข์ ถ้าเราดูนะ มันไปไม่รอดถ้าเราเห็นน่ะ ถ้าเราไม่เห็นน่ะ มันจะหลอกไปเรื่อยๆ
ภาวการณ์เจริญสติเนี่ย อิริยาบทเนี่ยมันช่วยเราได้ สำหรับผู้ยังไม่มีอารมณ์กรรมฐานเบื้องต้น อาศัยการเคลื่อนไหวลำดับลำนำ ถ้าผู้มีอารมณ์กรรมฐานรู้จักรูปรู้จักนาม ก็บอกอยู่เนี่ยให้ดูอาการ เห็นรูป เห็นอาการของรูป เห็นอาการของนาม แม้บางคนอาจจะไม่เห็นรูปเห็นนามก็ตาม มันก็จะเห็นแล้วแหละ แต่เรายังไม่รู้ว่าเราเห็นรูปเห็นนาม เรามีศีลเราไม่รู้ว่าเรามีศีล แต่ศีลก็ช่วยเราอยู่ เรายังไม่รู้ว่าเรามีศีลก็มีเหมือนกัน มันจึงปฏิบัติธรรมกันไปมันไม่ถูก มันไม่ผิดหรอก ถ้าเรามีสติเนี่ย อย่าไปเอาผิด อย่าไปเอาถูก มันเป็นภาวะที่ดูเข้าไปเลย ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นก็เห็นเข้าไปเลย ไม่เป็นเลย รู้ ไม่ได้อยู่ ภาวะที่ดูก็ไม่ได้ไปอยู่กับอะไร ภาวะที่เห็นนี่ก็ไม่ได้เป็นกับอะไร ดูตะพึดตะพือ เคลื่อนไหวก็เป็นการดู เหมือนกับตา ยิ่งเคลื่อนไหว ยิ่งเห็นเคลื่อนไหวก็ยิ่งสว่าง ตาคมเข้าไป พอเราดูอะไรเราชำนิชำนาญเรื่องบ้านเรื่องเรือนของเรา ไปไหนมาเนี่ยตาเรามันคม พอดูปั๊บก็รู้แล้วว่า เหมือนตาหลวงพ่อเมื่อวานหมอประสาทรับมา พอเดิน ขับรถผ่านหน้าวัดก็มองเห็นต้นไม้ อ้อ แสดงว่าต้นไม้มันขาดน้ำ แต่มันจบไปแล้วตามันคม ถ้าต้นไม้มันขาดน้ำ เราก็ต้องให้น้ำ เพราะตามันคม การเจริญสตินี่ การเห็นบ่อยๆ การเห็นบ่อยๆ มันคมนะตา เห็นโลกเห็นกายเคลื่อนไหว เห็นอาการต่างๆ ถ้าเห็นแล้วเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นถูกต้อง ไม่ได้ไปเสียเวลา เช่นเวทนา ถ้ามันปวด มันเมื่อย ก็เห็นอย่างถูกต้องแล้ว เห็นแล้ว เห็นแล้วอย่างถูกต้องแล้ว เวทนามันก็เป็นอย่างนี้ บางทีอาจจะขอบคุณเวทนา ที่เขาแสดงออกมารับ
ถ้าสมมติว่าเรานั่งอยู่สองชั่วโมงแล้วยังไม่ได้เคลื่อนไหว ยังไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบท มันปวด มันก็เห็นเป็นเรื่องเบาๆถ้าเห็นนะ เบาๆกว่าภาวะที่เป็น ถ้าเป็นผู้ปวด โอยย จะต้องอดต้องทนไปอีก เพื่อนเขายังไม่เปลี่ยนเราจะเปลี่ยนหรือ อดเอาทนเอา เป็นผู้ปวด เป็นผู้เจ็บ เอ๊ามันก็เจ็บมากขึ้น ถ้าเราเห็นเราก็กลับมาดูกายเคลื่อนไหว เออเห็นแล้ว เวทนาก็ขอบคุณ มันปวด มันเมื่อย มันเป็นความถูกต้องของเขา เป็นความถูกต้องของเขาที่สุดที่เขาปวดเขาเมื่อยเรานั่งทับขา นั่งนานเกินไป นอนนานเกินไป เดินนานเกินไป ยืนนานเกินไป วิธีที่เราทำพวกเราทำนี้ ใช้ สองอิริยาบท แต่บางแห่งที่เขาทำนี้ใช้ทุกอิริยาบทนะ นี่ก็นอนแข่งขันกัน บางทีก็ยืนแข่งขันกัน ยืนเป็นครึ่งวันก็มีเหมือนกัน ยืนอยู่สำนักวัดพระอาจารย์ธัมมธโร ยืนเป็นครึ่งวันก็มี อริยาบทบางอย่างไม่จำเป็น ให้รู้สึกตัวขณะที่เท้าเหยียบดิน รู้ยืน รู้ยืน รู้ยืน ไม่จำเป็นถึงกับไปยืนนานขนาดนั้น เราต้องขยันรู้ อริยาบทที่รู้ รู้เอา รู้เอาแบบนี้จึงจะมาก พลิกมือ ๑๔ จังหวะ รู้ ๑๔ ครั้งแล้ว ถ้าไปยืนไม่รู้จะนับตรงไหน รู้ รู้ รู้ มันไม่ออกตัว มันไม่ออกไปดู ว่าจะอยู่กับการยืนหรือ หาวิธีที่เราทำจึงอาศัยอิริยาบทเนี่ย เป็นการเก็บเอาความรู้ เป็นการเก็บเอาความรู้ ไว้รู้อะไรก็ตาม ให้มันขยันรู้ไปอย่างนี้ ความรู้ที่เรารู้แล้ว รู้แล้ว รู้แล้ว ไม่ใช่รู้แล้วแค่นี่หนา มันก็ละความชั่ว มันก็ทำความดี มันมีสติมันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว แล้วก็จะเห็นอาการต่างๆ เห็นความคิดต่างกันกับความรู้ที่เราทำอยู่ เห็นความหลงต่างกันกับความรู้ที่เราทำอยู่ มันเป็นอย่างนั้นการเจริญสติเนี่ย เวลาปฏิบัติก็อันเดียวกัน ภาวะที่เห็นความคิดก็เห็นเหมือนกัน ภาวะที่เห็นเวทนาก็เห็นเหมือนกัน ภาวะที่เห็นธรรมก็เห็นเหมือนกัน ที่มันเกิดขึ้น เป็นอันเดียวกัน พบเห็นอันเดียวกัน ถ้ามันเกิดเวทนาเกิดขึ้นกับเรา คนอื่นก็เห็นเหมือนกันกับเราเห็น ก็เป็นของอันเดียวกัน ความคิดที่เกิดขึ้นกับเรา เวลาที่เราคิดขึ้นมา ความคิดที่เกิดขึ้นกับคนอื่นก็เหมือนกันไม่ต่างกันเลย ไม่ต้องไปสำคัญมั่นหมายว่าเราคิดมาก ว่าเราไม่คิดไม่มีตัวมีตนอยู่ตรงนั้น ไม่มีตัวมีตนไปอยู่ ไม่สำคัญมั่นหมายว่าเราเป็นสุข ว่าเราเป็นทุกข์ ว่าเราคิดมาก ว่าเรากังวล ว่าเราเครียด มันจะเสียเปรียบเพื่อนตรงนี้นะ ถ้าเราคิด ก็ว่าเราคิดไม่เหมือนเขา ไม่ใช่ แสดงว่าพลาดไปแล้ว ถ้าเรารู้สึกตัวนี่ไม่พลาดเลย ไม่พลาดเลย ถ้ามันเครียด เห็นมันเครียด ไม่พลาด
ถ้าเป็นผู้เครียดก็พลาดไปแล้ว หยุดเสียแล้ว ถ้าเดินทางก็หยุด ไม่ได้เดินไปกับเพื่อนแล้ว ต้องถอยหลังไปอีก ถอยหลังไปอีก คือว่าประมาท ผู้ไม่ประมาทตื่นอยู่ในเมื่อผู้หลับ หมายถึงว่า สมมติว่าเราเห็นเวทนาเนี่ย บางคนนี่เป็นผู้ปวด เป็นผู้เมื่อย คนนั้นหลับแล้ว สำหรับผู้ปฏิบัติเขาเห็นเวทนาเป็นสักว่าเวทนา นั่นแสดงว่าตื่นอยู่ในเมื่อผู้อื่นหลับ ย่อมละคนโง่ไปไกล เหมือนม้าที่มีฝีเท้าดี ละม้าที่ไม่มีกำลังฉันนั้น อัปปะมัตโต ปะมัตเตสะ สุตเตสุ พะหุชาคะโร อะพะลัสสังวะ สีฆัสโส หิตะวา ยาติ สุเมธะโส....แสดงว่าเราเดินไม่ทันเขา ถ้าเราเป็นผู้ปวด ผู้เมื่อย ถ้าเราเป็นผู้เครียด ถ้าเราเป็นผู้ง่วง เรียกว่า อัปปะมัตโต ปะมัตเตสะ เขาก็ไปไกลเสียแล้ว วันหนึ่งอาจจะเป็นวันหนึ่งของเรา อาจจะเป็นนาทีของเขาไป มัวแต่ไปสุขไปทุกข์ มัวแต่ไปเป็นอะไรอยู่ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม วันหนึ่งเราทำ เขาอาจจะทำครึ่งชั่วโมงก็ได้ มันจะคล่องตัวต่างกันตรงนี้ด้วย มันจะต่างกันตรงนี้ มัวแต่หมกมุ่นครุ่นคิด เวลาความคิดเกิดขึ้นไม่รู้จักมีสติไม่ใส่ความรู้สึกตัวเข้าไป หลงอยู่กับความคิดของตนเอง ถือว่าเกียจคร้านเสียแล้ว แต่บางคนพอมันคิดขึ้นมา รู้ปั๊บ แปลว่ามีความเพียรเสียแล้ว แม้เรานั่งอยู่ด้วยกัน เดินอยู่ด้วยกัน แต่มันครุ่นคิด ในอารมณ์ที่ครุ่นคิด ไม่รู้จักสละอารมณ์ที่คิดนั่นออก ไม่มีสติ แสดงว่าบุคคลนั้นยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม เดินอยู่ก็ตาม เรียกว่าบุคคลนั้นเกียจคร้าน สำหรับบุคคลที่เวลาใดมันครุ่นคิดในอารมณ์ที่ครุ่นคิด เธอมีสติ สลัดความคิดออก รู้สึกตัว แสดงว่าปรารภความเพียร เรานี้ก็พยายาม ให้ข้อมูลกับตัวเองดีๆ ดูรายละเอียด ดู แต่ไม่ใช่ไปคิดนะ ระวังจนเกร็งไปหมดก็ไม่ใช่นะ ระวัง ไม่ใช่นะ ปฏิบัติเป็นของที่ไม่ต้องระมัดระวังอะไร เปิดเนื้อเปิดตัวอะไรมันจะเกิดก็ให้มันเกิดมา เราจะดูมันอยู่นี่แหละ เรามีตานี่เฝ้าบ้านมานานนี่อะไรมันจะมา คนเฝ้าบ้านนี่ มันก็จะต้องเห็นสิ่งที่ขึ้นมาบนบ้านเห็นหมา เห็นไก่ เห็นไก่ก็ได้ไล่ๆ ไก่ เห็นหมาก็ได้ไล่หมา ไม่มีใครถ้าคนเฝ้าบ้านเห็น หมามากินข้าวสารไม่ต้องไล่หมา การไล่หมาไม่ให้กินข้าวสารเป็นเรื่องดีเป็นความรับผิดชอบของคนพ่อบ้าน เห็นไก่มันขึ้นมามันจะไปกินข้าวสาร มันเคยกินข้าวสาร ก็ได้ไล่ไก่ไม่ให้กินข้าวสารเพราะว่า ได้ทำในสิ่งที่มันดีของคนพ่อบ้าน ทำหน้าที่อย่างดี
อย่างเราสอนลูกสอนหลานตัวเล็กๆ พอดีหลานเราก็รู้จักไล่ไก่ ทีแรกก็ไม่รู้จักไล่ เราก็บอก ไปไล่ไก่ไปไล่หมา หลานเราน้อยๆก็ไปไล่ไก่ ไปๆมาๆไม่ต้องไปบอกมัน ไปไล่หมาไล่ไก่ลงจากบ้านเอง มันก็ทำเป็น การปฏิบัติธรรมนี่ การสอนตนเองก็เหมือนกัน ทีแรกก็ทำไม่ค่อยเป็นหรอก ทำไม่ค่อยเป็น บางทีไปนั่งจับไม้เรียวอยู่มันก็ไม่ถูกต้อง แสดงว่าไม่ได้สอนหมา เวลานั่งอยู่หมามันก็ไม่มา ไม่ได้สอนมันเลย แต่เวลาเรานั่งอยู่ในที่เงียบๆ หมามันมาแล้วได้ไล่มันเนี่ย เราได้ฝึกตัวเราทั้งได้ไล่หมา หมาเมื่อถูกไล่ มันก็รู้เหมือนกันนี่ ความคิด ความหลง ความโกรธที่มันเกิดขึ้นมา เมื่อมันถูกรู้บ่อยๆ มันก็ถูกสอนกันบ่อยๆ มันก็อายเหมือนกัน ความโกรธมันอาย ความหลงมันอาย ความทุกข์มันอาย อายกว่าอันอื่นด้วยซ้ำไป ง่ายที่สุด ถ้าเราทำถูก ง่ายๆ ทำปั๊บมันก็หายปั๊บไปแล้ว มันง่ายหรอก อย่าคิดว่ามันยากอะไร การละความชั่วเป็นเรื่องที่ง่าย การทำความดีเป็นเรื่องที่ง่าย ไม่ได้ทวนกระแสจนเหงื่อไหลไคลย้อยไม่ใช่นะ พระพุทธเจ้ายังสอนให้พวกเรา ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี มรรคผลนิพพานก็ดี เหมือนทะเลลุ่มลึกลงไป ลึกลงไป เอียงลงไป ลึกลงไป ลึกลงไป มันง่ายนะ เหมือนน้ำทะเลมันลึกลงไป ลึกลงไป นิพพานเหมือนกับก้นทะเล มันเอียงลงไปแบบนั้น เอียงไปไหลไปสู่มรรคสู่ผล การปฏิบัติธรรมไม่ใช่มันขึ้นฝั่งปีนป่ายขึ้นหน้าผา ไม่ใช่แบบนั้น ไม่ใช่แบบนั้นเด็ดขาด การปฏิบัติธรรม มันเอียงไป มันไหลไป สู่มรรค ผล นิพพาน ความทุกข์เพื่อให้เกิดมรรคเกิดผล เมื่อเห็นความทุกข์ เอา เอียงไปแล้ว เอียงไปแล้ว พอเราไล่หมา หมาก็ไม่มาอีกแล้ว เมื่อเราถูกไล่ ตัวเรานะสอนง่ายกว่าหมา สอนง่ายกว่าหมา เหมือนหลวงพ่อไปไล่หมาตัวขาว ที่มันนอนอยู่โต๊ะหน้า ศาลาหน้า แล้วก็เหม็น มันนอนอยู่ตรงนั้น แต่ก่อนไม่มีใครไล่มัน มันนอน พระเดินไปก็ไม่ค่อยไล่ โยมเดินไปก็ไม่ค่อยไล่ มันก็โอ๊ยไม่ได้หรอกเธอ ตรงนี้บางทีก็มานั่งฉัน ตอนนั้นมีคนญี่ปุ่นไปนั่งทานอาหารที่นั่นด้วย มันก็ยังเหม็นๆ อยู่ โอ้ยย ยังไงหนอ เราไปก็ไปนั่ง รอยหมาเต็มไปหมด ที่นั่งมีรอยหมา บนโต๊ะก็มีรอยหมา เราก็ไล่ครั้งที่หนึ่ง มันก็ยังไม่หนีหรอก มันก็นอนอยู่ ไล่ครั้งที่สองเห็นทีไรก็ไล่ทุกที เห็นทีไรก็ไล่ทุกที ทีนี้มันก็ไม่นอนแล้ว ถ้าเราไม่สอนมันก็อยู่ตรงนั้นแล้ว
ความหลงถ้าเราไม่สอนมันเราไม่รู้ มันจะหลงไปเป็นอาจิณ เราจะดีตอนที่เห็นมันหลง เราได้รู้เราได้สอนมัน เหมือนเราเดินไปศาลาหน้าดูโต๊ะตรงนั้น ถ้าเห็นหมาก็ไม่ทำอันอื่นแล้วต้องไปไล่หมาก่อน ไม่ให้มันฟรี หน้าที่ที่จะสอนหมาแล้วก็สอนมันได้แล้ว แต่ก่อนนี้ตีระฆัง หมามันหอน โอ๊ยย หลวงพ่อสมัยอยู่ศาลาไก่นะ พระตีระฆังนี่ ศาลาไก่มันมีระฆัง เวลาตีระฆังทีไรหมาหอน หลวงพ่อก็สอนหมา ไล่มัน บางทีก็ถือโอกาสเวลาเพื่อนตีระฆัง เราก็ได้ก้อนอิฐ ก้อนดินเล็กๆน้อยๆ พอมันหอนก็ขว้างมัน มันก็วิ่งหนีเดี๋ยวนี้ไม่หอนแล้ว ตีฆ้องเหมือนกันนะ สอนมันก็สอนได้นะ ถ้าเราไม่สอนมันก็แซวนะพวกหมาหนะ ตีฆ้องหอน ตีระฆังก็หอน โอย ปล่อยให้มันหอนอยู่นั่นแหละ สอนมัน ไม่ต้องให้มันหอน มันสอนได้ บางที ตัวเรานี่เหมือนกัน ถ้ามีอะไรเกิดขึ้น รู้มันเห็นมัน อย่าให้มันเอาไปกินฟรี อย่าให้มันไปเอาไปกินฟรีๆ ความหลงเอาไปกินฟรี ลอยนวล เหมือนเขาเขียนรูปไว้ที่วัดโมก หลวงพ่อว่าจะขอเขามา เอ้อ ภาพนี้ชอบมากๆ เขาเขียนรูปหมาน้ำลายไหล สุรุ่ยสุร่าย เขาก็เขียนว่าอย่าปล่อยให้กิเลส เขาทำเป็นรูปหมา กิเลสเขาทำเป็นรูปหมา กิ สระอิ ไว้บนลิ้นมัน มีหู เลส ก็ลอยอยู่บนขามัน ตัวมัน รอยกิเลส ส.เสือเป็นหางไปเลย เป็นรูปหมา มันเขียนน่ะ เอ๊อ ชอบน่ะ อย่าให้กิเลส กิเลสเขียนเป็นรูป ลอยนวล ตัวหนังสือต่อไป อย่าปล่อยให้ตัวหนังสือ กิเลสเป็นรูปหมา ลอยนวล น่าซึ้ง ซึ้งใจที่สุดเลย ลอยนวลจริงๆ กิเลสมันเกิดก็เอาไปกินฟรีๆ มันทุกข์ ก็เอาไปกินฟรีๆ มันเศร้าหมองก็เอาไปกินฟรี ต้องรู้มัน รู้มัน รู้มัน ก็พูดเล่นๆไปอย่างนี้แหละ เบาๆสมอง ไม่ใช่ ขึงเครียดปฏิบัติธรรม ยิ้มตลอดเวลาก็ได้ นะ ยิ้มตลอดเวลา ยกมือสร้างจังหวะ เออ เราทำดี ไปทุกข์ทำไม ไปยากทำไม ถ้าไปนั่งสูบบุหรี่นั่นเอ้อ ต้องหน้าบูด หน้าบึ้ง โอ๊ยไอ้บ้าเอ๊ย มานั่งสูบบุหรี่ทำไม รู้จักว่ามันของชั่วไหม แต่ว่าเขาไม่รู้ก็ไปยิ้มเวลาสูบบุหรี่แทนที่จะด่าตัวเอง ไอ้ชาติหมา ไปสูบบุหรี่เผาเงินไปแล้ว เผาเงินไปดีกว่าเอาบุหรี่มาคาบ มันเสียแต่เงินมันไม่เสียสุขภาพ อันนี้เราทำความเพียรนะยิ้มได้เลยไม่ต้องไปกลัวอะไร ถูกต้องแล้ว