แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมกัน พูดกับทุกท่านทุกรูปทุกนาม ชีวิตเราเหมือนกันเพื่อรูปนาม ถ้ามีกายมีใจเป็นภาษาดุ้นๆท่อนๆ เป็นภาษาที่หลงได้ง่าย ถ้าพูดถึงว่ารูปนาม มันไม่ค่อยหลง มันก็เหมือนกันหมด เป็นสามัญลักษณะ มีความไม่เที่ยง มีความเป็นทุกข์ มีความไม่ใช่ตัวตน มันคลุมหัวเราไว้แล้ว ในความไม่เที่ยงของบางคน ในความเป็นทุกข์ ในความไม่ใช่ตัวตน บางทีเราก็มาเป็นทุกข์ บางคนว่าถ้าเห็นรูปนามแล้วก็ไม่เอามาเป็นทุกข์ สิ่งที่สอนให้รู้ใครก็รู้ แต่สอนให้เป็นนี่ต้องสอนตัวเอง เช่น ความจน มัวแต่คิดอยู่มันก็ใช้ไม่ได้ ถ้ามีความขยัน มีความอดทน มีความเพียรประกอบอาชีพการงาน ถ้าไปคิดว่าจนว่ารวยอยู่ มันไม่สำเร็จ
ปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน มัวแต่เอาความรู้ไปเกี่ยวข้องกับการกระทำเหตุผลต่างๆ บางทีมันก็เนิ่นช้า เกิดอะไรได้หลายอย่าง เช่น ทำงานมันก็มีเหนื่อยเมื่อยล้า แสงแดดละอองฝน เอาเหตุเอาผลกับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เอาแสงแดดเอาละอองฝนมาเป็นข้อให้เป็นเกณฑ์ชี้วัด เพื่อให้เราเอาเหตุเอาผลนั้น มันก็ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นการทำงานต้องมีหลายๆ อย่างที่จะทำให้สำเร็จ การทำความเพียรก็เหมือนกัน การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ใครๆ ก็มีปัญหาเหมือนกัน แม้แต่พระพุทธเจ้าสมัยยังเป็นสิทธัตถะก็ยังต้องเหมือนกันกับเรา เช่น คำสอนของพระองค์มาต้องกันกับการตรัสรู้เพราะเห็นธรรม เห็นธรรมจึงทำให้เป็นพระพุทธเจ้า เห็นอะไรต่างๆ อยู่ในรูปในนามนี้ ทรงแสดงเครื่องออกจากทุกข์มาพร้อมกัน เห็นเรื่องนี้ก็เกิดเรื่องนี้ขึ้นมา เห็นรูปเห็นนาม มีสติ มันก็เห็นความหลง มันต้องเห็นแน่นอน แต่ถ้าไปคิดว่าหลงมันไม่ดี รู้มันดี มัวเอาแต่เหตุและผล ถ้ามันหลงก็ไม่ดี ถ้ามันรู้ก็ดี มัวแต่ดีไม่ดีอยู่ มัวแต่ผิดแต่ถูกอยู่ มัวแต่ได้มัวแต่เสียอยู่ สิ่งเหล่านั้นก็ไม่จำเป็น
เวลาสร้างสติไม่เหมือนกับทำอันอื่น อะไรก็ตามให้รู้สึกตัวเป็นหลักอย่างนี้ หลักมันมีอยู่นี้ ความรู้สึกตัวนี้ ถ้ายังไม่เก่งก็อาศัยนิมิตดูกาย สมัยก่อนพระองค์เอากายเป็นที่ตั้งเอากายเป็นนิมิตเรียกว่าสูตร สูตรปฏิบัติธรรม สูตรสติปัฏฐาน ปูทางที่เดินไปข้างหน้า มีกายเป็นที่ตั้งเป็นตำราเป็นนิมิตเกาะไว้ก่อน มันก็ช่วยได้ เคลื่อนไหวให้รู้สึกตัว กายก็อยู่ที่นี่ การเคลื่อนไหวก็อยู่ที่นี่ ให้มันอยู่ด้วยกัน เอามาประกอบกันเกิดขึ้น มัวแต่คิดว่าสติความระลึกได้อยู่ไม่มีการประกอบ มันก็เป็นสติธรรมดา ไม่ใช่สติปัฏฐาน มันไม่มีที่ตั้งมันก็หลุดไปเรื่อย ถ้ามีที่ตั้งมันก็ติด
ใครๆ ก็มีสติ สัตว์เดรัจฉานก็มีสติ โจรผู้ร้ายก็มีสติเหมือนกัน ทำความชั่วสำเร็จเพราะมีสติเหมือนกัน วางแผนได้ดีไปปล้นไปจี้จนจับไม่ได้ เขามีหัวคิด เช่น โจรผู้ร้ายก่อความไม่สงบในภาคใต้เวลานี้ มันก็วางแผนไปเรื่อย เอาชนะเจ้าหน้าที่ตำรวจทหาร เมื่อไม่นานมานี้ มันก็มีสติ มันก็คิดวางแผนทำท่าลืมจักรยานไว้ข้างทาง ตำรวจทหารไปเห็นจักรยานจอดอยู่ก็ไปยกจักรยานขึ้นรถ มันก็วางระเบิดอยู่ที่นั่นล่ะ ตำรวจทหารตายไปสองคนเจ็บอีกหลายคนเหมือนกัน มันมีสติไหม มันก็มีเหมือนกัน วางแผนได้สำเร็จ อันนี่เรียกว่ามันก็ฉลาดนะ อันความชั่วเนี่ย คนชั่วเนี่ย
อันความโกรธความโลภความหลงมันไม่ฉลาดปานนั้น มันเกิดขึ้นซื่อๆ โง่ๆ ความหลงก็เกิดขึ้นโง่ๆ ในตัวเราเอง ไม่มีวัตถุอะไร ถ้าเราไม่มีสติ เราก็รู้สึกไปให้มันเป็นฐาน เตือนตนสอนตน ให้มันรู้เป็น ให้มันรู้บ้าง ให้ความรู้เป็นเจ้าของเรือนเจ้าของกายเจ้าของใจ เป็นเจ้าของรูปธรรมนามธรรมอันนี้ กลับมา อย่าไปเอาเหตุเอาผล เวลามันรู้ก็รู้ไป ถ้ามันหลงก็รู้ไป ในความรู้ถ้ามันรู้จริงๆ ไม่มีอะไรขวางกั้นได้ จะมีความหลงกี่เรื่องกี่ราว ความรู้สึกตัวสามารถที่จะไปเฉลยได้ ใช้ให้มาก ยิ่งใช้ยิ่งมาก โบราณท่านว่า รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ ต่อความรู้ไว้ ความหลงก็สั้นลงสั้นลง ถ้าต่อความหลง ความรู้ก็สั้นลงสั้นลง มันเป็นธรรมดาเป็นธรรมชาติ สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงไม่มี ถ้าสิ่งนี้มีสิ่งนี้ก็มี บางอย่างก็ตรงกันข้าม มันอยู่ที่เรา อย่าไปเอาวัตถุมาเป็นเกณฑ์ชี้วัด ปฏิบัติธรรมมันฝึกหัด ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรมไปพร้อมกัน
ชีวิตเรามันก็มีสองส่วนอย่างนี้ มีรูปธรรมคือร่างกายนี้เป็นดุ้นเป็นก้อน ประกอบไปด้วยธาตุสี่ นามธรรมมันไม่เป็นดุ้นเป็นก้อน แล้วก็มีความรู้อะไรได้ นามธรรมนั่นนะ หอบหิ้วรูปหนีไปจากความดี เอารูปไปทำชั่วได้ นามธรรมมันก็มีอำนาจ เพราะฉะนั้นเราก็รู้มันซะ เวลารู้สึกตัวก็เป็นนามธรรม มันเคลื่อนไหวอยู่นี่เป็นรูปธรรม ความรู้สึกตัวเป็นนามธรรม มันจับทั้งสองมาเป็นพวง ถ้าหลงก็จับไปเป็นพวงเหมือนกัน ว่าแต่อะไรจะเป็นเจ้าของ ถ้าความหลงเป็นเจ้าของ ก็เอารูปไปเอานามไปทำความชั่วได้สำเร็จ หอบหิ้วไปได้ทำความชั่วได้ง่าย ถ้ามันมีอำนาจมาก ถ้ามีนามธรรมมีความรู้สึกตัว ฝึกหัดจนทำให้มันเข้มแข็ง มันก็หอบหิ้วไปไม่ค่อยได้
เราจึงมาฝึกไม่ใช่มารู้ ฝึกให้มันรู้ ฝึกให้มันเป็น ถ้ามันหลงรู้เป็นแล้ว ทีแรกก็อาศัยนิมิตอาศัยกายเคลื่อนไหว ถ้าเป็นแล้วไม่ต้องอาศัยอะไรในตัวมันเอง ในความหลงก็มีความรู้เพราะเคยทำมาแล้ว ในความทุกข์ความโกรธเกลียดทั้งหลายมันก็มีความรู้ เคยฝึกมาแล้ว นี่ไม่ต้องอาศัยรูปธรรมก็ได้ ที่เวลาเราจะตาย จะมาสร้างจังหวะได้หรือ จะมาเดินจงกรมได้หรือ ถ้ามาฝึกตอนจะตายมันก็ไม่ค่อยได้ นี่ยังไม่ตาย ถ้ายังไม่ฝึก ถ้ามันด้านด้วยความหลง มันก็ทำไม่ค่อยได้
เคยไปสอนคนมีอายุ เศรษฐีบางเขนนี่ เวลาสอนธรรมะให้ยกมือสร้างจังหวะ มันก็เอามือไปคั่วกระทะมา มาเอามือซาวลงไปกระทะมา แล้วพูดเรื่องอื่น เราบอกให้รู้ที่นี่รู้นี้ เอามือวางไว้นี่ แป๊บเดียวมันก็หลงไปอีก จับโน้นจับนี่พูดออกไป นั่งพูดอยู่เป็นยี่สิบสามสิบนาที ไม่รู้เรื่องกันเลย ความหลงมันมาก ความหลงเจ้าของรูปเจ้าของนาม มันก็เอารูปเอาอะไรไปทำอันที่ไม่จำเป็น บอกให้มือวางไว้นี้ มันก็เอารูปไปจับตะกร้าวางไว้บนตักซาว แล้วก็พูดคุยกันสร้างพระประธานใหญ่ที่สุดในโลก หมดไปแล้วสิบล้านยังไม่เสร็จเลย เจ้าอาวาสก็มาเอาเงินไปทีละแสนสองแสน ว่าจะเสร็จก็ยังไม่เสร็จเลย มันก็เลยไปทางโน้นซะ มันเคยไหล เห็นไหม เห็นตัวเองไหลไหม นอนอยู่มันก็ไหลไปหาลูกหาหลาน ไหลไปไม่หยุดไม่ยั้งเลย
เราจึงมามีสติ มันก็มาหยุดซะ ไม่ใช่หยุด ไม่เดิน ไม่ทำงาน ถ้ารู้สึกตัวมันก็หยุดแล้ว มันเหลือแต่ความรู้สึกตัว อันที่มาทีหลังไม่มี การทำอะไรอยู่นี่มันเป็นทั้งรูปทั้งนามเนี่ย เราก็ทำอย่างนี้มากันหมดแล้ว ก็รู้ไปนานๆ มันก็มีหลักอยู่ตรงนี้ อย่าไปเอาเหตุเอาผล ใครๆ ก็มีความรู้เหมือนกันหมดแหละ ไม่ใช่โง่ดอก เช่น ความร้อนต้องอาบน้ำ หนาวห่มผ้า หิวก็กินข้าว มันเหมือนเด็ก
ถ้าเด็กหิวข้าวๆ ไปบอกพ่อบอกแม่ บางทีแม่ก็รีบเป่าไฟเพื่อจะเร่งไฟให้หุงข้าว ให้นึ่งข้าวสุกง่าย แม่ก็เป่าไฟเฝ้ากองไฟ เฝ้าหม้อนึ่ง นึ่งข้าวอยู่ ลูกก็ไปร้องหิวข้าวๆ แต่สิ่งที่มันหิวแค่หิวได้ แม่ต้องรีบนึ่งข้าวให้มันสุก ตื่นแต่ดึกเพื่อลูกจะตื่นขึ้นมาจะกินข้าว อันนี้เขาทำไว้โน่นแล้ว ในที่สุดลูกหิวข้าว เอาข้าวมาป้อนเลย ถ้าไม่มีข้าวป้อน มันก็ร้องไห้อยู่นั่นแหละ บางทีแม่กำลังส่วยข้าวอยู่ ลูกก็ไปหิวข้าวๆ ไปนั่งเฝ้า มันได้กลิ่น กลิ่นข้าว มันก็เกิดความหิว สมัยก่อนนะ ข้าวมันหอม พอได้กลิ่นข้าวเราก็หิวทันทีละ ทุกวันนี้ข้าวไม่หอม ไม่ค่อยมีรสชาติ ทำไมข้าวจึงไม่หอมเพราะมันปรับปรุงพันธุ์ซะจนกลายพันธุ์ไป จนไม่มีคุณภาพ แต่ก่อนข้าวฮ้อมหอม หวาน โอ้ ทุกวันนี้ไม่มีรสอะไร เพราะมันกลายพันธุ์ เพราะมันปรุงแต่งมาก
ชีวิตเราก็เหมือนกัน ไปปรุงให้สุขให้ทุกข์ มันอยู่ตรงกลางมันก็มีรสชาตินะ เห็นมันสุข เห็นมันทุกข์นี่ เห็นมันรู้ เห็นมันหลงนี่ ตรงกลางๆ นี่ มันเป็นรสที่เป็นรสเดียว ความรู้สึกตัวนี่ ความทุกข์ก็เป็นรสหนึ่งความสุขก็เป็นทุกข์รสอันหนึ่ง แต่ภาวะที่เห็นสุขเห็นทุกข์นี่มันเป็นรสเดียว สุขไม่ใช่สุข ทุกข์ไม่ใช่ทุกข์ มันเป็นการเห็นเข้าไปอย่างนี้ รสพระธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง สัพพะระสัง ธัมมะระโส ชินาติ รสพระธรรมย่อมชนะรสทั้งปวงคืออันนี้ ให้พากันกินลงไป ให้รู้ลงไป เห็นลงไป ให้รู้อยู่
เวลามันหลง รู้อยู่ อย่าให้ความหลงมีรสชาติ บอกแล้วบอกอีกอยู่นี่ ได้ยินไหม อย่าให้ค่าความสุข ความสุขก็มีรส ความทุกข์ก็มีรส ความรักความชังก็มีรส ความยากความง่ายก็มีรส มันก็เลยมีรสชาติไปโน่นซะ เพราะติดรสกัน ตาหูจมูกลิ้นกายใจก็เป็นวัตถุที่ทำให้เกิดรส รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะอารมณ์เป็นเหตุที่ทำให้เกิดรสมีค่ามีราคา เราก็หลงกันติดรสกันงอมแงม สัตว์โลกนี้ เพราะฉะนั้นตัวภาวะที่รู้นี่เป็นภาวะ เหมือนคน การไปติดรสมันมีสุขมีทุกข์เหมือนวิ่ง การรู้สึกตัวเหมือนหยุดวิ่ง แม้มันจะมีคนวิ่ง แต่เราขี่คอมัน ขี่คอคนที่วิ่ง แข่งมัน มันวิ่งแต่เรานั่งอยู่บนคอ มันวิ่งไปถึงไหนเราก็ถึงนั่น
สติเหมือนเป็นอย่างนั้นนะ มันทุกข์ขี่คอความทุกข์ มันโกรธขี่คอความโกรธ มันหลงขี่คอความหลง เหมือนคนขี่เสือเห็นไหม อยู่หน้าวัดเห็นไหม ถ้าเห็นแล้วไม่เป็นเหมือนคนขี่เสือ เสือมันร้ายขนาดไหน ได้ขี่หลังมันได้ อ้าปากจอวอนี่ไม่มีอะไรเลย นี่ ชิตังเม ชนะ ชนะตัวเองนี่มีไหม แพ้ตัวเองมีไหม มันหลงก็แพ้เหรอ แค่ความหลงเฉยๆ มันโกรธก็แพ้หรือ แค่ความโกรธเฉยๆ มีค่าอะไรความโกรธ มันมีค่าถ้าเราไม่รู้ เราถึงขยันให้ประกอบความรู้สึกตัวนี้เป็นที่ตั้ง การขยันนี้เรียกว่าภาวนา ภาวนาเพื่อมาสร้างยกมือรู้ ยกมือรู้ สิบสี่จังหวะ สิบสี่รู้เข้าไป ภาวนาเข้าไป นี่หลักมันอยู่นี่ อย่าเอาความรู้ อย่าเอาความยากความง่ายมาประกอบ ให้มีความรู้เรื่อยไป
ใครๆ ก็อยู่ตรงนี้แหละ จะเป็นคนรู้หนังสือหรือไม่รู้หนังสือ จะเป็นปริญญาหรืออะไรก็ตาม มันก็ทำ ก. ไก่ตรงนี้กันทั้งนั้น ไม่ใช่จะเอาวุฒิภาวะมาอวดอ้าง เราแก่เราหนุ่มเราสาวเรารู้อะไรต่างๆ ไม่ใช่เลย มันก็อันเดียวตรงนี้ คือภาวะที่รู้สึกตัวเรื่อยไป มันจึงเป็นอันเดียว ธรรมะที่แท้เป็นอย่างเดียวกัน เรียกว่าสัจจะความเป็นจริง ถ้าจะเอาภาวะอื่นมาขวางกั้น มันก็ต่างกันไป ไม่เป็นสากล ไม่เป็นสามัญลักษณะ มันต้องเป็นอันเดียวกัน สิ่งที่มันเกิดขึ้นก็เหมือนกัน
พวกเรานี่นั่งอยู่นี่ มาจากทิศไหนทางใด เพศใดภาวะใด ลัทธิใดนิกายใดเหมือนกันหมด มีรูปมีนาม มีสติ มีความรู้มีความหลง มีความโกรธความโลภ มีสุขมีทุกข์ มีความไม่เที่ยง มีความไม่ใช่ตัวตนเหมือนกันหมด ถ้าจะเอาเหตุเอาผลมาชี้แจงก็ต่างกันอยู่ มีอีโก้ อีซึม สำคัญว่าตน สำคัญกว่าคนอื่น ความน้อยความเขื่อง ความน้อยก็ยอม ความเขื่องก็ยิ่งใหญ่ เอาชนะความโกรธด้วยความโกรธ เอาชนะความหลงด้วยความหลง ถ้ามันหลงก็จะทำให้ความหลงหมดไป กินเหล้าหิวเหล้าก็ต้องหากินเหล้าจนได้ พูดแล้วพูดอีก เวลาติดบุหรี่ เวลามันหิวบุหรี่ กูจะสูบ กูจะสูบ ได้เงินสิหนอมาซื้อยาสูบนี่ ไปรับจ้างสิน้อได้ซัก 10 บาท ก็อยากซักซองนึง แต่ก่อนซองละ 10 บาท เดี๋ยวนี้มันซองละ 30, 40 บาท จนให้ความหลงได้สำเร็จ แก้ความหลงด้วยความหลง เวลาเขาโกรธมาเราโกรธตอบ แก้ความโกรธด้วยความโกรธ อันนั้นมันไม่ใช่ถูกต้อง
พระพุทธเจ้าไม่ใช่สรรเสริญเรื่องนั้น ชนะความหลงด้วยความไม่หลง ชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ ชนะความตระหนี่ด้วยการไม่ตระหนี่ สละ ขี่คอมัน มันเกิดอยู่ที่รูปที่นามนี้ ไม่ใช่เกิดอยู่ที่ไหน ไม่ไปมุดมาดำดินมา ไม่เหาะเหินเดินฟ้ามา อยู่ในรูปในนามนี้ ถ้าจะเป็นกิเลสตัณหาอยู่กับเรา สมัยก่อนกิเลสตัณหาก็อยู่กับพระพุทธเจ้าอันเดียวกัน สมัยที่ยังไม่เป็นพระพุทธเจ้า ห่วงมีเหมือนกัน สิทธัตถะก็มีลูกชายคนหนึ่งชื่อราหุล มีอัครมเหสีพิมพา มีทรัพย์สินศฤงคารมา ไม่มีอะไรที่บกพร่อง ชาติภูมิอะไรต่างๆ มีหมด แต่ทำไมจึงมาบอกให้เราสอนให้เรา กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน มีสติเห็นกาย พระองค์น่าจะบอกว่าต้องเป็นกษัตริย์นะจึงจะทำได้ ไม่ใช่เลย ต้องมีอัศวินขี่ม้าขาว มีนายฉันนะพาไปบวช มีม้ากัณฐกะขี่ออกไปตั้งแต่กรุงกบิลพัสดุ์ถึงภูเขาดงคสิริ ใกล้ๆ ราชคฤห์ไปโน่น มันไม่ใช่เรื่องใกล้ ถ้าม้าฝีเท้าไม่ดีก็วิ่งไม่ถึง เพื่อไม่ให้ใครตามทัน
เราไม่มีม้ากัณฐกะ เดินมาขี่รถมา แต่แล้วก็คือกายคือใจ มีสติเห็นกาย มีสติเห็นเวทนา อ้าว มีสติเห็นจิต มีสติเห็นธรรม แค่นี้ ไม่ใช่เอาพระขรรค์หรือเอาม้ากัณฐกะเป็นทัพที่จะต้องต่อสู้สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่เลย เดินอยู่บนดินไปเห็นถ้ำดงคสิริ มันก็เป็นถ้ำเล็กๆ ที่ไปฝึกอยู่นั่นน่ะ หลวงตาเคยไปดู เป็นภูเขาข้างแม่น้ำเนรัญชราแต่ราชคฤห์ลงมาถึงพุทธคยานี่ ก็เป็นพื้นดินมีภูเขามีป่าไม้มีแม่น้ำ แม่น้ำก็ไหลอยู่ เช่นลำปะทาวมันก็ไหลอยู่อย่างนี้ แต่เดี๋ยวนี้เนรัญชราไม่มีแล้วน้ำเหลือแต่ทราย ถ้าแขกเขาจะไปซักผ้า เขาก็ขุดทรายลงไป จะมีน้ำออกมา แล้วเอาหินที่พอหาได้ไปวางไว้ใกล้ๆ บ่อ เขาซักผ้าเขาไม่ซักเหมือนเรานะ จับช่วยกันทั้งผัวทั้งเมีย จุ่มลงบ่อตีใส่ก้อนหินตำ เขาไม่มีผงซักผ้าเหมือนเรา จุ่มลงไปจับมาตีใส่ก้อนหินตำๆ แล้วไปตีใส่ก้อนหิน ขึ้นเหยียบขึ้นย่ำผ้าเขามันใหญ่ ซักแล้วก็กระพือเหยียดกับขี้ดิน ดินทรายเนรัญชราไป เต็มไปตามท้อง เวลามันแห้งก็ไปใส่เอาพับเอามา ไม่มีไม้ไผ่ไม่มีอะไร เปียกๆ ผ้ามันตากกับดินไปเลย นี่คือเขาเป็นอย่างนั้น
พระองค์นั่นน่ะเป็นเจ้าฟ้าชาย ยังมาบอกให้คนสอนกายานุปัสสนานะ มีไหม มีกายไหม มีสติไหม อันเดียวกัน ไม่ใช่กษัตริย์ ไม่ใช่พระราชา ไม่ใช่ชาติภูมิใดๆ เลย บอกให้เรามีสติเห็นกาย นี่ ก.ไก่ เหมือนเราเรียนหนังสือ กว่าจะอ่านได้เขียนออก ก็เรียน ก.ไก่ A B C D ไป นี่ชีวิตของเรามันจบตรงนี้หนา เหมือนกันนี่ ให้อย่าไปทางอื่น ให้กลับมามีสติมาเห็นกาย แค่นี้ ไม่มากไม่พะรุงพะรัง เห็นเวทนามีทุกคน มันสุขมันทุกข์มันร้อนมันหนาว นั่งสร้างจังหวะ มันก็เห็นแน่นอนเวทนา มันแสดงเพราะมันตกอยู่ในอย่างนี้ สามัญลักษณะ มันไม่เที่ยง นั่งใหม่ๆ ก็สบาย เออ อย่างนี้ดี เอาไปเอามามันไม่ใช่ดี บางท่านั่งก็แก่ เมื่อมันแก่มันก็เจ็บ ปวดขาปวดแขน มันก็ตายท่านี้เปลี่ยนไปเกิดท่าใหม่ เกิดดับของรูปนาม นามกับรูปก็ไปด้วยกัน ถ้าไม่รู้จักรูปจักนาม ไม่เห็นกายเห็นใจ เมื่อกายมันเจ็บใจก็เจ็บ เมื่อกายมันทุกข์ใจก็ทุกข์ มันก็ช่วยกันเอง ความทุกข์แบบนั้นนะมันเป็นสัญชาตญาณ มันก็รู้จักแก้ไข ไม่ใช่ให้ใครบอก เออ แม่เพียรเด๊อ เจ้านั่งโด๊นเหล่า เปลี่ยนหน่อยเด้อ เออ เปลี่ยนกี่ทีหลวงพ่อ ไม่ใช่คำถามแบบนี้ เราก็เปลี่ยนได้เอง ใครก็เหมือนกันนะ ไม่เอาให้ใครบอก นี่มันเป็นสัญชาตญาณ
แต่ความทุกข์ที่ความรู้อันนั้นนะ มันไปด้วยกัน ไม่ใช่เห็น มันเป็นไปอย่างนั้นนะ เราจึงมาเห็นเวทนาสักว่าเวทนา ให้ทำอย่างนี้ ไม่ใช่ไปสอนให้หนี อาศัยเทคโนโลยี มีพรม มีเบาะ มีเก้าอี้นั่ง มันก็นั่งไม่ได้หรอก มันก็นั่งไม่ได้ บางทีเบาะเขาเอามาขาย เบาะหนึ่งเป็นหมื่นๆ เก้าอี้นั่งทำงาน อย่างหลวงพ่อมีเก้าอี้ คุณหมูซื้อให้เป็นหมื่นนะเก้าอี้นั่งทำงาน หัวนี้วิ่งไปเลยจะผลักไป มันพาวิ่งไปเลย ผลักให้นั่งไปมันก็นั่งได้ มันก็นั่งไม่ได้หรอก มันต้องเปลี่ยนอยู่เรื่อย นั่ง ยืน เดิน นั่ง นอน มันก็ใช้อิริยาบถนี้ให้เกิดสติปัญญา อย่าให้อิริยาบถใช้ให้เกิดความหลง ไปหลงกับความยืน ไปหลงกับความนั่ง ไปหลงกับความนอน มันก็ไม่ใช่ ให้รู้
เราจึงมีสิทธิที่จะเกี่ยวกับความหลง ก็มีให้สำเร็จ เห็นเวทนาสักว่าเวทนา เห็นจิต อ้าว มันก็มีจริงๆ ละจิตน่ะ ทุกคนก็ต้องเห็นมันคิด จิตคือมันคิด อารมณ์ต่างๆ มันย่อมมาคู่กับจิต ความพอใจความไม่พอใจทำให้เกิดขึ้นกับจิต มีสติสัมปชัญญะถอนความพอใจและความไม่พอใจ ความพอใจและความไม่พอใจมันเป็นรสของโลก สัตว์โลกย่อมติดอยู่กับรสนี้ เราจึงถอนออกมาให้มีสติสัมปชัญญะ ถอนความพอใจและความไม่พอใจออกมาจากโลกได้ มีสติเรื่อยไป เอาไปเอามามันก็ไม่มีค่า ความพอใจและความไม่พอใจมันก็เป็นรสของโลก รสของโลกแบบนี้มันก็ต่างกัน ไปๆ มาๆ เป็นเราไม่ใช่ มันเป็นอันหนึ่ง มีสติสัมปชัญญะเห็นอย่างนี้ นี่หลักกรรมฐานอย่าลืม อยู่ที่ไหนก็อยู่กับเรานั้นแหละ
เรากำลังเป็นพระโยคาวจร ตอนนี้เป็นผู้กำลังเดินทางจะต้องผ่านสิ่งเหล่านี้ เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เห็นรูปทำ เห็นนามทำ เห็นธรรมชาติของรูป เห็นธรรมชาติของนาม เห็นอาการของรูป เห็นอาการของนาม อันรูปอันนามตกอยู่ในสามัญลักษณะคือเหมือนกัน ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน เราก็ได้ฉลาดจากสิ่งนี้ไป แต่ก่อนเราโง่ ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ความทุกข์เป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตนเป็นทุกข์ น้ำตาร่วงน้ำตาไหลเพราะความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตนพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ความไม่สบายกายความไม่สบายใจทำให้เราเป็นทุกข์ บัดนี้มันเป็นนิพพานได้ มันร้อนมันมีความเย็น ในความเป็นทุกข์มันไม่เป็นทุกข์เลยเนี่ยเพราะมันรู้สึกตัว
ความรู้สึกตัวก้าวหน้าไป เป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญา เป็นตัวศาสนาเจริญรุ่งเรือง เปลี่ยนแปลงไป จากสิ่งที่เคยหลงไม่หลง สิ่งที่เคยทุกข์ไม่ทุกข์ มันก็เปลี่ยนแปลงไปแล้ว วิปัสสนามีศีลมีสมาธิมีปัญญาทำลายกิเลสลงได้ความโลภความโกรธความหลงลงได้ แต่ก่อนเราอดเอาเวลามันโกรธ เวลามันโลภเราก็วิ่งตามมัน บัดนี้ไม่ใช่ไปวิ่ง ไม่ทำกับมันอย่างนั้น ก็ทำถูก เหตุมันถูกทิ้ง มันก็เหี่ยวไปเอง เหมือนเราปลิดต้นไม้ ต้นไม้ต้นนี้มันมีใบ ไปปลิดใบมันออก เห็นมันมีรากอยู่ก็โค่นมันเลย มันก็เหี่ยวแห้งไปเลย ความโกรธความโลภความหลง กิเลสตัณหา มันก็ไม่ใช่มันเกิดลอยๆ มีเหตุ ทุกข์นั่นล่ะ ทุกข์เป็นผล ตัณหาเป็นเหตุ นิโรธเป็นผล มรรคเป็นเหตุ อยากได้นิโรธ อยากได้ความหลุดพ้น แต่มีแต่ความอยาก แต่ไม่เคยทำมรรคให้เกิด มรรคต้องให้เจริญ นิโรธต้องทำให้แจ้ง ทุกข์กำหนดรู้ ตัณหาต้องละ มันหลง รู้ ละแล้ว มันโกรธ รู้ ละแล้ว ตัณหาคือละ ทุกข์กำหนดรู้ ทุกข์บางอย่างก็ละ เนี่ย คือทำเหตุอันนี้
เราจึงมาทำตัวนี้มันก็คลุมไปโน่น ไม่ใช่กลัวความทุกข์ ถ้าทำเหตุมาดีแล้ว เป็นอย่างนี้การปฏิบัติธรรมอย่าทิ้งหลัก มันมีหลักอยู่ ทุกคนก็มีหลักอยู่แล้ว มีกายมีใจ มีรูปธรรมนามธรรม มีสติมีความรู้คู่กับความหลง ทำพับลงไป เจอกันทันที จ๊ะเอ๋กันทันที มีไหมความหลง เวลาเรามีความรู้ เห็นความหลงไหม เห็นกันทุกคนนั้นแหละ ไม่หลงทางตาก็หลงทางหูจมูกลิ้นกายใจ หลงทางกาย อ่า หลงที่อื่น หัดให้ประโยชน์ มันรู้ขึ้นมาสอนอย่างนี้ สอนตัวเองให้เป็นอย่างนี้ พอมันหลง รู้สึกตัว พอมันมีอะไรที่ไม่ใช่ความรู้สึกตัว เอามาเปลี่ยนความรู้สึกตัว หลักมันอยู่ที่นี่ ขยันรู้อย่างนี้ไว้ เหมือนเราขยันทำงาน ขยันไปก่อน เอาความขยันไปก่อน จะจนจะมีช่างหัวมัน
เหมือนคนที่มาทำบุญเมื่อวันที่ 17 เขาซื้อรถให้หลวงพ่อคันหนึ่ง เขาก็มีฐานะ มีส่วนที่เกี่ยวข้องตรงนี้กันหลายๆ อย่าง จะร่ำจะรวยช่างหัวมันแต่ว่าขยันไว้ก่อน บางคนก็บอกว่าพอแล้ว มีลูกชายคนเดียว อยู่อย่างไรก็ไม่อดไม่อยาก เขาก็ทำโน่นทำนี่ เขาก็บอกรวยช่างหัวมัน (หัวเราะ) แต่ขยันไปอย่างนี้แหละ ทำงานไปอย่างนี้แหละ นี่คือไม่ต้องอยากรวย ขยันทำให้ถูกต้อง ขยันหา ขยันรักษา รู้จักใช้ สามีภรรยาเป็นคู่ คู่เทียมเกวียน อย่าเป็นแร้งคาบมากาคาบหนี เขาก็ร่วมหัวกัน สร้างงานขึ้นมาคิด สองคนนั่งสมาธิคิด ทำลูกศร ทำลูกศรยางในรถยนต์ ทำลูกศรยางในมอเตอร์ไซค์ คิด เขาก็มีสมาธิ คิด มีห้องคิด เขาให้หลวงตาไปดูห้องคิดของเขา สงบ มีห้องแอร์เย็น คิดอะไร ทำแล้วทำอีก คิดแล้วก็ทำสำเร็จ ขยันไปก่อน รวยช่างหัวมัน
คิดทำโรงงาน ทำยางในรถมอเตอร์ไซค์ทำ ยางในรถยนต์ ก็เอามาใช้ของเขาทดลองดูก่อน พอใช้มาก็ใช้ได้ เอาไปเป็นสินค้าขาย เฉพาะยางปะรถนี่เท่าไหร่นะ ยางปะรถนี่ ไปคิดกันเอง ทีแรกก็ทำกาว ต่อมาก็คนติดกาวเยอะ ก็มาทำยางปะรถ รถยนต์ที่เรามีไปปะนี้ก็เช็ด ก็ติดเลย เป็นของเขาคนเดียวในประเทศไทย ก็ผลิตเขาขยันคิดเป็นนี่นะ ขยันสร้างสรรค์อยู่นี่ รวยช่างหัวมัน คิดไปเรื่อยๆ ไม่คิดว่ากูจะรวย กูจะรวย เขาไม่คิดนะ
ชาวนาเราบางทีก็นกกินเป็นบุญ คนกินเป็นทาน เพราะว่าใจมันดี ถ้าเป็นชาวนาอาชีพนะ ถ้าเป็นชาวนาสมัยนี้ กูจะรวย กูจะขาดทุน กูจะได้กำไร ก็คิดแบบนั้น มันก็สิ้นเปลืองพลังงานไป สมัยก่อนเขาไม่คิดเรื่องนั้นหรอก เขาทำให้มันดี ไถนาหว่านกล้า ปิดน้ำ
เราทำความเพียรก็เหมือนกัน อย่าเอาเหตุเอาผลมาประกอบนะ มีแต่ความเพียรทำลงไปนะ ใจดีประกอบไปด้วย เหนื่อยช่างหัวมัน เหงื่อไหลไคลย้อยช่างหัวมัน เหลือบยุงโดนแดดกัดช่างหัวมัน รู้สึกตัวเรื่อยไป เก็บเอาความรู้ มีความรู้ไปเรื่อยๆ ไปนี่ ทุกคนทำอย่างนี้ไม่แตกต่างกัน จะเป็นคนหนุ่มสาวอย่างนี้ จะเป็นคนแก่อย่างนี้ อันเดียวกันมีเสมอกัน ยุงกัดก็เจ็บเหมือนกันใช่ไหม เจ็บเหมือนกันนะ(หัวเราะ) ไม่มีพิเศษกว่ากันหรอก
นี่ก็วันนี้ก็เป็นวันที่เรานัดมาทำวัตรตอนเช้า หลวงตาก็พูด ไม่ใช่เอาความรู้มาสอน ไม่ใช่สอนให้ท่านรู้ ความรู้นั้นรู้มากกว่าหลวงตาแล้ว แต่เอาการกระทำแบบนี้ๆ ตามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทำอย่างนี้ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นความคิด เห็นธรรม ธรรมก็มีทั้งกุศลและอกุศล ธรรมดำ ธรรมขาว ธรรมดำก็คือความหลง ธรรมขาวก็คือความรู้ อันนี้มีอยู่กับทุกคน ถ้าเอาเหตุเอาผลเอาความรู้ไม่จบไม่สิ้น มันเนิ่นช้า เราจึงเอาการกระทำนี้บุกเบิกไป มองดงมองป่าเป็นทุ่งไปเลย ใจไปสงสารกลางดงก็ว่าดงขี้คร้านแล้ว กลางบ้านก็ว่าดง อะไรก็ยากไปหมดเลย (หัวเราะ) ถ้าใจประสงค์จะสร้างอะไรลงไป ดงอันนี้เป็นทุ่งไปเลย ประสาอะไร นา 40 ไร่นี่ เรามองแป๊บเดียว เราชำนาญในการทำนา แต่บางคนพอทำลงไปนี่ อุ้ย นามันมากขนาดนี้ จะทำไหวหรือเราสองคนนี่นะ โอ้ย เหนื่อยไปแล้ว อย่าไปคิดแบบนั้น ทำไปเรื่อยไป
การทำความเพียรมันจะงอกขึ้นมา ความหลงเกิดขึ้นแล้วขึ้นอีก สนุกสนาน เก่งตรงนั้น มันหลงทีไร รู้ ยิ้ม เอาความยากมาเป็นความสะดวก ถ้ามันหลงทีไร หน้าบูดหน้าบึ้ง เฮ้ย ทำยากเหลือเกิน ไม่ใช่ ไม่นักธรรม ไม่ใช่นักปฏิบัตินะ